เราไม่มีในกาย กายไม่มีในเรา

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 26 ธันวาคม 2008.

  1. บุคคลทั่วไป 1 คน

    บุคคลทั่วไป 1 คน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +7
    ผมลองนั่งพิจารณาดูตามที่คุณขันธ์ว่าว่าให้แยกกิเลสออกจากธรรม
    แต่ดูลงไปยังไง ก็ไม่เห็นมันแยกเป็นสองอย่าง
    กิเลสกับธรรมที่แท้มันเป็นสิ่งเดียวกันหรือเปล่า
    กิเลสมันเหมือนน้ำอย่างที่คุณขันธ์ว่า
    มันคอยซึมออกซ้ายทีขวาทีตามทางที่มันจะมีทาง
    เหมือนเราพยายามเอามืออุดรอยรั่วของน้ำ น้ำมันก็จะมีทางออกเล็ดลอดทางหัวแม่มือบ้าง ทางร่องนิ้วกลางบ้าง ออกกิ่งก้านสาขาออกไปเรื่อยๆ แต่แท้ที่จริงรากของมันก็คือธรรมหรือเปล่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2009
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ก็ ตามนี้แหละค่ะ เป็นวิปัสสนา เจริญสติปัญญา แบบหนึ่ง
    ที่สามารถทำได้ ส่วนผลที่ได้ จะเป็นอย่างไร
    มีแต่คนที่ทำถูกเนืองๆ จึงประจักษ์ถึงผลที่ได้ด้วยตนเอง

    แล้วแต่จริตส่วนตน ตรงจริตแบบไหน ก็ไปทางนั้น

    ปัญญาที่ได้จากวิปัสสนา คือปัญญาที่รู้ทันจิต อารมณ์ กิเลสตัณหา ของตนเอง

    การรู้ตัวบ้าง ขาดสติบ้าง ก็เป็นลักษณะจิตของปุถุชน
    แต่เมื่อรู้ตัวเนืองๆ สติย่อมเจริญขึ้น ปัญญาย่อมมากขึ้น ตามความเพียร
    คนทั่วไปก็ทำได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ได้เป็นเรื่องยากเย็น
    ส่วนสมาธิในรูปแบบ ถ้าทำได้ก็ดี สมาธิตั้งมั่นเร็ว ก็เป็นเรื่องดี
    สมถะ วิปัสสนา เข้าใจถูก ทำให้ถูก ย่อมเกิดผลดี
    แต่ถ้าเข้าใจผิด ทำผิดวัตถุประสงค์ ก็ย่อมเนิ่นช้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2009
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    พละประกอบไปด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

    ศรัทธา คือ เชื่อ คนเราพอมีความเชื่อ มันก็ไม่ต้องหาเหตุผลมารับรองต่ออีก มันก็คือ การน้อมรับมาปฏิบัติ โดยไม่ต้องลังเล หรือต้องใช้เหตุผลก่อนปฏิบัติ ซึ่งก็จะนำไปสู่การทำ การปฏิบัติที่แท้จริง

    วิริยะ คือ เพียร พยายาม มุ่งเป้าอย่างจริงจัง ก็คือ เมื่อน้อมรับมาด้วยศรัทธาแล้วก็ปฏิบัติจริงๆ จัง ปฏิบัติตรงนี้คือ ฝืน ต่อสู้กับกิเลส ที่มีอยู่ ด้วย ขันติอันเป็นบรมธรรม
    ด้วยการมี หิริโอตตัปปะ อันเป็นเครื่องประกอบความเพียรพยายาม

    สติ คือ คอยระลึกรู้ตัวอยู่ ตรงการระลึกรู้ตัวนี้เดี๋ยวจะอธิบายให้ฟังว่า ต้องระลึกรู้ตัวอย่างไร
    มาดูที่สมาธิก่อน

    สมาธิ นี้ คือ หยุด คือ จดจ่อคือนิ่งกับสิ่งเดียว

    ปัญญา คือ ความคิด พินิจพิเคราะห์ อย่างมีเหตุมีผล

    ใจความแห่งพละ 5 นั้น สำคัญที่สติ ซึ่งเอามาไว้ตรงกลางเพื่ออะไร จึงจะทำให้คนมีพละได้

    ศรัทธา คือ นิ่งในการพิจารณา อันเป็น คู่ตรงข้ามแห่ง ปัญญา
    วิริยะ คือ กระทำจริงจัง อันเป็นคู่ตรงข้ามแห่ง สมาธิ

    ทีนี้ การทำให้พละเข้มแข็ง ก็ต้องเอาสติ นี้คอยจับให้เป็นทางสายกลางคือ

    เมื่อใดก็ตามที่ ศรัทธาเกินไป ทำไปอย่างไม่พิจารณา ก็คอยใช้สติเพื่อ กำหนดให้อยู่ในทางสายกลาง เมื่อมีศรัทธามากเกิน เพียรทำไปอย่างไม่ลืมหูลืมตาก็เช่นเดียวกัน

    หรือ ใครจะทำสมาธิ มากเกิน แล้วใช้ปัญญามันทุกอย่าง อะไรก็ใช้เหตุใช้ผล ใช้ตรรกะไปเสียหมด อะไรๆ ก็พิจารณามันไปเสียหมด มันก็ไม่ใช่ทางสายกลาง

    ก็สังเกตุนะว่า วิริยะนี้มีมากเกิน ก็เหนื่อย ก็ต้องหยุดด้วยสมาธิ
    ปัญญานี้มีมากเกิน ก็ต้องหยุดด้วยศรัทธา

    วิริยะนี้เป็นการกระทำ ที่เป็นรูปธรรม สมาธิก็เป็นรูปธรรม
    ปัญญานี้เป็น ความคิด เป็นนามธรรม ศรัทธาก็เป็นนามธรรม

    วิริยะนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยศรัทธาก่อน
    ปัญญานี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยสมาธิก่อน

    สติคือ คอยเตือน คอยตะล่อมให้อยู่ในทางสายกลาง
    แล้วค่อยๆ ยุบธรรมลงมา

    คือ ศรัทธา นี้ค่อยๆปรับเข้ามาสู่สายกลาง วิริยะนี้ค่อยๆ ปรับมาสู่ทางสายกลาง
    ด้วยสติ สมาธิและปัญญา ก็ค่อยๆ ปรับเข้ามาสู่สายกลาง
    จะค่อยๆ เจอกลางมากขึ้นๆ ก็จะพบว่า อยู่ที่ อริยมรรค จิตจะเป็น เอกคตาจิต ที่สัมประยุตในองค์ธรรม

    พระพุทธองค์ย่นย่อธรรมลงมาเป็น มัชฌิมาปฏิปทา

    ก่อนที่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนตรัสรู้ ท่านก็ ไม่ลงสายกลาง

    สุดท้าย ท่านเชื่อมั่น มีศรัทธาในตนเอง วิริยะเพียรว่า วันนี้แหละเราจะนั่งใต้ต้นไม้นี้หากว่ากิเลสไม่ดับไป เราจะนั่งจนกว่าร่างกายจะเหือดแห้งไป โดยไม่ลุก

    ดำเนินด้วยอานาปานสติ คอยกำกับ และ จึงได้องค์สมาธิ และ ปัญญาเกิดขึ้น

    ในยามแรก ท่านยังไม่ได้ ตรัสรู้ ก็ได้วิชชาทั้งแปดประการ

    จนสุดท้ายจึงตรัสรู้ธรรม

    นี่แหละ บทสรุปแห่ง การทำพละ 5 ให้บริบูรณ์
     
  4. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    ผมเองก็ใช้ภาษาแบบชาวบ้าน และตัวอย่างก็แบบที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน..ซึ่งถ้าบอกว่ายังไม่กระจ่าง..ผมก็ต้องขออถัยในความที่มีปัญญา อธิบายได้เพียงเท่านี้แหละคับ..ต้องขออภัยอีกครั้งนะคับ


    อันนี้.. เราผู้ปฏิบัติธรรม เขาไม่คิดแทนคนอื่นนะคับ..ต้องคุยเป็นบุคคลไปคับ ...การคิดแทนคนอื่นก็เท่ากับ ส่งจิตออกนอก

    อ้าวววววววววว ตกลงเข้าใจและเคยสัมผัสแล้วสินะคับ..
    ก็ประโยคนี้อ่ะนะคับ...แหมแถมยังอธิบายต่อได้ดีซะด้วย..
    แล้วตกลงคุณเข้าใจอยู่แล้วก็ไม่บอก...ผมเองก็ปัญญาและความรู้ก็ไม่เยอะเท่าไหร่...ไม่น่า(เข้าไปตอบเขา)เลยเรา
    <label for="rb_iconid_10">[​IMG]</label><label for="rb_iconid_10">[​IMG]</label><label for="rb_iconid_10">[​IMG]</label>555555
     
  5. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    คับคุณหล่อกระชากวิญญาณหลุด...
    ผมเห็นด้วยนะว่า..อยู่อย่างไรโดยไม่ทุกข์ ก็พอแล้ว...
    แต่กระบวนการที่จะไม่ทุกข์.
    .ก็ต้อง รุ้จักทุกข์..เพราะทุกข์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน คนจนก็ทุกข์อย่างคนรวยก็ทุกข์อย่าง (อันนี้เริ่มต้นแห่งทุกข์นะคับ..ต้องรู้จักทุกข์ของตัวเองก่อน)
    รู้ถึงเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์.. พอเรามามองเหตุที่ทำให้ทุกข์ มันก็วนเวียนใน ขันธ์5 อีกแหละคับ .. ดั่งนั้นก็แยกย่อย เพื่อให้เห็น จุดเปลี่ยน ที่ทำให้ทุกข์เกิด...ก็มาลงกันที่จิต น่แหละคับ
    เมื่อเจอเหตุ..ก็มาถึงวิธีปฏิบัติ.. ต่างคนก็ต่างครูบาอาจารย์ ต่างจริตนิสัยกัน..ก็เลยมีการแลกเปลี่ยนความรู้บ้างเป็นธรรมดา ผู้ใดอ่านแล้วเห็นประโยชน์ ก็ได้ประโยชน์นั้นไป..
    อย่าพึงเบื่อกับการที่พวกเราคุยกันเลยนะคับ.. สาธุ

     
  6. dhammadasa

    dhammadasa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    679
    ค่าพลัง:
    +69
    สวัสดีปีใหม่ครับ ^^
     
  7. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    คับอนุโมทนาด้วยคับ ..และสวัสดีปีไหม่คุณไฟฟ้าสถิตย์ และคุณหล่อกระชากวิญญาณหลุด..ด้วยคับ<label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label>
     
  8. dhammadasa

    dhammadasa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    679
    ค่าพลัง:
    +69
    อ่อ แก้วน้ำเองหรอ หุหุ สบายดีไหม
     
  9. dhammadasa

    dhammadasa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    679
    ค่าพลัง:
    +69
    สวัสดีปีใหม่อาจารย์ขันธ์

    เวลาทำบุญใจเป็นอย่างไร

    พระท่านว่า ทำบุญเท่าทะเลไม่เท่าวิปัสนาแค่ช้างกระดิกหู
    ผู้ที่หน่ายบุญหน่ายเหตุแล้ว ใจขณะทำบุญเป็นอย่างไรครับ
     
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    อยากให้พระศาสนาอยู่ต่อไปเพื่อคนรุ่นหลัง ทำบุญก็คิดเท่านั้น หรืออยากให้กับ ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไป
    ก็จะเป็น เมตตานำ หรือ เห็นประโยชน์นำ

    เช่นว่า ตักบาตรก็อยากให้พระได้มีอาหารฉัน และ จะเป็นการช่วยสืบต่อพระศาสนา
    หรือไปทำบุญ ก็อยากจะให้พระศาสนา มี บวรวัตถุ ที่เป็นเครื่องแสดงอยู่

    หรือว่า ทำบุญ ถวายสังฆทานนี้ก็ได้สองต่อ คือ อุทิศให้ผู้ล่วงลับไปแล้วกับ ช่วยพระศาสนา

    ก็มีอยู่สองอย่างนี้
     
  11. dhammadasa

    dhammadasa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    679
    ค่าพลัง:
    +69
    เป็นเช่นนั้นครับ

    เพราะ เล็งเห็นประโยชน์ในพุทธศาสนา ไม่เคยคิดสิ่งใดเพื่อประโยชน์ตน
    ปราถนาให้ผู้รับได้ประโยชน์สุขในทานนั้นจริงๆ แม้คำอธิฐานใดๆย่อมเป็นไปเพื่อบวรมิใช่ ลงทุนเพื่อชาติถัดไป

    การทำบุญของปุถุชนกับผู้เข้ากระแสธรรมจึงต่างกัน แม้วิธีทำจะเหมือนกัน
     
  12. เกสท์

    เกสท์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +18
    ต้องขอนุญาตตอบตามตรง
    อาจเป็นการกระทบกระเทือนบ้าง

    ความคิดเช่นนี้ของคุณวิษณุ12
    ไม่ถูกต้องครับ

    เพราะเมื่อเจริญสติจนมีกำลังแล้ว
    สติจะสืบเนื่องไปตลอดเวลา
    เมื่อมีสติตลอดเวลาแล้วจะเผลอได้ยังไง
    เมื่อไม่เผลอแม้แต่ครั้งเดียว
    จะไปรู้ว่าเผลอได้เป็น ร้อย ๆ ครั้ง อย่างนั้นเชียวหรือ

    ตรงนี้แสดงว่าคุณไม่ค่อยจะได้ใกล้ชิดพระผู้ปฏิบัติ
    ไม่จำเป็นต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้นหรอกครับที่ท่านมีสติตลอดเวลา
    ยังไม่เป็นพระอรหันต์
    ท่านก็มีสติตลอเวลาได้ครับ
    ยกเว้นตอนหลับเท่านั้น

    ธรรมแท้ไม่ได้อยู่ที่ตำรา
    แต่อยู่ที่การปฏิบัตินะครับ
    ผลการปฏิบัติจะมากจะน้อยก็อยู่ที่ตัวบุคคลนั้น ๆ
     
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ขอยืนตามคุณ วิษณุ สติ นั้นเป็นเจตสิก เป็นธรรมชนิดหนึ่ง จึงไม่มีทางมีได้ตลอด
    เวลาสำหรับเสขะบุคคล

    แต่ที่เห็นว่า สติ มีตลอดเวลาสำหรับคนที่ไม่ได้หลับนอน อันนั้น คือ สติ แบบที่นิยม
    เข้าใจกัน ไม่ใช่ สติ เจตสิก ที่กล่าวอยู่ในอภิธรรม และ ไม่ใช่สติ ที่กล่าวในพุทธศานา
    เป็นเพียงคำว่า สติ ที่ใช้กันโดยทั่วไปในทุกๆ ศาสนา

    สติ ที่เป็นเจตสิก ที่เอาไว้ภาวนาในส่วนของการศึกษา จิตสิกขา ทั้งบท คือการยกจิต
    ขึ้นระลึกรู้สภาวะธรรมของจิตขณะนั้น เช่น ตอนนี้จิตตั้งมั่นในสมาธิ อยู่ในฌาณ อยู่
    ในความว่างให้ระลึกรู้เนืองๆ จนกว่าจิตจะจดจำสภาวะธรรมนี้ได้ ก็จะเกิด สติ ระลึก
    รู้สภาวะธรรมที่เรียกว่า ฌาณ สมาธิ ความว่าง ในแบบต่างๆของสมาธิชั้นต่างๆได้

    ถ้าขาด สติ ระลึกรู้ชนิดนี้แล้ว จะไม่มีเครื่องมือในการแยกดูสภาวะธรรมที่เป็นความว่าง
    ในฌาณชนิดด่างๆได้ว่า มีเจกตสิกใดหลงเหลืออยู่บ้าง ก็จะจำแนกชนิดความว่างในฌาณ
    ไม่ได้

    คำว่า สติ ก็ต้องดูว่า คู่สนทนากำลังพูดถึง สติ ตัวไหน

    ถ้าพูด สติ แบบพื้นๆ ก็แค่ตื่นนอนไม่งัวเงีย บางคนก็คิดว่า มีสติ แล้ว เพราะไปเปรียบ
    เทียบกับคำว่า หมดสติ คือ สลบเหมือด คือ น๊อกเอ๊าท์

    ถ้า พูด สติ แบบศาสนาพุทธ ก็เป็นเรื่องของการระลึกรู้สภาวะธรรม หรือ เห็นทุกอย่าง
    เป็นสภาวะธรรม จำแนกสภาวะธรรมได้โดยการระลึกรู้ จดจำได้ด้วยตัวจิต ไม่ใช่การช่วย
    คิดช่วยทำโดยเรา

    สติ แท้ๆ อยู่ที่การระลึกรู้ หมั่นปฏิบัติ การรู้สภาวธรรมนั้นเป็นเรื่องพ้นตำรา ไม่อาจกำหนด
    รู้ หมายรู้ หากสติตั้งมั่นหยุดกำหนดรู้(รูปหนึ่งของเจตนา) และจิตไม่เห็นอะไรสักอย่างที่
    เห็นว่ายังต้องระลึกรู้อีก ณ ขณะจิตนั้นๆ จิตจะเกิดทัศนะรู้ถ้วนในสภาวะธรรมขณะนั้นแล้ว
    สักแต่ว่ารู้ จึงเกิด สังขารจึงหยุดปรุงเป็นกลางต่อการปรุงสังขาร สักแต่ว่ารู้ จึงเป็น สภาวะ
    ธรรมอีกชนิดหนึ่งทีเกิดขณะจิตมี สังขารุเบกขาญาณ

    อย่าลืมว่า พูดกันในมุมมองของขณะจิต ขณิกสมาธิ ก็ขอให้เพื่อนๆสหายธรรมอย่าได้นึก
    ไปถึง สภาวะธรรมของอรหันต์ เพราะเราย่อมพูดกันในสภาวธรรมของผู้กำลังศึกษา ต้อง
    วางใจไปเลยว่าไม่มีใครอวดรู้ หรือ แสดงการรู้ของอรหันต์ หรือแม้แต่อริยะชั้นใดๆ เมื่อ
    ปรับทิฏฐิตรงนี้ให้ตรงกัน และคอยตามรู้ไม่ให้เกิดแล้ว การจะเที่ยวโต้แย้งว่าธรรมที่แสดง
    นั้นผิดจะลดลงไปมาก การทะเลาะกันจะน้อยลง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2009
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อย่าง พละ5 อินทรีย์5 ก็เช่นกัน

    ขอให้เพื่อนๆ สหายธรรม กำหนดบริบทในการสนทนาให้เหมาะ ว่าตอนนี้กำลังพูด
    ในส่วนของ ศีลสิกขา หรือ จิตสิกขา หรือ ปัญญาสิกขา

    การหยิบข้อธรรมะ พละ5 พูดในแต่บริบทของการศึกษาจะไม่เหมือนกัน จะให้ผล
    และมีวัตถุประสงค์ในการบรรยาย การชี้ผลที่เกิด การสังเกตการเกิดต่างกัน

    พละ5 ที่พูดในส่วนของ ศีลสิกขาบท ก็เพื่อความเจริญกุศล

    พละ5 ที่พูดในส่วนของ จิตสิกขาบท ก็เพื่อเห็นลักษณะของจิตที่อบรมแล้วนั้นมี
    คุณภาพในการเข้าเห็นสภาวะธรรมทั้งหลายอย่างไร อยู่ในฌาณอยู่สามารถมีพลัง
    ผลักจิตหนึ่งให้หลุดออกมาเป็นผู้ดูได้ไหม หรือ จิตจมอยู่ในฌาณแยกไม่ออก
    สามารถใช้ศรัทธาได้ไหมว่าองค์ฌาณเหล่านี้เป็นเพียงสังขารธรรมหนึ่งไม่ต่างจาก
    สังขารธรรมอื่นๆ ถ้ากำลังศรัทธามีมากพอก็สามารถแยกจิตออกมารู้อีกชั้นหนึ่งได้

    พละ5 ที่พูดในส่วน ปัญญาสิกขาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ว่าสามารถแยกได้ไหมว่าญาณ(16)
    ทัศนะต่างๆ ก็เป็นสังขารธรรมเหมือนกัน หากสามารถแยกได้ก็จะเกิดการระลึกรู้
    สติก็จะเกิด เมื่อสติเกิดก็แยกความแตกต่างของญาณทัศนะได้ และเห็น กิจญาณ กตญาณ
    ผลญาณ ของญาณชนิดต่างได้ เห็นเป็นสภาวะธรรมไม่ต่างกันสังขารธรรมชนิดอื่น ก็จะ
    จัดการกับการเห็นด้วยพละ5ที่จะเอาศรัทธาเข้าข่มปัญญาเพื่อขึ้นไปสู่ระดับปัญญาที่สูงกว่า

    จะเห็นว่า สติ นั้นเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ไม่ใช่แค่เอาไว้รู้สึกตัวว่าตื่นนอนได้ แต่มีไว้
    เพื่อระลึกสภาวธรรมที่ละเอียดยิ่งๆ ไปเรื่อยๆ และเป็นเรื่องพ้นการกำหนดรู้

    สำหรับคนที่เข้าใจว่า สติ คือ การกำหนดรู้ ก็ต้องขอชวนดู ธรรมชนิดหนึ่ง ก็คือ ธรรมภายนอก
    เหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นกับสิ่งต่างๆข้างนอก นอกนี้คือ นอกเขตจิตตน จิตที่หมายเป็นตน จะเห็นว่า
    ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ และรู้ได้ ถามว่ากำหนดรู้ได้ไหม ต้องบอกว่าไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของ
    เหตุปัจจัยของสิ่งที่นอกตน อะไรที่อยู่นตนยังบังคับไม่ได้ แล้วสิ่งที่อยู่นอกเขตตนจะบังคับได้
    อีกหรือ จะกำหนดรู้ได้อีกหรือ มีแต่ต้องตามรู้ เมื่อตามรู้แล้วก็จะเห็นเหตุปัจจัย เมื่อเห็นเหตุ
    ปัจจัยแล้วจึงค่อยน้อมรู้หนักแน่นไปข้างอดีตบ้าง ข้างอนาคตบ้าง หากยังเห็น สติ เป็นเรื่อง
    กำหนดรู้ ก็แปลว่าจิตยังไม่กว้างขวางพอ ยังล้อมกรอบตัวเอง จิตที่ยังรู้แค่ในเขตตน ไม่เคย
    ออกไปพิจารณาธรรมภาวนอกบ้าง ธรรมภายนอกปรากฏในจิตไม่รู้ ก็แปลว่า สติ ยังไม่เกิด จึง
    แยก จำแนกไม่ได้ เมื่อเห็นธรรมภายนอกแล้วก็จะกลายเป็นผู้เล่นหนึ่งในนั้น แบบนี้ใช้ไม่ได้

    ก็ลองพิจารณาดู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2009
  15. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    ขออนุญาติ ร่วมวงด้วยคน..

    อนุญาติเป่าไม่รู้ อิอิ <label for="rb_iconid_30">[​IMG]</label>...แต่ร่วมวงด้วยนะ ...
    ...เริ่มด้วยจิต มีลักษณะไม่เที่ยง บังคับไม่ได้ ชอบเกาะกับสิ่งต่างๆและปรุ่งแต่งไปต่างๆตลอด จึงบังคับไม่ได้ (นี่คือธรรมชาติพื้นฐานของจิต)


    "เพราะเมื่อเจริญสติจนมีกำลังแล้ว
    สติจะสืบเนื่องไปตลอดเวลา
    เมื่อมีสติตลอดเวลาแล้วจะเผลอได้ยังไง"

    อันนี้เป็นอาการของพระผู้ตัดกิเลสสิ้นแล้วเท่าันั้นคับ(คือพระอรหันต์)ส่วนพระที่ท่านปฏิบัติอยู่ก็แม้พระอริยเจ้าในขั้นต้น ก็ยังมีเกิด-ดับ มีทุกข์-สุข ให้ได้เห็นเลยนะคับ ดังนั้นอย่าว่าแต่พระป่า พระกรรมฐานที่ท่านกำลังดำเนินความเพียรอยู่เลยคับ.. ถ้ารู้สึกว่า "มีสติตลอดเวลา เว้นแต่ตอนหลับเท่านั้น" สัญนิฐานได้เลยคับว่า.."หลง"คับ...แต่ถ้าท่านมีสติจริง ท่านจะเห็นอาการจิตที่วิ่งไปรับรู้ทางตาบ้าง ทางหูบาง เห็นกายบ้าง โดยสลับกับกิเลสที่เกิด-ดับ... เพราะสติแท้แบบสัมมาสตินั้น...เมื่อเกิดขึ้นก็จะตัดอกุศล ตัดกิเลสดับ ไปทันที่คับ..เขาจะสลัยไปสลับมาไวมาก...จนบางครั้งรู้สึกเหมือนมีจิต 2 ดวง คือจิตหนึ่งรู้(สติ) ไปรู้สิ่งที่ถูกรู้ที่เข้ามาทางอายตนะทั้ง 6 ทาง...แต่ความจริง จิตเกิด-ดับที่ละดวงแต่ไวมากจนเราแยกไม่ออกเท่านั้นแหละคับ
    ...เหมือน หนังการตูนที่เราเห็นมันเคลือนไหวต่อเนื่อง..แต่ความจริงเป็นภาพหลายๆภาพเกิด-ดับต่อเนื่องกันอ่ะคับ
    ..
    .ต้องแยกให้ออกนะคับ สติแบบชาวบ้าน กับ สติที่เป็นสัมมาสติ สาธุคับ
     
  16. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] สาธุ อนุโมทนาคับ....</label>
     
  17. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    สติปัฏฐานสี่
    จะใช้ฐานไหนเจริญ ก็ขอให้ต่อเนื่อง สลับฐานไปมาก็แล้วแต่ถนัด
    เป็นวิปัสสนา ที่ใช้สติเป็นตัวเจริญพละอื่นๆ
    จากขณิกะสมาธิ สู่อุปจาระ สู่อัปนา (ต่างจากสมถะที่ใช้สมาธินำก่อน)

    เมื่อต่อเนื่อง จนเต็มรอบ ณ จุดๆ นั้น ก็ข้ามกระแส
    นี่จึงกล่าว สติปัฏฐานสี่เป็นทางสายเอก

    ถ้ารอแต่พระอรหันต์มีสติต่อเนื่อง แล้วคนธรรมดาจะไปเป็นอรหันต์เมื่อไหร่
    คุณเกสท์ เธอกล่าวเรื่องนี้ได้ดีอยู่แล้ว
    เพียงแต่ คนธรรมดา ต้องถึงจุดหนึ่งที่เต็ม (ตลอดเวลา)
    ขอให้ทำให้ต่อเนื่อง
    จุดนั้นเอง ที่สำคัญ เพราะเป็นการระงับการสังขารโดยฉับพลัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2009
  18. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    ส่วนเรื่องความคิดที่ว่า ไม่คิดไม่ทุกข์นั้น
    ก็มาพูดหลายครั้ง
    ว่าการคิดมีสองอย่าง คิดปรุงแต่ง กับคิดพิจารณา
    โดยเฉพาะสายปัญญา จะใช้จิตตานุปัสนา กับ ธรรมานุปัสนา
    เป็นการคิดแยบคาย เรียกว่าคิดเป็นก็เห็นเอง
    ยิ่งคิดยิ่งรู้ ยิ่งเห็น ยิ่งใช้ความคิดเป็น ยิ่งเห็นธรรมชาติตามจริง
    คิดให้แจ้ง ไม่ได้คิดให้ยึด
     
  19. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ท่านเกสท์ ไม่ต้องกังวนหรอกครับ ว่าจะกระทบกระแทก ....ผมคิดว่าเป็นตัวช่วยผมหมดน่ะครับ สะบายใจได้ครับ
    [​IMG][​IMG][​IMG]
     
  20. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    หายหน้าไปนานเลยเต้าเจี้ยว มาคราวนี้มีธรรมดีๆ มาเผื่อแผ่เพื่อนๆ ด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...