สักกายทิฏฐิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 19 มีนาคม 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    สักกายทิฏฐิ
    สก ( ของตน ) + กาย ( ที่ประชุม ) + ทิฏฺฐิ ( ความเห็น )

    ความเห็นว่าเป็นกายของตน , ความเห็นผิดว่าเป็นตัวตน หมายถึง ความเห็นผิด

    ในขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา ของเรา หรือเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งผิดไปจากความเป็นจริงตาม

    สภาพธรรม สักกายทิฏฐิ เป็นความเห็นผิดที่เป็นพื้นฐาน เป็นอนุสัยกิเลสซึ่งมีอยู่

    กับทุกบุคคลที่ไม่ใช่พระอริยะ เรียกว่า ทิฏฐิสามัญ ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดทิฏฐิพิเศษที่

    มีโทษมากได้ เช่น สัสสตทิฏฐิ อเหตุกทิฏฐิ อกิริยทิฏฐิ นัตถิกทิฏฐิ เป็นต้น
    [​IMG] สักกายทิฏฐิที่เป็นอนุสัยกิเลส ไม่ห้ามสวรรค์ ไม่ห้ามมรรค

    [​IMG] สักกายทิฏฐิที่มีกำลังจนเป็นสัสสตทิฏฐิ หรืออุจเฉททิฏฐิ ไม่ห้ามสวรรค์ แต่

    ห้ามมรรค

    [​IMG] อเหตุทิฏฐิที่เป็นไปในวัตถุ ๑๐ มีความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลก

    มีที่สุด โลกไม่มีที่สุด เป็นต้น ไม่ห้ามสวรรค์ แต่ห้ามมรรค เพราะไม่ถึงความ

    เป็นกรรมบถ

    [​IMG] นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ อย่างที่ถึงความเป็นกรรมบถ คือ อเหตุทิฏฐิ อกิริยทิฏฐ

    และนัตถิกทิฏฐิ ห้ามทั้งสวรรค์และมรรค

    สักกายทิฏฐิ ๒๐ ได้แก่ ...
    ๑. เห็นรูปเป็นตน คือ ขณะที่เห็นผิดยึดถือว่า รูปร่างกายเป็นเรา ( ตน ) อุปมา

    เหมือนเห็นเปลวไฟและสีของเปลวไฟเป็นอย่างเดียวกัน

    ๒. เห็นตนมีรูป คือ ขณะที่ยึดถือว่า นามธรรมเป็นเราที่มีรูปร่างกาย อุปมา

    เหมือนเห็นต้นไม้มีเงา

    ๓. เห็นรูปในตน คือ ขณะที่ยึดถือว่า นามธรรมเป็นเรา และรูปอยู่ในนามที่เรา

    อุปมาเหมือนกลิ่นในดอกไม้

    ๔. เห็นตนในรูป คือ ขณะที่ยึดถือว่า นามธรรมเป็นเราที่อยู่ในรูปร่างกาย อุปมา

    เหมือนแก้วมณีในขวด

    ๕. เห็นเวทนาเป็นตน คือ ขณะที่ยึดถือว่า ความรู้สึกเป็นเรา ( ตน ) อุปมาโดย

    นัยเดียวกันกับรูป

    ๖. เห็นตนมีเวทนา คือ ขณะที่ยึดถือรูป สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นเรา

    และเรามีเวทนา

    ๗. เห็นเวทนาในตน คือ ขณะที่ยึดถือรูป สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น

    เรา และมีเวทนาในเรา

    ๘. เห็นตนในเวทนา คือ ขณะที่ยึดถือรูป สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น

    เรา และเรามีอยู่ในเวทนา

    ๙. เห็นสัญญาเป็นตน คือ ขณะที่ยึดถือว่า ความจำเป็นเรา ( ตน )

    ๑๐. เห็นตนมีสัญญา คือ ขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น

    เรา และเรามีสัญญา

    ๑๑. เห็นสัญญาในตน คือ ขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น

    เรา และมีสัญญาในเรา

    ๑๒. เห็นตนในสัญญา คือ ขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น

    เรา และเรามีอยู่ในสัญญา

    ๑๓. เห็นสังขารเป็นตน คือ ขณะที่ยึดถือว่า สังขารตัวปรุงแต่งเป็นเรา

    ๑๔. เห็นตนมีสังขาร คือ ขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สัญญา วิญญาณ ว่าเป็น

    เรา และเรามีสังขาร

    ๑๕. เห็นสังขารในตน คือ ขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สัญญา วิญญาณ ว่าเป็น

    เรา และมีสังขารในเรา

    ๑๖. เห็นตนในสังขาร คือขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สัญญา วิญญาณ ว่าเป็น

    เรา และเรามีอยู่ในสังขาร

    ๑๗. เห็นวิญญาณเป็นตน คือในขณะที่ยึดถือว่า วิญญาณเป็นเรา ( ตน )

    ๑๘. เห็นตนมีวิญญาณ คือขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สัญญา วิญญาณ ว่าเป็น

    เรา และเรามีวิญญาณ

    ๑๙. เห็นวิญญาณในตน คือขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สัญญา สังขาร ว่าเป็น

    เรา และมีวิญญาณในเรา

    ๒๐. เห็นตนในวิญญาณ คือขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สัญญา สังขาร ว่าเป็น

    เรา และเรามีอยู่ในวิญญาณ
     
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    เสริมให้ เอาง่ายๆ ว่า ถ้ามันละได้แล้ว มันจะไม่เห็นว่าตัวนี้ทั้งตัวที่ดำเนินชีวิต แต่เป็นจิตใจที่ดำเนินชีวิต
    แต่ก่อน เราคิดว่า นี่คือตัวเรา ที่ดำเนินชีวิต แต่เมื่อละสักกายทิฎฐิ จะเป็นใจเท่านั้น
    แยกลำบากนะ แต่รสธรรม ต้องเป็นความรู้ ความเห็น
    ยกตัวอย่างเช่น แรกๆ ได้ของเล่น หรือ ของรักมา เราก็รักมัน เห็นว่ามันเป็นของเราไปที่ไหนใจก็เคยระลึกถึงมัน อยากให้มันอยู่ติดกับตัว แต่พอใช้งานมันไปเรื่อยๆ ก็ลืมไปเลย ความรู้สึกที่ สิ่งนั้นเป็นของเราไม่มี แต่ยังใช้งานมันอยู่
    ก็เนื้อตัว ร่างกายนี้ก็เช่นเดียวกัน ใจนี้มันจะลืมไปเลยว่าเรามีชีวิตอยู่นี้ด้วยกายนี้ มันจะเป็นแค่ใจสัมผัสทุกอย่าง
     
  3. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    อ่านถึงตรงนี้รู้สึกว่าธาตุทั้งหลาย มันกำลังทำงานอยู่ดีๆ แล้วรู้สึกหนักขึ้นมาเลยครับ

    อนุโมทนาบุญด้วยครับ
     
  4. SaveMax

    SaveMax เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    172
    ค่าพลัง:
    +578
    ตัวตนมันเกิดเห็นว่า ปริยัติเยอะจริงๆนะ
     
  5. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +39,008
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    oo
     
  7. haha4959

    haha4959 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    388
    ค่าพลัง:
    +85
    จุ๊ก กรู๊
     
  8. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    .....อย่างหยาบ รู้ว่าต้องตาย...แน่ๆ...ไม่มีใครรอด.....

    ...อย่างกลาง รู้ว่า ร่างกายเป็นที่อาศัย ชั่วคราว........

    ....อย่างละเอียด รู้ว่า กาย กับใจ แยกจากกัน...ใจส่วนใจ...กายส่วนกาย กายตาย แต่ใจไม่ตาย.....ใจไม่ยินดียินร้ายในกาย...ไม่สนใจในกาย.......
     
  9. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    สักกายทิฏฐิ
    สก ( ของตน ) + กาย ( ที่ประชุม ) + ทิฏฺฐิ ( ความเห็น )

    ความเห็น(ของใคร???...ใช่เรา คือ จิตมั๊ย???...ถ้าไม่ใช่เรา คือ จิต แล้วอะไร???)ว่าเป็นกายของตน ,
    ความเห็นผิด(ของใคร???...ใช่เรา คือ จิตมั๊ย???...ถ้าไม่ใช่เรา คือ จิต แล้วอะไร???)ว่าเป็นตัวตน

    หมายถึง ความเห็นผิดในขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา (แสดงว่าขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา แล้วเราคือ ใคร??? เราคือจิตใช่มั๊ย???)
    ของเรา หรือเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง(แสดงว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของเรา...เราคือใคร??? เราคือจิตใช่มั๊ย???)
    ซึ่งผิดไปจากความเป็นจริงตามสภาพธรรม

    สักกายทิฏฐิ เป็นความเห็นผิดที่เป็นพื้นฐาน เป็นอนุสัยกิเลสซึ่งมีอยู่กับ(จิตของ)ทุกบุคคลที่ไม่ใช่พระอริยะ เรียกว่า ทิฏฐิสามัญ
    ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดทิฏฐิพิเศษที่มีโทษมากได้ เช่น สัสสตทิฏฐิ อเหตุกทิฏฐิ อกิริยทิฏฐิ นัตถิกทิฏฐิ เป็นต้น
    [​IMG] สักกายทิฏฐิที่เป็นอนุสัยกิเลส ไม่ห้ามสวรรค์ ไม่ห้ามมรรค

    [​IMG] สักกายทิฏฐิที่มีกำลังจนเป็นสัสสตทิฏฐิ หรืออุจเฉททิฏฐิ ไม่ห้ามสวรรค์ แต่

    ห้ามมรรค

    [​IMG] อเหตุทิฏฐิที่เป็นไปในวัตถุ ๑๐ มีความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลก

    มีที่สุด โลกไม่มีที่สุด เป็นต้น ไม่ห้ามสวรรค์ แต่ห้ามมรรค เพราะไม่ถึงความ

    เป็นกรรมบถ

    [​IMG] นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ อย่างที่ถึงความเป็นกรรมบถ คือ อเหตุทิฏฐิ อกิริยทิฏฐ

    และนัตถิกทิฏฐิ ห้ามทั้งสวรรค์และมรรค

    สักกายทิฏฐิ ๒๐ ได้แก่ ... ใคร??? ใช่ เรา คือ จิตมั๊ย ???
    ๑. (ใคร???)เห็นรูปเป็นตน คือ ขณะที่(ใคร???)เห็นผิดยึดถือว่า รูปร่างกายเป็นเรา ( ตน ) อุปมา

    เหมือนเห็นเปลวไฟและสีของเปลวไฟเป็นอย่างเดียวกัน

    ๒. (ใคร???)เห็นตนมีรูป คือ ขณะที่(ใคร???)ยึดถือว่า นามธรรมเป็นเราที่มีรูปร่างกาย อุปมา

    เหมือนเห็นต้นไม้มีเงา

    ๓. (ใคร???)เห็นรูปในตน คือ ขณะที่(ใคร???)ยึดถือว่า นามธรรมเป็นเรา และรูปอยู่ในนามที่เรา

    อุปมาเหมือนกลิ่นในดอกไม้

    ๔. (ใคร???)เห็นตนในรูป คือ ขณะที่(ใคร???)ยึดถือว่า นามธรรมเป็นเราที่อยู่ในรูปร่างกาย อุปมา

    เหมือนแก้วมณีในขวด

    ๕. (ใคร???)เห็นเวทนาเป็นตน คือ ขณะที่(ใคร???)ยึดถือว่า ความรู้สึกเป็นเรา ( ตน ) อุปมาโดย

    นัยเดียวกันกับรูป

    ๖. (ใคร???)เห็นตนมีเวทนา คือ ขณะที่(ใคร???)ยึดถือรูป สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นเรา

    และเรามีเวทนา

    ๗. (ใคร???)เห็นเวทนาในตน คือ ขณะที่(ใคร???)ยึดถือรูป สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น

    เรา และมีเวทนาในเรา

    ๘. (ใคร???)เห็นตนในเวทนา คือ ขณะที่(ใคร???)ยึดถือรูป สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น

    เรา และเรามีอยู่ในเวทนา

    ๙. (ใคร???)เห็นสัญญาเป็นตน คือ ขณะที่(ใคร???)ยึดถือว่า ความจำเป็นเรา ( ตน )

    ๑๐. (ใคร???)เห็นตนมีสัญญา คือ ขณะที่(ใคร???)ยึดถือรูป เวทนา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น

    เรา และเรามีสัญญา

    ๑๑. (ใคร???)เห็นสัญญาในตน คือ ขณะที่(ใคร???)ยึดถือรูป เวทนา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น

    เรา และมีสัญญาในเรา

    ๑๒. (ใคร???)เห็นตนในสัญญา คือ ขณะที่(ใคร???)ยึดถือรูป เวทนา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น

    เรา และเรามีอยู่ในสัญญา

    ๑๓. (ใคร???)เห็นสังขารเป็นตน คือ ขณะที่(ใคร???)ยึดถือว่า สังขารตัวปรุงแต่งเป็นเรา

    ๑๔. (ใคร???)เห็นตนมีสังขาร คือ ขณะที่(ใคร???)ยึดถือรูป เวทนา สัญญา วิญญาณ ว่าเป็น

    เรา และเรามีสังขาร

    ๑๕. (ใคร???)เห็นสังขารในตน คือ ขณะที่(ใคร???)ยึดถือรูป เวทนา สัญญา วิญญาณ ว่าเป็น

    เรา และมีสังขารในเรา

    ๑๖. (ใคร???)เห็นตนในสังขาร คือขณะที่(ใคร???)ยึดถือรูป เวทนา สัญญา วิญญาณ ว่าเป็น

    เรา และเรามีอยู่ในสังขาร

    ๑๗. (ใคร???)เห็นวิญญาณเป็นตน คือในขณะที่(ใคร???)ยึดถือว่า วิญญาณเป็นเรา ( ตน )

    ๑๘. (ใคร???)เห็นตนมีวิญญาณ คือขณะที่(ใคร???)ยึดถือรูป เวทนา สัญญา วิญญาณ ว่าเป็น

    เรา และเรามีวิญญาณ

    ๑๙. (ใคร???)เห็นวิญญาณในตน คือขณะที่(ใคร???)ยึดถือรูป เวทนา สัญญา สังขาร ว่าเป็น

    เรา และมีวิญญาณในเรา

    ๒๐. (ใคร???)เห็นตนในวิญญาณ คือขณะที่(ใคร???)ยึดถือรูป เวทนา สัญญา สังขาร ว่าเป็นเรา และเรามีอยู่ในวิญญาณ


     
  10. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    [๑๒๖] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฐิจะไม่มีได้อย่างไร ฯ

    พ. ดูกรภิกษุ
    อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ
    ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ
    ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ

    ย่อมไม่เล็งเห็นรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง
    ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณบ้าง
    ไม่เล็งเห็นรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณในอัตตาบ้าง
    ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณบ้าง

    ดูกรภิกษุ อย่างนี้แล สักกายทิฐิจึงไม่มี ฯ

    (smile) มหาปุณณมสูตร
     
  11. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    พ.รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
    ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ

    ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
    พวกเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม
    หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม
    ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

    อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้
    ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ
    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
    เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น

    จิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    (smile)
     

แชร์หน้านี้

Loading...