ไม่ใช่นะครับที่มักกล่าวว่า “สมถะเหมือนการหลบภัย วิปัสสนาเหมือนการผจญภัย”

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 26 พฤษภาคม 2009.

  1. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    ถามท่านธรรมภูต

    1 ตราบใดที่ยังมีสมาธิอยู่รู้สึกว่า จิตปลอดโปร่ง ไม่มีโลภ โกธร หลง
    คำถามก็คือ กิเลิศเราหมด หรือถูกกดไว้
    2. วิปัสสนา กับปัญญา ใช่ตัวเดียวกันไหมคะ ถ้าใช่ วิปัสสนากรรมฐานก็คือฐานของปัญญาทำไหลอย่างต่อเนื่องใช่ไหมคะ
    3. ถ้าเราเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้แล้ว เราต้องเจริญกรรมฐานอีกไหมคะ หรือฝึกสามาธิเฉย
    4. คำว่า เห็นจิต ดูคิด ธรรมเกิด ถ้าเห็นผิดปกตินี่ เป็นเพราะความคิดเราเข้าไปปรุงเหรอค๊ะ
    5. ผู้ที่เข้าสมาบัติแล้วสามารถแจงและแยกวิหารธรรมได้ อย่างชัดเจนนี่เข้าจถูกต้องใช่ไหมคะ ความเข้าใจก็คือ ผู้ที่เข้าสมาบัติได้ื ได้อภิญญา 5 หรือ 8 คะ

    ขอบคุณทุกคำตอบนะค๊ะ
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    นานาจิตตัง
    ชีวิตประจำวัน คือการภาวนาด้วยสติ ตั้งใจเพียรมีชีวิตอยู่ด้วยสติทุกลมหายใจ รู้สึกตัวไว้เนืองๆ
    อยากเรียนเสริม ก็ กวดวิชาตามถนัด มี ภาวนากรรมฐาน 40 กอง
    คนมันก็เดินไปได้ด้วยสติ เราก็เดินไปด้วย ศีล สมาธิ ภาวนา
    เมื่อคนมันรู้จักกิเลส รู้ดีรู้ชั่ว เราก็ได้รับผลของกุศลจิตนั้น
    เมื่อคนมันรู้จนมีปัญญาเกิดขึ้น เราก็รู้ว่ามีปัญญาเกิดขึ้น
    คนเป็นอย่างไร เราก็เสวยผลกรรมที่เป็นวิบากตามนั้น
    เราเลือกทำอะไร คนก็เป็นอย่างนั้น ผลที่เราทำนั้นก็เป็นกรรม(ทั้งดีและชั่ว)สะสมอยู่ที่คน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2009
  3. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    รู้ว่าหายใจอยู่ นั่นคือวิตก
    วิจาร คือ รู้ว่าลมหายใจสั้นหรือยาว หยาบหรือละเอียด ใช่แบบนี้หรือเปล่าครับ
    อุปมาดัง คนตีระฆังแล้วมีเสียงดังกระจายออกไปจะไกลหรือใกล้ แล้วแต่กำลังที่ผู้นั้นตีระฆังหรือเปล่าครับ
     
  4. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    จะรับขนมจีบ ซาลาเปา เพิ่มมั๊ยคะ ท่านวิสุทโธ 55+ขออภัย

    (smile)
     
  5. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    คำถามทีุ่ถามไป ทำให้นานารู้จักท่านธรรมภูตดีขึ้น
    ผู้ที่ชอบถามผู้อื่นเป็นอนุสัยติดตัว ไม่รู้ตัว แต่ถ้าโดนถามกลับเขาจะเกิดการสับสนกับอนุสัยตัวเอง เพราะว่ามันค้นหาได้ยากมาก
    รู้สึกได้ยาก มาก ๆ นั้นแหล่ะคือตัวตนของท่าน ท่านธรรมภูต นอกจากจะเป็นสัตว์แพทย์แล้วขอโม้นิดนะ เป็นนักจิตวิทยาด้วย

     
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ตอบว่า กิเลสขณะนั้นดับไป เพราะมีสมาธิ และยังไม่ได้ไปกระทบกับสิ่งที่ก่อให้เกิดกิเลส ใจจึงไม่กระเพื่อม ต้องตั้งทัสนะว่า ธรรมดาจิตไม่หิวอารมณ์ก็ไม่ได้หมายความว่าวันข้างหน้าจะไม่เกิด เพราะมีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่กิเลสหมด

    วิปัสสนากรรมฐานคือ การกระทำที่ทำให้เกิดปัญญา ซึ่งเรียกว่า ญาณ อันเป็นภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาขั้นสูง ที่จะเห็นแจ้งแทงตลอดได้

    เวลาเจริญวิปัสสนาแล้ว ก็ต้องฝึกสมาธิไปด้วย วิปัสสนาไปด้วย เพราะว่า การวิปัสสนาจะเห็นเหตุอันละเอียดขึ้นไปอันอบรมสมาธิ และ ปัญญาให้ยิ่งๆ ขึ้นไปจนถึงวิมุตติ แต่ระหว่างนั้น จะได้มรรค ได้ผล เป็นเครื่องรับประกันความถูกต้องตามลำดับ ได้ผลชุ่มชื่นตามลำดับ
    เพราะความหลงและ ความไม่รู้ของเราเข้าไปปกปิดสัจธรรม อันยิ่งกว่าเดิม

    เข้าสมาบัติ ก็คือ การทำสมาธิทำฌาณ นั่นแหละ แต่จะได้อภิญญาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับวาสนา แต่ การทำสมาธิ คือ การทำให้จิตมีกำลัง เพื่อจะนำไปใช้งานได้ พูดง่ายๆ ก็คือ คนอ่านหนังสือเก่ง เพราะฝึกอ่าน มีกำลังจิตกำลังสมองได้ อันนี้ก็เหมือนกัน คนจะฉลาดจะไปอ่านตัวเอง มันก็ต้องฝึกสมาธิ ไม่ต่างกัน คนฟุ้งซ่านจะไปอ่านหนังสือ มันก็ได้แต่ความฟุ้งกลับไป จะให้ดูเฉยๆ มันก็ไม่ได้อะไร คนโมโห มาอ่านการ์ตูนก็หายโมโห นั่นแหละเหมือนกัน
    ยินดีครับ
     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    คุ๊ณ ม๋อ ...[​IMG]
     
  8. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167

    ดังนั้น วิปัสสนาญาณ หรือที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา จึงเกิดขึ้นกับ ผู้บรรลุมรรผลเท่านั้น


    ตราบใดที่ภาวนามยปัญญายังไม่เกิดขึ้นกับปุถุชน ซึ่งมีแต่สุตปัญญา จินตปัญญา จึงไม่มีการรู้ธรรมเห็นธรรมแบบพระอริยะเจ้าที่ดวงตาเห็นธรรมแล้ว

    เพราะเหตุและปัจจัย คือ อบรมศีล สมาธิ ปัญญา ยังไม่บริบูรณ์
    คือ ศีลขาดทะลุ สมาธิไม่ตั้งมั่นจิตใจโลเล ปัญญาไม่เกิดเพราะยังไม่เห็นทุกข์สัจจ์ที่ปิดบังปัญญา
     
  9. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    ขอบคุณ คุณขันธ์ และคุณวิสุทโธ ที่ให้คำตอบ ได้ค่อนข้างละเอียดทีเดียว
    ติดนิดเดียว ขอถามอีกสักหน่อยในคำอธิบายก็กระจ่างแล้วค่ะ

    คุณขันธ์ เคยบอกนานาว่า ผู้ที่ฉลาดในการมองโลก คนนั้นจะมีกิเลิศสูง
    ทางโลกเรียกว่าไหวพริบ ทางธรรมนี่เรียกว่ายึดอัตตา ถูกต้องไหมคะ นานาคาใจขอถามเลยแล้วกัน จะเอาอวิชาออกจากตัวสักหน่อยค่ะ

    คุณวิสุทธโธ คะ คำว่าศีลขาดทะลุนี ใช่เราเป็นคนไม่ดีเหรอ รู้สึกว่าคำว่าศีลขาดทะลุน่ากลัวเหมือนกัน และทุกข์สัจจ์ นี่แปลว่าอะไรคะ

    นอกนั้นไม่มีอะไรถามต่อแล้วค่ะ รายละเอียดค่อนข้างชัด เพียงแต่ไม่เข้าใจคำบางคำ
    ความหมายบางความหมาย ผ้าเปลื้อนน่ะ ต้องออกแรงซักให้มันขาวสักหน่อย
    ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ
     
  10. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    คำว่าศีลขาดทะลุ คือ ข้อศีล 5 ข้อหนึ่งข้อใด ยังรักษาไม่เป็นปกติ ไม่เกี่ยวกับเป็นคนไม่ดี เพียงแต่..มีบางครั้งที่ยังมีความประมาท ทำให้รักษาศีลของตนไม่บริบูรณ์ จึงควรตั้งตนอยู่ในไม่ประมาท สำรวมรักษากายและวาจาให้เป็นปกติ ก็จะถึงพร้อมซึ่งความบริสุทธิ์แห่งศีล...

    คำว่า..คนไม่ดี เป็นคนที่มีกายทุจริต วาจาทุจริต ใจทุจริต เป็นปกติวิสัย
    โดยมีเจตนาเป็นที่ตั้งในการคิด พูด ทำ เป็นประจำ

    ทุกข์สัจจ์ นี่แปลว่า ทุกข์ที่เกิดจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย
    เป็นทุกข์ที่ทุกบุคคลต้องเผชิญเสมอกัน...ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

    ส่วนคุณนานา ไม่ใช่คนไม่ดี
    เป็นคนดีที่สนใจในการประพฤติปฏิบัติธรรม..ทั้งที่อายุยังน้อย
    แต่ด้วยประสบการณ์ต่างๆ ตามวัย..
    ซึ่งต้องอาศัยวันเวลา...ในการเพิ่มพูนประสบการณ์
    วันหนึ่งข้างหน้า...จะเป็นที่พึ่งแก่คนอีกมากมาย
    ด้วยอาชีพและความตั้งใจดีเป็นทุนเดิม
    ทั้งทางโลกทางธรรม
     
  11. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    ขอบคุณค่ะ คุณวิสุทโธ สำหรับคำตอบ อนุโมทนาค่ะ
     
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    แจม แยม แจม แยม<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    1 ตราบใดที่ยังมีสมาธิอยู่รู้สึกว่า จิตปลอดโปร่ง ไม่มีโลภ โกธร หลง <o:p></o:p>
    หลง .... หากมีคำว่าตราบใดที่ยังมีแสดงว่ายังไม่ตลอด...และสมาธิในที่นี้หมายถึงอะไร หากหมายถึงจิตตั่งมั่นไม่หวั่นไหวก็โอเค...<o:p></o:p>
    คำถามก็คือ กิเลิศเราหมด หรือถูกกดไว้ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เสนอแนะว่า.... กิเลสอยู่เต็มประดา ไม่ได้หมดหรือถูกกดไว้ แต่ด้วยจิตที่ตั่งมั่นรู้ ในกิเกสที่เกิดขึ้น ทำให้ละไปทีละขณะ ที่กิเลสมันผุดขึ้น และสมาธิที่จิตตั่งมั่นรู้ จึงรู้สึกตัวทำให้ไม่ไหลตามตามกิเลส การที่มีสมาธิ กิเลสไม่ได้ถูกกดข่มไว้ แต่เป็นการละไปทีละขณะ (แรกๆการฝึก จะอาศัยตามรู้)ด้วยจิตที่ตั่งมั่นในการรู้เท่าทัน เรียกว่า กิเลสมา จิตรู้ทัน <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p></o:p>
    2. วิปัสสนา กับปัญญา ใช่ตัวเดียวกันไหมคะ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    วิปัสนาเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดปัญญา และอบรมจนเป็นอธิปัญญา ปัญญาอันไพบูลย์ ปัญญาที่บริสุทธิ์ จะว่าในคุณลักษณะ ย่อมไม่ใช่ตัวเดียวกันแต่อยู่ด้วยกัน <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ถ้าใช่ วิปัสสนากรรมฐานก็คือฐานของปัญญาทำไหลอย่างต่อเนื่องใช่ไหมคะ<o:p></o:p>
    ...เสนอว่า... วิปัสนากรรมฐาน ก็คือ กระบวนการวิธีการเกิดเจริญปัญญาที่มั่นคง<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>

    3. ถ้าเราเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้แล้ว เราต้องเจริญกรรมฐานอีกไหมคะ หรือฝึกสามาธิเฉย<o:p></o:p>
    ...หากคำว่ากรรมฐาน ในที่นี้หมายถึงการเจริญสมถะ ...เสนอว่า เมื่อเข้าใจวิปัสนากรรมฐานแล้ว ย่อมรู้ดีว่า อะไร ควรเจริญ เมื่อไรที่ไหน อย่างไร<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ..หากว่าหมายถึง กรรมฐาน ในความหมายอีกแบบ จะสื่อถึงว่า วิปัสนากรรมฐาน และ สมถะกรรมฐาน ซึ่งรวมแล้วเรียกว่า กรรมฐาน <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    4. คำว่า เห็นจิต ดูคิด ธรรมเกิด ถ้าเห็นผิดปกตินี่ เป็นเพราะความคิดเราเข้าไปปรุงเหรอค๊ะ<o:p></o:p>
    ....ต้องแยกให้ออกก่อนว่า คำว่า ถ้าเห็นผิดปกตินี่ สื่อถึงอะไร <o:p></o:p>
    ในความหมายที่ต้องการสื่อนั้น ที่ว่าดูคิด ไม่ว่า คิดดี คิดถูก คิดผิด คิดเล่นๆ คิดไม่เล่น คิดจริง คิดจัง ล้วนเป็นของถูกดูถูกรู้ทั้งนั้นเมื่อจิตตั้งมั่น ดูคิดได้ ความคิดเข้าไปปรุงนั้น ย่อมเป็นธรรมชาติของจิต เรียกว่า จิตสังขาร แต่การเข้าไปไหลหลงตามจิตสังขาร(สิ่งที่ปรุงแต่ง)ตัวนี้ จึงต้องละ <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    5. ผู้ที่เข้าสมาบัติแล้วสามารถแจงและแยกวิหารธรรมได้ อย่างชัดเจนนี่เข้าจถูกต้องใช่ไหมคะ <o:p></o:p>
    ....การเข้าสมาบัติ ต้องดูว่า เข้าที่ส่วนไหน ส่วนที่สามารถเอื้อให้แยกหรือเรียกว่าเป็นเหตุให้แยกวิหารธรรมนั้น เป็นส่วนต้นๆของสมาบัติ..บางช่วงของสมาบัติเป็นที่พัก<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ความเข้าใจก็คือ ผู้ที่เข้าสมาบัติได้ื ได้อภิญญา 5 หรือ 8 คะ <o:p></o:p>
    ....เสนอว่า ...การได้ อภิญญา ไม่ได้แยกวิหารธรรม มีแต่สติปัญญาเท่านั้นที่แยกวิหารธรรมได้ แต่อภิญญาบางอย่างเป็นส่วนเอื้อในการแยกวิหารธรรม หากยกไว้เป็นเครื่องทำให้เกิด..<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ขอบคุณทุกคำตอบนะค๊ะ..... ชิ มิ ชิ มิ..<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
     
  13. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ขอยืมรองเท้าด้วยนะจ๊ะ นานากร...

    รู้สึกว่าคำว่าศีลขาดทะลุน่ากลัวเหมือนกัน
    ...คำว่าน่ากลัวย่อมไม่มีในผู้มั่นคงในความดี ให้เจตนาเป็นทาน ให้เจตนาความดีเป็นทาน ย่อมไม่ถึงด้วยเจตนาขาด ทะลุ

    และทุกข์สัจจ์ นี่แปลว่าอะไรคะ
    ...เกิดแก่เจ็บตายในทางโลก นั้นเป็นทุกข์ ในสัจจะสมมุติ
    ทุกข์สัจจ์ คือ สิ่งที่ทำให้ลำบาก ในการเวียนว่ายในสังสารวัฏ
    การเห็นและรู้แจ้งในไตรลักษณะ ของปรมัตถ์ธรรม หรือเรียกว่า สัจจะปรมัตถ์ ย่อมเรียกว่าเห็น ทุกข์สัจจ์
     
  14. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    อย่าลืมคืนล่ะ
     
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ผมไม่ได้พูดแบบนั้น ผมพูดว่า อย่าฉลาดเกิน มันจะพัง
    เพราะว่า ที่บอกว่า ฉลาดเกินนี่ เนื่องจากว่า ความคิด สังขาร มันปรุงไปไว ทีนี้ เวลาจิตใจไปรับรู้อะไรแล้วมันหมายรู้ไปว่า ต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ คือมันคิดไปได้ แต่ว่าถ้ากิเลสเต็มหัวใจขณะนั้น มันก็พุ่งออกไปในทิศทางที่ผิด

    คำว่าคนมีไหวพริบ คือ คนที่มีสติปัญญาไว อันเกิดแต่สมาธิที่ดี จึงมีไหวพริบ
    แต่ก็นั่นแหละ หากว่าไม่เท่าทันกิเลสในใจ ก็จะกลายเป็น ปรุงแต่งมาก
    แล้ว พลอยจะคิดว่า ตัวเองรู้มากที่สุด คนอื่นรู้ไม่เท่าเรา เรานี้ช่างอัศจรรย์ทำไมเราคิด เรารู้ไปหมด หารู้ไม่ว่า เรานั้น รู้น้อยที่สุด เพราะไปรู้แต่ขยะ พลอยจะไปดูถูกคนอื่นไปเสีย

    บางคน คิดอะไรไม่ไว แต่ใจไม่ปรุงไม่แต่ง สงบเรียบร้อย ไม่มีปฏิภาณมากมาย แต่ใจแข็งแกร่งเป็นเลิศ

    ซึ่ง เราก็มองเห็นดังนั้นเราก็ต้องมาศึกษาพระพุทธศาสนาให้เข้าใจ ในความจริง เราก็จะเป็นคนที่ เท่าทันกิเลส จะช้าก็ได้จะเร็วก็ได้ รู้ว่า จิตตอนนี้วิ่งไป จิตตอนนี้สงบ จิตตอนนี้ วุ่นวายไม่เหมาะแก่การงาน จิตตอนนี้เหมาะแก่การงาน นั่นแหละเรียกว่า นี่เรามียอดแห่งทรัพย์คือ จิตเราเอง ที่เราเอาไปใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์ก็ได้

    ก็สรุปว่า คนฉลาดมากมันมีสองประการ คือ ฉลาดแต่ไม่เท่าทันกิเลส ทางโลกเขาไม่รู้เขาก็นึกว่าคนนี้ฉลาด แต่ทางธรรมเขารู้เขาก็ว่า นี่โง่ จนกว่า คนฉลาดมากนั้นเขาเข้าใจในกิเลส รู้จิตตน จึงเรียกว่า ฉลาดในทางธรรม

    มีคำๆ หนึ่ง พ่อผมสอนเอาไว้ว่า " อย่าฉลาดในทางโลก แต่โง่ในทางธรรม"


     
  16. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    อนุโมทนา ในคำตอบค่ะ คุณขันธ์ คุณวิษณุ
    นานาไม่ได้ดูถูกใครค่ะ คุณขันธ์ ค่ะ ตามหลักจิตวิทยา เขาก็จะอ้างอิง พุทธศาสนาเหมือนกันค่ะ
    ทางจิตวิทยา เขาเรียกอนุเคราะห์ ทางศาสนาเขาเรียกชี้ีทางให้ค่ะ ไม่ไปไร ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเจตนา นานาจำไว้ว่า มีคำ
    คำหนึ่งเหมือนกันค่ะ เพื่อนที่ดี คือเพื่อนที่ขัดใจเราค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2009
  17. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    เหมือนคำพูดที่ว่า...ไม่ให้เพ่งจิต แต่ให้รู้จิต
    คำว่า เพ่ง ไม่ใช่มีความหมายไปนั่งเพ่ง นั่งเล็งเป็นถ้ำมอง หรือเพ่งเล็งอะไร ทำให้จิตมันมีัอารมณ์เคร่งเครียด...ขุ่นมัว
    แต่ให้กำหนดจิต ให้มีสติระลึกรู้ สำรวมจิต ไม่ให้จิตส่งออกไปรู้อารมณ์ภายนอก ค่อยๆปัดอารมณ์ฟุ้งซ่านที่กระจัดกระจายทั่วทุกทิศทุกทาง จิตที่มีแต่อารมณ์หวั่นไหวหลากหลายอารมณ์ เป็นจิตที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีพลัง ไม่มีความตั้งมั่น ฟุ้งซ่าน แตกต่างจากจิตที่มีสมาธิ มีพลัง มีคุณภาพ ไม่ฟุ้งซ่าน มีความตั้งมั่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสติ..เป็นจิตที่ได้รับการฝึกมาดีแล้ว เพราะเรื่องของจิต...เป็นของที่ทำได้ยาก รู้ยากเห็นยาก หากไม่มีสมาธิ ไม่สงบระงับนิวรณ์ธรรม จิตนั้นก็ขาดคุณภาพ ไม่เหมาะกับการพิจารณาอรรถธรรม เพราะระงับความฟุ้งซ่านไม่อยู่..ขาดสติที่จะกำหนด ไหลไปไหลมา จับต้นชนปลายไม่ถูก เหมือนการอ่านหนังสือแต่ไม่มีสมาธิ ขาดสติ คิดฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่นๆ...
    ผู้อ่านจะไม่รู้เรื่อง หรือดูทีวี ตาดูหูฟัง แต่ใจไปคิดเรื่องอิ่น..ดูรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง เพราะขาดสติ ขาดสมาธิ ที่สำคัญ ขาดปัญญาไม่รู้ตัวว่าควรทำอะไร

    ดังนั้นการฝึกอบรมตน ด้วยการเจริญสติให้มาก ฝึกฝนอบรมสมาธิ ใช้ปัญญาหมั่นพิจารณาในกายในใจ เป็นสิ่งที่ต้องทำให้มากๆ..แตกต่างจากนี้จะผิดจากอรรถจากธรรม

    การไม่ได้ฝึกอบรมตน...เกาะติดแต่..ตัวหนังสือ จดจำเข้าใจแต่ความหมายของคำสำนวน..ประโยคต่างๆ หาวิธีปั้นแต่งสำนวนโวหาร..ให้ดูละเมียดขึ้น
    ก็แค่..นั้น เป็นนักปราชญ์ทางโลก แต่ไม่ใช่ทางธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2009
  18. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    ขอนำเอาไปพิจารณาเพื่อการพัฒนาจิต อนุโมทนาท่านวิสุทโธ
     
  19. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    มีปรัชามาฝาก ไหน ๆ ก็ไหนแล้ว

    โลกคืออะไร การเคลื่อนไหวไปอย่างไร มนุษย์เป็นเครื่องจักร
    หรือมีวิญญารเป็นอิสระแก่ตัวเอง โลกมีความหมายอย่างไรได้บ้างต่อมนุษย์
    เหตุผลพามนุษย์ไปสู่ความจริงของโลกได้เพียงใด วิทยาศาสตร์คืออะไร
    เป็นความรู้ทีสำคัญที่สุดของมนุษย์เราหรือ ศาสนาและศิลปะมีบทบาทอย่างไรในชีวิตของเรา
    อะไรคือความหมายของชีวิต เราจะอยู่กับตัวเอง และอยู่กับเพื่อนมนุษย์อย่างไร
    นี้คือโลกทางปรัชชา ที่พรรณามา อันนี้ทุกข์ และคิดต่อมากมาย

    โลกทางศาสนาบอกว่า สิ่งกล่าวมานั้น เกิดจากสมมุติและอุปทาน เมื่อคิดได้แบบนี้แล้วทำให้วางได้ ไม่ทุกข์เท่าไรแฮะ เอาทางนี้ดีกว่า


    พอดีเอาข้อธรรมที่ท่านๆแนะนำไปพิจารณาแล้ว แอบเอาเทียบดูน่ะค่ะยังได้เท่านี้อยู่ อนุโมทนาอีกที
     
  20. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    นี่ล่ะ..โอปนยิโก..
    น้อมเข้ามาสู่ความจริง...
    พิจารณาเนืองๆ...เปรียบเทียบโลกเปรียบเทียบธรรม..เห็นคุณเห็นโทษ
    เมื่อรุ้ด้วยปัญญาจากการพิจารณาตามความเป็นจริง..
    จิตจะหยั่งเข้าสู่ความสงบ..เพราะมีธรรมเข้าไปหล่อเลี้ยงจิตใจ..
    จิตและสติจะรวมเป็นหนึ่งอันหนึ่งอันเดียวกัน
    นั่นแหละ่...วิธีปัญญาอบรมสมาธิ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...