สัมมาทิฐิ-รู้เห็นตามความเป็นจริง จะรู้ตามจริงได้อย่างไรถ้าไม่มีสัมมาสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 9 มิถุนายน 2009.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    <!-- google_ad_section_end --> ท่านกำลังพูดถึงการดูจิต ติดคิดจนจิตกระด้างต่ออารมณ์ใช่มั้ย
    ถึงเปรียบได้ตรงมาก


    เป็นเพียงความเขลาของวัวที่เคยย่ำ
    หรือ อยากจะย่ำเท้าไปในโคลนตมที่ไม่อาจทำให้หวั่นไหวได้แล้ว
    เพราะจิตกระด้างคุ้นชินกับโคลนตมนั้น
    ถอดถอนอารมณ์ไม่เป็น ได้แต่หลอกตัวเองว่าวางเฉยได้
    แท้จริงแล้วเป็นความกระด้างคุ้นชินต่างหาก


    ;aa24
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านอาจานนิฯ ท่านพูดเองนะว่า
    นิพพาน คือ สภาวะสิ้นตัณหานะครับ


    ในเมื่อมีสภาวะ ก็ตัองมีสิ่งรองรับสภาวะ
    สภาวะเกิดเองลอยๆไม่ได้ เช่น นิพพานเพราะสิ้นตัณหา(ราคะ โทสะ โมหะ)


    เมื่อตัณหาสิ้นไป รู้ มั้ย???
    ไม่รู้บอกได้ยังไงครับว่าสิ้นตัณหา
    ศึกษาธรรมอย่าอาศัยเพียงเชื่อตามๆกันมาเท่านั้นหรือเดาสวดเอา


    ;aa24
     
  3. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    นักปฏิบัติให้ยึดการพิจารณาร่างกายเป็นหลัก

    เทศน์อบรมพระวันเข้าพรรษา ณ วัดป่าบ้านตาด
    เมื่อค่ำวันที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
    นักปฏิบัติให้ยึดการพิจารณาร่างกายเป็นหลัก<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>​
    พระมีจำนวนเท่าไรที่จะเข้าจำพรรษาปีนี้ (๕๖ ครับ) นู่นน่ะพระตั้ง ๕๖ องค์อยู่ที่นี่ กำหนดตายตัวไว้เป็นประจำเรื่อยมาว่า ๕๐ องค์ ปีนี้เป็น ๕๖ ทางนู้นขอมา ทางนี้ขอมา สุดท้ายก็เป็น ๕๖ ส่วนเพิ่มนะนี่ ตั้งแต่ ๕๐ ขึ้นไปนี้เป็นส่วนเพิ่มจากปรกติ ปรกติเพียง ๕๐ องค์ ไม่ให้มากกว่านั้น เพราะสถานที่พอเหมาะพอดีกับการบำเพ็ญสมณธรรมของพระแต่ละที่ๆ ที่พักอยู่ นี่เพิ่มขึ้นตั้ง ๖ องค์<o:p></o:p>
    วันนี้เป็นวันเข้าพรรษาตามฤดูฝนที่เคยปฏิบัติมา บรรดาพระเจ้าพระสงฆ์ที่มาจากที่ต่างๆ มารวมในสถานที่นี่ในพรรษานี้ ปรากฏว่ามีถึง ๕๖ องค์ และที่อื่นๆ ด้วยที่มาฟังอรรถฟังธรรมในเวลาเดียวกัน พร้อมทั้งประชาชนญาติโยมชาวพุทธลูกศิษย์ตถาคต ได้เสียสละเวล่ำเวลา หน้าที่การงานทุกสิ่งทุกอย่างมาเพื่ออรรถเพื่อธรรม บำเพ็ญกองการกุศลผลประโยชน์อันยิ่งใหญ่เข้าสู่ใจของตนๆ พร้อมทั้งได้ยินได้ฟังอรรถธรรมนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อกำจัดสิ่งชั่วช้าลามกที่เป็นภัยต่อตนเองตลอดมาอยู่ภายในใจนี้ ให้กระจายหายออกไป มีความสว่างไสวขึ้นภายในจิตใจของตน จากอรรถจากธรรมซึ่งเป็นแสงสว่างหาประมาณ และหาสิ่งเสมอเหมือนไม่ได้ คือธรรม<o:p></o:p>
    วันนี้จะเริ่มแสดงธรรมให้ท่านนักปฏิบัติทั้งหลายฟังทั่วถึงกัน ซึ่งนานๆ ประหนึ่งว่าเป็นปีละครั้งถึงจะได้แสดงหนหนึ่ง เช่น เข้าพรรษาปีกลายนี้ แล้วก็มาปีนี้ถึงจะได้เทศน์ทีหนึ่งๆ เนื่องจากสุขภาพร่างกายไม่อำนวย และหน้าที่การงานประจำตนก็มีเยอะ จึงไม่ค่อยมีโอกาสได้แนะนำสั่งสอนบรรดาพระเจ้าพระสงฆ์ที่มาพึ่งพาอาศัยอยู่กับเรา วันนี้เป็นโอกาสอันดีงามที่ท่านทั้งหลายมาจำพรรษาที่นี่ ขอให้พากันตั้งอกตั้งใจ ปฏิบัติตามเยี่ยงอย่างของพระพุทธเจ้าที่ทรงพาดำเนินมา<o:p></o:p>
    ในครั้งพุทธกาลท่านมีการจำพรรษาอย่างนี้ตลอดมา ในเบื้องต้นก็ไม่มีการจำพรรษา ต่อมาเมื่อมีเหตุการณ์เข้ามาเกี่ยวข้องก็เลยทรงบัญญัติให้มีการจำพรรษา สามเดือนนี้ไม่ให้ไปเที่ยวแรมวันแรมคืนที่ไหน นอกจากมีความจำเป็น เช่นท่านยกไว้เพียงเอกเทศแต่ที่สมควรซึ่งควรจะเป็นไปในธรรมะที่วางเป็นรากฐานนี้แล้ว ก็อนุโลมให้เข้าเป็นอันเดียวกัน เช่น บิดามารดา อุปัชฌาย์อาจารย์ สัทธิงวิหาริก เป็นต้น เจ็บไข้ได้ป่วย ก็ให้สัตตาหะไปได้ภายใน ๗ วัน เรายกมาเพียงเอกเทศ ที่มากกว่านั้นก็มี ท่านให้อนุโลมเข้ามาส่วนจำเป็นเช่นเดียวกัน ไปได้ ๗ วัน ทั้งไปทั้งกลับนับแล้วได้ ๗ วัน แล้วให้กลับมาค้างที่วัดคืนหนึ่ง หากมีความจำเป็นยังสืบเนื่องกันอยู่ ก็ค่อยสัตตาหะไปในวันหลังอีก แต่อย่างไรต้องให้กลับมาพักค้างที่วัดอย่างน้อย ๑ คืนก่อน แล้วก็สัตตาหะต่อไปได้ ๗ วันเช่นเดียวกันอย่างนี้<o:p></o:p>
    เช่น วิหารชำรุด ที่พักที่อาศัยของส่วนรวมคือพระเณรทั้งหลายชำรุดทรุดโทรม จะไปหาไม้เครื่องอุปกรณ์ต่างๆ มาปลูกสร้างหรือซ่อมแซมศาลา ก็ให้ไปได้ภายใน ๗ วันแล้วกับมา เมื่อยังไม่เสร็จก็ให้ไปอีกจนกว่าจะเสร็จ นี่ท่านแสดงเอาไว้ นอกจากนั้นก็มีปริยายไปอีกที่พอเหมาะสมจะสัตตาหะก็สัตตาหะไปได้ นี่เราอยู่เป็นถิ่นเป็นฐานในสถานที่เหมาะสมเช่นนี้ จงพากันตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติให้สมกับเพศของเราซึ่งเป็นเพศที่ละเว้นทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่อาลัยเสียดายสิ่งใดนอกจากธรรมที่จะอุตส่าห์บำเพ็ญขวนขวายเข้าสู่ใจโดยถ่ายเดียวเท่านั้น<o:p></o:p>
    ในอิริยาบถทั้งสี่ให้เป็นไปด้วยความพากเพียร ความพยายาม ความสำรวมระวังตนอยู่โดยสม่ำเสมอ มีสติควบคุมตัวเอง ยืนเดินนั่งนอน ความเคลื่อนไหวไปมาในอาการใดขอให้มีสติติดแนบอยู่กับตนตลอดเวลา สติเป็นพื้นฐานสำคัญมาก จากนั้นก็เกี่ยวกับเรื่องความพากเพียร ท่านผู้พึ่งฝึกหัดใหม่ที่ยังไม่ได้หลักได้เกณฑ์ ท่านก็สอนให้นำคำบริกรรมเข้ามายึดมาเกาะ ให้ใจได้ยึดได้เกาะกับคำบริกรรมนั้นๆ เช่น พุทโธบ้าง ธัมโมบ้าง สังโฆบ้าง มรณัสสติบ้าง ตามแต่จริตนิสัยจะชอบในคำบริกรรมใด ให้นำคำบริกรรมนั้นเข้ามากำกับใจ แล้วตั้งสติติดแนบอยู่กับคำบริกรรม ไม่ให้คิดปรุงไปในสิ่งใด นอกจากปรุงในคำบริกรรมอย่างเดียวเท่านั้น เช่น พุทโธๆ กับสติให้สืบเนื่องกันอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ไม่ว่ายืน ว่าเดิน ว่านั่ง ว่านอน เว้นแต่หลับเท่านั้น ให้มีสติติดแนบอยู่กับใจ<o:p></o:p>
    เพราะใจนี้มีภัยรอบด้าน กิเลสนั้นแลตัวสำคัญ ที่ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจ ไม่มีสิ่งใดที่จะถอดถอนชะล้างได้นอกจากธรรมเท่านั้น เพราะฉะนั้นธรรมจึงเป็นความจำเป็นอย่างมากทีเดียวสำหรับเราผู้บวชมาแล้วและเป็นนักปฏิบัติ ที่จะกำจัดสิ่งที่เป็นภัย คือกิเลสทั้งหลายเหล่านี้ออกโดยลำดับลำดา ในเบื้องต้นให้ใช้คำบริกรรมกำกับใจ โดยมีสติกำกับรักษาอย่าให้เผลอ นี้คือผู้ที่มุ่งอรรถมุ่งธรรม มุ่งต่อแดนพ้นทุกข์ให้ก้าวเดินตามนี้จะไม่ผิดหวังตลอดไป <o:p></o:p>
    มรรคผลนิพพานในครั้งพุทธกาลมีอยู่ฉันใด ในครั้งนี้ก็มีอยู่ฉันนั้น สำหรับผู้ปฏิบัติด้วยความมีสติสตังตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้โดยถูกต้องแล้วนั้น มรรคผลนิพพานอยู่ที่ใจของผู้ปฏิบัติถูกทางนั่นแล ไม่ได้อยู่ที่ต้นไม้ ภูเขา ดินฟ้าอากาศ กาลนั้น สถานที่นี่ เวล่ำเวลามืดแจ้งอย่างนี้ มรรคผลนิพพานไม่อยู่ แม้กิเลสก็ไม่อยู่เหมือนกัน อยู่ที่ใจ กำจัดกิเลสก็กำจัดที่ใจ ด้วยความพากเพียรของตน ตามวิธีการที่อธิบายให้ฟังนี้ <o:p></o:p>
    ผู้เริ่มต้นให้ใช้คำบริกรรม ให้เป็นจริงเป็นจังอย่าเหลาะแหละ เราชอบคำบริกรรมใดที่ถูกจริตนิสัยของเรา ให้ยึดคำบริกรรมนั้นไว้กับใจ ผูกมัดไว้ที่ใจ เพราะใจนี้กิเลสออกมาช่องเดียวกันจากใจ ผลักดันใจให้อยากคิดอยากปรุง อยากรู้อยากเห็น อยากสัมผัสสัมพันธ์ในสิ่งต่างๆ ไม่หยุดไม่ถอย ไม่ปล่อยไม่วางใจเลย มีความหนุนอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ถ้าจะปล่อยให้กิเลสหนุนอย่างนี้ ก็เป็นกี่กัปกี่กัลป์ ไม่มีต้นมีปลาย ไม่มีที่ยุติได้เลย จึงต้องอาศัยธรรมเป็นเครื่องยับยั้ง เป็นเครื่องกำกับรักษา กำจัดสิ่งเหล่านี้ <o:p></o:p>
    ในเบื้องต้นให้ใช้คำบริกรรม เช่น กิเลสอยากจะคิดเรื่องอะไร ไม่ยอมให้คิดในเวลานั้น ให้คิดอยู่กับคำบริกรรมอย่างเดียว ไม่นานนักสำหรับผู้ที่ปฏิบัติด้วยความจริงจังแล้ว จะเห็นความสงบของใจปรากฏขึ้นด้วยการภาวนา มีคำบริกรรมและสติเป็นรากฐานสำคัญนี้โดยถ่ายเดียว ที่อื่นเราอย่าไปหวัง หวังมรรคผลนิพพานที่โน่นที่นี่ อย่าไปหวัง เป็นเรื่องเหลวไหลลอยลม ไม่ใช่เรื่องจริง <o:p></o:p>
    เรื่องจริงคือ ให้ปักลงที่ตรงนี้แหละ ตั้งคำบริกรรมลงไป ตั้งสติให้ดี ใจของเรามันจะฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมไปไหน ไม่พ้นคำบริกรรมที่ผูกมัดนี้ไว้ได้ คือช่องทางที่กิเลสจะออก ออกไปทางสังขาร สัญญาอารมณ์ต่างๆ ออกมาที่ใจ ทีนี้เราไม่ต้องการสิ่งเหล่านี้ให้เข้ามาพลุกพล่านรบกวนใจ เราต้องการบำรุงใจของเรา รักษาใจของเราให้ปลอดภัยจากกิเลสทั้งหลายเหล่านี้ด้วยคำบริกรรม ตามที่จริตนิสัยชอบ และให้ติดแนบอยู่กับคำบริกรรม เคลื่อนไหวไปมาที่ใดก็ตาม ไม่เพียงแต่ว่าเรานั่งภาวนาหรือเดินจงกรม ที่เรียกว่า ความเพียร จึงมีสติ <o:p></o:p>
    สตินั้นให้มีทุกเวลา ดังที่ท่านแสดงไว้แล้วว่า สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา สติจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง ในธรรมทุกขั้น สตินี้ปล่อยไม่ได้เลย ตั้งแต่พื้นๆ ที่เราเริ่มตั้งสติ จนกระทั่งสติสุดท้ายคือ มหาสติมหาปัญญา สตินี้จะติดแนบเข้าไปจนเป็นความละเอียดลออ ถึงขั้นมหาสติมหาปัญญา จากการบำรุงรักษาสืบต่อกันไม่หยุดไม่ถอยนี้แล <o:p></o:p>
    ท่านทั้งหลายต้องการมรรคผลนิพพาน อย่ามองไปที่อื่นที่ใด ให้นอกเหนือไปจากจุดหมายที่แสดงไว้เวลานี้ ในเบื้องต้นให้ตั้งคำบริกรรมให้ดี แล้วมีสติกำกับ เคลื่อนไหวไปไหน สติกับคำบริกรรมอย่าให้เคลื่อน ให้มีความรู้สึกตัว หากเรามีความเคลื่อนไหวกับกิจการงานใด ก็ให้มีสติ ถ้าไม่บริกรรม ก็ให้มีสติรับรู้อยู่นั้น เรียกว่า เป็นสัมปชัญญะ แต่ส่วนมากของท่านผู้ปฏิบัติจริงๆ แล้ว จะประกอบการงานใดๆ ก็ตาม คำบริกรรมจะติดแนบอยู่กับใจตลอดไป นี่เป็นความเหมาะสมมาก <o:p></o:p>
    ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งธรรมะข้อนี้เข้าสู่ใจ ด้วยความจริงจัง อย่าเหลวไหล อย่าเหลาะแหละ อย่าโยกๆ คลอนๆ จะไม่เป็นผลอะไรเท่าที่ควร และไม่เป็นผลเลย ต้องเป็นคนจริงจัง ธรรมะของพระพุทธเจ้าทุกบททุกบาท เป็นธรรมะที่ออกมาจากความจริงจังจริงใจของพระพุทธเจ้าทั้งนั้น ตรัสรู้ก็ด้วยความจริงใจ บำเพ็ญเพียรทุกอย่างด้วยความจงใจจริงใจทุกประเภทแห่งธรรม จนได้ตรัสรู้ เวลามาสอนโลกก็เป็นธรรมจริงจังแม่นยำ <o:p></o:p>
    ดังที่เราทั้งหลายได้ยินและสวดอยู่ทุกเช้าทุกเย็นนั้นว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว นี่แหละจริงจังทุกอย่าง รู้ขึ้นมาก็จริงก็จัง ไม่มีเหลาะแหละ โยกๆ คลอนๆ จึงเรียกว่า สวากขาตธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้ว ด้วยความจริงจังของใจ ที่ทรงรู้ทรงเห็นทุกอย่างแล้ว ด้วยความจริงใจในความพากเพียรทุกด้าน <o:p></o:p>
    ให้เรายึดข้อนี้เป็นหลัก ถ้าเรายึดข้อนี้เป็นหลักแล้ว มรรคผลนิพพานจะปรากฏขึ้นที่ใจของเราที่บำรุงเหตุเป็นลำดับลำดา เริ่มตั้งแต่ความสงบของใจ ใจมีแต่ความยุ่งเหยิงวุ่นวาย เพราะกิเลสก่อกวนตลอดเวลา หาความสงบไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องให้ตั้งจิตลงในคำบริกรรม จิตที่มีความสงบไปหลายครั้งหลายหน ก็เป็นการส่งเสริมผลนี้ให้ปรากฏขึ้นเป็นลำดับลำดา จนจิตกลายเป็นสมาธิได้ ที่สงบเบื้องต้น สงบครั้งนั้นครั้งนี้ ท่านเรียกว่า สมถะ คือ ความสงบใจ หลายครั้งหลายหนก็ส่งผลเข้าไปถึงความแน่นหนามั่นคง ความสงบมั่นคงเข้าไป จนกลายเป็นสมาธิขึ้นมา นี่ท่านเรียกว่า สมาธิ นี่เกิดขึ้นจากเหตุที่เราบำเพ็ญมาตั้งแต่เบื้องต้น จะไม่เป็นอื่น ขอให้ปฏิบัติตามนี้ จะสมชื่อสมนามตามธรรมที่สอนไว้ว่า สวากขาตธรรม ธรรมที่ท่านตรัสไว้ชอบแล้ว ขอให้เราบำเพ็ญโดยชอบธรรมถูกทางตามศาสดาสอนไว้เถิด เรื่องมรรคผลนิพพาน อย่าไปคิดให้เสียเวล่ำเวลาที่ไหน อยู่ที่ใจของเรานี้แล เป็นแต่เพียงเวลานี้ถูกกิเลสตัณหาซึ่งเทียบกับจอกกับแหน มันปกคลุมหุ้มห่อหัวใจเอาไว้ <o:p></o:p>
    จอกแหนคือกิเลส มันปกคลุมหุ้มห่อจิตใจเอาไว้ แสดงอาการใดออกมา มีแต่อาการของกิเลสที่มีอำนาจเหนือใจ แสดงออกไปเสียทั้งนั้น เพราะฉะนั้นรอบตัวของเรา ความคิดทั้งวันทั้งคืนจึงมีแต่เรื่องกิเลสทำงาน ผลของมันก็ให้เกิดความเดือดร้อนผิดหวังๆ ไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นจงทำใจให้มีความสงบเย็น เมื่อใจมีความสงบเย็นแล้ว ความเย็นนี้จะเข้าสู่ความแน่นหนามั่นคง ความสว่างไสวของใจไม่ต้องบอก พอกิเลสจางออกไปมากน้อย ความสว่างของใจจะแสดงออกมา ให้รู้ให้เห็น <o:p></o:p>
    ให้ท่านทั้งหลายตั้งอยู่ตรงนี้ อย่าไปคิดกาลนั้นสมัยนี้ มรรคผลนิพพานมี มรรคผลนิพพานเรียวแหลม มันเรียวแหลมอยู่ที่ตัวของเรา แน่นหนามั่นคงอยู่ที่ตัวของเราผู้บำเพ็ญนี้แหละ ถ้าเรามีความขยันหมั่นเพียรเอาจริงเอาจัง ธรรมพระพุทธเจ้าเป็นธรรมที่จริงที่แน่นอนอยู่แล้ว รอรับสำหรับผู้ทำจริงทำจัง ให้ปรากฏผลอย่างจริงจังขึ้นมาที่ใจด้วยกันทุกราย ให้ยึดอันนี้ อย่าไปคาดไปหมายมรรคผลนิพพาน เมืองนั้น เมืองนี้ สมัยนั้น สมัยนี้ อันนั้นเป็นมืดกับแจ้งที่ผ่านมา กิเลสไม่ใช่มืด ไม่ใช่แจ้ง มันอยู่กับหัวใจของเรา เป็นพิษเป็นภัยต่อหัวใจของเรา <o:p></o:p>
    จงพากันชำระตรงนี้ให้ได้ แล้วความสว่างจะเกิดขึ้นที่นี่ ความสว่างทุกแบบทุกฉบับ ไม่ใช่สว่างแบบเดียว มีหลายแบบหลายฉบับ จะกระจ่างขึ้นภายในใจของเราๆ จากนั้นที่ว่ามรรคว่าผล ก็ปรากฏขึ้นมา ดังที่ท่านว่าสำเร็จพระโสดา สำเร็จพระสกิทาคา สำเร็จพระอนาคา สำเร็จพระอรหันต์เหล่านี้ ออกจากการบำเพ็ญใจดวงนี้เอง ชำระจิตใจออกไป เป็นขั้นเป็นภูมิขึ้นไปโดยลำดับ จนกระทั่งชำระกิเลสตัวมืดบอดนี้ให้หมดไปโดยสิ้นเชิง แล้วจิตสว่างจ้าขึ้นมา ท่านว่าบรรลุอรหันต์ นั่น บรรลุที่ใจนะ ไม่บรรลุที่อื่นที่ใด อย่าหมายไปให้เสียเวล่ำเวลา <o:p></o:p>
    เราเป็นนักปฏิบัติ เชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้เชื่อที่ข้อปฏิบัติของเรา ท่านสอนอย่างไร ให้ปฏิบัติตามที่ท่านสอนไว้นั้นโดยถูกต้อง เรื่องผลนี้ประกาศท้าทายอยู่แล้วกับการปฏิบัติของเรา ที่ดำเนินมาโดยถูกต้อง ผลจะปรากฏขึ้นเป็นลำดับลำดา อย่าไปหาคาดหาหมาย กาลนั้นสถานที่นี่ เวล่ำเวลา นี้เป็นเรื่องความเหลวไหลของคน ที่ไม่เคยสนใจกับการปฏิบัติธรรมบำเพ็ญธรรม และการภาวนา มีแต่เอามาพูดโอ้อวดกันด้วยความมืดบอดของตน ซึ่งไม่เคยบำเพ็ญธรรม ไม่เคยสนใจกับธรรมเลย <o:p></o:p>
    ให้สนใจกับธรรมของพระพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญมาแล้ว และตรัสรู้ธรรมโดยถูกต้อง นำมาสอนพวกเราอยู่ทุกวันนี้ ให้สนใจธรรมเหล่านี้ อย่าไปสนใจกับลมๆ แล้งๆ ที่มันพูดอยู่เต็มโลกเต็มสงสาร ล้วนแล้วตั้งแต่คนไม่สนใจในอรรถในธรรม อวดตนว่ารู้ว่าฉลาดแหลมคม แล้วก็เอาความโง่มาโปะหัวใจของคนที่ตั้งอกตั้งใจแต่โง่เขลาเบาปัญญาก็วิ่งตามเขาเสีย ว่ามรรคผลนิพพานไม่มีๆ เลยทิ้งไปเสียงานที่จะให้เกิดมรรคผลนิพพานตามทางของศาสดาไม่สนใจ ปล่อยงานนี้ไปเสีย แล้วไปคว้าเอางานที่ล้มเหลวๆ งานหลอกลวงของกิเลสนั้นเข้ามาสู่ใจ ใจก็เลยกลายเป็นของปลอมไปตามเดิมไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เพื่อให้ใจเป็นของจริง ขอให้ปฏิบัติตามธรรมของจริงที่สอนมาแล้วโดยถูกต้อง
    ศีลท่านแสดงไว้ในเพศของพระ ที่เป็นสมบัติของพระซึ่งควรจะได้จากการบำเพ็ญของตน คือ ศีลสมบัติ ศีลรักษาให้บริสุทธิ์ อย่าให้ด่างพร้อยขาดทะลุแต่อย่างใด ให้มีสติระมัดระวังรักษา ส่วนความทะลึ่งหรือความดื้อด้านอย่าให้มีในหัวใจของพระเรา ให้มีหิริโอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อบาปต่อกรรม กลัวศีลจะด่างพร้อยขาดทะลุไปตลอดเวลา นี่ชื่อว่าเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ เมื่อมีศีลสมบูรณ์แล้วจิตก็ไม่วอกแวกคลอนแคลน ไม่เกิดความเดือดร้อนระแคะระคายว่าศีลไม่บริสุทธิ์ หรือศีลด่างพร้อย อย่างนี้ไม่มี จิตก็ไม่เป็นอารมณ์ เมื่อไม่เป็นอารมณ์ นำเข้ามาสู่การภาวนาจิตก็รวมได้ง่าย เพราะไม่มีอารมณ์มากวนใจ จิตก็รวมลงได้ง่าย รวมลงไปเรื่อยๆ
    ศีลก็กลายเป็นศีลสมบัติตั้งแต่เราเริ่มบวชมา จากนั้นก็เป็นสมาธิสมบัติ คือจิตใจมีความสงบเยือกเย็นจนกระทั่งแน่นหนามั่นคง เรียกว่าสมาธิสมบัติ จากนั้นก้าวออกทางด้านปัญญา ปัญญานี่พิสดารมาก นักบวชทั้งหลายขอให้เร่งในทางพิจารณาร่างกายให้มากนะ อย่าพิจารณาสิ่งอื่นใด ออกทางด้านปัญญา เบื้องต้นพอจิตสงบบ้างแล้วให้ก้าวเดินออกทางด้านปัญญา พินิจพิจารณาอาการ ๓๒ ที่มีอยู่ภายในร่างกายของเรานี้ ทุกสัดทุกส่วนแยกแยะออกให้เห็นตามความเป็นจริงของมัน ซึ่งหาความเป็นสาระสวยงามอะไรไม่ได้เลย ทั้งเขาทั้งเรา ทั้งสัตว์ทั้งบุคคล ทั้งหญิงทั้งชาย มีสภาพอย่างเดียวกันหมด
    โลกมีแต่ความลุ่มหลง เพราะกิเลสหลอกลวง ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่เป็นสาระสวยงาม เป็นแก่นสารไปเสียหมดก็เลยลุ่มหลง ลืมมองดูธรรมชาติความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ เราทั้งหลายได้ฟังมาทุกองค์ ได้ยึดมาเป็นเครื่องมือของตนทุกองค์ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ นี่ท่านเรียกว่ากรรมฐาน ๕ แปลแล้วว่า กรรมฐานมีหนังเป็นที่ห้า ตจปัญจกกรรมฐาน ท่านให้พิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แล้วแต่ความถนัดของใจที่จะถนัดในอาการใด พิจารณาย้อนหน้าย้อนหลัง หรือจะพิจารณาเน้นหนักในอาการใดก็ตามเข้าไปถึงหนัง
    ทำไมท่านสอนเพียงถึงหนังแล้วท่านหยุดเสีย เพราะหนังเป็นสิ่งที่ปิดบังความจอมปลอมทั้งหลายเอาไว้ หลอกออกมาด้วยความสวยความงาม ผิวพรรณวรรณะสดสวยงดงาม เอานั้นมาตกเอานี้มาแต่งให้สวยให้งาม ทั้งๆ ที่มันไม่สวยไม่งาม กิเลสมันชอบอย่างนั้นเพราะมันสกปรก เราต้องหาความสะอาดสะอ้านเข้ามาใส่เพื่อกลบความสกปรกนั้น ให้เห็นแต่ความสวยงาม บุรุษสตรีตาฟางก็วิ่งไปตามผิวหนังที่บางๆ นี่แหละ ผิวใครหนามีไหม ไม่ได้หนาเท่าใบลาน ไม่ได้หนาเท่ากระดาษนะ อันหนังบางๆ นี้แหละหุ้มห่อไว้หมดทั้งตัวคน อันบางๆ นี้แหละแต่มันหนายิ่งกว่าภูเขา ปิดกั้นตันทางนักภาวนาไว้ ไม่ให้ธรรมทั้งหลายเข้าถึง เพราะฉะนั้นท่านจึงให้แยกแยะออกมา
    ดูผม ดูขน ดูเล็บ ดูฟัน ดูหนัง พิจารณาหนังเป็นยังไง แล้วพิจารณาเข้าไปข้างในของหนัง หนังเป็นยังไง เยิ้มไปด้วยปุพโพโลหิตน้ำเน่าน้ำหนอง ดูเข้าไปข้างในเท่าไรเป็นป่าช้าผีดิบในตัวเขาตัวเรา นี่คือการพิจารณากรรมฐาน ๕ เป็นศาสตราอาวุธที่สำคัญมาก อย่าปล่อยเรื่องร่างกาย สำหรับสัตว์โลกติดกายกันทั้งนั้น ราคะตัณหาก็มีกายเป็นพื้นฐานสำคัญ จะกำเริบเสิบสานขึ้นก็อาศัยร่างกายนี้เป็นเครื่องมือ เราจึงต้องพิจารณาสิ่งนี้เพื่อตัดทอนกำลังวังชาของกิเลสราคะตัณหานี้ให้น้อยลงๆ พิจารณาเห็นชัดเจนเท่าไรในเรื่องร่างกายทั้งข้างนอกข้างในละเอียดทั่วถึงไปหมดแล้ว หลายครั้งหลายหน ดูจนเข้าใจ
    พิจารณากลับไปกลับมาเหมือนเขาคราดนา คราดกลับไปกลับมาจนมูลคราดมูลไถแหลกละเอียด ควรแก่การปักดำแล้วเขาก็ปักดำกัน อันนี้การพิจารณากรรมฐาน ๕ มีหนังเป็นสำคัญ ก็พิจารณาเข้าไปจนกระทั่งภายในลึกซึ้ง พอหนังแล้วเป็นเนื้อ เป็นยังไงสวยงามไหมเนื้อ เอ็น กระดูก ตับไตไส้พุง อาหารใหม่อาหารเก่า หมดทั้งคนนี้เป็นส้วมเป็นถานด้วยกันทั้งนั้นแหละ มีหนังเท่านั้นมาหลอกให้เราหลง หลงเขาหลงเราตลอดเวลา เมื่อเปิดหนังออกแล้วมันจะกระจายไปหมด เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงมอบให้เพียง ตจปัญจกกรรมฐาน คือกรรมฐานมีหนังเป็นที่ห้า แล้วก็หยุด พอเลิกหนังออกแล้วดูได้ยังไง เปิดหนังออกแล้วดูได้เมื่อไร ทั้งคนทั้งสัตว์ทั้งผู้หญิงผู้ชายมันดูไม่ได้ นี่ละท่านจึงสอนไปถึงหนังให้พิจารณา
    ท่านทั้งหลายอยากเห็นมรรคเห็นผล ให้ดูตามที่พระพุทธเจ้าสอน นี้เป็นธรรมของจริงล้วนๆ ไม่มีเป็นของปลอมเลย แต่กิเลสมันชอบปลอม หาตกหาแต่งทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรเกินกิเลส ตกแต่งตลอดเวลา ตกแต่งอะไรก็ตกแต่งส้วมตกแต่งถาน ตกแต่งที่ไหนมันก็เป็นส้วมเป็นถาน ตกแต่งภายนอกให้สวยงาม ข้างในก็ตัวมูตรตัวคูถเต็มไปหมดในส้วมในถานอันนั้น จะสวยงามที่ไหน นี่ดูแต่ข้างนอกก็เป็นผิวเผิน เช่นอย่างผิวหนัง ดูเข้าไปข้างในก็มีแต่ของปฏิกูลโสโครกเต็มไปหมด ให้พิจารณาย้อนหน้าย้อนหลัง อันนี้ให้เป็นตามจริต เวลาเราพิจารณาไปจิตมันสะดุดตรงไหน ปักแน่นที่ตรงไหน อยากจะพิจารณาซ้ำๆ ซากๆ ก็ให้ยึดเอาเป็นหลักเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา มันจะกระจายไปหมดทั่วสรรพางค์ร่างกายอันนี้
    ใครพิจารณากายได้มากละเอียดลออเท่าไร ผู้นั้นยิ่งจะมีความสะดวกสบายใจ จิตใจจะถอนออกโดยลำดับลำดา เฉพาะอย่างยิ่งราคะตัณหาเป็นสำคัญมาก โลกนี้ติดกันมากติดราคะตัณหา ไม่ว่าสัตว์ว่าบุคคลหญิงชายติดอันนี้ ก็เพราะอันนี้แหละมันหลอก ผิวหนังบางๆ นี่แหละ ท่านจึงสอนเพียงแค่นี้ ให้ขุดค้นเข้าไปดูหลักความจริงของมัน เมื่อเห็นตามหลักความจริงแล้วจะไปยึดไปถือไปรักไปชอบมันที่ไหน หนังก็สักแต่ว่าหนัง เรียกว่าหนังกำพร้าบางๆ แล้วเข้าไปนั้นเยิ้มด้วยปุพโพโลหิตน้ำเน่าน้ำหนอง เต็มไปทั้งเขาทั้งเรา ต้องชะต้องล้างซักฟอกตลอดเวลา มนุษย์นี้ตัวสกปรก ไปอยู่ที่ไหนต้องได้ชะได้ล้าง ทำความสะอาดเช็ดถูกันตลอดเวลา
    แม้ที่สุดเครื่องนุ่งห่มก็เหมือนกัน ต้องซักต้องฟอกต้องชะต้องล้าง เพราะร่างกายเป็นของสกปรก ไม่ใช่เป็นของสะอาด จึงต้องชะต้องล้าง เอาอะไรมาเกี่ยวข้องก็ตามกับร่างกายนี้ จะเป็นของสกปรกไปตามกัน เข้าไปอยู่ในบ้านก็ต้องได้เช็ดได้ถู เป็นเสื่อเป็นหมอน ต้องได้เช็ดได้ถูได้ล้างได้ซักได้ฟอกตลอดเวลา เพราะร่างกายเป็นตัวสกปรก ให้เอาตัวนี้เป็นสำคัญ ขอให้พิจารณาอันนี้ให้มากนักปฏิบัติ ถ้าอยากให้จิตใจเบาหวิวๆ พิจารณาร่างกายนี้สำคัญมากนะ เอาให้แหลกให้เหลว เอาให้ทันกาลทันสมัยให้รวดเร็ว
    อสุภะอสุภังนี้เวลาพิจารณาทีแรกก็อืดอาดเนือยนาย พอเห็นผลเข้าไปแล้วทีนี้ก็คล่องตัว พิจารณาอสุภะอสุภังนี้คล่องตัวไปหมด มองไปไหนมีแต่อสุภะอสุภังเต็มเนื้อเต็มตัวทั้งเขาทั้งเรา จะไปกำหนัดยินดีกันที่ไหน นี่ละพิจารณาอย่างนี้กรรมฐาน เราบวชมาเพื่อจะรื้อถอนตนให้พ้นจากทุกข์ ต้องเอาตัวที่เป็นเชื้อแห่งทุกข์ทั้งหลายนี้มาพิจารณาให้ดี ตัวนี้เป็นสาเหตุอันสำคัญมากคือร่างกาย พิจารณาให้หนักแน่นในร่างกายอันนี้ คลี่คลายออก ให้ดู ตั้งขึ้นแล้ว เราสมมุติว่าเอาไฟเผาก็ได้ หรือตายแล้วให้เน่าพองก็ได้ ตามแต่อุบายของผู้พิจารณาจะมีความแยบคายต่อการพิจารณาของตน อันนี้สอนไว้เพียงกลางๆ ให้แยกแยะออกไปพิจารณาเอง
    อย่างไรก็ตามให้หนักในอันนี้ให้มากนักปฏิบัติ ถ้าอยากอยู่เย็นเป็นสุขไม่ถูกราคะตัณหากวนใจ ต้องพิจารณาอันนี้ให้มากทีเดียว มากเท่าไรสิ่งหลอกทั้งหลายเหล่านั้นจะจางไปๆ แล้วสุดท้ายอสุภะอสุภังปิดกั้นไว้หมด มองดูรูปใดหญิงใดชายใดก็มีแต่อสุภะอสุภังขวางไว้หมดๆ ก็เห็นแต่อสุภะอสุภัง แล้วจะไปติดอะไร นี่ละการพิจารณาร่างกาย ขอให้ยึดอันนี้เป็นหลักนักปฏิบัติ ปล่อยนี้ไม่ได้ ต้องเอาอันนี้ให้เป็นหลักทีเดียว
    ทีแรกทำจิตให้สงบก่อน ดังที่ว่านี้แหละ จะสงบด้วยธรรมบทใดก็ให้ทำ พอสงบลงไปแล้วจิตก็เริ่มอิ่มอารมณ์ ไม่อยากคิดอยากรู้อยากเห็น อยากสัมผัสสัมพันธ์กับสิ่งใด นี่คือความหิวโหยของจิต อยากตลอดเวลา อยากคิดอยากปรุงอยากรู้อยากเห็น อยากทดลองทุกอย่าง นี่คือความอยากออกมาจากจิต ทีนี้จิตเมื่อมีความสงบแล้วก็อิ่มอารมณ์เหล่านี้ พอจิตอิ่มอารมณ์เหล่านี้ให้พาทำงานทางปัญญา แยกแยะดูผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ปอด พังผืด ไต ใส้ใหญ่ใส้น้อย อาหารเก่าอาหารใหม่ ดูให้ตลอดทั่วถึง นี่เรียกว่าเรียนธรรมชาติภายในตัวเอง เรียนกรรมฐานดังที่อุปัชฌาย์ท่านมอบให้พิจารณา
    ใครพิจารณาอสุภะอสุภังร่างกายนี้มีความละเอียดลออเท่าไร ผู้นั้นเป็นผู้ที่จะหวังพ้นทุกข์ได้ ความหวังนี้จะใกล้เข้ามาๆ พิจารณาอันนี้แหลกละเอียดเข้าไปแล้ว มันหากมี นี่เราพูดตั้งแต่ส่วนกลางๆ เอาไว้ พอเรื่องอสุภะอสุภังละเอียดลออเข้าไปแล้ว มันจะหมุนเข้าไปสู่ที่ใจของเรานั้นแหละ เพราะใจเป็นผู้หลง เมื่อใจพิจารณาอะไรรอบหมดแล้วๆ จะเอาอะไรมาหลง เอาอะไรมายึดสิ่งนี้ มันก็หมุนเข้าไปสู่ใจ ตัวอสุภะอสุภังนี้เลยกลายเข้าไปอยู่ที่ใจแห่งเดียวเลย ใจดวงนี้รู้ตัวเองแล้วก็ปล่อยสิ่งทั้งหลาย ใจดวงเดียวนี้หลงเท่านั้น ปรุงขึ้นว่านั้นสวยนี้งาม ใจเป็นผู้ปรุง พอมารู้ตัวใจซึ่งเป็นมหาโจรนี้แล้วปล่อยข้างนอกออกหมด นี่เป็นขั้นอันหนึ่งแล้ว
    พอถึงขั้นนี้ปล่อยอสุภะอสุภัง สลัดออกได้เลยภายนอก เป็นอสุภะอสุภังภายในเข้ามา ปรุงอะไรขึ้นมามันก็เข้าหาใจๆ ใจเป็นอสุภะอสุภัง อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อยู่ที่นี่หมด มันก็ปล่อยอสุภะภายนอกเข้ามาเป็นอสุภะภายใน เป็นอสุภะภายใน นี่เป็นขั้นหนึ่งแล้วนะ ขั้นจะตัดสินราคะตัณหา พิจารณาเข้ามา พอถึงนี้แล้วก็ปล่อย แล้วฝึกซ้อมตัวเอง เพราะตามนิสัยของคนเราส่วนมากจะมี ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า เราต้องฝึกซ้อมเราตลอดเวลา เช่นในขั้นนี้มาถึงขั้นที่ปล่อยวางอสุภะอสุภัง ที่ได้ชำนิชำนาญเต็มตัวจนอสุภะอสุภังไหลเข้ามาสู่หัวใจดวงนี้แล้ว ก็ปล่อยอสุภะภายนอก พิจารณาฝึกซ้อมหัวใจภายในที่มันเกิดดับๆ นี้จนละเอียดเข้าไปๆ จิตใจก็ว่างเปล่าไปเลยๆ นี่เรียกว่าฝึกซ้อมของจิตในขั้นราคะตัณหาขาดลงไปในขั้นแรก คือขั้นนี้เอง
    พออันนี้ขาดลงไป ส่วนที่เป็นสนิมหรือเป็นอะไรเป็นผิวเป็นผงมันติดอยู่นั้น มันยังไม่ออก ก็ค่อยขัดค่อยฝึกค่อยซ้อมให้ละเอียดลออเข้าไป จิตใจก็ละเอียดเข้าไปๆ เรื่อยเข้าไป จนกระทั่งถึงความพอทุกอย่างแล้วปล่อยหมดโดยสิ้นเชิง นี่สอนให้ท่านทั้งหลายจำเอาไว้นะ วิธีการให้ถือรากฐานสำคัญในกรรมฐาน ๕ นี้เป็นของเล่นเมื่อไร พิจารณาในกรรมฐาน ๕ นี้จบแล้วปล่อยราคะตัณหาได้เลย เพราะราคะตัณหานี้หนักหน่วงมากนะ ไม่มีอะไรที่จะเหนือราคะตัณหานี้ไปได้
    โลกธาตุที่ออกฤทธิ์ออกเดชอยู่ทุกวันนี้ ทำสัตว์ให้ล่มให้จมมา แต่ไม่มีความเข็ดความหลาบก็คือราคะตัณหานี้เองจะเป็นตัวไหนไป พอรู้ตัวนี้แล้วมันเปิดโล่งออกไปหมดเลย มันจะไปติดอะไรเพียงเท่านี้ เรื่องที่มันวุ่นวี่วุ่นวายหนักที่สุดหน่วงที่สุด ถ่วงจิตใจที่สุด คือเรื่องกามกิเลสนี้เอง พอตัวนี้ขาดสะบั้นไปจากใจแล้ว โลกนี้เหมือนว่าบ้านร้างนะ บ้านร้างแต่มีคนอยู่ ฟังซิน่ะ บ้านนี้ร้างแต่ทำไมมีคนอยู่ แต่ก่อนมีบ้านมีคนด้วย คนนั้นคือคนอันธพาล อันธพาลคือตัวราคะตัณหานี้มันก่อมันกวนยุ่งเหยิงวุ่นวายตลอดเวลา พออันนี้ขาดสะบั้นลงไปแล้วก็มีแต่ความดิบความดี ธรรมเป็นธรรมอัตโนมัติแล้วที่นี่ พิจารณานี่เรียกว่ามีแต่คนดีอยู่ในบ้านในเรือน ไม่แสดงเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นทำให้บ้านไม่สงบ มีแต่คนมีศีลมีธรรม สวยงาม บ้านก็สงบ
    อันนี้มีสติปัญญาประคองจิตใจแล้ว จิตใจก็ยิ่งสวยยิ่งงาม สว่างไสวขึ้นไปเรื่อยๆ นี่ละตัวนี้ขาดเท่านั้นเหมือนโลกธาตุนี้ขาดไปหมด เหมือนบ้านร้างว่างั้นเถอะ ทีนี้ก็มาเห็นได้ชัดว่า ราคะตัณหาตัวเดียวนี้เท่านั้นเป็นตัวที่ดึงดูดที่สุด หนักที่สุด ทุกข์ที่สุด คือตัวนี้ และสัตว์โลกชอบที่สุดก็คือตัวนี้ ตายไม่เข็ดหลาบ ทุกข์ไม่เข็ดหลาบ ก็คือตัวนี้เอง เวลาพิจารณาตัวนี้เรียบร้อยแล้ว ปล่อยไปหมดแล้ว ทีนี้จิตนี้เหมือนว่าปล่อยภูเขาทั้งลูกเลยละที่นี่ ออกจากหัวใจ เหลือตั้งแต่ใจที่เป็นนามธรรม เช่นเราฝึกซ้อมเรื่องอสุภะอสุภัง ที่มันไหลเข้าสู่จิตแล้วก็ละเอียดเข้าไปๆ ไม่หนักหน่วงเหมือนแต่ก่อน และค่อยเบาไปๆ ประหนึ่งว่าสำลี หมุนขึ้นไปเรื่อยๆ
    ฝึกซ้อมเข้าไปเท่าไรยิ่งละเอียด ยิ่งหมุนละเอียด ยิ่งหมุนรวดเร็ว กำหนดอสุภะภายในใจปั๊บดับพร้อมๆ นี่อสุภะภายใน อสุภะภายนอกที่เราเอามาพิจารณาดังที่เบื้องต้นนั้นแหละเรื่อยมาจนกระทั่งถึงอสุภะขั้นนี้ มันไหลเข้าสู่ใจของเราแล้ว ใจของเราเป็นอสุภะ เสร็จแล้วปล่อยอสุภะข้างนอกมาพิจารณาอสุภะภายในซึ่งเป็นส่วนละเอียด เป็นภาพของจิตขึ้นภายในใจ อันนี้ใจจะเบาหวิวๆ เบาเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นพระอนาคามีท่านจึงไม่กลับมาเกิดอีก เพราะไม่มีอะไรกดถ่วงท่าน ตัวราคะตัณหานี้ออกสนามทีเดียว พระมหากษัตริย์ได้แก่ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา พระมหากษัตริย์อยู่ในพระราชวัง แต่พวกตำรวจ ทหาร เสนาใหญ่นี้คือราคะตัณหานี้ออกเพ่นพ่าน ออกแนวรบทุกด้านทุกทาง ก็คือตัวนี้เอง พอราคะตัณหาขาดสะบั้นลงไปแล้วก็มีแต่อวิชชาเท่านั้น เหมือนบ้านร้างที่นี่ จิตใจจะหมุนขึ้นเรื่อยๆ แน่แล้วที่นี่จะไม่กลับมาเกิดอีก เริ่มรู้แล้วนะ เริ่มรู้แล้ว หมุนเข้าไปเรื่อย จิตหมุนขึ้น ทีนี้ไม่มีหมุนลง
    ราคะตัณหาที่เป็นตัวหมุนลงดึงลงนี้ขาดไปแล้ว จิตกลับเป็นหมุนขึ้นนะ ละเอียดลออไปโดยลำดับ เหมือนสำลีหมุนขึ้นข้างบนฟ้าว่างั้นเถอะ ปลิวขึ้นไปเรื่อยๆ พิจารณาเข้าไปยิ่งละเอียดๆ เข้าไป นี่ก็ไปถึงตัวกษัตริย์ละที่นี่ พอราคะตัณหาถึงขั้นละเอียด การเกิดการตายก็ไปถึง ๕ ขั้น ขั้นไหนบ้าง อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิษฐา นี้เรียกว่า สุทธาวาส ๕ ขั้นหรือ ๕ ชั้น เป็นที่อยู่ของพระอนาคามี ตายแล้วไม่ต้องกลับมาเกิดอีก แต่ไปอยู่ในชั้น ๕ ชั้นนี้ตามภูมิธรรมของตนโดยลำดับ พอถึงอกนิษฐาแล้วหยั่งเข้าถึงอวิชชา ถึงตัวกษัตริย์ใหญ่
    พิจารณาฝึกซ้อมเข้าไปโดยนามธรรมล้วนๆ เข้าไปเลย เรื่องรูปธรรมหมดแล้วตั้งแต่อสุภะขาดสะบั้นลงไปจากใจ เป็นอสุภะภายในก็กลายเป็นนามธรรมไปแล้ว ทีนี้อันนี้ละเอียดเข้าไปเป็นนามธรรมล้วนๆ แล้วมันเกิดขึ้นจากที่ไหนๆ ไล่ไปไล่มา ทบทวนไปมา มันก็วิ่งเข้าไปหาจิตๆ หมุนเข้าหมุนออกอยู่ที่จิต จิตตามเข้าไปๆ ด้วยอัตโนมัตินะ ธรรมขั้นนี้เป็นธรรมขั้นสติปัญญาอัตโนมัติ เราไม่ได้บอกว่าเป็นสติปัญญาอัตโนมัติ ตั้งแต่ราคะตัณหาอสุภะอสุภังขาดจากใจไปแล้ว สติปัญญาเป็นสติปัญญาอัตโนมัติละที่นี่ ฝึกซ้อมตัวเองคล่องเข้าไปๆ จนกลายเป็นมหาสติมหาปัญญา มหาสติมหาปัญญานี้กำลังจ่อเข้าในพระราชวัง คือ อวิชฺชาปจฺจยา กษัตริย์ใหญ่ มหาสติมหาปัญญาจ่อเข้าไป พิจารณาเข้าไป เดี๋ยวก็ไปโดนเอาตัวนั้นแหละ ขาดสะบั้นลงไปเลยที่นี่
    มหาสติมหาปัญญาก็เป็นสติปัญญาอัตโนมัติ ออกไปจากสติปัญญาอัตโนมัติของขั้นอนาคามี ก้าวเข้าไปสู่มหาสติมหาปัญญา เข้าถึงอกนิษฐาแล้วจะก้าวเข้าสู่นิพพาน นิพพานก็มี อวิชฺชาปจฺจยา กีดขวางอยู่ข้างหน้า ฟาดอวิชชาขาดสะบั้นลงไปแล้ว ทีนี้จิตนี้ว่างไปหมดเลย ไม่มีอะไรในโลกนี้ เมื่ออวิชชาตัวกษัตริย์วัฏจักรขาดสะบั้นลงไปแล้ว นั่นละตัวภพตัวชาติ รังแห่งภพแห่งชาติที่แท้จริง ออกมาจากอวิชชา ขาดสะบั้นลงไปแล้วหมดโดยสิ้นเชิง นี่ท่านเรียกว่าบรรลุธรรมรู้ไหม อรหัตธรรมละขั้นนี้แล้ว ขั้นนี้ก็โสดา สกิทา อนาคา ไปโดยลำดับ แล้วก็ถึงขั้นอรหันต์ อรหันต์ก็คือฆ่าอวิชชาขาดสะบั้นลงไปแล้ว นั่นเป็นอรหันต์ขึ้นที่นี่
    อรหันต์เกิดที่ไหน พิจารณาซิ ที่พูดนี้พูดเรื่องอะไร มันติดอะไรเวลานี้ จิตใจเรามันติดอะไร ก็ติดดังที่แสดงมาแล้ว แยกออกๆ พิจารณาออก เบิกออก กว้างออกๆ ก้าวเข้าไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงอวิชชา ฟาดกษัตริย์วัฏจักรนั้นขาดสะบั้นลงไปจากใจแล้วผางขึ้นมาทันที อันนี้ตามแต่จริตนิสัยนะ ตอนจิตที่จะผ่านพ้นจากวัฏจักรโดยสิ้นเชิงนี้ อาจมีนิสัยต่างกัน นิสัยบางอย่างก็ไปเรียบๆ ขาดไปเลยก็มี นิสัยบางอย่างผาดโผนโจนทะยาน ประหนึ่งว่าฟ้าดินถล่มเลย เป็นต่างกันนะ แต่ก็เป็นเรื่องของกิเลสคืออวิชชาขาดสะบั้นลงไปจากใจนั่นเอง เหมือนกัน เป็นแต่เพียงว่ากิริยานี้ต่างกันตามจริตนิสัย อุปนิสัยของผู้บำเพ็ญ ไม่ใช่เหมือนกัน
    จะเหมือนหรือไม่เหมือนก็ตาม พออวิชชาขาดลงไปก็รู้ด้วยกันนั้นแหละ ขาดสะบั้นลงไปแล้ว ทีนี้เป็นยังไงเรื่องความเกิดความตายที่เป็นมาจากไหนถึงไหนๆ มายุติลงที่จุดนี้ อวิชชาขาดแล้วจิตทีนี้เป็นยังไง ดับไหม สูญไหม ตั้งแต่เกิดเป็นเปรตเป็นผี เป็นสัตว์เป็นบุคคล จนกระทั่งลงนรกอเวจี จิตนี้ไม่เคยสูญ ทุกข์ยอมรับว่าทุกข์ จะทุกข์มากทุกข์น้อยยอมรับว่าทุกข์ทั้งนั้น แต่ไม่ฉิบหายๆ เมื่อฟื้นตัวได้แล้วก็พลิกมาทางดีๆ เรื่อยๆ ฟาดจนกระทั่งถึงนิพพานแล้วสูญไหม พออวิชชาขาดสะบั้นไปหมดแล้ว จิตดวงนี้เป็นจิตที่เลิศเลอ ท่านให้ชื่อสามอย่างสี่อย่าง มหาวิมุตติ หรือว่านิพพาน หรือธรรมธาตุ เป็นไวพจน์ของกันและกัน พูดอะไรแล้วเหมือนกัน คือธรรมธาตุ ความหลุดพ้นอันเลิศเลออย่างเดียวกัน
    นี่ละผลแห่งการปฏิบัติ ท่านทั้งหลายจะไปหามรรคผลนิพพานที่ไหน หาตามแบบตามคัมภีร์นั้นเป็นแบบแปลนแผนผังชี้เข้ามาหาตัวของเรา ท่านสอนเข้ามาชี้เข้ามาดังเกสา โลมา นี้เป็นต้น สอนเข้ามาๆ ตรงนี้ เมื่อปฏิบัติรู้ตรงนี้เห็นตรงนี้แล้ว ปริยัติทั้งหลายจะวิ่งเข้ามาสู่ใจหมด ทีแรกวิ่งออกไปสู่ปริยัติ เอาปริยัติเข้ามาเป็นแบบแปลนแผนผังเข้ามาปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติแล้วความรู้ความเห็นเป็นสมบัติของเราขึ้นมาแล้วที่นี่ ส่วนเรียนเท่านั้นไม่เป็นสมบัติได้นะ เป็นเพียงความจำ ความจำนี้มันลืมได้หลงได้ใช่ไหม ดีไม่ดีทะนงว่าตัวเรียนมากรู้มากเป็นนักปราชญ์ ทั้งๆ ที่ความโง่เต็มตัว
    พอออกมาภาคปฏิบัติ ผลเกิดขึ้นมาจากการภาวนาของตนแล้ว นี่ละเป็นสมบัติของตน รู้มากรู้น้อยจะรู้ขึ้นมาที่ใจของเราๆ จนกระทั่งถึงวิมุตติหลุดพ้นเป็นสมบัติของตนโดยสิ้นเชิง ไม่เป็นของใครแหละ นี่ละภาคปฏิบัติ ท่านจึงสอนว่าปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัติได้แก่การศึกษาเล่าเรียนแบบแปลนแผนผังแล้วนำมาปฏิบัติ เหมือนเราได้แปลนมาแล้วมาปลูกบ้านสร้างเรือน ถ้ามีแต่แปลนเฉยๆ เต็มห้องเต็มหับ ก็มีแต่แปลนไม่ใช่บ้านใช่เรือน จึงต้องนำแปลนออกมาปลูกบ้านสร้างเรือน จะเอาขนาดไหน กว้างแคบยาวขนาดไหน ดูตามแปลนนั้น ปฏิบัติตามแปลนนั้น สำเร็จผลขึ้นมาๆ เป็นลำดับ ตั้งแต่วางรากวางฐานโดยลำดับ ก็เรียกว่าเป็นปฏิเวธ เจ้าของรู้เอง
    เวลานี้กำลังขุดรากขุดฐานหรือเทคานอะไรก็แล้วแต่ นี่เป็นปฏิเวธ คือรู้มาเป็นลำดับ จนกระทั่งบ้านนี้สมบูรณ์เต็มที่แล้ว ปฏิเวธคือรู้แจ้งแทงทะลุเต็มเหนี่ยว นี่ถึงพระนิพพานแล้ว นี่ละปฏิบัติ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ธรรมทั้งสามประเภทนี้เป็นธรรมแท่งเดียวกัน เป็นศาสนาโดยสมบูรณ์ ถ้ามีแต่การศึกษาเล่าเรียนเฉยๆ ศาสนาไม่ได้สมบูรณ์ ขาดบาทขาดตาเต็ง เรียนเฉยๆ จำได้เฉยๆ กิเลสไม่ได้ถลอกปอกเปิกมันวิเศษวิโสอะไร ถ้าเรียนแล้วต้องนำมาปฏิบัติ นำมาปฏิบัติแล้วผลจากการปฏิบัติก็ปรากฏขึ้นมา เหมือนเขาปลูกบ้านสร้างเรือน ได้แปลนแล้วก็เอามาปลูกบ้านสร้างเรือนตามแปลน สำเร็จเป็นบ้านเป็นเรือนขึ้นมาโดยสมบูรณ์เต็มที่แล้ว นั่นเป็นปฏิเวธโดยสมบูรณ์
    ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ศึกษาเล่าเรียนมาแล้วให้มาปฏิบัติ ปฏิบัติแล้วผลจะปรากฏขึ้นจนกระทั่งถึงความสิ้นสุดวิมุตติพระนิพพาน นี่เรียกว่าปฏิเวธธรรมโดยสมบูรณ์ ศาสนาสมบูรณ์ในธรรมทั้งสามประเภทนี้กลมกลืนกัน เฉพาะอย่างยิ่งปริยัติกับปฏิบัติต้องเกี่ยวเนื่องกันตลอดเวลา ปฏิเวธจะแสดงผลขึ้นมาโดยลำดับลำดา นี่ละธรรม ธรรมเป็นอย่างนี้ ให้ท่านทั้งหลายจำเอาไว้ การปฏิบัติธรรมไม่ใช่ปฏิบัติแบบงูๆ ปลาๆ เหมือนพระพุทธเจ้าหลอกๆ ลวงๆ โลกทั้งหลาย เป็นจอมปลอมไปเสียอย่างนั้น ไม่ใช่นะ องค์ศาสดาแท้อยู่อย่างนั้นตลอดเวลา แต่พวกเราที่มาปฏิบัตินี้มันงมงายต่างหาก แล้วจืดๆ จางๆ ลูบๆ คลำๆ ศาสนา แต่เรื่องกิเลสแล้วเอาจริงเอาจัง คอขาดขาดไปด้วย ไม่รู้จักเข็ดหลาบอิ่มพอ คือพวกคนโง่ ด้วยอำนาจการหลงตามกิเลสนั้นแหละ ให้พิจารณา นี่การปฏิบัติธรรม
    ท่านทั้งหลายที่มาบวชมาปฏิบัติ เอานี้ให้ดีนะ อย่าเห็นสิ่งใดมีความเลิศเลอยิ่งกว่าธรรมที่สอนไว้ เพศของเราคืออะไร ก็คือเพศนักบวช นักบวชเป็นนักปฏิบัติ ปฏิบัติเพื่ออะไร เพื่อมรรคผลนิพพาน อันนี้เป็นสมบัติอันล้นค่าไม่มีอะไรที่จะเสมอเหมือน ให้สนใจกับความพากความเพียรของตน อะไรก็ตามในโลกอันนี้มีเกลื่อนไปหมด ก็มีตั้งแต่ดินแต่น้ำแต่ลมแต่ไฟเต็มบ้านเต็มเมืองอยู่เป็นด้านวัตถุ มีอย่างนั้นแหละ เกลื่อนอยู่ในโลกอันนี้ใครเอามันไปได้วะ ตายแล้วเงินมีเป็นล้านๆ กองเท่าภูเขา ก็กองเท่าภูเขา เจ้าของอย่างหนึ่งเขาก็ใส่โลง แล้วก็อยู่ในโลง เอาไปเผาก็เป็นเถ้าเป็นถ่านไปเสีย มันวิเศษวิโสอะไรกับเงินล้านนั้น ขาดสะบั้นมาแล้วตั้งแต่ลมหายใจขาด แต่เรื่องอรรถเรื่องธรรมภายในจิตใจไม่มีขาดเลย มีมากมีน้อยรู้โดยลำดับลำดา จนกระทั่งปฏิบัติได้รู้ประจักษ์ภายในหัวใจนี้แล้วหายสงสัย
    อะไรจะมีไม่มีก็ตามนักปฏิบัติ อย่าไปสนใจกับสิ่งภายนอก ความดีดความดิ้นกับลาภกับยศกับสรรเสริญเยินเยอ มันเรื่องบ้าทั้งนั้นละพระ พระบ้าไม่ใช่พระดี พระพุทธเจ้าสอนให้ปล่อยให้วางทั้งหมด นี่เป็นธรรม ท่านสอนให้ปล่อยให้วาง ลาภยศสรรเสริญเยินยอทั้งหลาย ไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง มุ่งแต่อรรถแต่ธรรม สติธรรม ปัญญาธรรม วิริยธรรม ให้ประกอบความเพียร สังวรธรรม นี่เป็นสมบัติของพระโดยแท้ๆ นั้นไม่ใช่สมบัติของพระ อย่าไปยุ่งไปเหยิงให้วุ่นวายนะ
    เรื่องตื่นยศตื่นลาภนี้มันเป็นแล้วนะ ดูเอาใครก็ดี รู้กันทุกคนๆ มันทำโลกให้สงบไหม ความตื่นยศตื่นลาภ ดีดดิ้นปีนป่ายอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งศาสนาของเรากลายเป็นความเดือดร้อนไปตามๆ กัน นี่ละถ้ากิเลสเข้าไปแฝงแล้ว กิเลสตัวนี้มันเป็นกิเลสกาฝากมหาภัย คำว่ากาฝากท่านทั้งหลายรู้ไหม มีไม้ชนิดหนึ่งที่มันเกิดไปติดอยู่กับกิ่งก้านของต้นไม้ต่างๆ เช่น ต้นมะม่วง เป็นต้น หรือต้นขนุน เป็นต้น ถ้าลงมีกาฝากไปเกาะแล้ว มันแผ่ลูกแผ่หลานออกไปแล้วนะที่นี่ แล้วต้นไม้ต้นนั้นจะเหี่ยวจะยุบจะยอบ ถ้ามันเกิดขึ้นมากๆ ตายเลย อันนี้กาฝากมหาภัยที่ทำลายศาสนาอยู่จากเพศของพระนี้มีอย่างนี้แหละ พระเราเป็นพระกาฝาก เป็นมหาภัยต่อตัวเองและส่วนรวม ตลอดถึงศาสนาทั่วๆ ไป ไม่มีคุณมีค่าอะไรเลย เป็นกาฝากมหาภัย คือความทะเยอทะยาน ความดีดความดิ้นตามลาภตามยศ ความสรรเสริญเยินยอ เหล่านี้เป็นกาฝากทั้งนั้น เป็นภัยต่อตัวเองและเป็นภัยต่อส่วนรวมด้วย ทำให้เดือดร้อนวุ่นวายไปหมด
    นี่ละถ้ากาฝากอันนี้เข้าตรงไหนแล้ว เอาแหลกไปเลยๆ ให้พากันกำจัดกาฝากเหล่านี้ออก อย่าไปสนใจ การอยู่การกินของพระปฏิบัติไม่มีอะไรสำคัญ พออยู่พอกินพอเป็นพอไป วันหนึ่งบิณฑบาตได้มาจากชาวบ้าน ได้ชิ้นหนึ่งสองชิ้นเท่านั้นพอ เรื่องธรรมไม่มีความจืดจางในใจ หมายมั่นปั้นมือตลอดเวลา อยู่ที่ไหนอยู่ได้นอนได้นั่งได้ ฉันได้ ทั้งนั้นแหละ อยู่ที่ไหนสบายหมดสำหรับผู้มุ่งอรรถมุ่งธรรม ไม่มีอะไรหรูหราๆ ยิ่งกว่าธรรมที่เลิศเลอภายในใจ ให้มุ่งต่อนี้ อันนี้เป็นความหรูหรา เป็นความที่เลิศเลอสุดยอดที่เรามุ่งอยู่เวลานี้ สิ่งเหล่านั้นเป็นที่อาศัยของร่างกายเท่านั้นแหละ
    ร่างกายของเรากับสถานที่อยู่ มันจะสูงจะต่ำจะประดับประดาตกแต่งขนาดไหน ก็คือดินน้ำลมไฟเหมือนกับร่างกายของเรานี่ พอซุกหัวนอนได้ก็ซุกหัวนอนไปอย่างนั้นแหละ แต่สำคัญขอให้มุ่งต่อจิตใจในธรรมทั้งหลายนี้เป็นที่พอใจ ตายแล้วนี้ละธรรมสมบัติเข้าสู่ใจหมดนะ วัตถุสมบัติตายแล้วทิ้งด้วยกันทั้งนั้นไม่มีใครเอาไปได้ จะมีสักเท่าไรๆ ตายแล้วอย่างมากเขาก็จับใส่โลงแล้วเอาไปเผาไฟ ไปส่งกันแค่ป่าช้าหรือแค่เมรุเท่านั้นแล้วก็กลับไปด้วยความหมดหวังๆ สมบัติเงินทองข้าวของมีความหมายอะไร
    แต่ธรรมสมบัติที่เราได้สร้างคุณงามความดี จากการให้ทาน รักษาศีล การบำเพ็ญภาวนานี้ติดกับหัวใจของเรา ไม่มีขาดเลยอันนี้ ไปไหนก็ไป เขาจะใส่โลงไม่ใส่โลงก็ตาม ตายแล้วโยนลงน้ำลงเหวก็ตาม ใจของเรานี้ไม่ใช่โลงไม่ใช่ผี ไม่ใช่ซากกระดูกอันนั้น ใจเป็นใจ ธรรมเป็นธรรมอยู่นี้ประคับประคองตัวเอง ไม่สนใจกับสิ่งเหล่านั้น ตายแล้วดีดผึงเลย ควรไปสวรรค์ชั้นใดไป หรือพรหมโลก นิพพาน ไปเลยด้วยอำนาจแห่งธรรมนี้ เรียกว่าธรรมสมบัติ
    ขอให้ท่านทั้งหลายได้พินิจพิจารณา พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาองค์เอก เราจะไปหาพระพุทธเจ้าองค์ไหนอีก มาแข่งพระศาสดาของเราไม่มีในโลกนี้ ที่ตรัสไว้ชอบแล้วที่สุดแล้วเวลานี้ ศาสดาองค์เอกที่บริสุทธิ์สุดส่วนแล้วคือพระพุทธเจ้า สอนจนกระทั่งเป็นสาวกขึ้นมา เป็นอรหัตอรหันต์วิเศษด้วยกันทั้งนั้นๆ แล้วมาสอนพวกเราก็ให้เป็นคนดิบคนดีจนถึงขั้นวิเศษด้วยกัน อย่าปล่อยอย่าวางคำสอนพระพุทธเจ้านะ นอกนั้นมีแต่สิ่งที่หลอกลวงต้มตุ๋นทั้งนั้น ขอให้พากันพินิจพิจารณาให้ดี
    วันนี้เป็นโอกาสอันดีอันหนึ่ง ที่ปีหนึ่งจะได้มาเทศน์ให้ท่านทั้งหลายฟัง เทศน์เฉพาะนักปฏิบัตินี้ อย่าปล่อยอย่าวาง อย่าจืดอย่าจางในข้อวัตรปฏิบัติ จะเป็นส่วนรวมก็ตาม ส่วนรวมคืออะไร กิจการงานใดๆ ที่จะมาทำเป็นความพร้อมเพรียงสามัคคีกัน ให้ถือเป็นกิจจำเป็นด้วยกันทุกองค์ๆ เท่าตัวๆ งานถ้าบกพร่องก็บกพร่องเรา ถ้าสมบูรณ์ก็สมบูรณ์ในตัวของเรา งานพร้อมเพรียงสามัคคีเป็นกลุ่มเป็นก้อน ก็สวยงามตา ถ้าต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างอยู่ ไม่สม่ำเสมอ มีแตกมีแยก อย่างนี้แล้วเรียกว่าแตกแยกความสามัคคี ตัวเองก็ไม่เกิดผลเกิดประโยชน์ ไม่สวยงาม แล้วความพร้อมเพรียงสามัคคีแตกกระจัดกระจายใช้ไม่ได้นะ ขอให้มีความพร้อมเพรียงสามัคคี ข้อวัตรปฏิบัติทำเพื่อเรา จะเป็นความสามัคคีก็ดี เป็นความทำโดยเฉพาะตัวเองก็ดี ทำเพื่อเราๆ ทั้งนั้นแหละ ไม่ใช่เพื่อใคร ให้พากันมีความเคารพ
    อยู่ด้วยกันให้เป็นเหมือนกับอวัยวะเดียวกัน อย่ามีขัดมีแย้งเรื่องนั้นเรื่องนี้ ให้เอาธรรมมากางไว้เสมอ เรื่องทิฐิมานะเรื่องกิเลสกาฝากมหาภัยนี้มันจะคอยแทรกๆ แล้วขัดข้อง บางทีทะเลาะเบาะแว้งกันก็มี เพราะกาฝากเข้าแทรกหัวใจที่ไม่มีธรรม ใจก็เลยเป็นใจกาฝากไปเสีย เดือดร้อนวุ่นวาย อย่าให้มีในวงปฏิบัติเรา พระพุทธเจ้าสอนไว้เพื่อความกลมกลืนสามัคคี ทิฐิมานะอย่าให้มีในวงปฏิบัติเรา ออกมาจากสถานที่ใด ในครั้งพุทธกาล มหากษัตริย์ที่ออกมาบวชมีน้อยเมื่อไร องค์ใดที่เสด็จออกมาบวชนี่เข้าป่า ดังพระพุทธเจ้าท่านสอนเอาไว้ว่า ผู้บวชใหม่ รุกฺขมูลเสนาสนํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย บรรพชาอุปสมบทแล้วให้ท่านทั้งหลายไปอยู่ตามรุกขมูลร่มไม้ ฟังซิ ในป่า ในเขา ตามถ้ำเงื้อมผา ป่าช้าป่ารกชัฏ ที่แจ้งลอมฟาง อันเป็นที่สะดวกแก่การบำเพ็ญสมณธรรม ไม่มีสิ่งใดมารบกวน และให้ทำความอุตส่าห์พยายาม อยู่และบำเพ็ญในสถานที่เช่นนั้นตลอดชีวิตเถิด นี่พระสงฆ์ทุกองค์ได้รับโอวาทข้อนี้มาด้วยกัน ไม่เว้นแม้แต่องค์เดียว
    นี่ละที่สอน ท่านส่งเสริมมากทีเดียว การอยู่ในป่าในเขาเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม กำจัดสิ่งชั่วช้าลามกสกปรกโสมมอยู่ภายในใจนี้ออกไปจากจิตใจ ใจสว่างจ้าขึ้นมา ไม่มีอะไรสะอาดยิ่งกว่าใจที่หลุดพ้นแล้ว สิ่งใดที่สะอาดสะอ้านก็เป็นเรื่องของกิเลสมันแข่งธรรมต่างหาก อันนั้นก็ดี อันนี้ก็ดี ตบแต่งให้สวยงาม ตบแต่งดีขนาดไหนยังขัดยังถูเสียจน ขัดถูว่าสวยงามเท่าไร ถ้าเป็นสายตาของธรรม ในสายตาของธรรมแล้ว กิเลสมันบอกว่าสวยงามสุดยอด สะอาดสุดยอด แต่สายตาของธรรมแล้ว สกปรกสุดยอด เห็นไหมมันต่างกันขนาดไหน ธรรมจึงได้มาตำหนิเรื่องของกิเลส ที่คำว่าสวยงามที่สุด สะอาดที่สุด สุดยอดๆ กลายเป็นว่าสกปรกสุดยอดไป เป็นยังไง
    เพราะเหตุนี้เอง การอยู่ที่ไหนอยู่เถอะพระเรา ออกมาจากที่ไหนๆ ธรรมเลิศกว่าทั้งนั้น เลิศเลอที่สุดเลย เหล่านี้พอปลงสังขารลงอยู่ได้ กินไป นอนไป วันหนึ่งๆ พอ ขอให้ความพากเพียรทั้งหลาย มีความเกี่ยวเนื่องกับสติปัญญาของตนตลอดเวลา นี่ถูกต้อง แล้วสมบัติทั้งหลายที่พูดเบื้องต้นว่า ศีลสมบัติ สมาธิสมบัติ ปัญญาสมบัติ วิมุตติสมบัติ จะเป็นสมบัติของเราแต่ผู้เดียว ที่มีความเพียรอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ตามพระพุทธเจ้าที่สอนไว้
    ให้พากันจำให้ดีเรื่องการปฏิบัติ ศาสนาเจริญรุ่งเรือง เจริญรุ่งเรืองอันดับหนึ่งก็คือกับพระ พระเราเป็นพระเช่นไร เราเป็นพระปฏิบัติหรือพระหลอกลวงโลก เราต้องดูเรา หลอกลวงเราแล้วก็หลอกลวงโลกได้ ถ้าเราจริงในเราแล้วจริงกับโลกได้ เหมือนพระพุทธเจ้าเป็นของจริง ศาสดาองค์เอกจริงสอนโลกให้จริงมาตลอด ได้หลุดพ้นจากทุกข์ เพราะอำนาจคำสอนพระพุทธเจ้านี้มีมากมายก่ายกองขนาดไหน ส่วนกิเลสตัวไหนที่มาสอนโลกให้หลุดพ้นจากทุกข์ มีแต่หลอกไปเรื่อย ไปที่ไหนแง่ใดมุมใด มีแต่หลอก กิเลสคือธรรมชาติที่หลอก ความจริงไม่มี ไปที่ไหนหลอกลวงไปเรื่อยๆ ทีเดียว ส่วนธรรมนั้นจริงตลอดไปๆ ไม่มีคำว่าหลอกลวง ให้ยึดอันนี้ให้ดี
    ให้เป็นคนจริงจัง มีความขยันหมั่นเพียร อย่าเหลาะแหละๆ ตามจริตนิสัยของเราที่เคยเป็นฆราวาส เป็นมานานเท่าไร มันฝังนิสัยขนาดไหน เวลามาบวชแล้วมันจะขัดจะข้องนะ ให้พากันดูตัวเอง นิสัยของเรา เราเคยเป็นฆราวาส เคยทำหน้าที่การงานอะไรๆ มา มันจะชินต่อหน้าที่การงานอันนั้นๆ ทีนี้งานของศาสนาเป็นยังไง ไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้อง เวลามาเกี่ยวข้องแล้วงานของศาสนานี้เหมือนนักโทษในเรือนจำนะ เหมือนคนติดคุกติดตะราง เพราะเหตุไร เพราะงานของศาสนานี้เป็นงานที่ละเอียดมาก ต้องใช้ความอดความทน สติปัญญาเหนียวแน่นทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรรอบคอบยิ่งกว่างานพุทธศาสนา
    เพราะฉะนั้นผู้มาบวชในพุทธศาสนา ถ้าหากว่าปฏิบัติตามศาสนธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนจริงๆ ไม่มีใครสวยงามยิ่งกว่าพระผู้มุ่งออกมาบวชแล้ว เสียสละทุกสิ่งทุกอย่างแล้วสวยงามที่สุด กิริยามารยาทจะคล่องแคล่วๆ ด้วยสติด้วยปัญญา ด้วยเหตุด้วยผลไม่ผิดพลาด นี่สวยงามไปอย่างนี้นะ แล้วการบำเพ็ญตนจิตใจสว่างจ้าขึ้นมาๆ นี่ไม่มีใครสวยงามยิ่งกว่าพระละ เราทำตัวของเราให้สวยงาม ให้ชุ่มเย็นภายในใจ เดินไปที่ไหนก้าวไปที่ใด ความสวยงามความชุ่มเย็นนี้ไปกับเรา โลกมาสัมผัสก็สัมผัสเรา โลกจะไม่มีความสงบร่มเย็นได้ยังไง ต้องสงบร่มเย็น ถ้าเราเป็นฟืนเป็นไฟ เป็นพระที่หลอกลวงต้มตุ๋นชาวบ้านเก่งๆ ไปที่ไหนเหมือนเปรตเหมือนผีอย่างนี้ใครจะมากราบมาไหว้ลงคอ ให้พิจารณาอย่างนี้นะ
    พระเป็นผู้เสียสละทุกอย่าง ดังที่พูดแล้วตะกี้นี้ มหากษัตริย์ออกมาบวช แล้วเข้าในป่าในเขา ไม่เคยสนใจในพระราชวังเลย ไม่มี สกุลเศรษฐีกุฎุมพีก็เหมือนกัน ออกมาบวชแล้วไม่สนใจกับสกุลของตนเลย หาบิณฑบาตกับชาวบ้านเขามาได้เท่าไร อยู่ไปกินไปเพียงเท่านั้นแหละ เห็นไหมพระพุทธเจ้าเสด็จออกมาทรงผนวช ก็เหมือนเทวดาตกจากสวรรค์ลงนรกนั่นเอง อยู่ในหอปราสาทราชมณเฑียร เวลามาบวชไปอยู่ในป่า ไปบิณฑบาตขอทานจากเขา เขาให้ทานตามจริตนิสัย พระองค์จะมาเสวยจนจะเสวยไม่ได้ เราเห็นไหม พระองค์ฟัดกับกิเลสตัวทิฐิมานะของกษัตริย์ ขัตติยมานะนี้ออกๆ เลย เสวยสบาย กินสบายๆ นอนสบาย บำเพ็ญเต็มเม็ดเต็มหน่วย จนได้เป็นพระพุทธเจ้าของเราขึ้นมา
    อันนี้การมาบวชนี้ก็เหมือนกัน ต้องมาฝึกนิสัยใหม่ เพราะเรื่องการบวชของเรานี้เป็นตามหลักธรรมแล้วละเอียดลออมากนะ ต้องใช้ความอดทน พินิจพิจารณาทุกอย่าง เพศของพระเป็นเพศที่พินิจพิจารณา เป็นเพศที่สำรวมระวัง เป็นเพศที่มีสติมีปัญญาละเอียดลออ มีเหตุมีผลทุกอย่าง ไม่ใช่พล่วมพล่ามๆ แบบเอาผ้าเหลืองมาคลุมหัวแล้วก็ว่าตนเป็นพระ โอ่อ่าฟู่ฟ่า นั่นมันพระผีบ้า พระกาฝากอย่างนั้น อย่าให้มาติดศาสนามันจะเลอะเทอะไปหมด เราต้องเป็นพระจริงพระจัง ตามเสด็จพระพุทธเจ้าด้วยสวากขาตธรรม อย่าให้ผิดให้พลาดไป เราจะมีความสุขความเจริญ มรรคผลนิพพานจะเป็นของท่านทั้งหลายเอง
    พระพุทธเจ้าไม่มาแบ่งสันปันส่วนอะไรจากเรานะ ทรงสอนไว้ด้วยพระเมตตานั่นเอง ให้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติ มรรคผลนิพพานท้าทายตลอดเวลา เรียกว่า อกาลิโกๆ เหมือนกันกับกิเลส กิเลสก็เป็นอกาลิโก มีตลอดเวลา ทำให้เกิดกิเลสเกิดได้วันยังค่ำคืนยังรุ่ง พาให้รับความทุกข์ความลำบาก จมอยู่ในวัฏวนนี้กี่กัปกี่กัลป์ ไม่นับกิเลส ธรรมก็เหมือนกัน เอ้า ฟาดมันลงไป กิเลสตัวมันเก่งๆ พาสัตว์โลกให้จมไม่มีวันฟื้นนี้ เอาธรรมลากขึ้นมาๆ เอาจนกระทั่งหลุดพ้นไปได้ นี่ธรรมเป็นธรรมชาติฉุดลากขึ้นมา เราให้ปฏิบัติอย่างนี้นะ ให้พากันตั้งอกตั้งใจ
    อย่าเห็นงานอื่นงานใดเป็นของสำคัญนะ ผมแม้จะมีหน้าที่การงานเกี่ยวกับประชาชนญาติโยม จนกระทั่งถึงช่วยโลกสงสาร นี่ผมก็ไม่มารบกวนพระอะไร ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่มากวน เพราะถือเรื่องอรรถเรื่องธรรม การบำเพ็ญธรรมนี่เป็นของสำคัญมากในหัวใจของเราไม่เคยจืดจาง ด้วยเหตุนี้เองพระในวัดนี้จึงให้อยู่สบายๆ ให้บำเพ็ญสมณธรรมตามความสะดวกสบายตามจริตนิสัยของตน ให้หนักแน่นเสมอการประกอบความพากเพียร อย่าเห็นภายนอกเป็นสิ่งที่ดิบที่ดียิ่งกว่าธรรม จมนะ ธรรมนี่เลิศเลอมาแต่กาลไหนๆ สิ่งที่หลอกลวงก็คือกิเลส มันต่ำช้าเลวทรามมาแต่กาลไหนๆ มันมาหลอกเรา ยังหลงตามมันอยู่หรือ เราเป็นผู้ปฏิบัติเพื่ออรรถเพื่อธรรมความสูงส่งแท้ๆ นี่นะ เอาให้ดีทุกคน ปฏิบัติให้ดีเอาให้จริงให้จัง ให้ได้ทรงมรรคผลนิพพาน มรรคผลนิพพานอยู่กับเราทุกท่าน ตามศาสนธรรมนี่แหละ ไม่นอกเหนือไปไหน
    ธรรมก็ดี วินัยก็ดี นั่นฟังซิท่านพูด ท่านสอนพระอานนท์ ทีแรกพระอานนท์ไปทูลอาราธนาท่าน ขอให้ท่านทรงพระชนม์อยู่เป็นเวลายืดยาวนาน ไม่อยากให้ปรินิพพานง่าย ภาษาของเราก็เรียกว่า พระองค์ทรงดุพระอานนท์ว่างั้นเถอะ อานนท์มาหวังอะไรกับเราอีก นั่นฟังซิ ก็ทุกสิ่งทุกอย่างเราสอนไว้หมดแล้วไม่มีอะไรเหลือแล้ว เหลือแต่ร่างกระดูกของเรานี่เท่านั้น รอวันเวลาที่จะสิ้นลมหายใจตายไปเสียเท่านั้นเอง จะมาหวังอะไรกับเราอีก ธรรมทั้งหลายเราสอนไว้ไม่มีลี้ลับ เปิดเผยตลอดเวลามาจนกระทั่งบัดนี้แล้ว เธอยังจะมาหวังอะไรกับเราอีก เมื่อขู่เข็ญเต็มที่แล้วก็ปลอบพระอานนท์ อานนท์ ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมมีอยู่นี้ โลกไม่สูญจากพระอรหันต์นะอานนท์ ฟังซิน่ะ ขอให้ปฏิบัติตามแนวทางของเราตถาคตที่สอนนี้เถิด พระอรหันต์ไม่สูญจากโลกนะอานนท์ นี่ข้อหนึ่ง อีกข้อหนึ่ง พระธรรมหนึ่ง พระวินัยหนึ่ง นี้แลจะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย แทนเราตถาคตเมื่อเราตายไปแล้ว นี่เราเป็นผู้มีธรรมมีวินัย ก็เท่ากับมีศาสดาประจำหัวใจของเรา ถ้าไม่มีธรรมมีวินัยก็ไม่มีศาสดา
    ให้พากันจำเอานะ ธรรมวินัยที่เราประคับประคอง รักษาด้วยดีอยู่นั้นแลคือศาสดาประจำตัวของเรา ไปที่ไหนสง่างามหมด ถ้าปราศจากธรรมวินัยนี้แล้ว ศีลขาด ศีลทะลุ อย่างนี้ใช้ไม่ได้แล้วนะ ไม่มีศาสดาแล้ว ธรรมก็ไม่สนใจ วินัยไม่สนใจ มีแต่หัวโล้นๆ ผ้าเหลืองๆ หลอกชาวบ้านเขากินเฉยๆ ไม่เกิดประโยชน์ ลูกศิษย์ตถาคตไม่ใช่เป็นคนหลอกชาวบ้านนะ เป็นคนเอาจริงเอาจังทุกอย่างๆ ตามที่ท่านสอนไว้ ธรรมและวินัยนั้นแลจะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย ท่านเทิดทูนธรรมและวินัยตลอดในหัวใจของท่าน ท่านจึงมีธรรมมีวินัย ขอให้ทุกๆ ท่านมีธรรม มีวินัย คือองค์ศาสดาประจำตน ไปที่ไหนจะสง่างาม หาที่ตำหนิตนเองไม่ได้ เช่นความขี้เกียจ นี่ก็เป็นเรื่องกิเลส ไม่ใช่ศาสดานะ อย่าพากันขี้เกียจมากนักนะ เข้าใจหรือ ความท้อแท้อ่อนแอ ความเหลวไหล ไม่ใช่ศาสดา คือไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย เป็นความอ่อนแอท้อแท้ เป็นเรื่องของกิเลส จะจับคอเราฟัดลงหมอน หมอนแตกเสื่อขาดไปแล้วนะ จำให้ดี
    วันนี้ได้มีโอกาสบ้างพอสมควร จึงได้เตือนให้ท่านทั้งหลายได้ทราบทั่วถึงกัน เพราะนานๆ จะได้เทศนาว่าการสักหนหนึ่งๆ พระทุกองค์ๆ ให้ตั้งหน้าตั้งตาประพฤติปฏิบัติความพากเพียรให้ดี สติเป็นสำคัญมาก สติเป็นพื้นฐาน ความเพียรทุกประโยคอยู่กับสติเป็นผู้ควบคุมทั้งนั้น
    วันนี้เทศนาว่าการ ก็เห็นจะพอสมควรกับธาตุกับขันธ์เวล่ำเวลา ส่วนมากก็ธาตุขันธ์นั่นแหละ ขอให้พากันตั้งอกตั้งใจ เข้าพรรษาก็คือถือเขตวัดนะ เขตนอกนั่นแหละ เขตที่ก่อกำแพงใหม่นั่น เรียกว่า เขตวัด นั่นถือเป็นเขตวัด ส่วนกำแพงในนี้เป็นเขตวัดเดิม แต่วัดจริงๆ ก็อยู่ข้างนอก แต่เรื่องธุดงควัตรที่เราได้พากันปฏิบัติมาแล้ว ก็ถือเขตวัดในนี้เป็นเขตวัดอันหนึ่งในธุดงค์ข้อนี้ พอพ้นจากเขตกำแพงในนี้เข้ามาแล้ว ถ้ารับบิณฑบาตอยู่เรียกว่า ขาดธุดงค์ข้อนี้ ถ้านอกกำแพงไม่ขาด กำหนดเอากำแพงนี้ในธุดงควัตรของเรา ให้พากันจำเอาไว้อย่างนี้ แล้วตั้งใจประพฤติปฏิบัติ
    เวลานี้เป็นเวลาที่ว่างที่สุด ไม่มีใครรบกวน พระกรรมฐานเรายิ่งอยู่สะดวกสบาย หน้าที่การงานอะไรไม่มี ประชาชนเขาเลี้ยงดูหมด ไม่ว่าการอยู่การกิน เห็นไหม วัดป่าบ้านตาดนี้ กองพะเนินเทินทึกเท่าภูเขานี่แต่ละวันๆ กินให้ตายก็ตายได้นะพระ ถ้าไม่รู้จักประมาณตายได้ทั้งนั้น อย่าว่าแต่อดตาย กินอิ่มมันก็ตาย เดี๋ยวนี้เหลือเฟือ สบง จีวร เครื่องใช้ไม้สอยเต็มไปหมด มีแต่ประชาชนเขาส่งเสริม เห็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เขามีความเลื่อมใสศรัทธา อยากได้บุญได้กุศลด้วย อย่าให้เขาเสียใจ ให้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติ อาศัยไปวันหนึ่งๆ เท่านั้น
    ที่ว่าธุดงควัตรไม่รับอาหารที่ตามมา ก็คือประสงค์ให้พระมีธุดงควัตร กำจัดความโลภโลเลของตน มีมากก็เอาแต่น้อย เอาแต่น้อยๆ จึงดัดเข้ามาในธุดงควัตรอันนี้ ให้จำเอาไว้อย่างนี้ ให้พากันประพฤติปฏิบัติ รักษาธุดงค์ให้ดี ให้มีความแน่นหนามั่นคง
    ตามที่กล่าวมาแล้วนี้ ขอทุกท่านจำเอาไว้นะ ผู้ที่บวชใหม่ก็ให้คอยศึกษาอบรมกับผู้ที่บวชเก่า แต่สำหรับผมเองจะไม่ค่อยมีเวล่ำเวลา คิดดูซิปีหนึ่งที่ได้อบรมสอนพระอย่างนี้ มีหนหนึ่ง เช่นปีกลายสอนอย่างนี้หนหนึ่ง ปีนี้ก็มาสอนอีกหนหนึ่ง จากนั้นก็ไม่ค่อยมีเวล่ำเวลา ธาตุขันธ์ก็ไม่อำนวย เพราะงานการเรามีมากที่สุดเลย เราสงวนเรื่องพระ แต่เวล่ำเวลาที่จะมาสอนมีน้อยมาก กำลังวังชาก็ไม่พอ จึงขอให้พากันตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติ หน้าที่การงานของเราทุกอย่างไม่มี มีแต่การเดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนาด้วยความตั้งสติ มีปัญญาสอดส่องมองทะลุตามกาลตามเวลา หรือมีสติปัญญาอัตโนมัติยิ่งดี ด้วยความพากเพียร นี่แหละคืองานของพระ
    ให้ท่านทั้งหลายมีความขยันหมั่นเพียร ตั้งสติให้ดี ความพากเพียรทุกด้านอย่าปราศจากสติ เดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนานี้คืองานของพระ ผลที่เกิดขึ้นจากงานนี้ ก็เป็นธรรมสมบัติขึ้นมา ธรรมสมบัติขึ้นมาจนถึงอรหัตผล เป็นธรรมสมบัติที่เกิดจากงานของพระที่เราทำอยู่เวลานี้ ให้พากันจำให้ดี ประกอบหน้าที่การงานของตนให้สมบูรณ์พูนผลภายในจิตใจ ไปที่ไหนจะสง่างามนะ จิตใจที่สง่างามภายในจิตใจนี้ โหย ไม่ได้ธรรมดานะพูดไม่ได้ แต่ไม่สงสัยภายในจิตใจ จิตใจที่สง่างามที่ได้พ้นจากกิเลสแล้วนี้ จ้าไปหมดครอบโลกธาตุ จะว่าอะไร เพราะฉะนั้นธรรมท่านจึงได้กล้าตำหนิละซิ ที่ว่ากิเลสมันตกแต่งอะไรๆ ให้สดสวยงดงามๆ ๆ แล้วเอาไปแข่งธรรมน่ะซิ เอามาแข่งธรรมนี้ อันนี้งามที่สุด สวยที่สุด เรียบร้อยที่สุด เกลี้ยงเกลาที่สุด สะอาดที่สุด ให้สายตาของธรรมมาตัดสิน ตัดสินว่าไง สายตาของธรรมว่า สกปรกที่สุด นั่นเห็นไหม ธรรมสูงขนาดไหน จึงมาตำหนิเรื่องของกิเลสที่ว่ามันสวยที่สุด งามที่สุด เป็นสกปรกที่สุดได้ นั่นละเหนือขนาดนั้น ท่านทั้งหลายพิจารณาเอานะ
    เอาละวันนี้การแสดงธรรมก็เห็นว่าสมควรแก่ธาตุ แก่ขันธ์ แก่กาลเวลา ขอทุกท่านทั้งใกล้ทั้งไกลที่อุตส่าห์มาที่นี้เสียเวล่ำเวลา หน้าที่การงาน สมบัติเงินทอง เพื่อบุญเพื่อกุศล จะเป็นผลอันยิ่งใหญ่แก่ท่านทั้งหลายเอง เวลากลับไปบ้านไปเรือน ก็ให้ตั้งหน้าตั้งตาประพฤติปฏิบัติ ประหนึ่งว่าพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่หัวใจเรา ด้วยความมีสติ มีศีล มีธรรม มีพุทโธ ธัมโม สังโฆ ท่านทั้งหลายจะไม่ปราศจากที่พึ่ง ไปถึงบ้าน บ้านเป็นบ้าน พุทโธ เป็นของเราอยู่อย่างนั้น ไปที่ไหนพุทโธเป็นของเรา ไม่ห่างเหินจากอรรถจากธรรมจากพระพุทธเจ้า นี่ชื่อว่าเป็นผู้มีความเจริญรุ่งเรืองภายในหัวใจ เอาละ การแสดงธรรมเห็นว่าสมควรแก่ธาตุขันธ์เวล่ำเวลา ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทั้งหลายโดยทั่วกันเทอญ
    <o:p> </o:p>
     
  4. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    นักปฏิบัติให้ยึดการพิจารณาร่างกายเป็นหลัก<!-- google_ad_section_end -->

    Luangta.Com -
     
  5. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241

    ทรงแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่แล่นดิ่งไปสุดโต่ง
    : เกี่ยวกับ "ทำเอง" หรือ "ผู้อื่นทำ" (อีกนัยหนึ่ง *๕)
    (อเจลกัสสปะเข้าไปเฝ้า แล้วทูลถามพระผู้มีพระภาค เกี่ยวกับเรื่องความทุกข์ว่าทำเอาเอง หรือผู้อื่นทำให้เป็นต้น
    ตรัสตอบแล้ว เขาได้กราบทูลต่อไป ซึ่งคำกราบทูลนั้นมีข้อความตรงเป็นอันเดียวกัน กับข้อความตอนต้น ของเรื่อง
    ที่แล้วมาข้างบนนั้นทุกประการ ผิดกันแต่คำว่า "ความทุกข์"แทนคำว่า "สุข ทุกข์" เท่านั้น จนถึงข้อความ
    ว่า ...เราแล ย่อมรู้ ย่อมเห็น ซึ่งความทุกข์."ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาค จงตรัสบอกซึ่ง
    (เรื่องราวแห่ง) ความทุกข์;และจงทรงแสดงซึ่ง (เรื่องราวแห่ง) ความทุกข์ แก่ข้าพระองค์เถิด." พระผู้มีพระภาค ได้ตรัส ดังนี้ว่า:)

    กัสสปะ! เมื่อบุคคลมีความสำคัญมั่นหมายมาแต่ต้นว่า "ผู้นั้นกระทำ, ผู้นั้นเสวย (ผล)" ดังนี้เสียแล้ว เขามี
    วาทะ (คือลัทธิยืนยันอยู่) ว่า "ความทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง" ดังนี้ : นั่นย่อม แล่นไปสู่ (คลอดแห่ง) สัสสตะ (ทิฎฐิที่ถือว่าเที่ยง).

    กัสสปะ! เมื่อบุคคลถูกเวทนากระทบให้มีความสำคัญมั่นหมายว่า "ผู้อื่นกระทำ, ผู้อื่นเสวย (ผล)" ดังนี้เสียแล้ว เขา
    มีวาทะ (คือลัทธิยืนยันอยู่) ว่า "ความทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำให้" ดังนี้ : นั่น ย่อมแล่นไปสู่ (คลอกแห่ง) อุจเฉทะ(ทิฎฐิที่ถือว่าขาดสูญ).

    กัสสปะ! ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น. .... (ต่อไปนี้ ตรัสกระแสแห่ง
    ปฎิจจสมุปบาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา อันจะเป็นที่ตั้ง แห่งการบัญญัติว่าเราเองหรือผู้อื่น)

    ๕. บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๔/๕๐. ตรัสแก่อเจลกัสสปะ ที่เวฬุวัน.

     
  6. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ทรงแสดงหลักพระศาสนา ไม่มีวิญญาณที่เวียนว่ายตายเกิด<SUP></SUP>
    [อีกมุมหนึ่งของ ผู้นั้นกระทำ, ผู้นั้นเสวย (ผล) หรือ สัสสตะ (ทิฎฐิที่ถือว่าเที่ยง)]​

    สติ! จริงหรือตามที่ได้ยินว่า เธอมีทิฎฐิอันลามกเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ว่า"เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสด
    แล้วว่า วิญญาณนี้นี่แหละ ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป, หาใช่สิ่งอื่นไม่" ดังนี้?

    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงแล้วเช่นนั้นว่า วิญญาณนี้นี่แหละ ย่อม
    แล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป, หาใช่สิ่งอื่นไม่ ดังนี้".

    สาติ! วิญญาณนั้น เป็นอย่างไร?

    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! นั่นคือสภาพที่เป็นผู้พูด ผู้รู้สึก (ต่อเวทนา) ซึ่งเสวย วิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่ว ท. ในภพนั้น ๆ".

    โมฆบุรุษ! เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ เมื่อแสดงแก่ใครเล่า.

    โมฆบุรุษ! เรา กล่าววิญญาณ ว่าเป็นปฎิจจสมุปปันนธรรม (สิ่งที่อาศัยปัจจัยแล้วเกิดขึ้น) โดยปริยายเป็นอันมาก; ถ้าเว้น จากปัจจัยแล้ว ความเกิดแห่งวิญญาณมิได้มี ดังนี้มิใช่หรือ.

    โมฆบุรุษ!เมื่อเป็นอย่างนั้น เธอชื่อว่า ย่อม กล่าวตู่เราด้วยถ้อยคำที่ตนเองถือเอาผิดด้วย ย่อมขุดตนเองด้วย ย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก
    ด้วย;

    โมฆบุรุษ! ข้อนั้นแหละ จักเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อกูลแก่เธอตลอดกาลนาน ดังนี้.

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ ท. แล้วตรัสว่า:-

    ภิกษุ ท.! พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ภิกษุสาติเกวัฎฎบุตรนี้ ยังจะพอนับว่า เป็นพระเป็นสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้ได้บ้างไหม?

    "จะเป็นได้อย่างไร พระเจ้าข้า! หามิได้เลย พระเจ้าข้า!"

    (เมื่อภิกษุ ท. ทูลอย่างนี้แล้ว ภิกษุสาติผู้เกวัฎฎบัตร ก็เงียบเสียง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่ปฎิภาณ นิ่งอยู่. พระผู้มีพระ
    ภาคทอดพระเนตรเห็นดังนั้นแล้ว ได้ตรัสว่า:)

    โมฆบุรุษ! เธอจักปรากฎด้วยทิฎฐิอันลามกนั้นของตนเองแล; เราจักสอบถามภิกษุ ท. ใน ที่นี้. (แล้วทรงสอบถามภิกษุ ท. จนเป็น
    ที่ปรากฎว่า พระองค์มิได้ทรงแสดงธรรมดังที่สาติภิกษุกล่าว แล้ว ทรงแสดง การเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ โดยอาการแห่ง
    ปฎิจจสมุปบาทครบทั้ง ๖ อายตนะ).

    ๑. บาลี มหาตัณหาสัขยสูตร มู.ม. ๑๒/๔๗๕/๔๔๒. ตรัสแก่ภิกษุสาติเกวัฎฎบุตร ที่เชตวนาราม ใกล้เมืองสาวัตถี.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2009
  7. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ธรรมภูติ เป็นมิฐฉาทิฐิ ยังไม่รู้กันอีก คนไม่ได้สอนได้ทุกคน พระพุทธเจ้ายังทรงเลือกสอนเฉพาะผู้ที่ทรงพิจารนาแล้วว่าพูดหรือกล่าวออกไปแล้วคนๆๆนั้นจะได้เห็นธรรม

    กำลังอย่างพวกเราจะทำให้เค้าเปลี่ยน ทิฐิ ไม่ได้หรอกครับยิ่งพูดกกับคนพาลก้มีแต่เสียกับเสียไปเรื่อยๆๆ เพราะกรรม ปรามาส เหล่านี้แหละทำให้เค้าหลงอยู่ตลอดไม่เจริญหรอก
     
  8. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    สัมมาทิฐิ คือ ความรู้ในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค หรือ รู้อริยสัจ ๔ <o></o>
    สัมมาสมาธิ คือ การเจริญฌาน ๔ <o></o>

    ทั้ง สัมมาทิฐิ และ สัมมาสมาธิ เป็นองค์มรรค ใน มรรคมีองค์ ๘
    <o></o>
    <o></o>
    เป็นการปฏิบัติทางจิต โดยมรรคทั้ง ๘ องค์ ต้องทำงานสัมพันธ์กัน กลมเกลียวกัน<o></o>
    เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ( มคฺคสมงฺคี ) จนจิตพ้นทุกข์ในที่สุด<o></o>
    <o></o>
    แต่การที่จะเกิด“สัมมาทิฐิ” รู้อริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงได้นั้น
    ต้องเริ่มต้นจากการ ปฏิบัติ “สัมมาสมาธิ”<o></o>


    ไม่ใช่ลูบคลำตำราแล้วเป็นสัมมาทิฐิได้ ( อันนี้เป็นสัญญา การจำได้หมายรู้ )


    มีพระพุทธพจน์รับรอง ดังนี้
    <link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CADMINI%7E1%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:UseFELayout/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"MS Mincho"; panose-1:2 2 6 9 4 2 5 8 3 4; mso-font-alt:"MS 明朝"; mso-font-charset:128; mso-generic-font-family:modern; mso-font-pitch:fixed; mso-font-signature:-1610612033 1757936891 16 0 131231 0;} @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:Tahoma; panose-1:2 11 6 4 3 5 4 4 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:1627421319 -2147483648 8 0 66047 0;} @font-face {font-family:"\@MS Mincho"; panose-1:2 2 6 9 4 2 5 8 3 4; mso-font-charset:128; mso-generic-font-family:modern; mso-font-pitch:fixed; mso-font-signature:-1610612033 1757936891 16 0 131231 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"MS Mincho"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->[FONT=&quot]
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    [FONT=&quot]จงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด[/FONT]
    [FONT=&quot]ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง[/FONT][FONT=&quot] ดังนี้

    [/FONT]
    [/FONT]<link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CADMINI%7E1%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:UseFELayout/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"MS Mincho"; panose-1:2 2 6 9 4 2 5 8 3 4; mso-font-alt:"MS 明朝"; mso-font-charset:128; mso-generic-font-family:modern; mso-font-pitch:fixed; mso-font-signature:-1610612033 1757936891 16 0 131231 0;} @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:Tahoma; panose-1:2 11 6 4 3 5 4 4 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:1627421319 -2147483648 8 0 66047 0;} @font-face {font-family:"MS Sans Serif"; panose-1:0 0 0 0 0 0 0 0 0 0; mso-font-alt:"Times New Roman"; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-format:eek:ther; mso-font-pitch:auto; mso-font-signature:0 0 0 0 0 0;} @font-face {font-family:"\@MS Mincho"; panose-1:2 2 6 9 4 2 5 8 3 4; mso-font-charset:128; mso-generic-font-family:modern; mso-font-pitch:fixed; mso-font-signature:-1610612033 1757936891 16 0 131231 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"MS Mincho"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} pre {margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:13.5pt; font-family:"MS Sans Serif"; mso-fareast-font-family:"MS Mincho"; mso-bidi-font-family:Tahoma;} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->^
    จิตตั้งมั่นชอบ คือ สัมมาสมาธิ<o></o>
    รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ สัมมาทิฐิ รู้อริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง


    (smile)
    <o></o>
     
  9. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ถ้าแค่ลูบคลำตำรา แล้วเป็นสัมมาทิฐิ
    เด็กประถม ๔ ก็เป็นสัมมาทิฐิแล้ว

    เพราะเด็กประถม ๔ ก็ตอบได้แล้วว่า
    สัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ ๔ ได้แก่
    ทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
    สมุทัย เหตุแห่งทุกข์
    นิโรธ ความดับทุกข์
    มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

    ไม่เพียงเท่านั้น เด็กๆทุกคนที่เรียนวิชาพระพุทธศาสนามา
    ถึงแม้จะไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ ก็รู้ว่า “สัมมาทิฐิ” เป็นอย่างไร

    รู้แบบนี้ เป็นการรู้จากการลูบคลำตำรา เป็นการรู้ด้วยสัญญา ความจำได้หมายรู้
    ไม่ใช่รู้แจ้งด้วยปัญญา .....จะเรียกว่าเป็น “สัมมาทิฐิ” ได้อย่างไร ???


    (smile)
     
  10. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ในฐานะพุทธศาสนิกชน การที่เรามานับถือศาสนาพุทธ
    นั่นหมายความว่า เราเชื่อในการตรัสรู้ของพระองค์
    ซึ่งพระองค์ก็ได้แสดงให้เราเห็นแล้วว่า
    การตรัสรู้ของพระองค์นั้น เกิดได้จากการปฏิบัติทางจิต

    ไม่ใช่ลูบคลำตำรา แล้วกล่าวหาให้ร้ายผู้อื่น
    ที่มีความเห็นไม่เหมือนตนและพรรคพวก ว่าเป็นมิจฉาทิฐิ

    พระพุทธองค์ยังทรงอยู่กับเรา
    และเราจะถึง พระพุทธ (พระพุทธองค์) พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งได้
    ต้องรู้อริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
    ^
    รู้ด้วยปัญญา จากการปฏิบัติ ไม่ใช่สัญญาจากการท่องจำ


    (smile)
     
  11. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ปัญญาเกิดขึ้นเพราะความประกอบ ไม่ประกอบ ปัญญาก็หมดสิ้นไป
    บุคคลรู้ทางแห่งความเจริญ และความเสื่อม ทั้ง ๒ ทางนี้ แล้ว
    พึงตั้งตนไว้ในทางที่ปัญญาจะเจริญ

    ^
    ปัญญาจะเกิดได้ ก็ด้วยการปฏิบัติ “อริยมรรคมีองค์ ๘” หรือ “สติปัฏฐาน ๔” นั่นเอง
    โดยเริ่มต้น จากการปฏิบัติ “สัมมาสมาธิ”


    โปรดดูมหาสติปัฏฐานสูตร ...นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
    ตรงนี้ คือ การให้นั่งสมาธินั่นเอง(นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง )
    (ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ) คือ ต้องมีสติระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ (สัมมาสติ )
    กรณีอานาปานสติ ก็คือ ต้องระลึกรู้อยู่ที่จุดลมหายใจกระทบ (เข้า-ออก )

    ต้องอาศัยความเพียร (สัมมาวายามะ) ประคองจิตให้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ
    ซึ่งก็คือ การปฏิบัติ สัมมาสมาธิ หรือการเจริญฌาน ๔ นั่นเอง

    และจิตจะเป็นสมาธิบรรลุปฐมฌานได้ ต้องสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    ตรงนี้ก็คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ นั่นเอง

    เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ก็จะเกิด สัมมาทิฐิ เห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง คือ
    เห็นว่าการที่จิตแลบออกจากฐานที่ตั้งสติ(ฐานกาย) ไปยึดอารมณ์ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์..สมุทัย
    เห็นอาการกระสับกระส่ายของจิตเพราะยึดอารมณ์ (ฐานเวทนา) เป็น ทุกข์
    เห็นว่าการดึงจิตกลับเข้าสู่ฐานที่ตั้งสติทำให้จิตสงบ ไม่กระสับกระส่าย (ฐานจิต) เป็น มรรค
    เห็นว่าการที่จิตอยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ จิตสงบ ไม่กระสับกระส่าย (ฐานธรรม) เป็น นิโรธ
    ( ในการปฏิบัติ ฐานทั้ง ๔ (กาย เวทนา จิต ธรรม) จะกระเทือนถึงกันและกัน )

    การที่ผู้ปฏิบัติเห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    และการที่ผู้ปฏิบัติสามารถปล่อยวางอารมณ์ โดยดึงจิตกลับเข้าสู่ฐานที่ตั้งสติได้
    ตรงนี้คือ พลังปัญญา สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ นั่นเอง

    ปัญญาเห็นอริยสัจ ๔ หรือ สัมมาทิฐิ เกิดได้จากการปฏิบัติ สัมมาสมาธิ ดังกล่าวข้างต้น

    แต่ตอนปฏิบัติใหม่ๆ พลังปัญญายังไม่มากพอ ต้องอาศัยความเพียร หมั่นฝึกปฏิบัติจนเป็นวสี
    พลังปัญญา เห็นอริยสัจ ๔ หรือ สัมมาทิฐิ จะเพิ่มขึ้นตามลำดับของความพากเพียรในการปฏิบัติ

    (smile)
     
  12. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241

    โมฆบุรุษ! เรา กล่าววิญญาณ ว่าเป็นปฎิจจสมุปปันนธรรม (สิ่งที่อาศัยปัจจัยแล้วเกิดขึ้น) โดยปริยายเป็นอันมาก; ถ้าเว้น จากปัจจัยแล้ว ความเกิดแห่งวิญญาณมิได้มี ดังนี้มิใช่หรือ.

    โมฆบุรุษ!เมื่อเป็นอย่างนั้น เธอชื่อว่า ย่อม กล่าวตู่เราด้วยถ้อยคำที่ตนเองถือเอาผิดด้วย ย่อมขุดตนเองด้วย ย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก
    ด้วย;

    โมฆบุรุษ! ข้อนั้นแหละ จักเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อกูลแก่เธอตลอดกาลนาน ดังนี้.

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ ท. แล้วตรัสว่า:-

    ภิกษุ ท.! พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ภิกษุสาติเกวัฎฎบุตรนี้ ยังจะพอนับว่า เป็นพระเป็นสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้ได้บ้างไหม?

    "จะเป็นได้อย่างไร พระเจ้าข้า! หามิได้เลย พระเจ้าข้า!"
     
  13. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241

    การตรัสรู้ คือการทรงรู้แจ้งผัสสายตนะโดยอาการห้า *๑
    (ครั้งหนึ่ง ประทับอยู่ที่เชตวัน ตรัสเรียกภิกษุ ท. มาแล้ว ได้ตรัสเรื่องสมณพราหมณ์ที่มีทิฎฐิต่าง ๆ กัน
    โดยแบ่งเป็นพวก ๆ คือตรัสพวกอหรันตานุทิฏฐิมีทิฏฐิปรารภขันธ์ส่วนอนาคต ๕ พวก ได้แก่พวกสัญญีวาท
    อสัญญีวาท เนวสัญญีนาสัญญีวาท อุจเฉทวาท และทิฎฐธัมมนิพพานวาทแล้วตรัสพวก ปุพพันตานุทิฏฐิ มีทิฎฐิ
    ปรารภขันธ์ส่วนอดีต ๑๖ พวก และตรัสถึงทิฎฐิธัมมนิพพานวาทของพวกที่สลัดปรันตา- นุทิฏฐิและปุพพันตานุ
    ทิฏฐิเสีย แล้วไปถือเอานิรามิสสุขอันเกิดจากฌานทุกระดับว่าเป็นนิพพาน แล้วสำคัญตนว่า เป็นผู้สงบงำงับ ดับเย็น
    ไม่มีอุปาทาน ทรงระบุว่า นั่นเป็นเพียงอุปาทานของคนพวกนั้น ตถาคตทรงทราบว่าอุปาทานนั้นเป็นทิฏฐิหยาบที่
    คนเหล่านั้นปรุงขึ้น และธรรมเป็นที่ดับแห่งอุปาทานที่คน ท. เหล่านั้นปรุงขึ้นก็มีอยู่ ทรงเห็นธรรมเป็นเครื่องออก
    จากอุปาทานเหล่านั้น ไม่เวียนไปสูอุปาทานเหล่านั้น ดังนี้แล้วได้ตรัสข้อความนี้สืบต่อไปว่า:)

    ภิกษุ ท. ! ก็ บทแห่งธรรม นี้แล เป็นทบแห่งธรรมอันประเสริฐสงบรำงับ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อันตถาคตได้รู้
    พร้อมเฉพาะแล้ว (ตรัสรู้); นั่นคือความที่ตถาคตรู้แจ้งตามที่เป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความดับลง ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม
    ซึ่งอุบายเป็นเครื่องออก แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ แล้วจึงหลุดพ้นเพราะความไม่ยึดมั่นถือมั่น.

    ภิกษุ ท. ! นั่นแหละ คือข้อที่ตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งบทแห่งธรรมอันประเสริฐ สงบรำงับ ไม่มีธรรมอื่นยิ่ง
    กว่า; กล่าวคือ ความที่ตถาคตรู้แจ้งตามที่เป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความดับลง ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม
    ซึ่งอุบายเป็นเครื่อออก แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ แล้วจึงหลุดพ้นเพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น.

    ๑. บาลี ปัจจัตตยสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๔๐/๔๑. ตรัสแก่ภิกษุ ท. ที่เชตวัน.
     
  14. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    นกุลปิตสูตร

    ปุถุชน

    กายกระสับกระส่าย (เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนไป)
    ทุกข์จึงเกิดขึ้น (จิตกระสับกระส่าย)

    พระอริยสาวก
    กายกระสับกระส่าย (เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนไป)
    ทุกข์ไม่เกิดขึ้น (จิตไม่กระสับกระส่าย)

    ����ûԮ������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ������� �

    พระสูตรแสดงชัดเจนว่า
    จิต ไม่ใช่ วิญญาณขันธ์...วิญญาณแปรปรวน จิตไม่กระสับกระส่าย

    พระพุทธองค์ ทรงสอนให้อบรมจิต (ทำไมไม่เห็นเคยตรัสว่าให้อบรมวิญญาณ)
    เพื่อให้จิตหลุดพ้นจากการถือมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


    (smile)

    <link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CADMINI%7E1%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:UseFELayout/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"MS Mincho"; panose-1:2 2 6 9 4 2 5 8 3 4; mso-font-alt:"MS 明朝"; mso-font-charset:128; mso-generic-font-family:modern; mso-font-pitch:fixed; mso-font-signature:-1610612033 1757936891 16 0 131231 0;} @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"\@MS Mincho"; panose-1:2 2 6 9 4 2 5 8 3 4; mso-font-charset:128; mso-generic-font-family:modern; mso-font-pitch:fixed; mso-font-signature:-1610612033 1757936891 16 0 131231 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"MS Mincho"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
     
  15. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ

    [๔๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ

    วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น..........ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ
    วิญญาณอาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น........ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ
    วิญญาณอาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น. .....ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ
    วิญญาณอาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น........ ก็ถึงความนับว่า ชิวหาวิญญาณ
    วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น.. ก็ถึงความนับว่า กายวิญญาณ
    วิญญาณอาศรัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น..ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ

    ����ûԮ������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ������� �

    *
    อุปายสูตร

    เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ อุปบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ
    เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

    ����ûԮ������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ������� �

    <link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CADMINI%7E1%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:UseFELayout/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"MS Mincho"; panose-1:2 2 6 9 4 2 5 8 3 4; mso-font-alt:"MS 明朝"; mso-font-charset:128; mso-generic-font-family:modern; mso-font-pitch:fixed; mso-font-signature:-1610612033 1757936891 16 0 131231 0;} @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"\@MS Mincho"; panose-1:2 2 6 9 4 2 5 8 3 4; mso-font-charset:128; mso-generic-font-family:modern; mso-font-pitch:fixed; mso-font-signature:-1610612033 1757936891 16 0 131231 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"MS Mincho"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->[FONT=&quot]ฉวิโสธนสูตร

    จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่
    [/FONT]
    [FONT=&quot]เห็นอยู่ อย่างนี้แล
    จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕[/FONT]
    [FONT=&quot]นี้[/FONT][FONT=&quot]

    ����ûԮ������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ������� �

    (smile)

    [/FONT]
    [FONT=&quot]<!--[endif]-->[/FONT]
     
  16. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ...ชัดเจน นะว่า

    <link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CADMINI%7E1%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:UseFELayout/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"MS Mincho"; panose-1:2 2 6 9 4 2 5 8 3 4; mso-font-alt:"MS 明朝"; mso-font-charset:128; mso-generic-font-family:modern; mso-font-pitch:fixed; mso-font-signature:-1610612033 1757936891 16 0 131231 0;} @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"\@MS Mincho"; panose-1:2 2 6 9 4 2 5 8 3 4; mso-font-charset:128; mso-generic-font-family:modern; mso-font-pitch:fixed; mso-font-signature:-1610612033 1757936891 16 0 131231 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"MS Mincho"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} </style>[FONT=&quot]พระสาติ เข้าใจผิดว่า[FONT=&quot]วิญญาณขันธ์เที่ยงต่างหาก[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]จึงถูกพระพุทธองค์ตำหนิว่าเป็นโมฆบุรุษ[/FONT]
    [/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]
    จากพระสูตรชัดเจนอยู่แล้วว่าทรงตรัสถึง[/FONT]
    [FONT=&quot]วิญญาณ ๖[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ไม่ได้ทรงหมายถึง จิต ซึ่งเป็นธาตุรู้เลย[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]
    วิญญาณ ๖ ที่ว่า ก็คือ[/FONT]
    [FONT=&quot]วิญญาณขันธ์ ซึ่งเป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕

    (smile)
    [/FONT]
     
  17. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    มหาสติปัฏฐานสูตร

    สัมมาสมาธิ เป็นไฉน

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
    มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

    เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    เพราะ วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

    เธอมี อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
    บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา
    มีสติอยู่เป็นสุข

    เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
    และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

    อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ

    (smile) ไปทำงานก่อนนะจ๊ะ ใจคอจะต้องให้หามาให้ทุกเรื่องเลยหรือเนี่ย
    55+ขออภัย...ไม่ว่างแล้วจ้า...

     
  18. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    * ทดลองแก้กระทู้ด้วน *
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ขออนุญาติ ร่วมแสดงความเห็น ซักนิด

    ข้าพเจ้า อ่านแล้ว ก็มีแต่ เห็น เห็น และ เห็น ไม่มี รู้ ซักกะติ๊ด เลยนะ

    เห็น แล้วก็ ปล่อยวาง ดึงจิตกลับฐานที่ตั้งของสติ

    แต่ ปัญญา รู้ชัด แล้ว กลับฐานเอง ไม่มี

    สติปัฏฐาน4 ที่ข้าพเจ้าเข้าใจคือ มีสติ รู้ อยู่ที่ฐานทั้ง4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
    มีสติ รู้ ลงที่กายและใจของตนเอง เท่านั้น รู้ กิเลส รู้ อารมณ์ รู้ ความรู้สึก
    รู้ กาย รู้ ใจ รู้ อาการใจ รู้ที่ใจตัวเอง รู้ที่กายตัวเอง

    ฐานที่ตั้งของสติ ของข้าพเจ้าคือ
    กิเลส อารมณ์ ความรู้สึก อาการใจ
    กาย และ ใจ

    อานาปาณสติ ที่ข้าพเจ้าเข้าใจคือ มีสติ รู้ ลมหายใจ สั้นรู้สั้น ยาวรู้ยาว หยาบรู้หยาบ ละเอียดรู้ละเอียด ใจอยู่ที่ฐาน-รู้ ใจไม่อยู่ที่ฐาน-รู้ เพราะ ว่าพอ รู้ ว่าใจไม่อยู่ที่ฐาน ใจมันก็กลับฐานเอง แค่ รู้ ก็กลับได้ ไม่ต้องดึงกลับ ถ้า ไม่มีรู้ ก็คงเป็นอย่างอื่น

    ข้าพเจ้ายัง มิจฉาทิฏฐิ อยู่ แค่ รู้ จากการอ่านเท่านั้น
    แต่ รู้ แบบนี้ ก็เข้าใจแบบนี้ แล้วก็ปฏิบัติ แบบนี้

    สะสมสัมมาสติ(รู้) เพื่อ สะสมสัมมาสมาธิ(ตั้งมั่นรู้)
    สัมมาทิฏฐิ จะเกิดมีในผู้ปฏิบัติได้ถูกต้องเท่านั้น

    สัมมาทิฏฐิ รู้ ว่าสัมมาทิฏฐิ
    มิจฉาทิฏฐิ รู้ว่า มิจฉาทิฏฐิ
    จึงได้ชื่อว่า มีดวงตาเห็นธรรม

    ส่วนเรานั้น รู้แค่มิจฉาทิฏฐิในว่ายังมีในตน
    แต่ไม่รู้สัมมาทิฏฐิเพราะรู้ว่ายังไม่เกิดมีในตน

    ส่วนท่าน ย่อมรู้อยู่ในตน เราเข้าใจต่างกัน ถูกไหม
     
  20. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    --> --> --> ทดลองแก้กระทู้ด้วน
     

แชร์หน้านี้

Loading...