นามขันธ์กับจิตเดิมแท้นั้นต่างกันอย่างไร...

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Tboon, 12 กรกฎาคม 2009.

  1. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ผมว่า น่าจะต้องดูว่า ที่ว่าไม่ใช่ตัวตนของเรานั้น ไม่ใช่ยังไงน่ะครับ ถ้าทั้งสองกรณีนี้ เพียงแค่พิจารณาว่า มันไม่ใช่ตัวตนของเรา แล้วเพียรหาเหตุหาผลมาเพื่อสนับสนุนแนวคิด และหักล้างความรู้สึกเดิม ๆ ที่เคยมีอยู่ คิดเอาเท่านี้ผมว่ามันไม่ได้

    ในแนวทางที่ผมศึกษานั้น เราต้องคลี่คลายขันธ์ ๕ ออกมาให้เห็นจริงด้วยสติ ทั้งในส่วนรูปขันธ์ ๑ และนามขันธ์ ๔ (จิต)

    แต่สำหรับสำนักที่ผมปฏิบัตินั้น ครูบาอาจารย์ท่านให้ยกในส่วนของรูปขันธ์ไว้ก่อน ให้มาทำความศึกษาในส่วนของนามขันธ์ ๔ คือ ส่วนของจิตกับความคิดก่อน

    ส่วนของจิตประกอบด้วย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ท่านให้ดูว่าตัววิญญาณนั้นมันเข้าไปหลงสัญญาและสังขารได้อย่างไร ต้องมาคลายความหลงตรงนี้ให้ได้ ด้วยการฝึกสติขึ้นมาให้ต่อเนื่อง เอาสติมาหมั่นทำความสังเกตตามความเป็นจริงตรงนี้ให้ได้ เมื่อตากระทบรูป หูกระทบเสียง ฯลฯ เป็นต้น ถ้าเข้าใจตรงนี้ตามความเป็นจริงได้อย่างชัดเจนเมื่อไหร่ มันก็ร้องอ๋อ...ขึ้นมาเองได้เมื่อนั้น จิต สติ ความคิด จะแยกออกจากกันได้เองโดยอัตโนมัติ ถึงตอนนั้นเราจะเห็นเองว่า จิตก็ส่วนจิต ทำหน้าที่รับรู้ ความคิดก็ส่วนความคิด คิดอย่างไม่มีอุปาทานขันธ์เข้าร่วมก็มีได้เหมือนกัน

    จิตที่ประกอบด้วยอุปาทานขันธ์จะเกิดเมื่อตอนเผลอสติ วิญญาณมันหลงในความคิด คือสัญญาและสังขาร ถ้ามีสติขึ้นมามันก็กองใครกองมัน กองคือขันธ์ กองรูป กองเวทนา กองสัญญา กองสังขาร กองวิญญาณ เมื่อมีสติอยู่จิตที่ประกอบด้วยอุปาทานมันก็ไม่เกิด ทุกอย่างทำหน้าที่เป็นอิสระต่อกัน ความคิด ผู้รู้ รับรู้แต่ไม่ยึด จิตอุปาทานไม่เกิด ไม่อิน

    ผู้รู้อยู่กับปัจจุบัน นั้นแหละคือจิตเดิมแท้ ปราศจากอุปาทานขันธ์ มีความเป็นกลางทางสภาวะ มีสภาพโล่งโปร่ง เบา สบาย ไร้อัตตาตัวตน ต่างจากจิตทรงฌานโลกีย์ แบบนั้นจะหนักกว่า ไม่เป็นธรรมชาติ

    ถ้าแยกจิต สติ ความคิดได้จริง ๆ เมื่อไหร่จะพบภาวะจิตเดิมแท้ ผู้ปราศจากอุปาทานขันธ์ได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่ามันจะทรงตัวถาวรเลยทีเดียว มันก็เหมือนแหวกจอกแหวกแหนไปเห็นน้ำใส ๆ ในสระนั่นแหละ พอเอามือออก จอกแหนมันก็มาปิดบังเอาไว้อีก เราต้องมาหมั่นช้อนจอกช้อนแหนออกจากสระบ่อย ๆ หาวิธีกำจัดจอกแหนเหล่านั้น และอย่าให้มันขยายพันธุ์ได้อีก ในที่สุดเราจึงจะเห็นน้ำใส ๆ ได้ตลอดเวลา ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความเพียรของเราเอง...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2009
  2. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    อนุโมทนาครับ
    เมื่อตากระทบรูป หูกระทบเสียง ปรมัตถ์รูปกับเสียง เวลาประจักรู้ขึ้นมาเป็นลักษณะอย่างไร
    เป็นเหมือนระลอกคลื่นสั่นสะเทือนมัยครับ อยากรู้ว่าเวลาเป็นปรมัตถ์เป็นแบบไหนนะครับ
     
  3. sunshine52

    sunshine52 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0
    เมื่อตากระทบรูป....สักแต่ว่าเห็น...มันเฉย....ไม่มีความคิดปรุงแต่ง
    หูกระทบเสียง....สักแต่ว่าได้ยิน....มันเฉย....ไม่มีความคิดปรุง

    สักแต่ว่า... คือ ตัวรู้เขารู้เห็นอยู่เฉย (เมื่อสติและสัมปัมชัญญะมีกำลัง)
     
  4. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    อย่าไปสนใจอย่างนั้นเลยก็ได้ นั่นมันเป็นผลไปแล้ว ให้ทำเหตุให้ดีก่อนดีกว่า จะได้รู้รสชาติของเกลือเองว่าเค็มอย่างไร

    เวลาตากระทบรูป หูกระทบเสียง ฯลฯ
    ความคิดจรเกิดตามทันรึป่าว
    ถ้าตามทัน เข้าใจมั้ยว่า จิตจะเกิด จะอินไปอย่างไร
    ถ้าตามไม่ทัน จิตก็เกิด ก็อินไปกับเขาก่อนแล้ว ดูออกรึป่าวครับ

    ทีนี้ถ้าจิตเกิดแล้ว ตามทันได้เร็วได้ไวแค่ไหน ถ้าตามทันแต่ต้นก็ดับมันซะก่อนที่มันจะใหญ่โตหรือรุนแรงกว่านี้ อย่าไปปล่อยให้ไหลตามกระแสความเคยชินอยู่
    ถ้าจิตเกิดแล้วตามไม่ทัน มันก็ไหลไปกับเขา ความคิดขยะจะมาเต็มเลยทีนี้ ต้องค่อย ๆ หัดดูหัดสังเกตเอาน่ะครับ

    มือใหม่ต้องหัดตามให้ ทันเวลาจิตจะเกิดจะอินอย่างไร และต้องรู้จักทำความเข้าใจและควบคุมเขาให้ได้

    มือโปรตามให้ทันตั้งแต่ความคิดจรมันเริ่มโผล่มานั่นแหละ ทางรอดมันมีอยู่แค่นี้ สูงกว่านี้ยังไม่ต้องไปพูดถึง มันไกลตัวเกินไป ไม่มีประโยชน์ ได้แต่สัญญาไปทำร้ายตนเองตลอดเวลาน่ะครับ
     
  5. จีโอ14

    จีโอ14 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +262
    สาธุ กับคุณTboon ด้วยครับ

    ใช่ครับ ต้องดูให้เข้าใจให้ได้ว่า..ที่ไม่ใช่ตัวของเรา..นั้น..ไม่ใช่อย่างไร
     
  6. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อนุโมทนาด้วยครับ ต้องมองไห้อกว่าไม่มีตัวตนนั้น ต้องมองด้วยปัญญา อย่ามองด้วยสัญญา มันยังไม่เห็นตัวตนที่แท้หรอก
     
  7. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918

    การบวนการของ เวทนา วิตก วิจาร คืออะไร ....รอสักครู่ แล้วจะพบว่า ความเป็น
    ปัญญาธิกะ นั้นใช้ข้อน่าอัศจรรย์นี้หรือไม่
     
  8. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2009
  9. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    จะเห็นว่า เป็น การทำสมาธิชนิดหนึ่ง ที่พระพุทธองค์ประกาศว่ามีในพุทธศาสนา

    กระบวนกการ "เวทนา สัญญา และ วิตก" คือ ขั้นของการรู้สึกตัว รู้สึกลงในกาย รู้สึกลงในใจ
    อะไรก็ได้ที่ไหล สะเทือน ฝึกระลึกรู้ไปอย่างนั้น เนืองๆ จะเป็นไปเพื่อ สติสัมปชัญญะ

    ข้อสังเกต แม้จะมีคำว่า สัญญา แต่ สัญญาในขึ้นนี้จะเห็นว่าไม่มี วิจาร ดังนั้น จึงเป็น
    ลักษณะของสัญญาที่รับรู้เพียงแต่ความสั่นไหว การเคลื่อน การกระทบ การสะเทือน การ
    มืด การหม่น การหมอง การคล่อง การตรง การเบา การโปร่ง แต่ไม่ได้ วิจาร จึงเป็นการ
    รู้แบบไม่เติมรู้ รู้แล้วปล่ยอทันที เพื่อเอาแต่ความรู้สึกเท่านั้น ....สังเกตกลับไปโพสที่
    แล้วว่า ตรงนี้เป็นความอัศจรรย์ในพระพุทธองค์ ดังนั้น สาวกเมื่อได้ยินแล้วย่อมเข้าถึง
    ยาก ย่อมเข้าใจยาก ย่อมศรัทธาสมาธิชนิดนี้ได้ยาก

    * * * *

    สมาธิแบบที่ 1 ก็คือ ศุภะสัญญา อสุภสัญญา หรือ กสิณชนิดใดๆที่ไม่ใช่ อาโลกสิณ

    สมาธิแบบที่ 2 ก็คือ อาโลกสิณ ซึ่งจะให้ญาณทัศนะ การระลึกชาต การเห็นอนาคต
    การเห็นอดีต ซึ่งเป็นวิชาที่เป็นญาณทัศนะ

    สมาธิแบบที่ 4 โดยเนื้อหา จะเห็นว่า เป็นการ พิจารณารูป-นาม ขันธ์5 ซึ่งก็คือ สติปัฏฐาน4

    สมาธิแบบที่ 3 เป็นสมาธิที่เพื่อฝึกสติสัมปชัญญะเท่านั้น หากทำได้อย่างเต็มที่ เต็มกำลัง
    ของสมาธิ ความคิดจรจะไม่มีทางเหนี่ยวนำออกไปจากฐานการระลึกรู้ได้

    หากจิตโดนความคิดจรลากออกไปแล้ว หากเป็นบ่อยๆ ก็ต้องกลับไปฝึกสมาธิแบบที่ 1
    แต่เมื่อ ทิฏฐิสงบ อยู่สบายแล้ว ก็ควรเดินสมาธิชนิดที่ 3 ไว้

    สมาธิแบบที่สองนั้น จะมีมากน้อยตามแต่วาสนาของท่านนั้นที่จะพึงเห็น ตามความสมควร
    แก่ธรรม แก่กรรม แก่การกระทบผัสสะ ทั้งนี้เพื่อการหาเหตุของการเกิดเวทนา

    แล้ว เวทนา นั้น มีเหตุเกิดจากสิ่งใดได้บ้าง.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2009
  10. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    จะพบว่า เวทนา นั้นเกิดจาก เหตุ 4 เหตุ คือ โดยอวิชชา โดยตัณหา โดยกรรม(ส่งผล) โดยผัสสะ

    แปลว่า หากจะฝึก สมาธิเพื่อสติสัมปชัญญะ เวทนาที่เอามาระลึกเห็น ตั้งอยู่ ดับไป ก็จะสามารถ
    ระลึกเวทนาได้จาก 4 เหตุ นี้

    1.โดยการระลึกรู้อาการเวทนาจากการกระทบผัสสะ ก็คือ การระลึกรู้การกระทบทางอยานตนะ 6
    อะไรก็ได้ เอาแต่ความรู้สึกที่กระทบ รู้อย่างไม่เติมรู้ เพื่อเจริญสติ แต่ถ้าไปเติมรู้เข้า จะเกิดวจาร
    และเกิดนิมิต ก็จะตกไปจากการฝึกสติสัมปชัญญะ กลายเป็นการฝึกสมาธิชนิดที่ 2 แต่มักหลง
    เพลิดเพลินดูเวทนาที่เกิดจากตัณหาเป็นปัจจัยไม่ทันเป็นอัตตรา100ละ100

    2.โดยการระลึกรู้อาการ กรรม มาส่งผล ตรงนี้ก็จะเป็นการฝึกการเห็นเวทนา ขณะที่ทำสมาธิ
    ผู้ภาวนาที่สมาธิระดับหนึ่ง จะรู้ว่า สิ่งที่กระทบ เกิดจากรรมส่งผล ซึ่งก็ได้แก่ความคิดจรก็ใช่
    เสียงปรามาสพระรัตนไตรก็ใช่ เกิดอาการคันยุกยิกก็ใช่ ปวดหัวขึ้นมาก็ใช่ แต่ละอันจะมีเหตมาจาก
    กรรมที่เราเคยทำไว้ รู้อย่างไม่เติมรู้ เพื่อเจริญสติ แต่ถ้าไปเติมรู้เข้า จะตกไปที่การแก้กรรม
    กลายเป็นก่อเวทนาขึ้นมาเพิ่ม แทนที่จะฝึกสติต่อไป

    3.เมื่อระลึกเวทนาแบบที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้ จะเกิดตัณหาความพอใจ ไม่พอใจ เกิดอภิชญา โทมนัส
    ก็ให้หันมาระลึก เวทนา ที่เกิดตรงนี้แทน รู้อย่างไม่เติมรู้ เพื่อเจริญสติ

    4.เมื่อระลึกรู้เวทนาแบบที่ 1 2 3 ได้มากพอควร ก็จะสมควรแก่ธรรมที่จะเห็น เวทนา ที่เกิดจาก
    อวิชชาเป็นปัจจัย ถ้าต้องการฝึกสติ ก็รู้อย่างไม่เติมรู้ เพื่อเจริญสติ แต่ถ้าจะน้อมไปเพื่อการตัด
    ภพตัดชาติก็ให้ภาวนาทำสมาธิเพื่อการสิ้นอาสวะไป (ซึ่งจะเป็นเรืองของสาวก)

    * * * *

    มีหลายครั้ง ที่พบว่า มีการทำสมาธิเพื่อดับเวทนา และเพราะไม่หมั่นสดับธรรมะ จึงไม่รู้ว่าตัวเอง
    ไปทำอะไรอยู่ โดยส่วนมาก พอไปเห็นเวทนาที่เกิดจากผัสสะ ก็สำคัญผิดคิดว่าทำสมาธิจนเข้า
    สู่ฌาณ4 ก็ดับผัสสะได้ แล้วคิดว่า ดับเวทนาได้ โดยลืมไปว่า เวทนาที่เกิดจากกรรม กำลังทำหลอก
    ให้กระทำเช่นนั้น แล้ว เวทนาที่มีเหตุจากอวิชชา ก็ไม่ได้ดับไปแต่อย่างใด

    หลายสำนัก ก็จะเห็นว่า เวทนาเกิดจากกรรมส่งผล และเพราะไม่หมั่นสดับธรรมะ จึงไม่รู้ว่าตัวเอง
    ไปทำอะไรอยู่ โดยส่วนมาก พอไปเห็นเวทนาที่เกิดจากกรรม ก็สำคัญผิดคิดว่าทำสมาธิจนปล่อย
    ให้กรรมส่งผลออกมามากๆ แล้วจะดับเวทนาได้ ก็เอาแต่ออกกรรม
    อยู่อย่างนั้น โดยลืมไปว่าเวทนา
    ที่เกิดจากกรรมใหม่นั้นแหละกำลังทำหลอกให้กระทำเช่นนั้น แล้ว เวทนาที่มีเหตุจากอวิชชา ก็ไม่ได้ดับ
    ไปแต่อย่างใด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2009
  11. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ความเห็นส่วนตัวผม

    หากสติเห็นทันถึงจิตเดิมแท้ อีกนิดเดียวก็ได้ลิ้มรสนิพพาน ย้ำนะครับว่าความเห็นส่วนตัว จิตเดิมแท้ ยังเหลืออุปทานอีกหนึ่งเดียว หากปล่อยอุปทานอันเดียวอันสุดท้ายแล้ว จึงจะนิพพาน ^-^
     
  12. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    หากปัญญาเกิดขั้นส่องถึงจิตแล้ว อีกนิดก้เห็นตัวอวิชาแล้ว
    ปันญาส่องถึงอวิชา อวิชาก้ดับ ด้วยประการฉนี้
     
  13. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    อวิชชา แปลแบบลูกทุ่ง ๆ อย่างผมก็คือ ความไม่เข้าใจความจริง
    ก็แค่ทำความเข้าใจกับความจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้ได้ ให้เข้าใจหมดสิ้น มันก็จบเรื่องแล้ว

    แต่...มันก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะเราโดนย้อมจากกิเลสมานานนักหนาแล้ว
    โดนย้อมจนชิน จนรู้สึกกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับกิเลสไปเสียแล้ว
    จะคิดอะไรก็เลยกลายเป็นกิเลสคิดไปเสียทั้งหมด หากไม่รอบคอบแม้แต่นิดเดียวก็เสียท่าเขาแล้ว

    ท่านจึงให้หมั่นฝึกฝนสติสร้างความรู้สึกตัวขึ้นมาใช้ เพื่อให้รู้เท่าทันเขา
    ไม่ให้หลงจมแช่อยู่ในความคิดของกิเลสได้ง่าย ๆ ก่อน
    แล้วค่อย ๆ สืบเสาะ จนหาต้นเหตุของมันเจอได้จริง ๆ เท่านี้ก็จะถึงบางอ้อแล้ว
    ต่อไปก็ค่อย ๆ มาคลี่คลายปมหลงที่ละเีอียดลึกลงไป ๆ ๆ ๆ ทำความเข้าใจให้หมดสิ้นต่อไป

    ขอบคุณท่านเล่าปังที่นำพระสูตรมาช่วยขยายให้มีความเข้าใจมากขึ้น ผมเชื่อว่า วันหน้าเรา รวมทั้งเพื่อนสมาชิกท่านอื่น ๆ ด้วย คงจะมีโอกาสได้พบปะสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันบ้างตามสมควร อย่างเป็นกันเอง แบ่งปันและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ร่วมกันนะครับ ขอบคุณมาก ๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2009
  14. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    และจากโพสที่ 8 "ทรงแสดงสิ่งที่น่าอัศจรรย์อันแท้จริงของพระองค์"

    และความอัศจรรย์ของพระพุทธนั้น ก็สอดคล้องกับ สมาธิชนิดเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ
    แบบตรงอรรถ ตรงพยัญชนะ

    นอกจากนี้ พระอานนท์ ซึ่งเป็น อสีติ ในด้านความทรงจำ ทำไมพระพุทธองค์จึงต้อง
    ทรงย้ำเตือนให้พระอานนท์จดจำข้ออัศจรรย์นี่อีกเล่า หากไม่ใช่ว่า เป็นเพราะ สมาธิ
    ชนิดที่เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะนี่ จะเป็นของเลือนจากความทรงจำได้อย่างง่ายดาย

    แม้พระอานนท์ ผู้เป็นเลิศในความทรงจำ ก็อาจจจะลืมเลือนได้ จนพระพุทธองค์ต้อง
    ออกพระโอษฐตรัสย้ำให้พระอานนท์จำไว้ให้มั่น !!!

    เพราะเหตุที่ว่า สาวก ทั่วไป ย่อมชื่นชอบแต่สมาธิเพื่อดับความคิดจร ชอบสมาธิที่
    เพื่อความระงับในทิฏฐิ สำคัญไปว่าเป็นการรู้แจ้งเหตุและผลตามบัญญัติ ไม่ใช่ด้วย
    หลักอธิปัจจัยตา และชอบสมาธิชนิดเป็นไปเพื่อญาณทัศนะด้วยอาโลกสัญญา แต่
    สำคัญไปว่า สมาธิชนิดเพื่อสติสัมปชัญญะเอนเป็นสิ่งวิเศษคุณของพระพุทธองค์โดย
    แท้จริงนั้นกลับตำหนิว่าเป็นการติดทัศนะ แล้วกลบสมาธิชนิดเจริญสติจนเลือนหาย แม้
    มีผู้นำมาทำการขยายเป็นอุโฆษณ์ ก็เข้าตรงขัดขวางความอัศจรรย์อย่างแท้จริงของ
    พระพุทธองค์นี้เสีย

    ขอให้ท่านทั้งหลาย พิจารณาให้ดี อะไรคือ การกลับมาอีกครั้งหนึ่งของความอัศจจรย์
    อย่างแท้จริงในพระพุทธองค์

    สังเกตคำอุทานนี้ให้ดีเถิด

    ดังนั้น หากได้ยินการปรารภเกี่ยวกับสมาธิชนิดนี้แล้ว ท่านเองก็บอกว่าไม่เคยได้ยิน ไม่เคยเห็น
    มาก่อน ไม่รู้ว่าความอัศจรรย์นี้จะเป็นความอัศจรรย์ของพุทธศาสนาได้อย่างไร

    ท่านเอง แม้จะเป็นสาวก หรือเป็นอริยะแล้ว ก็คงต้องอุทานได้ไม่ต่างจากพระอานนท์ อย่าได้สงสัย

    อย่าได้เอาความไม่เข้าใจ มาตัดทอนพระพุทธโองการ ตรัสย้ำให้จดจำไว้ ท่านก็ควรที่จะจดจำไว้ตามนั้น
    ด้วยคำว่า

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2009
  15. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    มีข้อมูลเยอะแยะเลย ไว้ค่อยหาโอกาสแชร์กันดีกว่า คุยแบบนี้ผมว่า สุ่มเสี่ยงต่อการเข้าใจผิดกันได้ ถ้ามีวาสนาต่อกันคงได้พบกันนะครับ

    โชคดี ขอให้เจริญในธรรมนะครับ
     
  16. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    อนุโมทนาครับ
    ถามเรื่องเสียงหน่อยครับ
    เรื่อง หูกระทบเสียง คือใจเคลื่อนไปอยู่ที่ต้นเสียง กับใจเคลื่อนไปอยู่ที่การกระทบของหูกับเสียง งงอะครับ ใช้ได้ทั้งสองแบบหรือเปล่าหรือว่าเป็นแบบอื่น
     
  17. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    สำหรับผมจะไม่ใช้วิธีการอย่างนั้นครับ


    สมมุติว่า ถ้าเรานั่งสมาธิหลับตาอยู่ ได้ิยินเสียงขึ้นมา สมมุติว่าเป็นเสียงรถ ถ้าเราเอาใจเคลื่อนไปรับรู้เสียงที่ต้นเสียง อันนี้มันเป็นการส่งจิตออกนอกไปแล้ว บางทีภาพรถที่เราคุ้นเคยมันก็จะปรากฏขึ้นมาทันที แล้วเราหลงตามต่อ ก็จะเกิดเรื่องสืบต่อขึ้นมาเป็นขบวนต่อไป อันนี้ผมไม่ใช้

    ส่วนการให้ใจเคลื่อนไปอยู่ที่การกระทบของหูกับเสียง อันนี้มันน่าจะเป็นการเพ่งอย่างหนึ่ง เพ่งไปที่หูกระทบเสียง และส่วนใหญ่จะพากันลืมสำเหนียกในความยินดียินร้ายที่ใจ ใจอยู่ที่ไหนช่างมัน อย่าไปกังวลมากก็ได้ เอาเป็นว่ามันรู้สึกหลงยินดีพอใจ หรือหลงยินร้ายไม่พอใจอยู่ตรงไหนก็ตรงนั้นแหละ ใจอยู่ตรงนั้น

    -------------------------------------

    ในแนวทางที่ผมใช้จริง ๆ มันเป็นอย่างนี้ครับ


    มือใหม่
    ได้ยินเสียงแล้ว เกิดความยินดียินร้าย พอใจหรือไม่พอใจขึ้นมาหรือไม่ ถ้าเกิดอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ตบ ดับ ฝืน อย่าปล่อยให้จิตมันเกิดตามความพอใจของมัน เราต้องไม่เพลินจมแช่กับมัน การรู้สึกตัวว่าจิตเกิดได้บ่อย ๆ เป็นการสร้่่างและสะสมการมีสติที่ดี เมื่อรู้แล้วไม่พอกพูนความเคยชินเช่นเดิมนั้น ตบ ดับ ฝืน เท่ากับเป็นการสร้างกำลังจิต ทำให้จิตแข็งแกร่ง มั่นคง และตั้งมั่นต่อการรู้ตามความเป็นจริง ไม่ไหลตามกระแสกิเลสไปง่าย ๆ ได้ดีขึ้น

    มือโปร ได้ยินเสียงแล้ว เห็นความคิดจรไหม มีความคิดจรเข้าไปวิพากษ์วิจารณ์เสียงนั้นไหม พากษ์เป็นเรื่อง ๆ จนจิตเกิด อิน มีอารมณ์ตามเลยมีไหม เห็นไหม นั่นเราต้องรู้เท่าทันไปตั้งแต่ความคิดจรมันโผล่ขึ้นมาให้ได้บ่อย ๆ หมั่นสังเกต ทำความเข้าใจ และไม่หลงทำตามความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจคิดพวกนั้น ถ้าจิตเกิดแล้วให้ดับด้วยเหมือนกัน มือโปรก็คือมือใหม่ที่มีความเข้าใจ และชำนาญมากขึ้น เห็นอะไรมากขึ้นเท่านั้นเอง ให้สติเป็นพระเอกผู้บริหารความคิด อย่าปล่อยให้ความคิดเป็นนายเรา

    ที่จริงความคิดจรมันโผล่ขึ้นมาหลอกล่อแบบไม่ได้ตั้งใจอยู่ตลอดเวลานะ วิพากษ์วิจารณ์เรื่องนั้นเรื่องนี้ วิจารณ์ลมหายใจ วิจารณ์การกระทำของตัวเองอยู่ตลอดเวลา บางทีก็สั่งให้เราทำนู่นทำนี่ สั่งให้คิดต่อก็มี มันกลัวแล้วมันก็สั่งให้เราทำตามมันก็มีมาก เช่นกลัวเมื่อยมันก็สั่งให้เปลี่ยนท่า เปลี่ยนอิริยาบถใหม่ ถ้าสติมีความต่อเนื่องเพียงพอ เราจะเห็นความคิดจรพวกนี้ชัด เห็นกระบวนการก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างเป็นเรื่องเป็นราว เป็นอารมณ์ เป็นสุขเป็นทุกข์ขึ้นมา ถ้าเรารู้เท่าทันเขาได้ เราก็จัดการกับเขาได้อย่างถูกต้องตามมรรค เราก็จะจัดการชีวิตของเราได้ดีขึ้น

    -------------------------------------

    ผมขอทิ้งท้ายเอาไว้ว่า

    คนที่แยกจิต สติ ความคิดเป็นแล้ว จะพบว่า เวลาจิตเกิด จะมีอาการของจิตเกิดอยู่ที่กลางอก เป็นก้อนมวล เป็นพลังงานขึ้นมา เขาจะรู้ตัวทันทีว่าจิตกำลังจะเกิดแล้ว เขาจะหยุดการทำ พูด คิดใด ๆ ที่เป็นเหตุให้จิตจะเกิดนั้นทันที และที่สำคัญคือ สติมันเกิดเอง ทำงานเอง โดยไม่ต้องตั้งใจให้เกิดแต่อย่างใด แต่ก่อนที่สติมันจะทำงานของมันเองได้ขนาดนี้นั้น เราก็ต้องหมั่นสตาร์ทเขาก่อน เครื่องเรามันโบราณนานมาหลายแสนชาติไม่เคยสตาร์ทจริง ๆ จัง ๆ สักที ก็ต้องหมั่นสตาร์ทสติบ่อย ๆ จนกว่าเครื่องสติจะติดจะำทำงานได้เองน่ะครับ


    โชคดีนะคร๊าบบบบ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2009
  18. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ถ้าจะฝึก สติ ก็ใช้ได้ทั้งคู่ โดยให้สังเกตลงมาที่จิต ไม่ใช่ที่เสียง
    เราจะใช้เสียงเป็นเครื่องระลึกการแปรผันไปของจิต

    เช่น เสียงรถวิ่งมา หากจิตเราตั้งมั่นอยู่ที่หู ก็จะรู้อาการสั่นกระเพื่อมในหู การ
    สั่นกระเพื่อมเราจะอาศัยระลึก ไม่ให้ความหมายต่อมัน ใจเราจะชำเลืองดูจิต
    ที่ตั้งมั่นรู้อยู่ที่โสตทวาร เรียกว่า ดูอยานตนะ

    แต่ถ้าจิตมันตั้งมั่นไม่ได้ ให้สังเกตว่า จิตจะพุ่งออกไปจากโสตทวาร จะไปเกาะ
    อยู่ที่วัตถุที่ให้กำเหนิดเสียง หากเป็นรถ จะเห็นว่ามันเกาะตามไป แบบวิ่งไปกับ
    รถด้วย ให้ระลึกว่าจิตเกาะอยู่ที่ตัวรถ วิ่งออกไปแล้ว โดยเราไม่ต้องดึงกลับ ให้
    ระลึกรู้ไปว่าจิตวิ่งออกไป และเกาะวัตถุอยู่ พอสิ้นเหต สิ้นความพอใจ ไม่พอใจ
    มันจะกลับมาที่ตัวเราเหมือนเดิม ก็ระลึกไปว่า จิตมันกลับมาแล้ว ถ้ามันไปเกาะ
    เฉยๆ มีความเป็นกลางก็มักจะไม่มีปัญหา แต่ตอนที่ไปเกาะเวลากลับมามันกลับ
    มาเพราะเหตุสิ้นความพอใจ หรือไม่พอใจ จะเกิดการสืบต่อของ
    กรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ โดยส่วนมากจะเป็นด้านไม่พอใจ ก็จะเกิดโทษะ
    แทรกได้

    แต่ถ้าการส่งจิตออกไป รู้ว่าจิตวิ่งออกไป เกิดความไม่ชอบ แล้วไปดึงกลับ ส่วน
    ใหญ่จะเกิดโทษะทันที ดังนั้น ทางทีดี ก็ปล่อยมันไป อย่าให้ความไม่พอใจ
    แทรก ...ไม่ต้องดีก็ได้ เพราะเราจะอาศัยระลึกดูความไม่เที่ยงของจิตไปด้วย
    ในตัว แล้วเมื่อไหร่ก็ตามที่จิตเริ่มมองเห็นความไม่เที่ยงของตัวจิตตามความ
    เป็นจริง จิตจะรักกุศลและรู้จักการมีสติอยู่ที่ฐานได้เอง เมื่อทำได้แบบนี้ก็มักจะ
    เกิดปิติ สุข โชยขึ้นมา ก็ให้ระลึกถึงสภาวะขององค์ฌาณสมาธิที่เกิดขึ้นมาไป
    ด้วยเพื่อใช้เป็นเครื่องระลึกที่ปราณีตกว่าการฟังเสียง เพราะองค์ธรรมเหล่านี้
    จะเกิดขึ้นภายใน เมื่อหันมาระลึกองค์ฌาณแทน ก็จะทำให้จิตคุ้นชินกับการอยู่
    ในฐานสติในกายในใจมากขึ้น

    การหันมาเกาะองค์ฌาณ ปิติ สุข จะดีในแง่ที่ทำให้นิวรณ์แทรกยาก แต่ต้อง
    ระลึกให้ดีว่ากำลังทำงานอะไร กำลังทำวิปัสสนา หรือ สมถะ หากทำวิปัสสนา
    เราจะอาศัยการระลึกถึง ไม่ประคองการรู้ จนเกิดพลัดเข้าไปทำสมถะขึ้น
    ก็ต้องเจริฐภาวนาด้วยปัญญาอันยิ่ง

    * * * *

    แต่ถ้าจะฝึกสมาธิ จิตจะอยู่ข้างในหรือข้างนอกไม่ใช่สาระ สาระอยู่ที่การระลึกรู้
    เพียงบี๊ตของเสียงที่แตกต่าง บัญญัติเนื่องกับเสียงจะค่อยๆเพิกออกไป เพิกเสียง
    ของ...? เพิกทิศของ...? จิตจะค่อยๆรวมแล้วตั้งมั่น สังเกตความเบา สบายของ
    จิตที่กระทบเสียง หากมีก็จะได้ผล หากไม่มีจะไม่ได้ผล เมื่อตั้งมั่นก็หมั่นฝึกให้ตั้งมั่น
    ได้เนืองๆ แล้วค่อยน้อมออกไปรู้ภายหลัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2009
  19. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    สมาธิสูตร จากความเห็นที่๑๐
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะเป็นไฉน

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็น
    ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า
    รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้
    ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้
    เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้
    ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้
    สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้
    ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้
    ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้
    ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้
    วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
    ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง คำต่อไปนี้ เรากล่าวแล้ว
    ในปุณณปัญหาในปรายนวรรค หมายเอาข้อความนี้ว่า

    ความหวั่นไหวไม่มีแก่บุคคลใด ในโลกไหนๆ
    เพราะรู้ความสูงต่ำในโลก
    บุคคลนั้นเป็นผู้สงบปราศจากควันคือความโกรธ
    เป็นผู้ไม่มีความคับแค้น เป็นผู้หมดหวัง
    เรากล่าวว่า ข้ามชาติและชราได้แล้ว ฯ


    ++++++++

    ใคร??? พิจารณาเห็น ผู้เห็นวิญญาณหรือจิต???
    ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า
    เมื่อขันธ์๕เกิดขึ้นและเสื่อมไป วิญญาณก็อยู่ในขันธ์๕
    ย่อมเกิดขึ้นเสื่อมไปเช่นกัน เมื่อวิญญาณเสื่อมไป
    วิญญาณจะตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ด้วยหรือ???

    ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว
    อันบุคคลเจริญแล้ว คือ รูป-นาม(ขันธ์๕)ของภิกษุ
    หรือ จิตที่อาศัย(รูปนาม)ขันธ์๕???
    เมื่อขันธ์๕เกิดขึ้นเสื่อไป สมาธิตั้งลงที่ไหน???

    บุคคล เรา เขาเป็นสมมุติบัญญัติ มีไว้เรียกหาให้รู้ว่าใครเป็นใคร
    เมื่อบรรลุผลอะไรแล้ว คนอื่นจะได้มั่วไปไม่ได้
    ว่าเป็นของใครที่ได้รับการกระทำจากผลอันนั้น

    เมื่อมีผลอันเกิดจากการกระทำ
    ย่อมมีผู้รับผลอันได้กระทำแล้วนั้น

    ถึงจะอยากหรือไม่อยากก็ตาม
    เมื่อปล่อยวางความยึดถือได้แล้ว
    ย่อมบังเกิดผลพลอยได้ตามมานั่นเอง

    ;aa24
     
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ครับท่านทีบูน มือโปร หมายถึงมืออาชีพ เมื่อเป็นมืออาชีพ
    ยังจะปล่อยให้ความคิดจร ครอบงำให้จิตคิดพิจารณาอีกหรือ

    เมื่อได้ยินเสียงแตรรถ ก็จบลงตรงนั่นว่า จิตรู้แล้วว่าเป็นเสียงแตรรถ
    สติก็น้อมนำจิตกลับที่ฐานที่ตั้งสติเดิมแล้ว ปล่อยเสียงให้เกิดขึ้นดับไป
    ไม่ใช่จิตเกิดดับ พิจารณาดีๆแบบมือโปรสักหน่อยก็จะรู้เท่าทันนะ

    ที่เกิดดับไปนั้นเป็นเพียงเสียงที่จะมาปรุงแต่งจิตให้เสียคุณภาพไปเท่านั้น
    ด้วยความที่เป็นมือใหม่ จึงมองไม่ออกว่าเนื่องจากจิตไปปรุงแต่งเสียงแตรรถเข้าแล้ว
    ว่า รถใคร? ทำไมต้องบีบแตร? หรือเรียกคนมาเปิดประตู? ใช่รถคันนี้มั้ย?

    เมื่อปล่อยจิตออกไปปรุงแต่งไปต่างๆนานาแล้ว เมื่อระลึกรู้สึกตัว
    จิตก็มีสติเกิดขึ้นว่ามัวไปคิดทำไม ไม่ใช่เรื่อง(กิจ)เรา ขณะนี้เรานั่งอยู่ที่นี่
    จึงเข้าใจไปว่า จิตเกิดดับเพราะไปเห็นจิตเกิดไปปรุงแต่งเสียงแตรรถ
    กว่าจิตจะดับจากสิ่งเหล่านั้นก็เล่นเอาเถิดเสียพักใหญ่

    เมื่อเป็นเช่นนี้เมื่อไหร่หละที่จะถึงเวลาเรียกว่ามือโปรสักที่
    เจอสิ่งปรุงแต่งเป็นไม่ได้ ชอบรับ(วิญญาณ)เข้ามาปรุงแต่ง(สังขาร)ทุกที
    เมื่อยังจิตให้ระลึกรู้อยู่ที่สมควรรู้(ไม่ต้องคิด)ไม่ได้ ก็ยังต้องปรุงอยู่ร่ำไป

    จิตย่อมแตกต่างจากวิญญาณ จิตรู้แล้วไม่รับได้
    ส่วนวิญญาณนั้นรู้แล้วเป็นต้องรับท่าเดียว
    จึงมีวลีของพระอริยะเจ้าที่พูด
    รู้อยู่ที่รู้ อย่าไปรู้อยู่ที่เรื่องครับ

    ;aa24
     

แชร์หน้านี้

Loading...