ดูจิตที่รู้ผิดจากความเป็นจริง ย่อมเห็นจิตเป็นกองทุกข์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 27 กันยายน 2009.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ ใครกันแน่ครับที่ngoแบบไม่ลืมหูลืมตา โดยมั่วซั่วเหมาเข่งคิดเองเออเอง
    ว่าคนอื่นเห็นจิต(นิพพานพรหม)เป็นนิพพาน
    ก็ถ้ายังยึดขันธ์ ๕ อยู่ ยังยึดความว่างเป็นอารมณ์อยู่
    มันก็ยังไม่ใช่นิพพาน เป็นเพียงอรูปฌานเท่านั้น
    บอกไม่เคยจำว่า ตราบใดที่ยังยึดอารมณ์อยู่ ตราบยังยังไมถึงพระนิพพาน

    คำว่า “อนารัมมะณัง” แปลว่า ปราศจากอารมณ์
    รวมแล้วแปลว่าไม่มีอารมณ์ ปราศจากอารมณ์ หรือหาอารมณ์มิได้สอนไม่รู้จักจำ

    มีพระบาลีที่เป็นพุทธวจนะรับรองไว้ว่า
    “วิสงฺขารคตํ จิตตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌค แปลว่า
    จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหาแล้ว”
    มีพระพุทธพจน์กล่าวแน่นหนาขนาดนี้ยังต้องอธิบายอะไรอีกครับ
    ทั้งพระบาลีและพุทธวจนะตรงกัน โดยไม่ต้องตีความอะไรอีกแล้วครับ

    ใครกันแน่ที่ไม่เคารพในอรรถกถาจารย์ ท่านอรรถกถาจารย์บอกไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่า
    ใครที่ปฏิเสธพระสุตตะ คนนั้นได้ชื่อว่าไม่เคารพในองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ผมยกที่ท่านอรรถกถาจารย์ท่านกล่าวเตือนไว้มาให้อ่านกันไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง
    ก็ไม่รู้จักสำเหนียกจดจำใส่ใจกันบ้างเลย
    ท่านเองกล่าวไว้ชัเจนว่า เมื่อมีการกล่าวขัดแย้งกันควรเชื่ออะไรก่อนดังนี้

    ก็ปิฏก ๓ที่ยกขึ้นสู่สังคีติ ๓ ชื่อว่าสุตตะ ในปกิณณกะมีสุตตะเป็นต้น.
    ข้อที่เข้ากันได้กับกัปปิยะ ชื่อว่าสุตตานุโลม. อรรถกถา ชื่อว่าอาจริยวาท.
    ปฏิภาณของตน ตามความคาดหมายตามความรู้ ชื่อว่าอัตตโนมัติ.

    ในปกิณณกะเหล่านั้น สุตตะ ใครๆ คัดค้านไม่ได้ เมื่อคัดค้านสุตตะนั้น ก็เท่ากับคัดค้านพระพุทธเจ้าด้วย.
    ส่วนข้อที่เข้ากับได้กับกัปปิยะ ควรถือเอาเฉพาะข้อที่สมกับสุตตะเท่านั้น นอกนั้นไม่ควรถือเอา.

    แม้อาจริยวาทเล่า ก็ควรถือเอาแต่ที่สมกับสุตตะเท่านั้น นอกนั้นไม่ควรถือเอา.
    ส่วนอัตตโนมัติเพลากว่าเขาทั้งหมด. แม้อัตตโนมัตินั้นก็ควรถือเอาแต่ที่สมกับสุตตะเท่านั้น นอกนั้นไม่
    ควรถือเอา.

    ก็สังคีติมี ๓ เหล่านี้คือ ปัญจสติกสังคีติ (สังคายนาครั้งที่ ๑) สัตตสติกสังคีติ (ครั้งที่ ๒) สหัสสิกสังคีติ (
    ครั้งที่ ๓).
    แม้สุตตะเฉพาะที่มาในสังคีติ ๓ นั้น ควรถือเอาเป็นประมาณ. นอกนั้นเป็นที่ท่านตำหนิ ไม่ควรถือเอา.

    จริงอยู่ บทพยัญชนะแม้ที่ลงกันได้ในสุตตะนั้น
    พึงทราบว่าลงกันไม่ได้ในพระสูตรและเทียบกันไม่ได้ในพระวินัย.

    aa24
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2009
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ การที่ท่านยกของหลวงปู่ดูลย์มาอ้างอิงนั้น
    ควรพิจารณาด้วยว่า อันไหนเป็นของที่หลวงปู่ดูลย์กล่าว
    และอันไหนมีคนที่ยัดปากหลวงปู่ว่าหลวงปู่กล่าว โดยเฉพาะเรื่องจิตเป็นพุทธะนั้น
    ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ไว้ในหลายแห่งว่ามีการปลอมปนเข้ามา
    อย่าแกล้งมองไม่เห็นครับ การที่เอาธรรมะที่ไม่ใช่ธรรมะแท้ของหลวงปู่มาเผยแผ่โดยไม่สืบสาวให้ดีก่อน
    ขอเตือนนะครับ บาปที่ทำจะนำความเสื่อมมาให้นะครับ

    การปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาเพื่อให้จิตกับสติรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    แต่มีคนทะลึ่งบางคนที่ไม่รู้ว่าสติเป็นหน้าที่ของจิตหรือที่เรียกว่ามรรคจิต
    ที่หลวงปู่พูดนั้นหมายถึงจิต จิตคือธาตุรู้ ไม่มีไป ไม่มีมา ไม่มีที่ตั้งนั้นเป็นสภาพของจิต

    ส่วนสัมมาสตินั้นเป็นอริยมรรค เป็นทางเดินของจิตไปสู่ความเป็นพระอริยเท่านั้น
    เป็นองค์มรรคที่ประกอบจิตเท่านั้น ฉะนั้น สติย่อมเป็นส่วนหนึ่งของจิตหรือเป็นหน้าที่ของจิต
    ถ้าไม่เข้าใจก็ไม่ต้องมั่วซั่วคิดเองเออเองก็ได้นะครับ

    ;aa24
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ การที่ท่านยกของหลวงปู่ดูลย์มาอ้างอิงนั้น
    ควรพิจารณาด้วยว่า อันไหนเป็นของที่หลวงปู่ดูลย์กล่าว
    และอันไหนมีคนที่ยัดปากหลวงปู่ว่าหลวงปู่กล่าว โดยเฉพาะเรื่องจิตเป็นพุทธะนั้น
    ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ไว้ในหลายแห่งว่ามีการปลอมปนเข้ามา
    อย่าแกล้งมองไม่เห็นครับ การที่เอาธรรมะที่ไม่ใช่ธรรมะแท้ของหลวงปู่มาเผยแผ่โดยไม่สืบสาวให้ดีก่อน
    ขอเตือนนะครับ บาปที่ทำจะนำความเสื่อมมาให้นะครับ

    การปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาเพื่อให้จิตกับสติรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    แต่มีคนทะลึ่งบางคนที่ไม่รู้ว่าสติเป็นหน้าที่ของจิตหรือที่เรียกว่ามรรคจิต
    ที่หลวงปู่พูดนั้นหมายถึงจิต จิตคือธาตุรู้ ไม่มีไป ไม่มีมา ไม่มีที่ตั้งนั้นเป็นสภาพของจิต

    ส่วนสัมมาสตินั้นเป็นอริยมรรค เป็นทางเดินของจิตไปสู่ความเป็นพระอริยเท่านั้น
    เป็นองค์มรรคที่ประกอบจิตเท่านั้น ฉะนั้น สติย่อมเป็นส่วนหนึ่งของจิตหรือเป็นหน้าที่ของจิต
    ถ้าไม่เข้าใจก็ไม่ต้องมั่วซั่วคิดเองเออเองก็ได้นะครับ

    งงครับตอบแล้วแต่ความเห็นไม่ขึ้น ถ้าซ้ำต้องขออภัยไม่ได้ตั้งใจ ลบก็ลบไม่ได้ หรือลบไม่เป็นก็ไม่รู้

    ;aa24
     
  4. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ช่วยพิจารณาหน่อย อย่าให้ใครว่าหรือให้ร้ายหลวงปู่ดูลย์นะ

    อ้างอิงจากกระทู้ไหนไม่ทราบที่เหมาว่ามีใครยัดปากอะไรอย่างนั้นให้หลวงปู่

    ตกลงฟังแล้วหรือยังก่อนจะพูดอะไร ใครเขาจะไปตัดต่อเสียงหลวงปู่ กล่าวแบบนี้ไปอยู่ในนรกตอนนี้เลยดีกว่ามั้ง รวมทั้งคนที่กล่าวเหมือนกับท่านนั่นแหละ ท่านธรรมภูต

    ใครก้อได้ช่วยโหลดไปฟังหน่อยแล้วช่วยบอกหน่อยว่านี่เสียงของหลวงปู่ดูลย์ ใช่หรือไม่ ตลอดจนฟังตามโพสต์ที่ถอดเทปก้อได้ ว่ามีการตัดต่ออย่างไรยุคสมัยนั้น และทำลงไปเพื่ออะไร พุทธบริษัท ๔ ช่วยทีนะครับ
    ลิ้งค์ก็ตามนี้ครับ ถ้าฟังไม่ออกก็สวมหูฟังนะเพราะถ้าฟังลำโพงจะฟังยากมากครับ เครื่องอัดตามยุคสมัย คงเข้าใจนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2009
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ

    พระนิพพานนิยามว่า อนารัมมะณัง
    คุณไปเอานิยามนี้มาจากไหน
    โปรด เมตตา ยกตัวอย่างคำภีร์ซักนี๊สสส นึงเถอะ

    ท่านครับ ยกมาให้อ่านครับ
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๗
    ขุททกนิกาย อุทาน ปาฏลิคามิยวรรค นิพพานสูตรที่ ๑
    ๑๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ
    ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค
    ทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วย
    ธรรมมีกถาอันปฏิสังยุตต์ด้วยนิพพาน ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำให้มั่น มนสิการแล้ว
    น้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้-
    *มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ
    วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า
    พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ
    จุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้
    นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ

    ;aa24
     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    <O:p</O:p


    ท่านครับ มันเป็นคนละเรื่องเดียวกันครับ<O:p</O:p
    การที่ท่านสามารถปล่อยวางอารมณ์ความยึดมั่นถือมั่นออกไปได้<O:p</O:p
    ก็เท่ากับท่านไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ต่างๆที่เข้ามา<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เหมือนท่านสามารถปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในสมบัติต่างๆลงได้<O:p</O:p
    สมบัตินั้นยังอยู่กับท่าน ท่านก็ยังต้องใช้มันอยู่ใช่มั้ยครับ???<O:p</O:p
    แต่เมื่อสมบัตินั้นสูญหายไป ท่านก็ไม่ทุกข์กับสมบัติที่สูญหาย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในเมื่อท่านสามารถปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ได้<O:p</O:p
    สิ่งเหล่านั้น(อารมณ์)ไม่ทำให้ท่านเป็นทุกข์ ก็เท่ากับท่านไม่มีอารมณ์ใช่มั้ยครับ???

    ;aa24<O:p</O:p
     
  7. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    งั้นผมเข้าใจแล้วว่าอะไรคือ เจตสิก

    ถ้าคุณคุ้นชินกับอากาสานัญจายตนะ
    คุณก็จะเห็นว่าจิตคือ ความว่าง
    เพราะคุณจดจ่อที่ความว่าง

    ถ้าคุณคุ้นเคยกับวิญญานัญจายตนะ เป็นพิเศษ
    คุณก็จะเห็นว่าจิต เป็นชิ้นเดียวกับวิญญาญขันธ์
    เพราะที่จดจ่อที่จะรับรู้ คือตัวรู้(วิญญาณขันธ์)

    ถ้าคุณคุ้นชินกับอากิญจัญญายตนะ
    คุณก็จะเห็นว่าจิต ไม่มีตัวตน

    ถ้าคุณคุ้นชินกับเนวสัญญานาสัญญา
    คุณก็จะเห็นว่าจิตมีก็เหมือนไม่มี ไม่มีก็เหมือนมี

    เมื่ออารมณ์ "มีก็เหมือนไม่มี"
    ยังถือว่ามีอารมณ์มะ?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2009
  8. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    เจตสิก คือ ภาพสะท้อน
    มันแปลผันตาม ฉาก หรือ ระนาบที่มันปรากฏตัว

    การที่ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำว่าถ้าอยากให้จิตเห็นจิต
    อย่าส่งจิตออกนอก

    เพราะระนาบภายนอก เป็นระนาบที่ควบคุมไม่ได้
     
  9. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    นึกถึงจอภาพยนตร์ ในโรงภาพยนตร์
    หากฉายหนังแล้วไม่มีคนดู
    ก้ไม่รู้ว่ามีหนัง ไม่รู้ว่าหนังเรื่องอะไร

    หนังที่ฉายไปตามจอต่างๆ ก็แตกต่างกัน(เจตสิก)

    วิธีที่ได้รับการรับรองและสนับสนุนโดยสายดูจิต
    คือให้ดูเฉพาะหนังที่ฉายลงบนตัวเอง
     
  10. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    เมื่อจดจ่อแต่ภาพยนตร์ที่ ฉายลงบนตัวเอง
    เลยจะเห็นชัดเจน ว่าจิตคือตัวรู้(วิญญาณขันธ์)
    หากไม่ได้กำหนดจดจ่อ กำหนดว่าจะให้มันหมดไป(อากิญจัญญายตน)
    หรือมีก็ช่างไม่มีก็ช่าง(เนวสัญญานาสัญญายตนะ)

    เจตสิก ของ จิตที่จดจ่อกับตัวเองจนถึงที่สุด
    จะฉายเฉพาะอาการ "รู้"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2009
  11. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    อาการของจิต ที่ฉายลงบนอายตนะ
    เรียกว่า เจตสิก
     
  12. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    อายตนะเป็นปัจจัยให้เกิด นาม และ รูป
     
  13. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    มีความเป็นไปได้มะ
    ที่หากเราไปจ้องดุอะไรซักอย่างนานๆ บ่อยๆ
    เราจะคิดว่า นี่หละคือเรา
     
  14. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    เวลาเราจะส่องดูตัวเราเอง
    ก้ต้องมองผ่านกระจกเงา มองเงาในน้ำ
    มองผ่านกล้องจอทีวี หรือวานให้คนอื่นช่วยดุให้แล้วมาบอก

    ฉากต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระจกเงา น้ำใสๆนิ่งๆ
    กล้องและจอทีวี หรือคนอื่นที่มองให้

    เรียกว่า อายตนะ
     
  15. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    จิตมองตัวเองไม่เห็น
    ถ้าไม่มองผ่านอายตนะ
    ส่วนจะอายตนะไหนนั้น ก้เป็นเรื่องของจิตนั้นๆ
     
  16. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    รูปนามใดๆ ที่จิตฉายลงบนอายตนะ
    จะมีคนรับทราบ(รู้)อยู่ หรือไม่ก้ตาม
    เรียกว่า เจตสิก
     
  17. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    อาศัยดำน้ำนั้งเทียนเอานะ
    อย่าเอาเป็นมาตรฐานนะ
    คนเรามีรสนิยมต่างๆกัน
    เลยลองนิยามแบบส่งเดช เผื่อจะเกิดไอเดีย

    ผิดพลาดประการใด ขออโหสิกรรมก้แล้วกัน
     
  18. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    เรามักจะนิยามว่า ฉากรับภาพ จอรับภาพ ฉากรับเงา หรือจอของเงา
    จะต้องเป็นรูป คือมีรูป

    คราวนี้มาพบกับฉากรับภาพหรือเงา ที่มีแต่นามบ้าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2009
  19. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    อ๋อการที่ท่านรู้ว่า ท่านใดเป็นอรหันต์ ท่านธรรมภูตใช้คอมมอนเซ้นตัวเอง
    ตัดสินหรือครับ โอโหอย่างนี้ท่านก็เข้าข่ายอรหันต์ซิครับ ถ้าเป็นอย่างนี้
    ผมต้องขอยืมคำท่านมาใช้แล้วละครับ ก่อนอื่นผมขอเอานิ้วชี้หน้าท่าน
    แล้วกล่าวว่า เถียงพุทธพจน์ เถียงศาสดา เถียงพระธรรม...ฯลฯ
    .......ท่านธรรมภูตครับ ผมจะอธิบายและยกตัวอย่าง การเกิดดับอย่างต่อ
    เนื่องให้ดูนะครับ ท่านเคยเห็นไม้ขีดไฟมั้ยครับ ท่านลองเอาไม้ขีดไฟมา
    วางเรียงกันให้เป็นแถวในแนวเดียวกัน โดยให้หัวไม้ขีดไฟเรียงติดกันตลอด
    ที่นี้ท่านลองจุดไฟ ที่หัวไม้ขีดไฟก้านแรก ท่านจะเห็นได้ว่า หัวไม้ขีดก้าน
    แรกก่อนที่จะดับ ได้ส่งเชื้อไฟไปต่อให้อีกก้านแล้วมันเป็นอย่างตลอดแถว
    เช่น ท่าพอเข้าใจได้หรือยังว่า การเกิดดับต่อเนื่องเป็นอย่างไร
     
  20. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ไม่น่าเชื่อเลยความคิดความอ่านมีได้แค่นี้หรือ แทนที่จะคุยกันในเนื้อหา
    ประเด็นสำคัญๆ นี้ดันคอยจ้องหาเอาคำที่มันไม่ใช่สาระ มายอกย้อนเหมือนวัย
    รุ่นที่ชอบนั่งบนคอสะพาน คอยแควะคอยแซวชาวบ้าน
    .......ตามที่ผมบอกท่านตั้งแต่ต้นแล้วว่า จิตเกิดดับต่อเนื่อง และเมื่อจิตดวง
    ที่มีอวิชามันดับไปแล้ว อวิชามันจะอยู่อย่างไรมันก็ดับไปพร้อมกับจิตดวงเก่า
    แต่ไม่ใช้ว่ามันดับไปเลย มันมีเชื้อส่งต่อมายังจิตดวงใหม่ เหมือนกับตัวอย่าง
    เรื่องไม้ขีดไฟ แล้วที่รู้ว่าเกิดดับก็จาก การที่จิตดวงใหม่ไปรู้ดวงเก่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...