โอวาทสั้นๆ หลวงปู่เทศน์ เทศรังสี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 31 สิงหาคม 2010.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ... สมาธิในฌานมันโง่
    สมาธิในอริยะมรรคมันฉลาด ...

    สมาธิในฌานจิตสงบนิ่งรู้อยู่ในสิ่ง สิ่งเดียว
    ความรู้อื่นความเห็นอื่นไม่ปรากฏขึ้น
    เป็นสมาธิแบบอารัมณูปนิชฌาน
    เป็นสมาธิในฌานสมาบัติ

    ที่นี่สมาธิในอริยมรรค มันฉลาด
    คือ จิตสงบนิ่งลงไปนิดนึง ความรู้ความคิด
    มันเกิดขึ้นมาฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้งขึ้นมายังกับน้ำพุ
    ที่นี้ในเมื่อความรู้ความคิดมันเกิดขึ้นมาแล้ว
    มันจะเป็นสมาธิได้อย่างไร

    ความคิด คือวิตกใช่ไหมล่ะ
    สติที่รู้พร้อมอยู่ที่ในขณะที่จิตเกิดความคิด
    คือ วิจารใช่หรือเปล่า
    ในเมื่อ จิตมีวิตก วิจาร ปีติและสุขมันก็ย่อมบังเกิดขึ้น
    สมาธิในวิปัสนานี่อาศัย องค์ฌานคือ
    วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกคัตตาเหมือนกัน
    เหมือนกันกับสมาธิในฌานสมาบัติ
    แตกต่างกันโดยที่ว่า สมาธิในฌานสมาบัติไม่เกิดภูมิความรู้
    เป็นแต่เพียงทำจิตให้ละเอียด ละเอียด ละเอียด
    จนกระทั่ง เกือบจะไม่มีอะไรเหลืออยู่
    แต่สมาธิในอริยะมรรคนี้ พอจิตสงบนิ่งลงไปปั๊บ
    บางทีก็รู้สึกแจ่มๆ แต่ความคิดมันผุดขึ้นมาผุดขึ้นมา
    ผุดขึ้นมาแบบรั้งไม่อยู่

    ซึ่งนักปฏิบัติบางท่านเข้าใจว่าจิตฟุ้งซ่าน อย่าไปเข้าใจผิด
    บางทีพอจิตสว่างแล้วก็เกิดเห็นโน่นเห็นนี่ทางนิมิตรขึ้นมา
    เมื่อจิตเลิกรู้เห็นนิมิตรแล้วก็มาเกิดภูมิความรู้ความคิดขึ้นมายังกับน้ำพุอีกเหมือนกัน

    นี่เป็นสมาธิในอริยะมรรค
    ซึ่งเรียกว่า สมาธิวิปัสนา เมื่อผู้ปฏิบัติเข้าใจถูกต้อง
    ในช่วงใดจิตต้องการสงบนิ่งปล่อยให้นิ่ง
    ช่วงใดจิตต้องการคิดปล่อยให้คิด แต่มีสติกำหนดตามรู้

    ทีนี่ถ้าหากสมาธิถึงขนาดที่เกิดภูมิความรู้ขึ้นมาเองเนี่ยะ
    เราไม่ต้องไปกำหนดอะไรหรอกเขาจะเป็นไปเองของเขา

    จิตของเราจะรู้...เฉยอยู่เท่านั้น
    บางครั้งพอจิตสงบแล้วมันเกิดมีความคิดขึ้นมา ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง
    ฟุ้งขึ้นมา จิตอาจจะแบ่ง ออกเป็นแยกออกเป็น 3 มิติ

    มิติหนึ่ง คิดอยุ่ไม่หยุดยั้ง
    อีกมิติหนึ่งเฝ้าดูงาน
    อีกมิติหนึ่ง ถ้าร่างกายปรากฎ
    จะมาสงบนิ่งอยู่ในท่ามกลางของร่างกาย

    ตัวที่คิดอยู่ไม่หยุด เป็นจิตเหนือสำนึก
    ตัวที่เฝ้าดูคือตัวผู้รู้ได้แก่ สติ
    ตัวที่หยุดนิ่งคือจิตใต้สำนึกตัวคอยเก็บผลงาน

    ลองไปปฏิบัติดูนะ จะเป็นไปได้มั๊ย อย่างที่ว่านี้
    อันนี้เป็นโอวาทของหลวงปู่เทศน์


    อธิบายโอวาท หลวงปู่เทศน์ เทศรังสี โดยหลวงปู่พุธ ฐานิโย
     
  2. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +3,166
    น้อมเคารพต่อพระรัตนตรัย
    อนุโมทนาในความรู้ ในการเผยแพร่ครับ

    รู้สักแต่ว่ารู้ เห็นสักแต่ว่าเห็น จะเป็นอะไร
     
  3. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    โมทนา สาธุธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 สิงหาคม 2010
  4. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    ตัวรู้มันรู้รางๆยังไงชอบกล ทำไมมันไม่ได้รู้แจ่มๆชัดๆเหมือนตอนไม่ทำสมาธินะ...
     
  5. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ก็มันเป็น ลักขณูปณิชฌาณ นี่ ไม่ใช่ อารัมณูปนิชฌาณ

    เลยไม่มีการ ตั้งผู้รู้ ให้เด่นดวง แต่ ดูผู้รู้ แปรปรวนตกใต้ไตรลักษณ์
    เพื่อคลายออกจากการยึดถือ ผู้รู้ เพื่อสวนกระแสไปเห็น สิ่งที่เรียกว่า
    ธาตุรู้ ที่เป็นคนละองค์ธรรมกับ ผู้รู้

    แต่อย่าไปกลัวว่า จะไปเป็นการทำลายผู้รู้ เพราะ ผู้รู้มันแปรปรวนด้วย
    ตัวของมันเอง เรา(ธรรมอีกชนิดที่ยิ่งกว่า)ดูอยู่ห่างๆแบบบางๆ ไม่ได้เกี่ยว
    ข้องมิใช่หรือ

    ความแจ่มของการรู้แบบนี้ คือ การไม่เกาะเกี่ยวกับสิ่งไรๆ แม้สุขอันปราณีต
    ไม่มีอามิส (ไม่ได้อะไรมา ไม่เสียอะไรไป ไม่มี ตน ปรากฏเป็นผู้รับ)

    ความแจ่มของการรู้แบบฌาณ(อารัมณูฯ) เป็นความสว่างแสงสีสรร(อันเป็นคุณ
    ลักษณะของอวิชชา--หลวงพ่อสงบ ) ให้อามิสคือ สุข
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2010
  6. นิลมังกร

    นิลมังกร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +72
    รู้สักแต่ว่ารู้ เห็นสักแต่ว่าเห็นเป็นอรหันต์ใช่หรือเปล่าครับ..^__^..เฉลยด้วย
     
  7. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    ฌานลาภีบุคคลเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน
    ๑. พอเอ่ยคำว่า ฌาน ก็มักจะนึกถึง รูปาวจรจิต แท้จริงคำว่า ฌาน แปลว่า การเพ่งอารมณ์ และการเพ่งอารมณ์ก็มี ๒ ประการ ซึ่งอัฏฐสาลินีอรรถกถา แสดงว่า

    ฌานนฺติ ทุวิธํ ฌานํ อารมฺมณูปนิชฺฌานํ ลกฺขณูปนิชฺฌานนฺติ
    อันว่า ฌาน นั้นมี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน อย่างหนึ่ง และลักขณูปนิชฌาน อีกอย่างหนึ่ง

    ตตฺถ อฏฺฐ สมาปตฺติโย ปฐวีกสิณาทิอารมฺมณํ อุปนิชฺฌายนฺตีติ อารมฺมณูปนิชฺฌานนฺติ สงฺขยํ คตา
    ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ จัดเข้าใน อารัมมณูปนิชฌาน เพราะเป็นผู้เข้าไปเพ่งซึ่งอารมณ์ มีปฐวีกสิณ เป็นต้น

    วิปสฺสนามคฺคผลานิ ปน ลกฺขณูปนิชฺฌานํ นาม
    แต่ว่า วิปัสสนาญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ทั้ง ๓ นี้ ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน

    ตตฺถ วิปสฺสนาอนิจฺจาทิลกฺขณสฺส อุปนิชฺฌานโต ลกฺขณูปนิชฺฌาน
    ในฌานทั้ง ๓ นั้น วิปัสสนาญาณ ที่ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปกำหนดรู้แจ้งไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะ เป็นต้น

    วิปสฺสนาย กตกิจฺจสฺส มคฺเคน อิชฺฌนโต มคฺโต ลกฺขณูปนิชฺฌาน
    มัคคญาณที่ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเป็นผู้ทำให้กิจที่รู้แจ้งไตรลักษณ์ของวิปัสสนาญาณสำเร็จลง

    ผลํ ปน นิโรธสจฺจํ ตถลกฺขณํ อุปนิชฺฌายตีติ ลกฺขณูปนิชฌานํ นาม
    ส่วนผลญาณ ที่ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปรู้แจ้งลักษณะอันแท้จริงของนิโรธสัจจ

    ๒. มีอธิบายความแตกต่างกันระหว่าง อารัมมณูปนิชฌาน กับลักขณูปนิชฌาน เพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้ คือ
    กล่าวโดยอารมณ์ อารัมมณูปนิชฌาน มีสมถกัมมัฏฐาน เช่น ปฐวีกสิณ คือ บัญญัติ เป็นต้น เป็นอารมณ์ ส่วนลักขณูปนิชฌานนั้น วิปัสสนาญาณ มีวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ รูป นาม ไตรลักษณ์ สังขตธรรม เป็นอารมณ์ มัคคญาณ ผลญาณ มีอสังขตธรรม คือนิพพาน เป็นอารมณ์
    กล่าวโดยองค์ธรรม อารัมมณูปนิชฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา ที่ประกอบกับมหัคคตฌานทั้ง ๙ เป็นองค์ธรรม ส่วน ลักขณูปนิชฌาน ก็มี วิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา ที่ประกอบกับมหากุสลจิต มัคคจิต ผลจิต เป็นองค์ธรรม

    ๓. ผู้บรรลุ มัคค ผล นิพพาน นั้นมีอยู่ ๒ จำพวกด้วยกัน คือ สุกขวิปัสสกจำพวกหนึ่ง และฌานลาภีบุคคลอีกจำพวกหนึ่ง
    สุกขวิปัสสกบุคคล นั้น เป็นผู้มีวิปัสสนาญาณอันแห้งแล้งจากโลกียฌาน คือ พระอริยบุคคลจำพวกนี้ไม่ได้เจริญสมถภาวนาจนเกิดฌานจิตมาแต่ก่อนเลย เริ่มเจริญวิปัสสนาภาวนาอย่างเดียวจนเป็นพระอริยบุคคล
    ส่วน ฌานลาภีบุคคล นั้น หมายถึงผู้ที่ได้เจริญสมถภาวนาจนเกิดฌานจิต มีปฐมญานเป็นต้นมาก่อนแล้ว เป็นฌานลาภีบุคคลมาแล้ว จึงได้มาเจริญวิปัสสนาภาวนาอีก จนเป็นพระอริยบุคคล

    ๔. ที่จะกล่าวต่อไปนี้ ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ได้ฌานแล้ว มาเจริญวิปัสสนาภาวนาอย่างไร จึงได้เป็นพระอริยบุคคล

    ๕. ฌานลาภีบุคคล ที่บำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนาภาวนา จนเกิดมัคคจิต ผลจิตนั้น มีวิธีที่เจริญภาวนาเป็น ๓ วิธี คือ
    ก. ปาทกฌานวาท หมายถึง ถือการเข้าฌานที่เป็นบาทเบื้องต้นแห่งการเจริญภาวนานั้นเป็นสำคัญ
    ข. สัมมสิตฌานวาท หมายถึง ถือการพิจารณาฌานเป็นสำคัญ
    ค. ปุคคลัชฌาสยวาท หมายถึง ถือความประสงค์ของฌานลาภีผู้เจริญภาวนานั้นเป็นสำคัญ

    ๖. ปาทกฌานวาท คือ ก่อนที่ฌานลาภีบุคคลจะเจริญวิปัสสนาภาวนานั้น ได้เข้าฌานก่อน จะเป็นฌานชั้นใดก็แล้วแต่ ทั้งนี้เพื่อให้สมาธิมีกำลังดีขึ้น ฌานที่เข้าก่อนนี้เรียกว่า ปาทกฌาน เมื่อออกจากปาทกฌาน ก็พิจารณารูปนามต่อไปจนแจ้งไตรลักษณ์ และบรรลุถึงมัคคถึงผล ข้อที่สำคัญที่ปาทกฌาน ถ้าเข้าปฐมฌานเป็นปาทกฌาน มัคคจิตผลจิตที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกนี้ก็เรียกว่า ปฐมฌานโสดาปัตติมัคค ปฐมฌานโสดาปัตติผล สำเร็จเป็นปฐมฌานโสดาบันบุคคล
    ถ้าเข้าทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน หรือ ปัญจมฌาน เป็นปาทกฌาน มัคคจิตที่เกิดขึ้นเป็นปฐมมัคค ก็เรียกไปตามขั้นของฌาน เช่น ทุติยฌานโสดาปัตติมัคค ตติยฌานโสดาปัตติมัคค เป็นต้น ทำนองเดียวกับปฐมฌานโสดาปัตติมัคคจิตนั้น
    แม้มัคคจิตผลจิตเบื้องสูง คือ สกทาคามิมัคค-ผล อนาคามิมัคค-ผล อรหัตตมัคค-ผล ก็เป็นไปในทำนองเดียวกับปฐมมัคคจิตดังกล่าวแล้วนี้แหละ
    ข้อสำคัญถือฌานที่เป็นปาทกฌานนั้นเป็นใหญ่ เมื่อออกจากปาทกฌานแล้ว จะพิจารณาองค์ฌานโดยความจริง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาก็ได้ หรือจะพิจารณาสังขารธรรม รูปนามที่นอกจากองค์ฌาน โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ได้ เพราะถือฌานที่เป็นบาทเบื้องต้นนั้นเป็นใหญ่เป็นสำคัญ

    ๗. สัมมสิตฌานวาท คือ ฌานลาภีบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาภาวนานั้น พิจารณาฌานที่ตนเคยได้มาแล้ว จะเป็นฌานชั้นใดก็ตาม พิจารณาฌานนั้น โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะเข้าฌานก่อนก็ได้ หรือจะไม่เข้าฌานก่อนก็ได้ ไม่ถือการเข้าฌานเป็นสำคัญ แต่ถือการพิจารณาฌานนั้นเป็นใหญ่ เช่น เข้าปัญจมฌาน ครั้นเวลาที่พิจารณาโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้น มาพิจารณาปฐมฌาน มัคคจิตที่เกิดขึ้นก็เป็นปฐมฌานมัคคจิต หาใช่ปัญจมฌานมัคคจิตไม่ โดยทำนองเดียวกัน เวลาเข้านั้น เข้าทุติยฌาน แต่เวลาพิจารณากลับไปพิจารณาจตุตถฌาน มัคคจิตที่เกิดขึ้นก็เป็น จตุตถฌานมัคคจิต

    ๘. บุคคลัชฌาสยวาท มุ่งหมายถึง ความปรารภ ความประสงค์ ความปรารถนา ของฌานลาภีบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาภาวนานั้นเป็นใหญ่เป็นสำคัญ เช่น ปรารภตติยฌานมัคคจิค ก็จะต้องเจริญภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่างนี้ คือ
    ก. ต้องเข้าตติยฌาน ซึ่งเป็นชั้นที่ตรงตามความประสงค์ของตน เมื่อออกจากตติยฌานแล้ว จะพิจารณารูปนามที่เป็นกามธรรม โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ได้
    ข. จะไม่เข้า ตติยฌาน ก็ได้ แต่ต้องพิจารณาองค์ฌานของตติยฌาน โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงจะตรงกับชั้นที่ตนปรารถนา
    พิจารณาไปจนมัคคจิตเกิด มัคคจิตนั้นก็เป็น ตติยฌานมัคคจิต

    ๙. คัมภีรวิสุทธิมัคค ได้กล่าวถึงเรื่อง อริยมัคค ประกอบด้วยกำลัง ๒ ประการไว้ว่า
    ที่นี้จะจำแนกในพละสมาโยคะ คือ พระอริยมัคค อันประกอบด้วยกำลัง ๒ ประการ จึงออกจาก นิมิต และปวัตติได้
    กำลัง ๒ ประการนั้น คือ พระสมถพละ ๑ และพระวิปัสสนาพละ ๑ สมถพละนั้นคือ สมาธิ วิปัสสนาพละนั้นคือ ปัญญา
    ขณะเมื่อพระโลกุตตรมัคคญาณบังเกิดนั้น พระสมถะกับพระวิปัสสนา มีกำลังเสมอกัน จะยิ่งหย่อนกว่ากันอย่างโลกียภาวนา หาบมิได้
    แท้จริงกาลเมื่อพระโยคาวจรเจ้า จำเริญโลกียสมาบัติทั้ง ๘ นั้น ยิ่งด้วยกำลังพระสมถะ กาลเมื่อพิจารณาสังขารธรรมด้วยอนิจจานุปัสสนา เป็นอาทินั้น ยิ่งด้วยกำลังพระวิปัสสนา ครั้นถึงขณะเมื่อพระอริยมัคคญาณบังเกิดนั้น กำลัง ๒ ประการ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นเอกรสะ มีกิจเสมอกัน เหตุสภาวบมิได้ล่วงซึ่งกัน เหตุดังนั้น อันว่ากิริยาอันประกอบด้วย พละทั้ง ๒ ประการ ก็มีในพระอริยมัคคญาณทั้ง ๔ ด้วยประการฉะนี้

    ๑๐. ขอย้อนกลับมากล่าวถึงสุกขวิปัสสกบุคคล ผู้มีวิปัสสนาญาณอันแห้งแล้งจากโลกียฌาน เป็นผู้ที่ไม่เคยได้เจริญสมถภาวนาจนบรรลุถึงฌานธรรมเลย บุคคลจำพวกนี้เวลาเจริญวิปัสสนาภาวนา จึงไม่สามารถกำหนดเพ่งฌานได้ ได้แต่กำหนดเพ่งรูปนามที่เป็นกามธรรมเพียงอย่างเดียว ถึงกระนั้นเมื่อมัคคจิตเกิดขึ้น ก็ย่อม บริบูรณ์ และพร้อมมูล ด้วยองค์ฌานทั้ง ๕ เหตุนี้จึงจัดว่าเป็น ปฐมฌานโสดาปัตติมัคคจิตเสมอไป
    สกทาคามิมัคค อนาคามิมัคค อรหัตตมัคค ของสุกขวิปัสสกบุคคล ก็จัดเข้าเป็นปฐมฌานด้วยกันทั้งสิ้น
    ดังมีหลักฐานใน อัฏฐสาลินีอรรถกถา แสดงไว้ว่า
    วิปสฺสนานิยาเมน สุกฺขวิปสฺสกสฺส อุปฺปนฺนมคฺโคปิ ปฐมชฺฌานิโก โหติ ฯ
    ตามธรรมเนียมของวิปัสสนา มีหลักอยู่ว่า มัคคที่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนาภาวนาล้วน ๆ ก็ย่อมประกอบด้วยปฐมฌาน

    ๑๑. พระอริยที่เป็นสุกขวิปัสสกบุคคล เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปัญญาวิมุตติ นั้นมีจำนวนมากกว่า พระอริยที่เป็นฌานลาภีบุคคล เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เจโตวิมุตติ นั้นมากมาย ดังใน สังยุตตพระบาลี แสดงไว้ว่า

    อิเมสํ หิ สารีปุตฺต ปญฺจนฺนํ ภิกฺขุสตานํ สฎฺฐิ ภิกฺขู เตวิชฺชา สฏฺฐิ ภิกขู ฉฬาภิญฺญา สฏฺฐิ ภิกฺขู อุภโตภาควิมุตฺตา อถ อิตเร ปญฺญาวิมุตฺตา
    ดูกร สารีบุตร ในพระภิกษุ ๕๐๐ องค์, ๖๐ องค์ เป็นเตวิชชบุคคล, ๖๐ องค์เป็นฉฬาภิญญาบุคคล, ๖๐ องค์เป็นอุภโตภาควิมุตติบุคคล เหลือนอกนั้นทั้งหมดเป็นปัญญาวิมุตติบุคคล

    ดังนั้นจึงได้กล่าวว่า ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่มัคคผลเพราะเห็นอนิจจัง และเพราะเห็นอนัตตามีมากกว่าผู้ที่เห็นทุกขัง เพราะผู้ที่เห็นทุกขังเป็นผู้ที่บุพพาธิการแต่ปางก่อนยิ่งด้วยสมาธิ
    เตวิชชบุคคล หมายถึง พระอรหันต์ผู้มีวิชา ๓ คือ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพพจักขุญาณ และ อาสวักขยญาณ
    ฉฬาภิญญาบุคคล หมายถึง พระอรหันต์ ผู้มีอภิญญา หรือ วิชา ๖ คือ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพพจักขุญาณ อาสวักขยญาณ เจโตปริยญาณ ทิพพโสตญาณ และอิทธิวิธญาณ
    อุภโตภาควิมุตติบุคคล หมายถึง พระอรหันต์ ผู้เป็นฌานลาภีบุคคลด้วย คือ มีฌานด้วย บ้างก็เรียกว่า เจโตวิมุตติบุคคล
    ปัญญาวิมุตติบุคคล หมายถึง สุกขวิปัสสกพระอรหันต์ คือ พระอรหันต์ผู้แห้งแล้งจากฌาน ผู้ไม่ได้ฌาน

    จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ:cool:<SMALL>
    </SMALL>
     
  8. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,684
    ค่าพลัง:
    +9,239

    [​IMG]


    กราบ กราบ กราบ หลวงปู่เจ้าค่ะ

    "ความคิด คือวิตกใช่ไหมล่ะ
    สติที่รู้พร้อมอยู่ที่ในขณะที่จิตเกิดความคิด

    คือ วิจารใช่หรือเปล่า
    ในเมื่อ จิตมีวิตก วิจาร ปีติและสุขมันก็ย่อมบังเกิดขึ้น"

    ขออนุโมทนาค่ะ



     
  9. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +3,166
    คำเฉลยนี้คงต้องขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลแล้วละครับ
    แต่สำหรับผม เป็นอะไรก็เป็นไป ไม่เป็นทุกข์ได้เป็นพอ

    เส้นทางพุทธองค์อัศจรรย์แท้ดับทุกข์ ด้วยการรู้ทุกข์
    จึงน้อมเคารพต่อพระรัตนตรัย และเดินตามเส้นทางนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...