ข้อมูลเตรียมพรัอมรับมือสถานการณ์ภัยน้ำท่วม

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย tanakorn_ss, 7 ตุลาคม 2011.

  1. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747

    ถ้าวันใดวันหนึ่งเราได้ประสบกับภัยน้ำท่วม แน่นอนมันอาจจะำทำให้เราและครอบครัวคนรักญาติพี่น้องหรือผู้ที่เกี่ยวข้องต้องอพยพหรืออยู่ที่ใดที่หนึ่งในระยะเวลานานเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีหน่วยฉุกเฉินเข้ามาให้ความช่วยเหลือในขณะนั้น แต่บางครั้ง กว่าที่การช่วยเหลือเหล่านั้นจะมาถึงคุณ ก็อาจต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมงหรือหลายวันเลยทีเดียว
    การเตรียมชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินไว้ทั้งในบ้านและในรถของคุณเอง เพื่อใช้ในยามเกิดภัยพิบัติฉุกเฉิน โดยอุปกรณ์และสิ่งของที่ควรมีในชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินแต่ละชุด ควรประกอบด้วยสิ่งของตามรายการต่อไปนี้ ซึ่งสามารถเพิ่มรายการสิ่งของอื่น ๆ ที่ต้องใช้ในยามฉุกเฉินได้ตามความเหมาะสมซึ่งข้อมูลส่วนหนึ่งได้คัดลอกข้อมูลมาจาก องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ และจากองค์กรหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลในการเตรียมตัวอาจจะเป็นประโยชน์และพอจะช่วยบรรเทาได้ไม่มากก็น้อยหากในวันข้างหน้าจะประสบกับเหตุการณ์ภัยน้ำท่วม น้ำขัง หรือภัยธรรมชาติต่างๆ ที่จะสามารถนำข้อมูลนี้ไปประยุกต์ปรับตัวให้เข้ากับความเกิดดับทั้งหลายของธรรมชาติ ได้อย่างปลอดภัยและมีความปกติสุข




    ในทางธรรม

    เบื้องต้น

    - การวางแผนที่ดีถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่งหนึ่ง

    - ถือพุุทธสุภาษิต ที่ว่า "ตนแลเป็นที่พี่งแห่งตน"
    ประคองตนบนพื้นฐานของความไม่ประมาท

    -
    แม่น้ำหรือมหาสมุทรจะกว้างใหญ่ขนาดใหน ก็ยังไม่กว้างขวางเท่ากับตัณหาทั้งหลายที่อยู่ในจิตใจของคน ไม่มีประมาณ ไม่รู้จบ
    ประคองกายใจให้อยู่หลักแห่ง ทาน ศิล สมาธิ และปัญญาเดินตามทางมรรคมีองค์ ๘ ประการ

    - ไม่ควรประมาทในชีวิต พิจารณาถึงทุกข์โทษของการเกิดบ่อยๆ ความตายบ่อยๆ ให้เห็นตามความเป็นจริง


    - มีสติอยู่กับปัจจุบันธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่และดับไปเท่านั้นว่ามันเป็นอย่างไร

    "อดีตไม่เอา อนาคตไม่คิดถึง ปัจจุบันคือสิ่งที่ต้องคำนึง ให้รู้ซึ่งธรรมชาติของจิตที่แท้จริง"

    - มีจิตใจที่เมตตา เอื้ออาทร เป็นมิตร เป็นกลาง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อ เพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย
    ด้วยกัน ก่อนที่ดอกบัวจะบานรับแสงสว่างก็ผ่านสภาพที่เป็นเหมือนกันทั้งนั้น พรหมวิหาร ๔ เป็นหลักธรรมที่จะช่วยจรรโลงให้จิตมีการพัฒนาสู่ความเป็นอริยชนได้

    โดยช่วยเหลือตามกำลังตามความสามารถของ
    ตนที่พอจะทำได้




    การเตรียมตัวทางโลก


    1. เตรียมของรับมือน้ำท่วม


    - ถือพุุทธสุภาษิต ที่ว่า "ตนแลเป็นที่พี่งแห่งตน" ถ้าไม่ทำตนให็เป็นที่พึ่งแล้วจะไปพึ่งใครเขาได้ ไม่ควรรีรอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เพราะการช่วยเหลืออาจไม่ทั่วถึงและควรคำนึงในสภาพความเป็นจริงที่เห็นอยู่ว่าสามารถเป็นที่พึ่งได้หรือไม่

    - การวางแผนที่ดีถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่งหนึ่ง
    อย่า คิดว่ามันไม่เกิด อะไรๆก็เกิดขึ้นได้ เพราะทุกสิ่งไม่ได้ตั้งอยู่บนความเที่ยงแท้แน่นอนเสมอไป แม้กาย จิตและความคิดเราเองยังเปลี่ยนแปลงเลย นับประสาอะไรกับธรรมชาติ เพราะมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เขาเป็นธาตุของเขาอย่างนั้น จะเอาอะไรแน่นอนกับเขา เขาก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงปรับสภาพไปตามธรรมชาติของเขา จะร้ายแรงมากน้อยแค่ใหน ก็อยู่ที่เหตุและปัจจัยให้มันเกิด ถ้าวันนี้มันไม่เกิด วันหน้ามันก็เกิด อยู่ที่ว่ามันจะเกิดเมื่อใหร่ และจะเตรียมตัวรับกับความเปลี่ยนแปลงอย่างไร กับการเกิดดับของธรรมชาติอย่างไร ถ้าจะไปยึดติด ไปตื่นตระหนก หวั่นวิตกเกินไป ในการเปลี่ยนแปลงของเขามากไป ก็อาจจะทำให้ชีวิตจิตใจไม่อยู่กับตัวเอง เป็นทุกข์มากไป เพราะถ้าเขาเปลี่ยนแปลงแบบนี้มันก็มีผลให้การดำรงชีวิตของสรรพชีวิตที่อยู่ ร่วมกับเขาอยู่ไม่มากก็น้อยด้วยเหตุและปัจจัยอื่นๆ อีกเช่นกัน ถ้าเข้าใจอย่างนี้ก็ต้องปรับตัว เตรียมตัว วางแผน เพื่อรับมือเขาและเพื่ออยู่ร่วมกับเขาอย่างที่เราพอจะอยู่ได้อย่างไม่เดือด ร้อน ให้เป็นปกติธรรมดา



    1.น้ำ

    - น้ำคนละ 1 แกลลอนต่อ 1 วัน
    (สำหรับดื่ม ประกอบอาหาร และชำระล้างร่างกาย)
    - น้ำสำหรับสมาชิกในครอบครัวไว้บริโภคเป็นเวลา 3 วัน
    - เครื่องกรองน้ำ

    อาหาร

    สมาชิกทุกคนในบ้านควรเตรียมอาหารแห้งสำหรับบริโภคอย่างน้อย 3 วัน โดยเลือกอาหารที่เก็บไว้ได้นาน ไม่ต้องแช่เย็น และทานได้ง่าย ซึ่งต้องกะปริมาณอาหารไว้ให้เพียงพอ นอกจากนี้ อาหาร ที่แพ็คไว้ใช้ยามฉุกเฉินควรมีขนาดกะทัดรัดและมีน้ำหนักเบา และหากยังไม่มีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นควรเปลี่ยนอาหารในชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินทุก ๆ 6 เดือน



    - อาหารกระป๋อง
    - น้ำผลไม้กระป๋อง หรือผงชงน้ำผลไม้
    - ซุปหมูหรือไก่ก้อน ผงปรุงรสอาหาร
    - อาหารตากแห้ง เช่น ปลาหมึก เนื้อแดดเดียว
    - นมกระป๋องหรือนมผง
    - อาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น โปรตีนบาร์


    ขนม

    -ขนมปังที่มีอายุอยู่ได้นานๆ ซึ่งสามารถทานแทนข้าวปลาอาหารได้กรณีที่ไม่มีไฟ ไฟถูกตัด
    -ขนมขบเขี้ยวต่างที่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย



    ชุดอุปกรณ์เครื่องครัว
    -เตาแก๊สขนาดเล็กกระทัดรัด สำหรับคนอยู่หอพัก
    - ส่วนคนที่มีบ้านเป็นส่วนตัวหากมีสองชั้นก็ขนย้ายอยู่ชั้น2




    ชุดอุปกรณ์ปฐมพยาบาล

    ควรเตรียมชุดอุปกรณ์ปฐมพยาบาลไว้ 2 ชุด คือ สำหรับในบ้าน 1 ชุด และในรถยนต์อีก 1 ชุดโดยในชุดอุปกรณ์ปฐมพยาบาลแต่ละชุด ประกอบไปด้วยสิ่งของดังต่อไปนี้

    - ผ้าพันแผล
    - สำลีปิดแผล
    - พลาสเตอร์ปิดแผล ชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดการแพ้
    - ผ้ากอซแบบสามเหลี่ยม และแบบม้วน
    - กรรไกร
    - ปากคีบ
    - เข็ม
    - สบู่ก้อน
    - ผ้าเช็ดทำความสะอาดแบบเปียก หรือผ้าเย็น
    - สเปรย์ฆ่าเชื้อโรค
    - เทอร์โมมิเตอร์แบบหลอดพลาสติก
    - ไม้กดลิ้น
    - ปิโตรเลียมเจลลี่ หรือเจลหล่อลื่น

    - เข็มกลัด
    - น้ำยาทำความสะอาด
    - ถุงมือยาง



    ยาสามัญประจำบ้าน

    - ยาพาราเซตามอน หรือยาบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ
    - ยาแก้ท้องเสีย
    - ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
    - ยาขับเสมหะ
    - วิตามินต่าง ๆ
    - ยาระบาย
    - น้ำยาล้างตา/ ยาหยอดตา
    - แอลกอฮอล์
    - ยาฆ่าเชื้อ

    อุปกรณ์อำนวยความสะดวก

    แก้ว ชาม ช้อน ที่เป็นกระดาษหรือพลาสติก
    แผนการฉุกเฉินที่บันทึกไว้
    วิทยุและแบตเตอรี่หรือถ่านสำหรับวิทยุ
    ไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย
    มีดพับเอนกประสงค์
    ที่เปิดขวดและกระป๋อง
    แผนที่
    อุปกรณ์ชาร์จแบตโทรศัพท์และเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ
    อุปกรณ์ดับเพลิงขนาดพกพา
    คีมคีบหรือคีมตัดลวด
    เทปพันสายไฟ หรือเทปกาว
    กระเป๋ากันน้ำ หรือกล่องพลาสติก
    แผ่นฟอยล์
    พลุสัญญาณขอความช่วยเหลือ
    ดินสอและกระดาษ
    อุปกรณ์เย็บผ้าแบบพกพา
    หลอดหยดยา
    ประแจสำหรับขันเกลียวและปลดล็อกอุปกรณ์ต่าง ๆ
    นกหวีด
    พลาสติกม้วน หรือถุงพลาสติก
    หน้ากากป้องกันฝุ่นและถุงมือ

    อุปกรณ์เพื่อสุขอนามัย


    เสื้อผ้าและเครื่องนอน
    ผ้าขนหนู
    เสื้อผ้าและถุงเท้าอย่างน้อย 1 ชุด
    รองเท้าที่แข็งแรง
    เสื้อกันฝน
    ผ้าห่ม หรือถุงนอน
    หมวกและถุงมือ
    ชุดชั้นใน
    แว่นกันแดด
    สบู่
    ผ้าอนามัย
    อุปกรณ์แต่งตัวต่าง ๆ
    ถุงขยะและเชือก
    พลั่วสำหรับขุดหลุมขนาดกะทัดรัด
    ถังน้ำพร้อมฝาปิด
    ยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับพื้นและเครื่องสุขภัณฑ์
    ผงซักฟอก หรือน้ำยาซักผ้า



    สิ่งของจำเป็นอื่นๆ

    นมผง อาหารผง
    ผ้าอ้อม
    ขวดนม
    ยารักษาโรค


    สิ่งของจำเป็นสำหรับผู้ใหญ่

    ผ้าห่ม
    ยารักษาโรค
    ฟันปลอม กาวติดฟันปลอม
    คอนแท็คท์เลนส์ และอุปกรณ์สำหรับล้างคอนแท็คส์เลนส์
    แว่นตา
    อุปกรณ์สำหรับฟัง
    อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นอื่น ๆ

    สิ่งของจำเป็นสำหรับสัตว์เลี้ยง


    อาหารสัตว์
    หีบ หรือลัง
    น้ำ
    ยารักษาโรค
    เชือกจูงสุนัข/แมว
    ถาดอาหารพับได้
    เอกสารเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนของสัตว์

    สิ่งของจิปาถะ
    สิ่งของให้ความเพลินเพลิน


    เกมส์สำหรับเด็กเล่น
    หนังสือสำหรับผู้ใหญ่

    เงิน
    เมื่อน้ำมาเข้าใจว่าระบบไฟคงมีปัญหาระบบเอทีเอ็มหรือการจะเดินทางไปเบิกเงินที่สำนักงานคงลำบากอยู่ ให้กดหรือเบิกมาเก็บไว้ที่บ้านเป็นเงินสด หรือถ้ามีมากหน่อยก็ค่อยซื้อเป็นทองคำเล็กๆเก็บไว้สะสมไปเรื่อยๆ ใช้เมื่อยามจำเป็น

    ห้องน้ำ
    ห้องน้ำที่จะใช้ขณะน้ำท่วม เช่น ห้องน้ำบนชั้นบนของบ้านเพราะห้องน้ำชั้นล่างจะใช้ไม่ได้
    และควรป้องกันการไหลย้อนกลับออกมาทางห้องส้วมชั้นล่างด้วยการอุดโถส้วมชั้น ล้างงด้วยผ้าผืนโตพอที่จะไม่หลุดลงไปในท่อและทับไว้ด้วยของหนักๆ ส่วนท่อที่ต่อไปยังถังบำบัด

    ในกรณีที่จะไม่มีห้องส้วมใช้ อาจกำหนดมุมใดมุมหนึ่ง ที่มิดชิดในบ้าน เตรียมถุงพลาสติกขนาดพอเหมาะสำหรับถ่าย เตรียมยางรัดเชือกสำหรับผูกปากถุงให้แน่นสนิท (ไม่ใช้วิธีผูกหูหิ้วถุงเข้าหากัน เพราะจะมีช่องรั่วออกได้) และถุงเก็บขยะพลาสติกสำหรับใส่รวมไว้ก่อนด้วย ห้ามโยนทิ้งไปตามน้ำ เพราะจะไปเป็นขยะติดเชื้อแก่ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม


    ตัวอย่าง"ส้วมกระดาษ" by SCG PAPER
    ส้วมกระดาษเป็นกล่องที่ออกแบบเพื่อให้สามารถใช้สำหรับขับ ถ่ายทั้งหนักและเบา ทดแทนการใช้ห้องน้ำ วัตถุประสงค์จริง ๆ ไม่ได้ไว้ใช้เฉพาะกิจช่วงน้ำท่วม แต่เหมาะกับพื้นที่ที่ไม่สะดวก ห้องน้ำไม่เพียงพอ จุดเด่นคือพกพาได้ น้ำหนักเบา ขึ้นรูปได้ง่าย และแข็งแรงเพียงพอต่อการใช้งานปกติ การันตีรับน้ำหนักคนนั่ง 100 กิโลกรัมได้สเบย ๆ

    "Poo Box" (ส้วมกระดาษ)
    ผลิตจากกระดาษลูกฟูก มี 2 ส่วนหลักคือ
    1.ส่วนตัวถัง ผลิตด้วยกระดาษลูกฟูกลอน บีซี มีความแข็งแรง
    สามารถรับน้ำหนักขณะใช้งานได้และ
    2.ส่วนฝาครอบ ผลิตด้วยกระดาษลูกฟูกลอนบี
    สามารถเปลี่ยนอันใหม่หลังการใช้งานเพื่อสุขลักษณะ

    การประกอบมีเพียง 4 ขั้นตอน
    1.พับขึ้นรูปตัวถัง
    2.พับขึ้นรูปฝา
    3.ครอบถุงดำ ลงในหลุม
    4.ปิดฝาครอบ จากนั้นปลดทุกข์ได้เลย
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td align="center" background="/images/linedot_vert.gif" valign="middle" width="1">[​IMG]</td> <td> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> </td> <td align="center" background="/images/linedot_vert.gif" valign="middle" width="1">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    [​IMG]
    [​IMG]

    <table align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top">
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#F5F5F5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td valign="top"> <table align="center" bgcolor="#F5F5F5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr> <tr><td>
    </td></tr></tbody></table>

    เอกสารสำคัญ


    ควรเคลือบเอกสารต่อไปนี้ หรือเก็บรักษาไว้ในซองกันน้ำ
    เอกสารเกี่ยวกับการประกันชีวิต
    พาสปอร์ต ใบขับขี่ ทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชน
    เลขบัญชีธนาคาร
    บัตรเครดิต และบัตรประจำตัวพนักงานบริษัท
    สูจิบัตร ทะเบียนสมรส เอกสารเกี่ยวกับโรคประจำตัว
    เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น


    อื่นๆ
    เบอร์ติดต่อยามฉุกเฉิน หน่วยกู้ภัย หน่วยช่วยเหลือต่างๆ หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง

    ระวังภัยที่จะตามมาในช่วงน้ำท่วมนี้คือ ภัยจากคนด้วย
    คือการลักขโมย สิ่งของต่างๆ


    ข้อแนะนำ: ควรเก็บอุปกรณ์ที่จำเป็นทั้งหมดรวมกันไว้ในกระเป๋าหรือกล่องที่สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย เช่น กล่องพลาสติก เป็นต้น และพยายามเลือกสิ่งของทุกประเภทให้มีขนาดกะทัดรัดไว้ในรถอีกชุดหนึ่งเพื่อสะดวกต่อการขนย้าย ส่วนท่านใดที่ไม่ได้อพยพไปใหน มีบ้าน2ชั้นก็ ให้เตรียมตัวย้ายของที่จำเป็นไปอยู่ก่อนก็ไม่่เสียหายอะไร

    สิ่งที่สำคัญไม่ว่าจะอยู่ในเหตุัการณ์ใดๆนั้นจะเลวร้ายสักแค่ใหน อย่าอยู่ด้วยความหวาดกลัว (ไม่มีอะไรน่ากลัวเท่ากับภัยการเกิด) แต่จงอยู่ด้วยความไม่ประมาทและมีสติมีอนุสสติอยู่เสมอ มีสิ่งใหนที่พอจะช่วย แ่บ่งปันได้ ก็เกื้อกูลต่อกัน คนเราทุกคนมีสภาพเหมือนคือเกิด แก่ เจ็บ ตาย เกิดมาก็ตัวเปล่า ไปก็ตัวเปล่า สิ่งต่างๆล้วนเป็นสิ่งสมมุติทั้งหมด จะยึดติดกับเขาทำไม ควรปล่อยวาง ให้ใจเป็นอิสระจากความยึดถือทั้งปวง
    -------------------------------------------------------------------------------------------

    คลิกร่วมทำบุญต่างๆ กับหลวงตาม้าวัดถ้ำเมืองนะ

    คลิก ร่วมทำบุญกับวัดสะแก และศึกษาคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

    คลิก ร่วมทำบุญ Online กับวัดท่าซุง หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

    ขอเชิญคณะศรัทธาทุกท่าน ร่วมสร้าง พระมหาเจดีย์พิพิธภัณฑ์‏ หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม
    http://palungjit.org/threads/%E0%...ml#post4918326

    คลิก มหากฐิน สร้างพระนอนใหญ่ที่สุดในโลก

    เชิญคลิกชม อานิสงส์ไม่สิ้นสุด เชิญร่วมบุญเป็นเจ้าภาพสร้างพระประธานหินทรายขาว หน้าตัก1.5ม. สูง2ม

    เชิญคลิกชม บุญใหญ่อานิสงส์ไม่มีประมาณ ขอเชิญร่วมบุญสร้างบันได กราบรอยพระพุทธบาท วัดลำจังหัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2012
  2. aries

    aries เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,403
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,211
    ขอบคุณครับ สำหรับกรุงเทพฯมีเวลาเตรียมตัวอีกไม่นานเพื่อรับวิกฤติจากน้ำที่ปล่อยมาจากเขื่อน คาดว่าน้ำจะมาถึงวันอังคารที่ 11 นี้ครับ แนะนำให้เตรียมรับมือเผื่อเอาไว้เลยนะครับ เพราะถ้าไม่ได้เตรียมตัวไว้ น้ำมาถึงเร็วจะลำบากมากครับ สังเกตตัวอย่างจากต่างจังหวัดที่โดนหนักๆดูนะครับ ลองคิดว่าเป็นการซ้อมรับมือแบบหนักๆไว้เลย
     
  3. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ประชาสัมพันธ์

    1. ตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไป ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เปิดรับลงทะเีบียนประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม สามารถเข้ามาพักในธรรมศาสตร์ โดยจัดที่พักบริเวณยิมเนเซียม 2 รวมทั้งเปิดพื้นที่ให้จอดรถได้ โดยเริ่มลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 11.00 น. เป็นต้นไป ฝากแจ้งข่าวไปยังทุกท่านด้วยครับ



    2. ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค เปิดให้ประชาชน สามารถนำรถมาจอดได้ที่บนอาคารจอดรถของศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค ในช่วงน้ำท่วม โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ติดต่อสอบถามได้ที่ฝ่าย Contract Center เคาน์เตอร์ลูกค้าสัมพันธ์ ชั้น 3 ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค หรือโทรสอบถามได้ที่ 0-2958-0011 กด 0 และเตรียมเอกสารสำเนาบัตรประชาชนมาด้วย


    3. สนามบินดอนเมืองเปิดให้บริการจอดรถฟรีโดยให้จอดรถบริเวณอาคารจอดรถผู้โดยสาร ภายในประเทศและอาคารคลังสินค้าและยังเตรียมอาคารจอดรถผู้โดยสารระหว่าง ประเทศสำหรับประชาชนที่ต้องการนำรถเข้าไปจอดที่สนามบินดอนเมือง ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะอำนวยความสะดวกในการจัดจุดจอดรถให้

    4. ซีคอนสแควร์ เปิดพื้นที่ดาดฟ้า ให้จอดรถค้างคืน หนีน้ำท่วมกรุง ฟรี ! วันนี้เป็นวันแรก และยังมีพื้นที่เพียงพอสำหรับผู้ที่เดือดร้อนอีกเป็นจำนวนมากนะคะ แต่อย่างไรก็ตามพื้นที่ดาดฟ้าของเรา สามารถรองรับรถได้ 750 คัน ใครที่เดือดร้อนรีบมาจอดกันก่อนได้เลย


    5. ตั้งฮั่วเส็ง อีกที่ครับ ติดต่อ . 02-434-0448 ต่อ 1222, 1234 เตรียมเอกสาร ที่ต้อง เตรียม
    1สำเนาบัตรประชาชนของผู้ฝาก
    2.สำเนาคู่มือ การจดทะเบียนรถ หน้าที่แสดงชื่อเจ้าของรถ และหน้าที่แสดง
    การชำระภาษีประจำปี
     
  4. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747

    ★ ต้องการอาสาสมัคร ★ (โปรดดูวันที่)


    (7 ต.ค.) สภากาชาดไทย รับอาสมัคร ช่วยแพ็คถุงธารน้ำใจ (9-16 น.) ถ.อังรีดูนังต์ รายละเอียด รูปภาพบนกระดาน | Facebook

    (7-8 ต.ค.) ประชาชนอาสา (People Volunteer) รับอาสมัคร ช่วยแพ็คถุงยังชีพ รร.ดุสิตธานี (เริ่ม 12:00น.) รายละเอียด เข้าสู่ระบบ | Facebook

    (8 ต.ค.) อาสาดุสิต รับอาสมัคร ช่วยแพ็คถุงยังชีพ (เร่ิม 16 น.) ธ.กรุงไทย สนง.ใหญ่ ฝั่งเพลินจิต สุขุมวิท 2
    รายละเอียด ArsaDusit (อาสาดุสิต ประเทศไทยกลับมาสดใสดีกว่าเดิม) | Facebook

    (9 ต.ค.) อาสาสัมพันธ์ ปันน้ำใจช่วยน้ำท่วม ลงพื้นที่แจกของบริจาค จ.อยุธยา (8-20 น.)
    รายละเอียด อาสาสัมพันธ์ ปันน้ำใจช่วยน้ำท่วม | Facebook

    (9 ต.ค.) มูลนิธิตันปัน รับอาสมัคร ช่วยจัดเตรียมถุงยังชีพ 20,000 ชุด (เร่ิม 9:00 น.) ที่สนามฟุตบอลอารีน่าเท็น ทองหล่อซอย 10
    รายละเอียด ไปช่วยกันแพ็คถุงยังชีพ ส่งให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมทันที | Facebook

    (15 ต.ค.) รับอาสมัคร ช่วยแพ็คถุงยังชีพ โรงแรมไนซ์พาเลซ www.nicepalace.com โทร 02-2700514-8
    รายละเอียด รูปภาพของ Arbtip Dheeravongkit | Facebook

    (16 ต.ค.) รับอาสมัคร ลงพื้นที่ช่วยแจกของ กับทหารและ Arbtip Dheeravongkit (ลงชื่อที่นี่ http://bit.ly/floodSignup)

    (ถึง - 26 พ.ย.) จุดบริจาค ธ.กรุงไทย สนง.ใหญ่ ฝั่งเพลินจิต ต้องการรับอาสาช่วยแพ๊คของ ติดตามรายละเอียดที่ เข้าสู่ระบบ | Facebook

    (6 ต.ค.) ประชาชนอาสา (People Volunteer) รับอาสมัคร ช่วยแพ็คถุงยังชีพ รร.ดุสิตธานี (เริ่ม 12:00น.)
    รายละเอียด เข้าสู่ระบบ | Facebook

    (6 ต.ค.) พระจอมเกล้าลาดกระบัง รับอาสมัคร ช่วยแพ็คถุงยังชีพ (17:00-20 :00น.) ที่ห้ององค์การนักศึกษา ตึกกิจกรรมชั้น 2 โรงอาหารคณะวิทยาศาสตร์
    สอบถาม 0815781987 แพ็คถุงยังชีพ ช่วยผู้ประสบภัย | Facebook

    (5 ต.ค.) ด่วน! รับอาสมัคร ที่ขับเรือยางเป็น ช่วยอพยพคนติดตามบ้าน ที่ อ.บางปะหัน โทร 081-7242852
    รายละเอียด ★ ด่วนมาก!!! ★... | Facebook

    (5 ต.ค.) 16:00 น. อาสาดุสิต รับอาสมัคร ช่วยแพ็คถุงยังชีพ ธ.กรุงไทย สนง.ใหญ่ ฝั่งเพลินจิต สุขุมวิท 2 ArsaDusit (อาสาดุสิต ประเทศไทยกลับมาสดใสดีกว่าเดิม) | Facebook

    (1 ต.ค.) 06:00 น. อาสาดุสิต ต้องการคนช่วยขนของ ★ ด่วน! อาสาดุสิต... | Facebook

    (1 ต.ค.) 10.30 น. อาสาดุสิต ขออาสาฯ ช่วยแพ๊คถุงยังชีพ ธ.กรุงไทย สนง.ใหญ่ ฝั่งเพลินจิต ArsaDusit (อาสาดุสิต ประเทศไทยกลับมาสดใสดีกว่าเดิม) | Facebook

    (1 ต.ค.) อาสาไทย (ปชป) ต้องการอาสาสมัครช่วยน้ำท่วม (เชียงใหม่) โทร 083 2004240 / 084 8093223 ★... | Facebook

    (29 ก.ย.) ด่วน! ขอแรงอาสา 50 คน แพคถุงยังชีพ 13.00 น. ถึงเย็น (จนกว่าของหมด) ที่ SCB Park รัชโยธิน
    รายละเอียด รูปภาพบนกระดาน | Facebook
    (28-30 ก.ย.) ต้องการอาสา ช่วยสภากาชาด @ThaiRedCross บรรจุยาลงถุงธารน้ำใจ 9-16 น. ถ.อังรีดูนังต์
    รายละเอียด ต้องการอาสาสมัครเพื่อบรรจุยาสามัญประจำบ้าน เพื่อบรรจุในถุงธารน้ำใจฯ | Facebook

    (17 ก.ย.) อาสาฯคนไทยช่วยน้ำท่วม: ชวนจัดแพคถุงยังชีพ 13.00-15.00 น. ที่ พรรคประชาธิปัตย์ www.facebook.com/AsaThai

    (17-18 ก.ย.) มูลนิธิกระจกเงา: ต้องการ "อาสามาขุด“ ลงพื้นที่ฟูสถานที่ประสบภัย บ้านห้วยคอม ต.น้ำไผ่ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ ภาระกิจ “ ขุดดิน ขุดโคลน" วันที่ 17-18 กันยายน 2554
    สอบถาม (จะเด็จ) 08-7183-3705 รูปภาพบนกระดาน | Facebook

    (18-22 ก.ย.) สนง.บรรเทาทุกข์ฯ สภากาชาดไทย: ต้องการอาสา ช่วยจัดยาชุดสามัญประจำบ้าน (ถ.อังรีดูนัง) 022517853-6 ต่อ 1403

    (16 ก.ย.)กลุ่ม PS-EMC: ต้องการอาสา ช่วยแพ็คถุงยังชีพ/ยกของบริจาค ที่ รร.ดุสิต (สีลม) เร่ิม 12:00 น. *** กลุ่ม PS-EMC... | Facebook

    (17 ก.ย.) อาสาดุสิต: เปิดรับบริจาค/ ต้องการอาสาแพ๊คของ ที่ ธ.กรุงไทย สนง.ใหญ่ (สุขุมวิท ซ.2) 9.00-22.00 น. ArsaDusit (อาสาดุสิต ประเทศไทยกลับมาสดใสดีกว่าเดิม) | Facebook
     
  5. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ★ จุดรับบริจาค ★

    ★ จุดรับบริจาค ★

    จุดบริจาค มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย ปทุมวัน โทร 0-2256-4583-4, 0-2256-4427-9, 0-2251-0385 http://bit.ly/psfe5U

    จุดบริจาค อาสาดุสิต 1 ที่ ธ.กรุงไทย สนง.ใหญ่ ฝั่งเพลินจิต สุขุมวิท ซ.2 9.00-22.00 น. รายละเอียด http://ow.ly/6vjEI

    จุดบริจาค อาสาไทยฯ (พรรคประชาธิปัตย์) www.facebook.com/AsaThai แผนที่ http://ow.ly/6Bzaj

    จุดบริจาค กลุ่ม PS-EMC (หน้า ร.ร.ดุสิต สีลม) 7 ก.ย.-30 ต.ค. 19:30-22:30 น. รายละเอียด http://ow.ly/6zrs8

    จุดบริจาค โรงแรมไนซ์พาเลซ (5 -15 ต.ค.) ซ. อินทามระ 1/1 ถ.สุทธิสาร อยู่ใกล้ BTS สะพานควาย www.nicepalace.com โทร 02-2700514-8 บริจาคของ น้ำดื่ม ถุงดำ อาหารแห้ง ยา เช่น ยาน้ำกัดเท้า แก้ไข้ แก้หวัด แก้ไอ ฯลฯ แพมเพอสผู้ใหญ่ ผ้าอนามัย กระดาษชำระ
    จุดบริจาค สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อาหารแห้งและสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น ที่ส่วนบริหารงานทั่วไป ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี สอบถามโทร 3177, 3781-4 ,0-2329-8110 รายละเอียด http://ow.ly/6F81L

    จุดบริจาค ด่านทางด่วน "ทางด่วนร่วมใจภัยน้ำท่วม" ทุกด่าน (ข้าวสาร อาหารแห้ง และน้ำด่ืม) http://ow.ly/6Ic6R

    จุดบริจาค หอศิลปกรุงเทพ (แยกปทุมวัน) 1-30 ต.ค. โปรดบริจาคของตามรายการนี้ http://ow.ly/6K1fQ

    จุดบริจาค 96.75MHz: สิ่งของจำเป็น ข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค ฯลฯ สอบถาม 0-5581-7716-7 http://ow.ly/6r1sS

    จุดบริจาค ระเบียงทะเล สาขาบางปู โทร.0-2709-1825 บริจาคสิ่งของ รายละเอียด http://ow.ly/6OxTi

    จุดบริจาค ระเบียงทะเล สาขาจรัญสนิทวงศ์ 86/1 โทร.0-2879-0911-2 บริจาคสิ่งของ รายละเอียด http://ow.ly/6OxTi

    จุดบริจาค ระเบียงทะเล สาขาบางนา กม.5 โทร.0-2743-0306 บริจาคสิ่งของ รายละเอียด http://ow.ly/6OxTi

    (ปิด?) จุดบริจาค กองปราบปราม ถ.พหลโยธิน สอบถาม สายด่วน 1195
    (ปิด?) จุดบริจาค หน้าเซ็นทรัลลาดพร้าว: (สน.พหล กับ @e20ive) ต้องการ ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม www.twitpic.com/6ltrsk
    (ปิดแล้ว) จุดบริจาค หอจดหมายเหตุ พุทธทาส (สวนรถไฟ) (อ 2 ต.ค.) เร่ิม 9:00 น. ชวนบริจาค ปัจจัย ๔ ข้าวสารอาหารแห้ง เครื่องอุปโภคบริโภค http://ow.ly/6K1IJ
    (ปิดแล้ว) จุดบริจาค อาสาดุสิต 3 ศูนย์รับบริจาค หอสมุดเทศบาลนครพิษณุโลก www.arsadusit.com/6242ArsaDusit
    (ปิดแล้ว) จุดบริจาค อาสาดุสิต 2 ที่ ธ.ไทยพาณิชย์ สนง.ใหญ่ (รัชโยธิน) เต็นท์ลานน้ำพุ วันนี้-2 ต.ค. ต้องการ ข้าวสารถุง 5 กิโลกรัม น้ำตาล น้ำปลา น้ำมันพืช อาหารแห้ง' ช่วยอยุธยา อ่างทอง และสิงห์บุรี สอบถาม คุณปู 081 584 6885 www.arsadusit.com/6796
    (ปิดแล้ว) จุดบริจาค ทองหล่อ (กลุ่มจิตอาสาอิสระ) 16-24 ก.ย. รับบริจาค และจำหน่ายเสื้อช่วยน้ำท่วม รายละเอียด http://ow.ly/6uUu5


    ★ ข้อมูลบริจาคเงิน ★


    มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาเทเวศร์ ออมทรัพย์ เลขที่ 020-2-53333-8 หรือ ธ.กสิกรไทย สาขาถนนหลังสวน เลขที่ 082-2-66600-0 http://bit.ly/psfe5U

    มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก ที่ Counter Service ของ 7-11 ทุกสาขา

    มูลนิธีโอเพ่นแคร์ (www.opencare.org): บัญชี กองทุนร้อยนํ้าใจ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตลอดลำนํ้ายมมูลนิธีโอเพ่นแคร์ ธ.ไทยพาณิชย์ 402-177853-3 http://on.fb.me/oLnwNj

    ArsaThai (พรรคประชาธิปัตย์): มูลนิธิ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ธ.กรุงไทย สาขาย่อยกระทรวงการคลัง เลขที่ 068-0-02-3607

    อสมท: บัญชี "อสมท รวมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม" ธ.กรุงไทย สาขาอโศก ออมทรัพย์ เลขที่ 015-015-999-4

    สำนักนายก: บัญชี “กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี” ธ.กรุงไทย สาขาทำเนียบรัฐบาล ออมทรัพย์ เลขที่ 067-0-06895-0 ลดหย่อนภาษีได้

    ไทยพาณิชย์: บัญชี “มูลนิธิสยามกัมมาจล-ไทยพาณิชย์เพื่อผู้ประสบภัย” สาขา ATM & SCB Easy เลขที่ 111-3-90911-5

    กรมการศาสนา: บัญชี “สงเคราะห์พระภิกษุสามเณร และผู้ประสบภัย” ธ.กรุงไทย เลขที่ 059-1-29006-5

    SpringNews TV: ชื่อบัญชี "ร่วมมือ ร่วมใจ เพื่อผู้ประสบภัย" ธ.กรุงเทพ เลขที่ 196-075084-0 http://lockerz.com/s/137860608

    ครอบครัวข่าว 3: บัญชี "ครอบครัวข่าว 3 ช่วยผู้ประสบอุทุกภัย 54" กระแสรายวัน ธ.กรุงเทพ สาขามาลีนนท์ เลขที่ 014-3-00444-8

    บริจาคช่วยน้ำท่วมทาง SMS: AIS/DTAC/TrueMove พิมพ์ 3 ส่ง 4567899 (10 บ/ครั้ง) มอบครอบครัวข่าว 3 http://twitpic.com/6k3gk6

    ไปรษณีย์: ร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เปิดจุดรับบริจาคเงิน ทุกที่ทำการทั่ว ปท.กว่า 2,000 แห่ง

    กทม. : บัญชี “กองทุนกรุงเทพมหานครช่วยเหลือผู้ประสบภัย” ธ.กรุงไทย สาขาถนนข้าวสาร เลขที่ 027-0-17081-2

    แต้มสะสม KBank Reward Point:
    ใช้บริจาคช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้ ผ่านสภากาชาดไทย (ถึง 31 ต.ค.) รายละเอียด http://ow.ly/6z7ky

    มูลนิธิราชประชา: บัญชี “มูลนิธิราชประชานุเคราะห์” ออมทรัพย์ ธ.ไทยพาณิชย์ เลขที่ 401-6-36319-9 http://t.co/HwMnGoEh

    มูลนิธิวิจัยและพัฒนาระบบยา+กองพลที่ 1 รักษาพระองค์: เพื่อจัดซื้อ “ชุดยาสู้น้ำท่วม” รายละเอียดบริจาค http://ow.ly/6zt2w

    สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง:
    บัญชี "สถาปัตย์รวมน้ำใจช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม" ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาย่อยเทคโนโลยีฯ เจ้าคุณทหาร เลขที่ 088-251250-8 (แจ้งยอดโอนได้ที่ 02-329-8366 คุณภานิดา ผู้มีโชคชัย หรือ Email ได้ที่: misspanida@yahoo.com รายละเอียด http://ow.ly/6F81L

    วุฒิสภาช่วยน้ำท่วม บัญชี "วุฒิสภาช่วยน้ำท่วม ธ. กรุงไทย สาขารัฐสภา ออมทรัพย์ เลขที่ 089-0-22222-3 สอบถาม 0-2244-1777-8, 0-2244-1578 หรือสายด่วนวุฒิสภา 1102
    @POH_Natthawut บัญชี "ทวิตสกิดใจคนไทยรักกัน" ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาโฮมโปร ราชพฤกษ์ เลขท่ี 375-212428-9

    จ.เชียงใหม่ บัญชี
    "กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณะภัย" ธ.กรุงไทย สาขาข่วงสิงห์ เลขที่ 547-0-37532-3
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2011
  6. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ★ ข้อมูลสำคัญ แหล่งข่าวเป็นประโยชน์ ★


    คู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วม จัดทำโดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฉบับ pdf
    http://bit.ly/gYnfCQ

    แผนที่แสดงจุดเกิดอุทกภัยบนทางหลวงทั่วประเทศ
    http://maintenance.doh.go.th/test.html

    การเตรียมถุงยังชีพฉุกเฉิน www.lockerz.com/s/137516150 (via @tar_kotloh)

    ประกาศกรมทรัพยากรธรณีฉบับที่ 20 ให้อาสาสมัครเครือข่ายฯ ร่วมกันเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่ม และน้ำป่าไหลหลาก http://ow.ly/6r1yn

    ติดตามข่าวสาร สถานการณ์ แจ้งขอความช่วยเหลือน้ำท่วมได้ที่ @ThaiFlood แทก #ThaiFlood หรือ http://www.ThaiFlood.com

    ข้อแนะนำเกี่ยวกับไฟฟ้าในกรณีที่มีน้ำท่วมหรือน้ำท่วมขัง โดย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค http://ow.ly/4nA1K

    เครือข่ายระวังภัย ทวิตเตอร์ @Rawagpai / เฟซบุ๊ค เครือข่ายระวังภัย

    ทวิตเตอร์ @MrVop (นักข่าวพลเมือง ข่าวและข้อมูลเตือนภัยธรรมชาติ)


    ★ เบอร์ติดต่อฉุกเฉิน ★

    หน่วยแพทย์์เคลื่อนช่วยผู้ประสบภัย (สาธารณสุข) เจ็บป่วยฉุกเฉินขอความช่วยเหลือ โทร 1669 (24 ช.ม.)

    สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) 1784 รับแจ้งเหตุน้ำท่วม 24 ชั่วโมง

    สายด่วน กรมชลประทาน โทร 1460 หรือ 02 669 2560 (24 ชั่วโมงช่วงวิกฤติ)

    สายด่วน กรมทางหลวง 1586 ตลอด 24 ชั่วโมง

    ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม 1356

    กรมทางหลวงชนบท 1146

    การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690

    บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) 1490

    ตำรวจทางหลวง โทร. 1193 สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

    หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร 1669 กู้ชีพฟรี 24 ชั่วโมง

    มูลนิธิประชาร่วมใจ นครศรีฯ พร้อมกู้ภัย โทร. 075 345 599

    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1129 ตลอด 24 ชั่วโมง

    กรณีเหตุฉุกเฉินในพื้นที่ จ.จันทบุรี ติดต่อ กู้ภัยสว่างกตัญญูธรรมสถานจันทบุรี 039-346347

    ICT ตั้งศูนย์ปฏิบัติการรองรับเหตุฉุกเฉินแก้ไขปัญหาน้ำท่วม รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง โทร 192 ทั่วประเทศ

    ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ม.วลัยลักษณ์ 075-674-013 ต่อ 4013

    สำนักงานป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย จ. กระบี่ 075-612- 639, 075-612-649, 075-612-735

    สำนักงานป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย จ. สุราษฎร์ธานี 077-275-550-1

    ศูนย์อำนวยการป้องกัน สาธารณภัย จ.พัทลุง 074-620-300, 074-611-652

    ขอความช่วยเหลือพื้นที่น้ำท่วมกับไทยพีบีเอส โทร 02-790-2111 หรือ sms มาที่ 4268822 @ThaiPBS

    ผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม กทม ปริมณฑลและภาคกลาง ติดต่อ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 1 โทร 02-281-5443

    ศูนย์อุทกฯ ภาคเหนือ : 053-248925, 053-262683

    ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ พร้อมช่วยเหลือประชาชน โทร 053202609

    ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันสัตว์อันตราย สวนสัตว์เชียงใหม่ แจ้งจับ 053-222-479 (24 ชั่วโมง)

    มูลนิธิมหากุศลใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง ต้องการความช่วยเหลือ โทรแจ้ง 075 343 602 ความถี่
    168.775MHz. ความถี่ 245 MHz. ช่อง 35 ตลอด 24 ชั่วโมง

    สำนักงานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย จ.น่าน 054-741061

    ศูนย์อุทกฯ ภาคเหนือ 053-248925, 053-262683

    โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราชี 075-340-250

    ศูนย์อำนวยการป้องกัน สาธารณภัย จ.ชุมพร 077- 502-257, 077-503-230
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2011
  7. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    [​IMG]


    http://www.softbizplus.com/general/533-floods-handbook [​IMG]



    คู่มือ รับสถานการณ์น้ำท่วม

    การเตรียมการก่อนน้ำท่วม


    การป้องกันตัวเองและความสียหายจากน้ำท่วม ควรมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า เพราะหากรอให้มีการเตือนภัยเวลามักไม่เพียงพอ รู้จักกับภัยน้ำท่วมของคุณ สอบถามหน่วยงานที่มีการจัดการด้านน้ำท่วม ด้วยคำถามดังต่อไปนี้
    - ภายในละแวกใกล้เคียงในรอบหลายปี เคยเกิดน้ำท่วมสูงที่สุดเท่าไร
    - เราสามารถคาดคะเนความเร็วน้ำหรือโคลนได้หรือไม่
    - เราจะได้การเตือนภัยล่วงหน้าก่อนที่น้ำจะมาถึงเป็นเวลาเท่าไหร่
    - เราจะได้รับการเตือนภัยอย่างไร
    - ถนนเส้นใดบ้าง ในละแวกนี้ที่จะถูกน้ำท่วมหรือจะมีสิ่งกีดขวาง


    การรับมือสำหรับน้ำท่วมครั้งต่อไป

    1. คาดคะเนความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับทรัพย์สินของคุณเมื่อเกิดน้ำท่วม
    2. ทำความคุ้นเคยกับระบบการเตือนภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขี้นตอนการอพยพ
    3. เรียนรู้เส้นทางการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด จากบ้านไปยังที่สูงหรือพื้นที่ปลอดภัย
    4. เตรียมเครื่องมือรับวิทยุแบบพกพา อุปกรณ์ทำอาหารฉุกเฉินแหล่งอาหารและไฟฉาย รวมทั้งแบตเตอร์รี่สำรอง
    5. ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ควรจะเตรียมวัสดุ เช่น กระสอบทราย แผ่นพลาสติก ไม้แผ่น ตะปู กาวซิลิโคน เพื่อใช้ป้องกันบ้านเรือน และควรทราบแหล่งวัตถุที่จะนำมาใช้
    6. นำรถยนต์และพาหนะไปเก็บไว้ในพื้นที่ซึ่งน้ำไม่ท่วมถึง
    7. ปรึกษาและทำข้อตกลงกับบริษัทประกันภัย เกี่ยวกับการประกันความเสียหาย
    8. บันทึกหมายเลขโทรศัพท์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินและเก็บไว้ตามที่จำง่าย
    9. รวบรวมของใช้จำเป็นและเสบียงอาหารที่ต้องการใช้ ถายหลังน้ำท่วมไว้ในที่ปลอดภัยและสูงกว่าระดับที่คาดว่าน้ำจะท่วมถึง
    10. ทำบันทึกรายการทรัพย์สินมีค่างทั้งหมด ถ่ายรูปหรือวีดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐาน
    11. เก็บ บันทึกรายการทรัพย์สิน เอกสารสำคัญและของมีค่าอื่นๆ ในสถานที่ปลอดภัยห่างจากบ้านหรือห่างไกลจากที่น้ำท่วมถึง เช่น ตู้เซฟที่ธนาคาร หรือไปรษณีย์
    12. ทำแผนการรับมือน้ำท่วม และถ่ายเอกสารเก็บไว้เป็นหลักฐานที่สังเกตุได้ง่าย และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมที่เหมาะสมกับบ้านของคุณ
    ถ้าคุณคือพ่อแม่


    - ทำหารซักซ้อมและให้ข้อมูลแก่บุตรหลานของคุณ ขณะเกิดน้ำท่วม เช่น ไม่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำและอยู่ใกล้เส้นทางน้ำ
    - ต้องการทราบหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานท้องถิ่น
    - ต้องการทราบแผนฉุกเฉินสำหรับ โรงเรียนที่บุตรหลานเรียนอยู่
    - เตรีมแผนการอพยพสำหรับครอบครัวของคุณ
    - จัดเตรียมกระสอบทราย เพื่อกันน้ำไม่ให้เข้าสู่บ้านเรือน
    - ต้องมั่นใจว่าเด็กๆ ได้รับทราบแผนการรับสถานการณ์น้ำท่วมของครอบครัวและของโรงเรียน


    การทำแผนรับมือน้ำท่วม

    การจัดทำแผนรับมือน้ำท่วม จะช่วยให้คุณนึกถึงสิ่งต่างๆ ที่จะต้องทำหลังได้รับการเตือนภัยเดินสำรวจทั่วทั้งบ้านด้วยคำแนะนำที่กล่าว มา พร้อมทั้งจดบันทึกด้วยว่าจะจัดการคำแนะนำอย่างไร ในช่วงเวลาที่ทุกๆ คนเร่งรีบและตื่นเต้นเนื่องจากภัยคุกคาม สิ่งที่สำคัญที่จะลืมไม่ได้ก็คือ หมายเลขโทรศัพท์ต่างๆ ที่สำคัญไว้ในแผนด้วย


    ถ้าคุณมีเวลาเล็กน้อยหลังการเตือนภัย :
    สิ่งที่ต้องทำและมีในแผน


    - สัญญาเตือนภัยฉุกเฉิน และสถานีวิทยุ หรือสถานีโทรทัศน์ที่รายงานสถานการณ์
    - รายชื่อสถานที่ 2 แห่งที่สมาชิกในครอบครัวสามารถพบกันได้หลังจากพลัดหลงโดยสถานที่แรกให้อยู่ ใกล้บริเวณบ้านและอีกสถานที่อยู่นอกพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง
    ระดับการเตือนภัยน้ำท่วม

    ลักษณะการเตือนภัยมี 4 ประเภท คือ

    1. การเฝ้าระวังน้ำท่วม : มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดน้ำท่วมและอยู่ในระหว่างสังเกตุการณ์
    2. การเตือนภัยน้ำท่วม : เตือนภัยจะเกิดน้ำท่วม
    3. การเตือนภัยน้ำท่วมรุนแรง : เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง
    4. ภาวะปกติ : เหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติหรือเป็นพื้นที่ไม่ได้รับผล

    ข้อมูลจาก http://www.cendru.net
     
  8. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    สิ่งที่คุณควรทำ : หลังจากได้รับการเตือนภัยจากหน่วยงานด้านเตือนภัยน้ำท่วม

    1. ติดตามการประกาศเตือนภัยจากสถานีวิทยุท้องถิ่น โทรทัศน์หรือรถแจ้งข่าว
    2. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันและคุณอยู่ในพื้นที่หุบเขาให้ปฎิบัติดังนี้
    - ปีนขึ้นที่สูงให้เร็วสุดเท่าที่จะทำได้
    - อย่าพยายานำสัมภาระติดตัวไปมากเกินไป ให้คิดว่าชีวิตสำคัญที่สุด
    - อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเสณน้ำหลาก
    3. ดำเนินการตามแผนรับมือน้ำท่วมที่ได้วางแผนไว้แล้ว
    4. ถ้ามีการเตือนภัยการเฝ้าระวังน้ำท่วมจะยังมีเวลาในการเตรียมแผนรับมือน้ำท่วม
    5. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมและคุณอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึง

    ควรปฎิบัติดังนี้
    - ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและแก๊ซถ้าจำป็น
    - อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล่างจาน
    - พื้นที่ห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้าน
    - อ่านวิธีการที่ทำให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่ออยู่นอกบ้าน
    - ล็อคประตูบ้านและอพยพขึ้นที่สูง
    - ถ้าไม่มีที่ปลอดภัยบนที่สูง ให้ฟังข้อมูลจากวิทยุหรือโทรทัศน์เกี่ยวกับสถานที่หลบภัยของหน่วยงาน
    6. หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึง
    - อ่านวิธีการที่ทำให้ความปลอดภัยเมื่ออยู่ในบ้าน
    7. หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึงแต่อาจมีน้ำท่วมในห้องใต้ดิน
    - ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องใต้ดิน
    - ปิดแก็ซหากคาดว่าน้ำจะท่วมเตาแก็ซ
    - เคลื่อนย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นข้างบน
    - ห้ามอยู่ในห้องใต้ดิน เมื่อมีน้ำท่วมถีงบ้าน


    น้ำท่วมฉับพลัน

    คือ น้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในบริเวณที่ลุ่มต่ำ ในแม่น้ำ ลำธารหรือร่องน้ำที่เกิดจากฝนที่ตกหนักมากติดต่อกันหรือจากพายุฝนที่เกิดซ้ำ ที่หลายครั้ง น้ำป่าอาจเกิดจากที่สิ่งปลูกสร้างโดยมนุษย์ เช่น เขื่อนหรือฝายพังทลาย
    - ถ้าได้ยินการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันให้วิ่งไปบนที่สูงทันที
    - ออกจารถและที่อยู่ คิดอย่างเดียวว่าต้องหนี
    - อย่าพยายามขับรถหรือวิ่งย้อนกลับไปทางที่ถูกน้ำท่วม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2011
  9. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ปลอดภัยไว้ก่อนเมื่ออยู่นอกบ้าน

    - ห้ามเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล
    มีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตจากจมน้ำตายในขณะที่น้ำกำลังมาความสูงของน้ำแค่ 15 ซม. ก็ทำให้เสียหลักล้มได้ ดังนั้นถ้ามีความจำเป็นต้องเดินผ่านที่น้ำไหลให้ลองนำไม้จุ่มเพื่อวัดระดับ น้ำก่อนทุกครั้ง

    - ห้ามขับรถในพื้นที่ที่กำลังโดนน้ำท่วม
    การ ขับรถในพื้นที่ที่น้ำท่วมมีความเสียงสูงมากที่จะจมน้ำ หากเห็นป้ายเตือนตามเส้นทางต่างๆ ห้ามขับรถเข้าไปเพราะอาจมีอันตรายข้างหน้า น้ำสูง 50 ซม. พัดรถยนต์จักรยสานยนต์ให้ลอยได้

    - ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสาย :
    กระแส ไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านได้ เมื่อเกิดน้ำท่วมแต่ละครั้งจะมีผู้เสียชีวิต เนื่องจากไฟดูดมากกว่าสาเหตุอื่นๆ เมื่อเห็นสายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดเสียหายกรุณาแจ้ง 191 หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


    หลังน้ำท่วม

    3 ขั้นตอนที่คุณควรทำในวันแรก ๆ หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วม
    ขั้นตอนที่ 1 : เอาใจใส่ตัวเอง

    หลังผ่านเหตุการณ์น้ำท่วม คุณและครอบครัวอาจเกิดความซึมเศร้า และต้องใช้เวลากลับสู่ภาวะปกติอย่าลืมว่าเหตุการณ์น้ำท่วมนั้นอาคารบ้าน เรือน ได้รับความเสียหาย คุณต้องดูแลตัวเองและครอบครัว พร้อมกับการบูรณะบ้านให้กลับบ้านเหมือนเดิม อุปสรรคที่สำคัญคือ ความเครียด รวมทั้งปัญหาอื่น เช่น นอนหลับยาก ฝันร้ายและปัญหาทางกาย โรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งคุณและครอบครัวควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

    1. ให้เวลากับครอบครัวเพราะความอบอุ่นในครอบครัวอาจช่วยเยี่ยวยารักษาได้ดี
    2. พูดคุยปัญหากลับเพื่อนและครอบครัว ร่วมแบ่งปันความกังวลจะช่วยให้ได้ระบายและผ่อนคลายความเครียด
    3. ผักผ่อนและกินอาหารที่เป็นประโยชน์ เพราะมีปัญหาทั้งความเครียดและทางกายเพิ่มขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอ
    4. จัดรำดับสิ่งที่จำเป็นต้องทำตามลำดับก่อนหลังและค่อย ๆ ทำ
    5. ขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์เมื่อเกิดอาการซึมเศร้าจนที่จะรับมือได้
    6. ดูแลเด็กๆให้ดี และโปรดเข้าใจเด็กมีความตื่นกลัวไม่แพ้กัน และอย่าตำหนิเด็กที่มีพฤติกรรมแลก ๆ หลังจากน้ำท่วม เช่น ฉี่รดที่นอน ดูดนิ้วโป้งหรืเกาะคุณอยู่ตลอดเวลา จำไว้ว่าเด็กพึ่งผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรงในชีวิต
    7. ระวังเรื่องสุขอนามัย เมื่ออยู่ในพื้นที่เคยน้ำท่วม
    ขั้นตอนที่ 2 การจัดการดูแลบ้านของคุณ

    ที่ผ่านมามีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากน้ำท่วมส่วนใหญ่เกิดจากถูกไฟดูด หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากน้ำลดสิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อกลับบ้านคือ การตรวจสอบความปลอดภัย ก่อนเข้าบูรณะและอยู่อาศัย โดยมีขั้นตอนดังนี้
    1.ปรับจูนคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ฟังรายงานสถานการณ์
    2.ติดต่อบริษัทประกันภัย เพื่อตรวจสอบความเสียหาย และซ่อมแซมทรัพย์สินต่าง ๆ
    3.เดินตรวจตารอบ ๆ บ้าน และเซ็คสายไฟฟ้า สายถังแก็สโดยถ้าหากเกิดแก็สรั่วจะสามารถรู้ได้จากกลิ่นแก็สให้ระวังและรีบ โทรแจ้งร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่าย
    4.ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้าง ตัวบ้าน ระเบียง หลังคา ให้แน่ใจว่าโครงสร้างทุกอย่างปลอดภัย
    5.ตัดระบบไฟฟ้าที่จ่ายเข้าบ้าน
    6.ปิดวาล์วแก็สให้สนิทหากได้กลิ่นแก็สรั่วก่อไม่ควรเข้าใกล้บริเวณนั้น
    7.เข้าไปในบ้านอย่างระมัดระวัง แลพอย่าใช้วัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟ
    8.ถ่ายรูปความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากประกัน (ถ้ามี)
    9.เก็บกู้สิ่งของที่มีค่า และห่อหุ้มรูปภาพหรือเอกสารสำคัญ
    10.เก็บกวาดทำความสะอาดบ้าน เปิดหน้าต่างและประตู เพื่อระบายอากาศ และตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
    11.ซ่อมแซมโครงสร้างที่เสียหาย
    12.เก็บกวาดกิ่งไม้หรือสิ่งปฏิกูลในบ้าน
    13.ตรวจ หารอยแตกหรือรั่วของท่อน้ำถ้าพบให้ปิดวาฃ์วตรงมิเตอร์น้ำ และไม่ควรดื่มและประกอบอาหารด้วยน้ำจากก๊อกน้ำ จนกว่าจะรู้ว่าสะอาดและปลอดภัย
    14 ระบายน้ำออกจากห้องใต้ดินอย่างช้า ๆ เนื่องจากแรงดันน้ำภายนอกอาจจะมากจนทำให้เกิดรอยแตกของผนังหรืพื้นห้องใต้ดิน
    15.กำจัดตะกอนที่มาจากน้ำเนื่องจากเซื้อโรคส่วนมากมักจะมาจากตะกอน


    ระมัดระวังโรคที่มากับน้ำท่วม

    โรคน้ำกัดเท้าและผื่นคัน
    เกิด ขึ้นได้ก็เพราะผิวหนังเท้าของเรา โดยเฉพาะที่ง่ามเท้าเกิดเปียกชื้นและสกปรก เวลาที่เท้าสกปรก สิ่งสกปรกจะเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ทำให้เชื้อราหรือเชื้อโรคเจริญเติบโตได้ ดี เท้าที่แช่น้ำหรือเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ผิวหนังที่เท้าอ่อนส่วนผิว ๆของหนังจะเปื่อยและหลุดออก เศษผิวหนังที่เปื่อยนี้จะทำให้เชื้อโรคที่ปลิวไปปลิวมาเกาะติดได้ง่าย และผิวที่เปื่อยก็เป็นอาหารของเชื้อราได้ดี เชื้อราจึงไปอาศัยทำให้เกิดแผลเล็กๆขึ้นตามซอกนิ้วเท้าเกิดเป็นโรคน้ำกัด เท้าขึ้น

    โรคน้ำกัดเท้า

    มักพบว่ามีอาการคันและอักเสบตามซอกนิ้วเท้า (หรือนิ้วมือ) และถ้ามีเชื้อแบคทีเรียเข้าแทรกซ้อนด้วย ก็จะทำให้อักเสบเป็นหนอง และเจ็บปวดจนเดินลำบากได้
    ไข้หวัด

    ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อของจมูก และคอ บางครั้งเรียก upper respiratory tract infection URI เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า Coryza viruses ประกอบด้วย Rhino-viruses เป็นสำคัญ เชื้อชนิดอื่นๆมี Adenoviruses, Respiratory syncytial virus เมื่อเชื้อเข้าสู่จมูก และคอจะทำให้เยื่อจมูกบวม และแดง มีการหลังของเมือกออกมาแม้ว่าจะเป็นโรคที่หายเองใน 1 สัปดาห์แต่เป็นโรคที่นำผู้ป่วยไปพบแพทย์มากที่สุดโดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นไข้ หวัด 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้ง ผู้หญิงเป็นบ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากใกล้ชิดกับเด็ก คนสูงอายุอาจจะเป็นปีละครั้ง
    โรคเครียดวิตกกังวล

    ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งใดสิ่ง หนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีมันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดีเช่น ความตื่นเต้นความท้าทายและความสนุก สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตซึ่งมี่ทั้ง ผลดีและผลเสีย
    โรคตาแดง

    โรคตาแดง เป็นโรคตาที่พบได้บ่อย เป็นการอักเสบของเยื่อบุตา(conjuntiva)ที่คลุมหนังตาบนและล่างรวมเยื่อบุตา ที่คลุมตาขาว โรคตาแดงอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง สาเหตุอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีบ ไวรัส Chlamydia trachomatis ภูมิแพ้ หรือสัมผัสสารที่เป็นพิษต่อตา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส มักจะติดต่อทางมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวโดยมากใช้เวลาหาย 2 สัปดาห์ ตาแดงจากโรคภูมิแพ้มักจะเป็นตาแดงเรื้อรัง มีการอักเสบของหนังตา ตาแห้ง การใช้contact lens หรือน้ำยาล้างตาก็เป็นสาเหตุของตาแดงเรื้อรัง
    โรคอุจาจระร่วง

    โรคอุจจาระร่วง หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลว จำนวน 3 ครั้งต่อกันหรือมากกว่า หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้ง ใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อในลำไส้จากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว ปรสิตและหนอนพยาธิ สถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชนในประเทศไทยมักจะหาสาเหตุของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดอาการ อุจจาระร่วงไม่ได้ ก็จะให้การวินิจฉัยจากอาการ อาการแสดงและลักษณะอุจจาระได้แก่ บิด (Dysentery) อาหารเป็นพิษ (Food poisoning) ไข้ทัยฟอยด์ (Typhoid fever) เป็นต้น ในกรณีที่มีอาการของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันไม่ใช่โรคดังกล่าวข้างต้น และอาการไม่เกิน 14 วัน ก็จะรายงานเป็นโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea)



    ข้อมูลจาก http://www.cendru.net


     
  10. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    แหล่งให้ความช่วยเหลือน้ำท่วม
    หน่วยงานให้ความช่วยเหลือน้ำท่วม


    หน่วยงานให้ความช่วยเหลือน้ำท่วมและหมายเลขสอบถามข้อมูลน้ำท่วมต่าง ๆ

    1. ศูนย์รับบริจาคสิ่งของโคราช
    - หากต้องการบริจาคสิ่งของ ให้ไปที่ศาลากลาง จังหวัดนครราชสีมานะคะ
    - ต้องการบริจาคเงิน ติดต่อได้ที่เบอร์โทร 044-259-996-8, 044-259-993-4 หรือโอนมาได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “เงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จ.นครราชสีมา” เลขบัญชี 301-0-86149-4

    2. ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จังหวัดนครราชสีมา
    - สามารถสอบถามและขอความช่วยเหลือได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 044-342652-4 และ 044-342570-7

    3. โรงพยาบาลมหาราช จ.นครราชสีมา
    - สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 086-251-2188 ตลอด 24 ชั่วโมง
    - ทางโรงพยาบาลมีความต้องการน้ำดื่มบรรจุขวด นมกล่อง และอาหารแห้ง รวมทั้งของใช้เบ็ดเตล็ดผู้ป่วย เช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ผ้าอนามัย เป็นจำนวนมาก
    - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา” เลขที่บัญชี 301-3-40176-1

    4. กรมอุตุนิยมวิทยา
    - เว็บไซต์ tmd.go.th
    - สายด่วนกรมอุตุนิยมวิทยา โทร. 1182
    - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา กรุงเทพมหานคร (AM 1287 KHz) โทร. 02-383-9003-4, 02-399-4394
    - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.นครราชสีมา (FM 94.25 MHz)โทร. 044-255-252
    - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.พิษณุโลก (FM 104.25 MHz) โทร. 055-284-328-9
    - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ระยอง (FM 105.25 MHz) โทร. 038-655-075, 038-655-477
    - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ภูเก็ต (FM 107.25 MHz) โทร. 076-216-549
    - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ชุมพร (FM 94.25 MHz) โทร. 077-511-421

    5. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    - เว็บไซต์ disaster.go.th
    - สายด่วนนิรภัย หมายเลขโทรศัพท์ 1784
    - ขบวนช่วยเหลือน้ำท่วมออกเรื่อย ๆ ขอรับบริจาคเน้นไปที่ น้ำ, ยาแก้ไข้, เสื้อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-241-7450-6 แผนที่คลิกที่นี่

    6. กรุงเทพมหานคร

    - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อาคารศาลาว่าการกทม.1 (เสาชิงช้า), ศาลาว่าการกทม.2(ดินแดง) และที่สำนักงานเขตทุกแห่งทั่วกรุงเทพฯ 50 แห่ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-6858


    7. สภากาชาดไทย

    - สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603
    - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “สภากาชาดไทยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” เลขที่บัญชี 045-3-04190-6 แล้วแฟ็กซ์ใบนำฝากพร้อมเขียนชื่อและที่อยู่มาที่ สำนักงานการคลัง สภากาชาดไทย ถึงหัวหน้าฝ่ายการเงิน หมายเลขโทรสาร 02-250-0120 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-256-4066-8
    - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หากมาจากถนนพระราม 4 ให้เลี้ยวตรงแยกอังรีดูนังต์ เมื่อเข้าสู่ถนนอังรีดูนังต์ให้ชิดซ้ายทันที เนื่องจากอยู่ต้นๆถนน (ทางด้านพระราม 4) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-251-7853-6 ต่อ 1603 หรือ 1102 หากเป็นวันหยุดราชการ ต่อ 1302 , 02-251-7614-5 หมายเลขโทรสาร 02-252-7976
    - สามารถลงทะเบียนร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้ที่ พลังจิต เว็บ พระพุทธศาสนา ธรรมะ พระไตรปิฎก ลึกลับ อภิญญา วิทยาศาสตร์ทางจิต Buddhism Buddhist หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603 มาช่วยแพ็คชุดธารน้ำใจ หรือช่วยขนพวกข้าวสารอาหารแห้งขึ้นรถบรรทุก แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า ต้องการผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และสามารถยกของหนักได้ (เพราะงานค่อนข้างหนัก และต้องยกของหนัก) เป็นผู้ชายก็จะดีมาก หากเราต้องการกำลังพล จะโทรศัพท์ไปติดต่อว่าจะสะดวกมาในวันที่เราแพ็คของหรือไม่ เป็นราย ๆ ไป
     
  11. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    สำหรับท่านที่ได้เข้ามาอ่านจะเห็นว่าสำคัญไม่หรือไม่สำคัญก็ดีช่วยกันประชาสัมพันธ์กระจายข่าวด้วยนะครับ อาจจะเป็นประโยชน์และช่วยเหลื่อผู้อื่นไม่มากก็น้อย ในสถานการณ์ฉุกเฉินแบบนี้อะไรก็เกิดขึ้นได้ ไว้ใจและประมาทไม่ได้เลย เตรียมการไว้ก่อนดีกว่า ก็ไม่เสียหาย
     
  12. toplus99

    toplus99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,620
    ค่าพลัง:
    +13,004
    ขอบคุณ ในน้ำใจของเจ้าของโพสนี้มากๆๆๆ ครับ เราจะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ตามความสามารถของความเป็นมนุษย์จนสุดความสามารถ...
     
  13. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    โมทนาครับ การทำบุญการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันก็ได้บุญมากด้วยเช่นกันเพราะทำเพื่อส่วนร่วมคนหมู่มากได้ประโยชน์ ในยามที่ประสบทุกข์ ไม่ควรไปซ้ำเติม แบ่งพรรค แบ่งพวกแบ่งฝ่าย แบ่งสาย มีอะไรที่พอช่วยได้ ก็ช่วยกันตามกำลังความสามารถของตน ในยามสถานการณ์แบบนี้สิ่งที่พอจะเห็นได้คือความรักใคร่ สามัคคี การมีน้ำใจซึ่งกันและกัน ซึ่งก็เป็นบทพิสุจน์ภาวะของตัวเอง และภาวะของผู้นำด้วยในแต่ละฝ่ายด้วย

    คิดว่าการเตรียมตัวนี้น่าจะมีไปถึงประมาณ กลางๆเืดือนพฤศจิกายน ก็อาจจะเรื่มคลี่คลายไปในทางที่ดี ในเรื่องน้ำเฉพาะภาคกลาง ถ้าไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นตามมา แต่ทุกอย่างก็ไม่แน่นอนเสมอไปอะไรก็เกิดขึ้นได้ สิ่งของที่เตรียมกักตุนถ้าใช้ไม่หมดก็ไม่ได้เสียหายอะไร เราได้นำไปใช้ประโยชน์ได้อีกแน่นอน เช่นนำไปบริจาคช่วยเหลือในส่วนอื่นๆต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2011
  14. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    อนุโมทนาบุญที่ท่านได้แจ้งข้อมูลข่าวสารให้เพื่อนๆสมาชิกรับทราบ...ขอบคุณมากครับ(สวัสดีครับ)
     
  15. ปธ6

    ปธ6 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    349
    ค่าพลัง:
    +292
    ทุกอย่างคือคำแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ ผู้ใดคิดได้ คนนั้นจะไม่ลำบาก
     
  16. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    <table id="post5225076" class="tborder" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr valign="top"><td class="alt2" style="border: 1px solid #FFFFFF; border-top: 0px; border-bottom: 0px" width="175">




    </td> <td class="alt1" id="td_post_5225076" style="border-right: 1px solid #FFFFFF"> เปิดพื้นที่อพยพ4เขตตะวันออกกทม.


    โดยพระมหาวิชาญ สุวิชาโนเมื่อ 10 ตุลาคม 2011 เวลา 22:15 น.

    เขตมีนบุรี
    ชุมชน สถานที่รองรับ
    1. พัฒนาบึงขวาง โรงเรียนบึงขวาง(มหาดไทยอุปถัมภ์)
    2. อันนูรอยน์(บึงขวาง) โรงเรียนบึงขวาง(มหาดไทยอุปถัมภ์)
    3. นูรุ้ลอิสลาม (คลองสี่วังเล็ก) โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์ (คลองสี่)
    4. อับดุลเลาะ โรงเรียนคลองสาม
    5. คลองตะโหนด โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์ (คลองสี่)
    6. อนันตสามัคคี โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์ (คลองสี่)
    7. ออมทรัพย์ โรงเรียนคลองสาม
    8. อัลฮูดา โรงเรียนคลองสาม
    9. บึงพระยา โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
    10. สามัคคีพัฒนา โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
    11. อิคซ์ฮาร์ดพัฒนา โรงเรียนศาลาคู้
    12. แสงวิมาน โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
    13. โช๊ะมันพัฒนา โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
    14. ราษฎร์พัฒนา โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
    15. เกาะใหญ่พัฒนา โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
    16. ฮิตซ์ฮาร์ต โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
    17. สุเหร่าบ้านเกาะ โรงเรียนบ้านเกาะ
    18. ทองสงวน โรงเรียนบ้านเกาะ, วัดใหม่ลำนกแควก
    19. อนุรักษ์คลองแสนแสบ โรงเรียนศาลาคู้
    20. ภราดรพัฒนา โรงเรียนศาลาคู้
    21. สุกกาทองโครงการ 2 โรงเรียนศาลาคู้
    22. อับดุลรอมาน โรงเรียนบ้านเกาะ
    23. คู้ล่างสร้างสรรค์ โรงเรียนศาลาคู้
    24. ม.6 พัฒนา โรงเรียนศาลาคู้
    25. มิตรปรีดา โรงเรียนศาลาคู้
    26. บ้านคูคตพัฒนา โรงเรียนบางชัน
    27. วังทองพัฒนา โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
    28. นูรุ้ลพัฒนา โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
    29 มัสยิดอัตตั๊กวาพัฒนา โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
    30. สามัคคีคลองสองต้นนุ่น โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
    31. ชุมชนลำบึงไผ่ โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
    ผู้ประสานงานเขต นางเฉลิมศรี เฉียงอุทิศ 087-980-3681
    *********************
    เขตลาดกระบัง
    ชุมชน สถานที่รองรับ
    1. ลำพุทรา(เวฬุวันพัฒนา) โรงเรียนวัดบึงบัว
    2. หมู่บ้านพัฒนา หมู่ 11 (คลองเจ็ก) โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
    3. หมู่บ้านพัฒนา หมู่ 12 (ลำพะอง) โรงเรียนลำพะอง
    4. หมู่บ้านพัฒนา หมู่ 13 (ลำคูเวียง) โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
    5. หมู่บ้านพัฒนาทิพพาวาส โรงเรียนวัดทิพพาวาส
    6. บึงบัว โรงเรียนวัดบึงบัว
    7. หมู่บ้านทิวไผ่พัฒนา โรงเรียนลำพะอง
    8. มิตรสัมพันธ์ หมู่9 (ลำปลาทิว) โรงเรียนลำพะอง
    9. หมู่บ้านเคหะนคร 2 โรงเรียนวัดลาดกระบัง
    10. ร่วมใจพัฒนา โรงเรียนวัดลาดกระบัง
    11. ประชาร่วมใจ โรงเรียนวัดลาดกระบัง
    12. หลวงพรต-ท่านเลี่ยม โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
    13. บำรุงรื่น โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
    14. ศิลาภิรัตน์อุปถัมภ์ โรงเรียนวัดลาดกระบัง
    15. วัดราชโกษา โรงเรียนวัดราชโกษา
    16. ดารุ้ลมุกีมอุปถัมภ์ โรงเรียนประสานสามัคคี
    17. มาเรียลัย โรงเรียนวัดพลมานีย์
    18. วัดพลมานีย์ โรงเรียนวัดพลมานีย์
    19. วัดสุทธาโภชน์สุนทรอุปถัมภ์ โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
    20. สุทธาวาส โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
    21. เลียบคลองมอญ โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
    22. นำไกร หมู่ 9 ทับยาว โรงเรียนแสงหิรัญ
    23. สองฝั่งคลอง โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
    24. ริมคลองลำปลาทิว โรงเรียนลำพะอง
    25. บ้านทับยาว โรงเรียนประสานสามัคคี
    26. หมู่ 4 คลองสามประเวศ โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
    27. ประชาอุทิศ โรงเรียนตำบลขุมทอง
    28. ซิรอตุ้ลญันนะห์ โรงเรียนประสานสามัคคี
    29. คลองตาสอน โรงเรียนตำบลขุมทอง
    30. น่าฟีอะฮ์ (ลำนายโส) โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส
    31. ลาดบัวขาวพัฒนา โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส
    32. ริมคลองลาดบัวขาว โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส
    ผู้ประสานงานเขต นายโฆษิต ธรรมโฆษิต 086-9801-6439
    *********************
    เขตหนองจอก
    ชุมชน สถานที่รองรับ
    แขวงคลองสิบสอง
    1. หมู่ 6 ก้าวหน้า โรงเรียนวัดแสนเกษม
    2. บิดาย่าตุ้ลอิดายะห์ โรงเรียนวัดใหม่เจริษราษฎร์
    3. วัดแสนเกษม โรงเรียนวัดแสนเกษม
    4. วัดใหม่เจริษราษฎร์ โรงเรียนวัดใหม่เจริษราษฎร์
    5. วัดพระยาปลา โรงเรียนวัดพระยาปลา
    แขวงกระทุ่มราย
    6. ชุมชนอยู่ศาสนา โรงเรียนวัดหนองจอก(ภักดีนรเศรษฐ)
    7. ชุมชนบ้านกระทุ่มราย (ยังไม่มีรายละเอียด)
    8. ชุมชนอัลฮาดีย์ โรงเรียนสามแยกท่าไข่
    9. ชุมชนบ้านเลียบวารี โรงเรียนสามแยกท่าไข่
    10. ชุมชนรุ่งเรือง (ยังไม่มีรายละเอียด)
    11. ชุมชนเกาะกลางพัฒนา โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
    12. ชุมชนนูรุ้ลยากีน โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
    13. ชุมชนป.เจริญมิตร โรงเรียนหลวงแพ่ง
    14. ชุมชนลำสลิดทองพัฒนา โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
    15. ชุมชนหมู่ 5 กระทุ่มราย โรงเรียนสุเหร่าใหม่
    16. ชุมชนอินดารุ้ลมีนา โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
    17. ชุมชนเจริญดำริ โรงเรียนวัดหนองจอก(ภักดีนรเศรษฐ)
    18. ชุมชนดารุ้ลฆอนี โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
    แขวงคู้ฝั่งเหนือ
    19. ชุมชนบาหยัน 2 โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
    20. ชุมชนคู้บนพัฒนา โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
    21. ชุมชนหมู่2 ฝั่งเหนือ โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
    22. ชุมชนยายชุ่มอุทิศ โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
    23. ชุมชนพัฒนาศาลาร่วมใจ โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
    24. ชุมชนวัดสามง่าม โรงเรียนวัดสามง่าม
    25. ชุมชนดารุ้ลนาอีม โรงเรียนวัดสามง่าม
    แขวงคลองสิบ
    26. ชุมชนสะฟีรุสลาม โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
    27. ชุมชนหมู่บ้านพัฒนาหมู่12-13 โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
    28. ชุมชนอัลฮิดายะห์ โรงเรียนลำบุหรี่พวง
    29. ชุมชนดารุ้ลฮาชานัย โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
    30. บ้านคลองเก้า โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
    31.อัลฟาลาห์ โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
    32. อุมาร์ 2 โรงเรียนวัดสีชมพู
    33. หมู่ 4 พัฒนา โรงเรียนวัดสีชมพู
    แขวงโคกแฝด
    34. ชุมชนซอลีฮุ้ลมุสลีมีน โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
    35. ชุมชนรุ้ลเอี๊ยะซาน โรงเรียนอิสลามลำไพร
    36. ชุมชนดารุ้ลคอยรอต โรงเรียนบ้านเจียรดับ
    37. ชุมชนนุรุสสลาม โรงเรียนบ้านเจียรดับ
    38. ชุมชนภักดีธรรม โรงเรียนบ้านเจียรดับ
    39. ชุมชนส่งเสริมศีลธรรม โรงเรียนบ้านเจียรดับ
    40. ชุมชนคอยรุตตั๊กวา30 โรงเรียนอิสลามลำไพร
    41. ชุมชนพัฒนาบ้านแบบใหญ่ โรงเรียนอิสลามลำไพร
    42. ชุมชนคอยรุดดีน โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
    43. ชุมชนดารุสสลาม โรงเรียนบ้านเจียรดับ
    44. ชุมชนพัฒนาลำต้นไทร โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
    45. ชุมชนสุกกาทอง โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
    46. ชุมชนยะมีอุ้ลมุตตะกีน โรงเรียนสุเหร่านาดับ
    47. ชุมชนนาตับสร้างสรรค์ โรงเรียนสุเหร่านาดับ
    48. ชุมชนอัลยามีอะห์ โรงเรียนสุเหร่านาดับ
    49. ชุมชนหมู่บ้านพิบูลย์ทรัพย์ 1 โรงเรียนบ้านเจียรดับ
    50. ชุมชนพิบูลย์ทรัพย์ 17 โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
    แขวงลำต้อยติ่ง
    51. ชุมชนลำตามีพัฒนา โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
    52. ชุมชนนูรุ้ลลอฮ์ โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
    53. ชุมชนม 5 ลำต้อยติ่ง โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
    54. ชุมชนวัดลำต้อยติ่ง โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
    55. ชุมชนวัดใหม่กระทุ่มล้ม โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
    56. ชุมชนดารุ้ลอะมาน โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
    57. ชุมชนวัดราษฎร์บำรุง โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
    แขวงหนองจอก
    58. ชุมชนหมู่ 4 ร่วมพัฒนา โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
    59. ชุมชนบ้านเกาะพัฒนา โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
    60. ชุมชนนูรุดดี โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
    61. ชุมชนอัรเราะห์มาน โรงเรียบนลำบุหรี่พวง
    62. ชุมชนฮาซานุดดีน โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
    63. ชุมชนเลียบคลอง 13 โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
    64. ชุมชนธันยพฤกษ์ โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
    65. ชุมชนผดุงพันธ์พัฒนา โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
    66. ชุมชนหมู่ 9 อัลฮุลา โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
    67. ชุมชนมิตรไมตรีสัมพันธ์ โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
    68. ชุมชนดารุสซุนนี โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
    แขวงลำผักชี
    69. ชุมชนศิริวังพัฒนา โรงเรียนสิริวังวิทยาคาร
    70. ชุมชนแผ่นดินทองดารุ้ลนาซีฮะห์ โรงเรียนสิริวังวิทยาคาร
    71. ชุมชนแผ่นดินทองลำมดตะนอยสร้างสรรค์ โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
    72. ชุมชนแผห่นดินทองวัดลำผักชี โรงเรียนสังฆประชานุสรณ์
    73. ชุมชนแผ่นดินทองวัดลำพะอง โรงเรียนสังฆประชานุสรณ์
    ผู้ประสานงานเขต นายดำรงค์ รื่นสุข 081-648-5557
    *********************
    เขตคลองสามวา
    ชุมชน สถานที่รองรับ
    แขวงบางชัน
    1. หมู่บ้านพร้อมสุข โรงเรียนวัดบัวแก้ว, สุเหร่าคลองหนึ่ง
    2. บ้านลำกะโหลก โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์, สุเหร่าคลอง1
    3. เจริญพัฒนา (คูคต) โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง
    4. รุ่งเรือง โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง
    แขวงสามวาตะวันออก
    5. สุขสันต์พัฒนา โรงเรียนสุเหร่าสามวา
    6. พร้อมใจพัฒนา โรงเรียนสุเหร่าสามวา
    7. ประสานมิตรพัฒนา โรงเรียนวัดสุขใจ
    8. สัดสุขใจ โรงเรียนวัดสุขใจ
    9. พร้อมพัฒนา โรงเรียนวัดศรีสุก
    10. ดารุสสลามสร้างสรรค์ โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
    11. คลองลำกะดาน โรงเรียนวัดลำกระดาน
    12. เฟื่องฟ้าวัฒนา โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
    13. นิมิตใหม่พัฒนา โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
    14. สามัคคีพัฒนา โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
    15. หมู่ 14 พัฒนา โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
    16. หมู่ 15 พัฒนา โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
    17. คลองลำมะเขือขื่น โรงเรียนวัดสุขใจ
    18.น้ำใสดอกไม้สวย โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
    19. รวมน้ำใจพัฒนา โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
    20. ประชาสร้างสรรค์ โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
    21. ทุ่งรวงทองพัฒนาแบนชะโด โรงเรียนบ้านแบนชะโด
    22. หมู่ 3 แขวงสามวาตะวันออก โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
    23. อาสาพัฒนา โรงเรียนวัดสุขใจ
    24. เคหะคลองเก้า โรงเรียนวัดศรีสุก
    แขวงสามวาตะวันตก
    25. ราษฎร์นิมิตสัมพันธ์ โรงเรียนสุเหร่าสามวา
    26. มีนทองพัฒนา โรงเรียนสุเหร่าสามวา
    27. เมืองประชา-รามอินทรา โรงเรียนวัดแป้นทอง
    28. สายสัมพัธ์พัฒนา โรงเรียนสุเหร่าสามวา
    29. พระยาสุเรนทร์ โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์
    30. เบญจมพัฒนา โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์
    31. ร่มรื่น โรงเรียนบ้านหนองระแหง
    32. สุขสำราญพัฒนา โรงเรียนสุเหร่าสามวา
    33. แป้นทองสัมพันธ์ โรงเรียนวัดแป้นทอง
    34. มโนรมย์ 5 โรงเรียนวัดแป้นทอง
    35. หมู่บ้านเค.ซี 4 ร่วมใจ โรงเรียนวัดแป้นทอง
    แขวงทรายกองดิน
    36. บัวแก้วพัฒนา โรงเรียนวัดบัวแก้ว
    37. ริมคลอง 1 โรงเรียนวัดบัวแก้ว, วัดสุขใจ
    38. วังตาหนวดพัฒนา โรงเรียนสุเหร่าแสบแสบ
    39. บึงไผ่ โรงเรียนวัดบัวแก้ว
    40. ร่วมแรงร่วมใจพัฒนา โรงเรียนวัดบัวแก้ว, วัดสุขใจ, วัดสุทธิสะอาด
    แขวงทรายกองดินใต้
    41. ห้าพี่น้องพัฒนา โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
    42. วาสิฎฐี โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
    43. ร่วมใจรักพัฒนา โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
    44. สามัคคีทำ โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
    45. กมาลุลอิสลาม โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
    46. นูรุดดีน โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
    47. อาบูพัฒนา โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
    48. หมุ่ 8 ร่วมใจพัฒนา โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
    49. ร่วมพลังพัฒนา โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
    50. มัสยิดอายาตุ้ลอิสลามิยะห์ โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
    51. หมู่บ้านอินเตอร์ โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
    52. เกาะขุนเณร โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
    53. เจริญสุขพัฒนา โรงเรียนวัดสุขใจ
    54. ตาหวานพัฒนา โรงเรียนวัดบัวแก้ว
    55. ศรีบูรพาบ้านแบนชะโด โรงเรียนบ้านแบนชะโด
    ผู้ประสานงานเขต นายชลอ เฉียงอุทิศ 087-017-0111

    คัดลอกจาก:http://palungjit.org/threads/ประเทศไทยจะเกิดอุบัติภัยอย่างที่ทำนายกันจริงๆหรือไม่.3906/page-1300
    </td></tr></tbody></table>
     
  17. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    สำหรับแนวทาง บริษัท หรือองค์กรเรื่องเหล่านี้ท่านได้เตรียมไว้้บ้างหรือยัง?

    1.พนักงานที่ไม่สามารถมาทำงานได้ ประสบน้ำท่วมมีมาตรการช่วยเหลือ อย่างไร

    2.พนักงานที่ประสบภัยน้ำท่วมมีมาตรการช่วยเหลืออย่างไร

    3.ถ้าบริษัทปิดกิจการชั่วคราว มีมาตรการรองรับอย่างไร

    4.ระบบเงินเดือนพนักงานมีการจัดการอย่างไร

    5.ถ้าที่ทำงานหรือที่ ออฟฟิศไม่สามารถปฏิบัติงาน ระบบเงินเดือน การทำงานด้านการจ่ายเงินเดือนจะทำอย่างไร

    5.คอมพิวเตอร์ที่อยู่ชั้นหนึ่งควรมีแผนอย่างไร หรือย้ายไว้ชั้นสูง

    6.ระบบคอมพิวเตอร์เซอร์เวอร์ที่บริษัทมีมาตรการสำรองอย่างไร มีที่ สำรองไว้ที่อื่นใหม
    แล้วจะให้พนักงานที่เกี่ยวข้องมาปฏิบัติงานอย่างไร

    7.ระบบข้อมูลต่างๆ ไม่ว่า file servers ส่วนกลาง หรือระบบฐานข้อมูล ฐานเงินเดือน
    ของบริษัท ที่เป็น sme หรือองค์กร ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ถ้าโดนไฟตัดการทำงาน หรือเจอภาวะน้ำท่วมควรทำอย่างไร
    ควรวางแนวทางไว้อย่างไร

    อื่น..

    ในยามที่ประสบทุกข์ ไม่ควรไปซ้ำเติมทุกข์ให้กัน ควรให้กำลังใจ ไม่แบ่งพรรค แบ่งพวกแบ่งฝ่าย แบ่งสาย แบ่งชนชนชั้น ลูกพี่ก็ต้องช่วยลูกน้อง ลูกน้องก็ช่วยลูกพี่ นายจ้างก็ต้องเห็นใจลูกจ้าง ลูกจ้างก็ต้องเห็นใจนายจ้าง ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เติบโตกันมาได้ถึงขนาดก็ไ่ม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่ง ถึงจะอยู่รอดไปด้วยกันได้ มีอะไรที่พอช่วยได้ ก็ช่วยกันตามกำลังความสามารถของตน ในยามสถานการณ์แบบนี้สิ่งที่พอจะเห็นได้คือความรักใคร่ สามัคคี การมีน้ำใจซึ่งกันและกัน ซึ่งก็เป็นบทพิสุจน์ภาวะของตัวเอง และภาวะของผู้นำด้วยในแต่ละฝ่ายด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2011
  18. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    ขอบคุณที่แชร์ข้อมูลให้กันและกัน...ส่วนตัวผมได้ไปประสานงานที่ดอนเมืองกับผู้ใหญ่ได้พูดคุยกันจะต้องรักษากรุงเทพไว้ให้ได้...เพื่อนๆอาจจะหาว่าเอาเปรียบคนที่ถูกน้ำท่วม...แต่มีเหตุผลที่สำคัญคือกรุงเทพเป็นที่ๆทำธุระกรรมหลายอย่างทั้งระบบราชการ,ธนาคาร,และอีกหลายประการ...ถ้าปล่อยให้กรุงเทพท่วมการช่วยเหลือจากจุดศูนย์กลางคือกรุงเทพ....คนที่มีกำลังด้านการกำลังทรัพย์และกำลังความคิดก็จะมากระจุก...หาทางแก้ที่ในเมืองคือ...กรุงเทพ...จึงต้องให้กรุงเทพเป็นฐานในการกระจายความช่วยเหลือทุกๆด้าน...แต่ไม่ใช่ไม่ปล่อยน้ำมาแต่ต้องปล่อยระบายมาทางแม่น้ำแล้วสูบออก...แต่ก็ต้องยอมรับว่ากรุงเทพอาจต้องยอมเสียสละบ้างพื้นที่เพื่อระบายน้ำลงสูงทะเล...ครั้งนี้เป็นโจทย์ที่ดีสำหรับคนที่ไม่เชื่อเรื่องภัย(ธรรมชาติ)น้ำ...ผู้ใหญ่คงต้องหาทางแก้ว่ากรุงเทพยังจะเหมาะที่จะใช้เป็นศูนย์กลางทางธุระกรรมทางเศรษฐกิจอีกต่อไปไหม...แต่ก็ต้องยอมรับว่าคนไทยทุกๆคนไม่เคยทิ้งกันแม้ถึงจะต่างความคิดกัน...แต่เราไม่เคยแล้งน้ำใจกับมีความรักและความห่วงใยให้กันและกันเพราะเราเป็นพี่น้องสายเลือดเดียวกันคือ...ความเป็นคนไทย...และต้องขอบคุณหลายท่านที่ไปช่วยผู้อื่นที่เดือดร้อนโดยไม่รู้จักเน็ตเหนื่อย...ผมขอกราบด้วยความเคารพในน้ำใจ...สวัสดีครับ
     
  19. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,634
    ควรจะต้องมีแผนป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติ และมีคณะกรรมการป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ มีทีมผู้ที่เชี่ยวชาญ และมีหน่วยงานที่เชี่ยวชาญแต่ละด้าน และต้องมีความพร้อมทั้งเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการกู้ภัยทุกรูปแบบและยานพาหนะ เรือ มีหลักสูตรและโครงการการฝึกอาสาสมัครให้ชุมชน นิสิตนักศึกษา ประชาชนทั่วไป /ข้าราชการทุกหน่วยงานอย่างเป็นรูปธรรม และคณะกรรมการฯ มี พรบ.ที่ออกกฏ/มีอำนาจในการเข้าไปควบคุมแหล่งผลิตและจำหน่ายเรือ เสื้อชูชีพ แพ เต็นท์ หน้ากากป้องกันแก็สพิษ อาหารน้ำดื่ม เสื้อผ้า หรืออุปกณ์ที่จำเป็น ในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นในปัจจุบัน รัฐควรใช้พรบ.ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเข้าควบคุมแหล่งผลิตและจำหน่ายทันที
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ตุลาคม 2011
  20. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    สาธุ โมทนาครับ คนทั่วไปในส่วนภาคต่างๆ ที่เขาประสบภาวะน้ำท่วมก็มีความเข้าใจในว่าท่านมีความทุกข์เป็นอย่างมาก และทำให้เกิดความคิด เกิดมุมมอง ทัศนะคติไปต่างๆนา ซึ่งก็ึคงห้ามไ่ม่ได้ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ และการเกิดภาวะน้ำท่วมนี้ก็คงไม่มีใครต้องการให้มันเกิด และไม่คาดคิด เพราะถ้าเกิดแล้ว ความสูญเสียมันมากมายมหาศาล แต่เมื่อมันเกิดแล้วก็แก้ไขเฉพาะสถานการณ์เฉพาะหน้า เฉพาะกาล และควรวางแผนไว้ในภายภาคหน้าว่าต้องวางแผนรับมืออย่างไร และจะทำอย่างให้ เพื่อจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ให้ประสบการณ์ที่ได้พบเป็นบทเรียน เป็นครูสอน และมีการแก้ปัญหาได้รวดเร็วเพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด แต่ที่สำคัญที่ควรตระหนักและพิจารณา กทม.นั้นเป็นหลวงของประเทศ ศูยน์กลางของประเทศ ศูนย์กระจายความช่วยเหลือที่สำคัญ เปรียบเสมือนศูนย์กลางบัญชาการต่างๆ ถ้าทุกภาคท่วมหมดแล้วกทมน้ำท่วมหมดเช่นกัน แล้วคำตอบที่มีคืออย่างไร..

    ทุกส่วนทุกภาคมีความสำคัญ แต่ความสำคัญที่สุดและเร่งด่วนที่สุด ไม่อย่างนั้นจะเดือดร้อนเสียหายอย่างหนักหนาเอาการ กทม เขตบางส่วนก็ต้องเสียหายบ้าง โดยลดหลั่น การไปเพื่อเป็นการระบายน้ำให้เป็นระบบออกสู่ทะเล ซึ่งเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องคงมีคำตอบไว้อยู่แล้ว

    และที่สำคัญและตระหนักที่สุดของคนไทยเราคือ โครงการแก้มลิงและโครงการต่างๆที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านได้ทรงมีมหาพระกรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้พระราชดำริไว้มาตลอด ผู้นำรัฐบาลผู้มีอำนาจและ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรตระหนักและให้ความสำคัญและนำมาปฏิบัติเป็นวาระแห่งชาติอย่างจริงจัง ไม่อย่างนั้นจะเป็นปัญหาซ้ำซาก แก้ไขไม่จบสิ้น สิ้นเปลืองอะไรต่อมิอะไรหลายอย่าง เพราะบทเรียนก็สอนให้เห็นหลายครั้งแล้ว และควรจะมองถึงอนาคตภายภาคหน้าแล้วว่า ในเมื่องกทมซึ่งเป็นเมืองหลวงสำคัญ อยู่ในที่ลุ่มเปรียบเสมือนแอ่งรองรับน้ำจากส่วนต่างๆ เสี่ยงต่อน้ำท่วมภัยธรรมชาติ และน้ำทะเลอย่างนี้ ควรจะทำอย่างไรคงจะเป็นสิ่งที่น่าคิดเป็นอย่างมากและเตรียมไว้ก่อน

    แต่สิ่งที่คนไทยทุกคนควรมีสติและควรพิจารณาคือ เหตุการณ์น้ำท่วมทุกครั้งถ้าไม่มีพระบารมีของในหลวงพระองค์ท่านได้ทรงเมตตา ช่วยแก้ปัญหาวิกฤตต่างๆไว้ล่วงหน้าแล้ว ก็ยังนึกไม่ออกว่าประเทศไทยเราจะเสียหายหนักแค่ใหน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ตุลาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...