นิพพานธาตุ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 30 มิถุนายน 2012.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๙๒/๔๑๘
    ๗. ธาตุสูตร
    [๒๒๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
    พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
    เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน
    คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพาน ธาตุ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ
    อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
    มีสังโยชน์ในภพนี้ สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ ทั้งที่พึงใจ
    และไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕เหล่าใด เป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
    อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไป
    แห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
    ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว
    มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
    เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลาย มีตัณหาเป็นต้น
    ให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้แล ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
    ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้
    พระตถาคต ผู้มีจักษุผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว อันนิพพานธาตุอย่างหนึ่ง
    มีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง)
    เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้าชื่อว่าอนุปาทิเสส
    ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุง แต่งแล้วนี้มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ
    ชนเหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลส เพราะบรรลุธรรมอันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ละภพได้ทั้งหมด ฯ
    เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๗
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มิถุนายน 2012
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [​IMG]

    คำว่า “ธาตุ” นี้มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “ธรรม” รากของศัพท์ก็มาจากที่เดียวกันด้วย คำว่าธรรมะนี้มาจากคำว่า ธร แปลว่า ทรง คือทรงตัวมันอยู่ได้เหมือนที่ได้อธิบายมาแล้ว คำว่า “ธาตุ” นี้ก็เหมือนกัน นักศัพทศาสตร์เขายอมรับว่ามันมาจากคำว่า ธร ด้วยเหมือนกัน คือแปลว่า ทรง เพราะฉะนั้นคำว่าธาตุนี้ มันก็แปลว่าสิ่งที่ทรงตัวมันเองอยู่เหมือนกัน เช่นเดียวกับคำว่าธรรมะ ที่เปลี่ยนแปลงก็มีการทรงตัวอยู่ได้ด้วยการเปลี่ยนแปลง ที่ไม่เปลี่ยนแปลงก็ทรงตัวอยู่ได้ด้วยการไม่เปลี่ยนแปลง ฉะนั้นเราต้องมาเรียนถึงสิ่งที่ไม่อาจเป็นตัวตนได้เลย คือสิ่งที่เรียกว่าธาตุนี้บ้าง
    ท่านทั้งหลายรู้จักธาตุชนิดไหนกันบ้าง ที่จะเอามาเป็นตัวความว่างได้? คนที่เรียนฟิสิกส์หรือเคมี ก็รู้เรื่องธาตุแต่ฝ่ายวัตถุล้วนๆ เป็นธาตุแท้กี่สิบอย่างหรือถึงน้อยอย่าง และยิ่งพบเรื่อยๆ ธาตุอย่างนี้เป็นความว่างไม่ได้ หรือว่าถ้าว่างก็เป็นความหมายอันลึกของสิ่งเหล่านี้ เพราะว่านี้เป็นแต่เพียงรูปธาตุ
    ทีนี้ยังมีธาตุฝ่ายจิตใจ ฝ่ายวิญญาณ ฝ่ายนามธรรมอีกธาตุหนึ่ง ซึ่งเราไม่อาจจะพิสูจน์ได้ด้วยวิชาฟิสิกส์หรือเคมีอย่างนั้น มันก็ต้องเรียนวิทยาศาสตร์อย่างพระพุทธเจ้า จึงจะรู้เรื่องธาตุ นามธาตุ หรืออรูปธาตุ คือธาตุที่ไม่มีรูป และเป็นแต่เพียงนามหรือเรื่องทางจิต ทางเจตสิก ทางจิตใจ ที่ว่ามาถึงแค่นี้เรารู้มา ๒ ธาตุแล้ว
    สิ่งที่เรียกว่าความว่างนี้จะอยู่ในธาตุไหน?
    ถ้าใครคิดว่าความว่างเป็นรูปหรือวัตถุธาตุ เพื่อนก็หัวเราะตาย บางคนอาจจะคิดว่า ความว่างนี้เป็นนามธาตุหรืออรูปธาตุ อย่างนี้พระอริยะเจ้าก็หัวเราะตาย หัวเราะคนๆนั้น เพราะว่าความว่างนี้มันไม่ใช่ ทั้งรูปธาตุ และ อรูปธาตุ มันยังมีธาตุของมันอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่อยู่ในความหมายของคนธรรมดาจะพูดกัน ท่านก็เลยเรียกมันว่า นิโรธธาตุ
    วัตถุธาตุ หรือ รูปธาตุ นั้นก็หมายถึงของที่เป็นวัตถุนี้อย่างหนึ่งแล้ว จะเป็น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อะไรก็ตาม และ อรูปธาตุ นั้นหมายถึง จิตใจ จิตเจตสิก หรือความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นในทางจิต ทางเจตสิก นี้เรียกว่าอรูปธาตุ แล้วมันจะมีธาตุชนิดไหนอีกที่มันจะไม่ซ้ำกับสองธาตุนี้ มันก็มีได้ทางเดียว แต่ว่าเป็นธาตุที่มันตรงกันข้ามจากสองอย่างนี้ และเป็นที่ดับสิ้น หายไปหมดของสองธาตุนี้ด้วย ท่านจึงเรียกมันว่า นิโรธธาตุ บางทีก็เรียกว่า นิพพานธาตุ บางทีก็เรียกว่า อมตธาตุ
    ที่เรียกว่า นิโรธธาตุ หรือ นิพพานธาตุ นั้น ล้วนแต่แปลว่าดับ ธาตุแห่งความดับของธาตุอื่นๆ ทั้งหมด หรือว่าธาตุเป็นที่ดับของธาตุทั้งหมด และที่เรียกว่า อมตธาตุ แปลว่าธาตุที่ไม่ตายนั้น หมายความว่า ธาตุอื่นๆ นอกจากนี้มันตายหมด มันตายได้ มันตายเป็น ส่วนนิโรธธาตุนี้ ไม่เกี่ยวกับการเกิดหรือการตาย แต่ว่ากลับเป็นที่ดับสิ้นของธาตุอื่นๆ แล้วสุญญตาก็คือสิ่งซึ่งอยู่ในธาตุพวกนี้ หรือเป็นธาตุพวกนี้ จะเรียกว่าสุญญตธาตุก็ได้ เป็นธาตุอันเป็นที่ทำความว่างให้แก่ธาตุอื่นๆ
    เพื่อความเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า “ธาตุ” ชนิดที่ทำให้เข้าใจธรรมะได้แล้ว ต้องเรียนธาตุอย่างที่กล่าวมานี้ อย่าไปมัวหลงเข้าใจว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม รู้เท่านั้นแล้วก็พอแล้ว มันเป็นเรื่องของเด็กอมมือ ก่อนพุทธกาลเขาก็พูด เขาก็สอนกันอยู่ มันต้องรู้ต้องไปถึงวิญญาณธาตุ คือธาตุทางนามธรรม หรือวิญญาณ แล้วก็อากาศธาตุ แล้วก็สุญญตธาตุ กล่าวคือธาตุแห่งความว่างเข้าไปอีกทีหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ดับหมดของ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ แปลว่าเรามีธาตุที่ประหลาดที่สุดในพุทธศาสนานี้ เรียกว่าธาตุแห่งความว่างหรือสุญญตธาตุ หรือ นิโรธธาตุ หรือ นิพพานธาตุ หรือ อมตธาตุ ส่วน ดิน น้ำ ลม ไฟ นั้นมันอยู่ในพวกรูปธาตุ ส่วนจิตใจ วิญญาณ เจตสิก อะไรต่างๆ นั้น มันอยู่ในพวกอรูปธาตุ ส่วนนิพพานหรือสุญญตธาตุนี้ มันอยู่ในพวกนิโรธธาตุ ท่านต้องไปหาเวลาสงบๆ นั่งดูธาตุให้ทั่วทุกธาตุ แล้วจะเห็นชัดว่ามันมีอยู่ ๓ ธาตุอย่างนี้จริงๆ ก็จะเริ่มพบสุญญตธาตุหรือนิพพานธาตุแล้วจะเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า อนัตตา หรือ สุญญตา ที่เรากำลังกล่าวนี้ได้มากขึ้น
    เพราะฉะนั้น เราอาจจะวางหลักได้ว่า ในตัวความยึดมั่นถือมั่น ว่าตัวกูของกูนั่นแหละ มันมีรูปธาตุและอรูปธาตุ แล้วที่ว่างจากความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวกูว่าของกูนั่นแหละ ก็มีนิโรธธาตุหรือจะกลับกันเสียก็ได้ว่า ถ้ามีนิโรธธาตุเข้ามา มันก็เห็นแต่ความว่าง เห็นความว่างจากตัวกูของกูนี้ปรากฏชัดออกมา ถ้าธาตุนอกนั้นเข้ามา มันก็เห็นเป็นรูป เป็นนาม เป็นรูป เป็นเสียง เป็นกลิ่น เป็นรส เป็นโผฏฐัพพะ เป็นเวทนา สัญญ สังขาร วิญญาณ อะไรยุ่งไปหมด แล้วก็มีส่วนที่จะเกิดความยึดถือทั้งนั้น หรือถ้าไม่ยึดถือในทางรัก ก็จะยึดถือในทางไม่รัก คือเกลียด
    ดังนั้นคนเราจึงมี ๒ อารมณ์เท่านั้น คือ พอใจ กับ ไม่พอใจ เราเคยชินอยู่แต่กับ ๒ อารมณ์นี้เท่านั้น เราสนใจกันอยู่แต่อารมณ์ที่น่ารัก เพื่อจะให้ได้และสนใจอยู่แต่ที่จะหลบเลี่ยงอารมณ์เกลียด หรือทำลายมันเสีย เรื่องมันก็วุ่นอยู่ตลอดเวลา ไม่มีว่าง ถ้าให้ว่างล่ะจะทำอย่างไร? ก็คือเราอยู่เหนือหรือว่าเอาชนะธาตุที่วุ่นเหล่านั้น มาอยู่กับธาตุที่ว่าง มันก็ว่างได้
    อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกเพื่อแสดงคุณสมบัติของธาตุว่า เนกขัมมธาตุ เนกขัมมธาตุนี้ เป็นเหตุให้ออกจากกามาราณ์ แล้วถัดมาธาตุที่สองเรียกว่าอรูปธาตุ ธาตุนี้เป็นเหตุให้ออกจากรูป แล้วธาตุที่สามเรียกว่า นิโรธธาตุ ธาตุนี้เป็นเหตุให้ออกจากสังขตะ
    ถ้าพูดเป็นภาษาบาลีอย่างนี้ เรื่องชักจะยุ่งขึ้นทุกที จำต้องพูดเป็นภาษาไทยจะดีกว่า คือว่าถ้าเรามองเห็นเนกขัมมธาตุ ก็จะเป็นเหตุให้ออกจากกาม กามารมณ์ หมายความว่า เรามองเห็นสิ่งที่ตรงกันข้ามจากกาม เห็นธาตุชนิดที่ตรงข้ามจากกาม เรียกว่า เห็นเนกขัมมธาตุ กามเป็นไฟ และถ้าไม่ถูกไฟนั้นเผา คือตรงกันข้ามอย่างนี้ เรียกว่า เนกขัมมธาตุ จิตที่น้อมไปสู่การออกจากกามนี้ เรียกว่าประกอบอยู่ด้วยเนกขัมมธาตุ
    ทีนี้สัตว์ทั้งหลายที่พ้นไปจากกามได้นั้น ก็ไปติดอยู่ที่ของสวยงาม สนุกสนาน ที่ไม่เกี่ยวกับกาม แต่ว่ายังเกี่ยวกับรูป คือรูปธรรมที่บริสุทธิ์ อย่างพวกฤาษี มุนี โยคี ติดความสุขในรูปฌาน เหล่านี้เป็นต้น หรือบางทีเราเห็นคนแก่ๆ บางคนติดในเครื่องลายคราม ต้นบอน ต้นโกศล อะไรไม่เกี่ยวกับกาม แล้วหลงใหลยิ่งกว่ากามไปก็มี อย่างนี้ก็สงเคราะห์เรียกว่า เป็นพวกติดอยู่ในรูปเหมือนกัน ออกจากรูปไม่ได้ ถ้าออกจากรูปให้ได้ ก็ต้องมีความรู้เรื่องอรูปธาตุ คือธาตุที่เป็นไปเหนือรูป
    ทีนี้มันจะไปติดอะไรอีก ถ้ามันหลุดรูปไปได้ ไม่ติดรูป? หลุดจากรูปไปได้ ก็ไปติดสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งทั่วๆ ไป ที่มากไปกว่านั้น ข้อนี้ก็ได้แก่กุศลธรรมทั้งปวง อกุศลธรรมเราไม่พูดถึงก็ได้ เพราะมันไม่มีใครเอา เพราะมีแต่คนเกลียด แต่กุศลทั้งปวงที่ปรุงแต่งให้เป็นคนดีวิเศษ เกิดในสวรรค์ ฝันกันไม่มีที่สิ้นสุด นี้เรียกว่า สังขตะ คือสิ่งปรุงแต่ง คนเราก็มัวเมาอยู่แต่ที่จะเป็นตัวตน เป็นของของตน เป็นตัวตนอย่างสัตว์เดียรัจฉานไม่ดี ก็เป็นอย่างมนุษย์ เป็นอย่างมนุษย์ไมดี ก็เป็นอย่างเทวดา เป็นอย่างเทวดาไม่ดี ก็เป็นอย่างพรหม เป็นอย่างพรหมไม่ดี ก็เป็นอย่างมหาพรหม แล้วก็มีตัวตนอยู่เรื่อย อย่างนี้เรียกว่าสังขตะทั้งนั้น ต่อเมื่อเข้าถึงนิโรธธาตุ มันจึงจะออกจากสังขตะได้
    นี่แหละเป็นธาตุสุดท้าย เป็นนิพพานธาตุ คือเป็นที่ดับสิ้นแห่งตัวกูและของกู ถ้าดับได้สิ้นเชิงจริงๆ ก็เป็นพระอรหันต์ เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ถ้ายังดับไม่ได้สิ้นเชิง ก็เป็นพระอริยเจ้าที่รองๆ ลงมา เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ คือตัวกูยังมีเชื้อเหลืออยู่บ้างไม่ว่างทีเดียว หรือมันว่างได้ แต่มันยังไม่ถึงที่สุด ไม่ใช่ ปรมัง สุญญัง
    รวมความแล้ว เราจะต้องรู้จักธาตุ คือหมายถึงส่วนประกอบอันแท้จริงของสิ่งทั้งปวงนี้ ขอให้เข้าใจในลักษณะอย่างนี้ คือว่า โดยหลักใหญ่แล้ว มันจะมีอยู่ คือ รูปธาตุ ธาตุที่มีรูป อรูปธาตุ ธาตุที่ไม่มีรูป และนิโรธธาตุ ธาตุซึ่งเป็นที่ดับทั้งของรูปและของอรูป อย่างนี้แล้วกล้าท้าว่า ไม่มีอะไรที่จะนอกไปจาก ๓ คำนี้
    นี่แหละ เราลองเรียนวิทยาศาสตร์อย่างของพระพุทธเจ้ากันบ้าง ที่มันครอบคลุมทั้งฝ่ายกาย ฝ่ายจิต และฝ่ายวิญญาณ เป็นเหตุให้เรารู้จักสิ่งทั้งหลายทั้งปวงหมดครบถ้วนจริงๆ จึงจะเรียกว่า เรารู้จักสิ่งทั้งหลายทั้งปวงจริง จึงจะไม่ไปยึดมั่นถือมั่นสิ่งทั้งปวงได้อีกต่อไป ไม่มีความยึดมั่นในสิ่งทั้งปวงนั้น นี่แหละความว่างของเรา มันต้องมีความหมายอย่างนี้

    คัดลอกมาจาก
    แก่นพุทธศาสน์
    เรื่อง
    ความว่าง (ตอนที่ ๒) ต่อ
    พระราชชัยกวี (ภิกขุ พุทธทาส อินทปัญโญ)
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
    ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้ สิ้นรอบแล้ว
    หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ
    ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕เหล่าใด เป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
    อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ
    ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

    ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
    ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
    มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว

    หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบเวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
    เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลาย มีตัณหาเป็นต้น
    ให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว
    จัก (ดับ) เย็น

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

    เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  4. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    นิพพาน หากกล่าวว่ามีก็ไม่ผิด หากกล่าวว่าไม่มีก็ไม่ผิด เพราะความว่างเปล่านั้นมีอยู่

    แต่หาความว่างเปล่าไม่ได้ เพราะความว่างเปล่าไม่มีตัวตน แต่รับรู้ได้ว่ามีอยู่

    "ความว่างเปล่าจากการปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง" คือ นิพพาน

    สาธุครับ
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕
    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว
    อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้วปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้วอันปัจจัย
    กระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออก
    ซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้วเป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว
    จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว
    อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น
    การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว
    ปรุงแต่งแล้วจึงปรากฏ ฯ"

    ----
    พระพุทธเจ้าทรงสอนธรรมโดยทางสายกลาง ไม่ทรงตรัสว่าสิ่งนี้มีหรือสิ่งนี้ไม่มี แต่นิพานพระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ชัดเจน นิพานเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ครับ
     
  6. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ความว่างเปล่าก็มีอยู่จริงครับ แต่จับต้องไม่ได้ แตกต่างตรงไหนถึงได้มีการยกเหตุ

    เหตุที่แสดงออกว่าไม่เข้าใจ ความว่างเปล่าเป็นธรรมชาติที่มีอยู่จริงใช่ไหมครับ?

    สาธุครับ
     
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๔๔/๒๙๐
    สังขตสูตร
    [๔๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓ ประการ ๓ ประการ
    เป็นไฉน คือ ความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑ เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ
    อสังขตสูตร
    [๔๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้ ๓ ประการ
    เป็นไฉน คือ ไม่ปรากฏความเกิด ๑ ไม่ปรากฏความเสื่อม ๑ เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ

    ---
    ความว่าง กับ ความว่างเปล่า ความหมายต่างกันโดยสิ้นเชิง ความว่างมีอยู่จริงแต่ไม่ได้เป็นความว่างเปล่าอย่างที่ท่าน oatthidet เข้าใจ ความว่างสามารถรู้ได้เข้าถึงได้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ ไม่ปรากฏความเกิด ไม่ปรากฏความเสื่อม เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน ความหมายลึกซึ้งต่างกับความว่างเปล่าแบบที่ท่านเข้าใจครับ
     
  8. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    เช่นนั้นคุณลองอธิบายความหมายของคำว่า "ว่าง" และ "ว่างเปล่า" ด้วยครับ

    สาธุครับ
     
  9. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413

    ขอลองตอบดูนิสนึงนะครับ

    เอาแบบธรรมดาก่อนนะ

    A : ไอ้ B วันนี้ ว่าง มั้ย
    B : เออ ว่าง ว่ะ

    กับ

    A : ไอ้ B วันนี้ ว่างเปล่า มั้ย
    B : เออ ว่างเปล่า ว่ะ

    เหมือนกันมั้ย หว่า

    อีกแบบ
    ท่านเคยทำงานวันทั้งวัน แต่รู้สึก เหมือนนั่งเล่นอยู่ท่ามกลางสายลม สบายๆมั้ย เหมือนไม่ได้ทำอะไร น่ะ

    นั้น แหละที่เขาว่า จิตว่าง

    ประมาณนี้มั้ย หว่า ท่าน
     
  10. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    คุณเคยที่ไม่นึกคิดอะไรเลยไหมครับ ที่คุณกล่าวมายังไม่ถึงจุดที่ผมบอกครับ

    สาธุครับ
     
  11. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    สุญญตา หรือ ความว่าง

             เนื่องจากมีการปฏิบัติไปกันในแนวยึดความว่างหรือสุญญตากันอย่างผิดๆ  ยึดในความว่าง พยายามทำให้ว่างจากความคิดความเห็นอย่างผิดๆ จึงปฏิบัติไปในลักษณะหยุดคิดหยุดนึก ไปยึดความว่าง เนื่องจากในช่วงแรกจิตไม่ซัดส่ายส่งออกไปปรุงแต่ง จึงเกิดความสุขสบายขึ้นบ้าง แต่ก็ยังโทษยิ่งในภายหลังฯ.  จึงนำความหมายของ สุญญตา จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดยท่านพระธรรมปิฎก มาแสดงดังนี้

    สุญญตา “ความเป็นสภาพสูญ”, ความว่าง
           ๑. ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระคือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น,
               โดยปริยายหมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่นขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆ
           ๒. ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน
           ๓. โลกุตตรมรรค ได้ชื่อว่าเป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ
               เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นสภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน)
               เพราะว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และ
               เพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์
           ๔. ความว่าง ที่เกิดจากความกำหนดหมายในใจ หรือทำใจเพื่อให้เป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติกำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย; (webmaster - อันนี้ เป็นความว่างอย่างอรูปฌาน ที่นักปฏิบัติหลงกระทำกันมาก แม้ในชีวิตประจำวัน  โดยการพยายามหยุดคิดหยุดนึกโดยขาดปัญญาหรือหลักการ)
           สุญตา ก็เขียน


    ก๊อปเขามาอีกทีครับ ไว้ศึกษากัน
     
  12. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    อนุโมทนาที่กล่าวมาในขั้นต้นครับ

    ส่วนสีแดงนี้ขอถามว่า เคยหยุดนิ่งจนว่างเปล่าไหม

    และ ในขณะที่ว่างเปล่าจากภายในแล้ว หันกลับไปมองดูภายนอกที่ไม่สงบนิ่งไหม

    และ เห็นอะไรเมื่อมีความว่างเปล่าอยู่ทุกลมหายใจแม้ไม่ได้เข้าฌาณ

    สาธุครับ
     
  13. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ตอบข้อ1 เคย ที่จริงประจำ

    ตอบข้อ2 ว่่างไม่จริง ถึงยังกังวลถามถึงภายนอกภายในหรือ

    ตอบข้อ3 ไม่เห็นอะไร ขณะนั้นจิตเป็นโลภะ และ โมหะ
     
  14. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    [​IMG] [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    ขอให้เห็น อนัตตา กันทุกคนทุกท่านเถิด

    [​IMG][​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2012
  15. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ขอบคุณที่ตอบครับ ผมเข้าใจแล้วว่าคุณเห็นอะไร จึงไม่รู้ว่าเมื่อหันกลับแล้วได้ประโยชน์อะไร

    สาธุครับ
     
  16. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ตอบข้อ ๑ : เข้าใจว่าเห็นอะไรหรือครับ

    ตอบข้อ ๒ : หมายถึง คุณไม่รู้ว่าหันกลับทำไม ทำไปเพื่ออะไร อย่างนี้รึเปล่า

    ผมเข้าใจความนึกคิดของคุณที่พยายามจะสื่อถูกรึเปล่า ...
     
  17. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    คุณรู้ได้งัย ว่าคุณไม่นึกคิด แล้วใครที่รู้ว่า ไม่นึกคิด การที่รู้ว่าไม่นึกคิด นี้เป็น การนึกคิด มั้ย หรือ เป็น การไม่นึกคิด รู้ ว่าไม่นึกคิด
     
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ชีวิตมันมีผิดพลาดกันได้ ทิฏฐิต้องค่อยขัดเกลา ค่อยแก้ไข

    หมั่นศึกษาพระธรรม พระวจนะ พระไตรปิฏกก็พอแก้ทิฏฐิผิดๆได้

    ล้วนเป็นประโยชน์ทั้งนั้นครับ

    คุณโอติเดชก็ภาวนามามากแล้ว จะมาท้อใจไม่เห็นประโยชน์สิ่งที่เพียรนั้นไม่ควร

    เพื่อนๆในเวบนี้หวังดีกับคุณทุกคน เอาใจช่วยนะครับ ^^
     
  19. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ขอบคุณที่หวังดีครับ ที่ผมสื่อนั้น หากไม่เคยหยุดนิ่งสงบ จะไม่เข้าใจครับ

    ไม่ใช่ว่านั่งกรรมฐานแล้วสงบนิ่งเท่านั้นครับ แม้แต่ไม่ได้นั่งกรรมฐานก็สงบนิ่ง

    การไม่ปรุงแต่ง เมื่อกระทำจนเป็นนิสัย ย่อมเห็นความเป็นจริงที่เคลื่อนไหว

    แต่หากยังปรุงแต่ง จะไม่มีทางเห็นได้ครับ ผู้ที่นึกคิดไม่มีผู้ใดไม่นึกคิดเข้าข้างตนเองครับ

    แต่หากไม่นึกคิด จะเห็นความเป็นจริงด้วยตนเอง เพราะในกระแสแห่งกาลเวลานั้น

    ไม่ได้มีแต่เราเพียงคนเดียว สัตว์โลกไหลไปตามกระแสแห่งกาลเวลาครับ

    สาธุครับ
     
  20. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    <TABLE style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px" class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR title="Post 6344212" vAlign=top><TD class=alt1>อ้างอิง:
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ oatthidet [​IMG]
    คุณเคยที่ไม่นึกคิดอะไรเลยไหมครับ ที่คุณกล่าวมายังไม่ถึงจุดที่ผมบอกครับ

    สาธุครับ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คุณรู้ได้งัย ว่าคุณไม่นึกคิด แล้วใครที่รู้ว่า ไม่นึกคิด การที่รู้ว่าไม่นึกคิด นี้เป็น การนึกคิด มั้ย หรือ เป็น การไม่นึกคิด รู้ ว่าไม่นึกคิด
    </TD></TR><TR><TD class=thead colSpan=2>เมื่อวานนี้ 09:55 PM</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ตอบได้มั้ยนี้

    แล้วเมื่อไหร่ท่าน จะเข้าถึง การไม่มีแห่งกระแสการเวลา ได้สักที
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...