นิพพานธาตุ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 30 มิถุนายน 2012.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ท่าน oatthidet ไม่เข้าใจที่ผมสื่อครับ ลองทำความเข้าใจอีกสักรอบครับ

    ความว่างเปล่า
    วานรเที่ยวไปในป่าใหญ่ ป่าใหญ่ตั้งอยู่บนแผ่นดิน แผ่นดินตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้งอยู่บนอากาศ อากาศเป็นความว่างเปล่า เป็นอากาสธาตุ

    ความว่าง
    จิตรู้เห็นตามความเป็นจริง เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความว่าง

    ข้อความทั้งหมด
    "วานรเที่ยวไปในป่าใหญ่ ป่าใหญ่ตั้งอยู่บนแผ่นดิน แผ่นดินตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้งอยู่บนอากาศ อากาศเป็นความว่างเปล่า เป็นอากาสธาตุ วานรจับกิ่งไม้(การเกิด) ปล่อยกิ่งไม้(การดับ) ปล่อยกิ่งไม้กิ่งเดิมจับกิ่งไม้กิ่งใหม่(เกิดๆ ดับๆ) เมื่อลิงผู้ไม่รู้ มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก มีกิเลสตัณหาจับกิ่งไม้กิ่งเดิม ปล่อยกิ่งไม้กิ่งเดิม เพื่อจับกิ่งไม้กิ่งใหม่ เป็นอยู่อย่างนี้ หาที่สุดแห่งเบื้องต้นและเบื้องปลาย หาเหตุแห่งการเกิด การดับไม่ได้ ไม่รู้ว่าจับกิ่งไม้มาตั้งแต่เมื่อไร ไม่รู้ว่าจับกิ่งไม้มานานแค่ไหน ไม่รู้ว่าจะหยุดจับกิ่งไม้ได้อย่างไร ไม่รู้วิธีหยุดจับกิ่งไม้นั้น หลงอยู่ในวัฏฏะอันยาวนาน หากลิงมีสติปัญญา มีญาณความรู้คือวิชชาเกิดขึ้น เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด จิตรู้เห็นตามความเป็นจริง เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความว่าง เมื่อปล่อยกิ่งไม้กิ่งเดิมแล้วไม่อยากจับกิ่งไม้กิ่งใหม่ ปล่อยกิ่งไม้กิ่งเดิมไม่จับกิ่งไม้กิ่งใหม่ หยุดการเกิดและการตาย
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผมเข้าใจว่าท่าน oatthidet มีความมุ่งมั่นที่จะหลุดพ้น แต่อย่าลืมนะครับ สายพิณหย่อนไปก็ไม่ดี ตึงเกิดไปสายพิณก็ขาด พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า การปฏิบัติอย่างไปมุ่งหวังว่าจะบรรลุวันนั้นวันนี้ อุปมาเหมือนแม่ไก่กกไข่ ก็ไม่ได้มุ่งหวังว่าลูกไก่ต้องออกมาจากไข่ภายในวันนั้นวันนี้ แม่ไก่มีหน้าที่กกไข่ก็ทำหน้าที่ไป เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ลูกไก่ก็จะเจาะเปลือกไข่ออกมาเอง อนุโมทนาครับ
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๒๖/๕๑๘
    ดูกรมหานาม เปรียบเหมือนฟองไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ฟองไก่เหล่านั้น
    แม่ไก่นอนทับ กก อบให้ได้ไออุ่นดีแล้ว ถึงแม่ไก่นั้นจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
    ขอลูกไก่เหล่านี้พึงทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้าหรือด้วยจะงอยปาก ออกได้โดยสะดวกเถิด
    ดังนี้ ลูกไก่ภายในเปลือกไข่นั้นก็คงทำลายเปลือกไข่ออกได้โดยสวัสดี ฉันใด ดูกรมหานาม
    อริยสาวกก็ฉันนั้นเพราะท่านเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้
    รู้จักประมาณในโภชนะอย่างนี้ ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างนี้ ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗
    อย่างนี้ เป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม
    ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากอย่างนี้ บัณฑิตจึงกล่าวอริยสาวกนี้ว่า
    เป็นผู้มีเสขปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็นดุจฟองไก่ที่ไม่เน่า ควรจะชำแรกกิเลส ควรจะ
    ตรัสรู้ ควรจะบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๑๔๖/๔๓๐
    อุปมาเหมือนแม่ไก่ฟักไข่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้งความขะมักเขม้นอย่างนี้ เป็นผู้ควร
    แก่ความเบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ เป็นผู้ควรแก่การบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่าง
    สูงเยี่ยม เปรียบเหมือนไข่ของแม่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง แม่ไก่กกไว้โดยชอบ
    ให้อบอุ่นโดยชอบ ฟักโดยชอบ ถึงแม่ไก่นั้นจะไม่ปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอให้ลูกไก่เหล่านี้จงทำลาย
    เปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีก็ตาม ลูกไก่เหล่านั้นก็ต้อง
    ทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีได้ ฉะนั้น.
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของ
    พระผู้มีพระภาคแล้วแล.
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๕
    ตั้งความเพียรสม่ำเสมอเทียบเสียงพิณ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระโสณะผู้นั่งเฝ้าอยู่ว่า ดูกรโสณะ เธอไปในที่สงัด
    หลีกเร้นอยู่ได้มีความปรีวิตกแห่งจิตเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า บรรดาพระสาวกของพระผู้มีพระภาคที่
    ปรารภความเพียรอยู่ เราก็เป็นรูปหนึ่ง แต่ไฉน จิตของเราจึงยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
    เพราะไม่ถือมั่นเล่า สมบัติในตระกูลของเราก็ยังมีอยู่ เราอาจบริโภคสมบัติและบำเพ็ญกุศล
    ถ้ากระไร เราพึงสึกเป็นคฤหัสถ์ แล้วบริโภคสมบัติและบำเพ็ญกุศล ดังนี้ มิใช่หรือ?
    ท่านพระโสณะทูลรับว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า
    ภ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อครั้งเธอยังเป็นคฤหัสถ์ เธอ
    ฉลาดในเสียงสายพิณ มิใช่หรือ?
    โส. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คราวใดสายพิณของเธอตึงเกินไป
    คราวนั้นพิณของเธอมีเสียงหรือใช้การได้บ้างไหม?
    โส. หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คราวใดสายพิณของเธอหย่อนเกิน
    ไป คราวนั้นพิณของเธอมีเสียงหรือใช้การได้บ้างไหม?
    โส. หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คราวใดสายพิณของเธอไม่ตึงนัก
    ไม่หย่อนนัก ตั้งอยู่ในคุณภาพสม่ำเสมอ คราวนั้น พิณของเธอมีเสียงหรือใช้การได้บ้างไหม?
    โส. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ดูกรโสณะ เหมือนกันนั่นแล ความเพียรที่ปรารภเกินไปนัก ย่อมเป็นไปเพื่อความ
    ฟุ้งซ่าน ความเพียรที่ย่อหย่อนนัก ก็เป็นไปเพื่อเกียจคร้าน เพราะเหตุนั้นแล เธอจงตั้งความเพียร
    แต่พอเหมาะ จงทราบข้อที่อินทรีย์ทั้งหลายเสมอกัน และจงถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้น
    ท่านพระโสณะทูลรับสนองพระพุทธพจน์ว่า จะปฏิบัติตามพระพุทธโอวาทอย่างนั้น
    พระพุทธเจ้าข้า ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงสั่งสอนท่านพระโสณะด้วยพระโอวาทข้อนี้แล้ว ทรง
    อันตธานที่ป่าสีตวันต่อหน้าท่านพระโสณะ แล้วมาปรากฏพระองค์ ณ คิชฌกูฏบรรพต เปรียบ
    เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.
     
  6. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๘๙/๓๓๓
    เจตนาสูตร
    [๒๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า
    ขอความไม่เดือดร้อนจงเกิดขึ้นแก่เราเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ความไม่เดือดร้อนเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลนี้ เป็นธรรมดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่มีความเดือดร้อนไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอความปราโมทย์จงเกิดขึ้นแก่เราเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ความปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่มีความเดือดร้อนนี้ เป็นธรรมดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความปราโมทย์ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอปีติจงเกิดขึ้นแก่เราเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปีติเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความปราโมทย์นี้ เป็นธรรมดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอกายของเราจงสงบเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กายของบุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติสงบนี้ เป็นธรรมดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีกายสงบแล้ว ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงเสวยสุขเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีกายสงบแล้วเสวยสุขนี้เป็นธรรมดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีสุข ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอจิตของเราจงตั้งมั่นเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่จิตของบุคคลผู้มีสุขตั้งมั่นนี้ เป็นธรรมดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงรู้จงเห็นตามเป็นจริงเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วรู้เห็นตามเป็นจริงนี้เป็นธรรมดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้เห็นตามเป็นจริง ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงเบื่อหน่ายเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้รู้เห็นตามเป็นจริงเบื่อหน่ายนี้ เป็นธรรมดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เบื่อหน่าย ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่าขอเราจงคลายกำหนัดเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตคลายกำหนัดแล้วไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสนะเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลคลายกำหนัดแล้วทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสนะนี้ เป็นธรรมดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิราคะมีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ นิพพิทามีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาเป็นผล
    มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิ
    เป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ความปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ความไม่เดือดร้อนมีความปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ศีลที่เป็นกุศลมีความไม่
    เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมยังธรรมทั้งหลายให้บริบูรณ์ เพื่อการถึงฝั่ง (คือนิพพาน) จากสถานอันมิใช่ฝั่ง (คือสังสารวัฏ) ด้วยประการฉะนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๒

    ----
    พระสูตรนี้ยากหน่อยนะครับ แต่ขอให้พิจารณา ผมเน้นว่าต้องศึกษาก่อน ศึกษาแล้วจดจำ จดจำแล้วนำมาปฏิบัติ ปฏิบัติแล้วพิจารณาเอาว่า ปฏิบัติได้ถึงไหนแล้ว ไม่ต้องไปถามหาผู้อื่น เหมือนที่หลวงตามหาบัวบอก "แม้พระพุทธเจ้าอยู่ตรงหน้าก็ไม่ทูลถาม" ถูกหรือผิดก็นำมาตรวจสอบกับพระธรรมที่เรียนมา ปฏิบัติถูก ปฏิบัติดีก็ทำต่อไป ปฏิบัติผิดก็รู้ มีตำราใช้ตำราเป็นเครื่องวัดสอบ พระธรรมของพระพุทธเจ้าไม่มีผิด ผิดถูกอยู่ที่ผู้ปฏิบัติครับ
     
  7. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ไม่มีการเกิดอีกครับ และ มนุษย์เท่านั้นที่จะกระทำให้การไม่เกิดมีขึ้นได้

    การหลุดพ้นนั้น ต้องประกอบด้วย กาย ใจ จิต ที่มีครบจึงจะหลุดพ้นได้ครับ

    ความไม่พร้อมของ กาย ใจ จิต จะไม่สามารถบรรลุได้ เพราะไม่เช่นนั้น

    สัตว์โลกที่ไม่ใช่มนุษย์คงสามารถบวชในพระพุทธศาสนาได้ครับ เหตุเพราะ

    สัญชาตญาณ ไม่ใช่ใจที่จะพัฒนาให้เกิดความรู้สึกนึกคิด หรือ ที่เรียกว่า "สติ"

    ที่เป็นสิ่งที่คอยระลึกให้รู้ตัวตน ทำให้เกิดมโนภาพในการตรึกตรอง ซึ่งมนุษย์นั้น

    มีครบจึงสามารถเข้าบวชในพระพุทธศาสนาได้ครับ สัตว์โลกทั่วไปจะไม่สามารถบวชได้

    หรือ เทวดา พระพรหม วิญญาณต่างๆ ไม่มีร่างกาย จึงไม่มีความพร้อม แต่ยังมีที่ยกเว้น

    ที่จะสามารถบรรลุได้ คือ ผู้ที่ถึงพร้อมแล้วตั้งแต่ยังเป็นมนุษย์อยู่ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการยากครับ

    สาธุครับ
     
  8. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    เมื่อเห็นบ่อยครั้ง จิตจะวางลง และ ไม่ปรุงแต่ง ตรงนี้จะเกิดขึ้นเมื่อถึงเวลาครับ

    สาธุครับ
     
  9. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    คุณต่างหากที่ไม่เข้าใจที่ผมสื่อ ยังยึดติดอยู่อีก ว่าง กับ ว่างเปล่า แตกต่างที่คนนึกคิดครับ

    ความว่างเปล่าไม่ได้แตกต่างเลย เพราะเมื่อว่าง ก็คือว่าง จะให้มีอะไรในเมื่อมีแต่ความว่าง

    ยึดเกาะด้วยการนึกคิด แม้จะอธิบายอย่างไร ก็ไม่พ้นคำว่า ว่างเปล่า เพราะไม่มีอะไร

    สาธุครับ
     
  10. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    อนุโมทนาครับ โพสนี้เป็นสิ่งที่ควรครับ ผมเข้าใจในโพสนี้ครับ เพราะผมก็คิดเห็นเช่นนี้ครับ

    การทำงานไม่ว่าชนิดใด ต้องตั้งใจกระทำไปอย่างมุ่งมั่น แต่ไม่ใช่จะเร่งให้เป็นเร็วๆ

    หรือ ไม่ตั้งใจทำเลย ต้องตั้งใจทำอย่างมุ่งมั่น เมื่อถึงเวลาก็เป็นได้ด้วยตนเอง

    เพราะถึงจะเร่งอย่างไร ก็ไม่มีทางเป็นงานชนิดนั้นได้ และ ยิ่งถ้าไม่ตั้งใจ หรือ หย่อนยานจนเกินไป

    ก็ไม่มีทางที่จะเป็นงานชนิดนั้นได้เหมือนกัน ระยะเวลาเท่านั้นที่จะเป็นตัวบอกว่าเมื่อไหร่จะเป็นงาน

    การปฎิบัติก็เช่นกัน ปฎิบัติอย่างมุ่งมั่นตั้งใจ ไม่รีบเร่งจนเกินเหตุ ใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติ

    ไม่ย่อหย่อน ไม่ตั้งใจ ก็เป็นทางเสื่อมเช่นกัน มุ่งมั่นด้วยความเพียรจนถึงที่ควรจะเป็น

    สาธุครับ
     
  11. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ผมว่า ไม่ควรจะมั่นใจในความคิด ความเห็นตนให้มากไปครับ
    หากศึกษาในพระไตรปิฏกบ้าง ก็น่าจะดีนะครับ
    ดูดู ไปก่อนครับ จะได้ชื่อว่าไม่ประมาทอยู่ในลมหายใจครับ
     
  12. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผู้ที่รู้เส้นทาง กับ ผู้ที่ไม่รู้เส้นทาง ย่อมตอบได้ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น

    มีคนผู้หนึ่งเดินทางมาถามเส้นทางที่ตนเองจะเดินทางในกลุ่มคนมากมายในตลาด

    มีคนผู้หนึ่งที่ได้พบเจอผู้เดินทาง ที่เข้ามาถามเส้นทาง จึงตอบไปว่ามีแผนที่ขายอยู่

    เพราะผู้ที่ถูกถามก็ไม่รู้จักเส้นทางนั้นเช่นกัน ครั้นผู้เดินทางจะไปซื้อแผนที่

    ได้พบเจอกับคนอีกผู้หนึ่ง จึงถามหาสถานที่ขายแผนที่ คนผู้นั้นจึงถามคนเดินทาง

    ว่าแล้วท่านจะไปไหน ผู้เดินทางจึงตอบ คนผู้นั้นจึงอธิบายเส้นทางที่ผู้เดินทางจะไป

    อย่างละเอียด จนผู้เดินทางนั้นเข้าใจอย่างชัดเจน

    คำถามจึงถามว่า จะนำเอาแผนที่อีกไหม เมื่อเข้าใจอย่างชัดเจนในเส้นทางที่จะเดินทางไป

    สาธุครับ
     
  13. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    เรื่องทาง เรื่องแผนที่ อย่างไรเราก็สมมุติคำกันมาและใช้ตามเพื่อความเข้าใจครับ แต่ละท่านที่ปฏิบัติย่อมมีทางเฉพาะตนครับ
    ทีนี้ที่ผมจะกล่าวคือการระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย มีหรือเป็นอย่างไรครับ
     
  14. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ควรที่จะระลึกถึงครับ เป็นสิ่งที่พึ่งได้ทุกยาม ทุกโอกาส หนทางแห่งการหลุดพ้น

    การข้ามกระแสแห่งกาลเวลา ย่อมต้องมี ผู้สอน คำสอน ผู้ปฎิบัติตามอย่างมุ่งมั่นตั้งใจ

    พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ เป็นพระศาสดา สั่งสอนให้เห้นหนทางนั่นคือ พระธรรม

    ผู้ที่ปฎิบัติตามอย่างมุ่งมั่นตั้งใจคือ พระสงฆ์สาวก แม้ผู้ที่เริ่มปฎิบัติใหม่ยังไม่รู้เห็น

    แต่หากปฎิบัติตามพระสงฆ์สาวกที่ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ ย่อมถึงหนทางที่หลุดพ้น

    พระรัตนตรัยจึงเป็นที่พึ่งอันสูงสุด ครูบาอาจารย์ได้บอกวิธีเหล่านั้นไว้ชัดเจนแล้ว

    เพียงแต่จะมีผู้ที่เข้าใจได้มากน้อยเท่านั้นเอง พระอาจารย์ทั้งหลายบอกกล่าวเอาไว้

    แต่ผู้ที่ไม่มีความมั่นใจก็ต้องหาที่พึ่งที่เป็นหลักฐานที่ชัดเจน เพียงแต่พระไตรปิฎก

    ในสมัยนี้ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปมากจากที่เคยเป็น จึงควรนำเฉพาะมาปฎิบัติ

    หาใช่การยึดเอาสิ่งที่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกมาเป็นบรรทัดฐาน มีอธิบายไว้มากมาย

    แต่รวมแล้วก็ตกอยู่ในการปฎิบัติธรรมนั่งกรรมฐาน จนมีสภาวะที่มองเห็นจิต

    และ เฝ้าดูจิต ในทุกขณะจิต ไม่ว่าจะปรุงแต่ง หรือ ไม่ปรุงแต่ง จนเข้าใจในเหตุแห่งการปรุงแต่ง

    จึงวางลงซึ่งการปรุงแต่ง เพราะเห็นต้นเหตุแห่งความเป็นทุกข์ นั่นมาจากการปรุงแต่ง

    มนุษย์มีความเป็นทุกข์มาจากการนึกคิดมากกว่า 70 เปอร์เซนต์ ส่วนทางร่างกายมีน้อยกว่า 30 เปอร์เซนต์

    คุณลองตรึกตรองดูเถอะครับ ว่าบุคคลใดที่นึกคิดแล้ว ไม่เข้าข้างตนเองบ้าง

    และ ที่เข้าข้างตนเองนั่น เรียกว่าอะไร? ความหมายชัดเจนนะครับ

    สาธุครับ
     
  15. โมกขทรัพย์

    โมกขทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    474
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,851
    ภาษาไทยนี่สื่อกันยากเพียงนี่เชียวฤา..? ธรรมะนั้นมีหลายประเภท เลือกเสพเอาครับ เปรียบเสมือนเรากำลังขึ้นยอดเขา มีทางขึ้นได้หลายทาง หากแต่บุคคลใดเลือกทางที่ตรงสุด ลัดสุดก็ขึ้นสู่ยอดเขาเร็วมากขึ้น แต่อาจจะไม่มีประสบการณ์โลดโผนโจนทะยานเหมือนดั่งผู้ที่ เลือกจะขึ้นเขาแบบยากๆ แต่ผู้ที่เลือกจะขึ้นแบบยากๆ ก็ทำให้เนิ่นช้าไป แต่อย่างไรเสีย ก็จะถึงอยู่ดี ทุกชีวิตนั้น จุดมุ่งหมายสูงสุดก็คือนิพพานอยู่แล้ว เพียงแต่จะช้า จะเร็ว มันก็แค่นั้นเอง

    หลากหลายความคิด หลายมุมมอง การแลกเปลี่ยนทัศนะในทางธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่เหนือสิ่งอื่นใด หากใครที่มองไม่เหมือนตนนั้น การใช้หลักของพรหมวิหาร ๔ โดยยึดตัวอุเบกขาไว้ให้เป็นกลางๆเสีย แบบนี้แล้ว ก็จักไม่เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่ายเลย เปรียบเสมือนการเคารพความคิดที่ต่างนั้น เพียงแต่ว่าความคิดที่เสนอมาในมุมมองที่ต่าง เราจะเลือกเอาส่วนไหนไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเท่านั้นเอง

    โมทนาในกุศลกรรมของทุกท่านด้วยครับ
     
  16. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    เมื่อท่านมีทิฐิเสียแล้วว่า ความว่างกับความว่างเปล่าเป็นสิ่งเดียวกัน ไม่ว่าใครอธิบายอย่างไรก็ไม่ฟัง ยกพระไตรปิฏกมาท่านก็บอกว่าแต่งเพิ่ม ถูกครับ พระไตรปิฏกแต่ง
    เพิ่ม ผู้ที่มีปัญญาศึกษาดูก็จะเข้าใจตรงไหนแต่งเพิ่มตรงไหนเป็นคำของพระพุทธเจ้า ถ้าคิดว่าแต่งเพิ่มแล้วไม่ต้องศึกษาเลย จะเป็นมิจฉาทิฐิ จะเก่งกว่าพระพุทธเจ้าไปไหนครับ ไม่ว่าอาจารย์สำนักไหน ความรู้อยู่ๆ เกิดขึ้นมาเลยโดยไม่ศึกษาจากพระไตรปิฏกไม่มี ทุกอาจารย์ทุกสำนักก็เรียนมาจากตำราเดียวกันครับ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธเครับ

    ท่านยังปรุงแต่ง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อยู่เต็มเปี่ยม ยังมีความรู้สึกอาลัยอาวรณ์ต่อการมีชีวิต ยังกลัวความตายว่ากันอย่างนั้นเลยครับ แต่ก็ยังดีที่คิดได้ว่า หากกลับไปได้จะไม่ทำอีก นี่เพราะท่านมีทิฐิ ทิฐิมันปิดกั้นท่าน เช่นเดียวกันกับที่ท่านไม่เข้าใจความว่างกับความว่างเปล่า เมื่อท่านไม่เข้าใจ มีทิฐิว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ไม่เปิดใจรับสิ่งอื่น ท่านก็จะดันอยู่แค่นี้
     
  17. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๕
    [๑๑๙] อากาศธาตุ เป็นไฉน
    อากาศธาตุมี ๒ อย่าง คือ อากาศธาตุภายใน อากาศธาตุภายนอก
    ในอากาศธาตุ ๒ อย่างนั้น อากาศธาตุภายใน เป็นไฉน
    อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า
    ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้องเป็นภายใน เฉพาะตน เป็น
    อุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกินของดื่มของเคี้ยว
    ของลิ้ม ช่องที่พักอยู่แห่งของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้ม และช่องสำหรับของกินของดื่มของ
    เคี้ยวของลิ้มไหลออกเบื้องต่ำ หรือ อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติ
    อันนับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง
    เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่าอากาศธาตุภายใน
    อากาสธาตุภายนอก เป็นไฉน
    อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า
    ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้อง เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก
    นี้เรียกว่า อากาสธาตุภายนอก
    อากาสธาตุภายใน อากาสธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็นหมวดเดียวกัน
    นี้เรียกว่า อากาสธาตุ


    อากาศธาตุเป็นความว่างเปล่า การรู้เห็นตามความเป็นจริง เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความว่าง ความหมายต่างกันอยู่มากครับ ท่านยึดติดอยู่กับขันธ์ ๕ ท่านจึงแยกความว่างกับความว่างเปล่า ไม่ออกจากกัน ก็ท่านมีทิฐิว่าเป็นสิ่งเดียวกันเสียแล้ว เช่นเดียวกันพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า จิต มโน วิญญาณมีความหมายเหมือนกัน ท่านก็มีทิฐิว่า ไม่เหมือนกัน พระพุทธเจ้าตรัสไว้หลายพระสูตรครับ จะเก่งกว่าพระพุทธเจ้าไปถึงไหนครับ
     
  18. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๕
    [๑๑๙] อากาศธาตุ เป็นไฉน
    อากาศธาตุมี ๒ อย่าง คือ อากาศธาตุภายใน อากาศธาตุภายนอก
    ในอากาศธาตุ ๒ อย่างนั้น อากาศธาตุภายใน เป็นไฉน
    อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า
    ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้องเป็นภายใน เฉพาะตน เป็น
    อุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกินของดื่มของเคี้ยว
    ของลิ้ม ช่องที่พักอยู่แห่งของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้ม และช่องสำหรับของกินของดื่มของ
    เคี้ยวของลิ้มไหลออกเบื้องต่ำ หรือ อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติ
    อันนับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง
    เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่าอากาศธาตุภายใน
    อากาสธาตุภายนอก เป็นไฉน
    อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า
    ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้อง เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก
    นี้เรียกว่า อากาสธาตุภายนอก
    อากาสธาตุภายใน อากาสธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็นหมวดเดียวกัน
    นี้เรียกว่า อากาสธาตุ

    ----
    ความว่างเปล่า
     
  19. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๙
    [๒๖๕] คำว่า ต่อมุนีผู้ประพฤติว่าง มีความว่าง ว่า คือ ผู้ว่าง ผู้เปล่า สงัดจาก
    กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่
    ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี
    ความถือตัว ความดูหมิ่นท่าน ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวน
    กระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง.

    ----
    ความว่าง
     
  20. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผมว่าคุณอ่านแล้วเข้าใจไม่ถูกต้องแล้วครับ ผมอธิบายถึงเวลาที่กำลังจะหมดลมหายใจ

    เมื่อหลายๆชาติที่ผ่านมาครับ ไม่ใช่ในชาติปัจจุบัน ที่ผมอธิบายคือเหตุของการกลับมาเกิด

    ด้วยการปรุงแต่งของจิต และ ผมไม่เคยบอกว่าไม่ต้องศึกษาพระไตรปิฎกเลยครับ

    ผมบอกแต่ว่าไม่ควรยึดติดในพระไตรปิฎก เมื่อศึกษาแล้วควรนำมาปฎิบัติให้เห็นด้วยตนเอง

    จึงจะเข้าใจอย่างชัดเจน นี่คือที่ผมสื่อครับ หากเข้าใจตรงกันแล้ว คงไม่มีการโต้เถียงนะครับ

    สาธุครับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...