จิตคืออะไร?จิตมีชื่อเรียกถึง ๑๐ ชื่อ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 1 กรกฎาคม 2013.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จิตคืออะไร

    จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่ง รู้อารมณ์ จิตเป็นตัวรู้ สิ่งที่จิตรู้นั้นเป็นอารมณ์ จิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นแหละคืออารมณ์

    อีกนัยหนึ่งแสดงว่า จิตคือธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ รับ จำ คิด รู้ ซึ่งอารมณ์ จิตต้องมีอารมณ์ และต้องรับ อารมณ์จึงจะรู้ และจำ แล้วก็คิดต่อไปสมตามนัยขยายความตามบาลีว่า

    จิตฺเตตีติ จิตฺตํ อารมฺมณํ วิชานาตีติ อตฺโถ ฯ

    ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต มีอรรถว่า ธรรมชาติที่รู้อารมณ์คือ จิต

    ในปฏิสัมภิทาพระบาลีมหาวัคค แสดงว่าจิตนี้มีชื่อที่เรียกใช้เรียกขานกันตั้ง ๑๐ ชื่อ แต่ละชื่อก็แสดงให้รู้ ความหมายว่าจิตคืออะไร ดังต่อไปนี้

    ยํ จิตฺตํ มโน หทยํ มานสํ ปณฺฑรํ มนายตนํ มนินฺทฺริยํ วิญฺญาณํ วิญฺญาณกฺขนฺโธ ตชฺชา มโนวิญฺญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ ฯ

    ซึ่ง อัฏฐสาลินีอรรถกถา อธิบายว่า
    ๑. ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต
    ๒. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโน
    ๓. จิตนั่นแหล่ะได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า หทัย
    ๔. ธรรมชาติคือ ฉันทะที่มีในใจนั่นเอง ชื่อว่า มานัส
    ๕. จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงชื่อว่า ปัณฑระ
    ๖. มนะนั่นเองเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ จึงชื่อว่า มนายตนะ
    ๗. มนะอีกนั่นแหละที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า มนินทรีย์
    ๘. ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ
    ๙. วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์
    ๑๐. มนะนั่นเองเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กรกฎาคม 2013
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สภาพหรือลักษณะของจิต​

    จิตเป็นปรมัตถธรรม ดังนั้น จิตจึงมีสภาวะ หรือสภาพ หรือลักษณะทั้ง ๒ อย่างคือ ทั้งสามัญลักษณะ และวิเสสลักษณะ
    สามัญญลัษณะ หรือไตรลักษณ์ของจิต มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ ประการคือ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ
    จิตนี้เป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยง ไม่มั่นคง หมายถึงว่า ไม่ยั่งยืน ไม่ตั้งอยู่ได้ตลอดกาล
    จิตนี้เป็นทุกขัง คือทนอยู่ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ทนอยู่ไม่ได้ตลอดกาล จึงมีอาการเกิดดับ เกิดดับ อยู่ร่ำไป
    จิตนี้เป็นอนัตตา คือเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาให้ยั่งยืน ให้ทนอยู่ไม่ให้เกิดดับ ก็ไม่ได้เลย

    และเพราะเหตุว่าจิตนี้ เกิดดับ เกิดดับ สืบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วเหลือประมาณ
    จนปุถุชนคน ธรรมดาเข้าใจไปว่า จิตนี้ไม่มีการเกิดดับ แต่ว่ายั่งยืนอยู่จนตลอดชีวิตจึงดับไป
    ก็เหมือนกับเข้าใจว่า กระแสไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ ซึ่งกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็ว
    จนกระทั่งเราเห็นหลอดไฟสว่างอยู่ตลอดเวลา ก็เข้าใจว่ากระแสไฟฟ้าไม่ได้ไหลไปแล้วกลับฉะนั้น
     
  3. ลูกแม่ปลีก

    ลูกแม่ปลีก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    61
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +465
    [​IMG]


    อ้างอิง
    บทเรียนอภิธรรม ตอนที่ ๒ จิตคืออะไร หลักสูตรเรียนทางอินเตอร์เน็ต
    อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
    www.buddhism-online.org
     
  4. ลูกแม่ปลีก

    ลูกแม่ปลีก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    61
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +465
    [​IMG]


    อ้างอิง
    บทเรียนอภิธรรม ตอนที่ ๒ จิตคืออะไร หลักสูตรเรียนทางอินเตอร์เน็ต
    อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
    www.buddhism-online.org
     
  5. ลูกแม่ปลีก

    ลูกแม่ปลีก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    61
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +465
    [​IMG]


    อ้างอิง
    บทเรียนอภิธรรม ตอนที่ ๒ จิตคืออะไร หลักสูตรเรียนทางอินเตอร์เน็ต
    อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
    www.buddhism-online.org
     
  6. ลูกแม่ปลีก

    ลูกแม่ปลีก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    61
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +465
    [​IMG]
    [​IMG]


    อ้างอิง
    บทเรียนอภิธรรม ตอนที่ ๒ จิตคืออะไร หลักสูตรเรียนทางอินเตอร์เน็ต
    อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
    www.buddhism-online.org
     
  7. Workgroup

    Workgroup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +1,947
    ปัญจักขันธา ฯ รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ
    สังขารักขันโธ วิญญาณักขันโธ ฯ

    ทวาทะสายะตะนานิ ฯ จักขวายะตะนัง รูปายะตะนัง โสตา-
    ยะตะนัง สัททายะตะนัง ฆานายะตะนัง ชิวหายะตะนัง
    ระสายะตะนัง กายายะตะนัง โผฏฐัพพายะตะนัง มะนายะตะนัง
    ธัมมายะตะนัง ฯ

    อัฏฐาระสะ ธาตุโย ฯ จักขุธาตุ รูปะธาตุ จักขุวิญญาณะธาตุ
    โสตะธาตุ สัททะธาตุ โสตะวิญญาณะธาตุ ฆานะธาตุ คันธะธาตุ ฆานะ-
    วิญญาณะธาตุ ชิวหาธาตุ ระสะธาตุ ชิวหาวิญญาณะธาตุ กายะธาตุ
    โผฏฐัพพะธาตุ กายะวิญญาณะธาตุ มะโนธาตุ ธัมมะธาตุ มะโน-
    วิญญาณะธาตุ ฯ

    พาวีสะตินทริยานิ ฯ จักขุนทริยัง โสตินทริยัง ฆานินทริยัง
    ชิวหินทริยัง กายินทริยัง มะนินทริยัง อิตถินทริยัง ปุริสินทริยัง
    ชีวิตินทริยัง สุขินทริยัง ทุกขินทริยัง โสมะนัสสินทริยัง โทมะนัส-
    สินทริยัง อุเปกขินทริยัง สัทธินทริยัง วิริยินทริยัง สะตินทริยัง
    สะมาธินทริยัง ปัญญินทริยัง อะนัญญะตัญญัสสามีตินทริยัง อัญญินท-
    ริยัง อัญญาตาวินทริยัง ฯ

    จัตตาริ อะริยะสัจจานิ ฯ ทุกขัง อะริยะสัจจัง ทุกขะสะมุทะโย
    อะริยะสัจจัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง ทุกขะนิโรธะคามินี
    ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ฯ

    ขันธ์ ๕ คือรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อายตนะ ๑๒ คือ อายตนะ คือ ตา รูป หู เสียง จมูก กลิ่น ลิ้นกับรส กายสิ่งที่ถูกต้องได้ ใจกับอารมณ์ของใจ

    ธาตุ ๑๘ คือ ธาตุคือ ตา รูป วิญณาณทางตา หู เสียง วิณณาณทางหู จมูก กลิ่น วิญญาทางจมูก สิ้น รส วิณณาณทางสิ้น กาย สิ่งที่ถูกต้องได้ วิณณาณทางกาย ใจ อารมณ์ของใจ วิณณาณทางใจ

    อินทรีย์ ๒๒ คือ อินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ความเป็นหญิง ความเป็นชาย ชีวิต สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อินทรีย์คืออัศยาศัยที่มุ่งบรรลุมรรคผล อินทรีย์ คือการตรัสรู้ สัจจธรรมด้วยมรรค อินทรีย์ของพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้สัจจธรรมแล้ว

    อริยสัจ์ ๔ คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทา

    ตรงดีครับสาธุครับ
     
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ลักขณาทิจตุกะของจิต ก็มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๔ ประการคือ

    วิชานน ลกฺขณํ มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
    ปุพฺพงฺคม รสํ เป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ
    สนฺธาน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการเกิดต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็นอาการปรากฎ
    นามรูป ปทฺฏฐานํ มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด

    ในธรรมบท ภาค ๒ มีคาถากล่าวถึงเรื่องการระวังสังวรจิต และมีความกล่าวถึง
    ลักษณะหรือสภาพของจิตด้วย จึงขอนำมาแสดงไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้

    ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสริรํ คูหาสยํ
    เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ฯ

    แปลความว่า ชนทั้งหลายใด จักระวังจิต ซึ่งไปไกล ไปเดี่ยว ไม่มีสรีระ (รูปร่าง) มีคูหาเป็นที่อาศัย ไว้ได้
    ชนทั้งหลายจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร
    อนึ่ง จิตเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้เกิดขึ้น ทำให้เป็นไปได้ คือทำให้วิจิตรได้ถึง ๖ ประการ

    ๑. วิจิตรในการกระทำ คือทำให้งดงาม แปลก น่าพิศวง พิลึกกึกกือ เช่น สิ่งของต่างๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น
    ย่อมมีทั้งที่งดงาม แปลกตาน่าพิศวง ตลอดจนน่าเกลียด น่าสยดสยองสพรึงกลัว

    ๒. วิจิตรด้วยตนเอง คือ ตัวจิตเองก็แปลก น่าพิศวง มีประการต่างๆ นานา
    เช่น จิตดีก็มี ชั่วก็มี จิตที่ฟุ้งซ่าน จิตที่สงบ จิตเบาปัญญา จิตที่มากด้วยปัญญา
    จิตที่มีความจำเลอะเลือน จิตที่มีความจำเป็นเลิศ สุดที่จะพรรณนา

    ๓. วิจิตรในการสั่งสมกรรมและกิเลส ก็น่าแปลกที่จิตนั่นแหละเป็นตัวที่ก่อกรรมทำเข็ญ
    และก็จิตนั่นแหละเป็นตัวสะสมกรรมและกิเลสที่ตัวนั้นทำไว้เอง น่าแปลก น่าพิศวงยิ่งขึ้น ก็ตรงที่ว่า
    กรรมอะไรที่ไม่ดีที่ตัวทำ เอง ก็ไม่น่าจะเก็บสิ่งที่ไม่ดีนั้นไว้ แต่ก็จำต้องเก็บต้องสั่งสมไว้

    ๔. วิจิตรในการรักษาไว้ ซึ่งวิบากที่กรรมและกิเลสได้สั่งสมไว้ หมายความว่ากรรมทั้งหลาย
    ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมที่จิตเป็นตัวการก่อให้เกิดขึ้นนั้น จะไม่สูญหาย
    ไปไหนเลย แม้จะช้านานปานใด ก็ไม่มีการเสื่อมคลายไป
    เมื่อได้ช่องสบโอกาสเหมาะเมื่อใด เป็นต้องได้รับผลของกรรมเมื่อนั้นจนได้

    ๕. วิจิตรในการสั่งสมสันดานของตนเอง หมายถึงว่าการกระทำกรรมอย่างใดๆ ก็ตาม
    ถ้ากระทำอยู่บ่อยๆ ทำอยู่เสมอๆ เป็นเนืองนิจ ก็ติดฝังในนิสสัยสันดานให้ชอบกระทำ
    ชอบพฤติกรรมอย่างนั้นไปเรื่อยๆ ไป

    ๖. วิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ หมายถึงว่าจิตนี้รับอารมณ์ได้ต่างๆ นานาไม่มีที่จำกัดแต่น่าแปลก
    น่าพิศวงที่มักจะรับอารมณ์ที่ไม่ดี ที่ชั่วได้ง่ายดาย

    http://www.thepathofpurity.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กรกฎาคม 2013
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จำแนกจิตเป็น ๔ ประเภท​


    เมื่อกล่าวตาม สภาพ คือกล่าวตามลักษณะของจิตแล้ว จิตนี้มีเพียง ๑
    เพราะจิตมีสภาวะ มีสภาพ มีลักษณะ รับรู้อารมณ์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นเอง

    แต่เมื่อกล่าวตามอารมณ์ที่รู้ ตามประเภทที่รู้ กล่าวคือ รู้ในเรื่องกามที่เป็นบุญเป็นบาปรู้เรื่องรูปฌาณ
    รู้ในเรื่องอรูปฌาณ รู้ในเรื่องนิพพานเหล่านี้แล้ว จิตก็มีจำนวนนับอย่างพิศดารได้ถึง ๑๒๑ ดวง
    หรือ ๑๒๑ อย่าง ๑๒๑ ชนิด และจำแนกได้เป็นประเภทตามอาการที่รู้นั้นได้เป็น ๔ ประเภท คือ

    ๑. กามาวจรจิต ๕๔ ดวง
    ๒. รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
    ๓. อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง
    ๔. โลกุตตรจิต ๘ ดวง หรือ ๔๐ ดวง
    รวมเป็น ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง

    ๑. กามาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ข้องอยู่ ที่ติดอยู่ ที่หลงอยู่ ที่เจืออยู่ในกามตัณหา
    หรือเป็นจิตที่ส่วนมากท่องเที่ยววนเวียนอยู่ในกามภูมิ จิตประเภทนี้เรียกสั้นๆ ว่า กามจิต มีจำนวน ๕๔ ดวง

    ๒. รูปาวจรจิต เป็นจิตที่ถึงซึ่งรูปฌาณ พอใจที่จะเป็นรูปพรหม
    หรือเป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูปภูมิ จิตประเภทนี้มีจำนวน ๑๕ ดวง

    ๓. อรูปาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่เข้าถึงซึ่งอรูปฌาณ พอใจที่จะเป็นอรูปพรหมหรือ
    เป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ใน อรูปภูมิ จิตประเภทนี้มีจำนวน ๑๒ ดวง

    ๔. โลกุตตรจิต เป็นจิตประเภทที่กำลังพ้นและพ้นแล้วจากโลกทั้ง ๓ คือ
    พ้นจาก กามโลก (กามภูมิ), จากรูปโลก (รูปภูมิ) และจากอรูปโลก (อรูปภูมิ) จิตประเภทนี้มีจำนวน

    เพียง ๘ ดวง ถ้าจิต ๘ ดวงนี้ประกอบด้วยฌาณด้วยแล้ว จิตแต่ละดวงก็แจกได้เป็น ๕
    ตามชั้นตามประเภทของฌาณ ซึ่งมี ๕ ชั้น จึงเป็นจิตพิศดาร ๔๐ ดวง ดังนั้น จิตทั้งหมด
    นับโดยย่อก็เป็น ๕๔ ดวง และนับโดยพิศดารก็เป็น ๑๒๑ ดวงที่นับอย่างพิศดารนั้น
    จำนวนที่เพิ่มขึ้น ก็เพิ่มที่โลกุตตรกุศลจิตประเภทเดียวเท่านั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กรกฎาคม 2013
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    กามาวจรจิต ​

    กามาวจรจิต หรือ กามจิต ซึ่งมีจำนวน ๕๔ ดวงนั้น จำแนกได้เป็น ๓ จำพวก คือ
    อกุศลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๘ กามาวจรโสภณจิต ๒๔

    อกุศลจิต เป็นจิตที่ไม่ฉลาด ไม่ดี ไม่งาม เป็นจิตที่ทราม ที่ชั่ว ที่หยาบ ที่เป็นบาป ที่มีโทษ
    และให้ผลเป็นทุกข์ ที่ท่านแสดงอกุศลจิตก่อน ก็เพื่อจะให้รู้จักสิ่งชั่ว
    จะได้ไม่ประพฤติต่ำช้า อันจะนำความเดือดร้อนมาสู่ตนเองและผู้อื่น อุปมาว่าเราจักต้องรู้จักผู้ร้ายก่อน
    จะได้หลบหนีให้ห่างไกล จึงจะพ้นความเดือดร้อนวุ่นวาย เมื่อไม่เดือดร้อนวุ่นวาย ก็จะปกติสุข
    มีความสงบเป็นโอกาสที่จะประกอบกรรมดีได้โดยสะดวก

    อเหตุกจิต เป็นจิตที่ ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป
    เพราะไม่มีเหตุบุญหรือเหตุบาปมาร่วมประกอบด้วย
    เป็นจิตที่มีประจำอยู่แล้วทั่วทุกตัวคนและเกิดขึ้นเป็นนิจ
    แทบไม่มีเว้นว่าง เป็นจิตที่ไม่ใช่บุญไม่ใช่บาปก็จริง
    แต่ทว่าเป็นจิตที่เป็นสื่อหรือเป็นทางน้อมนำมาซึ่งบาปและบุญอยู่แทบทุกขณะ
    ท่านจึงแสดงอเหตุกจิตเป็นอันดัยสอง รองต่อมาจากอกุศลจิต ทั้งนั้น
    เพื่อจะได้ระมัดระวังสังวรไว้ มิให้ตกไปในทางอกุศล อันเป็นทางที่ต่ำทราม

    กามาวจรโสภณจิต เป็นจิตที่ดี ที่งาม ที่ฉลาด ที่สะอาด
    ไม่ก่อความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นแก่ตนและคนอื่นเลย เป็นจิตที่ปราศจากโทษ
    และให้ผลเป็นสุข ตามควรแก่วิสัยของบุคคลที่ยังต้องอยู่ในโลก

    รวมความว่า กามจิตนี้ แสดงให้รู้ว่า จิตอะไรเป็นจิตที่ชั่ว ซึ่งจะทำให้คนตกต่ำไป
    เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นสัตว์เดรัจฉาน การแสดงอกุศลจิตก็เปรียบได้ว่า สอนคนไม่ให้เป็นสัตว์

    แสดงให้รู้ว่า จิตอะไรที่มีประจำอยู่เป็นนิจ อันเป็นทางน้อมนำซึ่งบาปและบุญ
    จะได้สังวรระวังไว้ไม่ให้ตกไปในทางที่ชั่ว การแสดงอเหตุกจิต ก็เปรียบได้ว่าสอนคนให้รู้ตัวว่าเป็นคน

    แสดงให้รู้ว่า จิตอะไรบ้างที่ดีงาม เป็นบุญเป็นกุศล อันจะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข
    ทั้งไม่เป็นทุกข์โทษภัยแก่ใครๆ ด้วย ก็เปรียบได้ว่า สอนคนให้เป็นมนุษย์สอนคนให้เป็นเทวดา

    ขอกล่าวถึง รูปาวรจิต อรูปาวจรจิต และโลกุตตรจิตเสียตรงนี้ด้วยเลย

    การแสดง รูปาวจรจิต และอรูปาวจรจิต เป็นการสอนมนุษย์ให้เป็นเทวดาให้เป็นพรหม
    การแสดง โลกุตตรจิต เป็นการสอน มนุษย์ เทวดา และพรหม ให้หลุดพ้นจากทุกข์ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กรกฎาคม 2013
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อกุศลจิต ​


    อกุศลจิต แม้จะเป็นจิตที่ชั่วที่เป็นบาปและให้ผลเป็นทุกข์
    แต่ส่วนมากมักเกิดได้ง่าย และเกิดได้บ่อย
    ทั้งนี้เพราะเหตุว่าเมื่อจิตได้รับอารมณ์ใดแล้ว ส่วนมากก็ไม่ได้พิจารณาให้แยบคาย
    คือไม่พิจารณาให้ซึ่งถึงสภาพความเป็นจริงของอารมณ์ที่ประสบนั้น
    การไม่ใส่ใจพิจารณาอารมณ์ด้วยดีนี้เรียกว่า อโยนิโสมนสิการ เมื่อมี อโยนิโสมนสิการ
    อกุศลจิตย่อมเกิดและอโยนิโสมนสิการนี้ ย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุ ๕ ประการ คือ

    ๑. ปุพฺเพ อกตปุญฺญตา ไม่ได้สร้างสม บุญไว้แต่ปางก่อน
    ๒. อปฺปฏิรูปเทสวาส อยู่ในประเทศที่ไม่สมควร (คือไม่มีสัปบุรุษ)
    ๓. อสปฺปุริสูปนิสฺสย ไม่ได้คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ
    ๔. อสทฺธมฺมสฺสวน ไม่ได้ฟังธรรมของสัปบุรุษ
    ๕. อตฺตมิจฉาปณิธิ ตั้งตนไว้ผิด

    เหตุให้เกิด อโยนิโสมนสิการ ๕ ประการนี้ ประการที่ ๑ เป็นอดีตกรรมส่วนที่เหลือ อีก ๔ ประการ เป็นปัจจุบันกรรม
    อกุศลจิต ซึ่งมีจำนวน ๑๒ ดวงนั้น มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๓ แสดงว่า

    ๓. อฏฺฐธา โลภมูลานิ โทสมูลานิ จ ทฺวิธา
    โมหมูลานิ จ เทวฺติ ทฺวาทสากุสลา สิยุํ ฯ
    แปลความว่า อกุศลจิตมี ๑๒ ดวง ได้แก่

    โลภมูลจิต ๘
    โทสมูลจิต ๒
    โมหมูลจิต ๒

    โลภมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเง้าเค้ามูลเกิดมาจาก ความอยากได้
    ความต้องการ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความติดใจ ความชอบใจในอารมณ์
    รวมความว่าจิตจำพวกนี้ มีโลภะเป็นตัวนำ

    โทสมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเง้าเค้ามูลเกิดมาจาก ความไม่ชอบใจ เสียใจ กลุ้มใจ รำคาญใจ
    หงุดหงิด โกรธ เกลียด กลัว ประทุษร้าย ทำลาย รวมความว่าไม่อยากได้ในอารมณ์นั้น มีโทสะเป็นตัวนำ

    โมหมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเง้าเค้ามูลเกิดมาจาก ความหลง ความงมงาย ความไม่รู้เหตุผลต้นปลาย มีโมหะเป็นตัวนำ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ---_1_~3.JPG
      ---_1_~3.JPG
      ขนาดไฟล์:
      8.5 KB
      เปิดดู:
      734
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กรกฎาคม 2013
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โลภมูลจิต

    โลภมูลจิต เป็นจิตที่มีความอยากได้เป็นมูลเหตุ
    หรือเป็นจิตที่มีโลภะเป็นตัวนำ หรือ จะเรียกว่า โลภสหคตจิต
    คือ จิตที่เกิดพร้อมด้วยโลภะก็ได้ เหตุให้เกิดโลภะมี ๔ ประการได้แก่
    ๑. โลภปริวารกมฺมปฏิสนฺธิกตา ปฏิสนธิมาด้วยกรรมที่มีโลภะเป็นบริวาร
    ๒. โลภอุสฺสนฺนภวโต จวนตา จุติมาจากภพที่มีโลภะมาก
    ๓. อิฏฐารมฺมณสมาโยโค ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดีๆ อยู่เนืองๆ
    ๔. อสฺสาททสฺสนํ ได้เห็นสิ่งที่เป็นที่ชอบใจ

    โลภมูลจิต หรือโลภสหคตจิต ซึ่งมีจำนวน ๘ ดวง คือ

    ๑. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน

    ๒. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน

    ๓. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน

    ๔. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน

    ๕. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน

    ๖. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน

    ๗. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน

    ๘. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ---_1_~3.JPG
      ---_1_~3.JPG
      ขนาดไฟล์:
      8.5 KB
      เปิดดู:
      686
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กรกฎาคม 2013
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โลภสหคตจิต ๘ ดวงนี้ มีสิ่งที่ควรทำความเข้าใจอยู่ ๓ คู่ คือ

    คู่ที่ ๑ โสมนสฺสสคตํ แปลว่า เกิดพร้อมด้วยความดีใจนั้นต้องถึงกับมีปีติ คือ ความอิ่มเอิบใจด้วย
    อุเปกขาสหคตํ แปลว่า เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ มีความหมายว่าดีใจเพียงนิดหน่อยเพียงเล็กน้อย
    ไม่ถึงกับปลื้มปีติอิ่มเอิบใจด้วยเลย ทั้งโสมนัสและอุเบกขา เป็นเวทนา
    ซึ่งเวทนาทั้งหมดนั้นมี ๕ คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา และอุเบกขาเวทนา
    แต่ในโลภมูลจิตนี้ มีเวทนาได้เพียง ๒ คือ โสมนัสและอุเบกขาเท่านั้น

    คู่ที่ ๒ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ กับ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ
    คำว่า ทิฏฺฐิ แปลตามพยัญชนะ คือ ตามศัพท์ ก็แปลว่า ความเห็น ไม่เจาะจงว่าเป็นความเห็นผิด
    หรือความเห็นที่ถูกต้องตามสภาพความเป็นจริง แต่โดยอรรถ คือตามความหมายแห่งธรรมแล้ว
    ถ้าใช้ลอยๆ ว่า ทิฏฐิ เฉยๆ ก็หมายถึงว่าเป็น มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดเสมอไป เว้นไว้แต่ในที่ใดบ่งบอกว่าเป็น สัมมาทิฏฐิ
    หรือ ทิฏฐิวิสุทธิ จึงมีความหมายว่าเป็นความเห็นชอบ เห็นถูกต้องตามสภาพแห่งความเป็นจริง

    ทิฏฐิคตสัมปยุตต ในโลภมูลจิตนี้ จึงหมายถึงว่าประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิโดยตรงทีดียว
    เช่นเห็นผิดว่า บาปไม่มี ผลแห่งการทำบาปไม่มี ลักทรัพย์เขา ปล้นทรัพย์เขา ถ้าไม่ถูกจับติดคุก
    ก็ไม่ต้องตกนรกหมกไหม้ที่ไหนเลย ดังนี้เป็นต้น มีโมหะคือไม่รู้ว่าทำเช่นนั้นจะต้องตกนรกแล้ว
    ยังมีทิฏฐิคือ อวดรู้ว่า ไม่มีนรกที่จะต้องตกไปอีกด้วย ผู้ที่เห็นผิดเช่นนี้ย่อมได้รับทุกข์รับโทษหนักมากเป็นธรรมดา
    เพราะย่อมกระทำลงด้วยความมาดหมายและมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ ไม่มีความยับยั้งชั่งใจประการใดๆ เลย
    บางทีก็ถึงกับทำเย้ยให้ดูว่านี่ไงล่ะ ไม่เห็นตกนรกด้วยซ้ำไป

    ส่วน ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺต หมายเพียงว่า ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดเท่านั้น
    จะต้องมีความเห็นถูกด้วยหรือไม่นั้น ไม่ได้กล่าวถึง กล่าวอีกนัยหนึ่งว่าทำไปโดยไม่รู้
    แต่ไม่ถึงกับอวดรู้อีกด้วย โทษทัณฑ์ก็ย่อมเบาหน่อย

    คู่ที่ ๓ อสงฺขาริกํ แปลว่า เกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งชักชวน ส่วน สสงฺขารกํ แปลว่า เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน
    สิ่งชักชวน ชักนำ ชักจูง นั้น คือ สังขาร ที่แปลกันจนคุ้นหูว่า ปรุงแต่งนั่นเอง
    สังขารในที่นี้หมายถึง กายปโยค วจีปโยค และ มโนปโยค
    กายปโยค การชักชวน ชักนำ ชักจูง ด้วยกาย เช่น จูงมือไป กวักมือชี้มือ พยักหน้า ขยิบตา ทำท่าทางตบตี เป็นต้น
    วจีปโยค การชักชวน ชักนำ ชักจูง ด้วยวาจา เช่นพูดเกลี้ยกล่อม ยกย่อง ยุยง กระทบกระเทียบ แดกดัน เป็นต้น
    มโนปโยค การชักชวน ชักนำ ชักจูง ด้วยใจ เป็นการนึกคิดทางใจก่อน เช่นคิดถึงเรื่องสนุกสนานเพลิดเพลิน
    แล้วเกิดจิตโลภขึ้น หรือคิอถึงเรื่องไม่ดีไม่งามไม่ชอบใจต่างๆ ก็บันดาลโทสะขึ้น เป็นต้น

    อสงฺขาริกํ เป็นการเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน จึงเป็นจิตที่มีกำลังเข้มแข็ง (ติกฺข) ส่วน สสงฺขาริกํ นั้น
    เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน จึงเป็นจิตที่มีกำลังอ่อนไม่เข้มแข็ง (มนฺท) เกิดขึ้นโดยอาศัยสิ่งชักชวนของตนเอง
    ก็มีปโยคได้ทั้ง ๓ คือ ทั้งกายปโยค วจีปโยค และมโนปโยค แต่ถ้าเกิดขึ้นโดยอาศัยสิ่งชักชวนของผู้อื่น
    ก็มีปโยคเพียง ๒ คือ กายปโยค และวจีโยคเท่านั้น

    เหตุให้เกิดโสมนัสในโลภมูลจิต

    ๑. โสมนัสฺสปฏิสนฺธิกตา มีปฏิสนธิจิตเป็นโสมนัส
    ๒. อคฺมภีรปกติตา ไม่มีความสุขุมคัมภีรภาพ มีความคิดตื้นเป็นปกติ คือ ไม่มีความคิดนึกลึกซึ้ง
    ๓. อิฏฺฐารมฺมณสมาโยโค ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี
    ๔. พฺยสนมุตฺติ พ้นจากความพินาศ ๕ ประการ

    ความพินาศ ๕ ประการ คือ ญาติพฺยสน ความพินาศแห่งญาติ, โภคพฺยสน ความพินาศแห่งทร้พย์สมบัติ,
    โรคพฺยสน ความพินาศเพราะโรคภัยเบียดเบียน, ทิฏฺฐิพฺยสน ความพินาศด้วยเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม
    และ สีลพฺยสน ความพินาศด้วยประพฤติผิดศีลธรรม

    เหตุให้เกิดอุเบกขาในโลภมูลจิต
    ๑. อุเปกฺขาปฏิสนฺธิกตา มีปฏิสนธิจิตเป็นอุเบกขา
    ๒. คมฺภีรปกติตา มีความสุขุมคัมภีรภาพ มีความลึกซึ้งเป็นปกติ
    ๓. มชฺฌตฺตารมฺมณสมโยโค ได้ประสบกับอารมณ์ที่ปานกลาง
    ๔. พฺยสนมุตฺติ พ้นจากความพินาศ ๕ ประการ
    ๕. มูคธาตุกตา มีสันดานเป็นคนใบ้

    เหตุให้เกิดทิฏฐิคตสัมปยุตต
    ๑. ทิฏฐิชฺฌาสยตา มีมิจฉาทิฏฐิเป็นจริตอัธยาศัย
    ๒. ทิฏฺฐิวิปปนฺนปุคฺคลเสวนตา ชอบคบหากับผู้ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ
    ๓. สทฺธมฺมวิมุขตา ไม่ได้ศึกษาพระสัทธรรม
    ๔. มิจฺฉาวิตกฺกพหุลตา ชอบนึกคิดแต่เรื่องที่ผิดๆ
    ๕. อโยนิโส อุมฺมุชฺชนํ จมอยู่ในความพิจารณาที่ไม่แยบคาย

    เหตุให้เกิดทิฏฐิคตวิปปยุตต
    ๑. สสฺสตอุจเฉททิฏฺฐิอนชฺฌาสยตา ไม่มีสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิเป็นจริตอัธยาศัย คือ ไม่เป็นคนทิฏฐิจริต
    ๒. ทิฏฺฐิวิปฺปนฺนปุคฺคลอเสวน ไม่คบหาสมาคมกับคนมิจฉาทิฏฐิ
    ๓. สทฺธมฺมสมฺมุขตา มุ่งหน้าเข้าหาพระสัทธรรม
    ๔. สมฺมาวิตกฺกพหุลตา มากไปด้วยความคิดถูกคิดชอบ
    ๕. อโยนิโส น อุมฺมุชฺชนํ ไม่จมอยู่ในความพิจารณาที่ไม่แยบคาย

    เหตุให้เกิดอกุสลอสังขาริก
    ๑. อสงฺขาริกฺกมฺมชนิตปฏิสนฺธิกตา มีปฏิสนธิจิตเกิดจากอสังขาริก
    ๒. กลลกายจิตฺตตา มีความสุขกายสบายใจ (แข็งแรง)
    ๓. สีตุณฺหาทีนํ ขมนพหุลตา มีความอดทนต่อความเย็นและร้อนเป็นต้น จนเคยชิน
    ๔. กตฺตพฺพกมฺเมสุ ทิฏฺฐานิสํสตา เห็นผลในการงานที่จะพึงกระทำ
    ๕. กมฺเมสุ จิณฺณวสิตา มีความชำนาญในการงานที่ทำ
    ๖. อุตุโภชนาทิสปฺปายลาโภ ได้รับอากาศดีและอาหารดี เป็นต้น
    ส่วนเหตุให้เกิด อกุสลสสังขาริก ก็มี ๖ ประการ และมีนัยตรงกันข้ามกับอกุสลอสังขาริกที่แสดงแล้วนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      14.4 KB
      เปิดดู:
      683
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กรกฎาคม 2013
  14. vitcho

    vitcho เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +748
    ปล่อย ของ ใหญ่เลยนะ ท่าน ลุงหมาน.....

    ดี ครับ อนุโมทนาด้วย......
     
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    นักศึกษาพระอภิธรรมเบื้องต้น ชั้นจูฬตรี ครับ อ่านตามมาเรื่อยๆนะครับ จะเอามาลงให้ครบ ๙ ปริเฉทเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กรกฎาคม 2013
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โทสมูลจิต ​

    โทสมูลจิต เป็นจิตทีมีความโกรธความเกลียดเป็นมูลเหตุ หรือเป็นจิตที่มีโทสะเป็นตัวนำ
    หรือจะเรียกว่า ปฏิฆจิต คือจิตที่กระทบกระทั่งอารมณ์ที่ไม่ชอบก็ได้ และเหตุให้เกิดโทสะหรืปฏิฆะ มี ๕ ประการ ได้แก่
    ๑. โทสชฺฌาสยตา มีอัธยาศัยเป็นคนมักโกรธ
    ๒. อคมฺภีรปกติตา มีความคิดไม่สุขุม
    ๓. อปฺปสุตตา มีการศึกษาน้อย
    ๔. อนิฏฺฐารมฺมณสมาโยโค ได้ประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี
    ๕. อาฆาตวตฺถุสมาโยโค ได้ประสบอาฆาตวัตถุ ๑๐ ประการ

    อาฆาตวัตถุ ๑๐ ประการ คือ
    ๑. อาฆาตเขาโดยคิดว่า ได้ทำ ความเสื่อมเสียแก่เรา
    ๒. อาฆาตเขาโดยคิดว่า กำลังทำ ความเสื่อมเสียแก่เรา
    ๓. อาฆาตเขาโดยคิดว่า จักทำ ความเสื่อมเสียแก่เรา
    ๔. อาฆาตเขาโดยคิดว่า ได้ทำ ความเสื่อมเสียแก่ผู้ที่เรารักเราชอบ
    ๕. อาฆาตเขาโดยคิดว่า กำลังทำ ความเสื่อมเสียแก่ผู้ที่เรารักเราชอบ
    ๖. อาฆาตเขาโดยคิดว่า จักทำ ความเสื่อมเสียแก่ผู้ที่เรารักเราชอบ
    ๗. อาฆาตเขาโดยคิดว่า ได้ทำ ทำคุณทำประโยชน์แก่ผู้ที่เราเกลียดเราชัง
    ๘. อาฆาตเขาโดยคิดว่า กำลังทำ ทำคุณทำประโยชน์แก่ผู้ที่เราเกลียดเราชัง
    ๙. อาฆาตเขาโดยคิดว่า จักทำ ทำคุณทำประโยชน์แก่ผู้ที่เราเกลียดเราชัง
    ๑๐. ความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่สมควร เช่นเกิดโกรธขึ้นเมื่อสะดุดตอไม้หรือเหยียบหนาม เป็นต้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ---_1_~1.JPG
      ---_1_~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      6.2 KB
      เปิดดู:
      682
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โทสมูลจิต หรือ ปฏิฆจิต ซึ่งมี ๒ ดวง คือ

    ๑. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธ เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน

    ๒. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธ เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน

    โทสจิต ๒ ดวงนี้ มีสิ่งที่ควรทำความเข้าใจบางประการ คือ
    โทมนสฺสสหคตํ แปลว่า เกิดพร้อมด้วยความเสียใจ ความเสียใจ คือ โทมนัสนี้เป็นเวทนา
    ชื่อว่า โทมนัสเวทนา เป็นเวทนา ๑ ในเวทนา ๕ โทมนัสเวทนานี้
    เกิดได้พร้อมกับโทสจิต ๒ ดวงนี้เท่านั้นเอง จะเกิดพร้อมกับจิตอื่นใดหาได้ไม่

    ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ แปลว่า ประกอบด้วยความโกรธ ปฏิฆะ ความโกรธนั้นองค์ธรรม (ส่วนของธรรม) ก็ได้แก่
    โทสเจตสิก ปฏิฆะ หรือ โทสะนี้จะต้องเกิดพร้อมกับโทมนัสเวทนาจะเกิดพร้อมกับเวทนาอื่นใด หาได้ไม่

    ตามที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า โทมนัสเป็นเวทนาเจตสิกมีลักษณะเสวยอารมณ์ที่ไม่ดีกล่าวโดยขันธ์ ๕
    ก็เป็นเวทนาขันธ์ ส่วนปฏิฆะเป็นโทสเจตสิกมีลักษณะดุร้าย หยาบคาย กล่าวโดยขันธ์ ๕ ก็เป็น สังขารขันธ์
    ซึ่งแตกต่างกันอยู่ ถึงกระนั้นโทมนัสเวทนาก็จะต้องเกิดกับปฏิฆะเสมอ เพราะเป็นธรรมที่จะต้องเกิดร่วมกัน

    ส่วน อสังขาริก และสสังขาริก แห่งปฏิฆจิตนี้ ก็มีความหมายเป็นทำนองเดียวกัน
    กับ อสังขาริก และสสังขาริก แห่งโลภมูลจิตนั่นเอง

    อนึ่ง ที่โทสจิตไม่มีทิฏฐิคตสัมปยุตต คือไม่มีความเห็นผิดประกอบด้วยนั้น เพราะโทสจิตมี
    อารมณ์อันไม่พึงใจไม่ชอบใจ แต่ทิฏฐิความเห็นผิดนั้นเป็นที่พอใจติดใจในอารมณ์นั้น
    ความไม่พึงใจไม่ชอบใจ จะเกิดพร้อมกับความติดใจชอบใจ ในขณะเดียวกันไม่ได้
    ดังนั้นโทสจิตจึงไม่มีทิฏฐิประกอบด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ---_1_~1.JPG
      ---_1_~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      6.2 KB
      เปิดดู:
      670
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กรกฎาคม 2013
  18. THE SEVEN

    THE SEVEN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +870
    ช่วยแนบรูปเป็นรูปใหญ่ได้ไหมครับลุงหมาน จะได้saveไว้อ้างอิงในที่เดียวกัน
    หน้าเดียวกัน รูปทำให้ดูง่ายขึ้น ขอบคุณครับ
     
  19. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    รูปน่ะมีครับ เมื่อก่อนนี้ทำได้ เดี๋ยวนี้เขาเปลี่ยนแปลงไปเยอะ
    จะนำมาลงเหมือนอย่างแต่ก่อนไม่ได้ แต่ก็เห็นบางคนเขาเอามาลงได้นะ
    ถ้ารู้วิธีทำบอกแนะนำบ้างก็ดี หรือใครชำนาญเรื่องนี้ช่วยบอกบ้างครับ
    จะขอบคุณอย่างยิ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กรกฎาคม 2013
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โมหมูลจิต

    โมหะมูลจิต เป็นจิตที่ไม่มีความรู้ ความหลงเป็นมูลเหตุ หรือเป็นจิตที่มีโมหะเป็นตัวนำ
    จิตนี้เรียกว่า โมมูหจิต คือจิตที่ประกอบด้วยความหลงก็ได้ โมหะ หรือ อวิชชา มีความหมายอย่างเดียวกัน
    ในวิสุทธิมัคคกล่าวว่า โมหะนี้เป็นรากเหง้าแห่งบาปอกุศลทั้งมวล

    เหตุให้เกิดโมหะนั้นได้แก่ อโยนิโสมนสิการ คือการพิจารณาไม่แยบคาย
    พิจารณาไม่ละเอียดลึกซึ้งให้ถึงสภาพแห่งอารมณ์นั้นๆ ดังที่ได้กล่าวแล้วตอนเหตุให้เกิดอกุศลจิต

    โมหมูลจิต หรือ โมมูหจิต ซึ่งมีจำนวน ๒ ดวงนั้น คือ

    ๑. อุเปกฺขาสหคตํ วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ
    จิตหลงเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความสงสัย

    ๒. อุเปกฺขาสหคตํ อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตํ
    จิตหลงเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ---_1_~2.JPG
      ---_1_~2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      5.6 KB
      เปิดดู:
      640
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กรกฎาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...