กลั้นลมหายใจ ไม่ใช่ทางตรัสรู้ธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 20 สิงหาคม 2013.

  1. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    แล้วคุณล่ะ
     
  2. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ผมดับทั้งหมดแล้วทั้งกายและจิตสังขาร
     
  3. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อ้อ เลยมีเม้นท์ ออกมาเรื่อยๆ

    ถ้าระงับกายสังขารเท่ากับกลั้นลม
    กลั้นลมอยู่ตลอดเลยรึ ไม่ต้องหายใจเข้าออกกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 สิงหาคม 2013
  4. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    คุณไปอ่านพระไตรปิฎกเล่มไหนมานี่ โดนใครเขาหลอกมาหรือเปล่า?

    www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=1754&Z=2150
     
  5. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    มันไม่ใช่อย่างคุณคิดหรอกครับ แค่กลันไว้เล็กน้อยแล้วก็หายใจเข้าออก มันทำให้ปีติเกิดเร้วเท่านั้นครับ จะทำกายสังขารให้ระงับนั้นต้องออกแรงอีกเยอะครับ จิตต้องสงบพอสมควร
     
  6. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ไม่ชำนาญในฌาน
    ผู้ที่ชำนาญในฌาน เขามีวิธีที่เร็วกว่านี้เยอะ

    สภาวะดับหมดที่ว่า newamazing ใช้เวลา 6 ปี กว่าจะทำได้ 1 ครั้ง

    ผู้ชำนาญมากๆ ใช้เวลาไม่ถึง 2 วินาที
     
  7. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ถ้างั้น คุณจะพูดว่า การกลั้นลมเป็นการระงับกายสังขารได้อย่างไร
    แล้วช่วงไม่กลั้นล่ะ ไม่ระงับแล้วรึ

    ใครๆ ถึงเข้ามาบอกคุณว่า ระงับกายสังขารหมายถึงอะไร
     
  8. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ผมเก่งเนาะได้ฌาน4ก่อนฌาน1ห้าๆๆๆ สภาวะผมนิพานจร๊าพ่อคนดีที่สุดเก่งที่สุด
     
  9. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    อย่าเรียกกลั้นลมเลยเรียกว่าระงับลมชั่วคราว เพราะกายสังขารระงับนั้นลมหายใจก็หยุดเหมือนกันครับ แต่เราไม่ต้องเข้าไปทำ แต่พระสูตรที่บอกว่าเราจะระงับกายสังขารมีสติหายใจออกและเข้า นั้นให้เราเข้าไปกระทำระงับด้วยการกระทำ แต่กายสังขารที่เจริญอานาปานสติสมบูรณ์ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ จะดับเองเราไปกำหนดไม่ได้ว่าจะดับตอนไหนเมื่อเหตุปัจจัยได้มันก็ดับ ดั่งพระสูตรที่ตรัสไว้กับพระราหุลเรื่องอานาปานสติที่สมบูรณ์
     
  10. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ถ้าหายใจเข้าลมยังหยาบ แล้วระงับลมเสร็จ ลมหายใจออกก็ยังหยาบล่ะ
    แน่ใจว่าช่วงระงับลมนั้น ระงับกายสังขารแล้ว
     
  11. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ระงับจิตสังขาร

    อธิบายการทำจิตสังขารให้ระงับ โดนท่านพุทธทาส
    ,,

    อุทเทสแห่งอานาปานสติขั้นที่แปดนี้ มีหัวข้อว่า “ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก ดังนี้”. (ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ; ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ.)

    สิ่งที่ต้องวินิจฉัย มีอยู่เฉพาะคำว่า “ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่”. ส่วนคำนอกนั้น มีคำอธิบายเช่นเดียวกับคำอธิบายในอานาปานสติข้ออื่น ๆ ทุกประการ.

    การทำจิตตสังขารให้รำงับ ย่อมเนื่องกันอยู่กับการทำกายสังขารให้รำงับ, ฉะนั้น จึงมีการทำโดยแยบคาย ในส่วนที่เป็นการทำกายสังขารให้รำงับรวมอยู่ด้วย กล่าวคือ เมื่อบุคคลผู้ปฏิบัติกำลังมีอำนาจของสัญญาและเวทนาครอบงำจิตอยู่อย่างรุนแรง มีวิตกอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ แม้ในทางที่เป็นกุศลก็ตามเขาย่อมสามารถบรรเทากำลังหรืออำนาจของสัญญาและเวทนาลงเสียได้ ด้วยการทำลมหายใจเข้า – ออกที่กำลังเป็นไปอยู่อย่างหยาบ ๆ นั้น ให้ละเอียดลง ๆ ; เมื่อลมหายใจละเอียดลง ความรู้สึกที่เป็นสัญญาและเวทนาก็รำงับลง ซึ่งมีผลทำให้วิตกพลอยรำงับลงไปตามกัน. นี่คือการทำจิตสังขารให้รำงับลงด้วยอุบายอันแรก.

    วิธีปฏิบัติ คือผู้ปฏิบัติคอยกำหนดความรุนแรงของสัญญาและเวทนาเป็นิมิตและเป็นอารมณ์อยู่ในใจ. กำหนดให้เห็นชัดเจนจริง ๆ ว่ามันรุนแรงอยู่อย่างไรเบื้องต้น แล้วมันค่อยๆระงับหรือค่อยอ่อนกำลังลงอย่างไรเป็นลำดับมา ในเมื่อมีการควบคุมลมหายใจให้ประณีต หรือละเอียดยิ่งขึ้นตามลำดับ พึงถือเป็นหลักว่า การควบคุมลมหายใจ เป็นการควบคุมสัญญาและเวทนาพร้อมกันไปในตัว : เมื่อทำลมหายใจให้ประณีตได้ ก็สามารถทำสัญญาและเวทนาให้อ่อนกำลังลงได้. หากแต่ว่าในขั้นนี้ ไม่กำหนดนิมิตหรืออารมณ์ที่ลมหายใจอันค่อย ๆ รำ งับลง แต่กำหนดตัวสัญญาและเวทนาที่ค่อย ๆ รำ งับลงตามลมหายใจนั้นเอง เป็นนิมิตหรืออารมณ์ของสติ ฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า ทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ ดังนี้.

    หลักสำคัญมีอยู่ว่า เมื่อลมยิ่งละเอียดเท่าไร เวทนาและสัญญาก็รำงับลงเท่านั้น จิตถึงความละเอียดไม่ฟุ้งซ่านยิ่งขึ้นเท่านั้น. เมื่อถือเอาความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน เพราะมีความรำงับลงแห่งสัญญาและเวทนา ก็ดี และความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน เพราะกำหนดเอาสัญญาและเวทนาในขณะนั้นเป็นอารมณ์อยู่ก็ดี มาเป็นหลัก ก็เป็นอันกล่าวได้ว่า ได้มีการถือเอาเวทนาที่เป็นตัวจิตตสังขารโดยตรงที่กำลังรำงับอยู่ ๆ เป็นอารมณ์แห่งการกำหนดแล้ว ดังนี้. เป็นอันว่าในขณะนั้นมีความเต็มที่แห่งการหายใจ : มีความเต็มที่แห่งการหายใจเข้า – ออก, มีความเต็มที่แห่งสติที่เข้าไปกำหนดเวทนาที่รำงับลง ๆ ตามลมหายใจที่รำงับลง, และมีความเต็มที่แห่งความเป็นสมาธิ คือความที่จิตแน่วแน่ด้วยอำนาจของสติที่กำหนดเวทนาอันรำงับลงตามลมหายใจนั้น. ฉะนั้น จึงเป็นอันว่า แม้จะเป็นการกำหนดจิตตสังขาร คือเวทนาและสัญญาที่รำงับอยู่ก็มีความเป็นสติ และความเป็นสมาธิโดยสมบูรณ์.

    https://sites.google.com/site/smartdhamma/part12_anapanasati_buddhadhas
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 สิงหาคม 2013
  12. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ส่วนที่จัดเป็นอนุปัสสนาหรือเป็นญานในอานาปานสติขั้นนี้นั้นได้แก่การพิจารณาเห็นเวทนาที่กำ ลังรำงับลงนั้นเอง ว่าเป็นจิตตสังขารที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนกระทั่งละสัญญาว่าเที่ยง ว่าสุข ว่าตัวตนเสียได้, นี้เป็นอนุปัสสนาด้วย เป็นการรำงับสัญญาว่าเที่ยง ว่าสุข ว่าอัตตาเสียด้วย ; จึงเป็นทั้งญาณและเป็นทั้งการรำงับจิตตสังขารอย่างยิ่งพร้อมกันไปในตัว. หลังจากนั้นย่อมเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ความดับและความสละคืน ซึ่งทำให้ละความเพลิน ความกำหนัด ความก่อขึ้น และความยึดมั่นเสียได้ โดยนัยที่กล่าวแล้วโดยละเอียดในตอนท้ายของอานาปานสติขั้นที่ห้า. และอาการทั้งหมดนี้เป็นอาการของเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานภาวนา ซึ่งมีความหมายเต็มตามอรรถแห่งคำว่า ภาวนา โดยสมบูรณ์ จึงเป็นการประมวลมาได้ซึ่งธรรมทั้งปวง มีอินทรีย์ห้าเป็นต้น และมี อมโตคธะ เป็นที่สุด รวมกันเป็น ๒๙ อย่าง ดังที่กล่าวแล้วในตอนท้ายของอานาปานสติขั้นที่ห้า เช่นเดียวกัน.

    คำว่า รำงับ มีความหมายตั้งแต่ความค่อย ๆ รำงับลง กระทั่งถึงความดับสนิท และเป็นความเข้าไปสงบรำงับแล้วโดยสิ้นเชิง. ข้อนี้หมายถึงการที่เวทนามีกำลังอ่อนลง ๆ จกระทั่งดับไปไม่ปรากฏ. ผลก็คือปรุงแต่งจิตน้อย ๆ ลงจนกระทั่งไม่มีการปรุงแต่งจิตเลย ซึ่งเรียกว่าระงับจิตสังขารเสียได้.

    อาการทั้งหมดนี้ เป็นไปได้เพราะการควบคุมกำลังของสัญญาและเวทนา โดยอาศัยการควบคุมลมหายใจโดยนัยดังที่กล่าวแล้ว. โดยอำนาจของสติเป็นการทำให้จิตตสังขารรำงับลง, ด้วยอำนาจของสมาธิเป็นการให้จิตตสังขารรำงับไปไม่ปรากฏ.

    ด้วยอำนาจของอนุปัสสนาหรือญาณ ทำให้จิตตสังขารขาดเหตุขาดปัจจัยที่จะปรุงแต่ง คือจะไม่มีสัญญาหรือเวทนาชนิดที่จะเป็นจิตตสังขารขึ้นมาได้ ตลอดเวลาที่อนุปัสสนาหรือญาณนั้นยังมีอยู่, กล่าวคือ ยังเป็นการเจริญภาวนาอยู่.

    สรุปความว่า สติก็ดี สมาธิก็ดี อนุปัสสนา หรือญาณก็ดี ซึ่งรวมเรียกว่าภาวนาในที่นี้ เป็นไปโดยอาศัยลมหายใจเข้า หายใจออก และควบคุมลมหายใจเข้า – ออกโดยอาการที่สามารถควบคุมสัญญา และเวทนาได้อีกต่อหนึ่ง.

    ภาวนานี้ได้ชื่อว่าอานาปานสติ เพราะมีการกำหนดที่ลมหายใจ หรือด้วยลมหายใจหรือโดยการเนื่องด้วยลมหายใจ เช่นเดียวกับอานาปานสติในขั้นต้น ๆ ที่แล้วมาและได้ชื่อว่าเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานภาวนา ก็เพราะเป็นการเจริญภาวนา ที่มีการกำหนดสิตหรือการเข้าไปตั้งไว้ซึ่งสติ ด้วยการตามพิจารณาซึ่งเวทนานั้นเอง. และเนื่องจากภาวนานี้เป็นไปทุกลมหายใจเข้า – ออก จึงกล่าวว่าเป็นอานาปานสติด้วย เป็นสติปัฏฐานภาวนาด้วย ด้วยอาการอย่างนี้.

    การวินิจฉัยในอานาปานสติขั้นที่แปด สิ้นสุดลงเพียงแค่นี้ ซึ่งเป็นการสิ้นสุดของจตุกกะที่สอง อันกล่าวถึงภาวนาที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ทั้ง ๔ ขั้น.

    (จบ อานาปานสติขั้นที่แปด อันว่าด้วยการทำจิตตสังขารให้รำงับ.)

    https://sites.google.com/site/smartdhamma/part12_anapanasati_buddhadhas
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 สิงหาคม 2013
  13. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ขณะที่ระงับลมหายใจนั้นจะไม่มีลมหยาบหรือละเอียดเพราะลมหายใจไม่มีจิตจะระงับตามลม แต่เมื่อเรามีสติหายใจให้เราหายใจเบาๆไม่ว่าจะหายใจออกหรือเข้าปีติก็จะเริ่มเกิด ทีนี้ก็ให้เราเลิกกระทำการระงับลมให้ไปสนใจประครองปีติให้เกิดในช่วงนี้แหล่ะที่ลมหายใจจะละเอียดโดยตัวมันเอง แต่กายสังขารยังไม่ระงับนะครับ
     
  14. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    งั้นคุณก็ระงับกายสังขารช่วงกลั้นลมต่อไปนะ
    แล้วทำไมยังมีไปเลิกการทำให้ลมระงับ ไม่กลั้นลมแล้วมาประคองปิติล่ะ โอ้ ไม่กลั้นลมแล้ว กายสังขารไม่ระงับแล้ว ปิติเกิดได้??? แถมกายสังขารที่ระงับช่วงกลั้นลม กลายมาเป็นไม่ระงับแล้ว ???
    อรรถกถาคุณ คงอ่านเข้าใจได้ล่ะ
     
  15. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ก็คงสมควรแก่เวลา
    การระงับกายสังขาร รำงับลมหยาบไปถึงลมละเอียดจนคล้ายไม่มีลม
    การระงับจิตสังขาร ยกมาอีกรอบ
    (ขอขอบคุณคุณครูบาอาจารย์เสมอ)

    คำว่า รำงับ มีความหมายตั้งแต่ความค่อย ๆ รำงับลง กระทั่งถึงความดับสนิท และเป็นความเข้าไปสงบรำงับแล้วโดยสิ้นเชิง. ข้อนี้หมายถึงการที่เวทนามีกำลังอ่อนลง ๆ จนกระทั่งดับไปไม่ปรากฏ. ผลก็คือปรุงแต่งจิตน้อย ๆ ลงจนกระทั่งไม่มีการปรุงแต่งจิตเลย ซึ่งเรียกว่าระงับจิตสังขารเสียได้.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 สิงหาคม 2013
  16. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ผมไม่ต้องทำก็ได้หรือจะทำก็ได้ และที่บอกเพื่อใครต้องการเทคนิคนี้ไปทำ ผมยังไม่วสีขนาดลมหายใจเดียวหรอกครับ
     
  17. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ก็การกลั้นลมของคุณคือระงับกายสังขารไม่ใช่เหรอ คุณหายใจเข้ากลั้น หายใจออกกลั้น โอย... ทำได้ถี่เลย
    ถ้าทำได้ตลอด ก็ไม่ต้องหายใจเข้าออก กลั้นไว้เลย
     
  18. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ไม่มีใครทำได้ตลอดหรอกครับพระองค์ก็ให้ทำสลับกับหายใจ ส่วนสังขารทั้งหลายที่ดับหมดนั้นก็คงจะเป็นอริยเท่านั้นที่รับรู้ได้ และจะรับรู้ได้เพียงสี่ครั้งก็เป็นอรหันต์แล้ว หรืออาจจะเพียงครั้งเดียวก็เป็นอรหันต์ได้ถ้ามีเวลาทำกิจนานพอ ส่วรที่เข้าณานทั้งหลายนั้นสังขารยังไม่ดับหมดนะครับ ยกเว้นสัญญาเวทยิตนิโรธที่พระอริยเจ้าขั้นอนาคามีที่ได้สมบัติแปดเท่านั้นที่จะดับสังขารทั้งหลายได้หมด
     
  19. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ๑. บรรลุธรรมโดยไม่ต้องได้ฌาน
    ๒. กลั้นลมหายใจได้ฌาน
    ๓. ทำอานาปานได้ฌานทุกคน
    ๔.
    ๕.

    ข้อ ๑- ๓ ผิดทั้งปริยัติผิดทั้งปฏิบัติ เป็นมิจฉาทิฏฐิ


    ข้อ ๔.๑ ไม่มีลมหายใจเพราะลมหายใจไม่มีจิต
    ตอบ อาการแบบนี้เรียกว่าไม่มีสติครับ

    ข้อ ๔.๒ เลิกระงับลมให้ไปสนใจประครองปิติให้เกิด ช่วงนี้แหละลมหายใจละเอียดแต่กายสังขารไม่ระงับ
    ตอบ อาการวิปัสสนูครับ

    ข้อ ๕.๑ ไม่มีใครทำได้ตลอดหรอกครับพระองค์ก็ให้ทำสลับกับหายใจ
    ตอบ ฤาษีโยคีในสมัยพุทธกาลทำได้ สมัยนี้อาจมีคนทำได้แต่เขาไม่ประกาศขายตัวเองครับ

    ข้อ ๕.๒ ส่วนสังขารทั้งหลายที่ดับหมดนั้นก็คงจะเป็นอริยเท่านั้นที่รับรู้ได้ และจะรับรู้ได้เพียงสี่ครั้งก็เป็นอรหันต์แล้ว หรืออาจจะเพียงครั้งเดียวก็เป็นอรหันต์ได้
    ตอบ คนทำสมาธิใหม่ๆ ละสังโยชน์ไม่ได้ จิตเป็นสมาธิหยาบๆ แยกขันธ์ห้าได้อย่างหยาบๆ เขารู้ได้ครับ

    ข้อ ๕.๓ ส่วนสังขารทั้งหลายที่ดับหมดนั้นก็คงจะเป็นอริยเท่านั้นที่รับรู้ได้ และจะรับรู้ได้เพียงสี่ครั้งก็เป็นอรหันต์แล้ว หรืออาจจะเพียงครั้งเดียวก็เป็นอรหันต์ได้
    ตอบ พระอรหันต์ละอวิชชาทำวิชชาให้เกิดขึ้นหมดกิเลสตัณหา ขั้นธ์ทั้งหลายยังทำงานอยู่เหมือนคนทั่วไป สังขารไม่ได้ดับหมดยังมีอยู่ ขันธ์ทั้งห้ามีอยู่ครบแต่ท่านไม่หลงสังขารอันเป็นสมมติอีกต่อไปครับ

    ข้อ ๕.๔ ส่วรที่เข้าณานทั้งหลายนั้นสังขารยังไม่ดับหมดนะครับ ยกเว้นสัญญาเวทยิตนิโรธที่พระอริยเจ้าขั้นอนาคามีที่ได้สมบัติแปดเท่านั้นที่จะดับสังขารทั้งหลายได้หมด
    ตอบ พระอริยะวัดกันที่ละสังโยชน์ครับ ไม่ได้วัดกันที่ได้สัญญาเวทยิตนิโรธหรือสมาบัติแปดฤาษีโยคีทำได้ครับ
     
  20. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    "รากอันสำคัญของกิเลสได้ คืออวิชชา อวิชฺชาปจฺจยา ก็เป็นที่รวมของขันธ์ ๔ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ทีแรกรวมเป็นขันธ์ ๕ ขันธ์ห้าผ่านไปได้แล้ว ยังเหลือขันธ์ ๔ หมุนเข้าไปตามขันธ์ ๔ เข้าไปถึงอวิชชา
    พอถึงอวิชชาแล้วหลายครั้งหลายหน โค่นรากแก้วอวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ขาดสะบั้นลงไปแล้ว
    นั้นแลเรียกว่า ท่านบรรลุธรรม"

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
     

แชร์หน้านี้

Loading...