กลั้นลมหายใจ ไม่ใช่ทางตรัสรู้ธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 20 สิงหาคม 2013.

  1. Workgroup

    Workgroup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +1,947
    เธอไปฝึกฝนโดยมีหลักว่าเราจะทำกายสังขารให้ระงับมีสติหายใจออกเธอไปฝึกฝนโดยมีหลักว่าเราจะทำกายสังขารให้ระงับมีสติหายใจเข้า ไม่มี ใน 84000 พระธรรมขันธ์

    อ่าว คุณ นิว ก็ ไม่ทราบ ถึงความ ละเอียด ความ หยาบ เป็นแบบไหน


    หยุดหายใจสักครู่หายใจออก หยุดหายใจสักครูหายใจเข้า ทำไปสักพักปีติก็เกิด เพราะด้วยสาเหตุว่า จิตนั้นถูกกำหนดอยู่ที่จุดเดียวไม่คิดไปเรื่องอื่น จะใช้วิธีอื่นก็ได้


    ข้อความข้างบน ยังมี ปิติ อยู่เลย มา อีก 1 ข้อความ บอกไม่เกี่ยว กะปิติ งงครับ คุณนิว

    มันจะไม่เกี่ยว ได้ไง ครับ ปิติ สุข อย่า บิดเบือนครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. (อโศก)

    (อโศก) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +445
    นั้น จุติวิญญาน ใช้ศัพท์หรูแบบไม่เข้าใจความหมายอีกแล้ว ใช้ศัพท์อภิธรรมด้วยน่ะ คุณน้าครับ เข้าใจความหมายหรือเปล่านี่
     
  3. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    บ่งบอกว่าคุณยังไม่ถึงนิพพาน ไม่ได้เข้าใจถูกเลยด้วยเรื่องนิพพาน
     
  4. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    เฮ้ยๆ newamazing อย่าเพิ่งหนี!!!!!!

    รีบเอาประเด็นอื่นกลบเชียวนะ

    กลับมาเคลียร์ก่อน

    ทำไม เวทนานุปัสสนาแบบของ newamazing มีปีติ?

    ค้นในพระไตรปิฎกแล้ว ไม่มี!!!!

    ข้อหานี้หนักมาก บิดเบือน แอบอ้างพระไตรปิฎก แบบยัดข้อความใส่เข้าไปเลย กลับมาแก้ก่อน!!!!!
     
  5. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ผมบอกว่าที่ทำนั้นมันเป็นเทคนิค แต่ธรรมที่ไหลตามธรรมนั้น มันเริ่มตั้งแต่ปิติ สุขที่เกิดขึ้นไปเรื่อย

    ส่วนจะมีในพระตรัยปิฎกมันก็มีแต่พระสูตรนั้นแหล่ะ นอกนั้นการอธิบายก็อรรถกาถา และนี้จะต่างอะไรกับอรรถกถาครับ เพราะอรรถกถานั้นก็เป็นเพียงการแปลที่มีการเข้าใจต่างกัน มันหาที่สุดไม่ได้ว่าอย่างไรถูกผิด ลองทำดูจะรู้ครับ
     
  6. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    "ผู้ปฏิบัติต้องสังเกตดูตัวเองว่า ขณะนี้เรามีปัญญาความฉลาดรอบรู้ในสัจธรรมหรือไม่ หรือมีเพียงความรู้ที่ได้จดจำเอาตามตำรา อาศัยรู้ตามครูอาจารย์ที่ ท่านได้อธิบายให้ฟัง ถ้าหากรู้เพียงเท่านี้ จะเป็นปัญญาในสัญญา เป็นปัญญาในภาคทฤษฎีอยู่ในขั้น สุตมยปัญญา เท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นจินตามยปัญญา และ ภาวนามยปัญญาแต่อย่างใด ปัญญาในหมวดปริยัติ ปัญญาในภาคปฏิบัติ ทั้ง สองนี้มีความเกี่ยวโยงกันอยู่ก็ตาม ปัญญาในภาคปริยัติมีเท่าไรก็มีความพอใจอยู่ เพียงเท่านั้น ปัญญาในภาคปฏิบัติที่จะทำให้เกิดความฉลาดรอบรู้ตามความเป็นจริงนั้น ผู้ปฏิบัติไม่ชอบพัฒนาปัญญาที่เป็นของส่วนตัวให้เกิดขึ้นบ้างเลย นี้ก็เพราะได้ยินได้ฟังมาว่าทำสมาธิให้จิตมีความสงบแล้วปัญญาก็จะเกิดขึ้นนี้เอง ผู้ปฏิบัติจึงไม่ยอมฝึกปัญญา ยังมีความเห็นต่อไปว่า เมื่อปัญญาเกิดขึ้นจากสมาธิแล้วก็จะไปละกิเลสตัวนั้นละตัณหาตัวนี้ให้หมดไปจากใจ โดยตัวเองอยู่เฉย ๆ ไม่ต้องทำอะไร ปัญญาจะละกิเลสตัณหาให้หมดไปจากใจไปเอง เราก็จะได้เป็นพระอริยเจ้าที่สมบูรณ์ ความเข้าใจอย่างนี้ ๆ เองจึงทำให้ผู้ปฏิบัติไม่ยอมฝึกปัญญา จะนั่งคอยท่าเป็นพระอริยเจ้าฟรี ๆ ในลักษณะอย่างนี้ไม่มีที่ไหนในคำสอนของ พระพุทธเจ้าเลย แต่คนเราคิดกันไปในมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดไปเอง การปฏิบัติถ้าศึกษาประวัติของพระอริยเจ้าในครั้งพุทธกาลให้ดีแล้ว จะไม่เกิดเป็นมิจฉาปฏิบัติแต่อย่างใด จึงขอให้ทุกท่านได้พิจารณาในเหตุผล ความเป็นมาของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เราจะได้เอาเป็นแบบอย่างในอุบายวิธีการปฏิบัติของท่านให้ถูกต้อง เป็นสัมมาปฏิบัติตรงตามกระแสธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า และพระอริยเจ้าทั้งหลายในครั้งพุทธกาล ในยุคนี้สมัยนี้ถึงจะมีพระอริยเจ้าอยู่ก็ตาม เมื่อไม่ยอมรับถึงท่านจะแสดงธรรมดีมีเหตุผล หรือเขียนหนังสือชี้แนะแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องอยู่ก็ตาม ก็จะไม่ยอมรับความจริงจากท่านเหล่านั้น ยังมีคนส่วนใหญ่ที่เข้าใจว่า ในยุคนี้สมัยนี้หมดยุคหมดสมัยของพระอริยเจ้าไปแล้ว ถึงจะอธิบายให้ฟังว่ายังมีพระอริยเจ้าอยู่ก็ยังไม่เชื่ออยู่นั้นเอง ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติจงมีความหนักแน่นในธรรม อย่าไปตื่นตามข่าวลือของกลุ่มคนพาลเหล่านั้น อย่าประมาทในชีวิตที่มีอยู่อันน้อยนิด เราจะทำให้ชีวิตเรามีคุณค่าก่อนที่จิตจะปราศจากร่างกายนี้ไป ขอให้ทุกท่านจงฝึกสติปัญญา ฝึกการพิจารณาในหลักความเป็นจริงอยู่เนือง ๆ"

    หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ
     
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    เทคนิค "ระงับลมหายใจ" newamazing หมายถึงการกลั้นลมหายใจ ทีนี้ก็เลยทดลองดู ปรากฏว่าได้ผลเกินคาดเพราะลมหายใจไม่ปรากฏ ลมหายใจออกไม่มี ลมหายใจเข้าไม่ สังขารดับเกิดปิติ เลยอุปทานว่าได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดแล้ว ไม่ต้องทำศีลให้บริสุทธิ์ ไม่ต้องทำสมาธิเลย บรรลุธรรมง่ายๆ ได้ฌานง่ายๆ แค่กลั้นลมหายใจ อยู่ในพระสูตรไหน ช่วยยกมาให้อ่านหน่อยครับ
     
  8. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ
    แล้ว ทำาให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำาสติปัฏฐานทั้ง ๔
    ให้บริบูรณ์ได้ ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
    เมื่อห�ยใจเข้�ย�ว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
    เมื่อห�ยใจเข้�สั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
    ย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพ�ะ
    ซึ่งก�ยทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
    ซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;
    ย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ�ก�ยสังข�ร
    ให้รำ�งับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำากายสังขารให้รำางับ
    หายใจออก”; ฉบัิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
    เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ� มีความเพียรเผากิเลส
    มีสัมปชัญญะ มีสติ นำาอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
    ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว ลมหยใจเข้และ
    ลมหยใจออก ว่าเป็นกยอันหนึ่งๆ ในกยทั้งหลย.
    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
    ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำา มีความเพียร
    เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำาอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    ออกเสียได้.
    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
    ย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพ�ะ
    ซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ
    หายใจออก”;
    ย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพ�ะ
    ซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข
    หายใจออก”;ย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพ�ะซึ่งจิตตสังข�ร หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;
    ย่อมทำาการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ�
    จิตตสังข�รให้รำ�งับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำา
    จิตตสังขารให้รำางับ” หายใจออก”;
    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
    เห็นเวทน�ในเวทน�ทั้งหล�ยอยู่เป็นประจำ� มีความเพียร
    เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำาอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    ออกเสียได้.
    ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวก�รทำ�ในใจเป็น
    อย่�งดีต่อลมห�ยใจเข้� และลมห�ยใจออก ว่�เป็นเวทน�
    อันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.
    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
    ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำา
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำาอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกออกเสียได้.
    ตัวหนังสือสีดำหมาดกาย ตัวหนังสือสีแดงหมวดเวทนา ยกมาแคสองหมวดนะครับพี่อินทรบุตรผู้รอบรู้
     
  9. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    เอามาจากไหน? ทำไมในนี้ไม่มี?

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=1754&Z=2150
     
  10. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    เขารู้กันทั้งนั้นนะครับบนทางแห่งอริยมรรคนั้นเริ่มจากทาน ศิล ภาวนา คุณครบป่าวล่ะ
     
  11. Workgroup

    Workgroup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +1,947
    มั่วอ่ะครับ บิดเบือด อย่างแรง วิญญาน

    เกิด ดับ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    อายตนะ (อ่านว่า อายะตะนะ) แปลว่า ที่เชื่อมต่อ, เครื่องติดต่อ หมายถึงสิ่งที่เป็นสื่อสำหรับติดต่อกัน ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น แบ่งเป็น 2 อย่างคือ
    อายตนะภายใน หมายถึงสื่อเชื่อมต่อที่อยู่ในตัวคน บ้างเรียกว่า อินทรีย์ 6 มี 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งหมดนี้เป็นที่เชื่อมต่อกับอายตนะภายนอก
    อายตนะภายนอก หมายถึงสื่อเชื่อมต่อที่อยู่นอกตัวคน บ้างเรียกว่า อารมณ์ 6 มี 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ทั้งหมดนี้เป็นคู่กับอายตนภายใน เช่น รูปคู่กับตา หูคู่กับเสียง เป็นต้น
    อายตนะภายนอกนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อารมณ์ เมื่อตาเห็นรูป เรียกว่า สัมผัส รู้ว่ามีการเห็น เรียกว่าวิญญาณ เกิดความรู้สึกขึ้นเมื่อตาเห็นรูป เรียกว่า เวทนา


    ok ผมเข้าใจพี่แล้วครับ พี่ยังไม่รู้ การทำงาน ของขันธ์ห้าเลยครับ

    พี่เข้าใจวิญญาน แบบ หนังละคร หรอครับ มันคนละส่วนเลยนะพี่

    สาธุ เจริญธรรม
     
  12. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ตอบขัดกันเองอีกแล้ว ไหนบอกว่าไม่ต้องภาวนาแล้วได้ฌานไง ตกลงยังไงครับ
     
  13. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ลักษณะพระนิพพาน


    ปัญหา จงแสดงลักษณะของพระนิพพานว่ามีอย่างไรบ้าง?


    พุทธดำรัสตอบ “ดิน น้ำ ลม ไฟ ย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ใด สงสารทั้งหลายยอมกลับแต่ที่นี้ วัฏฏะย่อมเป็นไปในที่นี้ นามก็ดี รูปก็ดี ย่อมดับหมดในที่นี้”

    สรสูตรที่ ๗ ส.สํ. (๗๑)
    ตบ. ๑๕ : ๒๒ ตท. ๑๕ : ๒๑
    ตอ. K.S. I : ๒๓
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 สิงหาคม 2013
  14. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    http://palungjit.org/newreply.php?do=newreply&p=8147579


    ก่อนที่จะไปประเด็นอื่น ช่วยตอบให้ชัดเจนก่อน ไม่งั้นคุยกันไม่รู้เรื่องครับ
     
  15. (อโศก)

    (อโศก) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +445
    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ของ อานาปานสติ ขั้นที่ห้า นั้น คือการกำหนดรู้ปิติครับ แต่ปิตินี้เกิดมาตั้งแต่การหายใจในอานาปานสติ ขั้นที่ สี่ กายานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้วเพราะตรงนี้สมาธิมันเกิดแล้ว จิตมันสงบแล้ว

    เป็นการเอาปิติมากำหนดรู้ เพื่อดูว่า ปิติ นั้น เป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จุดมุ่งหมายไม่ใช่เพื่อให้ดืมด่ำในปิติที่เกิดขึ้นจากญาณ แต่เพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด

    เพราะปิติตัวนี้ ปกติจะเหนือกว่าปิติแบบโลกๆๆ ถ้าเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ได้ก็เอาชนะปิติแบบอื่นๆๆได้หมด เรียกว่า อนุปัสสนา เป็นจุดมุ่งหมายของขั้นที่ ๕ การเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า – ออก ในอานาปานสติ

    ในขั้นที่ 6 ก็ทำซ้ำ แต่เอาสุขมากำหนดแทนอันที่จริง

    เมื่อจิตสงบ วิตกก็มี วิจารณ์ก็มี ปิติก็มี สุขก็มี เอกัคคตาก็มี ทั้งหมดนี้เป็นอารมณ์เดียวกัน มันเกิดจากจิตสงบเป็นสมาธิ อยู่แล้ว แต่เราไม่หยุดแค่นั้น เราเอาอารมณ์ตรงนี้มากำหนด ก็เป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ขั้นแรกๆๆ ครับ แต่บางคนอาจจะดื่มด่ำและติดสงบตรงนี้ก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะติดและก็ชอบมีนิมิตทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางจิต เพราะ สติยังไม่ตื่นไปเจริญสมาธิเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 สิงหาคม 2013
  16. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
     
  17. (อโศก)

    (อโศก) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +445
    น้านิว ไม่เข้าใจความหมายอย่ายกมาดีกว่าน้า ยกมาซะยาวเชียว
     
  18. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ก็ยากหน่อยนะ... (ที่จริงมีการอธิบายนิพพานหลากหลายอุปมามาก เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเข้าใจ)

    ขันธ์ห้า มีธรรมชาติเกิดดับสืบต่อกัน ด้วยวิบาก(ผล) หากยังมีเหตุปัจจัย การเกิดย่อมมีสืบเนื่องต่อไปไม่สิ้นสุด
    เปรียบดังเชื้อเกิดยังมี(วิญญาณ) ย่อมเกิด สังขาร สัญญา เวทนา รูป ...
    หรือเป็นเชื้อแห่งอวิชชาเข้าสู่หลักปฏิจจสมุปบาท
    จิตหนึ่งๆจะเกิดดับสืบต่อกันโดยแต่ละวิถีจิตมีภวังคภพคั่น(ภวังคจิต เป็นจิตหนึ่งมีหน้าที่รักษาภพของตนไว้ด้วย สามารถศึกษาในอภิธรรม)
    ขณะมรรคจิต(ประหารอวิชชาทำลายเหตุปัจจัยความเป็นตัวตน)เกิดผลจิตโดยไม่ผ่านภวังคภพ(ภวังคจิต) คือทำลายภพชาติ ณ ขณะมรรคจิตและผลจิต ซึ่งต่างจากการสืบเนื่องของจิตหนึ่งไปสู่จิตหนึ่งซึ่งมีภวังคภพคั่นยังทำลายภพชาติไม่ได้...

    ปุตตมังสสูตร
    (ว่าด้วยอาหาร ๔ ประการ)

    พระผู้มีพระ-
    ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔
    อย่าง เพื่อความดำรงอยู่ของสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์
    แก่เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่างนั้นคือ ๑. กวฬีการาหาร
    หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง ๒. ผัสสาหาร ๓. มโนสัญเจตนาหาร
    ๔. วิญญาณาหาร
    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้แล เพื่อ
    ความดำรงอยู่แห่งสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่า
    สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
    .
    ...
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็วิญญาณณาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพวกเจ้าหน้าที่จับโจรผู้กระทำผิดได้แล้ว แสดงแก่พระราชา
    ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ! โจรผู้นี้เป็นผู้กระทำผิดต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทขอใต้ฝาละอองธุลีพระบาท จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ลงโทษโจรผู้นี้ตามที่ทรงเห็น
    สมควรเถิด พระพุทธเจ้าข้า". พระราชามีพระกระแสรับสั่งอย่างนี้ว่า "ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงไป จงประหารชีวิตบุรุษนี้เสียด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเช้านี้"
    เจ้าหน้าที่เหล่านั้น จึงประหารนักโทษด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเช้า ต่อมาในเวลาเที่ยงวัน พระราชาทรงซักถามเจ้าหน้าที่เหล่านั้นอย่างนี้ว่า "ดูก่อนท่านผู้เจริญ
    ทั้งหลาย! นักโทษคนนั้น เป็นอย่างไรบ้าง?". พวกเขาพากันกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ! นักโทษนั้นยังมีชีวิตอยู่ตามเดิม พระพุทธเจ้าข้า!". พระราชา
    ทรงมีพระกระแสรับสั่งอย่างนี้ว่า "ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงไปจงประหารนักโทษนั้นเสีย ด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเที่ยงวัน"ดังนี้. พวกเจ้าหน้าที่
    เหล่านั้นจึงได้ประหารนักโทษนั้นด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเที่ยงวัน. ต่อมา ในเวลาเย็นพระราชาทรงซักถามเจ้าหน้าที่เหล่านั้นอีกว่า "ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย! นักโทษนั้น
    เป็นอย่างไรบ้าง?"เขาพากันกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ! นักโทษนั้นยังมีชีวิตอยู่ตามเดิมพระพุทธเจ้าข้า!". พระราชาทรงมีพระกระแสรับสั่งอีกว่า "ดูก่อนท่าน
    ทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงไป จงประหารนักโทษนั้นเสียด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเย็น" ดังนี้. เจ้าหน้าที่เหล่านั้น จึงได้ประหารนักโทษนั้นด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเย็น.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น ว่าอย่างไร? บุรุษนักโทษนั้นถูกพวกเจ้าหน้าที่ประหารอยู่ด้วยหอกสามร้อยเล่ม ตลอดทั้งวัน เขาจะพึงเสวยแต่ทุกข-
    โทมนัสที่มีข้อนั้นเป็นเหตุ เท่านั้นมิใช่หรือ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุรุษนักโทษนั้นถูกพวกเจ้าหน้าที่ประหารด้วยหอกแม้ (เล่มเดียว) นั่น ก็พิงเสวยทุกขโทมนัสที่มีข้อนั้น
    เป็นเหตุ (มากอยู่แล้ว) ก็จะกล่าวไปไยถึงการที่บุรุษนักโทษนั้นถูกประหารด้วยหอกสามร้อยเล่มเล่า, ข้อนี้มีอุปมาฉันใด; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราย่อมกล่าวว่า
    วิญญาณาหาร อันอริยสาวกพึงเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนนักโทษถูกประหารนั้น) ฉันนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อวิญญาณาหาร อันอริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว, นามรูป
    ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นกำหนดรู้ได้แล้วด้วย; เมื่อนามรูปเป็นสิ่งที่อริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว, เราย่อมกล่าวว่า "สิ่งไร ๆ ที่ควรกระทำให้ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้)
    ย่อมไม่มีแก่อริยาสาวกนั้น", ดังนี้ แล.

    ��Ԩ���ػ�ҷ�ҡ�����ɰ�
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 สิงหาคม 2013
  19. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    วิญญานเข้าไปรู้สภาวะนิพพานไม่ได้ครับ
     
  20. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    มันไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จริงแล้วคำนี้น่าจะผิด ไม่มีทางรู้ได้เลยถ้าเข้าไม่ถึงสภาวะนี้ดวยตนเอง พระองค์แสดงว่าเป็นสูญญตา และแสดงในรูปปฎิเสธ ว่าสิ่งใดมีในนิพพานไม่มี
     

แชร์หน้านี้

Loading...