ถ้าทำบารมีผิดไป บางคนว่าบุญบาปแยกกัน งั้นบารมีกับบุญเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย InvisibleForce, 19 พฤศจิกายน 2013.

แท็ก: แก้ไข
  1. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090

    ศรัทธาเป็นเพียงปัจจัย ที่ทำให้เกิดการแสดงออก
    ทางกาย วาจา และใจ ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือเป็นตัวบุญหรือบารมีโดยตรง
    แต่ หากเรานั้นศรัทธาถูกที่ ถูกคน ถูกเวลา
    ศรัทธานั้น ย่อมชักนำบุคคลให้ไปสู่การสร้างบุญและบารมีให้สำเร็จได้
    ไม่จำกัดว่าจริตบุคคลเหล่านั้นจะเป็นแบบใด
    เพราะบุคคลทุกจริตล้วนมีความศรัทธาอยู่
    เพียงแต่ จะมีมากหรือมีน้อยเท่านั้น

    ความต่างของจริต มีดังนี้...

    ผู้มีจริตทางปัญญา
    มีศรัทธาน้อย แต่ด้วยเป็นบุคคลผู้มีปัญญามาก
    ย่อมพิจารณาธรรมไม่นาน
    ก็สามารถเข้าใจถ่องแท้ในธรรม
    และลงมือกระทำการสร้างบุญเสริมบารมีได้

    ผู้มีจริตทางศรัทธา
    ย่อมพิจารณาธรรมอยู่ แต่ด้วยมีปัญญาปานกลาง
    จึงอาศัยเวลาในการทำความเข้าใจ
    ด้วยพลังศรัทธาในความถูกต้อง
    ทำให้ยังคงเชื่อในธรรมและตามค้นตามหาคำตอบจนเจอ
    และลงมือกระทำการสร้างบุญเสริมบารมีได้

    ผู้มีจริตทางวิริยะ
    ย่อมพิจารณาธรรมอยู่ แต่เป็นผู้มีปัญญาไม่มาก
    จึงอาศัยเวลาในการทำความเข้าใจมาก
    แม้จะมีศรัทธาเพียงนิดแต่ด้วยความเพียรที่มีมาก
    ทำให้ไม่ย้อท้อจนกว่าจะประสบความสำเร็จ
    เป็นผู้ไม่ยอมแพ้ ต่อให้ต้องตาย
    สุดท้ายแล้วก็ได้เข้าใจในธรรมอย่างถ่องแท้
    และลงมือกระทำการสร้างบุญเสริมบารมีได้
     
  2. ลุงมหา๑

    ลุงมหา๑ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    931
    ค่าพลัง:
    +3,937
    บุญคืออะไร บารมีคืออะไร


    ขออนุญาตครับ

    บุญ คือ การสร้าง ศรัทธา ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ หลุดพ้น ในส่วนที่เป็นไปเพื่อตนเอง

    บารมี คือ การสร้าง ศรัทธา ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ หลุดพ้น ในส่วนที่เป็นไปเพื่อผู้อื่น

    แต่เห็นสมาชิกในเว็บนี้บางท่านบอกว่า


    "การอยู่เฉยๆ ก็เป็นการเผยแผ่พระศาสนาประเภทหนึ่ง"

    ขอโมทนาบุญ ขออนุโมทนาบุญ

    ลุงมหา
     
  3. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    "การอยู่เฉยๆ ก็เป็นการเผยแผ่พระศาสนาประเภทหนึ่ง"

    นั่นต้องระดับอุเบกขา ตามระดับกุศลจิต ของคนๆนั้น

    แต่ถ้าเป็น "ฉฬังคุเบกขา" นั่นเต็มภูมิ เป็นการช่วยยืดอายุพระศาสนา

    เป็นการพิสูจน์ว่า ตลาดแห่งมรรคผลนิพพาน ไม่ว่างเว้น สำหรับผู้เจริญอริยมรรค

    และเมื่อยืดอายุด้วย เผยแผ่ด้วย ก็ต้องสร้าง

    สร้างธรรมทาน ให้ผู้อื่นเห็นความเป็น ปริวัฏเวียนสาม

    อย่างไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2013
  4. InvisibleForce

    InvisibleForce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2012
    โพสต์:
    302
    ค่าพลัง:
    +659
    1) คงไม่จริงกระมัง ที่บุญจะเกิดแต่เฉพาะทำเพื่อตนเสมอไป
    2) ก็คงไม่ใช่อีกว่าบารมีจะเกิดเมื่อทำเพื่อผู้อื่นเสมอไป

    3) การอยู่เฉยเป็นการแผ่พระศาสนา --> ฟังดูมีเหตุผลเหรอท่าน
    การไม่ทำอะไรจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อกรณีทำไปกลับมีแต่ผลเสียเท่านั้น
    ไม่สามารถเหมารวมทั้งหมดได้
     
  5. ลุงมหา๑

    ลุงมหา๑ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    931
    ค่าพลัง:
    +3,937
    ธรรมที่สั้นกระชับ ต้อง อธิบายขยายความเอาเอง

    ขออนุญาตครับ

    บทสรุปย่อมสั้นและกระชับ ดังเช่นที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสว่า


    "ทำดีไดัดี ทำชั่วได้ชั่ว"

    แล้วมองรอบๆตัวเราซิว่า ปัจจุบันเป็นอย่างไร

    เหมือนสี แม้จะมีแม่สีเพียงสามสี คือ แดง เหลือง น้ำเงิน
    แต่ในความเป็นจริงก็ยังต้องมีสี ดำ กับ ขาว อีก
    แม้สีดำ กับ สีขาว สามารถรวมกับสีอื่นๆก็ได้ แต่กลับไม่ได้ เป็น แม่สี

    โลกยุคปัจจุบันก้าวหน้าไปมากๆซะจน เราสามารถผสมสีได้มากมายหลายเชตสี

    แม้กระนั้น แม่สีก็ยังคงมีแค่ ๓ สีอยู่เหมือนเดิม

    สีดำ กับ สีขาว ก็ยังคงไม่ใช่แม่สีอยู่เหมือนเดิม

    มนุษย์เล่าเรียนศึกษามากมาย หวังเพื่อจะเป็นคนที่มีสติปัญญา หวังที่จะเป็นคนฉลาด

    แต่คนที่มีสติปัญญาสูงสุด แต่คนที่มีความฉลาดสูงสุด กลับกลายเป็นแค่นักบวช ที่ท่านปฏิบัติธรรมอยู่ในป่า ในเขา

    ที่ท่านสามารถมองเห็นธรรมในจิต ในใจ ของตน นั่นเอง

    การอ่านธรรมใดๆ เมื่อ ภูมิรู้ ภูมิธรรม ไม่ถึง ไหนเลยจะสามารถ อธิบายขยายธรรม แผ่ออกไปในจิต ในใจ ของตนได้

    ก็คงจะเห็นแค่ มุมมองแคบๆของตนเท่านั้น

    เพราะเส้นทางเดินก็มีแค่สองทางง่ายๆ

    ๑ อ่านมาก เขียนมาก เสพธรรมกระดาษ ธรรมสัญญาความจำ มากๆ

    ๒ เร่งรีบปฏิบัติ จนสามารถมองเห็นธรรมในจิต ในใจของตน

    ชอบอย่างไหน เลือกกันเอาเอง

    ลุงมหา

     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,467
    ในรายละเอียดจากการปฎิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย ที่ถ่ายทอดตรงจากหลวงปู่สด ผ่านมาทางหลวงปู่วีระ รองเจ้าอาวาสฝ่ายวิปัสสนาธุระวัดปากน้ำ มาจนถึงวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ที่ดำเนินสะดวกราชบุรี....จะทั้งรู้และเห็นว่า....ดวงบุญที่ศูนย์กลางกาย ขนาดประมาณฝ่ามือเป็นต้นไป จะกลั่นตัวมาเป็น ดวงบารมี ขนาดเพียงดวงตาดำ

    นั่นแสดง และพิสูจน์ให้เห็นประการหนึ่งว่า ต้องทำต้องสร้างบุญจากกิริยาต่างๆทั้งกาย วาจา ใจ ขนาดไหน ถึงจะพัฒนาเป็นบารมี



    บารมี(ทางธรรมภาคกุศลสัมมาทิฐิล้วนๆ)
    นั้นเป็นนิสัยที่ติดแน่น ฝังแน่นกับดวงจิต ดวงใจ นี้ไปแล้ว เป็นความเคยชินและคล่องตัว
    อย่างยิ่งที่จะสร้างบุญได้ในตัวเอง ด้วย กาย วาจา ใจ

    แม้เกิดมาชาติใด ห่างไกลจากเนื้อนาบุญภายนอก ก็ยังได้อาศัยบารมีที่ติดในดวงจิตดวงใจนี้ ได้สร้างกำลังของจิตใจในการทำดี ให้พอกพูนได้มากยิ่งขึ้นไปได้


    ..........การจะทำบุญ ของผู้ที่บารมี(กำลังใจในการทำดี)น้อย นั้นยังอาจต้องตั้งเจตนาที่จะทำ มากเสียกว่า

    บารมี ที่พัฒนามามากจน ไม่ต้องตั้งเจตนาอะไรมากแล้ว จนในที่สุด คือ พัฒนาเป็นกิริยาอัตโนมัติในบารมีสิบทัศน์และ บารมีสามสิบทัศน์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 ธันวาคม 2013
  7. สุชีโว

    สุชีโว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    154
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +579
    เห็นด้วยกับ ท่าน aries
    บารมีเริ่มต้นจากบุญก่อน เมื่อมีบุญเยอะ ทำบุญบ่อยจึงรวมเป็นบารมี
    เหมือนกับที่เราพูดถึงคนโน้น คนนี้ว่ามีบารมี แสดงว่าคน คนนั้นผ่านการสร้างความดีเป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไป อันนี้น่าจะเรียกบารมีทางโลก คนมีบารมีทำอะไรก็จะสะดวก มีคนให้ความร่วมมือ บารมีทางธรรมน่าจะหมายถึงคนผู้นั้น ผ่านการตั้งใจสร้างบุญ สะสมบุญความดี มาหลายภพหลายชาติ กำลังบุญบารมี
    จะเป็นตัวบอกตัวเขาเองว่า วันข้างหน้าต่อไปเขาจะทำอะไรที่จะสร้างบุญบารมีสะสมเพิ่มกำลังให้มาก ยิ่งๆขึ้นไป คล้ายๆกับการเดินขึ้นบันได ต้องมีลำดับเริ่มจากขั้นแรกแล้วสูงขึ้นไปเรื่อยๆ :d


     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    บุญ หมายถึง ความดี ความดีจากการถือศีล ความดีจากการให้ทานหรือบุญกิริยาวัตถุ 10 นั่นแหละ ความดีจากการภาวนา ซึ่งความดีต่างๆ เหล่านี้ เมื่อได้ทำแล้วหรือคิดที่จะทำก็ทำให้จิตใจอิ่มเิอิบแจ่มใส ปลอดโปร่งโล่งเบา

    บารมี หมายถึง กำลังใจในการทำความดีต่างๆ บารมีน้อยก็มีกำลังใจน้อย ที่ว่าบารมีน้อย เพราะเมื่อได้พบเจออุปสรรคก็อาจจะเปลี่ยนใจในการทำความดีนั้นๆ เป็นต้น แต่ถ้าบารมีมาก แม้มีอุปสรรคก็ไม่ย่อท้อ พร้อมที่จะเผชิญหน้าและแก้ไขจนลุล่วงไป

    ผลของบารมีวัดได้ที่ใจตน ว่ามีความแน่วแน่มั่นคงแค่ไหนในการทำความดีต่างๆ ให้ถึงพร้อม

    ขออธิบายพอสังเขปนะคะ และขอให้เจริญในธรรมทุกๆ ท่านค่ะ
     
  9. White Sage

    White Sage เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +1,743
    สาธุ ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านนะคะ ^__^


    ส่วนตัวมองว่า บารมี หมายถึง กำลังของจิต หรือกำลังของใจ ที่จะทรงไว้ซึ่งความดี (บุญกุศล) นั่นเอง

    โดยจิตของคนเรานั้น ถ้ามีกำลังใจ(บารมี)ในระดับใด ก็จะสามารถทำความดี (บุญกุศล) ทางใจ วาจา กาย ได้ในระดับนั้นค่ะ


    กล่าวคือ ถ้าบุคคลนั้นๆ มีบารมีอยู่ในระดับต้น เวลาที่ทำบุญกุศลใดๆก็ตาม จิตของคนๆนั้นก็จะเกิดบุญกุศล แค่ในระดับของทานและศีลเท่านั้น

    หมายความว่า จิตจะคล่องตัวเวลาได้ทำบุญในเรื่องของทาน และศีล มีความเคยชินเป็นปกติ


    แต่ถ้าหากบุคคลนั้นๆ มีบารมีอยู่ในระดับกลาง (อุปบารมี) เวลาที่ทำบุญกุศลใดๆก็ตาม จิตของคนๆนั้นก็จะเกิดบุญกุศลในระดับฌานสมาบัติ

    หมายความว่า จิตจะคล่องตัวเวลาได้ทำบุญในเรื่องของการปฏิบัติสมาธิภาวนา มีความเคยชินเป็นปกติ


    แต่หากบุคคลใดมีบารมีอยู่ในระดับปลาย (ปรมัตถบารมี) เวลาที่ทำบุญกุศลใดๆก็ตาม จิตของคนๆนั้นก็จะเกิดบุญกุศลในระดับวิปัสสนาญาณ

    หมายความว่า จิตจะคล่องตัวเวลาได้ทำบุญในเรื่องของวิปัสสนาญาณ (มีปัญญารู้แจ้งเห็นความเป็นจริงของโลกนี้อยู่ทุกขณะ) มีความเคยชินเป็นปกติ



    ยกตัวอย่างเช่น ในการบำเพ็ญปัญญาบารมีของพระโพธิสัตว์ หากพระโพธิสัตว์นั้นมีบารมีอยู่ในระดับต้น ก็จะมีปัญญาเห็นคุณของทานและศีลเป็นปกติ จึงมีใจ วาจา และกาย

    แสดงออกมาในรูปของการให้ทาน และรักษาศีลเป็นปกตินั่นเอง


    แต่หากพระโพธิสัตว์นั้นมีบารมีอยู่ในระดับกลาง (อุปบารมี) ก็จะมีปัญญาเห็นคุณของการรักษาสมถะภาวนาเป็นปกติ จึงมีใจ วาจา และกาย แสดงออกมาในรูปของการรักษาอารมณ์

    ใจในสมถะภาวนาเสมอๆ เวลาจะพูด จะทำสิ่งใด ก็เป็นไปด้วยกำลังแห่งสมถะภาวนา


    แต่หากพระโพธิสัตวนั้นมีบารมีอยู่ในระดับปลาย (ปรมัตถบารมี) ก็จะมีปัญญาเห็นคุณของการพิจารณาในวิปัสสนาญาณเป็นปกติ หมั่นพิจารณา

    ใคร่ครวญด้วยปัญญา ให้เห็นความไม่เที่ยงของร่างกาย (ขันธ์๕) เป็นปกติ จิตจึงเข้าสู่การละสังโยชน์ ๓ ในเบื้องต้น จนถึงการละสังโยชน์ ๑๐ ในเบื้องปลาย


    ดังนั้นเวลาจะพูดจะทำสิ่งใด ก็เป็นไปด้วยกำลังจิตที่ทรงอยู่ในอารมณ์พระโสดาบัน จนถึง พระอรหันต์ เป็นปกติ เห็นได้จากการที่กาย วาจา ใจของท่านระลึกนึกถึงนิพพานเป็นปกติ และ

    มุ่งสอนธรรมที่สามารถเข้าถึงนิพพานได้ ทั้งนี้ การที่อารมณ์จิตของท่านมุ่งเน้นการใช้ปัญญาพิจารณาเพื่อละสักกายทิฐิและมานะกิเลสอยู่เสมอๆ อารมณ์จิตของท่านจึงไม่คิดว่าตนเองดี หรือ

    บรรลุธรรมแล้ว แต่จะมองเห็นความเลว และความบกพร่องของอารมณ์ใจของตนเองเป็นปกติ เพราะท่านไม่มีความประมาทแล้วนั่นเอง


    *** ตรงนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะคะ โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2014
  10. White Sage

    White Sage เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +1,743
    รวมความง่ายๆ ก็คือ ถ้าจิตมีกำลังใจ(บารมี) อยู่ในระดับใด ก็จะเกิดบุญในใจ วาจา และกาย ในระดับนั้นค่ะ

    (ไม่ว่าจะทำแบบบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ หรือข้อธรรมปฏิบัติใดๆก็ตาม) อิอิ :p
     
  11. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    ตำราล้วนๆ
     
  12. White Sage

    White Sage เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +1,743
    ฮ่าๆๆ ถูกต้องค่ะ ;) ยึดจากจิตตัวเดียว จะแสดงผลออกมาเป็นบุญลักษณะใดก็แล้วแต่อัธยาศัยแต่ละท่านเลยค่ะ ^__^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2014

แชร์หน้านี้

Loading...