อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]

    “พระศรีศากยมุนี” เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง
    วัดสุทัศน์เทพวราราม แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
    อันเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
    นับเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดที่ใหญ่กว่าพระพุทธรูปหล่อองค์อื่นๆ
    ชึ่งปรากฏในประเทศไทย ในยุคก่อน ๒๕ พุทธศตวรรษ
    เดิมเป็นพระประธานอยู่ในพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย
    มีพระพุทธลักษณะงดงาม สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย
    ขนาดหน้าตักกว้าง ๖.๒๕ เมตร (หรือ ๓ วา ๑ คืบ)

    มี ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง กล่าวอ้างถึงว่า พระมหาธรรมราชาลิไท
    กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ. ๑๘๙๐-๑๙๑๙ ปีครองราชย์) แห่งกรุงสุโขทัย
    โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้น และทำการฉลองในปีพุทธศักราช ๑๙๑๔

    ข้อความในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงเป็นหลักฐานของข้อสันนิษฐาน
    ที่ว่าพระศรีศากยมุนีสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย ตอนหนึ่งมีว่า
    “...กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารศ มีพระพุทธรูป
    มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม...”
    ซึ่งหมายถึงพระศรีศากยมุนีในวัดมหาธาตุซึ่งเป็นที่ประดิษฐานเดิมนั่นเอง

    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
    ทรงเห็นว่าถ้าทิ้งไว้ที่เดิมก็จะต้องตากแดด ตากฝน ทำให้ชำรุด
    จึงให้อัญเชิญมายังกรุงเทพฯ โดยทรงมีพระราชดำริจะสร้างพระอาราม
    ที่มีพระวิหารใหญ่อย่างวัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    โดยประดิษฐานไว้กลางพระนคร เมื่อชลอพระศรีศากยมุนีมาถึงกรุงเทพฯ
    แล้วให้ประทับท่าสมโภช ๗ วัน แล้วจึงทรงชักเลื่อนองค์พระทางสถลมารค
    และพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินตามขบวนแห่พระ
    ในรัชสมัยของพระองค์ทำได้เพียงอัญเชิญองค์พระขึ้นตั้งไว้
    สำหรับตัว “พระวิหารหลวง” นั้นได้ลงมือก่อสร้างขึ้น
    ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒


    ที่มา:ธรรมจักร

    ขอบคุณเจ้าของภาพด้วยครับ



    [​IMG]
     
  2. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]

    [​IMG]

    น้อมกราบหลวงพ่อฤาษี -/\-
     
  3. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,437
    อรุณสวัสดิ์พี่ปูและทุกๆท่าน...(^_^)

    เช้านี้หนาวมากเลยครับพี่ปู...


    [​IMG]
     
  4. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    สวัสดียามเช้าคุณปู คุณโญ คุณรุ่ง คุณวัน คุณโอ๊ตและทุกๆท่าน ขอให้สุขกาย สุขใจ กันนะครับ
    อากาศยังหนาวอยู่ครับ ระวังสุขภาพกันด้วยนะครับ
     
  5. oatlovetong

    oatlovetong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    472
    ค่าพลัง:
    +17,296
    [​IMG]

    สมเด็จซุ้มระฆังเถาวัลย์ หลังรูปปี'21 หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม

    พระพิมพ์ซุ้มระฆังเถาวัลย์นี้ อ.เฒ่า สุพรรณจัดอันดับพระเนื้อผงหลวงพ่อกวยไว้ว่าพระพิมพ์นี้เป็นอันดับที่ 23
    โดยให้ขอมูลไว้ว่า

    "พระซุ้มระฆังเถาวัลย์ หลวงพ่อกวยสร้าง เพื่อระลึกถึงสมเด็จโตเจ้าของผง
    เนื้อผงน้ำมันแต่ไม่ค่อยฉ่ำน้ำมันนัก เนื้อละเอียดเนียนมาก จะไม่เห็นเม็ดมวลสารขนาดใหญ่ๆเลย"

    มีคนกล่าวว่าหลวงพ่อกวยท่านศรัทธาสมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาก จนถึงขนาดเปลี่ยนชื่อวัดบ้านแค เป็นวัดโฆสิตาราม


    รูปภ่ายหลวงพ่อกวยปี'21 (รูปถ่ายรุ่นสุดท้าย)

    รูปรุ่นนี้สมัยก่อนออกจากวัดรูปละสิบบาท ถ้าเลี่ยมยี่สิบบาท ซึ่งราคาเท่ากับรูปโปสการ์ดห้านิ้ว เเละเเบบพิเศษบานใหญ่ทำมาน้อยมากใบละร้อยบาท

    เเบบที่ไม่เลี่ยมบางรูปจะมีปั๊มป์ตราวัดสีเเดง บางรูปไม่ปั๊มป์
    เเบบที่เลี่ยมจะมีจีวรปั๊มป์ยันต์ที่ด้านหลัง ยันต์ที่ปั๊มป์ "อะปะจะคะ" ของหลวงพ่อเฒ่า เเละหัวใจพระสิวลี "นะชาลีติ" ซึ่งจีวรด้านหลังรูป เป็นจีวรเก่าของหลวงพ่อ หลวงพ่อตั้งใจให้ใส่สังฆาฎิด้วย เเต่ศิษย์บางท่านเสียดาย เลยเหลือเเต่จีวร

    จะพบว่ากระดาษที่ทำรูปจะมีอยู้สองเเบบคือ กระดาษมันหรือเเบบเรียบ อีกเเบบกระดาษด้านขรุขระหรือบางท่านเรียกว่าเเบบหนังไก่
     
  6. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    พระเนื้อเงิน หลวงปู่ดู่ ปี ๒๕๓๓ รุ่นนี้ไม่ทันหลวงปู่ แต่หลวงพ่อเกษม และหลวงปู่บุดดาฯอธิษฐานจิตให้ครับ ส่วนรูปหล่อเล็กเกิดองค์ธาตุติดอยู่ที่ซอกแขนในภายหลังครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_2682.JPG
      IMG_2682.JPG
      ขนาดไฟล์:
      86.4 KB
      เปิดดู:
      313
    • IMG_2684.JPG
      IMG_2684.JPG
      ขนาดไฟล์:
      4.4 MB
      เปิดดู:
      282
  7. oatlovetong

    oatlovetong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    472
    ค่าพลัง:
    +17,296
    สวัสดีครับพี่3D และขอสวัสดียามเช้าสมาชิกทุกท่านด้วยครับ... ^^

    เมื่อวานกลับมาถึงบ้าน ได้รับพัสดุทั้งจากพี่กูน พี่โญ พี่บอย เลยขออนุญาติแจ้งในนี้พร้อมๆกันเลยนะครับ ขอบคุณมากนะครับ ^^
     
  8. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    เหรียญที่ระลึกพระพุทธปัญจภาคี


    [​IMG]



    เนื่องในมหามงคลวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2539 กรมธนารักษ์ได้รับมอบหมายให้จัดสร้างเหรียญพระพุทธรูปที่สำคัญของประเทศรวม 5 องค์ ประกอบด้วย พระพุทธโสธร พระพุทธชินสีห์ พระพุทธชินราช พระมงคลบพิตร และพระนิรันตราย เพื่อเป็นการเผยแพร่พระเกียรติคุณ และบุญญาธิการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ให้คนไทยและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้มีไว้เคารพสักการะบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว โดยจัดสร้างขึ้น 3 ประเภท คือ ทองคำ เงิน และทองแดง โดยจะนำรายได้จากการจำหน่ายภายหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว ขึ้นทูลเกล้าถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย


    [​IMG]


    [​IMG]



    พระพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปบางสมาธิ คือ นั่งขัดสมาธิราบพระเนตรเนื้อแบบสมัยลานช้าง หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “พระลาว” หน้าตักกว้าง 3 ศอก 5 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ เป็นพระที่ทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอนว่าใครเป็นผู้จัดสร้าง พระพุทธโสธรองค์นี้เล่าสืบต่อกันมาว่ามีพระพี่น้องกัน 3 องค์ ล่องลอยตามแม่น้ำมาจากทิศเหนือมาผุดขึ้นที่แม่น้ำบางปะกง ตำบลสัมปทวน แสดงปาฏิหาริย์ลอยตามน้ำและทวนกระแสน้ำได้ทั้ง 3 องค์ ประชาชนจึงได้ช่วยกันเอาเชือกลงไปผูกมัดที่องค์พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ แต่ก็ไม่ขึ้น สำหรับพระพุทธรูปหล่อองค์กลาง คือ หลวงพ่อโสธร ได้ลอยตามน้ำมาผุดขึ้นที่ท่าวัดโสธร ขณะนั้นได้มีอาจารย์ผู้หนึ่งมีความรู้ทางไสยศาสตร์ ทำพิธีบวงสรวงแล้วอารธนาอัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ในวิหารวัดโสธรวรารามวรวิหาร อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา และจัดให้มีการฉลองสมโภชเป็นเทศกาลประจำปี


    [​IMG]


    [​IMG]



    พระพุทธชินสีห์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสนและสุโขทัยผสมกัน จัดสร้างในสมัยพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เป็นพระพุทธรูปหล่อหน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว สูงตั้งแต่พระที่นั่งถึงพระจุฬา 6 ศอก 1 คืบ 10 นิ้ว พระรัศมี 1 ศอก พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอาริยบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณี ปางนี้เริ่มนิยมทำรัศมีบนพระเศียร เดิมประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวงทางทิศเหนือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาเมื่อพุทธศักราช 2372 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ ได้โปรดให้อัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐานไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหาร


    [​IMG]


    [​IMG]

    พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางเรือนแก้ว หน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้วเศษ เป็นพระพุทธรูปสำคัญและสวยงามมากองค์หนึ่งมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สร้างในสมัยพระมหาธรรมมาธิราชลิไท สร้างโดยชาวเมืองเชียงแสน ชาวเมืองสวรรคโลก และชาวเมืองสุโขทัย ช่วยกันหล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศาสดา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 ปีจอ พุทธศักราช 1499 แต่หล่อเสร็จเพียง 2 องค์ คือพระพุทธชินสีห์และพระศาสดา ส่วนพระพุทธชินราชนั้นหล่อไม่เสร็จ กล่าวคือ เมื่อเททองลงไปแล้วกลับแข็ง ทองไม่เดินตามปกติ จึงได้ทำพิธีปั้นหุ่นใหม่อีกครั้ง พระพุทธรูปจึงได้สำเร็จรูปตามความปรารถนา เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 8 ปีกุน พุทธศักราช 1500 และได้อาราธนาอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกแต่นั้นมา


    [​IMG]


    [​IMG]


    พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางนั่งสมาธิ จัดสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นราวแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก่อด้วยอิฐเป็นแกน ข้างนอกหุ้มด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 4 วาเศษ นับเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุด และมีพระพุทธลักษณะงดงามเป็นสง่ามากองค์หนึ่งในประเทศไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระวิหารข้างกำแพงวัดพระศรีสรรเพชรด้านใต้ เขตโบราณสถานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา


    [​IMG]


    [​IMG]

    พระนิรันตราย เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 5 นิ้วครึ่ง เป็นพุทธศิลปะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธามาก เนื่องจากมีความศักดิ์สิทธิ์ มหัศจรรย์แคล้วคลาดพ้นอันตรายไปถึง 2 คราว มีพุทธลักษณะพิเศษ คือที่พระเศียรไม่มีพระเมาลี แต่ต่อด้วยพระรัศมีเลย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานวัดธรรมยุตที่เป็นพระอารามหลวงวัดละองค์ ได้แก่ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดราชประดิษฐ์ และถวายพระนามว่า “พระนิรันตราย” นับเป็นพุทธศิลป์แบบหนึ่งของยุครัตนโกสินทร์



    [​IMG]


    พิธีพุทธมหาชัยมังคลาภิเษกเหรียญที่ระลึกพระพุทธปัญจภาคี

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงประกอบพิธีพุทธมหาชัยมังคลาภิเษกเหรียญที่ระลึกพระพุทธปัญจภาคีในวันที่ 20 มีนาคม 2540 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพมหานคร



    พระนามและรายนามพระสงฆ์ที่กราบทูลและนิมนต์

    มาร่วมอธิฐานจิตในพิธีพุทธมหาชัยมังคลาภิเษก เหรียญที่ระลึก “พระพุทธปัญจภาคี”

    วันพฤหัสบดี ที่ 20 มีนาคม 2540



    1.พระเจริญพระพุทธมนต์ (เวลาประมาณ 15.00 น.)

    1. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร

    2. สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

    3. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม

    4. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณาราม

    5. พระสุเมธาธิบดี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

    6. พระธรรมวโรดม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

    7. พระวิสุทธาธิบดี วัดสุทัศนเทพวราราม

    8. พระธรรมปัญญาจารย์ วัดมกุฏกษัตริยาราม

    9. พระพรหมโมลี วัดยานนาวา

    10. พระมหารัชมงคลดิลก วัดบวรนิเวศวิหาร

    2.พระคณาจารย์นั่งเจริญจิตตภาวนา

    ชุดที่ 1 (เวลาประมาณ 15.00 น.)

    1. พระวิสุทธิวงศาจารย์ (หลวงพ่อพลอย) วัดเทพธิดาราม กทม.

    2. พระมงคลเทพโมลี (ดร.พูลทรัพย์) วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.

    3. พระราชวิสุทธิคุณ (หลวงพ่อเกตุ) วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์

    4. พระโสภณเสมาธิคุณ (หลวงพ่อเฟื่อง) วัดเจ้ามูล กทม.

    5. พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ) วัดอรัญบรรพต หนองคาย

    6. พระครูสาธรพัฒนกิจ (หลวงพ่อละมูล) วัดเสด็จ ปทุมธานี

    7. พระอาจารย์มหาวิบูลย์ วัดโพธิคุณ ตาก

    8. หลวงปู่จันทา วัดเขาน้อย พิจิตร

    9. พระครูกาชาด (บุญทอง เขมทตฺโต) วัดดอนศาลา พัทลุง

    10. พระครูอดุลยธรรมกิจ (หลวงพ่อกลั่น) วัดเขาอ้อ พัทลุง

    11. หลวงพ่อสังข์ศีลคุณ วัดดอนตรอ นครศรีธรรมราช

    12. พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญวิเวก เชียงใหม่

    13. หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่านาสีดา อุดรธานี

    14. พระอธิการวิชา รติยุตโต วัดศรีมณีวรรณ ชัยนาท

    15. หลวงพ่อบุญมา คัมภีรธัมโม วัดหนองปุง สกลนคร

    16. พระครูสมุหอวยพร วัดดอนยายหอม นครปฐม

    17. หลวงปู่กิ ธัมมุตธาโม วัดสนามชัย อุบลราชธานี

    18. พระครูมนูญธรรมมาภิรัต (หลวงพ่อสาคร) วัดหนองกรับ ระยอง

    19. พระครูเขมคุณโสภณ (หลวงพ่อจันทรแรม) วัดเกาะแก้วธุดงค์สถาน บุรีรัมย์



    ชุดที่ 2 (เวลาประมาณ 18.00 น.)

    1. พระราชจันกวี วัดไผ่ล้อม จันทบุรี

    2. พระอุดมประชานารถ (หลวงพ่อเปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม

    3. พระมงคลสิทธิคุณ (หลวงพ่องลำใย) วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี

    4. พระครูฐิติธรรมญาณ (หลวงพ่อลี) วัดเหวลึก สกลนคร

    5. พระครูสุวัณโณปมคุณ (หลวงพ่อคำพอง) วัดถ้ำกกกู่ อุดรธานี

    6. พระครูอนุรักษ์วรคุณ (หลวงพ่อสง่า) วัดหนองม่วง ราชบุรี

    7. พระครูสุนันท์วิริยาภรณ์ (หลวงพ่อเก๋) วัดแม่น้ำ สมุทรสงคราม

    8. หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย อุบลราชธานี

    9. พระครูสถิตโชติคุณ (หลวงพ่อไสว) วัดปรีดาราม นครปฐม

    10. พระครูถาวรสังฆสิทธิ์ (หลวงพ่อภา) วัดสองห้อง นครปฐม

    11. พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ (หลวงพ่อคำบ่อ) วัดใหม่บ้านตาล สกลนคร

    12. หลวงปู่บุญมี วัดสระประสานสุข อุบลราชธานี

    13. หลวงปู่หงส์ วัดเพชรบุรี สุรินทร์

    14. พระครูอรรถธรรมทร (หลวงพ่อเฮ็น) วัดดอนทอง สระบุรี

    15. พระครูเกษมคณาภิบาล (หลวงพ่อมี) วัดมารวิชัย พระนครศรีอยุธยา

    16. หลวงปู่รินทร์ รักขโน สำนักสงฆ์ภูถ้ำพระ กาฬสินธุ์

    17. หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว วัดป่าหินเกิงวิปัสสนา ขอนแก่น

    18. พระครูนนทสิทธิการ วัดไทรน้อย นนทบุรี

    19. หลวงปู่พลพินิจ ขันจิธโร สำนักสงฆ์ภูถ้ำพระ กาฬสินธุ์



    พระสงฆ์สวดภาณวารและทิพย์มนต์

    1. พระมหาสุธน กวิญโญ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.

    2. พระปลัดพิทยา ญาณิกวโส วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.

    3. พระครูวินิตสุนทรกิจ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.

    4. พระครูพินิจ กิจจาภิรักษ์ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.



    พระสวดพุทธาภิเษก

    1. พระครูพิทักษ์ถิรธรรม วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.

    2. พระครูวิบูลวิหารกิจ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.

    3. พระครูสุวัฒนประสิทธิ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.

    4. พระครูอมรโฆสิต วัดสุทัศนเทพวราราม กทม



    องค์ประธานดับเทียนชัย (เวลาประมาณ 20.00 น.)

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ กรุงเทพฯ
     
  9. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,437

    ปฐมฤกษ์ได้สุดยอดเลยพี่โญ....(^_^)
     
  10. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,571
    ค่าพลัง:
    +53,107
    สวัสดีทุกๆท่านด้วยครับผม


    [​IMG] [​IMG]
     
  11. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,437
    อรุณสวัสดิ์ครับพี่ตี๋ใหญ่..หนาวๆดูแลสุขภาพด้วยครับ
     
  12. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,571
    ค่าพลัง:
    +53,107

    ขอบคุณพี่โญมากๆ สำหรับของขวัญวันเกิด ได้รับเมื่อวานแล้วครับผม
     
  13. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    หวัดดีï¿
     
  14. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,437
    ยินดีกับคุณเอ็มและอนุโมทนากับพี่โญด้วยครับ...(^_^)
     
  15. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,437
    สมเด็จเกศไชโยรุ่นประวัติศาสตร์..


    [​IMG]


    [​IMG]




    ประวัติการสร้างพระสมเด็จเกษไชโย รุ่นประวัติศาสตร์ ปี2531

    หลวงพ่อพระมหาพุทธพิมพ์ (หลวงพ่อโต) สร้างโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) เมื่อร้อยกว่าปีเศษมาแล้ว พระมหาพุทธพิมพ์เดิมนั้นได้ลงรัก ปิดทอง แต่กาลเวลาผ่านมาถึงเจ้าอาวาสรูปหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2470 ท่านมีความประสงค์ที่จะลงรัก ปิดทองใหม่ จึงได้ทำการลอกทองออกจากองค์พระ ทำการเรี่ยไรเพื่อหาปัจจัยมาซื้อทองปิดองค์หลวงพ่อ แต่แล้วท่านได้มรณภาพลงเสียก่อน นับแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีผู้ใดที่จะทำการลงรักปิดทององค์หลวงพ่อได้

       

    จนมาถึง ปี พ.ศ. 2531 ท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน พระวิสิฐนิมมานการ (แฉล้ม จนฺทวณฺโณ) ได้ริเริ่มที่จะปิดทองหลวงพ่อพระมหาพุทธพิมพ์ เหตุการณ์มหัศจรรย์ได้ปรากฏขึ้น คือ หลวงพ่อพระมหาพุทธพิมพ์ ได้ไปเข้าฝัน ดร.เถลิง เหล่าจินดา บอกว่าขณะนี้ยังไม่ได้ปิดทอง ดังนั้นท่านเจ้าอาวาส กับ ดร.เถลิง เหล่าจินดา พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน จึงร่วมกันทำพิธีลงรัก ปิดทอง และก่อนที่จะลงรัก ปิดทอง ต้องกะเทาะ ลอกทองเก่าออกจากองค์หลวงพ่อพุทธพิมพ์ก่อน ขณะที่ทำการกะเทาะลอกทององค์หลวงพ่ออยู่นั้น ท่านเจ้าอาวาสได้นิมิตว่า หลวงพ่อ สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) มาบอกว่า ผงและทองคำ ที่เอาออกมาจากองค์พระนั้นควรจะนำไปทำพระสมเด็จ (ทองคำนำไปผสมทำพระทองคำ) เพื่อให้พระชาชนได้นำไปบูชา

      
    ท่านเจ้าอาวาสจึงได้ปรึกษากับคณะกรรมการวัด และพร้อมใจกันสร้างพระสมเด็จรุ่นนี้ขึ้นมาให้ชื่อว่า สมเด็จรุ่นประวัติศาสตร์ ที่ให้ชื่ออย่างนี้เพราะโอกาสที่จะนำผงจากองค์หลวงพ่อมาทำพระสมเด็จคงไม่มีอีกแล้วในชีวิตของพวกเรานี้ ก่อนที่จะทำการสร้างพระสมเด็จชุดนี้นั้น นายช่างทำพระสมเด็จได้ปรารภกับเจ้าอาวาสว่า ถ้าได้พระประสกมาผสมกับผงอีกก็จะเป็นการเพิ่มพุทธานุภาพของพระสมเด็จชุดนี้ให้มากขึ้น ในอดีตประสกของพระมหาพุทธพิมพ์เคยร่วงมาแล้วในปี พ.ศ.2521 จำนวน 1 อัน และ พ.ศ. 2531 ช่างได้สำรวจ ปรากฏว่าชำรุดอีก 1 อัน

    เจ้าอาวาสเลยได้ตั้งกัลยาจิตอธิษฐานว่า ถ้าจะทำพระสมเด็จชุดนี้สำเร็จแล้ว ให้หลวงพ่อพระมหาพุทธพิมพ์ประธานประสกเพิ่มขึ้นอีก ปรากฏว่าเมื่อสำรวจแล้วครั้งสุดท้ายก่อนซ่อมพระมหาพุทธพิมพ์ ประสกชำรุด 47 อัน อาจจะเป็นเพราะแรงอธิษฐาน หรือว่าเหตุใดก็ไม่ทราบได้ ฉะนั้น ท่านเจ้าอาวาส และคณะกรรมการวัดจึงได้จัดทำพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 20 ตุลาคม 2531 (ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 11) โดยอาราธนาพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ จำนวน 108 รูป มาร่วมพิธี สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศ ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย
     
  16. ช้างป่า

    ช้างป่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    511
    ค่าพลัง:
    +16,480
    ง่ะ ง่ะ ง่ะ !!!

    งง งง งง ???

    เข้ามารายงานตัวแบบเงียบๆ

    ก่อนจะหนีกลับบ้านต่างจังหวัดช่วงปีใหม่




    [​IMG]


    [​IMG]
     
  17. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,437

    สวัสดีคร้าบน้องนาย ^^

    ปีใหม่เดินทางปลอดภัยนะคร้าบ ^^
     
  18. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    พระอุปคุต พระแห่งโชคลาภและคุ้มกันภัยทั้งปวง

    พระอุปคต เป็นรูปเคารพที่สร้างขึ้นแทนพระอรหันต์สาวกสำคัญรูปหนึ่ง ซึ่งได้รับการยกย่องว่า มีความเป็นเลิศทางฤทธิ์ ในสมัยหลังพุทธกาล เช่นเดียวกับพระโมคคัลลา ที่ได้รับการยกย่องสมัยเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่
    ชาวพม่า รามัญ นับถือพระอุปคุตเถระกันเป็นจำนวนมาก มีการสร้างรูปบูชาของท่านขึ้นมา ในแบบที่มีศิลปะแบบพม่าอยู่มากมาย ถ้าเป็นแบบที่นิยมในวงการพระเครื่อง ต้องยกให้ พระอุปคุต เนื้อสัมฤทธิ์เงิน ศิลปะเขมร ซึ่งมีอยู่มากมายหลายแบบ
    พระอุปคุต เป็นภาษาบาลี ในภาษาสันสกฤตเรียกว่า "อุปคุปต์" ซึ่งเป็นภาษาที่พี่น้องชาวไตย บางท้องถิ่น ขนานนามท่านว่า "ส่างอุปคุป" มีความหมายว่า "ผูัคุ้มครองมั่นคง " ชาวล้านนารู้จักพระอุปคุต ในนามผู้ปกป้องคุ้มกันภัย โดยเฉพาะการมีปอยหลวง งานพิธีกรรมของส่วนรวม จะมีการอาราธนาพระอุปคุตขึ้นจากแม่น้ำมาคุ้มครองการจัดงาน เพื่อมิให้เกิดเภทภัยและให้งานลุล่วงไปได้ด้วยดี
    นอกจากจะเรียกว่า"พระอุปคุต"แล้วยังมีการเรียก"พระอุปคุตเถระ"หรือพระเถระอุปคุต" ชื่อนี้เรียกเป็นภาษาชาวบ้าน โดยนำเอาคำว่า"เถระ"อันเป็นสัญญลักษณ์ที่ชี้ถึงความมั่นคง ในพระธรรมวินัยหรือบวชพระครองเพศสมณะมาแล้วตั้งแต่๑๐พรรษาขึันไปและยังเรียกชื่ออื่นๆอีกเช่น พระนาคอุปคุต พระกีสนาคอุปคุตฯลฯ
    ในบางท้องถิ่นล้านนา เชื่อว่า พระอุปคุตจะตะแหล่ง(แปลงร่าง)เป็นสามเณรน้อยขึ้นมาบิณฑบาตรในวันเป็งปุดหรือเพ็ญพุธ(วันเพ็ญตรงกับวันพุธพอดี) เริ่มตั้งแต่ตีหนึ่งของวันพุธ ผู้คนจึงมักเห็นสามเณรน้อยเดินบิณฑบาตรไปตามถนน ทางสี่แพร่ง สามแพร่ง ตลอดจนถนนหนทาง ตามริมน้ำ ท่าน้ำต่างๆจนกระทั่ง ตีนฟ้ายกหรือแสงเงินแสงทองออกมา จึงเนรมิตกายหายไป
    เชื่อกันว่าหากใครมีบุญบารมีได้ใส่บาตรพระอุปคุต มักทำให้ร่ำรวยเงินทอง ปราศจากภัยร้ายทั้งปวง มีสมาธิจิตดี ไม่หลงลืม ชีวิตเป็นสุข
    ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้สร้างพระอุปคุต ปางต่างๆที่นิยมกันมากได้แก่ ปางจกบาตร หมายถึง กินบ่เซี่ยงหรือกินไม่หมด ให้คุณทางทรัพย์สิน เนืองนอง ร่ำรวยมากมาย
    พระอุปคุต ปางห้ามมาร ให้คุณทางคุ้มครองป้องกันภัยต่างๆ ปางสมาธิหรือพระบัวเข็ม ให้คุณด้านสติปัญญาดี จิตใจผ่องใส ดำเนินชิวิตเป็นสุข ด้วยปัญญาบารมี
    ในปัจุบันเมื่อจะจัดงานพิธีสำคัญต่างๆขึ้นมักจะมี พิธีอธิษฐานบูชาพระอุปคุตเป็นเบื้องต้น เพื่อช่วยให้คุ้มครองให้งานนั้นๆสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี รูปลักษณะบูชาพระอุปคุต ที่เป็นรูปเคารพทั่วไป มักเป็นรูปองค์พระนั่งอยู่ในหอยสังข์มีขนาดศรีษะใหญ่ เน้นส่วนคิ้วตา จมูกให้เห็นชัดเจน เนื่องจากอาศัยจำพรรษาอยู่ในปราสาทแก้วกลางมหาสมุทร จึงมักทำรูปสัตว์น้ำเป็นสัญญลักษณ์ประกอบอยู่ด้วยเสมอ
    พระอุปคุต ผู้เป็นพระอรหันตสาวก ที่ทรงมหิทธานุภาพ ชอบตวามวิเวก อยู่ตามลำพังผู้เดียว เป็นพระอรหันต์หลังพุทธกาล เพราะไม่เคยพบในพระไตรปิฏก แต่ปรากฎในจารึกพระเจ้าอโศก ซึ่งเขียนขึ้นเป็นร้อยปีหลังพระพุทธเจ้านิพพาน และปรากฏใน พระปฐมสมโพธิกถา วึ่งเป็นพระนิพนธ์ของ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส โดยอยู่ในปริจเฉจที่ ๒๘ ชื่อว่า มารพันธ์-ปริวรรต
    ขอพักก่อน ยังมีต่อครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_5070.JPG
      IMG_5070.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.4 MB
      เปิดดู:
      242
    • IMG_5071.JPG
      IMG_5071.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.2 MB
      เปิดดู:
      378
  19. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]

    [​IMG]

    ใน ปี พ.ศ.๒๕๒๕ เป็นปีที่มีงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปีอย่างยิ่งใหญ่ หนึ่งในภาระกิจหลักในวาระนั้นคือการบูรณะปฏิสังขรวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯพระราชทานให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธาน และเพื่อเป็นทั้งที่ระลึก และสมนาคุณการระดมทุนบริจาคเพื่อการนี้ คณะกรรมการฯได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานจัดสร้างเหรียญพระแก้วมรกตหลัง ภปร ขึ้นเป็นการเฉพาะอย่างปราณีตบรรจงทั้งในรูปลักษณะและพระราชพิธีพุทธาภิเษก

    พระ ราชพิธีพุทธาภิเษกมีขึ้นในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๔ ณ พระอุโบสถวัดพระแก้ว โดย พระมหาเถระจำนวน ๑๐ รูป ประกอบด้วย
    1. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    2. พระมงคลราชมุนี (สุพจน์ โชติปาโล) วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพฯ
    3. พระราชสังวรญาณ (สนิท ถิรสินิทฺโธ) วัดศิลขันธาราม อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
    4. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
    5. หลวงพ่ออุตตมะ อุตฺตมังกโร วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
    6. พระครูพิพิธพัชรศาสน์ (หลวงพ่อจ้วน) วัดพระพุทธบาทเขาลูกช้าง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี
    7. หลวงพ่อสุด วัดกาหลง อ.เมือง จ.เพชรบุรี
    8. พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร
    9. พระครูประดิษฐ์นวการ วัดวังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
    10. พระครูญาณวิจักขณ์ (พระอาจารย์ผ่องจินดา) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
    เข้า นั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิตในมณฑลพิธีราชวัตรฉัตรธง ประกอบพิธีพุทธาภิเษกต่อไป

    โดย ในเวลาเดียวกันนี้พระภาวนาจารย์ พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วราชอาณาจักรอีก ๙๐รูป ได้ร่วมพิธีนั่งปรกเจริญภาวนาแผ่จิตตานุภาพ รวมไว้เป็นหนึ่งส่งพลังจิตตภาวนา ณ วัดที่ประจำอยู่ เป็นการรวมกระแสพลังจิตให้เป็นหนึ่งเดียวส่งไปยัง “วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) มีอาทิ
    1. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
    2. หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี
    3. หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    4. หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
    5. หลวงพ่อละมูล วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี
    6. พ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
    7. หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า จ.ระยอง
    8. หลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย
    9. หลวงพ่อไพบูลย์ วัดรัตนวนาราม (อนาลโย) จ.พะเยา
    10. หลวงพ่อสงฆ์ จันทสโร วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร
    11. หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
    12. หลวงพ่อสุด วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร
    13. หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น
    14. หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง
    15. หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม จ.ร้อยเอ็ด
    16. หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี
    17. หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี
    18. หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
    19. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
    20. หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเชอ จ.ชลบุรี ฯลฯ

    เหรียญ จำนวนล้านถูกจองหมดอย่างรวดเร็ว ไม่เพียงพอแก่ความต้องการของมหาชน เป็นเหตุให้คณะกรรมการต้องกราบบังคมทูลขอพระราชทานสร้างชุดที่ ๒ โดยพระราชทานพระราชวินิจฉัยโปรดฯให้เพิ่มข้อความ “พระราชศรัทธา” ไว้ใต้ตราสัญลักษณ์พระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” เพื่อเป็นการจำแนกความแตกต่างระหว่างการสร้าง “ครั้งแรก” กับการสร้างใน “ครั้งที่สอง” ที่ประกอบพระราชพิธีพุทธาภิเษกใน วันพุธที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยพระมหาเถระ ๙ รูป ดังนี้ สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธัมมสาโร) วัดราชผาติการาม กรุงเทพฯ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา หลวงปู่ครูบาพรหมา พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน หลวงพ่อผิว วัดสง่างาม จ.ปราจีนบุรี หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี พระครูถาวรชัยคุณ หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดง จ.พัทลุง

    ได้เงินสมทบทุนโดยเสด็จพระราชกุศลเพื่อการบูรณปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทั้งสิ้นถึง ๒๒๐ ล้านบาทเศษ

    พระเดช พระคุณพระราชพรหมยานเถร (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ)
    ได้ กล่าวไว้ในบทความ ”ไทยไม่มีวันสิ้นชาติ” ถึงเหรียญพระแก้วมรกต ภปร นี้ว่า

    “...อาตมา เห็นว่า พระพุทธรูปองค์นี้คือ พระแก้วมรกต เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยอย่างยิ่ง ถ้าหากว่าท่านพุทธบริษัทชายหญิงมีไว้บูชา อาตมาคิดว่าจะเป็นมงคลอย่างสูงทั้งนี้เพราะว่า ตราบใดที่เรายังมี "พระแก้วมรกต" บูชาอยู่ ขณะนั้นอาตมาขอยืนยันว่าประเทศไทยยังเป็นเอกราชต่อไป….”

    “...พระรูป พระโฉมหรือพระรูปเปรียบขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์คือ "พระแก้วมรกต" จัดว่าเป็นมิ่งขวัญของคนไทยมานาน บูชาไว้ รูปที่ปลุกเสกที่ทำไว้ถ้าใครมีไว้ในบ้านละก็ จงอย่าเอาออกไปไหน ติดตัวไว้เสมอๆ จะเป็นมิ่งขวัญใหญ่ ขณะใดที่เรายังรัก "พระแก้วมรกต" รักความดีของ "พระแก้วมรกต" คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ถึงซึ่งความตัดความชั่วทรงความดี ทำจิตให้ผ่องใส รับรองว่าคนไทยทั้งชาติจะต้องเป็นไท และเป็นคนไทยที่มีความสุข มีความอุดมสมบูรณ์ต่อไป...”

    เหรียญพระแก้วมรกต ภปร นี้ นับเป็นสุดยอดวัตถุมงคลของแผ่นดิน อันทั้งเป็นนิมิตหมายแห่งการผนึกพลัง ชาติ พระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ ทั้งถึงพร้อมด้วย “พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ” และ “พระมหากษัตริยาธิคุณ” อย่างไม่เป็นสองรองของดีของวิเศษอื่นใดในปฐพี...

    แม้ไม่พบหลักฐานว่า พระเดชพระคุณพระราชพรหมยานเถร(หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ)ได้เข้าร่วมในพระราชพิธีพุทธาภิเษกด้วยหรือไม่ แต่การปฏิวัติรูปแบบพระราชพิธีพุทธาภิเษกที่ใช้วิธีอาราธนานิมนต์ให้พระมหา เถรานุเถระต่างอธิษฐานจิตอยู่กับวัด ส่งพลังจิตตานุภาพมาอย่างเต็มกำลังด้วยไม่ต้องทนฝืนทรมานสังขารเดินทางมา เบียดเสียด อดนอน อดข้าว อดน้ำ ทนร้อน คร่ำเครียดในเขตพิธีอันจำกัด เป็นรูปแบบที่เหล่าสานุศิษย์ของหลวงพ่อทราบกันดีว่าน่าจะมีเหตุจากพระเดชพระ คุณหลวงพ่ออย่างที่สุด ประกอบกับการนำมาบอกกล่าวกับเหล่าศิษย์อย่างเฉพาะเจาะจง จึงชวนให้เชื่อว่าหลวงพ่อคงมีส่วนในงานนี้ไม่น้อย


    ที่มา:เว็ปอินทราพงษ์
     
  20. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326

    ดีจ้าาน้องนาย เดินทางกลับบ้านปลอดภัย ฝากกราบหลวงปู่หงษ์ด้วยน๊าา
     

แชร์หน้านี้

Loading...