จิตไม่เที่ยง จิตเกิดดับ ใครว่า จิตเที่ยง จิตดับไม่มี นี่เป็นความเห็นผิด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมแท้, 5 พฤศจิกายน 2014.

  1. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    คุณจิตยิ้ม อย่าไปใส่ใจอะไร กับ นิวรณ์ เลย
    เพราะเขาคงไม่เข้าใจ สมมุติบัญญัติ ที่คุณสื่อออกมา และกล่าวไม่ดีกับคุณ
    ซึ่งถ้าเป็นนักปฏิบัติจริงๆ ก็ควรจะมีเมตตากับเพื่อนผู้ปฏิบัติธรรมด้วยกัน
    โดยการใช้ปิยวาจา ในเมื่อเขาไม่รู้จักสภาวะที่คุณจิตยิ้มเป็นจริงๆ
    เขาทำได้เพียงอ่านจากสมมุติบัญญัติที่คุณจิตยิ้มสื่อออกมาแล้วตีความผิดๆถูกๆ เท่านั้น

    ซึ่งคนที่รู้สภาวะนั้นดี ก็คือคุณจิตยิ้มเองที่เจอสภาวะนั้น

    อยากให้คุณ จิตยิ้มลองสังเกตุสภาวะที่ว่านั้นดูว่า มันเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
    เพียงแค่รู้ตามความจริงว่า มันว่าง
    เมื่อมีสภาวะอื่นเกิดขึ้นเช่น โกรธ ฟุ้งซ่าน ฯลฯ
    สภาวะที่ว่า ว่าง นั้นหายไปไหม

    ถ้ามันมีแล้วหายไป
    ก็คือตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์

    เช่นกัน ไม่ควรยึดมั่น เพียงสักแต่ว่าเป็นสภาวะที่ให้ระลึกรู้
    อยู่เท่านั้น

    ขอให้เจริญในธรรมนะ
     
  2. ปทุมมุต

    ปทุมมุต ผมเป๋นใตร?

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +286
    ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นด้วยคนนะครับ ๑,ในบรรดาพวกเราที่แสดงแลกเปลี่ยนทัศนะกันอยู่ เข้าใจว่าไม่มีพระอริยะสักคน ขอให้อโหสิกรรมต่อกัน จะได้ไม่เป็นกรรมทางใจต่อกัน ๒,เข้าใจว่าไม่มีพุทธประสงค์ให้ผู้ปฏิบัติเพื่อมุ่งนิพพานได้มีแนวคิดถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดว่าเป็นอัตตา เที่ยงแท้ ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิ เพราะแม้พระนิพพานและสภาวะจิตที่ทำพระนิพพานให้แจ้งแล้วนั้นว่าเป็นอัตตาหรืออนัตตา (เท่าที่ได้ยินได้อ่าน เห็นแต่ว่าเป็นบรมสุข เป็นอมตธาตุ อมตธรรมฯ.) เพราะการถือเอาความเห็นอัตตาอนัตตา เฉียดๆหรืออาจจัดเข้าทิฏฐิ๖๒ เพราะทิฏฐิ๖๒เป็นโอฆะใหญ่อันข้ามได้ยาก เป็นสิ่งรกชัฎ มีตัวอย่างในสมัยพุทธกาลที่พระรูปหนึ่งบวชจากตระกูลพรานดักนก เที่ยวพูดว่าวิญญาณนั้นไม่ตาย เที่ยวเวียนว่ายในภพภูมิ พระสารีบุตรเถระจึงไปชำระทิฏฐิให้โดยถามประมาณว่า ท่านเห็นว่าวิญญาณเป็นเรา มีในเราฯ เราเป็นวิญญาณฯ..ฯ.หรือ สุดท้ายพระรูปนั้นจึงปล่อยวางได้(ปล่อยวางทิฏฐิ แล้วหลุดพ้นในที่สุด)
    ขอเสริมท่านtjsนิด เรื่องวิถีจิต จิตที่เกิดรับปัจจัยเกิดต่อจากจิตที่ดับไปมิใช่เกิดรับเรื่องใหม่เสมอไป บางดวงก็รับเรื่องเก่ามาวิเคราะห์ซำ้ฯ ฉนั้นจิตจึงเกิดดับเร็วมากๆ
    เช่นในขณะที่เรามองเห็นรูปกว่าที่จะรู้ว่ารูปอะไรจิตจะดึงสัญญาและวิเคราะห์ฯ เกิดดับไม่ตำ่กว่าเจ็ดดวง ทั้งที่เราดูอะไร ดูปุ๊บก็รู้ปั๊บ...ผิดถูกขออภัยทุกท่านด้วย
    ...ปล.(อะแน๊ะ มีปล.) สายพระป่าพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ผมก็เคารพสุดใจเช่นกัน ตอนบวชก็บวชสายนี้ แต่ที่สุดของที่สุดคือพุทธพจน์ตรัสใว้ดีแล้ว ไม่ควรมีคำสอนใดขัดกับพุทธพจน์..เว้นเสียแต่ผู้แปลชำระตรวจทานจะผิดพลาดภายหลัง (สังฆายนาหลายครั้งเหลือเกิน)...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2014
  3. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    >พุทธกาลที่พระรู)หนึ่งบวชจากตระกูลพรานดักนก เที่ยวพูดว่าวิญญาณนั้นไม่ตาย เที่ยวเวียนว่ายในภพภูมิ 

    ขอเสริมตรงประโยคข้างต้นว่า
    พระรูปนั้น ชืือ พระสาติ เกวัฏฏบุตร บวชจากสกุลชาวประมง
    เห็นว่าวิญญาณออกจากร่างไปเกิดใหม่ เป็นวิญญาณเดิมนี่แหละ

    พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า นี่เป็นความเห็นผิด กล่าวตู่พระพุทธเจ้า จะประสบบาปมิใช่บุญ

    ท่านสอนว่า วิญญาณเกิดดับด้วยเหตุปัจจัย เช่น วิญญาณเกิดทางตาก็ดับทางตา เป็นต้น

    สุดท้ายในพระสูตร ภิกษุนี้ยังไม่ได้บรรลุธรรมอะไร

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=8041&Z=8506
     
  4. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424


    สังขารเป็นอย่างนั้นก็จริง จริงตามเหตุตามปัจจัย
    สังขารไม่ได้หลอก แต่ผู้เห็นสังขาร เห็นไม่รอบคอบตามความเป็นจริงเอง
    เห็นเพียงอาการ ปรากฏการณ์ ว่างเกินบรรยาย เกินจะบัญญัติได้ ไม่ธรรมดา
    เห็นเพียงเท่านั้น หากเกิดติดอกติดใจขึ้นมา ก็เรียกว่า กำลังหลงสังขาร
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    สิ่งใดที่เป็น อดีต หรือ อนาคต แนวโน้ม ที่เป็นไปได้คือ สังขาร

    การที่ไป อ้าง อิงอ้าง แต่เรื่องในอดีต หรือ ในอนาคต ก็เข้าทำนอง หลงสังขาร

    ที่นี้

    ก็อธิบาย ตรงๆ ไปแล้วว่า สุญญตา ก็เป็นเพียง สมถะ อารมณ์ สมถะ เป็นการ
    ทำสมาธิ ในคำบาลีใช้คำว่า " สุญญคารวิหาร " คือ เวลากระทบ หรือ รับรู้
    ความเป็น สุญญตา นั่นมันแค่ อภิสังขาร เป็นเพียง สังขาร ที่เอาไว้อยู่สุข
    ไม่ใช่ สภาวะหลุดพ้น ฮา อะไร ไม่ใช่ความจริง

    เพราะอะไร

    ไอ้จิตยิ้มแห้งๆ มันก็ ควรตอบคำถามตัวเองได้ ก็เพราะว่า ตัวเองก็
    บอกออกมาเอง ว่า มันเกิด ในสมัยโน้นนนนนนนนนน แล้วก็หายไป

    ทำไมหายไป เพราะเอา กามโลก( โลกของการบำรุง พ่อแม่ พี่น้อง
    แบบ มนุษย์โลก หรือ กามโลก ) เป็นใหญ่กว่า ธรรม กระทืบ กรรมฐานทิ้ง
    บอกว่า อยู่กับโลกดีกว่า ขออยู่กับโลกก่อน ทั้่งๆที่ ไอ้ ว่างๆ ที่คิดว่า
    มี สิ่งหนึ่งรอให้กลับไปเป็น แล้ว ออกมาใหม่ กลับเข้าไปเป็น แล้ว
    ก็ออกมาใหม่ ตั้งอยู่ไม่ได้ มีปัจจัยให้ กำเริบกลับไปกลับมา คิดวา นั่นเป็น นิพพาน
    หรือที่ไอ้พวกโง่ๆ มัน ยกว่า เป็น " จิตเดิมแท้ " " จิตฮันนี่ บุญญเกีรยติ " ยังไม่ออกลาย

    โง่ ค่าเงินบาทอ่อนซบเซา ตายเปล่า

    ทีนี้ ไอ้คนภาวนาไม่เป็น ไม่เคยเห็น จิตมีราคะ กับ จิตไม่มีราคะ ไม่เคยยกวิปัสสนา
    ได้มาก่อน ก็ งง ไป สำคัญว่า เออ นั่นแหละ นิพพาน นั่นคือธรรม แล้วไป ส่งเสริม
    ว่า ถูกต้มแล้วคร้าบ ตายฮา.....พากันไป ตายน้ำตื้น ติดสมถะ ปฐมฌาณ ยังไม่ได้เลย

    ความคิด เป็นเหตุของความทุกข์

    ความคิด ของคนภวนาไม่เป็น มันก็เป็น ความคิดที่พูดได้ เป็นคำศัพท์ แปลเปลี่ยน
    ไปตาม ประเทศ

    นั่นมัน ความคิด ของคนไม่เคย สัมผัส ปฐมฌาณ ปฐมฌาณ(เกิดจากอำนาจแห่งวิปัสสนา) ยังไม่รู้จัก ก็เลย
    สำคัญว่า ความคิดทางธรรม หมายถึง อะไรที่เป็น บัญญัติ พวกหลงบัญญัติ
    ก็ไป นั่งจับคำไปกระเดียด เอาความสำคัญ ในบัญญัติเป็นความเข้าใจ หรือไม่เข้าใจ

    โง่ ค่าเงินบาทอ่อนซบเซา ตายเปล่า ความคิดในทางธรรม มันคือ องค์ฌาณ คือ วิตก วิจาร

    ดังนั้น ปฐมฌาณ หากทรงจิตไว้ได้ คือ ปฐมฌาณ เกิด ดับ ไม่ห่างจากจิต อันนี้ เขาเรียกว่า
    ความคิด มันไม่ขาด

    ทำไมจึงเรียกว่า ความคิดไม่ขาด ทั้งที่ ปฐมฌาณ เสียงเนี่ย ต้องดับไปจากจิต สัญญาที่
    ให้อามิสก็ดับไปจากจิต แต่ทำไม ถึงกล่าวว่า ปฐมฌาณ ยังมีความคิด

    ก็ไอเฮีย เขาให้พิจารณาที่เหตุ ไง

    หากจิตยังมี วิตก วิจาร นั่นแหละ เชื้อโง่ ที่ ความคิด จะอาศัย ตั้งขึ้น

    อาศัย อำนาจแห่งการนมสิการ การเห็นเหตุ การเกิดของเหตุ การดับ
    ของเหตุ หากเหตุมันไม่ดับ วิตก วิจาร ยังทำจิตให้ผู้ภาวนาได้แค่
    " ปฐมฌาณ " เขาจึง อนุโลมตามอำนาจแห่งเหตุเกิด มันยังอยู่
    จึงได้กล่าวว่า จิตยังมีความคิด ...เมื่อพิจารณาได้อย่างนี้ ก็จะ
    นมสิการธรรม ไปสู่ สมาธิไม่มีวิตก แต่ยังมีวิจาร เริ่มเฉียดฌาณ แต่
    ไม่เสพฌาณเด็ดขาด ไม่เมาสังขารเด็ดขาด [ ตรงนี้ คนมีปัญญากล้า จะอาศัยเป็นเหตุ ในการสมาทานสิกขา ได้ ]

    เมื่อจิตยังมี วิจาร เราก็ถือว่า มันยังเป็นเหตุ ให้ วิตก มันกำเริบกลับ
    ก็จะนมสิการ สมาธิ ขั้นยิ่งๆขึ้นไปอีกคือ วิตก วิจาร ดับ เหลือแต่ ปิติ
    แต่ก็ไม่เสพเป็น ฌาณเด็ดขาด

    และ พอจิตยังมี ปิติ เวลาราคะแทรก นักภาวนาจะเห็น ความรวดเร็ว
    ว่องไวของ การประกอบขึ้นเป็น สังขารธรรม ดั่งฟ้าแล็บ ดั่งงูแลบลิ้น
    ห้ามสิ่งนั้นไม่ให้เกิดไม่ได้ ใครจะใหญ่กว่ากรรม ใหญ่กว่า วิบากกรรม
    เป็นไปไมได้ ใครจะทำลาย ปฏิจสมุปบาท ไม่ได้

    พอเห็นแบบนี้ ก็จะแล่นไปสู่การจับสุข แม้นสุขก็จะเป็นธรรมที่หยาบอยู่

    พอเห็นแบบนั้น ก็จะแล่นไปทรงอุเบกขา แม้นอุเบกขาก็ยังหยาบอยู่

    ทีนี้

    องค์ฌาณมันมีแค่นั้น เกินกว่านั้น เป็นเรื่อง ของสัตว์ที่โง่หนักหนาสาหัสสากัญ
    เกิด ตายเป็น หลายสิบอสงไขย มหากัปป ที่จะจำแนกได้ หากเป็น สัตว์ที่ฉลาด
    อาศัยฟังธรรมเอาจากสัตว์สองขาที่ฉลาดสำเร็จ ก็จะใช้เวลาไม่นาน เอะใจ

    เอะใจ

    เอะใจ

    แล้ว โน้มไปสู่ ธรรม ที่เป็น ของจริง ไม่ใช่ ธรรมของคนปลิ้นปล้อน
    อ้างว่า กูมีสิ่งวิเศษจัดสรร โดนมันหลอกให้รอวันตายเปล่า ไม่ภาวนา เลยสักแอะเดียว


    พวก ปะกิต เขามี สำนวน " คำโกหก ที่พร่ำพูดทุกวัน สักวันจะเป็นความจริง "

    นี่ จิตยิ้มแห้งๆมันเอามั่ง ไม่ภาวนา ไม่เพียร แต่ " พร่ำละเมอทุกวัน สักวันคงได้รับจัดสรรสิ่งที่จริง "
    ภาษา เจนนักพากษ์ ก็จะกล่าวว่า B.A.แบคเชลเลอร์ศิลปไปแล้วววววว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2014
  6. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207
    เอาอย่างนี่คะท่านนิวรณ์

    ที่ท่านบอกว่าเป็นธรรมของคนปลิ้นปล้อน โกหกไปวันวัน แม้แต่ปฐมฌาน
    ยังไม่ได้เลย ข้าพเจ้าจะนำสิ่งที่ข้าพเจ้าได้เจอ มาให้ท่านช่วยแนะนะคะ
    ว่าเป็นสมาธิแบบใด ระดับไหน

    1. นั่งสมาธิไม่มีร่างกาย ไม่มีความคิดเหลือแต่ รู้ตัวเดียวว่า รู้อยู่ สว่างอยู่

    2. นั่งสมาธิ มีแต่ สุข ไม่มีอารมณ์อื่นเลย สว่างรู้อยู่อย่างนั้น ตั้งแต่ ตี4
    ถึง 7 โมงเช้า ออกจากสมาธิ ก็มีแต่ปิติ สุข ไปทำงาน อารมณ์ที่มากระทบ
    ของคนที่พูดกระแทกใส่ ก็เป็นเพียงคลื่นพลังงาน ไหลผ่านตัวไป
    ไม่มีความรู้สึกใด ๆ แม้แต่นิดเดียว มีแต่ความปิติ

    3.เดินจงกรม 2ชั่วโมงครึ่ง ขณะหยุดพัก มองลงที่พื้นด้วยความนิ่ง
    เห็นคลื่นพลังงาน วิ่งเป็นลูกคลื่นไปตามพื้นนั้น

    4ขณะนอนหลับ แม้หลับอยู่ ก็รู้ตัวว่าไม่ได้หลับเลย มีสติรู้ตัวตลอดเวลา
    นอนสว่างอยู่ แม้ยามตื่น อิ่มอยู่ ยิ้มเสมอ หรือ รู้ว่ายิ้มบ่อย

    5.ขณะหลับอยู่ เห็นตัวเองลุกขึ้นนั่ง รู้ว่าตนเองไปในสถานที่เคยรู้จัก
    กลับมารู้สึกตกใจตื่น เห็นวิญญาณเงาดำ ภาวะจิตกลัวเต็มที่
    พยามยามเรียกคนอื่นไม่ได้ยิน ระลึกถึงพุทุคุณ อวดอิติปิโส จึงเข้าสู่
    สภาพปกติ

    6ขณะที่กำลังเดินอยู่ อยู่ดี ๆ ก็รู้สึกว่า ร่างกายมีสตืสัมปชัญญะขึ้น
    รู้ทุกอิริยาบถของร่างกาย และความรู้สึกทั่วร่างของตน

    7.ขณะตื่นนอนใหม่ ๆ พอลืมตาขึ้นมา จะเห็นรูปร่างเสือ กำลังกระโดด
    ลงจากหลังตู้เย็น พอเราเพ่งมองก็หายไป

    8.ถ้ามีความตั้งใจจะเพ่งดูรูปภาพ โดยเฉพาะภาพถ่าย ไม่ว่าจะเป็น
    ของตัวเอง หรือ ของคนอื่น จะเห็นการสลับหน้าในรูปภาพนั้น
    ใน 1 นาที นับไม่ถ้วน เห็นหน้าไม่ชัด เพราะความเร็วมาก

    9.เห็นและรู้ ในอารมณ์ ที่มีความรู้สึกสงสาร อยากให้เขาพ้นทุกข์
    การสั่นสะเทือนของความรู้สึก สุขลึกล้ำเกินบรรยาย ความรู้สูกของ
    ความเมตตา กรุณา ถ้าในสมมุติโลกนี้ไม่มีสิ่งใดเทียบได้

    เป็นสิ่งที่เคยได้สัมผัสมา แต่ยังไม่ใช่สภาวะที่เป็นอยู่คะ
     
  7. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207

    ขอบคุณคะ

    เกิดเนื่องจากเราไปปฏิบัติธรรม แล้วเจอกับเพื่อนร่นน้องคนหนึ่ง
    แล้วคุยกันเรื่อง หัวหน้างานเก่า ที่รู้จัก ถามว่าเป็นอย่างไรบ้าง
    ทุกคนสบายดีไหม น้องเขาก็เลยบอกว่า พี่คนนั้นเขาตายแล้ว
    ขับรถกลับมาจาก กรุงเทพเพื่อกลับบ้าน อยู่ดีๆ ก็ล้มฟุบเสียชีวิต
    คาพวงมาลัย ฟังแล้วเรารู้สึกใจหาย

    แล้วก็พลันระลึกถึงเกี่ยวกับเรื่องของตัวเราเอง ที่ประสบพบเจอ
    กับเหตุการณ์ ที่ผ่านมาในความพลัดพราก ทั้งการจากเป็นและ จากตาย
    จิตก็บอกว่า ไม่มีสิ่งใดเที่ยงเลย เห็นกันอยู่แล้วก็ตายจาก
    เมื่อพลัดพรากก็กลายเป็นอื่น ไม่แน่นอน

    ณ ขณะนั้นที่กำลังระลึกอยู่ มองออกไปข้างนอก

    ขณะนั้น

    นิ่งอยู่

    รู้อยู่

    จิตเข้าใจอย่างชัดเจนของสภาวะนั้น เห็นความว่างซ่อนอยู่ในธรรมชาติ
    พร้อมความรู้ชัดของสภาวะนั้น ว่า คือ อะไร จิตจะเข้าใจด้วยตนเอง

    ไม่มีสังขารปรุงแต่งเกิดขึ้นแม้แต่นิดเลยคะ
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    นี่ก็ ไม่สนใจ เนื้อหาสาระ คำพูด ที่เขาพยายามสื่

    ภาษามนุษย์ มันฟังยังไม่เข้าใจ รับสาร ที่เป็น แก่นสาร ไม่ได้

    เขาพูดกันปาวๆ ว่า สิ่งที่เป็นอดีต มันเป็น สังขาร กองสังขาร
    หากเป็น สังขารชั้นดี ที่โน้มมา กระทำในปัจจุบันให้เกิดบ่อยๆ เขาจะเรียก อภิสังขาร

    แต่ถ้า ปัจจุบัน ทำไม่ได้ ไม่รู้เหตุ ไม่รู้หายไปไหน จะทำให้เกิดใหม่ ทำไม่ได้
    ได้แต่ รอฟ้า รอฝน รอจังหวะจังหนับ เอ้ย !!! อันนี้เขาเรียกว่า โดน สังขารมาร มัน
    แหกตาเอา

    พอกล่าว ตรงๆว่า สังขารมาร ขันธ์มาร มันแหกตาเอา อภิสังขารมาร มันแหกตา
    เอา ก็ ร้อยละร้อย รับฟังไม่ได้ และ โอกาสที่จะ จับ สิ่งนั้นแน่นขึ้นกว่าเดิม
    ที่เรียกว่า อาการ พระศรีเบอร์5 ที่มานั่งตั้งกระทู้ รับปรึกษาการทำสมาธิ มันจะ
    เกิด ขึ้นมาอีกคนหนึ่ง สำเร็จเป็น พระพุทธเจ้าเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้ อยู่ก็เพื่อ
    ทำประโยชน์ให้แก่โลก รอ จังหวะดีๆ แล้ว ก็ไม่เจอกันอีกนะ ( ลง อเวจีมหานรก ไปไง )

    ถ้าเอา สภาวะธรรม เทียบเคียง กางออกมา เปิดโอกาสให้ชี้ หากรับฟังได้ ก็ฟัง
    หากรับฟังไม่ได้ เชิญ สังเกตุ ความแล่นไปสู่ การเป็น พระศรีเบอร์5 เอาไว้ให้ดีๆ

    1. เหลือแต่รู้ ...... บ้าหรือเปล่า รู้ มันต้องไม่เหลือ เพราะ รู้ ก็เกิดดับ ตามผัสสะ ปัจจัย
    เหลือแต่ รู้ โง่ดักดานแล้วหละ สติไม่เคยเกิด สัมปชัญญะ ไม่เคยมี จริง


    2. มีแต่ ปิติ .... นี่ก็ ไม่ได้รู้เรื่อง ตราบใด ปิติ ยังเป็นใหญ่ ยังครอบงำโลก ยังปิดบังการ
    เห็น ธรรม อย่างอื่น เขาเรียกว่า จิตไม่หน่ายในปิติ เกยตื้น ติดสมถะ ถ้า หน่ายปิติมัน
    จะไป ติดสุข ติดสว่าง ติดหมอง ...ถดจาก สว่าง หมอง จะไปติด อุเบกขา

    ขนาดอุเบกขา ก็ยังติด หากยังมันยังเป็นใหญ่ บังการเห็น ธรรมปราณีตอย่างอื่น อะไร
    แบบนี้ เขาเรียกว่า ไม่เคยแยกรูป แยกนาม ไม่เคย วิปัสสนา เอาแต่วิปัสสนึก ซึ่ง ที่สุด
    แห่งที่สุดของวิปัสสนึก คือ การได้ยิ้มกับเทวดา ได้เสวนากับพระพุทธเจ้า จิกหัวมาเสวนา
    ได้ตั้งแต่ องค์ประถม โน้นนนนนนนน

    3. เดินจงกรม ตา กระทบรูป เห็นโน้น เห็นนี่ นั่นมันแค่ เห็น สฬายตนะ ที่กำลังประกอบ
    เป็น จักษุ หรือ เรียกว่าว่า จิตกำลังกอบโกยผัสสะเอามาพอกพูลลูกตาให้หนา ปะผุ
    ปัญญาให้เบากลวงโบ๋

    4-5. นอนอยู่ รู้ว่า ตื่น รู้ว่า ยิ้ม ก็ คนมันติดนอน เป็น อาการคนติดนอน มันสุขจากการ
    นอน รับรู้ว่า กายกำลังนอน จิตกำลังนอน ไม่ทำประโยชน์อะไร การภาวนาไม่สนใจ
    ไม่ลุกขึ้นมา ยังติดนอน ไม่ต่างจาก สัตว์ต่ำกว่ามนุษย์ ( พยานาค มันไม่เคยหลับ มัน
    เอาแต่ นอนด้วยท้อง คลานด้วยท้อง ไม่คิดจะ มีขา ไว้เดิน โน้น พยานาค ที่ ติดนอน
    เก่งที่สุด เข้าฌาณได้ 4 พุทธันดร ป่านนี้ มันยังไม่ตื่นเลย พยานาค ที่ได้ยินเสียง
    กระทบของ ถาดอธิษฐาน พยานาคที่ได้รับรู้การอุบัติขึ้นของ พระพุทธศาสนา มันก็
    ไม่สนใจ มัน รอ จังหวะนั้นของมัน อยู่โน้น ตายเปล่า )

    6. ตื่นเงา ตื่นการเห็นเงาของจิต แต่ ไม่รู้ว่า เอาไปทำประโยชน์อะไร ใบ้ไม่กิน

    จริงๆ 4-5.-6 เป็น อาการ หลับสนิท ไม่เคบ ภาวนา เหมือนกันหมด

    7. ตื่นมา ยังชำแรก โลกบัญญติไม่ได้ ยังไม่รับรู้ สภาวะ ปรมัตถธรรม ไม่ได้ เขาเรียก
    ว่า หลับ อีกนั่นแหละ

    8. ก็เกิดจากการ โน้มจิตไปสู่ ภวังค์ แบบสุ่มสี่สุ่มห้า คือ อาศัย อารมณ์ตอนตื่น หรือ
    ตอนนอนแบบกึ่งตื่น มันจะ เห็น สภาวะธรรมบางประการ ที่เป็น การวางอารมณ์เพื่อให้
    " ภาพ " มันเกิด

    หลังจากนั้น ก็ น้อมไปสู่ ต่อมรู้ จุดรู้นั้น ในทางธรรมเขาเรียกว่า จิตเคลื่อน จิตส่งออก
    นอก ไม่ได้ระลึกที่ ปรมัตถ์ .... แล้ว ไปเทียบเคียงเอากับ พวก ทำฌาณ แล้วก็ ฮานาก้า
    มันเหมือนกัน มันคล้ายกัน

    ก็เหมือนกัน คล้ายกัน นั่นแหละ บางอย่างก็เป็น อันเดียวกัน แต่เป็น อันเดียวกันของ พวก ไม่ตื่น

    ทำฌาณ8 ได้ ออกไปโน้นนี่ เห็นโน้นนี่ คุย กับโน้นนี่ มันก็ กลับมา อมขี้ปาก อมความรู้
    จากการฟังจาก สัตว์อื่น เหมือนกัน เมาโลก เมาสังขาร " ติดตำรา " วิปัสสนาไม่เป็น
    ภาวนาไม่เป็น

    ข้อ 9

    ข้อ 9 นี่ ต้องโยนผ้าให้ ต้อง อนุโลมให้ หากจะเอามา ต่อว่า ว่าไม่ใช่ธรรม ได้
    ไหม ก็เอามาต่อว่าได้

    แต่ อาศัยอำนาจแห่งการ จะ ปรารภความเพียร เราก็จะ หยิบ สิ่งที่เป็นกุศล
    ที่สุดในสัตว์ มาต่อยอด หากพลาดพลั้งไม่ได้ มรรคผลอะไร อย่างน้อย มันจะ
    ได้ กุศล เอาไป หล่อเลี้ยง

    ดังนั้น ข้อ 9 ก็จะ บอกว่า ให้ พิจารณาอารมณ์นี้ไว้

    แล้ว ให้มันออกมาจาก การเห็นว่า สัตว์อื่นนั้นน่าสงสาร สัตว์ที่สำเร็จฌาณ8
    เห็นโน้นเห็นนี่ ก็น่าสงสาร

    มันน่าสงสารตรงที่ มัน " เมาโลก " เหมือนกัน ไม่รู้ หนทางนำออก

    แล้วหาก เห็นแบบนี้ แล้วเกิด เจตสิกธรรม ห้อมล้อมจิต เพราะ ผัสสะ ที่เรียกว่า
    ธรรมสังเวช เป็น ปัจจัยให้เกิด มันจะ พอกลับมา พิจารณา ปรมัตถ์ ได้

    ตามเห็น การเมาโลก สลัดคืนอยู่เป็นประจำ จะ ทำสมาธิ อย่างหนึ่งได้

    สมาธิอย่างหนึ่งนะ ไม่ใช่ ญาณ ปัญญา ความตรัสรู้ ฮา อะไร

    แต่จะ ตรัสรู้ หรือไม่ อันนี้ หากมาถึงตรงนั้นได้ เขาไม่มาถามกันแล้วว่า ทำไงต่อ
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ทีนี้ คนมันฝุ้งซ่านเป็นหลัก เห็นมาแบบนี้แล้ว สนใจ จะยก วิปัสสนา ทำได้ไหม

    เอา 9 ข้อมารวมกัน สิ่งใด ข้อไหนเกิด ให้ ดู ความยินดี ยินร้าย การเข้าคลุก
    เคล้าเอามาเป็นเรา ของเรา ตนของเรา

    แล้ว ไม่ได้ให้ดู ยินดี ยินร้าย ว่ามี หรือไม่มี

    เขาให้ เห็นความยินดี ยินร้าย หรือแม้ อาการเฉยๆ กับการเกิด เป็น สภาวะธรรม
    ที่เกิด ดับ

    พอยก ยินดี ยินร้าย เฉยๆ เป็น สภาวะเกิดดับ โอยอาศัย ไปตาม ยถากรรม ว่า
    จะเห็นอะไร รู้อะไร มันจะ ยก การภาวนา ได้

    ยกได้ ก็ จะเป็นการ ทำสมาธิ อย่างหนึ่ง เท่านั้น

    ตามดู ความยินดี ยินร้าย ที่ประกอบ สมาธินี้ได้ อีกทอดหนึ่ง อีกยกหนึ่ง
    ก็จะ เข้าใจ วิถี ที่จะ ต่อยอดการภาวนา ที่ยังไม่ได้ กล่าว

    ยังแฝงการกล่าวเอาไว้

    โดยที่ หากภาวนาเข้ามา มีความเพียร การเห็น คนมีความเพียร ตรงนั้นได้
    มันจะไม่มา ฮานาก้า หรือ ถาม อะไรจากใครอีก มันจะ เริ่มลงรอยกันได้
    ด้วยความเป็น รูป กับ นาม ธรรมดาโลกเขาฝึกเขาหัด หัดเดิน

    ส่วนที่ แฝงไว้ ไม่ได้กล่าว ก็ไม่จำเป็นต้องกล่าว เพราะหากเอามา
    กล่าว ก็จะถือว่า ภาวนาแล้วยัง บ้าสังขาร หลงสงขาร ไม่เลิก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2014
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อะไรแบบนี้ ไปถามพวก อากง อาม่า อาซิ้ม ที่แก่ๆ ใกล้ตาย
    เพื่อ สหาย ตายจาก กันหมด

    เขาก็ เขาถึง อารมณ์นั้นได้ ทุกวัน ทุกเวลา ทุกนาที ทุกลมหายใจ

    คนไม่มีศาสนา ก็เข้าถึง สภาวะนี้ได้

    ใช่การภาวนาไหม ...............

    หากกล่าวมาแค่นี้ ไม่มี สิ่งหนึ่งปรากฏเป็นสัญญาณ ว่า มีอินทรีย์
    ก็ต้องบอกว่า

    ตายเปล่า อยู่ดี

    ถ้าจะให้เรียกเป็นภาษาบาลี ก็เรียกว่า " พวกหลงทำกาละ เป็น นิพพาน "
     
  11. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ หากภาษาที่ใช้มานี้ "ตรงกับอาการที่เกิดจริง" ตรงนี้ตก อรูปฌาน "วิญญาณัญจายตนะ" เป็นอาการที่ "ตน เสพ อาการรู้" (ไม่ใช่ สภาวะรู้ ที่ไร้ ตน)

    +++ ตรงนี้เป็น "ตน เสพ สุข" หากมีขีดความสามารถที่จะกลับมารู้ "ผู้เสพ" ได้ ก็จะเข้าสู่ประตู "วิปัสสนา" ได้

    +++ ปิติ เป็น "ความรู้สึกจิต" (ธรรมานุปัสสนา) เช่นเดียวกันกับ "ใคร กำลังเสพอยู่" ในปัจจุบันขณะนั้น ๆ

    +++ หาก "คลื่นพลังงาน" มีความสัมพันธ์เป็น หนึ่งเดียวกับ "การเต้นของหัวใจ" (หากสติละเอียดพอ ก็จะรู้ได้) ก็จะรู้ได้ว่า "อัตราการสูบฉีดเลือด หล่อเลี้ยงลูกตา" ทำให้ "เลนซ์ตา" เกิดการเปลี่ยนแปลง แล้วทำให้เห็น "คลื่นพลังงาน"

    +++ หากตรงนี้ เดิน "กายานุปัสสนา" เพื่อตรวจสอบ "ปรากฏการณ์" นั้นได้ทัน ก็จะรู้เองว่าา "คลื่นพลังงาน ที่เคลื่อนตัวเป็น วูป ๆ นั้น" ตรงกันกับ "จังหวะที่ หัวใจเต้น" ไม่มีผิด

    +++ ตรงนี้ จะต้องตรงกับอาการนี้ เท่านั้นคือ "รู้ประดุจเห็น ซีกที่หลับ แยกตัวออกไปเป็นอีกชั้นหนึ่ง" เหมือนกับ "น้ำกับน้ำมัน" ที่ "แตกตัวออกเป็น 2 ชั้น" ชั้นหนึ่งเป็น "สติที่ตื่น" อีกชั้นหนึ่งเป็น "ถีนมิทธะที่หลับ" และ แยกตัวออกจากกัน "อยู่คนละชั้นกัน" เท่านั้น จึงจะเป็นอาการของ "หลับอยู่ส่วนหลับ และ ตื่นอยู่ส่วนตื่น" ตามอาการที่ "หลวงปู่เทสก์ เทศรังสี" เคยกล่าวไว้

    +++ หาก "ร่างที่หลับ" เป็น "ผู้เห็น" ตรงนี้เป็น "ภวังค์จรณะ" (มโนเอาเอง)

    +++ หาก "ร่างที่ลุก" เป็น "ผู้เห็น" ตรงนี้เป็น "ถอดกาย ด้วย รูปฌาน 4" (มโนยิทธิ ตามพระไตรปิฏก)

    +++ แยกให้ออกก่อนว่า "ร่างไหนเห็น" และ ร่างไหน "เป็น" เราในขณะนั้น ๆ หัวใจอยู่ที่ "ความเป็นตน" ในขณะนั้น ๆ ว่า "ตนเป็นร่างไหน" หากยังแยกไม่ออก "อย่าอนุโลมตนเอง" อย่า "หยวน" ตนเอง เพราะมันจะสร้าง "นิสัยในภวังค์จรณะ" แล้วไม่นาน ก็จะได้นิสัยในการ "มโนไปเอง เต็มขั้น" มากกว่า 97% โดนตรงนี้้ไปเต็ม ๆ

    +++ หากทำได้จริง ก็ควรฝึกให้ "อยู่" กับความ "รู้สึกทั้งตัว" ตรงนั้น "ให้ได้นิสัย" จนสามารถ "เข้า-ออก" ได้ดังใจ

    +++ อือ..ม์... ตรงนี้ถ้า "เห็น" อีก ให้เปลี่ยนมันเป็น "ลูกแมว-ลูกหมา" แทน หากเราเปลี่ยนได้แสดงว่าเรา "มโนเอาเอง" แต่ถ้าเปลี่ยนไม่ได้ ให้รีบ ๆ ใช้ "วิชาตัวเบา" และนิมนต์ "หลวงพ่อโกย วัดหน้าตั้ง" เอาไว้ก่อน อิอิ

    +++ หาก "สติดีและละเอียดจริง ๆ" ให้ใช้ตรงนี้เป็น "เครื่องสำรวจ" ว่า "ใคร" คือผู้เปลี่ยน เพื่อ "จับไอ้ตัวเปลี่ยน" ให้ได้ ไอ้ตัวนั้นแหละคือ "ผู้รู้ที่เป็นจุดหย่อม" ตัว "รู้แล้วเรื่องแยะ" ตัวนั้นแหละ

    +++ อือ..ม์.. หาตัว "ผู้เสพอาการ" ให้เจอก่อน แล้วจะพัฒนาไปได้ดีกว่านี้

    +++ ลองใช้ "ภาษาที่ตรงกับอาการ" สังกัปขอบเขต สภาวะที่ "เป็น" ตรงนี้ ออกมาให้ "เข้าใจง่าย" ลองดูนะครับ
     
  12. ปราบผี

    ปราบผี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +365
    จิตเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง โดยพระอาจารย์ ปราโมทย์ ปาโมชฺโช

    กระทั่งจิตก็เกิดดับนะ นี่บางคนสอนกันเพี้ยนๆนะว่าจิตเที่ยงนะ บอกว่าเจตสิกหรอก เช่น เวทนา สังขาร อะไรพวกนี้เกิดดับ แต่จิตเที่ยง ไอ้นี่มันมิจฉาทิฏฐิ พระพุทธเจ้าสอนว่า จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ทั้งวันทั้งคืน ยังจะบอกว่าจิตเที่ยงอีก มันมีจิตที่หลงนะ หลงว่าเที่ยง ก็คือจิตที่ฝึกไปเรื่อยนะจนกระทั่งตัวรู้มันเด่น ประคองตัวรู้ไว้ให้มันเด่นอย่างนี้นะ เป็นวันๆนะ ก็เลยรู้สึกว่าจิตเที่ยง พวกนี้ปล่อยไม่เป็น ไม่สามารถปล่อยให้ตัวรู้นี้ให้ทำงานได้ ถ้าปล่อยตัวรู้ทำงานได้ จะรู้เลยว่าตัวรู้ก็ไม่เที่ยง เดี๋ยวก็เป็นตัวรู้ เดี๋ยวก็เป็นตัวคิด เดี๋ยวก็เป็นตัวรู้ เดี๋ยวก็เป็นตัวเพ่ง ใช่ไหม นี่จะเห็นตัวรู้ก็ไม่เที่ยง และมันมีจิตอีกชนิดนึงพอมันเห็นแจ่มแจ้งนะ เห็นขันธ์เนี่ย ทุกสิ่งเกิดแล้วดับนะ ตอนแรกจะเห็นแค่นี้เห็นว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับ รูปเกิดแล้วรูปก็ดับ เช่น รูปหายใจออกเกิดแล้วก็รูปดับไป เกิดรูปหายใจเข้า รูปหายใจเข้าเกิดแล้วก็ดับ เกิดรูปหายใจออก รูปยืน รูปเดิน รูปนั่ง รูปนอนมีขึ้นมาแล้วก็หายไป เปลี่ยนไปเรื่อยๆ นี่รูปไม่คงที่อย่างนี้

    เวทนา ความสุข ความทุกข์ในกาย ไม่คงที่ ความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆในใจก็ไม่คงที่ นี่เห็นมันเกิดดับ

    ความจำได้บางทีก็จำได้ บางทีก็จำไม่ได้นะ

    ความปรุงเดี๋ยวก็ปรุงดีเดี๋ยวก็ปรุงชั่ว ปรุงดีก็ไม่เที่ยง ปรุงชั่วก็ไม่เที่ยง

    ตัวจิตเองที่เป็นผู้รู้นะ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง มีแต่ของไม่เที่ยง

    พอใจมันแจ้งว่าทุกอย่างไม่เที่ยง ทุกอย่างเกิดแล้วดับ นั่นแหละภูมิธรรมของพระโสดาบัน พระโสดาบันเห็นสิ่งซึ่งเกิดแล้วดับ สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นดับนะ งั้นถ้าเราฟังคำสอน (ของพระพุทธเจ้า) เราจะรู้เลยว่าแต่ละท่าน ท่านอยู่ตรงไหน ถ้าสิ่งใดเกิดสิ่งนั้นดับนี่อันนึงนะ เป็นภูมิธรรมระดับพระโสดาบัน ถ้าบอกว่าจิตเที่ยงนะ จิตเที่ยงท่านเล็งมาที่จิตผู้รู้ ถ้ารักษาตัวผู้รู้ไว้ตลอดนะพวกนี้ส่วนใหญ่ก็ปุถุชนนะ แต่สูงสุดที่เดินปัญญามันไปได้นะ ไปได้ถึงพระอนาคาฯ เพราะพระอนาคาฯเนี่ยตัวผู้รู้จะเด่นดวงอยู่ แต่ปล่อยตัวผู้รู้ไม่เป็น ยังรักษาตัวผู้รู้อยู่อย่างนั้นน่ะ ห่วงตัวผู้รู้นะ อันนี้ดูง่าย ถ้าเรามีหูมีตาเนี่ยเราจะเห็นเลย จิตท่านจะเคลื่อนไปเคลื่อนมาได้นะ จิตท่านจะเคลื่อนไปเคลื่อนมา เวลานั่งสมาธิจิตก็เคลื่อนเข้าไปในฌานนะ เพราะงั้นตายไปเมื่อไหร่เนี่ยจิตท่านจะเคลื่อนไปพรหมโลกเมื่อนั้นเลยนะ งั้นไม่ใช่จิตเที่ยง จิตเที่ยง สูงสุดก็ไปพรหมโลกนะ

    หลวงปู่ดูลย์ถึงสั่ง ท่านสอนธรรมะขั้นการดูจิตในขั้นสุดท้ายที่ท่านสอนนะ พบจิตให้ทำลายจิต พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต ท่านสอนอย่างนี้ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต จึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง ….

    เมื่อจิตปล่อยวางความยึดถือจิตแล้วเนี่ย จิตจะแปรสภาพไปอีกแบบนึงแล้ว จิตไม่มีจุดไม่มีดวงไม่มีที่ตั้งนะ ถ้าดูไม่ดีก็นึกว่าจิตเที่ยง ความจริงไม่เที่ยง จิตยังมีสองชนิดอยู่ จิตพระอรหันต์มีสองชนิดนะ มีจิตที่โสมนัส มีความสุขเกิดเจือขึ้นมาก็ได้ มีจิตที่เป็นอุเบกขาเจืออยู่ก็ได้ มีสองชนิด ไม่มีจิตที่เป็นทุกข์ ของเรามีสามชนิดนะมีจิตที่เป็นทุกข์ ละซะอันเดียวนะก็จะเป็นพระอรหันต์แล้ว อดทนหน่อย ละอันเดียวนะ เอ่อ

    จิตพระอรหันต์นี่ยังมีแยกไปอีกสองประเภทนะ ได้อีกสองอย่าง แยกอีก Dimension นึงนะ แยกด้วยปัญญา จิตบางดวงมีปัญญา จิตบางดวงไม่ประกอบด้วยปัญญา งั้นไม่ใช่พระอรหันต์มีปัญญาตลอดเวลานะ จิตบางดวงไม่ประกอบด้วยปัญญา บางดวงประกอบด้วยปัญญา นี่จิตพระอรหันต์เนี่ยยังมีหลายประเภทนะ องค์เดียวกันนี่แหละ ขณะแต่ละขณะ จิตไม่เหมือนกัน

    แต่มันมีคุณสมบัติร่วมอยู่อันนึงนะของจิตทุกดวงของพระอรหันต์ คือไม่มีอะไรย้อมได้ ไม่มีอะไรย้อมติด เพราะงั้นถ้าเพ่งเล็งมาในสภาวะที่ไม่มีอะไรย้อมติดนี้ เราจะพูดว่าจิตพระอรหันต์เที่ยงก็พอพูดได้ แต่ความจริงไม่เที่ยง มันเที่ยงด้วยคุณสมบัติอันเดียวแหละคือความบริสุทธิ์ นะ เนี่ยถ้าพระอรหันต์ท่านพิจารณาถึงความบริสุทธิ์เนี่ยท่านจะพบว่าจิตของท่านกับพระพุทธเจ้าเนี่ยเป็นอันเดียวกันนะ จิตกับพระธรรมเป็นอันเดียวกัน จิตกับพระอรหันต์นั้นเป็นอันเดียวกัน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ลงเป็นที่เดียวกันคือความบริสุทธิ์นั่นเอง


    พระธรรมเทศนา โดย พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    ณ สวนสันติธรรม วันที่ 18 พฤศจิกายน 2554
     
  13. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    ก็ดีได้อ่านจากความคิดของหลายๆท่าน นั้นดูแล้วก็ดี เหลือแต่ว่าระวังเรื่องสิ่งที่สัมผัสได้ทั้งหลายล้วนสมมุติจาก...เมื่อหลงสมมุติแล้วมันก็ตะเข้าใจไปเป็นคนละเรื่อง ทันมันไหมละว่านั่นคือ ความว่าง บางท่านถูความว่างครอบงำ หลวงปู่-หลวงตาท่านพระอริยะเจ้าทั้งหลายท่านทราบแล้วแจ้งแล้วถึงความว่าง สุญญตามันหมายความว่าอย่างไร ท่านไม่ตอบปล่อยให้เราหลงละเมอไปก่อนสักพัก เพราะหวังว่าเราคงเข้าใจได้ด้วยการปฏิบัติ...ไม่รู้เข้าใจไหมนะคั๊บ
     
  14. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    ก่อนอื่นขออนุโมทนากับทุกท่านด้วยครับ กระทู้นี้มีท่านผู้ทรงคุณธรรมภูมิรู้หลายท่าน ครับ

    ขอช่วยขยายธรรมส่วนนี้ของท่านอาจารย์ปราโมทย์ครับว่า

    จิตพระอรหันต์นี่ยังมีแยกไปอีกสองประเภทนะ ได้อีกสองอย่าง แยกอีก Dimension นึงนะ แยกด้วยปัญญา จิตบางดวงมีปัญญา จิตบางดวงไม่ประกอบด้วยปัญญา งั้นไม่ใช่พระอรหันต์มีปัญญาตลอดเวลานะ จิตบางดวงไม่ประกอบด้วยปัญญา บางดวงประกอบด้วยปัญญา นี่จิตพระอรหันต์เนี่ยยังมีหลายประเภทนะ องค์เดียวกันนี่แหละ ขณะแต่ละขณะ จิตไม่เหมือนกัน

    ตรงพระอรหันต์ส่วนหนึ่ง ไม่มีปัญญาตลอด ข้อนี้ต้องขยายความว่า เราจะกล่าวแบบรวบรัดว่าไม่ทรงปัญญาตลอดก็ไม่ใช่ หากแต่ปัญญาของท่านตกผลึก เป็นปฏิเวธให้ผลเป็นปกติทุกขณะจิต ทั้งนี้ ความเป็นอรหันต์ อาศัยวิมุติ สองส่วนคือ ปัญญาวิมุตติ และเจโตวิมุตติ ซึ่ง พื้นฐานที่อรหันต์จิตทรงเป็นปกติ คือ สติสัมปชัญญะ ส่วนที่ตกผลึก นั้นอาศัยปฏิเวธ คือผลที่เกิดให้ผลต่อจิตเป็นปกติทุกขณะจิต ของความเป็นอรหันต์ นั่นเองครับ
    เพราะเมื่อรู้แจ้งแล้ว สัญญาปัญญาก็ดี ปัญญาในปัจจุบันก็ดี ปัญญาที่เกิดจากปัญญาให้ผลเป็นปฏิเวธก็ดี รวมเป็นสิ่งเดียวมีสภาพเดียว ละปล่อยวาง สภาพว่างสุญญตาเกิดเป็นปกรติธรรมดาเช่นนี้นั่นเองครับ ฉนั้น ดูเหมือนว่าไม่ม่ปัญญาประกอบ แต่แท้จริง รากฐานก็คือเกิดจากปัญญาเดิม[สัญญา] ปัญญาในปัจจุบัน และปัญญาปฏิเวธ หรือ อาจเกิดจาก ปัญญาวิมุตติ สัมปยุติ เจโตใิมุตติ จน เกิดเป็นกำลังจิตปัญญา ปล่อยวางว่างเป็นปกติ มันว่างของมัน เป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติปกติของมัน เป็นนิรันดร์ ครับ สาธุ
     
  15. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    เป็นการแลกเปลี่ยนภูมิรู้ในธรรม ใครรู้มากรู้แตกต่าง ที่ยิ่งกว่า ก็ขอให้เมตตาต่อกันเป็นธรรมทาน แก่เราท่านทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่ผู้รู้น้อยกว่าได้มีดวงตา มีปัญญาในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ สาธุ
     
  16. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เห็นไตรลักษณ์ โดยการตามเห็น
    และนำไปถึง ความรู้สึกว่า สรรพสิ่งว่างไปจากขันธ์ห้า
    ยังเป็นโลกียปัญญา ซึ่งก็เป็นปัญญาโดยโยนิโสมนสิการความจริงด้วยความเข้าใจ

    ส่วนการเข้าไปเห็นไตรลักษณ์จริงของขันธ์ห้าขณะดับ
    ก็เรียกว่า เห็นความว่างจริงๆ คือว่างไปจากขันธ์ห้าจริง
    เป็นญาณปัญญา เข้าไปรู้เห็นความจริงตามธรรมชาติจริง
    เป็นมรรคญาณ ผลญาณจริง

    หากเห็นจริงมาแล้ว และมีการตามเห็นต่อมา ก็เป็นเรื่องปกติ
    หรือมีการตามเห็นก่อน(มีปัญญา)
    และต่อมามีการเข้าไปเห็นจริงเกิดมรรคจิตผลจิต(เกิดญาณปัญญา)ก็ได้

    ทีนี้ มรรคจิตผลจิตนั้น ก็ยากมากที่คนอื่นจะเข้าไปตัดสิน
    เพราะมรรคจิตขณะปหานกิเลส ก็ยังมีตัวรู้แหละเพราะเป็นมรรคจิต
    ผลจิตก็มีตัวรู้แหละ เพราะมีจิตอยู่ เช่นกัน
    ส่วนตอนเข้าไปสัมผัสนิพพาน(ขันธ์ห้าดับ) แม้นจะเป็นขณะจิตเดียว แต่ก็มีวิถีของมรรคจิตอยู่
    ช่วงที่ไม่มีภวังคภพคั่นนั่นเอง ที่ตัดภพตัดชาติ ไม่มีวิบาก
    ต่างจากโลกียฌาน ซึ่งยังมีภวังคภพ มีวิปาก
    (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน..สงสัยอะไร ค้นกูเกิ้ลเองนะ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2014
  17. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    อ่านแล้วดูยากมากๆคั๊บ ทำไปทำมาคนก็ไม่อยากศึกษาธรรมมะ...หรือเปล่าไม่รู้ อิงตามที่เวลาถามเด็กว่า ชอบวิทยาศาสตร์ไหมเด็กตอบว่า ไม่ชอบเลยไม่อยากเรียนเลย ถามต่อไปว่าทำไมละ...มันยากมากๆเข้าใจยากมากๆ หัวไม่ถึงบ้างละอะไรอีกต่างๆนานา ถ้าการศึกษาพระธรรมคล้ายกันกับเรียนวิทยาศาสตร์วันหนึ่งก็คงเหมือนกันไม่ค่อยมีคนอยากเรียนรู้ ไม่ค่อยอยากสงสัย ที่พูดมาข้างบนนั่นถ้าคนชอบพิสูจน์จะเกิดความสงสัยทันทีที่เห็นข้อความข้างต้นแต่ถ้าไม่ละ..จะกลายเป็นยากมากๆๆๆ สงสัยคงทำไม่ได้แน่นอน ลาก่อนพระธรรมมันยากแบบนี้นี่เองเลยไม่สามารถละกิเลสได้ประมาณนั้น
    สาธุคั๊บ
     
  18. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    คือว่า ไม่ต้องไปคิดมากก็ได้จ๊ะ
    (ส่วนใครชอบคิดก็คิดได้นะ ตอนนี้ก็ไม่ได้สรุป ยังคิดไปเรื่อยๆอยู่
    โดยเฉพาะคำของหลวงปู่ดุลย์ ที่ว่า สภาวะนั้น เราเป็นหนึ่งเดียวกับพระอรหันต์ทั้งหลาย ..ใครสัมผัสได้บ้าง..??...)

    ส่วนการบรรลุธรรมนั้น
    สติปัฏฐานสี่ และอริยมรรคองค์แปดให้ครบรอบ
    ผลก็จะเกิดเองจ๊ะ
     
  19. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    สาธุในธรรมของ พระอาจารย์ปราโมทย์ แห่งสวนสันติธรรม
     
  20. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    คุณ tjs ต้องไปศึกษาให้ดีว่า ที่หลวงพ่อปราโมทย์ท่านกล่าวนั้นหมายถึงอะไร

    ปัญญาในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงปัญญาตัดกิเลส เป็นคนละเรื่องกับที่คุณ tjs เข้าใจและอธิบาย

    ปัญญาที่หลวงพ่อปราโมทย์ท่านพูดถึงในที่นี้ มาจาก พระอภิธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "สัมปยุตด้วยญาณ"
    ส่วนที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาคือ "วิปปยุตจากญาณ"

    ซึ่งปัญญา หรือ ญาณนี้ หมายถึง ความรู้ ซึ่งพระพุทธเจ้าเองท่านเคยตรัสเล่าในพระสูตรว่า แม้พระพุทธเจ้าเอง ก็ไม่ได้รู้ทุกเรื่องตลอดเวลา แต่เวลาที่ท่านต้องการรู้ท่านก็สามารถรู้ได้โดยไม่มีขีดจำกัด ท่านสอนกษัตริย์องค์หนึ่งซึ่งเป็นนายช่างซ่อมรถ โดยถามว่า ท่านเชี่ยวชาญเรื่องเครื่องจักรกล แล้วท่านรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์อยู่ตลอดเวลาหรือเปล่า? นายช่างก็ตอบว่าเปล่า เวลาที่ต้องใช้จึงรู้ เป็นต้น


    ในพระอภิธรรมท่านเรียกจิตที่พ้นจากกุศล อกุศล และ กรรมวิบาก ซึ่งเป็นเพียงกิริยา

    ว่า " มโนวิญญาณธาตุ" ซึ่งเป็นกลางๆคือ ธรรมเป็นอัพยากฤต

    http://www.84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=34&item=492&items=1&preline=0&pagebreak=0

    ซึ่งอรรถกถาจารย์อธิบายว่า

    จิตนี้ในพระบาลีว่า มโนวิญฺญาณธาตุ ไม่ใช่จิตของบุคคลหรือสัตว์ทั่วไป แต่เป็นจิตของพระขีณาสพเท่านั้น

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=482

    ในตำราอภิธรรมมัตตสังคหะท่านเรียก มโนวิญญาณธาตุ ว่า มหากิริยาจิต หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กามโสภณกิริยาจิต หรือกามาวจรสเหตุกกิริยาจิต

    โดยสรุปจากพระอภิธรรม ได้ว่า

    จิตดังกล่าว เป็นทวิเหตุกะ ๔ ดวง มีเหตุ ๒ ( อโลภเหตุและอโทสเหตุ )
    และ เป็นติเหตุกะ ๔ ดวง มีเหตุ ๓ ( อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ )

    ซึ่ง 8 ดวงประกอบด้วย

    ๑. โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ .
    มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ ( แช่มชื่น ) ประกอบด้วยปัญญา เป็นจิตที่มีกำลัง ( ไม่มีการชักชวน )

    ๒. โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ .
    มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ ( แช่มชื่น ) ประกอบด้วยปัญญา
    เป็นจิตที่มีกำลัง (มีการชักชวน )

    ๓. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ .
    มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ ( แช่มชื่น ) ไม่ประกอบด้วยปัญญา
    เป็นจิตที่มีกำลัง ( ไม่มีการชักชวน )

    ๔. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ .
    มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ ( แช่มชื่น ) ไม่ประกอบด้วยปัญญา
    เป็นจิตที่มีกำลัง (มีการชักชวน )

    ๕. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ .
    มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ ( ไม่สุขไม่ทุกข์ ) ประกอบด้วย
    ปัญญา เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน )

    ๖. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ .
    มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ ( ไม่สุขไม่ทุกข์ ) ประกอบด้วย
    ปัญญา เป็นจิตที่มีกำลัง ( มีการชักชวน )

    ๗. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ .
    มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ ( ไม่สุขไม่ทุกข์ ) ไม่ประกอบด้วย
    ปัญญา เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน )

    ๘. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ .
    มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ ( ไม่สุขไม่ทุกข์ ) ไม่ประกอบด้วย
    ปัญญา เป็นจิตที่มีกำลัง ( มีการชักชวน )

    http://www.dhammahome.com/webboard/topic/8885


    ดังนั้นควรศึกษาให้ดีก่อนอธิบาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2014

แชร์หน้านี้

Loading...