วันที่เริ่มมีพระอริยสงฆ์ในสมัยพุทธกาล

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมแท้ว่าง, 30 กรกฎาคม 2015.

  1. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    พระรัตนตรัยครบองค์ 3
    คือมีพระพุทธเจ้าแล้ว พระธรรมเจ้าแล้ว
    และได้พระสงฆเจ้าในวันปฐมเทศนา
    ในวันอาสาฬหะนี้เอง
    ครบองค์ 3 พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อ้อ เป็นยังงี้นี่เอง :d
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่อจาก # 11

    ๑. ใจความของปฐมเทศนา

    ปฐมเทศนา หรือที่เรียกตามชื่อเฉพาะว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนั้น แสดงหลักธรรมสำคัญ ๒ ประการ คือ

    ก) มัชฌิมาปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติที่เป็นกลางๆ หรือ ทางสายกลาง

    ข) อริยสัจ ๔ คือ หลักความจริงของอริยชน ๔ อย่าง หรือสัจธรรม ๔ ข้อ ซึ่งทำให้ผู้ที่รู้ กลายเป็นอารยชน

    ก. ที่เรียกว่า ทางสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทา ก็เพราะเป็นทางดำเนินชีวิต หรือข้อปฏิบัติ ที่เป็นกลางๆ ถูกต้อง พอเหมาะ พอดี ที่จะให้บรรลุผลสำเร็จถึงจุดหมาย มิใช่เป็นการปฏิบัติหรือการดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ๒ อย่าง อย่างหนึ่งอย่างใด คือ

    ๑. การหมกมุ่นมัวเมาอยู่กับความสุขทางกาย ลุ่มหลงใน รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส เพลิดเพลินในการปรนเปรอ ปล่อยใจให้โลดไปตามกระแสกิเลส สยบตัวลงเป็นทาสของโลก และเนื้อหนัง อุทิศชีวิตของตนให้แก่การแสวงหาเชื้อเพลิงมาเติมไฟกิเลส ทุ่มเทพลังงานเพื่อการติดตามกินเหยื่อล่อ

    ในวิถีชีวิตอย่างนี้ คนต่างก็เที่ยวไขว่คว้าเก็บเอาสิ่งต่างๆมากมายมาพอกพูนห่อหุ้มตัวจนหนาหนัก และกินที่ ทั้งที่สิ่งเหล่านี้ไม่อาจรวมเข้าเป็นเนื้อตัวแท้จริงของตนได้ และถูกมัดตัวติดกับสิ่งเหล่านั้นอย่างเหนียวแน่น จนกลายเป็นก่อความทุกข์ให้แก่ตนเอง หมดความปลอดโปร่ง ไม่เป็นอิสระ เป็นภาระท่วมทับสลัดไม่ออก และยังให้โทษแก่ผู้อื่นด้วย โดยทำให้หลงลืมที่จะเหลียวแลกันเสียบ้าง ให้เกิดเอาสิ่งเกินความจำเป็นมาพอกพูนเต็มล้นเสียทีเดียว จนขาดแคลนแก่ที่อื่นบ้าง ให้แย่งชิงเบียดเบียนข่มเหงวิวาทกัน เพราะต่างฝ่ายต่างก็จะเอาบ้าง

    รวมความว่า เป็นการหลงเพลิดเพลินหมดมุ่นในกามสุข เรียกเป็นคำศัพท์ว่า กามสุขัลลิกานุโยค

    ๒. การสร้างความยากลำบากแก่ตน เหนื่อยแรงเสียเปล่าด้วยการเชื่อถือ ประพฤติปฏิบัติตัว ดำเนินชีวิตในทางที่ไขว้เขวเฉไถล เลี่ยงหลบหรือข้ามเลยไปเสียวจากชีวิตจริง ปฏิบัติไปอย่างมืดบอดตามที่สักแต่ว่ายึดมั่นถือมั่นเอาไว้ ดำเนินไปสู่จุดหมายที่เลื่อนลอย นำมาซึ่งผลที่ไม่ตรงกับจุดหมาย และไม่บังเกิดคุณค่าแท้จริงแก่ชีวิต ทำให้หลงเตลิดหนักยิ่งขึ้น ตัวอย่าง เช่น

    ๑) อย่างหยาบที่สุด ที่มองเห็นง่าย เป็นรูปธรรม เช่น บำเพ็ญตบะ ทรมาน บีบคั้นร่างกายด้วยประการต่างๆ มีการอดอาหาร ยืนกลางแดด นอนบนหนาม เป็นต้น ด้วยหวังจะให้กิเลสแห้งเหือดหาย และทำให้จิตหลุดพ้นจากพันธนาการของกายอย่างที่ปฏิบัติกันแพร่หลายในประเทศ อินเดียสมัยโบราณ และยังมีอยู่มากมายจนกระทั่งบัดนี้ ซึ่งพระพุทธเจ้าเคยทรงทดลองปฏิบัติมาแล้วในระยะ ๖ ปี แห่งการคิดค้นแสวงหา

    ตบะนั้น เป็นลัทธิที่หลงเตลิดไป เพราะมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิตอย่างผิดพลาด เป็นการเอียงสุดอีกด้านหนึ่ง โดยเข้าใจผิดไปว่า เมื่อกายขาดการบำรุงแล้ว จิตก็ขาดเครื่องบำรุงกิเลสไปด้วย จึงสามารถบริสุทธิ์หลุดพ้นอิสระ เป็นความเชื่อถือตรงข้ามกับพวกที่เห็นเอียงสุดไปอีกด้านหนึ่งว่า เมื่อกายได้รับการบำรุงดีแล้ว จิตพลอยได้รับการบำรุงด้วย ก็จะดีไปเอง

    สำหรับคนสองพวกนี้ สิ่งที่ดีสำหรับพวกหนึ่ง กลายเป็นชั่วร้ายสำหรับอีกพวกหนึ่ง สิ่งชั่วร้ายสำหรับอีกพวกหนึ่ง กลายเป็นสิ่งดีที่ต้องการสำหรับอีกพวกหนึ่ง ต่างก็ไม่รู้ไม่เข้าใจตามความเป็นจริงว่า กาย กับ จิต เป็นสิ่งสัมพันธ์กันก็จริง แต่ความดีงามและชั่วร้ายที่เกิดจากความสัมพันธ์นั้น ก็เป็นสิ่งสัมพันธ์ ต้องอาศัยปัจจัยอย่างอื่นประกอบด้วย

    จิตใจและชีวิตจะก้าวไปในคุณความดีได้ เบื้องต้นต้องอาศัยการที่มีปัจจัยสิ่งบำรุงกายส่วนหนึ่งก่อน

    แต่ปัจจัยที่บำรุงกายนั้น ก็มีขอบเขตของความจำเป็นที่จัดได้ว่าเป็นความพอดีอยู่ในระดับหนึ่ง

    เมื่อมีปัจจัยบำรุงกายพร้อม ถึงระดับหนึ่งที่ว่านี้แล้ว วัตถุจะเป็นอุปกรณ์สำหรับชีวิตที่จะก้าวหน้างอกงามสร้างสรรค์สิ่งที่เป็น คุณ ก็ได้ หรืออาจทำให้จิตใจตกเป็นทาสของวัตถุ พอกพูนความทุกข์ความชั่วร้าย ก็ได้ ทั้งนี้ ต้องอาศัยการชักนำของปัจจัยอย่างอื่นด้วย ทั้งที่เป็นสิ่งแวดล้อม และที่อยู่ภายใน

    พวกที่มองความสำคัญเฉพาะแต่ความเพียบพร้อมทางวัตถุเป็นเกณฑ์ตัดสิน ย่อมกลายเป็นพวกเอกันตวาทในฝ่ายวัตถุนิยมทางเศรษฐกิจ

    พวกที่มองแต่ความสำคัญของจิต โดยไม่คำนึ่งถึงปัจจัยที่อุดหนุนกาย ย่อมกลายเป็นพวกเอกันตวาทในฝ่ายจิตนิยม

    ต่างก็เป็นพวกที่มองโลกและชีวิตสุดทางไปคนละซีก

    ๒. ในทางนามธรรม ซึ่งเป็นขั้นละเอียดลึกซึ้ง มีการขบคิดถกเถียงปัญหาทางอภิปรัชญา พยายามเข้าสิ่งที่เหตุผลหยั่งไม่ถึงด้วยการถกเถียงหาเหตุผล พยามหาคำตอบให้แก่ปัญหาที่ตนตั้งขึ้นจากความไม่รู้หรือเข้าใจผิด พยายามอธิบายสิ่งที่มองไม่เห็นให้เห็นด้วยคำพูด

    วิถีความคิดแบบนี้ ทำให้ใช้เวลาสิ้นเปลืองไปด้วยการคาดคะเน และตี วาทะเกี่ยวกับปัญหาที่พิสูจน์ไม่ได้ และไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นคุณประโยชน์อะไรแก่ชีวิต ทำให้หลงใหลเพลิดเพลินอยู่กับความคิดที่เลื่อนลอยห่างไกลชีวิตจริง ทำให้ทุกข์ยากลำบากจิต เหนื่อยสมอง เหนื่อยความคิดเปล่าๆ ได้แก่ ทฤษฎีที่เรียกว่า อันตคาหิกทิฏฐิ หรือปัญหาที่เรียกว่า อัพยาตกปัญหา เช่น ปัญหาเกี่ยวกับมูลการณ์ (ต้นกำเนิด) และปริโยสาน (ที่สิ้นสุด) ของโลก

    ๓. อย่างตื้นลงที่เป็นเรื่องใกล้เข้ามาในทางปฏิบัติ คือ การคอยพึ่งอาศัยอำนาจของสิ่งลึกลับศักดิ์สิทธิ์ ที่มองไม่เห็น และอยู่พ้นวิสัย โดยหวังการอ้อนวอนหรือความขลังมาช่วยบันดาลให้ได้สำเร็จผลที่ปรารถนา

    ความเชื่อและหวังพึ่งแบบนี้ ถ้าเป็นอย่างรุนแรง ย่อมทำให้มอบตัวมอบความไว้วางใจแก่สิ่งนั้นสิ้นเชิง ไม่คิดและไม่ลงมือทำการแก้ปัญหาด้วยเรี่ยวแรงความเพียรพยายามของตนเอง จัดว่าเป็นความงมงาย ตัวอย่างในพุทธกาล เช่น ลัทธิบูชาไฟ

    อย่างเพลาลงมา ในฐานะที่เป็นปุถุชนผู้อยู่ใต้อำนาจอวิชชา ซึ่งยังระแวงระวังต่อสิ่งที่มองไม่เห็น และยังไม่เข้มแข็งพอ ก็เพียงแค่อาศัยสิ่งลึกลับไว้เสริมกำลังใจ ในการกระทำกิจซึ่งตนลงมือกระทำอยู่แล้ว

    แต่จะในกรณีใดก็ตาม ก็ยังเป็นการกระทำที่ไม่ดำเนินไปด้วยความรู้ความเข้าใจ ยังเป็นการแก้ปัญหาอย่างมองไม่เห็นว่า การแก้ดำเนินไปอย่างไร และตนเองเข้าไปจัดการอะไรไม่ได้ จึงจัดเข้าในพวกสร้างความลำบากเสียแรงเปล่า

    การดำเนินชีวิตหรือประพฤติในแบบที่ก่อความทุกข์ยากลำบาก เดือดร้อนแก่ตน เหนื่อยแรง เหนื่อยสมอง เหนื่อยความคิดเหล่านี้ มีชื่อเรียกเป็นคำศัพท์ว่า อัตตกิลมถานุโยค
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่อ

    ข้อปฏิบัติในทางพุทธศาสนา ละเว้น ห่างจากความประพฤติปฏิบัติที่เอียงสุดเหล่านี้ จึงเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง หรือทางสายกลาง

    ผู้ที่งอกงามในพระพุทธศาสนา ก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งละเว้นข้อปฏิบัติที่ เอียงสุดได้มากขึ้นเท่านั้นโดยลำดับ ถ้าถึงขั้นเป็นบรรพชิต คือบวชในพระธรรมวินัยแล้ว ก็ถือว่าไม่ควรข้องแวะทีเดียว ควรดำเนินแน่วแน่มั่นคง ในมัชฌิมาปฏิปทา

    ประการสำคัญ มัชฌิมาปฏิปทานี้ เป็นทางแห่งปัญญา ยิ่งเข้าถึงมัชฌิมา ปฏิปทามากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งทำสิ่งต่างๆ ด้วยความรู้ความเข้าใจ ด้วยการใช้ปัญญา และแก้ปัญหาด้วยปฏิบัติการที่อยู่ในวิสัยของตนมากขึ้นเท่านั้น

    มัชฌิมาปฏิปทา เป็นทางดำเนินชีวิตด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นฐาน เป็นมรรคาที่นำไปสู่จุดหมายได้ และก่อให้เกิดคุณค่าแก่ชีวิตอย่างแท้จริง โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ ทำให้ผู้ดำเนินตามเป็นอริยะ หรืออารยะ อย่างแท้จริง จึงเรียกเป็นคำศัพท์ว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ กล่าวคือ

    ๑. สัมมาทิฏฐิ - เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
    ๒. สัมมาสังกัปปะ -ดำริชอบ คือ คิดสุจริต ตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
    ๓. สัมมาวาจา - เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
    ๔. สัมมากัมมันตะ -กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
    ๕. สัมมาอาชีวะ - อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพ ทำอาชีพที่สุจริต
    ๖. สัมมาวายามะ - พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
    ๗.สัมมาสติ - ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
    ๘.สัมมาสมาธิ - ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตได้แน่วแน่มั่นคง ไม่ฟุ้งซ่าน

    องค์ประกอบ ๘ ประการของมรรคนี้ แต่ละข้อมีรายละเอียดพิสดาร เพราะเป็นประมวลข้อปฏิบัติหรือหลักจริยธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนา ในที่นี้ มิใช่โอกาสที่จะพรรณนาความพิสดารในเรื่องนี้ จึงกล่าวถึงแต่เพียงความหมายสั้นๆไว้ก่อน

    ขอย้ำว่า มรรคานี้ เริ่มต้นด้วยปัญญา และมีปัญญาเป็นรากฐาน องค์ประกอบข้อแรกจึงเป็นเรื่องของปัญญา คือ สัมมาทิฏฐิ

    สัมมาทิฏฐิ นี้ อย่างง่ายๆหมายถึง ความเห็นที่ถูกต้องตามคลองธรรม เช่น เชื่อหลักกรรม เห็นว่า ทำดีเกิดผลดี ทำชั่วเกิดผลชั่วเป็นต้น

    แต่ในความหมายที่ตรงหลักวิชายิ่งขึ้น ท่านอธิบายว่า สัมมาทิฏฐิ คือ รู้ทุกข์ รู้สมุทัย รู้นิโรธ รู้มรรค หรือมองเห็นความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายตามความสัมพันธ์สืบทอดของเหตุปัจจัย ที่เรียกว่า ปัจจยาการ หรือ ปฏิจจสมุปบาท

    พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ เมื่อประสบสิ่งติดขัดเป็นปัญหา พึงกำหนดรู้ตามความเป็นจริงให้เห็นชัดก่อนว่า อะไรเป็นตัวปัญหา ปัญหานั้น มีขอบเขตแก่ไหนเพียงไร (= ทุกข์) แล้วศึกษาให้รู้ต่อไปว่า ปัญหานั้นเกิดจากมูลเหตุอะไร มีอะไรเป็นสมุฏฐาน (= สมุทัย) แก้ไขได้หรือไม่ ที่จุดใด จุดหมายคืออะไร (= นิโรธ) มีวิธีการแก้ไขให้บรรลุถึงจุดหมายได้อย่างไร ตามรายละเอียดลำดับขั้นตอนอย่างไร (= มรรค)

    พูดอีกนัยหนึ่งว่า วิเคราะห์ปัญหาตามกระบวนการของเหตุปัจจัยว่า ปัญหานั้น มีองค์ประกอบอะไร องค์ประกอบเหล่านั้น สัมพันธ์กันอย่างไร เป็นเหตุปัจจัยแก่กันอย่างไร จึงก่อให้เกิดปัญหาขึ้น เมื่อจะแก้ไขหรือดับปัญหา จะต้องแก้ที่องค์ประกอบหรือจุดไหนให้ต่อเนื่องกันไปอย่างไร (= ปฏิจจสมุปบาท)

    การประพฤติปฏิบัติ หรือดำเนินชีวิตตามหลักองค์มรรค ๘ ประการ โดยเริ่มด้วยมีความรู้ความเข้าใจเป็นพื้นฐานอย่างนี้ ย่อมเป็นการแก้ปัญหา หรือการทำให้ไม่มีปัญหาอยู่ในตัว เป็นการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ หรือดำเนินชีวิตอย่างไม่มีทุกข์ โดยตัวของมันเองอยู่ตลอดเวลา

    ถ้าสังเกต จะเห็นได้ว่า มรรคสายกลางนี้ เป็นเรื่องของการกระทำในชีวิตจริง และอยู่ในวิสัยของมนุษย์ทั้งสิ้น กล่าวคือ องค์ประกอบทั้ง ๘ ข้อ เป็นข้อปฏิบัติสำหรับคนทุกคน และทุกคนปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องอ้อนวอน คอยการบันดาล หรือรอใครมาช่วยทำให้ เป็นข้อปฏิบัติที่ ทำได้ภายในขอบเขตของชีวิตนี้ วางไว้สำหรับชีวิต เป็นเรื่องของชีวิตโดยตรง เป็นระบบการดำเนินชีวิตที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะมองเห็นความสำคัญทั้งของวัตถุ และของจิตใจ ครอบคลุมทั้งด้านกายและจิต

    มรรคานี้ เป็นระบบจริยธรรมและระบบการศึกษาที่สมบูรณ์ เพราะสอนให้ฝึกฝนอบรมระเบียบวินัยทางกาย วาจา และอาชีพ (= ศีล) ให้ฝึกฝนระเบียบวินัยทางจิตใจ สร้างความเจริญงอกงามและความเข้มแข็งมั่นคงทางด้านคุณธรรม (= สมาธิ) และให้ฝึกฝนอบรมปัญญา สร้างความรู้ความเข้าใจสภาวะของสิ่งตามเป็นจริง เพื่อมีชีวิตอยู่อย่างผู้ที่รู้เท่าทันโลกและชีวิต รู้จักร่วมมือกับธรรมชาติ เพื่อดำรงอยู่ด้วยกันได้อย่างกลมกลืน ประสานประโยชน์ และรักษาอิสรภาพของทั้งสองฝ่าย (= ปัญญา)

    ทางสายกลางนี้ เป็นระบบที่มีขอบเขตจำกัด แต่ยืดหยุ่นอย่างกว้างมาก คืออยู่ในวงจำกัดของความดีงาม และแนวทางของ ศีล สมาธิ ปัญญา แต่ผู้ที่ประพฤติดำเนินชีวิตอยู่ในระบบ สามารถดำรงอยู่ ณ ตำแหน่งต่างๆ ที่ห่างกันได้หลายขั้น หลายระดับ แล้วแต่ความพร้อมของตน

    ดังตัวอย่างเช่นว่า ถ้าจะอยู่ครองเรือนก็ได้ แต่พึงประพฤติธรรมให้ถูกหน้าที่ที่จะเป็นคนครองเรือนที่ดี

    ถ้าเบื่อหน่ายชีวิตเหย้าเรือน หรือต้องการแสวงสุขทางจิตอย่างสูง ก็สามารถออกบวชครองเพศบรรพชิต ถ้าเบื่อหน่ายอีกก็สามารถสละเพศออกมาเป็นชาวบ้านได้

    ถ้ามีคุณสมบัติมีความสามารถ และพอใจจะเป็นนักปกครอง ก็ดำรงตำแหน่งหน้าที่ปกครองได้ แต่ต้องบริหารอำนาจ และโภคทรัพย์ให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน มิใช่บริหารประชาชนให้เป็นไปเพื่ออำนาจ และโภคทรัพย์ของตน ดังนี้ เป็นต้น


    ระบบแห่งมรรค ประกอบด้วยสภาพการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันหลากหลาย แต่ทั้งหมดรวมอยู่กลมกลืนเข้าได้ในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นับเป็นระบบที่มีความเสมอภาค เพราะทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมที่จะอยู่ ณ ที่ต่างๆ กัน เพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่กัน โดยสวมหน้าที่ที่เหมาะสมกับฐานะนั้น

    มรรคนี้ เป็นระบบที่ให้เสรีภาพอย่างสูง เพราะเปิดโอกาสแก่การเลือกโดยสมัครใจ แต่มิใช่เลยขอบเขตจนกลายเป็นตามอำเภอใจ เพราะเมื่อสมัครใจเลือกเอาอย่างใดแล้ว ก็มีความผูกพันที่จะทำให้ถูกให้ชอบต่อภาวะอย่างนั้นด้วย

    มรรคเป็นระบบที่ไม่บีบบังคับ แต่ก็มิใช่ปล่อยเรื่อยเปื่อยไปตามใจชอบ เพราะเป็นระบบแห่งการฝึกฝน จึงแนะนำกระตุ้นเตือนเร่งเร้าให้ฝึกอบรมแก้ไขปรับปรุงตนให้ก้าวหน้าขึ้นสู่ ความดีงามที่ยิ่งขึ้นไปอยู่เสมอ จนกว่าจะบรรลุถึงจุดหมายสูงสุดของมรรคา ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทานั้น
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่อ

    ข. อริยสัจจ์ ๔ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ หรือความจริงของอริยะ หรือสัจธรรมที่รู้แล้วจะทำให้กลายเป็นอริยะ หรืออารยชน ๔ ประการ

    อริยะ หรืออารยชน คือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ห่างไกลอวิชชา ห่างไกลวิหิงสา เป็นผู้เจริญแล้วอย่างแท้จริง จะเป็นอริยะหรืออารยชนที่แท้จริงได้ ก็ต้องรู้เข้าใจความจริง และดำรงชีวิตอยู่อย่างสอดคล้องกับความจริงของชีวิต ที่จะทำให้ชีวิตเป็น อิสระ หลุดพ้นจากความมืดบอด เป็นไท ไม่ต้องฝากความวางใจไว้กับอำนาจลึกลับพ้นวิสัยอย่างใดๆ อริยสัจจ์ ๔ ประการนั้น คือ

    ๑) ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นแก่มนุษย์ ในรูปของความบีบคั้น ขัดข้อง ติดขัด อัดอั้นต่างๆ บุคคลจะต้องกำหนดรู้ หรือทำความรู้จักมัน ให้รู้เท่าทันตามความเป็นจริงว่า มันคืออะไร อยู่ที่ไหน และแค่ไหน เพียงไร กล่าวคือ ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง แม้จะเป็นสิ่งที่นึกว่าน่ากลัว ไม่เป็นที่ชอบใจ

    เริ่มต้น ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพของสิ่งทั้งหลาย ที่รวมเรียกว่าโลก และชีวิตนี้ว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ล้วนเกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ปรุงแต่งกันเข้า ไม่เที่ยงแท้ ไม่ยั่งยืน ไม่คงตัว และหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปต่างๆ ตามเหตุปัจจัยที่เข้ามาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ไม่มีหยุดนิ่ง ( = ไตรลักษณ์ - ปฏิจจสมุปบาท)

    สิ่งทั้งหลายก็ตาม ชีวิตนี้ที่เรียกตัวเองว่า ฉัน ว่าเรา ก็ตาม ไม่มีอำนาจในตัวเองเด็ดขาด ไม่เป็นตัวเองโดยสิ้นเชิง ที่จะเรียกร้องสั่งบังคับให้สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น รวมทั้งสิ่งที่เรียกว่าตัวเอง ให้เป็นไปตามปรารถนา

    สิ่งทั้งหลาย มันเป็นของมันอย่างนั้นเอง ตามเหตุตามปัจจัย ไม่เกี่ยวกับความชอบใจหรือไม่ชอบใจของเรา เมื่อปัจจัยมาประจวบให้ปรากฎในรูปที่ตรงกับใจปรารถนา เราก็ชอบใจ เมื่อปรากฎในรูปที่ไม่ตรงกับใจปรารถนา เราก็ไม่ชอบใจ

    เมื่อยึดถือติดคาอยู่ว่าจะต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งมั่นหมายลงไป ครั้นสิ่งต่างๆ นั้นหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ตรงกับที่ยึดอยากมั่นหมาย เราก็ถูกบีบคั้นกดกระชาก บดขยี้ เป็นภาวะที่เรียกว่าความทุกข์ ซึ่งโดยสาระก็เป็นเพียงความขัดแย้งกระทบฉีกกระชากกัน ระหว่างอาการเปลี่ยนแปลงแปรผ่านไปของสิ่งทั้งหลาย กับเส้นเชือกแห่งความยึดความอยากที่เราสร้างขึ้นเท่านั้นเอง

    การที่จะป้องกันแก้ไขป้องกันปัญหา หรือความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น มิใช่ไปนั่งปั่นเส้นเชือกแห่งความยึดความอยาก แล้วเอาไปผูกรักเหนี่ยวรั้งสิ่งทั้งหลายไว้ ซึ่งมีแต่ทำให้เหนื่อยเปล่า ซ้ำจะถูกฉุกระชากเอาไปบดขยี้ ทำให้ทุกข์ทรมานยิ่งขึ้นอีก

    วิธีที่ถูกต้อง คือ รู้เข้าใจเท่าทันความจริงของสิ่งเหล่านั้น รู้เหตุปัจจัยของภาวะที่เป็นไปอย่างนั้น รู้ว่าอะไรจะเป็นไปได้ อะไร จะเป็นไปไม่ได้ แค่ไหน เพียงไร แล้วเข้าไปจัดการกับสิ่งเหล่านั้น ตรงตัวเหตุปัจจัย ที่จะให้เป็นไปอย่างนี้หรืออย่างนั้น ตามที่รู้เข้าใจชัดแล้วนั่นเอง

    ๒) สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา เมื่อรู้เท่าทันความทุกข์ เข้าใจปัญหาแล้ว ก็สาวหาเหตุของทุกข์ หรือต้นตอของปัญหาต่อไปตามหลักแห่งความสัมพันธ์สืบทอดของเหตุปัจจัย หรือตามหลักใหญ่ที่ว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ และจะดับไปเพราะเหตุดับ วิเคราะห์ให้เห็นชัดว่าอะไรบ้างเป็นปัจจัย ปัจจัยไหนเป็นตัวการสำคัญเจ้าบทบาทใหญ่ ปัจจัยเหล่านั้น สัมพันธ์สืบทอดกันมาอย่างไร จึงปรากฏออกมาเป็นรูปปัญหาอย่างนั้น

    เมื่อว่าโดยรวบรัด ตัวการสำคัญแห่งทุกข์ของชีวิต ก็คือ ตัณหา หรือเส้นเชือกแห่งความอยาก ที่มนุษย์เอาไปเกี่ยวเกาะ คล้องรัดสิ่งทั้งหลายนั้นเอง

    ปัจจัยตัวการนี้ สัมพันธ์สืบทอดกันมากับปัจจัยอื่นๆ โดยเฉพาะที่สำคัญยิ่ง คือ อวิชชา ความไม่รู้ ความไม่มีปัญญา ไม่ใช้ปัญญา จึงปรากฎเป็นปัญหาในรูปต่างๆ ที่เรียกรวมๆกันว่า ทุกข์

    ความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัยที่จะต้องรู้ในข้อนี้ มีชื่อเฉพาะว่า ปฏิจจสมุปบาท

    ๓) นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ ภาวะที่สิ้นปัญหา หรือภาวะที่ว่าโล่งปลอดโปร่งจากปัญหา เริ่มด้วยชีวิตที่เป็นอิสระ ไม่ถูกฉุดกระชากลากไปด้วยเส้นเชือกแห่งความอยาก มีจิตใจเบิกบาน ผ่องใส สะอาด สงบ ด้วยความเป็นอยู่อย่างรู้เท่าทันโลก และชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา

    ๔) มรรค ได้แก่ มรรคาอันนำไปสู่ความดับทุกข์ หรือกระบวนวิธีแห่งการแก้ปัญหา กล่าวคือ มรรคามีองค์ ๘ ประการ หรือมัชฌิมาปฏิปทาที่กล่าวแล้วข้างต้นนั่นเอง


    มรรคานี้ เป็นระบบจริยธรรมทั้งหมดของพระพุทธศาสนาหรือทางดำเนินชีวิตของชาวพุทธ ซึ่งมีปัญญาคือความรู้ความเข้าใจเท่าทันสภาวะของสิ่งทั้งหลาย เป็นพื้นฐาน และเป็นแกนนำ
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ชาวพุทธที่แท้ ต้องเจริญก้าวหน้าเติบโตขึ้นเรื่อยไปในวิถีการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ถ้าแต่ก่อนเป็นอยู่ด้วยความเขลางมงายมาก เคยทำได้แค่นั่งถือเส้นเชือกแห่งความอยาก คอยคล้องรัดสิ่งต่างๆอยู่เรื่อยๆ ต่อไปนี้จะต้องมีพลังใจเข้มแข็ง ฝึกฝนตนให้ใช้ปัญญามากขึ้น มีความรู้เท่าทันโลกและชีวิตมาก ขึ้น เรียนรู้วิธีคิดแบบวิเคราะห์เหตุปัจจัยด้วยความรู้ความเข้าใจให้มากขึ้น ทำจิตใจให้ปลอดโปร่งผ่องใสเป็นอิสระได้บ่อยครั้งขึ้น

    อย่างน้อย เมื่อปั่นเส้นเชือกรัดตัวขึ้นแล้ว ก็รู้จักตัดเชือกนั้นในคราวที่ควรจะตัดได้บ้าง

    การที่จะดำเนินชีวิตด้วยปัญญาที่รู้เท่าทัน มีจิตใจเป็นอิสระ สงบ สะอา ใสสว่างอยู่เสมอนั้น โดยปกติมิใช่เป็นสิ่งที่ทำได้เร็วพลันทันที เพราะการดำเนินชีวิตแห่งปัญหาเป็นสิ่งที่เราสั่งสมสร้างมาด้วยอาศัยความเคย ชินตลอดเวลายาวนาน การที่จะแก้ไขชำระล้างหรือเดินทางใหม่ จึงต้องอาศัยวินัย ความเข้มแข็ง มั่นคง และการฝึกหัดอยุ่เสมอให้เคยชินอย่างใหม่ขึ้นมาแทน

    ด้วยเหตุดังนี้ กระบวนการฝึกอบรมในวิถีแห่งมรรค จึงประกอบด้วยหลักการที่เรียกว่า สิกขา ๓ ศีล สมาธิ และปัญญา

    สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการฝึกหัดนี้ คือความมีสติ ผู้ฝึกตน ควรพยายามสร้างสติขึ้นไว้เสมอๆ สติเป็นตัวยั้งจากทางผิดและชักเข้าสู่ทางถูก เมื่อสติเกิดแล้ว นั่นคือตัดเส้นเชือกที่รัดตัวเสียได้ ปัญญาจะตามมาละลายล้างทางผิดและส่องทางถูก

    จากนั้น อาศัยสมาธิ คือความแน่วแน่มั่นคงเข้มแข็งของจิตใจ ก็จะใช้วิริยะ คือ ความเพียร เดินรุดหน้าไปในทางถูก หันห่างทางผิดไกลออกไปโดยลำดับ

    เมื่อทำได้สม่ำเสมอ ผลสำเร็จก็จะตามมา คือความเป็นชาวพุทธที่สมบูรณ์ และชีวิตที่เป็นสุขตามอริยมรรคา

    ที่กล่าวมานี้ คือการทำความเข้าใจกันอย่างสังเขป เกี่ยวกับมัชฌิมาปฏิปทา และอริยสัจจ์ ๔ ที่เป็นใจความของปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

    [​IMG]
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    # 23 เพราะเหตุอันใดฤา ลุงแมวจึงไม่กดอนุโมทนาด้วย ข้ามไปได้ยังไง ขอฟังเหตุผลขอรับ
     
  8. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    กระทู้ดูมีคุณค่าก็เพราะ มจด.
    เเชร์สาระเพิ่มเติมนะฮะ!!!
    ปกติลุงแมวกดไลค์นะฮะ

    อนุโมทนา ไม่ค่อยกล้าเสี่ยง กลัวพลาดไปสนับสนุน
    อกุศลไม่รู้ตัวไม่แตะเลยดีกว่า เพราะภูมิเราน้อยนิด
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อกุศลนี่หมายถึงยังไงครับ
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    การกระทำและความคิด สุดโต่งสองด้าน

    เมื่อเข้าใจสุดโต่งทั้งสองด้านแล้ว ก็เข้าใจมัชฌิมาปฏิปทาไปในตัว
     
  11. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ความคิดและการกระทำต่างๆที่เป็นมูลเหตุให้
    กิเลสมีกำลังเพิ่มขึ้นเหิมเกริมขึ้น
    แล้วครอบงำไม่ให้เราเกิดปัญญา
    เห็นขันธ์ ๕ ได้นั่นแหละฮะ

    ตรงข้ามกับกุศลครับ มูลเหตุให้กิเลสอ่อน
    กำลัง เปิดทางปัญญาให้เรามี
    โอกาสเห็นขันธ์๕ ได้ ฮะ
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ลุงแมวว่าขันธ์ ๕ อยู่ไหนครับ ถึงอยากเห็นนัก
     
  13. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    คนที่เห็นและเข้าใจในขันธ์๕
    จึงจะเกิดความหน่าย ที่ต้องดิ้นรน
    ปรนเปรอขันธ์๕ ด้วยเข้าใจว่ามันเป็นจริงจัง
    เอาเป็นเอาตายแพ้ไม่ได้ พ่ายไม่เป็น
    ต้องสำเร็จ ต้องเป็นฮีโร่ ต้องเกียรตินิยมเท่านั้น

    แต่ถ้าเข้าใจขันธ์๕ ก็ดำเนินชีวิตอย่างเท่าทัน
    รู้เขารู้เรา แพ้ก็ได้พ่ายก็เป็นแล้วเหตุปัจจัย
    แวดล้อม ความทุกข์กายทุกข์ใจก็เบียดเบียนได้ยาก
    นี่แหละระดับความเข้าใจ
    แต่ระดับถึงใจเห็นแจ้งนี่ต้อง เป็นขั้น
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    ลุงแมวมีจักษุ (ตา) มั้ยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...