เรื่อง "การพิจารณาเห็นจิตภายในและจิตภายนอก"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Xtrem, 29 เมษายน 2016.

  1. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    เออ นั่งเฉยๆ...แบบนี้เขาเรียก รู้ตัวอย่างเดียว...สติอยู่กับตัว ทั่วพร้อม
    ใครๆเขาก็ทำได้....ก็แค่สภาวะที่กายแกนิ่ง...เก่งจริง แกก็เดินด้วยสติรู้กาย ได้แบบนี้ด้วยสิ..แบบรู้ทันตามท่าที่เยื้องเดินด้วย...
     
  2. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    คุยกับแกทีไร....ยังกะคุยกับพวกหลงๆลืมๆ...ไม่ไหวเลย
    เพี้ยนเพราะ จักรวาลแห่งความรัก ไปแล้วสิเนี่ย
    ถามหาแต่ความรัก...แต่ยังหาคนรัก ไม่ได้สักคน..

    เพี้ยนหาคนรักรึไง เนืองๆ
     
  3. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ป๊าดดดดดดดด ดูมัน..จินตนาการ...โอ้ยยยแต่ก่อน ชั้น จิน ได้มากกว่าแกอีก
    เข้าใจแจ้งในไตรลักษณ์...แล้ว..จริงเร้อ อย่าเพ้อเอาเองนา...มันจะไม่มีใครอยากคุยด้วยนา...พวก รู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้างเนี่ย...อย่างแกเนี่ย

    ไอ้ความสลดปลงสังเวช ใครเขาก็มีกัน...เฉยๆ ไง สภาวะธรรมที่อยู่ตรงหน้า..
    ก็แกว่ามาเองว่าเฉยๆ...นี่มันเฉยอะไรกัน..มันฟุ้งชัดๆ
     
  4. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    พอๆ นางแก้ว...ขี้เกียจคุยด้วยแล้ว
    บาย
     
  5. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    เสียดายอยู่เนืองๆว่าทำไมเราฝึกจิตจะต้องไปเข้าใจว่าจิตมันเป็นอย่างนั้นจิตมันเป็นอย่างนี้ทั้งๆที่ข้อความทั้งหมดรวมลงที่การไปเข้าใจว่านั่นว่านี่นั้นในเรื่องของจิตจิงๆมันหมายถึงโดนอำนาจฝ่ายอื่นที่ไม่ใช่ฝ่ายธรรมที่เป็นความจริงลวงไว้ จิตเมื่อถึงสภาวะหนึ่งที่สมบูร์พร้อมไม่อาจรับรู้หรือไม่มีความจำเป็นต้องคิดอะไรตามสิ่งนั้นเมื่อไหร่ที่ตามไปแบบนั้นแล้วเเกิดเป็นจินตมยปััญาทันทีซึ่งไม่เป็นหนทางที่ควรจึงควรพิจารณาหาเหตุว่าอะไรทำให้หลงไป จึงจะเห็นจริงไม่ว่าจะเห็นเป็นอย่างไรก็อยู่เหนือจากการควบคุมของทุกๆสิ่งที่ สุมมุติสรรหามาใช้ ความหมายแท้จริงน่าจะอย่างนั้นนะ
     
  6. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207
    ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร

    เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีราคะ หรือ เมื่อจิต
    ปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากราคะ

    ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร

    เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้น
    มีราคะ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้น
    ปราศจากราคะ

    ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่
    เป็นอย่างไร
    ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ เมื่อจิตปราศจาก-
    *ราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ

    ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ สามประเด็น พิจารณาจิตภายใน พิจารณาจิตภายนอก และพิจารณาจิตทั้งภายนอกและภายใน เนือง ๆ

    พิจารณาจิตภายใน คือ จิตของเรา มีราคะ ก็รู้ว่ามีราคะ ไม่มีราคะ ก็ไม่รู้ว่าไม่มีราคะ

    พิจารณาจิตภายนอก คือ จิตของเขาผู้นั้น มีราคะ ก็รู้ว่ามีราคะ ไม่มีราคะ ก็รู้ว่าไม่มีราคะ

    พิจารณาทั้งภายนอกภายใน ก็คือ พิจารณาเห็นทั้งจิตของเราและจิตของเขาผู้นั้น อย่างเนือง ๆ

    วัตถุประสงค์ของพระสูตรนี้ พระพุทธองค์มีความประสงค์ให้ภิกษุทั้งหลาย
    ให้พิจารณาจิตของเรา (จิตภายใน) และ จิตของเขาผู้นั้น (จิตภายนอก) อยู่เนือง ๆ เพราะอะไร
     
  7. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207
    เมื่อภิกษุมีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ ปัญญา เมื่อเขาเห็นกิริยาที่รู้ชัด พิจารณาจิตภายในของเราเป็นเช่นไร จิตของผู้อื่นก็เป็นเช่นนั้น

    เมื่อรู้ชัดทั้งจิตภายในของเรา และรู้ชัดทั้งจิตภายนอกของผู้อื่น ก็ย่อมตามความจริงว่าเป็นเช่นไร จิตของเราเป็นเช่นไร จิตของคนอื่นก็เป็นเช่นนั้น เมื่อมีราคะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป

    จึงให้คลายความยึดมั่นถือมั่น ทั้งจิตของเรา(ภายใน) และ จิตของเขาผู้นั้น หรือ จิตคนอื่น (ภายนอก) และให้พิจารณาเห็นเนือง ๆ ทั้งจิตของเรา และ จิตของเขาผู้นั้น เสมอ ๆ

    เมื่อเรามีสติระลึกเห็นเนือง ๆ เสมอ ไม่ก่อเวรกรรมแก่กัน
     
  8. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207
    ทีนี้มีอีกประเด็นหนึ่งที่เราไม่ค่อยได้ใส่ใจกัน การที่เราไม่เคยพิจารณาเห็นความจริงในจิตของเราเลย เราจึงไม่เข้าใจในจิตของคนอื่น
    เมื่อคนอื่นได้แสดงราคะ โทสะ โมหะ แก่เรา เราจึงคิดว่าเป็นตัวตนของเขาจริง ๆ ที่แสดงไม่ดีไว้กับเรา เราจึงทำกรรมโต้ตอบกับคืนแก่เขาไป

    การฝึกตรงนี้น่าจะช่วยลดการก่อกรรมกับผู้อื่นในเบื้องต้น ในท่ามกลางเพื่อเข้าใจในรูปนาม และ ที่สุดเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์
     

แชร์หน้านี้

Loading...