อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,159
    CDB359F4-D94A-4AFC-BF9B-6AB6AA059590.jpeg

    C157E547-0E8C-4348-865F-0FD056E63872.jpeg

    B8FA4901-41A4-4D41-AEEF-68B3C8C6CCFC.jpeg

    หลวงพ่อแก้ว(ดำ) วัดคลังทอง
    (วัดโกโรโกโส) จ.อยุธยา


    หลวงพ่อแก้ว(ดำ) เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่โบราณซึ่งเชื่อว่าอาจถึงต้นยุคอยุธยา เป็นพระพุทธรูปหินทรายลงรักสีดำ ที่มีพุทธศิลป์งดงามมากๆองค์หนึ่ง

    นอกจากความงดงามหลวงพ่อยังมีความขลังเป็นที่พึ่งแก่ชาวบ้านในยามทุกข์ร้อนมีประสบการณ์เล่าขานกันมายาวนาน

    และเชื่อว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินก็เคยมากราบขอพรจากองค์หลวงพ่อแก้ว(ดำ)จนพระองค์กอบกู้บ้านเมืองได้สำเร็จ

    ทั้งนี้ผู้รู้ได้กล่าวถึงหลวงพ่อแก้ว(ดำ)ไว้ว่า

    ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร (ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) อธิบายว่า

    ในวัดโกโรโกโสมีหลวงพ่อดำ พระพุทธรูปประธานภายในวิหาร เป็นพระพุทธรูปแบบอยุธยาตอนต้น-กลาง ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-21 สังเกตได้จากพระพักตร์รูปเหลี่ยมและลักษณะบางประการที่สามารถเทียบเคียงได้กับพระพุทธรูปหินทรายที่สร้างขึ้นในช่วงเวลานั้น

    ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล (คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง) อธิบายว่า ภายในวิหารสมัยอยุธยาตอนปลายที่สร้างทับซากอาคารเดิม ประดิษฐานพระพุทธรูปนามว่า “หลวงพ่อดำ” เป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่น 3 ตอนปลาย สังเกตได้จากลักษณะการทำพระพักตร์รูปไข่ มีเส้นไรพระศก การทำสังฆาฏิเป็นแผ่นยาวจรดพระนาภี ปลายแยกเป็นเขี้ยวตะขาบ แต่พระพักตร์มีลักษณะอิ่ม กำหนดอายุอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลาย เชื่อมต่อต้นพุทธศตวรรษที่ 21
     
  2. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,159
    A9C6655A-B5FB-45B0-AADF-F4F13F42452F.jpeg

    172B76B2-9E59-4C05-B732-FE5568669D58.jpeg

    4CE40EA3-3FB0-47E4-B64E-B46CD00627E0.jpeg

    141C0794-E96F-4BC3-8B9F-9040524299A0.jpeg

    7CA59E24-0C3C-437C-A3AC-0EAA6DECDFC5.jpeg

    75730E84-6B5F-4D06-9003-9D7904086D00.jpeg

    7D21A33B-F179-450F-BA68-70DD668AFA5A.jpeg

    วัดโกโรโกโส (วัดคลังทอง)
    ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


    วัดโกโรโกโส ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ บ้านคลองข้าวเม่า (ฝั่งคลองบ้านข้าวเม่า ตรงข้ามกับบ้านธนู ฝั่งวัดสะแก) ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ประมาณ ๑๓ ไร่ เป็นวัดร้างยุคอยุธยา คนเก่าๆ ในตำบลข้าวเม่า กล่าวว่า เคยได้ยินคนเรียกว่า วัดคลังทอง (แปลว่า ที่เก็บรักษาทรัพย์สมบัติมีค่า เช่น ทองคำ)

    คำว่า โกโรโกโส สันนิษฐานไว้เป็น ๓ อย่าง
    อย่างแรกว่า วัดคลังทอง มาจาก กุรุธาตุ แปลว่า ทุ่งหรือขุม สนธิกับ กุสุธาตุ รวมความแล้วแปลว่า วัดทุ่งทอง หรือ วัดขุมทอง

    อย่างที่ ๒ มาจากคำว่า rococo เป็นชื่อเรียกศิลปะสมัยหนึ่งของยุโรป หมายถึง สถาปัตยกรรมที่มีการตกแต่งด้วยลวดลายที่ฟุ่มเฟือยตามตัวอาคาร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้กราบทูลสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพถึงเรื่องวัดโกโรโกโสว่า เนื่องจากวัดนี้แม้จะทำเสาและบัวที่ปลายเสาไว้เหมือนกัน แต่ลายรอบเสาแต่ละต้นนั้นก็ยักลายไปต่างๆ ไม่ซ้ำแบบกันเลย ซึ่งก็เนื่องมาจากความตั้งใจของช่างผู้ทำที่ต้องการจะอวดฝีมือว่าสามารถยักลายได้หลายกระบวน อย่างไรก็ตามชาวบ้านตำบลใกล้เคียงเล่าขานสืบมาถึงความประณีตงดงามของวัดโกโรโกโสว่า ใช้ช่างหลายสกุลประกวดประชันฝีมือกันอย่างเต็มที่ ถึงขนาดพระอุโบสถนั้นสร้างเสาระเบียงแต่ละต้นออกแบบลวดลายไม่ซ้ำกันเลย

    และข้อสันนิษฐานที่ ๓ วัดโกโรโกโสได้เขียนประวัติของชื่อวัดตามที่เรียกในปัจจุบัน ว่า คำว่า โกโรโกโส มีผู้สันนิษฐานไว้อีกอย่างหนึ่งว่า วัดโกโรโกโส ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมการศาสนานั้น เล่าขานสืบต่อกันมาว่า เริ่มสร้างวัดครั้งแรกในสมัยอยุธยาเป็นราชธานี โดยมีชาวจีนสองคนคือ “อาโกโร” และ “อาโกโส” (คนจีนแต้จิ๋วจะเรียกพี่สาวหรือน้องสาวของพ่อ ว่า อาโก) ซึ่งเป็นเพื่อนกันได้ร่วมกันสร้างวัดนี้ขึ้นมาโดยมิได้ตั้งชื่อเสียงเรียงนาม ชาวบ้านที่รู้ว่าท่านทั้งสองสร้างวัด จึงพากันเรียกว่า วัดอาโกโรอาโกโส ต่อมาทางการขนานนามให้ว่า วัดคลังทอง แต่ชาวบ้านก็ยังนิยมเรียกกันต่อมาว่า วัดอาโกโรอาโกโส ครั้นนานวันเข้าก็หายกลายเป็นวัดโกโรโกโส ดังเช่นปัจจุบันนี้

    ในวัดโกโรโกโส มีซากกำแพงเก่าและโบราณวัตถุที่เหลืออยู่ คือ พระพุทธรูปประธาน ประดิษฐานภายในวิหารที่สร้างทับอาคารเดิม เป็นพระพุทธรูปหินทราย ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก ๔๓ นิ้ว สูงตลอดพระรัศมี ๗๐ นิ้ว พระพักตร์รูปไข่ มีเส้นไรพระศก มีสังฆาฏิเป็นแผ่นยาวจรดพระนาภี ปลายแยกเป็นเขี้ยวตะขาบ ชื่อ หลวงพ่อแก้ว หรือเรียกขานว่า หลวงพ่อดำ เพราะในสมัยหลังได้ทารักทับหินทรายไว้อีกชั้นหนึ่ง
    จากศิลปะการสร้างและวัสดุที่ใช้ทำให้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น-กลาง จึงกำหนดคร่าวๆ ว่า วัดโกโรโกโสก็คงจะสร้างขึ้นร่วมสมัยเดียวกัน หรืออาจเก่าแก่กว่านั้นอีก

    คำบอกเล่า : เล่ากันว่า ในช่วงก่อนกรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่าในปี พ.ศ.๒๓๑๐ พระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งขณะนั้นเป็นพระยาวชิรปราการ ได้ตัดสินใจยกพลตีฝ่าพม่าออกมาจากวัดพิชัย กรุงศรีอยุธยา เพื่อเดินทางไปรวบรวมพลที่เมืองจันทบุรีมากอบกู้เอกราช และได้พาทหารมาแวะพักชั่วขณะหนึ่ง ณ วัดโกโรโกโส ต่อมาพม่าคงจะได้พิจารณาว่าแถบบริเวณบ้านข้าวเม่าและวัดโกโรโกโสเป็นที่หลบซ่อนของคนไทยที่หลบหนีออกจากกรุงช่วงเกิดสงคราม จึงได้ค้นหาทรัพย์สินมีค่าไปและทำลายโดยเผาวัดเสีย วัดโกโรโกโสจึงมีสภาพเป็นวัดร้างตั้งแต่นั้นมา พระอุโบสถถูกกระแสน้ำเซาะดินพังลงไปกว่าครึ่ง เหลือแต่หลวงพ่อแก้วประดิษฐานอยู่ มีต้นไม้ขึ้นปกคลุม

    วัดโกโรโกโสได้รับการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑ โดยพระโบราณคณิตสร (ใหญ่ ติฌฌสุวรรณเถระ) นามเดิม ใหญ่ คชพิมพ์ เจ้าคณะอำเภออุทัย และพระสิทธิธรรมาจารย์ (คอน กรีหิรัญย์) เจ้าอาวาสวัดชัยพฤกษ์มาลา สร้างวิหารขึ้นใหม่สำหรับประดิษฐานหลวงพ่อแก้ว สร้างกุฎีสงฆ์และศาลาทำบุญ

    ที่มา: http://www.sookjai.com/index.php?topic=223170.0
     
  3. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,159
    53AF3FCC-18D6-40A7-88F1-044454D73118.jpeg

    EA2E6473-0FA3-489B-9946-DF29372A85AC.jpeg

    243F0359-AB44-4385-8FFE-84B95CF5C52A.jpeg

    5C80BEE2-A49D-4D96-8206-4E9337A90320.jpeg

    2CFDF3FC-367C-4330-8DBA-BF6188190F21.jpeg

    วัดคลังทอง(วัดโกโรโกโส) จ.อยุธยา

    วัดโกโกโกโส เมื่อมองจากฝั่งวัดสะแก
     
  4. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,159
    47EF74E1-1989-4C42-A880-CEE1696735B3.jpeg

    D81537FD-69BF-498E-8272-A23EF43E5098.jpeg

    01933E7D-E017-4D0C-8866-078E618CD4C8.jpeg

    1E361AB3-1A00-48A5-9AFB-7B72B244C42E.jpeg

    BE5CF90F-A3A4-4CF1-A441-29213F420A81.jpeg

    พระบรมราชานุสาวรีย์
    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    วัดโกโรโกโส


    มีความเชื่อว่าสมเด็จพระเจ้าตากสิน หลังจากที่ตีแหกฝ่าวงล้อมพม่าที่ค่ายวัดพิชัยแล้ว ได้ผ่านมาทางทุ่งอุทัยและได้แวะกราบนมัสการหลวงพ่อแก้ว(ดำ) เพื่อขอพร เพราะทุ่งอุทัยเป็นโขลนทวารหรือประตูสู่เมืองทางด้านทิศตะวันออกในอดีต
     
  5. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,159
    624F3D81-CB3B-48BA-ACFD-43E3C821C483.jpeg

    C3A13F4F-6DF7-419A-9F3D-E47F761434A5.jpeg

    C875186C-2B07-4E3E-A876-662C27B6971B.jpeg

    8E6FD5C3-8E39-493B-BFC2-6C2F9BC2D42A.jpeg

    พิพิธภัณฑ์วัดคลังทอง
    (วัดโกโรโกโส) จ.อยุธยา

    แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสต์ความเป็นมาของวัด และบูรพาจารย์วัดสะแก

    ที่วัดโกโรโกโส นอกจากจะมีหลวงพ่อแก้ว(ดำ) และพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินแล้ว ยังมีศาลาอยู่ ๓ หลัง หลังแรกเป็นศาลารับสังฆทาน หลังที่สองเป็นพิพิธภัณฑ์ และหลังที่สามเป็นศาลาเอนกประสงค์

    สำหรับพิพิธภัณฑ์ยังไม่เรียบร้อยดีเปิดให้ชมได้บางส่วนครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,159
    DD665A35-166F-44B6-883B-C992197BD9CA.jpeg

    07BA3AFE-6778-4475-A027-620BBECFF24D.jpeg

    325B1E75-C83F-4AE4-AD9F-8450A317158A.jpeg

    78DC7E8D-FDAE-4F45-AC0E-021CB94BAFC9.jpeg

    ศาลารับสังฆทาน วัดคลังทอง
    (วัดโกโรโกโส) จ.อยุธยา


    ภายในศาลารับสังฆทานจะมีพระพุทธรูป รูปหล่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) และหลวงปู่ดู่ ให้กราบสักการะขอพรกันด้วย
     
  7. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,159
    905F377C-E9E0-44EE-83C0-CE721133B2D1.jpeg

    C8371766-F4FA-4C91-9D30-75B60323C8F1.jpeg

    B1A40CC3-DDC9-401F-A3D4-25C743FB7D37.jpeg

    58B74945-88D4-49FF-A460-A2F3A8C85ADC.jpeg

    C6688240-8735-4F69-85F4-127A9C5734D6.jpeg

    ศาลาเอนกประสงค์ วัดคลังทอง
    (วัดโกโรโกโส) จ.อยุธยา


    บรรยากาศทั่วไปในวัดโกโรโกโส ปัจจุบันซากวัดเก่าเหลือเพียงเศษอิฐที่เป็นวิหารเดิมของหลวงพ่อแก้ว(ดำ)เท่านั้น
     
  8. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,159
    000606B6-99FC-499B-AACE-546C02F4833E.jpeg

    C5BBDA2E-16DF-445E-BDC6-B4703A9152D6.jpeg

    54584B9C-3960-4069-9F30-4966AE40B2E9.jpeg

    BA8220B9-D58B-4574-9866-57B294E8B12C.jpeg

    4069AAA6-D475-4FB6-914C-A7DD17C3EE28.jpeg

    เมื่อเรามาถึงวัดสะแก จุดแรกที่เราจะพบคือพิพิธพัณฑ์หลวงปู่ดู่ ซึ่งจะมีรูปหล่อหลวงปู่ยืนเด่นเป็นสง่าอยู่ด้านหน้า นับเป็นแลนด์มาร์กที่สำคัญ

    ********
    ประวัติหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ แห่งวัดสะแก

    ชาติภูมิ
    พระคุณเจ้าหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ มีชาติกำเนิดในสกุล หนูศรี เดิมชื่อ "ดู่" ท่านเกิดในวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ปีมะโรง พ.ศ ๒๔๔๗ เป็นวันเพ็ญวิสาขปุรณมี ณ บ้านสามเขา ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรงกับวันศุกร์ที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ ๒๔๔๗ (ข้อมูลจากปฏิทิน 100 ปี) โยมบิดาชื่อ พุด โยมมารดาชื่อ พ่วง ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๓ คน ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง มีโยมพี่สาว ๒ คน มีชื่อตามลำดับดังนี้
    ๑ ทองคำ สุนิมิตร (พี่สาว)
    ๒ สุ่ม พึ่งกุศล (พี่สาว)
    ๓ หลวงปู่ดู่

    ชีวิตในวัยเด็กของท่านดูจะขาดความอบอุ่นอยู่มาก ด้วยกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่เยาว์วัย นายยวง พึ่งกุศล ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของท่านได้เล่าให้ฟังว่า บิดา มารดาของท่านมีอาชีพทำนาโดยนอกฤดูทำนาจะมีอาชีพทำขนมไข่มงคลขาย เมื่อตอนที่ท่านเป็นเด็กทารกมีเหตุการณ์สำคัญ ที่ควรจะบันทึกไว้คือ วันหนึ่งซึ่งเป็นหน้าน้ำ ขณะที่บิดามารดาของท่านกำลังทอดขนมไข่มงคลอยู่นั้น ท่านซึ่งถูกวางอยู่บนเบาะนอกชานคนเดียวไม่ทราบด้วยเหตุใดตัวท่านได้กลิ้งตกน้ำทั้งคนทั้งเบาะ แต่เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งที่ตัวท่านไม่จมน้ำ กลับลอยน้ำจนไปติดอยู่ข้างรั้ว กระทั่งสุนัขเลี้ยงที่บ้านท่านมาเห็นเข้าจึงได้เห่าพร้อมกับวิ่งกลับไปกลับมาระหว่างตัวท่าน กับมารดาท่าน เมื่อมารดาท่านเดินตามสุนัขเลี้ยงออกมาจึงได้พบว่าท่านลอยน้ำติดอยู่ที่ข้างรั้ว ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มารดาท่านเชื่อมั่นว่าท่านจะต้องเป็นผู้ที่มีบุญวาสนามากมาเกิดต่อมา เมื่อท่านอายุ ๔ ขวบ มารดาของท่านได้ถึงแก่กรรม และบิดาของท่าน ก็ได้จากไปอีกคน

    ท่านจึงต้องกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กจำความไม่ได้ ท่านได้อาศัยอยู่กับยาย โดยมีโยมพี่สาวชื่อ สุ่ม เป็นผู้ดูแลเอาใจใส่และท่านก็ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนที่วัดกลางคลองสระบัว วัดประดู่ทรงธรรมและวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ

    สู่เพศพรหมจรรย์
    เมื่อท่านอายุได้ ๒๑ ปี ก็ได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ ๒๔๖๘ ตรงกับวันอาทิตย์แรม ๔ ค่ำเดือน ๖ ณ วัดสะแก ตำบลธนู อำเภออุทัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีหลวงพ่อกลั่น เจ้าอาวาสวัดพระญาติการามเป็นพระอุปัชฌาย์ มีหลวงพ่อแด่ เจ้าอาวาสวัดสะแก ขณะนั้น เป็นพระ กรรมวาจาจารย์และมีหลวงพ่อฉาย วัดกลางคลองสระบัว เป็นพระอนุศาสนาจารย์ ท่านได้รับฉายาว่า "พรหมปัญโญ" ในพรรษาแรก ๆ นั้น ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรม ที่วัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่าวัดประดู่โรงธรรม โดยมีพระอาจารย์ผู้สอนคือท่านเจ้าคุณเนื่อง ,พระครูชม ,และหลวงพ่อรอด (เสือ) เป็นต้น ในด้านการปฏิบัติพระกรรมฐานนั้น ท่านก็ได้ศึกษากับหลวงพ่อกลั่นผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ และหลวงพ่อเภา ศิษย์องค์สำคัญของหลวงพ่อกลั่น ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่าน นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาจากตำรับตำราที่มีอยู่ในชาดกบ้าง จากธรรมบทบ้าง และด้วยความที่ท่านเป็นผู้ที่รักการศึกษาค้นคว้า ท่านจึงได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้ เพิ่มเติมจากพระอาจารย์อีกหลายท่าน ทั้งจังหวัดสุพรรณบุรี และสระบุรี ประมาณพรรษาที่ ๓ ท่านก็ได้เดินธุดงค์ออกจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มุ่งตรงสู่จังหวัดสระบุรี กราบนมัสการพระพุทธฉายและรอยพระพุทธบาท จากนั้นท่านได้ธุดงค์ไปยังจังหวัดสิงห์บุรี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี โดยใช้เวลาเดินธุดงค์ประมาณ ๓ เดือน หลวงปู่ดู่ ท่านได้ตัดสินใจไม่รับกิจนิมนต์ไปนอกวัดตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ ๒๔๙๐ เพื่อที่จะใช้เวลาปฏิบัติ และโปรดญาติโยม ซึ่งท่านให้ความสำคัญในเรื่องของการปฏิบัติภาวนาอย่างที่สุด

    อยู่มาวันหนึ่ง เข้าใจว่าก่อนปี พ.ศ ๒๕๐๐ เล็กน้อย หลังจากที่หลวงปู่ดู่สวดมนต์ทำวัตรเย็น และปฏิบัติกิจส่วนตัว เสร็จเรียบร้อยแล้วท่านก็จำวัด เกิดนิมิตไปว่า ท่านได้ฉันดาวที่มีแสงสว่างเข้าไป ๓ ดวงในขณะที่กำลังฉันอยู่นั้นก็รู้สึกว่ากรอบดี ก็เลยฉันเข้าไปทั้งหมด แล้วจึงตกใจตื่น เมื่อท่านมาพิจารณาใคร่ครวญถึงนิมิตที่เกิดขึ้นก็เข้าใจได้ว่า แก้ว ๓ ดวงนั้นจะต้องเป็นแก้ว ๓ ประการ ได้แก่พระไตรสรณคมน์ เมื่อหลวงปู่ว่า "พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ” ก็เกิดอัศจรรย์ขึ้นในจิตท่าน จนท่านเกิดความมั่นใจว่าพระไตรสรณคมน์นี้เป็นแก่นแท้ และรากแก้วของพระพุทธศาสนา การสมาทานศีล ๕ ศีล ๘ หรือการขอบรรพชาอุปสมบท ก็ต้องว่าไตรสรณคมน์นี้ทุกครั้ง ท่านจึงกำหนดเอาเป็นองค์ภาวนา

    ในเรื่องของการปฏิบัติสมาธิภาวนานั้น ท่านว่า "ถ้าไม่เอา (ปฏิบัติ) เป็นเถ้าเสียดีกว่า" ในสมัยก่อนเมื่อตอนที่ศาลาปฏิบัติธรรมหน้ากุฏิท่านยังสร้างไม่เสร็จนั้น ท่านก็เมตตาให้ใช้ห้องส่วนตัวที่ท่านใช้จำวัดเป็นที่รับรองสานุศิษย์ และผู้สนใจได้ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม ซึ่งนับเป็นความเมตตาอย่างสูง สำหรับผู้ที่ไปกราบนมัสการท่านบ่อย ๆ หรือผู้ที่มีโอกาสได้ฟังท่านสนทนาธรรมก็คงได้เห็นวิธีการสอนของท่าน ซึ่งท่านจะโน้มน้าวผู้ฟังให้วกเข้าสู่การปรับปรุงแก้ไขตนเอง เช่นครั้งหนึ่ง มีลูกศิษย์วิพากษ์วิจารณ์คนนั้นคนนี้ให้ท่านฟังในเชิงว่ากล่าวว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาและความยุ่งยาก ท่านกลับไม่เออออตามอันจะทำให้เรื่องบานปลายออกไป ท่านก็กล่าวปรามว่า "เรื่องของคนอื่น เราไปแก้เขาไม่ได้ ที่แก้ได้คือตัวเรา แก้ข้างนอกเป็นเรื่องโลก แต่แก้ที่ตัวเราเป็นเรื่องธรรม"

    ที่มา: https://www.komchadluek.net/pr-news/amulet/484415
     
  9. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,159
    17E2D69D-E086-4B9D-94C3-9838664478A0.jpeg

    5C9DF07B-A580-4D3E-9726-7FF5AA1FD91D.jpeg

    8E8CA3CF-EE5D-4006-A51A-2BC658042C16.jpeg


    หลวงปู่ดู่ วัดสะแก(๒)

    อุบายธรรม
    หลวงปู่ดู่ เป็นผู้ที่มีอุบายธรรมลึกซึ้ง สามารถขัดเกลาจิตใจคนอย่างค่อยเป็นค่อยไป มิได้เร่งรัดเอาผล เช่นครั้งหนึ่งมีนักเลงเหล้าติดตามเพื่อนซึ่งเป็นลูกศิษย์มากราบนมัสการท่าน สนทนากันได้สักพักหนึ่งนักเลงเหล้าผู้นั้นก็แย้งว่า จะให้ผมสมาทานศีลและปฏิบัติได้ยังไง ก็ผมยังกินเหล้าเมาอยู่นี่ครับ หลวงปู่ดู่ท่านก็ตอบว่า "เอ็งจะกินก็กินไปซิข้าไม่ว่า แต่ให้เองปฏิบัติให้ข้าวันละ ๕ นาทีก็พอ" นักเลงเหล้าผู้นั้นเห็นว่านั่งสมาธิแค่วันละ ๕ นาทีไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร จึงได้ตอบปากรับคำจากหลวงปู่ ด้วยความที่เป็นคนมีนิสัยทำอะไรทำจริงซื่อสัตย์ต่อตนเอง ทำให้เขาสามารถปฏิบัติได้สม่ำเสมอเรื่อยมามิได้ขาดแม้แต่วันเดียว บางครั้งถึงกับงดไปกินเหล้ากับเพื่อน ๆ เพราะได้เวลานั่งปฏิบัติ จิตของเขาเริ่มเสพคุ้นกับความสุขสงบจากการที่จิตเป็นสมาธิ ไม่ช้าไม่นานเขาก็สามารถเลิกเหล้าได้โดยไม่รู้ตัว ด้วยอุบายธรรมที่น้อมนำมาจากหลวงปู่ ต่อมาเขาได้มีโอกาสมานมัสการกราบหลวงปู่อีกครั้ง ที่นี้หลวงปู่ดู่ท่านให้โอวาทว่า "ที่แกปฏิบัติอยู่ให้รู้ว่าไม่ใช่เพื่อข้า แต่เพื่อตัวแกเอง" คำพูดของหลวงปู่ทำให้เขาเข้าใจอะไรมากขึ้น ถัดจากนั้นอีกประมาณ ๕ ปีเขาผู้ที่อดีตเคยเป็นนักเลงเหล้า ก็ละจากเพศฆราวาสเข้าสู่เพศบรรพชิต ตั้งใจปฏิบัติธรรมอยู่นับแต่นั้นตลอดมา

    อีกครั้งหนึ่ง ชาวบ้านหาปลามากราบนมัสการท่าน ก่อนกลับท่านให้เขาสมาทานศีล ๕ เขาเกิดตะกิดตะขวงใจกราบเรียนท่านว่า “ผมไม่กล้าสมาทานศีล ๕ เพราะรู้ว่าเดี๋ยวก็ต้องไปจับปลาจับกุ้ง มันเป็นอาชีพของผมครับ” หลวงปู่ตอบเขาด้วยความเมตตาว่า “แกจะรู้หรือว่าแกจะตายเมื่อไหร่ ไม่แน่ว่าแกเดินออกไปจากกุฏิข้า แล้วอาจถูกงูกัดตายเสียกลางทางก่อนไปจับปลา จับกุ้ง ก็ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อตอนนี้แกยังไม่ได้ทำบาปกรรมอะไร ยังไง ๆ ก็ให้มีศีลไว้ก่อน ถึงจะมีศีลขาดก็ยังดีกว่าไม่มีศีล”

    และอีกครั้งหนึ่ง มีนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒ คน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ท่าน มากราบลาท่านพร้อมกับเรียนให้ท่านทราบว่า จะเดินทางไปพักค้างเพื่อปฏิบัติธรรมกับท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี ท่านฟังแล้วก็ยกมือพนมขึ้นไหว้ไปทางข้าง ๆ พร้อมกับพูดว่า “ข้าโมทนากับพวกแกด้วย ตัวข้าไม่มีโอกาส” ไม่มีเลยที่ท่านจะห้ามปราม หรือแสดงอาการที่เรียกว่าหวงลูกศิษย์ ตรงกันข้ามมีแต่จะส่งเสริม สนับสนุน ให้กำลังใจ เพื่อให้ลูกศิษย์ของท่านขวนขวายในการปฏิบัติธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีลูกศิษย์มาเรียนให้ท่านทราบ

    ถึงครูบาอาจารย์องค์นั้นองค์นี้ ในลักษณะตื่นครูอาจารย์ ท่านก็จะปรามเพื่อวกเข้าสู่เจ้าตัว โดยท่านจะเตือนสติว่า “ครูบาอาจารย์ดี ๆ มีอยู่มากมาย แต่สำคัญที่ว่าต้องปฏิบัติให้จริง สอนตัวเองให้มาก นั่นแหละจึงจะดี”

    แม้ว่าหลวงปู่ดู่ท่านจะรับรองในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องที่ท่านอธิษฐานจิตให้ แต่สิ่งที่ท่านยกไว้เหนือกว่านั้นก็คือ การปฏิบัติ ดังจะเห็นได้จากคำพูดของท่านที่ว่า "เอาของจริงดีกว่า พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ" นี่แหละของแท้ จากคำพูดนี้จึงเสมือนเป็นการยืนยันว่า การปฏิบัติภาวนานี้แหละเป็นที่สุดแห่งเครื่องรางของขลัง ดังที่ท่านเคยกล่าวว่า

    "สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่เหนือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็คือกรรม" ดังนั้นจึงมีแต่พระสติ พระปัญญา ที่ฝึกฝนอบรมดีแล้วเท่านั้น ที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติรู้เท่าทันนั่นหมายถึงสิ่งที่จะต้องเป็นไปพร้อม ๆ กันก็คือ ความพากเพียรที่ลงสู่ภาคปฏิบัติ ในมรรควิถี ที่เป็นสาระแห่งชีวิตของผู้ไม่ประมาท ดังที่ท่านพูดย้ำเสมอว่า "หมั่นทำเข้าไว้ ๆ"

    กุศโลบายในการสร้างพระ
    หลวงปู่ท่านไม่ได้ตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์ การที่ท่านสร้างหรืออนุญาตให้สร้างวัตถุมงคลก็เพราะเห็นประโยชน์ด้วยบุคคลจำนวนมากยังขาดที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ท่านเองมิได้จำกัดสิทธิ์อยู่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นคณะศิษย์ของท่านจึงมีกว้างขวางออกไปทั้งที่ใส่ใจในธรรมล้วน ๆ หรือที่ยังต้องอิงกับวัตถุมงคล ท่านเคยพูดว่า “ติดวัตถุมงคล ก็ยังดีกว่าที่จะไปติดวัตถุอัปมงคล” ทั้งนี้ท่านย่อมใช้ดุลย์พินิจพิจารณาตามความเหมาะสม ตามความเหมาะสมควรแก่ผู้ที่ไปหาท่าน

    วัตถุมงคลพระบูชาต่าง ๆ ที่ท่านเมตตาอธิษฐานจิตให้แล้วนั้นปรากฏผลแก่ผู้บูชาในด้านต่าง ๆ เช่นแคล้วคลาด เป็นต้น นั่นก็เป็นเพียงผลพลอยได้ซึ่งเป็นประโยชน์ในทางโลก แต่ประโยชน์ที่ท่านผู้สร้างมุ่งหวังอย่างแท้จริงนั้นก็คือใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติภาวนา มีพุทธานุสติกรรมฐานเป็นต้น

    นอกจากนี้แล้วผู้ปฏิบัติยังได้อาศัยพลังจิตที่ท่านตั้งใจบรรจุไว้ในพระเครื่องช่วยน้อมนำและประคับประคองให้จิตรวมสงบได้เร็วขึ้น ตลอดถึงการใช้เป็นเครื่องสร้างเสริมกำลังใจ และระงับความหวาดวิตกขณะปฏิบัติอีกด้วย สิ่งนี้ถือเป็นประโยชน์ทางธรรมซึ่งจะก่อให้เกิดพัฒนาการทางจิตของผู้ใช้ไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ เพราะการที่เราได้อาศัย พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ และสังฆัง สรณัง คัจฉามิ คือได้ยึดได้อาศัยเอาพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะในเบื้องต้นก่อน

    ที่มา: https://www.komchadluek.net/pr-news/amulet/484415
     
  10. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,159
    0EC15332-0D79-409E-835E-333DC990CECD.jpeg

    4D69E182-C23A-4D5D-9EC8-57311E5E310F.jpeg

    4F14ABF4-A45D-4EDA-AAC1-20AB03FBD00C.jpeg

    C0FDB599-2377-424D-963C-F988B15CFA55.jpeg

    FFCF54A6-CCA7-46C1-B706-2F55A8DDE32B.jpeg

    หลวงปู่ดู่ วัดสะแก(๓)

    การสร้างพระ (วัตถุมงคล)
    การสร้างผงพุทธคุณของหลวงปู่ดู่นั้น ท่านได้เริ่มสร้างตั้งแต่ท่านบวชในพรรษาที่ ๓ เรื่อยมากว่า ๓๐ ปี ท่านจะสร้างและเก็บเอาไว้ในโอ่งมังกรราว ๆ ๓ โอ่ง โดยท่านจะใช้ดินสอพองปั้นเป็นแท่งเขียนยันต์อักขระต่างๆบนกระดานชนวนจนหมด แล้วนำผงที่ได้มาปั้นผสมกับน้ำข้าวเป็นแท่งยาวราว ๓-๔ นิ้ว ให้ได้จำนวน ๘ แท่งแล้วนำมาเขียนยันต์จนหมดแล้วลบผงปั้นขึ้นใหม่อีก ๘ แท่ง แล้วนำมาเขียนเลขยันต์จนหมดก็ลบผงเพื่อนำมาปั้นใหม่ ท่านจะทำเช่นนี้ ๗ ครั้ง ผงที่ได้จึงจะเป็นผงพุทธคุณ ที่สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการสร้างพระได้ท่านสร้างพระอย่างปราณีต นอกจากผงพุทธคุณของท่านแล้ว ด้วยมวลสารศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญต่างๆที่ท่านใช้สร้างพระล้วนมาจากครูอาจารย์ และมวลสารจากสถานที่อันอุดมมงคลอีกมากมาย ท่านสร้างพระอย่างเรียบง่ายแต่ตั้งไว้ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ แม้กระทั้งในเรื่องของแบบพิมพ์ ท่านก็จะคิดหาวิธีการสร้างพระด้วยองค์ท่านเอง มาตั้งแต่ต้น เช่นในวาระหนึ่งในช่วงต้น ๆ ของการสร้างวัตถุมงคล พระบุญเรือง อนุรกฺกโม (หลวงลุงดำ) พระรูปสำคัญของวัดสะแกผู้เป็นศิษย์อีกหนึ่งรูปในองค์หลวงปู่ดู่ท่าน ได้เคยเล่าให้ฟังถึงความเมตตาในการสร้างวัตถุมงคลขององค์หลวงปู่ดู่ท่านด้วยการคิดค้นหาวิธีการทำแม่พิมพ์ด้วยองค์ท่านเอง ทั้งการใช้ดินเหนียวจากบ่อน้ำมนต์มาผสมกับน้ำมัน หรือการคิดค้นด้วยวิธีต่าง ๆ จนทำให้มีวัตถุมงคลในวาระหนึ่งเรียกว่าพระบล๊อคดินเหนียว เป็นต้น นี่เป็นตัวอย่างนึงจากทั้งหมด ที่แสดงให้ผู้ศรัทธาในปัจจุบันได้เห็นแล้วว่า ความเมตตาขององค์หลวงปู่ดู่ท่านนั้นเกินประมาณ ท่านสร้างวัตถุมงคลด้วยเจตนาหลักซึ่งสำคัญที่สุดคือการที่จะให้ศิษย์หรือผู้ศรัทธาได้ใช้วัตถุมงคลของท่านเป็นเครื่องปฏิบัติภาวนาที่จะสามารถพาให้เข้าใกล้พระศาสนาได้มากยิ่งขึ้น

    อีกทั้งเรื่องของแบบพิมพ์พระในแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะมีมากมายเท่าไหร่ก็ล้วนเป็นไปด้วยการสอดแทรกเรื่องราวของพุทธสมัยในวงกรอบของพระรัตนตรัยให้ศิษย์หรือผู้ศรัทธาได้ใช้ยึดเป็นที่พึ่ง ต่อมาระยะหลังท่าน จึงอนุญาตให้ลูกศิษย์ถวายงานสร้างวัตถุมงคล ก็ด้วยเหตุผลที่ท่านบอกว่าการสร้างพระจะได้กุศลมาก

    ที่มา: https://www.komchadluek.net/pr-news/amulet/484415
     
  11. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,159
    56FB6D0B-A183-4D21-AED6-BCAB7FBE73C8.jpeg

    1F88D93E-0465-4232-854F-61167C123B3E.jpeg

    58DCF4C0-5905-4658-B08E-194C8876F1F5.jpeg

    33DA23D1-4024-4346-BE0B-76618F9945A3.jpeg

    หลวงปู่ดู่ วัดสะแก(๔)

    นับแต่พ.ศ ๒๕๒๕ เป็นต้นมา หลวงปู่ต้องรับภาระหนักในการรับแขก จนกระทั่งสุขภาพของท่านทรุดโทรมลง โดยปกติท่านจะอยู่ประจำที่กุฏิ ของท่านเพื่อโปรดญาติโยมโดยไม่รับกิจนิมนต์ไปที่ไหน ๆ เลย ปีหนึ่งๆท่านจะออกมาจากกุฏิเพียงลงอุโบสถเพียง ๓ ครั้ง เท่านั้นคือวันเข้าพรรษา วันออกพรรษา และวันโมทนาผ้ากฐิน ด้วยปณิธานที่ตั้งไว้ว่าสู้แค่ตาย ท่านใช้ความอดทนอดกลั้นอย่างสูงแม้บางครั้งจะมีโรคมาเบียดเบียนอย่างหนัก ท่านก็สู้อุตส่าห์ออกโปรดญาติโยมเป็นปกติ พระที่อุปฐากท่านได้เล่าให้ฟังว่า บางครั้งถึงขนาดที่ท่านต้องพยุงตัวเองขึ้นด้วยอาการสั่น และมีน้ำตาคลอเบ้า ท่านก็ไม่เคยปริปากให้ใครต้องเป็นกังวลเลย ในปีท้าย ๆ ท่านถูกตรวจพบว่าเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว แม้นายแพทย์จะขอร้องให้ท่านเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลท่านก็ไม่ยอมไป ท่านเล่าให้ฟังว่า “แต่ก่อนเราเคยอยากดี เมื่อดีแล้วก็เอาให้หายอยาก อย่างมากก็สู้แค่ตาย ใครจะเหมือนข้า ข้าฯบนตัวตาย”

    มีบางครั้งได้รับข่าวว่าท่านล้มขณะกำลังลุกเดินออกจากห้องเพื่อออกโปรดญาติโยมในตอนเช้า คือประมาณ ๖ นาฬิกา อย่างที่เคยปฏิบัติอยู่ทุกวัน โดยปกติในยาม ที่ท่านสุขภาพแข็งแรงดี ท่านจะเข้าจำวัดประมาณ ๔-๕ ทุ่ม แต่กว่าจะจำวัดจริง ๆ ก็ประมาณเที่ยงคืน ตีหนึ่ง แล้วมาตื่นนอนตอนประมาณตีสาม มาช่วงหลังที่สุขภาพ ของท่านไม่แข็งแรง จึงตื่นตอนตีสี่ ตีห้า เสร็จกิจการทำวัตรเช้า และกิจธุระส่วนตัวแล้ว จึงออกโปรดญาติโยมที่หน้ากุฏิ ประมาณปลายปี พ.ศ ๒๕๓๒ หลวงปู่ดู่พูดบ่อยครั้งในเรื่องความหมายว่าใกล้ถึงเวลา ที่ท่านจะละสังขารนี้ไปแล้ว จนกระทั่งถึงวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๓ ในตอนบ่ายขณะที่ท่านกำลังเอนกายพักผ่อนอยู่นั้น มีนายทหารอากาศผู้หนึ่งมากราบนมัสการท่าน ซึ่งเป็นการมาครั้งแรก หลวงปู่ได้ลุกขึ้นนั่งต้อนรับด้วยใบหน้าที่สดใสราศีเปล่งปลั่งเป็นพิเศษ กระทั่งบรรดาศิษย์ ณ ที่นั้นเห็นผิดสังเกต หลวงปู่แสดงอาการยินดีเหมือนรอคอยบุคคลผู้นี้มานาน “ต่อไปนี้ข้าจะได้หายเจ็บ หายไข้เสียที” ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าท่านกำลังจะโปรดลูกศิษย์คนสุดท้ายของท่าน หลวงปู่ดู่ท่านได้แนะนำการปฏิบัติพร้อมทั้งให้เขานั่งปฏิบัติต่อหน้าท่าน ซึ่งเขาก็สามารถปฏิบัติได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ท่านย้ำในตอนท้ายว่า

    “ข้าขอฝากให้แกไปปฏิบัติต่อ” ในคืนวันนั้นก็ได้มีคณะศิษย์มานมัสการท่านซึ่งการมาในครั้งนี้ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะเป็นการมาพบสังขารธรรมของท่านเป็นครั้งสุดท้าย แล้วหลวงปู่ดู่ได้เล่าให้ศิษย์คณะนี้ฟังด้วยสีหน้าปกติ “ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายที่ไม่เจ็บปวดเลย ถ้าเป็นคนอื่นคงเข้าห้องไอซียูไปนานแล้ว” พร้อมทั้งพูดหนักแน่นว่า “ข้าจะไปแล้วนะ” ท้ายที่สุดท่านได้เมตตากล่าวย้ำให้ทุกคนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท “ถึงอย่างไรก็ขออย่าได้ทิ้งการปฏิบัติ” นี่เป็นดุจปัจฉิมโอวาทของหลวงปู่ พระผู้เป็นดุจพ่อพระ ผู้เป็นดุจครูอาจารย์ พระผู้จุดประทีปในดวงใจของผู้เป็นศิษย์ทุกคนอันจะไม่สามารถลืมเลือนได้เลย ท่านได้ละสังขารไปด้วยความสงบ ด้วยโรคหัวใจในกุฏิท่าน เมื่อเวลาประมาณ ๕ นาฬิกา ของวันอังคารที่ ๑๗ มกราคม พ. ศ. ๒๕๓๓ อายุได้ ๘๕ ปี ๘ เดือน อายุพรรษา ๖๕ พรรษา บัดนี้สิ่งที่คงอยู่มิใช่สังขารธรรมของท่านหากจะเป็นหลวงปู่ดู่องค์แท้ที่เป็นนามประธรรม ซึ่งจะคงอยู่ตลอดไป ธรรมทั้งหลายที่ท่านได้พร่ำสอนทุกวรรคตอน แห่งธรรมที่บรรดาศิษย์ ได้น้อมนำมาปฏิบัตินั่นคือ การที่ท่านได้เพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความงามบนดวงใจของศิษย์ทุกคน ซึ่งนับวันจะเติบใหญ่ ผลิดอกออกผล เป็นสติและปัญญาบนลำต้นที่แข็งแรงคือสมาธิ และบนพื้นดินที่มั่นคงและแน่นหนาคือศีลสมดังเจตนารมณ์ที่ท่านได้ทุ่มเททั้งชีวิตด้วยเมตตาธรรมอันยิ่งจะหาได้ยากทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต..

    ที่มา: https://www.komchadluek.net/pr-news/amulet/484415
     
  12. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,159
    66E9806B-D163-4F5B-9068-7BC9D729EC10.jpeg

    AC49552D-5896-48EF-B22D-DE85FA689026.jpeg

    4318775A-050C-474F-AC72-CCBA554C0CF4.jpeg

    หลวงปู่ทวด(วัดช้างไห้) วัดสะแก

    หลวงปู่ดู่ ท่านมีความเคารพนับถือหลวงปู่ทวด เป็นพระอาจารย์ใหญ่ ท่านว่า

    “บารมีหลวงปู่ทวดเต็มท้องฟ้า”

    “นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติ ภควา”
     
  13. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,159
    F4E48EB0-440E-44A5-B2C2-7E4363DFE130.jpeg

    CDAC9F99-2290-4E05-BA90-9CB78025E605.jpeg

    F8865E15-34E6-43C0-988E-18344BF04A13.jpeg

    พระพุทธเจ้าเหนือพรหมองค์ครู

    หลังจากที่หลวงปู่ดู่ท่านได้สร้างพระเครื่องรูปลักษณ์พระเหนือพรหมขึ้นมาแล้ว ท่านได้ปรารภกับลูกศิษย์ขึ้นว่า ยังไม่มีพระเหนือพรหมองค์ครูเลย ลูกศิษย์คือคณะของคุณประสงค์ ชาญยิ่งยง จึงได้ไปจัดสร้างมาถวาย โดยท่านได้เล่าว่าเมื่อสร้างเสร็จก็ยกมาถวายหลวงปู่พระพรหมนี้สร้างด้วยปูนมีความหนักมาก ขณะที่กำลังยักแย่ยักยันยกกันอยู่นั้นหลวงปู่เห็นท่าจะไม่ดี ท่านจึงเดินมาเอามาช่วยประคอง ท่านบอกว่า “ข้าช่วย”

    ปรากฏว่าพระเบาหวิวทันที สามารถยกมาวางตรงหน้ากุฏิได้อย่างง่ายดาย แต่พอหลวงปู่เอามือออกปรากฏว่าพระหนักขึ้นทันที ทำให้พระหล่นลงกระแทกกับพื้น ตรงฐานพระพรหมถึงกับแตก นับเป็นความอัศจรรย์กับผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์

    อานุภาพของพระเหนือพรหม

    เป็นที่เชื่อกันว่าใครมีพระเหนือพรหมไว้บูชา เรื่องร้ายจะกลับกลายเป็นดี คนดวงตกก็รอดได้ ผู้ใดได้ไข้ได้เจ็บก็หาย ผีและปีศาจร้ายมิอาจกล้ำกราย คุณไสยมนต์ดำการกระทำย่ำยีมิอาจครอบงำ ผู้ใดเป็นศัตรูคิดร้าย จะพินาศด้วยวิบากกรรมของตนเอง บูชาติดตัวไว้ เทพ พรหม เทวดาและมนุษย์รักใคร่เมตตาปราณี ถ้าถึงเวลาหมดอายุจิตสงบพบทางสว่างมีสุขคติเป็นที่ไป ผู้ที่มีพระเหนือพรหม ของหลวงพ่อองค์เดียวก็เกินพอ
     
  14. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,159
    29711DFC-36CA-48D8-8F6C-2168016A1A5E.jpeg

    EBF151BC-0D0F-4604-85D3-CC9510136526.jpeg

    57377F36-2A5D-4D46-A1E7-95143BED29FE.jpeg

    9CE56B65-A05A-48B7-80C4-24321ED822AA.jpeg

    FCD08EFA-7412-47DB-8E56-0C5B27DAE4AA.jpeg

    บรรยากาศทั่วๆไปหน้ากุฏิหลวงปู่ดู่ จะมีจุดนึงที่หน้าสนใจคือตุ่มน้ำตรงนั้นจะเป็นจุดที่หลวงปู่เคยใช้สรงน้ำ ว่ากันว่าเวลาหลวงปู่สรงน้ำจะไม่ใช้สบู่ และน้ำที่หลวงปู่ใช้สรงแล้วศิษย์บางท่านจะถือเป็นน้ำมนต์จะนำมาแตะหัวแตะตัวเพื่อความเป็นสิริมงคล
     
  15. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,159
    A18EE991-9C49-4A9C-A133-386B73D43CCB.jpeg

    2FDFBAC9-CC14-444F-845F-0016614FC302.jpeg

    E1634128-BCD8-4A83-B2F9-15521C3FA218.jpeg

    FCC90683-C611-4404-9A90-8B8172E31D97.jpeg

    พระโบราณคณิสสร (ใหญ่ ติณฺณสุวณฺโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดสะแก จ.อยุธยา

    จากลานจอดรถเมื่อเดินขึ้นบันไดมาจะถึงกุฏิหลวงปู่ใหญ่ก่อนกุฏิหลังถัดไปจึงเป็นกุฏิหลวงปู่ดู่

    ประวัติและเรื่องราวของหลวงปู่ใหญ่มีไม่มากนักเนื่องจากสมัยนั้น หลวงปู่สีห์ อ.เฮง และหลวงปู่ดู่ท่านมีชื่อเสียงมากกว่า


    ********

    พระโบราณคณิสสร มีนามเดิมว่า ใหญ่ คชพิมพ์ เกิดเมื่อวันพุธ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ ณ บ้านข้าวเม่า เลขที่ ๒๙ หมู่ที่ ๖ ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย พระนครศรีอยุธยา นามบิดา กำนันแพ นามมารดา นางเชย คชพิมพ์

    บรรพชาอุปสมบท

    บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ ๑๕ ปี ณ วัดขุนทิพย์ อำเภออุทัย พระนครศรีอยุธยา

    อุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๓ เวลา ๐๗.๕๐ น. ณ วัดขุนทิพย์ อำเภออุทัย พระนครศรีอยุธยา โดยมี หลวงพ่อกลั่น เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แด่ วัดสะแก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์พัน วัดขุนทิพย์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    การศึกษา

    เมื่ออายุ ๑๐ ปี โยมบิดานำไปฝากให้เรียนหนังสือไทยและขอม สำนักท่านอาจารย์หมอก วัดสะแก เรียนมูลกัจจายนะในสำนักอาจารย์เย็น วัดขุนทิพย์ อาจารย์จัน วัดทอง คลองบางจาก อาจารย์คง วัดพลับ (ราชสิทธาราม) เรียนธรรมบทกับอาจารย์พระมหาปี วัดพระเชตุพน มูลกัจจายนะ กับพระอาจารย์จุ้ย วัดอนงคาราม พอแปลหนังสือบาลีได้แล้ว กลับมาสอนหนังสืออยู่วัดขุนทิพย์ ประมาณ ๑ ปีเศษ แล้วย้ายมาอยู่วัดสะแก เพื่อสอนหนังสือเด็กและสามเณรของพระอาจารย์แด่ วัดสะแก ตรงกับวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๕

    มรณภาพ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕

    ตำแหน่ง

    ฝ่ายปกครอง
    พ.ศ. ๒๔๘๑ - ๒๕๒๕ เป็น เจ้าอาวาสวัดสะแก
    ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    เจ้าคณะอำเภออุทัย
    สมณศักดิ์
    พ.ศ. ๒๔๘๑ เป็น พระครูสังฆรักษ์ ฐานานุกรมใน พระญาณไตรโลก (ฉาย) วัดพนัญเชิง
    พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็น พระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอ ชั้นตรี ที่ พระครูอุทัยคณารักษ์
    พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท ในราชทินนามเดิม
    พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
    พ.ศ. ๒๕๐๘ เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม
    ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระโบราณคณิสสร

    ที่มา: https://sangkhatikan.com/monk_view.php?ID=15131
     
  16. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,159
    F9BB8382-1C56-48B2-B524-271F58DFB74B.jpeg

    941B3971-BB7B-41E9-B6AD-72D6BA9194FF.jpeg

    6195BDF7-B437-4209-B9EE-55CC430534E4.jpeg

    5BE604AF-83A4-4478-B925-7C3918057AC4.jpeg

    E59D88F6-9BCC-46FE-A470-BDBDCEEC50EF.jpeg

    วัดสะแก จ.อยุธยา

    วัดสะแก เดิมตั้งอยู่ที่วัดคลังทอง หรือวัดโกโรโกโส ในปัจจุบัน สร้างเป็นวัดขึ้นในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา กรมการศาสนาระบุตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2310 วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2325 โดยย้ายจากวัดคลังทองข้ามฝั่งมาตำบลธนู เหตุที่ย้ายจากวัดคลังทอง เพราะเมื่อถึงหน้าน้ำ น้ำจะท่วมทุกปี ที่ตั้งปัจจุบันของวัดเป็นเนินสูง มีต้นไม้นานาชนิด เช่น ต้นตะเคียน มะขวิด จัน เป็นต้น หลังศาลาใหญ่มีสระน้ำ ขอบสระน้ำเต็มไปด้วยต้นสะแก งิ้ว มะม่วง คาง สะเดา แสมสาร ตะเคียน ส่วนสระน้ำนั้นคงขุดดินมาถม เพื่อจะสร้างอุโบสถหลังเก่า ต่อมามีเรือขุด ชื่อ เรือหลวงจบกระบวนยุทธ ได้มาทำการขุดลอกคลอง ทางวัดได้ให้พ่นดินกลบสระน้ำจนเต็มและเอาต้นไม้ออก คณะศิษย์ได้ขอพื้นดินนามาถมจนเต็มลานวัด

    เดิมมีเนื้อที่ 13 ไร่ 3 งาน 21 ตารางวา ต่อมา พ.ศ. 2522 หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ได้มอบเงินให้ผู้ใหญ่เชิด หัสถีรักษ์ ซื้อที่นาของนางมา ตรีวิทย์ กับนายสังเวียน พงษ์ดนตรี เพิ่มอีกประมาณ 2 ไร่ และถมที่ด้านทิศตะวันออกของวัด ซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์และเป็นที่สาธารณะอีกประมาณ 1 ไร่

    อาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถกว้าง 15 เมตร ยาว 28 เมตร ผนังด้านนอกเป็นหินอ่อน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารพิชัยปูนปั้นลงรักปิดทอง วิหารพระศรีอริยเมตไตรย ประดิษฐานพระศรีอริยเมตไตรยทรงเครื่องประดับด้วยพลอยลงรักปิดทอง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2540 วิหารหลวงปู่ดู่สร้างราว พ.ศ. 2539 จัดแสดงอัฐบริขารหลวงปู่ดู่ และกุฏิหลวงปู่ดู่


    ที่มา: https://th.m.wikipedia.org/wiki/วัดสะแก_(จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
     
  17. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,159
    A9171A1B-02F0-45E8-BAD0-751D378DC726.jpeg

    0FC40CA4-C330-4FC2-BDAC-20DE985F72FC.jpeg

    D48FFCA4-3042-4C11-AD57-3369FCCD2A75.jpeg

    0C0D01F9-6A07-44F2-AF81-931CA350D541.jpeg

    พระประธานในอุโบสถวัดสะแก

    คาดว่าสร้างมาพร้อมกับอุโบสถเมื่อสมัยสร้างวัด
    ปัจจุบันเปิดให้สาธุชนได้เข้ากราบนมัสการทุกวัน
     
  18. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,159
    54C100E0-1978-4243-B348-AF2447CDA1FF.jpeg

    DCC88936-C542-4BB4-954B-8AD11095CA1C.jpeg

    9DB0C4AF-547F-4AC9-B113-6F042B4D0F08.jpeg

    EEDE72C4-F684-4F9D-8C00-B414FAF1CEAB.jpeg

    ECEFC524-E78D-4250-981B-E2B927D86AFF.jpeg

    BB17E8A4-9F80-46E3-9FBD-9FFE0CD9496A.jpeg

    2C472FA8-BF86-4E69-A4D2-8C158AA95822.jpeg

    72523383-5206-4979-8405-2D07BF789C70.jpeg

    ศรีอยุธยา
    ๗ สถานที่ อันเป็นศรีมิ่งมงคล แห่งปวงชนคนอยุธยา
    บันทึกจากหอหลวงกรุงศรีอยุธยาและคำให้การขุนหลวงหาวัด ศรีอยุธยา มี ๗ แห่งคือ


    ๑. พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก อ่างทอง
    ๒. พระพุทธไสยาสน์วัดพระนอนจักรสีห์ สิงห์บุรี
    ๓. พระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินประมูล อ่างทอง
    ๔. พระพุทธไสยาสน์วัดโพธิ์อรัญญิก???
    ๕. พระปธม-พระประโทณ พระมหาธาตุหลวงแขวงเมืองนครไชยศรี(นครปฐมในปัจจุบัน)
    ๖. รอยพระพุทธบาทเขาสุวรรณบรรพต สระบุรี
    ๗. พระปัถวีรอยพระพุทธฉาย เขาปัถวี สระบุรี

    ๗ ศรีอยุธยานี้ เป็นพระพุทธรูป ๔ องค์ และเป็นพระนอนทั้งหมด ยังไม่ทราบนัยยะที่ซ่อนอยู่
    พระนอนวัดโพธิ์อรัญญิก ยังไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน
     
  19. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,159
    685A5586-F056-4728-8D04-C357A07CE86D.jpeg

    66DD74F3-E72F-4B8A-8BA8-81831686403C.jpeg

    990B01D6-4998-440E-8F9C-BC266762296F.jpeg

    E7D8D7C5-B082-4D41-96D6-9E6666988FDB.jpeg

    35DC5C39-56D4-4ECB-98EB-22EB69F19736.jpeg

    788BA707-0AEB-4049-BD95-F2F6598CDB7B.jpeg

    พระมหาธาตุท่ีเปนหลักกรุงศรีอยุธยา ๕ องค์ คือ

    ๑ พระมหาธาตุวัดพระราม
    ๒ พระมหาธาตุวัดมหาธาตุ
    ๓ พระมหาธาตุวัดราชบุรณ
    ๔ พระมหาธาตุวัดสมรโกฎ
    ๕ พระมหาธาตุวัดพุทไธสวริย


    ๑ พระมหาธาตุวัดพระราม สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระราเมศวร ในปี พ.ศ.๑๙๑๒ ในบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาฑิบดีที่๑ เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลแด่พระราชบิดา

    ๒ พระมหาธาตุวัดมหาธาตุ สร้างในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่๑(ขุนหลวงพระงั่ว) ใน พ.ศ.๑๙๑๗ มาแล้วเสร็จในสมัยสมเด็จพระราเมศวร
    ในปี พ.ศ.๑๙๒๗ องค์มหาธาตุได้พังทลายลงในสมัย รัชกาลที่ ๖ ปัจจุบันเหลือเพียงแต่ฐาน

    ๓ พระมหาธาตุวัดราชบูรณะ สร้างโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่๒(เจ้าสามพระยา) เพื่ออุทิศพระราชกุศลแด่พระราชบิดา(สมเด็จพระอินทราชา)และพระเชษฐา(เจ้าอ้ายและเจ้ายี่) บนสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพเจ้าอ้ายและเจ้ายี่
    วัดราชบูรณะ เป็นกรุเครื่องทองที่ใหญ่ที่สุดในสมัยอยุธยา

    ๔ พระมหาธาตุวัดสมณโกฏฐาราม สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้นหรืออาจมีมาแต่สมัยอโยธยาศรีรามเทพนคร(อโยธยามีมาก่อนอยุธยาร่วมๆ๓๐๐ปี) และวัดนี้เชื่อว่าอาจเป็นวัดประจำตระกูลเจ้าพระยาโกษาเหล็ก-โกษาปาน ซึ่งท่านทั้งสองได้มาบูรณะไว้
    ปัจจุบันปรางค์ประธานได้พังทลายลงเหลือเพียงแต่ฐาน

    ๕ พระมหาธาตุวัดพุทไธศวรรย์ สร้างขึ้นบริเวณที่เป็นพระตำหนักเวียงเหล็กเดิมเพื่ออุทิศแด่ท้าวอู่ทองวีรบุรุษในตำนานของพวกสุพรรณภูมิ หลังจากที่ราชวงศ์สุพรรณภูมิขึ้นเป็นใหญ่ในอยุธยา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2023
  20. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,159
    796BE455-4DF4-4DA7-954B-1D64F43FB1EC.jpeg

    B6D7E0F6-EC30-4810-AD19-B868396E718B.jpeg


    01190D79-7FA8-463E-9EE2-F9CD55855EBB.jpeg

    962F8ACA-5628-4E6B-B79D-A0FAD6C95357.jpeg

    32C9388D-C73B-489A-9DB8-D2E40529EE46.jpeg

    พระมหาเจดีย์ฐานท่ีเปนหลักกรุง ๕ องค์ คือ

    ๑ พระมหาเจดีย์วัดสวนหลวงสพสวรรค์
    ๒ พระมหาเจดีย์วัด ขุนเมืองใจ
    ๓ พระมหาเจดีย์วัดเจ้าพระยาไทย
    ๔ พระมหาเจดีย์วัด 2 ภูเขาทอง สูงเส้นห้าวา
    ๕ พระมหาเจดีย์วัดใหญ่ไชยมงคล สูงเส้นห้าวา


    นอกจากพระมหาธาตุแล้วในบันทึกฉบับเดียวกันยังกล่าวถึงพระมหาเจดีย์ด้วย ตอนแรกผมกะจะไม่ลงเพราะมีปัญหาอยู่คือ วัดเจ้าพระยาไทยกับวัดใหญ่ชัยมงคล ในปัจจุบันเชื่อว่าเป็นวัดเดียวกันแต่ถ้าเราเชื่อในบันทึกคำให้การขุนหลวงหาวัดวัดทั้งสองจะเป็นคนละวัดกัน
    เมื่อไม่กี่วันมานี้พอดีได้ฟังรายการของ อ.สุจิตต์ แกพูดถึงเรื่องนี้พอดี สรุปใจความตามความเชื่อของแกได้ว่า
    วัดเจ้าพระยาไทย ก็คือ วัดใหญ่ชัยมงคลปัจจุบันนี้
    ส่วนวัดใหญ่ชัยมงคล ก็คือวัดไชยวัฒนารามในปัจจุบัน


    ๑ วัดสวนหลวงสบสวรรค์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ โปรดให้จัดพระราชพิธี ทำพระเมรุถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระสุริโยทัย ที่ในสวนหลวง ภายในวัดสบสวรรค์ แล้วโปรดให้สร้างพระอารามขึ้นตรงพระเมรุ มีเจดีย์บรรจุพระอัฐิสมเด็จพระสุริโยทัย พระอารามที่โปรดให้สร้างขึ้นที่สวนหลวง กับวัดสบสวรรค์ จึงรวมเรียกว่า " วัดสวนหลวงสบสวรรค์ " ปัจจุบันยังมีพระสถูปเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดสวนหลวงเป็นสำคัญ เรียกว่า พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย ปัจจุบัน วัดสวนหลวงสบสวรรค์ เป็นวัดร้างมีสภาพเป็นพื้นดินว่างเปล่า

    ๒ วัดขุนเมืองใจ วัดขุนเมืองใจไม่ปรากฎหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรว่าเริ่มสร้างมาแต่สมัยใด แต่คงมีมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดขุนเมืองใจเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง ในสมัยอยุธยาเคยเป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา นอกจากนี้ พบส่วนองค์พระพุทธรูปศิลาหลายชิ้น มีทั้งศิลปะทวารวดีตอนปลาย ศิลปะอู่ทอง หรือระยะก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเล็กน้อย และศิลปะอยุธยา สืบต่อมาจนร้างไปอย่างสิ้นเชิงตั้งแต่ พ.ศ.2310.

    สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่อาจมีมาแล้วราว 26 ปีก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา

    ๓ วัดเจ้าพระยาไทย(วัดใหญ่ชัยมงคลปัจจุบัน) สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อครั้ง พ.ศ. ๑๙๐๐ สมเด็จพระเจ้าอู่ทองได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ขุดศพเจ้าแก้วและเจ้าไท ซึ่งทิวงคตด้วยอหิวาตกโรคขึ้นมาเผา ที่ปลงศพนั้นโปรดให้สถาปนาเป็นพระอาราม มาบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวร

    ๔ วัดภูเขาทอง พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเป็นผู้สร้างภูเขาทองขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2112 คราวยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ในเวลาที่ประทับอยู่พระนครศรีอยุธยาได้สร้างพระเจดีย์ภูเขาทองใหญ่แบบมอญขึ้นไว้เป็นที่ระลึกเมื่อคราวรบชนะไทย โดยรูปแบบของฐานเจดีย์มีลักษณะคล้ายกับแบบมอญพม่า สันนิษฐานว่าสร้างเจดีย์องค์นี้ขึ้นเพื่อชัยชนะแต่ทำได้เพียงรากฐาน แล้วยกทัพกลับ วัดภูเขาทองนี้หนังสือคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า ได้สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวรเมื่อปี พ.ศ. 1930 ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชกลับคืนมาเมื่อ พ.ศ. 2127 จึงโปรดเกล้าให้สร้างเจดีย์แบบไทยไว้เหนือฐานแบบมอญและพม่าที่สร้างเพียงรากฐานไว้ ณ สมรภูมิทุ่งมะขามหย่อง ฝีมือช่างมอญเดิมจึงปรากฏเหลือเพียงฐานทักษิณส่วนล่างเท่านั้น เจดีย์ภูเขาทองจึงมีลักษณะสถาปัตยกรรมสองแบบผสมกัน

    ๕ วัดใหญ่ชัยมงคล(วัดไชยวัฒนารามปัจจุบัน)
    วัดไชยวัฒนาราม ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2173 โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นบนที่ที่เป็นบ้านเดิมของพระองค์เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายพระราชมารดา แต่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือนครละแวกโดยจำลองแบบมาจากปราสาทนครวัด

    วัดไชยวัฒนารามเป็นวัดหลวงที่บำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์สืบต่อมาหลังจากนั้นทุกพระองค์ จึงได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชสมัย เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงศพพระบรมวงศานุวงศ์เกือบทุกพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสิ้นพระชนม์ก็ได้ถวายพระเพลิงที่วัดนี้

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ตุลาคม 2023

แชร์หน้านี้

Loading...