เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 10 กุมภาพันธ์ 2024.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,404
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,533
    ค่าพลัง:
    +26,371
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,404
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,533
    ค่าพลัง:
    +26,371
    วันนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๐กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗ สุขภาพของกระผม/อาตมภาพค่อนข้างที่จะชำรุด เนื่องเพราะว่าพักผ่อนไม่พอ มาลาเรียลงกระเพาะ ทำให้ต้องวิ่งถ่ายทั้งคืน ๕ - ๖ รอบ แล้วในระหว่างที่เดินทางขึ้นไปยังจังหวัดลำพูน ก็ยังต้องแวะห้องน้ำเป็นระยะ ตรงจุดนี้ทำให้นึกถึงพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง ซึ่งท่านก็มาลาเรียลงกระเพาะเช่นกัน แต่จะอาเจียนทุกวันตอน ๔ โมงเย็น

    ในตอนแรกนั้นมาลาเรียลงกระเพาะก็ทำให้กระผม/อาตมภาพจะอาเจียนเช่นกัน แต่ด้วยความที่ตอนนั้นยังเป็นคนหนุ่ม ร่างกายแข็งแรงมาก จึงได้กลั้นเอาไว้ ไม่ยอมอาเจียน เพราะทราบดีว่าถ้าอาเจียนมาก ๆ แล้วร่างกายจะหมดกำลัง แล้วทำอะไรไม่ได้เลย

    แต่ว่าโรคภัยไข้เจ็บ ในเมื่อเข้ามาแล้ว เขาก็ต้องหาทางไปจนได้ เมื่อขึ้นข้างบนไม่ได้ ก็เปลี่ยนเป็นลงข้างล่าง จึงกลายเป็นว่า กระผม/อาตมภาพนั้น ถ้ามาลาเรียลงกระเพาะ ก็จะถ่ายหนักมาก ซึ่งบางทีก็ไม่มีอะไรให้ถ่ายเลย นอกจากลมเท่านั้น แต่ก็จะปวดท้อง บิดไปบิดมาอยู่เช่นนั้น

    ทั้งยังเป็นมาลาเรียเชื้อรวมด้วย ก็คือจะขึ้นสมองก่อน เมื่อความดันขึ้นจนถึงที่สุดแล้ว ก็จะเปลี่ยนไปลงกระเพาะ ซึ่งความจริงไม่ได้เปลี่ยนหรอก หากแต่ว่าเชื้อขึ้นสมอง ทำหน้าที่เต็มที่แล้วก็หลบไป ปล่อยให้เชื้อลงกระเพาะได้ทำหน้าที่แทนบ้าง

    เมื่อเดินทางไปจนถึงวัดพระพุทธบาทถ้ำป่าไผ่ ก็ปรากฏว่าขณะที่ลากสังขารจะเข้าที่พักนั้น ก็มีท่านเต็ง (พระอนัน ปภสฺสโร) พระวัดท่าขนุน ซึ่งออกไปตระเวนโลกกว้าง ขอเข้ามาทำวัตร แต่กระผม/อาตมภาพปฏิเสธไป ซึ่งเรื่องพวกนี้ถ้าหากว่าหลายท่านคิดไม่ถึง ก็มักจะไม่นึกว่าเป็นการรบกวนครูบาอาจารย์อย่างแรง กระผม/อาตมภาพออกเดินทางตั้งแต่ตี ๓ กว่าที่จะไปถึงวัดพระพุทธบาทถ้ำป่าไผ่ ก็เลยครึ่งวันไปแล้ว แต่ท่านทั้งหลายไม่ได้คิดว่า ครูบาอาจารย์ทั้งแก่ทั้งป่วย จะเอาแต่ธุระของตนเท่านั้น..!

    หลายท่านที่มาถึงก็รีบบอกเจตนารมณ์ของตน อย่างเช่นว่าในช่วงที่กระผม/อาตมภาพรับสังฆทานอยู่ที่บ้านวิริยบารมีก็ดี ที่บ้านเติมบุญก็ตาม เป็นระยะเวลาหลายวันที่ต้องกรำกับญาติโยมตั้งแต่เช้ายันค่ำ เมื่อกลับไปถึงวัดก็หมดสภาพแล้ว

    แต่ว่าก็มีพระเณรหลายรูปรีบเข้ามา บอกกล่าวธุระของตน อย่างเช่นว่าขอเบิกเงินรายการโน้น รายการนี้ กระผม/อาตมภาพต้องดุไปหลายครั้งว่า ถ้าไม่ถึงขนาดคอขาดบาดตาย รอให้กระผม/อาตมภาพได้พักก่อนจะดีกว่าไหม ?
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,404
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,533
    ค่าพลัง:
    +26,371
    ท่านทั้งหลายเหล่านี้ จะว่าไปแล้วก็ขาดความรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง ที่กระผม/อาตมภาพเคยบอกกล่าวหลายต่อหลายครั้งแล้วว่า เราต้องฝึกฝนตนเองจนมีสติครบถ้วน เมื่อขยับตัวก็รู้ว่าศีลจะขาดหรือไม่ ? ไม่เช่นนั้นแล้วก็ยังถือว่าใช้ไม่ได้..!

    อย่างเมื่อวานนี้ในช่วงบ่าย กระผม/อาตมภาพทำการประชุมคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอทองผาภูมิ และคณะกรรมการชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดท่าขนุน ครั้งที่ ๒/๒๕๖๗ เนื่องจากว่าตอนที่กำหนดวันประชุมนั้น ในโทรศัพท์ไม่ได้ระบุว่าเป็นวันโกน-วันพระ ครั้นทำหนังสือเรียกประชุมไปแล้ว มารู้ว่าเป็นวันพระใหญ่ที่ต้องลงปาฏิโมกข์ จะเปลี่ยนก็ไม่ทันแล้ว เนื่องเพราะว่าหลายท่านก็ลงตารางเวลาของตนไป ถ้าหากว่าเราไปเปลี่ยนแปลง ก็จะไปกระทบต่อผู้อื่น จึงต้องมอบฉันทะให้พระภิกษุส่วนที่เหลือไปลงปาฏิโมกข์ ส่วนตนเองและพระภิกษุรูปอื่นก็เข้าร่วมการประชุมต่อไป

    แต่ปรากฏว่าเมื่อพระเริ่มแสดงพระปาฏิโมกข์ เสียงที่ผ่านเครื่องกระจายเสียง ก็รบกวนออกมาถึงที่ประชุม เพราะว่าศาลา ๑๐๐ ปี หลวงปู่สาย วัดท่าขนุน กับอุโบสถนั้น ห่างกันไม่ถึง ๕๐ เมตรเท่านั้น กระผม/อาตมภาพจึงได้บอกผ่านเครื่องกระจายเสียงไปว่า ให้ภายในอุโบสถปิดเครื่องเสียง แล้วสวดปากเปล่าไป แต่ว่าภายในอุโบสถก็คงไม่มีใครฟังเสียงข้างนอก ท่านพีม (พระกวีวัธน์ สทฺธาธิโก) ซึ่งเข้าประชุมอยู่ ก็ลุกเพื่อที่จะเดินไปบอกที่อุโบสถ กระผม/อาตมภาพต้องรีบเรียกท่านให้หยุดเอาไว้ บอกว่าให้โทรศัพท์เข้าไป

    ถ้าหากว่าท่านเดินไปที่อุโบสถ บอกเขาเสร็จสรรพเรียบร้อยแล้วเดินออกมา ถือว่าเป็นการคัดค้านสังฆกรรม การทำสังฆกรรมครั้งนั้นก็จะไม่มีผล แม้ว่าเราไม่ได้คัดค้าน แต่อาจมีผู้อ้างเลศในการกล่าวว่า เราเดินออกจากสังฆกรรม เป็นการคัดค้าน เรื่องราวก็จะวุ่นว่ายไปใหญ่โต

    แม้กระทั่งเลขาฯ จุก (พระมหาอินทรปกรณ์ ฐิตสุโภ ป.ธ.๔) เลขานุการเจ้าคณะตำบลลิ่นถิ่น เขต ๒ ซึ่งนั่งอยู่อีกด้านหนึ่งก็ยังบอกว่า "ผมลืมไปเลยว่า การเดินออกจากสังฆกรรมเท่ากับเป็นการคัดค้าน" ในเมื่อเป็นเช่นนั้น จึงเป็นเรื่องที่เราท่านทั้งหลายที่จะต้องระมัดระวังเป็นอย่างสูง

    กระผม/อาตมภาพเองเสียใจเป็นอย่างมากว่า ตลอดระยะเวลาของชีวิตฆราวาส ๑๑ ปี และชีวิตของพระภิกษุอีก ๗ พรรษา ซึ่งอยู่ภายใต้ร่มเงาของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดท่าซุงนั้น ตนเองยังกอบโกยความรู้ความสามารถต่าง ๆ มาไม่ได้ส่วนเสี้ยวขององค์ท่านเลย จึงทำให้ทุกวันนี้ยังไม่กล้าประมาท ทำอะไรก็พยายามรักษารอยของครูบาอาจารย์เอาไว้ แต่ก็ยังไม่กล้าประกาศออกมาอย่างชัดเจน
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,404
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,533
    ค่าพลัง:
    +26,371
    แม้แต่การสร้างรูปเหมือนหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค และหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาลของพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุงนั้น กระผม/อาตมภาพก็ยังต้องเอาไปไว้ที่หมู่เรือนไทยชั้นบนสุด ของศาลา ๑๐๐ ปี วัดท่าขนุน เนื่องเพราะว่าถ้าเป็นวัดท่าขนุนแล้ว ก็ต้องเป็นหลวงปู่สายเท่านั้น ถ้าหากเราเอารูปครูบาอาจารย์อื่นไปตั้ง ก็อาจจะมีการกระทบกระทั่งจิตใจของบุคคลบางท่าน ถ้าเขาคิดไม่ดี พูดไม่ดี ทำไม่ดี ขึ้นมา ก็จะเป็นเหตุให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นต้องเกิดโทษหนักขึ้นเสียเปล่า ๆ

    แต่ว่าลูกศิษย์ของกระผม/อาตมภาพสมัยนี้ ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะมั่นใจในตนเองเกินไป ถึงเวลาก็ออกไปตระเวนโลก โดยไม่ได้คิดว่า การไปตามสำนักต่าง ๆ นั้น ตนเองเอาความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงไปอวดเขา หรือว่าเอาความผิดพลาดพระธรรมวินัยหรือกิเลสของตนไปอวดเขากันแน่..?!

    แม้กระทั่งทุกวันนี้ กระผม/อาตมภาพก็ยังไม่กล้าบอกใครอย่างเต็มปากเต็มคำ ว่าตนเองเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง นอกจากศึกษาปฏิปทาของท่านและพยายามปฏิบัติตามเท่านั้น โชคดีที่ได้บวชอยู่กับท่านมา ๗ พรรษา แต่ว่าหลายต่อหลายคนก็ไม่ได้คิดถึงตรงนี้ ว่าสิ่งที่เราทำไป ถ้ามีข้อบกพร่องเขาก็ตำหนิมาถึงครูบาอาจารย์ แต่ว่าถ้าเป็นส่วนดีแล้ว ก็ไม่ได้รับการชมเชยสักเท่าไร เนื่องเพราะว่าบรรดาเสือสิงห์กระทิงแรดในวงการมีมาก ท่านทำดี เขาถือว่าเป็นปกติที่ท่านต้องทำ แต่ถ้าท่านพลาดเมื่อไร ก็แปลว่าท่านโดนยำเละอยู่ตรงนั้นเอง..!

    อีกส่วนหนึ่งก็คือวันนี้มีผู้ส่งภาพพระธุดงค์ ซึ่งกำลังเดิน ได้ยินว่าจากจังหวัดปทุมธานีจะออกไปภาคอีสาน แล้วมีโยมท่านหนึ่งนิมนต์ขึ้นรถ นำไปส่ง ครั้นถึงจุดที่ตนเองต้องแยกกับท่านแล้ว ถวายปัจจัยให้ท่านก็ไม่รับ แล้วก็มีการสรรเสริญกันใหญ่โต ว่านี่จึงเป็นการธุดงค์อย่างแท้จริง นี่จึงเป็นพระแท้ กระผม/อาตมภาพได้ยินแล้วก็ถอนใจ บรรดา "นักธุดงค์ถนนหลวง" เหล่านี้ ถ้าไม่สร้างความเสียหายให้กับพระพุทธศาสนา อย่างเช่นว่าไปไถเงินชาวบ้าน ก็ไปสร้างความเข้าใจผิดให้กับญาติโยมแบบนี้

    ในเรื่องของธุดงควัตรนั้น คือองค์คุณเครื่องขัดเกลากิเลส ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นว่าไม่เป็นการทรมานตนจนเกินไป จึงได้กำหนดขึ้นมา มีทั้งหมด ๓ หมวด ๑๓ ข้อด้วยกัน

    หมวดที่ ๑ เรียกว่าจีวรปฏิสังยุตต์ เกี่ยวกับเรื่องของจีวร ได้แก่ ๑. การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คือเสาะหาผ้าเก่าที่เขาทิ้งแล้ว นำมาซักมาย้อม แล้วเย็บเป็นจีวรใช้งาน โดยไม่รับคหปติจีวร ก็คือจีวรใหม่ที่มีผู้ถวายทั้งชุด หรือว่าทั้งผืน ดังนั้น..
    การที่พระภิกษุบางรูปที่เอาผ้าสารพัดสีมาเย็บเป็นจีวร ห่มแบบนั้นมาหลายปี แล้วได้รับการสรรเสริญถึงความสมถะ ท่านกำลังทำผิดพระวินัย..! เนื่องเพราะว่าจะต้องย้อมให้เป็นสีเดียวกัน ไม่ให้ห่มผ้าลายพร้อย เพื่อให้คนอื่นเขาเห็นแล้วไปเข้าใจว่านุ่งห่มผ้าบังสุกุล
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,404
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,533
    ค่าพลัง:
    +26,371
    ๒. ถือผ้าสามผืนเป็นวัตร อันได้แก่ สบง จีวร และสังฆาฏิเท่านั้น ในปัจจุบันนี้จะมีเพิ่มเติมขึ้นมาก็คืออังสะ เพราะว่าเป็นผ้าซับเหงื่ออยู่ภายในอีกผืนหนึ่ง กระผม/อาตมภาพเองก็เคยถือแบบนั้นมาหลายปี แม้แต่ในปัจจุบันนี้ก็ยังถือแบบนี้อยู่

    หมวดที่ ๒ เรียกว่าปิณฑปาตปฏิสังยุตต์ เกี่ยวข้องกับการบิณฑบาต หาอาหารเลี้ยงชีพ ประกอบไปด้วย ๑. การถือบิณฑบาตเป็นวัตร ก็คือบริโภคอาหารเฉพาะที่ออกบิณฑบาตแล้วได้รับมาเท่านั้น ไม่รับกิจนิมนต์ไปฉันตามบ้าน

    ๒. ถือบิณฑบาตตามลำดับบ้านเป็นวัตร ไม่เลือกที่รังมักที่ชัง ไม่เลือกบ้านคนรวยคนจน ไม่ว่าอาหารจะดีหรือไม่ดี ใครใส่บาตรก็รับไปตามลำดับ ไม่ข้ามบ้านที่ไม่ถูกใจไป

    ๓. ถือการฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร ก็คือแต่ละวันจะบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อฉันเสร็จแล้วก็จะไม่บริโภคอาหารอะไรอีก นอกจากน้ำดื่ม ซึ่งปัจจุบันนี้บางทีพูดกันให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า "ฉันเอกา"

    ๔. ถือฉันในบาตรเป็นวัตร ได้แก่ นำอาหารทุกชนิดที่จะบริโภค มาคลุกเคล้ารวมกันในบาตรแล้วฉัน เพื่อไม่ให้ติดในรสชาติของอาหาร กระผม/อาตมภาพปฏิบัติมาหลายปี ขอยืนยันว่าอาหารที่คลุกรวมกันนั้น กลับอร่อยกว่าปกติเสียอีก..!

    ๕. ถือการห้ามภัตที่มาภายหลังเป็นวัตร ได้แก่ เมื่อรับอาหารจนมากพอแล้ว ก็จะไม่รับอาหารอะไรเพิ่มอีก ภายหลังมีใครนำอะไรมาถวาย แม้ว่าจะเป็นของอร่อยเพียงไหน ก็จะไม่รับเพิ่มขึ้นมา ดังนั้น..ในส่วนนี้ก็เกี่ยวข้องกับภัตตาหารเลี้ยงชีพเท่านั้น

    หมวดที่ ๓ ก็คือเสนาสนปฏิสังยุตต์ เกี่ยวข้องกับที่อยู่ที่อาศัย ก็คือ ๑. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จะไม่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเลย ไปอาศัยตามหลืบเขา ตามเงิบผาบ้าง ตามถ้ำบ้าง หรือว่าใต้ต้นไม้บ้าง

    ๒. ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร จะอาศัยเฉพาะโคนไม้เท่านั้น ไม่อยู่ภายใต้สิ่งที่มีหลังคาสร้างมุงบังขึ้นมา แต่ว่าถ้าถือข้อนี้ในฤดูฝนก็จะลำบากมาก
     
  6. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,404
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,533
    ค่าพลัง:
    +26,371
    ๓. ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร ไม่เข้าสู่ที่มุงที่บังใด ๆ แม้แต่โคนไม้ เจตนาก็คือไม่ให้ยึดติดในที่อยู่ที่อาศัย ไปถึงจะพักที่ไหน ก็อยู่เฉพาะที่โล่งกลางแจ้ง ข้อนี้พระเดชพระคุณครูบาเจ้าเกษม เขมโก สำนักสงฆ์สุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง เคยอยู่ในป่าช้ากลางแจ้งเป็นเดือน ๆ โดนแดดเผาจนผิวหนังลอกเป็นแผ่น ๆ ถ้าไม่ใช่ทรงฌานทรงสมาบัติอย่างสุดยอด จนตัดร่างกายได้แล้ว จะไม่สามารถทำได้เลย

    ๔. ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร งดจากที่พักอันสุขสบาย เข้าไปอาศัยปักกลดในป่าช้าบ้าง อยู่แถวเชิงตะกอนบ้าง เพื่อที่จะได้อาศัยระลึกถึงความตาย เพื่อที่จะได้ไม่ประมาทบ้าง เพื่ออาศัยความข่มการกลัวผีให้ได้บ้าง เป็นต้น

    ๕. ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้เป็นวัตร ใครชี้ให้ไปพักที่ไหน หรือจัดที่พักไว้อย่างไร ก็พักไปตามนั้น ไม่ว่าจะถูกใจหรือไม่ถูกใจ ถ้าหากว่าเขาขอให้สละที่พัก ก็พร้อมที่จะสละไปได้ทันที จะได้ไม่ยึดติดในสิ่งทั้งหลายเหล่านี้

    ๕. ถือการนั่งอย่างเดียวเป็นวัตร งดเว้นอิริยาบถนอน พูดง่าย ๆ ก็คือ ยืน เดิน นั่ง แต่จะไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย ถ้าง่วงมาก ก็ใช้การนั่งหลับเท่านั้น ถ้าหากว่ามีการนั่งพิง บางทีก็ถือว่าบกพร่องในธุดงควัตรข้อนี้เช่นกัน

    โดยเฉพาะการธุดงค์นั้น พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤๅษีฯ ท่านได้แบ่งเอาไว้คร่าว ๆ ว่า มีการเดินภาวนาอย่างหนึ่ง ซึ่งกระผม/อาตมภาพถนัดแบบนี้ ในแต่ละวันกระผม/อาตมภาพจะเดินประมาณ ๔๐ กิโลเมตร ถ้าหากว่าเร่ง ๆ ก็จะเดินมากกว่านั้น เพราะว่าเดินไปภาวนาไป ทำให้ไม่รู้สึกเหนื่อย อีกประการหนึ่งก็คือเดินหาสถานที่อันเหมาะสมถูกใจตนเอง แล้วก็ไปพักปฏิบัติภาวนาอยู่ที่นั่น บางท่านก็อยู่กันเป็นพรรษาไปเลยก็มี
     
  7. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,404
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,533
    ค่าพลัง:
    +26,371
    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติมา เพื่อขัดเกลาพวกเราให้มีกิเลสลดน้อยถอยลง หรือพยายามต่อต้านกิเลส ซึ่งถ้าหากว่าอยู่ในสถานที่อันสะดวกสบายแล้ว โอกาสที่เราจะสู้เพื่อชนะกิเลสนั้นก็แทบจะไม่มีเลย

    แต่ว่าปัจจุบันนั้น การเดินธุดงค์มักจะเป็นการเดินตามถนนหลวงบ้าง เดินตามเมืองต่อเมืองบ้าง ซึ่งควรที่จะเป็นการเดินเข้าป่าไปเพื่อที่จะชำระกิเลสมากกว่า การเดินแบบนี้ก็ดี หรือว่าการเดินธุดงค์โดยมีคนโปรยดอกไม้ไปก็ตาม ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์มากนัก แต่ว่าก็ยังดีกว่าที่ทำตัวเหมือนพระธุดงค์ มีกลด มีบาตรรุงรัง แต่ว่าไปเที่ยวโบกรถเพื่อขอสตางค์ ถ้าแบบนั้น มีแต่จะสร้างความเสียหายใหญ่ในพระพุทธศาสนา

    กระผม/อาตมภาพเห็นข้อผิดพลาดเหล่านี้มามากต่อมากด้วยกัน วันนี้จึงนำมาบอกกล่าวให้ชัดเจนว่า ธุดงควัตร ๑๓ ประการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ไม่ได้บัญญัติให้ต้องยึดถือทั้ง ๑๓ ข้อ แต่ว่าให้ท่านยึดถือเพื่อฝึกฝนขัดเกลาตนเองเพียงบางข้อก็ได้ อย่างกระผม/อาตมภาพเองก็ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร ถือการบิณฑบาตไปตามลำดับบ้านเป็นวัตร การถือผ้าสามผืนเป็นวัตร เป็นต้น สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าเราปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็เป็นคุณแก่ตน แต่ถ้าหากว่าปฏิบัติผิดพลาด นอกจากเป็นโทษแล้ว ก็อาจจะสร้างความเสียหายให้กับพระพุทธศาสนาได้มาก

    สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายแก่พระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันเสาร์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...