เล่าเรื่องโพธิญาณ (การสร้างบารมีสำหรับผู้ปรารถนาโพธิญาณ)

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย Specialized, 27 มกราคม 2009.

  1. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,359
    เล่าเรื่องโพธิญาณ
    (การสร้างบารมีสำหรับผู้ปรารถนาโพธิญาณ)

    Credit : พี่โด่ง เวปวัดถ้ำเมืองนะ

    [​IMG]

    สังคมไทยในปัจจุบันนี้แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ จะมีข้อมูลระบุไว้ในทะเบียนราษฎร์ว่ามีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่จะหาผู้ที่รู้หลักธรรมคำสอน แก่นธรรมของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงนั้นน้อยมาก จนมีคำพูดหนึ่งกล่าวไว้ว่า “คนไทยนั้น จะเข้าวัดก็ต่อเมื่อมีเรื่องทุกข์ใจเท่านั้น”

    นับเป็นคำพูดที่เสียดแทงใจชาวพุทธอย่างเรายิ่งนัก <O[​IMG]เป้าหมายของพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน แต่การปฏิบัติเพื่อที่จะให้ถึงซึ่งพระนิพพานนั้นต้องผ่านการเพียรสั่งสมสร้างบุญบารมีมามากมายนัก เรียกกันว่าสำเร็จได้นั้นไม่ใช่เหตุบังเอิญ บารมีเต็มแล้วจึงสำเร็จเป็นอรหันต์สาวก อันบารมีเต็มนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกว่า บารมี ๑๐ <O[​IMG]

    เรามาดูคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องบารมี ๑๐ ประการ จากที่เคยอ่านศึกษาจากบทความธรรมะของ

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงดำ พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเคยกล่าวไว้ บารมี แปลว่า “เต็ม” ซึ่งหมายถึง “การทำให้กำลังใจเต็ม ทรงอยู่ในใจให้เต็มครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่บกพร่องทั้ง ๑๐ ประการ”

    ๑. ทานบารมี จิตพร้อมในการให้ทานเป็นปกติ
    ๒. ศีลบารมี จิตพร้อมในการทรงศีลเป็นปกติ
    ๓. เนกขัมมะบารมี จิตพร้อมในการถือบวชเป็นปกติ ในที่นี้หมายถึงบวชใจ
    ๔. ปัญญาบารมี จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหารอุปาทานให้พังพินาศไป
    ๕.วิริยะบารมี มีความเพียรในทุกขณะ ควบคุมใจไว้ได้เสมอ
    ๖. ขันติบารมี มีความอดทน อดกลั้นต่อสิ่งอันเป็นปฏิปักษ์ ทนต่อสิ่งกั้นขวางการปฏิบัติ
    ๗. สัจจะบารมี ทรงตัวไว้ว่าเราจะทำจริงทุกอย่างในด้านของการทำความดี ไม่มีคำไม่จริงสำหรับใจเรา
    ๘.อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ อธิษฐานเฉพาะเจาะจงเมื่อจะทรงความดี
    ๙. เมตตาบารมี สร้างอารมณ์ความดี ไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น
    ๑๐.อุเบกขาบารมี การวางเฉยในกาย และจิตเมื่อมันไม่ทรงตัว

    คำว่า บารมี นี่แปลว่า เต็ม เมื่อเต็มแล้วก็ต้องเต็มจริงๆ เป็นอันว่าถ้าบารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้เต็มครบถ้วนบริบูรณ์ ที่เรียกว่า ปรมัตถบารมี (สำหรับพระสาวกนะ ไม่ใช่อันดับขั้นพระพุทธเจ้า) สำหรับขั้นพระสาวกนี้ใช้อารมณ์ต่ำ อารมณ์ไม่สูงนัก ไม่ใช่ขั้นพระพุทธเจ้าต้องแยกประเด็นกันให้ชัด

    ถ้าหากว่าบารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้เป็น ปรมัตถบารมี (คำว่า ปรมัตถบารมี หมายความว่า มีอารมณ์ทรงสูงอย่างยิ่ง คำว่า อย่างยิ่งก็หมายความว่าไม่เคลื่อนไป อารมณ์ที่มีอาการตรงกันข้ามไม่เกิดขึ้นกับจิตใจของเรา)

    ถ้าบารมี ๑๐ ดังที่กล่าวมานี้ครบถ้วนบริบูรณ์ ทุกท่านก็เป็นพระอริยเจ้าขั้นพระอรหันตผล หมายถึงบารมีเต็ม
    <O[​IMG]
    เราอาจเคยสงสัยว่าในสมัยพุทธกาล ทำไมบางคนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสข้อธรรมพุทธพจน์เพียงไม่กี่คำ ก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อันที่จริงคนผู้นั้นได้ผ่านการสร้างบารมีมามากมายนักในอดีต กล่าวได้ว่าบารมี ๑๐ เต็มแล้วนั้นเอง พอมาในชาตินี้เมื่อได้พบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และได้ฟังข้อธรรมพุทธพจน์ของพระองค์จึงบังเกิดปัญญามีดวงตาเห็นธรรมเหตุปัจจัยพร้อม บารมีพร้อมทำให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในทันใด ในกรณีกลับกันสำหรับคนที่ไม่มีบารมีเก่าก่อนมาหนุนส่ง ในการปฏิบัติจริง เพื่อมรรคเพื่อผล ถ้าขาดบารมีทั้ง ๑๐ ประการแล้ว ทำอย่างไรมันก็ไม่มีผล กรณีที่บังเกิดผลที่จะมีกับกำลังใจก็ได้แค่ผลหลอกๆ คือเกิดอุปาทาน คำว่าหลอกลวงนี่ไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาไปโกหกมดเท็จใคร แต่ว่ากำลังใจมันไม่จริง
    อาจเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นในสมาธิ ขณะที่เรียกว่าหยุดได้จากความโลภ ความโกรธ ความหลง อาจจะหยุดไปเพราะอารมณ์สบายชั่วคราว แต่ทว่าเมื่อปฏิบัติต่อไปในภายหน้าเมื่อคลายจากสมาธิไป ก็จะมีทุกข์ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เช่นเดิม หรือบางครั้งอาจจะหยุดได้ด้วยกำลังของฌาน เช่น ฌานโลกีย์ กำลังใจยังดีไม่พอ ก็เอากำลังเข้าไปกดความโลภ ความโกรธ ความหลง นี่ถ้าหากว่าจะตัดกันตรงๆ ก็ต้องมาพิจารณาขันธ์ ๕ ว่ามันเป็นทุกข์ (ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ต้องอาศัยกำลังสมาธิในการตัดอุปกิเลสต่างๆ พิจารณารูป สัญญา สังขาร และวิญญาณตามความเป็นจริง ว่าทุกสิ่งมีการแปรเปลี่ยนอยู่ตลอด ไม่อยู่คงสภาพ มีความเสื่อมเป็นสรณะ พิจารณาดูให้รู้แจ้งให้เห็นตามความเป็นจริงตามกฎไตรลักษณ์นะ(เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) เราพิจารณาแบบนี้ถ้ากำลังเรามี(กำลังสมาธิ กำลังบารมี ๑๐ ดังที่กล่าวไว้ตอนต้น) อุปกิเลสขาดสิ้นทันที

    ที่ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์เพราะอะไร เพราะว่าเราขาด ทานบารมี ขาดศีลบารมี ขาดเนกขัมมะบารมี ขาดปัญญาบารมี ขาดวิริยะบารมี ขาดขันติบารมี ขาดสัจจะบารมี ขาดอธิษฐานบารมี ขาดเมตตาบารมี ขาดอุเบกขาบารมี

    เมื่อเราอ่านมาถึงตรงนี้แล้วอาจจะมีหลายท่านจะตอบว่า บารมีทั้งหลายเหล่านี้ตัวข้าพเจ้ามีครบถ้วนแล้วนี่ ที่ปฏิบัติอยู่ทุกวันนี้ก็ครบถ้วนดีอยู่แล้ว แต่ก็อย่าลืมว่าบารมีนี้จัดเป็น ๓ ชั้น คือ

    ๑. บารมีต้น เรามีทานมีศีลเหมือนกัน แต่ว่าทาน ศีลมันบกพร่อง มันไม่ครบถ้วนบริบูรณ์
    ๒. ถ้าหากว่าบารมีอันดับที่ ๒ ที่เรียกว่า อุปบารมี ทาน ศีล ของเราดีครบถ้วนแต่จิตใจยังไม่สะอาดพอ ยังไม่รักพระนิพพาน
    ๓. ถ้าหากว่าเป็น ปรมัตถบารมีแล้ว ละเอียดขึ้นมากไม่มีการหวังผลใดๆ ในโลกีย์วิสัย จะเป็นชาตินี้หรือว่าชาติหน้าก็ตามที กำลังใจของเราไม่มีการเกาะ การกระทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อพระนิพพานโดยเฉพาะ ทำด้วยจิตบริสุทธิ์

    <O[​IMG]คำว่า โพธิ ความหมายอย่างกว้าง คือการตรัสรู้ อันครอบคลุมไปถึงการเตรียมตัว หรือการสะสมความรู้ (การบำเพ็ญบารมี) ก่อนตรัสรู้ และตัวความรู้ที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า และผลการตรัสรู้ คือ ความหลุดพ้นและนิพพาน แม้ต้นไม้ที่ประทับนั่งตรัสรู้ ก็เรี่ยกว่า ต้นโพธิ์<O[​IMG]อรรถกถาต่างๆ ได้กล่าวว่า โพธิ คือ มรรค อันหมายถึง ทางปฏิบัติ เป็น ๔ ชั้น ได้แก่
    <O[​IMG]
    ๑. โสดาปัตติมรรค <O[​IMG]
    ๒. สกทาคามิมรรค
    ๓. อนาคามิมรรค <O[​IMG]
    ๔. อรหัตมรรค
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ความหมายสำคัญของคำว่า โพธิ อีกอย่างหนึ่ง คือ ความรู้ หรือ ญาณซึ่งเป็นความรู้ของพระพุทธเจ้า ๓ ประการ หรือเรียกว่า วิชา ๓ คือ
    <O[​IMG]
    ๑. ปุเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้<O[​IMG]
    ๒. จุตูปปาตญาณ เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทิพพจักขุญาณ คือ ตาทิพย์<O[​IMG]
    ๓. อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ<O[​IMG]
    ในความรู้เหล่านี้ ความรู้ที่สำคัญที่สุด คือ อาสวักขยาญาณ ได้แก่ การรู้อริยสัจ ๔ อย่างถ่องแท้ตามความเป็นจริงแล้ว จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะ คือ กามสวะ ภวาสวะ และอวิชชสวะ หรือได้แก่ การพิจรณาปฏิจจสมุปบาททั้งขบวนการเกิด(สมุทัย)และขบวนการดับ(นิโรธ) จนเห็นชัดแจ้งตามความจริง
    <O[​IMG]
    กล่าวเฉพาะอสวักขนยญาณนี้ เป็นญาณของ อเสขบุคคล คือ ความรู้ที่เปลี่ยนคนธรรมดามาเป็น อริยบุคคล เป็นพระอรหันต์ เมื่อบรรลุความรู้ขึ้นนี้แล้ว จิตหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง (วิมุตติ) กลายเป็นพระพุทธเจ้า “ชื่อว่า” พระพุทธเจ้า เพราะอรรถว่า ตรัสรูสัจจะทั้งหลาย เพราะอรรถว่า ให้หมู่สัตว์ตรัสรู้ตาม เป็นสัพพัญญู เพราะรู้ธรรมทั้งปวง
    <O[​IMG]
    ดังนั้น คำว่า โพธิญาณ จึงหมายถึง ความรู้ในการตรัสรู้ หรือความรู้ที่ทำให้ตรัสรู้ บุคคลผู้มุ่งหมายที่จะบรรลุโพธิญาณ หรือตรัสรู้ หรือผู้ที่กำลังบำเพ็ญบารมีธรรมเพื่อที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระโพธิสัตว์ บางทีก็เรียกว่า พระมหาสัตว์ หรือพระมหาบุรุษ ซึ่งหมายถึง บุคคลที่ยิ่งใหญ่กว่าผู้อื่น หรือเป็นสัตว์ที่ประเสริฐกว่าสัตว์อื่น(ในการบำเพ็ญบารมี) หรือ หมายถึงบุคคล ผู้ตักเตือน เหล่าอื่น หรือผู้ต้องการช่วยเหลือสัตว์อื่นออกจากทุกข์

    หลังจากทรงบรรลุพระโพธิญาณแล้วทรงดำริว่า ตถาคตได้บริจาคบุตรและภรรยาให้เป็นทาน และสละทรัพย์สิ่งของต่างๆ ตลอดถึงเลือดเนื้อและชีวิตบำเพ็ญบารมีมาสิ้นกาลนานถึง ๔ อสงไขย ๑๐๐,๐๐๐ กัป ก็ เพราะต้องการพระโพธิญาณนี้เท่านั้น บัดนี้ ตถาคตได้กำจัดกิเลสทั้งปวง บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ อันเป็น โลกุตตรธรรมสมปรารถนาแล้ว


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,359
    ความหมายคุณลักษณะและประเภทของพระโพธิสัตว์

    [​IMG]
    <O[​IMG]
    ในพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทนั้น พระโพธิสัตว์ คือ บุคคลผู้บำเพ็ญบารมีธรรมอุทิศตนช่วยเหลือสัตว์ผู้มีความทุกข์ยากและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พุทธศาสนาฝ่ายมหายานเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นผู้มีพลังหรืออำนาจมุ่งสู่โพธิญาณ เป็นผู้บำเพ็ญความดีหรือที่เรียกว่าบารมีธรรมอย่างยิ่งยวดเพื่อการบรรลุถึงพระโพธิญาณ การดำเนินชีวิตของพระโพธิสัตว์เป็นไปเพื่อบำเพ็ญบารมีเพื่อตนและเป็นการเสียสละช่วยเหลือผู้อื่นไปพร้อม ๆ กัน การกระทำทุกอย่างนี้ดำเนินไปได้ด้วยความรักความปรารถนาในพระพุทธภาวะอันเป็นความหมายของพระโพธิสัตว์ ด้วยความรักในพระโพธิญาณพระโพธิสัตว์จึงสามารถกระทำได้ทุกอย่าง เบื้องต้นแต่สละได้ซึ่งสิ่งของภายนอกจนถึงชีวิตและสิ่งเสมอด้วยชีวิตคือบุตรและภรรยาของตน
    <O[​IMG]
    คำว่าพระโพธิสัตว์มาจากศัพท์สองศัพท์ประกอบกันคือคำว่าโพธิ ที่แปลว่าความตรัสรู้กับสัตตะ ที่แปลว่า สัตว์ในคำที่เรียกว่าสัตว์โลก อันมีความหมายครอบคลุมทั้งมนุษย์และสัตว์เดรัจฉานซึ่งจะเห็นได้จากอดีตชาติของพระพุทธเจ้า กล่าวคือ นอกเหนือจากที่พระองค์ได้เสวยพระชาติเป็นมนุษย์แล้ว บางพระชาติพระองค์ได้เสวยพระชาติเป็นพญาวานร เสวยพระชาติเป็นช้าง เสวยพระชาติเป็นนาคราชเป็นต้น
    <O[​IMG]
    พระโพธิสัตว์ไม่ว่าจะครองสภาวะความเป็นมนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉานก็บำเพ็ญบารมีธรรมเพื่อพระโพธิญาณเป็นเป้าหมาย เพราะคำว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3967.jpg
      IMG_3967.jpg
      ขนาดไฟล์:
      86.8 KB
      เปิดดู:
      21,233
  3. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,359
    [​IMG]

    อัชฌาสัยทั้ง ๖ ประการ ที่กล่าวมาข้างต้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นลักษณะนิสัยที่เป็นพื้นฐานของพระโพธิสัตว์ เป็นองค์ประกอบที่เอื้อต่อการบรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ง่ายขึ้น
    <O[​IMG]
    อย่างไรก็ตามบุคคลผู้ปรารถนาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจำต้องผ่านการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เพื่อให้คุณธรรมเกิดความบริบูรณ์และแก่กล้าอันเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ และบุคคลผู้จะได้ชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์นั้น ต้องถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติเบื้องต้นแห่งการทำให้เป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งเรียกว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,359
    [​IMG]

    พระโพธิสัตว์ในนิกายเถรวาทมี ๓ ประเภทสำคัญ คือ

    ๑. อุคฆติตัญญูโพธิสัตว์
    ได้แก่ พระโพธิสัตว์ประเภทมีปัญญามากกว่าศรัทธา พระโพธิสัตว์ประเภทนี้ใช้เวลาบำเพ็ญบารมีน้อยกว่าพระโพธิสัตว์ประเภทอื่น เมื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วเรียกว่า พระปัญญาธิกะพุทธเจ้า
    <O[​IMG]
    ๒. วิปจิตัญญูโพธิสัตว์ ได้แก่ พระโพธิสัตว์ประเภทมีศรัทธามากกว่าปัญญา พระโพธิสัตว์ประเภทนี้ใช้เวลาในการบำเพ็ญบารมีมากกว่า อุคฆติตัญญูโพธิสัตว์ แต่น้อยกว่า เนยยโพธิสัตว์ เมื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เรียกว่า พระสัทธาธิกะพุทธเจ้า
    <O[​IMG]
    ๓. เนยยโพธิสัตว์ ได้แก่ พระโพธิสัตว์ประเภทมีความเพียรมากกว่าปัญญา ใช้เวลาในการบำเพ็ญบารมีมากกว่าทั้งสองจำพวกข้างต้น เมื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เรียกว่า พระวิริยาธิกะพุทธเจ้า
    <O[​IMG]
    สำหรับเกณฑ์การแบ่งประเภทพระโพธิสัตว์ข้างต้นนี้เป็นไปโดยอาศัยหลักดังต่อไปนี้

    ๑. ระยะเวลาในการบำเพ็ญบารมีจนกระทั่งได้ตรัสรู้ธรรมเร็วหรือช้ากว่ากัน

    ๒. อินทรียธรรมที่เป็นตัวนำในการตรัสรู้ธรรมมีมากน้อยแตกต่างกันคือ ปัญญา ศรัทธา วิริยะ
    <O[​IMG]<O[​IMG]</O[​IMG]
    กระบวนการในการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์
    <O[​IMG]
    ระยะเวลาแห่งการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ทุกองค์นั้นต้องใช้เวลาในการสั่งสมบารมีเพื่อให้เกิดความแก่กล้าเป็นเวลานาน กล่าวคือ ถ้ายังมิได้ถึงกำหนด ๔ อสงไขยแสนกัปป์หรือ ๘ อสงไขยแสนกัป หรือ ๑๖ อสงไขยแสนกัปป์อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จะให้ทานอันยิ่งเหมือนด้วยทานของพระเวสสันดรทุก ๆ วันก็ดี จะบำเพ็ญพระบารมีอันยิ่งให้เสมอด้วยทานนั้นทุก ๆ วันก็ดี ด้วยหวังจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเร็ว ๆ นั้นก็ไม่สำเร็จ อันเปรียบเสมือนต้นไม้ต้นเล็กซึ่งยังไม่ถึงเวลาแห่งการผลิตดอกออกผล แม้บุคคลจะหมั่นบำรุงรักษาโดยการในปุ๋ยหรือพรวนดินให้มากสักเพียงใดก็ไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะต้นไม้นั้นยังไม่มีภาวะแห่งความพร้อมที่จะออกผล ในระหว่างนั้นพระโพธิสัตว์ต้องพบกับความยุ่งยากต่าง ๆ นานัปการซึ่งเปรียบเสมือนข้อทดสอบความมุ่งมั่นจริงใจในการปฏิบัติ คติอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นกล้าหาญของพระโพธิสัตว์ต่อการไม่ยอมจำนนต่ออุปสรรคต่าง ๆ คือการยอมสละได้แม้ที่สุดคือชีวิต
    <O[​IMG]
    กระบวนการในการบำเพ็ญบารมีของพระโพธสัตว์เริ่มต้นขึ้นหลังจากที่พระโพธิสัตว์ประกอบพร้อมด้วยคุณสมบัติ ๘ ประการ โดยบริบูรณ์แล้ว จากนั้นพระโพธิสัตว์จึงได้เริ่มตั้งปณิธานคือ ความมั่นคง แน่วแน่ ไม่เปลี่ยนแปลง หรือความมุ่งมั่นตั้งใจจริงซึ่งในฝ่ายพุทธศาสนามหายานเรียกปณิธานของพระโพธิสัตว์นี้ว่า
    <O[​IMG]
    มหาจตุรปณิธาน
    มี ๔ ประการ คือ

    ๑. เราจะละกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้น
    ๒. เราจะตั้งใจศึกษาพระธรรมทั้งหลายให้เจนจบ
    ๓. เราจะโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้สิ้น
    ๔. เราจะบำเพ็ญตนให้บรรลุถึงอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ


    ปณิธานทั้ง ๔ ข้อนี้ กล่าวได้ว่าอยู่ในฐานะเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระโพธิสัตว์ และเปรียบเสมือนสิ่งอันเป็นเครื่องกระตุ้นความมุ่งมั่นทะเยอทะยานอันแรงกล้าในการบำเพ็ญบารมีธรรมของผู้เป็นพระโพธิสัตว์ และพระโพธิสัตว์จะต้องมีปณิธานทั้ง ๔ ข้อนี้โดยหน้าที่ของตน
    <O[​IMG]
    ข้อที่ ๑. พระโพธิสัตว์ในฐานะผู้จะตรัสรู้สัจธรรม อยู่เหนือกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายจึงต้องบำเพ็ญธรรมให้แก่กล้าอันเป็นเครื่องทำลายกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้นเพื่อทำให้ตนเองบริสุทธิ์หมดจด เป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตว์ได้
    <O[​IMG]
    ข้อที่ ๒. พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจะต้องศึกษาธรรม คือความจริงของชีวิตให้เกิดความแจ่มแจ้งแทงตลอดให้เห็นซึ่งความจริงในธรรมชาติ จะต้องเป็นผู้ขวนขวายค้นคว้าหาความรู้จนถึงที่สุดคือความรู้ทุกอย่าง (สัพพัญญุตญาณ) อันเป็นส่วนประโยชน์ตน

    ข้อที่ ๓. พระโพธิสัตว์เมื่อพัฒนาตัวเองจนถึงที่สุดกล่าว คือ เป็นผู้บรรลุพระโพธิญาณอันได้ชื่อว่า ถึงฝั่ง คือ พระนิพพานแล้ว เป็นผู้ถึงที่สุดแห่งความปรารถนาที่ได้ตั้งไว้แล้ว ก็เป็นผู้มีปัญญาความสามารถจะต้องใช้ปัญญาความสามารถนำเอาความจริงที่ได้ค้นพบนั้นไปเผยแผ่แก่มวลสัตว์ทั้งหลายผู้อยู่ในวังวนแห่งความทุกข์ ให้พบกับความสุขที่แท้จริง
    <O[​IMG]
    ข้อที่ ๔. พระโพธิสัตว์ คือ ผู้จะได้เข้าถึงแดนพุทธภูมิ ได้แก่การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตอย่างแน่นอนหากพระโพธิสัตว์มีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุถึงเป้าหมายนั้นอย่างไม่เปลี่ยนแปลง อีกทั้งความปรารถนาของพระโพธิสัตว์ที่ต้องการเข้าถึงพุทธภูมิ คือการบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนั้นเพราะต้องการช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ เพราะการช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลายของพระโพธิสัตว์เป็นการช่วยเหลือที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพมากกว่าพระอรหันต์ และพระปัจเจกพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะพระปัจเจกพุทธเจ้าไม่สามารถที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ได้เลย เพราะพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เป็นผู้มีปัญญาเห็นสัจธรรมเฉพาะตัวเอง แต่ไม่สามารถชี้แจงแสดงนัยแห่งสัจธรรมให้แก่ผู้อื่นได้เห็นตามได้โดยเหตุที่พระปัจเจกพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้นตรัสรู้แต่อรรถรสสิ่งเดียว มิได้ตรัสรู้ธรรมรสจึงมิอาจจะยกพระโลกุตตรธรรมขึ้นสู่บัญญัติได้ <O[​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      94.5 KB
      เปิดดู:
      8,634
  5. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,359
    พระโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่ยึดถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต พระพุทธเจ้าคือบุคคลในอุดมคติของพระโพธิสัตว์ที่พระโพธิสัตว์จะต้องบำเพ็ญบารมีธรรมให้ครบถ้วนบริบูรณ์ เพื่อก้าวเข้าสู่ฐานะอันเป็นความสำเร็จสูงสุดเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ แล้วดำเนินตามพุทธกิจที่พึงปฏิบัติ คือ การกระทำตามปณิธานที่ได้วางไว้ กล่าวคือ

    "จักได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วทำการช่วยเหลือสัพพสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฎฎะสงสาร"

    [​IMG]

    บารมี ๑๐ ประการของโพธิสัตว์

    การบำเพ็ญประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น เรียกว่า การบำเพ็ญคุณธรรมที่จะทำให้เป็นพระพุทธเจ้า (พุทธการกธรรม) หรือเรียกว่า บารมี บารมีธรรมที่พระโพธิสัตว์จะต้องบำเพ็ญให้บริบูรณ์มี ๑๐ ประการ คือ
    <O[​IMG]
    ๑.ทาน ได้แก่ การสละให้สิ่งที่สละให้มี ๓ ระดับ คือ
    - ทรัพย์สิ่งของภายนอก
    - อวัยวะในร่างกายของตน
    - ชีวิตตนเอง หรือสิ่งเสมอด้วยชีวิตตน คือ บุตร ภรรยา

    <O[​IMG]
    ๒ ศีล ได้แก่ คุณธรรมเครื่องปราบกิเลสอย่างหยาบ ได้แก่ กิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้ไม่สามารถยับยั้งใจไว้ได้ต้องลงมือกระทำความชั่ว ไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางวาจา ศีลที่พระโพธิสัตว์รักษามี ๒ คือ
    -นิจศีล (ศีล ๕)
    - อุโบสถศีล (ศีล ๘)

    <O[​IMG]
    ๓.เนกขัมมะ ได้แก่ การออกจากกาม มี ๒ คือ
    - ออกจากกามโดยสละบ้านเรือนออกบวช
    - ออกจากกามโดยบำเพ็ญสมาธิจนได้บรรลุญาณ

    <O[​IMG]
    ๔.ปัญญา ได้แก่ ความรอบรู้ ความรู้อย่างลึกซึ้ง มี ๓ คือ
    - สุตมยปัญญา ปัญญาอันเกิดจากการศึกษาเล่าเรียน
    - จินตามยปัญญา ปัญญาอันเกิดจากการคิดพิจารณา
    - ภาวนามยปัญญา ปัญญาอันเกิดจากการฝึกจิต อบรมจิต


    ๕.วิริยะ ได้แก่ ความพากเพียรพยายาม การกระทำอย่างต่อเนื่อง ในทางที่ถูกต้องเรียกว่า สัมมัปปธาน มี ๔ อย่างคือ
    - สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น
    - ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
    - ภาวนาปธาน เพียรทำบุญให้เกิดขึ้น
    - อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาการทำบุญไว้ต่อเนื่อง


    ๖. ขันติ ได้แก่ ความอดทนมี ๓ คือ
    - ตีติกขาขันติ ความอดทนแบบอดกลั้นต่ออารมณ์อันไม่พึงประสงค์ต่างๆ
    - ตบะขันติ ความอดทนด้วยอำนาจตะบะ คือ สมาธิข่มใจ ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจกิเลส
    - อธิวาสนะขันติ ความอดทนระงับยับยั้งไม่ให้กิเลสเกิดขึ้นเลยแม้ต้องเอาชีวิตเข้าแลก

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ๗. สัจจะ ได้แก่ ความจริง ความเที่ยงแท้ หมายถึง ความจริงใจ พูดและทำตามความคิด
    <O[​IMG]
    ๘. อธิษฐาน ได้แก่ ความตั้งมั่น ความมั่นคง ไม่หวั่นไหว ในความคิด กระทำสิ่งใดก็ทำจนบรรลุเป้าหมาย
    <O[​IMG]
    ๙. เมตตา ได้แก่ ความรัก ความปรารถนาดี ด้วยอำนาจคุณธรรม ไม่ใช่รักและปรารถนาดีด้วยอำนาจกามราคะ
    <O[​IMG]
    ๑๐. อุเบกขา ได้แก่ ความวางเฉย ความปล่อยวาง หมายถึง อาการที่จิตเป็นกลาง ไม่ยึดใน ความดีที่ตนเองได้กระทำลงไป และไม่ทุกข์ใจในการทำผิดซึ่งพลาดพลั้งเกิดขึ้น

    บารมีทั้ง ๑๐ ประการข้างต้นพระโพธิสัตว์จะต้องบำเพ็ญด้วยความเสียสละตนเองเป็นอย่างยิ่งอันเป็นส่วนของความเมตตากรุณาต่อปวงสัตว์ และจะต้องฝึกหัดบำเพ็ญบารมีอันนั้นให้เกิดเป็นความต่อเนื่อง และจะต้องปฏิบัติให้ได้ตั้งแต่ระดับสามัญ (บารมี) จนถึงระดับที่กระทำได้ยากสุด (ปรมัตถบารมี) ดังที่กล่าวไว้ตอนต้นแล้ว พระโพธิสัตว์จะต้องปฏิบัติได้เพื่อให้เกิดคุณธรรมแก่กล้าอันเป็นป็นปัจจัยให้เกิดโลกุตตรปัญญา คือความเป็นพุทธะในที่สุด และหากพระโพธิสัตว์ไม่สามารถบำเพ็ญบารมีทั้งสิบนี้ให้ครบถ้วนก็ไม่มีทางที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      90 KB
      เปิดดู:
      8,812
  6. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,359
    [​IMG]

    คุณธรรมหรือบารมีของพระโพธิสัตว์แม้มีถึง ๑๐ ประการแต่เมื่อจัดรวมเข้าด้วยกันแล้วก็มีข้อที่เป็นหลักคลุมข้ออื่นทั้งหมด ๒ อย่าง คือ

    ๑. กรุณา คือ เห็นแก่ผู้อื่น มุ่งจะบำบัดทุกข์นำสุขมาให้แก่สรรพสัตว์
    <O[​IMG]
    ๒. ปัญญา คือ ฝึกตนยิ่งขึ้นไปด้วยใฝ่รู้ตลอดเวลาให้มีปัญญารู้แจ้งธรรม มองเห็นถูกต้องว่า อะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์แท้จริงแก่สรรพสัตว์ที่ตนจะทำประโยชน์ให้


    ในขณะที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี ๑๐ ก็มุ่งหวังที่จะช่วยเหลือหมู่สัตว์ทั้งปวงให้ได้รับโลกิยะสุขเพื่อพระโพธิสัตว์ได้บรรลุความดีคือพระโพธิญาณอันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด แล้วก็คิดหวังจะช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้ได้รับโลกุตตระสุขเช่นที่พระองค์ได้รับ กล่าวคือ แม้ขณะบำเพ็ญบารมีก็ดี แม้ได้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายตามที่หวังแล้วก็ดี ทั้ง ๒ ประการนี้ก็เป็นไปเพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั้งสิ้นอันเป็นส่วนของพระกรุณา
    <O[​IMG]
    การบำเพ็ญบารมีทั้ง ๑๐ ประการดำเนินไปได้อย่างถูกต้องตามหลักวิธี และเกิดผลสัมฤทธิ์ในที่สุดก็ด้วยเหตุที่พระโพธิสัตว์รู้จักใช้ปัญญาคิดหาเหตุผลไตร่ตรองความเป็นไปของกระบวนการการบำเพ็ญบารมีว่า ในสถานการณ์ที่เผชิญนั้นควรแสดงออกอย่างไรจึงจะถูกต้องเหมาะสมและเป็นปัจจัยเอื้อให้ได้บรรลุถึงซึ่งพระโพธิญาณ ถ้าสถานการณ์นั้นทำให้พระโพธิสัตว์ไตร่ตรองแล้วว่าการสละชีวิตเท่านั้น จะเป็นทางรอดของสัตว์ผู้เผชิญความทุกข์และถูกหลักการแห่งการบำเพ็ญบารมี พระโพธิสัตว์ก็สามารถทำได้อันเป็นส่วนของพระปัญญาที่ไตร่ตรองไว้ดีแล้ว
    <O[​IMG]
    บารมี ๑๐ ประการนี้ เป็นอุดมคติธรรมของพระโพธิสัตว์ คือ เป็นธรรมที่พระโพธิสัตว์ทุกองค์ต้องบำเพ็ญเป็นหลักธรรมสำหรับยึดเหนี่ยวปฏิบัติเพื่อการบรรลุสัจธรรม กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ พระโพธิสัตว์ได้ยึดเอาหลักธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้ เป็นข้อปฏิบัติเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดปัญหา หรือความยากลำบาก ในการตัดสินใจกระทำ บารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้ เป็นคุณธรรมสำคัญที่จะทำให้พระโพธิสัตว์ได้ก้าวไปสู่ พุทธภาวะ หรือบรรลุพระโพธิญาณ พระโพธิสัตว์ได้ปฏิบัติในบารมีธรรมเหล่านั้นครบทั้ง ๑๐ อย่าง คือ ไม่น้อยกว่าหรือมากกว่า ๑๐ ประการ

    บารมีธรรมทั้ง ๑๐ ประการข้างต้นพระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญให้ครบ จะขาดเสียซึ่งข้อใดข้อหนึ่งไปไม่ได้เพราะเป็นการไม่ครบองค์คุณ ซึ่งระดับการปฏิบัติก็สามารถจัดแบ่งได้ตามคุณภาพหรือความเข้มข้นเป็น ๓ ระดับ คือ

    ๑.ระดับบารมีหรือระดับสามัญ
    ๒.ระดับอุปบารมี หรือ ระดับกลาง
    ๓.ระดับปรมัตถบารมี หรือ ระดับสูงสุด


    ระดับสามัญ เป็นระดับอันมีความยากลำบากน้อยสุดคือต้องสละวัตถุภายนอก

    ระดับปานกลาง เป็นระดับอันมีความยากลำบากกว่าระดับแรก คือต้องแลกด้วยอวัยวะทางร่างกายและสุดท้าย

    ระดับสูงสุด ซึ่งมีความยากลำบากที่สุด เพราะต้องเสียสละซึ่งชีวิตหรือสิ่งเสมอด้วยชีวิต คุณธรรมหรือพุทธการกธรรม ๑๐ ประการดังกล่าว

    พระโพธิสัตว์ต้องปฏิบัติได้ทั้ง ๓ ระดับ คือ สามัญ ปานกลาง และสูงสุด ดังนั้น การบำเพ็ญบารมีอันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณเหล่านี้จึงจัดเป็น

    บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ เมื่อรวมกันจะกลายเป็นบารมี ๓๐ ทัส

    [​IMG]<O[​IMG]


    อานิสงส์ บารมี ๓๐ ทัส ของพระนิยตะโพธิสัตว์

    พระนิยตะโพธิสัตว์ เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก จะมีอานิสงส์ ๑๘ อย่าง ตลอดจนได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่

    ๑. เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมไม่เกิดเป็นคนมีจักษุบอดมาแต่กำเนิด
    ๒. ไม่เป็นหูหนวกแต่กำเนิด
    ๓. ไม่เป็นคนบ้า
    ๔. ไม่เป็นคนใบ้
    ๕. ไม่เป็นคนง่อยเปลี้ย
    ๖. ไม่เกิดในมิลักขประเทศคือประเทศป่าเถื่อน
    ๗. ไม่เกิดในท้องนางทาสี (แต่เกิดในฐานะคนจันทาลได้ ดัง พระโพธิสัตว์ มาตังคะฤาษี ท่านเป็นบุตรคนจันทาล แต่ไม่ได้เป็นนางทาสี)
    ๘. ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฐิ
    ๙. ไม่เป็นสตรีเพศ
    ๑๐. ไม่ทำอนันตริยกรรม
    ๑๑. ไม่เป็นโรคเรื้อน
    ๑๒. เมื่อเกิดเป็นสัตว์เดียรฉาน มีกายไม่เล็กกว่านกกระจาบ และ ไม่ใหญ่ไปกว่าช้าง
    ๑๓. ไม่เกิดใน ขุปปิปาสิกเปรต นิชฌานตัณหิกเปรต และกาลกัญจิกาสุรกาย
    ๑๔. ไม่เกิดในอเวจีนรก และโลกันตนรก
    ๑๕. ไม่เกิดเป็นเทวดาใน กามาพจรสวรรค์ ไม่เกิดเป็นเทวดาที่นับเข้าในเทวดาพวกหมู่มาร
    ๑๖. เมื่อเกิดเป็นรูปพรหม จะไม่เกิดใน ปัญจสุทธวาสพรหมโลก(พรหมชั้นอนาคามี) และอสัญญสัตตาภูมิพรหม( มีแต่รูปอย่างเดียว)
    ๑๗. ไม่เกิดในอรูปพรหมโลก
    ๑๘. ไม่เกิดในจักรวาลอื่น


    อานิสงส์พิเศษ อีกอย่างหนึ่งของ นิยตโพธิสัตว์ คือ การทำอธิมุตตกาลกริยา คือเมื่อท่านเกิดเป็นเทวดาหรือพระพรหม จะเกิดความเบื่อหน่าย ในการเสวยสุขนั้น ปรารถนาที่จะสร้างบารมีในโลกมนุษย์ ท่านก็สามารถทำการอธิมุตต คืออธิษฐานให้จุติ(ตายจากการเป็นเทพ)มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ทันที ได้โดยง่าย ซึ่งเหล่าเทพเทวดาอื่นๆ ไม่สามารถทำอย่างนี้ได้

    แม้จะมีความยากลำบากเพียงไร พระโพธิสัตว์ก็สามารถปฏิบัติได้อย่างไม่ขัดเคืองใจ และกลับเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายสำหรับพระโพธิสัตว์ผู้มุ่งมั่นต่อพระโพธิญาณ อีกทั้งบุคคลผู้ได้ชื่อว่า เป็นพระโพธิสัตว์ย่อมเห็นพระโพธิญาณ เป็นสิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมด แม้กระทั่งชีวิต และสิ่งเสมอด้วยชีวิต คือ บุตร และภรรยา ไม่ใช่ว่าชีวิตและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของตนจะไม่สำคัญนะ แต่เพราะตนเล็งเห็นว่า พระโพธิญาณ มีความสำคัญกว่ายิ่งนัก เพราะเป็นหนทางที่จะทำให้ชีวิตทั้งของตนและผู้อื่นพบกับความสุขที่แท้จริงและชั่วนิรันดร์ได้ ความตั้งใจมั่นในการบำเพ็ญซึ่งบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้ยอมสละได้แม้ชีวิตตนและสิ่งอันเสมอด้วยชีวิตคือบุตรและภรรยา จึงเปรียบเสมือนการที่บุคคลได้เผชิญกับโรคร้ายซึ่งเปรียบเสมือนความทุกข์ในวัฏฏสงสาร แต่มีความประสงค์ที่จะหายขาดจากโรคร้ายนั้นซึ่งเปรียบเสมือนความต้องการที่จะพ้นจากวังวนของวัฏฏสงสาร ก็จำเป็นที่จะต้องทนทุกข์ทรมานจากการเยียวยาที่มีฤทธิ์แรงครั้งใหญ่ เพื่อกลับสู่ภาวะปกติทางร่างกายและมีความสุขดังเดิมตลอดไป ซึ่งเปรียบเสมือนกับการบรรลุถึงพุทธภาวะซึ่งหมายถึงการเข้าสู่นิพพานฉะนั้น จะเห็นได้ว่า บุคคลผู้ได้ชื่อว่า เป็นพระโพธิสัตว์นั้นคือผู้ดำเนินชีวิตเพื่ออุทิศตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างแท้จริง ตามปณิธาน ๔ ประการ (มหาจตุรปณิธาน) คือเครื่องยืนยันถึงความหมายข้อนี้ การยอมเสียสละตนเพื่อสรรพสัตว์ของพระโพธิสัตว์มิใช่เกิดมีขึ้นเพียงคราวใดคราวหนึ่งในบรรดา ๒ คราว กล่าวคือ

    ในคราวเป็นพระโพธิสัตว์กำลังบำเพ็ญบารมี พระโพธิสัตว์ก็ทรงมีกรุณาธรรมอันไร้ขอบเขตแก่ปวงสัตว์ผู้ทุกข์ยาก และในคราวเมื่อได้ตรัสรู้ธรรรมเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระโพธิสัตว์ก็มิได้ทอดทิ้งสัตว์โลกผู้มืดบอดไปด้วยอวิชชาให้เผชิญกับความทุกข์ของชีวิต แต่พระโพธิสัตว์ก็ได้ชี้หนทางเครื่องพ้นจากวังวนแห่งความทุกข์แก่มวลสัตว์ด้วยมหากรุณาคุณ พระโพธิสัตว์หาใช่อาศัยบารมีธรรมที่ตนได้บำเพ็ญช่วยเหลือสรรพสัตว์เพื่อการบรรลุพระโพธิญาณแล้วเสวยโลกุตตรสุขแต่เพียงผู้เดียวไม่ แต่เจตจำนงของพระโพธิสัตว์ในชั้นแรกคือการบำเพ็ญตนช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อให้เป็นบารมีธรรมที่สมบูรณ์ อันเป็นเครื่องค้ำหนุนให้ตนบรรลุพระสัพพัญญุตญุตญาณก่อน แล้วจึงดำเนินการช่วยเหลือสัตว์ทั้งปวงให้บรรลุความสุขอันเป็นความสุขอย่างแท้จริงเหมือนที่ตนได้บรรลุถึงเป็นชั้นที่สองต่อไป

    จุดมุ่งหมายสูงสุดในการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์คือ การได้บรรลุถึงพุทธภาวะอันได้แก่การได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า การเข้าถึงพุทธภาวะเป็นสิ่งพึงปรารถนาของพระโพธิสัตว์ เพราะความเป็นพระพุทธเจ้าเป็นอุดมภูมิที่อยู่ในอุดมคติของพระโพธิสัตว์ทุกองค์ การบำเพ็ญบารมีทุกครั้งพระโพธิสัตว์จะปรารภถึงพุทธภูมิ การบำเพ็ญบารมีแต่ละคราวนั้นพระโพธิสัตว์มิได้หวังผลอย่างอื่นเป็นจุดมุ่งหมายหลักอันเบี่ยงไปจากความปรารถนา พระสัพพัญญุตญาณ

    ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า ความปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณ ก็คือ ความปรารถนาความสุขให้เกิดแก่มวลสรรพสัตว์เพราะการหวังที่จะได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ คือ ความต้องการที่ช่วยเหลือสัตว์ทั้งมวลให้พ้นจากทุกข์อันเป็นทุกข์ประจำ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อย่างถูกวิธี แต่ทั้งนี้พระโพธิสัตว์มีความจำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือตัวเองพัฒนาตัวเองให้สามารถเป็นที่พึ่งของตัวเองได้เสียก่อน จึงจะสามารถแนะนำหรือช่วยเหลือผู้อื่นได้ อุปมาเหมือนบุคคลจะช่วยเหลือผู้อื่นขึ้นจากตมได้นั้น จะต้องช่วยเหลือตัวเองให้พ้นจากตมนั้นเสียก่อน ฉะนั้น พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีธรรมทั้งหลายด้วยมีความปรารถนาพระโพธิญาณเป็นเหตุปรารภทำให้พระโพธิสัตว์มีความมุ่งมั่นจริงใจต่อวัตรปฏิบัติในบารมี ในขณะเดียวกันบารมีธรรมทั้งหลายก็เป็นเหตุแห่งความสัมฤทธิ์ คือ การบรรลุพระโพธิญาณ จึงกล่าวได้ว่า การบำเพ็ญบารมีธรรมกับความใคร่ปรารถนาซึ่งพระโพธิญาณเป็นเหตุปัจจัยหนุนเนื่องแก่กันและกันให้เกิดขึ้น (บังเกิดความอยากให้สัตว์ทั้งหลายพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง)

    เมื่อกล่าวถึงจุดมุ่งหมายแห่งการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์แล้วจะเห็นได้ว่าย่อมเป็นไปเพื่อ..

    ๑. การตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระโพธิสัตว์เองก่อน

    ๒. การรื้อขนปวงชนทั้งหลายทั้งปวงออกไปจากห้วงทุกข์ระทมแห่งการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
    <O[​IMG]
    จุดมุ่งหมายทั้งสองนี้เป็นสิ่งที่บุคคลผู้เป็นพระโพธิสัตว์มีเหมือนกัน เพราะพระโพธิสัตว์ทุกองค์ได้ชื่อว่าเป็นนิยตโพธิสัตว์คือสัตว์ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอนหากไม่ละทิ้งความพยายามเสียก่อนในระหว่างสร้างบารมี(เรียกว่าอธิษฐานลาพุทธภูมิ) จะต้องทำหน้าที่ของความเป็นพระโพธิสัตว์
    <O[​IMG]




    <O[​IMG]


    <O[​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      101.3 KB
      เปิดดู:
      8,537
    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      150.2 KB
      เปิดดู:
      12,151
  7. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,359
    ปัจจุบันพระคณาจารย์ที่ตั้งจิตมุ่งสู่พุทธภูมิ ... ปรารถนาโพธิญาณเพียรสร้างบารมีเพื่อช่วยสรรพสัตว์ มีมากมายหลายท่าน และมีอยู่ท่านหนึ่งที่ผมที่ได้รับรู้ถึงปฏิปทาแนวทางการปฏิบัติด้านโพธิญาณเด่นชัดมาก นั้นคือ

    [​IMG]

    พระเดชพระคุณหลวงตาม้า วิริยะธโร วัดพุทธพรหมปัญโญ (วัดถ้ำเมืองนะ) อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

    หลวงตาม้า วิริยะธโร ท่านเป็นศิษย์สืบทอดแนวทางการปฏิบัติของ

    [​IMG]

    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา

    หลวงตาท่านเคยกล่าวไว้ว่า

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    [​IMG]

    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนามิค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      173.7 KB
      เปิดดู:
      8,379
    • DSC07061.jpg
      DSC07061.jpg
      ขนาดไฟล์:
      200.8 KB
      เปิดดู:
      382
    • DSC07094.jpg
      DSC07094.jpg
      ขนาดไฟล์:
      150.6 KB
      เปิดดู:
      364
  9. กสิณี

    กสิณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2009
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +333
    ข้าพเจ้าขออนุโมทนาบุญของพระโพธิสัตว์ทุกๆ พระองค์ด้วยค่ะ
     
  10. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,166
    กระทู้เรื่องเด่น:
    25
    ค่าพลัง:
    +29,754
    มหาอนุโมทนา สาธุ

    OOOOOOOOOOOOO



    ขอเฝ้าดู ความสำเร็จของทุกๆท่าน
     
  11. jiwcrop

    jiwcrop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +792
    ขออนุโมทนากับพระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์และสำหรับข้อมูลดีๆเช่นนี้ด้วยนะครับ สาธุ
     
  12. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,751
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    ขอบคุณมากครับ
     
  13. F-5E

    F-5E เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +964
    อนุโมทนา สาธุครับ ฟ้งเรื่องการสร้างบารมีของพระพุทธองค์แล้วเป็นปิติยิ่งนัก
     
  14. มาร-

    มาร- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    262
    ค่าพลัง:
    +487
    สาธุ สาธุ สาธุ

    ดีแล้ว ชอบแล้ว



    สาธุ สาธุ สาธุ

    _______________________________________________

    บุญกุศลเหล่าใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำจัก จำได้ก็ดี จำไม่ได้ก็ดี ร้อยชาติก็ดี หมื่นชาติก็ดี อสงไขย์ชาติก็ อนันตชาติก็ดี ..........................

    ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมอำนาจพระพุทธคุณอันไม่มีประมาณแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ทั่วทั้งอนันตจักวาลที่มิได้มีประมาณ ทั้ง อดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยมี ภันเต ภควา องค์พระสิริมิตร องค์พระธรรมสามี พระธรรมราชา สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิขี ทศพล ญาณที่1 สมเด็จองค์พระปฐมเป็นสมเด็จองค์พระประธาน แห่งองค์พระพุทธคุณ

    ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมอำนาจคุณพระธรรม พระสัจธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ อันไม่มีประมาณ เป็นองค์พระธรรมคุณ

    ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมอำนาจแห่งองค์พระปัจเจกพุทธคุณ แห่งองค์พระปัจเจกพุทธเจ้า ทุกๆพระองค์ ทั่วทั้งอนันตจักวาล ทุกกาล ทุกกัปป์ ทั้ง อดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็น องค์พระปัจเจกพุทธคุณ

    ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมอำนาจ แห่งคุณพระสงฆ์ พระสาวกแห่งพระผู้มีพระภาค องค์ภันเต ภควา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ทั่วทั้ง อนันตจักวาล อันไม่มีประมาณ อันหาที่สุด มิได้ เป็น พระสังฆคุณ

    ข้าพระพุทธขอน้อมอำนาจ คุณบิดา คุณมารดา พระอรหันต์แห่งบุตรของสรรพสัตว์ทั้งหลาย และของข้าพเจ้าทุกๆชาติ ทุกๆภพ ทุกๆภูมิ เป็น คุณแห่งบิดาและมารดา

    ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมอำนาจแห่งคุณพระอาจารย์ ทุกๆรูป ทุกๆนาม ทุกๆภพ ทุกๆภูมิ ตลอด อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ที่ได้ประสิทธิประสาท วิชา สั่งสอนในคุณความดี ตั้งมั่นใน มรรค มีองค์ 8 เป็น คุณแห่งครูบาอาจารย์

    ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมอำนาจแห่งคุณของ พระพรหม และเทพ เทวดา พระยายมราช ทุกรูป ทุกนาม ทุกๆชั้นฟ้า ทั้วทั้ง อนันตจักวาล สากลพิภพ อันไม่มีประมาณ จงร่วมกันบันดาล ปกป้องรักษาและอนุโมทนา

    ขออำนาจแห่งพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระปัจเจกพุทธคุณ พระสังฆคุณ คุณแห่งบิดา มารดา คุณแห่งครูบาอาจารย์ และ ทวยเทพเทวดาทั้ง โปรดดลบันให้....
    กุศลผลบุญ เหล่าใด ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้ทำมา ได้บำเพ็ญมาโดยชอบ จำได้ก็ดี จำมิได้ก็ดี ข้าพระพุทธเจ้าขออุทิศกุศลเหล่านั้น แด่ สรรพสัตว์ทั้งหลาย ทุกรูป ทุกนาม ทุกภพ ทุกภูมิ ขอให้ได้ร่วมอนุโมทนา ขอให้มีส่วนร่วมในกองกุศลของข้าพเจ้า

    ธรรมเหล่าใด ยังประโยชน์แก่ข้าพเจ้าฉันใด
    ธรรมเหล่านั้นจงถึงพร้อมแด่สรรพสัตว์ทั้งหลายฉันนั้น
    เพื่อยังผลให้ที่สุดแห่งกองทุกข์ จงหมดสิ้นไปด้วยเทอญ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กุมภาพันธ์ 2009
  15. emperron

    emperron เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +432
    มาฆบุญยมาส เหล่าเทวะราชพาสร้างกุศล เหล่าประชาพากันทำบุญ ทุกๆๆคนต่างปลืมปิติปรีดา
    อิ่มบุญอิ่มกุศลพากันสร้าง ต่างพากันถวายบังคมพระศาสดาจารย์ อนุโมทนาทานในวันมาฆบูชาด้วยครับ เจริญพร
     
  16. ธ.เธียรไท

    ธ.เธียรไท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    612
    ค่าพลัง:
    +1,735
    [​IMG] <!-- / controls -->
     
  17. รัตนภูมินทร์

    รัตนภูมินทร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +319
    ขออนุโมทนาบุญให้แก่พระโพธิสัตว์ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า
    และพระโพธิสัตว์องค์อื่นๆที่กำลังบำเพ็ญเพียรเพื่อที่ได้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลต่อไป ครับ
     
  18. dabos29

    dabos29 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +53
    ขออนุโมทนาบุญกับชาวพลังจิตทุกท่านเลย
    ขอความสุขความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกท่านด้วยครับ
    พอเป็นก็เป็นสุข
     
  19. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,788
    ค่าพลัง:
    +83,815
    พระอาจารย์น้อย วัดโป่งสวรรค์ อ.พยุหคีรี จ.นครสวรรค์ ผู้ปราถนาโพธิญาณ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04261.jpg
      DSC04261.jpg
      ขนาดไฟล์:
      72.5 KB
      เปิดดู:
      204
  20. kanlaya_tae

    kanlaya_tae สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +24
    การช่วยเหลือเกื้อกูลและร่วมอนุโมทนาบุญกับคนๆหนึ่งที่ปรารถนาพุทธภูมิ
    มีผลอย่างไรผู้ใดทราบช่วยบอกด้วยค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...