หมวดพระอริยเจ้า : พระอนาคามี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย albertalos, 24 มีนาคม 2009.

  1. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    <TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    หมวดพระอริยเจ้า : พระอนาคามี
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>การปฏิบัติเพื่อพระอนาคามี <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD vAlign=top>การปฏิบัติเพื่อพระอนาคามีมรรค

    สำหรับวันนี้ ก็จะขออธิบายเรื่องการปฏิบัติถึงการเป็นพระอนาคามีมรรค เป็นการสืบต่อจากวันก่อน ก็เพราะว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทจะศึกษาในการปฏิบัติ หรือว่าเวลาที่น้อมจิต หรือพิจารณาพระกรรมฐานในด้านการปฏิบัติตามแบบฉบับที่เขาปฏิบัติกันมา ในอันดับแรกให้ทวนต้นไว้เสมอเพื่อทรงอารมณ์ให้เป็นปกติ ผลแห่งการปฏิบัติที่จะมีผลจริงๆ นี่เราหมายถึงว่าเอาผลกันจริงๆ ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ นั่นเขาใช้อารมณ์พิจารณาเป็นสำคัญ การใช้อารมณ์ภาวนานี่เป็นการยับยั้งจิตไม่ให้มีอารมณ์ฟุ้งซ่านเท่านั้นเอง

    ตอนนั้นการยับยั้งจิตให้มีอารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านเป็นอารมณ์ของฌาน เป็นบันไดที่จะก้าวไปสู่วิปัสสนาญาณ การทรงจิตเป็นฌานยังไม่ใช่มรรคไม่ใช่ผล แต่ทว่าเราก็ทิ้งไม่ได้ นักปฏิบัติต้องประกอบกิจ ๓ อย่างพร้อมกัน คือ

    อธิศีลสิกขา มีศีลบริสุทธิ์ คำว่า บริสุทธิ์ นี้ไม่ใช่สักแต่ว่าบริสุทธิ์เฉพาะเวลามานั่งภาวนา ต้องบริสุทธิ์ตลอด ๒๔ ชั่วโมง อธิจิตสิกขา ต้องมีสมาธิทรงตัว มีจิตน้อมอยู่ในด้านของกุศลตลอดเวลา คำว่าสมาธิแปลว่าการตั้งใจ ว่าตั้งใจไว้เฉพาะจุดเดียวคืออารมณ์ที่เป็นกุศล อารมณ์ที่เป็นกุศลมีมากอย่าง จะเป็นอะไรก็ช่างตามที่เราต้องการ จุดนั้นเราจะนึกไว้เสมอ อธิปัญญาสิกขา พิจารณาตามแบบฉบับในระดับของสังโยชน์ที่เราจะพึงตัด แล้วก็ทรงอารมณ์ที่เป็นกุศล จำที่จะต้องเข้าถึงในขณะนั้น

    ถ้าอารมณ์ทรงตัวแบบนี้หมายความว่าขณะใดที่จิตคิดอยู่ในด้านของกุศล ขณะนั้นชื่อว่าจิตของเราทรงศีล ทรงสมาธิ แล้วถ้ามีปัญญาพิจารณาความเป็นจริงจากขันธ์ ๕ ว่า ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัส ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ รู้จักว่านับตั้งแต่เกิดมาถึงวันตายไม่มีอะไรเป็นสุข

    แล้วทุกข์ตัวนี้มาจากไหน ทุกข์ตัวนี้มาจากตัณหา คือความทะยานอยาก จิตติดอยู่ในโลกีย์วิสัย มีอุปาทานเป็นเครื่องยึดมั่นถือมั่นว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา หรือว่ามีจิตเรายึดมั่นถือมั่นในร่างกายว่า มันเป็นเรา เป็นของเรา ก็เลยลืมความตาย จิตก็ประกอบไปด้วยความชั่วที่เรียกว่า อกุศล คำว่าอกุศลนี่เขาแปลว่าไม่ฉลาด สร้างกรรมที่มันเป็นปัจจัยให้เกิดความเดือดร้อนทั้งเราและบุคคลอื่น อย่างนี้เป็นอกุศล อารมณ์ของเราจะต้องไม่จับอย่างนี้ จะต้องทำลายความอยากประเภทนี้เสีย

    ใช้ปัญญาพิจารณาหาความเป็นจริงจากขันธ์ ๕ ว่าขันธ์ ๕ มันเป็นเราจริงรึ หรือว่าเป็นของเรา ถ้ามันเป็นเราจริง เป็นของเราจริง ตั้งแต่วันเกิดจนถึงวันนี้เราเคยคิดอยากจะตายบ้างไหม เคยคิดอยากจะป่วยบ้างไหม คิดอยากจะให้ร่างกายมันร้อนจัดมีบ้างไหม คิดอยากจะให้ร่างกายมันหนาวจัดมีบ้างไหม และคิดบ้างหรือเปล่าว่า เราต้องการการกระทบกระทั่งจากคำวาจาของบุคคลอื่นที่เป็นที่ไม่ชอบใจของเรามีบ้างไหม หรือว่าเราต้องการการกระทำของบุคคลอื่นที่ไม่ถูกใจเรามีบ้างไหม อาการอย่างนี้จิตเราไม่เคยคิดอยากจะได้ แต่ว่ามันมีบ้างไหมล่ะ อาการอย่างนี้มันปรากฏแก่เราบ้างไหม ถ้ามันปรากฎก็แสดงว่าร่างกายนี่มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา

    นี่ใช้ปัญญากันแบบย่อๆ เรียกว่าใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา เป็นการตัดตัวเกิด หรือการตัดตัวทุกข์ ถ้าตัดตัณหาได้มันก็ตัดทุกข์ได้ ถ้าตัดตัณหาไม่ได้มันก็ตัดตัวทุกข์ไม่ได้ ตัณหาที่มีความสำคัญที่สุดก็คืออยากเกิด ถ้าขณะใดที่มีความอยากเกิด อยากทรงอยู่ ไม่อยากตาย ขณะนั้นไม่มีทาง ยังต้องเกิดรับทุกข์ต่อไปจนกว่าจะมีปัญญาพิจารณารู้ตามความเป็นจริง เรื่องนี้ขอยกไว้

    ทีนี้ ก่อนที่เราจะพูดกันถึงพระอนาคามี ย้อนถอยหลังไปอีกนิด ว่าการที่จะทรงอารมณ์เป็นพระโสดาบัน เขาทรงด้วยกรรมฐานอะไรบ้าง กรรมฐานทั้งหมดนี่ไม่ต้องไปนั่งหลับตาก็ได้ ให้จิตมันนึกไว้เสมอ ลืมตาอยู่ทรงอารมณ์อยู่ ให้มันนึกไว้เสมอ เวลาทำงานทำการก็ทำไป จิตอยู่ในการงาน เวลาจะพูดเรื่องอะไรที่เป็นสาระก็ให้จิตอยู่ในเรื่องของการพูด หยุดพูดหยุดทำน้อมจิตคิดถึงอารมณ์ต่อไป บุคคลที่จะเป็นพระโสดาบันตัดสักกายทิฏฐิได้เล็กน้อย นั่นก็คือนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ความเมาในชีวิตในร่างกายยังมีอยู่ แต่ไม่ลืมความตาย ยังรักสวย ยังรักงาม แต่ทว่าก็คิดว่าความสวยความงามนี่ในไม่ช้ามันก็พังสลายตัวไป

    ก็มีอารมณ์ไม่ประมาทในชีวิต คือว่าการตายคราวนี้จะต้องเกิด ถ้ามันจำจะต้องเกิดจริงๆ ก็ให้มันเกิดดีกว่านี้ แต่เนื้อแท้จริงๆ แล้ว เราไม่ต้องการเกิด สิ่งที่เราต้องการคือพระนิพพาน ถ้าอารมณ์จับพระนิพพาน นึกถึงพระนิพพานอย่างนี้ ท่านเรียกว่า อุปสมานุสสติกรรมฐาน การนึกถึงความตายไว้เป็นปกติ เรียกว่า มรณานุสสติกรรมฐาน

    ทีนี้เมื่อจิตเราจับพระนิพพานแล้ว เราก็ต้องดูต่อไปว่า คนที่จะก้าวไปสู่พระนิพพานเขาใช้อะไรบ้างเป็นเบื้องต้น อันดับแรกก็นึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พุทธานุสสติกรรมฐาน ยอมรับนับถือคำสั่งคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่า ธัมมานุสสติกรรมฐาน ยอมรับคุณสมบัติที่ทรงซึ่งความดีไว้ของพระสงฆ์เรียกว่า สังฆานุสสติกรรมฐาน และจิตใจของเราก็ตั้งไว้เสมอว่าจะทรงศีลให้บริสุทธิ์ ว่าถ้าศีลของเราไม่บริสุทธิ์ เราก็ต้องมีโอกาสไปอบายภูมิ ขึ้นชื่อว่าอบายภูมิทั้ง ๔ มีนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉาน เราไม่ยอมไป เราจะไม่ไปได้ก็เพราะอาศัยมีศีลบริสุทธิ์ มีกำลังใจควบคุมศีลอยู่เป็นปกติไม่พลาดจากจิต อย่างนี้เรียกว่า สีลานุสสติกรรมฐาน

    แล้วก็พิจารณาต่อไปว่าศีลจะทรงอยู่ได้ เพราะอาศัยอะไรเป็นเครื่องควบคุม ก็เพราะอาศัยพรหมวิหาร ๔ ถ้าเรามีพรหมวิหาร ๔ ศีลไม่บกพร่อง สมาธิก็ทรงตัว อย่างนี้ใช้พรหมวิหาร ๔ เป็นกรรมฐานก็เรียกว่าพรหมวิหาร ๔ ทรงตัว ทีนี้พรหมวิหาร ๔ จะทรงได้ดีจริงๆ อาศัยอะไรเป็นสำคัญ อาศัยหิริและโอตตัปปะ คือ หิริ ความอายต่อความชั่ว โอตตัปปะ เกรงกลัวผลของความชั่วจะให้โทษเป็นทุกข์ อาการอย่างนี้ เมื่อจิตทรงได้อย่างนี้จริงๆ ก็ชื่อว่าเป็นพระโสดาบัน

    นี่ความจริงไม่ต้องไปนั่งหลับตาก็ได้ ให้จิตมันทรงอารมณ์อยู่อย่างนี้เป็นปกติ นั่งหลับตา อ่านตำรา ฟังเทศน์ พอเลิกแล้วจิตคิดอยากจะอิจฉาคนโน้น อยากจะด่าคนนี้ อยากจะว่าคนนั้น อยากจะกลั่นแกล้งคนนี้ อย่างนี้หลับตาไปสักกี่แสนชาติ มันก็ลงอบายภูมิทุกชาติ ไม่เกิดประโยชน์ ประโยชน์ที่จะเกิดจริงๆ ก็คืออารมณ์จิตที่ทรงตัว ทีนี้ถ้าหากว่าจะทำอย่างนี้จิตจะเป็นฌานไหม มันก็ต้องเป็นฌาน ฌานัง เขาแปลว่า การเพ่ง หมายความว่าจิตจับอยู่ในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วทุกอย่างนี่มันอยู่พร้อมๆ กัน ไม่ใช่ไล่เบี้ยทีละอย่าง จิตมันทรงตัวอยู่เป็นปกติ อารมณ์จะเป็นขนาดไหนก็ตามเราจะไม่ยอมละเมิดสิ่งทั้งหมดตามที่กล่าวมา

    จิตมีสภาพทรงตัว คิดอยู่เสมออย่างนี้เขาเรียกว่า ฌาน ฌานนั่งหลับตานั่นไม่ใช่ฌานจริง มันต้องฌานลืมตา หลับตาหรือลืมตามีสภาวะจิตเสมอกัน ถ้าทำกิจการงานอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็ตาม อารมณ์จิตมีความเยือกเย็นตามที่กล่าวมาแล้ว อารมณ์ที่กล่าวมาแล้วนี่เป็นอารมณ์แห่งความเยือกเย็น เมื่อทรงตัวได้อย่างนี้เป็นปกติ ท่านก็เรียกว่าพระโสดาบัน ไม่เห็นจะมีอะไรยาก

    คราวนี้สำหรับพระสกิทาคามี มีอารมณ์เช่นเดียวกับพระโสดาบัน ถ้าสกิทาคามีมรรค ก็เพิ่มกำลังรวบรวมกำลังจิตที่เป็นพรหมวิหาร ๔ ให้ทรงตัวแข็งกร้าวขึ้น เพราะว่าพระโสดาบันยังมีความรักในเพศ ยังมีความโลภ ยังอยากรวย แต่ไม่ละเมิดศีล ยังมีความโกรธ แต่ฆ่าเขาไม่ได้ เพราะเกรงศีลจะขาด ยังมีความพยาบาทจองล้างจองผลาญ แต่ไม่ทำ ยังมีความหลงใหลใฝ่ฝันในรูปโฉมโนมพรรณ แต่ไม่ลืมความตาย จะเห็นว่าอารมณ์ของพระโสดาบันไม่มีอะไรมาก เป็นชาวบ้านชั้นดี

    ทีนี้มาพระสกิทาคามี สกิทาคามีมรรคนะยังไม่ผล สกิทาคามีมรรคก้าวขึ้นมาอันดับแรก จิตก็ทรงพรหมวิหาร ๔ เป็นกรณีพิเศษ นอกจากจะโกรธไม่ทำอันตรายเขาในด้านพระโสดาบันกำลังใจสูงขึ้นเป็นอภัยทาน ใครเขาทำให้เราโกรธ เราโกรธ ไม่ใช่ไม่โกรธ ถ้าสกิทาคามียังมีโกรธ และโกรธแล้วก็คิดจองด้วยยังมีการจองผูกโกรธเขาไว้ ทีนี้กำลังใจอีกส่วนหนึ่งมันแทรกสูงขึ้นมา คือพรหมวิหาร ๔ เมื่อเวลาใครเขาทำความไม่ดีให้เราโกรธเป็นที่ไม่ถูกใจ โกรธแล้วมีอารมณ์คลายลง มันก็ช้าหน่อยไม่ได้คลายทันที นึกน้อมลงไปอีกทีว่า เออ คนที่ทำให้เราโกรธนี่น่าสงสาร และคนที่ทำความชั่วนี่เป็นเหยื่อของอบายภูมิ

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=154>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>เขาต้องตกนรก มันแสนจะลำบาก ร้อนก็ร้อน ไฟร้อนกว่าไฟธรรมดาหลายล้านเท่า ยังมีสรรพาวุธมาสับฟันอีก นี่เขาต้องมีโทษหนัก ทุกขเวทนาหนัก พ้นจากนรกมาเป็นเปรต แสนจะลำบาก นับด้วยพันด้วยหมื่นด้วยแสนชาติ จนกว่าจะพ้นหมื่นแสนกัปนะไม่ใช่ชาติ แล้วต้องมาเป็นอสุรกาย เต็มไปด้วยความหิวโหย ต้องมาเป็นสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งไม่มีใครให้สิทธิใดๆ ทั้งหมด อาจถูกเขาปล่อยให้อดตายบ้าง ถูกเขาข่มเหงคะเนงร้ายบ้าง ไม่มีกฎหมายเป็นเครื่องควบคุม</TD></TR></TBODY></TABLE>จิตคิดอยู่ว่าคนที่มีอารมณ์ชั่วอย่างนี้เป็นคนที่น่าสงสาร ปล่อยเขาตบมือไปข้างเดียว ให้เขาชั่วไปฝ่ายเดียว เราไม่ยอมชั่วด้วย กรรมใดที่เขาทำ ให้เป็นเครื่องเจ็บใจ กระทบกระเทือนใจ เราให้อภัย อย่าลืมว่าไอ้ตอนให้อภัยตรงนี้กว่าจะให้ได้ก็ต้องใช้เวลาสองวัน สามวัน หรือสองชั่วโมง สามชั่วโมง แต่เร็วเข้ามา มันยังมีโกรธ ยังมีพยาบาท แต่ก็มีอารมณ์ให้อภัยทาน ไม่ถือโทษไม่เอาผิดกับเขา ให้อภัยเขา แต่อย่าลืมนะว่า ยังมีความโกรธยังมีความพยาบาท นี่เป็นสกิทาคามีมรรคเบื้องต้น

    ทีนี้ พระสกิทาคามีมรรคเบื้องปลาย ตามพระบาลีท่านบอกว่า พระสกิทาคามีบรรเทาความโลภ บรรเทาความโกรธ บรรเทาความหลง บรรเทาตรงไหน ทำยังไง บรรเทาความโลภ เราก็มีจาคานุสสติกรรมฐานเป็นกำลังใจ แทนที่จะโลภอยากได้ กลับเป็นอยากให้เขา การแสวงอาชีพด้วยสัมมาอาชีวะ ท่านไม่กล่าวว่าเป็นความโลภ ได้มาอารมณ์ใจคลายในการติดในสมบัติ การหามาเพื่อเลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงสามีภรรยา มีความจำเป็นต้องหา การหาด้วยสัมมาอาชีวะ เขาจ้างเราให้เงินเดือนถูกให้เงินเดือนแพงให้ทำความดี ไม่ใช่ความโลภ การค้าขายลงทุนน้อย ได้กำไรมามาก มีฐานะสูงขึ้น แต่ว่าเป็นการค้าเต็มไปด้วยความสุจริต ไม่ใช่เอาของเลวมาบอกเป็นของดี การซื้อขายบอกราคากันตามปกติ เขาพอใจ เขาเอาไป ได้กำไรมากได้กำไรน้อยไม่สำคัญ อย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นความโลภ เป็น สัมมาอาชีวะ

    ทีนี้สำหรับทรัพย์สินที่ได้มา พระโสดาบันยังเกาะมาก แต่ว่ามาถึงพระสกิทาคามีนึกอยู่เสมอว่าชีวิตอยู่จำเป็นจะต้องใช้จะต้องหา แต่อารมณ์หนึ่งก็คิดว่าไอ้มันกับเราไม่ช้าจะต้องจากกัน ไม่ช้าไม่มันก็เราไปกันข้างหนึ่ง จิตใจมันก็เพลาจากการยึด ไม่ใช่ว่าเพลาจากการหา หาอยู่ตามปกติ แต่ยึดถือว่ามันเป็นเราเป็นของเรา มันกับเราจะนอนกอดกันอยู่ตลอดเวลา ไม่ตายจากกัน ไม่พรากจากกัน อันนี้ไม่มี คิดไว้เสมอว่า มันกับเราไม่ช้าก็สลาย ต่างคนต่างไป ก็มีกำลังใจคิดด้วยความไม่ประมาท

    สำหรับความโกรธ พระสกิทาคามีเคร่งครัดในพรหมวิหาร ๔ ในด้านอภัยทาน ถ้ามีอภัยทาน มันบรรเทาลงแล้ว ความโกรธบรรเทาไม่ใช่หมด ด้านความหลงในร่างกายก็พิจารณาแล้วนี่ว่าไอ้ร่างกายนี่มันสวยงดงามก็จริง แต่ทว่ามันเต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก ไม่มีการทรงตัว ตอนนี้ก็ต้องใช้กายคตานุสสติ กับอสุภกรรมฐานมีอารมณ์เข้มแข็งขึ้น เป็นอันว่า พระสกิทาคามีต้องเพิ่มจาคานุสสติกรรมฐานเข้ามา ในด้านสมถะภาวนา เพิ่มพรหมวิหาร ๔ ให้มีกำลังสูงขึ้น และก็เพิ่มกายคตานุสสติ กับอสุภกรรมฐานเข้ามาอีก เป็นกำลังใจเป็นปกติ

    จิตก็พร้อมที่จะคิดอยู่ว่า อัตภาพร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา โลกเป็นของไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงมันก็เป็นทุกข์ ในที่สุดมันก็ต้องสลายตัว เราจะไม่นั่งมัวเมาในทรัพย์สินยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเราอยู่เพื่อประโยชน์อะไร แต่ก็ยังเกาะ แต่ก็ปล่อยง่าย ให้ง่าย สงเคราะห์ง่าย ให้อภัยทานง่าย เห็นร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหมดเต็มไปด้วยความสกปรก แต่บางครั้งมันก็สวยบางครั้งก็เป็นที่ปรารถนา แต่ว่าจิตถอยออกมาห่างได้ง่ายๆ ยังไม่ถึงกับหมดเลย นี่เป็นวิสัยของพระสกิทาคามีเรียกว่า สกิทาคามีผล

    ถ้าจิตทรงได้แบบนี้ อ้าว เวลามันจะหมดเสียแล้ว เป็นอันว่าเรื่องพระอนาคามีก็เลยยังไม่ต้องพูดกัน แซมไว้สักนิดว่าถ้าเราจะปฏิบัติเพื่อความเป็นพระสกิทาคามี นี่ถ้าไต่เต้าขึ้นไปอย่างนี้ล่ะมันไม่ยาก เพราะว่าขึ้นไปทีละขั้น ไปถึงพระอนาคามีเพิ่มอะไร เรามีมาแล้วทั้งหมด พระอนาคามีมีสิ่งที่เพิ่มสำคัญที่สุดในด้านสมถะภาวนา สำหรับวิปัสสนาภาวนาต้องเป็นไปปกติ คือต้องพิจารณาขันธ์ ๕ ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ตามที่กล่าวมา ให้จิตมันทรงตัว เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมันก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ตัวนี้มีกำลังทรงตัวมากขึ้น

    อารมณ์ที่เพิ่มเข้ามาพิจารณาอีก นั่นก็คือกายคตานุสสติ กับอสุภกรรมฐาน ตอนนี้ต้องมีอารมณ์ทรงตัว ทรงตัวมากขึ้นกว่าพระสกิทาคามี เพราะเป็นการตัดกามราคะให้เด็ดขาด ควบกับวิปัสสนาญาณ แล้วก็ใช้พรหมวิหารและกสิณ ๔ เคร่งครัดยิ่งขึ้น คำว่าเคร่งนี้ไม่ใช่ว่านั่งหลับตาทั้งวันทั้งคืน อย่างนี้ใช้ไม่ได้ หลับตาทั้งคืนทั้งวันนี่ใช้ไม่ได้ ต้องอารมณ์ปกติมันมีความรู้สึกอยู่ คืออารมณ์ปกติของกายเห็นว่าร่างกายสกปรก มันเป็นชิ้นเป็นท่อนเหมือนกับส้วมเดินได้ แล้วก็การโกรธกัน อาการพยาบาทกันไม่มีประโยชน์อะไร คนเต็มไปด้วยความทุกข์ มันต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายอยู่แล้ว มันก็มีความทุกข์ ไม่ควรจะทำมัน เป็นอันว่าเรื่องพระอนาคามีเอาไว้วันพรุ่งนี้ เวลาพูดหมดแล้ว

    ต่อจากนี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

    จากหนังสือทางสายเข้าสู่พระนิพพาน (ตอนที่ ๗) หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี [​IMG]
    ตัดกามฉันทะ

    สำหรับวันนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายได้พากันสมาทานพระรัตนตรัยแล้ว ต่อไปขอให้ตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าลมหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก เวลาหายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้น ให้พยายามรู้อยู่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมสติสัมปชัญญะ เพราะว่าการเจริญสมาธิมีความสำคัญอยู่ก็คือ หนึ่ง ศีลบริสุทธิ์ คำว่าบริสุทธิ์นี่ไม่ใช่จะมานั่งบริสุทธิ์เฉพาะเวลาเจริญสมาธิ ต้องบริสุทธิ์ตลอดกาล

    ประการที่สอง พยายามควบคุมกำลังใจให้รู้ตัวอยู่เสมอว่าเวลานี้เราทำอะไรอยู่ และการควบคุมกำลังใจก็ควรจะให้จิตทรงอยู่ในด้านของกุศลตลอดเวลา อย่างที่เราทรงศีล เราสมาทานศีล การกำหนดสติสัมปชัญญะ ก็พยายามให้รู้อยู่ว่าเวลานี้ศีลของเราบริสุทธิ์หรือว่าบกพร่อง หรือว่าขาด หรือว่าเศร้าหมอง พยายามทำลายเหตุให้ศีลขาดหรือบกพร่องหรือเศร้าหมองให้หมดไป สร้างกำลังใจให้อยู่ในอารมณ์ของศีล ควบคุมศีลเป็นปกติ อย่างนี้ชื่อว่ามีสมาธิในด้านสีลานุสสติกรรมฐาน

    ในยามสงัดถ้าเราจะทำจิตทรงฌาน ก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก นี่เป็นของสำคัญอย่างยิ่ง จงคิดไว้เสมอว่า เวลานี้ไม่ใช่เวลาคิดเรื่องอื่น เป็นเวลาที่จะรวบรวมกำลังใจคิดเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งที่เป็นกุศลเท่านั้น สำหรับการจะฝึกจิตให้เป็นฌาน ให้จิตมีกำลังนั่นก็คือ การรู้ลมเข้าลมออก เวลาหายใจเข้าภาวนาว่า "พุทธ" นึกเอาในใจ เวลาหายใจออกนึกว่า"โธ" ทรงอารมณ์อยู่อย่างนี้จนกว่าจิตไม่สามารถจะคุมได้ เมื่อฟุ้งซ่านจริงๆ ก็เลิกเสีย เวลาหลังทำใหม่ ใช้เวลาควบคุมกำลังใจให้ทรงสติสัมปชัญญะอย่างนี้อยู่เป็นปกติ ประมาณวาระละ ๓ นาที ๕ นาที ๑๐ นาทีเป็นพอ แต่ถ้าได้ดีกว่านี้มากใช้เวลาได้มากกว่านี้ก็เป็นการดี ถ้าจิตจะฟุ้งซ่านจริงๆ บังคับไม่อยู่ก็ต้องเลิก เพื่อเป็นการยืดหยุ่น

    นี่เป็นการเจริญสมถะในตอนต้น แต่คำว่าตอนต้นในที่นี้ก็มีผลถึงพรหมโลก ไม่ใช่ของเบา นี่สำหรับนักปฏิบัติใหม่ หรือว่านักปฏิบัติเก่าก็ต้องทำสม่ำเสมอกัน ใหม่หรือเก่าไม่ทราบ แต่การคุมอารมณ์ลมหายใจเข้าออกมีความสำคัญ แม้แต่องค์สมเด็จพระภควันต์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงตรัสว่า "สารีปุตตะ ดูก่อนสารีบุตร เราเองก็เป็นผู้มากไปด้วยอานาปานุสสติ" ก็หมายความว่า พระองค์เองเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ทรงนึกถึงลมหายใจเข้าออกอยู่ตลอดเวลา การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก จิตทรงฌานได้แนบสนิท และสามารถระงับกายสังขาร คือทุกขเวทนาทางกายเสียได้ นี่เป็นเรื่องสำคัญ

    สำหรับต่อไปนี้ ก็จะขอพูดต่อกรรมฐานคืนที่แล้ว เมื่อคืนที่แล้วเรามาพูดทิ้งจังหวะไว้ถึงพระอนาคามีเพียงเล็กน้อย สำหรับพระอนาคามีนี่ต้องทำกำลังสมาธิสูงหน่อยที่เรียกกันว่า อธิจิตสิกขา แต่ความจริงถ้าเราปฏิบัติกันมาแต่ต้น ผ่านพระโสดาบัน ผ่านพระสกิทาคามีแล้ว การจะก้าวเข้าไปสู่พระอนาคามีก็รู้สึกว่าเป็นของไม่หนัก เพราะว่าเราปรับปรุงกำลังใจกันมาตามลำดับ ไม่ใช่เอะอะก็จะมาโผล่จะรวบรัดถึงพระอนาคามีเลยทีเดียว

    ทีนี้สำหรับ พระอนาคามี ก็มีสติมั่นคง เรียกว่ามีอธิจิตสิกขา มีสมาธิยิ่ง แต่ว่าใช้ปัญญาปานกลาง สำหรับด้านวิปัสสนานี่ไม่หนักอยู่ในเขตปานกลาง อันดับแรกก็พิจารณาขันธ์ ๕ คือร่างกาย ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เรียกกันว่าร่างกายของเรารวมความว่าร่างกายง่ายดี ว่าร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา และร่างกายที่เรามีอยู่มันเป็นปัจจัยของความทุกข์ อย่างนี้ก็ต้องใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ไม่ใช่นึกเอาอย่างนี้เฉยๆ ถ้านึกอย่างนี้เฉยๆ มันก็เป็นนกแก้วนกขุนทองเกินไป ใช้ไม่ได้ ไม่มีผล กลายเป็นสมถะไป

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=120></TD><TD vAlign=top>ทีนี้การใช้ปัญญาพิจารณาก็พิจารณาดูว่า ที่บอกว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นยังไง ท่านบอกว่า ร่างกายเป็นอนิจจัง มันไม่เที่ยง นั่งนึกหาความไม่เที่ยงให้พบ ความจริงไม่น่าจะอธิบายกัน เคยเป็นเด็ก เคยเป็นหนุ่มเป็นสาว กลายมาเป็นคนแก่ นี่มันไม่เที่ยง ถ้ามันเที่ยงมันอยู่ตามสภาพเดิม ใช้ปัญญานะ เวลานี่มันน้อย ไม่ใช่จะไปนั่งไล่เบี้ยกันเสียทุกอย่าง ก็ดูซิมันทำไมจะไม่เที่ยง ผมเคยดำมันก็กลับขาว สายตายาวก็กลับสั้น ฟันดีๆ ก็โยกก็โคลงก็ปวดก็เสียว ดีไม่ดีมันก็หัก ร่างกายเคยกระปรี้กระเปร่า เคยผ่องใสก็ทรุดโทรม เรี่ยวแรงเคยดีก็ทรุดโทรม ความจำสมัยเป็นหนุ่มเป็นสาวความจำดี แก่ก็เริ่มเลอะเลือน นี่แสดงว่าสภาพร่างกายมันไม่เที่ยง

    ทีนี้ถ้ามันไม่เที่ยงอย่างนี้ ถ้าเราไปยึดมันว่าเป็นเรา เป็นของเรา คิดว่ามันจะต้องเที่ยง มันจะต้องทรงอยู่ ในเมื่อมันเคลื่อนไปอย่างนี้ เราดึงมันไว้ไม่ได้ ใจมันก็เป็นทุกข์ เป็นอันว่าร่างกายถ้าเรายึดถือมันก็เป็นปัจจัยของความเป็นทุกข์ ทีนี้เราก็มานั่งคิดว่าไอ้ทุกข์ตัวนี้มันเกิดมาจากไหน ทุกข์เกิดมาจากตัณหา คือความอยาก อยากให้มันทรงอยู่ ไม่อยากให้มันเคลื่อน เมื่อยังไม่ได้มา อยากให้มันได้เข้ามา อย่างร่างกายเรามีกำลังน้อย เป็นคนผอมเราอยากอ้วน อ้วนเกินไปอยากผอม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ทีนี้มันไม่อ้วนสมความปรารถนา หรือไม่ผอมสมความปรารถนา มันก็ลำบากใจ ทางที่ดีก็ปล่อยมัน ถือว่ามันเป็นเรื่องธรรมดามันก็เกิดขึ้นมาแล้วมันจะแก่ก็เชิญแก่ มันจะทรุดโทรมก็เชิญทรุดโทรม มันจะป่วยไข้ไม่สบาย ก็ตามใจมัน มันเป็นเรื่องของมัน มันจะตายก็เชิญ ถ้ามันตายไปคราวนี้เราไม่ต้องการมันอีก เพราะไอ้เจ้านี่มันเป็นทางแห่งความทุกข์ เป็นตัวนำมาแห่งความทุกข์ เราไม่พึงปรารถนา เราปรารถนาอย่างเดียวคือ พระนิพพาน คำว่าพระนิพพานนี่ความจริงเรามันคล่อง มีอารมณ์คล่องยึดเหนี่ยวเป็นอารมณ์มาตั้งแต่เริ่มต้น

    ทีนี้การถึงพระอนาคามีจะยึดพระนิพพานเป็นอารมณ์ มันก็เป็นของง่ายๆ เพราะอารมณ์มันชินมาแล้ว เราทำปัญญาให้เหนือขึ้นไปอีกนิด นอกจากพิจารณาวิปัสสนาญาณในข้อนี้ นี่พูดกันย่อๆ เวลาจำกัด ทีนี้เราก็หันมามองดูว่า พระอนาคามีต้องตัดกามฉันทะได้เด็ดขาด ความรู้สึกในเพศไม่มี เป็นผู้มีอสุจิอันเหือดแห้งแล้ว ถ้าเราเป็นผู้ชายจะจับกายผู้หญิง หรือเป็นผู้หญิงจะจับกายผู้ชาย มีการสัมผัสซึ่งกันและกันจะไม่มีความรู้สึกในเพศเลย มันมีสภาพเหมือนกับเราจับวัตถุธรรมดา อนาคามีต้องมีอารมณ์อย่างนี้

    ทีนี้การที่ทำให้มีอารมณ์อย่างนี้มันยากไหม เราก็ไล่เบี้ยไปถึงพระสกิทาคามี เราเริ่มต้นกันมาแล้ว จนกระทั่งความรู้สึกประเภทนี้เบาบางลงไป การผ่านสกิทาคามีน่ะมันเบาลงมาแล้ว ทีนี้เหลือเพียงกวาดให้มันเตียนลงไปเท่านั้น ทีนี้วิธีทำให้เบาทำยังไง วิธีที่กวาดให้เตียนทำยังไง กวาดให้เตียนเราก็ต้องหันไปดูสมถะภาวนา นี่เรื่องสมถะภาวนานี่แม้แต่พระอรหันต์ท่านก็ยังใช้อยู่ อย่าไปนั่งฟังพวกบรรดาทั้งหลายที่ว่าสมถะไม่มีความหมาย สู้วิปัสสนาไม่ได้ นี่เป็นอันว่าไม่รู้ว่าอะไรเป็นสมถะไม่รู้ว่าอะไรเป็นวิปัสสนา สมถะคือตัวสมาธิ นักปฏิบัติจริงๆ ทั้งศีลต้องบริสุทธิ์อยู่เสมอ สมาธิต้องทรงตัว วิปัสสนาญาณต้องแจ่มใส สามประการนี่เราจะแยกกันไม่ได้ และขาดอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วไม่มีผล

    ทีนี้การจะทำลาย กามราคะ เราก็ต้องใช้สักกายทิฏฐิ สักกายทิฏฐินี่เห็นแต่เพียงว่าอัตภาพร่างกายนี่มันเป็นแต่เพียงอาการ ๓๒ มันไม่มีสภาพเป็นแท่งทึบ ที่เราเรียกกันว่ากาย มันแบ่งส่วนออกเป็นหัวบ้าง เป็นแขนบ้าง เป็นขาบ้าง เป็นตับไตไส้ปอดบ้าง เป็นม้ามเสียบ้าง เป็นเลือดเป็นเนื้อเสียบ้าง ความจริงมันเป็นส่วนๆ แบ่งออกเป็น ๓๒ ส่วน แต่นี่ร่างกายมันไม่เป็นแท่งทึบ มันเป็นส่วน การเป็นส่วน เป็นชิ้น เป็นตอนที่ต่อกันเข้ามานี่ ผสมผเสเข้าเป็นเรือนร่างมันก็ชื่อว่าไม่ใช่ของแน่นอน ไม่มีการคงทน ถ้าอาการส่วนใดส่วนหนึ่ง อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายมันทรุดโทรม นั่นหมายถึงว่าความทุกข์มันจะต้องเกิด ก็เพราะว่าเมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งมันทรุดโทรม อาการทำลายตัวมันก็เริ่มขึ้น หมายถึงว่าการป่วยไข้ไม่สบายมันจะเริ่ม ร่างกายจะไม่ทรงตัว ความไม่ปกติมันจะเริ่มขึ้น

    ทีนี้เราไปมองดูอีกทีว่าร่างกายที่แบ่งเป็น ๓๒ ส่วน เติมมันสมองเข้าไปเป็น ๓๓ ส่วนนี่ ว่าชิ้นไหนบ้างมันสะอาด และตอนไหนบ้างมันสะอาด มันจะมีสภาพทุกอย่างสกปรกไปหมด ร่างกายของคนก็มีสภาพเหมือนซากศพ นี่เป็นอันว่าบวกกรรมฐานสองอย่าง ทั้งสมถะและวิปัสสนา ก็ไอ้ซากศพที่มันตายไปแล้วน้ำเหลืองออกมา น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนองไหลออกมา กลิ่นเหม็นคลุ้ง

    <TABLE width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD>
    </TD><TD>
    </TD><TD>
    </TD><TD>
    </TD><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>อาการสภาพการอย่างนี้มันมีเมื่อคนตาย หรือมันมีเมื่อคนยังไม่ตายใช้ปัญญาพิจารณาดูให้ดี จะปรากฏว่าไอ้สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันมีตั้งแต่เรายังไม่ตาย หรือว่าคนอื่นยังไม่ตาย น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนองมันมีอยู่ อยู่ในร่างกาย แต่ที่มันยังไม่หลั่งไหลให้ปรากฏเพราะยังมี วิญญาณธาตุ คือดวงจิตที่เข้ามาสิงสถิตอยู่ในร่างกายเป็นตัวควบคุมเข้าไว้ สั่งให้บรรดาประสาททั้งหลายควบคุมสิ่งสกปรกทั้งหลายเหล่านี้ไม่ให้หลั่งไหลออกมา

    ทีนี้พอตายแล้วจิตมันออกไปจากร่าง หาตัวควบคุมไม่ได้ เมื่อร่างกายตายลงไป ธาตุไฟสลายตัวร่างกายเย็น เมื่อธาตุไฟสลายตัวแล้ว ธาตุลมก็สลาย ความจริงธาตุลมสลายก่อน ธาตุลมไม่มี ที่ไหนถ้าไม่มีอากาศไม่มีลม จุดไฟไม่ติด ไฟดับ เมื่อลมหมดไปไฟดับ เหลือแต่ธาตุน้ำกับธาตุดิน ไอ้ตัวน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง ปัสสาวะ น้ำลาย อะไรพวกนี้ เป็นตัวธาตุน้ำ ของที่เข้มแข็งอยู่ในร่างกายเป็นธาตุดิน น้ำก็ละลายดิน

    ทีแรกน้ำละลายดินไม่ได้ก็เพราะมีไฟเป็นเครื่องอบอุ่น ให้ดินกับน้ำมีการทรงตัว พอประคับประคองกันไว้ ไม่แข็งเกินไป ไม่อ่อนเกินไป และขณะที่มีไฟก็ต้องมีลมสำหรับพัดเลี้ยงไฟให้ทรงตัว พอตายแล้วธาตุไฟธาตุลมหายไป เหลือแต่ธาตุดินกับธาตุน้ำซึ่งเป็นศัตรูกัน น้ำก็ละลายดิน เมื่อดินสลายตัวไม่สามารถจะต้านทานอยู่ได้ มีความอ่อนเปียกมากขึ้น ผลที่สุดน้ำก็ซึมออกจากกาย น้ำส่วนนี้ที่เราเรียกว่าน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง ส่งกลิ่นเหม็นคลุ้งออกจากกาย

    ทีนี้ทำไมมันจึงเหม็น ก็เพราะของในร่างกายเราทั้งหมด ร่างกายของบุคคลอื่นทั้งหมดมันมีสภาพสกปรก ถ้าเรายังไม่ตายเราจะพิจารณาได้ว่าภายในของร่างกายมีแต่ความสกปรกทั้งหมด คือว่าน้ำลายของเรายามปกติเรากลืนกินได้ อมอยู่ในปากได้ แต่ว่าพอบ้วนออกมาจากปากแม้แต่มือของเราเองก็ไม่กล้าที่จะไปแตะน้ำลายเพราะอะไร เพราะว่าเห็นว่าน้ำลายสกปรก แล้วถ้าจะถามว่าน้ำลายมาจากไหน ก็มาจากภายในร่างกายของเราเอง น้ำลายที่มาจากภายในร่างกายของเราเองน่ะ น้ำลายสะอาดหรือว่าสกปรก

    ทีนี้ส่วนหนึ่งที่เรารังเกียจกันมากก็คือ อุจจาระและปัสสาวะ มันหลั่งไหลออกมาจากร่างกายแล้วเรารังเกียจ อย่าว่าแต่จะเอามือเข้าไปแตะเลย หน้าก็ไม่อยากจะหันไปมองว่ามันมีสภาพเป็นยังไง ทีนี้เราก็ดูว่าอุจจาระปัสสาวะที่มันหลั่งไหลออกมาจากร่างกายนั่นมันมาจากไหนล่ะ มันอยู่ในกายเราหรือว่าอยู่ในกายของคนอื่น มันออกมาจากกายเรานั่นเอง แล้วกายเราก็เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก แล้วกายของบุคคลอื่นเป็นยังไง สภาพกายของเราเป็นยังไง สภาพกายของบุคคลอื่นก็เป็นเช่นนั้น

    ทีนี้สำหรับกายคตานุสสติ และอสุภกรรมฐานนี่ สำหรับพระอนาคามีต้องพิจารณาควบคู่กันไปกับสักกายทิฏฐิ พิจารณาให้จิตทรงตัว ไม่ใช่ว่าจะไปนั่งหลับตาเป๋งนะ กลางวัน กลางคืน ตื่นอยู่หลับอยู่ หลับตาอยู่ ทำให้จิตเสมอกัน เห็นสภาพตามความเป็นจริงมองเห็นคนปั๊บ ให้เห็นทะลุเข้าไปถึงภายในเลย จิตนึกถึงเข้าไปภายในว่าคนทุกคนเต็มไปด้วยความสกปรก และคนทุกคนเต็มไปด้วยความทุกข์ คนทุกคนหาความสุขไม่ได้ ทุกข์เพราะความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย การป่วยไข้ไม่สบาย การทรุดโทรมของร่างกาย มีความปรารถนาไม่สมหวัง มีความตายไปในที่สุด ทุกข์เพราะประกอบกิจการงานทุกอย่าง นี่มันทุกข์ทั้งหมด มันเป็นตัวทุกข์ นอกจากทุกข์แล้วมันก็ยังจะมีสกปรกเสียอีก

    อันนี้เราจะพึงปรารถนาอะไรกับร่างกายที่เต็มไปด้วยความสกปรก ร่างกายที่เต็มไปด้วยความทุกข์ ร่างกายที่หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ ค่อยๆ ใช้ใจพิจารณา วนมาวนไปอยู่อย่างนี้ พยายามให้เห็นตามความเป็นจริงให้ได้ ให้จิตมันรู้ซึ้งถึงความเป็นจริง ไม่ใช่นึกเล่นๆ นึกจริงๆ นึกถึงตัวเราทุกวัน เห็นตัวเราแล้วเห็นคนอื่นง่าย ว่าตัวเรานี่มันสะอาดตรงไหนหนอ สิ่งที่เราติดตาติดใจกันมากคือผิว

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=280></TD><TD vAlign=top>หนังกำพร้านิดเดียวเป็นเครื่องล่อให้คนเป็นทุกข์ ชอบนักพวกผิวไม่สวย ไม่งาม ไม่สด ไม่สวย แต่ว่าผิวที่เห็นว่าสวยจริงๆ น่ะสะอาดหรือสกปรก เราต้องอาบน้ำบ้างหรือเปล่า ต้องใช้สบู่มาชำระล้างร่างกายบ้างหรือเปล่า ที่เราอาบน้ำเราอาบทำไม อาบเพราะรู้สึกว่าร่างกายมันสกปรกเราจึงอาบ อาบน้ำชำระร่างกายเสร็จแล้ววันหลังต้องทำอีกไหม ดีไม่ดีฤดูร้อนแบบนี้อาจจะว่าถึงวันละ ๒ ครั้ง ๓ ครั้งก็ได้ เพราะเหงื่อมันซึมออกมา มันทำให้สกปรก ไอ้เหงื่อนี่มันอยู่ที่ไหน เหงื่อมันมาจากร่างกาย หรือมันมาจากที่อื่น ก็เป็นอันว่า เหงื่อมันมาจากร่างกาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>นี่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็น ค่อยๆ คิด ค่อยๆ นึก เห็นตามความจริง เราเรียนหาความจริงกันในหลักพระพุทธศาสนา ไม่ใช่จะมานั่งโกหกมดเท็จตนเอง ถ้าเห็นตัวเราแล้วก็เห็นบุคคลอื่น ดูหาความเป็นจริงให้พบ จนกระทั่งจิตสลด คิดว่า ร่างกายของคนและสัตว์เต็มไปด้วยความสกปรกจริงๆ และร่างกายของคนและสัตว์มีทุกข์จริงๆ และร่างกายของคนและสัตว์หาความเที่ยงไม่ได้จริงๆ มันมีการสลายตัวไปในที่สุด ไม่มีใครจะบังคับบัญชาร่างกายให้มีสภาพทรงตัว
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=150></TD><TD vAlign=top>ไม่มีใครกล้าจะแสดงว่าเราเป็นเจ้าของร่างกายจริงจัง โดยการบังคับให้ทรงตัวได้ ในเมื่อร่างกายมันไม่ดีอย่างนี้เราจะไปเมามันเพื่อประโยชน์ในโลกีย์วิสัยทำไม ถ้าเราต้องการมีคู่ครอง ไอ้ตัวของเราเองคนเดียวมันทุกข์พออยู่แล้ว ไปได้คนอื่นมาเป็นคู่ครองมันก็เพิ่มทุกข์ ทุกข์ทั้งภาระร่างกายที่เขาจะทรุดโทรม ทุกข์ทั้งภาระที่ต้องรับอารมณ์ที่เราไม่พอใจ มันสร้างความหนักใจ สร้างความลำบากใจอยู่ตลอดเวลา นี่เป็นอันว่า ร่างกายนี่มันทุกข์ ร่างกายคนอื่นก็ทุกข์ ร่างกายเรามันสกปรก เราต้องการของสะอาด ในเมื่อร่างกายของบุคคลอื่นสกปรก เราพึงปรารถนามันมาเพื่อประโยชน์อะไร</TD></TR></TBODY></TABLE>เป็นอันว่าค่อยๆ คิด ค่อยๆ ไป ค่อยๆ พิจารณาจนกว่าจิตจะมีอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์ โดยนิยมและรู้สึกอยู่เสมอว่าร่างกายของเราสกปรก ร่างกายของบุคคลอื่นสกปรก ร่างกายของเราไม่น่ารักไม่น่าพิสมัย ร่างกายของบุคคลอื่นก็ไม่น่ารักไม่น่าพิสมัย ร่างกายของเราเป็นปัจจัยของความทุกข์ ร่างกายของบุคคลอื่นก็เป็นปัจจัยของความทุกข์ ร่างกายของเราในที่สุดมันก็ตาย ร่างกายของบุคคลอื่นในที่สุดมันก็ตาย จะผูกพันมันเรื่องอะไร ร่างกายทั้งสองฝ่ายทั้งของเราของเขา เราหลงใหลใฝ่ฝันมัวเมามันเพื่อประโยชน์อะไร เรารักมันก็ชื่อว่าเรารักทุกข์ เราไม่ใช่รักสุข เราเลิกรักมันเสียดีกว่า เอาจิตตั้งใจเฉพาะหน้า วางสังขารคือร่างกายเสียมุ่งไปพระนิพพาน

    เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน อารมณ์ของพระอนาคามีเบื้องต้นเป็นข้อที่หนึ่งยังไม่จบ สำหรับวันนี้เวลาหมดเสียแล้ว ต่อนี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

    จากหนังสือทางสายเข้าสู่พระนิพพาน (ตอนที่ ๘) หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี [​IMG]
    ตัดกามฉันทะ (ต่อ)
    สำหรับวันนี้ก็จะได้พูดถึงพระอนาคามีมรรคต่อไป เมื่อคืนนี้ได้พูดถึงพระอนาคามีมรรค พอเริ่มต้นได้เล็กน้อยก็จบวันนี้ขอพูดต่อ สำหรับอนาคามีมรรคนี่ก็มีอาการฝึกในการตัด กามฉันทะ กับตัด พยาบาท หรือว่า ปฏิฆะ เรียกว่าตัดความโกรธความพยาบาทให้หมดสิ้นไป

    ฉะนั้น การเจริญอารมณ์ให้เข้าถึงพระอนาคามีมรรค หรือว่าพระอนาคามีผล ก็จำเป็นต้องรวบรวมกำลังสมาธิจิตให้มีความแก่กล้า มีการทรงตัว มีความเข้มแข็ง และถ้าเราจะกล่าวกันไปว่า ถ้าปฏิบัติมาตามลำดับกว่าจะเข้าถึงพระสกิทาคามี สมาธิมันก็เริ่มเข้มแข็งแล้ว เพราะว่าเราก็ปฏิบัติมาตามลำดับ หมายถึงว่าการที่เป็นพระสกิทาคามีได้นั้นก็ต้องบรรเทาความโลภ บรรเทาความโกรธ บรรเทาความหลง ทีนี้การบรรเทาความโลภ บรรเทาความโกรธ บรรเทาความหลงได้ ก็เรียกว่าความโลภ ความโกรธ ความหลงยังมีอยู่ แต่เหลือน้อยเต็มที

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=140></TD><TD vAlign=top>ทีนี้มาถึงพระอนาคามี ตอนนี้ถ้ายังไม่ถึงอนาคามีผล ยังไม่จบ เรียกว่า อนาคามีมรรค แปลว่าการเดินทางเข้าไปถึงพระอนาคามีผล ส่วนสำคัญอันดับแรกเราจะต้องรวบรวมกำลังสมาธิให้หนัก ควบกับอารมณ์ของวิปัสสนาญาณคือ อริยสัจ

    นั่นได้แก่พิจารณาร่างกายเรียกว่ากายคตานุสสติ พิจารณาดูร่างกายประกอบไปด้วยอาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ตับ ไต ไส้ ปอด อุจจาระ ปัสสาวะ อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เสมหะ น้ำลาย เป็นต้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>พิจารณาดูตามความเป็นจริง ในด้านสมถะภาวนาว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันสกปรกหรือมันสะอาด ไม่ใช่จะไปนั่งท่อง เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา อันนี้มันเป็นตัวทำให้จิตเป็นสมาธิเฉยๆ ไม่ใช่ตัวตัด กรรมฐานกองนี้ กายคตานุสสติก็ดี หรือว่าอนุสสติทั้ง ๑๐ ประการก็ดี อสุภกรรมฐานทั้ง ๑๐ ประการก็ดี เป็นกรรมฐานพิจารณา ไม่ใช่มานั่งภาวนาเป็นนกแก้วนกขุนทอง ทำจิตให้ทรงอารมณ์ว่ามันมีสภาพเป็นอย่างนั้นตามความเป็นจริง

    คำว่า "ทรงฌาน" ในที่นี้หมายความว่า เห็นว่าร่างกายทั้งหมดมันสกปรก ไอ้ความรู้สึกว่าสกปรกนี่ให้มันทรงอยู่ตลอดเวลา ทั้งเวลาหลับตาพิจารณา เวลาลืมตา เวลาเดินไปเดินมาทำอะไรอยู่ ให้จิตมันจับอารมณ์นี้จนชิน อารมณ์ไม่คลายไปจากจิต เห็นสัตว์ เห็นคน เห็นวัตถุ ไม่มีอะไรสวย เพราะทุกอย่างมันสกปรกหมดหาสะอาดมิได้ ดอกไม้ที่สะพรั่งอยู่ในป่าหรือในสวนมันมีสีสวยสดงดงาม แต่พอจะเข้าไปใกล้ก็จะรู้ว่ามันมีฝุ่นมีละอองแปดเปื้อนอยู่ด้วย เกาะอยู่ด้วย มันสกปรก คนและสัตว์มีสภาวะต่างๆ เต็มไปด้วยความสกปรก ตัวสกปรกนี่ไม่ต้องอธิบายมาก เพราะมันรู้อยู่แล้ว ถ้าเราไม่รู้มันก็ระยำเต็มที ไม่ใช่ว่าโง่

    ของมันเห็นอยู่กับตัวของเราเอง อะไรบ้างที่เราต้องชำระล้างมัน อะไรบ้างที่เรารังเกียจในร่างกายของเรา ที่มันอยู่ในร่างกายของเรา เราทำไม่รู้ไม่เห็น แต่มันหลั่งไหลออกมาแล้วเรารังเกียจ เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลาย เหงื่อไคล เป็นต้น หรือว่าน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง ถ้ามันหลั่งไหลออกมา เรารังเกียจว่ามันสกปรก นี่สภาพอย่างนี้เรามองเห็นชัดอยู่แล้ว นอกจากว่าจะเป็นแต่เพียงว่าเราไม่สนใจจึงจะไม่เห็นว่ามันสกปรก

    คำว่าสนใจนี่ไม่ได้สนใจในกรณีพิเศษ สนใจให้มีความรู้สึกตามความเป็นจริง ไอ้การแสวงหาของจริงนี่ไม่ต้องใช้ปัญญาอะไรมาก แค่สัญญามันก็ใช้ได้ อุจจาระที่ถ่ายออกมามันสะอาดหรือมันสกปรกก็รู้ ปัสสาวะที่ถ่ายออกมาสะอาดหรือสกปรกก็รู้ น้ำลายอยู่ในปากอมได้ บ้วนออกมามือไม่กล้าแตะ สะอาดหรือสกปรกก็รู้ ร่างกายทั้งตัวเหงื่อไหลออกมามันสะอาดหรือสกปรกก็รู้ ในเมื่อรู้แล้วแต่แกล้งทำเป็นไม่รู้ เพราะไม่หมดกิเลสไม่หมดตัณหา มีแต่ความทุกข์ตลอดกาล

    ทีนี้ในเรื่องการพิจารณากายคตานุสสติควบกับอสุภสัญญา อสุภสัญญา หรือ อสุภกรรมฐานนี่มันอันเดียวกัน อสุภสัญญา แปลว่าจำได้ว่ามันสกปรกอยู่ตลอดเวลา ทุกชิ้น ทุกส่วน ทุกตารางเซ็นต์ของร่างกาย ไม่มีจุดไหนที่มีความสะอาด มันมีแต่ความสกปรกโสมมอยู่ตลอดเวลา หาจุดสะอาดจริงๆ ไม่ได้ อันนี้มันเป็นเนื้อแท้ของร่างกายจริงๆ นี่นั่งคิด นั่งพิจารณาใคร่ครวญพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง ไม่ใช่ไปแกล้งเห็น ใช้สัญญา ความจำ มันต้องจำได้ สภาวะที่มันควรจะจำมีเยอะไม่ต้องไปนั่งหาไล่เบี้ยมัน มันเป็นของจริง

    นี่การเจริญกายคตานุสสติกับอสุภสัญญาหรืออสุภกรรมฐานเขาเจริญแบบนี้ ชั่วขณะใดที่ยังรู้สึกตัวอยู่ เรามีความรู้สึกตามความเป็นจริง ว่าทุกสิ่งของร่างกายหรือวัตถุทั้งหมดมันสกปรก ให้อารมณ์ทรงอย่างนี้ แล้วเห็นว่าร่างกายเราสกปรก ร่างกายสัตว์สกปรก วัตถุธาตุต่างๆ ในโลกไม่มีอะไรสะอาด สกปรกทั้งหมด ลองนั่งนึกซิว่าอะไรสะอาด บอกมาสักอย่างซิ มีอะไรบ้างที่มันสะอาด ที่ไม่ต้องเช็ดชำระล้าง มันมีไหม มันไม่มี มันมีแต่สิ่งสกปรกทั้งนั้น

    ที่นี้เราต้องการความสะอาดหรือเราต้องการความสกปรก ที่เรามีความรัก เรามีความปรารถนา เรามีความต้องการ เนื้อแท้จริงๆ เราต้องการของสะอาดหรือว่าต้องการของสกปรก แต่ทว่าเราก็พบกับสิ่งสกปรกเข้า เราต้องการไหม ถ้าอารมณ์จิตของเราต้องการ ก็ประณามมันสักหน่อยได้ไหม ว่าเอ็งอยากเป็นสัตว์นรกหรือยังไง หรืออยากเป็นเปรต หรืออยากเป็นอสุรกาย หรืออยากเป็นสัตว์เดรัจฉาน เพราะว่าอารมณ์อย่างนี้ไม่ใช่อารมณ์ของพระอริยเจ้า เป็นอารมณ์ของสัตว์ในอบายภูมิ

    มีสัญญาจำได้ คือความจำแต่ว่าไม่สร้างความจำให้เกิด มีตา ทำเหมือนว่าไม่มีตา มีหู ทำเหมือนว่าไม่มีหู มีจิตสำหรับจะคิดจะจำ แต่ว่าไม่รู้จักคิดไม่รู้จักจำ อาการอย่างนี้มันไม่ใช่อาการของคน หรือว่าไม่ใช่อาการของเทวดาหรือพรหม หรือว่าไม่ใช่อาการของพระอริยเจ้า มันเป็นอารมณ์หรือว่าอาการของสัตว์นรก หรือว่าเปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ถามใจมันว่าพอใจที่จะลงนรกไหม ที่ยังมัวเมาอยู่ในรูปกายของคนและสัตว์

    ความมัวเมาอย่างนี้เป็นตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น เมื่อยึดมั่นถือมั่นว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา ของสกปรกเห็นว่าสะอาด ของไม่สวยเห็นว่าสวย ของที่มีสภาพทรุดโทรมเป็นปกติมองไม่เห็นสภาพตามความเป็นจริง คิดว่ามันทรงตัว อาการอย่างนี้มันเป็นสภาวะของจิตที่จะต้องตกไปในอบายภูมิ เพราะว่าไม่มีความผ่องใสของจิต ถ้าหลงอยู่ในรูปอย่างนี้ ของเลวเห็นว่าเป็นของดี ของสกปรกเห็นว่าเป็นของสะอาด จิตมันก็เศร้าหมอง จิตเศร้าหมองตายแล้วไปไหน

    พระพุทธเจ้ากล่าวว่า จิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคติ ปาติกังขา เมื่ออารมณ์จิตเศร้าหมอง ตายแล้วก็ไปอบายภูมิ ทำไมจึงว่าเศร้าหมอง เพราะว่าเราคิดว่ามันดีนี่ เวลาใหม่ๆ มันก็ผ่องใสสดสวยงดงาม แต่ว่าทั้งๆ ที่มันผ่องใสอยู่นั่นแหละ มันก็แสดงอาการสกปรกอยู่ตลอดเวลา หาอะไรดีไม่ได้ แต่เราไม่มอง ที่ไม่ใช้ปัญญาพิจารณาอาศัยอะไรเป็นสำคัญ ความโง่ ไม่ใช่โง่อย่างเดียว บ้าด้วย เพราะว่าคนโง่มันก็พอใช้ปัญญาเป็นเครื่องคิด มีสัญญาเป็นเครื่องจำ คนโง่นี่มันไม่โง่ทั้งหมด มันโง่แต่บางอย่างเท่านั้น

    แต่สิ่งที่ลี้ลับมีความละเอียดคนโง่อาจจะคิดไม่ถึง แล้วก็ร่างกายของคนเราสกปรก มันเป็นของไม่ยากที่คนโง่พอจะมองเห็นได้ว่าสกปรก แต่ติดใจว่าสะอาดนี่ไม่ใช่คนโง่ มันเป็นคนบ้า เพราะว่าของสกปรกว่าเป็นของสะอาดนี่คนโง่เขาไม่พูด คนบ้าเท่านั้นถึงจะพูด ถ้าอารมณ์เรามีความบ้าไร้สติสัมปชัญญะ ไม่มองหาตามความเป็นจริง เราก็จงถามมันว่าไปไหน ใจมันเศร้าหมองมันก็ย่อมยึดถือว่าร่างกายมันสะอาด เวลามันทรุดโทรมเข้ามาจริงๆ เราเสียดาย เสียใจ เวลาจะพัง จะสลายตัว เราเสียดาย เสียใจ ไม่อยากให้มันสลายตัว

    ทีนี้กฎธรรมดาของร่างกาย มันมีความเกิดขึ้นมาเป็นเบื้องต้น มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา มีการสลายตัวไปในที่สุด นี่มันเป็นเรื่องธรรมดาของร่างกาย แต่ว่าคนบ้านี่มีอุปาทาน ยึดมั่นว่าร่างกายมันจะต้องเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ตลอดเวลา จะต้องมีความเปล่งปลั่งอยู่ตลอดเลา จะต้องไม่มีการทรุดโทรม จะต้องสะอาดตลอดเวลา แต่ความจริงมันสกปรก

    ที่นี้มันจะทรงตัวได้ไหม มันก็ทรงไม่ได้ มันเคลื่อนไหวไปหาความเสื่อม ความเสื่อมกลับแก่เข้ามา เกิดไม่สบายใจ ไอ้ที่เราไม่ต้องการให้มันเป็นอย่างนี้ ทำไมถึงเป็นไป เกิดงุ่นง่าน หูฝ้าตาฟาง กำลังไม่ดี ความจำเสื่อม เดือดร้อน เพราะไม่ยอมรับนับถือว่ามันจะแก่ เอ้าแก่ไม่เป็นไรขออย่าให้ตายก็แล้วกัน นี่ยังจะถ่วงต่อไปอีก แล้วร่างกายมันจะทรงได้ไหม กฎธรรมดาของมันจะต้องตาย แล้วทำไมจะไปห้ามมัน ห้ามมันก็ห้ามไม่ได้ คนดีหรือว่าคนโง่เขาไม่คิดอย่างนี้ คนที่คิดแบบนี้ก็คนบ้าเท่านั้น คนบ้ากิเลส บ้าตัณหา บ้าอุปาทาน บ้าอกุศล คือบ้าทำในความที่ไม่ดีหรืออกุศล หรือคิดในสิ่งที่ไม่ดี ไม่ตรงตามความเป็นจริง

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#99ccff>ที่พูดแบบนี้ก็เพราะว่าพระพุทธเจ้าบอกว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงกล่าวโทษโจทก์ความชั่วของตัวไว้เสมอ นี่จำกันไว้นะ อย่าให้มีอะไรมันพลาดเข้ามาอีก นี่พูดกันทั้งปี ภาษิตบทนี้ มองแต่ตัวไม่ต้องมองชาวบ้าน ให้รู้กฎ รู้ระเบียบว่าเราเป็นอะไร เราเป็นสมณะ แปลว่าผู้สงบ ถ้าจุ้นจ้านมันก็ไม่ใช่สมณะ เป็นสัตว์ในอบายภูมิ เราเป็นพระ แปลว่าผู้ประเสริฐ จิตเลว วาจาเลว ใจเลว มันก็ไม่ใช่พระ เป็นสัตว์ในนรกโน่น</TD></TR></TBODY></TABLE>ทีนี้สติสัมปชัญญะของเรามี พิจารณาหาความจริงว่าไอ้นี่ร่างกายมันสกปรก เป็นสมถะ พอคิดว่านอกจากจะสกปรกแล้ว มันก็ไม่มีการทรงตัว ถ้าเป็นคนก็เลี้ยงไม่ได้ เลี้ยงมันไม่เชื่อง เอาอกเอาใจมันทุกอย่าง มันต้องการเปรี้ยว ต้องการเค็ม ต้องการหวาน ต้องการเย็น ต้องการอุ่น ต้องการเครื่องแต่งตัว สวยสดงดงาม หาให้มันทุกอย่าง อยากจะอยู่บ้านแบบไหน จะนอนแบบไหน จะกินแบบไหน บริหารกายแบบไหน หาให้มันทุกอย่าง ขอไม่ให้มันแก่ ขอไม่ให้มันตาย ขอไม่ให้มันป่วยมันยอมรับนับถือไหม มันเชื่อเราหรือเปล่า ก็เปล่า ไม่มีอะไรที่มันจะเชื่อเรา

    นี่เป็นอันว่าร่างกายนี่มันเป็นเพื่อนรักของเรา เราก็คบไม่ได้ ต้องเลิกคบมานานแล้ว ทีนี้ถ้าร่างกายนี้ล่ะ เราควรจะคบมันต่อไปไหม มันมีอะไรบ้างในคุณสมบัติ หรือว่าสภาวะของร่างกาย หนึ่ง เห็นว่าสกปรกเป็นปกติ สอง เป็นปัจจัยแห่งความทุกข์ ทุกข์ตรงไหน เพราะว่าต้องเลี้ยงดูตลอดเวลา สาม เลี้ยงแล้วมันก็ไม่จำ ให้มันทรงตัวมันก็ไม่ทรงตัว มันมีการสลายตัวไปในที่สุด

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=140></TD><TD vAlign=top>ทีนี้พิจารณาหาความสกปรก จนกระทั่งเกิดนิพพิทาญาณ ต้องทำให้ถึงนะ ไม่ใช่จะมานั่งฟังกันเฉยๆ คำว่านิพพิทาญาณนี่มีความเบื่อหน่าย เห็นว่าร่างกายสกปรก ร่างกายเราร่างกายคนอื่นเหมือนกันหมด อย่าเอาตาไปติดอยู่ที่เครื่องอาภรณ์ อย่าเอาตาไปติดอยู่แค่ผิวหนัง ตามองไปเจอะอาภรณ์เครื่องประดับ ผ้าผ่อนท่อนสไบ ผิวหนัง ใจนึกล้วงเข้าไปถึงร่างกาย มองเข้าไปหาความจริง ว่ามันสะอาดหรือสกปรก ไปเห็นคนเห็นสัตว์คิดแบบนี้แล้วก็นึกถึงตัวเองด้วย ว่ามันมีสภาพเป็นยังไง</TD></TR></TBODY></TABLE>เมื่อจิตใจเห็นว่ามันมีสภาพสกปรกเป็นปกติ เห็นคนเหมือนกับถุงอุจจาระเคลื่อนที่ นี่มันต้องมีอารมณ์อย่างนี้เป็นปกติ ไม่ใช่นั่งภาวนากัน นั่งพิจารณา กินอยู่ เดินอยู่ ยืนอยู่ ทำงานอยู่ มีความรู้สึกอย่างนี้เป็นปกติ ไม่ใช่เอาเวลานั่งหลับตา นั่งหลับตานี่ถ้าอารมณ์ปกติไม่ตรงตามนี้ หลับตามันก็ไม่ได้อะไร มันหลับส่งเดช ประเดี๋ยวคิดโน่นคิดนี่ พล่านไปหมด มันถึงได้สร้างความยุ่ง สร้างความเดือดร้อน นี่ถ้าดีกันเสียหมด คิดอย่างนี้ทั้งหมด ควบคุมกำลังใจของตนเองทั้งหมด มันไม่ต้องไปบอกไม่ต้องไปสอนอะไรกัน เพราะมีแต่คนดีทั้งหมด ไอ้ที่เลวนั่นแสดงว่าไม่มีนิสัยแห่งความเป็นคน มันมีนิสัยเป็นสัตว์นรกอยู่เป็นประจำ

    ทีนี้เมื่อคิดจุดนี้แล้ว เราก็นำวิปัสสนาญาณตัวสำคัญเข้ามาใช้ว่า ความอยากมีร่างกาย อยากได้ร่างกายบุคคลอื่นมาประคับประคอง การทะนุถนอมร่างกายนี่มันเป็นปัจจัยของความสุขหรือเป็นปัจจัยของความทุกข์ มันสกปรกด้วย มันทุกข์ด้วย หันเข้าไปจับสักกายทิฎฐิ กายคตาตัวนี้ควบกันเลย ทั้งสมถะและวิปัสสนาต้องควบ ท่านบอกแล้วนี่ว่าพระอนาคามีต้องมีอธิจิตสิกขา อธิจิตสิกขา คืออารมณ์เป็นฌาน

    ทรงอารมณ์เห็นสภาวะอย่างนี้ตามความเป็นจริงอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าเฉพาะเวลานั่งหลับตา เวลานั่งหลับตาไม่ได้ผลอะไร ทรงจิตอยู่ว่าร่างกายคนและสัตว์สกปรก เห็นตามความเป็นจริง ไม่ใช่นึกส่งเดช แล้วก็มาพิจารณาตามสภาวะของวิปัสสนาญาณว่าร่างกายเราก็ดี ร่างกายคนอื่นก็ดี มันสกปรกน่ารังเกียจ รังเกียจน่ะไม่ใช่น่ารังเกียจ รังเกียจเสียจริงๆ อารมณ์กามฉันทะถูกกดลงไปด้วยอำนาจของสมถภาวนา เบื่อหน่าย ไม่มีความรู้สึกในเพศ แต่ระวังตอนนี้มันยังไม่ถึงขั้นมันโผล่เข้ามาได้

    ทีนี้ก็ประหัตประหารด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ คือสักกายทิฎฐิ ว่าร่างกายนี้นอกจากสกปรกแล้ว มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในมัน มันไม่มีในเรา มันเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ที่แสนจะสกปรก แล้วไม่มีการทรงตัว มันมีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเสื่อมไปในท่ามกลาง แล้วก็สลายตัวไปในที่สุด มันเป็นปัจจัยของความทุกข์ทุกอย่าง ไม่ได้เคยน้อมความสุขมาให้ใจเราเลย เมื่อมีร่างกายนับแต่วันเกิด ถึงวันตายหาความสุขหนึ่งวินาทีมิได้ มันสร้างสรรค์แต่ความทุกข์อยู่ตลอดเวลา

    ฉะนั้น นับแต่บัดนี้เป็นต้นไปเราจะไม่ต้องการร่างกายแบบนี้อีก จะไม่มัวเมาร่างกายอย่างนี้ต่อไป อาการใดๆ ที่จะพึงเกิดขึ้นกับร่างกาย เราถือว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา เราจะไม่ทำจิตหวาดหวั่นอารมณ์ใดๆ ทั้งหมดที่จะพึงเกิดกับร่างกาย หรือว่ามากระทบกับอารมณ์ใจ ปล่อยไปตามสภาพ เจ็บป่วยรักษาเพื่อเป็นการบรรเทาเวทนา มันหายก็หาย มันจะตายก็ช่างมัน เป็นเรื่องของมัน นี่เป็นอันว่าถ้าจิตทรงอาการอย่างนี้ได้ มันจะแก่ก็ช่าง มันจะป่วยก็ช่าง มันจะตายก็ช่าง มันจะเป็นลมเป็นแล้ง มียากินก็กิน ไม่มียากินก็นอนมันเฉยๆ ช่างมัน ไม่สนใจกับมันอีก อย่างนี้ท่านเรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ

    แล้วทรงอย่างนี้ให้ได้เด็ดขาด โดยไม่มีการกำเริบกลับมาพอใจในรูปโฉมโนมพรรณของเขาและของเราต่อไป อย่างนี้ท่านเรียกว่า พระอนาคามีมรรคเบื้องต้น เป็นพระอนาคามีมรรคเบื้องต้น คือตัดกามฉันทะได้ด้วยอาการอย่างนี้ นี่อย่างที่พูดไปแล้วอย่าไปวางทิ้งกันนะ พูดแล้วปฏิบัติกัน อย่าไปรุ่มร่ามเข้า ถ้ารุ่มร่ามเข้ามันจะไม่มีโทษแต่ในปัจจุบัน อเวจีจะเป็นที่ไปสำหรับเรา ต่อจากนี้ไปขอทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

    จากหนังสือทางสายเข้าสู่พระนิพพาน (ตอนที่ ๙) หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี [​IMG]
    ตัดกามฉันทะ (ต่อ)

    โอกาสนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายได้พากันสมาทานพระรัตนตรัยแล้ว ต่อนี้ไปก็เป็นโอกาสที่จะสดับคำแนะนำในการเจริญพระกรรมฐาน สำหรับวันนี้ก็จะได้พูดถึงพระอนาคามีมรรคต่อ เมื่อวานนี้เราได้พูดกันถึงการระงับอารมณ์ของราคะ หรือกามฉันทะ ได้แก่ความพอใจในกาม การที่จะทำลายกามฉันทะได้ก็ต้องอาศัยเหตุสองประการร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของสมถะภาวนา ก็ต้องใช้ กายคตานุสสติ พิจารณาร่างกาย คืออาการ ๓๒ บวกกับอสุภกรรมฐาน เห็นว่าร่างกายเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี มีแต่ความสกปรก เป็นของไม่น่ารัก เป็นที่น่ารังเกียจ นี่เป็นด้านสมถะภาวนา
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=160></TD><TD vAlign=top>ในด้านวิปัสสนาภาวนาก็บวกเข้ามา เห็นว่าร่างกายนอกจากจะเป็นของสกปรก เป็นของไม่น่ารัก เป็นของที่น่ารังเกียจแล้ว มันก็เป็นปัจจัยแห่งความไม่เที่ยง คือตัวมันไม่เที่ยง เพราะอะไร มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วก็เสื่อมไป แปรปรวนไป การที่เอาจิตเข้าไปยึดว่าร่างกายเป็นของสะอาด ร่างกายเป็นของสวย ร่างกายเป็นของเรา เป็นปัจจัยของความทุกข์ เพราะว่าสภาวะของร่างกายมันสกปรก สภาวะของร่างกายเป็นของไม่เที่ยงสภาวะของร่างกายมีการสลายตัวไปในที่สุด มันหาสภาพที่เป็นเรา เป็นของเราไม่ได้</TD></TR></TBODY></TABLE>ร่างกายคือธาตุ ๔ ได้แก่ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ รวมกันเข้าเป็นตัว แล้วก็มีอากาศธาตุบรรจุช่องว่าง มีวิญญาณธาตุ รับรู้ในการสัมผัส เป็นเรือนร่างที่อาศัยของจิต จิตอาศัยการทรงอยู่ ขณะใดที่การทรงอยู่ขณะนั้นจิตก็ยังอาศัยอยู่ และจิตเป็นผู้บัญชาการทางด้านประสาท ให้ร่างกายพูดตามกำลังของจิตที่สั่ง เมื่อร่างกายพังไปแล้วจิตก็ต้องหาชาติหาภพเป็นที่เกิดต่อไป ถ้ายังไม่สิ้นกิเลส

    ทีนี้การหาชาติหาภพเป็นที่เกิดใหม่ หรือเกิดมาแล้วก็ดี ไม่มีอะไรเป็นสุข มันเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ ถ้าความผูกพันในร่างกายมีมากเพียงใด เราก็มีความทุกข์มากเพียงนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรามักจะเอาจิตเข้าไปยึดกายเป็นกำลัง ถ้าหากเราเห็นว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา สภาวะร่างกายเป็นของสกปรกจิตก็ตก จิตก็ตัดจากกามฉันทะ ความพอใจในเพศเสียได้

    นี่เราพูดกันแต่เพียงคำแนะนำเป็นแนวทางเท่านั้น ต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้เข้าถึงความจริง อย่างสักแต่ว่าฟังๆ แล้วก็ปล่อยให้เลยไป จิตของเราที่ยุ่ง วาจาของเราที่เสีย กายของเราที่ไม่สำรวม ก็เพราะอาศัยจิตไม่ดี ไม่ใช้ปัญญา ไม่ใช้สัญญา สัญญาจำไว้แค่นี้ ทำจิตให้เป็นสมาธิ ปัญญามันเกิด ปัญญาก็พิจารณาเห็น

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=210></TD><TD vAlign=top>เห็นคนเมื่อไร เห็นสัตว์เมื่อไร มีความรู้สึกทันที ว่าร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหมดเต็มไปด้วยความสกปรก ความผูกพัน ความกระสันอยากจะได้ ปรารถนาจะสัมผัส ไม่มีในจิต ให้จิตมันทรงสภาพเช่นนี้ เห็นคนเหมือนกับเห็นซากศพ เห็นคนเหมือนกับเห็นของเน่าเปื่อย เห็นคนเหมือนกับว่าสิ่งที่เขาบรรจุอุจจาระปัสสาวะไว้เต็ม เท่านี้จิตก็จะมีความรังเกียจ</TD></TR></TBODY></TABLE>เมื่อมันเป็นของสกปรก มันก็เป็นของไม่เที่ยง มีอนัตตา คือสลายตัวไปในที่สุด จิตก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ผูกพันในรูปกายใดๆ ทั้งหมด จะเป็นที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม เห็นว่าไม่เป็นสาระ หรือว่าไม่เป็นแก่นสาร มันมีแต่ความสกปรก เครื่องประดับที่แต่งกายเป็นของหลอกลวง ไม่มีอะไรดี ผ้าผ่อนท่อนสไบหามาแล้วอย่างดี สีสดสวยเดี๋ยวก็ทรุดโทรม ความจริงนึกว่าสะอาด มันก็สกปรก ก่อนที่จะใช้จะสวมกายก็ต้องชำระล้าง สวมแล้วก็เก็บ จะใช้ใหม่ก็ต้องซักต้องฟอก นี่แสดงว่ามันสกปรก เครื่องอาภรณ์ต่างๆ ก็คอยปัดคอยสี ขัดเกลา ทำลายสิ่งสกปรกอยู่เสมอ

    ทีนี้อะไรมันเป็นของสะอาด เป็นอันว่าวัตถุก็ดี สิ่งที่มีชีวิตก็ดี มันก็ของไม่สะอาดทั้งหมด จิตคิดอย่างนี้ให้มันเป็นปกติ จิตก็จะตัดความรักเสียได้ ความรักที่มันเกิด เราเข้าใจว่ามันดี เข้าใจว่ามันสวย เข้าใจว่ามันสะอาด อารมณ์อย่างนี้เป็นอารมณ์ของตัณหา ดึงไปอบายภูมิมีนรกเป็นต้น นี่พระทุกองค์ เณรทุกองค์ ฆราวาสทุกท่าน จงทำจิตอย่างนี้เป็นปกติ

    จะสังเกตไว้ว่าใครสนใจหรือไม่สนใจ คนที่สนใจเขาไม่สร้างความเดือดร้อนให้เกิดกับบุคคลอื่น เพราะอะไร เพราะต้องดูตัวไว้เสมอว่าเรามีจุดบกพร่องขนาดไหน อย่าปล่อยให้กิเลสมันล้นจากใจ ถ้าจะเลวอยู่แค่ในใจ ความรักจะพึงเกิดขึ้นในเพศก็อยู่แค่ใจ อย่าให้มันไหลมาทางตา อย่าให้มันไหลมาทางปาก อย่าให้มันไหลมาทางกาย อย่างนี้เขาเรียกว่าขังรัก เป็นแค่กำลังของสมาธิ เป็นสมถภาวนา แต่ทำลายอารมณ์รักภายในใจเสียได้นี่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาญาณ เขาทำกันยังงี้นะ มีอารมณ์ให้ทรงอยู่เป็นปกติ

    ความมีระเบียบวินัยเป็นของสำคัญ คนที่เลวย่อมไม่รักษาระเบียบวินัย ไม่จำคำสั่งและคำสอน คือคนใดก็ตามต้องมีอาการเตือนกันอยู่เสมอๆ นั่นจงรู้ว่าเลวเกินไปสำหรับการที่เกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะการเป็นมนุษย์เรามาจากความดี มาจากทาน มาจากศีล มาจากภาวนา ถ้ามาถึงความเป็นมนุษย์แล้วทำเป็นคนไร้ศีล ไร้ทาน ไร้ภาวนา คืออาการเจริญปัญญา ก็แสดงว่าเรากลับเป็นสัตว์ของอบายภูมิใหม่ กายเป็นคน แต่ใจเป็นสัตว์ กายเป็นคน แต่ใจเป็นเปรต นี่เป็นวิสัยของคนที่ไม่รักดี ไม่รักงาม นี่เราฟังธรรมกันมาถึงขั้นความเป็นอริยะ แต่ว่าจิตใจของเรายังตกเป็นทาสของอบายภูมิอยู่ ก็รู้สึกว่าจะเลวมากเกินไป

    ที่กล่าวอย่างนี้ไม่ใช่ด่า เป็นการแนะนำตามที่เขาปฏิบัติกันมา เขาทำกันอย่างนี้ อัตตนา โจทยัตตานัง จงกล่าวโทษโจทก์ความผิดของตัวไว้เสมอ อย่าไปยุ่งกับคนอื่น คตินี้นักปฏิบัติทุกคนเขาจะประณามตัวเองเข้าไว้เสมอ อารมณ์ยุ่งอยู่กับกามราคะนิดหนึ่ง เขาจะประณามว่าเลวทันที ของอะไรก็ดี ถ้าชมว่าสวย ชมว่างาม เมื่อรู้สึกขึ้นมาก็รู้สึกว่าใจของเรามันเลวเสียแล้วรึ นี่แค่นี้เขาตำหนิตัวเข้าแล้ว แล้วยิ่งไปเพ่งโทษของบุคคลอื่น ไปแสดงอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่น ทำให้บุคคลอื่นได้รับความเร่าร้อน นั่นแสดงว่ากิเลสมันไหลออกมาทางกายและทางวาจา มันล้นออกมาจากใจ มันเลวเกินที่จะเกิดเป็นมนุษย์ใหม่

    นี่เราต้องประณามอย่างนี้ แล้วทางที่ไปจะไปไหน เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ยังเป็นไม่ได้ ต้องไปขึ้นต้นมาจากนรก มันไม่เหมาะสำหรับเรา นี่เราต้องประณามตัวไว้เป็นปกติ อย่าเที่ยวประณามคนอื่นเขา เรื่องราวต่างๆ ที่มันมีความทุกข์ มีความเดือดร้อนก็เพราะว่าความเลวของจิต เราขาดการสำรวม เราขาดการระมัดระวัง การที่ทำความชั่วให้เกิด ทำความเดือดร้อนให้เกิด ประเภทนี้มันเป็นวิสัยของท่าน โลลุทายี หรือว่า เทวทัต ไม่ใช่ของคนปกติธรรมดา หรือไม่ใช่ของพระศากยบุตรพุทธชิโนรส อันนี้จะต้องรำพึงจำไว้เสมอ จำแล้วก็จงอย่าทำความเลว จงอย่าคิดความเลว

    นี่เป็นเรื่องของอนาคามีมรรคข้อแรก มาถึงอนาคามีมรรคข้อที่สอง ตรงนี้ท่านบอกว่า ตัด ปฏิฆะ คำว่าปฏิฆะนี่ไม่ได้หมายถึงความโกรธ ความพยาบาท เรื่องความโกรธ ความพยาบาท มันเป็นเรื่องของพระสกิทาคามี ที่บรรเทาความโกรธ บรรเทาความพยาบาท คิดให้อภัยทาน ความโกรธเกิดขึ้น ความพยาบาทจองล้างจองผลาญ จองเวรจองกรรมเกิดขึ้น รู้สึกตัวขึ้นมา คิดให้อภัยแก่บุคคลผู้ทำความผิด ให้อภัยบุคคลที่ว่าเรา ให้อภัยบุคคลที่ด่าเรา ให้อภัยกับบุคคลที่กลั่นแกล้งเรา อารมณ์จิตก็มีความสุข สำหรับพระอนาคามี พระพุทธเจ้าไม่ทรงตรัสว่าตัดความโกรธกับความพยาบาท ให้ตัดปฏิฆะ

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=110>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>ปฏิฆะ คืออารมณ์ที่ไม่พอใจเข้ามากระทบจิต อารมณ์ใดก็ตามที่คนเขาหาทางกลั่นแกล้งด้วยทางกายบ้าง แสดงโดยทางวาจาบ้าง แสดงโดยทางนิมิตบ้าง อันเป็นที่ไม่ชอบใจของเรา ทางวาจาก็ได้แก่การนินทาว่าร้าย เสียดสีต่างๆ ทางกายก็ได้แก่การประทุษร้ายร่างกายบ้าง แสดงอาการออกทางร่างกายบ้างว่าเราเลว หรือว่าแสดงนิมิตต่างๆ ได้แก่การเขียนหนังสือ ทำรูปลักษณะเปรียบเทียบอย่างนี้เป็นต้น เป็นที่ไม่ชอบใจเรา คำว่าไม่ชอบ อาการทั้งหมดนิดหนึ่งในอารมณ์ของพระอนาคามีจะไม่มีเลย ไม่ถึงกับโกรธ ไม่ใช่ถึงกับโกรธ </TD></TR></TBODY></TABLE>พระอนาคามีตัดอารมณ์ที่ไม่พอใจ อารมณ์ที่ไม่พอใจในของด้านกิเลส แต่ว่าไม่พอใจโดยธรรมยังมี หมายความว่าพระองค์นี้เณรองค์นี้ ฆราวาสคนนั้น ไม่ปฏิบัติอยู่ในศีลาจารวัตร ไม่เป็นที่ถูกต้อง อย่างนี้ไม่พอใจ ไม่สังคมสมาคมด้วย อย่างนี้เป็นการสมควรไม่ถือว่าเป็นปฏิฆะในข้อนี้ รู้ว่าพระภิกษุสามเณรไม่มีศีลาจารวัตรก็เป็นสัตว์ในนรกเสียแล้วนี่ เรื่องอะไรที่เราเป็นผู้มีศีลาจารวัตรจะไปคบหาสมาคมด้วย นี่ไม่ใช่อำนาจความโกรธความพยาบาท เพราะอาศัยความเคารพในธรรม

    ทีนี้สำหรับพระอนาคามี ตัวปฏิฆะ คือ อารมณ์ที่เข้ามากระทบจิต กระทบเพื่อความไม่พอใจ ตัวแรกนั่นตัดกามฉันทะ อารมณ์ที่พอใจ อยากจะได้เข้ามา ตัวปฏิฆะ อารมณ์ที่ไม่พอใจเข้ามากระทบทำให้เร่าร้อน ทีนี้การที่จะตัดปฏิฆะทำยังไง เราก็รวบรวมกำลังพรหมวิหาร ๔ ก็อภัยทานนั่นเอง ความจริงพรหมวิหาร ๔ นี่เรามีกันมาตั้งแต่เริ่มต้นเจริญพระกรรมฐานก่อน การที่นักปฏิบัติสมถกรรมฐานวิปัสสนากรรมฐานจะมีความดีทรงตัวอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยพรหมวิหาร ๔ นักปฏิบัติจริงๆ ขั้นเลวที่สุดเขามีพรหมวิหาร ๔

    ทีนี้พวกเรามีใครบ้างไหม ในอดีตใกล้ก็ดี ไกลก็ดี ที่ขาดพรหมวิหาร ๔ มีอารมณ์คิดเป็นศัตรูกับคนอื่น คิดทำลายล้างบุคคลอื่น คิดอิจฉาริษยาบุคคลอื่น คิดลงโทษ คิดซ้ำเติมในความผิดของบุคคลอื่น มีบ้างไหม ในอดีตเริ่มตั้งแต่ย่างเข้ามาสู่สำนักนี้ อารมณ์จุดไหนมีบ้าง ถ้ามีอยู่ไม่รู้ตัวว่ามีนี่เลวมาก หมายถึงว่าเป็นที่ไปแห่งอเวจีมหานรก ถ้าขณะใดเรารู้อยู่ว่ามี ในกาลนั้นพึงรู้ว่านี่เราเป็นสัตว์นรกเสียแล้ว ไม่ใช่แดนของอริยะ หรือไม่ใช่แดนของสมณะ ไม่ใช่แดนของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา

    นี่ความจริงพรหมวิหาร ๔ นี่เราศึกษากันแต่ต้น ถ้าไม่มีในใจ ก็แสดงว่าเลวเกินไปสำหรับความเป็นมนุษย์ และก็เลวเกินไปที่จะต้องเกิดเป็นสัตว์ เป็นอสุรกายหรือเป็นเปรต ช่วงที่อยู่คืออเวจีมหานรก เตือนใจเตือนตัวให้รู้ไว้ ความเลวประเภทนี้ไม่มีสังคมใดเขาต้องการ นี่ความรู้สึกอย่างนี้ต้องมีกับเราเสมอ ถ้าเรามีอารมณ์แค่พรหมวิหาร ๔ เราก็จงทราบว่านี่เรายังเลวมากเกินไป เพราะอะไร พรหมวิหาร ๔ อันดับต่ำเราก็มีสิทธิแค่เกิดเป็นมนุษย์เท่านั้น

    ถ้าพรหมวิหาร ๔ อันดับกลาง หมายความว่ามีอารมณ์จิตทรงตัว มีความมั่นคงกระชับในความรักคนและสัตว์เสมอด้วยเรา ถ้าเรารักเขา เราไม่สามารถจะไปว่าเขา จะไปติเขา จะไปเสียดสีเขา จะไปกลั่นแกล้งเขา อันนี้ไม่มี คนที่เรารักเราก็มีกรุณา ความสงสาร เมื่อเราไม่กลั่นแกล้ง ไม่เสียดสี ไม่คิดทำลาย มีความรัก ก็มีจิตเกื้อกูลจะสงเคราะห์ให้มีความสุข อารมณ์ใดที่มีความบกพร่องอยู่ กิจใดที่เขาบกพร่องเราเกื้อกูลให้เต็มขึ้นมา ไม่ใช่กล่าววาจาเสียดสี เป็นอาการไม่ดี

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=160>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>วงกับข้าวกับปลาวงไหนอาหารไม่สมบูรณ์ บกพร่องไป เราเกื้อกูลด้วยอาหาร อาการอย่างใดที่เขาบกพร่อง กิจการใดที่เขาบกพร่อง ไม่สามารถจะทำได้ เราช่วยในกิจการนั้น ความรู้ใดที่เขาบกพร่องไม่สามารถจะมีได้ เราแนะนำด้วยเมตตาจิต ไม่ใช่เอาอารมณ์ความเลวทรามความข่มขู่เข้าไปใช้ แล้วก็มีอุเบกขา ความวางเฉยในอาการที่ปรากฏขึ้นกับจิต อันเป็นโทษแห่งความทุกข์ หมายความว่าใครเขาด่า เขาว่า เขาติเตียน ถือว่าช่างมัน อารมณ์สบาย อารมณ์อย่างนี้ยังไม่ใช่ปัจจัยของพระอนาคามี ถ้าลงคำว่า "ช่างมัน" ได้ ก็เป็นปัจจัยของพรหมโลก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>นี่พรหมวิหาร ๔ ที่เราจะทรงกันแต่เล็กแต่น้อยแต่เริ่มต้น ถ้ามีความมั่นคงอย่างนี้ จิตมีความรัก มีความเมตตาปรานี จิตครุ่นคิดในความสงสาร ปรารถนาในการสงเคราะห์ ไม่อิจฉาริษยาใคร วางเฉยในเมื่อกฎของกรรมเข้ามาถึง การกระทบกระทั่งเข้ามาถึง อย่างนี้เป็นอารมณ์ของพรหมวิหาร และถ้าจะกล่าวกันไปก็อยู่ในขั้นของพระโสดาบัน

    มีพรหมวิหาร ๔ ที่มีอารมณ์ละเอียดยิ่งกว่านั้น ก็ได้แก่มีความรักมากขึ้น สงสารมากขึ้น หวังดีมากขึ้น มีอารมณ์วางเฉยไม่หวั่นไหวมากขึ้น เป็นอภัยทาน ใครทำความผิดใดๆ ก็มีความโกรธเกิดขึ้นกระทบกระทั่งจิตใจ รู้สึกตัวขึ้นมาได้ว่า เออ นี่ควรให้อภัยเขา เขาทำไปด้วยอำนาจของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรมบังคับ เราไม่น่าจะโกรธ ให้อภัยแก่บุคคลผู้ทำความผิด นี่เป็นปัจจัยของพระสกิทาคามี

    ทีนี้ พระอนาคามีทำยังไง เร่งรัดพรหมวิหาร ๔ ทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุเบกขาญาณ วิปัสสนาญาณตัวสุดท้าย มีอารมณ์ร่วมกัน สังขารุเปกขาญาณ มีความเฉยในขันธ์ ๕ หมายความว่าขันธ์ ๕ มันมีสภาพยังไงรู้อยู่แล้ว ว่ามันมีความเกิดขึ้น มันมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีอนัตตา มีการสลายตัวเข้าไปในที่สุด พัง เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นของธรรมดา โลกธรรมทั้งหมด ความมีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ รู้ตัวอยู่เสมอว่าช่างมัน มันจะเป็นอะไรก็ช่างมัน มันจะแก่ก็เชิญแก่ซี มันจะป่วยก็เชิญป่วย มันจะตายก็เชิญตาย

    ของที่ชาวบ้านเขารัก เขาหวงแหน มันพังสลายตัวลง ญาติตาย พ่อตาย แม่ตาย พี่ตาย น้องตาย คนรักตาย ของที่รักสูญหาย ชาวบ้านเขาเสียใจ เราเฉย ถือว่านี่มันเรื่องธรรมดา ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องแก้ไขกันได้ ห้ามปรามไม่ได้ แก้ไขไม่ได้ เรื่องอะไรจะต้องไปเสียใจกระทบใจ มีอารมณ์วางเฉย มีจิตสดชื่นเป็นปกติ ถือว่านี่เป็นธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแล้ว ตรงที่พระพุทธเจ้าสอนว่าของจริงมันเป็นไปตามนี้

    อารมณ์วาจาที่เขากล่าวให้ไม่เป็นที่พอใจ นินทาเกิดขึ้นเราถือว่าเป็นเรื่องเล็ก นายอยากปากเสียก็เสียไป ฉันไม่ยอมเสียกับนายด้วย คำสรรเสริญเกิดขึ้นไม่สนใจ ถือว่าถ้อยคำประเภทนี้เขาหลอกให้เราเป็นทาส เราไม่เอา หรือไม่โกรธ ไม่โกรธทั้งคนสรรเสริญและไม่โกรธคนนินทา แล้วก็ไม่ดีใจในคำสรรเสริญ ถือว่าเป็นเรื่องเหลวไหล

    ลาภเกิดขึ้นถือว่าไม่ช้ามันก็หมด คนที่ร่ำรวยมากๆ ตายแล้วเอาไปไหนไม่ได้ ลาภเสื่อมสลายตัวไป มันสูญไป เพราะว่าเราต้องใช้ต้องสอย มีเหตุใดๆ เกิดขึ้นก็ตามถือเป็นเรื่องธรรมดา ชาวบ้านเขาหมดมา เราเคยหมดไปแล้ว เคยหามาได้มากกว่านี้ หมดมากกว่านี้ ก็ไม่เห็นจะเป็นไร ชาวบ้านเขาหมดมากกว่าเราก็มีเยอะแยะไป มันของปกติธรรมดา เราก็เฉย

    รวมความว่าใช้สังขารุเปกขาญาณ เฉยทั้งอารมณ์ที่เข้ามากระทบกระทั่งจิตในด้านของโลกีย์วิสัย เฉยทั้งคำชม เฉยทั้งคำนินทา เฉยทั้งได้มา เฉยทั้งเสื่อมไป เฉยหมด ไม่มีอะไรสนใจ คำนินทาว่าร้าย เกิดขึ้นกระทบใจแผล็บ ปล่อยหลุดไปเลย ช่างมัน ฉันไม่ยุ่ง อารมณ์อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย จะป่วยไข้ไม่สบาย มันจะแก่ มันจะตายก็ช่างมัน แต่การรักษาพยาบาล การบริหารร่างกายเป็นของธรรมดา ถือว่าทำตามปกติ

    ถ้าเขาจะถามว่า ถ้าทำจิตได้ยังงี้ ยังสูบบุหรี่ไหม ยังกินหมากไหม ยังจะต้องใช้ของที่เคยใช้กับร่างกายไหม ก็ต้องตอบว่าใช้ตามปกติ เขาไม่ได้ติด แต่ร่างกายต้องการ เหมือนกับพระพุทธเจ้าที่เป็นพระพุทธเจ้า แล้วยังฉันภัตตาหาร เรื่องอะไรที่ประสาทต้องการเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องบำรุงโดยประสาท เพื่อเราจะเอาไว้ใช้เป็นประโยชน์ เหมือนกับคนที่ลงเรือรั่วเพื่อหวังจะข้ามฟาก ถ้าขณะใดที่ยังอาศัยเรืออยู่ เมื่อน้ำมันรั่วขึ้นมาเราก็ต้องอุด มันผุตรงไหนก็ต้องทำนุบำรุงซ่อมแซม ไม่ใช่ว่าปล่อยให้มันรั่วให้มันพังไปจนกว่าเราจะขึ้นฝั่งได้

    นี่อารมณ์ใจแค่นี้กิเลสมันยังไม่หมด ปรากฏว่ามันหมดไปเพียงแค่ ๕๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เพราะว่าอันนี้ถ้าทำได้ทั้งหมด ตัดกามฉันทะได้เด็ดขาด ตัดปฏิฆะได้เด็ดขาด จึงจะเป็นอนาคามีผล ยังไม่ถึงอรหัตผล ขอให้ท่านทั้งหลายจงทบทวนกำลังใจไว้ให้ดี มันเป็นของไม่ยาก ต่อไปนี้ขอทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

    จากหนังสือทางสายเข้าสู่พระนิพพาน (ตอนที่ ๑๐) หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี [​IMG]
    สรุปการปฏิบัติเพื่ออนาคามีผล

    อันดับต่อไปนี้จะขอพูดสรุปในการปฏิบัติของพระอนาคามีมรรคเพื่อให้เข้าถึงอนาคามีผล สำหรับพระอนาคามีตัดสังโยชน์ ๒ คือ กามฉันทะ กับ ปฏิฆะ กามฉันทะ เราใช้สมถะควบด้วยกายคตานุสสติกับอสุภกรรมฐานให้เกิดเป็นนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่ายในรูปร่างของคนและสัตว์และวัตถุ โดยใช้ปัญญาพิจารณาหาความเป็นจริงว่าสภาวะทั้งหลายเหล่านี้เต็มไปด้วยความสกปรก ไม่มีร่างกายของคนหรือสัตว์หรือวัตถุประเภทใดที่จะมีความสะอาด สวยสดงดงาม มีการทรงตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งร่างกายของคนและสัตว์เต็มไปด้วยความสกปรก มีมูตรและกรีษ คือมูตรและคูถ เต็มไปหมด มีน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนองเต็มไปหมด
    * กรีษ, กรีส : คูถ อุจจาระ ขี้

    พิจารณากรรมฐานกองนี้ให้เกิดเป็นนิพพานญาณ คือใช้อารมณ์จิตให้เข้มแข็ง การใช้กำลังจิตให้เข้มแข็งน่ะไม่ใช่นั่งหลับตาปี๋ทรงฌาน การทำอย่างนั้นเป็นการฝึกจิตให้ทรงตัว อารมณ์จิตที่เข้มแข็งจริงๆ ก็มีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่ามีสภาพตามที่กล่าวมาแล้ว นอกจากนั้น ก็พิจารณาไปด้วยว่า รูปของคนและสัตว์ ที่เราเรียกว่าขันธ์ ๕ นอกจากว่ามันจะมีความสกปรกแล้ว มันยังไม่เที่ยง คือมีความเสื่อมไปเป็นปกติ ในที่สุดมันก็ถึงการสลายตัว

    ถ้าเราเอาจิตไปยึดถือในกามารมณ์ หรือกามฉันทะ พอใจในความสวยของรูป พอใจในความหอมของกลิ่น พอใจในความเพราะของเสียง พอใจในรสอร่อยของอาหาร พอใจในความซาบซ่านของการสัมผัส อย่างนี้เป็นต้น ก็ชื่อว่าเราโง่เกินไป ไม่ได้พิจารณาหาความเป็นจริง รู้แล้วว่าทั้งหมดนี่ รูปเสียง กลิ่น รส และสัมผัสก็ดีมีความสกปรกน่าสะอิดสะเอียนแล้วก็มีการทำลายตัวเองอยู่เป็นปกติไม่มีการทรงตัว

    สำหรับปฏิฆะ เราก็ใช้พรหมวิหาร ๔ ให้เข้าถึงจุด คือจับอยู่ในระดับอภัยทานนี่เป็นเรื่องของสกิทาคามี สำหรับอนาคามีไม่ทำให้ปฏิฆะเกิดขึ้นเลย คำว่าปฏิฆะนี่การกระทบกระทั่งอารมณ์ของจิต ถ้าจะกล่าวไปอีกที ยังไม่ถึงกับโกรธหรือโกรธจัด หรือไม่ถึงกับความผูกโกรธเข้าไว้

    สิ่งที่กระทบอารมณ์ที่ไม่ชอบใจไม่มีสำหรับเราซึ่งเป็นพระอนาคามี ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเรามีความรู้สึกอยู่ว่า ถ้อยคำของคนหรือจริยาของคนไม่ได้สร้างความดีหรือสร้างความเลวให้เกิดขึ้นกับเรา เราจะดีหรือว่าเราจะเลวมันอยู่ที่การปฏิบัติของตัวเราโดยเฉพาะ ฉะนั้น ถ้อยคำของบุคคลต่างๆ ที่จะชมก็ดี สรรเสริญก็ดี ไม่สนใจ เราไม่เป็นทาสของการนินทาและสรรเสริญ ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของโลก โดยมีความรู้สึกว่าคนที่สร้างความเร่าร้อนในทางวาจา หรือทางกาย มันเกิดขึ้นกับเรา เพราะคนประเภทนี้เขาไม่มีอิสระในตัว มีปกติในความเป็นทาส อย่างนี้เราจะต้องมีความรู้สึกอยู่เสมอว่า คนพวกนี้เขาเป็นทาส เขาไม่ได้เป็นไท

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=110>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>คำว่า ไท ก็หมายถึงอิสระภาพ ความเป็นอิสระของตัวเอง คำว่า ทาส ในที่นี้ก็เป็นทาสของกิเลส ความเศร้าหมองของจิต ปล่อยให้จิตสกปรกไปด้วยอำนาจของอกุศลกรรมมีความเลวทรามหมุนไปด้วยอำนาจของตัณหา เมื่อจิตมีความเศร้าหมองด้วยอำนาจของอกุศลกรรม จิตดวงนั้นก็มีสภาวะเป็นจิตสกปรก หรือเป็นจิตที่เต็มไปด้วยความโง่ปราศจากความผ่องใสในการรู้จริง เหมือนกับนัยน์ตาของเราที่ถูกเอาของดำเข้ามาผูกยังไม่ทราบความเป็นจริงว่าอะไรดี อะไรชั่ว

    ฉะนั้น คนที่ตกเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน คือความยึดมั่น คิดว่าตัวจะไม่ตาย ตัวจะไม่แก่ คิดว่าความชั่วที่ทำไปมันเป็นผลของความดี เป็นผลของความสุข แต่เนื้อแท้ที่จริงมันเป็นผลทำให้เกิดความเร่าร้อนขึ้นภายหลัง คนประเภทนี้เป็นคนที่น่าสงสาร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ในเมื่อเขาทำชั่วขึ้นมาแทนที่เราจะโกรธ กลับมีความเมตตา ว่าน่าเสียดายที่คนประเภทนี้กว่าจะเกิดมาเป็นคนได้ก็แสนลำบาก พยายามตะเกียกตะกายขึ้นมาจากนรก จากนรกมาเป็นเปรต จากเปรตมาเป็นอสุรกาย จากอสุรกายมาเป็นสัตว์เดรัจฉาน จากสัตว์เดรัจฉานกว่าจะมาเป็นคนได้ก็ยากแสนจะยาก

    พอเกิดขึ้นมาเป็นคนได้แล้วกลับมาสร้างความชั่ว ไม่สำรวมกาย ไม่สำรวมวาจา ไม่สำรวมจิต คิดไว้แต่ในด้านอิจฉาริษยาบุคคลอื่น หวังทำลายบุคคลอื่นให้เสื่อมจากความดี คนประเภทนี้เรารู้อยู่แล้วว่ามีความชั่วล้นจากใจเข้ามาถึงกายและวาจา ถ้าจะเทียบกันกับเราซึ่งทรงจิตอยู่ในระดับของความดี ก็เป็นอันว่าคนประเภทนี้ถ้าจะเปรียบกันไป จะเปรียบกับสัตว์เดรัจฉาน กับคนก็ยังเข้าไม่ได้ เพราะว่าสภาวะที่เขาทำ มันเป็นสภาวะของสัตว์นรก เราไม่ถือโทษโกรธเขา เราไม่คิดจะทำร้ายเขา แทนที่เราจะคิดยังงั้นเรากลับสงสาร ว่าเขาช่างโง่เง่าเต่าตุ่นอะไรอย่างนี้ มาเป็นคนได้นิดเดียวใช้เวลาไม่กี่ปี ก็ตั้งหน้าตั้งตาเดินทางลงไปสู่นรกใหม่

    นี่ทำกำลังใจของเราให้เกิดความรู้สึก แทนที่จะโกรธกลับมีความเมตตาปรานี กลับสงสาร ถ้าโอกาสมีพอจะเกื้อกูลให้มีความสุขและเราจะไม่อิจฉาริษยาเขา ถ้าเขาจะได้ดีพลอยยินดีด้วย เราไม่ซ้ำเติมในเมื่อเขาทำความชั่ว คือเขาทำความชั่วแล้ว แทนที่จะยั่วให้เขาชั่วมากขึ้น เราเฉยเสีย เราไม่ยอมรับปล่อยมันไป นี่เรียกว่าพระอนาคามี ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า เป็นผู้หนักอยู่ใน อธิจิตสิกขา หมายความว่า มีอารมณ์ทรงตัว อธิจิตสิกขานี่ก็ต้องอย่าลืมเพราะเราพูดกันอยู่เสมอ ก็ได้แก่มีสมาธิมั่นคง

    มีสมาธิมั่นคงนั่น ไม่ใช่เฉพาะยามที่เราจะไปนั่งสมาธิหลับตา กำหนดรู้เฉพาะให้จิตมันทรงตัวอยู่อย่างนี้เป็นอารมณ์ว่าขณะใดที่มีความรู้สึกอยู่ เรารังเกียจในรูปของคนและสัตว์ รังเกียจในเสียงของคนและสัตว์ รังเกียจในกลิ่นต่างๆ รังเกียจในรส รังเกียจในการสัมผัส จิตไม่มั่วสุมในกามารมณ์ เห็นว่ากามารมณ์เป็นปัจจัยของความทุกข์ กามารมณ์เป็นปัจจัยของความสกปรกโสมม เป็นของน่าเกลียด กามารมณ์เป็นเครื่องถ่วงให้เราเกิดแก่เจ็บตายอยู่ตลอดเวลา เราจะมีแต่ความลำบากยากแค้น หาความสุขที่แน่นอนไม่ได้

    ใจคิดอย่างนี้ไว้เป็นปกติ สิ่งที่เราจะพึงหวังนั่นก็คือ "พระนิพพาน" ตั้งใจไว้ว่าเราพยายามทำลายกามารมณ์ไม่ให้เกิดขึ้นกับจิตของเราก็เพื่อเป็นการสร้างความเบาให้เข้าถึงพระนิพพาน เราไม่ยอมรับคำนินทาและสรรเสริญใดๆ ที่มีอารมณ์มากระทบจิต พระอนาคามีนี่ไม่ทำจิตให้โกรธ คำว่าโกรธไม่มี เป็นแต่เพียงว่าอารมณ์ใดๆ เข้ามากระทบปั๊บให้มันร่วงหล่นไปทันที จิตไม่หวั่นไหวไปตามนั้น

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จำถ้อยคำขององค์สมเด็จพระภควันต์ที่สุปิยปริพาชกกับนันทมานพ ลุงกับหลานมีความเห็นเป็นข้าศึกซึ่งกันและกัน สำหรับท่านลุงนินทาพระรัตนตรัย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ตลอดคืนยันรุ่ง ไม่ได้หลับไม่ได้นอน ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะเห็นว่าองค์สมเด็จพระชินวร และบรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายมีความสงบเสงี่ยม น่ารัก น่าเคารพ แต่บรรดาลูกศิษย์ของตนเกลื่อนกล่นแสดงอาการรุกรี้รุกรน เล่นหัวกัน หยอกล้อกัน ไม่มีอาการสำรวม แทนที่เขาจะเห็นความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสงฆ์ กลับมีอารมณ์อิจฉาริษยาพระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย

    เป็นอันว่าเขาก็เลยนั่งนินทาพระพุทธเจ้าด้วย นั่งนินทาพระสงฆ์ด้วย ตลอดคืน สำหรับนันทมานพผู้เป็นหลานชายกลับมีคติเห็นตรงกันข้ามกับท่านลุง เห็นว่าพระพุทธเจ้าดี เห็นว่าพระสงฆ์ดี มีระเบียบเรียบร้อยดี กลับนั่งสรรเสริญองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาตลอดคืน ลุงนินทาพระรัตนตรัย หลานสรรเสริญพระรัตนตรัย อยู่ในที่เดียวกัน คนสองคนมีถ้อยคำเป็นข้าศึกซึ่งกันและกัน มาในตอนเช้าบรรดาพระสงฆ์ไปบิณฑบาตทราบข่าว จึงเข้ามาเฝ้าองค์สมเด็จพระภควันต์ กราบทูลให้ทรงทราบ

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#99ccff>ตอนนี้ องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา แนะนำบรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายว่า ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นินทา ปสังสา การนินทาเป็นธรรมดาของโลก คนเกิดมาในโลกทั้งหมดจะพ้นการนินทาไม่มี นัตถิ โลเก อนินทิโต คนไม่ถูกนินทาเลยไม่มีในโลก ฉะนั้นพวกเธอทั้งหลายจงอย่าสนใจกับคำสรรเสริญและคำนินทา เราจะไม่ชั่วในเมื่อเราทำความดี มีชาวบ้านเขานินทาเราก็จะไม่ชั่วไปตามคำเขาว่า ถ้าเราเลวเขาจะสรรเสริญเราเพียงใดก็ดีเราก็จะไม่ดีไปตามคำสรรเสริญนั้น ขอเธอทั้งหลายจงอย่าสนใจกับคำนินทาและสรรเสริญ ถือว่าธรรมดาของสัตว์ที่เกิดมาในโลก ต้องมีสภาวะกระทบกระทั่งแบบนี้ทั้งหมด</TD></TR></TBODY></TABLE>แล้วองค์สมเด็จพระบรมสุคตก็ทรงแนะนำให้บรรดาภิกษุทั้งหลายทรงอารมณ์จิต ไม่ยอมรับถ้อยคำทั้งสองประการ ทั้งคำนินทาและสรรเสริญ คำว่า "ไม่ยอมรับ" ก็คือไม่สนใจ นินทาก็ช่าง สรรเสริญก็ช่าง ตั้งหน้าตั้งตาทำความดีเข้าไว้ นี่เป็นอันว่าเราเพ่งในด้านเห็นคนอื่นเห็นว่าเขาเลว รวมความว่าเราจะไม่ยอมเอาทองเข้าไปเสียดสีกับอุจจาระ หรือว่าที่โบราณบอกว่า ไม่ยอมเอาพิมเสนไปแลกเกลือ เอาเนื้อไปแลกหนัง พิมเสนค่ามันสูงกว่าเกลือ เนื้อค่ามันสูงกว่าหนัง ทีนี้ในเมื่อเราทรงอารมณ์ในด้านความดี เห็นคนอื่นเขาทำความชั่ว เราก็ปล่อยให้เขาชั่วไปแต่ฝ่ายเดียว เราไม่ยอมชั่วด้วย ในขณะที่เราไม่ยอมชั่วด้วย จิตเราก็ไม่สนใจในความชั่วของเขา เขาจะเต้นแร้งเต้นกาเป็นประการใด ก็คิดว่าเขาจะไปนรกก็ช่างเขาเถอะ เราไม่ไปกับเขา ใจเราสบาย
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=122></TD><TD vAlign=top>นี่เพราะว่าเรามีอารมณ์จิตสบายแบบนี้ มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าจิตของเราเป็นสุข ความสวยสดงดงามของรูปโฉมโนมพรรณต่างๆ เห็นปั๊บความรู้สึกเกิดทันทีว่าสภาพของรูปนี้มันเป็นอสุภสัญญา ก็หมายความว่ามันเป็นของสกปรก ต้องมีสติสัมปชัญญะควบคุมตามปกติ และก็ตัดอารมณ์คำว่าสวยสดงดงามออกได้จริงๆ โดยพิจารณาเห็นว่าร่างกายของคนและสัตว์ แม้แต่ของเราก็ตามมันไม่ได้อยู่ในอำนาจของเรา มันไม่ได้เป็นทรัพย์สินของเรา มันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีอำนาจที่จะควบคุมมัน

    ร่างกายของคนทุกคนต้องการความสะอาด พยายามชำระล้างร่างกายนอกคือผิว แต่แล้วมันก็สกปรกไปด้วยเหงื่อไคล ต้องชำระล้างกันตลอดวัน โดยเฉพาะเหงื่อไคลที่มันสกปรกนี่มันมาจากไหน มันมาจากภายในของร่างกาย เพราะในร่างกายเต็มไปด้วยส่วนสกปรกทั้งหมด หาอะไรสะอาดมิได้เลย นี่ทำความรู้สึกให้เข้าใจตามความเป็นจริง นอกจากสกปรกแล้วมันมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และมีความแปรปรวนเสื่อมตัวไปท่ามกลาง มีการสลายตัวไปในที่สุด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ในเมื่อมันพัง เรายึดถือร่างกายของเราว่าเป็นเราเป็นของเราก็ดี ไปพยายามรักร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี ในที่สุดร่างกายทั้งสองประเภทนี้ไม่สามารถจะควบคุมไว้ได้ มันสลายตัว ในที่สุดก็ไม่ใช่สมบัติของเราสักอย่างหนึ่ง เป็นอันว่ามันเป็นสมบัติของโลก จิตเป็นผู้อาศัยร่างกายชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้นเราจะมีความสุขหรือความทุกข์ก็ได้

    อาศัยการชำระจิต ถ้าจิตของเราสกปรกยังมีความหลงใหลใฝ่ฝันในรูปโฉมโนมพรรณต่างๆ เป็นต้นก็ดี จิตของเรายังรับทราบ ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งทางจิต แล้วในด้านความดีคือความสรรเสริญ ในด้านความชั่วคือการนินทา ก็ชื่อว่าจิตของเราเลวมากเกินไป จิตใจของเราน้อมไปในอบายภูมิ นี่เราต้องพยายามรู้ตัวอยู่เสมอ พยายามประณามจิตของเราไว้ ดูจิตของเรา อย่าไปดูจิตของคนอื่น คนทุกคนที่นั่งที่นี่ พระทุกองค์ เณรทุกองค์ เราพูดกันในตอนเย็นทุกวันว่ามีพรหมวิหาร ๔ เว้นอคติ ๔ ทรงอิทธิบาท ๔ นี่พูดกันอย่างนี้ตลอดวัน มีทุกวัน แล้วยังมีอารมณ์เลว ก็เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งว่าท่านทั้งหลายจะต้องกลับไปสู่นรกใหม่

    ฉะนั้น จงมีความรู้สึกสำรวมใจ ประณามใจไว้เป็นปกติ อย่าทะนงตนว่าเป็นคนดี ถ้าเรารู้สึกว่าเราดีเมื่อไหร่ นั่นก็จงทราบว่าเราเลวมากเกินไป สำหรับคนอื่นที่เขาจะยอมรับนับถือว่าเราเป็นคนดีอยู่บ้าง คำว่าดีอยู่บ้าง ไม่มีสำหรับคนที่รู้สึกว่าตัวดี ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะคำว่า "รู้สึกว่าตัวดี" น่ะมันเป็นมานะกิเลส แล้วมันก็แบกความชั่วเข้าไว้ทั้งหมด อมความชั่วเข้าไว้ทั้งหมด ประคับประคองความชั่วเข้าไว้ทั้งหมด ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะเราไม่มองตัวเลว เพราะว่ารัดรึงเอาความเลวเข้าไว้เต็มใจเป็นอารมณ์ของใจ

    ในเมื่อมีความรู้สึกตัวว่าดี แต่ไม่มองความชั่วของตัว ก็เที่ยวเสียดสีชาวบ้าน แคะไค้ชาวบ้าน ทำลายความสุขของชาวบ้าน และอาการอย่างนี้จงทราบว่านี่กิเลสมันล้นใจ ก็จงภาวนาไว้ว่านรกเป็นที่อยู่ของเรา และอีกนานแสนกัปจนกว่าจะกลับมาเกิดเป็นคนได้ ถ้าเรามีความพอใจก็จงสร้างความเลวอย่างนั้นไว้เป็นปกติ สังคมแห่งคนดีเขาไม่ยอมรับ สักวันหนึ่งข้างหน้าเขาจะไล่เราออกไปจากสังคมนั้น เพราะไม่มีใครเขาปรารถนา

    นอกจากเขาจะไล่เราไป ก่อนที่เขาจะไล่ เราก็มีแต่ความร้อนใจ ในเมื่อบุคคลใดก็ตามเขาพูดถึงความเลวขึ้นมาเมื่อไรเราก็สะเทือนใจเมื่อนั้น คิดว่าเขาด่าเราความจริงไม่มีใครเขาด่า เขาประณามว่าความเลว มันเป็นของไม่ดี เรามีสภาพเหมือนวัวสันหลังหวะ พอเขาพูดเข้ามากระทบนิดก็เข้าใจว่าเขาด่าเรา นี่อารมณ์อย่างนี้มันเป็นความเลวของเรา ความเลวนี้จะนำเราลงนรก ต้องเป็นเปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน กว่าจะมาเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะ ประกอบไปด้วยสัมมาอาชีวะ สัมมาทิฏฐิ เป็นของยาก น่าเสียดายกาลเวลาที่เราพยายามทำความดีเข้ามาเกิดเป็นคน

    นี่จงประณามตนไว้เป็นปกติ อย่าชมตัวเองและก็จงรู้ตัวเอง รู้ตัวไว้เสมอ ว่าเราเลวอยู่เสมอ เราจะระมัดระวังความเลวไม่ให้เกิดขึ้น จะทำลายมันเสีย จะทรงไว้แต่ความดี จุดแห่งพระอนาคามีก็คุมจิตไว้ ว่าเราจะไม่เห็นรูปใดๆ เป็นของสวย ไม่มีความรู้สึกว่าเสียงใดๆ มีความไพเราะจับใจจนลืมไม่ลง จะไม่ติดใจอยู่ในกลิ่นใดๆ หรือว่าสภาพอันสลายตัวง่าย จะไม่หลงใหลใฝ่ฝันในรส เพราะรสไม่มีความหมาย ผ่านลิ้นแล้วก็หายไป จะไม่มีความสัมผัสใดๆ ในระหว่างเพศ เพราะร่างกายของแต่ละคนสกปรก เราไม่ต้องการ เพราะร่างกายทุกร่างกาย ร่างกายเราก็ดี มีสภาพเหมือนถุงใส่อุจจาระ แล้วถุงมันก็บางแสนบาง กลิ่นไอความซึมซาบของอุจจาระมันซึมออกมานอกถุง แสดงว่าเป็นสิ่งน่ารังเกียจ

    ตัดอารมณ์นี้เสียให้ได้ด้วยอำนาจสมถะ คือกายคตานุสสติหรืออสุภกรรมฐาน และก็ตัดอารมณ์มีความต้องการเสียด้วยสักกายทิฏฐิ เห็นว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ของเขา มันเป็นเรือนอาศัยของจิตชั่วคราวเท่านั้น ชำระจิตให้ผ่องใส ถ้าจิตใจของเรารักษาอารมณ์อย่างนี้ได้เป็นเอกัคคตารมณ์โดยไม่ต้องระวัง และรักษาอารมณ์ความโกรธความพยาบาท ความไม่พอใจในถ้อยคำใดที่เกิดขึ้นกับเรา โดยจิตมีความสุข รับฟังคำสรรเสริญก็ไม่สนใจ รับฟังคำนินทาว่าร้ายเสียดสีก็ไม่สนใจ อารมณ์สบาย มีความสุข

    มีศีลบริสุทธิ์ มีความเคารพในพระรัตนตรัย มีกำลังใจไม่ติดอยู่ในความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งเป็นอารมณ์หยาบ มีกำลังใจไม่สนใจกับรูปโฉมโนมพรรณ ไม่มีความพอใจในระหว่างเพศ จิตใจของเราไม่หาเหตุในการกระทบจิต คือไม่มีความหวั่นไหวเป็นสังขารุเปกขาญาณ คือมีความวางเฉยเป็นปกติ อย่างนี้ต้องถือว่าเป็นปกติ ไม่ใช่ขณะใดขณะหนึ่งมันเกิดขึ้น เมื่อทรงอารมณ์อย่างนี้ก็ได้ชื่อว่าเราเป็น พระอนาคามีผล เป็นพระอริยบุคคลที่ไม่ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ตายจากคนเป็นเทวดา หรือพรหมแล้วก็นิพพานบนนั้น

    เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ธรรมใดที่พึงกล่าวต่อไปก็หมดเวลาเสียแล้ว ต่อจากนี้ไปขอบรรดาท่านทั้งหลายตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

    จากหนังสือทางสายเข้าสู่พระนิพพาน (ตอนที่ ๑๑) หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ลองอ่านดูนะครับจับตัวใหนทำอะไรแล้วไปง่ายผ่านง่าย
     
  3. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ได้สักอนาผล คงเบาไปเยอะ ^-^
     
  4. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    0 0
     
  5. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ไกล้พระนิพพานคงต้องผ่านทางนี้
     
  6. ธัมปฏิบัติ

    ธัมปฏิบัติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +1,019
  7. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ตัดกามฉันทะ ทำอย่างไร?
     
  8. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    คัดจากคำสอนหลวงพ่อด้านบน

    ทีนี้การที่ทำให้มีอารมณ์อย่างนี้มันยากไหม เราก็ไล่เบี้ยไปถึงพระสกิทาคามี เราเริ่มต้นกันมาแล้ว จนกระทั่งความรู้สึกประเภทนี้เบาบางลงไป การผ่านสกิทาคามีน่ะมันเบาลงมาแล้ว ทีนี้เหลือเพียงกวาดให้มันเตียนลงไปเท่านั้น ทีนี้วิธีทำให้เบาทำยังไง วิธีที่กวาดให้เตียนทำยังไง กวาดให้เตียนเราก็ต้องหันไปดูสมถะภาวนา นี่เรื่องสมถะภาวนานี่แม้แต่พระอรหันต์ท่านก็ยังใช้อยู่ อย่าไปนั่งฟังพวกบรรดาทั้งหลายที่ว่าสมถะไม่มีความหมาย สู้วิปัสสนาไม่ได้ นี่เป็นอันว่าไม่รู้ว่าอะไรเป็นสมถะไม่รู้ว่าอะไรเป็นวิปัสสนา สมถะคือตัวสมาธิ นักปฏิบัติจริงๆ ทั้งศีลต้องบริสุทธิ์อยู่เสมอ สมาธิต้องทรงตัว วิปัสสนาญาณต้องแจ่มใส สามประการนี่เราจะแยกกันไม่ได้ และขาดอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วไม่มีผล
     
  9. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    อยากได้โสดาบันครับ ทำไงดี
     
  10. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    ถามง่ายดีเน้อ ตัดความอยากได้ก่อนสิจ๊ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...