ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    สาธุ ขอต้อนรับ คุณอุกามณี ด้วยความยินดียิ่ง มีโอกาสแวะมาเยี่ยมเยียน

    กันอีกนะครับ
     
  2. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ..... ความจงรักภักดีคืออะไร คำตอบคือความศรัทธา ความรักบูชาอย่างผูกพันต่อบุคคลหรืออุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่ง และตามนัยสำคัญนี้ความจงรักภักดีเป็นส่วนหนึ่งของจริยธรรม ซึ่งพลาโตนักปราชญ์กรีกเมื่อ 425 ปีก่อนคริสตกาลได้พูดไว้ว่า “คนจะเป็นคนได้ต้องมีความจงรักภักดี และความจงรักภักดีเป็นเงื่อนไขสำคัญของวิถีชีวิตที่อิ่มเอิบด้วยปัญญา” และที่ว่าความจงรักภักดีเป็นส่วนหนึ่งของจริยธรรมก็เพราะว่ามันเป็นหลักปรัชญาที่ว่าด้วยการนำพาชีวิตให้ดำเนินด้วยการประพฤติธรรมประพฤติชอบ และการใช้ชีวิตที่ดีที่ชอบสามารถแยกแยะชั่วดีได้ ซึ่งปราชญ์กรีกคนแรกคือ โซเครติส (Socrates) ให้หลักการลักษณะไว้เมื่อ 470 ปีก่อนคริสตกาลที่ชี้นำปัญญาชน และสามัญชนให้ประพฤติชอบด้วยปัญญาของตัวเองว่าอะไรถูกอะไรผิด

    เรื่องความจงรักภักดีนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับความจงรักภักดีไว้ในหลักราชการ 10 ประการที่ทรงกล่าวถึงคุณลักษณะอันสำคัญของผู้เป็นข้าราชการที่ดี โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์แจกข้าราชการทั่วไปในวันสงกรานต์ปี 2475 เมื่อ 85 ปีมาแล้ว แต่ยังมีความร่วมสมัยเป็นสากล

    พระองค์ทรงเน้นเรื่องความจงรักภักดีไว้ดังนี้ “ความจงรักภักดีแปลว่า ความยอมสละตน เพื่อหาประโยชน์แห่งท่านคือ ถึงแม้ว่าตนจะต้องได้รับความเดือดร้อนรำคาญ ตกระกำลำบากหรือจนถึงต้องสิ้นชีวิตเป็นที่สุดก็ยอมได้ทั้งนั้น เพื่อมุ่งประโยชน์อันแท้จริงให้มีแก่ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์”

    ดังนั้น เมื่อขยายความหมายของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์แล้วพบว่า ชาติคือ รัฐชาติ ที่ประกอบด้วยอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งชาติ ชนในชาติ และรัฐบาล ส่วนศาสนาได้แก่ ความเชื่อที่มีคุณูปการกับชนในชาติให้คำมั่นอยู่บนคุณธรรมที่มุ่งมั่นดำรงสันติสุขตามคำสั่งสอนของศาสนาแห่งศาสนาต่างๆ ที่ได้สถาปนาในชาตินั้นๆ อย่างสมดุลเสมอภาค

    และประการสุดท้าย พระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของชาติที่มีนิติประเพณีในการปกครองประเทศชาติมาช้านาน และด้วยลัทธิธรรมราชาทำให้รัฐชาติมีความอยู่รอดปลอดภัย ราษฎรมีความผาสุกตามอัตภาพ จึงควรถวายความจงรักภักดี เพราะพระมหากษัตริย์ทรงเป็นปัจเจกบุคคลที่เป็นองค์ประกอบแห่งจุดรวมใจที่สำคัญในสถาบันชาติที่สานความผูกพันทุกเชื้อชาติ และศาสนา

    ในปรัชญานี้ผู้ที่จะต้องยึดถือหลักความจงรักภักดีอย่างเข้มข้นนั้น ต้องเป็นทหารเพราะทหารได้ประกาศไว้ในคำสาบานตัวต่อธงไชยเฉลิมพล อันเป็นตัวแทนของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ที่ถือว่าเป็นหลักชัยสูงสุดของทหารในหลักความจงรักภักดีที่ต้องปฏิเสธไม่แสดงความนับถือต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไร้ ซึ่งความจงรักภักดีต่อชาติกำเนิดของตัวเอง ต่อศาสนาของตัวเอง และต่อพระมหากษัตริย์ที่ทรงดำรงไว้ ซึ่งธรรมราชาปฏิบัติ...........


    ๐๐๐ ความจงรักภักดีที่หายไป โดย ว.ร. ฤทธาคนี

    ขอขอบคุณ ความจงรักภักดีที่หายไป
     
  3. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ความจงรักภักดีต่อในหลวง

    โดย : เรือรบ เมืองมั่น


    ..........
    บทความที่ผมจะนำลงต่อไปนี้เป็นบทความที่เขียนไว้นานแล้ว กระจายอยู่ในหมู่สังคมแคบๆ โดยยังไม่เคยตีพิมพ์ แต่เวลานี้เป็นยามที่เยาวชนไทยรุ่นใหม่กำลังหาเหตุผลสำคัญมาหนุนเชื่อว่าทำไมตอนนี้ตนจึงต้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมจึงขอเสนอมุมมองจากอดีตของคนรุ่นผมให้พวกเขารับทราบข้อมูลว่า ทำไมเราถึงต้องทำความดีเพื่อในหลวง

    นี่เป็นคำถามซึ่งคนรุ่นใหม่อาจยากจะเข้าใจถึงเหตุผลอย่างถ่องแท้ แต่คนรุ่นกลางเก่ากลางใหม่อย่างผม ซึ่งอยู่ในยุคที่ประเทศไทยภายใต้ระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เกือบจะ "สิ้นชาติ" มาแล้ว ล้วนตระหนักดีว่าหากไม่มีพระองค์ท่านในห้วงเวลานั้น เราเสร็จแน่นอน เผลอๆ ทั้งโลกจะเสร็จไปด้วย

    ในห้วงปี 2510-2528 เป็นช่วงเวลาที่วิกฤติที่สุดของประเทศ รัฐบาลเผด็จการที่ประชาชนเกลียดชังถูกโค่นล้ม อเมริกันถอนตัวเปิดก้นไปจากอินโดจีน ไม่ช่วยไทยรบกับพวกซ้ายอีกต่อไป นักศึกษาสำลักเสรีภาพจนเกินขอบเขต เอะอะก็เรียกร้องประท้วงโน่นนี่จนปลุกกระแสฝ่ายที่กลัวคอมมิวนิสต์เข่นฆ่ากลับคืนนักศึกษาที่หนีตายเหล่านี้ก็ไปเพิ่มพลังให้ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยสู้รบในป่า ฆ่าทหารตายรายวัน แต่ละปีในหลวงต้องพระราชทานเพลิงศพทหารที่ตายในสงครามปราบคอมมิวนิสต์ปีละกว่าพันศพ

    สถานการณ์โลกก็น่ากลัวยิ่ง ใครๆ ก็เชื่อทฤษฎีโดมิโน ที่ว่า หากอินโดจีนแตก เอเชียอาคเนย์ทั้งหมดก็จะแตกตามไปด้วย แล้วเอเชียทั้งหมดจะกลายเป็นคอมมิวนิสต์ โลกก็จะเปลี่ยนเป็นสีแดง โซเวียตกับจีนแดงจะได้ชัย อเมริกากับยุโรปจะยอมสยบ


    ปี 2518 โอกาสเช่นนี้มีมากที่สุด เพราะปีนั้นอินโดจีนตกอยู่ใต้อุ้งเท้าคอมมิวนิสต์ทั้งหมด ใครฟังข่าวแตกรายวันของเมืองใหญ่ๆ อย่างเช่น โฮจิมินห์ กำปงโสม พนมเปญ เวียงจันทน์ แล้วก็ต้องหนาวหนังหัว อีกไม่นานกรุงเทพต้องแตกแหงๆ ครอบครัวชนชั้นกลางโดยเฉพาะข้าราชการมีหวังโดนส่งไป "สัมมนา" กันหมด คำนี้ลาวเขาใช้กันหมายถึงฆ่าอำนาจเก่าโลด
    ผมนึกย้อนไปตอนที่ นิตยสาร time จัดให้มีการโหวตทั่วโลกว่าใครควรจะเป็นบุคคลสุดยอดของศตวรรษที่ 20 นี้ แล้วได้ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นอันดับที่ 1 มหาตมะ คานธี เป็นอันดับที่ 2 แฟรงคลิน ดี.รูสเวลท์ เป็นอันดับที่ 3 นั้น ผมอยากจะบอกพวกเขาว่า ต้องในหลวงของเราสิ เพราะถ้าปราศจากในหลวง ป่านนี้คนอเมริกันกับอังกฤษต้องพูดภาษารัสเซียกันหมดแล้ว ชาติเอเชียต้องเป็นคอมมิวนิสต์กันหมด อนาคตจะรุ่งเรืองหรือเปล่าก็ไม่ทราบ แต่คนเป็นรุ่นๆ ต้องล้มหายตายจากอีกหลายล้านคนแบบที่จีนแดง เวียดนาม และ กัมพูชา ประสบเป็นแน่

    มีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่หยุดภัยนี้ได้ พระองค์คือในหลวงภูมิพลมหาราช ของเรานี่เอง พระองค์เป็นมิ่งขวัญของเรา พระองค์เสด็จไปในทุกที่เพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน ดึงมวลชนมาจากคอมมิวนิสต์ ทรงเยี่ยมทหารหาญที่เสี่ยงตายกลางป่า คนของพระองค์หลายคนต้องจบชีวิตลงด้วยกระสุนของฝ่ายซ้าย เช่น ม.จ.หญิง วิภาวดี รังสิต แต่พระองค์ทรงไม่ย่อท้อ


    พสกนิกรเห็นภาพเหล่านี้ทุกเมื่อเชื่อวัน เฉลี่ยแล้วปีหนึ่งมีถึงกว่า 1,000 แห่ง ที่พระองค์ออกไปเยี่ยมชาวบ้านและทหารแจกหยูกยา พัฒนาพืชไร่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต พระเสโทที่ร่วงหล่นมิได้เสแสร้ง สิ่งเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดความเชื่อมั่นและศรัทธาในสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างมหาศาล จนสามารถยืนหยัดหยุดยั้งการรุกคืบของสหายคอมมิวนิสต์ในป่าได้ ในเมื่อพระองค์ทรงสละความสุขของความเป็นพระราชาเพื่อเราได้ แล้วไฉนเราจะสละชีวิตเป็นราชพลีไม่ได้
    คอมมิวนิสต์พ่ายแพ้เราที่ตรงนี้เองถึงจะมีทฤษฎีมากมายรองรับการพ่ายแพ้ของฝ่ายซ้าย แต่ที่ผมยึดมั่นอยู่ในใจตลอดกาลก็คือเขาแพ้เพราะเรามีในหลวงนี่เอง

    มาวันนี้ วันที่พระองค์มีพระพลานามัยไม่แข็งแรงนัก เสด็จโปรดประชาชนมากไม่เท่าพระทัยที่อยากทำ แต่คุณความดีของพระองค์ที่รักษาแผ่นดินไว้เมื่อ 30 ปีก่อน ยังคงอยู่ในใจผม และนำไปสู่ปณิธานที่ผมยึดมั่น ทุกวันนี้ วันที่ถึงจะแตกแยกทางความคิด เศรษฐกิจมีปัญหา แต่สถานการณ์ก็ยังไม่น่ากลัวเท่ายุคนั้น ปณิธานที่ผมยึดมั่นนั้นไม่มีเปลี่ยน และเชื่อว่าหากยังธำรงไว้ มือน้อยๆ ของผมก็ช่วยชาติได้ เช่นเดียวกับอีกหลายสิบล้านมือของคนไทย


    ปณิธานนั้นคือ รักชาติครับ ถ้าเราจะทำดีเพื่อในหลวงเราต้องรักชาติ ซึ่งไม่ใช่รักแต่ปาก สักจะเอาแต่ร้องเพลงหรือเอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น แต่ต้องรักอย่างแท้จริง

    ใช่ว่าอะไรที่ไม่ใช่ไทยนั้นจะเลวจะด้อยกว่า แต่ผมขอเลือกอะไรที่เป็นไทยเอาไว้ก่อน ใว่าอะไรไม่ใช่ไทยจะไม่น่าชื่นชมน่ารังเกียจ แต่สิ่งที่เป็นไทยนั้นก็ไม่น้อยหน้าใครเหมือนกัน เราต้องมีความภาคภูมิใจที่เป็นไทย แสดงออกทุกครั้งที่มีโอกาส ให้นานาประชาชาติเห็นถึงความพิเศษยอดเยี่ยมของชาติเรา ประเทศไทย คนไทย วัฒนธรรมไทย คือ ลักษณาการอันสุดยอดของพิภพนี้ และที่เหนือกว่าทั้งหมด คือ ในหลวงภูมิพลของปวงชนชาวไทยนั่นเอง




    -ขอขอบคุณ �������ѡ�ѡ�յ������ǧ - ��ا෾��áԨ �͹�Ź�
    <!-- Begin Media Content --><SCRIPT type=text/javascript>$(function() {$('#media-content').tabs();});</SCRIPT>
     
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    กลับจากทัวร์วัดในอยุธยา เส้นทาง วัดชุมพลนิกายาราม-หมู่บ้านญี่ปุ่น-วัดพนัญเชิง-วัดสมณโกศ-วัดดุสิตาราม-วัดเทพจันทร์ลอย-วัดใหม่ชุมพล-วัดนครหลวง(พระพุทธบาทสี่รอย)

    ออกจากบางบัวทองไม่นานก็เข้าเขตจังหวัดอยุธยาแล้ว ตลอดเส้นทางจะดูเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองไปด้วยตลอดเส้นทางสาย 3277 อ่านแผนที่เตรียมตัวไปก่อน

    มีที่น่าสนใจเช่นที่วัดสมณโกศ อันเป็นวัดประจำตระกูลของเจ้าพระยาโกษาเหล็กและเจ้าพระยาโกษาปาน บรรจุอัฐิเจ้าแม่วัดดุสิต พระมารดาของท่านได้ในเจดีย์วัดนี้

    ที่สำคัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงผนวชที่วัดนี้ด้วย มีพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินประดิษฐานได้ที่วัดนี้ด้วย เท่ากับสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงผนวชที่วัดประจำต้นตระกูลแห่งในหลวงรัชกาลที่ 1

    ประวัติของวัดสมณโกฏฐาราม (จดมาจากจารึกหน้าวัด)


    <TABLE width=957 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top scope=col width=205></TD><TD scope=col width=300>
    <TABLE width=200 border=1><TBODY><TR><TH scope=col>[​IMG]

    </TH></TR></TBODY></TABLE>​

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    นายแกมเฟอร์ ชาวเยอรมันทำงานเป็นแพทย์ในบริษัท อีสต์ อินเดีย ของฮอลันดา เดินทางเข้ากรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.2233 ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ได้บันทึกไว้ว่าห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออก มีวัดที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง เรียกว่า วัดพระยาพระคลัง แผนผังที่นายแคมเฟอร์เขียนประกอบไว้นั้น ปรากฏว่าเป็นวัดขนาดใหญ่คลุมพื้นที่สองฝั่งคลอง แต่ละฝั่งประกอบด้วยวิหาร โบสถ์ เจดีย์และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ อีก โดยมีกำแพงล้อมรอบ ในภาพดังกล่าว ปรากฏแน่ชัดว่าสิ่งก่อสร้างที่ปรากฏอยู่ฝั่งหนึ่งของคลองตรงกับโบราณสถานในวัดสมณโกฏฐาราม

    และยังระบุว่าสมเด็จพระเพทราชาได้เสด็จไปที่วัดนี้ เพื่อราชทานเพลิงศพเจ้าแม่ดุสิตซึ่งเป็นมารดาของเจ้าพระยาโกษา ( เหล็ก) และเจ้าพระยาโกษา (ปาน) และยังเป็นพระแม่นมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2233 วัดนี้น่าจะสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 ตามลักษณะของเจดีย์ทรงระฆัง และลวดลายที่น่าจะสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 ตามลักษณะของเจดีย์ทรงระฆังคว่ำและลวดลายที่ประดับอยู่ที่บัลลังก์ สันนิษฐานว่าวัดสมณโกฏฐารามแห่งนี้ เป็นวัดที่ตระกูลเจ้าพระยาโกษาธิบดี(ปาน)และ(เหล็ก)เป็นผู้ปฎิสังขรณ์ เพื่อเป็นวัดประจำตระกูลวัดนี้มีพระปรางค์องค์ใหญ่รูปทรงสัณฐานแปลกตากว่าแห่งอื่น เข้าใจว่าเลียนแบบเจดีย์เจ็ดยอดของเชียงใหม่

    จากบางสมมติฐานว่าบิดาของเจ้าพระยาทั้งสองเป็นคนมอญญาติของพระยาเกียรติพระยารามนั้น ถ้ามองจากสถาปัตยกรรมไม่มีความเป็นมอญในวัดนี้เลย แต่จะไปทางศิลปะกรรมชาวเชียงใหม่ ซึ่งอาจมีความนัยเกี่ยวกับพระบิดาของเจ้าพระยาทั้งสองหรือไม่

    (ใช้ว่าพระมารดาของเจ้าพระยาโกษาธิบดีเพราะว่า ทางสายธาตุเชื่อว่าเจ้าแม่วัดดุสิตเป็นเจ้าสายพระราชวงศ์พระร่วงผู้มียศสูง)

    ขอคู่ขนานไปกับบทความของท่านจงรัก โดยทางสายธาตุนำเสนอศิลปะ จิตรกรรม


    [​IMG]

    ตำหนักสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในวัดสมณโกฏฐาราม

    [​IMG]

    เจดีย์ที่บรรจุพระอัฐิของเจ้าแม่วัดดุสิต​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2009
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ตัวอย่างแผนที่ลายมือของหมอแกมเฟอร์ ชาวเยอรมัน

    [​IMG]

    แผนที่ลายเส้นของคุณหมอแกมเฟอร์ แต่ถอดความเห็นภาษาไทยโดยใคร ? ไม่ทราบค่ะ ขออภัยผู้ถอดความด้วยนะคะ

    [​IMG]


    ลายเส้นฝีมือหมอแกมเฟอร์ วาดเจดีย์วัดภูเขาทอง ขณะนั้นเป็นสมัยของพระเพทราชา
     
  6. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ตามธรรมนูญกระทู้ของท่านพี่จงรัก ที่ต้องการให้ชาวไทยได้แสดงออกถึงความจงรักภักดี หากคุณอุกามณีมีความประทับใจอันใดอันเกี่ยวกับพระองค์ท่าน ไม่ว่าจะเป็นพระองค์ใดก็ตาม สามารถนำความประทับใจนั้นมาลงไว้ได้เลยนะคะ แบ่งปันความประทับใจให้กันและกันฟังค่ะ
     
  7. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลืมลงข้อมูลสนับสนุนความคิดที่เห็นว่าเจ้าแม่วัดดุสิตเป็นเจ้ามาแต่เดิมมาจากตรงนี้

    อย่างที่เคยเรียนให้ทราบกันว่า ชื่อ เจ้าแม่วัดดุสิต นั้นมีสององค์

    องค์แรก พระนมเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมารดาของเจ้าพระยาโกษาเหล็กและเจ้าพระยาโกษาปาน เมื่อทรงพระชนม์สูงได้ออกมาตั้งพระตำหนักอยู่ใกล้วัดดุสิต บ้านคนสามัญจะไม่ใช้คำว่า พระตำหนัก นี่คือเบาะแสที่เห็นชัดที่สุดว่าทรงเป็นเจ้ามาแต่เดิม

    องค์ที่สอง พระมเหสีกลางในสมเด็จพระเพทราชา องค์นี้เป็นพระราชมารดาเลี้ยงของขุนหลวงสรศักดิ์(พระเจ้าเสือ โอรสสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกับเจ้าหญิงต่างชาติองค์หนึ่ง เข้าใจว่าเป็นชาวลาว) ภายหลังได้ย้ายไปประทับตำหนักเดิมที่เจ้าแม่วัดดุสิตองค์ก่อนได้เคยประทับมาก่อนแล้วนั่นเอง

    สนใจการวิเคราะห์เจาะลึกเรื่องนี้ ซึ่งจะมีมุมมองในพระบรมราชวินิจฉัยของรัชกาลที่ 4 ซึ่งพระองค์ท่านมิได้อ้างว่าในชั้นต้นตระกูลเป็นเจ้าแต่อย่างใด แต่จากการวินิจฉัยในพงศาวดารแล้วระบุชัดว่า ที่พักอาศัยของเจ้าแม่วัดดุสิตเรียกว่า ตำหนัก ซึ่งใช้กับพระราชวงศ์เท่านั้น

    อ่านรายละเอียดประกอบได้ที่ View Topic
     
  8. Fort_GORDON

    Fort_GORDON เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +488


    ขออนุโมทนาและชื่นชมคณะครูและผู้บริหารของโรงเรียนสาธิต ม.ราชภัฏ

    เชียงใหม่ ครับ สาธุ
     
  9. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขออนุโมทนาและชื่นชมคณะครูและผู้บริหารของโรงเรียนสาธิต ม.ราชภัฏ ด้วยคนค่ะ

    ขอเลียนแบบวิธีปฎิบัตินี้มาใช้เองด้วย เป็นประโยชน์ดีๆที่น่าเลียนแบบค่ะ
     
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ แห่ง ปฐมวงศ์จักรี

    เจ้าแม่วัดดุสิต (เจ้าแม่ผู้เฒ่า) มีชื่อยศในสมัยรับราชการเป็นพระนมว่า ท้าวสมศักดิ์วงศามหาธาตี(บัว) จากข้อมูลดังนี้ค่ะ

    <TABLE width=788 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE height=295 width=710 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center background=Picture/BG_1.jpg height=30>
    สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ แห่ง ปฐมวงศ์จักรี (จาก หนังสือมรดกใหม่จากลุ่มน้ำสะแกกรัง โดย พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ)
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top height=129>

    เมื่อครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กษัตริย์กรุงศรีอยุธยานั้น บ้านสะแกกรัง หมู่บ้านปลายเขตแดนของเมืองชัยนาท ได้มีพ่อค้าคนจีนไปตั้งยุ้งฉางเพื่อรับซื้อข้าวและพืชพันธุ์ต่างๆ จากชาวเมืองอุทัยธานี ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านอุทัยเก่า อำเภอหนองฉาง โดยที่ชาวอุทัยธานีจะนำเกวียนบรรทุกข้าวเป็นจำนวนนับร้อยๆ คัน เดินทางค้างแรมระหว่างทางจนถึงบ้านสะแกกรัง เมื่อตกลงซื้อขายกับพ่อค้าได้แล้ว ก็จะพากันค้างคืนตามบริเวณยุ้งฉางริมแม่น้ำ และหาซื้อสิ่งของกลับไปบ้าน ด้วยเหตุนี้ หมู่บ้านสะแกกรัง จึงกลับกลายเป็นตลาดใหญ่ เพราะเป็นสถานที่แห่งเดียวที่ชาวอุทัยธานีจะติดต่อไปมาค้าขายและเดินทางไปเมื่องอื่นๆ โดยอาศัยแม่น้ำสะแกกรังเป็นเส้นทางเดิน

    [​IMG]

    หมู่บ้านสะแกกรัง เป็นหมู่บ้านริมน้ำ ซึ่งเดิมนั้นเป็นป่าสะแกกรัง ขึ้นอยู่ริมฝั่งซ้าย พอมีคนมาตั้งบ้านเรือน ต้นสะแกที่ขึ้นอยู่ริมแม่นำ้ ก็ถูกตัดเพื่อใช้ที่ทำยุ้งฉาง และลานจอดเกวียนตรงกลางหมู่บ้านนั้น มีต้นสะแกต้นใหญ่ หมู่บ้านนี้จึงเรียกกันว่า หมู่บ้านสะแกกลางบ้าน ซึ่งนิยมเรียกว่า บ้านสะแกกลาง แต่เนื่องจากพ่อค้าที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเป็นคนจีนส่วนใหญ่ จึงเรียกชื่อหมู่บ้านเป็น "บ้านซิเกี๋ยกั้ง" พอกลับมาพูดไทยจึงเพี้ยนเป็นชื่อ "บ้านสะแกกรัง" ในที่สุด

    ชาวอุทัยธานี นั้นตั้งบ้านเรือนอยู่บนที่ดอน พากันเรียกกันติดปากว่า "คนบ้านดอน" หรือ "บ้านดอน" ได้นิยมไปมาติดต่อกับหมู่บ้านสะแกกรังซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า "บ้านท่า" เนื่องจากมีแม่น้ำสะแกกรังไหลผ่าน และใช้เป็นเส้นทางเดินเรือติดต่อของชาวงเมืองอุทัยธานี ไปยังที่ต่างๆ นอกจากนี้แม่น้ำสะแกกรังยังใช้สำหรับลำเลียงช้างป่าที่จับได้ หรือใช้ล่องแพซุงขนาดใหญ่ส่งกรุงศรีอยุธยาตามที่มีข้าราชการกะเกณฑ์ให้ทางเมืองอุทัยธานี จัดหาสถานที่นำช้างลงนั้นเรียกว่า ท่าช้าง ซึ่งปัจจุบันเป็น ห้าแยกวิทยุ และท่าน้ำตรงตลาดเทศบาลฯเก่า สำหรับสถานที่รวมขอนซุงนั้น เป็นหมู่บ้านเรียกว่า บ้านท่าซุง

    สภาพของหมู่บ้านสะแกกรังในระยะเริ่มแรกนั้นจะมียุ้งฉางสำหรับเก็บข้าวตั้งเรียงรายอยู่ตามริมแม่น้ำ เพื่อนำข้าวลงเรือบรรทุกไปส่งยังเมืองอื่นๆ เฉพาะตรงบริเวณท่้าช้าง ที่ช้างลงนั้นเป็นทางลาดตั้งแต่ห้าแยกวิทยุลงไปถึงแม่น้ำสะแกกรัง บางแห่งมีตลิ่งสูงก็จะมียุ้งฉาง หรือโรงสีข้าว เช่น ท่าโขด ท่าคล่อ ท่าต้นจันทร์ ท่าแร่ เป็นต้น โดยมีท่าสำหรั้บลำเลียงข้าวเปลือก ข้าวสาร ลงเรือบรรทุกล่องไปตามลำแม่น้ำสะแกกรัง ผ่านบ้านท่าซุง และ ที่บ้านท่าซุงนี้จะมี นายอากรคนจีนคอยเก็บภาษีจากเรือที่บรรทุกข้่าวหรือสินค้าออกไปจากบ้านสะแกกรัง นายอากรนี้มีฐานะดี ปลูกบ้านเรือนอยู่ตรงหมู่บ้านท่าซุงเรียกว่า บ้านตึก สำหรับตัวตลาดสะแกกรังนั้น เป็นตัวอาคารที่ก่อสร้างด้วยไม้ไผ่สานโบกปูนแบบอย่างจีน อยู่ตรงบริเวณหน้าวัดหลวงราชาวาส มีถนนกว้างประมาณ 2 เมตร เป็นทางสำหรับให้เกวียนบรรทุกข้าวเดินทางไปยังบริเวณยุ้งฉางที่อยู่ตามริมแม่น้ำ

    โบราณสถานที่สำคัญมี "วัดกร่าง" (คือ วัดพิชัยปุรณาราม ปัจจุบันนี้) เป็นวัดเก่า มีวิหารที่สร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เข้าใจว่าเป็นสถานที่ให้การศึกษาแก่ลูกหลานชาวบ้านสะแกกรังมาแต่เดิม นอกจากนี้ในตัวหมู่บ้านสะแกกรัง ก็มีสถานที่เลี้ยงโค และช้างสำหรับรอการส่งไปยังกรุงศรีอยุธยา สถานที่เลี้ยงโคนั้น เรียกว่า โรงโค ต่อมาได้ใช้เป็นสถานที่สร้างวัดสำหรัะบทำพิธีเกี่ยวกับช้าง เนื่องจากมีช้างหลวงและช้างศึกอยู่ด้วย เรียกว่า วัดพะเนียด (ต่อมาได้ถูกสสร้างเป็นวัดใหม่ ชื่อ วัดใหม่จันทราราม) หมู่บ้านสะแกกรังนอกจากจะเป็นหมู่บ้านที่ติดต่อค้าขายกับชาวอุทัยธานี จากเมืองอุทัยเก่าแล้วยังใช้เป็นเส้นทางติดต่อราชการทัพของเมืองอุทัยธานี ที่ต้องร่วมกับเมืองชัยนาทอีกด้วย จึงทำให้หมู่บ้านสะแกกรังเป็นตลาดใหญ่ และเป็นเสมือนเมืองท่าของเมืองอุทัยธานี

    เมืองอุทัยธานี นี้มีความสำคัญในฐานะเมืองด่้าน มาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ปรากฎชื่อผู้รักษาด่านแม่กลอง ชื่อ พระพล (เข้าใจว่้าเป็น พระพลสงคราม) และผู้รักษาด่านหนองหลวง ชื่อ พระอินทร (เข้าใจว่าเป็น พระอินทรเดช) ซึ่งในพงศาวดารพม่าได้กล่าวถึงว่า

    "สมเด็จพระนเรศวร ยกทัพติดตามตีกองทัพพระเจ้าหงสาวดีไปจนถึงหนองหลวง แล้วจึงกลับคืนพระนคร" ปัจจุบัน หนองหลวงนี้เป็นชื่ออยู่ในท้องที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เดิมขึ้นกับเขตเมือง อุทัยธานี

    "ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกาทศรถ ได้โรปดให้บัญญัติอำนาจการใช้ตราประจำตำแหน่ง ปรากฎว่าได้ระบุไว้ในกฎหมายเก่าลักษณะพระธรรมนูญว่า "เมืองอุุไทยธานี เป็นหัวเมืองขึ้นแก่มหาดไทย"

    ตัวเมืองอุทัยเก่านั้น เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนดอนและลึกเข้าไป ต่อเนื่องกับเชิงเขาบรรทัด และเทือกเขาถนนธงชัย ติดเขตแดนกับเมืองมอญ (เมืองเมาะตำเลิม และเมืองเมาะตะมะ) ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ที่จะติดต่อทางเรือได้ ดังนั้นหมู่บ้านสะแกกรัง ที่มีแม่น้ำสะแกกรังจึงกลายเป็นตลาดใหญ่ ที่ชาวเมืองอุทัยธานีไปมาหาสู่และติดต่อซื้อขายสินค้า ใช้เป็นเส้นทางเข้าออกมาตั้งแต่สมัยโบราณ

    สมัยแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นั้น ได้มีบุคคลสำคัญที่สืบเชื้อสายมาจาก สมเด็จพระเอกาทศรถ คือ ท้าวสมศักดิ์วงศามหาธาตี เป็นพระนมเอกของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งมีนามเดิมว่า "หม่อมบัว" (บางแห่งเรียกว่า หม่อมเจ้าหญิงบัว) พระนมนี้เป็นพระนัดดาในสมเด็จพระเอกาทศรถ ที่ได้ทรงสมรสกับเชื้อสายขุนนางมอญ ผู้อพยพเข้ามาในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ชื่อ พระยาราม หรือ พระยามพระราช

    ท้าวสมศักดิ์วงศามหาธาตี (บัว) นี้ต่อมาภายหลังได้ออกบวชอยู่ที่วัดดุสิต จึงได้รับสมัญญานามว่า "เจ้าแม่วัดดุสิต" พระนมนี้มีบุึตรอยู่ 3 คน คือ
    1. ชื่อ เหล็ก เป็นชายได้รับราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีความชอบเป็นถึง เจ้าพระยาโกษาธิบดี ตำแหน่ง แม่ทัพ ถึงแก่กรรม พ.ศ.2226
    2. ชื่อ แช่ม เป็นหญิง ต่อมาได้เป็นท้าวศรีสุดารั้กษ์
    3. ชื่อ ปาน เป็นชาย ได้รับราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีความชอบเป็น เจ้าพระยาโกษาธิบดี ตำแหน่งแม่ทัพ แทนพี่ชายซึ่งถึงแก่กรรม ผู้นี้เคยเป็น พระวิสูตรสุนทรราชฑูต เดินทางไปเจริญพระราชไมตรี ณ ราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่ง กรุงฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.2190 นับว่าเป็นตระกูลที่สนิทสนมกับ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากพงศาวดารครั้ง เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ.2226 ว่า
    "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิอาจกลั้นน้ำพระเนตรไว้ได้ ทรงพระอาลัยในเจ้าพระยาโกษาเป็นอันมาก ด้วยเจ้าพระยาโกษาขุนเหล็กคนนี้เป็นลูกพระนม และได้รับพระราชทานนมร่วมเสวยมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ นั้น"

    ดังนั้นสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงได้โปรดให้ นายปาน เป็น เจ้าพระยาโกษาธิบดี และทรงพระกรุณาดำรัสว่า "ขุนเหล็กพี่ท่านซึ่งถึงแม่มรณภาพนั้น ชำนิชำนาญในการอันเป็นแม่ทัพ และบัดนี้ เราจะให้ท่านเป็นที่เจ้าพระยาโกษาธิบดี และจะให้เป็นแม่ทัพแทนพี่ชายไปตีเมืองเชียงใหม่ ยังจะได้หรือมิได้"

    ด้วยเหตุนี้ เมื่อพระเพทราชา จางวางกรมช้าง ชาวบ้านพลูหลวงและขุนหลวงสรศักดิ์ (เดื่อ) คิดกบฎและได้สถาปนาราชวงศ์บ้านพลูหลวงขึ้น หลังจากที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ.2231 แล้ว ดังนั้น เมื่อ พ.ศ.2231 สมเด็จพระเพทราชา ทรงให้ปลด เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากเป็นผู้ที่ไม่เห็นชอบในการสถาปนาพระองค์เป็นกษัตริย์และตั้งราชวงศ์บ้านพลูหลวง และต่อมาใน พ.ศ.2232 เจ้าพระยาโก๋ษาธิบดี (ปาน) ก็ถูกกล่าวหาว่าขาดความจงรักภักดีที่รู้เบาแสว่า เจ้าฟ้าอภัยทศ จะทำการกบฎแล้วปิดความ จึงถูกนำตัวมาลงราชทัณฑ์โบยหลังด้วยหวาย 1 ยก (40 ที) ในที่สุด เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ก็ถึงแก่อสัญกรรมด้วยความตรอมใจในเวลาต่อมา

    สมเด็จพระเพทราชา ได้แต่งตั้ง พระอัครมเหสีเดิม (กัน) เป็นอัครมเหสีกลาง แต่งตั้งพระราชกัลยาณี (เจ้าฟ้าหญิงศรีสุวรรณ) พระบรมราชภคินีของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็น กรมหลวงโยธาทิพ เป็นอัครมเหสีฝ่ายขวา และแต่งตั่้ง เจ้าฟ้า กรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นอัครมเหสีฝ่ายซ้าย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ไม่มีความจงรักภักดีที่สมเด็จพระเพทราชาบังอาจกระทำในเรื่องที่ไม่ควรดังกล่าว สำหรับพระอัครมเหสีเดิม (กัน) นั้น แต่มีความปรากฎในพงศาวดาร ดังนี้
    "ในขณะนั้น สมเด็จพระอัครมเหสีแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงในพระบรมโกษฐ์ ซึ่งเป็นพระราชมารดาเลี้ยงของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ได้อภิบาลบำรุงรักษาพระองค์แต่ยังทรงพระเยาว์นั้น ครั้นเมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จสวรรคตแล้ว จึงทูลลาสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินออกไปตั้งพระตำหนักอยู่ในที่ใกล้พระอารามวัดดุสิต และที่พระตำหนักวัดดุสิตนี้ เป็นที่พระตำหนักมาแต่ก่อนครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้า และเจ้าแม่ผู้เฒ่าซึ่งเป็นพระนาเอกของสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้า และเป็นมารดาเจ้าพระยาโกษาเหล็ก เจ้าพระยาโกษาปาน ซึ่งได้ขึ้นไปช่วยกราบทูลขอพระราชทานโทษสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ขณะที่เป็นหลวงสรศักดิ์ และชกเอาปากเจ้าพระยาวไชเยนทร์ครั้งนั้น และเจ้าแม่ผู้เฒ่านีั้นก็ได้ตั้งพระตำหนักอยู่ในที่นี้ ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้และสมเด็จพระราชมารดาเลี้ยงก็เสด็จตั้งพระตำหนักอยู่ในที่นั้นสืบต่อกันมา แล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดตั้งให้เป็น กรมพระเทพามาตย์ ส่วนสมเด็จพระอัครมเหสี ฝ่ายซ้ายฝ่ายขวาแห่งสมเด็จพระพุทธเ้จ้าในพระบรมโกษฐ์ ซึ่งทรงพระนาม กรมหลวงโยธาทิพ กรมหลวงโยธาเทพนั้น ก็ทูลลาสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน แล้วเอาพระราชบุตรซึ่งทรงพระนาม ตรัสน้อย นั้น ออกไปตั้งพระตำหนักอยู่ในที่ใกล้พระอารมมวัดพุทธไธสวรรย์"

    สมเด็จพระอัครมเหสีเดิม ของสมเด็จพระเพทราชา นี้ นามเดิมชื่อ กัน นับเป็นพระราชมารดาเลี้ยงของ ขุนหลวงสรศักดิ์ (เดื่อ) เนื่องจากนางกุสาวดี (กุลธิดา) พระราชมารดาเดิม เป็นพระราชธิดาของเจ้าเมืองเชียงใหม่ ที่ถูกสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชทานให้ สมเด็จพระเพทราชา นำไปเลี้ยงดูในขณะที่มีพระครรภ์แล้ว ครั้งเมื่อประสูติ ขุนหลวงสรศักดิ์ (เดื่อ) ที่ตำบลโพธิ์ประทับช้าง แขวงเมืองพิจิตร แล้วก็คงมิได้กลับมาด้วย สมเด็จพระอัครมเหสีเดิม (กัน) จึงรับภาระเลี้ยงดูอย่างบุตรบุญธรรม ครั้นเมื่อสมเด็จพระเพทราชาเสด็จสวรรคต พ.ศ.2240 จึงได้ออกมาตั้งพระตำหนักอยู่ใกล้วัดดุสิต

    พระตำหนักที่ใกล้พระอารามวัดดุสิตเดิมนี้เป็น เจ้าแม่ผู้เฒ่า ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า "เจ้าแม่วัดดุสิต" ผู้เป็นพระนมเอกของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเป็นพระมารดาของ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ซึ่ง ขุนหลวงสรศักดิ์ (เดื่อ) ได้เคยไปขอให้ขึ้นไปช่วยกราบทูลพระราชทานอภัยโทษจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่เมืองลพบุรี มีความปรากฎในพงศาวดารว่า
    "ฝ่ายหลวงสรศักดิ์ ก็ไปเฝ้าเจ้าแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นมารดาเจ้าพระยาโกษาเหล็ก โกษาปาน และเป็นพระนมผู้ใหญ่ของสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวนั้น และถวายบังคมแล้วก็กราบทูลแถลงการณ์อันเจ้าพระยาวิไชเยนทร์ กระทำให้ร้อนในพระพุทธศาสนาเหมือนดังนั้น และได้กราบทูลพระกรุณาแล้วก็มิได้เอาโทษ ข้าพระพุทธเจ้ามีความโทมนัสถึงพระพุทธศาสนา อันเจ้าพระยาวิไชเยนทร์จะทำพระพุทธศาสนาให้พินาศเสื่อมสูญ ดังนั้นจึงชกเอาปากเจ้าสมุหนายกแล้วหนีลงมา และบัดนี้สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธ จึงลงพระราชอาญาแก่ข้าพระพุทธเจ้า ขอจงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม อัญเชิญเสด็จขึ้นไปขอพระราชทานโทษข้าพระพุทธเจ้าครั้งหนึ่งเถิด"

    สมเด็จพระราชมารดาเลี้ยง ซึ่งเป็นพระอัครมเหสีเดิมของ สมเด็จพระเพทราชา ผู้นี้ได้ออกไปตั้งพระตำหนักอยู่ที่เดียวกับ พระตำหนักของ เจ้าแม่วัดดุสิต ที่น่าจะเข้าใจว่าคือตำหนักเดียวกัน ถ้าเป็นตำหนักเดียวกันก็แสดงว่า เจ้าแม่วัดดุสิตนั้นได้ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว และต่อมาสมเด็จพระราชมารดาเลี้ยงนี้ก็ได้รับแต่งตั้งเป็น กรมพระเทพามาตย์ (กัน) เมื่อ พ.ศ.2243

    ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ บุตรชายของ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ชื่อ ขุนทอง ได้เข้าทำราชการมีความดีความชอบเป็น พระยาอัษฎาเรืองเดช และ เจ้าพระยาวรวงศาธิราช ตำแหน่ง เสนาบดีกรมคลัง ตามลำดับ เจ้าพระยาวรวงศาธิราช (ขุนทอง) มีบุตรชายคนโตชื่อ ทองคำ ได้ถวายตัวเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กใน สมเด็จเจ้าฟ้าเพชร กรมพระัราชวังบวรสถานมงคล

    เมื่อ พ.ศ.2245 สมเด็จพระเจ้าเสือ ได้สั่งลงพระราชอาญา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าเพชร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระบัณฑูรน้อย ให้จัดมัดเฆี่ยนยกละ 30 ที ทุกเช้าและเย็น เนื่องจากทรงพระพิโรธช้างพระที่นั่งตกหล่มลึก หาว่าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอที่ทำถนนผ่านบึงให้ช้างพระที่นั่งข้ามติดหล่ม จะฆ่าเอาพระราชสมบัติ ถึงกันขับช้างพระที่นั่งไล่ฟันด้วยพระแสงของ้าว และให้ทหารจับมาลงพระราชอาญาดังกล่าว เรื่องนี้ กรมพระเทพามาตย์ (กัน) พระตำหนักริมวัดดุสิต ได้นั่งเรือพระัที่นั่งขึ้นมายังพลับพลาที่ตำบลบ้านพลูหลวง แขวงเมืองนครสวรรค์ มีความปรากฎในพงศาวดารว่า

    "จึงพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทอดพระเนตรเห็นกรมพระเทพามาตย์ พระราชมารดาเลี้ยงเสด็จขึ้นมา ก็กระทำปัจจุกมหาการต้อนรับเชิญเสด็จให้ขึ้นนั่งร่วมราชาอาสน์ ทรงถวายอภิวาทแล้วดำรัสถามว่า ซึ่งเจ้าคุณขึ้นมานี้ด้วยกิจธุระเป็นประการใด จึงกรมพระเทพามาตย์ กราบทูลว่า ได้ยินข่าวลงไปว่าพระราชบุตรทั้งสองเป็นโทษ จึงอุตสาหะขึ้นมาหาทั้งนี้เพื่อจะทูลขอพระราชทานโทษ จึงมีพระราชโอการตรัสเล่าให้กรมพระเทพามาตย์ทรงฟังว่า อ้ายสองคนนี้มันคิดการกบฎ เดิมข้าพเจ้าให้มันเป็นแม่กองถมถนนข้ามบึง มันแสร้งทำเป็นพุหล่มไว้ให้ช้างซึ่งข้าพเจ้าขี่นั้นเหยียบถลำลงแล้วมันคิดกันฆ่าข้าพเจ้าเสียจะเอาราชสมบัติ กรมพระเทพามาตย์จึงทูลว่า อันพระราชบุตรทั้งสองนี้เป็นลูกเพื่อนทุกข์เพื่อนยากของพ่อมาแต่ก่อน และซึ่งจะิคิดการกบฎประทุษร้ายต่อพ่อนั้นหามิได้ กรมพระเทพามาตย์กราบทูลวิงวอนขอพระราชทานโทษไปเป็นหลายครั้ง จึงทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานโทษให้แก่กรมพระเทพามาตย์นั้น แล้วมีพระราชดำรัสมอบให้แก่กรมพระเทพามาตย์ว่า เจ้าคุณจงเอามันทั้งสองนั้นลงไปเสียด้วยเถิด อย่าให้มันอยู่กับข้าพเจ้าที่นี่เลย ถ้าและจะเอามันไว้ที่นี่ด้วยข้าพเจ้าไซร้ มันจะคิดกบฎฆ่าข้าพเจ้าเสียอีกเป็นมั่นคง และกรมพระเทพามาตย์รับสั่งแล้วก็ไปถอดสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ออกจากโทษ แล้วทูลลาสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน พาเอาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองมาลงเรือพระที่นั่ง แล้วเสด็จกลับลงมายังกรุงเทพมหานคร"

    ดังนั้น สมเด็จเจ้าฟ้าเพชร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล จึงได้ให้นายทองคำ ซึ่งได้รับตำแหน่งเป็น จมื่นมหาสนิท หัวหมื่นมหาดเล็ก ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสะแกกรัง เพื่อคอยกะเกณฑ์สิ่งของและทำราชการ ด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการเสด็จประพาสล้อมช้างป่า และเมืองอุทัยธานีเป็นหัวเมืองด่านที่อุดมสมบูรณ์ด้วย ข้าว ช้างป่า มูลค้างคาว ไม้ ผลกระวาน เป็นต้น สำหรับใช้ในกองทัพ และเป็นยุทธปัจจัยของ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในโอกาสที่ขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์ต่อไปด้วย

    ขณะที่ จมื่นมหาสนิท (ทองคำ) อยู่ที่บ้านสะแกกรังนั้น ภรรยาได้ให้กำเนิดบุตรชายคนโตคนหนึ่งชื่อ "ทองดี" ซึ่งปรากฎในพระราชหัตถเลขาของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีถึง เซอร์ จอห์น เบาริง ในหนังสือ เดอะ คองด้อม แอนด์ พีเพิล (The Kingdom and People) มีความแปล ดังนี้

    "ผู้ซึ่งเป็นพระมหาชนกแห่งปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรี และเป็นพระอัยกาของพระบิดาแห่งกษัตริย์องค์ปัจจุบัน (คือ ตัวข้าพเจ้าเอง) และกษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง (คือพระอนุชาองค์รองของข้าพเจ้า) ของประเทศสยาม เป็นราชโอรสอันสูงศักดิ์ของราชวงศ์ที่ได้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนาง กระทรวงต่างประเทศ ซึ่งได้ ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา และต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานอยู่ที่บ้านสะแกกรัง อันเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำ อันเป็นสาขาของแม่น้ำสายใหญ่ เชื่ออาณาเขตติดต่อภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศสยาม ประมาณเส้นรุ้ง 13 15 30" เหนือดูจะกว่าบ้างเล็กน้อย เส้นแวง 99 90 ตะวันออก ซึ่งเล่ากันว่า บุคคลผู้มีความสำคัญได้ถือกำเนิดที่นี่ และกลายเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถเป็นพิเศษของราชวงศ์สยาม ที่มาจากหมู่บ้านสะแกกรัง สู่ กรุงศรีอยุธยา..."

    ครั้งเ้มื่อ พ.ศ.2251 สมเด็จเจ้าฟ้าเพชร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้ขึ้นครองราชย์เป็น "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ" จมื่นมหาสนิท (ทองคำ) มีความดีความชอบ ได้รับแต่งตั้งเป็น พระยาราชนกูล (บางแห่งเขียน พระยาราชนิกูล) ปลัดทูลฉลองกรมมหาดไทย ดังนั้นครอบครัวนี้จึงได้ย้ายครอบครัวไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ตรงเหนือป้อมเพชร

    "นายทองดี" บุตรชายคนโตของ พระยาราชนกูล (ทองคำ) นั้นเมื่อมีอายุพิที่จะเข้ารับราชการได้แล้ว พระยาราชนกูล (ทองคำ) บิดาก็นำไปรับราชการอยู่ที่กรมมหาดไทย คอยช่วยเหลืองานอยู่กับตน ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมโกษฐ์ (พ.ศ.2275-2310) ในที่สุดก็ได้รับแต่งตั้งเป็น "หลวงพินิจอักษร" ครั้นอายุได้ 20 ปี หลวงพินิจอักษรก็อุปสมบทและเมื่อลาสิกขาบทแล้ว พระยาราชนกูล (ทองคำ) ได้สู่ขอ "ดาวเรือง" (บางแห่งว่า "หยก") หลานสาวพระยาอภัยราชา สมุหนายกว่าราชการแผ่นดิน ให้แต่งงานอยู่กินกัน ตามประเพณี ต่อมา หลวงพินิจอักษร (ทองดี) ก็ได้รับแต่งตั้งเป็น พระอักษรสุนทรศาสตร์ เสมียนตรากรมมหาดไทย มีหน้าที่ร่างพระราชสาสน์ตราต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ และรักษาพระราชลัญจกรอันเป็นตราประจำแผ่นดิน

    เจ้าคุณพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) และคุณนายดาวเรือง ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ภายในกำแพงตรงกันข้ามกับป้อมเพชร ด้านหลังนั้นปรากฎว่าเป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป เมื่อมีฐานะดีขึ้นก็ได้สร้างวัด ชื่อ วัดทอง ต่อมาเปลี่ยนเป็น วัดสุวรรณาดาราม ไว้ใกล้ๆ บ้าน และถือเป็นวัดประจำตระูกูล ซึ่งถือคติตามผู้ใหญ่ที่นิยมสร้างวัดให้ลูกหลานไปวิ่งเล่นและใช้ทำบุญ
    [​IMG]
    วัดสุวรรณาดาราม อยุธยา ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วิเคราะห์นางอิน ตามตำนานเกาะบางปะอิน

    เมื่อวานไปวัดชุมพลนิกายารามมา เดิมนั้นเคยได้ความคิดจากท่านพี่จงรักบอกว่าให้ลองคิดคนละมุมจากที่เคยคิด ให้คิดว่านางอินคือนางอิน ชาวบ้านเกาะบ้านเลน แล้วคิดตามตำนานดู เผื่อจะได้ความเห็นอีกทาง อย่าปิดกั้นความคิด ก็เห็นสมควรค่ะ ขอพยามยามคิดทีละเรื่องๆ ไปนะคะ ค่อนข้างประติดประต่อยากสักหน่อย

    เริ่มต้น ต้องเอาตำนานนางอินมาลงเสียก่อน ดังนี้

    [​IMG]



    ตำนานพระราชวัง บางปะอิน พระนครศรีอยุธยา



    เกาะบางปะอินเป็นเกาะที่เล็กมากในแม่น้ำเจ้าพระยากว้างประมาณ 400 ยาว 2.5 กิโลเมตรเป็นเกาะที่มีความหมายทางประวัติศาสตร์ทั้งในสมัยกรุงศีรอยุธยา และ รัตนโกสินทร์ ตามประวัติมีอยู่ว่าที่บางปะอินนี้เดิมมีเกาะใหญ่เกาะหนึ่งอยู่ในแม่น้ำ เรียกว่า เกาะบ้านเลน หรือ เกาะบางนางอิน สกุลวงค์ฝ่ายข้างพระราชมารดของสมเด็จพระเจ้าปราสาทอง ตั้งบ้านเรือนในเกาะนี้กล่าวกันว่า สมเด็จพระเจ้าพระปราสาททองก็สมภพที่นี่ ครั้งสมเด็จพระเจ้าประสาททองได้ครองกรุงศรีอยุธยา (ระหว่าง พ.ศ. 2173-2198 ) จึงทรงอุทิศถวายที่บ้านนั้นเป็นพุทธบูชา ให้สร้างวัดขึ้นที่ตรงนั้นชื่อว่า วัดชุมพลนิกายาราม เมื่อ พ.ศ. 2175 ซึ่งยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้

    แล้วให้ขุดสะพานสร้างวัดใหม่ขึ้นที่กลางเกาะเป็นที่สำหรับเสด็จมาประพาส จึงได้มีวังขึ้นที่เกาะบางปะอินแต่นั้นมา อาคารสิ่งก่อสร้างที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงสร้างไว้ที่บางปะอิน ส่วนใหญ่หักพังเสียหายหมดแล้ว คงเหลือแต่วัดชุมพลนิกายารามกับสระยาว 400 เมตร กว้าง 40 เมตร มีปราสาทอยู่ในสระนั้นลำแม่น้ำที่ผ่านด้านหน้า เดี่ยวนี้ก็เป็นคลองสำหรับให้เรือพระที่นั่งเข้าไปถึงวังใหม่ ครั้นนานมาสายน้ำกัดกัดกว้างออกไป จึงเลยเป็นลำแม่น้ำเดิมทางหลังเกาะบางปะอินตื้นเขินจนกลายเป็นคลองน้อยในปัจจุบัน

    เกาะบางปะอินแห่งนี้เป็นที่สำหรับพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาหลังสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทุกพระองค์จะเสด็จประพาส เพราะอยู่ไม่ห่างไกลพระนครเท่าใดนักครั้นเมื่อมีการย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรีและกรุงเทพมหานครแล้ว พระมหากษัตริย์ก็มิได้เสด็จประพาสอีก เพราะตัวเมืองหลวงตั้งอยู่ห่างไกลออกไป

    เกาะนี้คงถูกทิ้งร้างไปนานกว่า 80 ปี จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เกิดมีเรือกลไฟเป็นพาหนะให้เดินทางในประเทศ รัชกาลที่ 4 โปรดเสด็จประพาสทางชลมารคและได้เสด็จไปประพาสที่เมืองกรุงเก่า ขากลับทรงล่องเรือผ่านเกาะบางปะอิน ทอดพระเนตรเห็นดงมะม่วงร่มรื่น เป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งสำหรับเป็นที่ประทับมีเรือนแถวฝ่ายใน และมีพลับพลาริมน้ำ เป็นต้น ทรงพระราชทานนามพระที่นั่งนี้ว่า พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ หลังจากนั้นพระองค์ก็เสด็จประพาสมาเนือง ๆ
    เมื่อครั้นสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 นั้นทรงสร้างพระที่นั่ง ไอศวรรย์ทิพยอาสน์เพียงองค์เดียวเท่านั้น หาได้มี่พระราชวังไม่ จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้น คือ พระราชวังบางปะอิน เมื่อ พ.ศ.2415 เมื่อแล้วเสด็จแล้ว ได้มีงานสมโภชเมื่อวันที่ 25-27 ตุลาคม พ.ศ. 2419 ประกอบด้วยพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ การพระฤกษ์ยกเศวตฉัตรในที่พระบรรทม และยกธงสำหรับแผ่นดินทรงตัดบาตรตลอดเวลาทั้งสมาวนที่มีการเฉลิมพระที่นั่งและสมโภช ได้มี่การละเล่นต่าง ๆ เช่น ละคร งิ้ว หนัง สักวา ดอกไม้เพลิง และตามพระประทีปและโคมไฟในที่ต่าง ๆ

    ประวัติตามวิกีพีเดีย

    มีเรื่องเล่าว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเอกาทศรถ ยังทรงดำรงพระยศพระมหาอุปราช<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.AB.E0.B8.99.E0.B8.B1.E0.B8.87.E0.B8.AA.E0.B8.B7.E0.B8.AD_1-0>[2]</SUP> วันหนึ่งพระองค์ได้เสด็จประพาสทางชลมารค เมื่อถึงบริเวณเกาะบางปะอิน เรือพระที่นั่งถูกพายุใหญ่พัด ทำให้เรือพระที่นั่งล่มลง สมเด็จพระเอกาทศรถทรงว่ายน้ำขึ้นไปบนเกาะนี้ ซึ่งเดิมชื่อ "เกาะบ้านเลน" และประทับอยู่กับชาวบ้าน

    ในระหว่างประทับอยู่ ณ ที่นี้ สมเด็จพระเอกาทศรถได้หญิงชาวเกาะเป็นบาทบริจาริกา มีนามว่า "อิน" จึงเป็นเหตุให้คนทั่วไปเรียกเกาะนี้ต่อมาว่า "เกาะบางปะอิน" ต่อมาเมื่อพระองค์จะเสด็จกลับ พระองค์ก็ทรงพานางอินนี้กลับไปกรุงศรีอยุธยาด้วย นางอินผู้นี้จึงเป็นพระสนมในเวลาต่อมา และมีพระราชโอรสด้วยกัน เล่ากันว่าพระราชโอรสพระองค์นั้น คือ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง<SUP class=reference id=cite_ref-2>[3]</SUP>
    <SUP></SUP>
    เมื่อปี พ.ศ. 2175 หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นตรงบริเวณนิวาสสถานเดิมของพระมารดา และได้พระราชทานนามว่า "วัดชุมพลนิกายาราม" <SUP class=reference id=cite_ref-3>[4]</SUP> และได้สร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งเพื่อฉลองการที่พระราชเทวีประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระนารายณ์ราชกุมาร พระราชทานนามว่า "พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์" <SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.84.E0.B8.B4.E0.B8.A1.E0.B8.AB.E0.B8.B1.E0.B8.99.E0.B8.95.E0.B9.8C.E0.B8.AD.E0.B8.B8.E0.B8.97.E0.B8.A2.E0.B8.B2.E0.B8.99_4-0>[5]</SUP> พระราชวังบางปะอินจึงเป็นสถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในฤดูร้อนสืบเนื่องกันมา จนกระทั่ง กรุงศรีอยุธยาได้เสียแก่พม่าเมื่อปี พ.ศ. 2310 ซึ่งทำให้พระราชวังแห่งนี้ถูกปล่อยให้รกร้างไป

    [​IMG]
    บริเวณโดยรอบของพระราชวังบางปะอิน



    พระราชวังบางปะอินกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง เมื่อสุนทรภู่ได้ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี ซึ่งได้เดินทางผ่านพระราชวังบางปะอิน และได้ประพันธ์ถึงพระราชวังแห่งนี้ในนิราศพระบาท ว่า <SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.AB.E0.B8.99.E0.B8.B1.E0.B8.87.E0.B8.AA.E0.B8.B7.E0.B8.AD_1-1>[2]</SUP> <SUP class=reference id=cite_ref-5>[6]</SUP>
    <TABLE style="MARGIN: 0px auto; WIDTH: 490px; BACKGROUND-COLOR: transparent"><TBODY><TR><TD width=240>รำพึงพายตามสายกระแสเชี่ยว</TD><TD width=10></TD><TD width=240>ยิ่งแสนเปลี่ยวเปล่าในฤทัยถวิล</TD></TR><TR><TD>สักครู่หนึ่งก็มาถึงบางเกาะอิน</TD><TD></TD><TD>กระแสสินธุ์สายชลเป็นวนวัง</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="MARGIN: 0px auto; WIDTH: 490px; BACKGROUND-COLOR: transparent"><TBODY><TR><TD width=240>อันเท็จจริงสิ่งนี้ไม่รู้แน่</TD><TD width=10></TD><TD width=240>ได้ยินแต่ยุบลในหนหลัง</TD></TR><TR><TD>ว่าที่เกาะบางอออินเป็นถิ่นวัง</TD><TD></TD><TD>กษัตริย์ครั้งครองกรุงศรีอยุธยา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ครั้นมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังกรุงศรีอยุธยา ประพาสผ่านพระราชวังบางปะอิน ทอดพระเนตรเห็นความร่มรื่นโดยรอบเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย อีกทั้งยังเป็นเขตพระราชวังเก่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะพระราชวังบางปะอิน โดยสร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งเป็นที่ประทับ เรือนแถวสำหรับเจ้านายฝ่ายในหนึ่งหลัง พลับพลาริมน้ำ และพลับพลากลางเกาะ พร้อมทั้งปฏิสังขรณ์วัดชุมพลนิกายารามขึ้นใหม่ <SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.AB.E0.B8.99.E0.B8.B1.E0.B8.87.E0.B8.AA.E0.B8.B7.E0.B8.AD_1-2>[2]</SUP>
    <SUP></SUP>
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า บางปะอินเป็นเกาะกลางน้ำ มึความเงียบสงบ มีเส้นทางการเดินเรือได้หลายทาง สมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และเป็นสถานที่เสด็จประพาสของพระบรมชนกนาถ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ สำหรับแปรพระราชฐานดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.AB.E0.B8.99.E0.B8.B1.E0.B8.87.E0.B8.AA.E0.B8.B7.E0.B8.AD_1-3>[2]</SUP>



    ท่านที่ติดตามอ่านมาแบบกะชั้นชิดคงไม่งงในการวิเคราะห์ของทางสายธาตุ แต่ถ้าท่านที่อ่านผ่านๆท่านอาจจะงงได้และข้อมูลจะไปตีกันในความคิดของท่านได้ เรื่องราวตามตำนานจะสับสน วนๆ และเอาเรื่องของพระเจ้าแผ่นดินหลายยุคมารวมกันก็มีในบางเรื่องเช่น เรื่องการฟันพระองค์ไลแล้วจับขังคุกมืด บางตำราก็บอกว่าเป็นสมเด็จพระเอกาทศรถฟัน บางตำราก็บอกว่าเป็นพระเจ้าทรงธรรมฟัน แบบนี้เป็นต้น

    ออกแขกไว้ก่อน เดี๋ยวไปธุระเสร็จแล้วจะลองเริ่มต้นวิเคราะห์ดูค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • bangpain.jpg
      bangpain.jpg
      ขนาดไฟล์:
      25.1 KB
      เปิดดู:
      85
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2009
  12. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    เมื่อกล่าวถึงความจงรักภักดีแบบไทยเราแล้ว ก็ควรจะได้กล่าวถึงเรื่องราวของ

    ทางจีนที่เรามักจะนิยมนำมาอ้างอิงหรือเปรียบเทียบกันอยู่เสมอ ก็มีเรื่องของ

    งักฮุย เทพเจ้าแห่งความจงรักภักดี ลองติดตามอ่านกันดูนะครับ

    -ขอขอบคุณ http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/2/0535-1.html



    งักฮุย หรือชื่อเรียกในภาษาจีนกลางคือ เย่ว์เฟย (岳飞; ค.ศ.1103-1142) เกิดในยุคปลายของราชวงศ์ซ่งเหนือ (ค.ศ.960-1127) ที่มณฑลเหอหนาน เมื่อครั้งยังเล็ก ณ บ้านเกิดของเขาเกิดอุทกภัยใหญ่จากการแตกของเขื่อนกั้นแม่น้ำเหลือง (黄河) มารดาของงักฮุยต้องอุ้มบุตรชายไว้ในอ้อมกอด อาศัยซุกตัวอยู่ในโอ่งลอยตามน้ำไปเรื่อยๆ เพื่อรักษาชีวิตให้รอด

    เมื่อล่วงเข้าสู่วัยหนุ่ม ในภาวะที่ประเทศกำลังตกอยู่ในวิกฤตเนื่องจากฮ่องเต้สองพระองค์ของราชวงศ์ซ่งเหนือ คือ ซ่งฮุยจง (宋微宗) และซ่งชินจง (宋钦宗) ถูกพวกจิน (; ค.ศ.1115-1234) จับตัวไปเป็นเชลยศึก จนในที่สุดนำมาสู่จุดจบของราชวงศ์ซ่งเหนือ งักฮุยเมื่อพบเห็นกับเหตุการณ์เช่นนี้จึงตั้งปณิธานกับตัวเองไว้ว่าจะต้องกอบกู้ดินแดนที่สูญเสียและชาติกลับคืนมาให้ได้

    ความตั้งใจนี้เมื่อประกอบกับการสนับสนุนมารดา เขาจึงสมัครเข้าเป็นทหารรับใช้ให้กับราชวงศ์ซ่งใต้ (南宋; ค.ศ.1127-1279) ที่ขณะนั้นองค์ฮ่องเต้คือ ซ่งเกาจง (宋高宗) ได้ย้ายเมืองหลวงหนีมาทางใต้ จากเปี้ยนเหลียง (汴梁; ปัจจุบันคือเมืองไคเฟิง) มาอยู่ที่หลินอัน (临安; ปัจจุบันคือเมืองหางโจว)

    โดยก่อนที่งักฮุยจะออกจากบ้านไปรับใช้ชาติ มารดาได้สลักอักษรจีน 4 ตัวไว้ที่กลางแผ่นหลังของบุตรชาย ความว่า

    尽忠报国 (จิ้นจงเป้ากั๋ว) รู้รักภักดี พลีชีพเพื่อชาติ

    เมื่อเข้ารับราชการทหาร งักฮุยที่พกความมุ่งมั่นไว้เต็มเปี่ยมก็แสดงความกล้าหาญและสามารถรบชนะสังหารข้าศึกไปเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งผลงานไปเข้าตาแม่ทัพนาม จงเจ๋อ (宗泽) ต่อมาแม่ทัพจงเจ๋อก็ถ่ายทอดวิชาความรู้ในการทำศึกสงครามนานาประการให้กับงักฮุยโดยหมดสิ้น โดยหวังว่างักฮุยจะเป็นกำลังสำคัญในการกู้ชาติต่อไป

    หลังจากที่แม่ทัพจงเจ๋อเสียชีวิต งักฮุยก็ได้เป็นผู้สืบทอดในตำแหน่งแม่ทัพต่อตามคาด และสร้างผลงานจนได้ดำรงแม่ทัพใหญ่ในตำแหน่งเจี๋ยตู้สื่อ (节度使) เมื่ออายุเพียง 32 ปีเท่านั้น แต่ทั้งนี้งักฮุยก็มิได้แสดงอาการยโสโอหังต่อตำแหน่งใหญ่ของตัวเองแต่อย่างใด สังเกตได้จากที่ครั้งหนึ่งฮ่องเต้เคยออกปากว่าจะสร้างจวนหลังใหม่ให้ งักฮุยกลับตอบปฏิเสธโดยกล่าวกับฮ่องเต้ไปว่า

    "ในเมื่อยังกวาดล้างศัตรูได้ไม่สิ้นซาก กระหม่อมจะมีมาคำนึงถึงเรื่องบ้านของตัวเองได้อย่างไร?"

    เมื่อก้าวขึ้นเป็นแม่ทัพใหญ่ ชื่อเสียงของงักฮุยก็ยิ่งขจรขจาย โดยเฉพาะในแง่ของความเข้มงวดและระเบียบวินัยของกองทัพ มีอยู่ครั้งหนึ่งขณะที่ฝึกซ้อมการรบอยู่นั้น เมื่อบุตรชาย (เย่ว์หยุน:
    岳云) ของงักฮุยบังคับม้าศึกควบขึ้นเนินลาดแล้วเกิดบังคับม้าไม่อยู่จนทั้งคนทั้งม้าเสียหลักล้มลง ด้านงักฮุยเมื่อทราบดังนั้นก็มิได้แสดงความอาทรต่อบุตรของตัวเองเหนือกว่าพลทหารนายอื่นแต่อย่างใด ออกคำสั่งให้ดำเนินการลงโทษบุตรชายของตนไปตามกฎระเบียบ

    มากกว่านั้น สิ่งที่ทำให้กองทัพของงักฮุยครองใจชาวบ้านมากไปกว่านั้นก็คือ "ความซื่อสัตย์" และ "ซื่อตรง"

    เมื่อพบว่าพลทหารขอเชือกปอจากชาวบ้านหนึ่งเส้นเพื่อนำมามัดไม้ฟืน งักฮุยก็สั่งให้ลงโทษพลทหารผู้นั้นไปตามระเบียบ ขณะที่เมื่อกองทัพของงักฮุยผ่านไปยังหมู่บ้านใดก็จะตั้งค่ายนอนกันริมทาง แม้ชาวบ้านเชิญให้เหล่าทหารเข้าไปพักผ่อนในบ้านอย่างไรก็ไม่ยินยอม ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่วว่าในกองทัพของงักฮุยมีคำขวัญที่ได้รับการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดประการหนึ่ง คือ

    "แม้ต้องหนาวตายก็ไม่ขอเบียดเบียนบ้านชาวประชา แม้ต้องอดตายก็จะไม่ปฏิบัติตัวเยี่ยงโจร-ขโมย"

    ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างงักฮุยกับเหล่าทหารในกองทัพก็เป็นไปด้วยความแนบแน่นยิ่ง โดยเมื่อมีพลทหารคนใดป่วยงักฮุยก็จะไปเยี่ยมด้วยตัวเอง พร้อมส่งคนไปให้การดูแลครอบครัวของพลทหารผู้นั้น ขณะที่หากเบื้องบนตบรางวัลอะไรให้มา งักฮุยก็จะจัดสรรแบ่งปันให้พลทหารของตนอย่างเท่าเทียมโดยที่ไม่คำนึงว่าจะเหลือตกถึงตนเองหรือไม่

    ด้วยเหตุฉะนี้ กองทัพของงักฮุยจึงมีความแข็งแกร่งอย่างยิ่ง และเมื่อประกอบกับความรู้ความสามารถในด้านสงครามของงักฮุยแล้วก็ทำให้ในการรับทุกครั้งกับชนเผ่าจินนั้น กองทัพงักฮุยได้รับชัยชนะอยู่เสมอๆ จนพวกจินนั้นเกิดความเกรงกลัวอย่างมาก จนกระทั่งมีคำกล่าวกันว่า "โยกภูเขานั้นง่าย คลอนทัพงักฮุยนั้นยากยิ่ง"

    ทัพงักฮุยประสบชัยชนะกรีฑาทัพขึ้นภาคเหนือเพื่อยึดดินแดนคืนได้มากมาย บุกจนกระทั่งตั้งทัพอยู่***งจากเมืองหลวงเดิมเพียง 20 กิโลเมตรเท่านั้น**

    เมื่อเห็นสถานการณ์เป็นเช่นนี้ ฉินฮุ่ย (秦桧) ขุนนางกังฉิน (ว่ากันว่าฉินฮุ่ยและภรรยาแซ่หวังเคยถูกกองทัพของจินจับตัวเป็นเชลยศึก แต่สุดท้ายก็ถูกปล่อยตัวกลับมายังซ่งโดยให้สัญญาว่าจะเป็นสายลับให้กับทางจิน***) ผู้ซึ่งเชลียร์ฮ่องเต้ซ่งเกาจงจนได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงกราบทูลต่อองค์ฮ่องเต้ว่าทัพของงักฮุยนั้นเป็นอุปสรรคต่อการเจรจาสงบศึกกับเผ่าจิน

    ด้านฮ่องเต้ซ่งเกาจงก็เชื่อในคำของฉินฮุ่ย และออกโองการบัญชาให้งักฮุยถอนทัพกลับมายังเมืองหลวง ทางฝั่งงักฮุยแม้จะทักท้วงและออกอาการดื้อดึงเช่นไรก็ไม่สำเร็จ จนกระทั่งพระบัญชาของฮ่องเต้ส่งมาเป็นฉบับที่ 12 งักฮุยจึงถอดใจ พร้อมกับทอดถอนใจรำพึงกับตัวเองด้วยความช้ำใจอย่างสุดแสนว่า ความพากเพียร 10 ปีของตนกลับต้องกลายเป็นเพียงเถ้าธุลีในพริบตา

    เมื่องักฮุยปฏิบัติตามพระบัญชาถอนทัพกลับมายังเมืองหลวง ฉินฮุ่ยก็ใส่ร้ายว่างักฮุยนั้นมักใหญ่ใฝ่สูง คิดการณ์ใหญ่จะก่อกบฎล้มล้างราชสำนัก งักฮุยได้ฟังดังนั้นก็ไม่โต้ตอบอะไรด้วยคำกล่าวอะไร เพียงแต่คลายชุดท่อนบนของตนออก เผยให้ฉินฮุ่ยเห็นถึงคำว่า '尽忠报国' อักษรสี่ตัวที่มารดาสลักไว้ด้านหลัง ขุนนางกังฉินเมื่อเห็นดังนั้นก็ชะงัก เอ่ยปากอะไรไม่ออกแม้แต่คำเดียว

    อย่างไรก็ตาม ฉินฮุ่ยก็ยังไม่ยอมลดละความพยายามในการป้ายสีงักฮุยต่างๆ นานา แม้จะตรวจไม่พบความผิดใดๆ ก็ตาม แต่ในที่สุดฉินฮุ่ยก็ปั้นเรื่องจนทำให้งักฮุยต้องถูกโทษประหารจนได้ โดยเมื่อมีขุนนางฝ่ายงักฮุยคนอื่นๆ ทักท้วง และตั้งคำถามฉินฮุ่ยว่ามีหลักฐานในการกล่าวโทษงักฮุยหรือไม่ ฉินฮุ่ยก็ตอบว่า "อาจจะมีก็ได้ (莫须有)" คำตอบของฉินฮุ่ยที่ว่า "อาจจะมีก็ได้" นี้ ภายหลังกลายเป็นศัพท์ที่ถูกจารึกไว้ต่อๆ มาว่ามีความหมาย คือการให้ร้ายผู้อื่นโดยปราศจากหลักฐาน

    ทั้งนี้ในวันที่งักฮุยถูกประหารชีวิต ก็มีพลเมืองดีที่รู้เรื่องราวและเคารพรักในตัวงักฮุยนำศพของเขามาทำพิธีฝังศพ โดยเวลาต่อมาได้มีการเคลื่อนย้ายหลุมฝังศพของงักฮุยมาตั้งไว้ริมทะเลสาบซีหู ณ เมืองหางโจว

    อย่างไรก็ตาม เมื่อแผนการขายชาติ 'นายกรัฐมนตรีกังฉิน' ถูกเล่ากันจากปากต่อปากราษฎรไปจนทั่วเมืองหลวง เพื่อระบายความแค้นใจที่มีต่อฉินฮุ่ย ภรรยาและพรรคพวกที่ให้ร้ายงักฮุย ขุนศึกผู้รักชาติจนเสียชีวิต ราษฎรจึงนำแป้งสองชิ้นมาบีบติดกันแล้วทอดรับประทานเพื่อระบายความแค้น โดยเปรียบเอาว่าแป้งชิ้นหนึ่งคือฉินฮุ่ย ส่วนอีกชิ้นหนึ่งก็คือ ภรรยาแซ่หวัง

    แป้งทอดที่ว่าก็คือ ปาท่องโก๋**** หรือที่ชาวไทยเชื้อสายจีนนิยมเรียกกันว่า 'อิ่วจาก้วย' ส่วนในภาษาจีนกลางนั้นเขาอ่านว่า โหยวจ๋าฮุ่ย (油炸桧) แปลว่า น้ำมันทอดฉินฮุ่ย ซึ่งก็เป็นการนำชื่อของ ฉินฮุ่ย ขุนนางกังฉินผู้ขายชาติมาตั้งเป็นชื่ออาหาร เพื่อถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังจดจำถึงผู้ทรยศต่อประเทศชาติ (ส่วนทางประเทศจีนภาคเหนือเขารับประทานปาท่องโก๋กันเป็นชิ้นใหญ่ยาว เรียกว่า โหยวเถียว (油条))

    สำหรับหลุมศพของงักฮุย วีรบุรุษผู้รักชาติ ปัจจุบันก็ยังตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออก ริมทะเลสาบตะวันตก (西湖) ณ เมืองหางโจว โดยคนในรุ่นต่อๆ มาได้มีการปรับปรุงยกระดับให้มีฐานะเป็นศาลเจ้า ซึ่งก็เปรียบเสมือนว่ายกย่องให้งักฮุยกลายเป็นเทพแห่งความซื่อสัตย์องค์หนึ่งนั่นเอง

    ณ วันนี้หากมีโอกาสได้เข้าไปเยือนศาลเจ้างักฮุยริมทะเลสาบซีหู ติดกับโรงแรมแชงกรีลา ก็จะพบกับรูปปั้นสูงตระหง่านของงักฮุย โดยด้านบนรูปปั้นเป็นลายมือของงักฮุยตวัดพู่กันอย่างมีพลังเป็นตัวอักษร 4 ตัวอ่านว่า

    "เอาแผ่นดินของข้าคืนมา (
    还我河山)"

    ขณะที่รูปปั้นของงักฮุย แสดงความองอาจ น่าเกรงขาม และเป็นที่ชื่นชมของบุคคลที่มาเยี่ยมเยือน ข้างหน้าหลุมศพของงักฮุยในเวลาต่อมาประชาชนก็ได้หล่อรูปโลหะขึ้นมา 4 รูป ประกอบไปด้วย คนขายชาติทั้ง 4 คือ ฉินฮุ่ย ภรรยาแซ่หวัง ม่อฉีเซี่ย (万俟卨) และ จางจุ้น (张俊) นั่งคุกเข่าเอามือไพล่หลังอยู่หน้าหลุมศพ ไว้เป็นอุทาหรณ์แก่คนรุ่นหลัง

    ว่ากันว่าเมื่อรูปหล่อของคนขายชาติทั้ง 4 สร้างเสร็จ ผู้คนที่มาเยือนศาลเจ้างักฮุยต่างก็นิยมถ่มน้ำลาย แสดงความเหยียดหยามต่อบุคคลทั้งสี่อยู่ แม้ปัจจุบันจะมีการสร้างรั้วกั้นไว้แล้วก็ตาม


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2009
  13. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    [​IMG]


    รูปปั้น ท่านงักฮุย​
     
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เรื่องราวของนางอิน ทางสายธาตุจะเขียนตามบันทึกเท่านั้นนะคะ ไม่มีความรู้อื่น บางอย่างทางสายธาตุอาจจะนำมาจากหนังสือเจ้าไล ของอาจารย์คึกเดช กันตามระ นะคะ


    เรื่องของนางอิน จะต้องเกิดในราวๆ พ.ศ. 2133 - 2148 เพราะว่าสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นพระมหาอุปราช แต่ท่านไม่ได้ใช้คำตรัสของท่านว่า พระบัณฑูร นะคะ พระองค์ท่านต้องใช้พระบรมราชโองการเทียบเสมอสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพราะพระเชษฐาต้องการให้พระอนุชามียศเทียบเท่าเป็นกษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง ในวิกีพีเดีย บอกว่า พระเอกาทศรถใช้ว่า พระบัณฑูร นั้นไม่ถูกต้องตามประวัติศาสตร์นะคะ
     
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ในหนังสือของอาจารย์คึกเดช บอกว่าครั้งนั้น สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จกลับจากสงครามเข้าปล้นค่ายพม่า เป็นศึกเดียวกันกับวีรกรรมคาบพระแสงดาบของสมเด็จพระนเรศวรปล้นค่ายพม่า ปี พ.ศ. 2129 ตอนนั้นสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นวังหลัง สมเด็จพระนเรศวรเป็นพระมหาอุปราช ดังนั้นที่หนังสืออาจารย์คึกเดชต้องอ้างว่า ครั้งนั้น สมเด็จพระเอกาทศรถ พระเจ้าวังหลัง เสด็จผ่านเกาะบ้านเลน เจอพายุพัดจนเรือพระที่นั่งล่ม จึงได้เจอนางอิน ลูกสาวนางจัน หญิงชาวบ้านที่มีบ้านอยู่บนเกาะนั้น

    พ.ศ. 2129 นั้นจะได้พระองค์ไลที่ประสูติในปี พ.ศ. 2130 ซึ่งตรงนี้จะได้กับประวัติตอนหนึ่งที่พระองค์ไลนั่งช้างชมพระราชพิธีแรกนามากับพระอนุชาที่บัดนี้เป็นพระมหาอุปราช ตอนนั้นพระองค์ไล อายุ 18 ชันษา (พระมหาอุปราชตอนนั้นคือ เจ้าฟ้าสุทัศน์ พระโอรสองค์โตของสมเด็จพระเอกาทศรถ) ถ้าพระองค์ไลคือเจ้าไล เป็นลูกบาทบริจาริกา ไม่น่าจะได้เสมอกับเจ้าฟ้าสุทัศน์ โดยขี่ช้างไปพระองค์ละตัว เท่ากับเทียบเสมอ ถ้าพระองค์ไลไม่มี Back up ที่มีอิทธิพลพอ เป็นแค่ลูกภรรยาน้อยที่แม่ไม่มีสมบัติพัสถานอะไร จะไปตีเสมอพระลูกเจ้าจากพระอัครมเหสี อันทรงเป็นถึงพระมหาอุปราชเช่นนั้นได้หรือ ทหารรักษาพระองค์จะยอมให้เป็นอย่างนั้นหรือ
     
  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ถ้าเอาตามที่ระบุว่าพระองค์ไลเกิด พ.ศ. 2143 จริง ตอนนั้นสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นพระมหาอุปราช ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2148 พระองค์เพิ่งจะ 5 ขวบ จะไปเป็นจมื่นศรีสรรักษ์ที่ขี่ช้างไปคู่กับพระมหาอุปราช(เจ้าฟ้าสุทัศน์) แล้วชักดาบเข้าไปต่อสู้กับกลุ่มพระยาแรกนาได้หรือ อายุเพิ่งจะ 5 ขวบ

    เริ่มงงหรือยังค่ะ

    ดังนั้นเขาจึงไปตีความว่า จมื่นศรีสรรักษ์ไปทำลายพิธีพระยาแรกนา ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมแทน

    พระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงธรรม (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๖๓- ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๑๗๑) เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๒๑ แห่งกรุงศรีอยุธยา และ เป็นพระองค์ที่ ๕ แห่งราชวงศ์สุโขทัย

    ถ้าพระองค์ไลเกิด พ.ศ. 2143 นับไปอีก 18 ปี คือพ.ศ. 2161 ยังไม่เข้าสมัยพระเจ้าทรงธรรม

    เอาใหม่ พระเจ้าทรงธรรมครองราชย์ในปี พ.ศ. 2155 หลังสมเด็จพระเอกาทศรถที่สวรรคต พ.ศ. 2153 จากนั้นเป็นพระศรีเสาวภาคย์ พ.ศ. 2154 แล้วถูกรัฐประหารโดยพระพิมลธรรม(เดิมพระเจ้าทรงธรรม บวชจนเป็นเจ้าคณะอยู่ที่วัดระฆัง) แล้วในปี พ.ศ. 2161 ที่พระองค์ไลเดินไปกับพระมหาอุปราชนั้น ใครคือพระมหาอุปราช ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์เป็นพระอนุชาของพระองค์ไลด้วย

    อย่างเพิ่งงงนะคะ ประวัติศาสตร์ที่ไม่ลงล็อคจะมีหลายข้อมูลแบบนี้ จึงต้องพูดให้รอบด้านค่ะ
     
  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เอาเป็นว่าสมมติว่าเข้าสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมจริง พระองค์ไลได้เป็น พระยาศรีวรวงศ์ ที่ร่วมมือกับเฉกอะหมัด เข้าต่อสู้ป้องกันพระเจ้าอยู่หัวทรงธรรม จากพวกญี่ปุ่นที่บุกเข้ามาในวังหลวง เพราะญี่ปุ่นอ้างว่าเจ็บแค้นแทนพระศรีเสาวภาคย์ที่ถูกรัฐประหารจากพระเจ้าทรงธรรม จึงเอาเรื่องนี้อ้างเข้ามาวังหลวงจะจับพระเจ้าอยู่หัวมารับโทษ พระองค์ไลกับเฉกอะหมัด(มิตรต่างวัยของพระองค์ไล) ร่วมกันเข้าต่อสู้ป้องกัน เดชะบุญพระสงฆ์ที่เข้ามาทำพิธีในวังได้พาพระเจ้าทรงธรรมหนีออกไปก่อน

    ถ้าพระเจ้าทรงธรรม ครองราชย์ พ.ศ. 2155 พระองค์ไลจะเป็นพระยาศรีวรวงศ์ ด้วยอายุเท่าไหร่ ถ้าพระองค์ไลเกิด พ.ศ. 2143 อายุเพิ่งจะ 12 ชันษา จะเอากำลังเข้าต่อสู้ป้องกันญี่ปุ่นได้หรือ แล้วจะเป็นพระยาศรีวรวงศ์ด้วยอายุ 12 ชันษาได้หรือ

    ทางสายธาตุจึงไม่เชื่อว่าพระองค์เกิด พ.ศ. 2143 ตามที่พงศาวดารเขียนไว้เพราะไม่สามารถอธิบายเหตุการณ์ต่างๆได้ลงล็อค
     
  18. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ได้อ่านพบบทความที่ดีเยี่ยมบทความหนึ่ง กล่าวถึงความจงรักภักดีด้วยชีวิต

    ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของพระอริยสงฆ์ท่านหนึ่ง หลวงปู่สิม

    พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่


    ใคร่ขออนุญาตคัดลอกข้อความบางตอนมากล่าวซ้ำ ด้วยความคารวะและชื่น

    ชม ท่านที่ต้องการทราบในรายละเอียดเพิ่มเติม ขอได้โปรดติดตามจาก

    http://palungjit.org/threads/ความ-จงรักภักดี-ด้วย-ชีวิต.175137/


    ความจงรักและภักดีด้วยชีวิต



    หากจะกล่าวถึงเรื่องราวที่น่าประทับใจเกี่ยวกับความจงรักภักดีที่ประชาชนชาวไทยมีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐสุดของเราท่านทั้งหลายพระองค์นี้นั้น ย่อมเป็นที่เชื่อแน่ได้ว่า หากจะนำมาร้อยเรียงพรรณากันตลอดกาลอันยาวนานสิ้นด้วยทศวรรษศตวรรษ ก็คงจะเล่าขานไม่จบสิ้นลงไปโดยง่ายได้เป็นแน่
    เพราะพระมหาคูณูปการที่ทรงดำรงมั่น"โดยธรรม"ของ"ในหลวง"ที่ก่อให้เกิด"ประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม" ที่ทรงกอรปกระทำมาตลอด 60 ปีแห่งการครองราชย์ จนพระชนมายุล่วงเข้าถึง 80 พรรษาในปีพุทธศักราช 2550 ช่างมีอยู่อย่างเอนกอนันต์ สุดที่จะคณนานับให้หมดสิ้นได้โดยแท้
    ก็บุคคลใดผู้มีใจตรง และมีจิตที่ถึงพร้อมด้วย กตเวทิตธรรมจริง ย่อมทราบชัดและซาบซึ้งประจักษ์แจ้งใจในพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างที่สุดโดยถ้วนหน้า ไม่สงสัย

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    นี้เอง ย่อมเป็นมหาเหตุให้ประชาชนคนไทยทั้งปวง ต่างมีความเคารพเทิดทูนและจงรักภักดีในองค์พระมหาราชเจ้าพระองค์นั้นอย่างสุดจิตสุดใจ และได้ประกอบกระทำ"คุณงามความดี" ด้วยประการต่างๆถวายเป็นเครื่องราชสักการะแทบเบื้องพระยุคลบาทตามฐานานุรูปและอัตตภาวะวิสัยแห่งตนโดยลำดับ ซึ่งการทั้งนั้น ย่อมปรากฏชัดแก่ผู้ทำกรรมอันดีอันงามอย่างบริสุทธิ์ใจอยู่โดยทั่วไปอยู่นั้น
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    แต่...หนึ่งในบรรดาเรื่องราวแห่งความ จงรักและ ภักดี ที่พสกนิกรชาวไทยมีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีความ"พิเศษ" กว่าปกติ ด้วยทรงไว้ซึ่งความวิสามัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นเรื่องที่"พระอริยเจ้า"องค์สำคัญแห่งสยามประเทศองค์หนึ่ง ได้หยั่งรู้ซึ้งถึงพระคุณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอันดีจนถึงที่สุด พร้อมกับได้กระทำการบางอย่างที่ลึกซึ้งยิ่งใหญ่ เกินสามัญวิสัยแห่งบุคคลทั่วไปจักหยั่งคาด เพื่อน้อมถวายความจงรักภักดีอย่างไม่อาลัยแก่ชีวิตินทรีย์ แม้สรีรสังขารแห่งองค์ของท่านจะต้องถึงแก่การแตกดับทิ้งขันธ์ถึงเพียงไรก็ตาม...
    เรียกได้ว่า การครั้งนี้ มิได้เป็นการถวายความ"จงรักภักดี" ที่มิได้เป็นเพียง"คำพูด"หรือ"วัตถุภายนอก" อย่างปกติทั่วไป แต่เป็นการถวายให้ด้วย"ชีวิต"และ"จิตใจ" ของพระอริยเจ้าองค์หนึ่ง ที่บรรลุถึงขั้น"ปรมัตถ์"อันสูงสุดก็ว่าได้เลยนั่นเทียว...
    ก็พระอริยเจ้าที่ยอมสละสิ้นทุกสิ่งแม้กระทั่งชีวิตจิตใจเพื่อน้อมถวายความจงรักภักดีแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งสุดท้าย ก่อน"ดับขันธ์"สู่วิมุติภพอันไม่หวนคืนกลับมาอีกเป็นครั้งที่ 2 ที่จะได้นำมาแสดงให้ปรากฏเป็นอุดมมงคลและเนติแบบให้อนุชนรุ่นหลังได้แจ้งใจและยึดถือปฏิบัติตามสืบต่อไปในมงคลวโรกาสนี้ แท้จริงแล้วก็คือพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระญาณสิทธาจารย์(สิม พุทฺธาจาโร) สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่นั่นเอง...


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>




    ขอขอบคุณ คุณสำรวจโลก ครับ
     
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ทางสายธาตุจึงลงความเห็นว่า เหตุการณ์นี้น่าจะตรงกับสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถมากกว่าสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โดยพระองค์ไลทรงประสูติ พ.ศ. 2130 และมีอายุ 18 ชันษาในปี พ.ศ. 2148 ปีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสวรรคต

    แล้วเจ้าฟ้าสุทัศน์เป็นน้องชายพระองค์ไล โดยพระองค์ไลเป็นพระโอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถอันเกิดจากหญิงชาวบ้านชื่อนางอิน พระเอกาทศรถเสนอให้รับราชการหรือจะเอาตำแหน่งเป็นลูกเจ้า (ตรงนี้เอามาจากนิยาย เจ้าไล) พระองค์ไลเลือกรับราชการในตำแหน่งมหาดเล็กรักษาพระองค์ที่ จมื่นศรีสรรักษ์ สมมติว่าเรื่องราวเป็นไปตามนี้
     
  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขอคั่นเวลานิดหนึ่งนะคะ ตอนนี้มีหลายคนไม่เชื่อเรื่องบุญญาธิการ

    ในวิทยุเมื่อสักครู่ที่คนในบ้านทางสายธาตุเปิด เขา(พี่ชายของทางสายธาตุเองค่)

    สังกัดสีค่ะ (ไม่ต้องเอ่ยสี)

    บอกชัดๆเลยว่า คำว่า บุญญาธิการไม่มีจริงในโลกใบนี้

    พระสงฆ์องค์เจ้าไม่ต้องมาอ้างเรื่องบุญญาธิการ ไม่ต้องสอนโลกนี้โลกหน้า

    ไม่ต้องมาอ้างกรรมเก่า ไม่ต้องสอนให้คนงมงาย โอ้กล่าววาจากันแรงมาก

    ไม่เชื่อเรื่องกรรมเก่า ก็ไม่ต้องนับถือพระพุทธศาสนาแล้วหล่ะค่ะ

    เพราะเป็นความเชื่อที่เป็นพื้นฐานที่สุดของการนับถือศาสนาพุทธเลยค่ะ

    ไม่อยากให้อ้างสมเด็จพระเจ้าตากสินเลยค่ะ ท่านเป็นเทพ เป็นพรหม

    หรืออาจเข้าสู่พระนิพพานแล้วก็ได้ ไม่อยากให้ยกเรื่องนี้มาพูดกันเลย

    ไม่เกี่ยวกับพระองค์ท่านเลยค่ะ ฟัง แล้ว กลุ้มใจค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...