วิปัสนาญาณ โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย ชนะ สิริไพโรจน์, 5 ตุลาคม 2009.

  1. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    [​IMG]
    วิปัสสนาญาณ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    บุคคลที่ทำลายพระศาสนา<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    เป็นนิสัย ไม่ควรมีในหมู่พุทธศาสนิกชน เพราะเป็นการดูแคลนพระพุทธศาสนาเกินไป พูดกันตรง ๆ ก็ว่า ไม่มีความเชื่อถือจริง และไม่ใช่นักปฏิบัติจริงปฏิบัติตามเขา พอได้ชื่อว่าฉันก็ปฏิบัติวิปัสสนาคนประเภทนี้แหละที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมโทรม เพราะทำไปไม่นานก็เลิกแล้วก็เอาความไม่จริงไม่จังของตนเองนี่แหละไปโฆษณา บอกว่าฉันปฏิบัตินานแล้วไม่เห็นมีอะไรปรากฏ เป็นการทำลายพระศาสนาโดยตรง ฉะนั้นนักปฏิบัติแล้วควรตั้งใจจริงเพื่อมรรคผล ถ้ารู้ตัวว่าจะไม่เอาจริงก็อย่าเข้ามายุ่งทำให้ศาสนาเสื่อมทรามเลย ต่อไปนี้จะพูดถึงนักปฏิบัติที่เอาจริง
    ก่อนพิจารณาวิปัสสนา
    ทุกครั้งที่จะเจริญวิปัสสนาท่านให้เข้าฌานตามกำลังสมาธิที่ได้เสียก่อนเข้าฌานให้ถึงที่สุดของสมาธิถ้าเป็นฌานที่ ๔ ได้ยิ่งดี ถ้าได้สมาธิ ๆ ไม่ถึงฌาน ๔ ก็ให้เข้าฌานจนเต็มกำลังสมาธิที่ได้เมื่ออยู่ในฌานจนจิตสงัดดีแล้วค่อยๆคลายสมาธิมาหยุดอยู่ที่อุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณทีละขั้นอย่าละโมบโลภมาก ทำทีละขั้น ๆ นั้นจะเกิดเป็นอารมณ์ ประจำใจไม่หวั่นไหวเป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ไม่กำเริบแล้ว จึงค่อยเลื่อนไปฌาน ต่อไปเป็น ลำดับทุกฌานปฏิบัติอย่างเดียวกันทำอย่างนี้จะได้รับผลแน่นอน ผลที่ได้ต้องมีการทดสอบจากอารมณ์จริงเสมอ อย่านึกคิดเอาเองว่าได้เมื่อยังไม่ผ่านการกระทบจริงต้องผ่านการกระทบจริงก่อน ไม่กำเริบแล้วเป็นอันใช้ได้
    ธรรมเครื่องบำรุงวิปัสสนาญาณ<O:p></O:p>
    นักเจริญวิปัสสนาญาณที่หวังผลจริง ไม่ใช่นักวิปัสสนาทำเพื่อโฆษณาตัวเองแล้วท่านว่าต้องเป็นผู้ปรับปรุงบารมี ๑๐ ให้ครบถ้วนด้วย ถ้าบารมี ๑๐ ยังไม่ครบถ้วนเพียงใด ผลในการเจริญวิปัสสนาญาณจะไม่มีผลสมบูรณ์ บารมี ๑๐ นั้นมีดังต่อไปนี้ <O:p></O:p>
    ๑. ทาน คือการให้ ต้องมีอารมณ์ใคร่ต่อการให้ทานเป็นปกติ ให้เพื่อสงเคราะห์ ไม่ให้เพื่อผลตอบแทน ให้ไม่เลือกเพศ วัย ฐานะ และความสมบูรณ์เต็มใจในการให้ทาน เป็นปกติ ไม่มีอารมณ์ไหวหวั่นในการให้ทาน <O:p></O:p>
    ๒. ศีล รักษาศีล ๕ เป็นปกติ ศีลไม่บกพร่อง และรักษาแบบอุกฤษฏ์ คือไม่ทำศีล ให้ขาดหรือด่างพร้อยเอง ไม่ยุคนอื่นให้ละเมิดศีล ไม่ดีใจเมื่อคนอื่นละเมิดศีลไม่ดีใจเมื่อ คนอื่นละเมิดศีล <O:p></O:p>
    ๓. เนกขัมมะ การถือบวช คือถือพรหมจรรย์ ถ้าเป็นนักบวช ก็ต้องถือสิกขาบท อย่างเคร่งครัดถ้าเป็นฆราวาสต้องเคร่งครัดในการระงับอารมณ์ทีเป็นที่เป็นทางของนิวรณ์ ๕ คือทรงฌานเป็นปกติอย่างต่ำก็ก็ปฐมฌาน <O:p></O:p>
    ๔. ปัญญา มีความคิดรู้เท่าทันสภาวะของกฎธรรมดา เห็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา เป็นปกติ <O:p></O:p>
    ๕. วิริยะ มีความเพียรเป็นปกติไม่ท้อถอยในการปฏิบัติเพื่อมรรคผล <O:p></O:p>
    ๖. ขันติ อดทนต่อความยากลำบาก ในการฝืนใจระงับอารมณ์ที่ไม่ถูกใจอดกลั้น ไม่หวั่นไหว จนมีอารมณ์อดกลั้นเป็นปกติ ไม่หนักใจเมื่อต้องอดทน <O:p></O:p>
    ๗. สัจจะ มีความจริงใจไม่ละทิ้งกิจการงานในการปฏิบัติความดีเพื่อมรรคผล <O:p></O:p>
    ๘. อธิษฐาน ความตั้งใจ ความตั้งใจใด ๆ ที่ตั้งใจไว้ เช่นสมัยที่สมเด็จพระผู้มี พระภาคเจ้าพระองค์เข้าไปนั่งที่โคนต้นโพธิ์ พระองค์ทรงอธิษฐานว่า ถ้าเราไม่ได้สำเร็จ พระโพธิญาณเพียงใดเราจะไม่ยอมลุกจากที่นี้แม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปหรือชีวิต จะตักษัยคือสิ้นลมปราณก็ตามทีพระองค์ทรงอธิษฐานเอาชีวิตเข้าแลกแล้วพระองค์ก็ทรงบรรลุในคืนนั้น การปฏิบัติต้องมีความมั่นใจอย่างนี้ ถ้าลงเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้วสำเร็จ ทุกราย และไม่ยากเสียด้วย ใช้เวลาก็ไม่นาน <O:p></O:p>
    ๙. เมตตา มีความเมตตาปรานีไม่เลือก คน สัตว์ ฐานะ ชาติ ตระกูลมีอารมณ์เป็น เมตตาตลอดวันคืนเป็นปกติ ไม่ใช่บางวันดีบางวันร้ายอย่างนี้ไม่มีหวัง <O:p></O:p>
    ๑๐. อุเบกขา ความวางเฉยต่ออารมณ์ที่ถูกใจ และอารมณ์ที่ขัดใจอารมณ์ที่ถูกใจรับแล้วก็ทราบว่าไม่ช้าอาการอย่างนี้ก็หมดไปไม่มีอะไรน่ายึดถือพบอารมณ์ที่ขัดใจก็ปลงตกว่า เรื่องอย่างนี้มันธรรมดาของโลกแท้ๆ เฉยได้ทั้งสองอย่าง <O:p></O:p>
    บารมี ๑๐ นี้ มีความสำคัญมากถ้า นักปฏิบัติบกพร่องในบารมี๑๐ นี้ แม้อย่างเดียว วิปัสสนาญาณก็มีผลสมบูรณ์ไม่ได้ที่ว่าเจริญกันมา ๑๐ปี ๒๐ ปี ไม่ได้อะไรนั้น ก็เพราะเป็น ผู้บกพร่องในบารมี ๑๐ นี่เอง ถ้าบารมี ๑๐ ครบถ้วนแล้วผลการปฏิบัติเขานับวันสำเร็จกันไม่ใช่นับเดือนนับปีฉะนั้นท่านนักปฏิบัติเพื่อมรรคผลต้องสนใจปฏิบัติในบารมี ๑๐ นี้ ไม่ให้บกพร่องเป็นกรณีพิเศษ<O:p></O:p>


    วิปัสสนาญาณสามนัย
    วิปัสสนาญาณที่พิจารณากันมานั้น ท่านสอนไว้เป็นสามนัย คือ <O:p></O:p>
    ๑. พิจารณาตารมแบบวิปัสสนาญาณ ๙ ตามนัยวิสุทธิมรรคที่ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ รจนาไว้ <O:p></O:p>
    ๒. พิจารณาตามนัยอริยสัจ ๔ <O:p></O:p>
    ๓. พิจารณาขันธ์ ๕ ตามในพระไตรปิฎก ที่มีมาในขันธวรรค <O:p></O:p>
    ทั้งสามนัยนี้ ความจริงก็มีอรรถ คือความหมายเป็นอันเดียวกันโดยท่านให้เห็นว่าขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหมือนกันท่านแยกไว้เพื่อเหมาะแก่อารมณ์ของแต่ละท่าน เพราะบางท่านชอบค่อยทำไปตามลำดับตามนัยวิปัสสนาญาณ ๙ เพราะเป็นการค่อยปลด ค่อย เปลื้องตามลำดับทีละน้อยไม่หนักอกหนักใจ บางท่านก็ชอบพิจารณาแบบรวม ๆ ใน ขันธ์ ๕เพราะเป็นการสะดวกเหมาะแก่อารมณ์ บางท่านที่ชอบพิจารณาตามแบบอริยสัจนี้พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเอง และนำมาสอนปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรก ท่านเหล่านั้นได้มรรคผลเป็นปฐม ก็เพราะได้ฟังอริยสัจ แต่ทว่าทั้งสามนี้ก็มีความหมายอย่างเดียวกันคือให้เห็น อนัตตาในขันธ์ ๕ เหมือนกัน ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคและในขันธวรรคในพระไตรปิฎก ว่าผู้ใดเห็นขันธ์ ๕ ผู้นั้นก็เห็นอริยสัจผู้ใดเห็นอริยสัจก็ชื่อว่าเห็นขันธ์ ๕
    เอาสังโยชน์ ๑๐ เป็นเครื่องวัดอารมณ์
    นักปฏิบัติเพื่อมรรคผล ที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้นท่านคอยเอาสังโยชน์เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบเคียงจิตกับสังโยชน์ว่าเราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลปฏิบัติตามอารมณ์ที่ละนั้นเอง ไม่ใช่คิดเอาเองว่าเราเป็นพระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหัตตามแบบคิดแบบเข้าใจเอาเอง<O:p></O:p>

    สังโยชน์ ๑๐
    สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมอยู่ในวัฏฏะมี ๑๐อย่างคือ <O:p></O:p>
    ๑. สักกายทิฏฐิ มีความเห็นว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณนี้ เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเรา <O:p></O:p>
    ๒. วิจิกิจฉา สงสัยในผลการปฏิบัติว่าจะไม่ได้ผลจริงตามที่ฟังมา <O:p></O:p>
    ๓. สีลัพพตปรามาส ถือศีลไม่จริงไม่จัง สักแต่ถือตาม ๆเขาไปอย่างนั้นเอง สามข้อ นี้ ถ้าตัดได้เด็ดขาด ท่านว่าได้บรรลุเป็นพระโสดากับพระสกิทาคามี <O:p></O:p>
    ๔. กามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รสและอาการ ถูกต้องสัมผัส <O:p></O:p>
    ๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งใจ ทำให้ไม่พอใจ อันนี้เป็นโทสะแบบเบาๆ ข้อ (๑) ถึง (๕) นี้ ถ้าละได้เด็ดขาด ท่านว่าบรรลุเป็นอนาคามี <O:p></O:p>
    ๖. รูปราคะ พอใจในรูปธรรม คือความพอใจในวัตถุ หรือ รูปฌาน <O:p></O:p>
    ๗ รูปราคะ พอใจในอรูป คือเรื่องราวที่กล่าวถึง หรือในอรูปฌาน <O:p></O:p>
    ๘. อุทธัจจะ อารมณ์ฟุ้งซ่าน คิดนอกลู่นอกทาง <O:p></O:p>
    ๙. มานะ ความถือตนโดยความรู้สึกว่า เราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขาเราเสมอเขา<O:p></O:p>
    ๑๐.อวิชชา ความโง่ คือหลงพอใจในกามคุณ ๕ และกำหนัดยินดีในกามคุณ ๕ที่ ท่านเรียกว่า อุปาทาน เป็นคุณธรรมฝ่ายทราม ที่ท่านเรียกว่า อวิชชา <O:p></O:p>
    สังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ถ้าท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว จิตค่อย ๆ ปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครบ ๑๐ อย่างโดยไม่กำเริบอีกแล้ว ท่านว่าท่านผู้นั้นบรรลุอรหัตผลเครื่องวัด อารมณ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสจำกัดไว้อย่างนี้ขอนักปฏิบัติจงศึกษาไว้แล้วพิจารณาไปตามแบบ ท่านสอนเอาอารมณ์มาเปรียบกับสังโยชน์ ๑๐ทางที่ดีควรคิดเอาชนะกิเลสคราวละข้อ เอาชนะ ให้เด็ดขาด แล้วค่อยเลื่อนเข้าไปทีละข้อข้อต้น ๆ ถ้าเอาชนะไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งเลื่อนเข้าไปหา ข้ออื่น ทำอย่างนี้ได้ผลเร็วเพราะข้อต้นหมอบแล้ว ข้อต่อไปไม่ยากเลย จะชนะหรือไม่ชนะ ก็ข้อต้นนี้แหละเพราะเป็นของใหม่และมีกำลังครบถ้วนที่จะต่อต้านเรา ถ้าด่านหน้าแตกด่านต่อไปง่ายเกินคิด ขอให้ข้อคิดไว้เพียงเท่านี้ต่อไปจะนำเอาวิปัสสนาญาณสามนัยมากล่าว ไว้พอเป็นแนวปฏิบัติพิจารณา<O:p></O:p>
    วิปัสสนาญาณ ๙
    ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความเกิดและความดับ
    ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความดับ
    ๓.ภยตูปัฎฐานญาณ พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว
    ๔.อาทีนวานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นโทษของสังขาร
    ๕.นิพพิทานุปัสสนาญาณ พิจารณาสังขารเห็นเป็นของน่าเบื่อหน่าย
    ๖. มุญจิตุกามยตาญาณ พิจารณาเพื่อใคร่จะให้พ้นจากสังขารไปเสีย
    ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ พิจารณาหาทางที่จะให้พ้นจากสังขาร
    ๘. สังขารุเปกขาญาณ พิจารณาเห็นว่า ควรวางเฉยในสังขาร
    ๙. สัจจานุโลมิกญาณ พิจารณาอนุโลมในญาณทั้ง ๘ นั้นเพื่อกำหนดรู้ในอริยสัจ
    ญาณทั้ง ๙ นี้ญาณที่มีกิจทำเฉพาะอยู่ตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึง ญาณที่ ๘ เท่านั้น ส่วนญาณ ที่ ๙ นั้นเป็นชื่อของญาณบอกให้รู้ว่า เมื่อฝึกพิจารณามาครบ ๘ ญาณแล้ว ต่อไปให้พิจารณาญาณทั้ง๘ นั้น โดยอนุโลมและปฏิโลม คือพิจารณาตามลำดับไปตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึงญาณที่ ๘แล้วพิจารณาตั้งแต่ญาณที่ ๘ ย้อนมาหาญาณที่ ๑จนกว่าจะเกิดอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์ทุก ๆ ญาณและจนจิตเข้าสู่โคตรภูญาณคือจิตมีอารมณ์ยอมรับนับถือกฎธรรมดา เห็นเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเนื่องด้วยตนหรือคนอื่นเป็นของธรรมดาไปหมด สิ่งกระทบเคยทุกข์เดือดร้อนก็ไม่มีความทุกข์ ความเร่าร้อนไม่ว่าอารมณ์ใดๆ ทั้งที่เป็นเหตุของความรัก ความโลภความโกรธ ความผูกพัน ยอมรับนับถือกฎธรรมดาว่ามันต้องเป็นอย่างนี้ อาการอย่างนี้เป็นเรื่องธรรมดาแท้ ท่านว่าครอบงำความเกิด ความดับ ความตายได้เป็นต้นคำว่าครอบงำหมายถึงความไม่สะทกสะท้านหวั่นไหว ใครจะตายหรือเราจะตายไม่หนักใจเพราะรู้อยู่แล้วว่าจะต้องตาย ใครทำให้โกรธในระยะแรกอาจหวั่นไหวนิดหนึ่งแล้วก็รู้สึกว่านี่มันเป็นของธรรมดาโกรธทำไม แล้วอารมณ์โกรธก็หายไปนอกจากระงับความหวั่นไหวที่เคยเกิดเคยหวั่นไหวได้แล้วจิตยังมีความรักในพระนิพพานยิ่งกว่าสิ่งใดสามารถจะสละวัตถุภายนอกทุกอย่างเพื่อพระนิพพานได้ทุกขณะมีความนึกคิดถึงพระนิพพานเป็นปกติคล้ายกับชายหนุ่มหญิงสาวเพิ่งแรกรักกัน จะนั่ง นอน ยืนเดินทำกิจการงานอยู่ก็ตามจิตก็ยังอดที่จะคิดถึงคนรักอยู่ด้วยไม่ได้บางรายเผลอถึงกับเรียกชื่อคนรัก ขึ้นมาเฉย ๆ ทั้ง ๆที่ไม่ได้คิดว่าจะเรียกทั้งนี้เพราะจิตมีความผูกพันมาก คนรักมีอารมณ์ ผูกพันฉันใดท่านที่มีอารมณ์เข้าสู่โคตรภูญาณก็มีความใฝ่ฝันถึงพระนิพพานเช่นเดียวกันหลังจากเข้าสู่โคตรภูญาณเต็มขั้นแล้ว จิตก็ตัดสังโยชน์ ๓ เด็ดขาด เป็นสมุจเฉทปหานคือตัดได้เด็ดขาดไม่กำเริบอีก ท่านเรียกว่าได้อริยมรรคต้นคือเป็นพระโสดาบันต่อไปนี้ จะได้ อธิบายในวิปัสสนาญาณ ๙ เป็นลำดับไปเป็นข้อ ๆ
    ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
    ญาณนี้ท่านสอนให้พิจารณาความเกิดและความดับของสังขาร คำว่าสังขาร หมายถึง สิ่งที่เป็นร่างทั้งหมด ทั้งที่มีวิญาณและวัตถุท่านให้พยายามพิจารณาใคร่ครวญเสมอ ๆ ว่า สังขารนี้มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นแล้วต่อไปก็แตกสลายทำลายไปหมด ไม่มีสังขารประเภทใดเหลืออยู่เลยพยายามหาเหตุผลในคำสอนนี้ให้เห็นชัด ดูตัวอย่างคน ที่เกิดแล้วตายของที่มีขึ้นแล้วแตกทำลาย ดูแล้วคิดทบทวนมาหาตน และคนที่รักและไม่รักของที่มีชีวิตและไม่มีคิดว่านี่ไม่ช้าก็ต้องตายทำลายอย่างนี้และพร้อมเสมอที่จะไม่หวั่นไหว ในเมื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นอย่างนั้นพิจารณาทบทวนอย่างนี้จนอารมณ์เห็นเป็นปกติ ได้อะไรมา เห็นอะไรก็ตามแม้แต่เห็นเด็กเกิดใหม่ อารมณ์ใจก็คิดว่านี่ไม่ช้ามันก็พัง ไม่ช้ามันก็ทำลายแม้แต่ร่างกายเรา ไม่ช้ามันก็สิ้นลมปราณอะไรที่ไหนที่เราคิดว่ามันจะยั่งยืนถาวรตลอดกาล ไม่มีรักษาอารมณ์ให้เป็นอย่างนี้จนอารมณ์ไม่กำเริบแล้วจึงค่อยย้ายไปพิจารณาญาณ ที่สอง จงอย่าลืมว่าก่อนพิจารณาทุกครั้งต้องเข้าฌานก่อน แล้วถอยจากฌานมาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌานแล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณ จึงจะเห็นเหตุเห็นผลง่าย ถ้าท่านไม่อาศัยฌานแล้ววิปัสสนาญาณก็มีผลเป็นวิปัสสนึกเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรดีไปกว่า นั่งนึกนอนนึกแล้วในที่สุดก็เลิกนึก และหาทางโฆษณาว่าฉันทำมาแล้วหลายปีไม่เห็นได้ อะไรเลยจงจำระเบียบไว้ให้ดี และปฏิบัติตามระเบียบให้เคร่งครัด วิปัสสนาไม่ใช่ต้ม ข้าวต้มจะได้สุกง่าย ๆ ตามใจนึก
    ๒.ภังคานุปัสสนาญาณ
    ญาณนี้ท่านสอนให้พิจารณาถึงความดับ ญาณต้นท่านให้เห็นความเกิดและความดับสิ้นเมื่อปลายมือ แต่ญาณนี้ท่านให้พิจารณาเห็นความดับที่ดับเป็นปกติทุกวัน ทุกเวลา คือพิจารณาให้เห็นสรรพสิ่งทั้งหมดที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า คนสัตว์ ต้นไม้ ภูเขา บ้านเรือนโรง ของใช้ทุกอย่าง ให้ค้นหาความดับที่ค่อย ๆ ดับตามความเป็นจริง ที่สิ่งเหล่านั้นค่อย ๆ เก่าลง คนค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นจากความเป็นเด็ก และค่อยๆ ละความเป็นหนุ่มสาวถึงความเป็นคนแก่ ของใช้ที่ไม่มีชีวิตเปลี่ยนสภาพจากเป็นของใหม่ค่อยๆ เก่าลง ต้นไม้เปลี่ยนจากเป็นต้นไม้ที่เต็มไปด้วยกิ่งใบที่ไสวกลายเป็นต้นไม้ที่ค่อยๆ ร่วงโรย ความสลายตัวที่ค่อยเก่าลง เป็น อาการของความสลายตัวทีละน้อยค่อยๆ คืบคลานเข้าไปหาความสลายใหญ่คือความดับสิ้นในที่สุด ค่อยพิจารณาให้เห็นชัดเจนแจ่มใส จนอารมณ์จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ คือมีความชินจิตว่าไม่มีอะไรมันทรงตัว ไม่มีอะไรยั่งยืน มันค่อยๆ ทำลายตัวเองอย่างนี้ทั้งสิ้น แม้แต่อารมณ์ใจก็เช่นเดียวกัน อารมณ์ที่พอใจและอารมณ์ที่ไม่ชอบใจก็มีสภาพไม่คงที่มีสภาพค่อย ๆสลายตัวลงไปทุกขณะเป็นธรรมดา
    รวมความว่าความเกิดขึ้นนี้เป็นสภาพที่จำต้องเดินไปหาความดับในที่สุด แต่กว่าจะถึงที่สุดก็ค่อยๆ เคลื่อนดับ ดับทีละเล็กละน้อยทุกเวลาทุกขณะ มิได้หยุดยั้งความดับเลยแม้แต่เสี้ยวของวินาที ปกติเป็นอย่างนี้จิตหายความหวั่นไหวเพราะเข้าใจและคิดอยู่ รู้อยู่อย่างนั้นเป็นปกติ
    ๓. ภยตูปัฏฐานญาณ
    ญาณนี้ท่านให้พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัวท่านหมายถึงให้กลัวเพราะสังขารมีสภาพพังทลายเป็นปกติอยู่เป็นธรรมดาอย่างนี้จะเอาเป็นที่พักที่พึ่งมิได้เลย สังขารเมื่อมีสภาพต้องเสื่อมไปเพราะวันเวลาล่วงไปก็ดี เสื่อมเพราะเป็นรังของโรคมีโรคภัยนานา ชนิดที่คอยเบียดเบียน เสียดแทงจนหาความปกติสุขมิได้ โรคอื่นยังไม่มีโรคหิวก็รบกวน ตลอดวัน กินเท่าไรก็ไม่อิ่มไม่พอ กินแล้วกินอีก กินในบ้านก็แล้วกินนอกบ้านก็แล้ว อาหาร ราคาถูกก็แล้ว ราคาแพงก็แล้ว มันก็ไม่หายหิวถึงเวลามันก็เสียดแทงหิวโหยเป็นปกติของ มันฉะนั้นโรคที่สำคัญที่สุดพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า โรคนั้น คือโรคหิวดังพระบาลี ว่า ชิฆจฺฉาปรมา โรคา แปลว่า ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง โรคภัยต่างๆ มีขึ้นได้ก็เพราะอาศัยสังขาร ความหิวจะมีได้ก็เพราะอาศัยสังขาร ความแก่ ความทุกข์อันเกิดจากภยันตรายจะมีได้ ก็เพราะอาศัยสังขาร เพราะมีสังขารจึงมีทุกข์ในที่สุดก็ถึงความแตกดับ ก็เพราะสังขารเป็นมูลเหตุ สังขารจึงเป็นสิ่งน่ากลัวมาก ควรจะหาทางหลีกเร้นสังขารต่อไป
    ๔.อาทีนวานุปัสสนาญาณญาณนี้ท่านให้พิจารณาให้เห็นโทษของสังขาร ความเจริญญาณนี้น่าจะจัดรวมกับญาณที่ ๓ เพราะอาการที่ทำลายนั้น เป็นอาการของสิ่งที่เป็นโทษอยู่แล้ว ฉะนั้นข้อนี้จึง ไม่ต้องอธิบายโปรดถือคำอธิบายของญาณที่ ๓ เป็นเครื่องพิจ<O:p></O:p>
    ๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ
    ญาณนี้ท่านให้พิจารณาให้มีความเบื่อหน่ายจากสังขาร เพราะสังขารเกิดแล้วดับในที่สุดนี้ประการหนึ่ง สังขารมีความดับเป็นปกติทุกวันเวลา หรือจะว่าทุกลมหายใจเข้า ออกก็ไม่ผิด นี้ประการหนึ่ง สังขารเป็นภัยเพราะมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนเป็นปกติ และ ทำลายในที่สุดประการหนึ่งสังขารเต็มไปด้วยความทุกข์และโทษประการหนึ่ง ฉะนั้นสังขารนี้เป็นสภาพที่น่าเบื่อหน่าย ไม่เป็นของน่ารัก น่าปรารถนาเลย ญาณนี้ควรเอาอสุภสัญญาความเห็นว่าไม่สวยไม่งามมาร่วมพิจารณาด้วย เอามรณานุสสติธาตุ ๔ มาร่วมพิจารณาด้วยจะเห็นเหตุเห็นผลชัดเจน เกิดความเบื่อหน่ายได้โดยฉับพลัน เพราะกรรมฐานที่กล่าวแล้วนั้นเราพิจารณาในรูปสมถะอยู่แล้ว และเห็นเหตุผลอยู่แล้วเอามาร่วมด้วยจะได้ผลรวดเร็ว และชัดเจนแจ่มใสมากเกิดความเบื่อหน่ายในสังขารอย่างชนิดที่ไม่มีวันที่จะเห็นว่าน่ารัก ได้เลย
    ๖. มุญจิตุกัมมยตาญาณ
    ญาณนี้ท่านให้พิจารณาเพื่อใคร่ให้พ้นจากสังขาร ทั้งนี้เพราะอาศัยที่เห็นแล้วจากญาณต้น ๆ ว่า เกิดแล้วก็ดับ มีความดับเป็นปกติเป็นเรือนร่างที่เต็มไปด้วยความทุกข์ เพราะโรคภัยไข้เจ็บจนเกิดความเบื่อหน่ายเพราะหาความเที่ยง ความแน่นอนไม่ได้ ท่านให้พยายามหาทางพ้นต่อไปด้วยการพยายามหาเหตุที่สังขารจะพึงเกิดขึ้น เพราะถ้าไม่มีสังขารแล้ว ความทุกข์ความเบื่อหน่ายทั้งหลายเหล่านี้จะมีไม่ได้เลยการที่หาทางเบื่อหน่าย ท่านให้แสวงหาเหตุของความเกิดดังต่อไปนี้ <O:p></O:p>
    ๑. ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย เป็นต้น มีขึ้นได้เพราะชาติ คือความเกิด <O:p></O:p>
    ๒. ชาติ ความเกิดมีได้เพราะ ภพ คือความเป็นอยู่ <O:p></O:p>
    ๓. ภพ คือภาวะความเป็นอยู่ มีขึ้นได้ เพราะอาศัย อุปาทาน ความยึดมั่น <O:p></O:p>
    ๔. อุปาทาน ความยึดมั่นมีขึ้นได้ เพราะอาศัย ตัณหา คือความทะยานอยากคือ อยากมี อยากเป็น อยากปฏิเสธ <O:p></O:p>
    ๕. ตัณหา มีได้ เพราะอาศัย เวทนา คือ อารมณ์ที่รู้สึกสุข ทุกข์และเฉยๆ <O:p></O:p>
    ๖. เวทนา มีขึ้นได้ เพราะอาศัย ผัสสะ คือ การกระทบกระทั่ง <O:p></O:p>
    ๗. ผัสสะ มีขึ้นได้ เพราะอาศัย อายตนะ ๖ คือ ตาเห็นรูป หูฟังเสียงจมูกสูดกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องสัมผัส และอารมณ์ที่เป็นอารมณ์ชอบใจและไม่ชอบใจที่เรียกว่า ธัมมารมณ์ คืออารมณ์ที่เกิดแก่ใจ <O:p></O:p>
    ๘. อายตนะ ๖ มีขึ้นได้เพราะอาศัย นามและรูป คือ ขันธ์ ๕สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา คือ ร่างกายเรียกว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นนามท่านรวมเรียกทั้งรูปทั้ง นามว่า นามรูป <O:p></O:p>
    ๙. นามรูป มีขึ้นได้เพราะอาศัย วิญญาณปฏิสนธิ คือ เข้ามาเกิด วิญญาณในที่นี้ท่านหมายเอาจิต ไม่ได้หมายเอาวิญญาณในขันธ์ ๕ <O:p></O:p>
    ๑๐. วิญญาณ มีขึ้นได้เพราะ มีสังขาร <O:p></O:p>
    ๑๑. สังขาร มีได้เพราะอาศัย อวิชชา คือ ความโง่เขลาหลงงมงาย มีความรักความพอใจในโลกวิสัยเป็นเหตุ <O:p></O:p>
    รวมความแล้วความทุกข์ทรมานที่ปรากฏขึ้น จนต้องหาทางพ้นนี้ อาศัยอวิชชา ความโง่เป็นสมุฏฐานฉะนั้น การที่จะหลีกเร้นจากสังขารได้ก็ต้องตัดอวิชชาความโง่ออกด้วยการพิจารณาสังขารให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้แน่นอนจึงจะพ้นสังขารนี้ได้
    ๗.ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
    พิจารณาหาทางที่จะให้สังขารพ้น ญาณนี้ไม่เห็นทางอธิบายชัด เพราะมีอาการ ซ้อนๆ กันอยู่ ควรเอา ปฏิจจสมุปบาท นั่นแหละเป็นเครื่องพิจารณา
    ๘. สังขารุเปกขาญาณ
    ท่านสอนให้วางเฉย ในเมื่อสังขารภายในคือ ร่างกายของตนเองและสังขารภายนอกคือร่างกายของคน และ สัตว์ ตลอดจนของใช้ที่ไม่มีและมีวิญญาณที่ต้องได้รับเคราะห์กรรม มีทุกข์ มีอันตราย โดยตัดใจปลงได้ว่าธรรมดาต้องเป็นอย่างนี้ ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ มีจิต สบายเป็นปกติไม่มีความหวั่นไหว เสียใจ น้อยใจเกิดขึ้น
    ๙. สัจจานุโลมิกญาณ
    พิจารณาญาณทั้งหมดย้อนไปย้อนมาให้เห็นอริยสัจ คือเห็นว่า สังขารที่เป็นแดนของความทุกข์ เพราะอาศัยตัณหา จึงมีทุกข์หนักอย่างนี้ พิจารณาเห็นว่าสังขารมีทุกข์ประจำ เป็นปกติ ไม่เคยว่างเว้นจากความทุกข์เลย อย่างนี้เรียกว่าเห็นทุกขสัจจะเป็นอริยสัจที่ ๑
    พิจารณาเห็นว่าทุกข์ทั้งหมดที่ได้รับเป็นประจำไม่ว่างเว้นนี้ เกิดมีขึ้นได้เพราะอาศัย ตัณหาความทะยานอยาก ๓ ประการ คือ อยากมีในสิ่งที่ไม่เคยมี อยากเป็นในสิ่งที่ ไม่เคยเป็นอยากปฏิเสธ ในเมื่อความสลายตัวเกิดขึ้น ไม่อยากให้สลายตัว เจ้าความอยาก ทั้ง ๓นี้แหละเป็นผู้สร้างความทุกข์ขึ้นมา ทุกข์นี้จะสิ้นไปได้ก็เพราะเข้าถึงจุดของความดับ คือนิโรธเสียได้

    จุดดับนั้นท่านวางมาตรฐานไว้ ๓ ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ท่านเรียกว่ามรรค ๘ ย่อมรรค ๘ ลงเหลือ ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้ เพราะอาศัยศีลบริบูรณ์ สมาธิเป็นฌาน ปัญญารู้เท่าทันสภาวะความเป็นจริง หมดความเมาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและดับอารมณ์พอใจไม่พอใจ เสียได้ ตัดอารมณ์ใจในโลกวิสัยได้ ตัดความกำหนัดยินดีเสียได้ด้วยปัญญาวิปัสสนาญาณ ชื่อว่าเห็นในอริยสัจ ๔ ทำอย่างนี้ คิดอย่างนี้ให้คล่องจนจิต ครอบงำความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความเมาในชีวิตเสียได้ชื่อว่าท่านได้ วิปัสสนาญาณ ๙ และอริยสัจ ๔ แต่อย่าคิดว่าเราดีแล้วต้องฝึกฝนพิจารณาเรื่อยไป จนตัดสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการได้แล้วนั่นแหละชื่อว่าเอาตัวรอดได้แล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2009
  2. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    คนรู้ธรรมะมักจะชนะคนอื่น คำนี้คมนะครับ


    แต่คำนี้คมกว่าเสียยิ่งกว่าคมอย่าคิดว่าเราดีแล้ว


    ตัดสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการได้นั่นแหละจึงเอาตัวรอดได้คนมีธรรมะมักจะชนะตัวเอง<!-- google_ad_section_end -->
     
  3. Nukool

    Nukool เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2005
    โพสต์:
    278
    ค่าพลัง:
    +1,073
    วิปัสนาจารย์ นั้นใช้ วิ ก็คือ ทุกวินาที โดยใช้ปัญญาธรรมพิจารณาทุกอย่าง
     
  4. ANUWART

    ANUWART เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,669
    ค่าพลัง:
    +14,320
    อนุโมทนาสาธุครับ



    " บุญกุศลใดที่พึงจะได้รับ ก็ขอให้ทุกท่านได้รับเช่นเดียวกันถ้วนหน้าสถาพร ทั้งโลกนี้และโลกหน้า ที่สุดถึงซึ่งพระนิพพานด้วยกันเทอญฯ สาธุ"

    เชิญทำบุญซื้อ อิฐ หิน ดิน ทราย เหล็ก ปูน สร้างศาลาแก้วถวายสมเด็จองค์ปฐม
    เชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างพระประธานสมเด็จองค์ปฐมและศาลาแก้วพระจุฬามณี ที่ จ.นครศรีธรรมราช (สำนักสงฆ์ธรรมเจริญ)
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2009
  5. chai8383

    chai8383 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,032
    ค่าพลัง:
    +6,348
    ลิงค์ธรรมะในเว็บต่างๆ ของหลวงพ่อ ที่พอจะรวบรวมให้ศิษย์ใหม่ๆ ได้ค้นหาง่ายๆครับ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านใดมีลิงค์อะไรเพิ่มเติมหรือเสีย ส่งข้อความบอกด้วยนะครับ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=714 <o:p></o:p>
    หนังสือธรรมะ (จำหน่ายที่ตึกรับแขก)

    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=716 <o:p></o:p>
    ซีดี - วีซีดีธรรมะ (จำหน่ายที่ตึกรับแขก)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=901 <o:p></o:p>
    รวมซีดีคำสอนหลวงพ่อจากเว็บไซด์ต่างๆ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://www.watthasung.com/wat/forumdisplay.php?fid=50 <o:p></o:p>
    บทสวดมนต์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://www.watthasung.com/wat/forumdisplay.php?fid=49 <o:p></o:p>
    สมบัติพ่อให้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://www.luangpor.com/eBooks/LuangporTreasure.pdf <o:p></o:p>
    โหลดฟรี..หนังสือสมบัติพ่อให้ E-book<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=350 <o:p></o:p>
    ทำบุญ สังฆทาน..การใส่บาตร "วิระทะโย" + วิหารทาน + ธรรมทาน ONLINE กับวัดท่าซุง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=943 <o:p></o:p>
    ทำบุญ ONLINE ...โครงการซื้อที่ดินสร้างพระใหญ่ วัดท่าซุง<o:p></o:p>
    ลิงค์นี้อย่านำไปโพสเว็บอื่นนะครับ เพราะทำให้ที่ดินราคาแพงขึ้นแล้วครับ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://palungjit.org/threads/สารบัญ-ธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์-รวบรวมโดย-พล-ต-ท-นพ-สมศักดิ์-สืบสงวน-201273.html<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ รวบรวมโดย : พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน โพสโดยคุณ teporrarit<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_2351298", true); </SCRIPT> <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://www.luangpor.com/ <o:p></o:p>
    เสียงคำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ และ ขอ ซีดีได้ครับ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://palungjit.org/threads/เธฃเธงเธกเธซเธ™เธฑเธ‡เธชเธทเธญเธ„เธณเธชเธญเธ™เธ‚เธญเธ‡เธซเธฅเธงเธ‡เธžเนˆเธญเธžเธฃเธฐเธฃเธฒเธŠเธžเธฃเธซเธกเธขเธฒเธ™.24126/ <o:p></o:p>
    รวมหนังสือคำสอนของหลวงพ่อ มีหลายเล่มครับ โพสโดยคุณ paangpaangpaang<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://palungjit.org/threads/สารบัญ-รวมบทความ-ของหลวงพ่อ-ที่ผมเคยโพสไว้-จะได้หาง่ายๆ-119666.html<o:p></o:p>
    รวมบทความ 177 ตอน ของหลวงพ่อ ที่โพสคุณ joezaaaa <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://palungjit.org/threads/สารบัญ-รวมเรื่องหลวงพ่อฤาษีลิงดำและธรรมะที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์-”.124421/<o:p></o:p>
    รวมเรื่องหลวงพ่อฤาษีลิงดำและธรรมะที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ โพสโดย teporrarit<o:p></o:p>
    มีให้อ่านเยอะมากครับ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://palungjit.org/threads/รวมคำสอนพระเดชพระคุณหลวงพ่อ-99836.html <o:p></o:p>
    รวมคำสอนหลวงพ่อ โพสโดยคุณ mahaasia<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://palungjit.org/threads/รวมคําสอนเรื่องนิพพานของพระผู้ปฎิบัติดี-115676.html <o:p></o:p>
    รวมคําสอนเรื่องนิพพานของพระผู้ปฎิบัติดี โพสโดยคุณ ลูกวัดท่าซุง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://palungjit.org/threads/พ่อรักลูก-พิเศษ-โดย-พระราชพรหมยาน-187589.html <o:p></o:p>
    หนังสือพ่อรักลูก (พิเศษ): โพสโดยคุณ vanco<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=zeedhama&month=25-10-2008&group=2&gblog=1 <o:p></o:p>
    ศูนย์พุทธศรัทธา อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://www.praruttanatri.com/meditation_club/ <o:p></o:p>
    ชมรมสมาธิ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://www.putthawutt.com/html/actrule.html<o:p></o:p>
    รวมหนังสือหลวง

    <o:p></o:p>

    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://thaisquare.com/Dhamma/sound/index.html <o:p></o:p>
    เสียงคำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ และ แจก ซีดี<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://www.watonweb.com/book/prawat_luangpopan/content.html<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://www.thaisquare.com/Dhamma/book/prawat_luangpopan/content.html<o:p></o:p>
    ประวัติหลวงพ่อปาน เขียนโดยหลวงพ่อ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://scripturn.com/tag_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99.html <o:p></o:p>
    วีดีโอ คำสอนหลวงพ่อ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://www.youtube.com/profileuser=alinodreamworld&view=videos&start=20<o:p></o:p>
    วีดีโอ คำสอนหลวงพ่อ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    ลิงค์ในส่วนพระเครื่อง+พระบูชา+วัตถุมงคลหลวงพ่อ<o:p></o:p>
    เฉพาะส่วนที่ผมเอง บูชา+ร่วมทำบุญ เป็นประจำครับ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    แต่ก็ยังมีกะทู้ของท่านอื่น.....ให้บูชาอีกหลายๆท่านนะครับ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    ที่โพสบอกไม่ได้มีเจตนาไม่ดีอะไรนะครับ<o:p></o:p>
    แต่อยากให้ลูกศิษย์รุ่นหลังๆ ได้มี วัตถุมงคลหลวงพ่อใว้บูชาบ้างครับ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://palungjit.org/f104/ด่วน-เชิญรับพระหลวงพ่อฤาษีฯในงานบุญกฐินวัดลาดชิด-จ-อยุธยา-209427.html<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://palungjit.org/threads/มอบพระของหลวงพ่อฤาษีฯเมื่อร่วมบุญกองทุนสร้างซุ้มประตูและกำแพงวัดถ้ำเขาเขียว-จ-สระบุรี-170012.149/ <o:p></o:p>
    กะทู้ของคุณ vichian <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://palungjit.org/threads/พระคำข้าว-พระหางหมาก-สมบัติพ่อให้-และอื่น-ๆ-เพื่องานบุญ-และสาธารณประโยชน์-กระทู้ที่-4-a.205018/ <o:p></o:p>
    กะทู้ของคุณ มหาหิน <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://palungjit.org/threads/วัตถุมงคลหลวงพ่อฤาษีฯ-วัดท่าซุง-หมวดพระเครื่อง-นำมาให้บูชาทุกรุ่น-137492.html<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://palungjit.org/threads/วัตถุมงคลหลวงพ่อฤาษีฯ-วัดท่าซุง-หมวดพระบูชา-แบ่งให้บูชา-114407.15/<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    http://palungjit.org/threads/ถาม-ตอบ-ปัญหาพระเครื่องวัตถุมงคล-หลวงพ่อฤาษีฯ-วัดท่าซุง-จ-อุทัยธานี-90789.76/ ตอบปัญหาวัตถุมงคล<o:p></o:p>
    กะทู้ของคุณ กระพี้ <o:p></o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2009
  6. bank8

    bank8 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +3,216
    อนุโมทนาสาธุครับ

    วันนี้คุณนึกถึงพระแล้วหรือยัง
     
  7. bcbig_beam

    bcbig_beam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +3,246
    ได้ประโยชน์มากมายเลยครับ
    ขอโมทนาบุญด้วยทุกประการครับ
    สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...