ความหมายของการดูจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย กระรอกน้อย, 4 พฤศจิกายน 2009.

  1. กระรอกน้อย

    กระรอกน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +366
    เพื่อนๆคะ พอดีไปเจอบทความดีๆ คิดว่ามีประโยชน์เลยเอามา post
    ให้เพื่อนๆ ที่สนใจได้อ่านค่ะ

    เพื่อนใหม่ที่เข้ามาสู่ลานธรรม มักจะมีคำถามเสมอว่า
    การดูจิตคืออะไร ทำอย่างไร ดูแล้วมีผลอย่างไร
    คำตอบที่ได้รับจากหลายๆ ท่าน ค่อนข้างแยกเป็นส่วนๆ
    วันนี้ผมขอโอกาสเล่าถึง การดูจิตในภาพรวม สักครั้งนะครับ


    ความหมายของการดูจิต

    คำว่า การดูจิต เป็นคำที่นักปฏิบัติกลุ่มหนึ่ง
    บัญญัติขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมายกันเองภายในกลุ่ม
    หมายถึงการเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ทุกบรรพ)
    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ทุกบรรพ)
    รวมถึงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (บางอย่างที่เป็นฝ่ายนามธรรม)

    กล่าวอย่างย่อ ก็คือการเจริญวิปัสสนาด้วยอารมณ์ฝ่ายนามธรรม
    ได้แก่การรู้จิตและเจตสิกนั่นเอง


    วิธีการเจริญวิปัสสนา (ดูจิต)

    การเจริญวิปัสสนาทุกประเภท รวมทั้งการดูจิต ไม่มีอะไรมาก เพียงแต่ให้ผู้ปฏิบัติ
    "รู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่เป็นกลางเท่านั้น"
    แต่จะรู้ได้ถูกต้อง ก็ต้อง (1) มีจิตที่มีคุณภาพ
    และ (2) มีอารมณ์กรรมฐ านที่ถูกต้อง
    เท่านั้น

    ซึ่งจิตที่มีคุณภาพสำหรับการทำสติปัฏฐานหรือวิปัสสนา
    ได้แก่จิตที่มีสติ(สัมมาสติ) สัมปชัญญะ(สัมมาทิฏฐิ) และสัมมาสมาธิ
    ส่วนอารมณ์กรรมฐานที่ถูกต้อง คืออารมณ์ที่มีตัวจริงที่สามารถแสดงไตรลักษณ์ได้
    หรือที่นักปฏิบัติมักจะเรียกว่าสภาวะ และนักปริยัติเรียกว่าอารมณ์ปรมัตถ์

    เมื่อจะลงมือปฏิบัติ ก็ให้ (1) มีสติเฝ้ารู้ให้ทัน (มีสัมมาสติ)
    (2) ถึงอารมณ์หรือสภาวธรรมที่กำลังปรากฏ (มีอารมณ์ปรมัตถ์)
    (3) ด้วยจิตที่ตั้งมั่น ไม่เผลอส่งส่ายไปที่อื่น และไม่เพ่งจ้องบังคับจิต (มีสัมมาสมาธิ)
    แล้ว (4) จิตจะรู้สภาวธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริง (มีสัมปชัญญะ/สัมมาทิฏฐิ)


    การมีสติเฝ้ารู้ให้ทัน หมายถึงสิ่งใดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ หรือดับไป ก็ให้รู้เท่าทัน
    เช่นขณะนั้นรู้สึกมีความสุข ก็ให้รู้ว่ามีความสุข
    เมื่อความสุขดับไป ก็ให้รู้ว่าความสุขดับไป
    มีความโกรธก็รู้ว่ามีความโกรธ
    เมื่อความโกรธดับไปก็รู้ว่าความโกรธดับไป
    เมื่อจิตมีความทะยานอยากอันเป็นแรงผลักดัน
    ให้ออกยึดอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    ก็ให้รู้ว่ามีแรงทะยานอยาก เป็น ต้น

    อารมณ์หรือสภาวธรรมที่กำลังปรากฏ
    ต้องเป็นอารมณ์ของจริง ไม่ใช่ของสมมุติ
    โดยผู้ปฏิบัติจะต้องจำแนกให้ออกว่า
    อันใดเป็นของจริง หรือปรมัตถธรรม
    อันใดเป็นของสมมุติ หรือบัญญัติธรรม

    เช่นเมื่อจิตมีความสุข ก็ต้องมีสติรู้ตรงเข้าไปที่ความรู้สึกสุขจริงๆ
    เมื่อจิตมีความโกรธ ก็ต้องรู้ตรงเข้าไปที่สภาวะของความโกรธจริงๆ
    เมื่อมีความลังเลสงสัย ก็ต้องรู้ตรงเข้าไปที่สภาวะของความลังเลสงสัยจริงๆ ฯลฯ
    และเมื่อหัดรู้มากเข้าจะพบว่า นามธรรมจำนวนมากผุดขึ้นที่อก หรือหทยรูป
    แต่ผู้ปฏิบัติไม่ต้องเที่ยวควานหาหทยรูป
    หากกิเลสเกิดที่ไหน และดับลงที่ไหน ก็รู้ที่นั้นก็แล้วกันครับ
    ถ้าเอาสติไปตั้งจ่อดูผิดที่เกิด ก็จะไม่เห็นของจริง
    เช่นเอาสติไปจ่ออยู่เหนือสะดือสองนิ้ว
    จะไม่เห็นกิเลสอะไร นอกจากเห็นนิมิต เป็นต้น

    และการมีสติรู้ของจริง ก็ไม่ใช่การคิดถามตนเอง หรือคะเนเอาว่า
    ตอนนี้สุขหรือทุกข์ โกรธหรือไม่โกรธ สงสัยหรือไม่สงสัย อยากหรือไม่อยาก
    ตรงจุดนี้สำคัญมากนะครับ ที่จะต้องรู้สภาวธรรม หรือปรมัตถธรรมให้ได้
    เพราะมันคือ พยานหรือแบบเรียนที่จิตจะได ้เรียนรู้
    ถึงความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของมันจริงๆ
    ไม่ใช่แค่คิดๆ เอาว่ามันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

    เมื่อมีสติรู้สภาวธรรมหรือปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏแล้ว
    ผู้ปฏิบัติจะต้องมีจิตที่รู้ตัว ตั้งมั่น
    ไม่เผลอไปตามความคิดซึ่งจะเกิดตามหลังการรู้สภาวธรรม
    เช่นเมื่อเกิดสภาวะบางอย่างขึ้นในจิต อันนี้เป็นปรมัตถธรรม
    ถัดจากนั้นก็จะเกิดสมมุติบัญญัติว่า นี้เรียกว่าราคะ
    สมมุติตรงนี้ห้ามไม่ได้ เพราะจิตเขามีธรรมชาติเป็นนักจำและนักคิด
    ผู้ปฏิบัติจึงไม่ต้องไปห้ามหรือปฏิเสธสมมุติบัญญัติ

    เพียงรู้ให้ทัน อย่าได้เผลอหรือหลงเพลินไปตามความคิดนึกปรุงแต่งนั้น
    หรือแม้แต่การหลงไปคิดนึกเรื่องอื่นๆ ด้วย
    แล้วให้เฝ้ารู้สภาวะ(ที่สมมุติเรียกว่าราคะนั้น)ต่อไป ในฐานะผู้สังเกตการณ์
    จึงจะเห็นไตรลักษณ์ของสภาวะอันนั้นได้

    ในทางกลับกัน ผู้ปฏิบัติที่ไปรู้สภาวะที่กำลังปรากฏ
    จะต้องไม่เพ่งใส่สภาวะนั้นด้วย
    เพราะถ้าเพ่ง จิตจะกระด้างและเจริญปัญญาไม่ได้
    แต่จิตจะ "จำ และจับ" สภาวะอันนั้นมาเป็นอารมณ์นิ่งๆ แทนการรู้สภาวะจริงๆ
    พึงให้จิตเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ เห มือนคนดูละคร ที่ไม่โดดเข้าไปเล่นละครเสียเอง
    จิตที่ทรงตัวตั้งมั่น นุ่มนวล อ่อนโยน ควรแก่การงาน
    โดยไม่เผลอและไม่เพ่งนี้แหละ คือสัมมาสมาธิ
    เป็นจิตที่พร้อมที่จะเปิดทางให้แก่การเจริญปัญญาอย่างแท้จริง

    คือเมื่อจิตมีสติ รู้ปรมัตถธรรม ด้วยความตั้งมั่น ไม่เผลอและไม่เพ่ง
    จิตจะได้เรียนรู้ความจริงของปรมัตถธรรมอันนั้นๆ 4 ประการ
    คือ (1) รู้สภาวะของมันที่ปรากฏขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป (รู้ตัวสภาวะ)
    (2) รู้ว่าเมื่อสภาวะอันนั้นเกิดขึ้นแล้ว
    มันมีบทบาทและหน้าที่อย่างไร (รู้บทบาทของสภาวะ)
    (3) รู้ว่าถ้ามันแสดงบทบาทของมันแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น (รู้ผลของสภาวะ)
    และเมื่อชำนาญมากเข้า เห็นสภาวะอันนั้นบ่อยครั้งเข้า
    ก็จะ (4) รู้ว่า เพราะสิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว
    จึงกระตุ้นให้สภาวะอันนั้นเกิดตามมา (รู้เหตุใกล้ของสภาวะ)
    การที่จิตเป็นผู้สังเกตการณ์และเรียนรู้ หรือวิจัยธรรม (ธรรมวิจัย)
    อันนี้เองคือการเจริญปัญญาของจิต หรือสัมปชัญญะ หรือสัมมาทิฏฐิ

    ตัวอย่างเช่นในขณะที่มองไปเห็นภาพๆ หนึ่งปรากฏตรงหน้า
    จิตเกิดจำได้หมายรู้ว่า นั่นเป็นภาพสาวงาม
    แล้วสภาวธรรมบางอย่า งก็เกิดขึ้นในจิต (ซึ่งเมื่อบัญญัติทีหลังก็เรียกว่า ราคะ)
    การรู้สภาวะที่แปลกปลอมขึ้นในจิตนั่นแหละคือการรู้ตัวสภาวะของมัน
    แล้วก็รู้ว่ามันมีบทบาทหรืออิทธิพลดึงดูด
    ให้จิตหลงเพลินพอใจไปกับภาพที่เห็นนั้น
    ผลก็คือ จิตถูกราคะครอบงำ
    ให้คิด ให้ทำ ให้อยาก ไปตามอำนาจบงการของราคะ
    และเมื่อรู้ทันราคะมากเข้า ก็จะรู้ว่า
    การเห็นภาพที่สวยงาม เป็นเหตุใกล้ให้เกิดราคะ
    จึงจำเป็นจะต้องคอยเฝ้าระวังสังเกต ขณะที่ตากระทบรูปให้มากขึ้น เป็นต้น

    ในส่วนตัวสภาวะของราคะเอง เมื่อผู้ปฏิบัติมีสติรู้อยู่นั้น
    มันจะแสดงความไม่เที่ยงให้เห็นทันที คือระดับความเข้มของราคะจะไม่คงที่
    มันตั้งอยู่ไม่นาน เมื่อหมดกำลังเพราะเราไม่ได้หาเหตุใหม่มาเพิ่มให้มัน (ย้อนไปมองสาว)
    มันก็ดับไป แสดงถึงความเป็นทุกข์ของมัน
    และมันจะเกิดขึ้นก็ตาม ตั้งอยู่ก็ตาม ดับไปก็ตาม
    ล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัยกำหนด ไม่ใช่ตามที่เราอยากจะให้เป็น
    นอกจากนี้ มันยังเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่ตัวเรา
    เหล่านี้ล้วนแสดงความเป็นอนัตตาของสภาวะราคะทั้งสิ้น


    ผ ลของการดูจิต และข้อสรุป

    จิตที่อบรมปัญญามากเข้าๆ ถึงจุดหนึ่งก็จะรู้แจ้งเห็นจริงว่า
    ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจิต เจตสิก กระทั่งรูป ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไปทั้งสิ้น
    ถ้าจิตเข้าไปอยาก เข้าไปยึด จิตจะต้องเป็นทุกข์
    ปัญญาเช่นนี้แหละ จะทำให้จิตคลายความยึดมั่นถือมั่นในตัวกูของกูลง
    ความทุกข์ก็จะเบาบางลงจากจิต เพราะจิตฉลาด
    ไม่ไปส่ายแส่หาความทุกข์มาใส่ตัวเอง
    (แต่ลำพังคิดๆ เอา ในเรื่องความไม่มีตัวกูของกู
    ย่อมไม่สามารถดับ ความเห็นและความยึด ว่าจิตเป็นตัวกูของกูได้
    จะทำได้ก็แค่ "กู ไม่ใช่ตัวกูของกู" คือจิตยังยึดอยู่
    ส่วนการที่จะลดละได้จริง ต้องเจริญสติปัฏฐานจริงๆ เท่านั้นครับ)

    สรุปแล้ว การดูจิตที่ชาวลานธรรมพูดถึงกันนั้น ไม่ใช่การดูจิตจริงๆ
    เพราะจิตนั้นแหละ คือผู้รู้ ผู้ดู ผู้ยึดถือ อารมณ์
    แต่การดูจิต หมายถึงการเจริญวิปัสสนา โดยเริ่มต้นจากการรู้นามธรรม
    ซึ่งเมื่อชำนิชำนาญแล้ว ก็จะรู้ครบสติปัฏฐานทั้งสี่นั่นเอง
    ดังนั้น ถ้าไม่ชอบคำว่า ดูจิต ซึ่งนักปฏิบัติส่วนหนึ่งชอบใช้คำนี้เพราะรู้เรื่องกันเอง
    จะใช้คำว่าการเ จริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    + การเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    + การเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็ได้ครับ

    แต่การที่นักปฏิบัติบางส่วนชอบพูดถึงคำว่า "การดูจิต" ก็มีประโยชน์อยู่เหมือนกัน
    คือเป็นการเน้นให้ทราบว่า จิตใจนั้นเป็นใหญ่ เป็นประธานในธรรมทั้งปวง
    และเป็นการกระตุ้นเตือนให้หมั่นสังเกตพฤติกรรมของจิตเมื่อมันไปรู้อารมณ์เข้า
    เพราะถ้ารู้จิตชัด ก็จะรู้รูปชัด รู้เวทนาชัด รู้กิเลสตัณหาชัดไปด้วย
    เนื่องจากจิตจะตั้งมั่น และเป็นกลางต่ออารมณ์ทั้งปวง
    ในทางกลับกัน ถ้าจิตไม่มีคุณภาพ คือไม่มีสัมมาสมาธิ สัมมาสติ และสัมมาทิฏฐิ
    แม้จะพยายามไปรู้ปรมัตถ์ ก็ไม่สามารถจะรู้ปรมัตถ์ตัวจริงได้
    นอกจากจะเป็นเพียงการคิดถึงปรมัตถ์เท่านั้น

    ถ้าเข้าใจจิตใจตนเองให้กระจ่างชัดแล้ว การเจริญสติปัฏฐานก็จะทำได้ง่าย
    ถ้าไม่เข้าใจจิตใจตนเอง ก็อาจจะเกิดความหลงผิดได้หลายอย่างในระหว่างการปฏิบัติ
    เช่นหลงเพ่ง โดยไม่รู้ว่าเพ่ง อันเป็นการหลงทำสมถะ แล้วคิดว่ากำลังทำวิปัสสนาอยู่
    พอเกิดนิมิตต่างๆ ก็เลยหลงว่าเกิดวิปัสสนาญาณ
    หรือหลงเผลอ ไปตามอารมณ์ โดยไม่รู้ว่ากำลังเผลอ
    หรือหลงยินดียินร้ายไปตามอารมณ์
    หรือหลงคิดนึกปรุงแต่ง อันเป็นเรื่องสมมุติบัญญัติ
    แล้วคิดว่ากำลังรู้ปรมัตถ์หรือสภาวะที่กำลังปรากฏ เป็นต้น
    ถ้าเข้าใจจิตตนเองได้ดีพอประมาณ ก็จะไม่เกิดความหลงผิดเหล่านี้ขึ้น

    ข้อดีที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการดูจิตก็คือ
    การดูจิตเป็นวิปัสสนาชนิดเดียวที่ทำได้ทั้ง 3 โลก
    คือในกาม(สุคติ)ภูมิ รูปภูมิ(ส่วนมาก) และอรูปภูมิ
    แม้แต่ในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ อันเป็นภวัคคภูมิหรือสุดยอดภูมิของอรูปภูมิ
    ก็ต้องอาศัยการดูจิตนี้เอง เป็นเครื่องเจริญวิปัสสนาต่อไปได้จนถึงนิพพาน

    อันที่จริงสิ่งที่เรียกว่าการดูจิตนั้น แม้จะเริ่มจากการรู้นามธรรมก็จริง
    แต่เมื่อลงมือทำไปสักระยะหนึ่ง ก็จะสามารถเจริญสติปัฏฐานได้ทั้ง 4 อย่าง

    โดยจิตจะมีสติสัมปชัญญะต่อเนื่องอยู่ในชีวิตประจำวันนี่เอง
    เพียงก้าวเดินก้าวเดียว ก็เกิดการเจริญสติปัฏฐานได้ตั้งหลายอย่างแล้ว

    คือเมื่อเท้ากระทบพื้น ก็จะรู้รูป ได้แก่ธาตุดินคือความแข็งภายในกาย (รูปภายใน)
    และธาตุดินคือความแข็งของพื้นที่เท้าเหยียบลงไป (รูปภายนอก)
    อันนี้ก็คือการเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏ ฐานแล้ว
    และรู้ถึงความเย็น ความร้อนคือธาตุไฟของพื้นที่เท้าเหยียบลงไป เป็นต้น

    ขณะที่เหยียบพื้นนั้น ถ้าสติรู้เข้าไปที่ความรู้สึกอันเกิดจากการที่เท้ากระทบพื้น
    เช่นความเจ็บเท้า ความสบายเท้า
    ก็คือการเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้ว

    ขณะที่เหยียบพื้นนั้น ถ้าพื้นขรุขระ เจ็บเท้า ก็สังเกตเห็นความขัดใจ ไม่ชอบใจ
    หรือถ้าเหยียบไปบนพรมนุ่มๆ สบายๆ เท้า ก็สังเกตเห็นความพอใจ
    อันนี้ก็เป็นการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้ว

    ขณะที่เหยียบนั้น ถ้ารู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ ก็จะเห็นกายเป็นส่วนหนึ่ง
    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นแต่ละส่วนๆ
    หรือรู้ถึงความทะยานอยากของจิตที่ส่งหลงเข้าไปที่เท้า
    หรือรู้อาการส่งส่ายของจิต ตามแรงผลักของตัณหาคือความอยาก
    แล้วหนีไปเที่ยวทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    หรือรู้ถึงความเป็นตัวกูของกูที่เกิดขึ้นในจิต
    หรือรู้ถึงนิวรณ์ที่กำลังปรากฏขึ้น แต่ยังไม่พัฒนาไปเป็นกิเลสเข้ามาครอบงำจิต
    หรือรู้ชัดถึงความมีสติ มีสัมปชัญญะ มีความเพียร มีปีติ มีความสงบระงับฯลฯ
    สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้งสิ้ น

    ที่เล่ามายืดยาวนี้ เพื่อนใหม่ที่ไม่เคยลงมือเจริญสติสัมปชัญญะจริงๆ มาก่อน
    อาจจะเข้าใจยากสักหน่อยครับ
    ดังนั้น ถ้าอ่านแล้วเกิดความสงสัยมากขึ้น
    ก็ลองย้อนมารู้เข้าไปที่ ความรู้สึกสงสัยในจิต เลยทีเดียว
    ก็จะทราบได้ว่า ความสงสัยมันมีสภาวะของมันอยู่
    (ไม่ใช่ไปรู้เรื่องที่สงสัยนะครับ แต่ให้รู้สภาวะหรือปรมัตถธรรมของความสงสัย)
    เมื่อรู้แล้วก็จะเห็นว่า เมื่อความสงสัยเกิดขึ้น มันจะยั่วจิตให้คิดหาคำตอบ
    แล้วลืมที่จะรู้เข้าไปที่สภาวะความสงสัยนั้น
    เอาแต่หลงคิดหาเหตุหาผลฟุ้งซ่านไปเลย
    พอรู้ทันมากเข้าๆ ก็จะเข้าใจได้ว่า ความสงสัยนั้นมันตามหลังความคิดมา
    เป็นการรู้เท่าทันถึงเหตุใกล้ หรือสาเหตุที่ยั่วยุให้เกิดความสงสัยนั่นเอง

    เมื่อรู้ที่ สภาวะของความสงสัย ก็จะเห็นสภาวะนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    มันเกิดขึ้นเพราะความคิด พอรู้โดยไม่คิด มันก็ดับไปเอง

    หัดรู้อยู่ในจิตใจตนเองอย่างนี้ก็ได้ครับ แล้วต่อไปก็จะทำสติปัฏฐาน 4 ได้ในที่สุด
    เพราะจะสามารถจำแนกได้ชัดว่า อะไรเป็นจิต อะไรเป็นอารมณ์
    อะไรเป็นอารมณ์ของจริง
    และอะไรเป็นเพียงความคิดนึกปรุง แต่งหรือสมมุติบัญญัติที่แปลกปลอมเข้ามา
    รวมทั้งจำแนกได้ด้วยว่า อันใดเป็นรูป อันใดเป็นจิต อันใดเป็นเจตสิก

    ขอย้ำแถมท้ายอีกนิดหนึ่งนะครับว่า
    การดูจิต ไม่ใช่วิธีการปฏิบัติธรรมที่ดีที่สุดเสมอไป
    เพราะในความเป็นจริง ไม่มีวิธีการปฏิบัติธรรมที่ดีที่สุดในโลก
    มีแต่ "วิธีปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุด" เฉพาะของแต่ละบุคคลเท่านั้น

    ดังนั้น ถ้าถนัดจะเจริญสติปัฏฐาน อย่างใดก่อน ก็ทำไปเถิดครับ
    ถ้าทำถูกแล้ว ในที่สุดก็จะทำสติปัฏฐานหมวดอื่นๆ ได้ด้วย


    ทั้งนี้ขออนุโมทนากับคุณสันตินันท์ ผู้เขียนบทความมา ณโอกาส นี้ด้วยค่ะ
     
  2. Jeerachai_BK

    Jeerachai_BK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    318
    ค่าพลัง:
    +821
    ลองพิจารณาคำสอนของหลวงพ่อจรัญฯ (ข้างล่าง) ดูเปรียบเทียบนะครับ

    "มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่า เราจะปฏิบัติธรรมในแนวไหน หรือสำนักใด จึงจะเป็นการถูกต้องและได้ผล คำถามเช่นนี้เป็นคำถามที่ถูกต้องและไม่ควรถูกตำหนิว่าชอบเลือกนั่นเลือกนี่ ที่ถามก็เพื่อระวังไว้ไม่ให้เดินทางผิด ทางปฏิบัติที่ถูกต้องคือปฏิบัติตามสติปัฏฐาน ๔

    สติปัฏฐาน ๔ แปลให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือฐานที่ตั้งของสติ หรือเหตุปัจจัยสำหรับปลูกสติให้เกิดขึ้นในฐานทั้ง ๔

    สรุป ผู้ปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ต้องทำความเข้าใจอารมณ์ ๔ ประการ ให้ถูกต้อง คือ
    ๑. กาย ทั่วร่างกายนี้ไม่มีอะไรสวยงามแม้แต่ส่วนเดียว ควรละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้
    ๒. เวทนา สุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์นั้น แท้จริงแล้วมีแต่ทุกข์ แม้เป็นสุขก็เพียงปิดบังความทุกข์ไว้
    ๓. จิต คือความนึกคิด เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงแปรผัน ไม่เที่ยง ไม่คงทน
    ๔. ธรรม คืออารมณ์ที่เกิดกับจิต อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น เมื่อเหตุปัจจัยดับไป อารมณ์นั้นก็ดับไปด้วย ไม่มีสิ่งเป็นอัตตาใดๆ เลย"


    ในเรื่องการเรียนรู้วิปัสสนากรรมฐาน
    "การเรียนรู้วิปัสสนากรรมฐานนั้นเรียนได้ ๒ อย่าง คือ
    ๑. เรียนอันดับ
    คือการเรียนให้รู้จักขันธ์ ๕ ว่าได้แก่อะไรบ้าง ย่อให้สั้นในทางปฏิบัติ เหลือเท่าใด ได้แก่อะไรบ้าง เกิดที่ไหน เกิดเมื่อไร เมื่อเกิดขึ้นแล้วอะไรจะเกิดตามมาอีก จะกำหนดตรงไหนจึงจะถูกขันธ์ ๕ เมื่อกำหนดถูกแล้วจะได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง เป็นต้น นอกจากนี้ก็ต้องเรียนให้รู้เรื่องในอายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ โดยละเอียดเสียก่อน เรียกว่าเรียนภาคปริยัติ วิปัสสนาภูมินั่นเอง แล้วจึงจะลงมือปฏิบัติได้

    ๒. การเรียนสันโดษ
    คือการเรียนย่อๆ สั้นๆ สอนเฉพาะที่ต้องปฏิบัติเท่านั้น เรียนชั่วโมงนี้ก็ปฏิบัติชั่วโมงนี้เลย เช่น สอนการเดินจงกรม สอนวิธีนั่งกำหนด สอนวิธีกำหนดเวทนา สอนวิธีกำหนดจิต แล้วลงมือปฏิบัติเลย

    หลักใหญ่ในการปฏิบัติวิปัสสนา ฯ มีหลักอยู่ ๓ ประการ คือ
    ๑. อาตาปิ ทำความเีพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน
    ๒. สติมา มีสติ คือระลึกอยู่เสมอว่าขณะนี้เราทำอะไร
    ๓. สัมปชาโน มีสัมปชัญญะ คือขณะทำอะไรอยู่นั้นต้องรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา"

    ^_^
     
  3. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    1.แล้วการใช้ชีวิตปกติยอมเกิดจิตมากมาย
    เราเลือกกำหนดรู้ทุกอย่างไม่ได้แน่ต้องเลือกรู้ ใช่ไหมครับ
    ............................
    1.เผากิเลสให้ร้อนทำยังไงครับ
     
  4. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ใหม่ๆ ก็ต้องเลือกรู้ ถ้าเลือกรู้ไม่ได้ ก็ต้องไปทำความสงบก่อน

    พอรู้ได้ คราวนี้ ไม่ต้องเลือกรู้ ดูมันหมดนั่นแหละ

    ตอนที่ PSI ต้องเขียนโปรแกรม ตอนนี้จะไปทำผิดหน้าที่ไม่ได้ คือ จะมา
    คอยตามรู้ตามดูยิบย่อยไม่ได้ ก็ให้ดูรวมๆไปเลยว่า ขณะที่เขียนโปรแกรม
    คือ สภาวะไม่รู้ (รู้ว่าไม่รู้ก็ได้) ไม่มีการตำหนิตัวเอง และไม่โทษโลกด้วย

    พอภาวนาเป็นจริงๆจังๆ ที่เรียกว่าจิตตื่น ต่อให้นอนหลับ ก็ยังรู้สึกตัวดู
    อยาตนะบรรพ ดูผัสสะได้หมด หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้หมด เท่าทันผัสสะ
    ได้ตลอดเวลา

    แต่หากมันเอาแต่รู้ ก็จะเหนื่อย ที่เขาเรียกว่า แห้งผาก คราวนี้ก็ต้องมาทำ
    ความสงบให้จิตใจมีกำลังชุ่มชื้น

    ก็จะเห็นว่า งานทางธรรมนั้น ทำได้ตลอด และมีสองสิ่ง คือ สมถะ และวิปัสสนา
    ซึ่งต้องเจริญ(ภาวนา)ด้วยปัญญาอันยิ่ง(รู้จังหวะไหนควรทำอะไร)

    งานทางโลกเองก็ไม่ได้ทิ้ง 8ล้านก็ยังคงต้อง อุอุ อะอะ กุกุ สะสะ ไป

    ( ธรรมะของพระพุทธองค์ มีทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อทางโลก และทางธรรม )
     
  5. 5th-Lotus

    5th-Lotus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +306
    อืม... จาก ประสบการณ์
    เบิ่งจิตเล่น เป้นงานอดิเรก ของอิฉัน ( ประมาณ 1 ปี )

    อิฉันไม่เคย ใช้การกำหนดรู้ หรือ เลือกรู้ ซะทีนะ
    ส่วนใหญ่จะใช้ กระทบรู้ ซะมากกว่า
    แบ่บว่า มีอะไร มากระทบให้รู้ กูก็รับมารู้โหม๊ดดดดดด แหะ ๆ

    ใช้ ความรู้สึกเป็นตัว เซนเซอร์ แบบ เซฟทีคัตอ่ะ
    ตัดได้ก็ตัด ตัดไม่ได้ ก็ปล่อยให้มันรู้สึก ไป
    แต่มันไม่ซึมลึกเข้าไปฝังแน่นในจิต อ่ะ
    มันเกาะแค่ ผิว ๆ หลุดลอกออกได้ง่าย ๆ

    เหมือน พอ สภาวะจิต ( เจตสิก ) เกิด
    มันก็ กระทบ แล้ว รู้( สึก ) น่ะ


    แต่ การใช้ชีวิตปกติยอมเกิดจิตมากมาย จิง ๆ นั่นแหล่ะ
    ที่ผ่านมา อิฉัน ก็ใช้ สารพัดวิธีนะ
    เพื่อให้เห็นสภาวะจิตอย่างถ้วนทั่ว

    ทั้ง เบิ่งจิต จดจิต และ ทวนจิต ทุกขณะ ( ยกเว้นตอนนอนหลับ )
    เมื่อ สภาวะจิต ที่ ไม่สมดุล ( โทสะ โมหะ โลภะ ฯลฯ )
    มากระทบ ก็ อาศัย รู้ซือ ๆ ( แต่ส่วนใหญ่ทำไม่ค่อยได้หร็อก )
    ต้องเอามาจดในสมุดเบิ่งจิต

    มีเวลาว่างเมื่อไร ก็ เอามานั่งทบทวน เวทนา/สัญญา/สังขารขันธ์ ที่เกิด
    เพื่อ นำไปใช้ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และ ปล่อยวางตัวกู ต่อไป

    เท่าที่ทำ พอ เบิ่งไปเบิ่งมา
    สภาวะจิตที่มันไม่สมดุล มันก็เกิดน้อยลงนะ
    จากที่เคย จดจิต ในสมุด ทีละ 2 หน้า
    ก็ เหลือ แค่ หน้านึงมั่ง ครึ่งหน้ามั่ง
    แล้ว สภาวะจิตที่เกิด มันก็ มาเร็ว ไปเร็ว กว่าตอนที่ไม่ได้ หัด เบิ่ง จิต นะ


    เหอะ ไว้ครึ้ม ๆ จะเม้าส์ให้ฟัง ใน เมื่อ ข้าพเจ้า เบิ่งจิต เหอ ๆ
     
  6. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    งั้นแสดงว่าวิธีดูจิตผมมาถูกทางละ
    ---
    สักกายทิฐิ ข้อเดียวนี่ ไม่ถือมั่นว่าร่างกายเราเป็นเรา
    - เมื่อไม่ถือมั่นก็ไม่โลภว่าหามาให้มาก จะมาบำรุงบำเรอมากมาย
    เหมือนเราขับรถเราควบคุมรถได้ เหมือนเราคุมร่างกายเราได้
    เราคุมไม่ให้รถมันเสื่อมไม่ได้ ร่างกายก็เหมือนกัน
    เราไม่ต้องแต่งรถ ก็เหมือนไม่ต้องแต่งแต้มร่างกายเรา
    ดังนี้จึงไม่ต้องโลภมากให้ว้าวุ่น เอาแต่พอเพียง
    เมื่อไม่โลภก็ไม่เบียดเบียน
    ดังนี้จึงเลิกโลภ จึงดำรงค์ศีลข้อ 2 มั่นคง สัมมาอาชีวะ มั่นคง
    ....
    แล้วเผากิเลสให้ร้อนหล่ะครับ ฝึกยังไงอ๊า
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310

    เอามาจากกระทู้ข้างบ้าน http://palungjit.org/threads/แนวทาง...ุโล-เรียบเรียงโดย-อุบาสกนิรนาม.210986/page-13
    ไม่ต้องเผากิเลส ก็ได้ ถ้ามีเชื้อมันมาเองตอนเราเผลอสติ ตรงที่สีแดงอะ กิเลสมันทำงานมั้ง
    ถ้าอยากเผากิเลส ก็ลองอดข้าวอดน้ำ หรือกวนตัวเองให้ทุกข์ด้วยกรรมฐาน
    ต่างๆ ที่เป็นกลุ่มเวทนากรรมฐาน ก็ใช้ได้หมด แต่ถ้าเป็นคนอึดโลกไม่ลืม
    ทำกรรมฐานไหนๆก็ไม่มีเวทนาเพราะมันตัดฉับแบบเซฟทีคัท หรือแบบหมอบล๊อคหลังด้วยยาชา
    นั่งเป็นวันเป็นคืน ก็ยังไม่เกิดเวทนา ก็คงต้องรอเจอมหาบุรุษมาอุบัติโน่นแหละ
    เพราะอาจติดเรื่องอธิษฐานจิตเป็นพุทธภูมิ หรือเอกตทัคคะด้านใดด้านหนึ่ง
    หรือเป็นพุทธเวนัย ก็ได้นะ มันเป็น เรื่องสุดวิสัยที่คนธรรมดาจะรู้ได้ หรืออาจ
    เป็นเรื่องของอวิชชาบังตา หรือติดค้างกรรมเก่าที่ขวางกั้นมรรคผล ก็เป็นได้
    มีหลายสาเหตุ ถ้าปัจจัยพร้อม รู้ถ้วน แล้วเต่ามันไม่ยอมเดิน แปลว่ามีสาเหตุ
    ที่มันไม่ยอมเดินให้จบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2009
  8. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ใช้ได้เลย ยิ่งตรงที่พูดว่า เห็นผัสสะกระทบ(ประโยคที่ว่า ของพวกนี้ทำให้คนหลงได้)

    แล้วขณะนั้น PSI มีความเพียรระลึกชอบอยู่ ทำให้ไม่สนใจ แต่เนื่องจาก จิตที่หูมัน
    กระทบผัสสะ จิตจึงต้องเกิดความหวั่นไวเป็นธรรมดา ตรงนี้คือ เข้ามาเห็นอาการเจตสิก
    ธรรมปรากฏให้รู้ เราก็ไม่ต้องไปกำหนดชื่อเพื่อรู้ แต่รู้อยู่ว่า จิตที่เพียรระลึกชอบนั้นเขา
    ดูของเขาอยู่ เราจึงรับรู้ผ่านอยาตนะภายในอีกทีว่า มันสั่นๆ ตัณหาอยากพูด อยากโต้ตอบ
    นั่นเอง แต่เนื่องจากเราไม่หลงไปกับสิ่งสมมติแบบนี้แล้ว เราก็ไม่หยิบขึ้นมา จึงเห็นเป็น
    เพียง สังขารธรรมชนิดหนึ่ง(แสดงอาการไหวๆเป็นลักษณะ) และมีสัญญาขันธ์เข้าไปหมาย
    รู้เพียงชั้นต้น(รู้ลึกๆว่ามันไหว) ทั้งหมดคือ สังขารขันธ์ และ สัญญาขันธ์ทำงาน แยกจากกัน
    ให้จิตรู้ แต่หากเราลงไปหยิบ หรือไปสร้างกรรมใหม่ คือไปสงสัย จิตก็จะเริ่มแปลความหมาย
    ออกมาเป็นภาษาคน ภาษาสมมติ โต้ตอบไป แต่ถ้าเราไม่หยิบไม่จับ และ ไม่รำคาญ ไม่ชอบ
    ใจ เราก็จะตั้งมั่นรู้ จนมันดับไป อาการตั้งมั่นรู้ตรงนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

    เราก็เพียรเจริญ เพยีรระลึก(เจริญสติ) เพื่อให้จิตใจตั้งมั่นในการรู้(สัมมาสมาธิ) เพื่อแยกรูป
    (คำที่กระทบ-ผัสสะ) ออกจาก เจตสิก(อาการไหว) และ จะเห็น จิต(ทำหน้าที่รู้อาการทั้งหมด)

    เราก็จะภาวนา เพื่อให้องค์ธรรมที่เป็นปรมัตถ์ธรรม รูป จิต เจตสิก แตกออก แยกออกให้เห็น
    เนืองๆ หากสัมมาสมาธิตั้งมั่นดี ก็จะเป็นเหตใกล้ให้เกิดปัญญา

    ปัญญาช่วงแรกๆ ที่ไปเห็น จิตจะภูมิใจในผลงานเล็กๆน้อยๆ ก็จะตื่นเต้นดีใจด้วยจิต เพราะ
    มันรู้เท่าทันโลกได้แว๊บ มันก็อิสระ เห็นทางรอดมีอยู่ เห็นทางเผากิเลสมีอยู่( PSI เห็นหนทาง
    เผากิเลสไปแล้ว) จึงปิติ โสมนัส เรียกอีกอย่างว่า จิตมันเยาะเย้ยกิเลส หรือ จิตยิ้ม(โดยอนุโลม
    ให้มีกำลังใจภาวนา)

    ก็ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ การที่เราภาวนา แยก รูป จิต เจตสิก ออกมารู้ ออกมากาง แล้วแลอยู่ด้วย
    จิตตั้งมั่น(สัมมาสมาธิ-ที่เกิดเอง ไม่ใช่สมาธิที่จงใจ เจตนาให้เกิด-วิรัตเจตนา) เราก็จะทำให้เห็น
    ปรมัตถ์ธรรมอีกชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า นิพพาน ซึ่งอยู่นอกภพ ปรากฏให้เห็น(ไม่ได้เกิด หรือไปสร้าง
    ขึ้น ไม่ใช่เมือง)ต่อหน้าต่อตาข้างใน

    พออธิบายมาตรงนี้แล้ว นักภาวนาจะตื่นเต้น อยากเห็นอย่างนั้นอีก ก็ให้อย่าไปสร้างอารมณ์อยาก
    เห็นขึ้นมา อย่าอยากเห็น อย่าอยากบรรลุ ลองทบทวนดูดีๆว่า ที่ PSI เห็นอย่างนั้นได้ อาศัยเพียง
    ไม่กี่ขณะจิต และไม่ได้เตรียมการตั้งท่า เป็นเพียงการกระทบปัสสะไปตามความเป็นจริง ไม่ได้
    เจตนาสร้างองค์ประกอบการเห็นขึ้น แล้วจิตที่เพียรอบรมไว้แล้ว เขาจะแล จะเห็นของเขาเอง โดย
    เราไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสีย ....อาการปิติ สุข ก็เกิดขึ้นเอง โดยที่เราก็ไม่ได้อยากให้มันเกิด เห็นปิติ
    สุข ห่างออกไปจากความเป็นเรา ตั้งมั่น แล้วแลอยู่(เป็นเอกัคคตา) จิตเขาก็จะตัดสินการเห็นของ
    เขาเอง และจิตอาจยิ้มโดยที่ไม่ใช่การกล่าวโดยอนุโลมอีก รู้ชัดได้ด้วยตัวเอง
     
  9. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    อ้อ อีกนิด มาฝึกเพิ่มอีกหน่อย

    ตรงประโยคที่ PSI เล่าว่า

    จิตมันคิดทวนไปว่า "ฝึกมาขนาดนี้ยังมีอัตตาอีกหรือ"

    ตรงนี้ ต้องฝึกซ้อนเพิ่มเข้าไปอีก อย่าให้มันคิดคำถาม คำตอบบออกมา จะให้ดี ให้
    พอดีเป๊ะ จะต้อง นิ่งรู้ลึกๆ ว่ามันทวนอะไรแบบนี้แหละ แต่ไม่เกิดเป็นคำพูด เป็นทิฏฐิ
    ขึ้นมา

    หลวงพ่อพุธกล่าวว่า หากทิฏฐิที่มันคิดขึ้นมา ถามตอบเองได้ มีสว่าง(ปิติ สุข)เกิด ก็
    พออนุโลมได้ว่าเป็นปัญญา ( แต่เป็นการเก็บเล็กผสมน้อย )

    หลวงพ่อปราโมทย์ชี้ว่า หากเรารู้ทันอาการจิตคิดตัวนี้เข้าไปอีก เราจะทวนกระแส
    เข้าไปได้อีก ลึกขึ้นอีก ในทางอภิธรรมเขาเรียกว่า ไม่ก่อ ทิฏฐิ ให้เกิด หากทิฏฐิ
    มันก่อตัวไม่ได้ อภิชญา โสมนัส โทมนัส จะเกิดไม่ได้(ละตัณหานั่นแหละ) ซึ่งตรง
    นี้หากไปอ่านเรื่อง ปัญจทวารวิถีจิต ซึ่งเป็นเรื่องวิถีจิต ก็จะพอเข้าใจ แต่ไม่ต้องไปอ่าน
    ก็ได้ เพราะ PSI ก็เห็นๆว่า ตนทำได้ดูได้ อ่านได้เหมือนกัน โดยอ่านที่ตัวเอง ไม่ต้อง
    ไปดูพระ ดูอะไรที่ไหน พลังเย็นไม่เย็นมันออกมาจากตนก็ได้ พึ่งตนได้

    ก็ดูให้ดีๆ ....แต่นักปฏบัติ พอได้ยินแบบนี้แล้ว ก็จะไปปจ้องคอยดู ก็จะทำผิด หรือ
    ไปคอยจับให้มันนิ่ง ก็ผิดอีก สิ่งที่ควร ก็แค่ ระลึกชอบไปอย่างเดิม เห็นทิฏฐิมันถาม
    มันตอบ หากมันจะเกิดห้ามไม่ได้ ก็ดูๆ รู้ๆ แล้วก็วางไป เดี๋ยวมันเงียบเอง(รู้อยู่ที่ฐาน
    เอง-สัมมาสมาธิ) ไม่ต้องไปกังวล หรือ อยากเห็น อยากดี ขัดเคืองใจ (ขจัดนิวรณ์)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2009
  10. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    อันนี้ หาเอามากำนัล PSI เล่นๆ

     
  11. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    มันไม่ได้เป็นเองหรอก มันเบื่อ กับสิ่งที่มันรู้มันเห็นเป็นความซ้ำซาก มันเป็นตัวที่ทำให้มันเป็นทุกข์ มันเห็นได้แบบนั้นมันจึงเรียกว่าเกิดสติขึ้นที่จิต แล้วมันก็หยุด หรือดับ หรือวาง ลงโดยอัตโนมัติกับเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายเหล่านั้น เดี้ยวมีคนเขาเข้าใจผิดคิดว่ามันวางเองอีก จริงๆไม่ได้เกิดขึ้นเองหรอก มันเป็นขั้นตอนของการละวางคลายกำหนัดในสิ่งต่างๆ ตัณหาอุปาทาน ในสิ่งต่างๆ อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์นั่นเอง
     
  12. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    อะไรกันครับท่านเค็ง ท่านกล่าวออกมาได้อย่างไรเต็มปากเต็มคำว่า.....
    "มันไม่ได้เป็นของมันเอง"กับคำว่า"มันเบื่อ" วันหลังจะโพท์สอะไร อย่า
    สักแต่ว่าโพท์ส ต้องดูด้วยว่าศัพย์หรือคำบัญญัติที่ท่านนำมาใช้ จะทำให้
    ผู้ที่พึ่งเริ่มปฎิบัติ หลงทางเข้ารกเข้าพงมั้ย
    .......ถ้าท่านเข้าใจถึงกฎแห่งไตรลักษณ์ดี ท่านจะไม่เอยคำที่นักปฏิบัติฟัง
    แล้วรู้สึกตลกขบขันหรอกครับ ผมขออธิบายพอให้ท่านเข้าใจสั้นๆนะว่า
    สิ่งต่างๆในธรรมชาติ ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนอยู่ในกฎแห่งไตรลักษณ์
    ทุกอย่าง เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ทำให้เห็นว่า มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์และมัน
    เป็น อนัตตา ไม่มีตัวไม่ตน บังคับไม่ได้ ฉะนั้นต้องกล่าวว่า มันเป็นของมันเอง
    ......แล้วไอ้คำว่า เบื่อที่ท่านนำมาใช้ ผมก็ไม่ทราบว่าท่านพอจะเข้าใจกับ
    คำว่าเบื่อดีพอมั้ย เบื่อมันเป็นโทสะแล้วมันจะหนีอุปาทานที่ท่านว่าไป
    พ้นมั้ย อะไรกันครับใช้อกุศลมาไล่อกุศลอีกตัว แล้วเข้าใจไปเองว่าตัวเอง
    ละวางตัณหาอุปาทานพ้นแล้ว แล้วไอ้ตัวเบื่อที่อยู่ในจิตท่านละ หรือท่านคิด
    ว่า มันเป็นนิพพาน
    .......ก็เพราะท่านชอบที่จะให้ ธรรมชาติมีระบบระเบียบ(คำนี้ท่านเคยสั่งสอน
    ผม) เลยเกิดอุปาทานว่า จะนิพพานได้ต้องมีขั้นมีตอน ต้องอยู่อนุบาลก่อนแล้ว
    จึงขึ้นประถมได้ ถ้าเป็นอย่างที่ท่านบอก ท่านไปหาเอาแถววังน้อยหรือแถวท่า
    เตียนมีเยอะแยะไปครับ
    .......ท่านเค็งครับ ผมจะบอกสั้นๆในสิ่งที่ผมแย้งท่านครับว่า การละวาง
    เกิดจากที่จิตไปเข้าใจสิ่งที่เป็นและมีอยู่จริงของ สภาวะไตรลักษณ์ของ
    ธรรมชาติ ว่าทุกอย่างล้วนไม่เที่ยงเป็นทุกข์ และขอย้ำขอบอกให้ท่าน
    เข้าใจว่า มันไม่มีตัวไม่มีตนบังคับมันไม่ได้ เราเข้าใจผิดว่า
    มันมีอยู่สามารถบังคับมันได้(เหมือนอย่างที่ท่านกำลังเข้าใจ)
     
  13. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ผมต้องขออภัยจขกท ที่จะขอใช้พื้นที่นี้เพียงเล็กน้อย เพื่อแนะนำท่านเค็ง
    ด้วยเห็นว่าเป็นสหายธรรม หวังว่าคงไม่ว่ากันนะครับอนุโมทนาครับ
    ......ท่านเค็งครับ การปฏิบัติธรรม ที่เกี่ยวกับกรรมฐานต่างๆ คนที่มีครูบา
    อาจารย์ บางครั้งก็ต้องอาศัยครูบาอาจารย์มาสอบอารมณ์ให้ ว่าสิ่งที่ได้ปฏิบัติ
    เจริญก้าวหน้าไปในระดับไหนแล้ว ก็เหมือนกับในห้องอภิญญานี้ เรามาคุยกันถึง
    เรื่อง การปฏิบัติตนเองว่าถึงไหนอย่างไร
    ........ถ้าท่านฉุกคิดซักนิดว่า สิ่งที่ท่านคุยย่อมมีทั้งคนที่เชื่อหรือไม่เชื่อ
    คนที่เชื่อไม่ขอกล่าวถึง แต่คนที่ไม่เชื่อย่อมต้องการพิสูจน์ ว่าทำไมการ
    ปฏิบัติของท่านจึงแตกต่างจากของเขา แล้วการที่จะพิสูจน์ได้ในห้อง
    อภิญญานี้ ก็ด้วยโพท์สข้อความเข้ามา ซึ่งอีกในหนึ่งคือการเข้ามาเพื่อ
    ทดสอบท่าน ถ้าท่านเข้าใจว่าท่านเองเป็นนักปฏิบัติจริง ท่านย่อมต้องไม่รู้สึกว่า
    ถูกกระทบ จิตใจหวั่นไหวกับข้อความที่เขาโพท์สเข้ามา และเหนืออื่นใด การ
    กระทำของผู้อื่นเมื่อไม่ถูกใจท่าน ท่านก็ว่าเขาเป็นคนบ้า
    .......ผมขอบอกเลยนะครับเลิกคิดหรือทำแบบนี้เถอะครับ เขาเข้ามาเพื่อเป็น
    อาจารย์ใหญ่ให้เราดูจิต ดูอารมณ์ตัวเองว่าเป็นจริงอย่างที่เราคิด หรือว่าเราคิด
    เองเออเอง ท่านครับรักจะสนทนาธรรม ถ้าเป็นการคิดต่าง ท่านต้องเข้าใจว่า
    ไม่มีกรรมการตัดสิน เราต้องตัดสินตัวเราเอง โทสะมันเกิดได้
    แต่ต้องมีสติระลึกรู้อย่าแสดงออก ถ้าท่านแสดงออกมา ท่านตัดสินตัวท่านเองไปเลยครับ ท่านแพ้แล้ว
     
  14. จักราธร

    จักราธร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    184
    ค่าพลัง:
    +180
    ดูตนเอง..ให้รู้ว่า..กำลังอยู่ในอารมณ์ใด..ไม่ต้องไปรู้เรื่องของคนอื่นหรอกครับ..
     
  15. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    คนละเรื่อง คนละจังหวะเวลาเลยครับ หากยังเห็นต้นทางปฏิบัติอยู่ที่ส่วนตูด ก็อีกไกล

    คำว่า ไม่จงใจ ไม่เจตนานั้น หมายเอาแต่ส่วนเหตุของเรื่อง ของขณะจิตที่กำลัง
    ฝึกฝนตามรู้ตามดู จึงเรียกว่า ดูที่เหตุ หรือ ทวนกระแส หรือ อธิปัจยตา

    สิ่งที่ PSI เขาแลเห็น คือ ตั้งแต่รูปเสียงกระทบ โดยสัญญาขันท์ทำงานอยู่ จึง
    ได้ยินเป็นคำพูดว่า "ของเหล่านั้นทำให้หลงได้" ซึ่งรูป ก็คือ คลื่นเสียงสูงต่ำ แต่
    รูปดูยาก เลยต้องอนุโลมไปดู จิตสังขาร แทน

    จิตสังขารหากยังเป็นวลีคำพูด "ของเหล่านั้นทำให้หลงได้" ก็เรียกว่ายังดูที่ตูด
    อยู่ แต่ที่ PSI ฝึกอบรมจิตแล้วจึงหันมาดูอาการไหวในอกแทน ตรงนี้คือ เจตสิก
    ซึ่งก็คือ จิตสังขารที่เอาไว้ระลึกรู้ ดูจิตสังขารหรือเจตสิกนี้เกิดในอก ตั้งอยู่ แล้ว
    ดับไป ซึ่งอาการสั่นไหวในอกนั้น พ้นเจตนาโดยสิ้นเชิง ไม่มีใครไปสั่งให้มันเกิดดับ
    ได้ จึงเรียกว่า เป็นสภาวะธรรมชนิดที่พ้นเจตนา หากเอามาระลึกได้ ก็จะได้สติที่
    เป็นของพุทธศาสนา เรียกอีกอย่างว่า กายในกาย หรือ จิตในจิต ขึ้นกับ จิตขณะ
    นั้นรู้อาการสั่นไหวด้วยฐานอะไร หากรู้ด้วยฐานของธาตุ4 ก็เรียกเห็นกายในกาย
    หากรู้ด้วยฐานที่การรับรู้(นาม) ก็เรียกว่า จิตในจิต หากเกิดความตั่งมั่นรู้ ก็เกิด
    เอโกธิภาวะ สัมมาสมาธิ ธรรมเอกผุด แล้วต้องแลอยู่ ดูจนธรรมเอกดับไป (จิตผู้
    รู้ดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อนิจจัง อนัตตา) เมื่อเห็นได้แบบนี้ รูป เจตสิก และ จิต ก็จะ
    แตกออกจากกันให้เห็น ได้ต้นทางปฏิบัติ

    ครับ พึ่งได้ต้นทางปฏิบัติเท่านั้น ไม่ใช่บรรลุ หรือ เห็นธรรม ยังต้องภาวนามา
    เห็นส่วนนี้เนืองๆ จนกว่า จะทวนกระแสขึ้นไปเห็นยิ่งกว่านี้ เพราะตรงนี้ก็เรียกว่า
    เห็นส่วนตูดเหมือนกัน ยังไม่เกิดปัญญาอะไร เป็นการอบรมได้ 1 ครั้ง 1 ขณะจิต
    หนึ่งขณะช้างกระดิกหู งูแลบลิ้นเท่านั้น แต่....มีผลมากกว่าทำสมาธิดูนรก ย้อน
    อดีต อนาคต เป็น 500 เท่า

    ตรงนี้ คือ การภาวนสติตัวแท้ๆของพุทธศาสนา นอกนั้น คือ นอกศาสนา

    * * * *

    สภาวะธรรมที่พ้นเจตนา ก็คือ สภาวะธรรมที่พ้นทิฏฐิ

    สภาวะธรรมที่พ้นทิฏฐิ ก็คือ สภาวะธรรมที่พ้น กุศล และ อกุศล

    สภาวะธรรมที่พ้นกุศล และ อกุศล ก็คือ สภาวะธรรมที่พ้นยินดี ยินร้าย (ตัณหา)

    การภาวนาจึงต้องหมั่นระลึกรู้สภาวะธรรมที่มีคุณภาพพ้นเจตนา(ธรรมวิจัยยะ)
    สภาวะธรรมที่มีคุณภาพพ้นภพชาติ จึงสามารถนำมาปฏิบัติได้ตามความเป็นจริง
    (พ้นทิฏฐิ ตัณหา ) สังขารธรรมเหล่านี้จึงสามารถให้การเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ตามความเป็นจริงไปด้วย

    "การปฏิบัตินั้นไม่ยาก เพียงแค่รู้สึกลงในกาย รู้สึกลงในใจ ลงเป็นปัจจุบัน" หลวงตามหาบัว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2009
  16. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    สิ่งที่ควรระวัง สำหรับการดูจิตที่ผมเห็นนะ หลายท่านเลยผู้ที่ดูจิต มักไปเห็นว่าความคิดนี้เป็นเหตุของสิ่งต่างๆ เหตุของทุกข์บ้างหละ เหตุของการเกิดภพชาติบ้างหละ . .

    อยากบอกว่าความคิดไม่ไช่เหตุของทุกข์ หรือภพชาติอะไรนะ
    ถ้าจะว่าความคิดเป็นเหตุ ก็เป็นเหตุได้แค่กระพี้ เปรียบเป็นต้นไม้ก็เป็นแค่ใบ หรือกิ่งเท่านั้น
    อย่าหลงไปว่าความคิดเป็นเหตุแล้วพยามหยุดความคิด ทั้งความคิดที่เป็นทุกข์ เป็นกุศล เป็นอกุศลดูไปเฉยๆ ถ้าพยามหยุดความคิด ก็เหมือนคอยเด็ดใบไม้ที่เน่าเสียทิ้งเท่านั้น
    เมื่อไร จะถึงรากไม้ได้ . . .
    รู้สึกว่า พระที่ท่านสอนก็ไห้ดูไปเฉยๆไม่ไช่หรือ . .
     
  17. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    แจ่มเลย พี่สองชาติ ตะกี้ไปอ่านกระทู้ พระพุทธองค์ทักตัณหา มา

    ก็ตรงนี้แหละ อธิบายได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่เฝ้นหาสังขารธรรม
    ที่พ้นทิฏฐิ ซึ่งจะเป็นสภาวะที่พ้นตัณหาไปด้วยในตัว ทำให้พระพุทธเจ้า
    พบหนทางปฏิบัติ จึงได้รู้ว่า ตัณหาจะไม่มีวันก่อตัวพาให้เราหลงได้
    อีก หากเรามาภาวนาระลึกเห็นที่สภาวะธรรมที่พ้นเจตนา(ภพ) ได้แล้ว

    ช่อฟ้า ใบระกาอะไร ก็ปรากฏเป็นเพียงของนอกสายตา (ไม่สามารถหลอก
    ตาธรรมได้อีก)

    เอ่อ แต่พี่สองชาติเห็นในกระทู้ของพี่ไหม นอกจากคนที่คิดผิดว่า ความคิด
    คือตัวก่อทุกข์แล้ว
    ยังปรากฏบางพวกไปหลงสร้างความคิดพิศดารชนิด
    เห็นอดีต อนาคต เอามาคิดเพิ่มเข้าไปอีกนะ เรียกว่า คิดซ้อนคิด ใช้คิดดับ
    ความคิด(ติดสมถะ)
    เข้าใจผิดไปถึงนู้นก็มี ทั้งๆ ที่ในพระสูตรก็บอกชัดว่า ให้พิจารณา
    ความรู้เหล่านั้นลงเป็นเรื่องไร้สาระละงานสมถะลงถอยออก(เพื่อให้พ้นออกมาจากการเห้นว่าเป็นความ
    รู้ที่ใช้ดับคิด) จะได้กลับมาวิจัยหา(เริ่มงานวิปัสสนา) สภาวะธรรมที่พ้นเจตนา เพื่อฝึก
    สติปัญญาต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2009
  18. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    คุณ ยัีงไม่เข้าใจจริง หากคิดนั้น คิดแล้วเกิดสังขารธรรมในจิต น้อมนำไปสู่จิตที่ดับ อวิชชาได้
    คิดนั้นก็คือ เครื่องมือให้ธรรม ไม่ใช่เป็นเครื่องมือให้กิเลสเสมอไป
     
  19. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ถ้าคิดป็นสมุทัย แล้ว คิดเลข คิดนั่นนี่ ก็เป็นทุกข์กันหมด
    แม้ พระปราโมทย์เอง จะสร้างนั่นสร้างนี่ ก็คิดขึ้นมา หาใช่อยู่ดีๆ ปรากฎขึ้นมาเฉยๆ ก็เปล่า

    การคิด เพื่อน้อมนำจิตให้มีธรรมเกิดขึ้นในจิต คือสิ่งที่ควร
     
  20. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    คุณบัวดอกที่ห้าครับ มีปัญหามาถามครับ ง่ายๆไม่รู้เคยเจอมาหรือยัง
    ถ้าคุณ เดินมาตามทาง ซึ่งเป็นหนทางที่จะไปนิพพาน แต่ในขณะที่เดิน
    มานั้น พบกำแพงใหญ่มหึมาขวางทางอยู่ คุณจะทำอย่างไรกับกำแพง
    ครับ?
     

แชร์หน้านี้

Loading...