แก้กรรมด้วยการกำหนด, คนตายแล้ว – ไปเกิดได้อย่างไร : หลวงพ่อจรัญ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 26 ธันวาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    [​IMG]



    [FONT=&quot]กรรมปัจจุบันที่เราจะอโหสิกรรม แก้แก้กรรมด้วยตัวกำหนด เช่นเสียงหนอเขาด่าเรา กำหนดให้หายจะไม่มีเวรกันต่อไป นี่แก้ปัจจุบันนะ[/FONT]
    [FONT=&quot]กรรมครั้งอดีตแก้ไม่ได้ต้องใช้กรรม เหมือนอย่างอาตมาคอหัก เราก็รู้กรรมของเราครั้งอดีต รู้จากเวทนาที่เจริญสติปัฏฐานในด้านเวทนานุปัสสนา เกิดขึ้นกำหนดไปให้แตกแล้วก็แยกออกไปเป็นสัดส่วน แล้วทุกข์นั้นก็หายสุขเข้ามาแทนที่ จิตใจก็ผ่องใส จึงรู้กฎแห่งกรรมครั้งอดีตได้ ว่าเราเคยไปฆ่าสัตว์ เคยไปฆ่านก อย่างนี้รู้ได้โดยปัจจัตตัง[/FONT]

    [FONT=&quot]กรรมปัจจุบันจะสร้างให้เกิดอนาคต หมายความว่ากรรมนี้จะมาในปัจจุบัน เช่นคนเดินมาไม่ถูกกัน เห็นแล้วคลื่นไส้ ไม่พอใจ มันก็บันทึกกรรมไปเพื่ออนาคต ทำให้เราปรารภจิตเศร้าหมองในวันหน้าแน่นอน[/FONT]

    [FONT=&quot]แก้ได้ไหม ได้ แก้กรรม ปัจจุบันก็กำหนด เห็นหนอ เห็นหนอ คนนี้ไม่ถูกกัน ไม่พอใจกัน ไม่มองหน้ากัน เกลียดขี้หน้ากัน แก้เสีย เพื่อไม่ให้เกิดในอนาคต ก็แก้ว่า เห็นหนอ รูปนามแยกไป อะไรเป็นรูป คนที่เดินมาเป็นรูป เห็นหนอ อะไรเห็น ทางตาเห็นอะไรรู้ นามรู้[/FONT]

    [FONT=&quot]ทางตาเป็นรูปหรือเป็นนาม ตาเห็นรูป รูปนั้นเป็นรูป แต่จิตที่รับรู้นั่นว่ารูปเดินมานั้นคือใคร เป็นตัวนามแก้ปัจจุบันไม่ให้เกิดในอนาคต เราก็กำหนด เห็นหนอ ๆ[/FONT]

    [FONT=&quot]ไม่พอใจคนไม่ถูกกันมา ไม่พอใจเกิดโกรธต้องรีบกำหนดความโกรธเป็นการแก้กรรม เพื่อไม่ให้มันลุกลามไปในอนาคต กำหนดโกรธหนอ โกรธหนอ ตั้งสติไว้ที่ลิ้นปี่ โกรธหนอ โกรธหนอ รูปนามเป็นอารมณ์ แยกรูปคนนั้นออกไปเป็นส่วนหนึ่ง นามที่จิตไปผูกโกรธ ก็แยกออกไปเสีย ไหนไปโกรธตัวตนที่ไหน ใครเป็นตัวตน[/FONT]

    [FONT=&quot]อ๋อนาย ก[/FONT][FONT=&quot]. เป็นตัวตน เอามือคลำซิ มีแต่รูป มีแต่กายกับจิต มีรูปกับนามเท่านั้น จิตก็แปรปรวน เปลี่ยนแปลงเป็นกุศล เป็นมหากุศลจิต และจิตก็เกิดเป็นกุศลมูลเหตุของจิต จิตก็ผ่องใส ความโกรธก็ตกไป หายวับไปกับตา ไม่มีอะไรที่จะมาแฝงอยู่ในใจต่อไป และเราจะไม่โกรธไปในวันพรุ่งนี้ เราจะไม่โกรธไปในวันพรุ่งนี้ เราจะไม่โกรธไปในวันมะรืนนี้ เราจะไม่โกรธถึงปีหน้า[/FONT]

    [FONT=&quot]นี่คือวิธีแก้กรรมปัจจุบันเพื่อไม่ให้เกิดในอนาคต ตัดต้นไฟเสียในเบื้องต้น ตัดไฟที่จะลามเข้าไปในสันดานของจิต และพิษภัยก็จะไม่เกิดขึ้นในอนาคต[/FONT]
    [FONT=&quot]แปลว่า ปรารภคนเดินมาไม่ถูกกัน เลยก็น่าสงสารไปโกรธเขา เขาก็โกรธเรา โกรธตัวเขา คลื่นไส้ตัวเขา ก็คลื่นไส้ตัวเรา ก็โกรธตัวเรานั่นเอง เป็นการเพิ่มกรรม[/FONT]

    [FONT=&quot]เราตัดเวรตัดกรรม อโหสิกันเสียว่า โกรธหนอ ฉันจะไม่โกรธเธออีกแล้ว ปัญญาบอก สติบอก สัมปชัญญะบอก แล้วก็เกิดขึ้น[/FONT][FONT=&quot]-ตั้งอยู่-ดับวูบไปที่ตา รูปนาม ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ รูปคนเดินมาก็ไม่มีตัวตน ที่จะไปเกลียดเขาได้ ความรัก ความโกรธ ความโลภ ความหลงประการใด มันก็หายวับไปกับตา มีแต่รูปนามที่เดินมา[/FONT]

    [FONT=&quot]ตาเราก็เป็นรูปประกอบด้วย ลูกตา มันเป็นอันเดียวกันได้หรือ มันรูปนอก รูปใน รูปจิต รูปใจ รูปนามธรรม แล้วปัญญาก็แยกออกไปอย่างนี้ เราก็ไม่ผูกโกรธเขาอีกต่อไป นี่เป็นการแก้กรรมปัจจุบัน ไม่ให้ลามไปในอนาคต[/FONT]

    [FONT=&quot]แต่กรรมครั้งอดีตนี่แก้ไม่ได้ต้องใช้ ต้องประเมินถึงจะต้องใช้ แต่ก็ใช้น้อยลงไป รู้ตัวว่าเรามีกรรมที่ทำเขาไว้เราก็อโหสิ พออโหสิกรรมแล้วกรรมที่จะใช้ ๑๐๐ บาท ก็ใช้เพียง ๕๐ บาท ถ้าอโหสิเพิ่มขึ้น กุศลสูงขึ้น เราอาจยืม ๑๐๐ บาท แต่ใช้เพียง ๑๐ บาทก็ได้น้อยลงไป[/FONT]
    [FONT=&quot]ข้อสำคัญไม่ต้องมีดอกเบี้ย[/FONT]

    [FONT=&quot]ดอกเบี้ยนี้คือ การสะสมกรรม ทำให้มีดอกดวงมากขึ้น หนี้เก่ายังใช้ไม่หมด ยังไปขอยืมหนี้ใหม่ สร้างเวรสร้างกรรมกันทำไม อย่างไปสร้างต่อเลย[/FONT]
    [FONT=&quot]ท่านสาธุชนทั้งหลายเอ๋ย จงอโหสิกรรมกันเถิด แล้วกรรมจะไม่ก่อบังเกิดในอนาคต เราเลิกโกรธกันเถอะ เลิกมีทิฏฐิต่อกันเถอะ เอาไว้อาศัยกันต่อไปในโอกาสหน้าเถิด จิตใจจะได้ประเสริฐด้วยกรรมจากการกระทำของตน นี่แก้กรรมปัจจุบันเพื่อไม่ให้ลามไปในอนาคต[/FONT]

    [FONT=&quot]เสียงหนอ มาด่าฉันหรือคะ ใช่แล้ว อ๋อ เสียง กับ ฉัน ต่างกัน หูฉัน กับ ปากเธอ ไกลกัน เธอก็ด่าตัวเธอก็แล้วกัน ด่าไม่ถูกฉัน ไม่ถูกตัวตน ตัวตนมีที่ไหนคลำก็ไม่ได้แล้ว เกิดขึ้นตั้งอยู่ วูบดับไปที่หู ขันธ์ ๕ รูปนามเป็นอารมณ์ เลยเสียงนั้นก็ตกไป เสียงกับหูคนละอัน ไกลกันลิบ จิตใจเราไม่มารับเลยอโหสิกรรม ด่าอย่างไรก็ไม่โกรธ ด่าอย่างไรก็ไม่เจ็บ นี่แก้กรรมปัจจุบันเพื่อไม่ให้ลุกลามไปในอนาคต[/FONT]

    [FONT=&quot]เหมือนไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ กำลังลุกอยู่ ณ บัดนี้ เราก็ดับวูบลงไป ไฟก็ไม่ลามต่อไปในอนาคต ถ้าเราไม่ดับไฟ[/FONT][FONT=&quot]...ไฟก็จะลุกลามต่อไป[/FONT]
    [FONT=&quot]เราจะไม่ก่อเวรก่อกรรมกันอีกแล้ว เราจะมีสติยึดมั่น สติมา สัมปชาโน ยึดมันในสติปัฏฐาน ๔ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยกรรมจากการกระทำของตน[/FONT]
    [FONT=&quot]กรรมครั้งอดีตนั้นต้องแก้ด้วยการเจริญทุกขเวทนา มีเวทนาต้องสู้ ทนทุกข์นอกทุกข์ในโทมนัสสัง โสมนัสสังทุกข์โทษในเวทนามากมายถึง ๔ ประการ[/FONT]
    [FONT=&quot]ทุกข์นอก ทุกข์ใน ทุกข์ในใจอีก เอาทุกข์นอกประเด็นมาสะสมเข้าอีก เลยก็เกิดทุกข์กันใหญ่ หาความสิ้นสุดของทุกข์ไม่ได้ บำบัดทุกข์ไม่ได้ ไม่สามารถจะถึงบรมสุขคือพระนิพพานได้[/FONT]

    [FONT=&quot]เราทราบดีแล้ว อนิจจาไม่น่าไปโกรธเขาเลย ไปจองเวรเขาทำไม ไปผูกพยาบาทเขาทำไม เมตตาก็ปรากฏชัดแก่ตัวผู้ทำ เมตตาปรารถนาดีทุกคน[/FONT]
    [FONT=&quot]ความปรารถนาดีเป็นมงคลชีวิต มีในบ้านใดบ้านนั้นเป็นบ้านมงคล เป็นบ้านเศรษฐี นึกถึงเงินก็ไหลนอง นึกถึงทองก็ไหลมา เป็นบ้ายอยู่เย็นเป็นสุข[/FONT]
    [FONT=&quot]อาตมาภาพได้บรรยายมาในเรื่องกรรมฐาน รู้กฎแห่งกรรมและแก้กรรมด้วยการกำหนดของตน กรรมครั้งอดีตต้องแก้ด้วยการเจริญทุกขเวทนา แล้วเวทนาจะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราจะรู้ว่าเราทำกรรมอะไรไว้[/FONT]

    [FONT=&quot]แก้กรรมปัจจุบันก็กำหนดทางอายตนะ ธาตุอินทรีย์ หน้าที่การงาน ให้มันดับไป อย่ามาติดใจ และข้องอยู่แต่ประการใด ไฟราคะ โทสะ โมหะ ก็จบไม่ลุกลามไปถึงอนาคตจิตใจก็โน้มเข้ามา ถึงแก่นแท้พระพุทธศาสนา โน้มมาถึงธรรมสัมมาปฏิบัติ มีเมตตา มีความปรารถนาดี ไม่รบราฆ่าฟันกัน[/FONT]
    [FONT=&quot]แม่แต่จะเสริมสร้างความดีต่อกัน คือ สัจจะ เมตตา สามัคคี มีวินัย ศักดิ์ศรี ก็เกิดขึ้นแก่ตน ดับวูบไปเกิดขึ้นที่ขันธ์ ๕ รูปนามเป็นอารมณ์[/FONT]
    [FONT=&quot]กรรมเก่าก็แก้ด้วยการใช้หนี้เขาไป เพราะว่าจะให้หมดไม่ได้ แต่กรรมใหม่เราจะไม่สร้าง เราจะแก้กรรมปัจจุบันด้วยอายตนะ ธาตุอินทรีย์ ให้มันดับวูบไปเลย อย่าให้มันลุกโพลงด้วยราคะ โทสะ โมหะอยู่ประจำจิตเลย[/FONT]

    [FONT=&quot]ให้จิตแยกออกไป คือรูปนามขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ รูปธรรม นามธรรม คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จิตใจก็เบิกบานเป็นปัญญาแสงสว่างคือมรรคมรรคา ก็ส่องทางให้เราเดินทางไปโดยสวัสดี เพราะเรามีปัญญาดี เดินทางก็ไม่หลงทาง เดินทางถึงนิพพานโดยทั่วหน้ากัน[/FONT]
    [FONT=&quot]อนึ่ง วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๓๒ จาก ๑๔ ตุลาคม ๒๕๒๑ ผ่านมาเป็นเวลา ๑๐ กว่าปีแล้ว อาตมาถวายสังฆทาน ให้เจ้ากรรมนายเวร ที่เราเกิดเคราะห์หามยามร้ายอย่างแรงกล้า คอหักไป ๑๔ ตุลาคม ๒๕๒๑ เราก็จะทำบุญกุศลเพื่ออโหสิกรรมต่อเจ้ากรรมนายเวร อย่างจองเวรกันเลย พ่อกรรมเอ๋ย เพราะเรารู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมา[/FONT]

    [FONT=&quot]ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายที่โดนฆ่าจากเรา จงอโหสิกรรมให้เราเถิด ขอถวายสังฆทานอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวร ท่านทั้งหลายจงอโหสิกรรม และกรรมจะไม่ต่อเนื่องไป อโหสิ เหมือนรถหมดน้ำมัน ไม่วิ่งไปหากรรมชั่วอีกแล้ว[/FONT]

    [FONT=&quot]เราก็เหมือนรถหมดน้ำมัน หมดเชื้อไขในกฎแห่งกรรม จะได้สิ้นกรรมกันเสียที[/FONT]

    [FONT=&quot]อาตมาภาพขออนุโมทนาส่วนกุศล ท่านที่เจริญวิปัสสนาทุกท่าน ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ ที่ชี้แจงแสดงเหตุผลข้อเท็จจริง ในเชิงปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ได้รับผลอย่างนั้นจริง แก้กรรมเก่าโดยรับใช้ แก้กรรมใหม่โดยใช้กรรมปัจจุบันไม่สร้างให้ต่อเนื่องต่อไป ตัวเวรตัดกรรมด้วยการกำหนดจิต เสียให้ได้ทุกทิศา อายตนะ ธาตุอินทรีย์ที่มาเป็นประจำ ขันธ์ ๕ รูปนามเป็นอารมณ์ ได้ผลอย่างแน่นอน[/FONT]

    [FONT=&quot]ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ท่านสาธุชนทั้งหลายโดยทั่วกัน[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2009
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    คนตายแล้ว – ไปเกิดได้อย่างไร

    [FONT=&quot]คำว่า กรรม หมายความว่า การกระทำกรรมในชาตินั้นแล้วให้ผลในชาตินั้น การแสดงการให้ผลของกรรมในชาติเดียวกันเป็นการแสดงง่าย มีเหตุผลอ้างอิงมากมายและบางเรื่องสามารถพิสูจน์เห็นจริงได้ไม่ยากนัก แต่สำหรับเรื่องกรรมที่กระทำในชาติก่อนนำผลมาให้เราในชาตินี้ก็ดี หรือกรรมที่กระทำในชาตินี้แล้วไปแสดงตัวหรือแสดงผลของมันชาติหน้าก็ดี เรื่องนี้เป็นเรื่องเข้าใจยากที่สุด และยิ่งกว่านั้นก่อนที่จะเข้าใจว่ากรรมที่กระทำในชาตินี้ไปแสดงผลของมันใน ชาติหน้าได้ ก็จำเป็นจะต้องเข้าใจเรื่องตายเรื่องเกิดเสียก่อนด้วยเหตุนั้น[/FONT]

    [FONT=&quot] โอกาสนี้อาตมาจึงได้รวบรวมนำเอาเรื่องการเกิดการตายของสัตว์ มาชี้แจงเพื่อปรารถนาจะให้ท่านได้ทราบว่า กรรมที่กระทำในชาตินี้ไปแสดงผลในชาติหน้าได้อย่างไร ถ้าหากเข้าใจในเรื่องการเกิดการตายดีแล้ว การกล่าวเรื่องกรรมที่นำไปให้ผลในภพหน้าก็จะเป็นการง่าย แต่ปัญหาของเรื่องการเกิดการตายนี้ ไม่ใช่เป็นปัญหาเล็กน้อย ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์มาจนกระทั่งถึงบัดนี้ ก็มีนักปราชญ์ราชบัณฑิตหรือศาสดาเป็นอันมาก ได้พยายามคิดค้นหาทางที่จะให้ทราบว่าคนตายแล้วสูญไปเลย หรือคนตายแล้วไปเกิดได้อีก ถ้าไปเกิดได้เอาอะไรไปเกิด ไปอย่างไรและเกิดอย่างไร การค้นคว้าในเรื่องนี้สืบต่อมาจนนับชั่วอายุคนไม่ได้ จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นปัญหาโลกแตกอยู่นั่นเอง หาได้คลี่คลายออกไปจนถึงสามารถยืนยันได้ไม่[/FONT]

    [FONT=&quot]เรื่องคนตายไปแล้วจะไปเกิดหรือไม่นั้น มีความเข้าใจกันไปหลายกระแส บางท่านก็เข้าใจว่าร่างกายของคนเรานี้ประกอบขึ้นด้วยรูปหรือวัตถุ ดังนั้น เมื่อคนตาย ร่างกายก็ฝังจมดินไปไม่สามารถจะไปเกิดอีกได้ บางท่านเข้าใจว่าตายแล้วก็ต้องไปเกิดอีก[/FONT]

    [FONT=&quot]ในบรรดาผู้ที่เข้าใจว่าตายแล้วไปเกิดอีกได้นี้ ก็มีความเข้าใจแตกแยกออกไปมาก เช่นผู้ตายจะต้องไปเกิดอยู่ในสวรรค์หรือในนรกก็แล้วแต่ผลแห่งการกระทำของตน และสวรรค์นรกนั้นได้มีผู้สร้างขึ้นสำหรับลงโทษ หรือให้รางวัลตลอดนิรันดร โดยไม่กลับมาเป็นมนุษย์อีก บางท่านเข้าใจว่าคนที่ตายจะต้องไปเกิดเป็นคนเท่านั้น ไปเกิดเป็นสัตว์ไม่ได้ แต่บางท่านว่าไปเกิดเป็นคนหรือสัตว์ก็ได้ บางคนเข้าใจว่า จิตหรือวิญญาณ หรือเจตภูตนี้เป็นอมตะ เมื่อร่างกายของคนแตกดับไปแล้ว วิญญาณก็จะออกจากร่างกายล่องลอยไปเกิดใหม่ บางคนที่ศึกษาวิชาทางโลกทางวิทยาศาสตร์มามาก ๆ ก็เข้าใจว่าถ้าบุคคลใดมีลูกเต้าสืบต่อไปอีกเรื่อย ๆ ก็จะไปเกิดได้อีก ตามหลักของชีววิทยา เพราะลูกทุก ๆ คนนั้นก็สืบต่อมาจากเซลล์ของพ่อแม่นั่นเอง เมื่อสืบต่อไปหลาย ๆ ชั่วคนแล้ว ชีวิตเดิมก็จะปรากฏขั้นมาอีก แต่บางคนกลับมีความเห็นว่าร่างกายนั้นประกอบไปด้วยรูปหรือวัตถุ ความรู้สึกนึกคิดนั้นเป็นหน้าที่ของมันสมองซึ่งได้วิวัฒนาการทีละน้อย ๆ มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ จนมีอำนาจในการนึกคิดและรู้สึกได้ แต่เมื่อตายแล้วก็เป็นอันหมดเรื่องกัน ไม่สามารถที่จะเกิดได้อีกเลย[/FONT]

    [FONT=&quot]เรื่องนี้เป็นเรื่องมากคนก็มากความคิดเห็น แม้เจ้าของลัทธิศาสนาใหญ่ ๆ หลายศาสนา ก็มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน เพราะเรื่องคนเกิดหรือคนตายเราเห็นได้ง่าย ๆ แต่เรื่องตายแล้วไปเกิดหรือไม่เป็นเรื่องลึกลับเป็นปัญหาโลกแตกมาจนบัดนี้[/FONT]

    [FONT=&quot]สำหรับคำสอนของพระพุทธศาสนานั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนว่า คนตายแล้วไปเกิดอีกได้และจะไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเป็นสัตว์อีกก็ได้ แต่อย่างไรก็ดี พระองค์มิได้สอนไว้เฉย ๆ ลอย ๆ ว่า คนตายแล้วไปเกิดได้เท่านั้น หากแต่ให้รายละเอียดในเรื่องนี้ไว้เป็นขั้นเป็นตอนอย่างพิสดาร ถึงวิธีไปเกิดได้อย่างไร มีอะไรบ้าง ไปอย่างไร เกิดอย่างไร พระองค์สอนไว้ยากง่ายเป็นขั้น ๆ แล้วตี่วุฒิของบุคคลผู้สนใจศึกษามีพื้นฐานมาดีก็สามารถเข้าใจได้ละเอียดขึ้น[/FONT]

    [FONT=&quot]แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนว่า คนตายไปแล้วไปเกิดได้ก็ดี แต่ความคิดเห็นของศาสดาอีกหลายท่านนั้น ก็ตรงกันในหลักใหญ่ ๆ ของพระพุทธศาสนาที่ว่า [/FONT] [FONT=&quot]“เกิดอีก” เท่านั้น เช่นศาสนาพราหมณ์ ถือว่า คนตายแล้วจิตหรือวิญญาณก็ล่องลอยออกจากร่างไปปฏิสนธิใหม่ เหตุนี้จิตหรือวิญญาณก็เป็นอมตะไม่มีวันตาย เมื่อจากคนนี้ก็ไปสู่ยังคนนั้น เมื่อจากคนนั้นก็ไปสู่คนอื่น ๆ ต่อไปตามลำดับเหมือนคนอาศัยอยู่ในบ้าน เมื่อบ้านพังลงแล้วจะอาศัยอยู่ไม่ได้ก็ต้องเดินทางไปหาบ้านอยู่ใหม่ต่อไป[/FONT]

    [FONT=&quot]แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้ตรงกันข้าม พระองค์สอนว่า จิตหรือวิญญาณนั้นมิได้เป็นอมตะไม่มีวันตาย หากแต่เกิดดับสืบต่อไปไม่ขาดสาย และจิตใจก็ล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่ไม่ได้เลย จะเทียบคนย้ายจากบ้านที่พังหาได้ไม่ ยิ่งกว่านั้นความเข้าใจที่ว่าการที่ไปเกิดได้ก็ไปแต่จิตหรือวิญญาณเท่านั้น ก็เป็นความเข้าใจผิด เพราะยังมีรูปอีกชนิดหนึ่งเรียกว่ากัมมชรูป หรือ รูปอันเกิดแต่กรรมก็ร่วมในการปฏิสนธิด้วย สำหรับในข้อนี้ เป็นอีกข้อหนึ่งที่ท่านจะได้เห็นความพิสดารน่าอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา เพราะไม่ว่าใครหรือศาสดาองค์ไหนที่ว่า คนตายแล้วไปเกิดได้ก็ต้องไปแต่จิตหรือวิญญาณเท่านั้น มิได้แสดงการตายการเกิดอย่างไรให้ชัดแจ้ง แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนว่า นอกจากจิตไม่ใช่ล่องลอยไปแล้ว รูปบางชนิดก็ไปเกิดได้ ส่วนจะไปได้อย่างไร รูปอะไรบ้าง มีเหตุผล หลักฐานข้อเท็จจริงอย่างไรนั้น ขอได้โปรดฟังต่อไป[/FONT]

    [FONT=&quot]การที่เข้าใจว่า คนตายแล้วไปเกิดได้นั้นจะต้องมีความเข้าใจในเรื่องจิต เรื่องรูป เรื่องกรรม และเรื่องความตาย ว่าเหตุใดจึงตาย ความตายมีกี่อย่าง ขณะใกล้ตายมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง มีความรู้สึกอย่างไรและจิตใจทำงานกันอย่างไร ฯลฯ ให้เข้าใจดีเสียก่อน ดังนั้นท่านจึงจะเห็นได้ว่าเรื่องตายเรื่องเกิดนี้ จะกล่าวกันง่ายและให้เข้าใจดีด้วยนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้เลย[/FONT]

    [FONT=&quot]ก่อนอื่น อาตมาขอย้อนไปถึงเรื่องจิตอีกครั้งหนึ่ง ตามที่ได้กล่าวมาแล้วเป็นตอน ๆ ว่า จิตนั้นเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ รู้จักนึกคิดจดจำ จิตนั้นเป็นธรรมชาติที่มีความเกิดดับสืบต่อกันเสมอเป็นนิจ มิได้หยุดนิ่งและจิตนั้นเป็นนามธรรมที่ไม่สามารถมองเห็นหรือจับต้องได้ แต่ก็มีอำนาจในการสั่งสมสันดาน หรือสามารถเก็บเอาอารมณ์ต่าง ๆ ไว้ในจิตแล้วก็แสดงออกซึ่งอารมณ์นั้น ๆ ได้ เมื่อแยกงานของจิตออกก็จะได้เป็นสอง คือ[/FONT]

    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot] การงานที่จิตกระทำ [/FONT] [FONT=&quot] ได้แก่การที่จิตขึ้นวิถีรับอารมณ์ต่าง ๆ จากทางทวารหรือประตูทั้ง ๖ คือรับอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น เห็น ได้ยิน คิด เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot] จิตเป็นภวังค์ [/FONT] [FONT=&quot] ได้แก่จิตมิได้ขึ้นวิถีรับอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ แต่จิตก็ทำงานอยู่ตลอดเวลา คือ เกิด ดับ และมีอารมณ์ที่ติดมาตั้งแต่ปฏิสนธิ[/FONT]

    [FONT=&quot]การที่อาตมาได้แยกการงานของจิตออกเป็นสองเช่นนี้ เพื่อจะแสดงให้เห็นว่า ในขณะที่รับอารมณ์ตามทวารทั้ง ๖ จิตก็ทำงาน และจิตที่เป็นภวังค์ คือ มิได้ขึ้นวิถีรับอารมณ์ จิตก็ทำงานเหมือนกัน[/FONT]

    [FONT=&quot]ข้อ ๑[/FONT][FONT=&quot]. การขึ้นวิถีรับอารมณ์ของจิตนั้น จิตจะรับอารมณ์หรือจะเกิดอารมณ์ขึ้นได้ก็จะต้องอาศัยมีผัสสะ คือการกระทบ หากมิได้กระทบแล้ว จิตก็ไม่สามารถรับอารมณ์ได้ เช่นเสียงมิได้กระทบหูแล้วก็จะไม่ได้ยิน รูปมิได้กระทบตาแล้วก็จะเป็นเห็น และอารมณ์หรือเรื่องที่จะเป็นตัวยืนให้คิดไม่กระทบกับจิตแล้วก็คิดนึกไม่ได้เลย[/FONT]

    [FONT=&quot]ข้อ ๒[/FONT][FONT=&quot]. ภวังคจิต คำว่า ภวังค์ หรือจิตภวังค์นี้มีพูดกันอยู่เสมอโดยทั่วไป แต่ความเข้าใจของคนส่วนมากนั้นเข้าใจว่า ภวังค์ หมายถึงจิตมีความสงบ คือนั่งอยู่เฉย ๆ หรือนั่งใจลอย แต่ตามหลักของปรมัตถธรรมนั้นตรงกันข้าม คำว่า ภวังค์ หมายถึง องค์ แห่งภพ หมายถึง จิตตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงจุติคือ ตาย ขณะใดที่จิตมิได้ยกขึ้นสู่อารมณ์ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และขณะนั้นจิตก็เป็นภวังค์ ภวังคจิตที่เห็น ได้ง่าย ๆ ก็คือคนกำลังหลับสนิท ขณะหลับสนิทจะไม่มีความรู้สึกตัวเลย ขณะใดจิตมีความรู้สึกขึ้นในอารมณ์จากทวารทั้ง ๖ แล้ว ขณะนั้นจิตก็พ้นไปจากเป็นภวังค์ ความจริงขณะที่เราเห็นหรือได้ยินหรือคิดนั้น จิตก็ขึ้นวิถีรับอารมณ์ แล้วก็มีภวังคจิตขึ้นสลับอยู่ตลอดไป ทั้งนี้เป็นไปโดยรวดเร็วมาก ดังนั้นเราจึงไม่รู้สึก[/FONT]

    [FONT=&quot]การที่อาตมานำท่านมาสู่ความเข้าใจที่สับสนนี้ ก็เพราะปรารถนาจะให้ท่านทราบว่าในขณะที่จิตมิได้ขึ้นวิถีรับอารมณ์ จิตก็เป็นภวังค์ จิตเป็นภวังค์นี้จะไม่มีความรู้สึก แต่ถึงจะไม่รู้สึกก็ดี จิตก็ทำงานคือเกิดดับ สืบเนื่องกันไปอยู่เป็นเนืองนิจและมีอารมณ์เหมือนกัน แต่เป็นอารมณ์ที่อยู่ในจิต มิได้แสดงออกมาให้เราเห็น ได้ยิน หรือรู้สึกได้เป็นอารมณ์เก่าที่สืบเนื่องต่อมาจากปฏิสนธิ ถ้าจะเปรียบกับไดนาโมทำไฟ ก็คือ ไดนาโมที่กำลังหมุนอยู่ มิได้หยุดนิ่งนั่นเอง มันพร้อมที่จะส่งกระแสไฟไปจุดยังหลอด ถ้าเปิดสวิทช์ขึ้นภวังคจิตก็มิได้หยุดนิ่งอยู่เฉย ๆ แต่กำลังทำงานอยู่เหมือนกัน พร้อมที่จะรับอารมณ์อยู่เสมอ[/FONT]

    [FONT=&quot] การที่อาตมาแสดงจิตที่ขึ้นวิถีรับอารมณ์และภวังคจิตนั้นก็เพื่อจะได้นำท่าน เข้าไปสู่เรื่องของความตาย ว่าบุคคลที่กำลังจะตายนั้นจิตกำลังทำงานอะไรอยู่[/FONT]

    [FONT=&quot] ต่อไปนี้อาตมาจะได้แสดงถึงเรื่องว่าด้วยความตายเสียก่อน ว่ามีเหตุอะไรบ้างที่จะมาทำให้ตาย[/FONT]

    [FONT=&quot]ตามพุทธภาษิต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแบ่งความตายออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ ไว้เป็นสอง ประการคือ[/FONT]

    [FONT=&quot]กาลมรณะ [/FONT] [FONT=&quot]หมายความว่า ถึงเวลาที่จะต้องตาย[/FONT]

    [FONT=&quot]อกาลมรณะ [/FONT] [FONT=&quot]หมายความว่า ยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องตาย ทั้งนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าความตายนั้น เมื่อถึงเวลาหรือถึงที่แล้วจึงตายก็มี และเมื่อยังไม่ถึงเวลาหรือถึงที่แล้วตายก็มี[/FONT]

    [FONT=&quot]คำว่า มรณุปปัตติ แยกศัพท์ออกเป็น ๒ คือ มรณะ และ อุปปัตติ มรณะ แปลว่าตาย อุปัตติ แปลว่าเกิดขึ้น หมายถึงความตายและความเกิดขึ้น มรณุปปัตตินั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้มี ๔ ประการ คือ[/FONT]

    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot] อายุกขยะ [/FONT] [FONT=&quot] หมายถึง ตายโดยสิ้นอายุ[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot] กัมมักขยะ [/FONT] [FONT=&quot] หมายถึง ตายโดยสิ้นกรรม[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot] อุภยักขยะ [/FONT] [FONT=&quot] หมายถึง ตายโดยสิ้นอายุ และสิ้นกรรม[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot] อุปัจเฉทกกัมมะ [/FONT] [FONT=&quot] หมายถึง ตายด้วยอุบัติเหตุต่าง ๆ มาตัดรอน คือยังไม่สิ้นทั้งอายุและยังไม่สิ้นกรรม[/FONT]

    [FONT=&quot]อายุกขยะ [/FONT] [FONT=&quot]ตายโดยสิ้นอายุ ข้อนี้ได้แก่สัตว์ทั้งหลายต้องตายไปโดยสิ้นอายุ เพราะสัตว์ทุกชนิดย่อมจะมีชีวิตอยู่ภายในขอบเขตของอายุขัย เช่นเต่ามีอายุ ๑๓๐ ปี ช้างมีอายุ ๓๐๐ ปี ยุงมีอายุ ๑๕ วัน เป็นต้น[/FONT]

    [FONT=&quot]มนุษย์ในปัจจุบันนี้มีอายุขัยเพียง ๗๕ ปีก็ตาย แม้ว่าจะมีผู้มีอายุมากว่า ๗๕ ปีบ้างก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น การที่โลกในปัจจุบันค้นคว้าสรีระของมนุษย์ จนมีความรู้ละเอียดประณีต ค้นคว้าในเรื่องอาหารและหยูกยาสารพัดเพื่อประสงค์จะให้มนุษย์ปราศจากโรคภัย มาเบียดเบียนแล้วจะได้มีอายุยืนนั้น ถึงจะค้นคว้ากันต่อไปสักเพียงใด วิทยาศาสตร์การแพทย์จะเจริญก้าวหน้าไปสักเพียงไหน ก็เป็นการช่วยได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะการมีอายุยืนหรืออายุสั้น มิได้มีเหตุเพียงในด้านวัตถุอย่างเดียวเท่านั้น แต่ความจริงมีเหตุอื่นที่สำคัญมากอีกหลายประการ ซึ่งจะได้กล่าวในโอกาสต่อไป[/FONT]

    [FONT=&quot]กัมมักขยะ [/FONT] [FONT=&quot]ตายโดยสิ้นกรรม ในข้อนี้หมายถึงการที่สัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้นมาและเป็นไปนั้น อาศัยกำลังของกรรมที่หล่อเลี้ยง หรือสนับสนุนให้ชีวิตดำเนินไปได้อย่างไร อาตมาจะให้เหตุผลข้อเท็จจริงในภายหลัง ขณะนี้กำลังกล่าวถึงเรื่องความตาย การที่จะต้องกล่าวถึงกรรมก็เพราะเกี่ยวพันไปถึง[/FONT]

    [FONT=&quot]อุภยักขยะ [/FONT] [FONT=&quot]ตายเพราะสิ้นอายุและกรรม ข้อนี้ไม่มีปัญหาอะไรมาก ด้วยความตายที่เกิดขึ้น เพราะสิ้นอายุนั้น หมายถึงแก่เฒ่าอายุมากแล้ว ร่างกายก็หมดกำลังที่จะอยู่ต่อไปได้ ทั้งกรรมที่สนับสนุนให้คงชีวิตอยู่ก็หมดลงด้วย บุคคลผู้นั้นถึงแก่ความตายด้วยเหตุทั้งสอง[/FONT]

    [FONT=&quot]อุปัจเฉทกกัมมะ [/FONT] [FONT=&quot]หมายถึงตายด้วยอุบัติเหตุต่าง ๆ มาตัดรอน ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงอายุขัย และยังไม่สิ้นกรรม เช่นตกต้นไม้ตาย หรือถูกรถทับตาย ความตายในข้อนี้เป็นความตายโดยเหตุต่าง ๆ อันเป็นปัจจุบัน มิได้สิ้นอายุ หรือมิได้มีกรรมแต่อดีตมาตัดรอน แต่ถึงแม้ดังนั้นก็อาศัยกรรมแต่อดีตเป็นแรงส่ง เช่นกรรมแต่อดีตเป็นตัวส่งให้เข้าไปอยู่ในเรือนจำ แล้วไปติดโรคระบาดตายภายในเรือนจำ เป็นต้น[/FONT]

    [FONT=&quot]เพื่อความเข้าใจง่ายขึ้นสำหรับความตายทั้ง ๔ ประการนี้ ท่านได้เปรียบเทียบไว้กับดวงประทีปที่ใช้น้ำมัน คือ ชีวิตทั้งหลายเปรียบเสมือนประทีปหรือโคมไฟที่อาศัยน้ำมัน ธรรมดาโคมที่อาศัยน้ำมันนั้น ไฟจะดับได้ก็ด้วยเหตุ ๔ ประการคือ[/FONT]

    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. เพราะเหตุที่หมดน้ำมัน[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. เพราะเหตุที่หมดไส้[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. เพราะเหตุที่หมดทั้งน้ำมันและหมดไส้[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. เพราะเหตุที่มีอุบัติเหตุอย่างใด อย่างหนึ่ง เช่นลมพัน หรืออะไรมาทับให้ดับ[/FONT]

    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. เมื่อโคมไฟหมดน้ำมัน ไฟก็จะดับ ข้อนี้หมายถึงชีวิตทั้งหลายจะถึงแก่ความตายเมื่อสิ้นอายุ[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. เมื่อโคมไฟหมดไส้ไฟก็จะดับ หมายถึงชีวิตทั้งหลายเมื่อสิ้นกำลังของกรรมที่สนับสนุนให้ชีวิตคงอยู่แล้วก็ จะถึงแก่ความตาย[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. เมื่อโคมไฟหมดน้ำมันและหมดทั้งไส้ ข้อนี้ได้แก่ชีวิตทั้งหลายต้องสิ้นชีวิตไปเพราะหมดอายุและกำลังของกรรมที่จะ ให้คงอยู่[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. เมื่อโคมไฟถูกลมพัดดับ ข้อนี้ได้แก่ยังไม่สิ้นอายุ และกรรม แต่ต้องตายด้วยรับอุบัติเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง สำหรับในข้อ ๑-๒-๓ ตายเพราะถึงเวลาที่ต้องตาย สำหรับในข้อ ๔ ข้อเดียวเท่านั้นที่ผู้ตายยังไม่ถึงคราวที่จะต้องตาย แต่ก็ตายลงไปเพราะเหตุในปัจจุบัน[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อท่านได้ทราบเหตุความตายโดยย่อ ๆ แล้วก็ควรจะทราบต่อไปว่า ขณะใกล้จะตายนั้นเกิดอะไรขึ้น ทั้งจิตใจและร่างกายทำงานกันอย่างสลับซับซ้อนอย่างไร การแสดงในเรื่องนี้ไม่ใช่ง่าย ถ้าจะกล่าวโดยละเอียดแล้วก็จะต้องใช้เวลามาก และจะต้องมีภาพของวิถีจิตในวิถีต่าง ๆ และตารางแสดงรูปอันเกิดแต่กรรม จิต อุตุ และอาหารด้วย ว่าเกิดดับสืบต่อกันไปยังภพใหม่ได้อย่างไร[/FONT]

    [FONT=&quot]อาตมาได้กล่าวมาแล้วถึงเรื่องจิตว่ามีการงานอยู่ ๒ อย่าง คือ ขณะรับอารมณ์ทางทวาร ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใน และจิตในขณะเป็นภวังค์ คือ ไม่รู้สึกตัวเลย บุคคลผู้ซึ่งใกล้จะถึงแก่ความตายนั้น จะต้องเกิดอารมณ์ขึ้น ไม่ทางทวารใดก็ทางทวารหนึ่งทั้ง ๖ ทวารนี้[/FONT]

    [FONT=&quot]การเกิดอารมณ์ขึ้นตอนใกล้ตายนั้นเป็นธรรมดา บุคคลใดจะตายลงโดยไม่เกิดอารมณ์ขึ้นก่อนทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ได้เลย ไม่ว่าจะตายโดยฉับพลันทันทีอย่างไรก็ตาม เพราะจิตนั้นย่อมเกิดดับโดยรวดเร็วมาก และจะต้องอาศัยกำลังของกรรมที่เกิดขึ้น ขณะใกล้จะตายนั้นเป็นตัวนำส่งให้เกิดการปฏิสนธิขึ้น[/FONT]

    [FONT=&quot]บุคคลที่ใกล้จะตายนั้นย่อมมีอารมณ์ แต่อารมณ์จะดีหรือร้ายก็ได้ เช่นได้เห็นสิ่งสวยงามเป็นที่น่านิยม คนไข้ก็จะมีหน้าตาแจ่มใสยิ้มแย้ม แต่ถ้าได้เห็นสิ่งที่น่าเกลียดน่ากลัว หรือหวาดเสียว คนไข้ก็แสดงอาการตื่นเต้นตกใจ ขวัญหาย หน้าตาบูดเบี้ยว คนที่ดูแลคนไข้ที่ใกล้จะตายมักจะไปประสบ[/FONT]

    [FONT=&quot]การที่อารมณ์ได้เกิดขึ้นขณะเมื่อใกล้ตายให้เห็นไป ต่าง ๆ ก็เป็นการประกาศว่าบุคคลผู้นั้นจะไปเกิดในสุคติหรือทุคติอย่างไร ดังนั้นเราจึงเห็นว่า โดยมากคนที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ตายจึงบอก พระอรหัง แก่คนไข้ และศาสนาอื่นก็บอกสิ่งที่ดีงามต่าง ๆ ชี้ทางสวรรค์ให้แก่คนไข้[/FONT]

    [FONT=&quot]เรื่องของความตายเป็นเรื่องสำคัญชิ้นสุดท้ายของ ชีวิต ผู้ใดเข้าใจดีก็จะเป็นเครื่องช่วยตัวเองและคนอื่นได้มาก ความไม่เข้าใจหรือผิดพลาดไปเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้เกิดการเสียหายร้าย แรงอย่างยิ่งแก่ชีวิตไปชั่วกาลนานได้[/FONT]

    [FONT=&quot]แต่อาจมีผู้สงสัยว่า เหตุใดคนที่ใกล้จะตาย ทำไมจึงต้องเกิดอารมณ์ขึ้น อะไรทำให้เกิดอารมณ์ หรือเห็นไปต่าง ๆ นานา เพียงอารมณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น จะนำไปสู่สุคติ หรือทุคติได้จริง หรือคนที่กำลังจะตายมีความรู้สึกหรือเจ็บปวดอย่างไรบ้าง การงานที่จิตและร่างกายได้กระทำไปขณะชีวิตใกล้จะแตกดับ ตลอดจนถึงมีอะไรบ้างปฏิสนธิ เพราะตามหลักพระพุทธศาสนาถือว่า ผู้ใดเข้าใจว่าจิตของผู้ตายนั้นเองล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่ ก็เป็นความเห็นผิด และเข้าใจว่าจิตเท่านั้นที่ปฏิสนธิได้ก็เป็นความเห็นที่ผิด ความเห็นที่ถูกนั้นอย่างไร อาตมาจะได้กล่าวต่อไปตามลำดับ[/FONT]

    [FONT=&quot]ตามหลักปรมัตถธรรม หรือตามสภาวะนั้น คนตายหรือสัตว์ตายไม่มี คนตายหรือสัตว์ตายเป็นแต่เพียงเราสมมุติพูดกันให้เข้าใจเท่านั้น อันหมายถึงว่า คนที่ไม่หายใจแล้วคือคนตายแต่สภาวธรรมกลับตรงกันข้าม คนจะตายหรือคนกำลังมีชีวิตอยู่ ธรรมชาติของจิตก็เกิดดับสืบต่อกันไป และทำงานการเช่นนั้น เจตสิกซึ่งมีหน้าที่ประกอบกับจิตก็เกิดดับสืบต่อกันไปเช่นนั้น หรือแม้แต่รูปที่เกิดขึ้นในร่างกายก็เกิดสืบต่อกันเช่นนั้นเหมือนกัน[/FONT]

    [FONT=&quot]ความแตกต่างกันมีอยู่แต่เพียงว่า จิต เจตสิก และรูปของคนตายได้ปรากฏอยู่ยังภพใหม่ หรือที่ใหม่เท่านั้นเองถ้าถอนเอาความยึดถือที่สมมุติว่าเป็นคนหรือสัตว์ออก เสีย ก็เหมือนกับไฟฟ้าที่เกิดอยู่ที่นี่ เมื่อมีเหตุมีปัจจัยก็ไปเกิดอยู่ที่โน่นอันเป็นไปตามธรรมดา ธรรมชาติแม่เหล็กก็จะต้องมีความดึงดูดเสมอ ธรรมชาติของจิตก็จะต้องรับอารมณ์อยู่มิได้หยุดหย่อนเช่นเดียวกัน คนที่กำลังมีชีวิตอยู่หรือคนที่ใกล้จะตายก็เหมือนกัน จิตย่อมรับอารมณ์อยู่ อันเป็นไปตามธรรมชาติ ต่างกันแต่ว่า เมื่อคนใกล้จะตาย เราเรียกชื่ออารมณ์นั่นว่า กรรมนิมิต คตินิมิต[/FONT]

    [FONT=&quot]อาตมาได้กล่าวถึงอารมณ์เกิดขึ้นได้อย่างไรมาบ้าง แล้ว แต่ได้พูดไปเพียงย่อ ๆ เท่านั้น จึงขอเพิ่มเติมให้ละเอียดขึ้นอีกเล็กน้อย[/FONT]

    [FONT=&quot]พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนว่า สภาวะ คือ ธรรมชาติทั้งหลายจะเกิดขึ้นได้นั้นจะต้องอาศัยเหตุ ถ้าปราศจากเหตุเสียแล้วก็หาเกิดขึ้นมาได้ไม่ แต่เหตุที่ว่านี้มีหลายชั้น เป็นเหตุใกล้ ๆ ตื้น ๆ เผิน ๆ เห็นง่ายก็มี และเหตุที่ไกล ๆ ลึกซึ้ง เห็นได้ยากก็มี ปัญหาต่าง ๆ ของชีวิต เช่น ชีวิตคืออะไร มาจากไหน เป็นเรื่องล้ำลึก ถ้าไม่ได้อาศัยสัพพัญญุตญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็จะเข้าไม่ถึงเลย[/FONT]

    [FONT=&quot]อารมณ์ที่จะเกิดขึ้นก็เหมือนกัน อยู่เฉย ๆ มันจะเกิดขึ้นมาเองก็หาไม่ อารมณ์จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยเหตุเหมือนกัน เช่นอารมณ์ที่เกิดขึ้นทางตาและหูต้องมีเหตุดังนี้[/FONT]

    [FONT=&quot]อารมณ์ที่จะเกิดขึ้นทางตา [/FONT] [FONT=&quot] คือจะเห็นได้นั้นต้องอาศัยเหตุ ๔ ประการ มาประชุมพร้อมกันคือ[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot] จักขุปสาทะ [/FONT] [FONT=&quot] ได้แก่ ประสาทตา[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot] รูปารมณ์ [/FONT] [FONT=&quot] ได้แก่ รูปคือ สีต่าง ๆ[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot] อาโลกะ [/FONT] [FONT=&quot] ได้แก่ แสงสว่าง[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot] มนสิการ [/FONT] [FONT=&quot] การกระทำอารมณ์ให้แก่จิต พูดงาย ๆ ก็คือ ความตั้งใจนั่นเอง[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อมีเหตุทั้ง ๔ ประการนี้มาประชุมหรือจรดพร้อมกันเข้าแล้ว การเห็นก็มักจะเกิดขึ้นทันที ถ้าเหตุทั้ง ๔ นี้มาประชุมพร้อมกันแล้วจะไม่เกิดการเห็นขึ้นก็ไม่ได้ แต่ถ้าหากขาดไปเสียอันใดอันหนึ่งหรือหลายอันแล้ว การเห็นจะเกิดขึ้นไม่ได้เหมือนกัน เช่น ประสาทตาไม่ดี รูปารมณ์ อันได้แก่คลื่นแสงไม่มี ขาดแสงสว่างหรือขาดความตั้งใจ ที่จะเห็น[/FONT]

    [FONT=&quot]เหตุให้เกิดการได้ยินมี ๔ ประการคือ[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot] โสตปสาทะ[/FONT][FONT=&quot] ได้แก่ประสาทหู[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot] สัททารมณ์[/FONT][FONT=&quot] ได้แก่เสียง คือความสั่นสะเทือนของอากาศ[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot] วิวรากาสะ[/FONT][FONT=&quot] ได้แก่ช่องว่างในหู[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot] มนสิการ[/FONT][FONT=&quot] ได้แก่การทำอารมณ์ให้แก่จิต คือ ตั้งใจ[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อเหตุทั้ง ๔ ประการนี้มาประชุม หรือจรดพร้อมกัน เมื่อนั้นก็จะปรากฎการณ์ได้ยินขึ้นทันที การได้ยินที่จะปรากฏการณ์เกิดขึ้นได้โดยขาดเหตุไปแม้อันหนึ่งอันใดแล้ว การได้ยินก็ไม่เกิดขึ้นเลยเป็นอันขาด[/FONT]

    [FONT=&quot] การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนในเรื่องนี้ไว้ก็มิได้ประสงค์จะให้ศึกษา วิชาสรีรศาสตร์ หากแต่พระองค์ต้องการแสดงเหตุ แม้แต่อารมณ์ที่เกิดขึ้นทางตา หรือหู ก็ต้องอาศัยเหตุให้เกิด ธรรมทั้งหลายต้องอาศัยเหตุจึงจะเกิดขึ้นได้ มิได้เกิดขึ้นมาลอย ๆ เป็นการให้ผู้ศึกษาเข้าใจในเหตุผล ไม่ให้ยึดมั่นในความจริงที่สมมุติอันเป็นมายา และเป็นการปฏิเสธความเข้าใจที่ว่าพระผู้เป็นเจ้าหรือพระพรหมเป็นผู้สร้างโลกโดยสิ้นเชิง [/FONT]

    [FONT=&quot]อาจจะมีผู้คิดเห็นว่าเหตุให้เกิดเห็น การได้ยิน ต้องมีคลื่นแสงและคลื่นเสียง คือความสั่นสะเทือนของอากาศ และคิดว่าทางวิทยาศาสตร์เพิ่งจะค้นพบเมื่อไม่นานมานี่เอง เรากำลังหันเหให้เรื่องสภาวธรรมเข้าไปอิงวิชาวิทยาศาสตร์ที่ค้นคว้าขึ้นมาได้[/FONT]

    [FONT=&quot]ความจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ พระองค์ทรงสอนมาตั้ง ๒[/FONT][FONT=&quot],๕๐๐ ปีมาแล้ว เพียงแต่ถ้อยคำเท่านั้นที่แตกต่างกัน ส่วนความหมายนั้นเป็นอันเดียวกัน ในข้อนี้อาตมาขอยกกล่าวสักเล็กน้อย[/FONT]

    [FONT=&quot]พระองค์สอนว่า รูปารมณ์ [/FONT] [FONT=&quot](รูปที่เห็น) ที่เกิดขึ้นแล้วมากระทบกับตาทำให้เห็นได้ นั้น จะต้องอาศัยแสงสว่าง และรูปารมณ์ดังกล่าวมานี้จะเกิดดับสลับซับซ้อนที่ตา และประสาทตาที่รับการกระทบของรูปารมณ์ที่ว่านั้น ก็ตั้งอยู่ตรงตาดำซึ่งมีขนาดโต เท่าหัวของเหา ประสาทที่ตั้งอยู่ตรงตาดำโตเท่าหัวเหานี้เองเป็นตัวรับการกระทบรูปารมณ์ ซึ่งได้แก่คลื่นของแสงนั่นเอง ยิ่งกว่านั้นพระองค์ยังแสดงถึงรูปารมณ์นี้ว่ามีความเกิดดับในจำนวนต่อจำนวน จิตที่เกิดดับ ๑๗ ขณะใหญ่หรือ ๕๑ ขณะเล็ก [/FONT]

    [FONT=&quot]ในเรื่องการได้ยินก็เหมือนกัน สัททารมณ์ คือ เสียงย่อมกระทบที่ประสาทหูโดยการเกิดดับสลับซับซ้อนกันอยู่ พระองค์ชี้ถึงขนอันละเอียดอ่อนในจำนวนเท่าใด ตั้งอยู่ภายในแอ่งน้ำ สีอะไร ภายในช่องหู และจิตจะมารับอารมณ์ที่ตรงนี้ ข้อที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือเหตุที่จะได้ยิน ๔ ประการนั้นมี [/FONT] [FONT=&quot]วิว รากาสะ [/FONT] [FONT=&quot] คือ ช่องว่างภายในหูรวมอยู่ด้วย ซึ่งตรงกับหลักวิทยาศาสตร์ เพราะถ้าไม่มีช่องว่าง คือ อากาศภายใจช่องหูเสียแล้ว ความสั่นสะเทือนของอากาศก็จะไม่สามารถเข้าไปกระทบกับประสาทหูได้ การได้ยินก็จะไม่บังเกิดขึ้น[/FONT]

    [FONT=&quot]อาตมาได้กล่าวมาเพียงย่อ ๆ และเพียงสองทวาร คือ ตากับหู เท่านั้น ส่วน จมูก ลิ้น กาย ใจ จะงดเสียเพราะจะเสียเวลามาก ที่อาตมาได้กล่าวมานี้ เป็นการนำเอาคำสอนที่แสดงเหตุใกล้ ๆ เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจเรื่องการเกิดอารมณ์ และคลายความยึดมั่นในตัวตน คน สัตว์ เพราะการที่คลื่นของแสงและคลื่นเสียงมากระทบกับประสาทตาและประสาทหูนั้น ก็เกิดดับอยู่ตลอดเวลาที่เห็นและได้ยิน จิตที่เข้าไปรู้อารมณ์ต่าง ๆ นั้น ก็เกิดดับอยู่ตลอดเวลาเหมือนกัน ส่วนการที่เห็นเป็นคน เป็นสัตว์ น่ารัก น่าเกลียด สวยหรือไม่สวย อะไรต่าง ๆ นั้น จิตได้สร้างรูปขึ้น คือจิตได้สร้างเป็นมโนภาพหรือจินตนาการขึ้นเท่านั้นเอง หาได้เป็นสาระแก่นสารที่จะยืนยงคงทนไม่ส่วนเหตุไกลยังมีอีกเป็นอันมาก เช่นเพราะอะไรปสาทรูป คือ ประสาทรับอารมณ์ต่าง ๆ จึงมีแก่คนและสัตว์ทั้งหลายได้ อะไรเป็นผู้สร้างขึ้น เมื่อมีเหตุทั้ง ๔ มาประชุมพร้อมกันแล้ว ทำไมคนจึงเห็นและได้ยินได้ ขณะเห็นหรือได้ยิน จิตใจและร่างกายทำงานกันอย่างไร[/FONT]

    [FONT=&quot]อารมณ์ที่เกิดขึ้นทางทวารทั้ง ๖ ไม่ว่าจะเป็น ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจก็ตาม เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วก็จะเห็นไดว่าจะต้องมีรูปคือ อารมณ์มากระทบกับจิต ถ้าไม่มีรูปมากระทบกับจิตแล้ว ก็จะเกิดอารมณ์ขึ้นไม่ได้เลยเป็นอันขาด ซึ่งทางธรรมเรียกการกระทบนี้ว่า ผัสสะ เช่นการที่จะเห็นได้นั้นจะต้องมีรูปมากระทบตา จะได้ยินได้จะต้องมีรูปคือเสียงมากระทบหู และจะคิดนึกเรื่องราวอะไรได้ก็จำเป็นจะต้องมีรูป คือ เรื่องราวที่คิดนึกนั้นมากระทบใจ[/FONT]
    [FONT=&quot]บัดนี้ก็มาถึงปัญหาที่ว่า [/FONT] [FONT=&quot] คนที่ใกล้จะตายนั้นเกิดอารมณ์ขึ้นได้อย่างไร ถ้าไม่เกิดอารมณ์ขึ้น คือจิตกำลังเป็นภวังค์อยู่ก็จะไม่ตายเพราะเหตุใด อารมณ์ที่เกิดขึ้นมีดีบ้างไม่ดีบ้างจะนำผู้ตายไปพบกับอะไร[/FONT]

    [FONT=&quot]อาตมาได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น ๆ ว่าตามหลักสภา วะหรือปรมัตถธรรมนั้น ไม่มีคนเกิดคนตาย คนเกิดคนตายเป็นเรื่องสมมุติ จิตก็มีธรรมชาติเกิด ดับ และรับอารมณ์อยู่เสมอเป็นนิจ ไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่หรือความตายได้มาถึง ดังนั้นคนไข้ที่ใกล้จะตาย ได้รับคำบอกเล่าถึงพระอรหันต์ หรือเรื่องที่ทำบุญให้ทาน คนไข้ก็จะเกิดอารมณ์นั้นขึ้น หรือเป็นเรื่องกระทบกระเทือนใจในทางไม่ดี เช่น เกิดความเสียใจว่าตัวจะต้องตาย หรือลูกหลานทำอะไรให้ไม่ถูกใจ หรือมีความห่วงใยในทรัพย์สมบัติที่อยู่เบื้องหลัง คนไข้ก็จะเกิดอารมณ์ขึ้นก่อนหน้าจุติ คือตาย แต่ถ้าจะจุติคือใกล้จะตายจริง ๆ แล้ว จะบอกหรือให้คติอะไรแก่คนไข้ไม่ได้เลย คนไข้จะตายเช่นนี้ ทวารทั้ง ๕ จะรับอารมณ์ไม่ได้ คือจะไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส และแม้เอาไฟไปจี้ก็จะไม่รู้สึก คนไข้จะมีความรู้อยู่เพียงทวารเดียวคือ [/FONT] [FONT=&quot]ทาง ใจ [/FONT] [FONT=&quot] เท่านั้น และเมื่อเหลืออารมณ์แต่เพียงทางใจ อารมณ์นั้นก็แจ่มใสชัดเจนดุจการมองดูวัตถุโต ๆ ยามเที่ยง ถ้าคนไข้เห็นสิ่งที่ดี หน้าตาก็จะแจ่มใสผุดผ่อง และถ้าเห็นสิ่งที่น่ากลัวน่าหวาดเสียว คนไข้ก็จะแสดงความตกใจ หน้าของคนไข้ก็แสดงออกมาให้เห็นได้ชัด[/FONT]

    [FONT=&quot]บัดนี้อาตมาคิดว่า [/FONT] [FONT=&quot]ควรจะคิดถึงประเด็นสำคัญในเหตุผลที่ว่าคนที่ตายแล้วไปเกิดอีกได้ นั้น อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่จะนำให้ผู้ตายไปเกิด[/FONT][FONT=&quot] คิดว่าท่านทั้งหลายก็คงถือว่าอันนี้เป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยอาตมาก็ขอแสดงอำนาจที่ผลักดันให้การปฏิสนธิเกิดขึ้นเสียก่อน ส่วนวิธีที่จะไปอย่างไร เกิดอย่างไรจะได้กล่าวต่อไป[/FONT]

    [FONT=&quot]ปัญหาที่ว่า [/FONT] [FONT=&quot]อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยนำสัตว์ทั้งหลายให้ต้องเวียนเกิดเวียนตาย หรือต้องสืบต่อไปยังภพใหม่มิได้หยุดหย่อนนั้น [/FONT] [FONT=&quot] ถ้าจะว่าอย่างง่าย ๆ สั้น ๆ ที่สุดก็คือ [/FONT] [FONT=&quot] เราอยากจะเกิดต่อไปนั่นเอง[/FONT][FONT=&quot] คนทุกคน สัตว์ทุกตัว ตายแล้วต้องไปเกิดอีกก็เพราะมีจิตปรารถนาจะอยู่ต่อไปอีก มีจิตปรารถนาจะไปเกิดใหม่อีก ความปรารถนานั้นก็มีกำลังความสามารถอันมหาศาล แม้ว่าความปรารถนานั้นจะไม่อาจมองเห็นหรือจะสัมผัสไม่ได้ก็ตาม ผู้ที่ได้ศึกษาพระพุทธศาสนาในขั้นละเอียดก็จะได้เห็นความจริงอันน่าพิศวงนี้ [/FONT]

    [FONT=&quot]ตั้งแต่เราตื่นนอนขึ้นมาในเวลาเช้า แล้วหลับไปในเวลากลางคืน ตลอดเวลาเหล่านั้น เราได้ไขว่คว้าหาอารมณ์อยู่เรื่อย ๆ ประเดี๋ยวเราก็ต้องการเห็น ต้องการได้ยิน ต้องการคิด ต้องการเคลื่อนไหวอิริยาบถ ความต้องการหรือความปรารถนาเหล่านั้นมิได้หยุดยั้งเลย มีแต่เพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ[/FONT]

    [FONT=&quot] เมื่อเราได้อะไรสมความปรารถนาแล้วเราก็ปรารถนาอย่างอื่น และอย่างอื่น ๆ ต่อไปอีกโดยมิได้ว่างเว้นเลยตลอดชีวิต เพื่อความดำรงอยู่ของชีวิต เพื่อให้ชีวิตแจ่มใสสดชื่นเบิกบาน เพื่อให้ทุกข์เบาบางหรือหายไป เราปรารถนาที่จะได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้ถูกต้อง ได้คิดนึกเรื่องที่ดี ๆ ที่เราพอใจนั้น ๆ อยู่เสมอ ครั้นเมื่อได้อารมณ์อันเป็นที่พึงพอใจแล้ว ก็ติดอกติดใจในอารมณ์นั้น ๆ อย่างแน่นหนาแล้วหาลู่ทางที่จะได้มาซึ่งอารมณ์ที่ตนพอใจนั้นให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก ความพอใจในอารมณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นก็ย่อมประทับไว้ในจิตอย่างมั่นคง มิได้หลุดถอน [/FONT] [FONT=&quot] ความปรารถนาที่จะได้อารมณ์ความยินดีติดใจในอารมณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ทางธรรมเรียกว่า [/FONT] [FONT=&quot]โลภะ ตัณหา [/FONT] [FONT=&quot]คำว่า ตัณหา นี้ผู้ที่มิได้ศึกษาพุทธศาสนาก็เข้าใจว่า หมายถึงในเรื่องชู้สาวหรือเของเซ็กส์เท่านั้น แต่ความจริงตัณหามีความหมายยิ่งกว่านั้นคือ หมายถึงความยินดีติดใจในอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากทวารทั้ง ๖ นั้นเอง เช่นยินดีติดใจในการเห็น ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส และสัมผัส ได้คิดนึกต่าง ๆ[/FONT]

    [FONT=&quot]แม้แต่อารมณ์ที่เป็นโทสะ[/FONT][FONT=&quot] คือ ความไม่พอใจในอารมณ์ก็เป็นเหตุให้เกิดตัณหาได้เหมือนกัน เช่น เมื่อเราเห็นสิ่งที่ไม่ดีหรือได้ยินเสียงอันระคายโสตประสาท เราก็ไม่พอใจ เมื่อไม่พอใจแล้วเราทำอย่างไร เราก็หลีกหนี เราหลีกหนีไปไหน เราก็หลีกหนีเพื่อหาสิ่งที่ดีที่พอใจต่อไปใหม่ หรือเราได้กลิ่นเหม็น เราก็ไม่ชอบใจเพราะมันเป็นอารมณ์ที่เราไม่พึงปรารถนา เราก็ไปให้พ้นจากกลิ่นเหม็นนั้น แต่ก็หนีไปไม่พ้นจากการที่จะแสวงหากลิ่นที่หอมหรืออารมณ์ที่ต้องใจอื่น ๆ ต่อไปใหม่ นี่ก็แสดงว่าอารมณ์ที่ไม่พอใจก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัยนำไปสู่อารมณ์ที่พอใจจนได้[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อเราได้อารมณ์ที่พอใจแล้ว เราก็มีความยินดี ติดใจในอารมณ์นั้น อารมณ์นั้น ๆ ก็จะฝังมั่นประทับไว้ในจิตใจ ความยึดมั่นนี้ทางธรรมะ เรียกว่า อุปาทาน เช่นเรารับประทานอาหารอะไรอย่างหนึ่งมีรสอันโอชะเป็นพิเศษจนทำให้เราติดใจ ความติดอกติดใจนั้นจะเก็บประทับเอาไว้แน่นหนา ถามีโอกาสก็พยายามหาให้ได้ซึ่งรสหรืออารมณ์นั้นอีก หรือเราดูภาพยนตร์เรื่องที่สนุกมาก ๆ เราก็ติดอกติดใจอยากจะดูเรื่องที่สนุก ๆ ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกถ้ามีโอกาส [/FONT]

    [FONT=&quot]ความยินดีติดใจในอารมณ์ หรือ ตัณหานี้มีกำลังมากเกินที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะคาดคิดว่ามันจะเป็นไปได้ ถ้ามิได้ศึกษาให้เข้าใจถึงความละเอียดในพระพุทธศาสนา ก็จะไม่มีทางทราบได้เลย แม้แต่เพียงคิดก็ไม่มีใครได้คิดไปถึงเสียแล้วว่า กำลังตัณหานี้เองที่เป็นตัวนำให้การปฏิสนธิเกิดขึ้นชาติแล้วชาติอีกมิได้ หยุดหย่อน ซึ่งก็คือการที่เราปรารถนาที่จะเกิดต่อไปนั่นเอง[/FONT]

    [FONT=&quot]บัดนี้ก็ถึงปัญหาที่ว่า [/FONT] [FONT=&quot] เหตุใดเมื่อเจตนาหรือตัณหาประทับลงไว้ในจิตอยู่เสมอแล้ว กำลังของเจตนาหรือตัณหานั้นจึงผูกมันรัดรึงสัตว์ทั้งหลายไว้ให้คงอยู่ใน วัฏฏะ จนไม่สามารถดิ้นรนให้รอดไปได้[/FONT]

    [FONT=&quot]กำลังของกรรม คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นตั้งแต่เช้าจนถึงเวลาหลับสนิทนั้น วันหนึ่ง ๆ มิใช่เล็กน้อย ถ้ารวมกันตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายแล้ว ก็หมดปัญหาที่ผู้ใดจะคิดหรือคาดคะเนได้ว่ามากสักเท่าใด ประเดี๋ยวก็อยากเห็น อยากได้ยิน อยากได้ลิ้มรส และอยากคิดนึก ฯลฯ ซ้ำแล้วซ้ำอีกวันยังค่ำ และเมื่อได้รับอารมณ์เหล่านั้นสมความปรารถนาแล้ว ก็อยากได้อารมณ์อื่น ๆ อีกไม่มีวันจบสิ้น[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อเราเห็นเด็ก ๆ อายุ ๑๐ ปี เล่นดนตรีได้เก่ง เมื่อเราเห็นเด็ก ๆ อายุ ๑๐ ขวดเขียนรูปได้ดี เราก็พูดว่า เขามีอุปนิสัย เราก็พูดว่าเขาได้ถ่ายทอดศิลปเหล่านั้นตามสายเลือดจากพ่อหรือแม่ ถ้าไม่ใช่พ่อแม่ก็ปู่ ย่า ตา ยาย คนใดคนหนึ่งซึ่งคงจะต้องมีคนหนึ่งจนได้[/FONT]

    [FONT=&quot]นักอาชญาวิทยา นักจิตวิทยา หรือนักวิทยาศาสตร์ทางชีวภาพ เมื่อพบเด็กที่เหลือขอและชอบขโมย ก็จะกล่าวว่าเด็กคนนี้ได้สืบสันดานมาจากพ่อแม่ที่เป็นผู้ร้าย การที่เขาเป็นผู้ร้ายก็เพราะมีสันดาน หรือมีเลือดของพ่อแม่ของเขาติดมา ซึ่งความจริงนักอะไรต่อนักอะไรทั้งหลายเหล่านี้ ได้สืบสวนค้นคว้ามาได้แต่เหตุผลใกล้ว ๆ ตื้น ๆ เผิน ๆ แค่เกิดมาเท่านั้นเอง เพราะเขายังไม่เข้าใจเลยว่าจิตนั้นคืออะไร สามารถสืบต่อกันไปได้อย่างไร เขาจะเข้าใจให้ถูกต้องได้สมบูรณ์ เพราะเขามิได้ศึกษาจากพระสัพพัญญุตญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำอย่างไรก็จะให้ความเข้าใจของเขาถูกต้องสมบูรณ์ไม่ได้ เพราะเขาได้เข้าใจผิดไปว่ามันสมองนั้นเป็นตัวจิต ซึ่งได้วิวัฒนาการมาแล้วนับจำนวนเวลาเป็นพันเป็นหมื่นล้านปี จนสามารถมีความคิดอ่าน จนจำทุกข์สุขได้ มนุษย์ทั้งหลายเกิดสืบต่อกันมาตามสายโลหิตจากสปอร์มาโตซัวของบิดาและโอวัม คือไข่ของมารดา และอุปนิสัยใจคอของเด็กจะสถิตอยู่ภายในยีนส์ซึ่งอยู่ในเซลล์นั้น ซึ่งเราได้ตรวจสอบค้นคว้ามาได้ และจากกล้องขยายหลายพันเท่าอันเป็นรูปหรือวัตถุ ซึ่งเขาจะรู้ได้แน่แต่ทางเดียวเท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]อาตมาได้กล่าวมาแล้วว่า จิตนั้นเกิดดับสืบต่อกันไปเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นหรือตาย จะหลับหรือตื่น และมีอำนาจสั่งสมสันดานเหตุฉะนั้น อุปนิสัย สันดาน หรือสัญชาตญาณของเด็กเหล่านั้นจึงมิได้สืบสาย โลหิตมาจากพ่อแม่ เพราะจิตเป็นนามธรรม ซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกจิตของพ่อแม่แยกออกมาเป็นของเด็กได้ หากแต่เป็นจิตดวงใหม่คือ ผู้ที่ได้ตายต่างหากมาปฏิสนธิ [/FONT]

    [FONT=&quot]คงจะมีบางท่านที่สงสัยว่า [/FONT] [FONT=&quot]ถ้าเป็นจิตดวงใหม่มาปฏิสนธิ มิได้ถ่ายทอดมาตามสายเลือดแล้ว ก็เหตุใดเล่า อุปนิสัยใจคอของเด็ก เช่นชอบในทางศิลปะหรือมีสันดานเป็นผู้ร้าย จึงไปเหมือนกับพ่อแม่ของเด็กเหล่านั้นได้[/FONT]

    [FONT=&quot]ปัญหานี้ ผู้ที่ศึกษาธรรมะมาพอสมควรก็จะไม่ประหลาดใจเลย เพราะเขาจะเข้าใจเรื่องการปฏิสนธิของจิตว่า จิตจะต้องปฏิสนธิไปตามความเหมาะสม ไปตามเหตุปัจจัย เช่น ถ้าอาตมาเอาแก้วน้ำร้อนมาตั้งไว้บนโต๊ะนี้ ภายนอกของแก้วก็จะไม่มีไอน้ำมาจับได้เลย แต่ถ้าอาตมานำแก้วน้ำแข็งมาวางแล้ว ในไม่ช้าเราก็จะเห็นน้ำติดอยู่เป็นหยด ๆ โดยรอบแก้ว ทั้งนี้เพราะความเย็นของน้ำแข็งเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ละอองของน้ำมาจับได้ ถ้า ก[/FONT]. มีสันดานหยาบคายเป็นผู้ร้ายเต็มตัว ข. ซึ่งเป็นสุภาพบุรุษร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ไม่อาจจะร่วมเป็นร่วมตาย สนิทสนมหรือเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันได้ เพราะไม่มีความเหมาะสมกันเลย โดยนัยนี้จิตที่มีอุปนิสัยในทางชั่วจึงปฏิสนธิในพ่อแม่ที่มีสันดานผู้ร้าย และจิตที่โง่เง่าหรือไม่สู้จะเต็มจึงชอบปฏิสนธิในพ่อแม่ที่เป็นคนจิตทราม

    [FONT=&quot]การศึกษาเรื่องจิตตามหลักของพระพุทธศาสนาให้เข้า ใจแล้ว ก็จะเห็นได้ว่ามีเหตุผลข้อเท็จจริงที่จะเป็นไปดังนั้นอีกมากมาย อาตมาเห็นว่าเวลามีน้อยก็จะของดเสีย[/FONT]

    [FONT=&quot]อาตมานำท่านมาเช่นนี้ก็เพื่อจะแสดง[/FONT][FONT=&quot]กำลังพลังของตัณหา [/FONT][FONT=&quot] หรือ[/FONT][FONT=&quot]กำลังของกรรม [/FONT][FONT=&quot] คือ [/FONT] [FONT=&quot]เจตนา[/FONT][FONT=&quot] หรือ[/FONT][FONT=&quot]ความปรารถนาว่าสามารถส่งผลสืบต่อกันไปได้[/FONT][FONT=&quot]เพราะจิตที่มีนิสัยในทางดนตรีก็โดยชาติที่แล้วมามีเจตนาอันรุนแรง เฝ้าอบรมฝึกหัดจนชำนาญด้วยใจรัก นิสัยอันนี้ก็สืบต่อมาถึงชาตินี้ ถ้าเราจะจับเอาเด็ก ๑๐๐ คน ที่ไม่มีนิสัยเช่นนี้มาฝึกหัดก็หาอาจฝึกหัดวิชาดนตรีให้เป็นผู้มีความสามารถ จริง ๆ แม้แต่สักคนหนึ่งหาได้ไม่ และถ้าเอาคน ๑๐๐ คน ที่ไม่มีนิสัยตลกคะนองมาแสดงเป็นตัวตลกคนทั้ง ๑๐๐ คน ที่ไม่มีนิสัยตลกคะนองมา แสดงเป็นตัวตลกทั้ง ๑๐๐ คน ที่แสดงอยู่ต่อหน้าเรานั้นก็จะทำให้รู้สึกสงสาร เพราะทำให้เราขบขันไม่ได้เลย[/FONT]

    [FONT=&quot]แน่นอน ช่างเขียนที่สามารถ นักประพันธ์ที่มีคารมคมคายซึ่งประชาชนชอบอกขอบใจทั่วทิศ นักประดิษฐ์เรืองนาม นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ หรือตัวตลกลิเก ละคร ที่มีคนหัวเราะท้องคัดท้องแข็ง หรือนักอะไร ๆ เหล่านี้จะไม่มีเลยที่จะฝึกฝนจนกลายเป็นบุคคลชั้นนำเพียงในชาตินี้ชาติเดียว ความจริงบุคคลเหล่านี้ย่อมมีวาสนาคือ ได้รับการอบรมมาแล้วหลาย ๆ ชาติทั้งนั้น และการที่เขาเป็นได้เช่นนั้นก็ย่อมแสดงให้เห็นถึงความปรารถนา เขาว่า กำลังของความปรารถนาแต่อดีตนั้น สามารถส่งผลให้จนถึงปัจจุบันและอนาคตได้ [/FONT]

    [FONT=&quot]อารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทางทวารทั้ง ๖ นั้น ทุกอารมณ์ก็ย่อมประทับสั่งสมไว้ในจิตอย่างสลับซับซ้อนมากมาย กำลังของอารมณ์ก็ย่อมมีเจตนาหรือความปรารถนารวมอยู่ด้วย ความปรารถนามีกำลังมากก็ย่อมเป็นไปตามปรารถนานั้น ๆ ความปรารถนาที่จะได้ภพชาติใหม่หรือที่จะเกิดใหม่นั้นเอง ที่ทำให้ชาติมิได้สิ้นสุด ไม่ว่าจะเป็นความปรารถนาโดยตรงหรือโดยปริยายก็ตาม [/FONT]

    [FONT=&quot]ธรรมชาติของกรรมที่กระทำนั้นเป็นสิ่งที่น่าพิศวง เพราะไม่มีตัวตนที่เราจะถูกต้องได้ จะวัดหรือจะชั่งตวงก็ไม่ได้ แต่ก็มีอำนาจแสดงกำลังความสามารถได้[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อหญิงสาวและชายหนุ่มผูกสมัครรักใคร่กัน ยิ่งนานวันก็จะยิ่งเพิ่มพูนความรักมากยิ่งขึ้น เพราะเห็นใจกัน เอาอกเอาใจกันทุกอย่าง ความรักของชายหนุ่มหญิงสาวคู่นี้เป็นไปอย่างดูดดื่มมั่นคงอยู่หลายปี เมื่อจะต้องพรากจากกันไปโดยเด็ดขาดเมื่อใด ทั้งสองฝ่ายก็จะตกอยู่ในความเศร้าเสียใจอย่างสุดซึ้ง เจ้าเฝ้าแต่ครุ่นคิดถึงกันอยู่มิรู้วาย วันละหลายสิบหรือหลายครั้ง ทั้งนี้เพราะอะไร เรื่องความรักใคร่เห็นอกเห็นใจกันก็เป็นอดีตไปแล้ว เป็นเรื่องเก่าที่ดับไปแล้ว [/FONT] [FONT=&quot] เหตุใดกรรมที่ทำไว้ในอดีตจึงได้ก่อให้เกิดความทุกข์หรือเศร้าเสียใจอยู่มิได้หยุดหย่อน[/FONT]

    [FONT=&quot]อาตมาได้กล่าวมาแล้วว่า อารมณ์ที่เกิดขึ้นได้นั้น จะต้องมีเหตุ จะเกิดขึ้นลอย ๆ หาได้ไม่ เช่น การที่จะเห็นได้ก็ต้องมีคลื่นแสงมากระทบตา จะได้ยินก็ต้องมีคลื่นเสียงมากระทบหู และจะคิดได้ก็จะต้องมีเรื่องที่คิดนั้นมากระทบใจ เหตุนี้จึงเห็นได้ว่า [/FONT] [FONT=&quot]ในกรณีของหนุ่มสาว เกิดความเศร้าเสียใจคู่นี้ ก็จะต้องมีเรื่องมากระทบใจเป็นแน่นอน[/FONT][FONT=&quot] มิฉะนั้นความเศร้าเสียใจจะเกิดขึ้นมาหาได้ไม่ แต่อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดอารมณ์เสียใจเหล่านั้นขึ้น[/FONT]

    [FONT=&quot]ไม่มีผู้ใดจะปฏิเสธได้เลยว่าอารมณ์เหล่านั้น มิได้เกิดขึ้นมา แต่อารมณ์เก่า ๆ คือ เจตนาหรือความปรารถนาที่จะเป็นของซึ่งกันและกัน รักกัน เอาใจกัน และจะแต่งงานอยู่กินด้วยกันนั่นเองเป็นเหตุเป็นปัจจัย จิตจึงได้สร้างให้เห็นหน้า เห็นกิริยาท่าทาง เห็นความดีของแต่ละฝ่าย อารมณ์เก่า ๆ เหล่านั้น คือ [/FONT] [FONT=&quot] กรรมแต่อดีตที่ดับไปแล้วนั่นเอง [/FONT] [FONT=&quot] แต่มิได้สูญหายไปไหน อารมณ์เก่าหรือกรรมเก่า หรือความปรารถนาเก่านั้นเองได้เกิดกำลังอำนาจขึ้น กำลังอำนาจนี้ได้มากระทบจิตอยู่เสมอมิได้หยุดหย่อน ซึ่งกระทำให้กรรมที่ทำไว้แล้ว ๆ นั้น กลับยกขึ้นมาสู่อารมณ์ใหม่อีก ภาพเก่า ๆ ก็ได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ทำให้มองเห็นหน้าคู่รักที่กลังยิ้มอย่างหวาน เห็นความน่ารักเอ็นดู เห็นความเอาอกเอาใจหรือความเสียสละของแต่ละฝ่าย ภาพประทับใจทั้งหลายแหล่ก็ได้ถูกยกขึ้นมาปรากฏอยู่เฉพาะหน้า เหมือนกำลังดูภาพยนตร์ หรือมีเสียงกระซิบมากระซิบอยู่ที่ข้างหูว่ารัก รัก มิได้หยุดหย่อนเลย [/FONT]

    [FONT=&quot]การที่อาตมานำตัวอย่างนี้ขึ้นมาแสดง ก็เพื่อจะให้ท่านได้เห็น[/FONT][FONT=&quot]กำลัง ของกรรม กำลังของความปรารถนา หรือตัณหาว่าแม้มันไม่มีตัวตนก็ดี แม้มันจะเกิดขึ้นในอดีตและดับไปแล้วก็ดี มันก็ยังมีความสามารถที่จะแสดงออก ซึ่งการกระทบกับจิตอันก่อให้เกิดอารมณ์ขึ้นได้มิได้หยุดหย่อน[/FONT][FONT=&quot] ทั้งนี้เพื่อให้ท่านได้เห็นหน้าตาไว้เพียงนิดเดียวก่อน กำลังของกรรมหรือตัณหานี้ยังมีกว่านั้นมากมายนัก สามารถสร้างภพสร้างชาติก็ยังได้อีก และคนที่ตายแล้วไปเกิดก็ด้วยต้องอาศัยกำลังของกรรมนี่เองผลักดัน ทั้งมิได้สืบต่อไปแต่จิตอย่างเดียวเท่านั้น [/FONT] [FONT=&quot] หากแต่ด้วยอำนาจของกรรมหรือตัณหานี้ยังมีอานุภาพสร้างรูปขึ้นในภพใหม่ได้ ด้วย [/FONT] [FONT=&quot] แต่เพื่อให้เข้าใจง่าย อาตมาขอนำวิชาทางโลกเข้ามาประกอบด้วย[/FONT]

    [FONT=&quot]ร่างกายของเรานี้ คือ รูปหรือวัตถุ เมื่อนักวิทยาศาสตร์ย่อยให้เล็กลง ส่วนที่เล็กที่สุดได้แก่ปรมาณู ปรมาณุประกอบด้วยนิวเคลียร์อยู่ตรงศูนย์กลาง มีอนุภาคโปรตอน คือ ประจุไฟฟ้าบวก และมีอิเล็กตรอนประจุไฟฟ้าลบวิ่งวนอยู่รอบแกนกลาง แล้วยังมีอนุภาคอีกชนิดหนึ่งที่ไม่มีประจุไฟฟ้าเลย เรียกชื่อว่า นิวตรอน[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อว่าโดยรูปหรือวัตถุแล้ว ร่างกายของเรานี้ก็ไม่มีอะไรนอกจากประจุไฟฟ้าหรือพลังงาน ตรงตามทฤษฎีของ ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์และนักคำนวณผู้ยิ่งใหญ่ของโลกในขณะนี้ ซึ่งได้กล่าวว่า พลังงานก็คือสสารและสสารก็คือพลังงาน มันเป็นการน่าประหลาดมหัศจรรย์เพียงใดหรือไม่ที่ร่างกายโต ๆ ที่มองเห็นและสัมผัสได้ของคนเรานี้มาจากพลังงานที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้ ชั่งตวงก็ไม่ได้[/FONT]

    [FONT=&quot] อาตมาได้กล่าวถึงรูปและวัตถุจากวิชาการทางโลกมาเล็กน้อยแล้ว อาตมาจะขอกล่าวถึงรูปหรือเรื่งอวัตถุทางพระพุทธศาสนาใหท่านฟังดูบ้างว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงย่อยวัตถุทั้งหลายออกเป็นอย่างไร [/FONT]

    [FONT=&quot]พระองค์สอนว่า เม็ดข้าวสารเม็ดหนึ่ง เมื่อแยกออกเป็น ๗ ส่วน ส่วนหนึ่งนั้นจะเท่ากับหัวของเหา ใน ๑ หัวของเหานี้ย่อยออกไปอีก ๓๖ ส่วน ๑ ส่วนก็จะเป็น ลิกขา ๑ ลิกขานี้ย่อยออกไปอีก ๓๖ ส่วน ๑ ส่วนก็จะเป็น รถเรณู ๑ รถเรณูย่อยออกไปอีก ๓๖ ส่วน ก็จะเป็น ตัชเชรี ใน ๑ ตัชเชรีนี้ย่อยออกอีก ๓๖ ส่วนแล้ว ๑ ส่วน นั้นจะเป็น ๑ อณู และ ๑ อณูนี้ย่อยออกเป็น ๓๖ ส่วน ๑ ส่วนนั้นก็จะได้แก่ ๑ ปรมาณู [/FONT]

    [FONT=&quot]อาตมาไม่สามารถจะตอบได้ว่า [/FONT] [FONT=&quot]คำว่า ๑ ปรมาณูของทางวิทยาศาสตร์กับ ๑ ปรมาณูของธรรมะนั้น แตกต่างกันเท่าใด[/FONT][FONT=&quot]แต่ขอให้ท่านลองคูณดุว่า ทางธรรมะนั้นย่อยออกไปจากหัวของเหาจนถึงปรมาณูนั้น จะเป็นขนาดไหน ในขณะนี้เราไม่สามารถที่จะเห็นหรือถูกต้องได้แล้ว แต่ถึงกระนั้นก็ยังคงเป็นรูปอยู่ คือเป็น [/FONT] [FONT=&quot]รูปที่สุขุมละเอียดมาก[/FONT][FONT=&quot]และ นอกจากนี้พระองค์ยังแสดงต่อไปว่า ใน ๑ ปรมาณูนั้น ทุก ๆ ปรมาณูโดยมิได้ยกเว้นย่อมจะมีธาตุ ปถวี อาโป เตโช วาโย ได้แก่ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม [/FONT] [FONT=&quot](โปรดทำความเข้าใจในธาตุ ๔ ตามหลักพระพุทธศาสนาด้วย มิได้มีความหมายตรงไปตามตัวหนังสือ เช่น ธาตุน้ำ ก็ไม่ใช้น้ำที่เราดื่ม เพราะธาตุน้ำเป็นสุขุมรูป มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้เป็นต้น)แล้วยังมี วรรณะ คันธะ รสะ โอชะ คือ รูปร่างหรือสี มีกลิ่น มีรสและโอชะ (หมายถึงร่างกายย่อยให้เป็นประโยชน์ได้) ดังนั้น ๑ ปรมาณูจึงมี ๘ เรียกว่า อวินิพโภครูป ๘ และพระองค์ยังได้สอนต่อไปว่า ปรมาณูทั้งหลายเหล่านั้นหาได้ติดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่ แม้เราจะเห็นวัตถุใดเป็นแท่งทึบ ปรมาณูทุกปรมาณูย่อมถูกคั่นด้วย ปริเฉทรูป คือ ช่องอากาศหรือช่องว่าง นั่นคือ รูปทั้งหลายที่เราเห็นเป็นแท่งทึบนั้น แท้จริงมีรูปโปร่งโดยตรง [/FONT]

    [FONT=&quot]พระองค์ทรงสอนเรื่องปรมาณู ก็มิได้มีความปรารถนาจะสอนให้ศึกษาวิชาสรีรวิทยา หรือให้ทำลูกระเบิดปรมาณูเพื่อจะได้ทิ้งใส่กันพระองค์ปรารถนาจะชี้ให้ เห็นถึงความไม่แน่นอนคงทนของรูป เพราะย่อมเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะมิได้หยุดนิ่ง อย่าได้ยึดถือเป็นจริงเป็นจังมั่นคง และเพื่อไม่ให้หลงงมงายเชื่อเฉพาะที่ตามองเห็นเท่านั้น ถ้าเชื่อเพียงเท่านั้นก็จะได้ชื่อว่าโง่เขลา มองไม่เห็นความจริงของธรรมชาติ แล้วก็หาว่าธรรมชาตินั้นเจ้าเล่ห์เจ้ามายา และยิ่งกว่านั้น พระองค์ต้องการแสดงสภาวะของรูปเหล่านี้ว่า กรรมหรือตัณหาย่อมมีอานุภาพสร้างรูปอันประณีตนี้ในรูปของปรมาณู หรือในรูปของพลังงาน ในขณะที่ปฏิสนธิตั้งต้นขึ้นในภพใหม่ได้ด้วย แต่ส่วนจะสร้างรูปอะไรในภพใหม่ได้อย่างไรนั้น จะได้กล่าวต่อไป[/FONT]

    [FONT=&quot]ได้กล่าวมาแล้วว่า จิตนั้นเป็นธรรมชาติที่รับอารมณ์ มีอารมณ์อยู่เสมอ และอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นก็ด้วยเหตุต่าง ๆ กัน แต่สำหรับคนที่ใกล้จะตาย อารมณ์เกิดขึ้นในขณะใกล้ตาย เรียกว่า กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ คตินิมิตอารมณ์[/FONT]

    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. ผู้ใดทำกรรมอะไรไว้ ไม่ว่าจะเป็นดีหรือชั่วก็ตาม เมื่อทำไว้มาก ๆ กรรมเหล่านั้นก็มักจะกระทำกับจิตทำให้เกิดอารมณ์ขึ้น คือ ทำให้จิตได้สร้างเป็นมโนภาพ โดยอาศัยอานุภาพของกรรมในอดีตให้เป็นไปต่าง ๆ นานา เป็นต้นว่า ฆ่าสัตว์มาก ๆ ก็มักจะเห็นการฆ่าสัตว์ เช่น ยิงนก ตกปลา ทำบุญให้ทานมาก ๆ หรือรักษาศีล เจริญภาวนา ก็มักจะเห็นการทำบุญให้ทาน อารมณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็น กรรมอารมณ์[/FONT]

    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. บุคคลผู้ใกล้จะตายเห็นนิมิตต่าง ๆ อาจจะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ได้ เช่น เห็นอุปกรณ์การทำกุศลหรืออกุศลที่ตนได้เคยกระทำมา เห็นธงทิวเครื่องตกแต่ง หรือขบวนแห่บวชนาค ทอดกฐิน ซึ่งเป็นกุศล ทางฝ่ายอกุศลก็เป็น แห อวน มีด ไม้ เครื่องดักหรือจับสัตว์ เห็นเครื่องมือการพนันหรือคิดอะไรทำอะไรก็มองเห็นเป็นเลขท้าย ๓ ตัว อารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเรียกว่า กรรมนิมิตอารมณ์[/FONT]

    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. บุคคลผู้ใกล้ตาย เกิดนิมิตขึ้นเห็นถ้ำ เห็นเหว เห็นปล่อง เห็นการทรมานสัตว์ก็ดี หรือเห็นปราสาทราชวังที่ทำด้วยทอง เห็นราชรถอันวิจิตร บางทีไม่มีในเมืองมนุษย์ก็ดี อารมณ์ที่เกิดนี้เรียกว่า คตินิมิตอารมณ์[/FONT]

    [FONT=&quot]สัตว์ทั้งหลายขณะที่ใกล้จะจุติ คือ ตาย จะต้องเกิดอารมณ์ขึ้น ไม่กรรมก็กรรมนิมิต หรือคตินิมิตอันใดอันหนึ่ง สัตว์ที่จะตายจะไม่เกิดอารมณ์ขึ้นเลยนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าจะตายช้าหรือโดยทันที[/FONT][FONT=&quot]อย่างไร ก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะอารมณ์กรรมนั้น ๆ ย่อมเป็นกำลังงานอันสำคัญที่จะผลักดันให้เกิดการปฏิสนธิขึ้น กรรม กรรมนิมิต คตินิมิตนั้น เป็นอารมณ์ครั้งสุดท้ายในชาตินั้น ๆ ที่ทรงอิทธิ ทำให้มีภพชาติสืบต่อไป[/FONT]

    [FONT=&quot]อารมณ์ที่เกิดขึ้นครั้งสุดท้ายนี้ เป็นที่หมายได้แน่นอนว่าจะต้อไปเกิดตามที่ตนได้เห็น เหมือนเราทำแบบแปลนแผนผังไว้แล้ว ปลูกสร้างที่อยู่อาศัยตามแบบแปลนนั้น ๆ[/FONT][FONT=&quot]เช่น ผู้ที่จะไปเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเห็นครรภ์ของมารดา ผู้ที่จะไปเกิดยังเทวภูมิย่อมเห็นเทพยดา นางฟ้าหรือวิมาน ผู้ที่จะไปเกิดในนรกก็ย่อมเห็นการเผาผลาญสัตว์เห็นเปลวไฟ ผู้ที่จะไปเกิดเป็นเปรตก็เห็นปล่องเห็นหุบเขาอันตกอยู่ในความมืดมิด ผู้ที่จะไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ย่อมจะเห็นสัตว์หรือเห็นเชิงเขา ชายน้ำเป็นต้น ทุกคนก็มีจุดหมายปลายทางคือ ความตาย ไม่ว่าพระราชาหรือกระยาจก ไม่ว่าเทวดาหรือสัตว์นรก ไม่เลือกว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่ออันสำคัญสำหรับผู้ที่ฉลาดในเรื่องของชีวิตควรจะต้องศึกษาให้รู้ เมื่อเช่นนี้การศึกษาเรื่องความตายจึงเป็นการสมควรอย่างยิ่ง จะได้ชื่อว่าไม่ตกอยู่ในความประมาท เพราะศึกษาเล่าเรียนเรื่องความตายเสียให้เข้าใจดีแล้วก็ย่อมมีหวังอยู่เป็น อันมากที่จะไปเกิดในสุคติภูมิ [/FONT]

    [FONT=&quot]การมองดูคนไข้ที่ใกล้ตาย จะแสดงกิริยาอาการต่าง ๆ แม้จะทายที่ไปของผู้นั้นไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ก็จริง แต่ก็มีส่วนถูกเป็นอันมาก ด้วยการที่คนไข้เกิดอารมณ์ขึ้นเหมือนความฝัน ภาพนั้นย่อมชัดเจนแจ่มใสมาก จิตของคนไข้จะมีความยินดีหรือตกใจกลัวก็ย่อมจะมองเห็นจากการแสดงกิริยาอาการ ต่าง ๆ [/FONT] [FONT=&quot] เช่น ถ้าคนไข้เห็นนายนิรยบาลถือหอกโตเท่าลำตาล กำลังเงือดเงื้อจะพุ่งลงมาทรวงอก หรือเห็นน้ำทองแดงกำลังเดือดพล่านจะไหลเข้าในปาก หรือเห็นแร้งกา ๓ ตัวโต มีปากเป็นเหล็กกำลังจะฉีกเนื้อของตัวกิน หรือเห็นอสุรกายโตใหญ่ราวกับภูเขาดำทมิฬกำลังผ่านเข้ามาทำร้าย เมื่อคนไข้เห็นเช่นนี้ก็จะมีความตกใจก็จะต้องโอดครวญด้วยเสียงอันดัง ก็จะแสดงอาการหวาดหวั่นสะดุ้งกลัวอย่างน่าสงสาร หรือแลบลิ้นปลิ้นตาร้องโวยวายให้คนช่วย เช่นนี้อบายภูมิก็มีหวังได้ ถ้าคนไข้เห็นนิมิตที่ปรากฏนั้นเป็นพระเป็นเณร เห็นปราสาทราชวัง เห็นอาภรณ์อันประณีต เห็นคนรักษาศีลคนให้ทาน และคนไข้ก็ยิ้มย่องผ่องใสหน้าตาอิ่มเอิบหรือหัวเราะ เช่นนี้สุคติก็มีหวังได้[/FONT]

    [FONT=&quot] เมื่อเราเอื้อมมือไปหยิบอะไรอย่างหนึ่งบนโต๊ะที่อยู่ข้างหน้าตลอดเวลา ตั้งแต่เริ่มเคลื่อนมือไป จิตย่อมจะสั่งการโดยตลอด เหตุนี้เองถ้าหากมือที่เอื้อมไปนั้นยังไม่ถึงสิ่งของที่ต้องการ เกิดมีเสียงเอะอะขึ้นจิตก็จะสั่งให้หันไปดูที่เสียงนั้น มือที่เอื้อมก็จะค้างอยู่ คือ เกร็ง โดยทำนองเดียวกันนี้ [/FONT] [FONT=&quot]คนที่ใกล้จะตายเมื่อเกิดอารมณ์ขึ้นครั้งสุดท้าย จะเป็นยินดีหรือตกใจก็ตาม ก็ย่อมแสดงกิริยาท่าทางน่ากลัว หรือยิ้มแย้มทันที จุติจิต [/FONT][FONT=&quot] (ตาย) ก็เกิดขึ้น ซากศพของผู้นั้นก็ปรากฏอาการค้างอยู่ ซึ่งทำให้เราพอทายว่าจะไปสุคติ หรือทุคติ ได้เป็นส่วนมาก[/FONT]

    [FONT=&quot]พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแยกกรรมที่จะเป็นเหตุนำให้สัตว์ไปปฏิสนธิ ๔ ประการคือ[/FONT]

    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. ครุกกรรม (กรรมหนัก) ทางฝ่ายกุศล เช่น ทำฌาน ทางฝ่ายอกุศล เช่น ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ เป็นต้น กรรมนี้เป็นกรรมหนักมีกำลังมาก ดังนั้น เมื่อเวลาจุติคือตาย กำลังของกรรมนี้ก็จะเกิดขึ้นเป็นชนกกรรม นำไปสู่การปฏิสนธิ ไม่มีกรรมใดมาขัดขวางได้เพราะเป็นกรรมหนัก มีกำลังมากต้องให้ผลก่อน[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. อาสันนธรรม (กรรมใกล้ตาย) บุคคลใกล้จะตายจะได้รับอารมณ์อะไรก็ได้ที่เกิดขึ้นติดชิดกับความตาย เช่น ขณะนั้นเห็นพระพุทธรูป ได้ยินเสียงสวดมนต์ เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. อาจิณณกรรม (กรรมที่ทำอยู่เสมอ) ถ้าอาสันนกรรมมิได้ให้ผลแล้ว อาจิณณกรรมก็จะมาให้ผล ข้อนี้ก็คือบุคคลทั้งหลายย่อมกระทำกรรมอยู่เสมอ เมื่อเช่นนี้ กรรมที่กระทำอยู่เสมอนี้ก็มีโอกาสมากที่สุด จะกระทบจิตทำให้เกิดอารมณ์ขึ้นแล้วแต่อารมณ์นั้นจะเป็นกุศลหรืออกุศล[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. กตัตตากรรม (กรรมเล็กน้อย) ถ้ากรรมอื่น ๆ ทั้งหมดไม่ให้ผลแล้ว กรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะมาปรากฎในอารมณ์นำไปสูการปฏิสนธิได้[/FONT]
    [FONT=&quot]ทั้ง ๔ ข้อนี้ขอกล่าวแต่เพียงย่อ ๆ เพราะเกรงว่าจะเสียเวลาอ่านมากเกินไป[/FONT]

    [FONT=&quot]อารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาใกล้จะตายนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแยกออกเป็น ๒ คือ[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. มรณาสันนกาล[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]. มรณาสันนวิถี[/FONT]

    [FONT=&quot]จิตที่ขึ้นวิถีรับอารมณ์นี้ ท่านจะเห็นว่ามี ๑๗ ขณะใหญ่ จิตแต่ละดวงมีขณะเล็ก ๓ คือ อุปปาทขณะ ฐิติขณะ ภังคขณะ ฉะนั้นในวิถีหนึ่งก็มี ๕๑ ขณะเล็กใน ๑๗ ขณะใหญ่ หรือวิถีหนึ่งนี้เกิดดับวนเวียนอยู่เป็นอันมากจึงได้ยินครั้งหนึ่ง เพราะจิตเกิดดับรวดเร็วยิ่งนัก จนเราไม่สามารถจะจับจังหวะขาดได้เลย[/FONT]
    [FONT=&quot]ดังที่ได้กล่าวมานี้เรียกว่า [/FONT] [FONT=&quot]มรณาสันนกาล [/FONT] [FONT=&quot]คือ เวลาใกล้จะตาย คนไข้จะมีอารมณ์เสมอ ไม่ทวารใดก็ทวารหนึ่ง นอกจากจะถึงแก่วิสัญญี ได้แก่สลบไป มรณาสันนกาลนี้ อาจเป็นอยู่เร็วหรือช้าก็ได้ เช่น วินาทีหนึ่ง หรือสัปดาห์หนึ่ง หรือหลายสัปดาห์ คนไข้ที่อยู่ในเขตนี้มีโอกาสที่จะกลับคืนชีวิตขึ้นมาอีก เมื่อเหตุของความตายต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นยังไม่แสดงผล แต่ถ้าหากถึง [/FONT] [FONT=&quot] มรณาสันนวิถี[/FONT] คือ วิถีต่อมา อันเป็นวิถีสุดท้ายของชาตินี้ แล้วก็จะไม่มีหวังที่จะคืนชีพได้อีกเลย

    [FONT=&quot]ในขณะมรณาสันนกาลนี้ ถ้าเป็นเวลาหลายนาที หรือหลายวัน คนไข้ก็จะเกิดอารมณ์ต่าง ๆ ขึ้นอย่างสับสน กลับไปกลับมา ถ้าไม่มีครุกกรรม คือ กรรมอันหนักแล้ว ก็จะเป็นอาสันนกรรม คือ กรรมใกล้ ๆ ตายนั้น เช่น เห็นอะไร ได้ยินอะไร หรือผู้ดูแลคนไข้จะให้อารมณ์ เป็นต้นว่า เอาภาพวัดวาอารามหรือพระพุทธรูปมาให้ดู นิมนต์พระมาสวดมนต์ให้ได้ยิน บอกให้ระลึกถึงพระอรหันต์ ให้ระลึกถึงบุญกุศล หรือข้อธรรมะต่าง ๆ ถ้าเคยทำกรรมฐาน ก็ให้ทำสมถะ หรือ วิปัสสนากรรมฐาน ฯลฯ[/FONT]

    [FONT=&quot]ถ้าคนไข้เคยศึกษา หรือเคยสนใจในธรรมะมาก่อน การพูดเรื่องตายเรื่องเกิด หรือให้สติอะไรก็ได้ แต่ถ้าคนไข้ไม่ค่อยสนใจในธรรมะมาก่อน หรือคนไข้เป็นคนเหตุผลน้อย ชอบทำบุญให้ทานอย่างเดียว ไม่ชอบศึกษา หรือคนไข้มีความกลัวตายมากเป็นทุนอยู่แล้ว การให้สติดังกล่าว คนไข้รู้เท่าทันก็จะบังเกิดความตกใจหรือเสียใจว่าตัวจะต้องตาย หรือคิดว่าลูกหลานจะแช่งให้ตายเพื่อจะเอาสมบัติหรือเกิดความอาลัยเสียดาย ชีวิตขึ้นมา หรือเป็นห่วงทรัพย์สินเงินทอง เรือกสวนไร่นาที่ยังมิได้แบ่งปันส่วน เมื่อตายลงก็มีหวังไปสู่ทุคติ[/FONT]

    [FONT=&quot]ในขณะมรณาสันนกาลนี้ ถ้าคนไข้ทำอกุศลมามาก คนไข้ก็จะแสดงกิริยาอาการต่าง ๆ ที่น่ากลัว บางทีก็หลายวัน เพราะได้เห็นหรือได้ยินเสียง หรือจิตได้สร้างภาพอันน่าหวาดเสียวขึ้น ถ้าคนไข้มิได้ตกอยู่ในวิสัญญี คือ สลบหรือเข้าไปตกอยู่ในความหลง มีโมหะมากแล้วเราก็มีหวังจะแก้อารมณ์ได้โดยวิธีการต่าง ๆ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าคนไข้ขาดสติและหลงอยู่เสมอแล้ว ความหวังเช่นนั้นก็จะอยู่ห่างไกล หรือสิ้นหวังเอาเสียทีเดียว แต่ถึงอย่างไรก็ดี ผู้ที่พยาบาลคนไข้ที่มีใจอารี มีจิตเป็นกุศล ก็ย่อมจะพยายามจนสุดความสามารถ เพราะเสียสละเวลาเพียงเล็กน้อยนั้น อาจจะให้ประโยชน์อันมหาศาลแก่คนไข้ เขาย่อมไม่ให้เวลาอันเป็นนาทีทองเหล่านั้นสูญเสียไป[/FONT]

    [FONT=&quot]ในขณะมรณาสันนกาล อารมณ์ที่มักจะเกิดกับคนไข้ได้มากที่สุดก็คือ [/FONT] [FONT=&quot]อาจิณณกรรม[/FONT] ซึ่งได้แก่กรรมที่กระทำอยู่เสมอในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ กรรมที่ทำมาชำนาญเหล่านั้นก็มักปรากฏแก่คนไข้ เช่นเคยทำกุศลหรืออกุศลในทางใดเสมอ ๆ กรรมเหล่านั้นก็จะกระทบกับจิต ทำให้เห็นไปต่าง ๆ นานาเด่นชัด เหมือนว่าภาพนั้นเป็นจริงเป็นจังต่อหน้าต่อตาข้อนี้ขอให้ท่านเทียบกับ ความฝันของท่านในคืนวันที่ความฝันนั้นชัดเจนมาก ๆ เช่นเห็นการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เห็นวัดวาอาราม บางทีก็แสดงกิริยาอาการออกมาด้วย คนไข้จะยิ้มแย้ม จนหัวเราะ จะเอื้อมมือไขว่คว้าด้วยหน้าตาชื่นบาน ถ้าเป็นฝ่ายอกุศลก็จะเอะอะโวยวาย จะทำท่าทางถอยหนีด้วยความหวาดกลัว ถ้าตกเบ็ดล่อปลาชำนาญก็มักจะทำมือยก ๆ เหมือนยกคันเบ็ด ถ้าชอบชนไก่ก็มักจะเอาหัวแม่มือชนกันจนเลือดออก ถ้าชอบฆ่าหมูก็มักจะร้องอิ๊ด ๆ เป็นเสียงหมู ถ้าหมั่นฆ่าสัตว์อยู่บ่อย ก็มักจะเห็นสัตว์ เห็นเลือดไหลนอง เห็นภาพตัวเองอยู่ในกระทะน้ำร้อนที่กำลังเดือดพล่าน ถ้าชอบเล่นหวย ภาพหวย ก[FONT=&quot].ข. ก็จะปรากฏขึ้น[/FONT]

    [FONT=&quot]ขณะมรณาสันนกาลนี้ ถ้าคนไข้ไม่กลับฟื้นแล้วก็นับว่าเห็นหัวเลี้ยวหัวต่ออันสำคัญยิ่งของชีวิต เพราะอาจจะไปมีความสุขอย่างสุดแสนที่จะพรรณนา หรือได้รับทุกขเวทนาสาหัสก็ได้ ดังนั้น เราผู้ซึ่งยังไม่ถึงมรณาสันนกาล ก็เป็นการสมควรยิ่งนักที่จะไม่ประมาท จะต้องหมั่นกระทำอาจิณณกรรมที่เป็นฝ่ายกุศลเอาไว้ จะเป็นทำทาน รักษาศีล หรือเจริญกุศลภาวนาก็ได้ ถ้ายิ่งศึกษาธรรมะให้มาก ๆ ก็ยิ่งดี [/FONT]

    [FONT=&quot]ถ้าเดินทางไปยังที่ใดที่หนึ่งในเวลาค่ำคืนเดือน มืด ท่านก็จะต้องถือตะเกียงไปด้วย ท่านจึงจะเดินทางไปได้โดยสะดวก แต่ถ้าท่านเดินทางนี้บ่อย ๆ จนชำนาญเสียแล้ว ท่านก็ไม่จำเป็นต้องถือตะเกียงไป ท่านก็จะเดินไปได้ง่าย ๆ เกือบจะไม่ต้องคิดด้วยซ้ำว่าตรงไหนเป็นหลุมเป็นบ่อ หรือตรงไหนจะรกจะคดเคี้ยว มีก้อนอิฐก้อนหินอยู่ที่ไหนอย่างไร ท่านก็จะก้าวข้ามหลบหลีกและเลี้ยวไปได้คล่องแคล่วโดยไม่ต้องการแสงสว่าง ทั้งนี้เพราะทางนี้เป็นทางเดินสะดวกเสียแล้ว เหตุนี้ ผู้ที่มรณาสันนกาลยังมิได้มาถึง ผู้ที่มฤตยูยังไม่ได้เรียกร้องถามหา หรือผู้ที่เห็นภัยร้ายแรงในวัฏฏะก็ย่อมไม่ตกอยู่ในความประมาท เขาจะพยายามทำอาจิณณกรรมที่เป็นฝ่ายกุศลเข้าไว้ให้ชำนาญ ให้เป็นทางเดินสะดวกทุก ๆ คืน ก่อนจะนอนก็จะกราบพระเพื่อรักษาจิตที่กิเลสทั้งหลายได้เข้ามาเกลือกกลั้ว ตลอดวันมาแล้วให้สงบระงับเป็นสมาธิ จะตั้งจิตอธิษฐานขอให้พ่อ แม่ พี่ น้อง ครู อาจารย์ เพื่อนฝูง ไม่ว่าศัตรูหรือมิตรตลอดจนสัตว์ทั้งหลายจงอย่าเบียดเบียนซึ่งกันและกัน จงมีความสุขความเจริญ [/FONT] [FONT=&quot]ขณะ นี้จิตก็จะเป็นสมาธิ สะอาด บริสุทธิ์ขึ้น นิสัยเห็นแก่ตัวเพราะเป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งที่ติดมากับสัตว์ทั้งหลายก็จะ หยุดยั้งลงชั่วขณะหนึ่ง กุศลก็จะประทับลงไว้ในจิต ฝุ่นละอองสีดำคล้ำทั้งหลายที่เข้ามายึดกันไว้ก็ได้ถูกฝุ่นละอองสีขาว บริสุทธิ์แม้เพียงเล็กน้อยปะปนเข้าไป ทำให้ความคล้ำนั้นไม่มืดมิดสนิทจริง ๆ ต่อจากการแผ่ส่วนกุศลแล้ว[/FONT][FONT=&quot] ถ้าทำสมถะหรือวิปัสสนากรรมฐานต่อไปอีก ๑๐[/FONT][FONT=&quot]-๓๐ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง ก็จะเป็นประโยชน์มากที่สุดทั้งชาตินี้ชาติหน้า [/FONT]

    [FONT=&quot]ผู้ทำอกุศลมาก ๆ บางคนเมื่อได้ศึกษาเข้าใจในสภาวธรรมแล้ว ก็มักมีความเสียใจในอกุศลที่ตนทำแล้ว ๆ นั้น มักจะครุ่นคิดเป็นกังวลว่าตัวจะได้รับโทษภัยในขณะจะตายหรือชาติหน้า [/FONT] [FONT=&quot] การครุ่นคิดถึงเรื่องเช่นนั้นก็คือ เป็นการที่กำลังสร้างอกุศลขึ้นนั้นเอง เป็นการชักชวนอกุศล หรืออารมณ์อะไรที่ไม่เป็นที่พอใจหรือเจ็บใจ ที่เกิดแล้วดับแล้วให้เกิดขึ้นซ้ำเติมอยู่เรื่อย ๆ[/FONT][FONT=&quot]บาง คนชอบเอาเรื่องเสียใจครั้งเก่า ๆ มาสร้างรูปแบบใหม่แล้วคิดเสียใจอยู่ทุก ๆ วัน เป็นการสร้างอกุศล สร้างทางเดินสะดวกให้แก่จิตใจ จึงไม่ควรกระทำ อกุศลที่แล้วควรจะคิดขึ้นเพียงครั้งหนึ่งคราวเดียวเพื่อเป็นบทเรียนเท่านั้น จะต้องหักใจทำลายลงได้เด็ดขาด [/FONT] [FONT=&quot]ถ้าผู้ใดชอบคิดนึกอยู่จนชำนาญเสียแล้วจะเลิกได้ ยาก ก็สร้างอารมณ์ที่เป็นกุศลทับถมให้บ่อย ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ก็จะช่วยได้มากยิ่งกว่านั้นเหตุการณ์ข้างหน้าที่ยังมาไม่ถึง บางคนก็ชอบคิดวาดภาพที่ไม่ดีอยู่เรื่อย ๆ เช่นกลัวจะต้องถูกออกจากงาน กลัวจะอดอยาก กลัวครอบครัวจะเดือดร้อน กลัวเจ้านายจะดุ กลัวเพื่อนฝูงจะโกรธ กลัวจะอับอายขายหน้า กลัวคนรักจะทอดทิ้ง กลัวจะเจ็บป่วย ตลอดจนกลัวความตาย ทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์เหล่านั้นยังมาไม่ถึง และส่วนมากบางทีก็ไม่เกิดขึ้นเลย แต่เป็นเพราะตัวชอบสร้างภาพขึ้นเองจนชำนาญเป็นเหตุ[/FONT]

    [FONT=&quot]จริงอยู่ แม้ว่ามนุษย์จะฝังมั่นอยู่ในความกลัวทุกรูปทุกนามก็ตาม แต่ผู้ใดเข้าใจสภาวธรรม ผู้ใดมีศิลปะในการแก้ปัญหาของชีวิตอยู่บ้าง เรื่องเล็กน้อยที่จะทำอารมณ์ให้ขุ่นมัวก็ย่อมจะเกิดน้อย ยิ่งน้อยเท่าไรยิ่งดีเพราะเป็นการฝึกจิตให้เกิดทางเดินสะดวก [/FONT]

    [FONT=&quot]บางท่านอาจสงสัยว่า [/FONT] [FONT=&quot]ความสำคัญของคนที่จะตายนี้ก็ขึ้นอยู่ที่ตอนใกล้จะ ตาย ถ้าเช่นนั้นเราก็ทำชั่ว คดโกง คอร์รัปชั่น เบียดเบียนกันให้เต็มที่ แล้วภายหลังก็หมั่นสร้างอารมณ์แก้เสียก็สิ้นเรื่อง[/FONT]

    [FONT=&quot]สำหรับข้อนี้ถ้าเข้าใจธรรมะอยู่บ้างแล้ว ก็ไม่เป็นปัญหาอะไร เพราะรู้ว่า [/FONT] [FONT=&quot] กรรมที่ทำมาแล้ว ๆ นั้นมิได้สูญหายไปไหน จะต้องให้ผลในวันหนึ่งจนได้[/FONT][FONT=&quot]แต่ การที่คนได้กระทำความชั่วมาแทบล้มแทบตาย ครั้นเวลาจะดับจิตบังเอิญมาให้อารมณ์ที่ดีเข้าก็เลยไม่ต้องไปนรก ข้อนี้บางครั้งก็เป็นความจริงเพราะอารมณ์ที่เกิดขึ้นในบั้นปลายของชีวิตนั้น ก็เป็นกรรมเหมือนกันและกรรมนั้นเป็นผู้ส่ง แต่อารมณ์ที่เกิดขึ้นเล็กน้อยนี้ก็จะนำไปสู่สุคติได้ในเวลาไม่มาก [/FONT] [FONT=&quot] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงแสดงตัวอย่างไว้เป็นอันมากในเรื่อง นี้ แต่อย่างไรก็ดีเราจะต้องแก้อารมณ์คนใกล้จะตายให้ดี ถึงแม้ว่าจะไปรับกรรมนั้นในเวลาอันสั้น เพราะอาจไปเกิดเป็นแมวไม่นานเท่าไรตายก็จริง แต่ทว่าแมวนั้นก็จะไปสร้างอกุศลกรรมจับหนูกินอยู่ตลอดเวลาชั่วชีวิตของมัน เพิ่มอกุศลเข้าอีก[/FONT]
    [FONT=&quot] อาตมาได้กล่าวรายละเอียดอันเป็นส่วนปลีกย่อยมากเกินไปสักหน่อย แต่คิดว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ยังมิได้ศึกษาธรรมะมาจริง ๆ บ้าง ที่ได้กล่าวมาเป็นเรื่องในเขตมรณาสันนกาล บัดนี้ก็ได้แสดงถึงมรณาสันนวิถีที่อยู่ติดกับความตาย ว่าขณะนั้นจิตทำงานกันอย่างไร คนเราทำไมจึงตาย ขณะจุติและปฏิสนธิมีความพิสดารอย่างไรบ้าง[/FONT]

    [FONT=&quot]ได้กล่าวมาแล้วว่า[/FONT][FONT=&quot]มรณา สันนกาล[/FONT][FONT=&quot] คือ เวลาใกล้กับความตายอาจจะไปหลายวันก็ได้ คนไข้อาจจะหนักบ้างเบาบ้างหรือสลบไปบ้าง ต่อมาในตอนปลายของมรณาสันนกาล กำลังของจิตและรูปเริ่มจะอ่อนลงมากที่สุด บัดนี้คงจะมีปัญหาเกิดขึ้นว่า [/FONT] [FONT=&quot] จิตและรูปอ่อนลงมากนั้น [/FONT] [FONT=&quot] เพราะเหตุใด ได้แสดงมาแล้วตอนต้น ๆ ว่า การที่รูปของเรายังยืนหยัดเป็นรูปอยู่ได้นั้น ส่วนหนึ่งก็เพราะกัมมชรูป คือ รูปอันเกิดแต่กรรมรักษาเอาไว้ ในที่นี้อาตมาจะไม่บรรยายให้ละเอียดนัก เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องกว้างใหญ่จะต้องใช้เวลามาก จะขอกล่าวไว้พอได้เห็นบ้าง และในตอนต่อไปเมื่อถึงรูปวิถีก็จะได้กล่าวเรื่องกัมมชรูป คือ กรรมสร้างรูปขึ้นได้อย่างไรเพิ่มเติมอีก[/FONT]

    [FONT=&quot]ถ้าท่านดูตามภาพแล้วจะเห็นว่า จิตจะเกดขึ้นรับอารมณ์นั้น วิถีหนึ่งมี ๑๗ ขณะใหญ่ และ ๕๑ ขณะเล็ก เมื่อจิตเกิดขึ้นรับอารมณ์ ๑๗ ขณะดับลงแล้ว รูปก็จะดับ ๑ ขณะ เพราะรูปดับช้ากว่าจิตมาก เป็นอยู่เช่นนี้ตลอดไป [/FONT]

    [FONT=&quot]ได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่ตอนต้น ๆ ว่า จิตมิใช่ มันสมอง ทั้งจิตก็มิได้อาศัยอยู่ในสมอง มันสมองเป็นเพียงทางแสดงออกของจิตเท่านั้น แท้จริงจิตอยู่ภายในช่องหนึ่งของหัวใจทีสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายนั้นเอง คือ หทัยวัตถุ ที่อาศัยของจิตเป็นบ่อเล็ก ๆ โตเท่าเม็ดบุนนาค และมีน้ำสีต่าง ๆ ๖ สี ประมาณ ๑ ฟายมืออันเป็นการแสดงจริตหรืออุปนิสัยของผู้นั้น ข้อนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้มาก ท่านผู้ใดสงสัยไปถามอาตมาได้ยินดี[/FONT]

    [FONT=&quot]ที่ตั้งที่อาศัยอยู่ของจิต [/FONT] [FONT=&quot](มิใช่กล้ามเนื้อหัวใจทั้งหมด)[/FONT][FONT=&quot] นั้นประกอบขึ้นมาได้ด้วยกำลังของกรรม [/FONT] [FONT=&quot] กรรมที่เคยกล่าวมาแล้วว่าไม่มีรูปร่างหน้าตาตัวตนนั่นเอง ได้สร้างที่ตั้งอาศัยของจิต เรีย กัมมชรูป และกำลังของกรรมก็ปกปักรักษารูปนี้ไว้ตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ ถ้ากรรมมิได้รักษาที่ตั้งที่อาศัยของจิตไว้แล้ว จิตก็ไม่อาจตั้งอยู่ได้ ผู้นั้นก็จะถึงแก่ความตายทันที [/FONT] [FONT=&quot]สันนกาลตอนท้าย ๆ กัมมชรูปทำให้หทัยวัตถุ คือ รูปอันเป็นที่ตั้งอาศัยของจิตอ่อนกำลังลงเต็มที ที่ตั้งที่อาศัยหมดกำลังที่ทรงตัวอยู่ด้วยดีเหมือนกับรถไฟที่กำลังวิ่งมา ขณะที่ถึงสะพานข้ามแม่น้ำ สะพานข้าแม่น้ำชำรุดเสียแล้ว ดังนั้นรถไฟก็จะต้องชะลอฝีจักรลง มิฉะนั้นก็จะตกจากสะพานลงไป[/FONT][FONT=&quot] ขณะนี้ใกล้จะถึงความตายมาก คนไข้ถูกโมหะครอบคลุม ขาดสติ ความรู้สึกของคนไข้จาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย อาจจะหมดลงและเมื่อถึงท้ายวิถีของมรณาสันนกาล กัมมชรูปก็เริ่มจะดับ คือ ตามธรรมดา กัมมชรูปย่อมจะดับ และเกิดทดแทนกันอยู่ทุกขณะจิต ครั้นแต่ถึงปฐม ภวังค์ของมรณาสันนวิถีไปจนถึงจุติ กัมมชรูปจะดับโดยไม่มีการเกิดทดแทนอีกเลย เมื่อถึงจุติติดกันนั้นก็ปฏิสนธิ ต่อจากนั้นจิตก็เป็นภวังค์[/FONT]

    [FONT=&quot]กำลังของกรรมที่ส่งให้ไปปฏิสนธินั้น สืบเนื่องมาแต่มรณาสันนกาล [/FONT] [FONT=&quot] เช่น ได้ยินเสียงพระสวดมนต์ จิตก็รับอารมณ์สวดมนต์ในมรษาสันนกาลเป็นตัวส่งให้ไปปฏิสนธิ เพราะยังมีกำลังมากกว่า ส่วนในมรณาสันนวิถีเป็นแต่รับอารมณ์กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต มาจากมรณาสันนกาลแล้วสืบต่อไปจนถึงจุติเท่านั้น และเพราะเหตุที่กัมมชรูปเริ่มดับโดยไม่เกิดอีกมาตั้งแต่ภวังค์ดวงที่ ๑ ในมรณาสันนวิถีจนถึงดวงที่ ๑๗ จุติ คือ ดับหรือตายจึงได้เกิดขึ้น เพราะไม่สามารถจะตั้งอยู่ได้อีกต่อไป ทิ้งแต่ซากศพเอาไว้[/FONT]

    [FONT=&quot]ที่ได้กล่าวมาแล้ว คนเราจะมีชีวิตอยู่หรือจะตายก็ตาม จิตย่อมเกิดดับสืบต่อกันไปอยู่เช่นนี้ตามธรรมชาติ [/FONT] [FONT=&quot] ข้อที่แปลกสักหน่อยก็อยู่ที่จุติเกิดขึ้น คือ จิตดับลงแล้วก็พ้นจากชาติเก่าร่างเก่าเท่านั้น ในทันทีนั้นก็ปฏิสนธิเลย ได้แก่การเกิดขึ้นติดต่อกันด้วยความรวดเร็วมาก โดยมิให้มีอะไรมาคั่นกลางเหมือนกับจิตที่เกิดดับอยู่ตามธรรมดานั้นเอง [/FONT] [FONT=&quot] ด้วยเหตุนี้ คำว่าจิตล่องลอยไปเกิดก็ดี หรือจิตท่องเที่ยวไปตามอำนาจของกรรมที่ดี จึงได้ชื่อว่าเป็นความเห็นผิด[/FONT]
    [FONT=&quot]การที่ผู้ตายไปสู่สุคติหรือทุคตินั้นก็แล้วแต่ กรรม แล้วแต่อารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะใกล้จะตาย[/FONT][FONT=&quot] ดังนั้น ผู้ดูแลคนไข้ที่ฉลาดในเรื่องของชีวิต และมีเมตตากรุณาจึงยอมเสียเวลา สละประโยชน์อันจะพึงได้อื่น ๆ มาช่วยเหลือให้สติแก่คนไข้ด้วยความระมัดระวัง ถ้าคนไข้ได้เคยศึกษาธรรมะ ได้เคยพูดเรื่องตายมาเสมอ ๆ โดยความไม่ประมาทแล้ว การให้สติแก่คนไข้ก็ง่ายมาก แต่ถ้าคนไข้ไม่เข้าใจธรรมะเลยแล้ว[/FONT]

    [FONT=&quot]การมีเจตนาให้สติด้วยความหวังดีจะกลับเป็นร้ายไป คนไข้บางคนพูดเรื่องตายไม่ได้ ใจไม่สบายทันที เราก็จำเป็นต้องหาเรื่องอันเป็นกุศลอื่น ๆ ที่คนไข้ชอบ คนไข้บางคนได้ยินการให้สติก็ทราบว่าตัวนั้นใกล้จะตาย ก็เกิดมีความเสียใจเสียดายชีวิตเป็นกำลัง มีความหวาดหวั่นต่อความตายอย่างสุดแสน หรือคนไข้บางคนได้ยินคำว่าให้ระลึกถึงพระอรหันต์ไว้ก็มีความโกรธแค้น โดยคิดว่าลูกหลานจะมาแช่งให้ตาย เพราะจะได้แบ่งทรัพย์สมบัติเหล่านี้นับว่าเป็นทางนำไปสู่อบายทั้งนั้น ขณะที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อเช่นนี้จะต้องระมัดระวังให้จงหนัก[/FONT]

    [FONT=&quot]การให้อารมณ์ที่ดีแก่คนไข้ก็มีมากมายแล้วแต่จะคิด [/FONT] [FONT=&quot] เช่น นิมนต์พระมาสวด หาพระพุทธรูปมาตั้งให้คนไข้เห็น เล่าธรรมะหรือเรื่องอันเป็นกุศลต่าง ๆ สำหรับผู้ที่ศึกษาพระอภิธรรมมาดีแล้วก็เป็นการง่ายดาย เขาจะหาอารมณ์ที่ดีที่สุดของเขาเองได้เป็นส่วนมากมาตั้งแต่ต้น เพราะเขาย่อมรู้ว่าขณะนั้นสำคัญอย่างไร และรู้ว่า ความตายนั้นเป็นเรื่องสมมุติกันเท่านั้นเอง จิต เจตสิก รูป ก็สืบต่อไปยังภพใหม่ชาติใหม่ ไม่เห็นจะแปลกประหลาดพิสดาร น่าหวาดหวั่นอะไรสักกี่มากน้อย จะได้ยกตัวอย่างคนใกล้จะตายคืออยู่ใน มรณาสันนกาลเป็นเวลาหลายวันสักเรื่องหนึ่ง[/FONT]

    [FONT=&quot]ชายผู้นี้เป็นคนจีน อายุราว ๕๐ ปี ชอบฆ่าสัตว์อย่างทรมานเป็นประจำ สุนัขของใครเพ่นพ่านเข้ามาต้องโดนตีตาย หรือโดนยาเบื่อ ถ้าไม่มีสุนัขของใครเข้ามา บางทีก็อุตส่าห์เอายาเบื่อไปวางถึงถนนหลวงช่วยกระทรวงสาธารณสุข สัตว์ที่ใช้กินเป็นอาหาร ก็ชอบฆ่าสัตว์ สด ๆ ร้อน ๆ เช่น จะกินปลาก็ต้มน้ำให้เดือดแล้วเอาปลาเป็น ๆ ใส่ลงไป ฟังเสียงมันดิ้นด้วยความร้อนรนเหมือนได้ฟังเสียงดนตรีอันไพเราะ บางทีก็เอาปลาลงไปทอดแล้วกดให้แน่น มองเห็นตาของปลาแจ๋วแหว๋ว กล้ามเนื้อด้านบนยังเต้นอยู่ไปมา ถ้าไก่ตัวใดเป็นโรคระบาด เขาจะติดไฟเตาถ่านให้ลุกแดงแล้วจับรวบขาทั้งสองเอาศีรษะปักกดลงไปในเตาอัน ร้อนระอุนั้นทีละตัว ๆ จนกว่าจะหมด เป็นเคล็ดที่จะแก้โรคระบาด อาชีพของเขาฝืดเคืองลงมามาก ต้องทำงานหนักอยู่ตลอดเวลา[/FONT]

    [FONT=&quot]ต่อมาที่เขาจะตายนั้นเขาเริ่มเป็นบ้าที่ละน้อย กลางวันชอบนอนตากแดดเสมอ กลางคืนตี ๑ ตี ๒ ก็ชอบลงไปลอยคออยู่ในน้ำ ปลิงเกาะกัดโลหิตไหลโทรม เป็นอยู่เช่นนี้วันละหลายหนที่พวกเราจะต้องช่วยกันจับ เขาชักดิ้นชักงออยู่ครั้งละนาน ๆ อาหารกินได้น้อยที่สุด ญาติพี่น้องก็ไม่เอาใจใส่ เราคนภายนอกมีจิตเมตตาช่วยกันเอง ก่อนเมื่อจะตายนั้นตลอด ๓ วัน ๓ คืน ตัวกระดุกกระดิกไม่ได้เลย อาหารและน้ำอาศัยพวกเราหยอดให้ ตาพองแข็งอยู่ตลอดเวลา หายใจรัว ๆ แสดงว่ายังไม่ตาย ขณะนี้คงอยู่ในมรณาสันนกาล ถ้าว่าตามหลักแล้ว กิริยาอาการที่เป็นมาแต่ต้นชวนให้เห็นว่าได้อารมณ์ที่ไม่ดีที่หน้าแสดงความ หวาดเสียวอยู่ตลอดเวลา แต่ร้องไม่ออก บุคคลผู้นี้ขอให้ท่านทายว่าตาย แล้วจะไปไหน[/FONT]

    [FONT=&quot]ในขณะ[/FONT][FONT=&quot]มรณา สันนกาล[/FONT][FONT=&quot]นั้น คนไข้ยังมีความรู้สึกตัวอยู่นอกจากจะอยู่ในวิสัญญี คือสลบ แต่แม้ว่าจะมีความรู้สึกทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ก็ดี แต่มีกำลังอ่อนมาก การที่มีกำลังอ่อนมากนั้น ก็เพราะว่ากัมมชรูปคือ รูปอันเกิดจากกรรมเป็นผู้สร้าง ได้แก่รูปอันเป็นที่ตั้งของจิตนั่นเอง และเมื่อรูปอันเป็นที่ตั้งของจิตมีกำลังน้อย การแสดงออกของจิตก็อ่อนกำลังลงไป แต่เมื่อถึงมรณาสันนวิถี วิถีสุดท้ายที่ติดกับความตายแล้วคนไข้จะไม่รู้สึกจากทวารทั้ง ๕ เลย ไม่ว่าจะทุบตีหรือเอาไฟไปเผา แต่อย่างไรก็ดี การให้สติแก่คนไข้ก็ต้องเริ่มให้กันตั้งแต่ตอนต้น ๆ ของมรณาสันนกาลก็ยิ่งดี ในขณะที่สติของคนไข้ยังดีอยู่ อารมณ์นั้นจะได้สืบต่อไปจนถึงจุติ[/FONT]

    [FONT=&quot]ทันที่ที่จุติ [/FONT] [FONT=&quot](ตาย) เกิดขึ้น ปฏิสนธิก็สืบต่อกันไม่ขาดสายเหมือนน้ำที่ไหลติดต่อกันในลำธาร ไม่มีอะไรมาคั่นกลางเลย แม้ว่าจะตายที่นี่แล้วไปเกิดที่เชียงใหม่ เพราะจิตเกิดดับรวดเร็วยิ่งนัก ลัดนิ้วมือเดียวถึงแสนโกฏิขณะ ฉะนั้นทันทีที่จุติเกิดขึ้น จิตที่สืบติดต่อกันนั้นก็ต้องพ้นปฏิสนธิจิตด้วยอำนาจของกรรมเป็นตัวส่ง[/FONT]




    [FONT=&quot]http://www.dharma-gateway.com/monk-preach-index-page.htm

    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...