แจกไฟล์บทเรียน''พระอภิธัมมัตถสังคหะทางไปรษณีย์ '' บทที่ 1-10 ครับ

ในห้อง 'แจกฟรี' ตั้งกระทู้โดย Kritpet, 25 มกราคม 2010.

  1. Kritpet

    Kritpet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +188
    [​IMG]

    ประโยชน์จากการศึกษาพระอภิธรรม
    ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษาพระอภิธรรมมีอยู่มากมายหลาย ประการ แต่ที่สาคัญมีโดยสังเขปดังนี้

    ๑. การศึกษาพระอภิธรรมจะทาให้เข้าถึงแก่นของพระพุทธศาสนา เพราะพระอภิธรรมเกิดจากพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์ การเข้าถึงพระอภิธรรมจึงเท่ากับเข้าถึงพระปัญญาคุณของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง

    ๒. การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือศึกษาธรรมชาติการทางานของ กายและใจซึ่งเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลายเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องจิต ( วิญญาณ), เรื่องเจตสิก, เรื่องอานาจจิต, เรื่องวีถีจิต, เรื่องกรรมและการส่งผลของกรรม, เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด, เรื่องสัตว์ในภพภูมิต่างๆ และเรื่องกลไกการทางานของกิเลส ทาให้รู้ว่าชีวิตของเราในชาติปัจจุบันนี้มาจากไหนและมาได้อย่างไร มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย เมื่อได้คาตอบชัดเจนดีแล้วก็จะรู้ว่าตายแล้วไปไหนและไป ได้อย่างไร อะไรเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างชาตินี้กับชาติหน้า ทาให้หมดความสงสัยว่าตายแล้วเกิดอีกหรือไม่ นรก สวรรค์ มีจริงไหม ทาให้มีความเข้าใจเรื่องกรรมและการส่งผลของกรรม(วิบาก) อย่างละเอียดลึกซึ้ง

    ๓. ผู้ศึกษาพระอภิธรรมจะเข้าใจเรื่องของปรมัตถธรรม หรือสภาว ธรรมอันจริงแท้ตามธรรมชาติ ในพระอภิธรรมจะแยกสภาวะออกให้เห็น ว่าทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลอะไรทั้งนั้น คงมีแต่สภาวธรรม คือ จิต เจตสิก รูป ที่วนเวียนอยู่ในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โดยอาศัยเหตุ อาศัยปัจจัยอุดหนุนซึ่งกันและกัน เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นใหม่แล้วก็ดับ ไปอีก มีสภาพเกิดดับอยู่เช่นนี้ตลอดเวลานานแสนนานไม่รู้กี่แสนชาติ กี่ ล้านชาติมาแล้วที่สืบต่อกันอยู่เช่นนี้โดยไม่รู้จักจบจักสิ้น แม้ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม สภาวธรรมทั้ง ๓ นี้ก็ทางานอยู่เช่นนี้โดยไม่มีเวลาหยุดพักเลย สภาวธรรมหรือธรรมชาติเหล่านี้มิใช่เกิดขึ้นจากพระผู้เป็นเจ้า พระพรหม พระอินทร์ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ เป็นผู้บันดาลหรือเป็นผู้สร้าง แต่สภาวธรรมเหล่านี้เป็นผลอันเกิดมาจากเหตุ คือ กิเลสตัณหานั่นเองที่เป็นผู้สร้าง

    ๔. การศึกษาพระอภิธรรมจะทาให้เข้าใจสภาวธรรมอีกประการหนึ่ง อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาที่ต้องการให้เข้าถึงนั่นก็คือ นิพพานนิพพาน หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา ผู้ที่ปราศจากกิเลส ตัณหาแล้วนั้น เมื่อสิ้นชีวิตลงก็จะไม่มีการสืบต่อของจิต+เจตสิก และ รูปอีกต่อไป ไม่มีการสืบต่อภพชาติ หยุดการเวียนว่ายตายเกิด พ้นจากทุกข์ทั้งปวงโดยสิ้นเชิง จึงกล่าวว่านิพพานเป็นธรรมชาติที่ปราศจากกิเลส ตัณหา เป็นธรรมชาติที่ดับทุกข์โดยสิ้นเชิงและเป็นธรรมชาติที่พ้นจากขันธ์ ๕ นิพพานมิใช่เป็นแดนสุขาวดีที่เป็นอมตะและเพียบพร้อมด้วยความสุขล้วนๆ ตลอดนิรันดร์กาลตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ

    ๕. การศึกษาพระอภิธรรมจะทาให้เข้าใจคาสอนที่มีคุณค่าสูงสุดใน พระพุทธศาสนา เพราะแค่การให้ทาน รักษาศีล และการเจริญสมาธิก็ยังมิใช่ คาสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนาเนื่องจากเป็นเหตุให้ต้องเกิดมารับ ผลของกุศล

    เหล่านั้นอีก ท่านเรียกว่าวัฏฏกุศล เพราะกุศลเหล่านี้ยังไม่ทาให้ พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด คาสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔ เพื่อให้เห็นว่า ทั้งนามธรรม (จิต+เจตสิก) และรูปธรรม (รูป) มีสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ ได้ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ มีการเกิดดับ ๆ ตลอดเวลา หาแก่นสาร หาตัวตน หาเจ้าของไม่ได้เลย เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้แล้วก็จะนาไปสู่การประหาณกิเลสและเข้าถึงพระนิพพาน ได้ในที่สุด

    ๖. การศึกษาพระอภิธรรม จะทาให้เข้าใจเรื่องอารมณ์ของวิปัสสนา ซึ่งต้องมีนามธรรม (จิต+เจตสิก )และรูปธรรม (รูป) เป็นอารมณ์ เมื่อกาหนด อารมณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ถูกต้อง การปฏิบัติก็ย่อมได้ผล ตามที่ต้องการ

    ๗. การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการสั่งสมปัญญาบารมีที่ประเสริฐที่สุด ไม่มีวิทยาการใดๆ ในโลกที่ศึกษาแล้วจะทาให้เกิดปัญญารู้แจ้งโลกได้เท่ากับ การศึกษาพระอภิธรรม

    ๘. การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการช่วยกันรักษาหลักธรรมคาสอนของพระพุทธองค์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังและเป็นการช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนา ให้มั่นคงถาวรตลอดไป


    Link ที่เกี่ยวข้องครับ http://www.buddhism-online.org/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • section1.pdf
      ขนาดไฟล์:
      315.9 KB
      เปิดดู:
      5,238
    • section2.pdf
      ขนาดไฟล์:
      505.3 KB
      เปิดดู:
      1,450
    • section3.1+3.2.pdf
      ขนาดไฟล์:
      607.4 KB
      เปิดดู:
      989
    • section4.pdf
      ขนาดไฟล์:
      773.9 KB
      เปิดดู:
      3,420
    • section5.1.pdf
      ขนาดไฟล์:
      792.5 KB
      เปิดดู:
      1,508
    • section5.2.pdf
      ขนาดไฟล์:
      851.8 KB
      เปิดดู:
      1,610
    • section6.1.pdf
      ขนาดไฟล์:
      700.6 KB
      เปิดดู:
      1,502
    • section6.2.pdf
      ขนาดไฟล์:
      887.3 KB
      เปิดดู:
      1,428
    • section7.1.pdf
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      1,426
    • section7.2.pdf
      ขนาดไฟล์:
      1 MB
      เปิดดู:
      1,543
    • section8.1.pdf
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      1,807
    • section8.2.pdf
      ขนาดไฟล์:
      499.2 KB
      เปิดดู:
      1,774
    • section8.3.pdf
      ขนาดไฟล์:
      831.2 KB
      เปิดดู:
      2,878
    • section8.4.pdf
      ขนาดไฟล์:
      570.4 KB
      เปิดดู:
      1,821
    • section9.1.pdf
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      1,421
    • section9.2.pdf
      ขนาดไฟล์:
      993 KB
      เปิดดู:
      1,270
    • section9.3.pdf
      ขนาดไฟล์:
      883.8 KB
      เปิดดู:
      2,857
    • section10.pdf
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      1,146
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...