เว็บพลังจิต ศรัทธาคือขุมทรัพย์อันยิ่งใหญ่ในพระพุทธศาสนา คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย ชนะ สิริไพโรจน์, 16 มีนาคม 2010.

  1. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>สมเด็จองค์ปฐม ศูนย์พุทธศรัทธา</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>ศรัทธาคือขุมทรัพย์อันยิ่งใหญ่ในพุทธศาสนา</CENTER>เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖ ก.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนไว้ดังนี้<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    ๑. จงหมั่นสร้างความศรัทธาและเลื่อมใสในธรรมให้เกิดแก่จิตของตนเองเข้าไว้ ด้วยการพิจารณาเห็นคุณประโยชน์
    ของสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน จักได้มีกำลังเสริมสร้างอิทธิบาท ๔ ให้เข้มข้นขึ้นในจิต และจักเห็นคุณค่าของพระธรรมนั้น ๆ<O:p></O:p>
    ๒. ตถาคตและพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ก็ต่างอาศัยความศรัทธาและเลื่อมใสเป็นกำลัง พิจารณาวิโมกขธรรม
    และนำ ธรรมนั้นไปสอนแก่ผู้มีศรัทธาและเลื่อมใสเท่านั้น มรรคผลจึงจักเกิดขึ้นได้<O:p></O:p>
    ๓. เพราะฉะนั้น เจ้าจงศึกษากำลังศรัทธา และเลื่อมใสของจิตที่มีต่อพระธรรมให้ดี ๆ และดูศึกษากำลังศรัทธาและเลื่อมใส
    ในพุทธศาสนาของบุคคลภายนอกด้วย อย่าขัดศรัทธา หรือทำลายความเลื่อมใสของเขาเป็นอันขาด
    จงส่งเสริมและสนับสนุนบุคคลเหล่านั้น เพื่อเป็นกำลังให้พระศาสนาต่อไป<O:p></O:p>


    <CENTER>ข้อคิดจากพระธรรม</CENTER>เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ก.ค. ๒๕๓๖ มีข้อคิดจากพระธรรมดังนี้<O:p></O:p>
    ๑. ศูนย์ปฏิบัติพระกรรมฐาน มี ๒ แห่ง คือ ภายนอกกับภายใน ภายนอก หมายถึงศูนย์ทั่ว ๆ ไป
    ส่วนใหญ่อยู่ตามวัดและบ้านคน รวมทั้งสถานที่ต่าง ๆ ที่สมมุติขึ้นมา ภายใน มีอยู่ที่จิตของเราทุก ๆ คน
    คือ จิตตานุปัสสนามหาสติปัฎฐาน ท่านแนะให้ดูอารมณ์ของจิตตนเองอย่างเดียว
    จุดนี้แหละคือศูนย์การปฏิบัติพระกรรมฐานที่แท้จริง ที่พระพุทธเจ้าต้องการให้พวกเราปฏิบัติ
    เพราะมีอยู่แล้วทุก ๆ คนที่ตัวเรา ทรงหมายถึงกายกับจิต พระพุทธองค์ทรงตรัสสอน ๘๔,๐๐๐ บท
    ก็ล้วนอยู่แค่กายกับจิตเท่านั้น จึงเสมือนเรามีตู้พระไตรปิฎกอยู่แล้วทุกคน
    แต่ขาดปัญญาที่จะศึกษาปฏิบัติให้พบความจริง คือ อริยสัจ เท่านั้น <O:p></O:p>
    ๒. จุดมุ่งหมายของศูนย์นี้ ก็เพื่อมุ่งตัด สักกายทิฎฐิ ซึ่งแปลว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกาย
    ตัดได้ก็จบกิจในพุทธศาสนา<O:p></O:p>
    ๓. วิธีปฏิบัติ ก็มุ่งตรงตัดด้วย ศีล สมาธิปัญญา (อริยมรรค ๘) ทาน ศีล ภาวนา (ปฏิบัติบูชา) และโอวาทปาฏิโมกข์
    (ละชั่ว ทำดี ทำจิตให้ผ่องใสอยู่เสมอ) สิ่งใดที่ขัดต่อหลักปฏิบัติดังกล่าวแล้ว จงอย่าทำ<O:p></O:p>
    ๔. จงพร้อมอยู่ในความไม่ประมาทตลอดเวลาเผลอเมื่อไหร่ประมาทเมื่อนั้น<O:p></O:p>
    ก็ขอจบสั้น ๆ แค่นี้ เพราะรายละเอียดมีมากสุดประมาณ แค่ไม่ประมาทอย่างเดียวก็จบพระไตรปิฎกแล้ว<O:p></O:p>


    <CENTER>พรหมวิหาร ๔</CENTER>
    <O:p></O:p>


    เมื่ออาทิตย์ที่ ๑๖ พ.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องพรหมวิหาร๔ ให้ มีความสำคัญ ดังนี้<O:p></O:p>
    ๑. จงมองหาความพอดีของร่างกายให้พบ และประการสำคัญ มองหาความพอดีของจิตให้พบเช่นกัน โดยอาศัยมัชฌิมาปฏิปทาเป็นทางสายกลาง อันไม่เบียดเบียนทั้งกายและจิตของตนเองเป็นหลัก<O:p></O:p>
    ๒. จงมีพรหมวิหาร ๔ เป็นพื้นฐานของศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นในจิตของตน เจริญพรหมวิหาร ๔ อยู่เนือง ๆ เพื่อเป็นกำลังเลี้ยงศีล สมาธิ ปัญญา ให้ทรงตัว ที่เจ้าอึดอัดขัดข้องกายและจิตอยู่นี้ เพราะพรหมวิหาร ๔ อ่อนเกินไป ขอให้ศึกษาทบทวนพรหมวิหาร ๔ ให้เป็นที่เข้าใจยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วย<O:p></O:p>
    ๓. บุคคลใดขาดพรหมวิหาร ๔ ในจิตและกายของตน บุคคลนั้นยากที่จักทำความเพียรให้บรรลุมรรคผลขั้นสูงสุด ได้ยาก<O:p></O:p>
    ๔. ขาดพรหมวิหาร ๔ ในจิตและกายของตน อารมณ์ก็จักมีแต่ความเร่าร้อน หาความสงบระงับมิได้ ให้หมั่นศึกษาพรหมวิหาร ๔ ดู และให้คิดพิจารณาทบทวนถึงเหตุผลของการมีและไม่มีพรหมวิหาร ๔ ด้วย อย่าศึกษาเพียงแค่อ่านและใช้สัญญารู้เพียงแค่ตัวหนังสือหยาบเกินไป ผลไม่เกิด<O:p></O:p>
    ๕. อ่านทบทวนแล้วพิจารณาได้ผลอย่างไร เข้าใจว่าอย่างไรในพรหมวิหาร ๔ นี้ ก็ให้ลงบันทึกไว้ด้วย ซักซ้อมจิตให้มีอารมณ์เกาะพรหมวิหาร ๔ เข้าไว้<O:p></O:p>
    ๖. พรหมวิหาร ๔ มีหลายระดับ จากกำลังอ่อน ๆ เอาเพียงแค่ศึกษาพื้น ๆ ก็พอ ถ้ารู้เพียงแค่นั้น ศีล สมาธิ ปัญญา จะเข้าถึงขั้นอธิจิตสิกขากับอธิปัญญาสิกขาได้ยาก<O:p></O:p>
    ธัมมวิจัย ขออนุญาตเขียนไว้เป็นตัวอย่าง ตามคำสั่งของสมเด็จองค์ปฐมที่ว่า ให้ทบทวน ให้หมั่นศึกษา ให้หมั่นพิจารณาได้ผลอย่างไรให้บันทึกไว้ด้วย จึงขอเขียนเป็นข้อ ๆ ดังนี้<O:p></O:p>
    ๑. พรหมวิหาร ๔ เป็นอารมณ์คิด พิจารณาทั้ง ๔ ข้อ การคิดพิจารณา เป็นต้นเหตุทำให้ปัญญาเกิด ใครไม่ทำตามท่านก็เป็นกรรมของผู้นั้น<O:p></O:p>
    ๒. พรหมวิหาร ๔ เป็นทั้งอาหารและกำลังของ ศีล สมาธิ ปัญญา ผู้ใดอยากรู้รายละเอียดให้อ่านหรือฟังเทปที่หลวงพ่อฤๅษีท่านสอนไว้ มีรายละเอียดอยู่มากมาย<O:p></O:p>
    ๓. เมตตา ความรัก ท่านให้หลักไว้ ๓ ข้อ คือ การกระทำนั้น (กรรม) ต้องไม่เบียดเบียนตนเอง (จิต) เป็นข้อแรก กรรมนั้นต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น (ร่างกาย) และกรรมนั้นต้องไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น หากขัดกับข้อใดข้อหนึ่งใน ๓ ข้อนี้แล้ว การกระทำนั้นมิใช่เมตตาในพุทธศาสนา<O:p></O:p>
    ๔. ปัญญาทางพุทธ ท่านให้ใช้ถามและตอบจิตของตนเองด้วยเหตุด้วยผล โดยไม่ขัดต่อศีล สมาธิ ปัญญา อย่าไปถามคนอื่น บางคนยังไม่ทันใช้ความเพียรของตน หรือยังไม่ได้ปฏิบัติก็ถามผู้อื่นเสียก่อนแล้ว สงสัยเสียก่อนทำ ให้เลิกนิสัยนี้เสีย<O:p></O:p>
    ๕. ธรรมทุกอย่างในพุทธศาสนา ต้องได้ด้วยความเพียรที่จิตและกายของตนเท่านั้น จึงจะเป็นของแท้ ของจริง คือ เพียรมากพักน้อยก็ได้เร็ว เพียรน้อยพักมากก็ได้ช้า<O:p></O:p>
    ๖. พรหมวิหาร ๔ มี ๓ ระดับ เช่น ใครไม่มีเมตตา ก็ให้ทานทำทานไม่ได้ ถ้ามีเมตตาขั้นต่ำ สามารถทำทานได้ และทำแล้วยังมีอารมณ์เสียดายในทานอยู่ และยังหวังผลตอบแทนจากการทำทานของตน ยังไม่สนใจการรักษาศีล ถ้ามีเมตตาขั้นกลาง ทำทานแล้วจิตยังนึกอธิษฐานขอนั่นขอนี่อยู่ (หวังผลตอบแทน) ขอมากกิเลสก็ยังมาก ขอน้อยกิเลสก็บางลง พวกนี้ยอมรักษาศีล เริ่มเจริญภาวนาด้วย ถ้ามีเมตตาสูงไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น จิตไม่อธิษฐานขออะไรทั้งหมดใน ๓ โลก คือ มนุษย์โลก เทวโลก และพรหมโลก จิตทำเพื่อพระนิพพานจุดเดียว พวกนี้มี ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นปกติอยู่กับจิต<O:p></O:p>
    ๗. พรหมวิหาร ๔ นี้ละเอียดมาก จึงขอเขียนไว้แค่เป็นตัวอย่าง หากผู้ใดมีพรหมวิหาร ๔ เต็มและทรงตัว ผู้นั้นก็จบกิจในพระพุทธศาสนาเพราะเมื่อหมดอารมณ์เบียดเบียนตนเอง (จิต) ได้ถาวรแล้ว ก็ไม่มีทางที่จะไปเบียดเบียนผู้อื่นได้ จิตพ้นภัยตนเองแล้ว เพราะภัยที่ร้ายแรงที่สุดของการปฏิบัติธรรมก็คือ ภัยจากอารมณ์จิตของตนเองทำร้ายจิตตนเอง กรรมหมดตรงนี้ เพราะจิตดวงนี้ไม่สร้างกรรมอีก ไม่ต่อกรรมอีก<O:p></O:p>
    ๘. มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง ก็คือพรหมวิหาร ๔ นี่เอง(ไม่ขอเขียนรายละเอียด)<O:p></O:p>
    ๙. แค่เมตตาความรักข้อแรกในพรหมวิหาร๔ หากผู้ใดเข้าใจและนำไปปฏิบัติจะเห็น จะรู้อารมณ์จิตของตนเองได้อย่างดีและจะอุทานว่า พรหมวิหาร ๔ นี้จริง ๆ แล้ว มันง่ายนิดเดียว<O:p></O:p>
    ๑๐. คนส่วนใหญ่มักจะเมตตาผิดตัวคือไปเมตตากายมากกว่าจิต และบางคนหลงคิดว่ากายคือตัวเขา เพราะเขาไม่รู้จักจิต มีรายละเอียดอยู่มากไม่ขอเขียน การกระทำของเขาจึงเพิ่มสักกายทิฏฐิแทนที่จะลดสักกายทิฏฐิ เพราะสักกายทิฏฐิ พระท่านแปลว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกาย<O:p></O:p>
    ๑๑. พรหมวิหาร ๔ ของชาวโลก กับพรหมวิหาร ๔ ของชาวธรรม จึงแตกต่างกันชนิดตรงกันข้าม<O:p></O:p>
    ๑๒. หากเอาพรหมวิหาร ๔ พิจารณาควบคู่กันไปกับบารมี ๑๐ แล้ว จะทำให้เกิดผลดีทั้งสองฝ่าย เพราะธรรม ๒ หมวดนี้ ต่างก็อาศัยกันและกัน ช่วยเสริมกำลังให้แก่กัน เพราะบารมี ๑๐ ก็มาจากศีล สมาธิ ปัญญา และพรหมวิหาร ๔ ก็เป็นอาหารของศีล สมาธิ ปัญญา หากเข้าใจดีแล้ว การพิจารณาคุณของพรหมวิหาร ๔ จึงมีมากสุดประมาณ ยากที่จะพิจารณาลงให้จบได้อย่างบริบูรณ์ เพราะว่าต้องอาศัย บารมีธรรมหรือบารมี ๑๐ ซึ่งก็มีตั้งแต่หยาบ กลาง และละเอียดเช่นกัน ในข้อนี้เป็นการแนะนำขององค์สมเด็จท่าน <O:p></O:p>





    <CENTER>การระงับอารมณ์ฟุ้งซ่าน และวิตกจริต</CENTER>เมื่อวันเสาร์ที่ ๓๑ ก.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตามาตรัสสอนเพื่อนผม ดังนี้<O:p></O:p>
    ๑. การวิตกกังวลทำให้สติสัมปชัญญะบกพร่อง เจ้านึกอยู่แต่ว่าจักทำงานโน้น งานนี้ จิตถูกส่งไปตามงานที่คิด
    จึงลืมงานปัจจุบันไปเสียสนิท<O:p></O:p>
    ๒. งานบางอย่างไม่ควรที่จักนำมาคิดล่วงหน้า ควรแก้ไขอยู่แต่ในธรรมปัจจุบัน คิดแก้ไขหรือวางแผนไปล่วงหน้า
    รังแต่จักเสียอารมณ์ เจ้าต้องหัดวางอารมณ์ฟุ้งซ่าน เรื่องงานภายนอกทิ้งไป ในขณะที่เวลานั้นเป็นชั่วโมง-
    เจริญพระกรรมฐาน ต้องทำงานภายใน เป็นการระงับนิวรณ์ ๕ ซึ่งต้องระงับกันอยู่ตลอดเวลา ในเวลาก็ต้องระงับ
    นอกเวลาก็ต้องระงับ รู้ตัวหรือไม่ว่าฟุ้งซ่านมากไป<O:p></O:p>
    ๓. นี่เป็นเพราะเจ้าลืมลมหายใจเข้าออก จิตจึงไม่มีกำลังบังคับอารมณ์ สติสัมปชัญญะจึงเสื่อมทรามลงไป
    อารมณ์ที่คิดไปล่วงหน้า และหมกมุ่นอยู่กับเรื่องที่ผ่านไปเบื้องหลัง จักต้องหมั่นสลัดทิ้งไป ต้องแก้ไขอารมณ์เหล่านี้ลงให้ได้
    มิฉะนั้นการเจริญพระกรรมฐานจักไม่มีผลเท่าที่ควรจักได้<O:p></O:p>
    ๔. พยายามให้จิตคิดอยู่เสมอว่า ถ้าฟุ้งซ่านอยู่อย่างนั้นมันจักตายหรือไม่ตาย เกิดตายในขณะฟุ้งซ่าน
    ก็เท่ากับเสียท่ากิเลส ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิด อยู่ในหน้าที่การงานอย่างนี้อีก<O:p></O:p>
    ๕. เหนื่อยหรือไม่เหนื่อย คำว่าการมีขันธ์ ๕ แล้ว จักไม่เหนื่อยนั้นไม่มี เจ้าต้องการจักไม่มีขันธ์ ๕ อีก
    ก็จงหมั่นระงับอารมณ์ฟุ้งซ่านนี้ทิ้งไป<O:p></O:p>
    ๖. ดอกสว่านหักก็จงเคารพในความไม่เที่ยงของฝีมือของเจ้าของเอง ธรรมะเหล่านี้เป็นของธรรมดา
    มิพึงจักนำมาคิดให้ฟุ้งซ่าน เรื่องคุณปอจักเอาของมาให้ ก็เป็นเรื่องของอนาคตซึ่งไม่เที่ยง ชีวิตของเจ้าทั้งสอง
    คนใดคนหนึ่งอาจจักแตกดับก่อนที่อนาคตนั้นจักมาถึงก็เป็นได้ ใยจึงไปคิดให้ฟุ้งไกลนักเล่า
    และจงอย่าขัดศรัทธาของคน จงทำตนให้เป็นผู้รับที่ดี สิ่งใดควรรับก็รับ ควรจ่ายให้ทานก็จงจ่าย
    สิ่งใดรับไม่ได้จักเป็นโทษ ก็ชี้แจงเขาไปโดยตรง บุคคลทั่วไปย่อมมีเหตุผลของตนเอง
    หากเจ้าชี้แจงเหตุผลให้เขาฟัง เขาย่อมจักเข้าใจ อย่าวิตกให้ไกลเกินไป<O:p></O:p>
    ๗. ต้นเหตุจากมีคนจะเอาของมาให้ใช้ส่วนตัวมากเกินเหตุ เพราะไม่เห็นทุกข์หรือปัญหาที่จะพึงเกิดขึ้นภายหลัง
    จิตจึงฟุ้งซ่าน ทรงตรัสว่า เป็นของธรรมดา ธรรมของตถาคตมิใช่ของเนิ่นช้า (จะ) ละสิ่งใด สิ่งนั้นจักมากระทบจิต
    เพื่อทดสอบอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ยินดีก็แพ้ต่อกิเลส ยินร้ายไม่พอใจก็แพ้ต่อกิเลส ตถาคตจึงจักกล่าวว่า
    ให้ชี้แจงเหตุผลให้เขาทราบ รักษาอารมณ์ใจให้เป็นกุศล เพื่อประโยชน์สุขของผู้ให้ทาน เขาจักได้รับผลใหญ่
    ด้วยจิตของเจ้าที่เป็นกุศลนั้น<O:p></O:p>
    ๘. เรื่องอาหารการกินก็เช่นกัน เจ้าเห็นทุกข์เห็นโทษ ตามที่ตถาคตและทุกองค์ตลอดจนท่านฤๅษีเฝ้าพร่ำสอน
    แต่เจ้าจักให้บุคคลอื่นเห็นทุกข์ เห็นโทษของการบริโภคอาหารเหมือนกับเจ้านั้นย่อมเป็นไม่ได้ เพราะฉะนั้น
    จงดูเจตนาที่เขาหวังดีกับเจ้าเป็นสำคัญ<O:p></O:p>
    ๙. บุคคลผู้ยังเกาะติดอยู่ในกายมาก ก็ย่อมคิดที่จักบำรุงกายนั้นเพื่อให้ทรงอยู่ตลอดเวลา
    นี่เป็นเรื่องธรรมดาของผู้ที่เขาห่วงกายเรา จึงเฝ้าบำรุงบำเรอ คิดว่ามันจักทรงตัว นี่เป็นความดีของเขา
    ที่มีเมตตาต่อร่างกายเจ้า นั่นเป็นธรรมดาของเขาที่เจ้าควรจักยอมรับกฎของธรรมดานั้น<O:p></O:p>
    ๑๐. มาศึกษาทางด้านจิตของเจ้าเอง กลับมาคิดมากจนขาดเมตตาจิตของเจ้าเอง เอามาเป็นอารมณ์ฟุ้งหาจุดลงไม่ได้
    นี่เป็นโทษใหญ่ แม้ทั้ง ๆ ที่รู้ว่ากายนี้ไม่ใช่เรา แต่กายนี้มันก็ยังทรงอยู่ในปัจจุบัน การต้องการบริโภคอาหาร
    ก็ยังมีอยู่เป็นปกติของผู้ยังมีกายอยู่ ก็เป็นกฎธรรมดาอีกนั่นแหละ<O:p></O:p>
    ๑๑. แม้เจ้าจักพยายามละกามคุณอยู่ แต่ควรกำหนดรู้ว่า การมีร่างกายก็ยังจักต้องเกี่ยวข้องอยู่กับกามคุณ ๕
    การละต้องดูอารมณ์จิตเป็นสำคัญ อย่างกรณีอาหารและเครื่องอุปโภคที่เขาจักนำมาให้ ก็จงดูอารมณ์ของใจเป็นสำคัญ
    ถ้าหากยังฟุ้งอยู่ด้วยความยินดีหรือไม่ยินดี ก็นับว่าอารมณ์ยังเลวอยู่ ขาดเมตตาต่อจิตของตนเอง จึงยังอารมณ์ให้หวั่นไหวอยู่
    และอารมณ์นั้นก็สร้างทุกข์ให้เกิด อย่างนี้เสียผลของการปฏิบัติหรือไม่</B> (ก็รับว่าเสียหาย)<O:p></O:p>
    ๑๒. การคิดให้สับสน นำเรื่องโน้นเรื่องนี้เข้ามาหลายเรื่อง ทำให้อารมณ์จิตวุ่นวาย หาความสงบมิได้
    จุดนี้ขอให้เจ้าพิจารณาให้ดี ๆ อย่าสักแต่ว่าเรื่องภายนอก แม้กระทั่งธรรมภายในก็เช่นกัน จับโน่นวางนี่
    กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง หากไม่ขึ้นต้นด้วยอานาปานัสสติให้ทรงตัวเสียก่อนแล้ว
    จิตเจ้าก็ไปคว้าหมวดโน้นนิด หมวดนี้หน่อย ก็ทำให้อารมณ์จิตสับสนวุ่นวาย สุดท้ายก็เอาอะไรดีไม่ได้<O:p></O:p>
    ๑๓. ธรรมะไปสายเดียวกันก็จริงอยู่ เอโกธัมโมนั้นถูกต้อง แต่จิตของเจ้าไม่ฉลาดพอ จึงไม่รู้เท่าทันอารมณ์
    จับโน่นนิดคิดนี่หน่อย เลยฟุ้งไปเสียก่อนที่จักได้ดี ปรับอารมณ์ตรงนี้ควบสมถะภาวนากองใดกองหนึ่ง
    ให้ถึงที่สุดเสียก่อนทุกครั้ง จิตจักได้มีกำลังต่อสู้กับกิเลส มิฉะนั้นเจ้าก็ต้องย่ำเท้าอยู่อย่างนี้
    หาความก้าวหน้าในมรรคผลของการปฏิบัติไม่ได้<O:p></O:p>
    ๑๔. ตั้งใจให้จริง อย่าทิ้งความตั้งใจทำจริง เพื่อมรรคผลนิพพานเป็นสำคัญ ต้องจดจำเอาไว้เสมอ
    จักได้พ้นทุกข์ของจิตเสียที อย่าลืม สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ควรยึด
    ว่าเป็นเราเป็นของเรา ถ้าอยากให้อารมณ์จิตเป็นสุขและไม่ฟุ้งซ่าน จงอยู่ในธรรมปัจจุบัน
    อย่ายุ่งกับธรรมในอดีตและธรรมในอนาคต อย่าจับปลาหลายตัว ให้จับทีละตัวแบบกรรมฐาน ๔๐
    ทำให้ดีที่สุดกองเดียวก่อน

    ข้อมูลจากเว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p</O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p</O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com<O:p</O:p

    <O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา


    [​IMG]</O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มีนาคม 2010
  2. โคมหลวง

    โคมหลวง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +6,383
    ขอบคุณครับ อ่านจบแล้ว ดีมากเลยครับ ต้องเตือนตัวผมเองได้เสมอครับดูจิตแค่ปัจจุบัน อนุโมทนาด้วยครับ
     
  3. annabel

    annabel Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +45
    ขออนุโมทนา สาธุ ค่ะ
    ขอบคุณสำหรับธรรมะ ดีๆ ที่มีมาฝากกันนะคะ
     
  4. kiatti1234

    kiatti1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,839
    ค่าพลัง:
    +811
    อนุโมธนาด้วยครับ
     
  5. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    ขออนุโมทนาสาธุธรรม เป็นอย่างสูง ครับ






    ------------------------------------------------------------------------------------------------
    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบริจาคท่อส่งน้ำถวาย วัดเขาชี หมู่ ๑๕ ต.บ้านกลาง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก
    http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบริจาคท่อส่งน้ำถวาย-วัดเขาชี-จ-พิษณุโลก.233681/
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    http://www.watkhaochee.com/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...