พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการและอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ ของพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ธัชกร, 30 เมษายน 2010.

  1. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="100%">

    [​IMG]


    บุคคลผู้เป็นเอกหาได้ยากในโลก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏแห่งบุคคลผู้เอกหาได้ยากในโลก บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏแห่งบุคคลผู้เอกนี้แลหาได้ยากในโลก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอก เมื่อเกิดขึ้นในโลกย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่ออัตถะเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่ออัตถะ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
    ยถาปิ อุทเก ชาตํ ปุณฺฑรีกํ ปวฑุฒฒิ
    โนปลิปฺปติ โตเยน สุจิคนฺธํ มโนรมํ
    ตเถว จ โลเก ชาโต พุทฺโธ โลเก วิหรติ
    โนปลิปฺปติ โลเกน โตเยน ปทุมํ ยถาฯ
    ดอกบัว เกิดและเจริญงอกงามในน้ำ แต่ไม่ติดน้ำ ทั้งส่งกลิ่นหอม ชื่นชูใจให้รื่นรมย์ ฉันใด
    พระพุทธเจ้าทรงเกิดในโลก และอยู่ในโลก แต่ไม่ติดโลก เหมือนบัวไม่ติดน้ำ ฉันนั้น
    กรมการศาสนา พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ ข้อที่ ๑๓๙ , ๑๔๐ เอกปุคคลบาลี เอกปุคคลวรรคที่ ๓ หน้า ๑๘๑.

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    คัดลอกบางส่วนจาก: ธรรมะเพื่อชีวิต เล่มที่ ๒๕ ฉบับวันวิสาขบูชา ๒๕๔๓ มูลนิธิพุทธศาสนศึกษา วัดบุรณศิริมาตยาราม


    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ประสูติ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนปีพุทธศักราช (พ.ศ.) ๘๐ ปี
    ณ ลุมพินี ประเทศเนปาล
    อภิเษกสมรส กับพระนางยโสธรา (พระนางพิมพา) มีพระราชโอรส 1 องค์ ชื่อราหุล
    ออกบวช พระชนมายุ ๒๙ ปี เห็นภาพนิมิตที่เทวดาแปลงตน เป็นภาพคนแก่ คนเจ็บ คนตาย สมณะ จึงทรงเบื่อหน่าย ตัดสินใจออกบวชที่แม่น้ำอโนมานที โดยทรงม้ากัณฐกะ ไปกับนายทหารชื่อฉันนะ
    ตรัสรู้ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนปีพุทธศักราช (พ.ศ.) ๔๕ ปี
    มีพระชมมายุ ๓๕ ปี ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย
    ปฐมเทศนาวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ณ สารนาถ อินเดีย
    ปัญจวัคคีย์เห็นธรรมขอบวชเป็นพระสงฆ์จึงบังเกิด พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบ ๓ องค์ พระพุทธองค์ได้ทรงเผยแพร่สัจธรรมเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี
    ปรินิพพาน วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนปีพุทธศักราช (พ.ศ.) ๑ ปี
    พระชมมายุ ๘๐ ปี เสด็จสู่ปรินิพพาน ณ กุสินารา อินเดีย


    พระพุทธกิจ

    ตอนเช้า เสด็จบิณฑบาต โปรดสัตว์
    ตอนบ่ายเย็น ทรงเทศนาโปรดประชาชน
    ย่ำค่ำ ประทานพระโอวาทแก่พระสงฆ์
    เที่ยงคืน ทรงเปิดโอกาสให้ผู้สงสัยเข้าเฝ้าทูลถามปัญหา
    เช้าตรู่ ทรงวางแผนตรวจตราด้วยพระญาณว่าผู้ใดสมควร ได้เสด็จไปเทศนา โปรดเป็นการด่วนโดยเฉพาะ

    คัดลอกจาก: พระคาถา <มนต์วิเศษ> สักการะ <พระคาถาอมตะ>


    พระมหาปุริสลักษณะ

    พระมหาปุริสลักษณะ หมายถึง ลักษณะ ๓๒ ประการของมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งจะมีคติเป็น ๒ เท่านั้นคือ
    ๑. ถ้าครองเรือน จะได้เป็นพระมหาจักรพรรดิ์ผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา มีอาณาจักรกว้างใหญ่ไพศาลจรดมหาสมุทรทั้ง ๔ มั่นคง ทรงชนะมาด้วยความชอบธรรม มิต้องใช้อาชญา
    มีรัตนะ ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว มีราชบุตรกว่าหนึ่งพัน ล้วนกล้าหาญ รูปทรงสง่างามสมเป็นวีรกษัตริย์ มีความเกษมสำราญ มิมีเสี้ยนหนาม
    ๒. ถ้าออกบวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลส เปิดแล้วในโลก (ตรัสรู้สัจธรรม รู้เท่าทันและละออกจากกิเลส ซึ่งปกปิดความจริงในสัตว์โลก ขันธโลก และสังขารโลก)


    เหตุแห่งการแสดงธรรมเรื่องพระมหาปุริสลักษณะ

    ในกรุงสาวัตถี พระอานนท์ออกบิณฑบาตในหมู่บ้าน ได้ยินการสนทนาของชาวบ้านว่า พระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ (ลักษณะรายละเอียด) ๘๐ ประการ มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ มีพระรัศมี ๖ สี แผ่ออกจากพระวรกายวาหนึ่ง
    ไม่ทราบว่า ลักษณะอย่างนี้เกิดขึ้นด้วยบุพพกรรมใด พระอานนท์ทำภัตตกิจเสร็จแล้วกลับสู่พระเชตวันวิหาร กระทำวัตรปฏิบัติแด่พระศาสดาแล้ว ได้กราบทูลเรื่องที่ได้ยินมา พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายที่นั่งแวดล้อมอยู่ และแสดงลักษณะทั้งหลาย พร้อมทั้งบุพพกรรมที่มีมา



    [​IMG]




    พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ

    ๑. พระบาทประดิษฐานเป็นอันดี สุปะติฎฐิตะปาโท เมื่อทรงเหยียบพระบาท ทรงจรดพื้นด้วยฝ่าพระบาททุกส่วนเสมอกัน เมื่อทรงยกพระบาทขึ้นก็เสมอกัน

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=524>ผลในชาติปัจจุบัน พระพุทธองค์ทรงไม่มีข้าศึกศัตรูภายใน คือ ราคะ โทสะ โมหะ ข้าศึกศัตรูภายนอก คือ สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม ใครๆ ในโลกนี้จะข่มได้
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงยึดมั่นในกุศลอย่างมั่นคง ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต บำเพ็ญทาน สมาทานศีล เบญจศีล อุโบสถศีล ปฏิบัติดีต่อบิดา มารดา สมณพราหมณ์ เคารพผู้ใหญ่ในตระกูล เคารพในธรรมที่สูงขึ้นไป
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๒. ใต้พระบาททั้งสองมีลายธรรมจักร มงคล ๑๐๘ ประการ เหฎฐา ปาทะตะเลสุ จักกานิ

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 95%; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="100%">ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงมีบริวารมาก มีบริวารเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ นก สัตว์สี่เท้าที่มียศมาก แวดล้อมพระองค์ไม่มีใครยิ่งกว่า
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ ได้นำความสุขมาให้แก่ชนเป็นอันมาก บรรเทาความหวาดกลัว จัดการรักษา คุ้มครอง ป้องกันอย่างเป็นธรรม ให้ทานด้วยสิ่งของต่าง ๆ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๓. ส้นพระบาทยาว อายะตะปัณหิ พระบาทแบ่งออกเป็นสี่ส่วน ปลายพระบาทสองส่วน ลำพระชงฆ์ (แข้ง) ตั้งในส่วนที่สาม เหลือส้นพระบาทอีกหนึ่งส่วน และส้นพระบาทนั้นสีแดงงาม
    ๔. นิ้วพระหัตถ์ นิ้วพระบาทยาวเรียว กลมงาม ทีฆังคุลี
    ๕. พระวรกายตั้งตรงดังกายท้าวมหาพรหม พรหมุชุ คัตโต ไม่น้อมไปข้างหน้า หรือหงายไปข้างหลัง

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=655>ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์มีพระชนมายุยืน ไม่มีผู้ใดปลงพระชนมชีพได้
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงเว้นปาณาติบาต มิได้เหยียบสัตว์ให้ตายด้วยความประมาท มิได้ประหารสัตว์ให้ตายด้วยพระหัตถ์ มีความละอาย มีความกรุณา มีความปรารถนาดีแก่สัตว์ทั้งปวง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๖. พระมังสะ (เนื้อ) อูมในที่ ๗ แห่ง สัตตุสสะโท ได้แก่ หลังพระหัตถ์ทั้งสอง หลังพระบาททั้งสอง พระอังสา (บ่า) ทั้งสอง ลำพระศอ (คอ) มิได้เห็นเส้นปรากฏออกมาภายนอก

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 95%; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="100%">ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ได้ของที่ควรเคี้ยว ควรบริโภค ควรลิ้ม น้ำที่ควรดื่ม อันประณีต มีรสอร่อย
    บุพพกรรม ในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงให้ของที่ควรเคี้ยว ของที่ควรบริโภค ของที่ควรลิ้ม น้ำที่ควรดื่ม อันประณีต มีรสอร่อย เป็นจำนวนมาก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๗. ฝ่าพระหัตถ์ ฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม มุทุตะละนะหัตถะปาโท
    ๘. ฝ่าพระหัตถ์ ฝ่าพระบาทมีลายดังตาข่าย ชาละหัตถะปาโท นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ เว้น พระอังคุฎฐะ (นิ้วหัวแม่มือ) นิ้วพระบาททั้งห้าเสมอกัน ชิดสนิทดี

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="100%">ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงมีบริวารที่พระองค์สงเคาระห์เป็นอย่างดี ผูกใจบริวารได้เป็นอย่างดีโดยการสงเคราะห์ในบุพชาติ (กรรม) และในปัจจุบัน (อุปนิสัย) เป็นที่รักของบริวาร
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงสงเคราะห์ชนด้วยสังคหวัตถุ ๔ ได้แก่ ทาน (การให้) ปิยวาจา (วาจาไพเราะ) อัตถจริยา (บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์) สมานัตตา (วางตนเหมาะสม)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๙. หลังพระบาทนูนดุจสังข์คว่ำ อุสสังขะปาโท และข้อพระบาทกลอกกลับผันแปรอย่างคล่องขณะย่างพระบาท
    ๑๐. พระโลมา (ขน) มีสีดำสนิท ขดเป็นทักษิณาวัฎ (เวียนขวา) ๓ รอบและมีปลายช้อนขึ้น

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=655>ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้เลิศ ผู้ประเสริฐ เป็นประมุขสูงสุดกว่าสัตว์ ทั้งปวง
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้กล่าววาจาประกอบด้วยอรรถด้วยธรรม แนะนำประชาชนเป็นอันมาก เป็นผู้นำประโยชน์และความสุขให้แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้บูชาธรรมเป็นปกติ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๑๑. พระชงฆ์ (แข้ง) เรียวดังแข้งเนื้อทราย กลมกลึงงาม เอณิชังโฆ

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=655>ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงได้ปัจจัยอันควรแก่สมณะและบริษัท เครื่องสมณูปโภคอันควรแต่สมณะ โดยพลัน
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ตั้งใจสอนศิลปะวิทยา จรณะ(ศีล สมาธิ) หรือกรรม (การงาน) ที่ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนใคร ๆ โดยตั้งใจว่า ทำอย่างไรชนทั้งหลายจะเรียนรู้เร็ว สำเร็จเร็ว ไม่ลำบากนาน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๑๒. พระฉวีวรรณ (ผิว) ละเอียด สุขุมมัจฉวี ธุลีละอองมิติดต้องพระวรกายได้ มลทินใดมาสัมผัสก็เลื่อนหลุดไปดุจน้ำกลิ้งตกจากใบบัว

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=655>ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงมีพระปรีชามาก กว้างขวาง ว่องไว เฉียบแหลม ทำลายกิเลส ปัญญาเหนือกว่าสัตว์ทั้งหลาย บรรลุโพธิญาณ
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงเข้าหาสมณพราหมณ์ สอบถามธรรม ตั้งใจฟัง ทำความเข้าใจ ไตร่ตรอง เพื่อความเจริญทางปัญญา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๑๓. พระฉวีวรรณ (ผิว) เหลืองงามดังทองคำ สุวัณณะวัณโณ

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=655>ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงได้เครื่องลาด ผ้านุ่งห่มอย่างดี เนื้อละเอียด
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงอธิษฐานความไม่โกรธ และให้ทานเป็นผ้าเนื้อละเอียด จำนวนมาก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๑๔. พระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก โกโสหิตะวัตถะคุโยหะ องค์กำเนิดเพศชายหดเร้นเข้าข้างใน

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=655>ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงมีพระโอรสมาก หมายถึง พุทธบุตร สาวกผู้ดำเนินตามพุทธพจน์ จำนวนหลายพัน
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้นำญาติมิตรที่สูญหาย พลัดพรากไปนานมาพบกัน แล้วทรงมีความชื่นชม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๑๕. พระวรกายสง่างาม สมบูรณ์ สมส่วน ดังปริมณฑลแห่งต้นนิโครธ (ต้นไทร) นิโครธปริมัณฑโล ความสูงของพระวรกายเท่ากับวาของพระองค์
    ๑๖. พระกรยาวจนใช้พระหัตถ์ลูบพระชานู (เข่า) โดยไม่ต้องน้อมพระวรกาย ปาณิตะเลหิ ชันนุกานิ ปริมะสะติ

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=655>ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้มั่งคั่งมาก มีทรัพย์สมบัติมาก ก็คือ ศรัทธา ศีล หิริโอตตัปปะ สุตะ จาคะ ปัญญา
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ฉลาดในการพิจารณาบุคคลที่ควรสงเคราะห์ ควรยกย่อง ควรเลื่อมใส และการกระทำการสงเคราะห์ การยกย่อง การเลื่อมใส
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๑๗. พระวรกายส่วนหน้าล่ำพีบริบูรณ์ สง่างามดุจราชสีห์ สีหะปุพพะทะธะกาโย
    ๑๘. พระปฤษฎางค์ (หลัง) เต็ม ปิตตันตะรังโส ตั้งแต่บั้นพระองค์ (เอว) ขึ้นไปถึงต้นพระศอ (คอ) พื้นพระมังสะ (เนื้อ) ปิดพระปฤษฎางค์เป็นอันดี มิได้เห็นข้อพระอัฐิท่ามกลางพระขนอง (ข้อกระดูกสันหลัง) ปรากฏออกมาภายนอก
    ๑๙. พระศอกลมเสมอกัน สะมะวัฎฎักขันโธ

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=655>ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงไม่เสื่อมจากอริยทรัพย์ ๕ ประการ ได้แก่ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา และสมบัติทั้งปวง
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงหวังประโยชน์เกื้อกูล ความสุขเกษมจากโยคะ (กิเลส) แก่มหาชนด้วยคิดว่า ทำอย่างไรชนทั้งหลายพึงเจริญด้วย (คุณธรรม) ศรัทธา ศีล สุตะ พุทธิ จาคะ ธรรมะ ปัญญา พึงเจริญด้วย (เศรษฐกิจและสังคม) ทรัพย์ ข้าว นา สวน สัตว์เลี้ยง บุตรภรรยา ทาสกรรมกร ญาติ มิตร พวกพ้อง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๒๐. มีเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารดีเลิศ ระสัคคะสัคคี มีเส้นประสาทปลายข้างบนประชุมอยู่ที่พระศอสำหรับนำรสอาหารแผ่ซ่านสม่ำเสมอไปทั่วพระวรกาย

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=655>ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงมีโรคาพาธน้อย มีความลำบากน้อย สมบูรณ์ด้วยเตโชธาตุทำให้ย่อยอาหารได้ดี เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร ปฏิบัติธรรม
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าด้วยมือ ก้อนหิน ไม้ หรืออาวุธ ฆ่าเองหรือบังคับให้ผู้อื่นฆ่า หรือทำให้สัตว์ทั้งหลายหวาดกลัว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๒๑. พระเนตรดำสนิท อะภินีละเนตโต มีการเห็นแจ่มใส
    ๒๒. ดวงพระเนตรสดใสดังตาโค โคปะขุโม

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=655>ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ที่ชนทั้งหลายเห็นแล้วรัก เป็นที่รักใคร่ของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ และยังชนเป็นอันมากให้สร่างโศก
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทอดพระเนตรดูมหาชนด้วยสายพระเนตรเบิกบาน น่ารัก ไม่ถลึงตาดู ไม่ค้อนตาดู
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๒๓. พระเศียรกลมงาม พระพักตร์มีอุณหิสคือลักษณะเหมือนมีกรอบหน้า อุณหีสะสีโส

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=655>ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงเป็นที่คล้อยตามแห่งมหาชน
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงเป็นหัวหน้าชนเป็นอันมาก ทรงเป็นผู้นำมหาชนทั้งหลายในการทำกุศลธรรม ด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ในการบำเพ็ญทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถศีล ปฏิบัติดีต่อบิดามารดา สมณพราหมณ์ เคารพผู้ใหญ่ในตระกูล และทำกุศลที่ยิ่งอื่น ๆ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๒๔. โลมา (ขน) มีขุมละเส้น เอเกกะโลโม
    ๒๕. มีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนง (คิ้ว) สีขาวอ่อนเหมือนปุยฝ้าย อุณณาโลมา ภมุกันตะเรชาตา

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=655>ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงเป็นที่ประพฤติตามของมหาชน
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่ความจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อถือ ไม่พูดลวงโลก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๒๖. พระทนต์มี ๔๐ ซี่ จัตตาฬีสะทันโต เบื้องบน ๒๐ ซี่ เบื้องล่าง ๒๐ ซี่เสมอกัน
    ๒๗. พระทนต์มิได้ห่าง สนิทกันดี อะวิระฬะทันโต

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=655>ผลในชาตินี้ พุทธบริษัทไม่แตกแยกกัน
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ไม่พูดให้คนแตกร้าวกัน พูดสมานคนที่แตกร้าวให้สามัคคีกัน ยินดีในความพร้อมเพียงของหมู่ชน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๒๘. พระชิวหาอ่อน กว้าง ยาวกว่าชนทั้งปวง ปหูตะชิโวห
    ๒๙. พระสุรเสียงไพเราะดุจเสียงท้าวมหาพรหม กระแสเสียงดุจเสียงนกการเวก พรหมัสสะโร กะระวิกะภาณี

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=655>ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงมีพระวาจาอันมหาชนเชื่อถือ
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำไม่มีโทษ ไพเราะหู ชวนให้รักจับใจ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๓๐. พระหนุ (คาง) ดุจคางราชสีห์ สีหะหะนุ

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=655>ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงไม่มีข้าศึกภายใน คือ ราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีข้าศึกภายนอก ไม่ว่าสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ ใครๆ ในโลกกำจัดได้
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดแต่คำจริง ถูกกาละ อิงอรรถ อิงธรรม อิงวินัย มีหลักฐาน มีประโยชน์ในกาลอันควร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๓๑. พระทนต์เรียงเรียบเสมอกัน สะมะทันโต
    ๓๒. พระทาฐะ (เขี้ยว) ทั้ง ๔ ซี่ขาวบริสุทธิ์ รุ่งเรืองด้วยรัศมี สุสุกกะทาโฐ

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=655>ผลในชาตินี้ พระพุทธองค์ทรงมีบริวารสะอาด คือกำจัดกิเลสซึ่งเป็นมลทินได้แล้ว
    บุพพกรรมในภพชาติก่อน พระพุทธองค์ทรงเลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีพ ละมิจฉาชีพ ๑๒ อย่างได้แก่ การโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม การโกงด้วยเครื่องตวงวัด การโกงด้วยการรับสินบน การหลอกลวง การตลบตะแลง การตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น การกรรโชก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    [​IMG]



    อนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจาก ประกอบด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ยังประกอบด้วยอนุพยัญชนะ ลักษณะรายละเอียด ๘๐ ประการ ดังต่อไปนี้
    ๑. นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเหลืองงาม
    ๒. นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวจากต้นไปปลาย
    ๓. นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทกลมกลึงเป็นอย่างดี
    ๔. พระนขา (เล็บ) ทั้ง ๒๐ องค์มีสีแดง
    ๕. พระนขางอนงามช้อยขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงในเบื้องต่ำดุจเล็บสามัญชนทั่วไป
    ๖. พระนขาเกลี้ยงกลม มิได้มีริ้วรอย
    ๗. ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะ มิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก
    ๘. พระบาททั้งสองเสมอกันมิได้ย่อมใหญ่กว่ากัน
    ๙. พระดำเนินงามดุจอาการดำเนินแห่งกุญชรชาติ (ช้าง)
    ๑๐. พระดำเนินงามดุจสีหราช
    ๑๑. พระดำเนินงามดุจดำเนินของหงส์
    ๑๒. พระดำเนินงามดุจอุสุภราช (วัวผู้จ่าฝูง)
    ๑๓. ขณะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้นยกพระบาทเบื้องขวาไปก่อน พระวรกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน
    ๑๔. พระชานุมณฑล (บริเวณเข่า) เกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์ มิได้เห็นอัฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก
    ๑๕. มีบุรุษพยัญชนะบริบูรณ์ คือ มิได้มีกิริยามารยาทคล้ายสตรี
    ๑๖. พระนาภี (ท้องน้อย) มิได้บกพร่องกลมงาม มิได้วิกล (ไม่ปกติ มีตำหนิ) ในที่ใดที่หนึ่ง
    ๑๗. พระนาภี (สะดือ) มีสัญฐานลึก
    ๑๘. ภายในพระนาภี (สะดือ) มีรอยเวียนเป็นทักษิณาวรรต (เวียนขวา)
    ๑๙. ลำพระเพลา (ขา) ทั้งสองกลมงามดุจลำสุวรรณกัทลี (ลำกล้วยทอง)
    ๒๐. ลำพระกร (ลำแขน) งามดุจงวงช้างเอราวัณ
    ๒๑. พระองคาพยพ (อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย) ใหญ่น้อยทั้งปวงงามพร้อมทุกสิ่งหาที่ติมิได้
    ๒๒. พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนา ที่ควรจะบางก็บางทั่วทั้งพระสรีรกาย
    ๒๓. พระมังสะเต่งตึง มิได้หย่อนย่นในที่ใดที่หนึ่ง
    ๒๔. พระสรีรกายทั้งปวงปราศจากตุ่ม ไฝ ปาน มูลแมลงวัน
    ๒๕. พระกายงามสมส่วนกันโดยลำดับทั้งเบื้องบนและเบื้องล่าง
    ๒๖. พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง
    ๒๗. ทรงพระกำลังมากเสมอด้วยกำลังของกุญชรชาติ ประมาณถึงพันโกฎิช้าง ถ้าจะประมาณด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฎิบุรุษ
    ๒๘. พระนาสิก (จมูก) โด่ง
    ๒๙. สันฐานพระนาสิกงามได้รูป
    ๓๐. พระโอษฐ์เบื้องบนเบื้องล่างมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอกันเป็นอันดี มีสีแดงดุจผลตำลึงสุก
    ๓๑. พระทนต์ (ฟัน) บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน
    ๓๒. พระทนต์ขาวดุจสีสังข์
    ๓๓. พระทนต์เกลี้ยงสนิท ไม่มีริ้วรอย
    ๓๔. พระอินทรีย์ (ประสาท) ทั้งห้าได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย งามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น คือ การรับรู้ได้ดี
    ๓๕. พระเขี้ยวทั้งสี่กลมบริบูรณ์
    ๓๖. ดวงพระพักตร์มีสัณฐานยาวสลวย
    ๓๗. พระปราง (แก้ม) ทั้งสองเปล่งปลั่งงามเสมอกัน
    ๓๘. ลายพระหัตถ์มีรอยลึก
    ๓๙. ลายพระหัตถ์มีรอยยาว
    ๔๐. ลายพระหัตถ์มีรอยตรง ไม่ค้อมคด
    ๔๑. ลายพระหัตถ์มีสีแดงสดใส
    ๔๒. มีพระรัศมีส่องสว่างรอบพระวรกาย
    ๔๓. กระพุ้งพระปรางทั้งสองสมบูรณ์
    ๔๔. กระบอกพระเนตรกว้างและยาวงามพอสมกัน
    ๔๕. ดวงพระเนตรผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น
    ๔๖. ปลายเส้นพระโลมา (ขน) ทั้งหลายมิได้งอมิได้คด
    ๔๗. พระชิวหา (ลิ้น) มีสัณฐานอันงาม
    ๔๘. พระชิวหาอ่อน มิได้กระด้าง มีสีแดงเข้ม
    ๔๙. พระกรรณ (หู) ทั้งสองมีสัณฐานยาวดุจกลีบบัว
    ๕๐. ช่องพระกรรณมีสัณฐานกลมงาม
    ๕๑. พระเส้น (ผม) ทั้งปวงมีระเบียบ สละสลวย
    ๕๒. แถวพระเส้น (รากผม) ทั้งหลายซ่อนในพระมังสะ (หนังศีรษะ) ทั้งสิ้น มิได้เป็นคลื่น ฟูขึ้นเหมือนชนทั้งหลาย
    ๕๓. พระเศียรสัณฐานงามดุจดังฉัตรแก้ว
    ๕๔. ปริมณฑลพระนลาฎ (หน้าผาก) กว้างยาวพอสมกัน
    ๕๕. พระนลาฎมีสัณฐานงาม
    ๕๖. พระขนง (คิ้ว) มีสัณฐานงามดุจคันธนูโก่งไว้
    ๕๗. พระโลมาที่พระขนง (ขนคิ้ว) มีเส้นละเอียด
    ๕๘. เส้นพระโลมาที่พระขนงงอกขึ้นแล้วล้มราบไปตามลำดับ
    ๕๙. พระขนงใหญ่
    ๖๐. พระขนงยาวสุดหางพระเนตร
    ๖๑. พระฉวีวรรณ (ผิว) ละเอียดทั่วพระวรกาย
    ๖๒. พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ (สง่าราศี)
    ๖๓. พระสรีรกายมิมัวหมอง ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์
    ๖๔. พระสรีรกายสดชื่นดุจดอกบัว
    ๖๕. สรีรสัมผัสอ่อนนุ่มทั่วพระวรกาย
    ๖๖. กลิ่นพระกายหมอฟุ้งดุจกลิ่นหอมไม้กฤษณา
    ๖๗. พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น
    ๖๘. พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระวรกาย
    ๖๙. ลมอัสสาสะปัสสาสะ (ลมหายใจเข้าออก) ละเอียด
    ๗๐. พระโอษฐ์มีสัณฐานงามดุจแย้ม
    ๗๑. กลิ่นพระโอษฐ์หอมดุจกลิ่นดอกบัว
    ๗๒. พระเกศา (ผม) ดำขลับ
    ๗๓. กลิ่นพระเกศาหอมฟุ้งตลบอบอวล
    ๗๔. พระเกศามีกลิ่นหอมดุจกลิ่นดอกบัว
    ๗๕. พระเกศามีสัณฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น
    ๗๖. เส้นพระเกศาดำสนิททั้งสิ้น
    ๗๗. เส้นพระเกศาละเอียด
    ๗๘. เส้นพระเกศามิเคยยุ่ง
    ๗๙. เส้นพระเกศาเวียนเป็นทักษิณาวรรตทุก ๆ เส้น
    ๘๐. มีรัศมีเปล่งเหนือพระเศียร



    ************************************



    [​IMG]



    พระฉัพพรรณรังสี


    พระฉัพพรรณรังสี คือ รัศมี ๖ สี ได้แก่
    ๑. นีละ เขียวเหมือนดอกอัญชัน
    ๒. ปีตะ เหลืองเหมือนหรดาล
    ๓. โลหิตะ แดงเหมืองตะวันออก
    ๔. โอทาตะ ขาวเหมือนแผ่นเงิน
    ๕. มัญเชฏฐะ แสดเหมือนดอกหงอนไก่
    ๖. ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก



    ******************************

    คัดลอกบางส่วนจาก: ธรรมะเพื่อชีวิต เล่มที่ ๒๕ ฉบับวันวิสาขบูชา ๒๕๔๓
    มูลนิธิพุทธศาสนศึกษา
    วัดบุรณศิริมาตยาราม


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2010
  2. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    สาธุ ผมขอกราบอนุโมทนากับ ธรรมทาน ด้วยนะครับ
    ขอให้ จขกท...จงเจริญทั้งทางโลก ทางธรรม นะครับ
    ขอให้ จขกท.. จงได้มนุษยืสมบัติ สวรรค์สมบัติและนิพพานสมบัติด้วยเทอญ สาูธุๆๆๆๆๆๆ
     
  3. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,684
    ค่าพลัง:
    +9,239
    [​IMG]


    ขออนุโมทนาค่ะ

     

แชร์หน้านี้

Loading...