เราจักไม่แสดงให้กระทบตนและผู้อื่น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด, 3 พฤษภาคม 2010.

  1. ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2008
    โพสต์:
    3,277
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,490
    <center> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
    อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    </center> <table align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="90%"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" bgcolor="darkblue" width="100%">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <center>๙. อุทายิสูตร
    </center> [๑๕๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมือง
    โกสัมพี

    สมัยนั้น ท่านพระอุทายีผู้อันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่ ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระอุทายี ผู้อันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่ จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

    ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอุทายี ผู้อันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่ายภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ภายใน แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุพึงตั้งใจว่า

    เราจักแสดงธรรมไปโดยลำดับ ๑

    ราจักแสดงอ้างเหตุผล ๑

    เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู ๑

    เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม ๑

    เราจักไม่แสดงให้กระทบตนและผู้อื่น ๑

    แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น

    ดูกรอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในภายใน แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ฯ
    <center>จบสูตรที่ ๙


    .................................


    <center>พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

    </center><table align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="90%"><tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" bgcolor="darkblue" width="100%">[​IMG]</td></tr></tbody></table><table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="50" width="600"><tbody><tr><td>

    [219] ธรรมเทสกธรรม 5

    (ธรรมของนักเทศก์, องค์แห่งธรรมกถึก, ธรรมที่ผู้แสดงธรรมหรือสั่งสอนคนอื่นควรตั้งไว้ในใจ


    — qualities of a preacher; qualities which a teacher should establish in himself)

    1. อนุปุพฺพิกถํ

    (กล่าวความไปตามลำดับ คือ แสดงหลักธรรมหรือเนื้อหาวิชาตามลำดับความง่ายยากลุ่มลึก มีเหตุผลสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไปโดยลำดับ


    — His instruction or exposition is regulated and gradually advanced.)

    2. ปริยายทสฺสาวี

    (ชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ คือ ชี้แจงให้เข้าใจชัดในแต่ละแง่แต่ละประเด็น โดยอธิบายขยายความ ยักเยื้องไปต่างๆ ตามแนวเหตุผล


    — It has reasoning or refers to causality)

    3. อนุทยตํ ปฏิจฺจ

    (แสดงธรรมด้วยอาศัยเมตตา คือ สอนเขาด้วยจิตเมตตา มุ่งจะให้เป็นประโยชน์แก่เขา


    — It is inspired by kindness; teaching out of kindliness.)

    4. น อามิสนฺตโร (ไม่แสดงธรรมด้วยเห็นแก่อามิส คือ สอนเขามิใช่เพราะมุ่งที่ตนจะได้ลาภ หรือผลประโยชน์ตอบแทน

    — It is not for worldly gain.)

    5. อตฺตานญฺจ ปรญฺจ อนุปหจฺจ

    (แสดงธรรมไม่กระทบตนและผู้อื่น คือ สอนตามหลักตามเนื้อหา มุ่งแสดงธรรม แสดงธรรม ไม่ยกตน ไม่เสียดสีข่มขี่ผู้อื่น


    — It does not hurt oneself or others; not exalting oneself while contempting others.)

    <table class="ref" width="100%"><tbody><tr valign="top"><td width="50%">A.III.184. </td><td>องฺ.ปญฺจก. 22/159/205.</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    </center>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 เมษายน 2011
  2. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    สาธุ อนุโมทนาค่ะ

    เราจักแสดงธรรมไปโดยลำดับ ๑
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    พวกเธอจงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น(ศีล)
    งามในท่ามกลาง(สมาธิ)
    งามในที่สุด (ปัญญา)

    เราจักแสดงอ้างเหตุผล ๑
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ธรรมทั้งหลายล้วนเกิดแต่เหตุ
    ย่อมดับไปเพราะสิ้นเหตุแห่งธรรมนั้น


    เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู ๑
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามีความเอ็นดูในพวกเธออยู่ว่า
    ทำอย่างไรหนอสาวกทั้งหลายของเราพึงเป็นธรรมทายาท
    ไม่พึงเป็นอามิสทายาท

    เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม ๑
    ถ้าพวกเธอจะพึงเป็นอามิสทายาทของเรา ไม่เป็นธรรมทายาทไซร้
    เมื่อจักแสดงธรรม จักแสดงอริยมรรคมีองค์ ๘ มัชฌิมาปฏิปทานี้นั้นแล
    ทำความเห็น ทำความรู้ เป็นไปเพื่อเข้าไประงับ
    เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน


    เราจักไม่แสดงให้กระทบตนและผู้อื่น ๑
    บุคคลพึงเห็นบุคคลใดผู้มักชี้โทษ
    เหมือนบุคคลผู้บอกขุมทรัพย์ มักกล่าวข่มขี่ มีปัญญา
    พึงคบบุคคลผู้เป็นบัณฑิตเช่นนั้น
    เพราะว่าเมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น
    มีแต่คุณที่ประเสริฐ โทษที่ลามกย่อมไม่มี


    (smile)
     

แชร์หน้านี้

Loading...