***วัตถุมงคลหลวงพ่อไพบูลย์ วัดอนาลโย ดอยมังกร-ครูบาวงค์ และเกจิอาจารย์ทั่วไทย

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย siwa1968, 24 สิงหาคม 2010.

  1. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">ประวัติ ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม </TD><TD class=buttonheading width="100%" align=right></TD><TD class=buttonheading width="100%" align=right></TD><TD class=buttonheading width="100%" align=right></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top>ประวัติ ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา

    ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา
    ( พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ )
    สงฆ์สาวกพระภาคเจ้า……หมู่ใด
    ปฏิบัติตามพระวินัย……………ชอบแล้ว
    ประพฤติเพื่อพ้นไป………จากทุกข์ทั้งปวง
    อีกหนึ่งสรณะแก้ว …………… นบเกล้านมัสการ
    ชาติภูมิ
    นามเดิม วงศ์หรือชัยวงศ์ นามสกุล ต๊ะแหนม เกิดที่ ตำบลหันก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เกิดเมื่อ วันอังคาร เดือน ๗ ( เหนือ ) แรม ๒ ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๔๕๖ เวลา ๒๔.๑๕ นาฬิกา มีพี่น้องรวม ๙ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๓
    ชิวิตในวัยเด็ก
    ท่านเกิดในตระกูลชาวไร่ชาวนาที่ยากจน พ่อแม่ของท่านมีสมบัติติดตัวมาแค่นา ๓-๔ ไร่ ควาย ๒-๓ ตัว ทำนาได้ข้าวปีละ ๒๐-๓๐ หาบ ไม่พอกินเพราะต้องแบ่งไว้ทำพันธุ์ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเอาไว้ใส่บาตรทำบุญบูชาพระ ส่วนที่เหลือจึงจะเก็บไว้กินเอง ต้องอาศัยขุยไผ่ขุยหลวกมาตำเอาเม็ดมาหุงแทนข้าว และอาศัยของในป่า รวมทั้งมันและกลอยเพื่อประทั้งชีวิต บางครั้งต้องอดมื้อกินมื้อก็มี แม่ต้องไปขอญาติพี่ๆน้องๆ เขาก็ไม่มีจะกินเหมือนกัน แม่ต้องกลับมามือเปล่า พร้อมน้ำตาบนใบหน้ามาถึงเรือน ลูกๆก็ร้องไห้เพราะหิวข้าว
    แม้ว่าครอบครัวของท่านต้องดิ้นรนต่อสู้กับความอดทนอยากแต่ก็ไม่ได้ละทิ้งเรื่องการทำบุญให้ทาน ข้าวที่แบ่งไว้ทำบุญ แม่จะแบ่งให้ลูกทุกคนๆละปั้น ไปใส่บาตรบูชาพระพุทธทุกวันพระ
    โยมพ่อเคยสอนว่า " ตอนนี้พ่อแม่อด ลูกทุกคนก็อด แต่ลูกๆทุกคนอย่าท้อแท้ใจ ค่อยทำบุญไปเรื่อยๆ บุญมีภายหน้าก็จะสบาย " และโยมพ่อเคยพูดกับท่านว่า
    " ลูกเอ๋ยเราทุกข์ขนาดนี้เชียวหนอ ข้าวจะกินก็ไม่มี ต้องกินไปอย่างนี้ ค่อยอดค่อยกลั้นไป บุญมีก็ไม่ถึงกับอดตายหรอก ทรมานมานานแล้ว ถึงวันนี้ก็ยังไม่ตาย มันจะตายก็ตาย ไม่ตายก็แล้วไป ให้ลูกอดทนไปนะ ภายหน้าถ้าพ่อยังไม่ตายเสียก่อนก็ดี ตายไปแล้วก็ดี บางทีลูกจะได้นั่งขดถวายหงายองค์ตีน ( บวช ) กินข้าวดีๆอร่อยๆ พ่อนี่จะอยู่ทันเห็นหรือไม่ทันก็ยังไม่รู้ "
    ผู้มีความขยันและอดทน
    ในสมัยที่ท่านยังเล็กๆอายุ ๓-๔ ขวบ ท่านมีโรคประจำตัวคือ โรคลมสันนิบาต ลมเปี่ยวลมกัง ต้องนั่งทุกข์อยู่เป็นวันเป็นคืน เดินไปไกลก็ไม่ได้ วิ่งก็ไม่ได้เพราะลมเปี่ยว ตะคริวกินขากินน่อง เดินเร็วๆก็ไม่ได้ ต้องค่อยไปค่อยยั้ง เวลาอยู่บ้านต้องคอยเลี้ยงน้อง ตักน้ำติดไฟไว้คอยพ่อแม่ที่เข้าไปในป่าหาอาหาร
    ในช่วงที่ท่านมีอายุได้ ๕-๑๐ ขวบ ท่านต้องเป็นหลักในบรรดาพี่น้องทั้งหมดที่ต้องช่วยงานพ่อแม่มากที่สุด เวลาพ่อแม่ไปไร่ไปนาก็ไปด้วย เวลาพ่อแม่ไปหากลอยขุดมัน หาลูกไม้ในป่า ท่านก็ไปช่วยขุดช่วยหาบกลับบ้าน บางครั้งพ่อแม่หลงทางเพราะไปหากลอยตามดอยตามเนินเขา กว่าจะหากลอยได้เต็มหาบก็ดึก ขากลับพ่อแม่จำทางไม่ได้ ท่านก็ช่วยพาพ่อแม่กลับบ้านจนได้
    ครั้นถึงหน้าฝน พ่อแม่ออกไปทำนา ท่านก็ติดตามไปช่วยทุกอย่าง พ่อปั้นคันนาท่านก็ช่วยพ่อ พ่อไถนาท่านก็คอยจูงควายให้พ่อ เวลาแม่ปลูกข้าวก็ช่วยแม่ปลูกจนเสร็จ
    เสร็จจากหน้าทำนา ท่านก็จะเผาไม้ในไร่เอาขี้เถ้า ไปขุดดินในถ้ำมาผสม ทำดินปืนไปขาย ได้เงินซื้อข้าวและเกลือ บางครั้งก็ไปอยู่กับลุงน้อยเดชะรับจ้างเลี้ยงควาย บางปีก็ได้ค่าแรงเป็นข้าว ๒-๓ หาบ บางปีก็เพียงแต่ขอกินข้าวกับลุง พอตุนท้องตุนไส้ไปวันๆ
    พอถึงเวลาข้าวออกรวง นกเขาจะลงกินข้าวในนา ท่านก็จะขอพ่อแม่ไปเฝ้าข้าวในนาตั้งแต่เช้ามืด กว่าจะกลับก็ตะวันลับฟ้าไปแล้ว
    ผู้มีความกตัญญู
    หลวงพ่อมีความกตัญญูมาตั้งแต่เด็ก ท่านช่วยพ่อแม่ทำงานต่างๆ ทุกอย่างเท่าที่ทำได้ ตั้งแต่อายุได้ประมาณ ๕ ขวบ ท่านก็ช่วยพ่อแม่เฝ้านา เลี้ยงน้อง ตลอดจนช่วยงานทุกอย่างของพ่อแม่ เมื่อเวลาที่พ่อแม่หาอาหารไม่ได้ ท่านก็จะไปรับจ้างชาวบ้านแถบบ้านก้อทำความสะอาด หรือช่วยเฝ้าไร่นา เพื่อแลกกับข้าวปลาอาหารมาให้พ่อแม่และน้องๆกิน
    ในบางครั้งอาหารที่ได้มาหรือที่พ่อแม่จัดหาให้ไม่เพียงพอกับคนในครอบครัว ด้วยความที่ท่านมีนิสัยเสียสละ และไม่ต้องการให้พ่อแม่ต้องเจียดอาหารของท่านทั้งสองซึ่งมีน้อยอยู่แล้วออกมาให้ท่านอีก ท่านจึงได้บอกว่า " กินมาแล้ว " เพื่อให้พ่อแม่สบายใจ แต่พอลับตาผู้อื่น หรือเมื่อผู้อื่นในบ้านหลับกันหมดแล้ว ท่านก็จะหลบไปดื่มน้ำ หรือบางครั้งจะหลบไปหาใบไม้ที่พอจะกินได้มาเคี้ยวกิน เพื่อประทังความหิวที่เกิดขึ้น ท่านเติบโตขึ้นมาโดยพ่อแม่เลี้ยงข้าวท่านไม่ถึง ๑๐ ถัง แต่ท่านในสมัยเป็นเด็ก กลับหาเลี้ยงพ่อแม่มากกว่าที่พ่อแม่หาเลี้ยงท่าน
    นิสัยกล้าหาญ
    เมื่อท่านอายุได้ประมาณ ๑๐ ขวบ ท่านต้องออกไปเฝ้านาข้าว เพื่อคอยไล่นกที่จะมากินข้าวในนา ท่านต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตี ๔ ยังไม่สว่าง นกยังไม่ตื่นออกหากิน การที่ท่านต้องออกไปไร่นาแต่เพียงลำพังคนเดียวเป็นประจำ ทำให้ลุงตาลซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของท่านอดสงสัยไม่ได้ จนต้องเข้ามาถามท่าน
    ลุงตาล " มึงนี้เป็นผีเสือหรือไร แจ้งมากูก็เห็นมึงที่นี่ มึงไม่ได้นอนบ้านหรือ ? "
    ด.ช.วงศ์ " เมื่อนกหนูนอนแล้ว ข้าจึงกลับไปบ้าน เช้ามืดไก่ขัน หัวทียังบ่แจ้ง นกยังบ่ลงบ่ตื่น ข้าก็มาคนเดียว "
    ลุงตาล " ไม่กลัวเสือ ไม่กลัวผีป่าหรือ ? "
    ด.ช.วงศ์ " ผีเสือมันก็รู้จักเรา มันไม่ทำอะไรเรา เราเทียวไปเทียวมา มันคงรู้ และเอ็นดูเรา บางวันตอนเช้าเราเห็นคนเดินไปข้างหน้า เราก็เดินตามก็ไม่ทัน จนถึงไร่มันก็หายไป เราก็เข้าใจว่ามันไปส่งเรา เราก็ไม่กลัว บางเช้าก็ได้ยินเสียงเสือร้องไปก่อนหน้า "
    ลุงตาล " ไม่กลัวเสือหรือ ? "
    ด.ช.วงศ์ " เราไม่กลัว มันเป็นสัตว์ เราเป็นคน มันไม่รังแกเรา มันคงสงสารเราที่เป็นทุกข์ยาก มันคงจะมาอยู่เป็นเพื่อน เราจะไปจะมา ก็ขอเทวดาที่รักษาป่าช่วยรักษาเรา เราจึงไม่กลัว "
    ลุงตาล " มึงเก่งมาก กูจักทำตามมึง "
    ด.ช.วงศ์ " เราไม่ได้ทำอะไรมัน มันก็ไม่ทำอะไรเรา มันไม่รังแกเรา เราคิดว่า คนที่ใจบาปไปเสาะหาเนื้อในป่า กินกวางกินเก้งกินปลา เสือก็ยังไม่กัดใครตายในป่าสักคน เวลาเราจะลงเรือน เราก็ขอให้บุญช่วยเรา "
    ลุงตาล " มึงยังเด็ก อายุไม่ถึง ๑๐ ขวบ มืดๆ ดึกๆก็ไม่กลัวป่า ไม่กลัวเถื่อน ไม่กลัวผีป่าผีพง ไม่กลัวช้าง กูยอมมึงแล้ว "
    ปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์
    ขณะที่ท่านนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ในป่าคนเดียวตามลำพัง ท่านได้เปรียบเทียบชีวิตท่านกับสัตว์ป่าทั้งหลายว่า " นกทั้งหลายต่างก็หากินไป ไม่มีที่หยุด ต่างก็เลี้ยงตัวเองไปตามประสามัน ก็ยังทนทานไปได้ ตัวเราค่อยอดค่อนทนไปก็ดีเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายก็ทุกข์ยากอย่างเรา สัตว์ในโลกก็ทุกข์เหมือนกันทุกอย่าง เราไม่ควรจะเหนื่อยคร้าน ค่อยอดค่อยทนตามพ่อแม่นำพาไป "
    พรหมวิหารสี่
    หลวงพ่อมีความเมตตากรุณาและพรหมวิหารสี่มาแต่เยาว์วัยอย่างหาที่เปรียบมิได้ เพื่อนของหลวงพ่อตั้งแต่สมัยนั้นเล่าว่า เมื่อสมัยที่ท่านเป็นเด็กระหว่างทางไปหาของหรืออาหารป่า ทุกครั้งที่เห็นสัตว์ถูกกับดักของนายพราน ท่านจะปล่อยสัตว์เหล่านั้นให้มีอิสรภาพเสมอ แล้วจะหาสิ่งของมาทดแทนให้กับนายพราน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับชีวิตของมัน
    ครั้งหนึ่งท่านเห็นตัวตุ่นถูกกับดักนายพรานติดอยู่ในโพรงไม้ไผ่ ด้วยความสงสารท่านจึงปล่อยตัวตุ่นนั้นไป แล้วหยิบหัวมันที่หามาได้จากในป่า ซึ่งตั้งใจไว้ว่าจะนำไปให้พ่อแม่และน้องๆกิน ใส่เข้าไปในโพรงไม้นั้นแทน เพื่อเป็นการชดใช้แลกเปลี่ยนกับชีวิตของตัวตุ่นนั้น
    ต่อมามีอยู่วันหนึ่ง ท่านไปพบปลาดุกติดเบ็ดของชาวบ้านที่นำมาปักไว้ที่ห้วย ท่านเห็นมันดิ้นทุรนทุรายแล้วเกิดความสงสารเวทนาปลาดุกตัวนั้นมาก จึงปลดมันออกจากเบ็ด แล้วเอาหัวผักกาดที่ท่านทำงานแลกมาซึ่งตั้งใจไว้ว่าจะนำไปให้พ่อแม่และน้องๆกิน มาเกี่ยวไว้แทนเป็นการแลกเปลี่ยนชีวิตปลาดุกนั้น
    หลวงพ่อได้เมตตาบอกถึงเหตุผลที่กระทำเช่นนั้นว่า ในเวลานั้นท่านมีความเวทนาสงสารสัตว์เหล่านั้นจึงได้ช่วยชีวิตของมันไว้ ท่านมักจะสั่งสอนลูกศิษย์อยู่เสมอว่า " ชีวิตของใครๆก็รักทั้งนั้น เราทุกคนควรจะเมตตาตนเอง และเมตตาผู้อื่นอยู่เสมอ โลกนี้จะได้มีความสุข "
    ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ที่ไม่ชอบการผิดศีลมาตั้งแต่สมัยเด็ก เมื่อท่านเห็นว่าคนอื่นจะผิดศีล ข้อปาณาติบาต ( การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ) ก็รู้สึกสงสารทั้งผู้ทำปาณาตีบาตและผู้ถูกปาณาติบาต ซึ่งท่านไม่อยากเห็นพวกเขามีเวรมีกรรมกันต่อไป แต่ในขณะเดียวกันท่านก็ไม่ต้องการให้ตัวเองต้องผิดศีลโดยไปลักขโมยของผู้อื่น ซึ่งในเวลานั้นท่านไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี ท่านจึงต้องหาสิ่งของมาตอบแทนให้กับเขา แต่ในบางครั้งก็ไม่มีสิ่งของมาแลกกับชีวิตของสัตว์เหล่านั้นเหมือนกัน แต่ท่านก็สามารถจะช่วยมันได้โดยปล่อยมันให้เป็นอิสระ แล้วท่านนั่งรอนายพรานจนกว่าเขาจะมาและก็ขอเอาตัวเองชดใช้แทน ซึ่งท่านได้เล่าว่า บางคนก็ไม่ถือสาเอาความ แต่บางคนก็ให้ไปทำงานหรือทำความสะอาด ทดแทนกับที่ท่านไปปล่อยสัตว์ที่เขาดักไว้ แต่ไม่เคยมีใครทำร้ายทุบตีท่าน อาจจะมีบ้างก็เพียงแต่ว่ากล่าวตักเตือน
    ท่านได้พูดว่า " แม้ว่าบางครั้งจะต้องทำงานหนักเพื่อใช้ชีวิตของสัตว์ที่ท่านได้ปล่อยไป แต่ท่านก็รู้สึกยินดีและปิติใจเป็นอันมากที่ได้ทำในสิ่งที่ดีงามเหล่านี้ "
    กินอาหารมังสวิรัติ
    เมื่อท่านอายุได้ ๑๒ ปี ท่านได้พบเหตุการณ์สำคัญที่ทำไม่อยากจะกินเนื้อสัตว์นั้นเลยนับแต่นั้นมากล่าวคือ มีครั้งหนึ่งท่านได้เห็นพญากวางใหญ่ถูกนายพรานยิง แทนที่พญากวางตัวนั้นจะร้องเป็นเสียงสัตว์มันกลับร้องโอยๆๆๆเหมือนเสียงคนร้อง แล้วสิ้นใจตายในที่สุด และเมื่อท่านไปอยู่กับครูบาชัยลังก๋าซึ่งไม่ฉันเนื้อสัตว์ ท่านจึงงดเว้นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ตั้งแต่นั้นมา

    อีกประการหนึ่งอาจเป็นด้วยบุญบารมีที่ท่านได้สร้างสะมาแต่อดีตชาติ ประกอบกับได้เห็นความทุกข์ยากของสัตว์ต่างๆที่ถูกทำร้าย จึงทำให้ท่านเกิดความสลดใจอยู่เสมอ ท่านจึงตั้งจิตอธิษฐานถึงคุณพระศรีรัตนตรัยตั้งแต่นั้นมาว่า " จะไม่ขอเบียดเบียนชีวิตผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์และจะไม่ขอกินเนื้อสัตว์อีกต่อไป " ท่านได้เมตตาสอนว่า " สรรพสัตว์ทั้งหลายย่อมรักและหวงแหนชีวิตของมันเอง เราทุกคนไม่ควรจะเบียดเบียนมัน มันจะได้อยู่อย่างเป็นสุข " และท่านยังพูดเสมอว่า " ท่านต้องการให้ศีลของท่านบริสุทธิ์ขึ้นไปเรื่อยๆ "
    สัตว์ทุกตัวมันก็รักชีวิตของมันเหมือนกัน เมื่อเราฆ่ามันตายเพื่อกินเนื้อมัน จิตของมันไปที่สำนักพระยายมก็จะฟ้องร้องว่าคนนั้นฆ่ามันตาย คนนี้กินเนื้อของมัน ถึงแม้จะไม่ได้ฆ่า คนกินก็เป็นจำเลยด้วยก็ย่อมต้องได้รับโทษ แต่จะออกมาในรูปของการเจ็บไข้ได้ป่วย และความไม่สบายต่างๆซึ่งเจ้าตัวไม่รู้สึกเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา
    บรรพชาเป็นสามเณร
    เมื่อท่านอายุย่าง ๑๓ ปี ( พ.ศ. ๒๔๖๘ ) ด้วยผลบุญที่ท่านได้บำเพ็ญมาตั้งแต่ปางก่อนในอดีตชาติ และได้รับการอบรมสั่งสอนจากพระสงฆ์ครูบาอาจารย์ในชาตินี้จึงดลบันดาลให้ท่านมีความเบื่อหน่ายต่อชีวิตทางโลก อันเป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ท่านจึงได้รบเร้าขอให้พ่อแม่ท่านไปบวช เพื่อท่านจะได้บำเพ็ญธรรมะขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อบิดามารดาได้ฟังก็เกิดความปิติยินดีเป็นยิ่งนัก
    ไม่นานหลังจากนั้นพ่อแม่ก็ได้นำท่านไปฝากกับหลวงอาท่านได้อยู่เป็นเด็กวัดกับหลวงอาได้ไม่นาน หลวงอาจึงนำท่านไปฝากตัวเป็นศิษย์และบวชเณรกับครูบาชัยลังก๋า ( ซึ่งเป็นธุดงค์กรรมฐานรุ่นพี่ของครูบาศรีชัย ) ครูบาชัยลังก๋าได้ตั้งชื่อให้ท่านใหม่หลังจากเป็นสามเณรแล้วว่า " สามเณรชัยลังก๋า " เช่นเดียวกับชื่อของครูบาชัยลังก๋า
    มีความเคารพเชื่อฟัง
    ท่านเป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียรและเคารพเชื่อฟังครูบาอาจารย์ตลอดจนผู้สูงอายุ จึงทำให้ครูบาอาจารย์และผู้เฒ่าผู้แก่รักใคร่เอ็นดูมาก จนเป็นเหตุทำให้เพื่อนเณรบางคนพากันอิจฉาริษยา หาว่าท่านประจบครูบาอาจารย์ เมื่อใดที่ท่านอยู่ห่างจากครูบาอาจารย์เป็นต้องถูกรังแกเสมอ ทำให้การอยู่ปรนนิบัติติดตามครูบาอาจารย์เป็นไปอย่างไม่มีความสุข แต่ด้วยความเคารพกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ และต้องการที่จะปฏิบัติธรรมกรรมฐานเพื่อมรรคผล ท่านจึงได้ใช้ขันติและให้อภัยแก่พระเณรเหล่านั้นที่ไม่รู้สัจจธรรมในเรื่องกฎแห่งกรรมที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ได้กล่าวไว้ว่า " ทำความดีได้ดี ทำความชั่วผลแห่งความชั่วย่อมตอบสนองผู้นั้น "
    ชายชราลึกลับ
    เพื่อนพระสงฆ์ที่เคยอยู่ร่วมกันกับท่านในสมัยเป็นเณรได้เล่าว่า " หลวงพ่อวงศ์เป็นผู้มีขันติและอภัยทานสูงส่งจริงๆ " ครั้งหนึ่งท่านเคยถูกเณรองค์อื่น เอาน้ำรักทาไว้บนที่นอนของท่านในสมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้า และเทียนก็หาได้ยาก ท่านจึงมองไม่เห็น เมื่อท่านนอนลงไป น้ำรักก็ได้กัดผิวหนังของท่านจนแสบจนคัน ท่านจึงได้เกาจนเป็นแผลไปทั้งตัว ไม่นานแผลเหล่านั้นก็ได้เน่าเปื่อยขึ้นมาจนทำให้ท่านได้รับทุกขเวทนามาก แต่ด้วยความที่ท่านเป็นคนดีมีธรรมะเมตตาให้อโหสิกรรมกับผู้อื่น ท่านจึงใช้ขันติข่มความเจ็บปวดเหล่านั้นโดยไม่ปริปากหรือกล่าวโทษผู้ใด
    ทุกครั้งที่ครูบาอาจารย์ถาม ท่านก็ไม่ยอมที่จะกล่าวโทษใครเลย เพียงเรียนไปว่า ขออภัยให้กับพวกคนเหล่านั้นเท่านั้นและขอยึดเอาคำของครูบาอาจารย์มาปฏิบัติ เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมกันต่อไปในอนาคต และเพื่อความหลุดพ้นจากวัฎสงสารแห่งนี้เข้ามรรคผลดังที่ครูบาอาจารย์ได้อบรมสั่งสอนมาด้วยความยากลำบาก เพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหาเป็นคนดีและเป็นพระสงฆ์เนื้อนาบุญของพุทธบริษัทต่อไป
    ด้วยผลบุญที่ท่านได้สั่งสมมาแต่อดีตถึงปัจจุบัน จึงดลบันดาลให้มีชายชราชาวขมุนำยามาให้ท่านกิน ให้ท่านทาเป็นเวลา ๓ คืน เมื่อท่านหายดีแล้ว ชายชราผู้นั้นก็ได้กลับมาหาท่าน และได้พูดกับท่านว่า " เป็นผลบุญของเณรน้อยที่ได้สร้างสมมาแต่อดีตถึงปัจจุบันไว้ดีมาก และมีความกตัญญูเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ครูบาอาจารย์ดีมาก จึงทำให้แผลหายเร็ว ขอให้เณรน้อยจงหมั่นทำความดีปฏิบัติธรรม และเคารพเชื่อฟังครูบาอาจารย์ต่อไปอย่าได้ท้อถอย ไม่ว่าจะมีมารมาขัดขวางอย่างไรก็ดี ขอเณรน้อยใช้ความดีชนะความไม่ดีทั้งหลาย ต่อไปในภายภาคหน้าสามเณรน้อยจะได้เป็นพระสงฆ์เนื้อนาบุญของพุทธบริษัทต่อไป "
    เมื่อชายชราผู้นั้นกล่าวจบแล้ว จึงได้เดินลงจากกุฏิที่ท่านพักอยู่ สามเณรชัยลังก๋านึกได้ยังไม่ได้ถามชื่อแซ่ของชายชราผู้มีพระคุณจึงวิ่งตามลงมา แต่เดินหาเท่าไรก็ไม่พบชายชราผู้นั้น ท่านจึงได้สอบถามผู้คนที่อยู่ในบริเวณนั้น ทุกคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่พบเห็นชายชราเช่นนี้มาก่อนเลย นอกจากเห็นท่านนอนอยู่องค์เดียวในกุฏิ จากคำพูดของคนเหล่านี้ทำให้ท่านประหลาดใจมาก เพราะท่านได้พูดคุยกับชายชราผู้นั้นถึง ๓ คืน เหตุการณ์นี้ทำให้ท่านคิดว่าชายชราผู้นั้นถ้าไม่เป็นเทพแปลงกายมา ก็อาจจะเป็นผู้ทรงศีลที่บำเพ็ญอยู่ในป่าจนได้อภิญญา
    การกลั่นแกล้งจากพระเณรที่อิจฉาริษยายังไม่สิ้นสุดแค่นั้น บางครั้งเวลานอนก็ถูกเอาทรายกรอกปาก ถึงเวลาฉันก็ฉันไม่ได้มาก เพราะถูกพระเณรที่ไม่เชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษรังแก หรือหยิบอาหารของท่านไปกิน แต่ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มีความอดทนและยึดมั่นในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านจึงอโหสิกรรมพวกเขาและใช้ขันติในการปฏิบัติธรรมรับใช้ปรนนิบัติครูบาอาจารย์ด้วยดีต่อไป
    ครูบาชัยลังก๋ามักลูบหัวของท่านด้วยความรักเอ็นดูและสั่งสอนให้ด้วยความเมตตาอยู่เสมอว่า " มันเป็นกรรมเก่าของเณรน้อย ตุ๊ลุงขอให้เณรน้อยใช้ขันติและความเพียรต่อไป เพื่อโลกุตตรธรรมอันยิ่งใหญ่ในภายหน้า เมื่อถึงเวลานั้นแล้วทุกคนที่เคยล่วงเกินเณรน้อย เขาจะรู้กรรมที่ได้ล่วงเกินเณรน้อยมา "
    ไปวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
    ในระยะที่อยู่กับครูบาชัยลังก๋าๆได้เมตตาอบรมสั่งสอนวิชาการต่างๆให้แก่ท่าน เช่น ภาษาล้านนา ธรรมะ การปฏิบัติกรรมฐาน รวมทั้งธุดงควัตร ตลอดถึงการดำรงชีวิตในป่าขณะธุดงค์ ครูบา-ชัยลังก๋ามักพาท่านไปแสวงบุญและธุดงค์ไปในที่ต่างๆเสมอ เพื่อให้ท่านมีประสบการณ์ ทั้งยังเคยพาท่านไปนมัสการรอบพระพุทธบาทห้วยต้มหลายครั้ง ( วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ในสมัยก่อนนั้นชื่อว่า วัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้ม ) สมัยนั้นวัดนี้เป็นวัดร้างยังเป็นเขาอยู่
    ครั้งหนึ่งสามเณรชัยลังก๋าเห็นวิหารทรุดโทรมมาก จึงกราบเรียนถามครูบาชัยลังก๋า " ทำไมตุ๊ลุงถึงไม่มาสร้างวัดนี้มันทรุดโทรมมาก " ครูบาชัยลังก๋าตอบด้วยความเมตตาว่า " มันไม่ใช่หน้าที่ของตุ๊ลุงแต่จะมีพระน้อยเมืองตื๋นมาสร้าง " ขณะที่ครูบาชัยลังก๋ากล่าวอยู่นั้น ท่านก็ได้ชี้มือมาที่สามเณรน้อยชัยลังก๋าพร้อมกับกล่าวว่า " อาจจะเป็นเณรน้อยนี้กะบ่ฮู้ที่จะมาบูรณะวัดนี้ " ท่านจึงได้เรียนไปว่า " เฮายังเป็นเณรจะสร้างได้อย่างใด " ครูบาชัยลังก๋าจึงกล่าวตอบไปด้วยความเมตตาว่า " ถึงเวลาจะมาสร้าง ก็จะมาสร้างเอง "
    คำพูดของครูบาชัยลังก๋านี้ไปพ้องกับคำพูดของครูบาศรีวิชัยที่เคยกล่าวกับหม่องย่นชาวพม่า เมื่อตอนที่ท่านอายุได้ ๕ ขวบ ในครั้งนั้นครูบาศรีวิชัยได้รับนิมนต์จากหม่องย่นให้มารับถวายศาลาที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม หม่องย่นให้ขอนิมนต์ครูบาศรีวิชัยมาบูรณะวัดพระพุทธบาทห้วยต้มให้เจริญรุ่งเรือง แต่ครูบาศรีวิชัยได้ตอบปฏิเสธไปว่า " ไม่ใช่หน้าที่กู จะมีพระน้อยเมืองตื๋นมาสร้างในภายภาคหน้า "
    ท่านอยู่กับครูบาชัยลังก๋าที่วัดพระธาตุแก่งสร้อยเป็นเวลา ๑ ปี หลังจากนั้นครูบาชัยลังก๋าได้ออกจาริกธุดงค์ไปโปรดชาวบ้านที่จังหวัดเชียงราย ครูบาชัยลังก๋าได้ให้ท่านอยู่เฝ้าวัดกับพระเณรองค์อื่น ในช่วงที่ท่านอยู่วัดนี้ ท่านก็ได้พบกันครูบาศรีวิชัยเป็นครั้งแรกซึ่งท่านเคารพนับถือครูบาศรีวิชัยมาก่อนหน้านี้แล้ว
    ในครั้งนั้นครูบาศรีวิชัยได้มาเป็นประธานในการฉลองพระธาตุที่วัดพระธาตุแก่งสร้อย ในโอกาสนี้ท่านจึงได้อยู่ใกล้ชิดปรนนิบัติรับใช้ครูบาศรีวิชัยเป็นเวลา ๗ วัน การพบกันครั้งแรกนี้ ครูบาศรีวิชัยก็ได้รับท่านไว้เป็นศิษย์ตั้งแต่นั้นมา หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ผ่านพ้นไปแล้ว ท่านก็ยังประจำอยู่ที่วัดพระธาตุแก่งสร้อยได้ไม่นาน เพราะทนต่อการกลั่นแกล้งจากพระเณรอื่นไม่ไหว จึงได้เดินทางกลับมาอยู่กับหลวงน้าของท่านเพื่อช่วยสร้างพระวิหารที่วัดก้อท่าซึ่งเป็นวัดร้างประจำหมู่บ้านก้อท่า ตำบลก้อทุ่ง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
    ในระหว่างอายุ ๑๕-๒๐ ปีนั้น ท่านได้ติดตามครูบาอาจารย์หลายองค์ และได้จาริกออกธุดงค์ ปฏิบัติธรรมตามที่ต่างๆ ตลอดจนได้ไปอบรมสั่งสอนชาวบ้านชาวเขาในที่ต่างๆด้วยเช่นกัน ในบางครั้งก็ไปกับครูบาอาจารย์ ในบางครั้งก็ไปองค์เดียวเพียงลำพัง เมื่อมีโอกาสท่านก็จะกลับมารับการฝึกอบรมจากครูบาอาจารย์ทุกองค์ของท่านเสมอๆ
    อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
    เมื่ออายุ ๒๐ ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีครูบาพรหมจักร วัดพระบาทตากผ้าเป็นอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า " ชัยยะวงศา " ในระหว่างนั้น ท่านได้อยู่ปฏิบัติและศึกษาธรรมะกับครูบาพรหมจักร ในบางโอกาสท่านก็จะเดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปในที่ต่างๆทั้งลาวและพม่า ท่านได้อยู่กับครูบาพรหมจักรระยะหนึ่งแล้ว จึงได้กราบลาครูบาพรหมจักรออกจาริกธุดงค์ไปแสวงหาสัจจธรรมความหลุดพ้นจากวัฏสงสารแห่งนี้เพียงลำพังองค์เดียวต่อ เพื่อเผยแพร่สั่งสอนธรรมะขององค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กับพวกชาวเขาในที่ต่างๆเช่นเคย
    สอนธรรมะแก่ชาวเขา
    ขณะที่ท่านธุดงค์ไปในที่ต่างๆ ท่านได้พบและอบรมสั่งสอนธรรมะของพระพุทธองค์ให้กับชาวบ้านและชาวเขาในที่ต่างๆ ท่านเล่าว่า ตอนที่ท่านพบชาวเขาใหม่ๆนั้น ในสมัยนั้นชาวเขาส่วนใหญ่ยังไม่ได้นับถือพุทธศาสนา ในขณะที่ท่านจาริกธุดงค์ไปตามหมู่บ้านของพวกชาวเขา พวกชาวเขาเหล่านี้ก็จะรีบอุ้มลูกจูงหลานหลบเข้าบ้านเงียบหายกันหมดพร้อมกับตะโกนบอกต่อๆกันว่า " ผีตาวอดมาแล้วๆๆ "
    ในบางแห่งพวกผู้ชายบางคนที่ใจกล้าหน่อยก็เข้ามาสอบถามและพูดคุยกับท่าน บางคนเห็นหัวของท่านแล้วอดรนทนไม่ไหวที่เห็นหัวของท่านเหน่งใส จึงเอามือลูบหัวของท่านและทักทายท่านว่า " เสี่ยว " ( แปลว่าเพื่อน ) หลวงพ่อว่าในตอนนั้น ท่านไม่รู้สึกเคืองหรือตำหนิเขาเหล่านั้นเลย นอกจากขบขันในความซื่อของพวกเขา เพราะพวกเขายังไม่รู้จักพุทธศาสนา ในสมัยนั้นพวกชาวเขายังนับถือลัทธิบูชาผี บูชาเจ้า ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้ถือธุดงค์ปฏิบัติกรรมฐานในสถานที่แห่งนั้น เพื่อจะหาโอกาสสอนธรรมะของพระพุทธองค์ให้กับพวกชาวเขา การสอนของท่านนั้น ท่านได้เมตตาบอกว่า ท่านต้องทำและสอนให้พวกเขารู้อย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ทำให้พวกเขามีความรู้สึกแปลกประหลาดและขัดต่อจิตใจความเป็นอยู่ที่เขามีอยู่
    ท่านได้ใช้ตัวของท่านเองเป็นตัวอย่างให้เขาดู ในการที่จะทำให้พวกเขาหันมาปฏิบัติธรรมะของพระพุทธองค์ เมื่อพวกเขาถามท่านว่า " ทำไมท่านจึงโกนผมจนหัวเหน่ง และนุ่งห่มสีเหลืองทั้งชุดดูแล้วแปลกดี " ท่านก็จะถือเอาเรื่องที่เขาถามมาเป็นเหตุในการเทศน์ เพื่อเผยแพร่ธรรมะให้พวกเขาได้ปฏิบัติและรับรู้กัน
    หลวงพ่อได้เล่าว่า การสอนให้เขารู้ธรรมะนั้น ท่านต้องสอนไปทีละขั้น เพื่อให้เขารู้จักพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์เสียก่อน จากนั้นท่านจึงสอนพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กับพวกเขา โดยเฉพาะการทำงาน การถือศีล และการนั่งภาวนา ให้พวกเขาได้ปฏิบัติยึดถือกัน โดยเฉพาะเรื่องของศีล ๕ ท่านจะสอนเน้นให้พวกเขาไม่เบียดเบียนผู้อื่น และไม่ทำร้ายผู้อื่น เพื่อจะได้ไม่เป็นเวรกรรมกันต่อไปในภายภาคหน้า ซึ่งการสอนของท่านทำให้พวกชาวเขาได้รับความสงบสุขภายในหมู่บ้านของเขาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน พวกเขาจึงยิ่งเคารพนับถือและเชื่อฟังในคำสั่งสอนของท่านมากยิ่งขึ้น
    สอนกินมังสวิรัติ
    หลวงพ่อได้เมตตาเล่าให้ฟังว่า ในสมัยนั้นพวกชาวเขาได้นำอาหารที่มีเนื้อสัตว์มาถวาย แต่ท่านหยิบฉันเฉพาะที่เป็นผักเป็นพืชเท่านั้น ทำให้เขาเกิดความสงสัย ท่านจึงได้ยกเอาเรื่องในพุทธชาดกมาเทศน์ให้พวกเขาฟัง เพื่อเป็นการเน้นให้เห็นถึงกฎแห่งกรรมและผลดีของการรักษาศีล
    ท่านได้อยู่อบรมสั่งสอนให้พวกเขารับรู้ถึงธรรมะและการรักษาศีลอยู่เสมอๆ ทำให้พวกเขาเลื่อมใสและหันกลับมานับถือพระพุทธศาสนาโดยละทิ้งประเพณีเก่าๆ ที่เคยปฏิบัติกันมา
    ต่อมาพวกชาวเขาเหล่านี้ก็ได้เจริญรอยตามท่าน โดยเลิกกินเนื้อสัตว์หันมากินมังสวิรัติแทน ( ดังที่เราจะเห็นได้จากกะเหรี่ยงที่อพยพมาอยู่ที่หมู่บ้านพระพุทธบาทห้วยต้มในปัจจุบันนี้ ) เมื่อท่านได้สอนพวกเขาให้นับถือศาสนาพุทธแล้ว ท่านก็จะจาริกธุดงค์แสวงหาสัจธรรมต่อไป และถ้ามีโอกาสท่านก็จะกลับไปโปรดพวกเขาเหล่านั้นอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ชาวเขาและชาวบ้านในที่ต่างๆที่ท่านเคยไปสั่งสอนมาจึงเคารพนับถือท่านมาก
    สร้างทางขึ้นดอยสุเทพ
    เมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ท่านจึงเดินทางกลับมาหาครูบาศรีวิชัยพร้อมกับชาวกะเหรี่ยงที่เป็นศิษย์ของท่าน เพื่อช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ในครั้งนี้ครูบาศรีวิชัยได้เมตตาให้ท่านเป็นกำลังสำคัญทำงานร่วมกับครูบาขาวปีในการควบคุมชาวเขาช่วยสร้างทางอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่ยากลำบาก เช่น การสร้างถนนในช่วงหักศอก ก่อนที่จะถึงดอยสุเทพ
    ในระหว่างกำลังสร้างทางช่วงนี้ ได้มีหินก้อนใหญ่มากติดอยู่ใกล้หน้าผา จะใช้กำลังคนหรือช้างลากเช่นไรก็ไม่ทำให้หินนั้นเคลื่อนไหวได้ ชาวกะเหรี่ยงที่ทำงานอยู่นั้นจึงไปกราบเรียนให้ ครูบาศรีวิชัยทราบ ท่านจึงให้คนไปตามหลวงพ่อซึ่งกำลังสร้างทางช่วงอื่นอยู่ เมื่อหลวงพ่อวงศ์มาถึงท่านได้ยืนพิจารณาอยู่ครู่หนึ่ง จึงได้เดินทางไปผลักหินก้อนนั้นลงสู่หน้าผานั้นไป เหตุการณ์นี้ทำให้ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์แปลกใจไปตามๆ กันที่เห็นท่านใช้มือผลักหินนั้นโดยไม่อาศัยเครื่องมือใดๆ ครูบาศรีวิชัยได้ยืนยิ้มอยู่ข้างๆท่านด้วยความพอใจ
    ประทับรอยเท้าเป็นอนุสรณ์
    ขณะที่ท่านช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ท่านได้ประทับรอยเท้าลึกลงไปในหินประมาณ ๑ ซ.ม. ข้างน้ำตกห้วยแก้ว ( ช่วงตอนกลางๆของทางขึ้นดอยสุเทพ เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ท่านได้มาช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทาง )
    อุปสรรค
    ท่านเป็นผู้ที่ครูบาศรีวิชัยไว้ใจมากองค์หนึ่ง เพราะเมื่อครูบาศรีวิชัยมีปัญหาเรื่องขาดกำลังคน ครูบาศรีวิชัยก็จะมอบหน้าที่ให้ท่านไปนำกะเหรี่ยงอยู่บนดอยต่างๆมาช่วยสร้างทาง
    หลวงพ่อเล่าว่า การสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ และการสร้างบารมีของครูบาศรีวิชัยนั้นทุกข์ยากลำบากมาก เพราะถูกกลั่นแกล้งจากบุคคลอื่นที่ไม่เข้าใจและอิจฉาริษยาอยู่เสมอ ทุกครั้งที่ครูบาศรีวิชัยให้ท่านไปนำกะเหรี่ยงมาช่วยสร้างทาง ระหว่างการเดินทางต้องคอยหลบเลี่ยงจากการตรวจจับของพวกตำรวจหลวงและคณะสงฆ์ที่ไม่เข้าใจ
    ครูบาศรีวิชัยท่านได้เล่าว่า ในเวลากลางวันต้องหลบซ่อนกันในป่าหรือเดินทางให้ห่างไกลจากเส้นทางสัญจร เพื่อหลบให้ห่างจากผู้ขัดขวาง ส่วนในเวลากลางคืนต้องรีบเดินทางกันอย่างฉุกละหุก เพราะเส้นทางต่างๆมืดมากต้องอาศัยโคมไฟตามบ้านเป็นการดูทิศทาง เพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทางเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
    ด้วยบารมีและความตั้งมั่นในการทำความดีของครูบาศรีวิชัยที่มีต่อพระพุทธศาสนาทำให้พุทธบริษัททั้งชาวบ้านและชาวเขาจากในที่ต่างๆ จำนวนมากมาช่วยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพได้สำเร็จดังความตั้งใจของครูบาศรีวิชัย โดยใช้เวลาสร้างเพียง ๗ เดือนเท่านั้น
    เมื่อครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพสำเร็จแล้ว หลวงพ่อจึงได้ไปกราบลาครูบาศรีวิชัย กลับไปอยู่ที่เมืองตื๋น วัดจอมหมอก ตำบลแม่ตื๋น กิ่งอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
    ห่มขาว
    เมื่ออายุได้ ๒๓ ปี ขณะที่ท่านอยู่ที่วัดจอมหมอก เจ้าคณะตำบลได้มาจับท่านสึก ในข้อหาที่ท่านเป็นศิษย์และเป็นกำลังสำคัญที่ปฏิบัติเชื่อฟังครูบาศรีวิชัยอย่างเคร่งครัด ( ซึ่งในขณะนั้นครูบาศรีวิชัยได้ถูกจับมาสอบสวนอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯ ) แต่ตัวท่านเองไม่ปรารถนาที่จะสึก จะหนีไม่ได้ เมื่อทางคณะสงฆ์จะจับท่านสึก และให้นุ่งห่มดำหรือแต่งแบบฆราวาส ท่านไม่ยอม เพราะท่านไม่ได้ผิดข้อปฏิบัติของสงฆ์ แต่เมื่อคณะสงฆ์ที่ไปจับท่านสึก ไม่ให้ห่มเหลือง ท่านจึงหาผ้าขาวมาห่มแบบสงฆ์ เลียนเยี่ยงอย่างครูบาขาวปี วัดผาหนาม ( ซึ่งเคยถูกจับสึก ไม่ให้ห่มเหลืองในข้อหาเดียวกัน ในคราวที่ครูบาศรีวิชัยถูกอธิกรณ์ ก่อนที่จะมีการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ) และยึดถือข้อวัตรปฏิบัติเหมือนที่เป็นสงฆ์อย่างเดิม
    ในหมู่พระสงฆ์และฆราวาสที่เป็นศิษย์ของครูบาศรีวิชัย ก็ยังนับถือหลวงพ่อเป็นพระสงฆ์เช่นเดิม เพราะการสึกในครั้งนั้นไม่สมบูรณ์ ครูบาวงศ์ไม่ได้ทำผิดพระวินัยของสงฆ์ และในขณะที่สึกนั้น จิตใจของท่านก็ไม่ยอมรับที่จะสึก ยังยึดมั่นว่าตัวเองเป็นพระสงฆ์เหมือนเดิม ดังจะเห็นได้จากการที่ท่านยังปฏิบัติข้อวัตรพระธรรมวินัยของสงฆ์ทุกประการ
    หลวงพ่อได้เล่าว่า ในคราวนั้นลูกศิษย์ลูกหาของครูบาศรีวิชัยระส่ำระสายกันมาก บางองค์ก็ถูกจับสึกเป็นฆราวาส บางองค์ก็หนีไปอยู่ที่อื่นบ้าง ในป่าในเขาบ้างเพื่อไม่ให้ถูกจับสึก
    รวมตัวที่บ้านปาง
    หลังจากที่ครูบาศรีวิชัยพ้นจากอธิกรณ์ ครูบาศรีวิชัยได้เดินทางกลับไปจังหวัดลำพูนเพื่อไปบูรณะและสร้างวัดบ้างปาง อันเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน หลวงพ่อและครูบาขาวปี ( ซึ่งขณะนั้นนุ่งขาวห่มขาวทั้งคู่ ) ตลอดจนลูกศิษย์ทั้งที่ถูกจับสึกเป็นฆราวาส และที่หนีไปในที่ต่างๆ ต่างก็ได้เดินทางกลับมาช่วยกันสร้างและบูรณะวัดบ้านปาง เพื่อให้เป็นที่อยู่ที่ถาวรของครูบาศรีวิชัย
    หลวงพ่อได้ช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างวิหารที่วัดบ้านปางได้ระยะหนึ่ง ท่านจึงลาไปบำเพ็ญภาวนาธุดงค์ แสวงหาสัจธรรมต่อไปในป่าในเขา และเผยแพร่ธรรมะให้กับชาวบ้านและชาวเขาในที่ต่างๆต่อไป
    เดินธุดงค์
    ในสมัยนั้นท่านได้ธุดงค์บำเพ็ญเพียรไปในที่ต่างๆองค์เดียวเสมอ ท่านชอบธุดงค์ไปอยู่ในป่า ในถ้ำที่ห่างไกลผู้คน หลวงพ่อเล่าว่า ในสมัยนั้นการเดินธุดงค์ไม่สะดวกสบายเช่นสมัยนี้ เพราะเครื่องอัฏฐบริขารและกลดก็หาได้ยากมาก ตามป่าตามเขาก็มีสัตว์ป่าที่ดุร้ายอาศัยกันอย่างมากมาย ในขณะถือธุดงค์ในป่าในเขา ก็ต้องอาศัยถ้ำหรือใต้ต้นไม้เป็นที่พักที่ภาวนา เมื่อเจอพายุฝน ก็ต้องนั่งแช่อยู่ในน้ำที่ไหลท่วมมาอย่างรวดเร็วเช่นนั้น จนกว่าฝนจะหยุดตก การภาวนาในถ้ำในสมัยก่อนนั้น ก็มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย เช่น เสือ ช้าง งู เม่น ฯลฯ เป็นต้น แต่มันไม่เคยมารบกวน หรือสร้างความกังวลใจให้ท่านเลย ต่างคนต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
    ท่านเล่าว่า ครั้งหนึ่งท่านได้ไปบำเพ็ญภาวนาในถ้ำแห่งหนึ่งที่ตำบลบ้านก้อ สมัยนั้นยังเป็นป่าทึบ ต้นสักแต่ละต้นขนาด ๓ คนโอบไม่รอบ ในถ้ำนั้นมีเม่นและช้างอาศัยอยู่ บางครั้งก็มีเสือเข้ามาหลบฝน บ่อยครั้งที่ท่านกำลังภาวนาทำสมาธิอยู่นั้น พวกมันจะมาจ้องมองท่านด้วยความแปลกใจ ทำให้ท่านรู้สึกถึงความบริสุทธิ์และความไร้เดียงสาของสัตว์ที่มองดูท่านด้วยท่าทางฉงนสนเท่ห์ ทำให้ท่านนึกถึงคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า " ความไม่เบียดเบียนกันเป็นความสงบสุขอย่างยิ่ง "
    หลวงพ่อบอกว่าพระธุดงค์ในสมัยก่อน ต้องผจญอุปสรรคและปัญหาต่างๆมากมาย จึงต้องเคี่ยวจิตใจและกำลังใจให้เข้มแข็งและแกร่งอยู่เสมอ ดังนั้นพระธุดงค์รุ่นเก่าจึงเก่งและได้เปรียบกว่าพระสงฆ์ในปัจจุบัน ทั้งในด้านจิตใจและการปฏิบัติบำเพ็ญภาวนา แต่เสียเปรียบกว่าพระสงฆ์ในยุคนี้ ในด้านการใฝ่หาความรู้ทางด้านปริยัติ เพราะในสมัยนี้ ความเจริญทำให้ไปไหนมาไหนได้สะดวกและเร็วขึ้น พระสงฆ์ในรุ่นเก่าที่อยู่ห่างไกลตัวเมืองจึงต้องบังคับจิตใจ บำเพ็ญเพียรปฏิบัติภาวนาให้เกิดปัญญาและธรรมะขึ้นในจิตในใจ เพื่อนำมาพิจารณาและปฏิบัติให้ถึงพระนิพพาน
    ธุดงค์น้ำแข็ง
    บ่อยครั้งท่านได้ธุดงค์จาริกผ่านไปที่กิ่งอำเภออมก๋อยในฤดูหนาว บริเวณภูเขาของกิ่งอำเภออมก๋อยจะมีเหมยค้างปกคลุมไปทั่ว ( เหมยค้างนี้ภาษาภาคเหนือ หมายถึง น้ำค้างที่กลายเป็นน้ำแข็ง ) ในบริเวณนี้มีต้นสนขนาดต่างๆขึ้นเต็มไปหมด ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่เลย เวลาย่ำเดินไปบนพื้นน้ำแข็ง ขาจะจมลึกลงไปในน้ำแข็งนั้น ทำให้เกิดความหนาวเย็นเป็นอันมาก เพราะท่านมีแต่ผ้าที่ครองอยู่เพียงชั้นเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะเมื่อมีลมพัดผ่านมา ท่านต้องสั่นสะท้านทุกครั้ง
    ท่านได้เล่าว่า ความแห้งแล้งของอากาศและความหนาวเย็นของน้ำแข็ง ทำให้ผิวหนังของท่านแตกปริเป็นแผลไปทั้งตัว ต้องได้รับทุกขเวทนามาก สมัยนั้นในภาคเหนือ จะหากลดมาสักอันหนึ่งก็ยากมาก การธุดงค์ของท่านก็มีแต่อัฏฐบริขารเท่านั้นที่ติดตัวไปทุกหนทุกแห่ง ช้อนก็ทำจากกะลามะพร้าว ถ้วยน้ำก็ทำจากกระบอกไม้ไผ่ ผ้าจีวรที่ครองอยู่ก็ต้องปะแล้วปะอีก
    ท่านได้เมตตาเล่าว่า แต่การปฏิบัติภาวนาบนภูเขาที่มีน้ำแข็งปกคลุมมากเช่นนี้ ทำให้การปฏิบัติสมถะและวิปัสนากรรมฐานนั้นกลับแจ่มชัดและรวดเร็วดียิ่งกว่าในเวลาปกติธรรมดา เพราะทำให้ได้เห็นเรื่องของไตรลักษณ์ได้ชัดเจนดี และการพิจารณาขันธ์ ๕ อันเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ก็สามารถเห็นอย่างแจ่มชัด ทำให้ในขณะภาวนาทำสมาธิอยู่นั้นจิตสงบดีมาก ไม่พะวงกับสิ่งภายนอกเลย
    ในบางครั้งขณะที่นั่งสมาธิอยู่นั้น ไฟที่ก่อไว้ได้ลุกไหม้จีวรของท่านไปตั้งครึ่งค่อนตัว ท่านยังไม่รู้สึกตัวเลย เมื่อจิตออกจากสมาธิแล้ว ท่านต้องรีบดับไฟที่ลุกไหม้อยู่นั้นอย่างรีบด่วน ทำให้ต้องครองผ้าจีวรขาดนั้นไปจนกว่าจะเดินทางไปพบหมู่บ้าน ท่านก็จะนำผ้าที่ชาวบ้านถวายให้มาต่อกับจีวรผืนเก่าที่เหลืออยู่นั้น ในบางครั้งท่านจะนำผ้าบังสุกุลที่พบในระหว่างทาง มาเย็บต่อจีวรที่ขาดอยู่นั้นตามแบบอย่างที่ครูบาอาจารย์ในยุคก่อนๆปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาล
    หลวงพ่อเป็นพระสงฆ์ผู้ถ่อมตน และไม่เคยโออวดเป็นนิสัย เมื่อมีผู้สงสัยว่า ท่านคงเข้าสมาธิจนสูงถึงขึ้นจิตไม่จับกับ กาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แล้ว จึงไม่รู้ว่าไฟไหม้ ตัวท่านมักตอบเลี่ยงไปด้วยใบหน้าเมตตาว่า " คงจะอากาศหนาวมากหลวงพ่อจึงไม่รู้ว่าไฟไหม้จีวร "
    ครูบาศรีวิชัยมรณภาพ
    เมื่อท่านได้ ๒๘ ปี ขณะนั้นท่านได้จาริกธุดงค์สั่งสอนชาวป่าชาวเขาดอยต่างๆ ท่านได้ทราบข่าวการมรณภาพของครูบาศรีวิชัย จึงได้เดินทางลงจากเขาเพื่อไปนมัสการพระศพ และช่วยจัดทำพิธีศพของครูบาศรีวิชัย ร่วมกับครูบาขาวปีและคณะศิษย์ของครูบาศรีวิชัย ที่วัดบ้านปาง เมื่อเสร็จจากพิธีบรรจุศพครูบาศรีวิชัยแล้ว กรมทางได้นิมนต์ให้ท่านไปช่วยสร้างเส้นทางบ้านห้วยกาน - บ้านห้วยหละ ซึ่งในตอนนั้นท่านก็ยังห่มผ้าสีขาวอยู่ เมื่อการสร้างทางได้สำเร็จลงแล้ว ชาวบ้านห้วยหละจึงได้มานิมนต์ท่านไปจำพรรษา และอบรมสั่งสอนพุทธบริษัทที่สำนักสงฆ์ห้วยหละ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
    ห่มเหลืองอีกครั้ง
    ขณะนั้นหลวงพ่ออายุได้ ๒๘ ปี ได้รับนิมนต์ไปอยู่ช่วยบูรณะวัดป่าพลู และในปีนี้ท่านได้มีโอกาสห่มเหลืองเช่นพระสงฆ์ทั่วไปอีกครั้งหนึ่ง โดยมีครูบาบุญมา วัดบ้านโฮ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาใหม่ว่า " จันทวังโส "
    ในการห่มเหลืองในครั้งนี้ คณะสงฆ์ได้ออกญัตติให้ท่านต้องจำพรรษาที่วัดป่าพลูเป็นเวลา ๕ พรรษา เมื่อออกพรรษาในแต่ละปีท่านจะเดินทางไปธุดงค์และจาริกสั่งสอนธรรมะให้กับชาวป่าชาวเขาในที่ต่างๆ เสมอเหมือนที่ท่านเคยปฏิบัติมาในอดีต และบ่อยครั้งท่านจะไปช่วยครูบาขาวปีบูรณะวัดพระพุทธบาทตะเมาะ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
    ตรงตามคำทำนาย
    เมื่อท่านอยู่วัดป่าพลูครบ ๕ พรรษาตามบัญญัติของสงฆ์แล้ว ในขณะนั้นท่านมีอายุได้ ๓๔ ปี นายอำเภอลี้และคณะสงฆ์ในอำเภอลี้ ได้ให้ศรัทธาญาติโยมวัดนาเลี่ยงมานิมนต์ครูบาขาวปีหรือท่านองค์ใดองค์หนึ่ง เพื่อไปอยู่เมตตาบูรณะวัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้ม แต่ครูบาขาวปีไม่ยอมไป และบอกว่า " ไม่ใช่หนึ่งที่ของกู " ครูบาศรีวิชัยเคยพูดไว้ว่า " วัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้มนั้น มันเป็นหน้าที่ของครูบาวงศ์องค์เดียว "
    ด้วยเหตุนี้ ครูบาขาวปีจึงขอให้ท่านไปอยู่โปรดเมตตาสร้าง วัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้ม ซึ่งต่อมาในภายหลังจากที่ท่านได้ไปอยู่ที่วัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้มแล้ว ท่านได้เปลี่ยนชื่อให้สั้นลงเป็น " วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม "
    ในขณะที่ท่านอยู่ที่เมืองตื๋นนั้น ชาวบ้านและชาวเขาต่างเรียกท่านว่า " น้อย " เมื่อท่านมาอยู่ที่วัดพระบาทห้วยต้ม ชาวบ้านทั้งหลายจึงเชื่อกันว่า ท่านคงเป็น " พระน้อยเมืองตื๋น " ตามคำโบราณที่ได้จารึกไว้ ณ วัดพระพุทธบาทห้วย ( ข้าว ) ต้ม เหตุการณ์นี้ก็ตรงตามคำพูดของครูบาชัยลังก๋าและครูบาศรีวิชัย ดังที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อท่านย้ายมาประจำที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ท่านก็ยังออกจาริกไปสั่งสอนธรรมะแก่ชาวบ้านและชาวเขาในที่ต่างๆอยู่เสมอๆเหมือนที่ท่านเคยปฏิบัติมา
    ผู้เฒ่าผู้รู้เหตุการณ์
    ในระยะแรกที่หลวงพ่อมาที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ผู้เฒ่าคนหนึ่งในหมู่บ้านนาเลี่ยงได้พูดกับชาวบ้านในละแวกนั้นว่า " ต่อไปบริเวณเด่นยางมูล ( คือหมู่บ้านห้วยต้มในปัจจุบัน ) จะมีชาวกะเหรี่ยงอพยพติดตามครูบาวงศ์มาอยู่ที่นี่ จนเป็นหมู่บ้านใหญ่ในอนาคต ในครั้งนี้จะใหญ่กว่าหมู่บ้านกะเหรี่ยง ๔ ยุคที่เคยอพยพมาอยู่ที่นี่ในสมัยก่อนหน้านี้ " คำพูดอันนี้ในสมัยนั้นชาวบ้านนาเลี่ยงฟังแล้วไม่ค่อยเชื่อถือกันนัก แต่ในเวลาต่อมาไม่นาน คำพูดอันนี้ก็เป็นความจริงทุกประการ
    หลวงพ่อได้เล่าให้คณะศิษย์ฟังเพิ่มเติมว่า คนเฒ่าผู้นี้เป็นผู้รู้เหตุการณ์ในอนาคต และมักจะพูดได้ถูกต้องเสมอ มีอยู่ครั้งหนึ่งหลังจากที่ท่านได้สร้างวิหารที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้มเป็นรูปร่างขึ้นแล้ว ผู้เฒ่าคนนี้ในสมัยก่อนเคยเห็นคำทำนายโบราณของวัดพระพุทธบาทห้วยต้มมาก่อน ได้มาพูดกับท่านว่า " ท่านครูบาจะสร้างให้ใหญ่เท่าไหร่ก็สร้างได้ แต่จะสร้างใหญ่จริงอย่างไรก็ไม่สำเร็จ ต่อไปจะมีคนๆหนึ่งมาช่วย ถ้าคนนี้มาแล้วจะสำเร็จได้ "
    ชาวเขาอพยพตามมา
    เมื่อท่านอยู่ที่วัดห้วยต้มได้ไม่นาน คำพูดของผู้เฒ่าคนนี้ก็เป็นความจริง เพราะชาวเขาจากที่ต่างๆที่ท่านได้อบรมสั่งสอนมา ได้อพยพย้ายถิ่นฐานติดตามมาอยู่กับท่านเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน เพื่อมาขอพึ่งใบบุญและปฏิบัติธรรมะกับท่าน
    ในระยะแรกๆ นั้น ท่านได้ตั้งกฎให้กับพวกกะเหรี่ยงที่มาอยู่กับท่านว่า พวกเขาจะต้องนำมีดไม้ที่เคยฆ่าสัตว์มาถวายวัด และให้สาบานกับท่านว่า จะไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและจะกินมังสวิรัติตลอดไป ท่านได้เมตตาให้เหตุผลว่า ท่านต้องการให้เขาเป็นคนดี ลดการเบียดเบียน มีศีลธรรม หมู่บ้านห้วยต้มจะได้มีแต่ความสงบสุขทั้งทางโลกและทางธรรม และจะได้ไม่เป็นปัญหาของประเทศชาติต่อไป ดังที่เราจะเห็นได้จากการที่ชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านห้วยต้มนี้มีความเป็นอยู่ที่เป็นระเบียบและมีความสงบสุข ตามที่ท่านได้เมตตาอบรมสั่งสอนมา ทั้งที่ในหมู่บ้านนี้มีกะเหรี่ยงอยู่หลายพันคน
    แต่ในสมัยนี้ กฎและระเบียบที่ชาวกะเหรี่ยงที่จะย้ายมาอยู่ที่หมู่บ้านห้วยต้มที่จะต้องนำมีดไม้ที่เคยฆ่าสัตว์มาสาบานกับหลวงพ่อนั้นได้ยกเลิกไปโดยปริยาย เพราะหลวงพ่อเห็นว่า ทางราชการได้ส่งหน่วยงานต่างๆเข้ามาจัดการดูแลช่วยเหลือ และให้การศึกษาแก่พวกเขา คงจะช่วยพวกเขาให้มีการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น และมีความสงบสุขเป็นระเบียบเหมือนที่ท่านเคยอบรมสั่งสอนมา
    สมณศักดิ์
    ๔ เมษายน ๒๕๑๔ เป็นพระครูใบฎีกาชัยยะวงศาพัฒนา
    ๕ เมษายน ๒๕๓๐ เป็นพระครูพัฒนากิจจานุรักษ์
    ๑๐ ธันวาคม ๒๕๓๓ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
    ๕ ธันวาคม ๒๕๔๐ เป็นพระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท
    เกียรติคุณ
    ๑๕ มีนาคม ๒๕๑๐ ได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการพัฒนาท้องถิ่นในเขตอำเภอลี้ โดยเจ้าคณะจังหวัดลำพูน
    ๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ ได้รับรางวัล " ครูบาศรีวิชัย " ในฐานะที่ท่านเป็นบุคคลที่มีผลงานการส่งเสริมพัฒนาพระพุทธศาสนา กิจการสาธารณะ มีความวิริยะ เสียสละเพื่อสังคม และเป็นแบบอย่างที่ดี มีปฏิปทาเดินตามรอยเยี่ยง ครูบาเจ้าศรีวิชัยนักบุญนักพัฒนาแห่งล้านนาไทย
    ๓ เมษายน ๒๕๓๙ ได้รับโล่เชิดชูเกียรติคุณในฐานะ " คนดีศรีทุ่งหัวช้าง " จาก อ.ทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน
    ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ได้รับโล่เชิดชูเกียรติในฐานะเป็น ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านศิลปินดีเด่น จังหวัดลำพูน สาขาศิลปะ สถาปัตยกรรม จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
    ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ได้รับรางวัล เสมาธรรมจักร ในฐานะ " บุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาส่งเสริมการพัฒนาชุมชน "
    ประวัติการจำพรรษา
    ลำดับการจำพรรษาเมื่อเป็นพระภิกษุ
    พรรษาที่ ๑ พ.ศ.๒๔๗๕ ( อายุ ๒๐ ปี ) วัดห้วยแม่บางแบ่ง เขตพม่า ( อุปสมบทที่วัดป่าน้ำ เมื่อเดือน ๕ เหนือ โดยมีครูบาเจ้าพรหมจักร เป็นพระอุปัชฌาย์ )
    พรรษาที่ ๒-๔ พ.ศ.๒๔๗๖-๗๘ ( อายุ ๒๑-๒๓ ปี ) วัดจอมหมอก ต.ม่อนจอง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่
    พรรษาที่ ๕ พ.ศ.๒๔๗๙ ( อายุ ๒๔ ปี ) วัดห้วยเปียง อ.แม่ระมาด จ.ตาก
    พรรษาที่ ๖ พ.ศ.๒๔๘๐ ( อายุ ๒๕ ปี ) วัดไม้ตะเคียน อ.แม่ระมาด จ.ตาก
    พรรษาที่ ๗-๘ พ.ศ.๒๔๘๑-๘๒ ( อายุ ๒๖-๒๗ ) วัดห้อยเปียง ( นุ่งขาวห่มขาว )
    พรรษาที่ ๙ พ.ศ.๒๔๘๓ ( อายุ ๒๘ ปี ) วัดห้วยหละ ต.ป่าพลู อ.บ้านโอ่ง จ.ลำพูน
    พรรษาที่ ๑๐-๑๔ พ.ศ. ๒๔๘๔-๘๘ ( อายุ ๒๙-๓๓ ปี ) วัดป่าพลู ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
    พรรษาที่ ๑๕-๑๘ พ.ศ.๒๔๘๙-๙๒ ( อายุ ๓๔-๓๗ ปี ) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน
    พรรษาที่ ๑๙-๒๔ พ.ศ.๒๔๙๓-๙๘ ( อายุ ๓๘-๔๓ ปี ) วัดแม่ต๋ำ ต.เสริมซ้าย อ.เสริมงาม จ.ลำปาง
    พรรษาที่ ๒๕-๒๗ พ.ศ.๒๔๙๙-๒๕๐๑ ( อายุ ๔๔-๔๖ ปี ) วัดน้ำอุ่น ต.แม่ตืน อ.ลี้ จ.ลำพูน
    พรรษาที่ ๒๘ พ.ศ.๑๕๐๒ ( อายุ ๔๗ ปี ) วัดพระธาตุห้าดวง ต.ลี้ อ.ลี้ จ.ลำพูน
    พรรษาที่ ๒๙-๖๔ พ.ศ.๒๕๐๓-ปัจจุบัน ( อายุ ๔๘-๘๔ ปี) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน











    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2010
  2. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    วัตถุมงคลหลวงปู่ครูบาวงค์ และวัตถุมงคลหลากคณาจารย์

    มาดูพระที่สะสมใว้ครับ จริงๆแล้วเก็บใว้เยอะแต่ เพื่อนๆไฟป่า มาขอแบ่งไปซะหลายชุดตอนนี้พอมีเท่านี้แหละครับ ไม่ใช่เซียนพระ ไม่ใช่ศูนย์พระ ไม่มีแผง แต่ชอบเก็บ และ
    รัปประกันพระแท้ร้อยล้านเปอร์เซ็นต์จากวัดครับ

    ธนาคารกสิกรไทย สาขาพะเยา ชื่อบ/ช ปริศนา บัวเทศ เลขที่ 209-2-51303-6
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2010
  3. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    เพิ่มเติม**สมเด็จชานหมากมวลสารผงดอกไม้บูชาคุณอิงออฟจองแล้ว21/9/53และพระอุปคุตปราบมาร
    อุปคุปปราบมารมีเพิ่ม1องค์ครับ

    ปาฏิหาริย์และบุญฤทธิ์บางส่วน
    ของหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศา

    คัดลอกเนื้อหาบางส่วนจากหนังสือ "พระชัยวงศานุสสติ"

    [​IMG]
    ที่มา**โพสท์ในเวปกองทัพพลังจิต **โดย wit โพสท์เมื่อ 30-07-2005

    เกศากลายเป็นพระธาตุ

    ศิษย์เก่าแก่ของหลวงพ่อท่านหนึ่งซึ่งอยู่ที่กรุงเทพฯ ครั้งหนึ่งได้นิมนต์หลวงพ่อครูบาชัยวงศ์มาพักที่บ้าน ระหว่างที่เดินทางมาบ้านของเธอ หลวงพ่อได้เมตตามอบหลอดแก้วเล็กๆ ซึ่งบรรจุเส้นเกศาของท่านไว้ มาให้บูชาติดตัวเมื่อเธอได้รับหลอดแก้วบรรจุเส้นเกศาของหลวงพ่อ ก็ได้เก็บไว้เฉยๆ ประมาณ ๔-๕ ปี จึงได้เอาหลอดแก้วนั้นไปเลี่ยมทอง เพื่อใช้ห้อยคอติดตัวเป็นประจำ
    วันหนึ่งได้มีคนรู้จักและสนิทกันมาทักทาย และได้ขอดูหลอดแก้วที่ได้มานั้น เมื่อได้พิจารณาดูสักครู่ ก็ได้ถามว่า หลอดแก้วนี้บรรจุทับทิมเอาไว้ด้วยหรือ เธอรู้สึกแปลกใจที่ถูกถามเช่นนั้น ได้ตอบไปว่าไม่ได้ใส่อะไรเพิ่มเข้าไปเลย ตั้งแต่ได้มา คงมีแต่เส้นเกศาของหลวงพ่อสีเทาขาวบรรจุอยู่เต็มภายในนั้นอย่างเดียว คงยืนกรานเช่นนั้น
    แต่ทว่า เพื่อนคนนั้นได้ท้วงว่า ก็เห็นอยู่นี่ไง จึงได้หยิบมาพิจารณาดูอย่างละเอียดอีกครั้ง แล้วก็ต้องแปลกใจและดีใจเป็นอย่างมาก ที่ได้เห็นว่าภายในหลอดแก้วนั้น นอกจากจะมีเส้นเกศาของหลวงพ่อ แล้วยังมีเม็ดทับทิมเล็กๆ อยู่ภายในนั้นด้วย ต่างคิดว่าคงเป็นเพราะบุญฤทธิ์และความเมตตาของหลวงพ่อเป็นแน่ เส้นเกศาของท่านจึงได้กลายเป็นพระธาตุสีทับทิมเหมือนปาฏิหาริย์
    ต่อมาอีกระยะหนึ่ง เส้นเกศาที่เหลือของท่านก็ได้เริ่มกลายเป็นเส้นสีทองไปบ้างแล้วอย่างเห็นได้ชัด โอ้หลวงพ่อท่านศักดิ์สิทธิ์จริงๆ ศิษย์ท่านนั้นเล่าด้วยความปีติใจ

    (โดย สุวรรณา)


    พระธาตุเสด็จในสำลี

    เจ้าของพระธาตุ เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่าเธอได้มีโอกาสเดินทางไปทำธุระกับหลวงปู่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระหว่างทางที่หยุดเติมน้ำมัน หลวงปู่ควักเอาสำลีเปล่าๆ ออกมาเช็ดขี้ตา เช็ดเสร็จแล้วท่านก็ส่งให้เธอ จากนั้นเธอก็ได้เก็บติดตัวมาโดยตลอดเพราะปกติเป็นคนชอบกลัวผี จึงเอาสำลีที่ได้พับเก็บไว้ในผ้ายันต์มาตลอดเป็นเวลานับ ๑๐ ปี
    หลังจากหลวงปู่มรณภาพ ได้มีสารวัตรคนหนึ่งซึ่งเคยได้ยินมาว่า เธอมีผ้ายันต์ของหลวงปู่ จึงอยากจะเห็น และได้ขอเธอดู เมื่อเธอเปิดให้ดูก็พบว่ามีพระธาตุจำนวน ๖ องค์อยู่ในสำลี ซึ่งเธอเก็บไว้ในผ้ายันต์ เธอจึงแปลกใจว่าพระธาตุที่ไหนมาอยู่ในสำลีของเธอ ทั้งๆ ที่ตอนแรกที่หลวงปู่ให้มา เป็นเพียงแค่สำลีเปล่าๆ ที่ใช้เช็ดขี้ตาของหลวงปู่ ด้วยบุญบารมีของหลวงปู่แท้ๆ แม้แต่ขี้ตาก็ยังกลายเป็นพระธาตุขึ้นมาได้ และยังมีพระธาตุอื่นๆ เสด็จมารวมอยู่ด้วย

    (โดย อุบาสิกา จิตสมา)


    พระรอดของหลวงพ่อ

    ดิฉันได้กราบนิมนต์หลวงพ่อมาโปรดที่บ้าน ลูกศิษย์ของหลวงพ่อ เมื่อทราบข่าว ต่างก็ทยอยกันมากราบท่านทั้งวัน เนื่องจากมีคนมามากมายเหลือเกิน ดิฉันและสามีจึงได้เข้าไปกราบท่านในตอนเย็น ในขณะที่เข้าไปกราบหลวงพ่อ สามีของดิฉันเห็นพระรอดวางอยู่บนเตียงของหลวงพ่อ
    สามีของดิฉันจึงได้ถามหลวงพ่อว่า "พระรอดองค์นี้ของหลวงพ่อหรือครับ"
    หลวงพ่อบอกว่า "พระรอดองค์นี้เป็นของลูก"
    ดิฉันและสามีรู้สึกมีความปีติมากจนน้ำตาไหล และร้องไห้ต่อหน้าหลวงพ่อ ขณะที่ดิฉันกำลังใช้มือเช็ดน้ำตาก็ต้องแปลกใจเป็นอย่างมากที่มีวัตถุบางอย่างมาติดอยู่ที่ซอกนิ้วมือ เมื่อดิฉันมองดูจึงเห็นพระรอด มาติดอยู่ระหว่างนิ้วชี้และนิ้วกลางดิฉันจึงถามหลวงพ่อว่า "หลวงพ่อ ทำไมมีพระรอดมาอยู่ในมือของลูก"
    หลวงพ่อตอบว่า "ก็ลูกขี้แย"
    ดิฉันจึงเอาพระรอดคืนให้หลวงพ่อ
    แต่หลวงพ่อก็ให้พระรอดคืนมาพร้อมกับบอกว่า "เป็นของลูก"
    หลวงพ่อมาจำวัดอยู่หลายวัน หลายวันนั้นหลวงพ่อปวดเมื่อยขา ดิฉันจึงตามหมอมานวดถวายหลวงพ่อ ก่อนจะกลับวัดหลวงพ่อบอกให้ดิฉันไปเอาของที่หัวเตียงของหลวงพ่อ
    หลวงพ่อบอกว่า "เป็นของลูก"
    ดิฉันจึงไปดูเห็นเป็นชานหมากของหลวงพ่อสองคำ เมื่อดิฉันแกะชานหมากออกดูก็ได้พบพระรอดอยู่ในชานหมากคำละองค์ ด้วยบุญฤทธิ์ของหลวงพ่อแท้ๆ ที่ท่านเมตตาให้พระรอดดิฉันมาบูชา

    (โดย สุวรรณา)


    พระรอดในกล่องนม

    เรื่องพระรอดชานหมากมีเรื่องที่ศิษย์จำนวนมากของหลวงพ่อประสบกันมามากมายเพียงแต่ต่างวาระโอกาสกันเท่านั้น
    เมื่อปี ๒๕๓๕ ครั้งนั้นหลวงพ่อเดินทางไปกราบสังเวชนียสถาน ในขณะที่พวกเรากำลังเดินทางโดยรถโดยสาร ผู้ช่วยทัวร์บริษัทสยามอินทรชัยการท่องเที่ยวซึ่งเป็นผู้นำทัวร์ ได้ถวายนมกล่องแด่หลวงพ่อ ท่านรับไปฉันจนเกือบหมด แล้วจึงคืนกล่องนมให้คุณสุปรีดา
    ตอนแรกคุณสุปรีดาคิดในใจว่า อยากจะเก็บไว้ให้ลูกเมื่อกลับถึงเมืองไทย แต่เมื่อคิดดูอีกทีอีกหลายวันเหลือเกินกว่าจะได้กลับ จึงเปลี่ยนใจขอดื่มเสียเอง
    ขณะกำลังยกกล่องนม เธอได้ยินเสียงดังเหมือนมีของบางอย่างกลิ้งไปมาอยู่ในกล่องด้วยความอยากรู้ว่ามีอะไรอยู่ข้างใน เธอจึงใช้มีดผ่ากล่องนมจึงได้พบพระรอดองค์เล็กๆ ๑ องค์อยู่ในนั้น
    การเดินทางไปอินเดียเที่ยวนี้ ไม่เพียงแต่คุณสุปรีดาเท่านั้นที่โชคดีได้พระรอด ยังมีอีกหลายคนในคณะที่ได้พระรอด โดยการที่หลวงพ่อยื่นคำหมากที่เคี้ยวออกจากปากส่งให้ศิษย์บางคนที่ยังไม่เคยได้ หรือผู้ที่ยังไม่เชื่อ หากมีวาสนาก็มักจะได้พระรอดเป็นที่อัศจรรย์เสมอ ตลอดการเดินทางในครั้งนั้น
    มีผู้ได้รับพระรอดจากหลวงพ่อคนละองค์เป็นจำนวนถึง ๑๕ คนด้วยกัน

    ชานหมากกลายเป็นพระรอด

    ประมาณปี ๒๕๓๘
    ขณะที่หลวงพ่อเข้ารับการตรวจสุขภาพและรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช ต้องนอนพักที่ศิริราช เพื่อรอผลการตรวจ
    วันนั้นมีลูกศิษย์กลุ่มหนึ่งทราบข่าว และได้เข้าไปเยี่ยม
    หลังจากกราบนมัสการหลวงพ่อเป็นที่เรียบร้อยแล้วก่อนที่ทุกคนจะกลับต่างก็เห็นหลวงพ่อกำลังหยิบชานหมากแห้งๆ มาไว้ในมือเพื่อที่จะแจก ทุกคนที่ไปกราบท่านในวันนั้นต่างก็ดีใจที่จะได้รับแจกชานหมาก
    ในขณะที่ท่านกำลังส่งให้ถึงมือแต่ละคนนั้นยังเป็นเพียงชานหมากธรรมดาเท่านั้น พอตกถึงมือแต่ละคนแล้วชานหมากนั้นกลับกลายเป็นพระรอด
    เรื่องนี้เป็นเรื่องอจินไตย ใครอยากทราบว่าเป็นจริงอย่างไรไปขอดูของจริงได้ที่ คุณสุรชัย วีระมโนกุล ซึ่งเป็นบุคคลหนึ่งที่ได้พระรอดดังกล่าวมาไว้ในครอบครอง

    พระเทวานัมปิยเถระ

    อาจกล่าวได้ว่า หลวงปู่วงศ์ ท่านเป็น พระเทวานัมปิยะเถระ องค์หนึ่ง...
    ผู้ซึ่งเป็นพระเถระ...อันเป็นที่รักยิ่งของเทวดาทั้งหลาย กล่าวคือเมื่อครั้งที่ท่านได้รับพัดยศพระครูใหม่ๆ ท่านได้แวะที่วัดบ้านปาง ก่อนถึงบันไดทางขึ้น ท่านได้แวะทำธุระส่วนตัวเมื่อเสร็จธุระแล้ว เทวดาได้ขอให้ท่านประทับรอยเท้าไว้บนก้อนหินเพื่อเขาจะได้เอาไว้กราบไหว้สักการบูชาต่อไป
    หินก้อนนี้ ปัจจุบันเจ้าอาวาสวัดบ้านปางได้นำขึ้นไปประดิษฐานข้างบนและได้สร้างมณฑปครอบไว้อย่างสวยงาม
    ในปี ๒๕๓๙ หลังจากที่ได้สร้างมณฑปเสร็จและนำหินก้อนดังกล่าวไปประดิษฐานแล้ว เจ้าอาวาสวัดบ้านปาง ได้บอกกับผู้เขียนว่า จะนิมนต์หลวงปู่มาประทับรอยเท้าบนหินก้อนนี้อีกครั้ง
    หลังจากนั้น ในปี ๒๕๔๐ ผู้เขียนได้ไปที่นั่นอีก ก็พบว่าบนก้อนหินมีทั้งรอยมือรอยเท้าของหลวงปู่ พร้อมกับปิดทองไว้อย่างสวยงามอีกด้วย
    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ได้เคยพูดถึงหลวงปู่ เมื่อคราวที่ผู้เขียนได้ไปถวายพระธาตุบรรจุเจดีย์วัดถ้ำผาปล่องว่า...
    "ครูบาวงศ์องค์นี้พระธาตุเยอะนะ"
    ทั้งนี้และทั้งนั้น ผู้เขียนคิดว่าหลวงปู่สิม ท่านคงจะทราบว่า หลวงปู่ ท่านเป็นผู้ที่มีบารมีเกี่ยวกับพระธาตุมาก
    ดังเราจะเห็นได้จากคำบันทึกของผู้ใกล้ชิด ที่ได้ติดตามหลวงปู่ไปแสวงบุญยังต่างประเทศ เช่นจากบันทึกของอาจารย์พรนพ พุกกะพันธุ์ เป็นต้น

    (โดย ศิษย์วัดดอย)


    คาถาอะไรก็สู้ใจไม่ได้

    ในขณะที่รอขึ้นเครื่องบินที่สนามบินเชียงใหม่ ได้กราบขอเมตตาท่านครูบาเจ้า สอนคาถาสั้นๆ เพื่อใช้ในยามฉุกเฉินสักบทหนึ่ง
    ท่านครูบาเจ้าได้สอนคาถาให้สามคำคือ อะ อิ อุ พอพูดจบท่านบอกว่า
    "สามคำยังยาวอยู่ สู้ใจไม่ได้"
    ท่านพูดว่า "ตัวอย่าง พ่อคิดถึงลูก ก็ถึงได้ทันที อีกสองชั่วโมงลูกก็โผล่มาให้เห็นหน้าที่วัด"
    ทั้งๆ ที่บ้านผู้เขียนอยู่ห่างจากวัดถึง ๑๕๐ กิโลเมตร แสดงว่าคาถาใจไวกว่ารถ

    (โดย ปฐม พัวพันธ์สกุล)


    หลวงปู่สอนเขียนภาพพระนางจามเทวี

    คุณวันทนา พัวพันธ์สกุล เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า เมื่อปลายปี ๒๕๔๑ เธอได้รับมอบหมายจากทางเทศบาลเมืองลำพูน ให้เป็นผู้วาดภาพเชิงเสมือนจริงของพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญชัย ขนาดเท่าองค์จริง เนื่องในวโรกาสที่นครศรีหริภุญชัย ก้าวสู่ศตวรรษที่ ๑๔
    เธอจึงเข้ากราบขอความเมตตาจากหลวงปู่เพื่อขอคำแนะนำ เริ่มตั้งแต่เขียนแบบเค้าพระพักตร์ คิ้ว ปาก คาง จมูก แม้กระทั่งสี ผิวพรรณ สัดส่วน ลักษณะสีหน้าท่าทางและความสูงขณะที่พูดถึงความสูงของพระนางฯ หลวงปู่บอกว่า สูง ๓ ศอกเดี้ยม ซึ่งเท่ากับ ๑๖๙ เซนติเมตร เธออดสงสัยไม่ได้ จึงพลั้งปากถามหลวงปู่ว่า
    "ครูบาเจ้าทราบได้อย่างไรว่าสูง ๑๖๙ เซนติเมตร"
    หลวงปู่ตอบว่า "เจ้าแม่มาบอกเอง"
    พองานผ่านไปได้ระดับหนึ่ง หลวงปู่ท่านยังได้เมตตาไปตรวจงานถึงที่บ้านด้วยความที่เธอยังไม่หมดความสงสัย เพราะเคยได้ยินได้ฟังมานานแล้วว่าหลวงปู่ในอดีตเคยมีความเกี่ยวข้องกับพระนางจามเทวีอย่างไร แต่ก็ไม่กล้าถามตรงๆ เมื่อสบโอกาสเธอจึงกราบขอสุมา เรียนถามหลวงปู่ว่า
    "หลวงปู่ครูบาเจ้า คือ ฤาษีวาสุเทพ หรือ สุเทวฤาษีใช่ก่เจ้า"
    หลวงปู่มองหน้าแล้วตอบสั้นๆ ว่า "ฮื่อ"
    เธอจึงหายสงสัยว่าทำไมหลวงปู่จึงมีพระรอดสมัยพระนางจามเทวีอยู่ในคำหมากไว้แจกลูกหลานจนเป็นที่อัศจรรย์นัก

    (โดย คุณธนกร สุริยนต์)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2010
  4. อั๋นวัดสาม

    อั๋นวัดสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    4,259
    ค่าพลัง:
    +9,022
    ให้บูชาอย่างไงครับ:cool:
     
  5. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540

    หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโลผู้สร้างดอยบุษราคัม หรือ ดอยมังกร
    ****************************************************************
    วัดอนาลโย ดอยบุษราคัม ตั้งอยู่หมู่บ้านสันป่าบง หมู่ที่ 6 ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ทั้งหมด 2,800 ไร่ เริ่มการก่อสร้างโดย พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมังคโล ขณะท่ารอยู่วัดรัตวนาราม ท่านมีปรากฎการณ์เห็นทรายทองไหลลงมาสู่วัดเป็นสายรังสี แสงของทรายทองที่ไหลพรั่งพรูราวกับสายน้ำนั้นอาบวัดทั้งวัดแทบจะกลายเป็นวัดทองคำ ท่านมองทวนลำแสงสีทองไป ก็เห็นเขาที่อยู่อีกฟากหนึ่งของกว๊านพะเยานั้นเอง จากนั้นได้มีโยมอาราธนาไปดู สถานที่สำคัญและแปลกประหลาดเพื่อจะได้สร้างสำนักสงฆ์ไว้เป็นที่บำเพ็ญกุศลของชาวบ้าน คือชาวบ้านมักจะเห็นแสงสว่างเป็นดวงกลมล่องลอยไปมาอยู่บนดอยสูง แสงนั้นดูสว่างเรื่องรองบางทีก็สว่างจ้าเป็นสีเหลืองสดอาบทั้งดอยราวกับเป็นดอยทองคำ เหตุการณ์เหล่านี้มักปรากฎในวันสำคัญทางพุทธศาสนา เช่นวันพระ 8 หรือ 15 ค่ำ เป็นต้น หลังจากที่พิจารณาดูสถานที่แล้วเห็นว่าเป็นสถานที่สวยเหมาะสมแก่การเจริญเมตตาภาวนาเป็นอย่างยิ่ง ควรที่จะสร้างให้เป็นสถานที่พักปฏิบัติธรรม
    สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ เป็นองค์ประธานพิธีวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2525 เวลา 12.45 นาฬิกา จากนั้นก็ได้สร้างสิ่งต่างๆมาจนปรากฏเห็นอยู่ในปัจจุบัน แต่มีอุปสรรคสำคัญอยู่ประการหนึ่งที่ทำให้วัดต้องขบคิดหนักคือ “การขาดแคลนน้ำ” ระหว่างที่ท่านกำลังครุ่นคิดหาทางแก้ไข วันหนึ่งท่านพระอาจารย์ไพบูลย์ด้รับอาราธนานิมนต์ไปเจริญพระพุทธมนต์ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมหาราชวัง ขณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรมมาถึงท่านอาจารย์ทรงมีพระราชปฏิสันถารว่า “ทราบข่าวว่าท่านอาจารย์ได้ไปสร้างสำนักสงฆ์บนเขาสูงที่จังหวัดพะเยาทางฟากกว๊าน คงจะขาดแคลนน้ำ ไม่เป็นไรผมจะปรึกษากรมชลประทานให้”
    วันพุธที่ 18 มกราคม 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมนมัสการพระอาจารย์ไพบูลย์ สุมังคโล หัวหน้าสำนักสงฆ์อนาลโยเป็นการส่วนพระองค์ ในการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้น ทรงสราญพระราชหฤทัยเป็นที่ยิ่ง ทรงสนทนาธรรมแล้วทรงเสวยพระกระยาหารค่ำ ณ ที่ประทับรับรองของสำนักสงฆ์อนาลโย ประทับอยู่ตั้งแต่เวลา 15.00 น. จนถึงเวลา 20.00 น. จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับและได้ทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทาน จัดสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ต๋อม และอ่างเก็บน้ำห้วยทับช้างเพื่อผันน้ำมาใช้บนสำนักสงฆ์ และจ่ายไปยังไร่นาของประชาชน จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมเป็นที่สุด
    กระทรวงศึกษาธิการและมหาเถรสมาคม อนุญาตให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2530 และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้วัดอนาลโย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม 2531 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสสาธิราชฯ สบยามกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ทรงตดลูกนิมิตอุโบสถและทรงเปิดวัดอนาลโยโดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างสิ่งทั้งหมดรวม 6 ปี เศษ
    ***********************************************************************************************
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2010
  6. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540

    ประวัติหลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดอนาลโยทิพยาราม อัตโนประวัติ พระอาจารย์ไพบูลย์ มีนามเดิมว่า ไพบูลย์ สิทธิ เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2477 เป็นบุตรของคหบดีชาวอำเภอเกาะคา โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายกองแก้ว และ นางคำ สิทธิ ในวัยเยาว์ ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ จ.เชียงใหม่ เรียนจบชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 6 ก่อนไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงตน จนอายุ 29 ปี จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดป่าสำราญนิวาส อ.เกาะคา จ.ลำปาง มีพระ ครูธรรมาภิวัฒน์ เป็นพระอุปัชฌาย์
    หลังอุปสมบทได้อยู่จำพรรษา ณ วัดป่าสำราญนิวาส ภายใต้การอบรมจากพระอาจารย์ หลวง กตปุญโญ เจ้าอาวาส เมื่อมีความก้าว หน้าจากการปฏิบัติธรรมแล้ว ได้ออกท่องธุดงค์ไปจำพรรษาในภาคอีสาน และกลับธุดงค์ขึ้นมาแถบป่าเขาในเขตเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย+ พ.ศ.2513 หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโลได้มีโอกาสไปร่วมงานถวายเพลิงศพพระอาจารย์สม ที่ อ.แม่เมาะ ได้พบกับ พระอาจารย์ทอง ที่เดินทางมาจากวัดอโศการาม จึงได้ชักชวนพระไพบูลย์ออกเดินธุดงค์หาความวิเวก คณะของหลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโลท่านได้ผ่าน มาถึง จ.พะเยา ได้พักบำเพ็ญสมณธรรมอยู่วัดร้างและจำพรรษา ณ วัดร้างแห่งนี้ ชาวบ้านแถบนั้นได้มาทำบุญฟังเทศน์ เกิดความเลื่อมใสศรัทธา พากันอาราธนาให้ท่านอยู่ ช่วยบูรณะวัดร้างขึ้นใหม่
    อยู่ช่วยปฏิสังขรณ์วัดร้าง จากสภาพวัดร้าง จนมีสภาพดีขึ้นตามลำดับ พร้อมกันนี้ได้ยื่นหนัง สือขอสร้างวัดไปยังกรมการศาสนา ได้รับอนุญาต ให้สร้างเป็นวัดในพระพุทธศาสนา มีนาม "วัดรัตนวนาราม"ต่อมาได้มี ชาวบ้านจากบ้านสันป่าม่วง บ้านสันบัวบก บ้านสันป่าบง เข้ามาอาราธนาท่านไปดูสถานที่สำคัญ บนดอยสูง ฝั่งกว๊านพะเยาด้านตะวันตก เพื่อสร้างเป็นสำนักสงฆ์ไว้เป็นที่บำเพ็ญกุศลของชาวบ้าน
    สำนักสงฆ์แห่งนี้ ในเวลาไม่นาน ได้รับการยกฐานะให้เป็นวัด ชื่อ วัดอนาลโยทิพยาราม ได้รับประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์ วันที่ 20 มกราคม 2530 + ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2517 หลวงพ่อไพบูลย์ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระฐานานุกรมของพระเทพวราภรณ์ เลขานุการของสมเด็จพระสังฆราชวัดราชบพิธ ที่ พระครูปลัด พ.ศ.2524 ได้รับพระเมตตาจาก สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร แต่งตั้งเป็นพระฐานานุกรมที่ พระครูปลัดสัมพิพัฑฒญาณาจารย์
    พ.ศ.2532 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่พระปัญญาพิศาลเถร พ.ศ.2547 ได้รับพระ ราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่พระราชสังวรญาณ+ พ.ศ.2551 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระเทพวิสุทธิญาณ
    ผลงานด้านการพัฒนา พระเทพวิสุทธิญาณ หรือ พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมงฺคโล เป็นผู้อุปถัมภ์ในการก่อสร้างพระบรมรูปรัชกาลที่ 8 โรงพยาบาลอานันทมหิดล จ.ลพบุรี ท่านได้ช่วยจัดหาทุนจ้างครูไปสอนเด็กในถิ่นทุรกัน ดาร โรงเรียนบ้านภูเงิน อีกทั้งยังได้มอบทุนแก่คณะครูที่ปฏิบัติดีเด่นประจำปี และอุปถัมภ์ในการสร้างอุโบสถวัดป่าสำราญนิวาส
    พระเทพวิสุทธิญาณ ได้มอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนยากจนเป็นประจำทุกปีๆ ละ 1,000 ทุนๆ ละ 1,000 บาท ได้จัดสร้าง พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ทูลเกล้าฯถวาย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประดิษฐานประจำที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอของจังหวัดเชียงราย เป็นต้น
    ผลงานด้านการศึกษา พระอาจารย์ไพบูลย์ ท่านได้ให้ความสำคัญด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีเป็นอย่างยิ่ง ด้วยถือว่าเป็นรากแก้วสำคัญของพุทธศาสนา เพราะภาษาบาลีเป็นภาษาที่รักษาพระพุทธพจน์ไว้อย่างสมบูรณ์ที่สุด การศึกษาพระบาลี ดุจเป็นการได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดา และได้สดับฟังพระสัทธรรมจากเบื้องพระ พักตร์ ยิ่งศึกษายิ่งเกิดกุศลบุญ
    พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมงฺคโล ท่านได้มอบหมายให้ท่านพระครูปลัด พิศิษฐ์ (ครูบาอั๋น) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสเป็นอาจารย์ ใหญ่ บริหารจัดการ เปิดการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ.2545 จนถึงปัจจุบัน โดยมีนัก เรียนผู้สอบพระปริยัติธรรมแผนกธรรมบาลี รวมประโยคต่างๆ จำนวน 54 รูป และปีนี้จะเป็นปีแรกที่มีสำนักเรียนแห่งนี้ส่งนักเรียนสอบครบทุกประโยค ตั้งแต่ประโยค 1-9
    ณ วันนี้ พระเทพวิสุทธิญาณ ได้รับเป็นประธานจัดสร้างวัดพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ (เฉลิมพระเกียรติ ครบ 200 ปี) ต.วิเชตนคร อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เป็นวัดที่คณะกรรมการบริหารคณะธรรมยุต ได้อนุมัติให้สร้างขึ้นในปีมหามงคลวโรกาสคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ครบ 200 ปี ในวันที่ 18 ตุลาคม 2547 แห่งรัชกาลที่ 4 ผู้ทรงสถาปนาคณะสงฆ์ธรรมยุต เพื่อเป็นการประกาศพระเกียรติ คุณของพระองค์ให้แผ่ไพศาลและสนองพระคุณูปการและเป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตาธรรม อุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ
    พระเทพวิสุทธิญาณ เป็นพระเถระที่มีปฏิปทาเป็นพระกัมมัฏฐานในสายพระอาจารย์ ใหญ่มั่น ภูริทัตโต เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านในเขตจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียง ท่านมีความเคร่งครัดต่อการฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐาน
    ด้วยกิตติศัพท์ แห่งคุณงามความดีที่ท่านได้ฟื้นฟูสภาพจากสำนักสงฆ์วิปัสสนาที่ไม่มีอะไรเลย จนกลายเป็นวัดที่โดดเด่น คือ วัดอนาลโยทิพยาราม จนเป็นที่นับถือเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
    แม้ทุกวันนี้ พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมงฺคโล วัดอนาลโยทิพยารามแม้จะดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการชั้นผู้ใหญ่ แต่วัตรปฏิบัติท่านยังคงเรียบง่ายดุจเดิม ยังคงให้การอบรมศีลธรรมแก่สาธุชนที่เข้ามาทำบุญฟังธรรม เน้นให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระ พุทธศาสนา ตามหลักเบญจศีล เบญจธรรม เป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานในการดำรงชีวิตให้เป็นปกติสุขในสังคม แม้สังขารเริ่มโรยราไปบ้างตามกาลเวลา แต่จิตใจของท่านยังเข้มแข็ง เป็นบุคคลต้นแบบในการดำเนินชีวิตที่ดีงามโดยแท้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2010
  7. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    พระผง 400 ชีวิตรุ่นแรกที่วัดให้บูชา 5000 ของหมดแล้วเหลือเพียงรุ่น 2
    บูชา 3999 บาท รับประกันแท้ตลอดชีวิต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 12_resize.jpg
      12_resize.jpg
      ขนาดไฟล์:
      108 KB
      เปิดดู:
      69
    • 13_resize.jpg
      13_resize.jpg
      ขนาดไฟล์:
      86.1 KB
      เปิดดู:
      68
    • 14_resize.jpg
      14_resize.jpg
      ขนาดไฟล์:
      84.9 KB
      เปิดดู:
      74
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2010
  8. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    เต่าขี้ผึ้งปิดทองฝังพระธาตุข้าวและเกษา สอบถามราคาได้ครับ
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาพะเยา ชื่อบ/ช ออมทรัพย์ ปริศนา บัวเทศ เลขที่ 209-2-51303-6
    นอกจากเต่าสำลีที่หลวงปู่ครูบาชัยวงค์เมตตาแจกให้กับบรรดาลูกศิษย์แล้วยังมีเต่าสำลีชุบสีผึ้งที่มีพุทธคุณทางด้านเมตตามหานิยมหายากกว่าเต่าสำลีอีกหลายเท่าครับเพราะสร้างน้อยมีหลายขนาดทั้งปิดทองและไม่ได้ปิดทอง สีผึ้งที่น้ำมาชุบเต่าสำลีเป็นสีผึ้งที่ได้รังที่ติดพระธาตุแล้วนำมาหุงเอาสีผึ้ง สีผึ้งจากเทียนชัย สีผึ้งปิดตาพระพุทธรูปในพิธีเบิกเนตรปลุกเสกพระ ซึ่งเป็นของมงคลมหานิยม ทำปีละครั้งครั้งละไม่กี่ตัวพระจึงเป็นของหายาก ไม่ค่อยพบเห็น กลายเป็นตำนาน เป็นที่หวงแหนของลูกศิษย์ พุทธคุณทางด้านเมตตามหานิยม ค้าขาย เก็บไว้บูชาอยู่กับบ้านเรือนเป็นสิริมงคล อยู่เย็นเป็นสุข เก็บไว้บูชาที่ร้าน ซื้อง่ายขายคล่อง เก็บไว้กับตัวเมตตามหานิยม อันตรายป้องกันได้ทุกอย่าง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2010
  9. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    สี่หูห้าตาขนาดบูชารุ่นแรก สอบถามได้ครับ

    ธนาคารกสิกรไทย สาขาพะเยา ชื่อบ/ช ปริศนา บัวเทศ เลขที่ 209-2-51303-6
    แมงสี่หูห้าตา

    วรรณกรรมจากคัมภีร์ใบลานของล้านนา และจากนิทานมุขปาฐะที่ชาวบ้านเล่าสืบต่อกันมา มีจำนวนมากมายที่ให้ทั้งความเพลิดเพลินและได้สาระจากคติธรรมคำสอนหรือข้อคิดที่โบราณาจารย์ได้สอดแทรกไว้ นิทานเรื่อง "แมงสี่หูห้าตา" เป็นนิทานเรื่องหนึ่งที่แพร่หลายมาก เป็นที่รู้จักกันดี ชาวบ้านที่เล่ามักบอกว่าเป็นเรื่องที่แสดงเหตุที่มาว่าทำไมผู้ชายจึงรักเมียน้อยมากกว่าเมียหลวง

    คำว่า "แมง" นอกจากจะใช้เป็นคำนำหน้าสัตว์เล็ก ๆ แล้ว ยังใช้เป็นคำนำหน้าสัตว์ใหญ่ ๆ ในเชิงตลกขบขันได้อีกด้วย "แมงสี่หูห้าตา" เป็นสัตว์ใหญ่คล้ายหมี มีหู ๔ หู มีตา ๕ ตา ในความเป็นจริงไม่ปรากฏสัตว์ประเภทนี้ในโลก แต่มีเรื่องเล่าในล้านนามาแต่โบราณกาล และมีการบันทึกในรูปแบบของวรรณกรรมลายลักษณ์ในเอกสารประเภทใบลาน ซึ่งมีปรากฏให้พบเห็นตามวัดโดยทั่วไป ตัวอย่างของเรื่องนี้ได้เนื้อความจากคัมภีร์ใบลานชื่อ "ธัมม์สี่หูห้าตา" ของวัดแช่ช้าง ตำบลแช่ช้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจารด้วยอักษรธรรมล้านนา จำนวน ๑ ผูก (๖๑ หน้าลาน) ผู้จารคือ "พิมมสารภิกขุ" เมื่อจุลศักราช ๑๒๗๖ (พ.ศ. ๒๔๕๗) ความในคัมภีร์ดังกล่าว กล่าวถึงเรื่องแมงสี่หูห้าตาโดยสังเขปดังนี้

    มีเมือง ๆ หนึ่งชื่อเมือง "พันธุมติ" กษัตริย์ผู้ครองเมืองชื่อ "ท้าวพันธุมติ" ซึ่งมีมเหสีอยู่ ๗ องค์ ทิศเหนือของเมืองนี้มีครอบครัวหนึ่งมีสามพ่อแม่ลูกอาศัยอยู่ สองสามีภรรยาเป็นยาจกมีบุตรชายคนเดียว เมื่อบุตรมีอายุ ๗ ขวบ มารดาสิ้นชีวิตลง ต่อมาเมื่ออายุ ๑๑ ขวบบิดาก็สิ้นชีวิต ก่อนสิ้นใจบิดาได้สั่งเสียว่าให้เอาศพฝังไว้ใกล้ ๆ กระท่อม นานเข้าศีรษะของบิดาก็จะหลุดให้นำเอาศีรษะไปสักการะบูชาทุกค่ำเช้าถ้าอายุครบ ๑๖ ปี ให้ผูกศีรษะนั้นลากไปสู่นครพันธุมติ ซึ่งมีภูเขาอยู่ หากศีรษะไปติดข้องที่ใดให้ทำแร้วเป็นกับดักสัตว์ที่นั้น

    เมื่อบิดาสิ้นชีวิตบุตรชายได้ฝังศพไว้ใกล้กระท่อมแล้วไปขออาศัยอยู่กับลุงซึ่งเป็นนายจ่าบ้าน โดยอาศัยเลี้ยงวัวหาฟืนให้เป็นสิ่งตอบแทน จนอายุได้ ๑๖ ปี จึงได้ทำตามที่บิดาสั่งไว้โดยลากศีรษะบิดาไปสู่นครพันธุมติจนไปถึงภูเขา เมื่อลากศีรษะขึ้นภูเขาไปจนถึงถ้ำแห่งหนึ่งศีรษะไปติดข้องอยู่ปากถ้ำ จึงทำแร้วดักสัตว์ใหญ่ ณ ที่นั้นแล้วกลับบ้าน

    รุ่งเช้าเขาไปดูแร้วที่ดักไว้ ปรากฏว่ามีสัตว์ใหญ่ติดอยู่สัตว์นั้นรูปร่างคล้ายหมีมีหูสี่หู มีดวงตาห้าดวง เขาได้ตัดเอาเถาวัลย์ผูกสัตว์นั้นนำกลับมาบ้าน แล้วหาสิ่งกำบังอย่างมิดชิด จากนั้นไปหาหญ้าและใบไม้มาให้กิน สัตว์สี่หูห้าตาไม่ยอมกินเอาแต่นอนหลับ ตกกลางคืนเขาก่อไฟผิง บังเอิญสะเก็ดถ่านไฟกระเด็นออกนอกกองไฟ แมงสี่หูห้าตาก็กินถ่านไฟเป็นอาหาร เมื่อเขาเห็นดังนั้นจึงหาฟืนมาเผาแล้วเอาถ่านไฟให้กินเป็นจำนวนมาก รุ่งเช้าแมงสี่หูห้าตาถ่ายมูลออกมาเป็นทองคำ
    เมื่อพบว่าแมงสี่หูห้าตากินถ่านไฟแล้วถ่ายเป็นทอง เขาจึงหาถ่านไฟให้กินเรื่อยๆ แมงสี่หูห้าตาก็ถ่ายออกมาเป็นทองคำจำนวนมาก เขานำทองที่ได้ไปฝังไว้ทุกวัน

    กล่าวถึงท้าวพันธุมติผู้ครองนครมีราชธิดาองค์หนึ่งชื่อ "สิมมา" อายุได้ ๑๖ ปี มีรูปโฉมงดงามเป็นที่หมายปองของบรรดากษัตริย์หัวเมืองต่างๆ และมีหลายเมืองต่างส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายเพื่อขอราชธิดาไปเป็นมเหสี ท้าวพันธุมติรู้สึกลำบากใจ จึงหาทางออกโดยกำหนดเงื่อนไขไว้ว่าหากเจ้าเมืองใดสามารถสร้างลินคำ (รางน้ำทองคำ) ตั้งแต่เมืองของตนมาจนถึงวังของราชธิดาได้ก็จะยกราชธิดาให้เจ้าเมืองนั้น เงื่อนไขนี้ไม่มีเจ้าเมืองใดสามารถทำได้

    ฝ่ายชายกำพร้าผู้ยากได้ทราบข่าว จึงไปขอให้ลุงไปทูลราชธิดาของท้าวพันธุมติ ส่วนลุงก็ได้แต่เวทนา วันหนึ่งมีพ่อค้าชาวจีนฮ่อกลุ่มหนึ่งมาพักแรมที่บ้านชายนั้น เขาจึงได้ว่าจ้างให้พ่อค้าเหล่านั้นสร้างลินคำตั้งแต่บ้านตนจนไปถึงวังของราชธิดาสิมมาจนสำเร็จภายในคืนเดียว

    รุ่งเช้าท้าวพันธุมติเห็นลินคำเป็นอัศจรรย์ ก็ให้เสนาอำมาตย์ติดตามไปดู เมื่อพบว่าเจ้าของเป็นใครจึงจัดขบวนแห่ไปรับเอาชายเข็ญใจไปเป็นราชบุตรเขย เมื่ออภิเษกให้เป็นคู่ครองราชธิดาสิมมาแล้ว จึงไต่ถามว่าได้ทองคำมาอย่างไร เขาจึงเล่าเรื่องแมงสี่หูห้าตาให้ฟัง ท้าวพันธุมติจึงให้เสนาไปขุดทองในสวนมาไว้ในพระคลังให้หมดและให้ราชบุตรเขยไปนำแมงสี่หูห้าตามา เขาก็ไปจูงเอามาแต่เมื่อจูงมาชาวเมืองต่างมามุงดู แมงสี่หูห้าตาก็ตกใจวิ่งหนีกลับไปอยู่ถ้ำตามเดิม ท้าวพันธุมติก็ให้ตามเอามาอีก คราวนี้ชาวเมืองต่างมามุงดูเป็นจำนวนมากขึ้น แมงสี่หูห้าตาก็ยิ่งตกใจวิ่งหนีไปอีกท้าวพันธุมติเห็นดังนั้นจึงวิ่งไล่ตามจับจนเลยเข้าไปในถ้ำ ครั้งนี้หินถล่มลงปิดปากถ้ำไว้ โดยที่เสนาวิ่งตามไม่ทันทำให้ท้าวพันธุมติถูกขังอยู่ในถ้ำกับแมงสี่หูห้าตา

    ท้าวพันธุมติถูกขังอยู่ในถ้ำเป็นเวลาหลายวันเพราะไม่มีทางออก มีเพียงรูเล็ก ๆ โดยใช้ตาข้างเดียวแนบส่องดูภายนอกได้เท่านั้น ท้าวพันธุมติคิดในใจว่าตนคงต้องตายในถ้ำนี้แน่นอน คงไม่มีโอกาสอยู่กับมเหสีอีก จึงสั่งเสนาไปตามมเหสีทั้งเจ็ดมา เมื่อมเหสีมาแล้วพระองค์จึงขอให้เปิดผ้าถุงให้ดูเป็นครั้งสุดท้ายก่อนตาย มเหสีตั้งแต่ลำดับที่ ๑ ถึง ๖ ไม่ยอมเปิดผ้าถุงเพราะความอาย แต่มเหสีองค์ที่เจ็ดรู้สึกเห็นใจ จึงยอมเปิดผ้าถุงให้ดู ทันใดนั้นถ้ำอดหัวเราะไม่ได้ก็ระเบิดหัวเราะออกมาปากถ้ำจึงเปิด พระยาพันธุมติได้โอกาสจึงวิ่งหนีออกมาได้

    เมื่อกลับมาถึงเมือง ท้าวพันธุมติได้อภิเษกให้บุตรเขยเป็นกษัตริย์ครองเมืองแทน จนถึงอายุขัยพระองค์ก็ถึงแก่พิราลัยบุตรเขยผู้เป็นกษัตริย์ได้ครองเมืองโดยธรรม และได้สร้างโรงทานถึง ๖ หลัง เพื่อให้ทานแก่ยาจกคนยากไร้ จากนั้นได้เทศนาสั่งสอนเสนาอำมาตย์และชาวเมืองให้ตั้งอยู่ในธรรมมีมรรคแปดเป็นต้น ชาวเมืองพันธุมติก็ดำรงชีพตามวิสัยอย่างสงบสุข

    เรื่องราวที่มเหสีองค์เล็กเปิดผ้าถุงให้ท้าวพันธุมติดูเป็นเหตุให้สามีทั้งหลายรักเมียน้อยมากกว่าเมียหลวง และถ้ำดังกล่าวได้ชื่อว่า "ถ้ำยุบ" ตั้งแต่นั้นมา ความตอนนี้ในคัมภีร์กล่าวว่า "ส่วนถ้ำอันนั้น ก็ได้ชื่อว่าถ้ำยุบว่าอั้น ตราบต่อเท้าเถิงกาละบัดนี้แล ส่วนท้าวพระยาทังหลายก็ลวดรักเมียปลายเหลือกว่าเมียเค้าตราบต่อเท้าเถิงกาละบัดนี้แล"

    ในแง่ของความเป็นมาเรื่อง "แมงสี่หูห้าตา" นี้มีข้อน่าสังเกตสองประการ ประการแรกอาจเป็นนิทานชาวบ้านที่เรียกว่า "เจี้ย" เล่าสืบต่อกันมาจนได้รับความนิยม ต่อมามีนักศาสนานำมาเขียนผูกโยงกับคำสอนทางศาสนาเพื่อดึงดูดความสนใจ ประการที่สองมีการเขียนลงในใบลานมาก่อน แล้วพระนำมาเทศนาธรรม ชาวบ้านก็ได้จดจำมาเล่าสู่กันฟัง ทั้งสองประการนี้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทอดทั้งโดยมุขปาฐะและลายลักษณ์ในสังคมพื้นบ้านล้านนามาช้านาน
    ความประทับใจของชาวล้านนาต่อนิทานเรื่องนี้ ทำให้ได้มีการสร้างรูปปั้นของแมงสี่หูห้าตาไว้ที่วัดดอยถ้ำเขาควาย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และชื่อเมือง "พันธุมติ" ก็เกี่ยวโยงกับชื่อเก่าแก่ของเมืองเชียงรายด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2010
  10. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    พระผงเกษารุ่น 1 พร้อมกล่องบูชา 850 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    ปิดครับ
    พระรอดชานหมาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2010
  12. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    ปิดพระสมเด็จอวตาร 84 บูชา 850 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2010
  13. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    ยังอยู่พระผงสมเด็จชานหมากบรรจุพระธาตุข้าว มี 2 องค์บูชา องค์ละ 550 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2010
  14. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    พระผงหลวงปู่ปราบมารมี 5 องค์ๆละ 250 บาท
    ปิดรายการนี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2010
  15. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    เหรียญ 3 ครูบาเนื้อทองแดงมี 2 เหรียญๆละ 150 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    เหลือ 5 องค์ครับ11/9/53
    พระรอด ตานใช้ตานแทน มี 11องค์ๆละ 150 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กันยายน 2010
  17. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    ปิด
    รูปเหมือนลอยองค์หลวงปู่ครบรอบ 80 ปี พ.ศ. 2535 บูชา 850 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2010
  18. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    เหรียญฉลองอายุ 80 ปี พ.ศ. 2535 บูชา 550 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2010
  19. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    เหรียญ 3 ครูบาเนื้อเงินบูชา 1500 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2010
  20. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    เหรียญระฆังรุ่นฉลองอายุ 77 ปี พ.ศ. 2533 หลังพระอุปคุตบูชา มี2เหรียญๆละ 350 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...