***วัตถุมงคลหลวงพ่อไพบูลย์ วัดอนาลโย ดอยมังกร-ครูบาวงค์ และเกจิอาจารย์ทั่วไทย

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย siwa1968, 24 สิงหาคม 2010.

  1. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    พระผงธูปครูบาบุญชุ่ม รุ่น 1 วัดพระธาตุดอนเรือง บูชา 1200 บาท
    เหรียญครูบาครบรอบวันเกิดปี 35 บูชา 350 บาท
    เหรียญครูบาปี 2545 บูชา 250 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1569.jpg
      DSCF1569.jpg
      ขนาดไฟล์:
      165.4 KB
      เปิดดู:
      97
    • DSCF1570.jpg
      DSCF1570.jpg
      ขนาดไฟล์:
      168 KB
      เปิดดู:
      75
    • DSCF1571.jpg
      DSCF1571.jpg
      ขนาดไฟล์:
      158.9 KB
      เปิดดู:
      123
    • DSCF1572.jpg
      DSCF1572.jpg
      ขนาดไฟล์:
      129.8 KB
      เปิดดู:
      56
    • DSCF1573.jpg
      DSCF1573.jpg
      ขนาดไฟล์:
      135.8 KB
      เปิดดู:
      75
    • DSCF1574.jpg
      DSCF1574.jpg
      ขนาดไฟล์:
      133.4 KB
      เปิดดู:
      56
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2010
  2. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    พระหลวงปู่โง่นช่วยชีวิต ดาบตำรวจสมชาย ใจโพธิ์
    ดาบตำรวจสมชาย ชี้แผลที่ถูกวัยรุ่นจ่อยิง)

    ภาระหน้าที่ของตำรวจในการรักษาความสงบเรียบร้อยให้สังคมนั้น บางโอกาสต้องเสี่ยงต่ออันตรายเนื่องจากต้องเจอกับคนร้าย เจ้าหน้าที่ตำรวจบางนายเกือบต้องเสียชีวิตลงเพราะคนร้ายต่อสู้ บางนายรอดจากการเสียชีวิตเนื่องจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือไว้ ดังรายของดาบตำรวจสมชาย ใจโพธิ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.พร้าว รอดจากการเสียชีวิตเนื่องจากพระหลวงปู่โง่น

    เหตุเกิดเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๓ เวลาประมาณ ๒๐.๓๐ น. ขณะนั้น ดาบตำรวจสมชาย ใจโพธิ์ ปฏิบัติหน้าที่สายตรวจเดินเท้าคู่กับดาบตำรวจนิพนธ์ ศรีนวล เดินตรวจร่วมกันรอบตลาดเทศบาลเวียงพร้าว ดาบตำรวจสมชายฯ เล่าเหตุการณ์เสี่ยงตายว่า

    "ผมกับดาบนิพนธ์ แต่งเครื่องแบบตำรวจเดินตรวจไปถึงหน้าโรงพยาบาลพร้าว เห็นวัยรุ่นคนหนึ่งนั่งอยู่ในศาลาหน้าโรงพยาบาล แสงไฟสลัวพอเห็นหน้ากัน วัยรุ่นท่าทางมีพิรุธ จึงเข้าไปสอบถามและขอค้นตัว สอบถามว่ารอใคร วัยรุ่นชายคนนั้นบอกว่ารอเพื่อน ผมกับดาบนิพนธ์ จึงขอค้นตัว ทันใดนั้นวัยรุ่นทำท่าขัดขืนและขยับจะวิ่งหนี ผมจึงรวบตัวไว้และร่วมกับดาบนิพนธ์ กอดปล้ำ ในใจเชื่อว่าต้องมียาเสพติดอยู่ที่ตัว วัยรุ่นคนหนี้สูงเกิน ๑๗๐ ซ.ม. รูปร่างใหญ่แข็งแรง ผมตัวเล็กกว่าปล้ำจับเอาไม่อยู่ ระหว่างที่ดาบนิพนธ์ รวบอยู่ด้านหลัง ผมอยู่ด้านหน้ากำลังปล้ำกันอยู่

    อย่างที่ผมไม่ทันระวัง ! วัยรุ่นคนนี้คว้าอาวุธปืนพกขนาด .๓๕๘ ที่ผมพกอยู่ ขณะที่ผมกำลังจะคว้าคืน วัยรุ่นยกปืนยิงใส่ผม ๒ นัดซ้อน นัดแรกถูกนิ้วมือและเฉี่ยวถูกใบหูขวา นัดที่สองเข้าเต็มอกด้านขวา

    แรกกระสุนทำให้ถอยหลังมองดูเห็นเสื้อเป็นรอยแฉกมีเลือดไหลจากบาดแผลมาก พอได้สติผมรีบวิ่งไปที่โรงพยาบาล มือกุมบาดแผลไว้ หมอดูบาดแผลและห้ามเลือด เข้าใจกันว่ากระสุนฝังใน จึงส่งผมขึ้นรถโรงพยาบาลไปโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
    "หมอรับตัวไว้และทำการผ่าตัดเพื่อเอาหัวกระสุนออก แต่ปรากฏว่าที่ตกค้างอยู่ คือ พระหลวงปู่โง่นที่ผมคล้องอยู่ ถูกกระสุนปืนดันเข้าไปในกล้ามเนื้อหน้าอกขวาลึกเข้าไป ๒ ซ.ม. ผ่าออกมาแล้วที่ลำตัวของพระเครื่องลอยองค์มีรอยกระสุนที่ฐานใต้ลำตัว และความแรงของกระสุนทำให้มือขวาของพระขาดหาย และเศียรพระหลุดออก ผมจึงรู้ว่ารอดตายมาได้เพราะหลวงปู่โง่นช่วยไว้"

    "ผมคล้องพระรวมอยู่ในสร้อยคอ ๕ องค์ ซึ่งมีพระลอยองค์ของหลวงปู่โง่นรวมอยู่ด้วย ตอนหลังถูกยิงแล้ว สร้อยคอขาด พระองค์อื่นหล่นอยู่ในเสื้อ ส่วนพระหลวงปู่โง่นหายไปผมนึกว่าตกระหว่างกอดปล้ำวัยรุ่น"

    “หลวงปู่โง่นองค์นี้ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ ใช้ชื่อว่า พระพุทธวิโมกข์ เป็นรูปพระพุทธเจ้า ผมได้มาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ ขณะนั้นจบตำรวจใหม่ๆ และฝึกงานอยู่ที่ สภ.เมืองเชียงใหม่ ขณะนั้นมีงานศพคุณแม่ของ พล.ต.ท.ประสาน วงศ์ใหญ่ ผู้บัญชาการตำรวจภาค ๕ ที่วัดพระสิงห์ และนำศพไปฌาปนกิจที่สุสานหายยา ตำรวจฝึกงานรุ่นผมถูกเกณฑ์ไปช่วยในพิธีศพ ในพิธีศพที่สุสานหายยามีการแจกพระหลวงปู่โง่นคนละองค์ ผมได้มา ๑ องค์ และใช้แขวนไว้ที่คอเรื่อยมา”

    เป็นเรื่องอัศจรรย์ที่องค์พระมีขนาดหน้าตักกว้างเพียง ครึ่งนิ้ว พระสูง ๑ นิ้ว แต่กระสุนมาถูกองค์พระทำให้กระสุนกระเด็นหายไปไม่ฝังในร่างกายของดาบตำรวจสมชาย จึงรอดชีวิตมาได้

    ส่วนคนร้ายวัยรุ่นที่ยิงดาบตำรวจสมชาย เป็นวัยรุ่นบ้านต้นรุง ตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว หลังจากยิงดาบตำรวจสมชาย แล้ว กำลังตำรวจได้มาช่วยกันจับกุม จนจับตัวได้ตรวจค้นเจอยาบ้าซ่อนอยู่ในซองบุหรี่ ๒ เม็ด ได้ถูกดำเนินคดีข้อหาพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน ศาลจำคุก ๑๗ ปี
    หลวงปู่โง่น โสรโย ตามประวัติเริ่มอุปสมบทที่วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ ต่อมาไปศึกษาธรรมมะที่ประเทศลาวกับเพื่อน ชื่อ เจ้ายอดแก้ว ต่อมาท่านนี้เลื่อนเป็นสมเด็จพระสังฆราชแห่งราชอาณาจักรลาว เมื่อประเทศลาวแตกได้กลับมาอยู่จังหวัดนครพนม สอบได้นักธรรมเอก ต่อมาได้ออกธุดงค์หลายพื้นที่ เคยธุดงค์มาเขตอำเภอเชียงดาว อำเภอฝาง หลวงปู่โง่นเป็นผู้ที่นิมิตรถึงพระ

    มรณภาพเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๔๒ ขณะอายุ ๙๔ ปีเศษ

    พระพุทธวิโมกข์ หลวงปู่โง่น บูชา องค์ละ 350 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1575.jpg
      DSCF1575.jpg
      ขนาดไฟล์:
      152.5 KB
      เปิดดู:
      96
    • DSCF1576.jpg
      DSCF1576.jpg
      ขนาดไฟล์:
      182 KB
      เปิดดู:
      84
    • untitled1.jpg
      untitled1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      152.3 KB
      เปิดดู:
      61
    • untitled2.jpg
      untitled2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      174.9 KB
      เปิดดู:
      60
    • untitled3.jpg
      untitled3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      148.7 KB
      เปิดดู:
      52
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2010
  3. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    ประวัติ หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข
    ชาติกำเนิด – ภูมิลำเนา
    เกิดเมื่อวันเสาร์ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ ที่ตำบลพุคา อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ท่านเคยชี้ตำบลเกิดของท่านขณะขึ้นรถไฟผ่าน อยู่เหนือสถานีโคกกระเทียมเล็กน้อย เป็นหมู่บ้านเล็กห่างจากทางรถไฟไปทางทิศตะวันตกราว ๒ กม. ท่านบอกว่า หมู่บ้านหนองเต่า คงเป็นชื่อหมู่บ้านเดิม บิดาของท่านชื่อ น้อย มงคลทอง มารดาของท่านชื่อ อึ่ง มงคลทอง มีพี่น้องทั้งหมด ๗ คน ยังเหลือน้องชายคนเล็กชื่อ เหลือ มงคลทอง นอกนั้นถึง แก่กรรมไปหมดแล้ว
    อุปสมบท
    วันเสาร์ที่ ๑๕ เมษายน ๒๔๖๕ ที่วัดเนินยาว ต.โพนทอง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี มีพระครูธรรมขันธสุนทร (ม.ร.ว. เอี่ยม บ้านเดิมท่านอยู่ กทม.) เป็นอุปัชฌาย์ และมีคณะสงฆ์ ๒๕ รูป เป็นพระอันดับ ซึ่งหลวงปู่บุดดา ถาวโร นับถือว่าเป็นอาจารย์ท่าน
    ประวัติทั่ว ๆ ไป
    ชีวิตตอนเยาว์ ชีวิตตอนต้นของหลวงปู่บุดดา ก็เหมือนกับชีวิตเด็กลูกชาวนาบ้านนอกทั่วไป ในสมัยนั้นที่ไม่มีโรงเรียนใกล้เคียง จึงไม่มีโอกาสได้เล่าเรียนหนังสือ มีแต่ทุนเดิมที่ได้ฝึกฝนอบรมมาดีในอดีตชาติ จึงเป็นผู้ระลึกชาติได้แต่เด็ก ท่าได้ไปพบเห็นสิ่งที่ปรากฏตามภาพนิมิต ของอดีตได้ถูกต้อง และได้มีบุคคลที่เกี่ยวข้อง จนท่านต้องขุดกระดูกของท่านที่ถูกฝังไว้ในอดีต
    การเห็นภาพในอดีตนั้นท่านเห็นได้หลายภพ ในกรณีหลวงปู่บุดดา อดีตชาติท่านเกิดเป็นชายทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ตัวหนังสือที่ใช้เป็นตัวหนังสือแบบเดียวกับสมัยพ่อขุนรามคำแหง มิใช่ตัวหนังสือเดียวกับเมื่อหลวงปู่บุดดา เป็นเด็ก ท่านจึงอ่านหนังสือไม่ออก แต่พอเป็นทหารท่านได้เรียนหนังสือ ท่านก็สามารถเรียนได้เป็นอย่างดี ทั้งที่หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในการรับราชการเป็นทหารเกณฑ์นั้นหนักมาก ทั้งนี้น่าจะเนื่องมากจากสาเหตุสองประการ ที่ทำให้สามารถรู้หนังสือได้ดีเพราะท่านรู้หลักของหนังสือเดิมดีอยู่แล้ว พอเทียบตัวถูกท่านก็อ่านได้ และสมาธิจิตของท่านเข้าอันดับญาณจึงสามารถทำอะไรได้ง่าย
    อดีตสัญญา
    ถ้าสอบถามถึงอดีตชาติแล้ว ท่านมักปรารภเสมอว่ามันเป็นเรื่องที่ทำให้ท่านรู้สึกเบื่อหน่าย เช่น เล่าว่านับถอยหลังปัจจุบันไป ๗ ชาติ ท่านได้เกิดเป็นบุรุษทุกชาติ และเสียชีวิตตั้งแต่อายุไม่มากรวมทั้งไม่มีครอบครัวเลย ตลอด ๗ ชาติ ที่ผ่านมาส่วนมากท่านเกิดฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงมากกว่าฝั่งขวา มีชาตินี้เท่านั้นที่ท่านมีอายุยืน พี่ชายของท่านในอดีตชาติทั้งรักและตามใจทุกอย่าง ตั้งแต่เด็กจะไปไหน ก็พาท่านไปด้วย ได้สัญญากับท่านไว้ว่าจะไม่ทิ้งเป็นอันขาด ท่านจึงเกิดเป็นบุตรในชาติปัจจุบัน
    ฉะนั้นเมื่อบิดาของท่านตีท่านในสมัยเด็ก ท่านเล่าว่า ท่านวิ่งออกไปนอกบ้านแล้วตะโกนว่า “พ่อโกหก ๆ ๆๆ” ไม่ยอมหยุดจนมารดาของหลวงปู่บุดดาเห็นผิดสังเกต จึงไปปลอบถามว่า “พ่อโกหกเรื่องอะไร” ท่านจึงได้เล่าเรื่องอดีตสัญญาให้มารดาของท่านฟังว่า “พ่อไม่รักษาคำพูด” ผู้ใดสามารถเฉลยอดีตสัญญาแบบนี้ให้เป็นธรรมและยอมรับกันได้ทั่วไปบ้าง ?
    เรื่องอายหมา
    หลวงปู่บุดดา เล่าว่า ตั้งแต่เด็กท่านมักจะบอกกับมารดาของท่านเสมอว่า โตขึ้นท่านจะไม่มีครอบครัว เพราะท่านละอายใจดังเรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ อดีตชาติหนึ่งในหนหลังเมื่อท่านเป็นหนุ่มเกิดพอใจหญิงสาวชาวบ้านใกล้เคียงกันผู้หนึ่งจึงไปอู้สาวผู้นั้น แทนที่ฝ่ายหญิงจะพูดดีกับลำเลิกอดีตชาติว่า “หลวงปู่ที่เป็นชายหนุ่มในชาตินั้นเป็นผู้ทำให้เขาถูกทุบตี และถูกจับผูกทรมานอดอาหารจนท้องกิ่วตาย พอมาชาตินี้มารักเขาทำไม”
    หลวงปู่บุดดา ในชาตินั้นก็มองเห็นอดีตตนเองได้ว่าตอนนั้นท่านเป็นสมภารเจ้าวัดอยู่ประเทศลาว ขณะนอนป่วยอยู่มีหมาตัวเมียขึ้นมาลักลอบอาหารที่เด็กเก็บไว้ ท่านจึงร้องบอกเด็ก พวกเด็กจึงไล่ตีหมา และพวกเด็กไม่เพียงแต่ไล่ตี คงได้ไล่จับหมาตัวนั้นไปผูกกับรั้ว และกว่าจะถูกจับได้คงต้องไกลกว่าที่สมภารนอนเจ็บประการหนึ่ง และทุกคนก็คงสนใจแต่ความป่วย และการตายของสมภาร ในเวลาต่อมาจึงลืมนึกถึงการจับหมาตัวนั้นไปผูกไว้จนต้องอดถึงตายไป
    เมื่อชายหนุ่มระลึกอดีตชาติได้ก็เกิดความสลดและละอายใจว่า “นี่เรากำลังจะเอาหมามาเป็นเมียแล้วหรือ ? ” และเป็นการประทับฝังอยู่ในจิตใจต่อมาทุกชาติ การป่วยและการตายในคราวนั้น หมาตายภายหลัง จึงจองเวรและติดตามถูก
    ส่วนการที่เด็กไปตีหมาที่ถูกจับไว้จนหมาตาย ต้องมิใช่คำสั่งของสมภาร หมาจึงจองเวรได้เพียงหมาถูกตีเพราะเสียงร้องบอกของสมภารเป็นเหตุ หมาจึงทำให้สมภารในอดีตชาติเดือดร้อนเพราะลำเลิกของหญิงนั้นตามอดีตเหตุที่สมภารได้ทำไว้เท่านั้น เรื่องความผูกพันหรือการจองเวรในอดีตชาติทำนองนี้หลวงปู่บุดดา ปรารภเสมอว่าเมื่อนึกถึงเรื่องราวในอดีตแล้ว ท่านมีความรู้สึกเบื่อหน่ายในการเวียนว่ายตายเกิดมาตั้งแต่เด็ก
    รับราชการทหาร ๒๔๕๘ ท.บ.๓ ล.๑๐
    หลวงปู่บุดดา รับราชการทหาร ๒ ปี โดยมีหลักฐานการเป็นทหารปรากฏบนท้องแขนขวาดังนี้ ๒๔๕๘ ท.บ.๓ ล.๑๐ การเกณฑ์ทหารสมัยนั้น เมื่อผู้มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ถึงแม้ถูกเกณฑ์แล้วจับ ใบดำได้ไม่ต้องรับราชการทหารในปีนั้นแล้วก็ต้องถูกเกณฑ์ไปทุกปีจนกว่าจะอายุ ๓๐ ปี หลวงปู่เป็นทหารในกองทัพ ๓ ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดลพบุรี
    ในสมัยนั้น เรื่องการเป็นทหารเกณฑ์ของหลวงปู่บุดดานั้น ท่านถูกเกณฑ์ทุกปีและในปีที่มีการคัดเลือกทหารอาสา ไปราชการสงคราม ณ ทวีปยุโรปในสงครามครั้งที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ หลวงปู่ก็เคยเล่าว่า ท่านได้อาสาสมัครกับเขาเหมือนกันแต่ท่านกินเหล้าไม่เป็น เขาจึงไม่รับท่าน เนื่องจากผู้บังคับบัญชาบอกท่านว่า ในทวีปยุโรปอากาศหนาวจัดต้องดื่มเหล้า เพื่อช่วยให้คลายหนาวท่านจึงไม่ได้ไปราชการสงคราม ณ ทวีปยุโรป
    พรรษาแรก ความมุ่งมั่นอดทนของพระใหม่
    เมื่อหลวงปู่บุดดาอุปสมบทแล้ว ท่านจำพรรษาอยู่ ณ วัดเนินขาว จังหวัดลพบุรี ปฏิบัติอุปัชฌาย์ตามแบบแผนของภิกษุสมัยนั้น ไม่มีการศึกษาเล่าเรียนทั้งทางปริยัติหรือปฏิบัติ คงทำวัตรท่องหนังสือสวดมนต์และปาฏิโมกข์ แต่ท่านอ้างเสมอว่าอุปัชฌาย์ทุกองค์ท่านสอน ปัญจกรรมฐานให้แล้วในวันอุปสมบท (นั่นก็คือ อุปัชฌาย์ท่านสอนให้ว่า เกศา – ผม โลมา – ขน นักขา – เล็บ ทันตา – ฟัน และ ตโจ – หนัง และทวนกลับ) ว่าให้พิจารณาสิ่งเหล่านี้ในร่างกายของตนและคนอื่น ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอนเป็นบ่อเกิดของทุกข์ทั้งกายและจิตใจ เป็นของหาที่ยึดถือเป็นตัวตนไม่ได้มานานแล้วทุกคน
    และในพรรษาที่หลวงปู่บุดดาบวชนั้น ได้มีการสร้างศาลามุงสังกะสีขึ้น ซึ่งในการมุงหลังคาคราวนั้นมีเรื่องเล่าความมหัศจรรย์ทางอำนาจจิตของหลวงปู่บุดดา ตั้งแต่สมัยบวชเดือนแรกทีเดียว เพราะในการมุงหลังคาและตามปกติในฤดูร้อน แดดก็ร้อนจัดในตอนบ่ายอยู่แล้วและเมื่อเครื่องมุงเป็นสังกะสีด้วยก็ยิ่งทวีความร้อนมากยิ่งขึ้น พอตกตอนบ่ายทั้งพระและชาวบ้านต่างทนความร้อนไม่ไหวต้องลงมาพักกันหมด คงเหลือแต่หลวงปู่บุดดา ซึ่งเป็นพระบวชใหม่ยังไม่ครบเดือน มุงหลังคาอยู่ข้างบนองค์เดียวจนสำเร็จ
    เมื่อรับกฐินแล้วแต่พรรษาแรก หลวงปู่บุดดา ท่านออกจาริกแสวงหาสถานที่วิเวกเจริญสมรธรรมตามอัธยาศัยองค์เดียวโดยไม่มีกลดมีมุ้งแบบอุทิศชีวิต และเลือดเนื้อเป็นทานอยู่นานจนเลือดแดงฉานติดจีวรและบินไปไม่ไหว
    พรรษาที่ ๒ ธุดงค์เดี่ยว
    เมื่อกลับจากธุดงค์พอใกล้เข้าพรรษาท่านเข้ามาจำพรรษาที่วัดผดุงธรรม จังหวัดลพบุรี พอออกพรรษาท่านก็ธุดงค์ไปองค์เดียวอีกเหตุอัศจรรย์ผจญวัวป่า หลวงปู่บุดดา ท่านเดินธุดงค์ไปหนองคายโดยออกจากจังหวัดลพบุรีไปทางจังหวัดเพชรบูรณ์ ผจญเข้ากับวัวป่าฝูงหนึ่ง มันคงแปลกใจว่า เอ๊ะ ? อะไรนะ เป็นอันตรายกับพวกเขาหรือเปล่า หัวหน้าฝูงนั้นเข้ามาดม ๆ ดู แล้วก็ร้องมอ ๆ คล้ายกับจะบอกพรรคพวกว่า ไม่เป็นไรหรอก ไม่มีอันตราย เข้ามาได้แล้ว ตัวอื่นก็เข้ามาดมจนครบทุกตัวแล้วก็เลยไป
    คุณธรรมของท่านนั้นแม้แต่เดรัจฉานก็ส่งภาษาใจให้ผู้รู้เรื่องกันได้ หลวงปู่บุดดา พูดเสมอว่าภาษาธรรมนั้น ก็คือภาษาใจ อยู่ที่ไหนก็รู้กันได้ มนุษยธรรม เทวธรรม พรหมธรรม โลกุตรธรรม
    พบซากศพตนเองในอดีต
    คราวนี้ท่านได้สอบดูนิมิตสมัยเด็ก ๆ ของท่านว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่นอกนครเวียงจันทร์ไม่ไกลนัก ซึ่งเมื่อถึงแก่กรรมแล้ว เขาก็นำเอาศพในอดีตชาติของท่านไปฝังไว้ และไม่ได้เผา ในนิมิตนั้นท่านเห็นกะโหลกศีรษะขาวโพลน โผล่ดินขึ้นมาตรงตอพุดซา ท่านจึงไปสอบดูตามนิมิต และได้พบกะโหลกศีรษะมนุษย์ ในภูมิประเทศคล้ายคลึงกัน แต่กะโหลกที่พบจริงไม่ขาวเท่าในนิมิต และตอพุดซาไม่มีแล้วท่านจึงได้เผากระดูกนั้นด้วยตนเอง
    พรรษาที่ 3 จาระพระไตรปิฎก
    ขณะที่ไปสอบดูตามนิมิตก็ใกล้เข้าพรรษาแล้ว ท่านได้จำพรรษา ณ วัดบ้านทุ่ง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย และในขณะที่ข้ามไปเวียงจันทร์ได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์และวัดพระแก้วที่เวียงจันทร์ ท่านระลึกถึงอดีตชาติเมื่อเห็นตู้พระไตรปิฎกและจารด้วยตนเอง แต่สมัยเป็นสามเณรต่อมาเป็นภิกษุและเป็นสมภารเจ้าวัดในที่สุด ได้จารพระไตรปิฎก บรรจุไว้จนเต็ม 3 ตู้ ท่านว่าได้เป็นสมภารเจ้าวัดในฝั่งลาว 3 สมัย ตายตั้งแต่ยังไม่พ้นวัยกลางคน ที่ท่านไปพบตู้ที่สร้างไว้นั้นไม่มีพระไตรปิฎกแล้ว
    ขณะที่ท่านพักอยู่ ณ วัดบ้านทุ่ง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย คราวหนึ่งท่านต้องไปกิจนิมนต์ร่วมกับภิกษุหลายรูปด้วยกัน ไปทางเรือตามลำน้ำโขงปรากฏว่าเรือเกิดจมลง พระรูปอื่นต่างว่ายน้ำหนีจากเรือหมด เหลือแต่ท่านองค์เดียวในเรือ และน้ำท่วมเกือบถึงคอแล้วพอดีชาวบ้านเอาเรือไปรับนิมนต์ท่านขึ้นเรือแล้วเรือก็จมหายไป
    พบบิดาในอดีตชาติ
    พอออกพรรษารับกฐินเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ออกเดินทาง และในระหว่างทางนั้น ท่านได้พบกับหลวงพ่อสงฆ์ พรหมสโร ซึ่งออกจาริกไปตามป่าเขาทำนองเดียวกับท่าน หลวงพ่อสงฆ์ผ่านพรรษา ๔ แก่กว่าหลวงปู่บุดดาหนึ่งพรรษา แต่อายุหลวงพ่อสงฆ์แก่กว่าท่านหลายปี เพราะท่านบวชภายหลังมีครอบครัวแล้ว และเมื่อท่านพบหลวงพ่อสงฆ์ ท่านก็ระลึกได้ว่า เคยเป็นบิดาของท่านในอดีตชาติ ท่านก็เรียกคุณพ่อสงฆ์ตั้งแต่แรกพบจนถึงที่สุดแห่งวาระของท่านเอง
    ถ้ำนี้มีคุณ
    ท่านทั้งสองได้ร่วมจาริกแสวงหาที่วิเวกอันเหมาะแก่การเจริญภาวนาเรื่อยมา จนมาพบถ้ำคูคา ตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นถ้ำกว้างมีปล่องทะลุกลางเขาลูกย่อม ๆ อยู่ในดงยาง เป็นชัยภูมิร่มรื่น มีหนองน้ำใหญ่อยู่ห่างจากหน้าถ้ำไปทิศตะวันออกของทางรถไฟสายเหนือห่างประมาณ ๑ กิโลเมตร อยู่ระหว่างสถานีดงมะกุและสถานีหัวหวายห่างจากหมู่บ้านทั้ง 2 ตำบล ข้างละประมาณ ๒ กม. เศษ ปากถ้ำอยู่ทางตีนเขา ภายในถ้ำลมถ่ายเทได้ดี
    ท่านได้อาศัยภายในถ้ำนี้และแยกกันอยู่คนละฟาก ได้อาหารบิณฑบาตจากหมู่บ้านดังกล่าว ถ้ำภายในเขาภูคานี้เป็นที่สงบและวิเวกปากถ้ำเรียบเป็นดิน เชิงเขาลาดขึ้นพอบรรจบถึงเขาก็เป็นปากถ้ำพอดี กว้างราว ๖-๗ เมตร สูง 3 เมตรเศษ เป็นดินราบขึ้นไปจนถึงยอดมีแท่นราบตรงกลางปล่องตรงกับยอดเขาพอดี ปล่องถ้ำเหมือนรูปงอบใบใหญ่สูงกว่าปากถ้ำเล็กน้อย ขอบล่างลาดลงโดยรอบเป็นช่องและชอกมากบ้าง น้อยบ้าง
    สถานที่ท่านใช้พักผ่อนและจำวัด ปรากฏว่าตรงที่ท่านใช้ภาวนานั้น มีปล่องลมหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ส่วนที่จำวัดก็หลบเข้าไปในช่องไม่ถูกลมเลย ก่อนที่ท่านจะมาอยู่ในถ้ำนี้ มีแคร่ร้างแสดงว่ามีบุคคลอื่นมาใช้สถานที่นี้ก่อนแล้ว
    สถานที่ท่านใช้เป็นที่เดินจงกรมในตอนบ่ายและพักผ่อนสนทนาธรรมกันตอนเย็นนั้นเป็นบริเวณสันเขาตอนใต้ เป็นทางลาดขึ้นปากถ้ำได้สะดวก ใช้ด้านตะวันออกเป็นที่ลาดเดินจงกรม มีต้นไม้และสันเขาช่วยกำบังแดดในตอนบ่าย
    ตะขาบเจ้ากรรม
    ตอนอยู่ถ้ำภูคานี้แม้จะสนทนาก็ต่างองค์ต่างอยู่ในที่ของตน คราวหนึ่งเสียงของหลวงปู่บุดดาเงียบหายไป หลวงพ่อสงฆ์ผิดสังเกตจึงเดินไปดูก็เห็นหลวงปู่บุดดานั่งหลับตา มีตะขาบตัวใหญ่มากขึ้นไปขดอยู่กลางศีรษะของท่าน หลวงพ่อสงฆ์ต้องเอาผ้าอาบของท่านหย่อนลงให้ตะขาบไต่ขึ้นผ้าแล้วจึงเอาไปปล่อยนอกถ้ำ
    หลวงปู่บุดดา ท่านเล่าว่า มันไต่ขึ้นภายในสบงผ่านเอวแล้วผ่านหลังท่านขึ้นไป ท่านจึงต้องกลั้นลมหายใจ ปิดหู ปิดตา จมูก ปากหมด เจ้าตะขาบจึงเข้าไม่ได้ เมื่อหลวงพ่อสงฆ์เอาไปปล่อยปรากฏว่ามันกัดตัวเองจนขาดเป็นท่อน ๆ กองอยู่ที่ปล่อยนั่นเอง
    พรรษาที่ ๔ ตัดกิเลสบรรลุธรรม
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ พอใกล้เข้าพรรษา ท่านทั้งสองได้ไปจำพรรษา ณ วัดป่าหนองคู จ.นครสวรรค์ และพอออกพรรษาก็กลับมาร่วมปฏิบัติธรรม ณ ถ้ำภูคา จ.นครสวรรค์ โดยต่างเร่งความเพียรเจริญสมณธรรม อย่างเต็มที่เกือบจะไม่ได้พักผ่อน และในคืนวันหนึ่งเวลาประมาณระหว่าง ๒๐.๐๐ น. ถึง ๒๓.๐๐ น. ซึ่งเป็นเวลาสนทนาธรรมของทั้งสองท่าน หลวงพ่อสงฆ์ได้ถามหลวงปู่บุดดาว่า “...ยังถือวินัยอยู่หรือ” หลวงปู่บุดดา ตอบว่า “...ไม่ถือวินัยได้ไง ถ้าเราจะเดินผ่านต้นไม้-ของเขียวก็ต้องระวัง...มันจึงเป็นอุปาทานทำความเนิ่นนานต้องช้ามาถึง ๔ พรรษา” หลวงพ่อสงฆ์ว่า “วินัยมันมีสัตว์-มีคนรึ” หลวงปู่บุดดาว่า “มีตัวซี ถ้าไม่มีตัวจะถือวินัยได้ยังไง...วินัยก็ผู้ถือนั่นเอง ...เสขิยวัตร ๗๕ เป็นตัวไม่ได้หรอก ...เนื้อหนัง กระดูก ตับไต ไสพุง มันไม่ใช่ตัวถือวินัย...ตัวถือวินัยเป็นธรรมนี่” ....เถียงกันไป เถียงกันมาชั่วระยะหนึ่ง... พอปัญญา-บารมีเกิดขึ้นตกลงกันได้ว่า “เอ๊ะ ! ไม่มีจริง ๆ เน้อ ...ผู้ถือไม่มี มีแต่ระเบียบของธรรมเท่านั้น ไปถือมั่น-ยึดมั่นไม่ได้นี่”
    พอหยุดความลง ทันใดนั้นเองหลวงพ่อสงฆ์เพ่งมองดูเห็นหลวงปู่บุดดา จู่ ๆ ก็นิ่งเงียบนัยน์ตาลืมค้างอยู่ ไม่กระพริบตา เบิกตาโพลงอยู่อย่างนั้น เนิ่นนานอยู่ประมาณสองชั่วโมงกว่าถึง กลับมาพูดได้-ทั้งนี้ก็เพราะว่าหลวงปู่บุดดาได้ใช้ปัญญาตัดกิเลสได้แล้วในขณะที่นั่งลืมตา ซึ่งหลวงปู่บุดดา บอกว่าถ้าเกิดปัญญาขึ้นในอิริยาบถทั้ง ๔ ซึ่งขณะนั้นถ้าลืมตาตัดก็ต้องลืมตาตัด ถ้านั่งตัดก็ต้องนั่งตัด ถ้ายืนตัด เดินตัดหรือนอนตัดก็ต้องยืนตัด-เดินตัด หรือนอนตัด ขึ้นอยู่ว่าใครจะตัดกิเลสได้ขณะไหน... อย่างพระอานนท์ตัดได้ตอนเอนกายขณะกำลังจะนอนนั่นเอง...
    สำหรับหลวงปู่บุดดา ขณะมีอายุได้ ๓๒ ปี-พรรษาที่ ๔ ซึ่งถ้ายังใช้กรรมไม่หมดก็ไม่ถึง โลกกุตระ แต่พอใช้หนี้กรรมหมดแล้วก็เป็นอโหสิกรรม ขณะนั่งลืมตาอยู่ก็บรรลุธรรมได้
    หลวงปู่บุดดา บอกว่า “ขณะนั้นอวิชาดับหมด รู้สึกสว่างแจ้งขึ้นมาเอง ความไม่มีตัวตนเห็นได้ชัดเจนทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบ ๆ ตัว เป็นปรมัตถธรรม ธรรมทุกอย่างเป็นธรรมชาติส่วนกลาง คงอยู่ในจิตของตนเอง กิเลสหลุดไปเอง แต่ชีวิตยังคงอยู่มีความเป็นปรกติทุกอย่าง ทั้งกายสังขาร-จิตสังขารก็หยุด รูปก็หยุดหมด ไม่มีสัตว์เกิดสัตว์ตาย กิเลสไม่มีในตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ขันธ์ของกิเลสก็ไม่มีในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ...สุดชาติของอาสวะของสังโยชน์ ๑๐ อนุสัย ๗ ออกวันเดียวกันและเวลาเดียวกันนั่นแหละ...”
    หลวงพ่อสงฆ์ท่านนั่งเฝ้าหลวงปู่บุดดาอยู่นานกว่าสามชั่วโมงแล้วจึงออก “นิมนต์เถอะครับ...แน่นอนแล้ว” พอรุ่งเช้าถึงเวลาออกบิณฑบาต หลวงพ่อสงฆ์บอกว่า “โลกกุตระธรรมแล้วขอนิมนต์ให้หลวงปู่บุดดาเดินหน้า”แต่หลวงปู่บุดดาว่า“หน้าก็หน้าคุณธรรม แต่พรรษาอ่อนกว่าต้องเดินหลังซี !” ตกลงหลวงปู่บุดดาคงเดินตามหลังหลวงพ่อสงฆ์เหมือนเดิม
    ต่อมาอีกไม่กี่วันหลวงพ่อสงฆ์ ซึ่งเร่งปรารภความเพียรมาอย่างหนักก็ได้ดวงตาเห็นธรรม ณ ถ้ำภูคาเช่นเดียวกัน ท่านไม่ถือทั้งนามและรูป เพราะการหลงนาม หลงรูป มันก็หลงเกิด หลงตาย ไม่มีสิ้นสุด (ในช่วงบั้นปลายของชีวิตท่านได้มาพักจำพรรษาที่วัดอาวุธวิกสิตาธรรม เขตบางพลัด กทม. ตลอดมา จนถึงแก่มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙)
    พระพุทธเกษแก้วจุฬามณี
    เมื่อหลวงปู่บุดดาและหลวงพ่อสงฆ์ได้รู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจธรรมแล้ว ต่างองค์ต่างก็แยกกันไปประกาศพระสัทธรรม ตามสำนักและหัวเมืองต่าง ๆ เป็นเวลามากกว่า ๔๐ ปี แต่เมื่อจวนเข้าพรรษาของทุกปี ท่านทั้งสองก็จะกลับมาจำพรรษาร่วมกัน ที่วัดบ้านป่าหนองคู
    ครั้นออกพรรษาก็ต่างแยกทางกันไป ซึ่งบางครั้งก็จะมาอยู่ร่วมกัน ณ ถ้ำของเขาภูคาเป็นครั้งคราวจนล่วงย่างเข้าสู่วัยชราภาพประมาณเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ทั้งสองท่านพบกันก็ได้ปรารภถึงสถานที่ที่มีบุญคุณมากที่สุดคือ ถ้ำภูคา จ.นครสวรรค์ ซึ่งเป็นสถานที่ท่านทั้งสองได้อาศัยบำเพ็ญเพียรจนบรรลุถึงอริยสัจธรรม สมควรจะได้จัดสร้างพระพุทธปฏิมากรจำลองพระพุทธลักษณะมาจากพระเกศแก้วจุฬามณี ณ แดนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้ตกลงให้ขนาดบ่ากว้าง ๖ วา ๒ ศอก สูง ๙ วา สร้างแบบเครื่ององค์ประดิษฐาน ณ ยอดเขาภูคา เพื่อเป็นอนุสาวรย์ทัศนา นุตริยะปูชนียสถานของพระพุทธศาสนิกชนทั่วไปและเป็นอนุสรณ์ที่ทั้งสององค์ได้พำนักอาศัยบำเพ็ญบุญบารมี จนบรรลุถึงอริยสัจธรรมขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมศาสดาเองของโลก ดังนั้นท่านทั้งสองพร้อมคณะศิษย์ผู้ศรัทธาจึงได้เริ่มจัดสร้าง “พระพุทธเกษแก้วจุฬามณี” ขึ้นประจำยอดภูเขาภูคา ต.หัวหวาย อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ จนเสร็จเรียบร้อยโดยใช้ช่วงเวลาสร้างไม่นาน (พระครูพลอย แม่ชีผวน พระเงิน เป็นผู้จัดดำเนินการหาทุนสร้างเป็นอนุสรณ์ให้กับหลวงพ่อสงฆ์ พรหมเถระ – หลวงปู่บุดดา ถาวโร)
    ต้องอธิกรณ์
    เมื่อหลวงพ่อสงฆ์กับหลวงปู่บุดดาแยกทางกันตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ แต่พอออกพรรษาแล้วท่านมักจะพบกันเสมอ บางครั้งก็ร่วมทางกันต่อไป แต่ตอนปลายปี ๒๔๗๔ ต่อต้นปี ๒๔๗๕ ท่านร่วมเดินทางมาด้วยกันพอถึงจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของสมเด็จพุทธโฆษาจารย์ญาณวโร เจ้าอาวาสวัดเทพศรินทราวาส ท่านทั้งสองก็ถูกอธิกรณ์เขาพาท่านทั้งสองมาหาสมเด็จวัดเทพศิรินทร์ฯ สมเด็จท่านจึงตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวน หลวงพ่อทั้งสองท่านไม่มีประโยคประธานใด ๆ แต่ท่านอ้างธรรมปฏิบัติตามปฏิปาที่ท่านรู้เห็นของท่านขึ้นโต้แย้ง ปริยัติเป็นเสมือนแบบแผนเท่านั้น แต่การปฏิบัตินั้นเป็นการทำจนปรากฏของจริงขึ้นประจักษ์แก่ใจ
    สมเด็จพุทธโฆษาจารย์ท่านจึงตั้งกรรมการทั้งฝ่ายปริยัติและฝ่ายปฏิบัติขึ้นสมทบของท่านร่วมกันผลปรากฏไม่พบความผิดจึงเป็นที่เล่าลือกันในตอนต้นปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ว่าพระสุปฏิปันโนจากป่า เข้ากรุง
    จากผลของการสอบสวนในครั้งนั้นทำให้หลวงปู่ได้พบปะและสบอัธยาศัยกับพระผู้ใหญ่ฝ่ายธรรมยุตหลายองค์ ต่อมาท่านผู้หญิงสุธรรมมนตรี (กิมไล้ สุจริตกุล) มารดาพระสุจริตสุดา และสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี ในพระบาทสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า (รัชการที่ ๖) ได้นิมนต์ไปจำพรรษา ณ วัดสัมพันธวงศ์ หลวงปู่จึงไปพำนักที่วัดสัมพันธวงศ์ในเดือนเมษายนปีนั้น แต่ในปีนั้นหลวงปู่คงไม่ได้จำพรรษาเนื่องจาก...
    หลวงปู่บุดดา ไปเมืองเพชร
    ท่านอาจารย์เหล็งฯ เป็นภิกษุชาวเพชรที่อยู่ ณ วัดสัมพันธวงศ์ เลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงปู่บุดดาและขออาราธนาหลวงปู่บุดดาให้ไปโปรดญาติโยมของท่านทางเมืองเพชรก่อน ต่อใกล้พรรษา จึงค่อยกลับมาวัดสัมพันธวงศ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องอัธยาศัยของหลวงปู่บุดดาอยู่แล้ว การเดินทางคราวนั้น มีท่านอาจารย์สันติฯ ชาวนครสวรรค์ ร่วมติดตามไปด้วย หลวงปู่บุดดาจึงไปจำพรรษา ณ วัดเนรัญชรา วัดธรรมยุติของจังหวัดเพชรบุรีตั้งแต่ก่อน ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ (การเปลี่ยนแปลงการปกครอง) ในพรรษาต่อมาก็ จำพรรษา ณ วัดสนามพราหมณ์ และวัดเหนือวน จังหวัดราชบุรี ในพรรษาต่อไปและต่อจากนั้นจึงได้เข้ามาจำพรรษา ณ วัดราชาธิวาส ในกรุงเทพฯ เป็นพรรษาแรกในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ หรือ ๗๙ แต่แน่นอนก็คือเป็นปีที่ท่านครูบาศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ถูกส่งมาสอบสวนและพักที่วัดเบญจมบพิตร


    วัดบุญทวี ถ้ำแกลบ
    วัดนี้สร้างด้วยความร่วมมือสมานฉันท์ของชาวเพชรบุรี ทั้งสองนิกายคือ ธรรมยุติและมหานิกาย (เกี่ยวข้องกับหลวงพ่อสงฆ์และหลวงปู่บุดดาเป็นสื่อจูงใจ) ดังปรากฏกุฏิหลวงพ่อสงฆ์เดิม ภายหลังต่อมากลับกลายเป็นห้องสมุดของสำนักปฏิบัติ อุโบสถก็เป็นอุโบสถที่มีการผูกพัทธสีมา ทั้งแบบธรรมยุติและมหานิกาย ฝ่ายปริยัตินั้นอยู่พื้นที่ส่วนราบฝ่ายปฏิบัติอยู่บนภูเขา
    เนื่องจากวัดเพชรบุรีเป็นที่ ๆ หลวงปู่บุดดา จำพรรษามากกว่าที่อื่น ๆ ยกเว้นจังหวัดสิงห์บุรี ประกอบกับท่านเป็นพระของทั้งสองนิกาย ชาวเพชรบุรีจึงศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านมาก ขนาดสามล้อแย่งกันนิมนต์ขึ้นรถของตัวเอง เขามีความเชื่อว่าถ้าหลวงปู่ได้นั่งรถของเขาแล้ววันนั้นเขาจะได้ลาภมากกว่าปกติไม่ว่าจะเป็นสามล้อหรือรถโดยสารธรรมดาในจังหวัดเพชรบุรีแล้ว เขาต้องนิมนต์ให้ท่านขึ้นรถของเขาถ้าพบว่าท่านตามทาง
    งานเดียวถูกนิมนต์ ๓ วาระ
    ในงานฌาปนกิจศพของคหบดีคนหนึ่งของวัดเจ้าคณะตำบลใกล้วัดถ้ำแกลบนี้เอง ซึ่งบุตร ทั้ง 3 คน เป็นเจ้าภาพร่วมกันพอวันงานปรากฏว่าพระขาดไปรูปหนึ่ง น้องคนเล็กจึงไปนิมนต์หลวงปู่บุดดาจากวัดถ้ำแกลบ พอมาถึงท่านก็นั่งยังอาสนะที่เขาจัดไว้ เจ้าภาพได้เถียงกัน พี่ชายคนกลางว่าไปนิมนต์พระมาเช่นกัน ท่านได้ฟังก็ลุกอาจสนะลงมาข้างล่างและพระที่พี่ชายคนกลางนิมนต์มาก็เข้านั่งประจำที่แต่แล้วเจ้าภาพทั้งสองคนก็ตกลงจัดที่เพิ่มและนิมนต์หลวงปู่บุดดาขึ้นไปใหม่ ต่อพอพี่ชายคนโตมาถึงก็เอ็ดใหญ่ไม่ยอมฟังคำชี้แจงของน้องทั้งสองคน เขาเล่าว่าไม่เห็นท่านแสดงอาการอย่างไร ท่านก็ลุกจากอาสนะอีกครั้งหนึ่ง แล้วเดินผ่านมาทางซ้ายสุด เพราะมีผู้คนมามากแล้ว คราวนี้ท่านไม่หยุดดังคราวก่อนได้เดินผ่านประตูทางออกไปเลย ตอนหลังเจ้าภาพตกลงกันได้จึงวิ่งไปนิมนต์ท่านกลับมาใหม่ หลวงปู่บุดดา ก็เลยกลับมานั่งยังอาสนะเดิมเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
    วัววิ่งชน หลวงปู่บุดดา
    หลวงปู่บุดดา ได้รับนิมนต์จากชาวบ้าน จ.เพชรบุรี พร้อมด้วยอาจารย์เหล็ง พอถึงหน้าบ้านท่านก็ร้องให้เจ้าภาพของวัวผูกวัว เจ้าของบ้านออกมายืนนอกชาน ร้องนิมนต์ให้เข้ามาเถิดไม่เป็นไรหรอกท่านก็เดินเข้าบ้าน เจ้าวัวไม่ยอมรับรู้วิ่งก้มหัวเข้าใส่ทันที พอมันเข้ามาใกล้ท่าน อาจารย์เหล็งเห็นดังนั้นคิดอุทิศชีวิตถวายหลวงปู่ถลันขึ้นไปเสมอกับท่านไม่ทันล้ำไปข้างหน้า ทันใดขาทั้ง ๔ ของเจ้าวัวตัวนั้นเหมือนถูกตรึงอยู่ห่างจากหลวงปู่บุดดา ประมาณ ๒ วา เจ้าของวัวจึงได้นำวัวมันไปผูก เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องที่ชาวเมืองเพชรบุรีเล่าลือกันทั่วไป
    แชะ แชะ
    อีกคราวหนึ่งมีนายทหารถือปืนเข้าวัดมาเพื่อจะยิงนก เข้ามาในวัดจนถึงหน้ากุฏิท่าน ท่านเลยชี้บอกนายทหารคนนั้นว่าโน่นไงนก นกกำลังเกาะกินลูกไม้บนต้นไม้ใหญ่ใกล้กุฏิท่าน ท่านบอกให้ยิงเพียง ๒ ครั้งเท่านั้น นายทหารคนนั้นเอาปืนยิงทันที ครั้งแรกดังแชะไม่ออก ครั้งที่ ๒ ดังแชะอีก ไม่ออก ท่านอาจารย์เหล็กจึงบอกว่า ไม่ได้ อย่ายิงอีกนะปืนจะแตก นายทหารคนนั้นก็เชื่อ และไม่เข้ามาในวัด อีกเลย ส่วนอาจารย์เหล็งนั้นเมื่อติดตามหลวงปู่บุดดามาเพชรบุรีแล้วก็ไม่ได้กลับกรุงเทพฯ ครั้งสุดท้ายท่านอยู่วัดบุญทวี ถ้ำแกลบและมรณะภายที่วัดนี้เอง
    พบครูบาศรีวิชัย
    หลวงปู่บุดดา จำพรรษา ณ วัดราชานิวาส สมเด็จพระสังฆราชในขณะนั้นคือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิตร ครูบาศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ หลวงปู่ได้ไปเยี่ยมท่านครูบาศรีวิชัยที่วัดเบญจมบพิตร ท่านเล่าว่าครูบาศรีวิชัยเห็นหลวงปู่ไม่พาดสังฆาฏิ จึงทักท้วงว่า “เราเป็นนายฮ้อยก็ต้องให้เขารู้ว่าเป็นนายฮ้อยไม่ใช่นายสิบ” นี่คือสาเหตุที่หลวงปู่บุดดา ท่านไปไหนก็ตามท่านจะพาดสังฆาฏิเสมอ ครูบาศรีวิชัยได้ถวายคนโทน้ำที่ท่านใช้ให้หลวงปู่บุดดาลูกหนึ่ง คนโทลูกนั้นคงยังอยู่ที่วัดราชาธิวาสนั่นเอง พอออกพรรษาท่านจากไปก็เพียงบาตร ห่อผ้าอาบน้ำและร่มเท่านั้น ถ้าออกป่าก็มีกาน้ำอีกลูกหนึ่ง
    ท่านพุทธทาสนิมนต์ไปสวนโมกข์
    ระหว่างที่ท่านจำพรรษาที่วัดราชาธิวาสนั้น ท่านพุทธทาสได้พบและสนทนาวิสาสะเป็นที่ถูกใจ จึงได้ออกปากนิมนต์ไปจำพรรษาที่สวนโมกข์พลาราม ท่านบอกท่านพุทธทาสว่า อย่าให้ท่านเป็นผู้ทำลายแบบแผนที่วางไว้เลย จากเหตุคราวนั้น ทำให้ท่านพุทธทาสแก้ไขระเบียบที่ว่าผู้ที่จะเข้าพำนักในสำนักของท่านได้ ต้องเป็นเปรียญหรือนักธรรมเอก มาเป็นข้อยกเว้นว่า หากไม่มีประโยคประธานใด ๆ ท่านต้องทดสอบก่อน
    เกี่ยวกับท่านพุทธทาสนั้น เมื่อคราว หลวงปู่บุดดาได้เดินธุดงค์ไปยังเพชรบุรีได้พบกับท่านพุทธทาสอีก ซึ่งต่อมาหลวงปู่บุดดาได้ไปเยี่ยมท่านพุทธทาสที่สวนโมกข์อีกหลายครั้ง บางครั้งก็พักค้างคืน ครั้งหลังสุดเป็นช่วงก่อนเข้าพรรษาปี ๒๕๓๓ ท่านก็ยังไปเยี่ยมท่านพุทธทาสจวบจนท่านปรารภว่าจะไม่ไปไหนอีกแล้ว
    ไม่ข้ามหมา
    หลวงปู่บุดดา ท่านได้ไปจำพรรษาที่จังหวัดระยอง วันหนึ่งท่านมีธุระที่จะต้องเดินไปกุฏิอีกหลังหนึ่งทาง ที่จะไปนั้น ต้องข้ามสะพานไม้ที่ทอดไป แต่บนสะพานนั้นมีสุนัขตัวหนึ่งนอนขวางทางอยู่ ท่านก็ไม่ข้ามกลับเดินลงไปลุยโคลนแทนที่จะข้ามสุนัขตัวนั้น ท่านว่า ไม่อยากให้ผู้อื่นได้รับความ ขุ่นเคือง และเป็นการเบียดเบียน โดยเห็นแก่ความสะดวกของตนเองแม้เป็นเพียงสัตว์เดรัจฉาน ท่านก็ยังไม่ข้าม แสดงถึงคุณธรรมอันสูงส่งในจิตใจของท่าน
    เจ้าคุณ ๘ ประโยค
    หลวงปู่บุดดา ถูกนิมนต์ให้ไปเทศน์คู่กับท่านเจ้าคุณองค์หนึ่ง ท่านก็คงเห็นหลวงปู่บุดดา เป็นพระบ้านนอกรุ่มร่ามทำนองนั้น และไม่มีประโยคประธานใดๆ เพียงพระบุดดาธรรมดาๆ เท่านั้นท่านเจ้าคุณได้ถามหลวงปู่บุดดา ว่า “ท่านจะเทศน์เรื่องอะไร” หลวงปู่บุดดาก็ตอบว่า “เรื่องตัวโกรธ กิเลสตัณหา” ท่านเจ้าคุณก็ถามว่า “ตัวโกรธเป็นอย่างไร” หลวงปู่บุดดาก็พูดว่า “ส้นตีน ไงละ” เจ้าคุณโกรธจนหัวฟัดหัวเหวี่ยง และไม่ยอมเทศน์ร่วมกับหลวงปู่บุดดา หลวงปู่บุดดาท่านต้องเทศน์องค์เดียวเมื่อเทศน์จบแล้วท่านไปขอขมาเจ้าคุณเข้าใจว่าตัวโกรธเป็นอย่างนี้
    หลวงปู่บุดดากับสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    หลวงปู่บุดดา ท่านเรียกสรรพนามสมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์นี้ว่า “สมเด็จไส้ออก” เวลาท่านผ่านมาทางวัดบวรนิเวศ ถ้าพระองค์เห็นเข้าก็จะจูงมือหลวงปู่ขึ้นบนกุฎิปิดประตูสนทนากัน และจัดให้หลวงปู่บุดดา จำวัดในพระตำหนักด้วย ท่านบอกว่า “ท่านบุดดามีพร้อมแล้วไม่ติดที่อยู่ พอออกพรรษาก็ออกไปเหมือนนกกระจอก อ้ายเรามันติดที่อยู่ที่นี่จนออกพรรษาแล้วก็ยังอยู่กับที่”
    พระฝ่ายปฏิบัติอื่น ๆ กับหลวงปู่บุดดา
    พระฝ่ายปฏิบัติอันเป็นที่เคารพสักการะมีอยู่ทุกภาคและแทบทุกท่านมักจะได้เคยพบวิสาสะกันตอนจาริกธุดงค์เพราะต่างก็แสวงหาสถานที่วิเวก และมีสิ่งเกื้อกูลอื่นๆ เหมือนๆ กัน สถานที่เช่นนั้นจึงเหมือนเป็นจุดนัดพบของพระฝ่ายปฏิบัติ และจุดสำคัญต่างๆนี้ท่านออกธุดงค์จะต้องผ่าน เช่น ภาคกลาง มีพระพุทธบาท พระพุทธฉายและเขาวงพระจันทร์ ภาคเหนือก็พระแท่นศิลาอาสน์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็พระธาตุพนมและพระปฐมเจดีย์ของภาคกลางด้วย พระสายปฏิบัติฝ่ายธรรมยุต สายท่านเจ้าคุณอุบาลี และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สายนี้พูดได้ว่าหลวงปู่รู้จักเป็นส่วนมาก ที่พรรษาสูงกว่าหลวงปู่เรียกหลวงพ่อ เช่นเรียกหลวงพ่อมั่น หลวงพ่อเสาร์และอาจารย์สิงห์ ฯลฯ รุ่นเรียกอาจารย์ ก็คือรุ่นราวคราวเดียวกันหรืออ่อนกว่า กล่าวได้ว่าสายปฏิบัติฝ่ายธรรมยุตกับฝ่ายปฏิบัติธรรมของมหานิกาย สายหลวงปู่เภา พุทธสโร และหลวงปู่บุดดาท่านไม่มีความรังเกียจซึ่งกันและกันเลย จะเห็นได้จากประวัติของท่านสุภัทโท (เจ้าคุณโพธิญาณเถระ) นอกจากนั้น วัดมหานิกายที่ถือข้อวัตรปฏิบัติแบบหลวงพ่อเภากับวัดธรรมยุตของจังหวัดลพบุรีท่านก็มีการติดต่อกันอยู่เสมอ
    คราวหนึ่งหลวงปู่บุดดา ได้พบหลวงพ่อสด จันทสโร จากวัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ โดยบังเอิญ ณ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ อุตรดิตถ์ เมื่อได้สนทนาธรรมและร่วมทำวัตรสวดมนต์โดยมีหลวงพ่อเกรียง กิตติธรรมโม จากวัดหินหักใหญ่ ลพบุรีร่วมธุดงค์มาด้วย ได้ชวนกันจาริกไปพระธาตุดอยสุเทพโดยธุดงค์ไปเรื่อย ๆ ใช้เวลาแรมเดือนจึงถึงจุดหมายแล้วเมื่อร่วมพักปฏิบัติธรรมอยู่ ๗๕ วัน ต่างก็แยกทางกันตามอัธยาศัย ซึ่งหลวงปู่บุดดา ชอบธุดงค์องค์เดียว
    หลวงปู่ปานวัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดอยุธยา หลวงปู่บุดดาเรียกหลวงพ่อปาน ท่านบอกว่า “หลวงพ่อปาน ท่านปรารถนาพุทธภูมิ” ท่านออกธุดงค์แต่ละครามีพระ เณร อุบาสิกา ติดตามเป็นขบวนยาวมาก ที่ที่ท่านพบกันเสมอก็คือบริเวณเขาวงพระจันทร์ที่ซึ่งในเวลาต่อมาหลวงปู่ปานได้มาสร้างเป็นวัดสะพานนาค
    สายครูบาศรีวิชัย นอกจากครูบาเองท่านยังสั่งมอบหมายไว้ ก็คือ หลวงปู่พระสุพรหมยานเถร วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ซึ่งหลวงปู่มีความเคารพเป็นอย่างยิ่ง และนับถือพระสุพรหมยานเถรเป็นพี่ชายของท่าน หลวงปู่สิม พุทธจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ได้สนทนาธรรมกับหลวงปู่อยู่บ่อย ๆ ด้วยความปิติและเบิกบานในอมตธรรมเป็นอย่างยิ่ง
    เจ้าคุณพระสิทธิสารโสภณ และแม่ชีบุญเรือนพบหลวงปู่บุดดา
    ท่านเจ้าคุณพระสิทธิสารโสภณ อดีตเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม ก่อนจะมาอยู่วัดอาวุธฯ นั้นท่านเคยอยู่วัดสัมพันธวงศ์และได้พบกับหลวงปู่บุดดา ณ ที่นั้นเอง หลวงปู่บุดดาแนะนำท่านเจ้าคุณให้รักษาศีลเท่าชีวิต ท่านก็นำมาปฏิบัติจนกระทั่งปรากฏแสงสว่างเกิดขึ้นเป็นที่น่าอัศจรรย์ ท่านจึงเลื่อมใสศรัทธาและฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ท่านเจ้าคุณได้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม ท่านก็นิมนต์หลวงปู่บุดดามาจำพรรษาที่วัดอาวุธฯ หลวงปู่บุดดาก็มาพักเป็นครั้งคราวและในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ จึงได้มาจำพรรษาที่วัดอาวุธฯ ๒ ปี ท่านมาครั้งนี้ท่านเจ้าคุณได้มรณภาพแล้ว โบสถ์ วิหารที่ท่านสร้างไว้ก็ยังไม่เสร็จหลวงปู่บุดดา ท่านมาอยู่ก็ช่วยสร้างศาลาและที่เก็บน้ำไว้ให้และทอดกฐินร่วมสร้างโบสถ์ที่ยังค้างอยู่
    ขณะที่ท่านเจ้าคุณยังมีชีวิตอยู่ได้เคยเล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ตอนหลวงปู่บุดดาอยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ เวลาหลวงปู่บุดดาแสดงธรรมมีคนมาฟังธรรมกันแน่นมาก รวมถึงคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ก็ได้มีโอกาสฟังธรรมและมอบตัวเป็นศิษย์ได้นำคำสอนของหลวงปู่บุดดา มาปฏิบัติและบำเพ็ญความเพียรด้วยตนเองจนได้บรรลุธรรม (ปัจจุบันกระดูกกลับกลายเป็นอรหันตธาตุอยู่ ณ วัดอาวุธฯ) ท่านเจ้าคุณเคารพในปฏิปทาของแม่ชีบุญเรือนมาก ดังนั้นเมื่อท่านเจ้าคุณมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอาวุธฯ และเมื่อคุณแม่ชีบุญเรือนมา สิ้นชีวิตลงแล้วท่านเจ้าคุณได้อนุญาตให้สร้างศาลาคุณแม่บุญเรือนไว้ที่วัดอาวุธฯ เพื่อเป็นอนุสรณ์
    ช่วงปลายชีวิต
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ขณะหลวงปู่บุดดา อายุ ๘๔ ปี ได้มาจำพรรษา ณ วัดอาวุธสิตาราม เขตบางพลัด กรุงเทพฯ ตามที่ท่านเจ้าคุณพระสิทธิสารโสภณ เจ้าอาวาสนิมนต์ไว้ และในปีนั้นท่าน เจ้าคุณก็ได้มรณภาพลงโดยขณะนั้นทั้งโบสถ์และวิหารที่สร้างขึ้นยังไม่แล้วเสร็จ
    และในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ นั้นเอง หลวงปู่บุดดา ได้ช่วยสร้างศาลาและที่เก็บน้ำสำหรับพระสงฆ์ สามเณรและคณะศิษย์ได้ใช้ และเป็นประธานจัดพิธีทอดผ้ากฐินสมทบสร้างพระอุโบสถที่ยังค้างอยู่ให้แล้วเสร็จ พร้อมได้สร้างศาลาธรรมสารขึ้นเพื่อเป็นศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
    ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ หลวงปู่บุดดา ต้องเข้ารักษาตัว ณ โรงพยาบาลตำรวจเมื่อหายแล้ว ท่านได้กลับไปเยี่ยมและพักผ่อน ณ วัดบุญทวี ถ้ำแกลบ จ.เพชรบุรี ช่วงระยะหนึ่งเมื่อจวนเข้าพรรษา หลวงปู่เย็น ทานรโต เจ้าอาวาสวัดกลางชูศรีเจริญสุข อ.พักทัน จ.สิงห์บุรี ในสมัยนั้นได้นิมนต์ขอให้หลวงปู่บุดดาไปจำพรรษากับท่าน หลวงปู่บุดดาจึงได้จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่เย็นโดยมีพระมหาทอง กาญจโน ศิษย์และอุปัฏฐากผู้ใกล้ชิดติดตามมาอยู่ด้วย สำหรับวัดกลางชูศรีเจริญสุขนั้น ได้สร้างมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยา ต่อมาเป็นวัดร้าง หลวงปู่เย็นได้เริ่มดำเนินการบูรณะและก่อสร้างโบสถ์ขึ้นก่อน ต่อเมื่อหลวงปู่บุดดามาอยู่ ด้วยบารมีของท่านและหลวงปู่เย็นและด้วยการบริหารของพระมหาทองจึงทำให้วัดกลางชูศรีเจริญสุข พัฒนาขึ้นจนเป็นวัดที่มีความสมบูรณ์สวยงามสง่านับเป็นวัดที่ทันสมัยวัดหนึ่ง
    เนื่องจากคณะศิษย์จำนวนมากในช่วงหนึ่ง ทราบว่าหลวงปู่บุดดา เป็นผื่นคันตามตัว ต่างคนต่าง ก็นำแป้งหอมชนิดต่าง ๆ มาน้อมถวายคราวละมาก ๆ เมื่อลากลับหลวงปู่บุดดา ได้เมตตานำแป้งที่ได้รับไว้กลับเอามา แล้วให้แบมือขึ้นเทแป้งใส่ให้พร้อมกับบอกให้ทาแป้งมงคลเสีย กันขี้กราก ขี้เกลื้อน กันหลง กันลืม ให้หายโรคหายภัย จนกระทั่งเป็นเอกลักษณ์ของหลวงปู่บุดดา ที่แจกแป้งมงคลให้คณะศิษย์ธรรมได้หน้าขาว สวยสง่าขึ้นทุก ๆ คน ซึ่งท่านจะแจกให้หมดทั้งพระสงฆ์ สามเณร และโยม พร้อมบอกว่า “ตั้งแต่ศีลแปดขึ้นไป ก็ทาเป็นยาได้.... เอาแป้งไปทาแล้ว มันหายโรคหายภัยได้จะว่าอย่างไรเล่า !”
    หลังจากจบกิจ พรรษาที่ ๔ แล้วท่านได้ออกจาริกทั่วทั้งประเทศไทยตลอดจนถึงพม่า ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย และได้ออกเทศนาสั่งสอนทั้งภิกษุ สามเณร ตลอดจนพุทธศาสนิกชน ด้วยการสั่งสอน โปรดสัตว์ ช่วยการก่อสร้างถาวรวัตถุระดับคุณธรรมให้สูงขึ้นทุกเพศชั้นวรรณะโดยหลวงปู่บุดดา ได้ออกเยี่ยมเยียนจนถึงที่อยู่ เช่นเดียวกับสมเด็จพระสัมมาพระพุทธเจ้า ซึ่งได้กล่าวแก่สาวกทั้งหลายว่า จงจาริกไปเพื่อประโยชน์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
    ในช่วงระหว่างปี ๒๕๒๒ จนถึง ๖ ก.พ. ๒๕๓๖ หลวงปู่บุดดา คงจาริกไปโปรดศิษย์และญาติโยม โดยอาศัยรถพาหนะของรถวัดกลางชูศรีฯ และศิษย์ผู้ติดตามทั้งพระภิกษุ สามเณรและฆราวาส โดยเฉพาะพระครูโสภณจารุวัฒน์ (พระมหาทอง กาญจโน) รองเจ้าคณะอำเภอบางระจัน เจ้าอาวาสวัดกลางชูศรีเจริญสุข และพระสมบุญ ญาณวิเวโกได้เฝ้าดูแลใกล้ชิดติดตามท่านออกโปรดญาติโยมที่นิมนต์ท่าน แม้ว่าท่านเองจะไปด้วยตนเองไม่ไหวต้องอาศัยศิษย์ช่วยพยุงท่านเดินถึง ๒ ท่าน มีพยาบาลจาก รพ.สิงห์บุรีคอยดูแล หลวงปู่ก็ยังรับนิมนต์จากศิษย์และญาติโยมออกโปรดด้วยการแสดงธรรม หรือพุทธาภิเษก ฉัน รับสังฆทานร่วมพิธีต่าง ๆ อาจารย์มหาทอง กาญจโน เป็นเจ้าอาวาสและติดตามอุปัฏฐากหลวงปู่มาแต่ปี ๒๕๒๐ จนถึงที่สุดแห่งวาระชีวิตของหลวงปู่
    หลวงปู่บุดดา ได้ปฏิบัติของพระศาสนาดังกล่าวมานี้ไม่สามารถจะหาที่เปรียบพระคุณหลวงปู่ได้แม้กระทั่งว่า ศิษย์ได้สอบถามท่านว่าเวลาพักผ่อนของหลวงปู่เวลาจะหลับตั้งใจให้หลับ หรือว่าหลับไปเอง ท่านกล่าวให้ฟังว่า หลับไปเอง กลางวันทำงาน ๑๐ ชม. พักผ่อน ๒ ชม. และกลางคืนทำงาน ๑๐ ชม. พักผ่อน ๒ ชม. เว้นแต่หลวงปู่บุดดาเจ็บป่วย จากการสอบถามและได้รับเมตตาจากหลวงปู่บุดดา เล่าให้ฟังปะติดปะต่อมา
    หลวงปู่บุดดา ได้เคยไปสนทนาธรรมพบปะ และเยี่ยมเยียนกันกับพระเถระที่มรณภาพไปแล้วหลาย ๆ ท่าน ได้แก่ ครูบาศรีวิชัย หลวงปู่มั่น หลวงพ่อเติม หลวงพ่อจาด หลวงพ่อจง หลวงพ่อรุ่ง หลวงพ่อเงิน หลวงพ่ออี๋ หลวงพ่อปาน มีทั้ง ๓ ปาน ครูบาพรหมจักร ท่านเจ้าคุณนรฯ เจ้าคุณอุบาลี สมเด็จพุฒาจารย์ (อาสภเถระ) หลวงปู่ดู่ หลวงปู่ชา ท่านพุทธทาส หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่สิม หลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงปู่วัย หลวงพ่อสังวาลย์ หลวงพ่อพุธ ครูบาชัยวงษา หลวงพ่อแพ หลวงปู่ชอบ หลวงปู่แว่น หลวงพ่อคง จันตตามโร ครูบาธรรมชัย หลวงพ่อมหาอำพัน หลวงปู่สาม หลวงปู่โง่น ครั้งป่วยอยู่ รพ.ศิริราชฯ และพระเถระที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้แก่ สมเด็จสังฆราชญาณสังวรฯ หลวงพ่อเพ็งฯ, หลวงพ่อ บุญเพ็ง, หลวงปู่เหรียญ, อาจารย์วิชัย, อาจารย์จำเนียร, อาจารย์จรัล, หลวงพ่อเหรียญ, หลวงพ่ออุตตมะ ฯลฯ
    ส่วนฆราวาส อุบาสก อุบาสิกา ที่นิมนต์หลวงปู่บุดดา ไม่ว่าจะยากดีมีจน ไม่เลือกชั้นวรรณะได้โปรดอย่างทั่วถึง ผู้ที่ได้เคยใกล้ชิดท่านบ้างจะทราบได้ทันทีว่า บารมีหลวงปู่เมื่อไปอยู่ใกล้ท่านจะได้รับความสงบเยือกเย็นอย่างประหลาด แต่ก็ยังมีบางท่านไม่เข้าใจในปฏิปทาในช่วงที่ท่านอายุมากแล้ว เช่นหลวงปู่แจกแป้ง หลวงปู่จับเงินทอง หลวงปู่จับหัวสตรี หลวงปู่ห่มผ้าไม่เหมือนพระองค์อื่น หลวงปู่ไม่ค่อยจะสอนวิธีปฏิบัติ หลวงปู่นอนห้องแอร์ และอื่น ๆ เนื่องจากท่านเหล่านั้นไม่ได้ติดตามหลวงปู่บุดดา เป็นเวลานาน ๆ เท่าที่ควร และเพิ่งจะได้พบหลวงปู่บุดดาช่วงที่อายุมากแล้ว ขอให้ท่านได้ติดตามศึกษาชีวประวัติท่านให้ตลอดก่อน และหลักธรรมคำสอนที่ท่านได้แนะนำให้มาตลอด
    ซึ่งหลวงปู่บุดดา ได้เคยเตือนว่าในสมัยพุทธกาลเศรษฐีได้ถ่มน้ำลายไล่พระอรหันต์ขี้เรือน ที่บิณฑบาตผ่านหน้าบ้านเศรษฐี ตายไปต้องตกนรกถึง ๕๐๐ ชาติ และชาติที่ได้สำเร็จเป็นพระโสดา ก็ยังต้องถูกโจรฆ่าตาย เนื่องจากบุคคลเหล่านั้นได้พบหลวงปู่บุดดาเวลาสั้น ๆ จึงขอให้ท่านขอขมากรรมและ ขออโหสิกรรมต่อท่านเสีย
    หลวงปู่บุดดา เล่าว่า แม้ท่านจะจำพรรษาที่แห่งเดียวติดต่อกันบ้างบางแห่ง แต่ท่านว่าท่านไม่เคยอยู่ที่ใดติดต่อกันตลอดทั้งปี เพราะพอออกพรรษาหลวงปู่ก็ออกจาริกธุดงค์ไปตามป่าตามเขาจนอายุใกล้ ๗๘ ปี ร่างกายของท่านทรุดโทรมแล้วจึงหยุดเข้าป่าขึ้นเขา แต่ท่านก็ยังจาริกไปตามอัธยาศัยท่านบิณฑบาตโดยไม่กลับย้อนหลัง บิณฑบาตที่เชียงใหม่ไปฉันที่เชียงราย คือวันหนึ่งท่านฉันมื้อหนึ่งและเว้นไปอีกวันท่านจึงฉัน จนกระทั่งท่านอายุมากแล้ว อายุ ๘๐ ปี ท่านจึงหยุดการปฏิบัติตนเองแบบเคร่งครัดเพื่อพักผ่อน กายสังขารตามคำนิมนต์ของบรรดาศิษย์
    อาจารย์มหาทอง กาญจโน เจ้าอาวาส วัดกลางชูศรีฯ เป็นผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาได้ติดตามอุปัฏฐากหลวงปู่บุดดามาแต่ปี ๒๕๒๐ เริ่มแต่วัดอาวุธวิกสิตาราม กทม. ได้กล่าวว่า “หลวงปู่เป็นพระพอดี ไม่ได้เกินดี ไม่ได้ขาดดี” เช่นถามเกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ หนาวไหม หนาวพอดี ร้อนไหม ร้อนพอดี เกี่ยวกับการขบฉัน การเจ็บป่วย จะไม่เคยเรียกหาอะไรเพิ่มเติมเลย เวลาท่านฉัน ไม่เคยบอกก่อนเลยว่าท่านเจ็บป่วย ต้องสังเกตเอาเองและคอยสอบถามท่านว่าไม่สบายมีอาการเป็นอย่างไร
    ไม่น่าแปลกใจอะไรเพราะท่านเคยเล่าให้ฟัง ว่าท่านเคยอธิฐานไม่นอนเลยระหว่างเข้าพรรษาก็ทำมาแล้ว ธุดงค์โดยไม่ต้องมีกลดมีมุ้ง ทางแถบชายทะเลตะวันออกยุงกัดเลือดท่านบินไม่ไหวท่านกล่าวว่าไม่เกิน ๗ วัน เดี๋ยวมันก็ตายไปเองอยู่แล้วสงสารมัน แต่ข้าพเจ้าก็เกิดอัศจรรย์ใจราวปี ๒๕๒๙ ที่ได้ไปพบท่านจำวัด ณ วัดกลางชูศรีฯ โดยที่ท่านไม่ต้องกางมุ้งแต่ไม่เห็นมียุงกัดกินเลือดท่านเลย


    ละสังขาร
    สำหรับพระอรหันต์ถึงแม้ว่ามีคุณวิเศษสามารถแยกจิตกับกายออกจากกันได้แล้วก็ตาม แต่ย่อมไม่สามารถที่จะบังคับให้กายสังขารทรงความมีชีวิตให้ยิ่งยืนนานตลอดไปได้ฉันใดกายสังขารของหลวงปู่บุดดา ถาวโร ก็เช่นเดียวกัน
    เมื่อวันที่ ๖ ก.พ. ๒๕๓๖ หลวงปู่บุดดา ได้ไปร่วมพิธีทำบุญ ๑๐๐ วัน หลวงพ่อพระราชพรหมยานเถร (หลวงพ่อฤาษี) ณ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี หลังท่านกลับถึงวัดกลางชูศรีเจริญสุขแล้วเวลาประมาณ ๐๑.๐๐ น. หลวงปู่มีอาการป่วยกะทันหัน พระครูโสภณจารุวัฒน์ (พระอาจารย์ มหาทอง) จึงได้นำส่งโรงพยาบาลสิงห์บุรี นายแพทย์วิศิษฐ์ ถนัดสร้าง ได้นำหลวงปู่บุดดาเข้าเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่โรงพยาบาล หมอประเจิดพบว่าสมองด้านซ้ายฝ่อเส้นโลหิตอุดตัน และปอดอักเสบ หลวงปู่หอบเพราะเสมหะตกค้างในปอดมาก แพทย์ตัดสินใจใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก
    - ๙ ก.พ. ๒๕๓๖ สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับหลวงปู่เข้าเป็นคนไข้พระราชูปถัมภ์ คณะแพทย์สิงห์บุรีจึงได้นำหลวงปู่ส่งโรงพยาบาล ศิริราช ณ ห้องไอซียู โดยมี ศ.พ.ญ. นันทา มาระเนตร์ เป็นแพทย์เจ้าของไข้
    - ๑๑ ก.พ. ๒๕๓๖ หลวงปู่บุดดา ได้รับการรักษาที่ห้องอภิบาลการหายใจ (อาร์ซียู) ตึกอัษฏางค์ ชั้น ๒ หลวงปู่อาการดีขึ้นตามลำดับ หายใจได้เอง
    - ๑๔ ก.ค. ๒๕๓๖ หลวงปู่บุดดา ได้ย้ายไปที่ห้องพิเศษ ตึก ๘๔ ปี ห้อง ๘๐๘ โดยอยู่ในความ ดูแลของแพทย์และพยาบาลประจำตึก มีพระอุปัฏฐากอยู่ประจำ ๒ รูป
    - ๒๖ พ.ย. ๒๕๓๖ หลวงปู่บุดดา มีอาการทรุดลงทั้งหอบและไอ แพทย์ได้นำเสมหะไปเพาะ เชื้อปรากฏว่าหลวงปู่บุดดาติดเชื้ออย่างแรง
    - ๒ ธ.ค. ๒๕๓๖ แพทย์ได้ย้ายหลวงปู่บุดดา กลับไปที่ห้องอาร์ซียูอีกครั้ง แต่อาการไม่ดีขึ้น
    - ๑๑ ม.ค. ๒๕๓๗ ช่วงกลางคืนอาการหลวงปู่บุดดาสุดวิสัยที่คณะแพทย์จะเยียวยารักษาได้
    วันดับขันธ์แห่งดวงประทีปพุทธศาสนา
    เช้าของวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๗ อาการของหลวงปู่บุดดาได้ทรุดหนักลง พระมหาทอง (พระครูโสภณจารุวัฒน์) เจ้าอาวาสวัดกลางชูศรีเจริญสุข ซึ่งคอยเฝ้าสังเกตอาการของหลวงปู่บุดดาเห็นดังนั้น จึงได้แจ้งให้คณะแพทย์ทราบโดยคณะแพทย์ได้เรียกระดมแพทย์ที่ให้การรักษามาทำการเยียวยาอย่างสุดความสามารถ
    พระมหาทองได้เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ท่านได้เฝ้าดูอาการหลวงปู่บุดดามาอย่างใกล้ชิด จึงคาดว่าไม่ช้านี้หลวงปู่บุดดา คงมรณภาพเพราะอาการขณะนี้มีเปอร์เซ็นต์ให้หวังได้เพียงแค่ 3 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ระบบการหายใจแย่ลงทุกที
    พระครูโสภณจารุวัฒน์ หรือมหาทองได้ กล่าวอีกว่า หลวงปู่บุดดา เคยสั่งเอาไว้ว่าหากท่านมรณภาพไม่ให้จัดพิธีงานศพใดๆ ทั้งสิ้นด้วยเกรงว่าจะเป็นการสิ้นเปลือง แต่แล้วเมื่อเวลา ๑๙.๓๐ น. ทางคณะแพทย์ได้แจ้งให้บรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายได้ที่เฝ้ารอดูอาการของหลวงปู่บุดดา ที่หน้าห้องไอซียู ว่าหลวงปู่บุดดา ได้ละสังขารไปอย่างสงบแล้ว เหมือนสายฟ้าฟาดลงมายังบรรดาสานุศิษย์ที่มารอฟังข่าวของหลวงปู่บุดดา และยังเป็นข่าวร้ายอีกด้วย
    เป็นเวลา ๓๔๐ วัน ที่หลวงปู่บุดดา ต้องทนต่อสู้กับโรคปอดบวม สมองซีกซ้ายฝ่อและเส้นโลหิตอุดตัน ท่ามกลางความเศร้าสลดของบรรดาคณะแพทย์ที่ให้รับการรักษาและสานุศิษย์ทั้งหลายที่มารอเฝ้าดูอาการจนวาระสุดท้ายก่อนจะสิ้นลม สิริรวมอายุ ๑๐๑ ปี ๗ วัน ๗๓ พรรษา
    ดวงประทีปแห่งพุทธศาสนาได้ดับสูญไปอีกดวงหนึ่งแล้ว แต่สิ่งที่หลวงปู่บุดดาได้สอนไว้ยังคงอยู่ "คนเราจะเป็นสุขเมื่อรู้จักพอดี ไม่มีใครได้อะไรตลอดไป หรือเสียอะไรตลอดไป ไม่มีใครหรือสิ่งไหนคงอยู่ตลอดไปโดยไม่สูญสิ้น ขอเพียงแค่รู้จักพอดีทุกคนจะเป็นสุข"
    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE class=contenttoc cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TH>ดัชนีบทความ</TH></TR><TR><TD>ประวัติ หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข </TD></TR><TR><TD>ประวัติหลวงปู่บุดดา หน้า 2 </TD></TR><TR><TD>ประวัติหลวงปู่บุดดา หน้า 3 </TD></TR><TR><TD>ทุกหน้า </TD></TR></TBODY></TABLE>หน้า 2 จาก 3

    วัดบุญทวี ถ้ำแกลบ
    วัดนี้สร้างด้วยความร่วมมือสมานฉันท์ของชาวเพชรบุรี ทั้งสองนิกายคือ ธรรมยุติและมหานิกาย (เกี่ยวข้องกับหลวงพ่อสงฆ์และหลวงปู่บุดดาเป็นสื่อจูงใจ) ดังปรากฏกุฏิหลวงพ่อสงฆ์เดิม ภายหลังต่อมากลับกลายเป็นห้องสมุดของสำนักปฏิบัติ อุโบสถก็เป็นอุโบสถที่มีการผูกพัทธสีมา ทั้งแบบธรรมยุติและมหานิกาย ฝ่ายปริยัตินั้นอยู่พื้นที่ส่วนราบฝ่ายปฏิบัติอยู่บนภูเขา
    เนื่องจากวัดเพชรบุรีเป็นที่ ๆ หลวงปู่บุดดา จำพรรษามากกว่าที่อื่น ๆ ยกเว้นจังหวัดสิงห์บุรี ประกอบกับท่านเป็นพระของทั้งสองนิกาย ชาวเพชรบุรีจึงศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านมาก ขนาดสามล้อแย่งกันนิมนต์ขึ้นรถของตัวเอง เขามีความเชื่อว่าถ้าหลวงปู่ได้นั่งรถของเขาแล้ววันนั้นเขาจะได้ลาภมากกว่าปกติไม่ว่าจะเป็นสามล้อหรือรถโดยสารธรรมดาในจังหวัดเพชรบุรีแล้ว เขาต้องนิมนต์ให้ท่านขึ้นรถของเขาถ้าพบว่าท่านตามทาง
    งานเดียวถูกนิมนต์ ๓ วาระ
    ในงานฌาปนกิจศพของคหบดีคนหนึ่งของวัดเจ้าคณะตำบลใกล้วัดถ้ำแกลบนี้เอง ซึ่งบุตร ทั้ง 3 คน เป็นเจ้าภาพร่วมกันพอวันงานปรากฏว่าพระขาดไปรูปหนึ่ง น้องคนเล็กจึงไปนิมนต์หลวงปู่บุดดาจากวัดถ้ำแกลบ พอมาถึงท่านก็นั่งยังอาสนะที่เขาจัดไว้ เจ้าภาพได้เถียงกัน พี่ชายคนกลางว่าไปนิมนต์พระมาเช่นกัน ท่านได้ฟังก็ลุกอาจสนะลงมาข้างล่างและพระที่พี่ชายคนกลางนิมนต์มาก็เข้านั่งประจำที่แต่แล้วเจ้าภาพทั้งสองคนก็ตกลงจัดที่เพิ่มและนิมนต์หลวงปู่บุดดาขึ้นไปใหม่ ต่อพอพี่ชายคนโตมาถึงก็เอ็ดใหญ่ไม่ยอมฟังคำชี้แจงของน้องทั้งสองคน เขาเล่าว่าไม่เห็นท่านแสดงอาการอย่างไร ท่านก็ลุกจากอาสนะอีกครั้งหนึ่ง แล้วเดินผ่านมาทางซ้ายสุด เพราะมีผู้คนมามากแล้ว คราวนี้ท่านไม่หยุดดังคราวก่อนได้เดินผ่านประตูทางออกไปเลย ตอนหลังเจ้าภาพตกลงกันได้จึงวิ่งไปนิมนต์ท่านกลับมาใหม่ หลวงปู่บุดดา ก็เลยกลับมานั่งยังอาสนะเดิมเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
    วัววิ่งชน หลวงปู่บุดดา
    หลวงปู่บุดดา ได้รับนิมนต์จากชาวบ้าน จ.เพชรบุรี พร้อมด้วยอาจารย์เหล็ง พอถึงหน้าบ้านท่านก็ร้องให้เจ้าภาพของวัวผูกวัว เจ้าของบ้านออกมายืนนอกชาน ร้องนิมนต์ให้เข้ามาเถิดไม่เป็นไรหรอกท่านก็เดินเข้าบ้าน เจ้าวัวไม่ยอมรับรู้วิ่งก้มหัวเข้าใส่ทันที พอมันเข้ามาใกล้ท่าน อาจารย์เหล็งเห็นดังนั้นคิดอุทิศชีวิตถวายหลวงปู่ถลันขึ้นไปเสมอกับท่านไม่ทันล้ำไปข้างหน้า ทันใดขาทั้ง ๔ ของเจ้าวัวตัวนั้นเหมือนถูกตรึงอยู่ห่างจากหลวงปู่บุดดา ประมาณ ๒ วา เจ้าของวัวจึงได้นำวัวมันไปผูก เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องที่ชาวเมืองเพชรบุรีเล่าลือกันทั่วไป
    แชะ แชะ
    อีกคราวหนึ่งมีนายทหารถือปืนเข้าวัดมาเพื่อจะยิงนก เข้ามาในวัดจนถึงหน้ากุฏิท่าน ท่านเลยชี้บอกนายทหารคนนั้นว่าโน่นไงนก นกกำลังเกาะกินลูกไม้บนต้นไม้ใหญ่ใกล้กุฏิท่าน ท่านบอกให้ยิงเพียง ๒ ครั้งเท่านั้น นายทหารคนนั้นเอาปืนยิงทันที ครั้งแรกดังแชะไม่ออก ครั้งที่ ๒ ดังแชะอีก ไม่ออก ท่านอาจารย์เหล็กจึงบอกว่า ไม่ได้ อย่ายิงอีกนะปืนจะแตก นายทหารคนนั้นก็เชื่อ และไม่เข้ามาในวัด อีกเลย ส่วนอาจารย์เหล็งนั้นเมื่อติดตามหลวงปู่บุดดามาเพชรบุรีแล้วก็ไม่ได้กลับกรุงเทพฯ ครั้งสุดท้ายท่านอยู่วัดบุญทวี ถ้ำแกลบและมรณะภายที่วัดนี้เอง
    พบครูบาศรีวิชัย
    หลวงปู่บุดดา จำพรรษา ณ วัดราชานิวาส สมเด็จพระสังฆราชในขณะนั้นคือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิตร ครูบาศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ หลวงปู่ได้ไปเยี่ยมท่านครูบาศรีวิชัยที่วัดเบญจมบพิตร ท่านเล่าว่าครูบาศรีวิชัยเห็นหลวงปู่ไม่พาดสังฆาฏิ จึงทักท้วงว่า “เราเป็นนายฮ้อยก็ต้องให้เขารู้ว่าเป็นนายฮ้อยไม่ใช่นายสิบ” นี่คือสาเหตุที่หลวงปู่บุดดา ท่านไปไหนก็ตามท่านจะพาดสังฆาฏิเสมอ ครูบาศรีวิชัยได้ถวายคนโทน้ำที่ท่านใช้ให้หลวงปู่บุดดาลูกหนึ่ง คนโทลูกนั้นคงยังอยู่ที่วัดราชาธิวาสนั่นเอง พอออกพรรษาท่านจากไปก็เพียงบาตร ห่อผ้าอาบน้ำและร่มเท่านั้น ถ้าออกป่าก็มีกาน้ำอีกลูกหนึ่ง
    ท่านพุทธทาสนิมนต์ไปสวนโมกข์
    ระหว่างที่ท่านจำพรรษาที่วัดราชาธิวาสนั้น ท่านพุทธทาสได้พบและสนทนาวิสาสะเป็นที่ถูกใจ จึงได้ออกปากนิมนต์ไปจำพรรษาที่สวนโมกข์พลาราม ท่านบอกท่านพุทธทาสว่า อย่าให้ท่านเป็นผู้ทำลายแบบแผนที่วางไว้เลย จากเหตุคราวนั้น ทำให้ท่านพุทธทาสแก้ไขระเบียบที่ว่าผู้ที่จะเข้าพำนักในสำนักของท่านได้ ต้องเป็นเปรียญหรือนักธรรมเอก มาเป็นข้อยกเว้นว่า หากไม่มีประโยคประธานใด ๆ ท่านต้องทดสอบก่อน
    เกี่ยวกับท่านพุทธทาสนั้น เมื่อคราว หลวงปู่บุดดาได้เดินธุดงค์ไปยังเพชรบุรีได้พบกับท่านพุทธทาสอีก ซึ่งต่อมาหลวงปู่บุดดาได้ไปเยี่ยมท่านพุทธทาสที่สวนโมกข์อีกหลายครั้ง บางครั้งก็พักค้างคืน ครั้งหลังสุดเป็นช่วงก่อนเข้าพรรษาปี ๒๕๓๓ ท่านก็ยังไปเยี่ยมท่านพุทธทาสจวบจนท่านปรารภว่าจะไม่ไปไหนอีกแล้ว
    ไม่ข้ามหมา
    หลวงปู่บุดดา ท่านได้ไปจำพรรษาที่จังหวัดระยอง วันหนึ่งท่านมีธุระที่จะต้องเดินไปกุฏิอีกหลังหนึ่งทาง ที่จะไปนั้น ต้องข้ามสะพานไม้ที่ทอดไป แต่บนสะพานนั้นมีสุนัขตัวหนึ่งนอนขวางทางอยู่ ท่านก็ไม่ข้ามกลับเดินลงไปลุยโคลนแทนที่จะข้ามสุนัขตัวนั้น ท่านว่า ไม่อยากให้ผู้อื่นได้รับความ ขุ่นเคือง และเป็นการเบียดเบียน โดยเห็นแก่ความสะดวกของตนเองแม้เป็นเพียงสัตว์เดรัจฉาน ท่านก็ยังไม่ข้าม แสดงถึงคุณธรรมอันสูงส่งในจิตใจของท่าน
    เจ้าคุณ ๘ ประโยค
    หลวงปู่บุดดา ถูกนิมนต์ให้ไปเทศน์คู่กับท่านเจ้าคุณองค์หนึ่ง ท่านก็คงเห็นหลวงปู่บุดดา เป็นพระบ้านนอกรุ่มร่ามทำนองนั้น และไม่มีประโยคประธานใดๆ เพียงพระบุดดาธรรมดาๆ เท่านั้นท่านเจ้าคุณได้ถามหลวงปู่บุดดา ว่า “ท่านจะเทศน์เรื่องอะไร” หลวงปู่บุดดาก็ตอบว่า “เรื่องตัวโกรธ กิเลสตัณหา” ท่านเจ้าคุณก็ถามว่า “ตัวโกรธเป็นอย่างไร” หลวงปู่บุดดาก็พูดว่า “ส้นตีน ไงละ” เจ้าคุณโกรธจนหัวฟัดหัวเหวี่ยง และไม่ยอมเทศน์ร่วมกับหลวงปู่บุดดา หลวงปู่บุดดาท่านต้องเทศน์องค์เดียวเมื่อเทศน์จบแล้วท่านไปขอขมาเจ้าคุณเข้าใจว่าตัวโกรธเป็นอย่างนี้
    หลวงปู่บุดดากับสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    หลวงปู่บุดดา ท่านเรียกสรรพนามสมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์นี้ว่า “สมเด็จไส้ออก” เวลาท่านผ่านมาทางวัดบวรนิเวศ ถ้าพระองค์เห็นเข้าก็จะจูงมือหลวงปู่ขึ้นบนกุฎิปิดประตูสนทนากัน และจัดให้หลวงปู่บุดดา จำวัดในพระตำหนักด้วย ท่านบอกว่า “ท่านบุดดามีพร้อมแล้วไม่ติดที่อยู่ พอออกพรรษาก็ออกไปเหมือนนกกระจอก อ้ายเรามันติดที่อยู่ที่นี่จนออกพรรษาแล้วก็ยังอยู่กับที่”
    พระฝ่ายปฏิบัติอื่น ๆ กับหลวงปู่บุดดา
    พระฝ่ายปฏิบัติอันเป็นที่เคารพสักการะมีอยู่ทุกภาคและแทบทุกท่านมักจะได้เคยพบวิสาสะกันตอนจาริกธุดงค์เพราะต่างก็แสวงหาสถานที่วิเวก และมีสิ่งเกื้อกูลอื่นๆ เหมือนๆ กัน สถานที่เช่นนั้นจึงเหมือนเป็นจุดนัดพบของพระฝ่ายปฏิบัติ และจุดสำคัญต่างๆนี้ท่านออกธุดงค์จะต้องผ่าน เช่น ภาคกลาง มีพระพุทธบาท พระพุทธฉายและเขาวงพระจันทร์ ภาคเหนือก็พระแท่นศิลาอาสน์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็พระธาตุพนมและพระปฐมเจดีย์ของภาคกลางด้วย พระสายปฏิบัติฝ่ายธรรมยุต สายท่านเจ้าคุณอุบาลี และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สายนี้พูดได้ว่าหลวงปู่รู้จักเป็นส่วนมาก ที่พรรษาสูงกว่าหลวงปู่เรียกหลวงพ่อ เช่นเรียกหลวงพ่อมั่น หลวงพ่อเสาร์และอาจารย์สิงห์ ฯลฯ รุ่นเรียกอาจารย์ ก็คือรุ่นราวคราวเดียวกันหรืออ่อนกว่า กล่าวได้ว่าสายปฏิบัติฝ่ายธรรมยุตกับฝ่ายปฏิบัติธรรมของมหานิกาย สายหลวงปู่เภา พุทธสโร และหลวงปู่บุดดาท่านไม่มีความรังเกียจซึ่งกันและกันเลย จะเห็นได้จากประวัติของท่านสุภัทโท (เจ้าคุณโพธิญาณเถระ) นอกจากนั้น วัดมหานิกายที่ถือข้อวัตรปฏิบัติแบบหลวงพ่อเภากับวัดธรรมยุตของจังหวัดลพบุรีท่านก็มีการติดต่อกันอยู่เสมอ
    คราวหนึ่งหลวงปู่บุดดา ได้พบหลวงพ่อสด จันทสโร จากวัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ โดยบังเอิญ ณ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ อุตรดิตถ์ เมื่อได้สนทนาธรรมและร่วมทำวัตรสวดมนต์โดยมีหลวงพ่อเกรียง กิตติธรรมโม จากวัดหินหักใหญ่ ลพบุรีร่วมธุดงค์มาด้วย ได้ชวนกันจาริกไปพระธาตุดอยสุเทพโดยธุดงค์ไปเรื่อย ๆ ใช้เวลาแรมเดือนจึงถึงจุดหมายแล้วเมื่อร่วมพักปฏิบัติธรรมอยู่ ๗๕ วัน ต่างก็แยกทางกันตามอัธยาศัย ซึ่งหลวงปู่บุดดา ชอบธุดงค์องค์เดียว
    หลวงปู่ปานวัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดอยุธยา หลวงปู่บุดดาเรียกหลวงพ่อปาน ท่านบอกว่า “หลวงพ่อปาน ท่านปรารถนาพุทธภูมิ” ท่านออกธุดงค์แต่ละครามีพระ เณร อุบาสิกา ติดตามเป็นขบวนยาวมาก ที่ที่ท่านพบกันเสมอก็คือบริเวณเขาวงพระจันทร์ที่ซึ่งในเวลาต่อมาหลวงปู่ปานได้มาสร้างเป็นวัดสะพานนาค
    สายครูบาศรีวิชัย นอกจากครูบาเองท่านยังสั่งมอบหมายไว้ ก็คือ หลวงปู่พระสุพรหมยานเถร วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ซึ่งหลวงปู่มีความเคารพเป็นอย่างยิ่ง และนับถือพระสุพรหมยานเถรเป็นพี่ชายของท่าน หลวงปู่สิม พุทธจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ได้สนทนาธรรมกับหลวงปู่อยู่บ่อย ๆ ด้วยความปิติและเบิกบานในอมตธรรมเป็นอย่างยิ่ง
    เจ้าคุณพระสิทธิสารโสภณ และแม่ชีบุญเรือนพบหลวงปู่บุดดา
    ท่านเจ้าคุณพระสิทธิสารโสภณ อดีตเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม ก่อนจะมาอยู่วัดอาวุธฯ นั้นท่านเคยอยู่วัดสัมพันธวงศ์และได้พบกับหลวงปู่บุดดา ณ ที่นั้นเอง หลวงปู่บุดดาแนะนำท่านเจ้าคุณให้รักษาศีลเท่าชีวิต ท่านก็นำมาปฏิบัติจนกระทั่งปรากฏแสงสว่างเกิดขึ้นเป็นที่น่าอัศจรรย์ ท่านจึงเลื่อมใสศรัทธาและฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ท่านเจ้าคุณได้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม ท่านก็นิมนต์หลวงปู่บุดดามาจำพรรษาที่วัดอาวุธฯ หลวงปู่บุดดาก็มาพักเป็นครั้งคราวและในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ จึงได้มาจำพรรษาที่วัดอาวุธฯ ๒ ปี ท่านมาครั้งนี้ท่านเจ้าคุณได้มรณภาพแล้ว โบสถ์ วิหารที่ท่านสร้างไว้ก็ยังไม่เสร็จหลวงปู่บุดดา ท่านมาอยู่ก็ช่วยสร้างศาลาและที่เก็บน้ำไว้ให้และทอดกฐินร่วมสร้างโบสถ์ที่ยังค้างอยู่
    ขณะที่ท่านเจ้าคุณยังมีชีวิตอยู่ได้เคยเล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ตอนหลวงปู่บุดดาอยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ เวลาหลวงปู่บุดดาแสดงธรรมมีคนมาฟังธรรมกันแน่นมาก รวมถึงคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ก็ได้มีโอกาสฟังธรรมและมอบตัวเป็นศิษย์ได้นำคำสอนของหลวงปู่บุดดา มาปฏิบัติและบำเพ็ญความเพียรด้วยตนเองจนได้บรรลุธรรม (ปัจจุบันกระดูกกลับกลายเป็นอรหันตธาตุอยู่ ณ วัดอาวุธฯ) ท่านเจ้าคุณเคารพในปฏิปทาของแม่ชีบุญเรือนมาก ดังนั้นเมื่อท่านเจ้าคุณมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอาวุธฯ และเมื่อคุณแม่ชีบุญเรือนมา สิ้นชีวิตลงแล้วท่านเจ้าคุณได้อนุญาตให้สร้างศาลาคุณแม่บุญเรือนไว้ที่วัดอาวุธฯ เพื่อเป็นอนุสรณ์
    ช่วงปลายชีวิต
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ขณะหลวงปู่บุดดา อายุ ๘๔ ปี ได้มาจำพรรษา ณ วัดอาวุธสิตาราม เขตบางพลัด กรุงเทพฯ ตามที่ท่านเจ้าคุณพระสิทธิสารโสภณ เจ้าอาวาสนิมนต์ไว้ และในปีนั้นท่าน เจ้าคุณก็ได้มรณภาพลงโดยขณะนั้นทั้งโบสถ์และวิหารที่สร้างขึ้นยังไม่แล้วเสร็จ
    และในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ นั้นเอง หลวงปู่บุดดา ได้ช่วยสร้างศาลาและที่เก็บน้ำสำหรับพระสงฆ์ สามเณรและคณะศิษย์ได้ใช้ และเป็นประธานจัดพิธีทอดผ้ากฐินสมทบสร้างพระอุโบสถที่ยังค้างอยู่ให้แล้วเสร็จ พร้อมได้สร้างศาลาธรรมสารขึ้นเพื่อเป็นศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
    ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ หลวงปู่บุดดา ต้องเข้ารักษาตัว ณ โรงพยาบาลตำรวจเมื่อหายแล้ว ท่านได้กลับไปเยี่ยมและพักผ่อน ณ วัดบุญทวี ถ้ำแกลบ จ.เพชรบุรี ช่วงระยะหนึ่งเมื่อจวนเข้าพรรษา หลวงปู่เย็น ทานรโต เจ้าอาวาสวัดกลางชูศรีเจริญสุข อ.พักทัน จ.สิงห์บุรี ในสมัยนั้นได้นิมนต์ขอให้หลวงปู่บุดดาไปจำพรรษากับท่าน หลวงปู่บุดดาจึงได้จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่เย็นโดยมีพระมหาทอง กาญจโน ศิษย์และอุปัฏฐากผู้ใกล้ชิดติดตามมาอยู่ด้วย สำหรับวัดกลางชูศรีเจริญสุขนั้น ได้สร้างมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยา ต่อมาเป็นวัดร้าง หลวงปู่เย็นได้เริ่มดำเนินการบูรณะและก่อสร้างโบสถ์ขึ้นก่อน ต่อเมื่อหลวงปู่บุดดามาอยู่ ด้วยบารมีของท่านและหลวงปู่เย็นและด้วยการบริหารของพระมหาทองจึงทำให้วัดกลางชูศรีเจริญสุข พัฒนาขึ้นจนเป็นวัดที่มีความสมบูรณ์สวยงามสง่านับเป็นวัดที่ทันสมัยวัดหนึ่ง
    เนื่องจากคณะศิษย์จำนวนมากในช่วงหนึ่ง ทราบว่าหลวงปู่บุดดา เป็นผื่นคันตามตัว ต่างคนต่าง ก็นำแป้งหอมชนิดต่าง ๆ มาน้อมถวายคราวละมาก ๆ เมื่อลากลับหลวงปู่บุดดา ได้เมตตานำแป้งที่ได้รับไว้กลับเอามา แล้วให้แบมือขึ้นเทแป้งใส่ให้พร้อมกับบอกให้ทาแป้งมงคลเสีย กันขี้กราก ขี้เกลื้อน กันหลง กันลืม ให้หายโรคหายภัย จนกระทั่งเป็นเอกลักษณ์ของหลวงปู่บุดดา ที่แจกแป้งมงคลให้คณะศิษย์ธรรมได้หน้าขาว สวยสง่าขึ้นทุก ๆ คน ซึ่งท่านจะแจกให้หมดทั้งพระสงฆ์ สามเณร และโยม พร้อมบอกว่า “ตั้งแต่ศีลแปดขึ้นไป ก็ทาเป็นยาได้.... เอาแป้งไปทาแล้ว มันหายโรคหายภัยได้จะว่าอย่างไรเล่า !”
    หลังจากจบกิจ พรรษาที่ ๔ แล้วท่านได้ออกจาริกทั่วทั้งประเทศไทยตลอดจนถึงพม่า ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย และได้ออกเทศนาสั่งสอนทั้งภิกษุ สามเณร ตลอดจนพุทธศาสนิกชน ด้วยการสั่งสอน โปรดสัตว์ ช่วยการก่อสร้างถาวรวัตถุระดับคุณธรรมให้สูงขึ้นทุกเพศชั้นวรรณะโดยหลวงปู่บุดดา ได้ออกเยี่ยมเยียนจนถึงที่อยู่ เช่นเดียวกับสมเด็จพระสัมมาพระพุทธเจ้า ซึ่งได้กล่าวแก่สาวกทั้งหลายว่า จงจาริกไปเพื่อประโยชน์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
    ในช่วงระหว่างปี ๒๕๒๒ จนถึง ๖ ก.พ. ๒๕๓๖ หลวงปู่บุดดา คงจาริกไปโปรดศิษย์และญาติโยม โดยอาศัยรถพาหนะของรถวัดกลางชูศรีฯ และศิษย์ผู้ติดตามทั้งพระภิกษุ สามเณรและฆราวาส โดยเฉพาะพระครูโสภณจารุวัฒน์ (พระมหาทอง กาญจโน) รองเจ้าคณะอำเภอบางระจัน เจ้าอาวาสวัดกลางชูศรีเจริญสุข และพระสมบุญ ญาณวิเวโกได้เฝ้าดูแลใกล้ชิดติดตามท่านออกโปรดญาติโยมที่นิมนต์ท่าน แม้ว่าท่านเองจะไปด้วยตนเองไม่ไหวต้องอาศัยศิษย์ช่วยพยุงท่านเดินถึง ๒ ท่าน มีพยาบาลจาก รพ.สิงห์บุรีคอยดูแล หลวงปู่ก็ยังรับนิมนต์จากศิษย์และญาติโยมออกโปรดด้วยการแสดงธรรม หรือพุทธาภิเษก ฉัน รับสังฆทานร่วมพิธีต่าง ๆ อาจารย์มหาทอง กาญจโน เป็นเจ้าอาวาสและติดตามอุปัฏฐากหลวงปู่มาแต่ปี ๒๕๒๐ จนถึงที่สุดแห่งวาระชีวิตของหลวงปู่
    หลวงปู่บุดดา ได้ปฏิบัติของพระศาสนาดังกล่าวมานี้ไม่สามารถจะหาที่เปรียบพระคุณหลวงปู่ได้แม้กระทั่งว่า ศิษย์ได้สอบถามท่านว่าเวลาพักผ่อนของหลวงปู่เวลาจะหลับตั้งใจให้หลับ หรือว่าหลับไปเอง ท่านกล่าวให้ฟังว่า หลับไปเอง กลางวันทำงาน ๑๐ ชม. พักผ่อน ๒ ชม. และกลางคืนทำงาน ๑๐ ชม. พักผ่อน ๒ ชม. เว้นแต่หลวงปู่บุดดาเจ็บป่วย จากการสอบถามและได้รับเมตตาจากหลวงปู่บุดดา เล่าให้ฟังปะติดปะต่อมา
    หลวงปู่บุดดา ได้เคยไปสนทนาธรรมพบปะ และเยี่ยมเยียนกันกับพระเถระที่มรณภาพไปแล้วหลาย ๆ ท่าน ได้แก่ ครูบาศรีวิชัย หลวงปู่มั่น หลวงพ่อเติม หลวงพ่อจาด หลวงพ่อจง หลวงพ่อรุ่ง หลวงพ่อเงิน หลวงพ่ออี๋ หลวงพ่อปาน มีทั้ง ๓ ปาน ครูบาพรหมจักร ท่านเจ้าคุณนรฯ เจ้าคุณอุบาลี สมเด็จพุฒาจารย์ (อาสภเถระ) หลวงปู่ดู่ หลวงปู่ชา ท่านพุทธทาส หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่สิม หลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงปู่วัย หลวงพ่อสังวาลย์ หลวงพ่อพุธ ครูบาชัยวงษา หลวงพ่อแพ หลวงปู่ชอบ หลวงปู่แว่น หลวงพ่อคง จันตตามโร ครูบาธรรมชัย หลวงพ่อมหาอำพัน หลวงปู่สาม หลวงปู่โง่น ครั้งป่วยอยู่ รพ.ศิริราชฯ และพระเถระที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้แก่ สมเด็จสังฆราชญาณสังวรฯ หลวงพ่อเพ็งฯ, หลวงพ่อ บุญเพ็ง, หลวงปู่เหรียญ, อาจารย์วิชัย, อาจารย์จำเนียร, อาจารย์จรัล, หลวงพ่อเหรียญ, หลวงพ่ออุตตมะ ฯลฯ
    ส่วนฆราวาส อุบาสก อุบาสิกา ที่นิมนต์หลวงปู่บุดดา ไม่ว่าจะยากดีมีจน ไม่เลือกชั้นวรรณะได้โปรดอย่างทั่วถึง ผู้ที่ได้เคยใกล้ชิดท่านบ้างจะทราบได้ทันทีว่า บารมีหลวงปู่เมื่อไปอยู่ใกล้ท่านจะได้รับความสงบเยือกเย็นอย่างประหลาด แต่ก็ยังมีบางท่านไม่เข้าใจในปฏิปทาในช่วงที่ท่านอายุมากแล้ว เช่นหลวงปู่แจกแป้ง หลวงปู่จับเงินทอง หลวงปู่จับหัวสตรี หลวงปู่ห่มผ้าไม่เหมือนพระองค์อื่น หลวงปู่ไม่ค่อยจะสอนวิธีปฏิบัติ หลวงปู่นอนห้องแอร์ และอื่น ๆ เนื่องจากท่านเหล่านั้นไม่ได้ติดตามหลวงปู่บุดดา เป็นเวลานาน ๆ เท่าที่ควร และเพิ่งจะได้พบหลวงปู่บุดดาช่วงที่อายุมากแล้ว ขอให้ท่านได้ติดตามศึกษาชีวประวัติท่านให้ตลอดก่อน และหลักธรรมคำสอนที่ท่านได้แนะนำให้มาตลอด
    ซึ่งหลวงปู่บุดดา ได้เคยเตือนว่าในสมัยพุทธกาลเศรษฐีได้ถ่มน้ำลายไล่พระอรหันต์ขี้เรือน ที่บิณฑบาตผ่านหน้าบ้านเศรษฐี ตายไปต้องตกนรกถึง ๕๐๐ ชาติ และชาติที่ได้สำเร็จเป็นพระโสดา ก็ยังต้องถูกโจรฆ่าตาย เนื่องจากบุคคลเหล่านั้นได้พบหลวงปู่บุดดาเวลาสั้น ๆ จึงขอให้ท่านขอขมากรรมและ ขออโหสิกรรมต่อท่านเสีย
    หลวงปู่บุดดา เล่าว่า แม้ท่านจะจำพรรษาที่แห่งเดียวติดต่อกันบ้างบางแห่ง แต่ท่านว่าท่านไม่เคยอยู่ที่ใดติดต่อกันตลอดทั้งปี เพราะพอออกพรรษาหลวงปู่ก็ออกจาริกธุดงค์ไปตามป่าตามเขาจนอายุใกล้ ๗๘ ปี ร่างกายของท่านทรุดโทรมแล้วจึงหยุดเข้าป่าขึ้นเขา แต่ท่านก็ยังจาริกไปตามอัธยาศัยท่านบิณฑบาตโดยไม่กลับย้อนหลัง บิณฑบาตที่เชียงใหม่ไปฉันที่เชียงราย คือวันหนึ่งท่านฉันมื้อหนึ่งและเว้นไปอีกวันท่านจึงฉัน จนกระทั่งท่านอายุมากแล้ว อายุ ๘๐ ปี ท่านจึงหยุดการปฏิบัติตนเองแบบเคร่งครัดเพื่อพักผ่อน กายสังขารตามคำนิมนต์ของบรรดาศิษย์
    อาจารย์มหาทอง กาญจโน เจ้าอาวาส วัดกลางชูศรีฯ เป็นผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาได้ติดตามอุปัฏฐากหลวงปู่บุดดามาแต่ปี ๒๕๒๐ เริ่มแต่วัดอาวุธวิกสิตาราม กทม. ได้กล่าวว่า “หลวงปู่เป็นพระพอดี ไม่ได้เกินดี ไม่ได้ขาดดี” เช่นถามเกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ หนาวไหม หนาวพอดี ร้อนไหม ร้อนพอดี เกี่ยวกับการขบฉัน การเจ็บป่วย จะไม่เคยเรียกหาอะไรเพิ่มเติมเลย เวลาท่านฉัน ไม่เคยบอกก่อนเลยว่าท่านเจ็บป่วย ต้องสังเกตเอาเองและคอยสอบถามท่านว่าไม่สบายมีอาการเป็นอย่างไร
    ไม่น่าแปลกใจอะไรเพราะท่านเคยเล่าให้ฟัง ว่าท่านเคยอธิฐานไม่นอนเลยระหว่างเข้าพรรษาก็ทำมาแล้ว ธุดงค์โดยไม่ต้องมีกลดมีมุ้ง ทางแถบชายทะเลตะวันออกยุงกัดเลือดท่านบินไม่ไหวท่านกล่าวว่าไม่เกิน ๗ วัน เดี๋ยวมันก็ตายไปเองอยู่แล้วสงสารมัน แต่ข้าพเจ้าก็เกิดอัศจรรย์ใจราวปี ๒๕๒๙ ที่ได้ไปพบท่านจำวัด ณ วัดกลางชูศรีฯ โดยที่ท่านไม่ต้องกางมุ้งแต่ไม่เห็นมียุงกัดกินเลือดท่านเลย


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เหรียญ 100 ปีหลวงปู่บุดดา บูชา 350 บาทปิด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1589.jpg
      DSCF1589.jpg
      ขนาดไฟล์:
      161.8 KB
      เปิดดู:
      77
    • DSCF1590.jpg
      DSCF1590.jpg
      ขนาดไฟล์:
      183.2 KB
      เปิดดู:
      82
    • __1_~1.JPG
      __1_~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      26.7 KB
      เปิดดู:
      75
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2010
  4. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    พระครูอาทรพิทยคุณ ชื่อเดิมของท่านคือ ผล นามสกุล แสงโสภา บิดาเป็นคน อยุทธยา มารดาเป็นคนจังหวัดนครปฐม อาชีพทำนา มีพี่น้อง 8 คน ท่านเป็นคนสุดท้อง
    ท่านเกิดปีขาล วันเสาร์ ขึ้น 24 ค่ำ เดือน12 พ.ศ. 2433
    ท่านอุปสมบท พันธเสมา วัดเทียนดัด โดยมี
    พระอาจารย์แสง วัดนางสาว เป็นพระอุปปัชฌาย์
    พระอธิการคง วัดนางสาว เป็นพระกรรมวาจารย์
    พระปลัดใจวัดเชิงเลน เป็นพระอนุสาวจารย์
    ต่อมาได้ไปศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดมหาธาตุ โดยอาศัยพำนักอยู่ที่วัดระฆังโฆษิตาราม ธนบุรี เมื่อสอบได้
    นักธรรมชั้นตรีแล้วก็ได้มาเป็นครูสอนปริยัตธรรมที่วัดเทียนดัด และ วัดต่างๆหลายวัด เพราะสมัยนั้นหาครูผู้รู้ยากมาก ท่านได้ไปๆมาๆที่วัดระฆังเสมอ เพราะท่านต้องการเรียนวิชาต่างๆ โดยเฉพาะการเรียนวิปัสสนากรรมฐานท่านก็สนใจเป็นอย่างดี นอกจากนั้นท่านเป็นพระที่ชอบไขว่เรียนรู้วิชาต่างๆไม่ว่าจะเป็น คาถาอาคม และวิชาไสย์เวทต่างๆ และที่สำคัญท่านเป็นพระสหายธรรมกับ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม สมัยที่ท่านยังหนุ่มๆ
    ท่านไปมาหาหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมเพื่อนสนทนาธรรม และแรกเปลี่ยนวิชาต่างๆ โดย หลวงพ่อเงิน บางทีท่านได้ไป เรียนชาเพิ่มเติมจากอาจารย์ใด ก็มักชวนหลวงพ่อผล วัดเทียนดัดไปด้วยเสมอ ......โดยท่านทั้ง 2 รูปนี้สนิทกันมาก ครับ ...
    หลวงพ่อผล ก่อนที่ท่านจะบวชก็ได้ศึกษาวิชาขอม และ วิชาต่างๆ จากโยมพ่อ และอาจารย์ ในตอนนั้น
    ทำให้ท่านเป็นพระ ที่มี อาคม ก่อนที่ท่านจะบวชเสียอีก สมัยที่ท่านยังหนุ่มๆ ได้มีลูกศิษย์ มาขอขึ้นครูให้ท่านสัก
    ซึ่ง ก็มีประสบการณ์ทางด้าน ฟันไม่เข้า ยิงไม่ออก มานักต่อนัก ทำให้หน่อยราชการ มาขอให้ท่านหยุดสัก
    เพราะสมัยนั้น พวกโจรเสือ เยอะมาก ท่านก็เลยหยุดสัก นับแต่นั้นมา ....

    บอกเสือโจรให้กลับใจ

    ในสมัยนั้นพวกเสือโจรเยอะมาก ได้มีกลุ่มเสือโจรระแวกบางกระทึก และวัดเทียนดัด ได้รวมกลุ่มกันเพื่อที่จะเข้าปล้น บ้านคหบดี แถววัดเทียนดัด แต่ยังไม่ทันปล้น ก็เกิดฝนตกหนัก พวกโจรกลุ่มนั้นได้เข้ามาหลบฝนในวัดเทียนดัด ขณะนั้นเอง พวกโจรกำลังประชุมเรื่องแผนปล้น หลวงพ่อผลก็เดินมาได้ยินพอดี จึงได้ขอร้องบอกให้พวกโจรกลุ่มนั้นให้เลิกปล้นกลับตัวเป็นคนดีซะเถอะ เพราะจะทำให้เขาเดือดร้อนมันเป็นบาปกรรม และให้ล้มเลิกความตั้งใจเสีย และหลวงพ่อก็ได้สอนธรรมให้กับพวกโจรกลุ่มนั้น จนพวกโจรกลุ่มนั้นได้กลับใจ
    ส่วนใครที่ไม่ฟังที่หลวงปู่สอน ส่วนมากติดคุกหมด

    ปราบจระเข้ หน้าวัด
    สมัยก่อนนั้นที่หลวงปู่ผลมาจำพรรษาที่วัดใหม่ๆ หน้าน้ำวัดเทียนได้เป็นน่าน้ำลึก จึงมักมีจระเข้ มาอาศัยอยู่เป็นประจำ จนทำให้ชาวบ้านกลัวและเดือดร้อน พวกชาวบ้านจึงไปขอให้หลวงพ่อผลช่วย หลวงปู่ผลจึงถามชาวบ้านว่า เคยเห็นตัวจระเข้ไหม ชาวบ้านบอกเคยเห็นครับ มันมี ตัวใหญ่มากพวกผมกลัวมันจะขวางเรือทำให้เรือคว่ำ
    ไม่ช้า มันก็กัดกินชาวบ้านแน่ๆๆๆๆ หลวงพ่อผลจึงบอกว่า มันก็อยู่ของมันที่ท่าน้ำนี้ แต่ก็ไมได้ทำอะไรใครไม่ใช่เหรอ ชาวบ้านก็บอกว่า ถึงยังงั้นยังไงพวกผมก็กลัว ขอให้หลวงพ่อผล ช่วยด้วยเถอะครับ หลวงพ่อผลจึงรับปาก

    หลังจากชาวบ้านกลับไปหมดแล้ว หลวงพ่อก็ได้เดินไปที่ท่าน้ำ ของวัดและก็ได้ร่ายคาถาอาคมที่ได้เรียนมา ประมาณ5นาที จระเข้ก็ตวักน้ำโผล่หัวขึ้นมา น้ำกระจาย หลวงพ่อผลเลยได้แผ่เมตตาจิตให้มัน และบอกกับมันว่า
    (นับแต่นี้ต่อไป ขออย่าได้ไปปรากฏตัวให้ใครเห็นเพราะเขากลัวกัน ถ้าจะอาศัยอยู่หน้าวัด อยู่ได้ปรากฏตัวให้ใครเห็นอีก เพราะเขากลัว ทำให้เดือดร้อนจะเป็นบาป หากหิวก็ ให้โผล่หัวมา และจะให้พระเณรที่เห็นหาอาหารมาให้กิน ) ซึ่งก็น่าแปลก เวลาจระเข้หิวก็มักโผล่หัวมา ให้พระเณรเห็นและ พระเณรก็จะหาอาหาร เท่าที่หาได้มาให้มันกินอยู่เสมอ

    น้ำมนต์หลวงพ่อผล
    ในบริเวณชุมชนวัดเทียนดัด ได้มีผัวเมียอยู่คู่หนึ่งทะเลอะกันเป็นประจำ จนเป็นที่รำคาณของชาวบ้าน เพราะสามีเป็นคนขี้เมา และชอบหาเรื่องทะเลอะกับภรรยาเป็นประจำ จนบางทีเอามีดมาไล่ฟันก็มี
    ภรรยาจึงเดินไปกราบหลวงพ่อผล และก็เล่าให้หลวงพ่อฟัง
    เมื่อหลวงพ่อได้ฟังท่านจึงถาม เวลาสามี เขามาหาเรื่องโยมไปเถียงเขาเหรอ (ค่ะหลวงพ่อมันเมาชอบหาเรื่อง
    อดไม่ไหวเลยเถียงและก็ทะเลอะกันทุกที หลวงพ่อช่วยหน่อยนะค่ะ)
    หลวงพ่อผลท่านก็บอกว่า งั้นโยมเอาน้ำมนต์ในตุ่มไปอม เวลาสามีกลับบ้าน และเมาหาเรื่อง
    อมจนกว่าสามีโยมจะเลิกบ่นเลิกว่า และกัน

    ภรรยาคนนั้นก็ได้ทำตามที่หลวงพ่อบอก พอตกเย็นสามีเมากลับบ้านมา ก็ได้หาเรื่องทะเลอะแต่แปลกทำไมวันนี้ภรรยาตนจึงไม่เถียงสวนมา
    พอเห็นก็เห็นแก้มภรรยาอูม จึงนึกสงสารเลิกบ่นเลิกด่า และไปช่วยงานบ้านจนเสร็จ
    ภรรยาก็อมมาตลอด จนถึงวันที่ 7 ก็ได้ไปหาหลวงพ่อ หลวงพ่อบอกโยมไม่ต้องอมและหละ ลองกลับไปบ้านใหม่

    พอสามีกลับมาเจอ จึงถามภรรยาว่า อ่าวแก้มที่เป็นคางคูมหาหายและเหรอ ภรรยาก็ตอบว่าปล่าว อมน้ำมนหลวงพ่อ
    ตั้งแต่นั้นมา ทำให้สามีคิดได้ว่า เราไม่น่ากินเหล้าเมาและหาเรื่องภรรยาเลยเพราะมันไม่มีความสุข และเลิกกินเหล้า ขยันทำงาน จนปัจจุบัน เป็นคนมีฐานะ จนทุกวันนี้


    ประสบการณ์ ทางด้านวัตถุมงคล ก็มีให้เห็นจนเป็นที่ศรัทธาของชาวเทียนดัดและคนในระแวกนั้น มีทั้งคนที่ถือคลิสและพุทธต่างกับนับถือหลวง
    พ่อเป็นที่พึ่งเสมอ เพราะคนแถวนั้น เป็นคลิสก็เยอะ แต่ก็ศรัทธาหลวงพ่อไม่ต่างจากชาวพุทธเลย เพราะท่านเป็นผู้เมตตา และเมื่อใดมีคนมาขอบูชาวัตถุมงคลท่าน ท่านก็จะสอนธรรมมะเสริมให้อีก

    ท่านบอกว่า วัตถุมงคลของท่านสร้างเพื่อ
    1.ทำให้คนเข้าวัด พระจะได้มีโอกาศสั่งสอน
    2.แขวนพระแล้วจะได้มีจิตละลึกไม่ได้ทำความชั่ว
    3.เพื่อคุ้มภัย (ถ้าเชื่อว่าคุ้มได้เพราะมั่นใจ)
    4.จะได้นำปัจจัยมาพัฒนาวัดให้เจริญๆ

    หลวงปู่ผลท่านมรณะภาพโดยอาการอันสงบ เมื่อเวลา4.00 (ตี4) วันพฤหัสบดี ที่ 14 มกราคม 2532 อายุ94 ปี ณ โรงพยาบาลบางไผ่

    ทั้งหมดได้ย่อมาจากหนังสือ อนุสรณ์ 101 ปี หลวงพ่อผล วัดเทียนดัด
    หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หรือ พระราชธรรมาภรณ์ ซึ่งพระเครื่อง"หลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณฺโณ วัดดอนยายหอม" เป็นที่ต้องการของนักสะสมพระเครื่องเป็นอย่างมาก เนื่องจากพุทธคุณ จากประสบการณ์ของผู้ที่พกพาเป็นที่ประจักษ์ให้พบเห็นกันบ่อยๆ ท่านเป็นทั้งพระนักพัฒนา พระปฏิบัติ มีเมตตาธรรม ต่อประชาชนทั่วไป และหลวงพ่อเงิน ท่านยังเคร่งครัดในพระธรรมวินัยอย่างมาก ความรู้ด้านวิชา คาถาอาคมของท่านก้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าใคร

    ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หรือ พระราชธรรมาภรณ์ จนฺทสุวณฺโณ
    ท่านเกิดเมื่อวันอังคารที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๓ ตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีขาล ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นบุตรคนที่ ๔ ของ นางกลอง-นายพรม นามสกุล ด้วงพลู ครอบครัวของหลวงพ่อเงิน ถือได้ว่าว่าเป็นผู้มีอันจะกินครอบครัวหนึ่งใน ต.ดอนยายหอม ในขณะนั้น
    หลวงพ่อเงินมีพี่น้องทั้งหมด ๘ คน คือ
    นายอยู่ ด้วงพลู
    นายแพ ด้วงพลู
    นายทอง ด้วงพลู
    หลวงพ่อเงิน
    นายแจ้ง ด้วงพลู
    นายเนียม ด้วงพลู
    นางสายเพ็ญ ด้วงพลู
    และนางเมือง ด้วงพลู
    อุปสมบท มูลเหตุแห่งการบวชตลอดชีวิต
    หลวงพ่อเงิน ได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2453 โดยมี พระปลัดฮวย เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม ในขณะนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายา “จนฺทสุวณฺโณ”
    เมื่อหลวงพ่อได้เข้าสู่เพศบรรพชิตแล้ว ท่านได้บอกแก่โยมพ่อของท่านว่า "อาตมาสละหมดทุกอย่างแล้ว โดยขอให้สัจจะปฏิญาณแก่พี่น้องชาวตำบลนี้ว่า อาตมาจะไม่ขอลาสิกขา อาตมาจะเป็นแสงสว่างทางให้เพื่อนมนุษย์ ขอให้โยมร่วมอนุโมทนาด้วยความยินดีและมั่นใจ”
    ตั้งแต่เริ่มอุปสมบท หลวงพ่อเงิน ท่านมีความตั้งใจอย่างมาก มีขันติ วิริยะ สามารถท่องปาติโมกข์จบ และแสดงในเวลาทำสังฆกรรมได้ตั้งแต่พรรษาแรก หมั่นบำเพ็ญเพียรในการปฏิบัติสมถะ และวิปัสสนากรรมฐาน ตามที่โยมพ่อพรมของท่านแนะนำ เป็นเวลาถึง 4 ปีเต็ม
    ในปลายพรรษาที่ 5 หลวงพ่อเงินพร้อมด้วยพระที่วัดอีก 2 รูป ได้ออกธุดงค์ไปตามชนบท มุ่งหน้าขึ้นภาคเหนือ ผ่านป่าสระบุรี ลพบุรี เรื่อยขึ้นไปถึงนครสวรรค์ ค่ำที่ไหนก็ปักกลดพักแรมที่นั่น อาหารที่ฉันก็เพียงมื้อเดียว
    การเดินทางในสมัยนั้น เดินทางด้วยเท้าเปล่า บ้านคนก็ไม่ค่อยมี ป่าก็เป็นป่าดงดิบ ที่เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด ซึ่งยากที่พระภิกษุผู้ที่ไม่มีอาวุธ หรือเครื่องมือเพื่อป้องกันภัย จะธุดงค์ได้ตลอดรอดฝั่งด้วยความปลอดภัย เพราะเหตุที่ต้องประสบกับความยากลำบาก ในการออกธุดงค์ในครั้งนั้น จึงมีเรื่องเล่าต่อมา ภายหลังจากที่หลวงพ่อเงินกลับจากธุดงค์เป็นเวลา 4 เดือน
    หลวงพ่อเงินได้มาปักกลดอยู่ข้างบ้านดอนยายหอม โดยที่มีผิวกายดำกร้าน ร่างกายซูบผอมราวกับคนชรา ชาวบ้านที่เดินผ่านไปมาจึงจำท่านไม่ได้
    แม้แต่นายแจ้งซึ่งเป็นพี่ ชาย ก็คิดว่าเป็นพระธุดงค์มาจากที่อื่น แต่พอเข้าไปดูใกล้ๆ ก็ตกตะลึง แทบจะปล่อยโฮออกมา พอได้สติจึงยกมือไหว้ แล้วถามท่านว่า
    “คุณเงินหรือนี่” ซึ่งหลวงพ่อเงินก็ตอบพร้อมกับหัวเราะว่า
    “ฉันเอง โยมพี่ทิดแจ้ง” ฉันแปลกมากไปเชียวหรือ จึงจำฉันไม่ได้ ฉันมาปักกลดอยู่ที่นี่นานแล้ว เห็นพวกบ้านเราเขาเดินผ่านไปผ่านมาหลายคน แต่ไม่มีใครทักฉันเลย
    ฝ่ายพ่อพรมนั้น พอทราบข่าวว่า พระลูกชายกลับจากธุดงค์ด้วยความปลอดภัยแล้ว ก็เต็มไปด้วยความปลาบปลื้มยินดี
    สาเหตุที่หลวงพ่อเงินท่านไม่อยากครองชีวิตแบบคฤหัสถ์ กล่าวกันว่า เพราะท่านมองเห็นว่า ความสุขทางโลกไม่จีรังยั่งยืน เหมือนความสุขทางธรรม
    เรื่องของทางโลก มีแต่ความยุ่งยาก วุ่นวาย เดือดร้อน ข่มเหง เบียดเบียน และอิจฉาริษยากันไม่สิ้นสุด ผู้เสพรสของความหรรษาทางโลก ย่อมมียาพิษเจือปนอยู่เสมอ ส่วนผู้เสพรสพระธรรม ไม่มีพิษไม่มีโทษแต่อย่างใด
    หลวงพ่อเงินมักจะปรารภให้ผู้ใกล้ชิด ฟังอยู่บ่อยๆ ว่า ร่างกายมนุษย์เรานี้ ไม่มีแก่น เกิดมาเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร ที่เต็มไปด้วยกองทุกข์
    มนุษย์จะหนี ทุกข์ได้ มิใช่มากด้วยสมบัติพัสถาน หรือข้าทาสบริวาร ตรงกันข้าม สิ่งเหล่านี้เป็นพันธะยึดเหนี่ยวจิต เสมือนจิตถูกจองจำด้วยโซ่ตรวน ต้องพะวักพะวนเศร้าหมอง
    คติธรรมที่หลวงพ่อเงินได้ให้ไว้ คือ รู้จักพอ ก่อสุข ทุกสถาน
    หลวงพ่อเงิน ละสังขาร
    หลวงพ่อเงิน ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม เมื่อปี พ.ศ.2466 และท่านได้ละสังขารด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2520 ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี
    ทั้งนี้ประชาชนใน ต.ดอนยายหอม ตลอดจนประชาชนที่มีจิตศรัทธาต่อวัดดอนยายหอม ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม ดังนี้
    1. จัดงานวันคล้ายวันมรณภาพหลวงพ่อเงิน ระหว่างวันที่ 9-13 มกราคม ของทุกปี เพื่อเป็นการระลึกถึงบุญบารมีของหลวงพ่อเงิน เพื่อให้ประชาชนใน ต.ดอนยายหอม และประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธาได้สักการะ โดยในช่วงงานจะมีพิธีบวชพราหมณ์ เพื่อเป็นการรักษาศีล ตลอดจนเป็นการสร้างความสามัคคีของชาว ต.ดอนยายหอม
    2.จัดงานปิด ทองกลางเดือน 4 ขึ้น 15 ค่ำ ของทุกปี เป็นงานประจำปีที่จัดขึ้นเพื่อให้ประชาชน ต.ดอนยายหอม และประชาชนทั่วไป ได้เข้ามาสักการะทำบุญ บำเพ็ญกุศลปิดทองรอยพระพุทธบาท รูปปั้นคุณยายหอม รูปจำลองหลวงพ่อเงิน ศิลาเสมาธรรมจักร ซึ่งขุดค้นพบที่เนินพระเจดีย์ ใกล้วัดดอนยายหอม
    และ 3.จัดงานคล้ายวันมรณภาพหลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม เจ้าอาวาสรูปต่อจากหลวงพ่อเงิน และเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้โด่งดังอีกท่านหนึ่ง ระหว่างวันที่ 9-13 ธันวาคม ของทุกปี เพื่อเป็นการระลึกถึงบุญบารมีของหลวงพ่อแช่ม ที่มีอุปการคุณต่อชาว ต.ดอนยายหอม ตลอดมา
    พระเครื่อง หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม มาจากประสบการณ์ของคนในพื้นที่ และผู้ครอบครองทั่วๆ ไป เป็นการบอกกันปากต่อปาก ประจวบกับพระเครื่องชุดนี้เป็น พระแท้ หาง่าย ราคาไม่แพง
    จึงถือเป็นเรื่องสะดวกกายสะดวกใจ สบายทรัพย์ ที่คิดจะเก็บสะสมเอาไว้ โดยการสะสมนี้ เริ่มจากศรัทธาตามคำบอกเล่า มิได้เป็นการสะสมในเชิงพาณิชย์เก็งกำไร
    ตั้งแต่ต้นปี 2548 พระเครื่องหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ยังดังต่อเนื่อง ถึงขั้นขาดแคลน ทั้งมีราคาสูงขึ้น จากที่เคยนิ่งสนิท และไม่เป็นที่สนใจมาเลยก่อนหน้านี้
    สิ่งหนึ่งที่เป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดี คือ ตั้งแต่ต้นปี 2547 มานั้น พระเครื่องชุดหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม อยู่ในสภาพซื้อง่าย ขายคล่อง เป็นที่ต้องการสะสมของคนทั่วไป ทั้งยังเป็นเหตุจูงใจให้พระเครื่องสายนครปฐมทั้งหมดกระเตื้อง ตื่นเต้นตามไปด้วย
    พระหลวงพ่อเงิน ส่วนใหญ่เป็น พระสร้างแจกฟรี แต่คนไทยส่วนใหญ่จะเป็นไปตามสำนวนที่ว่า ใกล้เกลือกินด่าง
    อย่างกรณี พระหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เมื่อครั้งที่ท่านมีชีวิตอยู่ คนใกล้วัดคิดอยู่เสมอว่า จะไปขอพระจากท่านเมื่อไรก็ได้ เพราะท่านสร้างแจกฟรีอยู่แล้ว แต่เมื่อท่านแจกหมด จึงกลายเป็นว่า คนที่อยู่ใกล้วัดมีพระหลวงพ่อเงินน้อยมาก
    แม้ท่านจะมรณภาพไปนาน แล้วก็ตาม แต่สิ่งต่างๆ ยังคงตราตรึงอยู่ในความทรงจำของบรรดาลูกศิษย์ลูกหา โดยเฉพาะชาวดอนยายหอมอย่างไม่มีวันลืม ต่างยังรำลึกนึกถึงท่านอย่างไม่มีวันเลือนหายไปจากความทรงจำ
    ทั้งนี้ท่านได้สร้าง พระเครื่อง-วัตถุมงคลไว้เพื่อเป็นมรดกถึงรุ่นลูกหลาน วัตถุมงคลของท่านยอดเยี่ยมด้านคงกระพันชาตรี เปี่ยมด้วยเมตตามหานิยมยิ่งนัก

    เหรียญสองหน้าหลวงพ่อผล-หลวงพ่อเงิน เนื้อเงินกะไหล่ทองปี2519
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1596.jpg
      DSCF1596.jpg
      ขนาดไฟล์:
      257.1 KB
      เปิดดู:
      88
    • DSCF1597.jpg
      DSCF1597.jpg
      ขนาดไฟล์:
      244.1 KB
      เปิดดู:
      58
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2010
  5. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    เหรียญหลวงพ่อแก้ว วัดพิชัยพัฒนารามน้ำพองขอนแก่น ปี 2512 บูชา 999 บาทปิด
    ***********************************************************
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1598.jpg
      DSCF1598.jpg
      ขนาดไฟล์:
      195.2 KB
      เปิดดู:
      70
    • DSCF1599.jpg
      DSCF1599.jpg
      ขนาดไฟล์:
      141.6 KB
      เปิดดู:
      63
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2010
  6. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    เหรียญหลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน ปี 2536 บูชา 150 บาท
    ************************************************************
    ติดต่อ ศิวา 082-3927965 ธนาคารกสิกรไทย สาขา พะเยา ชื่อบัญชี ปริศนา บัวเทศ 209-2-51303-6
    พระทุกองค์รัปประกันความพอใจคืนภายใน 5 วัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1591.jpg
      DSCF1591.jpg
      ขนาดไฟล์:
      168.9 KB
      เปิดดู:
      115
    • DSCF1592.jpg
      DSCF1592.jpg
      ขนาดไฟล์:
      115.5 KB
      เปิดดู:
      58
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2010
  7. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    ปิดแล้วครับ

    หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม ปี 2521 หลังบาตรบูชา 350 บาท
    *****************************************************************
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1575.jpg
      DSCF1575.jpg
      ขนาดไฟล์:
      716.6 KB
      เปิดดู:
      128
    • DSCF1576.jpg
      DSCF1576.jpg
      ขนาดไฟล์:
      713.2 KB
      เปิดดู:
      59
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2010
  8. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    มรณภาพแล้วศพไม่เน่าเปื่อย
    หลวงพ่อฮวดได้มรณภาพลงเมื่อ วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เวลา 08.47 น. ที่วัดหัวถนนใต้ สิริอายุ 88 ปี พรรษาที่ 68 คณะกรรมการวัดได้บรรจุร่างของท่านไว้ในโลงแก้ว เป็นที่น่าอัศจรรย์เพราะว่าศพไม่เน่าเปื่อย ทั้งที่เป็นโลงแก้วธรรมดาไม่ได้เป็นสูญญากาศ ทุกปีในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีการเปิดโลง เพื่อทำการเปลี่ยนผ้าสบง-จีวร ปัจจุบันศพตั้งไว้บนจตุรมุขวิหาร
    พระอาจารย์ของหลวงพ่อ
    หลวงพ่อฮวด ได้เริ่มศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมครั้งแรก จากหลวงพ่อคล้าย ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อ (หลวงพ่อคล้ายเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อเดิมไ ด้สร้างเหรียญทวิภาคีร่วมกัน เมื่อคราวหลวงพ่อเดิม-หลวงพ่อคล้าย ช่วยสร้างอุโบสถ วัดพนมรอก เมื่อปี พ.ศ. 2483 ) หลวงพ่อฮวดได้ศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติมกับหลวงพ่อเดิม ซึ่งหลวงพ่อมีความใกล้ชิดกับหลวงพ่อเดิม เนื่องจากหลวงพ่อเดิมได้มาช่วยพัฒนาวัดในเขตท่าตะโก หลายวัด เช่น การพัฒนา วัดทำนบ,วัดหนองไผ่,วัดเขาล้อ,วัดดอนคา,วัดโคกมะขวิด,วัดพนมรอก,วัดหนองหลวง,วัดหัวถนนเหนือ (เหตุที่หลวงพ่อเดิมได้มาช่วยพัฒนาวัดในเขตอำเภอท่าตะโกมาก เนื่องจาก บ้านหนองโพ-หัวหวายเป็นเขตติดต่อกับบ้านหนองหลวง-หัวถนน) หลายๆครั้ง หลวงพ่อเดิมได้รับกิจนิมนต์ไปยังที่ใด มักจะชวนหลวงพ่อฮวดร่วมเดินทางไปด้วยเสมอ หลวงพ่อฮวดนับว่าเป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ผู้สืบทอดสายพุทธาคมมาจากหลวงพ่อเดิม เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว หรือเมืองมังกร ในปัจจุบัน หลังจากนั้นหลวงพ่อฮวดได้เล่าเรียนวิทยาคมกับอีกหลายพระอาจารย์ตามความชำนาญของแต่ละท่าน เช่นการเรียนวิชาทำตะกรุด กับ หลวงพ่อพุฒอำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง, การเรียนทำน้ำมนต์ กับ หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรืออยุธยา , การเรียนทำผงเมตตามหานิยมโชคลาภจากหลวงพ่อศักดิ์ วัดวังกระโดนใหญ่อำเภอไพศาลี นครสวรรค์

    เหรียญอัลปาก้า หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ ปี3532 นครสวรรค์ บูชา 400 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • GEDC0223.jpg
      GEDC0223.jpg
      ขนาดไฟล์:
      191.7 KB
      เปิดดู:
      52
    • GEDC0224.jpg
      GEDC0224.jpg
      ขนาดไฟล์:
      172.6 KB
      เปิดดู:
      65
  9. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    เหรียญที่ระลึกกรมหลวงชุมพร 199 บาท ปี 2537
    ***************************************************
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • GEDC0186.jpg
      GEDC0186.jpg
      ขนาดไฟล์:
      162.5 KB
      เปิดดู:
      52
    • GEDC0188.jpg
      GEDC0188.jpg
      ขนาดไฟล์:
      168.2 KB
      เปิดดู:
      60
  10. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง
    หลวงพ่อเชิญ ปุญญสิริ กุฎีสุข ( หลวงปู่เชิญ วัดโคกทอง อ.ผักไห่ จ.อยุธยา )
    ประวัติ
    หลวงพ่อเชิญ อายุ ๙๓ ปี พรรษา ๗๒ ชื่อเดิม เชิญ กฎีสุข บิดาชื่อ เคลือบ มารดาชื่อ โล่ เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๕๐ บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๖๗ ณ วัดโคกทอง โดยมี พระครูบวรสังฆกิจ (เพิ่ม) เป็นพระอุปัชฌาย์

    อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๔๗๐ ณ วัดโคกทอง พระเจ้าอธิการขาบ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูบวรสังฆกิจ (เพิ่ม) เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอุปัชฌาย์แจ่ม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ปุญฺญสิริ" หลวงพ่อเชิญได้มรณภาพอย่างสงบ เมื่อปี ๒๕๔๓

    พระครูวรกิจวิธาน เจ้าอาวาสวัดโคกทอง ต.กุฎี อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า วัดโคกทอง ร่วมกับคณะศิษยานุศิษย์และชาวอำเภอผักไห่ ได้จัดงานรำลึก 100 ปี พระมงคลวราจารย์ หรือ หลวงพ่อเชิญ บุญญสิริ อดีตเจ้าอาวาสวัดโคกทอง ในวันที่ 21 มกราคม 2550 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันมรณภาพหลวงพ่อเชิญ ภายในวันงาน มีพระราชาคณะ
    จำนวน 14 รูป เจริญพระพุทธมนต์ พระสงฆ์ 150 รูป รับทักษิณานุปทาน และถวายภัตตาหารเพลพระภิกษุสงฆ์ โดยมีสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม ในฐานะเจ้าคณะใหญ่หนกลาง เป็นประธาน

    หลวงพ่อเชิญ ได้ศึกษาพระเวทวิทยาคมมากมายจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อาทิ หลวงพ่อเพิ่ม วัดโคกทอง, หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อปาน วัดบางนโค และหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม จนวิชาแก่กล้า ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดโคกทอง หลวงพ่อได้สร้างพระเครื่องมากมายหลายรุ่น มีพุทธานุภาพสูงส่งทุกด้านและคงความอมตะตลอดกาลจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วมีลูกศิษย์ลูกหาทั่วประเทศ ผู้ใดเดินทางไปกราบไหว้จะได้สิ่งดีๆเป็นมงคลสร้างความร่ำรวยไปทั่ว ปัจจัยต่างๆ ที่ได้มา หลวงพ่อได้นำมาบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดโคกทองตั้งทุนนิธิ ช่วยเหลืออุปถัมภ์ การศึกษาสงเคาะห์ สาธารณะสงเคราะห์ไปแล้วคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 189 ล้านบาท ขณะนี้ยังมีเงินทุนนิธิ อยู่จำนวน 60 ล้านบาท ดังนั้น จึงขอเชิญศิษยานุศิษย์เข้าร่วมงานในวันดังกล่าวโดยพร้อมเพียงกัน
    หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง ยอดพระเกจิอาจารย์แห่งอยุธยา ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ.
    ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดโคกทอง หลวงพ่อเชิญได้มรณภาพอย่างสงบ เมื่อ ๒๑ มกราคม ๒๕๔๓
    เหรียญเจ้าสัวพิมพ์ซ้อนยันต์กลับรุ่น 1 จัดสร้างวันเสาร์ห้าปี2536เนื้อทองฝาบาตรหลังยันต์เกราะเพชร ตำหรับหลวงพ่อปาน บูชา 350 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • GEDC0167.jpg
      GEDC0167.jpg
      ขนาดไฟล์:
      170.3 KB
      เปิดดู:
      60
    • GEDC0175.jpg
      GEDC0175.jpg
      ขนาดไฟล์:
      199.4 KB
      เปิดดู:
      60
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2010
  11. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    เหรียญหยดน้ำพระเหนือมังกร หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล ดอยบุษราคัม พะเยา
    ยุคแรก 450 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF9037.jpg
      DSCF9037.jpg
      ขนาดไฟล์:
      213.3 KB
      เปิดดู:
      61
    • DSCF9038.jpg
      DSCF9038.jpg
      ขนาดไฟล์:
      175.4 KB
      เปิดดู:
      68
  12. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    ล๊อคเก็ตหลวงพ่อไพบูลย์ ดอยบุษราคัม บูชา 550 บาท
    พระผงสีวลีหลวงพ่อไพบูลย์ บูชา 150 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF9012.jpg
      DSCF9012.jpg
      ขนาดไฟล์:
      161.6 KB
      เปิดดู:
      60
    • DSCF9013.jpg
      DSCF9013.jpg
      ขนาดไฟล์:
      138.8 KB
      เปิดดู:
      53
    • DSCF9003.jpg
      DSCF9003.jpg
      ขนาดไฟล์:
      132 KB
      เปิดดู:
      59
    • DSCF9004.jpg
      DSCF9004.jpg
      ขนาดไฟล์:
      141.1 KB
      เปิดดู:
      59
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2010
  13. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    เหรียญพระพุทธหลังปู่ชีวก ปี 44 หลวงพ่อไพบูลย์ บูชา 250 บาท
    ซุ้มกอปี 49 - นางพญา ปี47 -พระผงนาคปรก ปี47 บูชาองค์ละ 150 บาท
    ********************************************************************************
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF9029.jpg
      DSCF9029.jpg
      ขนาดไฟล์:
      189.3 KB
      เปิดดู:
      53
    • DSCF9030.jpg
      DSCF9030.jpg
      ขนาดไฟล์:
      157.4 KB
      เปิดดู:
      59
    • DSCF9001.jpg
      DSCF9001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      125.8 KB
      เปิดดู:
      63
    • DSCF9002.jpg
      DSCF9002.jpg
      ขนาดไฟล์:
      126.7 KB
      เปิดดู:
      50
    • DSCF9005.jpg
      DSCF9005.jpg
      ขนาดไฟล์:
      116.8 KB
      เปิดดู:
      49
    • DSCF9006.jpg
      DSCF9006.jpg
      ขนาดไฟล์:
      124.8 KB
      เปิดดู:
      52
    • DSCF9007.jpg
      DSCF9007.jpg
      ขนาดไฟล์:
      120 KB
      เปิดดู:
      68
    • DSCF9008.jpg
      DSCF9008.jpg
      ขนาดไฟล์:
      112.7 KB
      เปิดดู:
      58
  14. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    หลวงพ่อไพบูลย์ ดอยบุษราคัมพะเยา
    เหรียญเจริญยศ เจริญลาภ เจริญสุข ปี51 บูชา 250 บาท
    หลวงปู่ทวด วัดอนาลโยทิพยาราม บูชา 250 บาท
    พระเจ้าทันใจรุ่น 1วัดอนาลโยทิพยารามพร้อมกล่อง บูชา 450 บาท
    พระเจ้าทันใจหยดน้ำ บูชา 250 บาท
    พระพิฆเนศเทพแห่งความสำเร็จสมปารถนา มีโค๊ต มี10องค์ บูชาองค์ละ 250 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF9021.jpg
      DSCF9021.jpg
      ขนาดไฟล์:
      170.4 KB
      เปิดดู:
      49
    • DSCF9022.jpg
      DSCF9022.jpg
      ขนาดไฟล์:
      165.8 KB
      เปิดดู:
      59
    • DSCF1536.JPG
      DSCF1536.JPG
      ขนาดไฟล์:
      732.8 KB
      เปิดดู:
      122
    • DSCF1537_resize.JPG
      DSCF1537_resize.JPG
      ขนาดไฟล์:
      195 KB
      เปิดดู:
      67
    • DSCF1545.JPG
      DSCF1545.JPG
      ขนาดไฟล์:
      732.7 KB
      เปิดดู:
      85
    • DSCF1546.JPG
      DSCF1546.JPG
      ขนาดไฟล์:
      727.4 KB
      เปิดดู:
      130
    • DSCF1547.JPG
      DSCF1547.JPG
      ขนาดไฟล์:
      742.3 KB
      เปิดดู:
      88
    • DSCF1564.JPG
      DSCF1564.JPG
      ขนาดไฟล์:
      739.2 KB
      เปิดดู:
      107
    • DSCF1565.JPG
      DSCF1565.JPG
      ขนาดไฟล์:
      715.2 KB
      เปิดดู:
      88
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2010
  15. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    เหรียญมุทิตาจิต ครบ 6 รอบ วัดเฉลิมพระเกียรติ ปี 2549 บูชา 850
    ******************************************************************************
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1567.JPG
      DSCF1567.JPG
      ขนาดไฟล์:
      734.8 KB
      เปิดดู:
      79
    • DSCF1568.JPG
      DSCF1568.JPG
      ขนาดไฟล์:
      734.1 KB
      เปิดดู:
      63
  16. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    สมเด็จ 5 รอบหลวงพ่อไพบูลย์ มี 4 องค์ๆละ 850 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2010
  17. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล แห่งดอยบุษราคัม พะเยา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    ชุดมังกร หลวงพ่อไพบูลย์
    ชุดพิฆเนศกรรมการ นวะ รุ้งประกาย เกษา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1583.jpg
      DSCF1583.jpg
      ขนาดไฟล์:
      188.7 KB
      เปิดดู:
      63
    • DSCF1584.jpg
      DSCF1584.jpg
      ขนาดไฟล์:
      165.2 KB
      เปิดดู:
      64
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2010
  19. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    เหรียญรุ่นแรกคุณแม่บุญเรือน
    *******************************
    แม้แต่หลวงปู่บุดดาถาวโร พระอรหันตเจ้าที่หลวงปู่สิมรับรองว่า "หลวงปู่บุดดานี้แก่ทั้งพรรษา แก่ทั้งอายุ แก่ทั้งมรรคผลนิพพาน" ยังรับรองคุณธรรมของคุณแม่ว่าสูงส่งยิ่งนัก หรือแม้แต่ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ พระมหาโพธิสัตว์แห่งวัดสะแก ยังเคยกล่าวว่าคุณแม่บุญเรือนท่านนี้ "บริสุทธิ์" ยิ่งนัก ซึ่งเรื่องนี้รู้กันดีในหมู่ศิษย์ใกล้ชิดของคุณแม่
    ในอดีตกว่าหลายสิบปีที่ผ่านมา ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปคงจะเคยคุ้นชื่อของอุบาสิกาท่านหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวถึงอย่างมากสำหรับสานุศิษย์และคณะผู้ศรัทธา ท่านคือ “อุบาสิกาบุญเรือน โตงบุญเติม” ผู้สามารถบรรลุธรรมอันวิเศษสำเร็จ “จตุตถฌาณ 4” และ “อภิญญา 6” อันเป็นอานิสงส์สูงสุดแห่งชีวิต ปรากฏเป็นปาฏิหาริย์จนเลื่องลือในทางตาทิพย์ หูทิพย์ รู้วาระจิตผู้อื่น ล่องหนหายตัว สั่งฟ้า ห้ามฝน และใช้พลังจิตรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้คนทั่วไปจนหาย

    อุบาสิกาบุญเรือน โดยทั่วไปคนที่เคารพท่านมักเรียกท่านว่า “คุณแม่บุญเรือน” เพราะความเมตตากรุณาที่ท่านมีให้กับทุกคนไม่เลือกชั้นวรรณะ อีกทั้ง กระทำตนเป็น “แม่” ของทุกคนที่ไปขอความช่วยเหลือจากท่าน เหมือนอย่างที่แม่คนหนึ่งที่ให้แก่บุตรธิดาของตนนั่นเอง ​

    คุณแม่บุญเรือนบรรลุธรรม

    คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม เคยเล่าถึงเหตุการณ์ตอนที่ท่านจะบรรลุธรรมไว้กับพระรูปหนึ่ง (หลวงตาสุวรรณ) อันมีนัยยะอันสำคัญตอนหนึ่งว่า “ตั้งใจจะขอปฎิบัติธรรมให้สำเร็จอยู่ที่ศาลาวัดสัมพันธวงศ์ เป็นเวลา 90 วัน โดยถือศีล 8 บวชเป็นชี นั่งสวดมนต์ภาวนา เจริญวิปัสสนาตามแนวทางของท่านเจ้าคุณพระมหารัชชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ (ในสมัยนั้น) การปฏิบัติธรรมดำเนินไปจนล่วงเข้าวันที่ 89 ก็ยังไม่สำเร็จธรรมหรือเห็นธรรมแต่ประการใด จึงคิดท้อใจกลับบ้านที่บ้านพักตำรวจปทุมวัน ได้พบกับสิบตำรวจโทจ้อย ผู้เป็นสามี ซึ่งได้ทักมาว่า “กลับมาแล้วหรือ ? เมื่อกลับมาแล้วก็อยู่บ้านเถิด...” ​

    คุณแม่บุญเรือนจึงว่า “เมื่อจะให้อยู่บ้าน ก็ขอให้โยมจ้อยถือศีล 8 เลิกยุ่งเกี่ยวฉันสามีภรรยาจะได้ไหม ?” สิบตำรวจโทจ้อยก็รับคำ จากนั้นสิบตำรวจโทจ้อย ก็ขอตัวออกไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ ที่บ้านคงเหลือแต่โยมมารดาของคุณแม่บุญเรือน และหลานๆ 2-3 คน คุณแม่บุญเรือนจึงอาบน้ำ นุ่งขาวห่มขาว เตรียมตัวไหว้พระสวดมนต์ ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณ 21.00 นาฬิกา เดือน 6 ขึ้น 14 ค่ำ ปี พ.ศ. 2470 ​

    จากนั้น คุณแม่บุญเรือนก็ได้แลเห็นโยมมารดาและหลานๆ นอนหลับกันหมดแล้ว โยมมารดานั้นมีอาการกรน ส่วนหลานๆ ก็มีอาการละเมอบ่นพึมพำ และกัดฟันกรอดๆ รู้สึกเกิดธรรมสังเวชเบื่อหน่ายต่อสภาพอย่างนั้นขึ้นมาในขณะนั้นทีเดียวว่า “เออ.....สังขารร่างกายนี้ ถึงแม้จะหลับใหลไปแล้ว แต่ก็ยังมีเวทนาผุดซ้อนขึ้นมาอีกนะนี่...” ​

    ท่านจึงคิดอยากหลีกหนีเสียชั่วคราว ครั้นแล้วคุณแม่บุญเรือน ก็ได้นั่งสมาธิกรรมฐานในห้องพระ จนกระทั่งถึงเวลาประมาณตี 2 ก็มีอาการแน่นหน้าอก อึดอัด หายใจไม่ออก คล้ายกำลังจะตาย จึงตั้งสติว่า “ถ้าจะตายก็ขอให้ตายในตอนนี้เถิด จะได้หมดเวรหมดกรรม ธรรมก็ยังไม่ได้บรรลุเลย” น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก เมื่อคุณแม่บุญเรือนคิดดังนี้เท่านั้น อาการทุกขเวทนาทั้งปวงก็พลันหายไปสิ้น บังเกิดความสว่างขึ้นมาทั้งตัว มีความใสสว่างอย่างสุดที่จะประมาณ รู้ชัดว่าตนเองบรรลุอภิญญาถึง 5 อย่าง มีพระธรรมเข้าประทับ เมื่อนึกอยากรู้อยากเห็นอะไร ก็รู้แจ้งแทงตลอดสว่างไสวไปหมด และยังได้อิทธิปาฏิหาริย์อีกด้วย<!-- google_ad_section_end -->
    เหรียญรุ่นนี้แม้ว่าเป็นเหรียญตาย คือไม่ทันมือคุณแม่ แต่ถือว่าเป็นเหรียญรุ่นแรกและเป็นเหรียญหลักของสายนี้เพราะมีการขออนุญาตจัดสร้างและได้รับอนุญาตตั้งแต่คุณแม่ยังดำรงขันธ์อยู่ เหรียญรุ่นนี้ออกที่วัดอาวุธและจัดสร้างโดยหลวงปู่ใหญ่ เจ้าอาวาสสมัยนั้น ซ่งปฏิบัติธรรมกรรมฐานและเมื่อมรณภาพแล้วอัฐิก็เป็นพระธาตุลักษณะเดียวกับคุณแม่บุญเรือน

    ให้บูชา 1150 บาท
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาพะเยา ชื่อบ/ช ปริศนา บัวเทศ เลขที่ 209-2-51303-6
    ******************************
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • GEDC0487.jpg
      GEDC0487.jpg
      ขนาดไฟล์:
      188 KB
      เปิดดู:
      67
    • GEDC0488.jpg
      GEDC0488.jpg
      ขนาดไฟล์:
      167 KB
      เปิดดู:
      61
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2010
  20. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    ประวัติและปฏิปทา
    พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ


    วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก)
    ต.นาแสง อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย



    พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ มีชาติกำเนิดในสกุล “นรมาส” เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก ณ บ้านเหล่ามันแกว บ้านเลขที่ ๒๘ หมู่ที่ ๑๒ ตำบลดงมะยาง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี

    บิดาท่านชื่อ ลา มารดาชื่อ แหวะ สกุลเดิม วงศ์จันทร์ บรรพบุรุษของท่านอพยพมาจากเวียงจันทน์ เป็นอุปฮาดของเมืองเวียงจันทน์ เมื่อมีภัยสงครามเกิดขึ้น เวียงจันทน์แตก อุปฮาดผู้เป็นต้นตระกูลก็พาครอบครัวอพยพมา ครั้งแรกตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลหนองวัวลำภู ต่อมาย้ายถิ่นฐานบ้านช่อง กระทั่งท้ายที่สุดมาอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี

    บิดามีอาชีพทำนา และมีความรู้ทางด้านสมุนไพรมาก เพื่อนบ้านในละแวกใกล้เคียงได้อาศัยเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย คือเป็นหมอประจำหมู่บ้าน เป็นที่รักใคร่นับถือ และได้รับเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งบิดาของท่านก็ดำรงตำแหน่งนี้มาตลอดจนถึงแก่กรรม ขณะนั้นท่านอายุได้ ๑๖ ปี ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คนด้วยกัน มีชื่อตามลำดับดังนี้

    ๑. นายเหีย นรมาส
    ๒. นายแดง นรมาส
    ๓. นายโลน นรมาส
    ๔. นางน้อยแสง หมายสิน
    ๕. นายอ่อนจันทร์ นรมาส
    ๖. พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
    ๗. นายนวล นรมาส

    ตามชนบทในสมัยนั้นโรงเรียนมีน้อยมาก ตั้งอยู่ห่างไกลกัน ในตำบลหนึ่งๆ มิได้มีโรงเรียนครบทุกหมู่บ้าน หมู่บ้านใดไม่มีโรงเรียนเด็กก็ต้องมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนในหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งต้องเดินนับเป็นสิบๆ กิโลเมตร ผู้ปกครองจะยอมให้บุตรหลานไปเรียนหนังสือ จึงต้องให้โตพอประมาณ คือ อายุ ๙-๑๐ ปี ท่านอาจารย์ก็เช่นเดียวกันเริ่มเข้าเรียนหนังสือเมื่ออายุครบ ๙ ขวบเต็ม ต้องเดินไปโรงเรียนที่อีกหมู่บ้าน คือที่บ้านดงมะยาง จนขึ้นชั้นประถมปีที่ ๓ โรงเรียนจึงย้ายมาอยู่ที่วัดเจริญจิต บ้านโคกกลาง ติดกับบ้านเหล่ามันแกว อันเป็นบ้านเกิด

    ท่านได้เรียนรู้ที่โรงเรียนนี้จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของตำบลชนบทละแวกนั้น ระหว่างเรียนเป็นผู้เรียนดี ฉลาดและขยันหมั่นเพียรอย่างยิ่ง สอบไล่ได้ที่ ๑ โดยตลอด ตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ ๑ จนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับคำชมเชยยกย่องจากครูบาอาจารย์ ทั้งในด้านการเรียนและในด้านความประพฤติจนครูเชื่อถือรักใคร่ให้ช่วยสอนเพื่อนนักเรียนแทนครูตลอด เป็นประจำทุกชั้นเรียน

    หลังจากจบการศึกษาแล้ว อายุย่างเข้า ๑๘ ปี ท่านได้เข้าทำราชการกรมทางหลวงแผ่นดิน อยู่เป็นเวลา ๔ ปี จึงได้ลาออกเพื่อเตรียมอุปสมบท

    กล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้มีนิสัยฝักใฝ่ในทางธรรมะมาแต่เด็ก นอกจากการวิ่งเล่นซุกซนสนุกสนานตามวิสัยเด็กน้อยแล้ว สำหรับนิสัยทางสร้างบาปสร้างกรรมไม่มีเลย ท่านเล่าเสมอว่าท่านไม่ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ส่วนการหยิบฉวยลักขโมยนั้น แม้แต่เข็มสักเล่มเดียวก็ไม่เคยหยิบฉวยของใครเลย

    เมื่อท่านอายุได้ ๑๔-๑๕ ปี ได้พบพระธุดงค์ มาปักกลดอยู่ใกล้บ้านก็บังเกิดความเลื่อมใสตั้งปณิธานว่าต่อไปจะบวชอย่างท่านบ้าง พระธุดงค์ได้มอบหนังสือ “ไตรสรณาคมน์” ของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม แห่งวัดป่าสาลวัน นครราชสีมา มาให้ หนังสือนี้นอกจากสอนให้พุทธศาสนิกชน รู้จักการเข้าถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแท้จริงแล้ว ได้สอนวิธีปฏิบัติภาวนาด้วย ท่านบังเกิดความคิดเลื่อมใสศรัทธา จึงจะลองปฏิบัติตามหนังสือนั้น เริ่มสวดมนต์ไหว้พระ ทำวัตรต่อ แล้วนั่งสมาธิหัดบริกรรม “พุทโธ...พุทโธ...พุทโธ” จนกระทั่งปรากฏว่าจิตรวม จิตกับกายแยกกัน ไม่เหมือนกัน จิตอยู่เฉพาะจิต กายอยู่เฉพาะกาย เวทนาใดก็ไม่มีปรากฏเลย

    ท่านเล่าว่า เวลานั้นก็ไม่รู้จักอะไรลึกซึ้ง ด้วยหัดเอง ทำเอง ทำตามลำพังคนเดียวไม่มีผู้รู้มาสอนให้ก้าวหน้าขึ้น ได้แต่รู้สึกว่านั่งสมาธิแล้วก็สบายดี กายเบา จิตขาวนิ่มนวลผ่องใส เหมือนนั่งนอนอยู่อากาศอันนิ่มนวล ทำให้จิตใจดูดดื่มมาก นึกอยากจะภาวนาเสมอๆ ถ้าวันไหนใจไม่สบาย ก็ต้องเข้าที่นั่งภาวนา สงบใจเสมอ

    ภายหลังระหว่างทำงานได้รับหนังสือ “จตุราลักษณ์” ของท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล มาอ่านเพิ่มเติมสติปัญญาอีก เมื่อท่านอ่านไปถึง มรณานุสติ จิตก็สลดสังเวชว่า เราก็ต้องมีตายอยู่นั่นเองและในหนังสือนั้นท่านพระอาจารย์เสาร์ฯ ก็ได้ย้ำถึงเรื่องกรรมว่า คนเราต่างมีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เมื่อยังมีชีวิตอยู่ กรรมนั้นจักเป็นทายาทให้เราได้รับผลกรรมนั้นต่อๆ ไป คือหมายความว่า กรรมต่างจำแนกสัตว์ให้เป็นไปต่างๆ นานา ให้เลว ให้ดี ให้ชั่ว ให้ประเสริฐ เมื่ออ่านกันถึงตอนนี้ ท่านก็บังเกิดความสลดสังเวชใจอย่างยิ่ง นึกว่าคนเราที่เกิดมาถ้าไม่ประกอบคุณงามความดี ก็ไม่มีประโยชน์แก่ชีวิตของตน และไม่มีโอกาสที่จะได้รับความสุขต่อไปในชาติหน้าอีก ศรัทธาในพระศาสนาก็เพิ่มพูนขึ้น เมื่ออายุเพียง ๒๐ ปีถึงกับสละเงินที่เก็บหอมรอมริบระหว่างทำงานอยู่กรมทางหลวงทั้งหมดเป็นเจ้าภาพสร้างมหากฐินคนเดียว สร้างพระประธาน สร้างส้วม ในวัดจนหมดเงิน

    เมื่อท่านอาจารย์อายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ฝ่ายมหานิกาย ที่วัดเจริญจิต บ้านโคกกลาง ตำบลดงมะยาง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี พระอุปัชฌาย์ชื่อ บุ พระกรรมวาจาจารย์ชื่อ พระมหาแจ้ง ได้ฉายาว่า “จวน กลฺยาณธมฺโม” ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรม และสอบได้นักธรรมตรีในพรรษานั้น

    ระหว่างที่บวชเป็นพระบ้านอยู่นั้น ท่านปรารถนาจะออกธุดงค์เจริญรอยตามพระธุดงคกัมมัฏฐานที่เคยกราบคารวะเมื่อยังเด็ก จึงคิดจะญัตติเป็นธรรมยุตเพื่อออกธุดงค์ เมื่อไปขอลาอุปัชฌาย์ ท่านไม่ให้ญัตติ ให้สึกเสียก่อน ท่านจึงตัดสินใจลาสิกขาบทออกมาเป็นฆราวาสก่อนชั่วคราว


    ๏ พรรษาที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๘๖
    วัดบ้านพอก อ.อำนาจเจริญ


    หลังจากสึกมาเป็นฆราวาสแล้ว ท่านได้เดินทางไปแสวงหาอาจารย์ฝ่ายธรรมยุตกัมมัฏฐาน ได้มาพบที่สำนักวัดป่าสำราญนิเวศน์ อำเภออำนาจเจริญ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุต เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ณ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี ท่านพระครูทัศนวิสุทธิ (มหาดุสิต เทวิโร) เป็นพระอุปัชฌายะ ท่านพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ อุปัชฌาย์เพิ่งได้รับแต่งตั้งและมาบวชท่านเป็นองค์แรก จึงตั้งฉายาให้ท่านว่า “กุลเชฏโฐ” แปลว่า พี่ชายใหญ่ที่สุดของวงศ์ตระกูลนี้ องค์ที่สองที่อุปัชฌาย์บวชต่อมา คือท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมมวโร แห่งวัดป่าแก้ว บ้านชุมพล ซึ่งท่านอาจารย์จวนได้มานั่งหัตถบาถอยู่ด้วย

    เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้รับคำสั่งให้ท่องปาฏิโมกข์ และเจ็ดตำนานให้ได้หมดภายในหนึ่งเดือน ท่านก็พยายามท่องจำทั้งกลางวันกลางคืน จนสามารถท่องได้ตามที่อาจารย์ของท่านกำหนดไว้ จึงได้รับคำชมเชยจากอาจารย์เป็นอันมาก

    ท่านได้เร่งทำความเพียรอย่างขะมักเขม้น เดินมาก นั่งมาก ฉันน้อย บางวันก็ไม่ฉันสลับกันไป ท่านพระอาจารย์เกิ่ง เห็นว่าท่านรู้สึกจะซูบผอมลงไปมาก จึงตักเตือนให้ฉันอาหารเสียบ้าง

    เมื่อจะเริ่มเข้าพรรษา ปรากฏว่าที่วัดป่าบ้านพอก หนองคอน ทั้ง อำเภอเลิงนกทา ไม่มีพระสวดปาฏิโมกข์ได้ พระอาจารย์บัง จึงได้ขอตัวท่านอาจารย์ไปอยู่ที่วัด ในพรรษานั้นโยมมารดาได้มาบวชเป็นชีอยู่ด้วย ท่านได้อธิษฐานฉันเจ ไม่ฉันเนื้อสัตว์ อดอาหาร ๔ วันสลับกับอดนอน ๔ คืนบ้าง อดอาหาร ๘ วัน สลับกับอดนอน ๘ คืนบ้าง และได้ออกบิณฑบาตมาเลี้ยงโยมมารดาเพื่อสนองคุณ

    ในระหว่างพรรษาขณะนั่งฟังเทศน์ จิตของท่านสงบลง เกิดภาพนิมิตขึ้นในจิต ปรากฏร่างของท่านเน่าเปื่อยเป็นอสุภ เห็นขาของตัวเองเน่าเปื่อย มีน้ำเหลืองไหล เหมือนมองดูด้วยตาเนื้อ ท่านอาจารย์จึงได้พิจารณาอสุภะต่อไปเป็นประจำ

    ในพรรษานี้เกิดภาพนิมิตแปลกๆ ขณะกำลังทำความเพียรเสมอ วันหนึ่งก่อนจิตจะรวมได้เกิดภาพนิมิตขึ้นว่า มีแม่ไก่ลายมาจิกกินอุจจาระอยู่ตรงหน้า ท่านจึงได้กำหนดจิตถามว่า จิกกินอะไร แม่ไก่ตอบว่า จิกกินอุจจาระ แล้วถามว่าแม่ไก่เป็นใคร ก็ตอบว่าเป็นเทวดา ท่านจึงกำหนดจิตถามต่อไปว่า เทวดาทำไมกินอุจจาระ แม่ไก่ตอบว่า มนุษย์เราทุกชาติทุกภาษาต้องกินอุจจาระกันทั้งนั้น ท่านจึงน้อมเอานิมิตนั้นมาพิจารณา ก็เห็นว่า มนุษย์เรานี้ก็ต้องกินขี้กันทั้งสิ้น จึงทำให้เกิดความสลดสังเวชอย่างยิ่งในพรรษานั้น

    อยู่มาวันหนึ่งหลังจากฉันอาหารเช้าแล้ว ก่อนจะขึ้นไปบนกุฏิเพื่อเก็บเครื่องบริขาร ท่านมองไปบนหน้าจั่ว ได้เห็นหญิงสาวคนหนึ่งนุ่งห่มแต่งกายด้วยเสื้อผ้าลายๆ เหมือนแม่ไก่ที่เคยปรากฏในนิมิต ยืนถือตะกร้าหมากอยู่บนหน้าจั่ว มองดูเป็นหญิงที่มีรูปร่างสวยงามมาก ใจหนึ่งก็บอกว่าเป็นเทวดา ท่านก็ไม่สนใจเก็บเครื่องบริขารต่อไปเรื่อยๆ ครั้งที่สองหันไปมอง ก็ยังเห็นยืนอยู่ที่เก่า ท่านก็เก็บเครื่องบริขารของตนให้เรียบร้อย ครั้งที่สามมองดูใหม่รูปที่ปรากฏนั้นหายไปแล้ว ขณะนั้นจิตของท่านก็นึกขึ้นมาได้ว่า นี่ละหนอ...พวกที่ภาวนาแล้วเห็นภาพนิมิตต่างๆ มาปรากฏก็เข้าใจว่าตนได้ญาณ บรรลุมรรคผลทำให้เกิดหลงงมงาย ผลที่สุดก็เสื่อมไปไม่ได้ประโยชน์อะไรจากธรรมะ

    ออกพรรษาแล้ว โยมมารดาซึ่งบวชเป็นชีได้ลาสิกขาบทกลับไปอยู่บ้านกับลูกหลาน เสร็จกิจแล้วท่านปรารถนาจะออกเดินธุดงค์ จึงหาเพื่อไปด้วย เป็นสามเณรองค์หนึ่ง ออกเดินจากวัด จากอำเภอเลิงนกทา จังหวัดอุบลราชธานี จะเดินทางไปนมัสการพระธาตุพนม เดินทางผ่านหมู่บ้านต่างๆ ใช้เวลาธุดงค์ถึง ๗ วัน ๗ คืน จึงถึงพระธาตุพนม หลังจากนมัสการพระธาตุพนมแล้ว ได้เดินทางต่อไปเมืองเว หรือเมืองเรณูนคร พักอยู่ประมาณ ๒ เดือน จึงเดินทางกลับจังหวัดอุบลราชธานี

    ขณะเดินทางกลับ ท่านกลับองค์เดียว เณรไม่ได้กลับด้วย ได้เดินจากเรณูนคร ผ่านพ้นดงมะอี่ เขตอำเภอเลิงนกทา ระหว่างบ้านไร่กับบ้านหนองยางต่อกัน ก็ได้กลิ่นเหม็นที่กลางดง ท่านจึงได้เดินสำรวจดู ได้พบซากศพคนตายอยู่ข้างทาง ท่านมีความยินดีเป็นอันมาก และคิดว่าควรจะเพ่งอสุภะให้ได้ ร่างนั้นเน่าเปื่อย ตับไต ไส้พุง มีหนอนชอนไช ท่านยืนเพ่งแล้วน้อมเข้ามาดูตัวว่า อีกหน่อยตัวเราก็ต้องเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ต่อมาก็เกิดความคิดขึ้นว่า ควรจะเผาซากศพนี้เสียให้หายอุจาดตา จึงได้ไปหากิ่งไม้เล็กๆ มาเตรียมจะเผา แล้วท่านจึงเกิดคิดขึ้นมาได้ว่า ตัวท่านเป็นพระ จะเผาศพนี้ได้อย่างไร เพราะดินและหญ้ายังเขียวสด และในศพก็ยังมีสัตว์มีชีวิตอยู่มากมาย ถ้าเผาก็จะต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทำบุญจะได้บาป คิดแล้วก็ตกลงไม่เผา

    ท่านได้กลับมายืนพิจารณาศพ โดยถือเป็นอสุภะต่อไป นับเวลาตั้งแต่เดินทางมาถึงเป็นเวลาเที่ยง จนกระทั่งเวลาบ่าย ๓ โมง ไม่มีความกลัวเลย และตั้งใจจะค้างคืนพิจารณาอสุภะนั้นอีกด้วย แต่ได้มีชาวบ้าน ๒ คนเดินมา ท่านจึงได้สอบถามดูได้ความว่า เจ้านายใช้ให้ชายทั้ง ๒ มาดูแลศพไว้ เพราะเจ้าหน้าที่บ้านเมืองยังไม่ได้มาชันสูตรศพ ท่านจึงขอค้างคืนเพื่อพิจารณาศพและขอชักบังสุกุลสิ่งของที่อยู่กับศพ ชายทั้งสองก็ไม่เห็นด้วยกลับนิมนต์ให้ท่านหลีกไป มิจะนั้นอาจสงสัยว่าท่านฆ่าคนตาย เมื่อชาวบ้านยืนยันปฏิเสธเช่นนั้น ท่านจึงได้ออกเดินทางต่อไป

    ตกเย็น ท่านได้เดินทางถึงบ้านโพนหนามแท่ง อำเภออำนาจเจริญ ได้หยุดพักปักกลดอาบน้ำชำระร่างกาย เวลาพลบค่ำ ไหว้พระสวดมนต์ พิจารณาซากอสุภะที่เห็นเมื่อกลางวันแล้วน้อมเข้าหาตัว ปรากฏว่าจิตใจสงบ สบาย เยือกเย็นมีความสุขมาก นั่งภาวนาอยู่ตั้งแต่ปฐมยามจนถึงตี ๒ ต่อจากนั้นได้เกิดลมพายุฝนตกหนัก ท่านจึงปลดมุ้งออกพับเก็บพร้อมทั้งสังฆาฏิไว้ในบาตรปิดฝา และนั่งภาวนาต่อไปเรื่อยๆ รู้สึกว่าฝนเย็น ลมเย็น จิตใจก็เย็นสบายดี ฝนตกประมาณ ๑ ชั่วโมงก็หายไป



    ๏ พรรษาที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๗
    วัดทุ่ง บ้านชาติหนองอีนิน อ.เลิงนกทา


    ในพรรษาที่ ๒ ท่านอาจารย์จำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่ง บ้านชาติหนองอีนิน ซึ่งท่านพระอาจารย์เกิ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ท่านได้ทำความเพียรพอสมควร ในพรรษานี้ได้มีเหตุการณ์แปลกเกิดขึ้นคือ มีหญิงคนหนึ่งซึ่งในสมัยที่ท่านยังทำราชการอยู่กรมทางหลวง ได้เคยเห็นหญิงคนนี้เดินทางไปมาระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีกับอำเภออำนาจเจริญอยู่บ่อย แต่ไม่ทราบว่าเป็นคนบ้านไหน เมื่อท่านมาจำพรรษาที่วัดนี้ได้เห็นหญิงผู้นี้อีก แต่ตอนนี้มีร่างกายทรุดโทรมผอมลงมาก ถือหม้อยามาอาศัยต้มยาและนอนที่ลานวัด ใต้ร่มไม้ฉำฉา อยู่มาไม่นานหญิงคนนี้ก็นอนตายใต้ร่มไม้นั้นเอง

    ตอนเช้าท่านมองเห็นศพก็จะเข้าไปพิจารณาอสุภะใกล้ๆ แต่ญาติโยมมาเล่าให้ท่านฟังว่าศพของหญิงนั้นมีหนอนมาเจาะไชเจาะกินทั่วทั้งตัวโดยเฉพาะที่ทวารเบา เป็นที่น่าสลดสังเวชมากเพราะเป็นคนเจ้าชู้ เป็นโรคบุรุษ ประพฤติผิดมิจฉากาม เมื่อตายจึงถูกลงโทษทันตาเห็นมีหนอนขึ้นชอนไชเต็มไปหมด เมื่อท่านได้ยินเช่นนี้ท่านจึงเกิดความสลดสังเวชเบื่อหน่ายมาก นับเป็นซากศพที่ ๒ ที่ท่านเคยเห็น


    ๏ พรรษาที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๘๘
    วัดบ้านนาจิก ดอนเมย บ้านหนองปลิง ต.นาจิก


    ท่านได้อยู่จำพรรษา ณ วัดป่าบ้านนาจิก ซึ่งเป็นสถานที่ท่านอาจารย์ได้เข้าไปปรับปรุงและสร้างเป็นวัด อันเป็นวัดแรกที่ท่านสร้างขึ้น ในพรรษานั้น ได้อธิษฐานทำความเพียรจะไม่นอนและฉันเลยตลอดพรรษา การอธิษฐานไม่นอนนี้ นอกจากจะไม่ยอมให้หลังแตะพื้นแล้ว จิตต้องทำความรู้ตัวตลอดเวลา ไม่ให้ตกภวังค์แม้แต่ขณะจิตเดียว ไม่ว่าอยู่ในอิริยาบถ เดิน ยืน หรือนั่ง ในระยะนั้นยังใช้คำบริกรรม “พุทโธ” เป็นพื้น มีการพิจารณาร่วมไปด้วย พอกลางพรรษาเกิดวิปริตทางธาตุ คือ มีน้ำมันสมองไหลออกทางจมูกเป็นน้ำเหลือง ท่านเจ้าอาวาสจึงขอร้องให้ท่านนอนพักผ่อนเสียบ้าง และต่อมาถึงกับบังคับให้ท่านนอนพัก มิจะนั้นต่อไปตาอาจจะบอดได้ ท่านอาจารย์จึงได้ยอมพักผ่อนหลับนอนบ้างเล็กน้อย แต่ก็ยังทำความเพียรอยู่

    ในระหว่างพรรษานี้ ท่านได้เกิดปฏิพัทธ์รักใคร่หญิงสาวคนหนึ่ง ซึ่งเคยเอาจังหันมาถวายบ่อยๆ แต่ยังทำความเพียรตลอดไม่หยุดและไม่บอกให้ใครทราบ ต่อมาจึงคิดอุบายขึ้นมาได้ โดยตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้ายังมีบุญวาสนาอยู่ในพรหมจรรย์แล้ว ขอให้ได้นิมิตเห็นท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งท่านเคยได้ยินชื่อเสียงเกียรติคุณมานานแล้ว ขอให้ได้ไปกราบไหว้ท่าน สนทนาได้ฟังธรรมจากท่าน แต่ถ้าไม่มีบุญวาสนาแล้ว ขออย่าให้บรรลุธรรม หรืออย่าได้พบเห็นท่านพระอาจารย์มั่นเลย และให้เห็นนิมิตแต่สิ่งที่ลามกน่ารังเกียจเถิด

    หลังจากนั้น ๓ วัน ท่านได้นิมิตว่า ได้เดินทางไปสู่สำนักท่านพระอาจารย์มั่น เห็นท่านกำลังกวาดลานวัดอยู่ พอเห็นก็รู้ว่านี่คือท่านพระอาจารย์มั่น ท่านเหลือบมาเห็นเข้าก็ทักท่านอาจารย์จวนอย่างดีใจว่า “อ้อ...ท่านจวนมาแล้ว ท่านจวนมาแล้ว” มีความรู้สึกคล้ายกับพ่อเห็นลูก ลูกเห็นพ่อ พอท่านตรงเข้าไปจะกราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์มั่นก็โก่งหลัง บอกให้ท่านขึ้นขี่หลังท่านอาจารย์มั่นเหมือนขี่ม้า แล้วท่านจึงพาเหาะขึ้นบนอากาศจนลิบเมฆ แล้วพามาลงที่กลางภูเขาลูกหนึ่งแล้วบอกว่า “เอาละ ลงนี่แหละ พอดีพอควรแล้ว” เมื่อตื่นจากนิมิต ท่านมาพิจารณาดูก็เกิดปีติยินดีว่า คงจะมีวาสนาบารมีอยู่ในพรหมจรรย์ จึงเร่งทำความเพียรต่อไป

    หลังออกพรรษาได้ ๕ วัน ท่านเจ้าคุณ อริยคุณาธาร (มหาเส็ง ปุสโส) ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าคณะภาค มาตรวจงานคณะสงฆ์ทางภาคอีสาน ได้มาแวะเยี่ยมที่วัดป่าบ้านนาจิก นัยว่าท่านพระครูทัศนวิสุทธิ (มหาดุสิต เทวิโร) อุปัชฌาย์ของท่าน ได้ฝากท่านไว้กับท่านเจ้าคุณอริยคุณาธาร ขอให้ช่วยนำไปอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นด้วย ท่านอาจารย์จึงได้ติดตามท่านเจ้าคุณอริยคุณาธารไป เมื่อได้กราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ท่านก็ประหลาดใจอย่างยิ่งที่เมื่อได้เห็นตัวจริงของท่าน ลักษณะรูปร่าง กิริยาท่าทางต่างๆ มิได้แตกต่างจากในนิมิตเลย


    ๏ พรรษาที่ ๔
    อยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ


    ท่านอาจารย์จวนได้มีโอกาสศึกษาอบรมอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น ตั้งแต่ออกพรรษาที่ ๓ ได้เพียง ๓ วัน และอยู่ตลอดมาจนตลอดฤดูแล้ง และได้อธิษฐานพรรษาอยู่กับท่านจนตลอดพรรษาที่ ๔ โอวาทของท่านจะแนะนำให้ประพฤติปฏิบัติทางพระวินัย ให้เคร่งครัด รวมทั้งการธุดงค์ การภาวนาให้พิจารณากายเป็นส่วนมาก พิจารณากายส่วนใดส่วนหนึ่งให้ถูกกับจริตนิสัยของตัวเอง ถ้าจิตไม่สงบมีความฟุ้งซ่าน ให้น้อมนึกเข้ามาด้วยความมีสติ นึกภาวนาแต่พุทโธ เมื่อจิตสงบแล้วให้พักพุทโธไว้ให้อยู่ในความสงบ แต่มีสติ ฝึกให้ชำนิชำนาญ แล้วให้นึกน้อมเข้ามาพิจารณากายของตนเองด้วยความมีสติ มิให้พลั้งเผลอ เมื่อจิตรวมก็ให้มีสติ รู้ว่าจิตรวม อย่าบังคับให้จิตรวม ให้มีสติอยู่ว่าจิตรวม อย่าถอนจิตที่รวมอยู่ ให้จิตถอนออกเอง

    พอจิตถอน ให้น้อมเข้ามาพิจารณากายที่เคยพิจารณาอยู่ ให้มีสติอยู่ตลอดเวลา ส่วนนิมิตที่เกิดขึ้น แสดงเป็นภาพภายนอก หรือนิมิตภายใน ก็ให้น้อมเข้ามาพิจารณาให้เห็นว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งใดมีเกิดก็ต้องมีดับ อย่าพลั้งเผลอลุ่มหลงไปตามนิมิตที่เกิดขึ้น แล้วน้อมเข้ามาพิจารณากายให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ว่ามิใช่ของตน ให้พิจารณาอย่างมีสติ เมื่อพิจารณาพอสมควรแล้วก็ให้พักอย่างสงบเมื่อสงบพอสมควรแล้วก็ให้พิจารณาต่อ ท่านเล่าให้ฟังว่า คำสอนของท่านพระอาจารย์มั่นจะเป็นในหลักนี้เสมอ

    ท่านอาจารย์ได้เล่าถึงความน่าขายหน้าของตัวท่านเอาไว้ ในเรื่องเกี่ยวกับท่านพระอาจารย์มั่นดังนี้

    เวลานั้นท่านยังเป็นพระผู้น้อยไปอยู่วัดป่าบ้านหนองผือใหม่ๆ ใจก็อดคิดตามประสาปุถุชนไม่ได้ว่า “เขาเล่าลือกันว่า ท่านพระอาจารย์ใหญ่เป็นพระอรหันต์ เราก็ไม่ทราบว่าจริงไม่หรือ ถ้าเป็นอรหันต์จริง คืนนี้ก็ให้มีปาฏิหาริย์ให้เห็นปรากฏด้วย”

    ในคืนวันนั้นเอง พอท่านภาวนา ก็ปรากฏนิมิตเห็นท่านพระอาจารย์มั่นเดินจงกรมอยู่บนอากาศ และแสดงปาฏิหาริย์เหาะขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา และเวลานอนหลับก็ยังฝันเห็นท่านเดินอยู่บนอากาศเช่นเดียวกัน

    ท่านจึงยกมือไหว้ และว่าเชื่อแล้ว

    อย่างไรก็ดี หลังจากวันนั้น ท่านก็เกิดคิดขึ้นมาอีกว่า “เอ...เขาว่าท่านอาจารย์ใหญ่รู้วาระจิตของลูกศิษย์ทุกคน จริงไหมหนอ ? เราน่าจะทดลองดู ถ้าท่านอาจารย์ใหญ่รู้วาระจิตของเรา ขอให้ท่านอาจารย์ใหญ่มาหาเราที่กุฏิคืนวันนี้เถอะ” พอท่านคิดได้ประเดี๋ยวเดียว ก็ได้ยินเสียงไม้เท้าเคาะใกล้เข้ามา และกระแทกเปรี้ยงเข้าที่ฝากุฏิของท่าน พร้อมกับเสียงของท่านพระอาจารย์มั่นเอ็ดลั่นว่า “ท่านจวน...ทำไม่จึงไปคิดอย่างนั้น นั่นไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ รำคาญเรานี่”

    ท่านเล่าว่าคืนนั้น แม้จะตัวสั่น กลัวแสนกลัว แต่ต่อมา ก็ยังดื้อไม่หาย คืนหลังเกิดความคิดขึ้นอีก

    “ถ้าท่านอาจารย์ใหญ่ เป็นผู้รู้วาระจิตของเรา เราบิณฑบาตได้อาหารมา ขอให้ท่านรอเราทุกวัน ๆ ขออย่าเพิ่งฉันจนกว่าเราจะหย่อนบาตรท่านก่อน”

    เป็นธรรมดาที่พระทั้งหลาย พอบิณฑบาตได้ ก็จะเลือกสรรอาหารอย่างเลิศอย่างดีที่สุดที่บิณฑบาตได้มา สำหรับไปใส่บาตรพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่เคารพ วันนั้นท่านอาจารย์จวนก็พยายามประวิงเวลากว่าจะนำอาหารไปใส่บาตรก่อน ก็ออกจะล่าช้ากว่าเคย จนกระทั่งหมู่เพื่อนใส่บาตรกันหมดแล้ว จึงค่อยๆ ไปใส่บาตรต่อภายหลัง

    ท่านพระอาจารย์มั่นก็มักจะมีเหตุช้าไปด้วย จนท่านอาจารย์จวนหย่อนบาตรแล้ว ท่านจึงเริ่มฉัน เป็นเช่นนี้อยู่หลายวัน ท่านอาจารย์จวนเล่าว่า ท่านยิ่งได้ใจมักอ้อยอิ่งอยู่ทุกวัน จนเช้าวันหนึ่งท่านพระอาจารย์มั่นคงเหลืออดเหลือทนเต็มที จึงออกปาก

    “ท่านจวน อย่าทำอย่างนั้น ผมรำคาญ ให้ผมรอทุกวันๆ ทีนี้ผมไม่รออีกแล้วนะ”

    คืนหนึ่งขณะที่ท่านอาจารย์จวนตั้งใจภาวนาทำความเพียรอย่างเต็มที่ ตั้งแต่ปฐมยาม อธิษฐานนั่งในกลด ตั้งใจภาวนา ไม่นอนตลอดคืน พอจิตค่อยสงบลง ก็เกิดนิมิตผุดขึ้นว่า “ปททฺทา ปททฺโท” ท่านได้กำหนดจิตแปลอยู่ ๓ ครั้ง จึงแปลได้ความว่า “อย่าท้อถอยไปในทางอื่น” แล้วปรากฏว่ากายของท่านไหวไปเลย จากนั้นจิตก็เริ่มรวมลงสู่ภวังค์ คือจิตเดิมทีเดียว ขณะนั้นยังไม่รู้ว่าจิตสู่ภวังค์ และจิตเดิมเป็นอย่างไร รู้แต่ว่า ขณะจิตรวมนั้น จิตใสบริสุทธิ์ หมดจด หาที่เปรียบได้ยาก แสนที่จะสบายมากที่สุด เป็นจิตปราศจากอารมณ์ใดๆ จิตรวมอยู่อย่างนั้นตลอดคืน จนรุ่งเช้า จิตจึงถอนออก และได้รับความเบิกบานทั้งกายและใจ มีความปีติเหมือนลอยอยู่ในอากาศ กายและใจเบาที่สุด

    วันต่อมาขณะที่พระเณรได้ไปฟังเทศน์ท่านพระอาจารย่ใหญ่มั่น เมื่อมีโอกาสท่านอาจารย์จวนจึงได้กราบเรียน เล่าเรื่องที่เป็นมาให้ท่านฟัง ท่านพระอาจารย์มั่นได้พิจารณาดูจิตของท่านว่าเป็นจริงหรือไม่แล้วจึงบอกว่า “อ้อ...จิตท่านจวนนี่รวมทีเดียวถึงฐีติจิต คือจิตเดิมเลยทีเดียว” ท่านพระอาจารย์มั่นชมเชยว่า ดีนัก จะได้กำลังใหญ่ แต่ถ้าสติอ่อน กำลังจะไม่มี ท่านจึงกราบเรียนถามต่อว่า ก่อนจิตรวมได้เกิดนิมิตว่า “ปททฺทา ปททฺโท” ขอกราบเรียนให้ท่านอาจารย์มั่นแปลให้ฟัง ซึ่งท่านตอบว่า แปลให้กันไม่ได้หรอก สมบัติใคร สมบัติมัน คนอื่นแปลให้ไม่ได้ ต้องแปลเอาเอง นับว่าท่านอาจารย์มั่นได้ใช้อุบายฉลาดหลักแหลมมากนัก ต้องการให้ศิษย์ฝึกหัดใช้สติปัญญาแปลให้ได้เอง ต่อไปจะได้เป็นสันทิฏฐิโก คือเป็นผู้รู้เอง เห็นเอง

    เมื่อท่านได้รับโอวาทจากท่านพระอาจารย์มั่นเช่นนั้น ก็ได้เร่งทำความเพียรตามสติปัญญา เข้าใจว่าท่านพระอาจารย์มั่นคงเฝ้าดูการปฏิบัติและจิตของท่านอาจารย์จวนอยู่ตลอด อยู่มาวันหนึ่ง ท่านอาจารย์มั่นจึงกล่าวว่า ได้กำหนดจิตดูท่านจวนแล้ว ได้ความเป็นธรรมว่า “กาเยนะ วาจายะ วะเจตวิสุทธิยา” ท่านจวนเป็นผู้มีกายและจิตสมควรแก่ข้อปฏิบัติธรรม

    เมื่อออกพรรษาเสร็จกิจทุกอย่างก็กราบลาท่านพระอาจารย์มั่นออกวิเวกธุดงค์ ท่านพระอาจารย์มั่นแนะนำให้ท่านไปอยู่ถ้ำยาง บ้านลาดกระเฌอ จังหวัดสกลนคร บ้านลาดกระเฌอเป็นหมู่บ้านชาวป่าชาวเขา ตัวถ้ำยางซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านราว ๒ กิโลเมตร ท่าได้ทำความเพียรอยู่ที่นี้ ๗ วัน ๗ คืน ไม่ได้หลับนอนเลย จิตรวมโดยง่าย เกิดภาพนิมิตต่างๆ ทั้งนิมิตภายในและนิมิตภายนอกเกิดขึ้นเสมอ พิจารณาดูก็รู้ว่า นิมิตนี้เกิดจากจิตที่สอดส่ายไป ผู้ไม่มีสติก็จะทำให้ลุ่มหลงไปตามสภาพนิมิต สำคัญผิดว่าตัวเองได้ญาณเกิดทิฏฐิมานะว่าได้หูทิพย์ ตาทิพย์ ซึ่งอาจจะทำให้ธรรมะแตกได้

    ต่อจากนั้นท่านได้ออกเดินธุดงค์ไปแถวภูพาน จังหวัดสกลนคร ได้พบท่านพระอาจารย์มหาทองสุข สุจิตโต เจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส สมัยนั้น ได้ชวนกันไปฟังเทศน์ท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ซึ่งกำลังอยู่ที่บ้านห้วยหีบ

    เมื่อได้ฟังเทศน์ท่านอาจารย์กงมาแล้ว ท่านได้แยกทางกับท่านมหาทองสุข เดินทางผ่านภูพานไปจังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาท่านตั้งใจจะเดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่ โดยขึ้นรถไฟที่สถานีอำเภอวารินชำราบ มาต่อรถที่บ้านภาชี ไปถึงจังหวัดเชียงใหม่

    พรรษาที่ ๕-๖ พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๔๙๑
    วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงโหม่


    ท่านมาถึงเชียงใหม่ ได้เข้าพักที่วัดเจดีย์หลวง ซึ่งเป็นวัดที่ท่านพระอาจารย์มั่นเคยเป็นเจ้าอาวาสอยู่ พักผ่อนวิเวกที่วัดนี้ประมาณ ๓ เดือน คืนหนึ่งขณะนั่งภาวนาในโบสถ์มีนิมิตเกิดขึ้นว่ามีพระเถระรูปหนึ่งได้มาให้โอวาทตักเตือนว่า “ท่านจวน ถ้าท่านจะเป็นผู้ใหญ่เขานั้น ท่านอย่าวางแผ่นดิน เพราะความประพฤติของท่านยังไม่สม่ำเสมอ” ท่านได้มาพิจารณาดู แผ่นดินแปลว่า ให้มีความหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน เมื่อถูกกระทบกระเทือนจากอารมณ์ก็อย่างวอกแวก ตั้งใจให้เป็นสมาธิ ไม่หวั่นไหวฟุ้งซ่าน

    ท่านจึงได้กราบเรียนถามท่านพระอาจารย์มั่นว่า “กราบเรียนพ่อแม่ครูอาจารย์ที่เคารพอย่างสูง เกล้ากระผมได้นั่งภาวนาแล้วเกิดนิมิต ปรากฏพระเถระผู้ใหญ่มาตักเตือนว่า-ท่านจวน ถ้าท่านจะเป็นผู้ใหญ่เขานั้น ท่านอย่าวางแผ่นดิน เพราะความประพฤติของท่านยังไม่สม่ำเสมอ ดังนี้ เกล้ากระผมเป็นผู้มีสติปัญญาน้อย ไม่สามารถจะรู้ว่าอะไรเป็นแผ่นดิน ขอนิมนต์พ่อแม่ครูอาจารย์โปรดประทานให้โอวามตักเตือนด้วย”

    ท่านพระอาจารย์มั่นได้ตอบจดหมายมาว่า “ถึงท่านจวนที่อาลัยยิ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมได้แนะนำให้ท่านนั้น ขอให้ท่านจงตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติดำเนินไปตามคำที่ผมแนะนำ อย่าได้ประมาทเพื่อจะได้เป็นเกียรติยศแก่พระพุทธศาสนาต่อไป”

    หลังจากนั้นท่านได้ออกวิเวกนอกเมืองเชียงใหม่ ท่านได้ธุดงค์ไปอยู่ที่วัดอุโมงค์ ใกล้สนามบินเชียงใหม่ ท่านและพรรคพวกพากันไปพักวิเวกที่นั้น ตกกลางคืนนิมิตว่า ท่านและท่านพระอาจารย์มั่นได้กำลังทำหีบศพอยู่บนเจดีย์ ขณะนั้นท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ท่านเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ได้เหาะลอยมาในอากาศ แล้วมาหยุดที่ข้างหน้าท่าน และได้ให้โอวาทว่า “ท่านจวน อุเปกฺขินทริยํ” ท่านจึงกำหนดจิตแปลดูได้ความว่า ให้วางตัวเป็นอุเบกขาต่ออินทรีย์ทั้ง ๖ คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ อย่าเอาใจใส่ลุ่มหลงในอารมณ์ที่มากระทบ ท่านกำหนดจิตคิดตามนิมิตก็รู้ว่า พรุ่งนี้อาจมีอันตรายหรือเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นแน่

    พอรุ่งขึ้น หลังจากฉันเพลเสร็จแล้ว หมู่พวกได้ออกไปชมสถานที่ต่างๆ กันหมด เหลือท่านอาจารย์อยู่ในถ้ำองค์เดียว ขณะนั้นมีสีกาสาวๆ มาเที่ยวเล่นค้นหาพระบริเวณนั้น เพื่อหลบพวกหญิงเหล่านั้น ท่านก็ปลดมุ้งกลดลงเสีย แต่ก็ยังมีหญิงใจกล้าคนหนึ่งมาเปิดมุ้งกลดออก ยิ้มให้ท่าน แล้วร้องเรียกเพื่อน “ตุ๊เจ้าอยู่นี่...ตุ๊เจ้าอยู่นี่” แล้วเข้ามายืนเพ่งดูท่าน ท่านจึงเห็นว่าหญิงผู้นี้นุ่งผ้านุ่งบางๆ เป็นซิ่น เสกิร์ต เห็นหน้าอกของเขาเต็มอก เกิดความรู้สึกวูบขึ้น ท่านจึงคิดถึงโอวาทของท่านเจ้าคุณอุบาลี “อุเปกฺขินทริยํ” พิจารณาอุบายนี้ จิตก็คลายความกำหนัดลง ต่อมาภายหลัง ได้มีพวกหญิงสาวมารบกวนท่านมาก ท่านเห็นว่าไม่สงบ จึงได้หนีออกจากที่นั้นไป

    ท่านอาจารย์ได้อยู่จำพรรษาที่จังหวัดเชียงใหม่ ๒ พรรษา โดยวิเวกอยู่ตามดอย ป่าเขาที่สงัดห่างจากหมู่ชุมชนโดยตลอด ออกพรรษาแล้วธุดงค์ไปจังหวัดเชียงราย ตั้งใจจะไปให้ถึงเชียงตุง ได้เดินทางออกทางอำเภอแม่สาย เดินด้วยเท้า ๗ วัน ๗ คืน จึงถึงเชียงตุง ท่าเดินธุดงค์เป็นทางเดินไปตามยอดดอยล้วนๆ มีเณรและโยมคนหนึ่งเดินทางไปด้วย ได้พักวิเวกบนดอยแห่งหนึ่ง เรียกว่าดอยแตง ซึ่งสงบสงัดดีมาก ท่านพักที่ดอยแตงนี้ ๓ เดือนจึงธุดงค์ต่อไป ระหว่างธุดงค์อยู่ในจังหวัดภาคเหนือและเชียงตุงนี้ ท่านมักจะประสบภัยร้ายจากมาตุคามเสมอ แต่ท่านก็ได้ใช้ขันติและอุบายหลบหลีกมาได้ทุกระยะ จึงสามารถครองเพศพรหมจรรย์ได้ตลอดมา

    ขณะที่อยู่เชียงตุงนั้น ท่านตั้งใจจะธุดงค์ไปให้ถึงอินเดีย ระหว่างเตรียมตัวเดินทาง ท่านได้อธิษฐานจิตดูว่า ถ้าสมควรจะได้ไปอินเดีย ขอให้ได้นิมิตที่ดี ถ้าไม่ควรไป ขอให้ได้นิมิตที่ร้าย

    อยู่ต่อมาท่านจึงได้นิมิตว่า ปรากฏเห็นพระพุทธเจ้า พระอานนท์ พระมหากัสสปะ และช้าง เห็นพระพุทธเจ้าเสด็จไป พระอานนท์เสด็จตามห่างประมาณ ๑๐ เมตร องค์สุดท้ายคือพระมหากัสสปะ ตามหลังมาเป็นช้างตัวใหญ่ ช้างนั้นพอเดินมาถึงท่านอาจารย์ ก็วิ่งตรงเข้ามาจะทำร้าย ท่านได้วิ่งหนีขึ้นต้นโพธิ์ ช้างจึงทำอะไรไม่ได้ เมื่อช้างไปแล้ว ท่านจึงลงมาจากต้นโพธิ์ ที่ใต้ต้นโพธิ์มีอาสนะพร้อมทั้งหมอนและหนังสือวางอยู่ ท่านจึงลงมานั่งที่อาสนะและอ่านหนังสือ เมื่อตื่นจากนิมิต ท่านจึงมาพิจารณาเห็นว่า แม้นิมิตตอนต้นที่เห็นพระพุทธเจ้าจะเป็นมงคล แต่ตอนกลางนั้น แสดงถึงอุปสรรค จึงไม่ควรไปอินเดีย จึงตัดสินใจเดินทางกลับจากเชียงตุง นั่งรถไฟกลับจังหวัดอุบลราชธานี

    เมื่อกลับมาถึง ได้ไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดบ้านหนองผือ จังหวัดสกลนคร ท่านอาจารย์มั่นได้ถามว่า การภาวนาเป็นอย่างไรบ้าง ท่านอาจารย์ได้กราบเรียนท่านว่า “ไม่ดีเหมือนอยู่กับพ่อแม่ครูบาอาจารย์” ท่านอาจารย์มั่นจึงบอกว่า ต่อไปให้ภาวนาอยู่ทางภาคอีสานนี้แหละ อย่าไปที่อื่นอีกเลย


    ๏ พรรษาที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๙๒
    วัดป่าบ้านเหล่ามันแกว สงเคราะห์โยมมารดา


    เมื่อกลับมาอุบลราชธานีแล้ว ได้ไปรับมารดามาบวชเป็นชีที่วัดป่าบ้านเหล่ามันแกว ท่านพระอาจารย์มั่นได้จัดให้ท่านไปจำพรรษาอยู่ที่บ้านเดิมเพื่อสงเคราะห์โยมมารดา และท่านยังได้สั่งกำชับว่า “เมื่อออกพรรษาแล้ว ให้รีบกลับมาหาผมนะ เดี๋ยวจะไม่ทันผม” เพราะท่านอาจารย์มั่นกำหนดอายุของท่านไว้ ๘๐ ปีเท่านั้น และปีนั้นท่านอาจารย์มั่นมีอายุได้ ๘๐ ปีพอดี

    ในระหว่างพรรษานั้น โยมน้าซึ่งเป็นน้องสาวโยมมารดา พวกญาติและลูกหลานได้ไปนิมนต์ขอให้ท่านลาสิกขาบท เพราะเกิดความสงสาร เห็นท่านลำบากต้องอยู่ในป่าดงทุกข์ยาก ไม่มีเงินทองใช้สอย ไม่มีลูกมีเมีย ท่านจึงขอความเห็นญาติและลูกหลานที่มาว่า ผู้ใดที่มานี้ฝ่ายไหนอยากให้สึก ฝ่ายไหนอยากให้อยู่ ปรากฏว่าฝ่ายอยากให้สึกมีมากกว่า ท่านจึงว่า เมื่อครั้งบวช ท่านหาเครื่องบวชมาเอง ถ้าอยากให้สึก ต้องหาเครื่องสึกมาให้พร้อมดังนี้

    ๑. เครื่องแต่งตัวครบชุด เขาก็ว่า ได้

    ๒. การซักรีดเสื้อผ้า เขาก็ว่า ได้

    ๓. รถจักรยานยนต์ ๑ คัน เขาก็ว่า ได้

    ๔. รถยนต์ฟอร์ด ๑ คัน ราคาขณะนั้น ๖๐,๐๐๐–๑๐๐,๐๐๐ บาท เขาก็ชักพูดไม่ออก

    ๕. เมื่อสึกแล้วต้องมีลูกเมีย น้าคนหนึ่งรับจะยกลูกสาวให้

    ๖. ให้ปลูกบ้านเป็นปราสาทลอยอยู่ในอากาศ อยากไปไหนก็ลอยไปได้ เขาก็ตอบว่า ไม่ได้หรอก

    ๗. หายาป้องกันการเจ็บ แก่และตาย ให้ร่างกายเป็นหนุ่มอยู่เสมอ เขาก็ตอบว่าไม่ได้

    เมื่อหาเครื่องสึกได้ไม่ครบ เนื่องจากท่านไม่เต็มใจสึก จึงแกล้งแต่งกองสึกให้พิสดาร ทำให้การนิมนต์ลาสิกขาบทเป็นอันยุติลงโดยปริยาย เพราะไม่มีใครสามารถหาเครื่องสึกได้

    หลังจากออกพรรษาแล้ว นึกถึงคำที่ท่านอาจารย์มั่นได้เคยกำชับ เตือนให้ท่านรีบกลับไปหาเดี๋ยวจะไม่ทัน ท่านจึงได้รีบเดินทางมานมัสการท่านอาจารย์มั่น พอมาถึงบ้านดงมะอี่ มีญาติมาส่งข่าวว่าโยมมารดาและพี่ชายเจ็บหนัก จึงต้องเดินทางกลับ อยู่พยาบาลได้ ๑ เดือน พี่ชายได้ถึงแก่กรรม ต่อมาโยมมารดาก็ได้เสียชีวิตลงอีก จึงได้จัดการฌาปนกิจท่านทั้งสอง

    สำหรับประวัติโยมมารดาของท่านนี้ ท่านเล่าว่าเดิมเป็นหญิงชาวบ้านธรรมดาไม่ได้รับการศึกษา ไม่ได้เข้าโรงเรียนและเป็นคนถือผีไท้ผีฟ้า ตั้งศาลบูชาไว้ในบ้าน ต่อมาท่านตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็กนักเรียนได้หาอุบายให้มารดาเลิกนับถือผี โดยทำลายศาลบูชาผีในบ้านเสียและไม่ยอมให้ตั้งศาลในบ้านอีก และท่านได้หาอุบายหาหนังสือ “หลานสอนปู่” ซึ่งสอนให้คนเลิกถือผี เข้าวัดทำบุญรู้จักบาปบุญคุณโทษมาอ่านให้มารดาฟัง ท่านอาจารย์ในสมัยยังเป็นเด็กชายได้แกล้งอ่านให้ฟังทุกวันๆ มารดาจะไม่ฟังก็แกล้งอ่านเรื่อยไป จนกระทั่งมารดาเกิดความเลื่อมใส เลิกนับถือผี กลับเข้าวัดฟังเทศน์ถือศีล

    เมื่อครั้งโยมมารดาบวชเป็นชีแล้ว ท่านได้อยู่สงเคราะห์อบรมสั่งสอนโยมมารดาตามแนวคำสอนของท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งโยมมารดาก็ได้ตั้งอกตั้งใจนำไปปฏิบัติภาวนา จนกระทั่งสามารถพิจารณากายจนเห็นชัดว่ามันเน่าเปื่อยผุพังลงไป จนในที่สุดโยมมารดาก็อุทานว่า “คุณลูก โยมรู้แล้ว รู้จักทางแล้ว คุณลูกจะไปไหนก็ไปเถอะ อย่าเป็นห่วงโยมเลย มันบ่มีผู้ตายหรอก จิตมันก็ตายไม่เป็นหรอก มันละใสบริสุทธิ์ มีแต่ผู้รู้ ไม่มีผู้ตาย ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ของเรานะ เป็นดิน น้ำ ลม ไฟ นะคุณลูก”

    หลังจากโยมมารดาเจ็บหนัก และท่านได้กลับมาพยาบาลแล้วไม่นาน โยมมารดาได้สิ้นลมด้วยอาการอันสงบที่สุด โดยสามารถบอกกำหนดวันและเวลาที่จะสิ้นลมได้ล่วงหน้าอย่างถูกต้อง

    ในภายหลังเมื่อมีโอกาสจำพรรษากับหลวงปู่ขาว อนาลโย ได้กราบเรียนเรื่องการภาวนาของโยมมารดาถวายให้หลวงปู่ฟัง หลวงปู่ได้พิจารณาอยู่ ๓ วัน แล้วได้เล่าให้ท่านฟังว่า โยมมารดาของท่านไปอยู่สูงแล้ว ไปถึงสุทธาวาสพรหมโลก ได้สำเร็จอนาคามี

    เมื่อเสร็จงานฌาปนกิจศพโยมมารดาและพี่ชายแล้ว ท่านได้รีบเดินทางไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น แต่ไม่ทันเห็นใจ เพราะได้มรณภาพเสียก่อนแล้ว ได้แต่ไปช่วยงานฌาปนกิจศพของท่านพระอาจารย์มั่นอยู่เป็นเวลาเดือนเศษ

    หลังเสร็จงานศพท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว ท่านได้ปรึกษากับท่านพระอาจารย์วัน อุตฺตโม (ท่านเจ้าคุณอุดมสังวรวิสุทธิเถระ-ในภายหลัง) แห่งวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม ปรึกษากันว่าจะไปเที่ยวภาคใต้ที่ภูเก็ตด้วยกัน เพราะขณะนั้นท่านพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี หรือพระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ แห่งวัดหินหมากเป้งในปัจจุบัน จะไปประกาศศาสนาที่นั่น ปรากฏว่าหลวงปู่ขาว อนาลโย แห่งวัดถ้ำกลองเพล ซึ่งไม่เคยได้พบกับท่านมาก่อน ได้เรียกท่านไปพบ และสนทนาไต่ถามว่า เสร็จงานศพแล้วจะไปไหน

    ท่านได้กราบเรียนว่า จะไปภาคใต้กับท่านอาจารย์วัน เพื่อติดตามท่านพระอาจารย์เทสก์ไป หลวงปู่ขาวจึงว่า อย่าไปเลย ให้อยู่กับท่านที่ถ้ำเป็ด ท่านอาจารย์ยืนกรานว่า จะไปปักษ์ใต้กับท่านอาจารย์วัน ผลที่สุด หลวงปู่ขาวจึงเล่าให้ฟังว่า ท่านพระอาจารย์มั่นได้ฝากฝังท่านไว้กับหลวงปู่ขาว ให้ช่วยดูแลรักษาด้วย เมื่อได้ฟังเช่นนั้น ท่านจึงได้รับคำด้วยความเคารพ และได้ติดตามไปอยู่กับหลวงปู่ขาวที่ถ้ำเป็ด อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร



    พรรษาที่ ๘ พ.ศ. ๒๔๙๓
    จำพรรษาที่ถ้ำพวง อ.ส่องดาว จ.สกลนคร


    พอถึงเวลาเข้าพรรษา หลวงปู่ขาวได้ให้ท่านอาจารย์ไปอยู่ที่ถ้ำพวง ซึ่งปัจจุบันคือวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมตอนบน ส่วนหลวงปู่ขาวจำพรรษาอยู่ที่เชิงเขา บริเวณที่เรียกว่าหวายสะนอย ใกล้กับภูเหล็กปัจจุบัน ท่านอาจารย์อยู่บนถ้ำพวงแต่ลำพังองค์เดียว ตั้งแต่เดือน ๑ ถึงเดือน ๗ ตอนเช้าไปบิณฑบาตที่บ้านหนองบัว ห่างจากถ้ำ ๑๓๐ เส้น บางวันก็ฉันอาหารที่ตีนเขาแล้วถึงขึ้นไปถ้ำพวง

    ที่ถ้ำพวงนี้ ท่านพระอาจารย์มั่นเคยเล่าให้ฟังว่า เป็นถ้ำที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เคยมีพระอรหันต์องค์หนึ่งชื่อ พระนรสีห์ มานิพพานที่นี่ ใครเข้ามาใกล้ที่นี่ต้องถอดรองเท้า และแต่ก่อนมีช่องลึกลงไปใต้เขา ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคดม ได้ไปวิเวกและไปพบว่า ข้างล่างนั้นเป็นถ้ำพญานาคอาศัยอยู่ ท่านจึงเอาก้อนหินมาปิดทางช่องนั้นไว้ ขณะนี้เรียบไปหมดไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหนแล้ว ขณะอยู่ที่ถ้ำพวงนี้ จิตสงบ เวลาภาวนาจิตก็รวมดี บางทีจิตรวมถึงคืนละ ๓ ครั้งก็มี

    การภาวนาที่ถ้ำพวงนี้มีปรากฏการแปลกคือ ทุกวันเวลาบ่ายสามโมงท่านอาจารย์ออกเดินจงกรม จะมีกระต่ายน้อยตัวหนึ่งมานั่งนิ่งหลับตาอยู่ข้างทางจงกรม กระต่ายน้อยนี้จะนั่งเช่นนี้ทุกวันน่ารักมาก ทำกิริยาเหมือนมานั่งภาวนาไปด้วย พอท่านเลิกเดินจงกรมเข้าไปนั่งพักในร้านยกแคร่ กระต่ายน้อยก็จะเข้าไปนั่งพักอยู่ใต้ร้านแคร่นี้ด้วย แต่พอได้ยินเสียงคนเดินมาก็จะวิ่งหนีเข้าป่าไปทันที

    ต่อมา มีญาติโยมของสามเณรที่มาอยู่กับท่าน ได้ขึ้นมาส่งอาหารถวายพระทุกวัน ญาติคนหนึ่งเป็นหญิงสาว นอกจากส่งอาหารได้ส่งสายตาให้ท่านด้วยทุกวัน เวลาภาวนาจิตของท่านก็ไม่สงบ เห็นแต่ภาพสายตาหวานของหญิงสาว พอดีมีโยมผู้ชายขึ้นมาคุยว่ามีช้างถูกฆ่าตายอยู่ข้างบนนี้ กำลังเผาศพช้าง ท่านจึงขอเอากระดูกช้างมาท่อนหนึ่ง ร้อยเชือกแขวนคอไว้ตลอดเวลา ทั้งเวลาเดินจงกรม นั่งภาวนา เพราะเกิดอุบายว่า ถ้าควายตัวไหนมันดื้อด้าน ไม่เชื่อฟังเจ้าของ เขาก็จะแขวนไม้ไว้ทรมานมัน บางทีท่านก็บ้วนน้ำหมากไปถูกกระดูกช้างนั้นเป็นสีแดงเหมือนสีเลือด ใครเห็นเข้า ก็คิดว่าท่านคงมีสติวิปลาสไปแล้ว แต่หลวงปู่ขาวทราบเรื่องก็ค้านว่า คงไม่ใช่คนบ้าหรือวิปริตหรอก คงมีเหตุจำเป็นจึงต้องใช้อุบายนี้ ให้คอยดูกันไปก่อน

    ต่อมาเมื่อท่านจิตสงบเป็นปกติดี ไม่มีความรู้สึกในสีกาคนนั้นอีกแล้ว ท่านจึงได้เอากระดูกช้างออก ต่อมาเมื่อได้ไปกราบนมัสการท่านหลวงปู่ขาว หลวงปู่จึงถามว่า ทำไม่จึงเอากระดูกช้างไปแขวนคอ ท่านจึงเล่าเรื่องราวถวาย หลวงปู่ชมเชยมากว่า อุบายดีนัก

    ขณะจำพรรษาที่ถ้ำพวงนี้ ได้เกิดนิมิตว่า ท่านได้นั่งภาวนาในกุฏิหลังเล็กๆ หลังหนึ่ง และกำลังนั่งเพ่งพิจารณากระดูกอยู่ มีเด็กคนหนึ่ง ถือดาบวิ่งเข้ามาจะแทงทำร้ายท่านอาจารย์ แต่ไม่สามารถทำร้ายท่านได้ เด็กนั้นจึงไปบอกพี่ชายให้เข้ามาทำร้ายท่านแทน พี่ชายได้เข้ามาจะฆ่าท่านให้ตาย ท่านอาจารย์จึงถามว่า ท่านมีความผิดอะไร จึงจะมาฆ่าให้ตาย เขาก็ไม่ตอบ ตรงเข้ามาดึงผมท่าน (ในนิมิตอยู่ในเพศฆราวาส) เอาดาบมาเถือคอ หมายจะฟันให้ตาย แต่ทำอย่างไรๆ ก็ฟันไม่เข้า ไม่มีแผลแม้แต่น้อย ท่านจึงบอกว่า ท่านไม่มีความผิด ฆ่าอย่างไรก็ไม่ตาย ท่านยึดถือพระรัตนตรัยฆ่าไม่ตาย เขาจึงวางดาบลง แล้วประกาศว่า ต่อไปนี้ ขอเป็นเพื่อน เป็นมิตรกัน จะไม่อิจฉาพยาบาทกันเลย

    ต่อมามานาน เช้าวันหนึ่ง ท่านออกไปบิณฑบาต มีสุนัขตัวหนึ่งอยู่หน้าถ้ำพวง ได้เข้ามากัดท่านแต่ไม่เข้า อีก ๓ วันต่อมา ชาวบ้านได้มาบอกว่า สุนัขตัวที่กัดท่านครูบาจวนนั้นตายเสียแล้ว

    หลังจากออกพรรษาแล้ว ได้กราบลาหลวงปู่ขาวออกวิเวกไปยังสถานที่ต่างๆ โดยท่านและพรรคพวกอีก ๒ องค์ เดินทางจากอำเภอสว่างแดนดิน ไปอำเภอหนองบัว อำเภอผือ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย แล้วย้อนมาพักวิเวกอยู่กับท่านพระอาจารย์หล้าฯ ซึ่งอยู่วิเวกองค์เดียวบนหลังภูพานหลายปีมาแล้ว โดยอาศัยชาวป่าชาวไร่ ๒–๓ ครอบครัว ท่านเล่าประวัติของท่านพระอาจารย์หล้าว่า เกิดที่เมืองจันทน์ ประเทศลาว มีครอบครัว ต่อมาบุตรภรรยาของท่านเสียชีวิต จึงข้ามมาบวชธรรมยุตในประเทศไทย ได้ติดตามไปอุปฐากท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโลอย่างใกล้ชิดถึง ๙ พรรษา จนท่านพระอาจารย์เสาร์มรณภาพ ขณะท่านพระอาจารย์เสาร์ยังมีชีวิต ได้ให้โอวาทท่านพระอาจารย์หล้าว่า นิสัยของท่านสมควรอยู่องค์เดียว ไม่ควรอยู่ปะปนกับหมู่นะ ต่อไปให้วิเวกภาวนาอยู่องค์เดียว

    ท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านพระอาจารย์หล้าเล่าว่า ตัวท่านไม่เคยเรียนหนังสือไทย เพราะอยู่ประเทศลาว ที่อ่านเขียนภาษาไทยได้ เพราะเวลานั่งภาวนาจิตสงบ จะเห็นหนังสือไทยอยู่บนกระดานทุกวัน จึงได้เรียนภาษาไทยจากการภาวนา จนสามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้คล่องไม่ติดขัด

    ท่านอาจารย์จวนได้อยู่ศึกษาธรรมะและฟังเทศน์ของท่านพระอาจารย์หล้าเป็นเวลา ๑ เดือน ก็กราบลาท่านพระอาจารย์หล้าออกธุดงค์ต่อไป โดยเดินทางผ่านอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ลงเรือล่องแม่น้ำโขงที่อำเภอโพนพิสัย มาขึ้นที่อำเภอบึงกาฬ มากับหมู่พระอีก ๓ องค์ มุ่งหน้าเดินทางมาภูสิงห์และภูวัว เดินทางผ่านไปทางอำเภอเซกา อำเภอบ้านแพง อำเภอท่าบ่อ ศรีสงคราม ขึ้นรถผ่านนครพนม ไปหยุดพักที่อุบลราชธานี แล้วเดินทางต่อไปที่บ้านนาผือ อำเภออำนาจเจริญ เดินทางผ่านภูเขาไปพักวิเวกที่ถ้ำพู บ้านเชียงเครือ พักที่ถ้ำพู ๗ วัน ได้เกิดป่วยหนัก เมื่อหายป่วยแล้ว พากันออกเดินทาง มุ่งหน้าไปบ้านดงมะอี่ กิ่งอำเภอชานุมาน ใกล้จะเข้าพรรษาจึงไปถึงภูสะโกฏ บ้านหนองเม็กนามน


    ๏ พรรษาที่ ๙ พ.ศ. ๒๔๙๔
    ภูสะโกฏ บ้านหนองเม็กนามน


    เมื่อไปถึงภูสะโกฏนี้ ท่านเห็นว่าชัยภูมิดี น้ำท่าบริบูรณ์ ร่มไม้สงบร่มเย็นดี จึงคิดจะจำพรรษาที่นี้ ได้ขอให้ญาติโยมช่วยปรับปรุงเสนาสนะ ญาติโยมได้ปลูกกุฏิให้ ๒ หลัง เพราะมีพระ ๒ องค์เท่านั้น ภูสะโกฏอยู่ห่างจากหมู่บ้านเพียง ๑ กิโลเมตร การบิณฑบาตจึงได้รับความสะดวกดี

    ระหว่างพรรษา ได้ทำความเพียรเต็มความสามารถ จิตรวมเป็นประจำ และมีนิมิตว่า เจ้าภูมิเจ้าฐานมาบอกให้ท่านไปเอาพระพุทธรูปทองคำที่อยู่ในถ้ำสะโกฏ ๗ องค์ คืนแรกที่มาบอก ท่านไม่เชื่อก็ไม่ไป คืนที่ ๒ มาบอกอีกก็ยังไม่ไป คืนที่ ๓ มาบอกซ้ำอีก ท่านจึงถามญาติโยมและพระเณรในวัดบ้านดูว่า แถวนี้มีถ้ำจริงไหม เณรวัดบ้านบอกว่ามีจริง ท่านจึงขอให้เณรพาไป แต่เณรบอกว่า “ได้ครับ แต่ท่านอาจารย์ไปเอาเองนะ ผมไม่เข้าไปด้วย ผมกลัวผี” เมื่อไปถึงถ้ำ เห็นหินก้อนใหญ่ปิดปากถ้ำอยู่ มีเถาวัลย์รากไม้คลุมแน่นหนา ท่านจึงเอาก้อนหินออก เข้าไปภายใน เห็นพระพุทธรูปนอนเรียงกันอยู่ ๗ องค์ เป็นทองคำทั้งสิ้นขนาดนิ้วหัวแม่มือ ท่านจึงนิมนต์ออกมาสักการบูชา พอออกพรรษา ท่านได้ให้ญาติโยมนำพระพุทธรูปไปคืนที่เดิม ไม่ได้เอาติดตัวออกไปด้วย ท่านเล่าว่า ไม่ทราบว่า ปัจจุบันจะยังคงอยู่หรือไม่

    ขณะจำพรรษาที่ภูสะโกฏนี้ เกิดนิมิตว่า เจ้าภูมิเจ้าฐานผีทางเชียงตุงมาเยี่ยมท่านเป็นขบวน และผีเชียงตุงสั่งฝากฝังผีดงมะอี่ว่า ให้ดูแลรักษาพระองค์นี้ให้ดี อย่าราวีอย่าเบียดเบียนพระองค์นี้ ผีดงมะอี่รับคำและว่าจะรักษาคุ้มครองท่านไม่ให้มีอันตรายเลย ท่านเล่าว่า ก็แปลกอยู่ เพราะนับแต่นั้นมา ท่านก็สุขสบายดี ไม่มีเจ็บไข้ได้ป่วยอะไรจนตลอดพรรษา

    ครั้นออกพรรษา ท่านก็ออกเที่ยววิเวกตามวิสัยของพระธุดงค์กัมมัฏฐาน พอไปถึงอำเภอสว่างแดนดิน ได้ข่าวว่าหลวงปู่ขาวมาจำพรรษาที่ถ้ำค้อ ดงหลุบหวาย หลุบเทียน เลยพากันไปกราบนมัสการหลวงปู่ขาว ถ้ำค้ออยู่ไกลจากหมู่บ้าน ๓๐๐ เส้น จึงได้อาศัยชาวบ้านช่วยกันทยอยส่งเสบียงอาหารขึ้นไปให้แม่ชีทำอาหารถวาย ท่านอาจารย์ไปพำนักอยู่กับหลวงปู่ขาวประมาณ ๒ เดือน จึงได้กราบลาหลวงปู่ เพราะอยู่กันหลายองค์ ลำบากเรื่องอาหารขบฉัน อยู่ห่างไกลหมู่บ้าน

    ท่านได้เดินทางไปพร้อมกับท่านพระอาจารย์คำบุ ธมฺมโร ผ่านอำเภอวานรนิวาส มุ่งหน้าไปดงหม้อทอง เมื่อไปถึงได้ไปอาศัยหมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งมี ๓ ครอบครัว เขาเป็นผู้มีศรัทธาดีมาก เขาช่วยกันปลูกกระต๊อบเป็นเสนาสนะให้อยู่องค์ละหลัง

    ดงหม้อทองเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าอุดม ทั้งฝูงช้าง เสือ หมี มีอยู่เป็นประจำ คืนหนึ่งในเดือนมิถุนายน เวลาประมาณตี ๓ ปรากฏมีฝูงช้างออกมาหากินใกล้กับกุฏิพระ เฉพาะตัวจ่าฝูงได้เดินมาหยุดยืนหน้ากระต๊อบ ห่างจากท่านอาจารย์ประมาณ ๖-๗ เมตร ช้างนั้นทั้งสูงและใหญ่ มาหยุดยืนนิ่งแล้วก็ส่งเสียงร้องแปร๋นโกญจนาท ท่านตกใจตื่น เห็นเป็นช้างก็แทบสิ้นสติ เรื่องนี้ท่านชอบเล่าเป็นอุทธาหรณ์ให้ศิษย์สังวรเรื่องสติเสมอ

    ท่านว่าครั้งแรกตั้งสติไม่ทัน เกิดความกลัว ลุกขึ้นจุดโคมไฟมือไม้สั่น ถือออกมาข้างนอกทั้งที่ยังกลัวอยู่ ท่านคิดว่า ถ้าช้างเข้ามาจะกระโดดหนีขึ้นต้นไม้ แต่อีกใจหนึ่งก็คิดว่า เราเป็นพระกัมมัฏฐานจะกลัวช้างไปทำไม ช้างยังไม่กลัวเราเลย เราเป็นพระธุดงค์ เป็นผู้เสียสละในชีวิตแล้ว แล้วยังจะไปกลัวช้างทำไม เราเป็นพระ เป็นมนุษย์ ช้างมันเป็นสัตว์ ช้างยังไม่กลัวเรา แล้วก็คิดถึงคำที่พระพุทธเจ้าท่านสอยไว้ว่า ภิกษุที่เกิดความกลัว ไปอยู่ป่าหรือป่าช้าก็ดี เมื่อเกิดความกลัว ขนพองสยองเกล้า ให้ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เมื่อระลึกถึงเราตถาคตอย่างนี้ ความกลัวนั้นจะหายไป

    พอท่านเตือนสติตัวเอง ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วความกลัวนั้นก็คลายไป และพิจารณาถึงความตายต่อไปว่า กลัวก็ตาย ไม่กลัวก็ตาย อยู่ที่ไหนก็ต้องตาย ความตายไม่มีใครผ่านพ้นไปได้ ไม่ว่าจะตายด้วยอะไร พอพิจารณาถึงความตายอย่างนั้นแล้ว จิตก็ค่อยสงบเป็นลำดับ ไม่มีความกลัวตายเหลืออยู่ในจิต ช้างก็ไม่กลัว ความตายก็ไม่กลัว จิตสงบเยือกเย็น เป็นจิตที่กล้าหาญ ไม่สะทกสะท้าน จึงกลับเพ่งจิตที่สงบไปพิจารณาดูช้างว่า มันคิดอะไร กระแสจิตที่สงบแล้วขณะนั้นคงจะรุนแรงมาก ช้างจึงตกใจร้องแปร๋นก้องไปทั้งป่า แล้ววิ่งหนีเข้าป่าไป ตั้งแต่วันนั้นมา ไม่เห็นฝูงช้างหรือช้างตัวใดเข้ามาที่บริเวณนั้นอีกเลย


    เมื่อใกล้จะเข้าพรรษา ท่านอาจารย์คำบุ ก็ลาท่านอาจารย์กลับไปจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ขาว อนาลโย คงเหลือท่านอาจารย์อยู่จำพรรษาที่ดอนสะพุง ชายป่าดงหม้อทองนั้นต่อไปองค์เดียว
    พรรษาที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๔๙๕
    ดอนกระพุง ชายป่าดงหม้อทอง อ.วานรนิวาส

    พรรษาที่ ๑๐ นี้ ท่านอยู่จำพรรษาองค์เดียว ที่ดงหม้อทอง อาศัยชาวบ้าน ๓ ครอบครัวบิณฑบาตเลี้ยงชีวิต พวกเขาเป็นคนจนแต่มีศรัทธามาก มีความอดทนแม้จะต้องหาเช้ากินค่ำ

    ที่บริเวณนั้น เขาถือกันว่าเป็นที่ไม่ดี มีผีมาก เป็นทุ่งร้างอยู่ห่างจากแม่น้ำ ปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น เป็นที่แห้งแล้ง เขาเรียกว่าทุ่งหนองอีดอนและทุ่งโซ่ง เพราะเคยเป็นที่อยู่ของคนโซ่ง คนป่ามาก่อน แต่เกิดเจ็บป่วยล้มตายมาก ต้องอพยพหนีไป

    เมื่อท่านอาจารย์บอกชาวบ้านว่าจะจำพรรษาอยู่ที่นี่ ชาวบ้านตกใจมาก บอกว่าอยู่ไม่ได้ เพราะผีดุ ผีอาจจะแกล้งให้เจ็บป่วยถึงตายได้ ที่ร้างไปก็เพราะเหตุนี้ พวกเขาตั้งบ้านเรือนกันอยู่ก็แต่บริเวณรอบนอกหรอก ท่านก็ไม่ฟังเสียง คงอยู่จำพรรษา ณ ที่นั้น

    พอถึงกลางพรรษา เกิดนิมิตว่า พวกผีโซ่งพากันถืออาวุธจะเข้ามาฆ่าท่านให้ตาย เอาปืนมายิงก็ไม่เข้า เอาดาบมาฟันก็ไม่เข้า เอาอะไรมาทำอันตรายก็ไม่ตาย สุดความสามารถของพวกเขา หัวหน้าผีเลยประกาศกับบริวารผีว่า เมื่อทำอะไรท่านไม่ได้ ก็ต้องยอมท่านเสีย เลยพากันแต่งดอกไม้ธูปเทียนมาบูชาท่านอาจารย์ แม้จะเป็นนิมิต แต่ก็ประหลาดที่ต่อมา ไม่มีการเจ็บไข้กัน มีคนหลั่งไหลเข้ามาจับจองที่ว่างเหล่านั้น ตั้งบ้านเรือนและทำไร่กลายเป็นไร่นาที่อุดมสมบูรณ์ สามารถปลูกบ้านเรือน ปลูกข้าวทำนาได้ผลดี

    หลังออกพรรษา ท่านอาจารย์ได้ปรารภกับญาติโยมแถวนั้นว่า อยากจะไปอยู่ที่ในดงหม้อทอง เพราะบริเวณนั้นสงบสงัดและได้ข่าวว่ามีถ้ำใหญ่ๆ อยู่มาก มีพลาญหินสวยงาม ท่านจึงขอให้ญาติโยมช่วยพาไปดูสถานที่

    ท่านได้ออกเดินทางไปกับญาติโยม ในตอนเช้าหลังจากฉันอาหารเสร็จ เดินทางตลอดวัน จนค่ำจึงถึงถ้ำที่ตั้งใจจะไป ท่านตรวจดูเห็นว่าชัยภูมิน่าอยู่มาก จึงขอให้ญาติโยมช่วยถางหญ้าและเถาวัลย์ที่ขึ้นปกคลุมอยู่และพักนอนที่นั่น ตอนกลางคืนได้ยินเสียงสัตว์ป่ามาร้องระงม และคืนนั้นมีเสียงเสือมาร้องคราง คำรามอยู่ใกล้ๆ

    เดือนแรกที่ดงหม้อทอง มีญาติโยมตามไปอยู่ด้วย เขาอยากจะตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ในดงหม้อทอง ท่านจึงช่วยเขาเลือกสถานที่ปลูกบ้านเรือน เขาก็บอกกันต่อๆ ไปว่า ท่านอาจารย์ “เจาะดง” เข้าไปอยู่แล้ว คงไม่มีอาเพศใดอีก ชาวบ้านจากถิ่นต่างๆ ก็ทยอยมาตั้งถิ่นฐานบ้านช่อง เพราะเห็นว่า ดงหม้อทองเป็นที่อุดมสมบูรณ์ ที่ทำเลทำมาหากินสะดวก แต่เดิมที่กลางดงนั้นไม่มีหมู่บ้าน ท่านก็ช่วยตั้งหมู่บ้านให้เรียกว่า “บ้านดงหม้อทอง” ต่อมาภายหลัง บ้านเรือนก็เป็นปึกแผ่นแน่นหนามากขึ้นแล้ว แต่ละคนก็มีไร่นาสาโท มีโรงสี โรงเรือน ไม่ยากจนข้นแค้นกันอีกต่อไป


    ๏ พรรษาที่ ๑๑-๑๓ พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๔๙๘
    ดงหม้อทอง อ.วานรนิวาส


    ตั้งแต่พรรษาที่ ๑๑ ถึงพรรษาที่ ๑๓ ท่านอาจารย์จำพรรษาที่ดงหม้อทองโดยตลอดเพราะเป็นที่สงบสงัดดี สภาพของป่าดงดิบหนาทึบ เต็มไปด้วยไม้ใหญ่ มีถ้ำ เงื้อมหินผาและพลายหิน พร้อมทั้งสัตว์ป่าอันดุร้าย เหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องช่วยในการภาวนาทั้งสิ้น

    พรรษาที่ ๑๑ มีพระ ๒ องค์ เณร ๑ องค์ จำพรรษาอยู่ด้วย ท่านได้ชักชวนญาติโยมช่วยกันตัดถนนจากดงหม้อทอง ออกมาบ้านมายบ้านคู่ โดยใช้เวลา ๓ เดือน พอออกพรรษา หลวงปู่ขาว อนาลโย ให้คนมาส่งข่าวว่า ให้ไปรับหลวงปู่ออกมาวิเวกด้วย พอดีท่านอาจารย์สอน อุตฺตรปญฺโญ ธุดงค์มาถึงจึงชวนให้อยู่เป็นเพื่อน ช่วยกันเตรียมเสนาสนะสำหรับหลวงปู่และพระที่ติดตามท่านมา

    หลวงปู่ขาวออกมาวิเวก ท่านพอใจความสงัดเงียบ เงื้อมถ้ำและพลายหินที่ดงหม้อทองมาก จึงอยู่ต่อไปจนเข้าพรรษา

    พรรษาที่ ๑๒ หลวงปู่ขาว พร้อมด้วยพระติดตามมาอีก ๗–๘ องค์ ผ้าขาว ๒ คน แม่ชี ๔–๕ คน ได้อธิษฐานพรรษาอยู่ที่ดงหม้อทองด้วยกันหมด ต่างองค์ต่างปรารภความเพียรอย่างเต็มความสามารถ และได้ฟังเทศน์จากหลวงปู่ ในพรรษานี้ บางวันกลางวันท่านนั่งอยู่บนกุฏิก้อนหิน เห็นฝูงช้างมากินน้ำที่หนองน้ำโคนก้อนหินในบริเวณวัด แต่ไม่ได้ทำอันตรายใดๆ และบางคืนมีเสือมาหยอกเล่นกัดกันขณะพระสวดปาฏิโมกข์ก็มี

    พอออกพรรษา ท่านอาจารย์ได้ออกเดินวิเวกมาทางภูวัว ส่วนหลวงปู่ขาวได้เดินทางกลับไปอยู่วัดแก้ว บ้านชุมพล

    พรรษาที่ ๑๓ จำพรรษาที่ดงหม้อทอง มีหลวงปู่คำอ้าย ซึ่งเคยเป็นลูกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น มาจำพรรษาอยู่ด้วย ในพรรษานี้ คืนหนึ่งท่านได้นิมิตว่า มีภิกษุณีซึ่งเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งเข้ามาหาและก้มกราบท่านอาจารย์ และได้เทศน์ให้ท่านฟังอีกด้วย โอวาทที่ภิกษุณีเทศน์ให้ฟังนั้น มีอรรถรสดื่มด่ำ น่าฟังอย่างยิ่ง

    พอออกพรรษาได้ร่ำรากันไปหาที่วิเวก ท่านอาจารย์ได้เดินทางไปภูวัว ขณะนั้นหลวงปู่ขาวจำพรรษาอยู่ที่บ้านเลื่อม เมื่อออกพรรษาหลวงปู่ได้ให้คนมาส่งข่าว ขอให้ท่านอาจารย์ไปรับหลวงปู่เพื่อจะไปจำพรรษาที่ภูวัวด้วยกัน ท่านอาจารย์จึงไปรับหลวงปู่ไปจำพรรษาที่ภูวัว


    ๏ พรรษาที่ ๑๔ พ.ศ. ๒๔๙๙
    ถ้ำแก้ว ตาดปอ บ้านทุ่งทรายจก ภูวัว


    ที่ภูวัวนี้ เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน บนหลังเขาเป็นที่ราบ บริเวณกว้าง มีโขดหิน น้ำตก แอ่งน้ำสวยงามมาก และเคยเป็นที่ครูบาอาจารย์เคยมาวิเวกทำความเพียรกันมาแล้ว เช่น พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร ท่านพระครูอุดมธรรมคุณ (ทองสุข สุจิตโต) เป็นอาทิ ในพรรษานี้ มีพระเณรรวมกัน ๑๔ องค์ สมัยนั้น ภูวัวยังมีสัตว์ป่านานาชนิด บางวันมี ช้าง หมี เสือ เข้ามาในเขตวัดจำนวนมาก และบนตาดปอยังมีพวกภูตผีปีศาจมารบกวนพระเณรอยู่เสมอ มีพระเณรเจ็บป่วยกันมาก หลวงปู่ขาวจึงให้ท่านนำเรื่องนี้ไปพิจารณา

    ท่านพิจารณาแล้ว จึงได้กราบเรียนหลวงปู่ว่า “เยสนฺตา” แปลว่า ผู้สงบ ไม่เดือดร้อน ไม่มีความทุกข์ใดๆ จะเกิดแก่ผู้สงบ หลวงปู่จึงเห็นว่า จริง ถูกทีเดียว และยังได้กล่าวต่อไปว่า “นตฺถิ สนฺติ ปรํสุขํ” ความสุขใดยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี ผู้มีความสงบแล้ว ไม่มีความทุกข์ ความเดือดร้อนอะไร ท่านจึงกำชับให้ทุกคนเร่งทำความสงบ และภายหลังการเจ็บไข้ได้ป่วยของพระเณรก็หมดไป

    ในระหว่างพรรษา ท่านอาจารย์ได้เกิดเป็นโรคฝีหัวดำ ที่นิ้วหัวแม่มือ เป็นฝีที่ร้ายแรงและเจ็บปวดมาก ตัวร้อนเป็นไข้สูง ท่านไม่ได้นอนมาตลอด ๓ วัน ๓ คืน เพราะปวดตลอดเวลา พอนั่งภาวนา จิตกำลังจะสงบ ได้มีนิมิตว่า มีโยมแก่คนหนึ่ง มาเป่าที่ฝีหัวแม่มือนั้น และบอกว่า พรุ่งนี้จะเอายามาใส่ให้ พอรุ่งเช้า มีโยมคนหนึ่ง เป็นหมอผีประจำหมู่บ้าน ขึ้นมาถวายจังหันพระ มาเห็นฝีหัวแม่มือของท่าน ก็ได้เข้าป่า ไปหายามาฝนใส่ให้ท่าน หลังจากนั้นก็หายขาด

    ในระหว่างพรรษาได้เกิดนิมิตสำคัญ ๒ คราว คราวแรก นิมิตว่า มีแม่ชี ๓ องค์ ซึ่งเป็นพรหมมาบอกชาติกำเนิดที่ท่านเกี่ยวพันกับท่านพระอาจารย์มั่นในชาติก่อนๆ อีกคราวหนึ่ง ปรากฏขึ้นว่า ท่านกำลังเดินทาง พอออกมาพ้นหมู่บ้าน ก็ถึงแม่น้ำกว้างสายหนึ่งขวางหน้าอยู่ ท่านตั้งใจจะข้ามไปฝั่งตรงข้าม พิจารณาดูเห็นแม่น้ำนั้นกว้างมาก ไหลเชี่ยว และท่าทางคงจะลึกมาก ฝั่งแม่น้ำลาดเหมือนฝั่งทะเล ค่อยๆ เทลงและชันเข้าที่ฝั่งเป็นโคลนตมเละ ท่านคิดว่า ถ้าลงไปที่นั่นคงจะจมโคลนมิดตัวเลย ท่านมองเห็นรอยเท้าคนที่เพิ่งเดินข้ามไปใหม่ๆ ท่านคิดจะเดินข้ามบ้าง เลยนึกอธิษฐานขึ้นว่า “เออ....นี่ถ้าเราจะข้ามน้ำไปถึงฝั่งโน้นได้ ขอให้เราเดินข้ามโคลนตมนี้ไปให้ได้ อย่าให้จมลงเลย อย่างลึกมากที่สุด ก็ให้จมลงในโคลนตมนี้เพียงแค่เข่าเท่านั้น ถ้าเราจะข้ามแม่น้ำนี้ให้ได้”

    อธิษฐานแล้ว ท่านก็เริ่มค่อยๆ เดินไป ปรากฏว่า โคลนค่อยๆ ลึกขึ้นทีละน้อย แต่ก็สูงเพียงแค่เข่าพอดี ก็พ้นจากโคลนตม และมีสะพานข้ามน้ำถึงฝั่งโน้น ท่านจึงขึ้นเดินบนสะพาน และได้ข้ามแม่น้ำถึงฝั่งตรงข้ามได้ พอขึ้นฝั่งได้แล้ว ก็เห็นม้าสีขาวบริสุทธิ์ รูปร่างสูงใหญ่ สวยงามมาก กำลังยืนกินหญ้าอยู่ ท่านคิดจะเข้าไปขี่ม้า พอดีมีคนมาบอกว่า พระพุทธเจ้ากำลังเสด็จไป ให้รีบตาม ท่านจึงไม่สนใจม้า รีบออกเดินทางตามรอยพระพุทธเจ้าไปทันที แล้วจิตก็ถอนจากนิมิต

    ออกพรรษา พวกญาติโยมได้มานิมนต์หลวงปู่ขาว ให้กลับวัดป่าแก้วบ้านชุมพล ส่วนท่านอาจารย์ได้รับนิมนต์ ให้ไปช่วยงานฌาปนกิจศพท่านอาจารย์อ่อนศรี ที่เวียงจันทน์ เมื่อเสร็จงานศพแล้ว ท่านได้เดินทางกลับมาวิเวกที่ภูวัว และได้กลับไปจำพรรษาที่ดงหม้อทองเช่นเดิม
    พรรษาที่ ๑๕-๑๖ พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๐๑
    ดงหม้อทอง


    พรรษาที่ ๑๕ กลับมาจำพรรษาที่ดงหม้อทอง ร่วมกับท่านพระอาจารย์สอน อุตฺตรปญฺโญ ได้พากันตั้งอธิษฐานไม่นอนอยู่ ๒ เดือน ทำความเพียรกันอย่างเด็ดเดี่ยว ภาวนาจิตสงบดี ในพรรษานั้นท่านเกิดอาพาธหนัก เป็นไข้ป่า เอาหมอมาฉีดยารักษา ก็ไม่ถูกโรคกัน ทำให้อาเจียนขนานใหญ่ หมดแรงแทบประดาตาย เกิดธาตุวิปริต ตามืด ตามัว เวียนศีรษะ พูดจาไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ภาษา เป็นอยู่ ๙ วันจึงสงบ ท่านมีวิธีรักษาโรคของท่าน โดยเอาปี๊บมา ๒ ใบ ตั้งอยู่บนพลาญหิน ใช้กระดานปู ๒ แผ่น วางบนปากปี๊บ

    ท่านได้นั่งพิจารณาความตายบนกระดานนั้น ท่านอาจารย์สอนและพระเณร ได้คอยผลัดเวรกันมาเฝ้าด้วยความเป็นห่วงอยู่หลายคืน จนโรคของท่านหายขาด ออกพรรษาท่านได้กลับไปนมัสการหลวงปู่ขาว ฟังเทศน์และรับการอบรมธรรมจากท่านตามเคย

    พรรษาที่ ๑๖ ท่านได้ชวนท่านอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต (เจ้าอาวาสวัดถ้ำกลองเพลปัจจุบัน) มาจำพรรษาที่ดงหม้อทองอีก พรรษานี้มีพระเณรจำพรรษา ๔ องค์ สัตว์ป่าก็ชักจะคุ้นเคยกัน ไม่เป็นข้าศึกแก่กัน พากันทำความพากความเพียรเต็มความสามารถของตน

    ครั้นออกพรรษา ท่านได้ออกวิเวกไปทางดงศรีชมภู เขตอำเภอโพนพิสัย พบสถานที่แห่งหนึ่งมีลักษณะคล้ายๆ ซากเมืองเก่า และบริเวณแห่งนี้เต็มไปด้วยต้นจันทน์นานาพันธุ์ ท่านจึงขอให้ญาติโยมช่วยยกแคร่ ปลูกเป็นร้านเล็กๆ ที่ถ้ำจันทน์นี้อยู่ห่างจากบ้านคนมาก ที่ใกล้ที่สุด คือ บ้านพวกข่า ๒ หลังคาเรือน ซึ่งไกลไปประมาณ ๑๐๐ เส้น ทางไปบิณฑบาตต้องเดินไปทางช้างเดิน กว่าจะถึงทางเกวียนก็ต้องเดินอีก ๒๐ เส้น พอพวกญาติโยมกลับไปแล้ว ท่านก็อยู่องค์เดียว กลางคืนได้ยินเสียงเสือมาร้องใกล้ๆ บางคืนก็ได้ยินเสียงเหมือนคนพูดคุยอยู่ตามพลาญหินก็มี บางวันได้ยินเสียงเหมือนคนสวดมนต์ไหว้พระทำวัตร ที่ถ้ำจันทน์มีวัตถุโบราณ เช่น พระโบราณฝังอยู่ใต้ดิน เมื่อไปขุดดู ได้เศียรพระ แขนพระ องค์พระ แต่ก่อนถ้ำจันทน์เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่ามากมาย

    ระยะแรกมาปักกลด ได้อาศัยบิณฑบาตจากพวกข่า ๒ ครอบครัวนั้นประทังเลี้ยงชีวิตตลอดมา


    ๏ พรรษาที่ ๑๗ พ.ศ. ๒๕๐๒
    ถ้ำจันทน์ ดงศรีชมภู อ.โพนพิสัย


    ที่ถ้ำจันทน์ ท่านจำพรรษาอยู่องค์เดียว ถ้ำจันทน์เป็นสถานที่ซึ่งสัปปายะในการภาวนาเป็นอย่างยิ่ง จิตรวมดี ค้นคิดดี ค้นในร่างกายของเราอย่างไม่ลดละ สามารถบำเพ็ญเพียรภาวนาได้อย่างเต็มที่

    หลังออกพรรษาแล้ว ในระหว่างฤดูแล้ง ท่านเกิดอาพาธหนัก เป็นไข้ป่า ไม่มียารักษา ปล่อยให้ธาตุขันธ์มันรักษาตัวเองไปตาธรรมชาติ เป็นอยู่เช่นนี้ถึง ๑ เดือน ระหว่างที่เป็นไข้อยู่นั้น วันหนึ่งขณะจะเคลิ้มหลับ ได้นิมิตภาพว่า โยมบิดาซึ่งสิ้นชีวิตไปแล้ว ตั้งแต่ท่านอาจารย์อายุ ๑๖ ปี โยมบิดาเป็นหมอพื้นบ้าน ได้เข้ามาหาและได้ฝนยามาถวายให้ท่านดื่ม กลิ่นของยาหอมน่าดื่มจริงๆ พอฉันเสร็จก็รู้สึกตัวตื่นขึ้น มีความรู้สึกเหมือนได้ฉันยาจริงๆ ต่อมาอาการเจ็บป่วยก็หายสนิท ร่างกายมีกำลัง ฉันอาหารได้ตามปกติ และตั้งแต่นั้นมา อาการเจ็บป่วยแบบนั้นก็ไม่เกิดขึ้นอีกเลย


    ๏ พรรษาที่ ๑๘-๒๐ พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๐๕
    ถ้ำจันทน์ ดงศรีชมภู อ.โพนพิสัย


    ก่อนเข้าพรรษา มีเณรองค์หนึ่ง พ่อขาวเฒ่าคนหนึ่ง และแม่ชีแก่คนหนึ่งมาอยู่ด้วย ก่อนเข้าพรรษา ๗ วัน โยมอุปฐาก ๒ ครอบครัวนั้นได้มานิมนต์ท่านไม่ให้อยู่จำพรรษาที่ถ้ำจันทน์ เพราะพวกเขาจน กลัวจะเลี้ยงพระเณรไม่ไหว จึงนิมนต์ให้ไปจำพรรษาที่อื่น ท่านจึงได้แจ้งเรื่องนี้ให้เณรผ้าขาวและแม่ชีทราบ ทั้งเณร ผ้าขาว และแม่ชี ก็ว่าจะไปอยู่จำพรรษาที่ดงหม้อทอง ท่านจึงว่าดีแล้ว พากันไปเสีย แต่สำหรับท่านไม่ไป เพราะตั้งใจจะจำพรรษาที่ถ้ำจันทน์นี้ เมื่อเห็นท่านอาจารย์ไม่ยอมไป พวกเณร ผ้าขาวและแม่ชีจึงตกลงไม่ไป จะอยู่กับท่าน รุ่งขึ้นโยมอุปฐากทั้ง ๒ ครอบครัวได้มาหา ร้องไห้ด้วยความเสียใจ และขอนิมนต์ให้ท่านอาจารย์อยู่จำพรรษาที่ถ้ำจันทน์ต่อไป ท่านจึงได้อนุโมทนาในศรัทธาของเขา และปลอบใจเขาว่า ทุกอย่างก็คงจะเป็นไปด้วยดีเอง ไม่ต้องกังวล

    ต่อมาข่าวที่ว่ามีพระมาอดข้าวอดน้ำที่ถ้ำจันทน์ ชาวบ้านนิมนต์ให้ไปจำพรรษาที่อื่นก็ไม่ยอมไป ข่าวนี้ได้แพร่ไปถึงชาวบ้านรอบๆ นอกด้วย พวกชาวบ้านไกลๆ รอบนอก จึงช่วยกันส่งอาหารมาให้ แม้การเดินทางติดต่อจะลำบาก ก็ได้เพียรพยายามมาส่งเสบียงอาหารให้ทุก ๗ วัน นับว่ามีศรัทธาอันแรงกล้า ในพรรษานั้น แทนที่จะอดอยาก กลับได้รับความสะดวกสบาย อาหารการขบฉันก็อุดมสมบูรณ์ คงจะเป็นอานิสงส์ร่วมด้วย เพราะได้ข่าวว่าถ้ำจันทน์นี้ภาวนาดีนัก

    เมื่อออกพรรษาแล้ว พวกเณร ผ้าขาว และแม่ชีได้พากันเดินทางกลับหมด เหลือท่านอยู่องค์เดียว ต่อมามีหลวงปู่องค์หนึ่งได้มาอยู่ร่วมด้วย เพราะได้ข่าวว่าถ้ำจันทน์นี่ภาวนาดีนัก

    ระหว่างอยู่รวมกับหลวงปู่นี้ ตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึงเดือนกรกฎาคม นั้น ได้สนทนาปฏิบัติธรรมร่วมกัน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน หลวงปู่ได้เล่าประวัติการปฏิบัติภาวนาให้ฟังว่า ในสมัยที่ยังจำพรรษาที่วัดของท่านที่อุดรธานี ได้เข้านิโรธสมาบัติกำหนด ๓ วันบ้างจึงออกจากการภาวนา ท่านฟังแล้วก็ทราบว่า เป็นการเข้าใจผิด เพราะเรื่องทำนองนี้ ท่านพระอาจารย์มั่นเคยสอนอยู่ และยกตัวอย่างมาให้ฟังมากมายว่า นิโรธน้อม นิโรธสมมติ มิใช่แนวทางของพระอริยเจ้า ซึ่งต้องพิจารณาทุกข์ ท่านอาจารย์จึงได้ใช้อุบาย นำโอวาทซึ่งท่านอาจารย์มั่นเคยเล่าให้ฟัง มาเล่าให้หลวงปู่ฟัง พอใกล้จะเข้าพรรษา หลวงปู่ได้ลากลับไปจำพรรษาที่สำนักเดิมของท่าน ต่อมาภายหลังพระลูกศิษย์ของหลวงปู่ได้กลับมาเล่าให้ท่านอาจารย์ฟังว่า หลวงปู่ได้ชมว่า สมัยอยู่ถ้ำจันทน์นั้นดีนัก ถ้าไม่ได้ท่านจวนอยู่ร่วมด้วยจะเสียเลย และท่านชมเชยในธรรมสากัจฉา ซึ่งกันและกัน หลวงปู่องค์นั้นว่า ท่านหายสงสัยในธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว

    ระหว่างที่จำพรรษาอยู่ที่ถ้ำจันทน์ ได้มีผู้เข้าใจผิดคิดว่า ท่านเป็นหัวหน้าคอมมิวนิสต์ เป็นพระก่อการร้าย อยู่มาวันหนึ่ง ได้มีบุคคลคนหนึ่งซึ่งเคยได้รับคำสั่งให้ติดตามฆ่าท่าน ต่อมาได้กลับใจ เล่าให้ท่านฟัง

    ท่านอาจารย์ถามว่า “จะฆ่าเพราะอะไร”

    เขาตอบว่า “เพราะได้ข่าวว่าท่านเป็นหัวหน้าคอมมิวนิสต์”

    ท่านจึงถามว่า “คอมมิวนิสต์เป็นอย่างไร”

    เขาตอบว่า คอมมิวนิสต์เป็นพวกไม่มีศาสนา ไม่ให้คนมีทุกข์ ไม่ให้มีคนมี ให้มีเสมอกัน ไม่ให้มีสมบัติเป็นกรรมสิทธิ์ ให้มีแต่ของส่วนกลาง

    ท่านถามต่อไปว่า “เขานุ่งห่มอย่างไร กินอย่างไร มีลูกมีเมียไหม”

    เขาตอบว่า “ใส่เสื้อ นุ่งกางเกง เหมือนชาวบ้าน กินอาหารธรรมดา ลูกเมียก็มีครับ”

    ท่านถามว่า “เขากินอาหารวันหนึ่งกี่มื้อ เขามีโกนหัวไหม”

    เขาตอบว่า “เขากินอาหารวันหนึ่ง ๓ มื้อ ไม่มีโกนหัวครับ”

    ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า ในเมื่อท่าน ลูกเมียไม่มี กินข้าวหนเดียว โกนศีรษะโล้น ห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ไม่มีศาสตราวุธ จะหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ได้อย่างไร คอมมิวนิสต์ไม่มีศาสนา แต่ท่านบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าสงสัยว่า พระธุดงคกัมมัฏฐานผู้ปฏิบัติอยู่ตามป่าตามเขาเป็นคอมมิวนิสต์แล้ว จะหาพระที่ไหนในเมืองไทย จะเอาพระที่กินข้าวเย็น มีลูกมีเมียหรือ จึงจะถือว่าเป็นพระที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ ท่านได้อธิบายชี้แจงและสั่งสอนอบรม จนเจ้าหน้าที่เหล่านั้นเข้าใจและหายสงสัย

    ท่านจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำจันทน์ถึง ๓ พรรษา ถ้านับจำนวนปีก็เป็นเวลาถึง ๔ ปี ได้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของถ้ำจันทน์มาก ระยะหลังมีชาวบ้านอพยพเข้าไปตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะเห็นว่าที่ถ้ำจันทน์มีทำเลเป็นทีทำมาหากินสะดวกดี เหมาะสำหรับทำการเพาะปลูก น้ำดี ดินดี อาหารการบิณฑบาตก็ได้รับความสะดวก เมื่อท่านเห็นว่า มีผู้คนอพยพมาอาศัยอยู่มาก ทำให้ไม่ค่อยสงบ รบกวนต่อการทำสมาธิภาวนา จึงคิดจะโยกย้ายไปหาที่สงัดวิเวกทำความเพียรต่อไป

    ชาวบ้านพอรู้ก็ไม่ยอม ร้องไห้อาลัย และกลัวไปว่า ถ้าท่านไม่อยู่ต่อไป การเพราะปลูกจะไม่ได้ผล ท่านจึงต้องชี้แจงให้เขาเข้าใจถึงความจำเป็นของพระธุดงคกัมมัฏฐานที่ต้องการความสงบเงียบเป็นที่ทำความเพียร ส่วนที่ชาวบ้านกลัวจะเพาะปลูกไม่ได้ผล ฝนฟ้าไม่ตกตามฤดูกาลนั้น ท่านก็ขอให้ผู้ที่คงอยู่ช่วยกันตักเตือนซึ่งกันและกัน ให้ยึดมั่นอยู่ในไตรสรณาคมน์ ต่อพระพุทธคุณ พระธรรม พระสงฆ์ อย่าฆ่าสัตว์ตัดชีวิต อย่าลักขโมยกัน อย่าประพฤติผิดลูกเมียเขา อย่าพูดเท็จ อย่าดื่มเครื่องดองของเมา ถ้าชาวบ้านช่วยกันระมัดระวังให้มีศีลเป็นปกติวิสัยแล้ว ก็จะพากันมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข

    ๏ พรรษาที่ ๒๑ พ.ศ. ๒๕๐๖
    ภูสิงห์น้อย (ภูกิ่ว)


    เมื่อออกจากถ้ำจันทน์ แล้วท่านก็มุ่งหน้ามายังภูสิงห์ ในเขตอำเภอบึงกาฬ ขอให้ญาติโยมพาไปตรวจดูสถานที่ เป็นเขาย่อมๆ อยู่ระหว่างภูสิงห์ใหญ่และภูทอกใหญ่ เรียกกันว่าภูสิงห์น้อย หรือภูกิ่วตามลักษณะคอดกิ่วของเขา

    เมื่อแรกมาอยู่นั้น ภูสิงห์น้อยยังเป็นป่าเขารกชัฏ แต่มีถ้ำเงื้อมหินอันสงัด มีน้ำซับตามธรรมชาติ พากันปลูกเสนาสนะย่อมๆ อยู่ชั่วคราว โดยอาศัยญาติโยมจากบ้านนาสะแบงบ้าง บ้านนาคำภูบ้าง มายกกระต๊อบอยู่ปลูกเสนาสนะเป็นหย่อมๆ ท่านเล่าว่าที่ภูสิงห์น้อย การทำความเพียรดีมาก การบิณฑบาตก็ไม่ลำบากและไม่ขาดแคลน แต่ก็ไม่ใช่ร่ำรวย พอเยียวนาชีวิตไปได้วันหนึ่งๆ เท่านั้น

    ในพรรษานี้มีพระด้วยกัน ๒ องค์ คือองค์ท่าน และท่านพระอาจารย์สอน อุตตรปัญโญ มีเณร ๑ องค์ ผ้าขาวเฒ่า ๑ คน ไปบิณฑบาตที่บ้านคำภู ระยะทางจากเชิงเขาถึงหมู่บ้านประมาณ ๓ กิโลเมตร ต่างองค์ต่างแยกกันอยู่ ขะมักเขม้นพากันปรารภความเพียรอย่างยิ่งยวด ตลอดพรรษา

    วันหนึ่ง ขณะท่านเดินจงกรมอยู่ โดยกำหนดจิตภาวนาบริกรรมไปโดยตลอด ขณะนั้นเป็นเวลาใกล้จะมืดแล้ว รู้สึกได้กลิ่นเหม็นชอบกลอยู่ ท่านจึงตั้งจิตถาม จิตตอบว่าเป็นกลิ่นเปรต ท่านได้อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้เขา กลิ่นนั้นก็หายไป

    รุ่งเช้า เมื่อพบปะพูดคุยกัน ก็ได้ทราบว่า ท่านอาจารย์สอนก็ได้กลิ่นเหม็นเหมือนกัน คืนนั้นท่านอาจารย์ก็ได้นิมิตประหลาด เห็นเปรต ๒ คน เป็นผู้หญิงนุ่งแต่ผ้า ไม่ใส่เสื้อ เปลือยตลอด ผมยาว ผิวดำคล้ำเศร้าหมอง ท่านได้สอบถามดู ได้ความว่า ทั้ง ๒ เป็นเปรตอยู่ที่ภูสิงห์นี้นานแล้ว เพราะเมื่อครั้งเป็นมนุษย์เป็นพี่น้องท้องเดียวกัน ผู้พี่ชื่อนางสาวทา ผู้น้องชื่อนางสาวสี ได้เอาตัวไหมตัวหม่อน ซึ่งมีฝักรังไหมอยู่ข้างใน โดยมีตัวอ่อนอยู่ข้างใน เอามาต้มในน้ำร้อน เพื่อสาวเอาใยไหมมาทอผ้า ด้วยบุพกรรมอันนั้น พอตายจากมนุษย์ จึงกลายเป็นเปรต ดังนี้

    ครั้งหนึ่ง ระหว่างนั่งทำสมาธิอยู่ที่ถ้ำแห่งหนึ่ง ได้ยินเสียงปืนดังขึ้น ๒ นัด ไม่นานก็เห็นกวาง ๒ ตัว วิ่งกระหืดกระหอบเข้ามายืนทำตาละห้อยอยู่ข้างล่าง คล้ายจะมาขอฝากตัวหลบภัย ต่อจากนั้นไม่นาน ก็ได้ยินเสียงปืนระเบิดดังสนั่น และได้ยินเสียงร้องครวญครางขอความช่วยเหลือ ท่านจึงลุกไปดู เห็นชายคนหนึ่งถูกปืนนอนร้องอยู่ มีเพื่อนช่วยประคองอยู่ข้างๆ ถามได้ความว่า พวกเขาเข้ามาล่าสัตว์ ในเขตวัด เห็นกวาง ๒ ตัวผัวเมีย ก็เอาปืนยิง แต่พลาด เขาไล่ตามมา เห็นกวางหยุดยืนตรงหน้าถ้ำ จึงยกปืนยิงอีก แต่ยิงไม่ออกถึง ๒ ครั้ง ครั้งที่ ๓ ยิงได้ แต่ปืนแตก สะท้อนมาถูกผู้ยิงเอง ตามมือและเนื้อตัวเหวอะหวะหมด เลือดไหลโกรกอย่างน่ากลัว

    ท่านจึงช่วยเพ่งให้เลือดหยุด และตักเตือนให้เขานึกถึงบาปบุญคุณโทษในการตั้งใจทำลายชีวิตผู้อื่น โดยเฉพาะในเขตวัดและท่านให้เขาปฏิญาณรับศีล ๕ แล้วก็ให้กลับบ้านไป เขาก็เล่าลือกันต่อๆ ไป ไม่ให้ไปล่วงเกินสัตว์ในเขตวัด เพราะอาจมีอันตราย ก็เป็นการดี คือทำให้สัตว์ทั้งหมดอยู่ด้วยความสงบขึ้น

    เรื่องพยายามจะยิงปืนในเขตวัดนี้ ได้มีเรื่องแต่สมัยถ้ำจันทน์เช่นกัน ครั้งนั้นท่านออกไปบิณฑบาต กลับมาได้ยินเสียงร้องเรียกให้ช่วย ก็ปรากฏว่า มีชายคนหนึ่งถูกปืนตัวเอง ลั่นใส่ตัวปากกระบอกแตก ท่านได้ช่วยเหลือกำหนดจิตเพ่งให้เลือดหยุดและเยียวยาให้เขา ต่อมาเขาได้มาขอขมาท่าน และเล่าให้ฟังว่า เขามองเห็นสีเหลืองของจีวรท่านรำไรในหมู่ไม้ นึกว่าเป็นกวางหรือเก้ง จึงยิงปืนใส่ บังเอิญปืนกลับแตก ลั่นถูกตัวเองบาดเจ็บ เขามีความผิด ๒ กระทง คือ กระทงแรกมายิงสัตว์ในเขตวัด กระทง ๒ มาล่วงเกินยิงท่านอาจารย์ผู้เป็นภิกษุ เขาจึงได้รับผลกรรมนั้นทันตา

    ในกลางพรรษา ฝนตกชุก น้ำท่วมทางบิณฑบาต ชาวบ้านมาส่งอาหารไม่ได้ น้ำท่วมไปหมด เณรต้องต้มข้าวสาลีที่ปลูกในวัด อาศัยฉันไปวันหนึ่งๆ จนกว่าน้ำจะแห้ง ก็นับเป็นเดือนๆ ทีเดียว

    ระหว่างในพรรษาที่ภูสิงห์น้อย ท่านได้เร่งความพากความเพียรอย่างเต็มความสามารถของตน พิจารณาร่างกายของตน กายาคตาสติ ไม่ให้จิตรวม ไม่ให้จิตลงพัก พิจารณาไปพอสมควร พอสงบก็พิจารณาค้นดูในร่างกาย พิจารณาทวนขึ้น และตามลง เป็นปฏิโลมและอนุโลม ค้นดูในร่างกายให้รู้เห็นตามเป็นจริง

    ท่านกล่าวว่า ถ้าจะเปรียบเทียบสถานที่ต่างๆ ที่ผ่านมาแล้ว ที่ภูสิงห์น้อยนี้นับเป็นที่สัปปายะมี่สุดแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนาของท่าน คือที่ดงหม้อทอง จิตรวมง่าย แต่ปัญญาไม่แก่กล้า ที่ถ้ำจันทน์ จิตรวมดีเช่นกัน แต่เพิ่งพิจารณาคิดค้นกายอย่างหนัก เพิ่งจะเริ่มกระจ่างมาเป็นลำดับ ที่ภูสิงห์น้อย คิดว่าจิตพักมาพอเพียงแล้ว ได้เร่งทำความเพียรอย่างอุกฤษฎ์ ได้พยายามใช้อุบายปัญญาทุกอย่าง เพื่อจะน๊อคเอาท์คู่ต่อสู้ คือกิเลสให้ล้มคว่ำลงให้ได้

    เมื่อออกพรรษา ท่านอาจารย์ได้ไปหาที่วิเวกที่อื่น ส่วนท่านอาจารย์ ญาติโยมทางบ้านดอนเสียด ถ้ำพระ ถ้ำบูชา ภูวัว ได้มานิมนต์ให้ไปจำพรรษาอยู่กับพวกเขา ท่านจึงตกลงไปพักอยู่ที่ถ้ำบูชา ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านถึง ๑๐ กิโลเมตร ทางบิณฑบาตลำบากมาก ท่านได้ขอให้ญาติโยมช่วยกันตัดทางจากบ้านดอนเสียดขึ้นภูวัว ไปถ้ำบูชา ช่วยกันทำอยู่ ๓ เดือน จึงสำเร็จ รถและเกวียนพอเดินได้ แต่ถึงกระนั้นการบิณฑบาตก็ต้องแบ่งกันคนละครึ่งทาง ระหว่างพระกับชาวบ้าน พระเดินลงจากเขามาครึ่งทาง และชาวบ้านเดินขึ้นไปอีกครึ่งทาง


    ๏ พรรษาที่ ๒๒-๒๕ พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๑๒
    ถ้ำบูชา ตาดสะอาม ภูวัว


    พรรษาแรก มีพระ ๕ องค์ เณร ๒ องค์เท่านั้น ต่างองค์ต่างแยกย้ายกันหาที่วิเวก ปรารภความเพียรกันอย่างไม่ประมาท ได้สร้างโรงครัว ศาลาโรงฉันข้างล่าง และชวนพระเณรทำบันไดขึ้นหน้าผา ขึ้นบนหลังตาดสะอาม เพราะข้างบนเป็นที่ชัยภูมิดี เหมาะเป็นที่วิเวก มีข่าวเล่าลือกันว่า ยังมีพระพุทธรูปทองคำยังหลงเหลืออยู่ในถ้ำในเขตภูวัวนี้ พวกพรานและพวกชาวป่าสมัยก่อนเคยพบเห็นมาแล้ว แต่ไม่มีใครกล้านำออกมา ด้วยเกรงต่ออำนาจเทพารักษ์ที่บำรุงรักษาสถานที่นั้น พวกชาวบ้านช่วยกันหาเท่าใดก็ไม่พบ

    วันหนึ่งขณะนั่งภาวนา ท่านได้นิมิตว่า กำลังค้นหาพระ แต่หาไม่เห็น ขณะนั้นมียักษ์ผู้หญิง รูปร่างสูงใหญ่ ตัวดำสนิท ผมยาวรุงรัง มีผ้านุ่ง เปลือยกายท่อนบน อกยานใหญ่ ท้องก็อ้วนใหญ่ ยืนอยู่ที่นำตกสะอาม ท่านจึงเดินเข้าไปถามว่า เป็นใคร ทำไมจึงมาอยู่ที่นี่ ยักษ์จึงตอบว่า เป็นยักษ์อยู่ที่น้ำตกสะอาม เพราะแต่ก่อนเคยทำบาป คือชาติที่เกิดเป็นมนุษย์ ได้เกิดเป็นภรรยาของท่านอาจารย์ แต่เป็นผู้ทุจริต ประพฤติมิจฉากาม ไม่ซื่อสัตย์ต่อสามี คือท่านอาจารย์ คบชายอื่นเป็นชู้ เมื่อสามีจับได้ก็ล่อลวงปิดบังไว้ ด้วยบาปอกุศลกรรมอันนั้น จึงทำให้ต้องเกิดเป็นยักษ์อยู่ที่นี่

    ท่านจึงถามต่อว่า มีพระพุทธรูปโบราณอยู่ที่ถ้ำสะอามนี้ใช่ไหม ยักษ์ก็รับว่ามีอยู่จริง แต่ไม่ยอมบอกว่าอยู่ที่ไหน เพราะยักษ์ยังเกลียดชังท่าน ที่ท่านทิ้งเขาไปในชาติครั้งนั้น ท่านจึงได้บอกญาติโยมว่า อย่าไปหาเลย ไม่เห็นหรอก เขาไม่ให้เห็น

    ในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ คืนหนึ่งขณะฝนตกหนัก ได้มีเครื่องบินอเมริกันนำลูกระเบิดมาปล่อยทิ้งที่ภูวัว ๖ ลูก หลังจากนั้น ๓ วัน ญาติโยมขึ้นมาถวายจังหันแล้วออกไปเก็บเห็ดจึงเห็นลูกระเบิด เป็นลูกระเบิดขนาดใหญ่มีที่ระเบิดแล้ว ๑ ลูก เป็นลูกระเบิดเพลิง แต่ที่ยังไม่ระเบิด ๕ ลูก วัดโดยรอบได้ ๑.๒๐ เมตร วัดตามยาวได้ ๑.๒๐ เมตร จึงให้คนไปแจ้งกำนันผู้ใหญ่บ้าน เขาได้รายงานไปจนถึงทางทหารที่อุดรให้ฝรั่งทหารอเมริกันผู้มาทิ้งระเบิดทราบ ทหารที่อุดรและทหารอเมริกันได้เดินทางมาจัดการนำเอาลูกระเบิดที่ยังไม่ระเบิดเหล่านั้นขึ้นมาทำลายได้หมด การที่ลูกระเบิดทั้ง ๕ ลูก ไม่แตกระเบิดนี้ ได้ทำให้ชาวบ้านตื่นเต้นร่ำลือกันมาก แต่ท่านกล่าวเพียงว่า อาจจะเป็นเพราะอำนาจคุณพระรัตนตรัยคุ้มครองก็ได้

    กลางปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เจ้าคณะจังหวัดหนองคายได้มีหนังสือมาขอให้พระที่อยู่ถ้ำบูชา ภูวัว ย้ายลงมาจากภูวัว เพราะบ้านเมืองเกิดความฉุกเฉิน เกรงจะเป็นอันตรายต่อพระสงฆ์ ให้ลงไปจำพรรษาที่อื่น ท่านอาจารย์พร้อมหมู่คณะและและแม่ชีก็ได้ลงจากถ้ำบูชาในเดือนกรกฎาคม ขณะฝนกำลังตกชุก เดินทางด้วยความยากลำบาก บุกน้ำ บุกโคลนตม มุ่งหน้าไปจำพรรษากับหลวงปู่ขาว ที่วัดถ้ำกลองเพล


    ๏ พรรษาที่ ๒๖ พ.ศ. ๒๕๑๑
    จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ขาว อนาลโย
    วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู


    ท่านอาจารย์ได้กลับมาอยู่จำพรรษาร่วมกับหลวงปู่ขาว อีกวาระหนึ่ง ซึ่งได้จากวัดป่าแก้ว บ้านชุมพล มาอยู่ที่วัดถ้ำกลองเพล ได้อยู่ปฏิบัติหลวงปู่ ฟังธรรมเทศนา รับการอบรมมาจากหลวงปู่โดยใกล้ชิด

    ออกพรรษา เสร็จกิจการงานแล้ว ได้นมัสการกราบลาหลวงปู่ กลับไปวิเวกที่ภูวัวอีก ท่านได้วิเวกอยู่ที่ภูวัว ๑ เดือน คืนหนึ่ง ขณะนั่งบำเพ็ญความเพียรอยู่นั้น ได้เกิดนิมิตขึ้นว่า

    ได้มีปราสาท ๒หลัง หลังหนึ่งเล็ก หลังหนึ่งใหญ่โตมาก ปราสาททั้ง ๒ หลังสวยงามวิจิตรมาก ตั้งอยู่ทางด้านเขาภูทอกน้อย และภูทอกใหญ่ ซึ่งเวลามองจากภูวัวจะเห็นปรากฏชัด ในนิมิตท่านได้เหาะขึ้นไปบนปราสาทนั้น แต่บังเอิญประตูทางเข้าปราสาทปิดอยู่ ไม่สามารถเข้าไปได้ ท่านจึงตั้งจิตอธิษฐานว่า หากมีบารมีแรงกล้า ขอให้ประตูเปิดออก เข้าไปได้ ทันใดนั้น ประตูปราสาทหลังเล็กก็เปิดออก ท่านจึงเข้าไปในปราสาทนั้น ภายในห้อง วิจิตรพิสดารงดงามยิ่งนัก มีหญิงรูปสวย ๔ คนเฝ้าอยู่ในปราสาทนั้น ได้นิมนต์ให้ท่านอยู่ร่วมด้วย แต่ท่านไม่ตกลง เพราะเป็นพระ จะอยู่ร่วมกับผู้หญิงไม่ได้ แล้วท่านจึงลงจากปราสาทนั้นไป

    พอจิตถอน ท่านจำนิมิตนั้นได้ติดตา พร้อมทั้งจำทางขึ้นลงได้อย่างแม่นยำ เพื่อพิสูจน์นิมิตนั้น ท่านจึงเดินทางจากภูวัวไปยังภูทอกน้อย พอไปถึงก็เดินทางขึ้นไปบนเขา ตามทางในนิมิตนั้นทุกประการ ได้สำรวจดูเขาชั้นต่างๆ เห็นเป็นโตรก เป็นซอก เป็นถ้ำ เป็นหินผาอันสูงชัน ก็เห็นว่าเป็นภูมิประเทศที่เหมาะสมที่จะบูรณะให้เป็นสถานที่สำหรับให้พระเณรได้บำเพ็ญภาวนาต่อไป ท่านจึงตกลงใจเข้าบูรณะและตั้งเป็นวัด ประกอบกับแรงนิมนต์ของชาวบ้านตำบลนาคำแคน บ้านนาต้อง อาราธนาให้อยู่โปรดพวกเขาเป็นหลักยึดเหนี่ยวอีกแรงหนึ่ง
    พรรษาที่ ๒๗-๓๘ พ.ศ. ๒๕๑๒-๒๕๒๓
    วัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) อ.ศรีวิไล

    ท่านเริ่มมาอยู่ภูทอกนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๑๒ มาอยู่ครั้งแรก กับท่านพระครูสิริธรรมวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดสามัคคีอุปถัมภ์ อำเภอบึงกาฬในปัจจุบัน กับผ้าขาวน้อยองค์หนึ่ง ตอนแรกก็อาศัยอยู่ตีนเขาที่เป็นโรงฉันต่อกับโรงครัวปัจจุบันนี้ บริเวณรอบๆ เป็นป่าทึบ รกชัฏ มีสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์

    เบื้องต้นภูทอกยังไม่มีแอ่งเก็บน้ำ สมัยนั้นต้องอดน้ำ อาศัยฝนที่ค้างอยู่ตามแอ่งหิน อาหารการขบฉัน อาศัยบิณฑบาตจากชาวบ้านนาคำแคน ซึ่งได้อพยพไปอยู่ใหม่ๆ ประมาณ ๑๐ หลังคาเรือน การบิณฑบาตขาดแคลนมาก ตามมีตามได้

    พอเข้าหน้าแล้ง ท่านได้ขอให้ชาวบ้านช่วยกันสร้างทำนบกั้นน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ และขึ้นมาปลูกกระต๊อบอยู่ชั่วคราวที่โขดหินตีนเขาชั้น ๒

    ปีแรกที่จำพรรษาอยู่ที่ภูทอก มีพระ ๓ องค์ ผ้าขาวน้อย ๑ องค์ ปลูกกระต๊อบชั่วคราวพออาศัยได้ ๔ หลัง ทุกองค์ต่างทำความเพียรอย่างเต็มที่ เวลาพลบค่ำ ท่านอาจารย์ขึ้นไปนอนบนชั้น ๕ โดยปีนขึ้นตามเครือเขาเถาวัลย์ ตามรากไม้ ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นถ้ำวิหารพระ สมัยนั้นยังเป็นป่าทึบ มีต้นไม้ขึ้นอย่างหนาแน่น

    ในระหว่างกลางพรรษาที่ ๒๗ ได้ชักชวนญาติโยมทำบันไดขึ้นเขาชั้นที่ ๕ และชั้นที่ ๖ จนสำเร็จ ทำอยู่ประมาณ ๒ เดือนกับ ๑๐ วัน จึงเสร็จเรียบร้อย การสร้างบันไดนี้สำเร็จในกลางพรรษา ได้อาศัยศรัทธาญาติโยมและชาวบ้านใกล้เคียงช่วยกันคนละเล็กละน้อย ช่วยกำลังแรง ส่วนกำลังทรัพย์ไม่มี เพราะต่างเป็นคนยากจน มีแต่ศรัทธาเท่านั้น

    กลางพรรษาปี ๒๕๑๒ ท่านได้เกิดสุบินนิมิตว่า ได้ออกไปบิณฑบาตที่ภูทอกใหญ่ ตามหน้าผา อุ้มบาตรเดินเลียบไปตามหน้าผา อ้อมไปเรื่อยๆ เห็นหน้าต่างปิดอยู่ตามหน้าผา มองไม่เห็นคนเลย ท่านจึงเดินอ้อมไป ท่านจึงหยุดยืนรำพึงว่า....ทำไมมีแต่หน้าต่างปิด ไม่เห็นคนออกมาใส่บาตรเลย สักครู่หนึ่งก็เห็นคนเปิดหน้าต่างออกมาใส่บาตร ท่านจึงตั้งจิตถามขึ้นว่า เขาเป็นใคร เขาก็ประกาศขึ้นมาเองว่า “พวกผมนี้เป็นพวกบังบดขอรับ อยู่กันที่ภูทอกใหญ่ ภูแจ่มจำรัส” พวกบังบด คือพวกภุมมเทวดา ที่เขามีศีล ๕ ประจำ เขาอธิบายให้ฟังต่อว่า “ชื่อเดิมของภูทอกใหญ่นี้ เรียกกันว่า ภูแจ่มจำรัส แต่ก่อนนี้มีพวกฤาษีชีไพรมาบำเพ็ญพรตภาวนากันอยู่ที่ภูแจ่มจำรัสนี้มาก”

    เมื่อเขาใส่บาตรเรียบร้อยแล้ว ท่านจึงภามเขาว่า “ทำไมจึงรู้ว่าอาตมามาบิณฑบาต”

    เขาก็ตอบยิ้มๆ ว่า “รู้ครับ รู้ด้วยกลิ่น ถูกกลิ่นพระผู้เป็นเจ้า”

    “กลิ่นเป็นอย่างไร” ท่านซักต่อ

    “กลิ่นหอมขอรับ ถูกกลิ่นพระผู้เป็นเจ้า ก็เลยพากันเปิดหน้าต่างมาใส่บาตรพระผู้เป็นเจ้ากัน ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติดี ควรแก่การบูชา พวกเราจึงพร้อมใจกันมาใส่บาตร”

    พอพวกเขาใส่บาตรเสร็จ ท่านก็กลับ พอดีรู้สึกตัวตื่น พิจารณาดูนิมิตนั้นก็เห็นแปลก และเช้าวันนั้น อาหารที่บิณฑบาตได้ ขบฉันก็รู้สึกว่ารสเอร็ดอร่อยเป็นพิเศษ ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีใครอื่นมาใส่บาตรจริงๆ มีแต่ชาวบ้านเท่านั้น และอาหารก็เป็นอาหารพื้นๆ

    พรรษาแรก พระเณรเจ็บไข้กันมาก บางองค์ก็บอกว่า เทวดาประจำภูเขามาหลอกหลอน ดึงขา ปลุกให้ลุกขึ้นทำความเพียร บางทีก็ไล่ให้หนี เพราะมาแย่งวิมานของเขา ท่านได้พยายามตักเตือนพระเณรให้มีศีลบริสุทธิ์ บำเพ็ญความเพียร แผ่เมตตา และให้ทำความเพียรอย่าได้ประมาท ภายหลังก็เกิดนิมิตว่า มีพวกเทวดามาหาท่านบอกว่า “ขอน้อมถวายภูเขาลูกนี้ ให้แก่พระผู้เป็นเจ้า ขอพระผู้เป็นเจ้าโปรดรับไว้รักษา พวกข้าพเจ้าจะลงไปอยู่ข้างล่าง” และยังขอให้ท่านประกาศแก่มนุษย์ที่จะมาเที่ยวภูเขาลูกนี้ต่อไปว่า ขออย่าได้กล่าวคำหยาบ อย่าส่งเสียงดังอึกทึก อย่าถ่มน้ำลายลงไปข้างล่าง อย่าขว้างปาหรือทิ้งเศษขยะไว้บนเขา

    เมื่อท่านตื่นจากนิมิต จึงมาพิจารณาคำขอร้องของเทวดา ก็เห็นว่าแยบคายดี น่าจะเป็นข้อที่กัลยาณชนควรจะปฏิบัติอยู่แล้ว ถึงแม้จะไม่มีเทวดามาขอร้องก็ตาม อย่างไรก็ดี ในวันนั้น มีชาวบ้านมาเล่าให้ฟังว่า พวกเขาต่างฝันกันว่า มีคนมามอบภูเขาให้ท่านอาจารย์จวนรักษาไว้ และพวกเขาจะลงไปอยู่ข้างล่างแทน บังเอิญมาฝันตรงกันหลายคน

    พ.ศ. ๒๕๑๓ ในฤดูแล้ง ท่านได้ชักชวนชาวบ้าน ช่วยกันสร้างทำนบเพิ่มขึ้นอีก ๒ ทำนบเพื่อไว้เก็บกักน้ำ มีประชาชนจากฝั่งประเทศลาวชื่อ นายบุญที ได้มีศรัทธามาสร้างพระประธานไว้ที่ถ้ำวิหารพระชั้นที่ ๕ ต่อมาได้มีศรัทธาจากที่ต่างๆ มาร่วมกันสร้างโรงฉัน และศาลาชั้นที่ ๕

    ภายหลังได้ขยายศาลาตรงฉันชั้นล่างให้กว้างออกไป และได้ขยายศาลาถ้ำวิหารพระชั้นที่ ๕ ให้กว้างออกไปด้วย เพื่อประกอบศาสนกิจและสังฆกรรมได้สะดวก

    การก่อสร้างต่างๆ ท่านพยายามทำแบบส่งเสริมธรรมชาติให้กลมกลืนไปกับธรรมชาติ เช่น กุฏิ ศาลาอาศัยผนังถ้ำเป็นฝาเป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ขุดบ่อน้ำอีกหลายแห่ง ยังได้พบบ่อน้ำซึมผุดขึ้นมาจากซอกหิน และได้มีผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างบาตรน้ำมนต์ขนาดใหญ่ไว้รองน้ำซึมที่หยดมาจากยอดเขา นอกจากนี้ยังมีผู้บริจาคเงินสร้างถังเก็บน้ำคอนกรีต ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และได้สร้างส้วมและห้องน้ำ ไว้สำหรับประชาชน

    ใน พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๑๔ ได้ทำสะพานรอบเขาชั้นที่ ๕

    พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้ทำนำนบกั้นน้ำเพิ่ม

    พ.ศ. ๒๕๑๖ ปรับปรุงสะพานชั้นที่ ๕ ทำทางเดินให้เสมอกันและขยายให้กว้างขึ้น

    พ.ศ. ๒๕๑๗ ทำสะพานบนเขาชั้นที่ ๖ ทำสะพานชั้นที่ ๔ ครึ่งเขา

    พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้ทำทำนบกันน้ำในเขตวัด

    ตั้งแต่ปี ๒๕๑๙ เป็นต้นมา ได้มีคณะญาติโยมโดยเฉพาะจากกรุงเทพฯ ทยอยมากันบ่อยครั้งขึ้น ได้มีศรัทธาเพิ่มขึ้น บริจาคทั้งกำลังทรัพย์ และกำลังกายมาช่วยเหลือที่วัด ได้มีการสร้างถังน้ำบนเขาชั้นที่ ๕ สร้างห้องน้ำ ห้องส้วมเพิ่มอีกหลายห้อง นอกจากนี้ยังได้มีการสร้างกุฏิถาวรสำหรับพระเณรจะได้เป็นที่พัก เพราะแต่ก่อนพระเณรจะใช้เงื้อมหินหรือถ้ำเป็นที่อยู่อาศัยอีกเป็นจำนวนหลายหลัง และยังได้มีการสร้างกุฏิที่พักสำหรับพระอาคันตุกะ สร้างกุฏิแม่ชี และกุฏิที่พักบนชะง่อนเขาชั้นที่ ๕ สำหรับญาติโยมได้มาพักอีกด้วย

    นอกจากได้ก่อสร้างในวัดแล้ว ยังได้ทำประโยชน์ให้แก่ชาวบ้านใกล้เคียงอีกด้วย โดยได้สร้างทำนบกั้นน้ำให้แก่ชาวบ้าน ๖ ทำนบ และในปี ๒๕๒๓ ได้เริ่มทำถนนรอบภูเขา ๓ ลูก คือ ภูทอกน้อย ภูทอกใหญ่ และภูสิงห์น้อย ซึ่งต่างก็เป็นสำนักสงฆ์ของวัด เพื่อเป็นการกั้นเขตแดนวัด จะได้เป็นที่พึ่งพาอาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด และยังเป็นการสงวนป่าไม่อีกด้วย (เมื่อท่านอาจารย์จวนมรณภาพแล้ว งานนี้ยังค้างอยู่ ทางวัดได้ทำต่อจนแล้วเสร็จ รวมทั้งทำนบน้ำแห่งใหม่ในหมู่บ้านด้วย)

    ท่านได้รับนิมนต์มากรุงเทพมหานคร ได้รับอุบัติเหตุเครื่องบินตก ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๓ สิริรวมอายุ ๕๙ ปี ๙ เดือน ๑๘ วัน พรรษา ๓๘

    ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ได้เทศน์ให้ศิษย์ฟังเสมอๆ เรื่องสมเด็จพระบรมศาสดาทรงสอนให้มนุษย์รู้จักบำเพ็ญประโยชน์ ๓ อย่าง ประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ภายภาคหน้า และ ประโยชน์อย่างยิ่ง ดังที่ได้ยกธรรมเทศนาของท่านตอนนี้มารวมไว้ข้างท้ายนี้

    คำสอนของท่านอาจถือเป็นข้อสรุปปฏิปทา คุณธรรมขององค์ท่านผู้สอนได้เป็นอย่างดี

    ท่านได้ปฏิบัติมาแล้ว เป็นตัวอย่างให้เราจักได้พยายามเจริญรอยตามคำสอนของท่าน

    แรกเริ่ม ท่านบำเพ็ญประโยชน์ตน อัตตถประโยชน์ก่อน ท่านสอนเสมอ เราต้องว่ายน้ำให้เป็นเสียก่อน แล้วจึงค่อยไปสอนให้คนอื่นว่ายน้ำ ถ้าตัวเราก็ยังว่ายน้ำไม่เป็นช่วยตัวเองไม่ได้ ไปสอนเขา ก็รังแต่จะพากันจมน้ำตายไปด้วยกันหมด ดังนั้นในระยะแรก ท่านจึงบำเพ็ญเพียรอย่างอุกฤษฏ์ ซอกซอนซ่อนตัวอยู่ในกลางป่าลึก จนบำเพ็ญประโยชน์แก่ตนเองได้สมปรารถนาเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ทำประโยชน์แก่ญาติ เพื่อนร่วมชาติ ร่วมศาสนา ร่วมพระมหากษัตริย์ ทำประโยชน์แก่โลก แก่ส่วนรวมต่อไป

    เป็นวิหารธรรม ที่เป็น “เครื่องอยู่” ของท่าน

    วัดป่าบ้านนาจิก วัดป่าศิลาอาสน์ ที่ดงหม้อทอง สำนักสงฆ์ถ้ำจันทน์ วัดป่าที่ภูสิงห์น้อย (ภูกิ่ว) สำนักสงฆ์ถ้ำบูชา สำนักสงฆ์สะแนน และวัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) เป็นเสมือนเจดีย์ศิลาที่ท่านก่อนตั้งไว้

    โดยเฉพาะที่วัดเจติยาคีรีวิหาร ซึ่งท่านได้สร้างสะพานเวียนรอบเขาโดยรอบเป็นชั้นๆ จนถึงยอด ทำให้เขาภูทอกเป็นสถานที่ซึ่งเหมาะสำหรับผู้มุ่งไปปฏิบัติธรรมและพักผ่อน กิตติศัพท์อันงามขององค์ท่านเอง และสถานที่ซึ่งท่านบุรณะและสร้างสรรแล้ว ได้ชักนำให้ประชาชนจากที่ใกล้และไกล พากันสนใจ แม้ชาวต่างประเทศก็จัดคณะไปกราบคารวะปละเยี่ยมชมสถานที่กันไม่ขาด

    ด้วยเมตตาธรรมของท่าน ผ่าดงพงพีหลายแห่งได้กลายเป็นไร่นาสาโท ยิ่งท่านได้นำชาวบ้านสร้างถนนหนทาง, สะพาน, สระน้ำ, ฝาย, อ่างเก็บน้ำ เพิ่มขึ้น ไร่นาสาโทเหล่านั้นก็อุดมสมบูรณ์ขึ้น

    โดยเฉพาะที่ภูทอก เราได้ประจักษ์กับตาเองว่า ระหว่างสองสามปีหลังนี้ นาข้าวแถวบริเวณใกล้ภูทอก ต้นข้าวจะงามสูงแทบจะท่วมหัวทีเดียว ชาวบ้านรู้จักปลูกผัก ได้อาศัยเมล็ดพันธุ์ผักจากวัด ได้น้ำจากฝายและอ่างเก็บน้ำ ๖-๗ แห่ง ที่ “หลวงพ่อ” คิดทำให้บ้าง และต่อมาได้ทำเป็นตัวอย่างจูงใจให้ชาวบ้านรู้จักช่วยตัวเอง ทำเพิ่มเติมขึ้นด้วย เขาเหล่านั้นก็เรียกได้ว่าพอจะลืมหน้าอ้าปากได้ บ้านเรือนที่มีอยู่เพียง ๑๐ หลังคาเรือน ก็กลายเป็นหลายร้อยหลังคาเรือน ที่เป็นฟาก เป็นไม้ไผ่ ก็เริ่มเปลี่ยนเป็นไม้ถาวรขึ้นอย่างหนาตา หลายสิบบ้านเป็นเจ้าของไร่มัน พืชผลต่างๆ และมีอีกเป็นสิบบ้านเช่นเดียวกัน ที่ต่างมีรถยนต์จอดอยู่ในบ้านของตน

    วัดวาอาราม ถนน สะพาน สระน้ำ ฝาย อ่างเก็บน้ำ และความเจริญของหมู่บ้านที่ประชาชนอพยพตามเข้ามาอาศัยบารมีการุณธรรมอันสงบร่มเย็นของท่านเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นที่ดงหม้อทอง วานรนิวาส ที่ถ้ำจันทน์ ดงศรีชมภู ที่ภูสิงห์น้อย ที่ถ้ำบูชา ที่น้ำตกสะแนน ภูวัว ที่ภูทอกน้อย ภูทอกใหญ่ ล้วนเป็นอนุสรณ์แห่งการบำเพ็ญบารมีเพื่อโลกัตตถประโยชน์และญาตัตถประโยชน์ของท่านทางด้านถาวรวัตถุทั้งสิ้น

    แต่ที่ทรงประโยชน์คุณค่ามหาศาล หาประมาณมิได้ คือทางด้านจิตใจ ที่ท่านกรุณาเมตตาช่วยเหลือเจือจาน เทศนา สั่งสอน แนะนำให้ศิษย์ทั้งบรรพชิตและฆราวาส ทั้งที่หนองคาย อุบล อุดร นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ เลย สงขลา เชียงใหม่ เชียงราย กรุงเทพฯ จันทบุรี ชลบุรี ให้ศิษย์มีความคิดที่ถูกต้องดีงาม ไม่หลงไปในทางที่ผิด ให้รู้จักทุกข์ เหตุที่เกิดทุกข์ ธรรมอันเป็นที่ดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมอันเป็นที่ดับทุกข์

    ท่านได้บำเพ็ญประโยชน์ปัจจุบันแล้ว

    สำหรับประโยชน์ ๒ ประการคือ ประโยชน์ภายภาคหน้า เพื่อว่าเมื่อละชีวิตปัจจุบันแล้ว จะได้มีสุคติเป็นที่ไป และ ประโยชน์อย่างยิ่ง เพื่อดับอาสวกิเลสให้สิ้นไปถึงพระนิพพานนั้น

    บรรดาศิษย์ของท่านไม่มีความสงสัยเลยว่า ท่านได้บำเพ็ญบารมีเพื่อประโยชน์ ๒ ประการหลังนี้บริบูรณ์แล้ว เต็มแล้ว หรือไม่ และเพียงใด

    คัดลอกมาจาก :: หนังสือ “กุลเชฏโฐอนุสรณ์”
    คณะศิษยานุศิษย์พิมพ์ถวายเป็นธรรมบูชา
    เนื่องในงานเสด็จพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก)
    ต.นาแสง อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย วันเสาร์ที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • %BE%C3~1.JPG
      %BE%C3~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      82 KB
      เปิดดู:
      78
    • _1_808.jpg
      _1_808.jpg
      ขนาดไฟล์:
      77.6 KB
      เปิดดู:
      62

แชร์หน้านี้

Loading...