ประเทศไทยจะเกิดอุบัติภัยอย่างที่ทำนายกันจริงๆหรือไม่

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย koymoo, 25 มกราคม 2005.

  1. พลอยรุ้ง

    พลอยรุ้ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +2,088
    ปีนี้ น้ำท่วมหนักกว่าทุกปีนะคะ ไม่รู้แถวชัยภูมิเป็นไงบ้าง เขาแถวชัยภูมิฝนตกเยอะเหมือนเขาใหญ่รึเปล่า แต่ดิฉันยังไม่เห็นภาพข่าวว่าน้ำท่วมชัยภูมิ แต่ก็ได้ยินแว่วเหมือนกันว่ามีท่วม
    ถ้าน้ำท่วมเมืองชัยภูมิ ซึ่งมี ม.ชี และห้วยอีกหลายสาย อีกหน่อยคงจะไหลมาทางบ้านดิฉัน (มหาสารคาม) ซึ่งมีที่นาอยู่ติดห้วยเหมือนกัน ก็จะถูกน้ำล้นเอ่อมาท่วม ล้นมาจากชี ไม่มีที่ระบาย ต้องรอให้น้ำลดไปเอง (รอให้น้ำจาก ม.ชี ไหลไปทางใต้ (ร้อยเอ็ด ยโส อุบล) ต่อไป ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็ท่วมอยู่ (ที่เป็นนา) แต่ที่เป็นบ้านยังไม่ท่วม
    ตอนนี้ที่บ้านยังไม่รู้สึกหนาว ถ้าทั้งอากาศหนาวและน้ำท่วมด้วยคงยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ ยังไงก็ขอให้เตรียมตัวไว้ สำหรับผู้ที่อาจจะโดนท่วมเป็นรายต่อไป ส่วนผู้ที่ท่วมไปแล้ว ขอให้กลับมาเหมือนเดิมไวๆค่ะ
     
  2. พลอยรุ้ง

    พลอยรุ้ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +2,088
    ขนาดบ้านเรายังไม่มีไต้ฝุ่น หรือพายุลูกใหญ่ๆเข้าเหมือนประเทศอื่น(นับว่ายังโชคดี แต่อนาคต ไม่แน่เหมือนกัน) ยังเดือดร้อนกันขนาดนี้
    เพื่อความไม่ประมาท เราควรเตรียมตัวรับภัยพิบัติ (พายุ แผ่นดินไหว ฯลฯ) ไว้แต่เนิ่นๆ ถ้าเกิดเหตุการณ์จริง อยากน้อยก็คิดว่าจะไปหลบภัยที่ไหน (ลองคิดเล่นๆดูก็ได้ อย่าคิดว่าที่ใครๆชอบพูดชอบเตือนเรื่องภัยพิบัติ เป็นเรื่องไร้สาระไปซะหมด) ขอให้ทุกท่านปลอดภัย บุญคุ้มครองทุกท่านค่ะ
     
  3. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    ดร. อานนท์ นักวิชาการ ทฤษฎีโลกร้อน ตัวการเปลี่ยนแปลงสมดุลธรรมชาติ ก็พูดเรื่องน้ำท่วมด้วยเหมือนกัน ข้อเขียนนี้ตั้งแต่ ธค. ปี 2548

    ----------------------------------------------------------------------------------


    ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วโลกคงรู้สึกเหมือนกันว่าภูมิอากาศของโลกดูจะมีความผันผวนผิดไปจาก เดิม ฝนตกหนักและถี่ขึ้น เกิดน้ำท่วมบ่อยครั้ง และบางช่วงก็เกิดพายุฝนรุนแรง ขณะที่บางช่วงอากาศร้อนจัด

    และในพื้นที่บางแห่ง ก็เกิดความแห้งแล้งต่อเนื่องยาวนาน ที่เมืองไทยเอง ช่วงใกล้สิ้นปีควรเป็นช่วงเวลาที่อากาศหนาวมาเยือนแล้ว แต่ปรากฏว่าในหลายพื้นที่ยังคงมีฝนตกหนักเกือบทุกวันราวกับอยู่ในฤดูฝน

    ตัวอย่าง ความวิปริตของอากาศที่เห็นชัดเจนที่สุดในรอบปีนี้ น่าจะได้แก่เหตุการณ์พายุเฮอริเคนแคทรีนาที่มีความรุนแรงมากที่สุดในอ่าว เม็กซิโก พัดเข้าถล่มเมืองนิวออร์ลีนส์ ในรัฐลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา สร้างความเสียหายอย่างยับเยิน มีผู้เสียชีวิตนับพันคน

    ขณะที่ ข่าวการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกที่ปรากฏอยู่เป็นระยะ ก็ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า ปรากฏการณ์นี้จะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นจนทำให้น้ำท่วมโลกได้หรือ ไม่
    ความผันผวนของอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นครั้ง แล้วครั้งเล่าในช่วงเวลาไม่ห่างกันนัก สร้างความหวั่นวิตกแก่คนทั่วโลก

    คำถามก็คือ ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วนี้ จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อโลกของเราบ้าง

    จริงหรือไม่ ที่อาจมีหายนะครั้งใหม่ๆ รอเราอยู่ อันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศที่วิปริต ?


    ดร. อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต จะมาไขปริศนาเรื่องนี้ให้เราฟัง

    ดร. อานนท์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านสมุทรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาวาย ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์ วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในทีมสำรวจเพื่อฟื้นฟูบูรณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลัง จากเหตุการณ์สึนามิ

    คำตอบของ ดร. อานนท์ สำหรับสาเหตุของปรากฏการณ์ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น อาจสรุปได้ด้วยข้อความสั้นๆ เพียงประโยคเดียวว่า

    “สาเหตุที่อากาศวิปริต เพราะโลกร้อนขึ้น ๑ องศา”

    ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ภูมิอากาศของโลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นกว่าปรกติหรือเปล่าครับ
    มันมีเหตุการณ์ที่ทำให้ดูเหมือนภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลงเยอะ อาทิ ความรุนแรงของพายุเฮอริเคนแคทรีน่าในอ่าวเม็กซิโก

    แต่ถ้าเทียบดูกับสถิติภูมิอากาศของโลกในระยะยาวแล้ว ยังไม่ถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงในระดับที่ชัดเจนจนสรุปได้ว่าภูมิอากาศของโลก เราเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง เพราะระดับความรุนแรงของพายุหรือความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นในปีนี้ก็ยังจัด อยู่ในระดับที่เคยเกิดมาแล้ว

    เพียงแต่ดูเหมือนว่าสภาพอากาศที่ไม่พึงประสงค์เหล่านี้จะเกิดถี่ขึ้นมากกว่า เรื่องของสภาพอากาศโดยเฉพาะเรื่องน้ำท่วมฝนแล้งนี้ไม่ใช่ว่าจะดูกันปีเดียว แล้วสรุปออกมาเป็นสภาพภูมิอากาศได้ทันที ต้องดูกันนานๆ แต่ที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเห็นตรงกันก็คือ

    ทุกวันนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นประมาณ ๑ องศา เมื่อเทียบกับเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีที่แล้ว ซึ่งเมื่อฟังเผินๆ เราอาจจะคิดว่า ร้อนเพิ่มขึ้นนิดเดียวเอง ไม่เห็นจะเยอะ แต่นั่นคืออุณหภูมิเฉลี่ยของทั้งโลกและเฉลี่ยตลอดปี ซึ่งในความเป็นจริงแผ่นดินมักจะร้อนมากขึ้นกว่าพื้นน้ำ

    ดังนั้น แผ่นดินซึ่งมีพื้นที่เพียงประมาณ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ของพื้นผิวโลกอาจจะร้อนขึ้นถึง ๓-๔ องศา ขณะที่น้ำทะเลซึ่งมีพื้นผิวมากกว่าแผ่นดินถึง ๔ เท่าอาจจะร้อนขึ้นเพียงเล็กน้อย การที่โลกทั้งโลกจะร้อนเพิ่มขึ้น ๑ องศาได้นั้น นั่นหมายความว่า แผ่นดินจะต้องร้อนเพิ่มขึ้นมากกว่าทะเลถึง ๔ เท่า

    อุณหภูมิระหว่างบนฝั่งกับในทะเลที่แตกต่างกันมากขึ้นนี้ จะทำให้ลมที่พัดจากทะเลเข้าหาฝั่งอย่างเช่นลมมรสุมหรือลมประจำถิ่นอื่นๆ พัดรุนแรงขึ้น พายุหมุนก็จะมีโอกาสเกิดได้บ่อยขึ้นด้วย

    สิ่งที่ตามมาก็คือ ลมจะพาไอน้ำจากทะเลเข้ามาหาฝั่ง และเมื่อปะทะกับภูเขาและแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง มวลอากาศก็จะยกตัวสูงขึ้นกระทบกับอากาศเย็นข้างบน เกิดเป็นเมฆและฝน เพราะฉะนั้นบริเวณชายฝั่งก็จะมีฝนตกมากขึ้น

    กรณีที่มีฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ตอนบนในช่วงวันที่ ๑๙-๒๐ พฤศจิกายนที่ผ่านมา เป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศใช่หรือไม่

    การ เกิดฝนตกหนักจนทำให้เกิดน้ำท่วมในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในช่วงดังกล่าว เป็นเพราะลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทยได้พาเอาความชื้นจาก ทะเลเข้าปะทะกับชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก และเกิดการยกตัวของมวลอากาศชื้นจนเกิดเป็นเมฆและฝนตามบริเวณชายฝั่ง

    ลักษณะอากาศแบบนี้ เป็นลักษณะปรกติที่พบได้ในช่วงเวลานี้ของปี และยิ่งเวลาผ่านไป แนวฝนก็จะยิ่งเคลื่อนลงไปทางใต้ตามการเคลื่อนที่ของร่องความกดอากาศต่ำ ซึ่งเคลื่อนที่ตามแนวการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ สมมุติฐานอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศคือลมมรสุมที่พัดแรงขึ้น ซึ่งลักษณะอากาศที่เกิดขึ้นนี้ก็สอดคล้องกับสมมุติฐานอันนี้

    แต่การที่จะสรุปว่าสภาพภูมิอากาศหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “climate” ของประเทศไทยเปลี่ยนไปแล้วหรือไม่นั้น เราไม่สามารถบอกจากข้อมูลสภาพอากาศ ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “weather”

    ครั้งนี้เพียงครั้งเดียว หรือจากช่วงเวลาสั้นๆ แค่ปีสองปี แต่ต้องนำข้อมูลสภาพอากาศจากหลายๆ ปีต่อเนื่องกันมาวิเคราะห์เพื่อให้เห็นภาพรวม ถึงจะสามารถสรุปออกมาเป็นสภาพภูมิอากาศได้

    ถ้าอากาศที่ร้อนขึ้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดพายุที่รุนแรงขึ้น พายุเฮอริเคนแคทรีนาในอ่าวเม็กซิโกเกิดจากสาเหตุนี้ด้วยหรือไม่

    น่าจะเป็นไปได้มาก ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีข้อมูลจากการวัดสภาพอากาศในระยะยาวที่จะบ่งชี้ได้อย่าง ชัดเจน แต่ถ้าพิจารณาจากหลักการทางฟิสิกส์แล้ว สามารถอธิบายได้ว่าพายุหมุนเขตร้อนทุกลูกจะต้องเกิดในทะเลเสมอ

    โดยจุดเริ่มต้นของพายุมักจะเป็นบริเวณเล็กๆ ในมหาสมุทรที่น้ำทะเลร้อนขึ้นมากกว่าส่วนอื่นโดยรอบ และทำให้อากาศโดยรวมหมุนวนเข้าหาตาของพายุนี้ เมื่อเวลาผ่านไป ตัวพายุก็จะดูดความร้อนที่อยู่ในน้ำทะเลเข้าไปเพิ่มพลังให้ตัวมันอย่างต่อเนื่อง

    ดังนั้น ถ้าน้ำทะเลร้อนขึ้น เนื่องมาจากอากาศที่ร้อนขึ้น พายุที่เกิดขึ้นก็จะมีกำลังและความรุนแรงมากขึ้นด้วย อีกอย่างหนึ่งที่ผมอยากตั้งข้อสังเกตก็คือ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของอ่าวไทยที่คล้ายกับอ่าวเม็กซิโก คือเป็นอ่าวที่มีปากอ่าวอยู่ทางด้านตะวันออก

    สิ่งที่น่ากลัวสำหรับอ่าวแบบนี้ก็คือ ไม่มีแผ่นดินที่จะขวางและลดความรุนแรงในตัวพายุ นอกจากนี้สภาพอ่าวที่เป็นอ่าวปิด คือมีพื้นที่อ่าวกว้างแต่ปากอ่าวแคบ ยังจะทำให้น้ำทะเลที่ถูกพายุดูดเข้ามาไม่มีทางระบายออกไป

    ส่งผลให้การเกิดภาวะน้ำหนุน หรือการยกตัวของน้ำทะเลเนื่องจากพายุที่เรียกว่า storm surge ในอ่าวแบบนี้มีความรุนแรง สังเกตว่าความเสียหายส่วนใหญ่ในเมืองนิวออร์ลีนส์ไม่ได้เกิดจากลมพายุ แต่เกิดจากน้ำท่วมมากกว่า

    เรื่องน้ำหนุนจากพายุนี้ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราสนใจมาก เพราะกรุงเทพฯ และที่ราบลุ่มภาคกลางของเราสูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียงเล็กน้อย การที่น้ำยกตัวขึ้นมา ๒ หรือ ๓ เมตร ก็น่าเป็นห่วงแล้ว

    ทั้งนี้ ไม่จำเป็นว่าศูนย์กลางหรือตาของพายุ จะต้องผ่านเข้ามาที่กรุงเทพฯ ยกตัวอย่างพายุ
    ลินดาเมื่อปี ๒๕๓๙ ซึ่งพัดเข้ามาแถวชุมพร แต่ทำให้เกิดน้ำท่วมไปจนถึงสมุทรสาคร สมุทรสงคราม มหาชัย ทั้งๆ ที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางของพายุหลายร้อยกิโลเมตร

    นอกจากนี้ พายุลินดาเองก็ยังไม่ถือว่าเป็นพายุไต้ฝุ่นด้วยซ้ำ เป็นเพียงพายุโซนร้อน แต่ก็ยังทำให้เกิดน้ำเอ่อสูงถึงเมตรกว่า ผมจึงอยากจะให้พวกเรามองพายุเหล่านี้ ทั้งแคทรีนา ลินดา และพายุอื่นๆ เป็นตัวอย่าง แล้วเริ่มคิดถึงการรับมือในอนาคต

    ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ โดยปรกติเส้นทางเคลื่อนตัวของพายุหมุนเขตร้อนใน บ้านเราในอดีตจะไม่ลงมาทางใต้มากนัก ส่วนใหญ่จะมาจากทะเลจีนใต้และขึ้นฝั่งที่เวียดนาม หลังจากนั้นก็จะอ่อนกำลังลง กลายเป็นหย่อมฝน ที่เป็นแหล่งน้ำสำคัญของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    จากข้อมูลในช่วงปี ๒๔๙๓-๒๕๓๑ พบว่า พายุที่เกิดในช่วงปลายปี คือเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ซึ่งมีเส้นทางเคลื่อนตัวลงมาทางใต้มาก จนกระทั่งเข้ามาในอ่าวไทย มีทั้งสิ้น ๖ ลูก ในช่วง ๓๘ ปี หรือเฉลี่ยทุกๆ ๖ ปี

    ส่วนข้อมูลตั้งแต่ปีที่เกิดพายุเกย์ คือปี ๒๕๓๒ เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน มีพายุเข้ามาในอ่าวไทยถึง ๖ ลูกเช่นกัน แต่เป็น ๖ ลูกในช่วงเวลาเพียง ๑๖ ปี หรือเฉลี่ยทุกๆ ๓ ปีเท่านั้น โดยมีพายุหมุ่ยฟ้าเมื่อปีที่แล้วเป็นลูกล่าสุด

    ถึงแม้ว่าพายุซึ่งเข้ามาในอ่าวไทยถี่ขึ้นในระยะหลัง เป็นปรากฏการณ์ที่เรายังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงภูมิ อากาศหรือไม่ แต่อย่างน้อยนี่ก็เป็นสัญญาณเตือนให้เราต้องหันมาสนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง มากขึ้น

    โดยปรกติพายุเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีหรือไม่

    พายุ หมุนเขตร้อนจะเกิดได้ทั้งปี แต่จะเกิดถี่ในช่วงที่น้ำทะเลอุ่น ดังนั้นตำแหน่งที่จะเกิดพายุได้จึงมักจะเป็นบริเวณที่ผิวโลกตั้งฉากกับดวง อาทิตย์ ตำแหน่งที่ว่านี้จะเปลี่ยนไปตามการเอียงของแกนหมุนรอบตัวเองของโลก

    ช่วงที่จะเกิดพายุได้มากในซีกโลกภาคเหนือ คือช่วงเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน เดือนอื่นก็เกิดได้เหมือนกัน แต่เกิดได้น้อยกว่ามาก การที่ประเทศไทยจะได้รับผลจากพายุแต่ละลูกมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับแนวการเคลื่อนที่ของพายุด้วย โดยพายุที่เกิดขึ้นในต้นฤดู คือช่วงเดือนพฤษภาคมจนถึงกันยายนนั้นมักจะเคลื่อนตัวไปทางเหนือ อย่างจีนและญี่ปุ่น

    แต่พายุที่เกิดในช่วงปลายปีจะมีแนวทางการเคลื่อนตัวไปทางใต้ เนื่องจากช่วงเวลานี้มวลอากาศเย็นจากทางเหนือเริ่มแผ่ลงมา ทำให้พายุไม่สามารถเดินทางข้ามแนวรอยต่อระหว่างมวลอากาศร้อนและเย็นได้ แนวทางการเคลื่อนตัวจึงถูกดันให้เบนลงมาทางใต้

    เมื่อมวลอากาศเย็นแพร่เข้ามาปกคลุมจนทำให้ภูมิภาคบ้านเราเป็นฤดูหนาวอย่าง สมบูรณ์แล้ว โอกาสเกิดพายุก็จะน้อยมาก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดไม่ได้ เพราะความผิดปรกติเกิดขึ้นได้เสมอ

    อย่างเช่น ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ซึ่งโดยปรกติจะเป็นพื้นที่ปลอดพายุ แต่ระยะหลังก็มีพายุเกิดขึ้น เช่นกรณีของ พายุวาเม ในปี ๒๕๔๔ ที่สร้างความเสียหายให้สิงคโปร์ไม่น้อย ไม่ใช่เพราะพายุรุนแรง แต่เพราะเขาไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะมีพายุเกิดขึ้นใกล้กับเส้นศูนย์สูตรได้ขนาด นั้น

    เวลาที่เกิดน้ำหนุนจากพายุหรือ storm surge จะเกิดภาวะน้ำท่วมนานแค่ไหน

    จริงๆ แล้ว ถ้าน้ำสามารถไหลขึ้นลงได้อย่างอิสระโดยไม่มีอะไรกีดขวาง เมื่อพายุผ่านพ้นไปแล้วน้ำก็จะลดลงเป็นปรกติ โดยปรกติอิทธิพลจากพายุโดยตรงจะทำให้น้ำหนุนสูงอยู่ประมาณ ๑๐-๑๕ ชั่วโมง ซึ่งถือว่าไม่นานนัก แต่พื้นที่ชายฝั่งทะเลส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีการก่อสร้างต่างๆ

    รวมทั้งมีถนนและกำแพงที่กีดขวางการไหลกลับของน้ำ จึงทำให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ลักษณะคล้ายๆ ตอนที่เกิดน้ำท่วมแถวรังสิตเมื่อ ๑๐ กว่าปีที่แล้ว ตอนนั้นน้ำท่วมอยู่เป็นเดือนๆ เนื่องจากบริเวณนั้นเป็นที่ราบลุ่ม น้ำระบายลงสู่ทะเลได้ช้า

    กรณีน้ำท่วมที่เมืองนิวออร์ลีนส์ ก็เป็นเพราะสาเหตุนี้เหมือนกัน กรณีน้ำทะเลหนุนเนื่องจากพายุขนาดใหญ่นี้ ถ้าเกิดกับกรุงเทพฯ และปริมณฑลแล้ว คงจะยิ่งทำให้เกิดน้ำท่วมหนัก

    เพราะในช่วงปลายปี เป็นช่วงที่ระดับน้ำทะเลสูงอยู่แล้วตามธรรมชาติ ทั้งยังเป็นช่วงที่น้ำหลากจากทางเหนือยังไม่หมดดีอีกด้วย เรียกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑลมีปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อให้เกิดน้ำท่วมขังได้เกือบจะสมบูรณ์แบบทีเดียว

    โดยทั่วไปมีสาเหตุใดบ้าง ที่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

    ถ้าไม่นับน้ำขึ้นน้ำลงที่เกิดจากแรงกระทำระหว่างโลกกับดาวต่างๆ ซึ่งมีระยะเวลาการขึ้นลงที่แน่นอนแล้ว ปัจจัยหลักที่ทำให้ระดับน้ำทะเลผันแปรไปจากที่ควรจะเป็น อันแรกก็คือลม ซึ่งนอกจากลมพายุที่มาเป็นครั้งคราวแล้ว ยังมีลมมรสุมซึ่งพัดสลับทิศทางกันในแต่ละฤดู

    อย่างอ่าวไทยในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้หรือฤดูฝน น้ำในอ่าวจะถูกพัดออกไปยังทะเลจีนใต้ ทำให้ระดับน้ำทะเลต่ำลงกว่าในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว

    ในอนาคตเมื่อโลกร้อนขึ้นอีก ก็จะยิ่งทำให้ลมมรสุมพัดแรงขึ้น ระดับน้ำทะเลยิ่งสูงขึ้น ทำให้การระบายน้ำลงทะเลลำบากขึ้นอีก ถ้าไม่เตรียมการรับมือไว้แต่เนิ่นๆ เรื่องน้ำท่วมขังนี่คงดูไม่จืดเหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพฯ

    ปัจจัยต่อมาคือ การละลายของน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก กับการขยายตัวของน้ำทะเลเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าอีกสัก ๕๐ ปีข้างหน้า ระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยอาจจะสูงขึ้นประมาณครึ่งเมตร

    บางคนคาดว่าจะมากถึง ๒ เมตร แต่ที่แน่ๆ คือ ไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใดเชื่อว่าระดับน้ำทะเลจะลดลงหรือแม้แต่คงที่เท่าเดิม ระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น บวกกับลมที่แรงขึ้น อาจจะทำให้ระดับน้ำในบางบริเวณและในบางฤดูสูงขึ้นเกือบ ๑ เมตร

    ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดน้ำท่วมขังแล้ว ยังส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งและการรุกของน้ำเค็มเข้าไปในแม่น้ำ โดยเฉพาะที่ราบชายฝั่งทะเลตั้งแต่กรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรีบางส่วน ซึ่งมีความลาดชันน้อยมาก คืออยู่ในระดับ ๑ ต่อ ๑๐,๐๐๐ หรือน้อยกว่านั้น

    ระดับน้ำที่สูงขึ้นแม้เพียงเล็กน้อยในแนวดิ่ง จะมีอิทธิพลในแนวราบ คือทำให้น้ำไหลท่วมฝั่งได้ไกลกว่าที่คนทั่วไปคิด ผมว่านี่เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาและศึกษาให้รอบคอบ

    แม้ว่าตอนนี้ ระดับน้ำทะเลยังไม่ได้สูงขึ้นสักเท่าไร แต่เราก็พบปัญหาเรื่องการกัดเซาะและการรุกล้ำของน้ำเค็มแล้ว ถ้าระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีก ปัญหาเหล่านี้อาจจะทวีความรุนแรงขึ้น

    ตอนนี้พื้นที่ของกรุงเทพฯ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ๑ เมตรใช่ไหมครับ

    เฉลี่ย ประมาณ ๑ เมตร แล้วก็ทรุดจมลงทุกปีด้วยนะครับ สาเหตุที่กรุงเทพฯ ทรุดตัวลงนั้น ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการขุดเจาะน้ำบาดาล อีกส่วนหนึ่งคือพื้นที่บริเวณนี้มันไม่มั่นคงอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ซึ่งตามธรรมชาติจะต้องมีความสมดุลกันระหว่างตะกอนที่แม่น้ำพามาและตะกอนที่ น้ำทะเลพาออกไป

    ถ้าสมดุลนี้มันเปลี่ยนไป พื้นที่ก็พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงหรือทรุดตัว เรื่องการทรุดตัวของแผ่นดินบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาเกิดขึ้นมานานแล้ว พลเรือตรี คงวัฒน์ นีละศรี ได้เคยนำข้อมูลจากสถานีวัดระดับน้ำทะเลของกรมอุทกศาสตร์ที่สันดอนเจ้าพระยา ซึ่งตั้งมาประมาณ ๖๐-๗๐ ปีแล้ว มาวิเคราะห์

    พบว่า พื้นดินบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยามีการจมตัวอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะมีการขุดน้ำบาดาลกันอย่างรุนแรงในประเทศไทยเมื่อ ๓๐-๔๐ ปีก่อนด้วยซ้ำ

    ดังนั้นการจมตัวของกรุงเทพฯ จึงมีสาเหตุที่ซับซ้อนกว่าแค่การขุดเจาะน้ำบาดาลอย่างเดียว ส่วนการขุดเจาะน้ำบาดาลจัดเป็นตัวช่วยเร่งให้มันจมเร็วขึ้น

    สาเหตุของการทรุดตัวของกรุงเทพฯ มาจากอะไรอีกครับ

    คงจะเกี่ยวข้องกับ สมดุลของตะกอนที่ไหลเข้ามาและที่ถูกพัดออกไป เคยมีบางคนเสนอว่าเขื่อนกั้นแม่น้ำเจ้าพระยาก็อาจจะมีส่วน เพราะว่าเขื่อนจะปิดกั้นไม่ให้ตะกอนจากต้นน้ำทางเหนือไหลลงมาทางปากแม่น้ำ ในขณะที่ตะกอนทางใต้เขื่อนจนถึงปากแม่น้ำยังคงถูกพัดออกไปในอัตราที่มากกว่า การทดแทน

    สมดุลของตะกอนก็เสียไปเพราะมีตะกอนไหลออกมากกว่าไหลเข้า ก่อให้เกิดการกัดเซาะ นอกจากนี้ยังมีคนเชื่อว่าการพัฒนาที่ราบภาคกลางให้เป็นพื้นที่การเกษตร การสร้างระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพ

    สามารถจัดสรรน้ำและป้องกันไม่ให้น้ำไหลบ่าเข้ามาท่วมพื้นที่นา ตลอดจนการก่อสร้างเครือข่ายถนนหนทางต่างๆ ก็มีส่วนที่ทำให้ตะกอนในแม่น้ำลดลง ประเด็นเหล่านี้คงยังเป็นข้อโต้แย้งที่ไม่มีข้อสรุปไปอีกนาน

    ถ้าเกิดปัญหาน้ำท่วมบริเวณรอบๆ สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งรัฐบาลมีแผนจะพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เราจะแก้ไขอย่างไร เพราะบริเวณนั้นเป็นที่ลุ่มต่ำอยู่แล้ว

    พื้นที่บริเวณนั้นเป็น ส่วนหนึ่งของที่ราบต่ำชายฝั่งทะเล ซึ่งมีปัญหาเรื่องการระบายน้ำอยู่แล้ว โดยเฉพาะในช่วงที่น้ำทะเลขึ้นสูงซึ่งจะมีวันละ ๒ ครั้ง ในปัจจุบันพื้นที่บางส่วนถูกใช้เป็นพื้นที่แก้มลิงเพื่อสะสมน้ำ ทั้งที่เป็นน้ำเหนือและน้ำที่ระบายออกมาจากพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อรอให้น้ำทะเลลดต่ำลงมากพอที่น้ำจะไหลระบายลงทะเลได้

    วิธีการแก้มลิงนี้อาศัยกระบวนการทางธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็เป็นวิธีการที่ต้องใช้พื้นที่มาก เนื่องจากไม่สามารถขุดพื้นที่ให้ลึกลงไป เพราะจะทำให้ระดับน้ำต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ในอนาคตถ้ามีน้ำมากขึ้น

    ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และพื้นที่ที่เป็นแก้มลิงถูกพัฒนาไปเป็นพื้นที่เศรษฐกิจและใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น เราก็ต้องมีระบบอื่นมาทดแทนเพื่อป้องกันน้ำท่วม ซึ่งคงหนีไม่พ้นการใช้เทคโนโลยีและวิธีการทางวิศวกรรมต่างๆ

    เช่น การสร้างคันกั้นน้ำล้อมรอบและใช้การสูบน้ำ ซึ่งก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าพลังงานและค่าดำเนินการอื่นๆ ตามมา กลายเป็นต้นทุนอีกส่วนหนึ่งของการพัฒนาพื้นที่

    การที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาของกลางวันและกลางคืนหรือไม่

    การเปลี่ยนแปลงระยะเวลาของกลางวันและกลางคืนไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ แต่ขึ้นอยู่กับเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นและตกในแต่ละวัน ซึ่งเป็นกระบวนการทางดาราศาสตร์ จากการศึกษาเบื้องต้น โดยใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์ ที่เราได้ทำมาระยะหนึ่ง เราพบว่า อากาศในโลกที่ร้อนขึ้นนั้น ไม่ได้ร้อนขึ้นเท่าๆ กันทั้งกลางวัน กลางคืน

    เราพบว่า อุณหภูมิในช่วงกลางวันของประเทศไทยสำหรับวันเดียวกันในแต่ละปีจะไม่ เพิ่มขึ้นกว่าในปัจจุบันมากนัก แต่อุณหภูมิในช่วงกลางคืนจะสูงกว่าในปัจจุบันอย่างชัดเจน โดยเฉพาะบริเวณที่ราบภาคกลางและภาคตะวันออกที่ได้รับอิทธิพลจากลมบกลมทะเล สาเหตุน่าจะเป็นเพราะลมทะเลในช่วงกลางวันและบ่ายจะพัดแรงขึ้น

    เนื่องจากพื้นแผ่นดินที่ร้อนมากขึ้น อันเป็นผลมาจากปรากฏการณ์เรือนกระจก มวลอากาศจึงถูกแทนที่ด้วยอากาศจากทะเลซึ่งเย็นกว่า

    ในขณะที่ตอนกลางคืน พื้นแผ่นดินที่ร้อน จะทำให้ลมบกในช่วงดึกและช่วงเช้ามืด พัดไม่แรงมากเท่าในปัจจุบัน ดังนั้นความร้อนที่แผ่หรือคายออกมาจากพื้นดินจึงสะสมอยู่ในอากาศ

    สาเหตุที่โลกร้อนขึ้นเป็นเพราะอะไรครับ

    สาเหตุ หลักคือ Greenhouse Effect หรือภาวะเรือนกระจก ที่ทำให้พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่สะท้อนออกจากเปลือกโลกกลับออกไปใน อวกาศไม่ได้ เพราะว่ามันถูกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกตัวอื่นๆ ดักเอาไว้

    คือคลื่นที่เข้ามาเป็นคลื่นแสงสว่างที่มีพลังงานสูง สามารถทะลุผ่านชั้นก๊าซต่างๆ เข้ามาได้ แต่พอมากระทบกับพื้นโลกมันก็จะเสียพลังงานไป เปลี่ยนเป็นคลื่นพลังงานความร้อนซึ่งไม่มีพลังงานมากพอที่จะทะลุชั้นก๊าซ ต่างๆ ในบรรยากาศออกไปได้

    พลังงานจึงถูกกักเก็บสะสมเอาไว้ในรูปของความร้อน แต่ถามว่าโลกเราจำเป็นต้องมีก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้หรือไม่ คำตอบก็คือต้องมี

    เพราะถ้าไม่มีก๊าซพวกนี้ โลกเราก็จะเป็นเหมือนกับดวงจันทร์ที่มีอุณหภูมิที่ผิวพื้นติดลบหลายสิบองศา เซลเซียส สิ่งมีชีวิตทั้งหลายคงไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ วิวัฒนาการในโลกก็คงจะไม่เกิดขึ้น

    ปัญหาของภาวะเรือนกระจกก็คือก๊าซเรือนกระจกหนาขึ้นใช่ไหมครับ

    มันไม่ได้หนาขึ้น แต่มันเข้มข้นมากขึ้น สาเหตุหลักคือธาตุคาร์บอนที่เคยสะสมอยู่ในรูปของน้ำมันและถ่านหิน ซึ่งควรจะอยู่ในที่ของมัน เราเอามาเผาเพื่อนำพลังงานมาใช้ ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

    ซึ่งตามธรรมชาติถ้าเราให้เวลามันนานเพียงพอ กระบวนการตามธรรมชาติในโลกจะค่อยๆ ดึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศกลับออกไป แต่ตอนนี้เราขุดคาร์บอนขึ้นมาเผาวันละ ๘๐ ล้านบาร์เรล มันเร็วเกินกว่าที่กระบวนการตามธรรมชาติจะกำจัดออกไปได้ มันก็สะสมในอากาศมากขึ้นจนเกิดภาวะเรือนกระจก

    นอกจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว ก็ยังมีก๊าซมีเทนอีกตัวหนึ่งที่เป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ เรื่องนี้เป็นประเด็นทางการเมืองระหว่างประเทศด้วย กล่าวคือที่ผ่านมาเวลามีการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยปัญหาภาวะเรือนกระจก

    ประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมักจะเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ มาก ก็พยายามที่จะยกประเด็นว่า ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมักจะเป็นประเทศเกษตรกรรมก็ผลิตก๊าซมีเทนมากด้วยเช่นกัน

    โดยยกตัวอย่าง การปลูกข้าวแบบให้น้ำท่วมขัง ซึ่งจะทำให้ดินขาดออกซิเจน แบคทีเรียบางชนิดจึงผลิตก๊าซมีเทนในทำนองเดียวกับกระบวนการในบ่อเกรอะบ่อ หมักต่างๆ และเนื่องจากก๊าซมีเทนสามารถกักเก็บความร้อนได้ดีกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง ๑๐ เท่า

    ดังนั้น ประเทศที่พัฒนาแล้ว จึงพยายามกดดันให้ประเทศกำลังพัฒนาร่วมรับผิดชอบ ด้วยในระดับหนึ่ง แต่ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งนำโดยจีนและอินเดียก็ไม่ยอม

    ผมได้เรียนถามผู้รู้ในเรื่องการปลูกข้าว ก็ได้รับคำอธิบายว่า การที่ชาวนาต้องขังน้ำไว้ในแปลงนานั้นก็เพื่อควบคุมวัชพืช ถ้าเรามีวิธีอื่นในการควบคุมวัชพืชก็อาจจะไม่ต้องใช้วิธีนี้ก็ได้

    นอก เหนือจากเชื้อเพลิงฟอสซิลแล้ว สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกยังได้แก่การลดลงของไม้ยืนต้นและสารอินทรีย์ที่ อยู่ในดิน เนื่องมาจากการแปรสภาพพื้นที่ป่าไปเป็นพื้นที่การเกษตรและที่อยู่อาศัย

    นอกจากนี้ การทำการเกษตรโดยใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ก็ยังก่อให้เกิดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญอีกตัวหนึ่งด้วย

    หลังจากที่มนุษย์เริ่มนำน้ำมันขึ้นมาใช้และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศโลก อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นกี่องศา

    ทุกวันนี้ อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ ๑ องศาเซลเซียส เปรียบเทียบกับเมื่อร้อยปีก่อนซึ่งเป็นช่วงที่มนุษย์เริ่มนำเชื้อเพลิงฟอสซิ ล อันได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ มาเป็นแหล่งพลังงานเพื่ออุตสาหกรรมและการขนส่ง

    กิจกรรมดังกล่าวของมนุษย์ ทำให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่ม ขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มจากประมาณ ๒๘๐ ppm (๒๘๐ ส่วนในล้านส่วน) เมื่อ ๑๐๐ ปีที่แล้ว มาเป็นประมาณ ๓๗๐ ppm ในปัจจุบัน

    แต่ในอีก ๑๐๐ ปีข้างหน้า ถ้าไม่มีการแก้ไขหรือชะลอการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมทั้งหากไม่มีการฟื้นฟูสภาพป่าและที่ดิน ภาวะเรือนกระจกอาจจะเพิ่มจาก ๓๗๐ ppm ในปัจจุบัน ขึ้นเป็นเกือบ ๑,๐๐๐ ppm ก็ได้ คือจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าที่ผ่านมาอย่างมาก ดังนั้นถึงแม้ว่าในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา

    การกระทำของมนุษย์จะส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น ๑ องศา แต่ในอีกศตวรรษข้างหน้านี้ โลกอาจจะมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ๓-๔ องศา และบางพื้นที่อาจจะเพิ่มขึ้นมากกว่า ๕ องศาก็ได้

    ผลสืบเนื่องที่สำคัญก็คงไม่พ้นเรื่องเกี่ยวกับน้ำ คือน้ำท่วม ฝนแล้ง หลายพื้นที่อาจจะมีฝนมากขึ้น ลมแรงขึ้น พายุมากขึ้น ขณะที่หลายพื้นที่ก็จะแห้งแล้งมากขึ้นเหมือนกัน ในเรื่องนี้คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change-IPCC) ได้มีการรวบรวมผลการจำลองภูมิอากาศไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการคาดการณ์ว่า แต่ละภูมิภาคในโลกจะร้อนมากขึ้นเท่าใด และจะมีฝนมากขึ้นหรือน้อยลงอย่างไร

    อย่างทวีปเอเชีย IPCC คาดว่า ประเทศตามชายฝั่งทะเลจะได้รับฝนมากขึ้น แต่ถ้าลึกเข้าไปตอนกลางของทวีป ปริมาณฝนมักจะลดลงจากปัจจุบัน แต่เกือบทุกภูมิภาคจะร้อนขึ้นทั้งนั้น แทบจะไม่มีที่ไหนในโลกที่เย็นลงเลย อย่างมากก็เท่าเดิม

    นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วง ๑๐-๔๐ ปีข้างหน้านี้ อุณหภูมิจะสูงขึ้นจากปัจจุบันเกือบๆ ๑ องศา ส่วนการเปลี่ยนแปลงปริมาณฝนยังไม่ชัดเจน แต่ในช่วง ๗๐-๑๐๐ ปีข้างหน้าอุณหภูมิจะเพิ่มสูงกว่าในปัจจุบันประมาณ ๒-๕ องศา

    และค่อนข้างชัดเจนว่าจะมีฝนมากขึ้นในทุกฤดู โดยเฉพาะในช่วงเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายนซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน น่าจะมีฝนมากขึ้นประมาณ ๕ เปอร์เซ็นต์

    นอกจากก๊าซเรือนกระจกแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่อาจจะทำให้ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงหรือไม่

    จะมีเรื่องของละอองขนาดเล็ก ที่ลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศ เรียกว่า aerosol ซึ่งเกิดมาจากหลายกระบวนการ บางส่วนเกิดจากเกลือที่มาจากละอองน้ำทะเลซึ่งฟุ้งขึ้นมาจากทะเล บางส่วนมาจากควันและเขม่าที่เกิดจากการเผาไหม้ต่างๆ

    ซึ่งรวมทั้งการเผาป่า การเผาเชื้อเพลิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ่านหิน และบางส่วนมาจากสารเคมีพวกซัลเฟตและอื่นๆ เป็นต้น ในตอนนี้เรายังมีความรู้เกี่ยวกับพวก aerosol เหล่านี้ไม่มากนัก แต่เชื่อกันว่า aerosol บางส่วนอาจจะทำให้โลกเย็นลงบ้าง เนื่องจากจะช่วยกรองแสงอาทิตย์ไว้ นอกจากนี้ยังอาจจะทำให้มีฝนมากขึ้น

    เนื่องจาก aerosol บางตัวสามารถดูดความชื้นจากอากาศให้รวมตัวเป็นหยดน้ำและกลายเป็นเม็ดฝนในที่ สุด อย่างไรก็ดี aerosol หลายชนิด อาจจะเป็นโทษกับสิ่งมีชีวิตและมนุษย์ เนื่องจากเป็นสาเหตุของฝนกรดและทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ

    เรื่องของน้ำแข็งขั้วโลกละลายจากความร้อนที่เพิ่มขึ้น จะก่อให้เกิดผลกระทบมากน้อยเพียงใด

    นี่คงเป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจาก ข่าวภูเขาน้ำแข็งลอยน้ำที่แตกออกมาจากแผ่นน้ำ แข็งที่ปกคลุมขั้วโลกเหนือและใต้ และมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะเป็นสัญญาณชี้ให้เห็นว่าน้ำแข็งที่ปกคลุมขั้ว โลกกำลังลดลงหรือไม่

    ผมขอเรียนว่าตามธรรมชาติแล้ว แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกจะมีการแตกออกมาเป็นภูเขาน้ำแข็งลอยน้ำ ซึ่งแต่ละก้อนก็ใหญ่โตมาก บางก้อนอาจจะมีปริมาตรเป็นลูกบาศก์กิโลเมตร อาจจะมีส่วนที่มองเห็นพ้นน้ำกว้างยาวหลายกิโลเมตร แล้วยังมีส่วนที่จมน้ำอยู่อีก ๙ ส่วน ภูเขาน้ำแข็งในทะเลเหล่านี้จะละลายกลายเป็นน้ำจนหมด ซึ่งอาจจะใช้เวลาหลายเดือน

    อย่างไรก็ตาม น้ำแข็งที่แตกออกมาจากขั้วโลกนี้จะถูกทดแทนด้วยหิมะที่ตกทับถม และอัดตัวกลายเป็นก้อนน้ำแข็ง ทำให้ขอบนอกของแผ่นน้ำแข็งขั้วโลกกว้างออกไปเรื่อยๆ พอขอบกว้างออกไปถึงบริเวณที่มีอากาศอบอุ่นขึ้น ก็จะเริ่มแตกหักลอยออกไปในมหาสมุทรอีกเป็นวัฏจักร

    ซึ่งบางครั้ง อาจจะเร็วบ้างช้าบ้าง การที่โลกเราร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจจะทำให้การแตกของน้ำแข็งเกิดเร็วกว่า การเกิดทดแทน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเพียงปีสองปีนั้นไม่เพียงพอ จะต้องดูจากข้อมูลระยะยาว

    ซึ่งโดยปรกติ วัฏจักรที่เกี่ยวกับภูมิอากาศที่เป็นที่ยอมรับตามเกณฑ์ของ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ต้องใช้ข้อมูลย้อนหลังอย่างน้อย ๓๐ ปีจึงสามารถบอกได้ นอกจากนี้หากน้ำแข็งขั้วโลกเหนือและใต้มีการละลายอย่างต่อเนื่องจริง

    เพียงแค่ ๑ เปอร์เซ็นต์ของน้ำแข็งขั้วโลก ก็สามารถทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นถึง ๑ เมตรได้แล้ว เพราะฉะนั้นการจะบอกว่าอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย อย่างต่อเนื่อง คงเป็นการด่วนสรุปเกินไป

    และถึงตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ก็ยังไม่เชื่อว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจกจะ ทำให้โลกของเราร้อนมากขึ้นจนถึงระดับที่น้ำแข็งขั้วโลกละลายจนหมดสิ้น

    ซึ่งประมาณว่าจะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นราวๆ ๑๐๐ เมตร เนื่องจากถ้าโลกเราร้อนมากถึงขนาดนั้น ระบบต่างๆ ทั้งทางกายภาพและชีวภาพคงจะเปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างสิ้นเชิง

    แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยอมรับว่าน้ำแข็งบนยอดเขาหลายแห่งทั่วโลกละลายมากกว่าปรกติ

    ครับ ธารน้ำแข็งถาวรบนยอดเขาเกือบทุกแห่งทั่วโลก เช่น บนยอดเขาหิมาลัย ยอดเขาแอนดีส แม้แต่บนยอดเขาที่ปาปัวนิวกินีก็มีขนาดลดลงอย่างชัดเจนมาก เมื่อเปรียบเทียบ กับภาพถ่ายในช่วงเวลาเดียวกันของปี ที่เคยมีผู้ถ่ายไว้เมื่อหลายสิบปีก่อน ปรากฏการณ์นี้เป็นหลักฐานสำคัญที่ช่วยยืนยันว่า อุณหภูมิของโลกน่าจะสูงขึ้นจริง


    ในระยะยาวปรากฏการณ์นี้จะส่งผลอย่างไร เพราะว่าน้ำแข็งบนยอดเขาหลายแห่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย

    โดยปรกติ ธารน้ำแข็งบนภูเขาจะละลายลงในฤดูร้อน ในอัตราที่สมดุลกับการเกิดทดแทนของหิมะในฤดูหนาว ดังนั้นขนาดของธารน้ำแข็งก็จะมีการขยายและหดตัวตามฤดูเป็นวัฏจักรธรรมชาติ ปริมาณน้ำที่ไหลลงมาตามแม่น้ำ ก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำแข็งที่มีการสะสมไว้ในฤดูหนาว การที่ปริมาณน้ำต้นทุนบนยอดเขาจะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นกับว่าหิมะที่ตกสะสมใน ฤดูหนาวมีมากหรือน้อย

    ถ้าในอนาคตฤดูหนาวสั้นลง หรือไม่หนาวเท่าที่เคยเป็นมา หิมะก็อาจจะมีน้อยลง และทำให้น้ำในแม่น้ำน้อยลงได้ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทำให้อากาศที่มีความชื้นสูงจากทะเลถูกพาเข้ามาตก เป็นหิมะบนยอดเขามากขึ้น ก็อาจจะทำให้แม่น้ำมีน้ำมากขึ้นก็ได้ ตรงนี้คงขึ้นกับที่ตั้งของภูเขาแต่ละแห่งและลักษณะภูมิอากาศของแต่ละพื้นที่

    ผมคิดว่าถ้ามองภาพรวมของทั้งลุ่มน้ำ โดยเฉพาะแม่น้ำโขงที่อยู่ใกล้ตัวเรา ผลจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อปริมาณน้ำในส่วนที่มาจากหิมะบนที่ราบสูง ทิเบตทางตอนบนของลุ่มน้ำ คงไม่มากเท่ากับผลที่มีต่อปริมาณฝนในช่วงตอนล่างของลุ่มน้ำ

    เนื่องจากน้ำที่มีการสะสมในลุ่มน้ำตอนบนจนมาถึงเชียงแสนนั้นมีปริมาณรวมกัน เพียงไม่ถึง ๒๐ เปอร์เซ็นต์ เทียบกับฝนที่ตกในประเทศไทยและลาวซึ่งมีปริมาณรวมกันมากกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์

    จากการศึกษาของเราคาดว่า ประเทศลาวโดยรวมน่าจะมีฝนมากขึ้นประมาณ ๑๐-๒๐ เปอร์เซ็นต์ เลยมีการพูดกันเล่นๆ ว่า ประเทศลาวน่าจะทำเขื่อนได้มากขึ้นเพื่อผลิตและขายไฟฟ้าได้มากขึ้น


    ปรากฏการณ์โลกร้อนจะทำให้เกิดผลกระทบด้านใดอีก

    มีความเป็นไปได้อยู่หลายประเด็น เช่น โรคระบาด ปะการังเปลี่ยนสี ไฟป่า สัตว์หรือพืชบางชนิดหายไปจากที่ที่เคยพบ บางชนิดปรากฏขึ้นในที่ที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ส่วนมากผลกระทบพวกนี้มักจะเกี่ยวข้องกับการเกิดเอลนีโญด้วย

    เอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ที่ลมฟ้าอากาศเกิดผิดปรกติขึ้นเป็นบางปี คือในปีนั้นลมที่พัดจากตะวันออกมาตะวันตกบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรในมหาสมุทร แปซิฟิกซึ่งปรกติเคยพัดแรง มันเกิดอ่อนกำลังลง จึงทำให้น้ำอุ่นที่เคยกองรวมอยู่ทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรไหลย้อนไปทางตะวันออก เพราะไม่มีลมคอยต้านไว้

    เมฆและฝนที่เคยปกคลุมชายฝั่งทวีปเอเซียแถวแถวฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย จึงมีน้อยลง ก่อให้เกิดความแห้งแล้ง ไฟป่า และโรคระบาด แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เอลนีโญกับโลกร้อนนั้นสัมพันธ์กันอย่างไร

    เป็นเพียงข้อสังเกตและการสันนิษฐานเท่านั้น โดยเฉพาะระยะหลังๆ นี้เกิดเอลนีโญถี่ขึ้น และแต่ละครั้งก็รุนแรงกว่าในอดีต เรื่องนี้จึงเป็นอีกเรื่องที่ต้องจับตาและติดตามความก้าวหน้าของการศึกษาต่อ ไป

    เอลนีโญมีโอกาสจะเกิดขึ้นอีกไหมครับ


    เอลนี โญจะกลับมาอีกแน่นอน แต่จะเป็นปีไหนเรายังพยากรณ์ไม่ได้เนื่องจากเรายังไม่เข้าใจปรากฏการณ์นี้ดี พอ แต่จากสถิติที่ผ่านมาในอดีต ทุกๆ ประมาณ ๑๐-๑๕ ปีจะเกิดเอลนีโญครั้งหนึ่ง แต่ช่วงหลัง ๆ จะเกิดทุก ๆ ประมาณ ๖-๗ ปี

    ล่าสุดเกิดในปี ๒๕๔๕-๒๕๔๖ เป็นเอลนีโญอย่างอ่อน ก่อนหน้านั้นก็มีในปี ๒๕๓๙-๒๕๔๐ ซึ่งเป็นเอลนีโญขนาดรุนแรง ดังนั้นถ้าจะเดาแบบใช้สถิติแนวโน้มแต่เพียงอย่างเดียว เอลนีโญน่าจะเกิดอีกครั้งหนึ่งในปี ๒๕๕๑

    ทั้งนี้ เราจะต้องจับตาดูปรากฏการณ์นี้อย่างต่อเนื่อง เพราะเอลนีโญมักจะมีสัญญาณเตือนล่วงหน้าประมาณ ๑ ปี การติดตามข้อมูลภูมิอากาศโลกโดยเฉพาะความกดอากาศและอุณหภูมิผิวน้ำทะเลใน มหาสมุทรแปซิฟิกจึงเป็นเรื่องสำคัญมากในการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับเอลนี โญ

    ภาคการเกษตรจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอย่างไร

    การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยเฉพาะอุณหภูมิตอนกลางคืนที่สูงขึ้น อาจจะมีผลต่อการติดผลของไม้ผลบางชนิดได้ เรื่องนี้คงต้องสอบถามจากผู้ที่มีความรู้ด้านนี้เพิ่มเติม แต่จากการที่เราได้ประสานงานให้เริ่มมีการวิจัยในเรื่องนี้ ซึ่งนำโดย ดร. อรรถชัย จินตะเวช ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    พบว่า ผลผลิตของพืชไร่ที่สำคัญ โดยเฉพาะข้าวและมันสำปะหลัง มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ผลผลิตอ้อยและข้าวโพดดูเหมือนว่าจะดีขึ้น ดังนั้นถึงแม้ว่าคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีมากขึ้นในบรรยากาศอาจจะทำให้พืชโตเร็วขึ้น

    แต่ถ้าปริมาณน้ำและฤดูกาลต่างๆ ไม่เหมาะสม ก็อาจจะทำให้ผลผลิตลดลงได้ นี่ยังไม่นับถึงว่า ปริมาณฝนที่มากขึ้นจะชะเอาความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดินออกไป ถ้าภาคการเกษตรของเราไม่เริ่มเตรียมการปรับตัวก็คงจะเกิดปัญหาแน่

    ชาวนาต้องปรับตัวตั้งแต่วิธีการปลูกข้าว การเลือกใช้พันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับสภาพอากาศที่ฝนตกชุกและอากาศร้อนขึ้น อาจจะต้องมีการเตรียมหรือพัฒนาพันธุ์ข้าวที่โตเร็ว เพื่อให้ต้นข้าวสูงพ้นระดับน้ำที่จะท่วมเข้ามาในนาช่วงน้ำหลก

    นอกจากนี้ สมมุติว่าในอนาคต แดดอาจจะน้อยลงเพราะเมฆฝนมีมากขึ้น เราก็ต้องหาวิธีการทำให้ข้าวแห้ง อย่างที่เวียดนามเขาปลูกข้าวได้ถึงปีละ ๓ ครั้ง แต่ผลผลิตสุทธิก็ยังได้ไม่มากกว่าไทยสักเท่าไร เพราะว่าแม้จะปลูกและเก็บเกี่ยวได้มาก

    แต่ว่าไม่มีแดดมากพอที่จะตาก ข้าวจึงเสียมาก ตอนนี้เวียดนามเขาคิดไว้แล้วว่าจะพัฒนาการใช้ถ่านหินเพื่อเป็นเชื้อเพลิงใน การอบข้าวให้แห้ง นับว่าเขามองการณ์ไกลทีเดียว ขณะที่ประเทศไทยอาจจะยังไม่ได้คิดไปถึงตรงนั้น

    พอเข้าหน้าหนาว ช่วงเวลาที่จะมีอากาศหนาวเย็นจะสั้นลงด้วยไหม

    สั้นลงครับ สังเกตง่าย ๆ ว่าแต่ละปีจำนวนคนใส่เสื้อกันหนาวตามถนนดูจะน้อยลง ยอดขายเสื้อกันหนาวก็คงจะลดลงด้วย ซึ่งน่าจะเป็นเพราะอากาศในฤดูหนาวอุ่นขึ้น แต่เราจะดูจากในเมืองอย่างเดียวไม่ได้

    เพราะในเมืองใหญ่ๆ เช่นกรุงเทพฯ มันมีสิ่งที่เรียกว่า โดมความร้อน หรือ heat island ซึ่งเป็นผลมาจากอาคารต่างๆ ที่มีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากสถานีตรวจอากาศในเมืองจึงไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นตัวชี้ ถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในภาพใหญ่

    เราจะต้องใช้ข้อมูลจากสถานีที่สภาพแวดล้อมโดยรอบคงที่ให้มากที่สุด คือไม่มีการก่อสร้าง การตัดต้นไม้ หรือเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ที่จะมีผลต่อสภาพอากาศในบริเวณนั้น

    นอกจากสาเหตุที่มาจากมนุษย์แล้ว อุณหภูมิของโลกขึ้นกับปัจจัยอื่นอีกบ้างหรือไม่

    ถ้าพูดกันระยะยาว คือเป็นหลักแสนจนถึงหลายๆ ล้านปี โลกของเราจะมีทั้งยุคที่เย็นจัดกระทั่งพื้นผิวโลกส่วนใหญ่ถูกปกคลุมด้วยน้ำ แข็ง และยุคระหว่างยุคน้ำแข็ง ในช่วง ๔๐๐,๐๐๐ ปีที่ผ่านมานี้ เรามียุคน้ำแข็งหลักๆ ๔ ครั้ง ซึ่งกินเวลาครั้งละประมาณ ๕๐,๐๐๐-๑๐๐,๐๐๐ ปี ในขณะที่มียุคระหว่างยุคน้ำแข็ง ๔ ครั้งเหมือนกัน แต่ละครั้งกินเวลาเพียงประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีหรือน้อยกว่า

    ในปัจจุบัน ถ้าไม่มีภาวะเรือนกระจกอันเนื่องมาจากมนุษย์ เราควรจะอยู่ในจุดที่อุณหภูมิสูงที่สุดของยุคระหว่างยุคน้ำแข็งและกำลังจะ เข้าสู่ยุคน้ำแข็งหรือยุคที่เย็น แต่ปรากฏว่ามันไม่เป็นเช่นนั้น

    ทำไมวัฏจักรของโลกต้องมียุคน้ำแข็งด้วยครับ

    มันเกิดขึ้นเนื่องจาก รูปแบบของวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรีที่สัดส่วน ระหว่างความกว้างและความยาวจะแปรเปลี่ยนไปตามวัฏจักรของมัน นอกจากนี้แกนการหมุนรอบตัวเองของโลกยังมีการแกว่งอีกด้วย

    ดังนั้น บางช่วงที่โลกได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์น้อย ก็จะเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง ในช่วงที่ได้รับความร้อนมากก็จะเข้าสู่ยุคระหว่างยุคน้ำแข็ง โดยในช่วงที่เป็นยุคน้ำแข็งนั้น นอกจากอุณหภูมิอากาศจะเย็นลงแล้ว ระดับน้ำทะเลยังอาจจะต่ำลงเป็น ๑๐ เมตร

    ดังนั้น ในช่วงยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้ายที่เรียกว่ายุควิสคอนซิน เมื่อประมาณ ๑๕,๐๐๐ ปีที่แล้ว พื้นที่ส่วนมากบริเวณอ่าวไทยคงจะเป็นแผ่นดิน และถ้ามีมนุษย์อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้แล้วในยุคนั้น มนุษย์เหล่านั้นก็อาจจะเคยสร้างที่อยู่หรือเพาะปลูกในพื้นที่ที่ปัจจุบัน เป็นทะเลก็ได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบลุ่มที่น่าจะอุดมสมบูรณ์

    การที่น้ำแข็งปกคลุมทั่วโลกหรือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดแผ่นดินไหวหรือไม่

    เป็นไปได้ สำหรับบางพื้นที่ เพราะการที่ชั้นน้ำแข็งปกคลุมแผ่นดินเป็นจำนวนมากในยุคน้ำแข็งนั้น จะทำให้ทวีปหนักขึ้นและกดให้เปลือกโลกตรงนั้นจมลึกลงไปในชั้นหินหลอมละลาย ที่รองรับอยู่ข้างล่าง

    เมื่อเข้าสู่ยุคที่ร้อนขึ้นเช่นในปัจจุบัน น้ำแข็งละลายหายไป ทวีปจึงเบาขึ้นและค่อยๆ ลอยยกสูงขึ้นมา หรือที่เรียกว่า rebound ในระหว่างการยกตัวนี้เองที่อาจจะเกิดการติดขัดและหลุดเลื่อนเป็นระยะ ทำให้มีการสั่นสะเทือนเกิดเป็นแผ่นดินไหวได้

    ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในแคนาดาและสหรัฐอเมริกา แผ่นดินไหวเหล่านี้มักมีจุดศูนย์กลางอยู่ตอนกลางๆ แผ่นเปลือกโลกมากกว่าตามขอบของแผ่นเปลือกโลก และมักจะไม่รุนแรงมากนัก

    ถึงตอนนี้เราจะพูดได้ไหมว่าอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด และถ้าเป็นเช่นนั้นสาเหตุทั้งหมดเกิดขึ้นจากอะไร

    การเปลี่ยนแปลงเท่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ ยังไม่ถึงขนาดที่เรียกได้ว่าเปลี่ยนจนเห็นได้ชัด ยกเว้นในเรื่องของอุณหภูมิและการละลายของน้ำแข็ง แต่ถ้าพูดในเรื่องของภัยพิบัตินั้นจัดอยู่ในระดับที่เกือบๆ จะสรุปได้ว่าเปลี่ยน ถ้าในอีก ๒-๓ ปีข้างหน้านี้มีภัยพิบัติระดับที่ทำลายสถิติเดิมเกิดขึ้นอีกสัก ๒-๓ เหตุการณ์ นักวิทยาศาสตร์คงสรุปว่าภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปในระดับที่เห็นได้ชัดเจน

    แต่ทั้งนี้ผมคิดว่า เราไม่น่าจะต้องรอให้นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อสรุปตรงนั้น ก่อนจึงค่อยเริ่มคิดทำอะไรกัน การเริ่มต้นบางอย่าง เช่น การเริ่มทำความเข้าใจกับวิทยาการด้านอากาศ การรู้จักนำข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับสภาพอากาศและภูมิอากาศมาใช้ในชีวิตประจำวันและในธุรกิจต่างๆ

    การเข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยลดสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอันได้แก่ ก๊าซเรือนกระจกต่างๆ เท่าที่จะทำได้ โดยไม่กระทบกับการดำเนินชีวิตตามปรกติมากนัก ตลอดจนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมที่จะเพิ่มความเข้มแข็งของภาคส่วนและชุมชน ต่างๆ ที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตเหล่านี้ นับเป็นการเริ่มต้นที่ดี

    อย่ามองว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ มันเป็นเรื่องไกลตัวหรือไร้สาระ เพราะอย่างที่เห็นตัวอย่างกันแล้วว่า ภัยพิบัติต่างๆ นั้นใกล้ตัวกว่าที่คิด

    คนทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลการพยากรณ์อากาศได้มากกว่าคำเตือนเรื่องพายุฝนอย่างที่เป็นอยู่หรือไม่

    ทุกวันนี้ เวลาพูดถึงการพยากรณ์อากาศ คนส่วนมากยังสนใจการพยากรณ์ระยะสั้น คือช่วง ๑-๕ วัน และมักจะคิดเอาว่าทุกอย่างต้องถูกต้อง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจริงๆ ไม่ได้เป็นเช่นนั้น การพยากรณ์ทุกอย่างย่อมต้องมีความไม่แน่นอนเสมอ โดยเฉพาะการพยากรณ์ที่เป็นการพยากรณ์สาธารณะนั้นไม่สามารถจำเพาะเจาะจงให้ ใครหรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นพิเศษ ผู้ฟังควรจะต้องสังเกตสภาพพื้นที่ของตัวเองและติดตามการพยากรณ์เป็นประจำ ไม่ใช่ติดตามเฉพาะเวลาที่มีสภาพอากาศรุนแรงเท่านั้น

    การพยากรณ์อีกประเภทหนึ่งคือ การพยากรณ์ระยะกลาง ล่วงหน้าตั้งแต่ ๑-๖ เดือนหรืออาจจะนานกว่านั้น ซึ่งจะเป็นการคาดการณ์ลักษณะอากาศรวมทั้งปรากฏการณ์เอลนีโญ เป็นต้น ข้อมูลพวกนี้จะช่วยทำให้การวางแผนประกอบการต่างๆ

    เช่น การเพาะปลูก การสต็อกสินค้า การผลิตสินค้าต่างๆ รัดกุมขึ้น เช่นถ้ามีการคาดการณ์ว่าปีหน้าอาจจะเกิดเหตุการณ์เอลนีโญ ซึ่งมักจะทำให้สภาพอากาศร้อนและแล้งกว่าปรกติ ผู้ประกอบการผลิตไอศกรีมก็อาจจะเตรียมสต็อกวัตถุดิบต่างๆ ให้เพียงพอ

    บริษัทผู้ผลิตเสื้อกันหนาวก็อาจจะลดการผลิตลง จะเห็นได้ว่าเราสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน ไม่ว่าเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องแฟชั่น การเกษตร แต่ผู้ใช้ก็ต้องรู้จักบริหารความเสี่ยงด้วย เพราะการคาดการณ์ล่วงหน้าแบบนี้จะมีระดับความผิดพลาดสูงกว่าการพยากรณ์ระยะ สั้นอย่างแน่นอน

    การพยากรณ์ประเภทสุดท้ายคือ การคาดการณ์ระยะยาว เช่นการคาดการณ์เกี่ยวกับภูมิอากาศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับโครงการที่มีระยะเวลาดำเนินการ นานๆ เช่นถ้ามีการคาดการณ์ว่าพื้นที่หนึ่งอาจจะมีฝนมากขึ้น

    ก็อาจจะต้องเผื่องบประมาณในส่วนของการบำรุงรักษา ตลอดจนการประกันภัยไว้ด้วย เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียได้เริ่มกำหนดให้การประเมิน ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์โครงการด้วยแล้ว

    สิ่งสุดท้ายที่อยากจะฝากเป็นข้อคิดก็คือ เนื่องจากการพยากรณ์ที่เกี่ยวกับภูมิอากาศนั้นมีความไม่แน่นอนอยู่สูง และข้อมูลต่างๆ ก็มักจะมีไม่เพียงพอ ดังนั้น ผู้ฟังจึงควรเปิดใจให้กว้าง รับฟังความคิดเห็นหรือข้อสังเกตจากหลายๆ แหล่ง หลายๆ มุมมอง

    อย่าเชื่อในมุมใดมุมหนึ่ง โดยเฉพาะมุมมองที่สุดขั้ว นอกจากนี้ อย่าไปยึดติดหรือประมาทว่าอะไรที่ไม่เคยเกิดมันจะไม่เกิด เพราะในรอบไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราคงจะเห็นกันแล้วว่า หลายอย่างที่ไม่เคยเกิด มันก็ได้เกิดขึ้นแล้ว



    http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=446

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2010
  4. หมูเล็ก

    หมูเล็ก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2008
    โพสต์:
    914
    ค่าพลัง:
    +2,144
    <TABLE style="MARGIN: 0px; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif', 'Microsoft Sans Serif', Tahoma; COLOR: rgb(34,34,34); FONT-SIZE: 14px; TEXT-DECORATION: none" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%"><TBODY><TR><TD target="_blank" cner1.gif);? images href="http://www.tmd.go.th" </TD><TD style="BORDER-TOP: gray 1px solid" width="97%"><TABLE style="MARGIN: 0px; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif', 'Microsoft Sans Serif', Tahoma; COLOR: rgb(34,34,34); FONT-SIZE: 14px; TEXT-DECORATION: none" width="100%"><TBODY><TR><TD height=1></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD target="_blank" images href="http://www.tmd.go.th" </TD></TR><TR><TD style="BORDER-LEFT: gray 1px solid; BORDER-RIGHT: gray 1px solid" width="100%" colSpan=3 align=middle>[SIZE=+1]ประกาศเตือนภัย[/SIZE]
    [SIZE=+1]"ฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลัน" [/SIZE]
    ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2553


    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-LEFT: gray 1px solid; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; BORDER-RIGHT: gray 1px solid; PADDING-TOP: 10px" width="100%" colSpan=3 align=middle>ในวันนี้ (18 ต.ค.53) หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง จะเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศพม่า ส่วนร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกต่อเนื่องแต่จะมีปริมาณลดน้อยลงโดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง จึงขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่อาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง สำหรับพื้นที่ลุ่มใกล้ลำน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกยังคงต้องระมัดระวังน้ำล้นตลิ่งต่อไปอีก

    ในวันพรุ่งนี้ (19 ต.ค.53) ปริมาณฝนบริเวณประเทศไทยจะเบาบางลงและจะมีอากาศเย็นเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยยังมีกำลังค่อนข้างแรง ขอให้ชาวเรือควรระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือในระยะนี้
    อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “เมกี” เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ ในวันนี้ และจะเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนในวันพรุ่งนี้ (19 ต.ค.53) กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่า พายุนี้จะเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือเข้าสู่ประเทศจีนตอนใต้ต่อไป
    ประกาศ ณ วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553
    ออกประกาศ เวลา 11.30 น.

    สำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา
    กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


    </TD></TR><TR><TD target="_blank" images href="http://www.tmd.go.th" </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: gray 1px solid" width="97%"><TABLE style="MARGIN: 0px; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif', 'Microsoft Sans Serif', Tahoma; COLOR: rgb(34,34,34); FONT-SIZE: 14px; TEXT-DECORATION: none" width="100%"><TBODY><TR><TD height=1></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD target="_blank" images href="http://www.tmd.go.th" </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2010
  5. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 12:54:52 น. มติชนออนไลน์
    <center></center>
    เอฟ 16 จากฐานบินตาคลี จ.นครสวรรค์ ตกที่"ตาก"เครื่องแหลกละเอียด พบศพนักบินแล้ว 1

    <style>p { margin: 0px; }</style> เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2553 นายสามารถ ลอยฟ้า ผวจ.ตาก ได้รับรายงานว่า มีเครื่องบินเอฟ 16 จากฐานบินตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ตกลงบริเวณดอยโจม บ้านเด่นไม้ซุง หมู่ที่ 9 ตำบลแม่สลิด อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก จึงส่งกำลังอส.จังหวัดตาก ร่วมกับชาวบ้านไปตรวจสอบ พบซากเครื่องบินเอฟ 16 สภาพเครื่องแหลกละเอียด และพบศพนักบินแล้ว 1 ศพ จึงพยายามค้นหาศพผู้ที่อยู่ในเครื่องบินทั้งหมด

    นายสามารถกล่าวว่า พื้นที่เกิดเหตุ เป็นแนวกันดอย เป็นพื้นที่เขาสูงมาก จึงระดมกำลังอส.พยายามค้นหาโดยละเอียด เบื้องต้นทราบว่า ศพที่พบทราบชื่อ นาวาอากศเอกฐานิกรณ์ เหลืองรุ่งวารีย์ เป็นเครื่องบิน เอฟ 16 ขับมาจากฐานบินตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยมาด้วยกัน 2 ลำ จะไปฐานที่จังหวัดเชียงใหม่ และขณะนี้กำลังประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ ส่วนสาเหตุนั้นยังไม่ทราบ

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2010
  6. ชัยธนันท์

    ชัยธนันท์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    859
    ค่าพลัง:
    +1,488
    ธรรมชาติมาเตือนบ่อยขึ้น ถี่ขึ้น และรุนแรงขึ้น ขนาดประเทศไทยเราว่าปลอดภัยกว่าหลายๆประเทศแล้วเรายังโดนหนักเลย จิ้งจกทักเรายังเชื่อเลย นี่ธรรมชาติ เค้ามาเตือนเราต้องไม่ประมาท ต้องเตรียมการณ์รับมือไว้ล่วงหน้าครับ ดูข่าวที่โคราชไม่ค่อยมีเรือเลย แสดงว่าหน่วยงานราชการไม่ได้เตรียมไว้ยามฉุกเฉินบ้างเลย ต้นไม้ ป่าชายเลน ที่ยังเหลืออยู่ ต้องช่วยกันรักษาไว้ ไม่อย่างนั้น ทุกคนก็ต้องรับผิดชอบร่วมกัน
     
  7. lemon112233

    lemon112233 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +287
    ทำไมเครื่องบินไปตกที่ตากอีกแล้วนะค่ะเนี่ย



    ตั้ง 2 ครั้งนะค่ะ
     
  8. วรเดช

    วรเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,753
    ค่าพลัง:
    +6,146
    [​IMG]
    สั่งสอบ หนุ่มมาเลย์ หลังภาพแขวนคอลูกหมา โผล่ทวิตเตอร์
    17ต.ค.สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจมาเลเซียกำลังสั่งดำเนินการสอบสวนหนุ่มใจบาปทั้งสองคน ที่ทรมานสัตว์โดยการจับเจ้าสุนัขตัวเล็กแขวนคอ โดยไม่รู้สึกสะทกสะท้าน และภาพดังกล่าวถูกเผยแพร่ทางเว็บไซต์ทวิตเตอร์
    โดย เอ็น.ซูเรนเดรน ประธานสมาคมสิทธิสัตว์มาเลเซีย ก็ออกมากล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตนและกลุ่มอื่นๆ เห็นภาพดังกล่าวแล้วไม่สบายใจเป็นอย่างยิ่ง จึงได้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบเรื่องดังกล่าว อนึ่ง ภาพดังกล่าวปรากฏอยู่บนทวิตเตอร์ของนักแสดงหญิง ยอดนิยมชาวมาเลซียคนหนี่ง ซึ่งผู้ที่ปล่อยภาพเผยแพร่นั้น พวกเขาไม่ได้คิดว่ามันเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และตำรวจจะไม่ได้ดำเนินการอะไรทั้งสิ้น
    ด้าน เชนาอัซ คาน ประธานสมาคมสงเคราะห์สัตว์มาเลเซีย ระบุว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ป่าเถื่อน สังเกตได้จากสีหน้าของชายทั้งสองคนที่ไม่รู้สึกถึงความโหดร้ายในการกระทำของพวกเขา แต่อย่างไรก็ตาม ใบหน้าที่ปรากฎชัดจำทำให้เป็นประโยชน์กับเจ้าหน้าที่ในการจับกุมตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมาย
    เรียบเรียงข่าวโดย Mthai news
    <LI class=news_src_item>[​IMG][​IMG] ขอบคุณภาพประกอบจาก
     
  9. วรเดช

    วรเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,753
    ค่าพลัง:
    +6,146
    <TABLE border=5 borderColor=#728dac cellPadding=0 width=725 bgColor=#e2e2e2 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ecfae0>ลพบุรีจมเมือง ผวาอ่างแตก</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=5 borderColor=#728dac cellPadding=0 width=725 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE class=A14 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center><TBODY><TR bgColor=#cccccc><TD vAlign=center> </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>ด้านจ.ลพบุรี ที่อ.เมือง น้ำจากอ่างเก็บ น้ำซับเหล็ก ในพื้นที่ต.นิคมสร้างตนเอง

    ที่ล้นสปิลเวย์ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 ต.ค. ไม่มีทีท่าจะลดน้อยลงและกระแสน้ำยังคงไหลแรง เริ่มขยายวงกว้างเข้าสู่พื้นที่เศรษฐกิจ และชุมชนขนาดใหญ่ ในเขตเทศบาลตำบลท่าศาลา และเทศบาลเมืองเขาสามยอด ในช่วงกลางดึกที่ผ่านมา ส่งผลให้ประชาชนหลายร้อยครอบครัว ไม่ได้นอนกันตลอดทั้งคืน เนื่องจากมีกระแสข่าวลือว่า อ่างเก็บน้ำแตก ทุกบ้านจึงต้องคอยเฝ้าระวังติดตามตรวจสอบระดับน้ำตลอดทั้งคืนจนถึงเช้า อย่างไรก็ตามระดับน้ำยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ร้านค้าต่างๆ รวมถึงห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง ไม่สามารถเปิดปริการให้แก่ลูกค้าได้

    นอกจากนี้ ในหลายพื้นที่ เช่น ต.ถนนใหญ่ ต.ท่าแค ต.กกโก โดยเฉพาะที่ต.โคกตูม ขณะนี้อ่างเก็บน้ำห้วยส้มน้ำท่วมเอ่อ

    ชาวบ้านอยู่ในอาการหวาดผวา กลัวว่าอ่างจะแตกน้ำจะทะลักเข้าท่วมอ.พัฒนานิคม ส่วนอ.โคกสำโรง ระดับน้ำสูงประมาณ 50 ซ.ม ถนนสายลพบุรี-โคกสำโรง รถเล็กไม่สามารถผ่านได้ ขณะที่อ.ลำสนธิ ระดับน้ำท่วมสูง 1 เมตร บางหมู่บ้านไม่สามารถออกมาจากบ้านได้ ทหารมทบ.13 ต้องนำเรือออกช่วยชาวบ้านและสัตว์เลี้ยงออกมาจากบ้าน และที่ต.เขาพระงาม อ.เมือง มีน้ำท่วมสูงประมาณ 1 เมตร ชาวบ้านประมาณ 1,500 คน ไม่สามารถออกมาหาอาหารรับประทานได้ พ.อ. นภดล ดีอ่วม รองผบ.ศูนย์การทหารปืนใหญ่ สั่งกำลังพลนำข้าวกล่องและน้ำดื่ม ใส่รถบรรทุกไปแจกจ่าย และช่วยเหลือขนของหนีน้ำ

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>นอกจากนี้ น้ำยังไหลท่วมถนนพหลโยธิน และถนนเฉลิมพระเกียรติ ระดับความสูงประ มาณ 50 ซ.ม. ยานพาหนะขนาดเล็ก ไม่สามารถผ่านไปมาได้

    ถนนพหลโยธินน้ำท่วมตั้งแต่วงเวียนพระนารายณ์มหาราช ถึงต.นิคมสร้าง ตน เอง เป็นระยะทางยาวกว่า 5 ก.ม. ร้านขายของรวมทั้งร้านขายทองรูปพรรณ และธนาคารที่ตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธิน หน้าห้างบิ๊กซีลพบุรี ต้องปิดตัวเอง และนำถุงปุ๋ยบรรจุทรายมาปิดกั้น ไม่ให้น้ำไหลเข้ามาในร้าน

    ชาวบ้านบางคนกล่าวว่า
    เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ เป็นปรากฏการณ์ในรอบ 40 ปีเลยทีเดียว นอกจากน้ำฝนที่ตกลงมาแล้ว ยังมีน้ำจากอ่างเก็บน้ำซับเหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ในเขตต.โคกตูม อ.เมือง จ.ลพบุรี ที่ปล่อยมาอีกด้วย

    นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ผวจ.ลพบุรี กล่าวว่า ขณะนี้มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 10 อำเภอ จาก 11 อำเภอ ประกอบด้วยอำเภอเมืองลพบุรี 5 ตำบล, อ.ชัยบาดาล 16 ตำบล, อ.ลำสนธิ 6 ตำบล, อ.สระโบสถ์ 5 ตำบล, อ.บ้านหมี่ 7 ตำบล, อ.โคกสำโรง 13 ตำบล, อ.พัฒนานิคม 6 ตำบล, อ.ท่าหลวง 1 ตำบล, อ.หนองม่วง 1 ตำบล และอ.โคกเจริญ 5 ตำบล รวม 65 ตำบล

    นายฉัตรชัย กล่าวว่า ในด้านการช่วยเหลือ ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำลงคลองชลประทาน 24 เครื่อง

    ขอสนับสนุนเรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์จากหน่วยทหารในพื้นที่ มูลนิธิ และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 2 เรือท้องแบน 43 ลำ เรือไฟเบอร์ 126 ลำ ออกให้ความช่วยเหลือชาวบ้าน พร้อมแจกจ่ายถุงยังชีพให้ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนแล้ว พร้อมให้นายอำเภอสำรวจความเสียหายในอำเภอ รวมทั้งพื้นที่การเกษตร โรงเรียนและวัด เพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป

    นายธีรศักดิ์ ทรัพย์ศิริ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลพบุรี กล่าวว่า เมื่อเวลาประ มาณ 19.00 น.

    วันที่ 16 ต.ค. ได้รับแจ้งจากชาวบ้านต.ซับสมบูรณ์ อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี ว่า มีรถ ยนต์ยี่ห้อโตโยต้ารุ่นฟอร์จูนเนอร์ สีดำ ไม่ทราบหมายเลขทะเบียน ตกลงไปในคลองน้ำข้างทาง และจมหายไป หลังรับแจ้งจึงสั่งให้เจ้าหน้าที่ช่วยกันออกค้นหา แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่พบวี่แววแต่อย่างใด ซึ่งก็ให้เจ้าหน้าที่ค้นหาต่อไป

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><CENTER>ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสด
    [​IMG]</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=5 borderColor=#728dac cellPadding=0 width=725 bgColor=#e2e2e2 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ecfae0>กรมชลฯ สั่งรับมือน้ำทะเลหนุน 23-26 ต.ค. </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=5 borderColor=#728dac cellPadding=0 width=725 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE class=A14 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center><TBODY><TR bgColor=#cccccc><TD vAlign=center> </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>กรมชลประทาน แจ้งเตือนระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักจะสูงขึ้นในระยะนี้


    วันนี้ 18 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดสภาวะฝนตกหนักในหลายพื้นที่ภาคกลางตั้งแต่วันที่ 14 – 16 ตุลาคม 2553 นั้น จากการติดตามสภาพฝนในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำป่าสัก มีฝนตกสะสม 3 วัน ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ วัดได้ 104 มิลลิเมตร จังหวัดลพบุรีวัดได้ 253.60 มิลลิเมตร และจังหวัดเพชรบูรณ์ วัดได้ 174.50 มิลลิเมตร ส่งผลให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาจะเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำจำนวนมาก

    ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรมชลประทาน มีความจำเป็นต้องเร่งพร่องน้ำ

    ทั้งเขื่อนเจ้าพระยาและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในระดับที่จะพยายามควบคุมปริมาณน้ำให้อยู่ในศักยภาพของลำน้ำที่จะรับได้ โดยไม่ให้เกิดปัญหาน้ำล้นตลิ่ง ตั้งแต่วันที่15 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป จนกว่าจะสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ กรอปกับในช่วงวันที่ 16 – 22 ตุลาคม 2553 เป็นช่วงที่น้ำทะเลยังไม่หนุนสูง จึงเป็นโอกาสที่จะเร่งพร่องน้ำให้ไหลลงสู่ทะเลได้มากขึ้น โดยไม่ให้มีผลกระทบต่อพื้นที่ตลอดลำน้ำจนถึงตอนล่างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

    สำหรับในช่วงระหว่างวันที่ 23 – 26 ตุลาคม 2553 ซึ่งจะเป็นช่วงที่เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงสุดนั้น

    กรมชลประทาน จะได้ปรับแผนด้วยการลดการระบายน้ำให้สัมพันธ์กับน้ำทะเลหนุนสูง โดยไม่ให้ส่งผลกระทบในลุ่มน้ำ ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้ทำหนังสือแจ้งถึงสถานการณ์น้ำที่เกิดขึ้นในระยะนี้ ไปยังจังหวัดต่างๆในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เพื่อให้ดำเนินการแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักทราบถึงสถานการณ์น้ำในระยะนี้แล้ว หากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรจะแจ้งให้ทราบต่อไป


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><CENTER>ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
    [​IMG]</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=5 borderColor=#728dac cellPadding=0 width=725 bgColor=#e2e2e2 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ecfae0>ประกาศหยุดเดินรถไฟสายอีสาน-เหนือทุกขบวน </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=5 borderColor=#728dac cellPadding=0 width=725 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE class=A14 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center><TBODY><TR bgColor=#cccccc><TD vAlign=center> </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>การรถไฟแห่งประเทศไทย ประกาศหยุดเดินรถไฟสายอีสาน-สายเหนือทุกขบวนแล้ว


    วันนี้ 18 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางนวลอนงค์ วงษ์จันทร์ หัวหน้ากองประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยได้งดการเดินรถไฟขบวนสายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายเหนือ ทุกขบวนทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ โดยสายตะวันออกเฉียงเหนือ จำเป็นต้องหยุดเดินขบวนรถตั้งแต่จังหวัดนครราชสีมา ช่วงสถานีโคกกรวดถึงกุดจิก เนื่องจากประสบปัญหาน้ำท่วมเต็มรางรถไฟจนไม่สามารถเดินขบวนรถได้ ส่วนทางสายเหนือ จำเป็นต้องหยุดเดินขบวนรถตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ ช่วงสถานีช่องแคถึงจันเสน เพราะน้ำได้กัดเซาะหินที่ใช้รองหนุนหมอนรถไฟจนรางลอย

    ทั้งนี้ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยยังไม่สามารถระบุได้ว่า จะเปิดเดินขบวนรถไฟได้ในเวลาใด แต่ประเมินสถานการณ์ตลอดเวลา

    ซึ่งหากสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติแล้ว จะเปิดเดินขบวนรถไฟทันที เพราะยังมีประชาชนตกค้างตามสถานีจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ทางสายเหนือเจ้าหน้าที่ได้เตรียมนำหินมารองหนุนหมอนรถไฟแทนหินที่ถูกน้ำพลัดไปแล้ว แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนี้ จนกว่าฝนจะหยุดตกจึงจะซ่อมรางรถไฟได้ สำหรับประชาชนสามารถโทรศัพท์สอบถามรายละเอียด การเดินรถไฟได้ที่ 1690


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><CENTER>ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
    [​IMG]</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. วรเดช

    วรเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,753
    ค่าพลัง:
    +6,146
    <TABLE border=5 borderColor=#728dac cellPadding=0 width=725 bgColor=#e2e2e2 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ecfae0>ฟิลิปปินส์ เร่งอพยพหนีพายุ"ซูเปอร์ไต้ฝุ่น" </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=5 borderColor=#728dac cellPadding=0 width=725 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE class=A14 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center><TBODY><TR bgColor=#cccccc><TD vAlign=center> </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>"ซูเปอร์ไต้ฝุ่น"จ่อถล่มฟิลิปปินส์ -เกาะไหหลำของจีนอพยพปชช.นับแสนหนีพายุ


    วันนี้ 18 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานอุตุนิยมวิทยาฟิลิปปินส์รายงานว่า ไต้ฝุ่น เมกี ได้ทวีความรุนแรงกลายเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่นแล้ว คาดว่าจะพัดกระหน่ำภาคเหนือสุดของฟิลิปปินส์ภายในวันที่ 18 ต.ค. หลังจากนั้นจะมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกไปยังทะเลจีนใต้โดยคาดว่าจะพัดถล่มจีนเช่นกันซึ่งจะเป็นไต้ฝุ่นที่รุนแรงที่สุดที่พัดถล่มจีนในปีนี้ส่งผลให้จีนออกประกาศเตือนเรือประมงของตนให้งดออกจากฝั่ง พร้อมเรียกร้องเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นให้เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดจากลมและฝนที่รุนแรง

    ขณะเดียวกันมีรายงานว่า มีการอพยพผู้คนกว่า 100,000 คน ใน 200 หมู่บ้านหลังเกิดฝนตกหนักบนเกาะไหหลำของจีน ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่เป็นครั้งที่สองในเดือนนี้ โดยฝนที่ตกลงหนักตั้งแต่วันศุกร์จนถึงเมื่อวานนี้วัดปริมาณได้ถึง 200 มิลลิเมตร หรือประมาณ 8 นิ้ว.



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><CENTER>ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
    [​IMG]</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=5 borderColor=#728dac cellPadding=0 width=725 bgColor=#e2e2e2 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ecfae0>น้ำทะลักท่วมโคราชวิกฤติ รพ.มหาราชโกลาหล </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=5 borderColor=#728dac cellPadding=0 width=725 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE class=A14 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center><TBODY><TR bgColor=#cccccc><TD vAlign=center> </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>น้ำลำตะคองทะลักท่วมเกือบทั้งเมืองโคราช หมอ-คนไข้ รพ.มหาราช โกลาหล! อพยพหนีอลหม่าน


    วันนี้ 18 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ล่าสุดระดับน้ำในลำน้ำลำตะคอง ซึ่งไหลผ่านตัวเมืองนครนครราชสีมา ได้เพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ติดกับลำน้ำตลอดทั้งสาย โดยเฉพาะชุมชนมิตรภาพซอย 4 ,บ้านตะคองเก่า ,ตลาดประปา,ถนนช้างเผือก ,โรงเรียนเมืองฯ,วิทยาลัยอาชีวศึกษา,โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา,โรงเรียนสุรนารีวิทยา ระดับน้ำสูงกว่า 80 ซม.

    ทั้งนี้ น้ำลำตะคองไหลผ่านด้านหลังโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ได้ทะลักเข้าท่วมภายในโรงพยาบาลทั้งหมด

    ระดับน้ำสูงกว่า 60 ซม. จนปริ่มกำลังจะถึงห้องฉุกเฉิน ทางคณะแพทย์พยาบาลต้องเร่งขนย้ายอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ และอพยพผู้ป่วยขึ้นไปอยู่บนอาคารสูงกันอย่างอลหม่าน ซึ่งจนถึงขณะนี้ปริมาณน้ำยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังไม่มีทีท่าว่าจะลดระดับลง ทำให้ยังคงมีญาติผู้ป่วย คณะแพทย์พยาบาล จำนวนมากติดอยู่ภายในโรงพยาบาล

    ทางโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาได้ประสานหน่วยทหารจากกองทัพภาคที่ 2

    เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจากเทศบาลนครนครราชสีมา รวมถึงมูลนิธิการกุศลต่างๆ ระดมกำลังและกำลังเร่งนำรถยนต์บรรทุกสูง เรือท้องแบน ไปช่วยลำเลียงผู้ที่ติดอยู่ภายในโรงพยาบาลออกมาอย่างเร่งด่วนแล้ว นอกจากนี้ โรงพยาบาลเซนต์แมรี่นครราชสีมาและโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับลำตะคอง ก็ถูกน้ำท่วมสูงเช่นกัน

    ต่อมากำแพงกั้นน้ำของ กำแพงของ รพ.เซนต์แมรี่ไม่สามารถกั้นแรงของน้ำได้ไหว พังทลายลงมา

    ทำให้ปริมาณน้ำไหลทะลักเข้าท่วมภายใน รพ. ดังกล่าว รถยนต์กว่า 60 คัน ถูกน้ำท่วมจนมิดหลังคา และผู้ป่วยหลายร้อยคน ต้องคิดค้างอยู่ภายใน นอกจากนี้ น้ำส่วนหนึ่งยังไหลเข้าท่วมพื้นผิวจราจร ถ.มิตรภาพ ทะลักเข้าสู่สถานีขนส่งแห่งที่ 2 นครราชสีมา หรือ บขส.ใหม่ และ ตลาดสุรนคร เมืองใหม่

    สำหรับความเดือดร้อนของชาวบ้าน ที่มีบ้านักอยู่ภายในชุมชนด้านหลัง รพ.เซนต์แมรรี่ ที่มีจำนวนหลายพันหลัง

    มีจำนวนมากร้องขอความช่วยเหลือที่ต้องติดอยู่ภายในบ้าน ออกมาไม่ทัน และที่ต้องการเข้าบ้าน ก็ต้องรอการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ซึ่งรถยีเอ็มซี ของทหาร ค่ายสุรนารี ไม่สามารถเข้าไปได้เนื่องจากระดับน้ำสูงจนเกือบมิดหลังคา การสัญจรต้องใช้เรือเพียงอย่างเดียว


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><CENTER>ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
    [​IMG]</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=5 borderColor=#728dac cellPadding=0 width=725 bgColor=#e2e2e2 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ecfae0>โคราชโกลาหล!น้ำลำตะคองทะลักท่วมเกือบทั้งเมือง </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=5 borderColor=#728dac cellPadding=0 width=725 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE class=A14 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center><TBODY><TR bgColor=#cccccc><TD vAlign=center> </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 19.00 น. วันที่ 17 ต.ค. ที่ผ่านมา

    ระดับน้ำในลำน้ำลำตะคอง ซึ่งไหลผ่านตัวเมืองนครนครราชสีมา ได้เพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อยู่บติดกับลำน้ำตลอดทั้งสาย โดยเฉพาะชุมชนมิตรภาพซอย 4 ,บ้านตะคองเก่า ,ตลาดประปา,ถนนช้างเผือก ,โรงเรียนเมืองฯ,วิทยาลัยอาชีวศึกษา,โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา,โรงเรียนสุรนารีวิทยา ระดับน้ำสูงกว่า 80 ซม.


    ทั้งนี้ น้ำลำตะคองไหลผ่านด้านหลังโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ได้ทะลักเข้าท่วมภายในโรงพยาบาลทั้งหมด ระดับน้ำสูงกว่า 60 ซม. จนปริ่มกำลังจะถึงห้องฉุกเฉิน ทางคณะแพทย์พยาบาลต้องเร่งขนย้ายอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ และอพยพผู้ป่วยขึ้นไปอยู่บนอาคารสูงกันอย่างอลหม่าน ซึ่งจนถึงขณะนี้ปริมาณน้ำยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังไม่มีทีท่าว่าจะลดระดับลง ทำให้ยังคงมีญาติผู้ป่วย คณะแพทย์พยาบาล จำนวนมากติดอยู่ภายในโรงพยาบาล

    ทางโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาได้ประสานหน่วยทหารจากกองทัพภาคที่ 2

    เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจากเทศบาลนครนครราชสีมา รวมถึงมูลนิธิการกุศลต่างๆ ระดมกำลังและกำลังเร่งนำรถยนต์บรรทุกสูง เรือท้องแบน ไปช่วยลำเลียงผู้ที่ติดอยู่ภายในโรงพยาบาลออกมาอย่างเร่งด่วนแล้ว นอกจากนี้ โรงพยาบาลเซนต์แมรี่นครราชสีมาและโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับลำตะคอง ก็ถูกน้ำท่วมสูงเช่นกัน


    ต่อมากำแพงกั้นน้ำของ กำแพงของ รพ.เซนต์แมรี่ไม่สามารถกั้นแรงของน้ำได้ไหว พังทลายลงมา

    ทำให้ปริมาณน้ำไหลทะลักเข้าท่วมภายใน รพ. ดังกล่าว รถยนต์กว่า 60 คัน ถูกน้ำท่วมจนมิดหลังคา และผู้ป่วยหลายร้อยคน ต้องคิดค้างอยู่ภายใน นอกจากนี้ น้ำส่วนหนึ่งยังไหลเข้าท่วมพื้นผิวจราจร ถ.มิตรภาพ ทะลักเข้าสู่สถานีขนส่งแห่งที่ 2 นครราชสีมา หรือ บขส.ใหม่ และ ตลาดสุรนคร เมืองใหม่


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>สำหรับความเดือดร้อนของชาวบ้าน ที่มีบ้านักอยู่ภายในชุมชนด้านหลัง รพ.เซนต์แมรรี่ ที่มีจำนวนหลายพันหลัง

    มีจำนวนมากร้องขอความช่วยเหลือที่ต้องติดอยู่ภายในบ้าน ออกมาไม่ทัน และที่ต้องการเข้าบ้าน ก็ต้องรอการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ซึ่งรถยีเอ็มซี ของทหาร ค่ายสุรนารี ไม่สามารถเข้าไปได้เนื่องจากระดับน้ำสูงจนเกือบมิดหลังคา การสัญจรต้องใช้เรือเพียงอย่างเดียว


    น้ำป่าเขาใหญ่ล้นต้นน้ำแม่น้ำปราจีนบุรีท่วมชุมชนตลาดเก่ากบินทร์บุรี

    ขณะที่ จ. ปราจีนบุรี เมื่อเวลา 20.00 น. ที่ชุมชนตลาดเก่าเทศบาลตำบลกบินทร์ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ซึ่งเป็นต้นน้ำแม่น้ำปราจีนบุรีจุดบรรจบระหว่างแควหนุมานกับแควพระปรงน้ำจากแม่น้ำปราจีนบุรีได้ล้นตลิ่งกระทันหันเข้าท่วมบ้านเรือราษฎรรวมกว่า 200 ครอบครัวเป็นทางยาวกว่า 2 กม. ชาวบ้านต่างขนข้าวของไว้บนชั้น2ของตัวบ้านและขึ้นพักอาศัยจ้าละหวั่น ระดับน้ำท่วมสูงกว่า 1.50 เมตร

    นางศิรินัท์ มณีโชติ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย จ.ปราจีนบุรี นายมนตรี เกิดจิ๋ว ปลัดเทศบาลตำบลกบินทร์ นายสมชาย สมบูรณ์คุณ รองนายกเทษมนตรีเทศบาลตำบลกบินทร์ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ได้ลงสำรวจปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร

    นายสมชาย สมบูรณ์คุณ รองนายกเทษมนตรีเทศบาลตำบลกบินทร์ อ.กบินทร์บุรี กล่าวว่า น้ำเริ่มสูงต่อเนื่องตั้งแต่ 03.00 น. ที่ผ่านมา

    และเพิ่มระดับในช่วงค่ำนี้เป็นน้ำป่าจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่หลากระบายมาจากด้าน อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี เบื้องต้นเจ้าหน้าป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลตำบลกบินทร์ ได้ช่วยราษฎรขนย้านข้าวของขึ้นชั้นบน และในเวลา 14.00 น. วันที่ 18 ต.ค. จะแจกข้าวสารอาหารแห้งและน้ำดื่มสะอาดแก่ชาวชุมชนและขณะนี้ได้ตั้งเต้นท์เพื่อเก็บรถจักรยานยนต์ รถยนต์ให้กับชาวบ้านด้วย


    นางศิรินัท์ มณีโชติ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า น้ำท่วมหลายพื้นที่

    เบื้องต้นวันนี้ได้นำข้าวสารอาหารแห้งแจกราษฎร ต.บุพรามหมณ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี รวมกว่า 400 ชุด โดยระดับบางส่วนในหมู่ 10 ต.บุพราหมณ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรียังท่วมทางเข้า-ออกหมู่บ้านได้จัดเรือท้องแบในการบริการรับ-ส่งเข้าออกหมู่บ้าน และระดับน้ำลดระดับเข้าท่วมพื้นที่ ต.ลาดตะเคียน ต.เมืองเก่า ต.นาแขม และเทศบาลตำบลกบินทร์ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี


    ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมที่หมู่บ้านปากแพรก หมู่ 3 ต.กบินทร์ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรีน้ำหลากท่วมทั้งหมู่บ้าน ชาวบ้านกว่า 150 ครัวเรือต่างเตรียมเรือและอพยพ-ตั้งเต้นท์นำรถจยย.รถยนต์ ไว้ริมถนน

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><CENTER>ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์มติชน
    [​IMG]</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    [​IMG]
     
  12. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    การรถไฟฯงดเดินรถสายเหนือ-อีสาน ทุกเที่ยว

    การรถไฟแห่งประเทศไทย ประกาศงดการเดินรถไฟขบวนสายตะวันออกเฉียงเหนือและสายเหนือ ทุกขบวน ทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ เพราะน้ำท่วมราง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่หมายเลข 1690...



    [​IMG]

    18 ต.ค. นางนวลอนงค์ วงษ์จันทร์ หัวหน้ากองประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทยได้งดการเดินรถไฟขบวนสายตะวันออกเฉียงเหนือและ สายเหนือ ทุกขบวน ทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ

    โดยสายตะวันออกเฉียง เหนือ จำเป็นต้องหยุดเดินขบวนรถตั้งแต่จ.นครราชสีมา ช่วงสถานีโคกกรวดถึงกุดจิก เนื่องจากประสบปัญหาน้ำท่วมเต็มรางรถไฟ จนไม่สามารถเดินขบวนรถได้ ส่วนสายเหนือ จำเป็นต้องหยุดเดินขบวนรถตั้งแต่จ.นครสวรรค์ ช่วงสถานีช่องแคถึงจันเสน เพราะน้ำได้กัดเซาะหินที่ใช้รองหนุนหมอนรถไฟจนรางลอย

    ทั้งนี้ทางการ รถไฟแห่งประเทศไทยยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะเปิดเดินขบวนรถไฟได้ในเวลาใด ซึ่งหากสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติแล้ว จะเปิดเดินขบวนรถไฟทันที เพราะยังมีประชาชนตกค้างตามสถานีจำนวนมาก สำหรับประชาชนสามารถโทรศัพท์สอบถามรายละเอียดการเดินรถไฟได้ที่หมายเลข 1690
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 630.jpg
      630.jpg
      ขนาดไฟล์:
      77.3 KB
      เปิดดู:
      2,922
  13. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    เปิดสายด่วน 1586 เช็คข้อมูลน้ำท่วมทางหลวง

    [​IMG]

    กรมทางหลวงเปิดสายด่วน 1586 ตลอด 24 ชั่วโมง ให้บริการข้อมูลน้ำท่วม บนทางหลวง สั่งหน่วยงานเฝ้าระวังระวัง เตรียมพร้อมอำนวยความสะดวก ...

    เมื่อวันที่ 18 ต.ค. นายวีระ เรืองสุขศรีวงศ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ตามที่มีวิกฤติการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศไทยอยู่ในขณะนี้ เพื่ออำนวยความสะดวก ปลอดภัยแก่ประชาชนในการเดินทาง กรมทางหลวงได้เปิดสายด่วนกรมทางหลวง 1586 เพื่อให้ประชาชนสอบถามข้อมูลน้ำท่วมได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในพื้นที่เสี่ยงภัยเฝ้าระวัง และเตรียมความพร้อมเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนอย่างเต็มที่

    สำหรับ ประชาชนที่ต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง หรือต้องการความช่วยเหลือ นอกจากจะสอบถามเส้นทางผ่านสายด่วน 1586 ตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานประชาสัมพันธ์ 0 2354 6530 , 0 2354 6668-76 ต่อ 2014 ,2031 ศูนย์บริหารงานอุบัติภัย สำนักบริหารบำรุงทาง 0 2354 6551 และตำรวจทางหลวง 1193.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 630_002.jpg
      630_002.jpg
      ขนาดไฟล์:
      51.2 KB
      เปิดดู:
      2,526
  14. หมูเล็ก

    หมูเล็ก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2008
    โพสต์:
    914
    ค่าพลัง:
    +2,144
    <TABLE style="MARGIN: 0px; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif', 'Microsoft Sans Serif', Tahoma; COLOR: rgb(34,34,34); FONT-SIZE: 14px; TEXT-DECORATION: none" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-LEFT: gray 1px solid; BORDER-RIGHT: gray 1px solid" width="100%" colSpan=3 align=middle>[SIZE=+1]ประกาศเตือนภัย
    "ฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลัน"
    [/SIZE]
    ฉบับที่ 29 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2553
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-LEFT: gray 1px solid; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; BORDER-RIGHT: gray 1px solid; PADDING-TOP: 10px" width="100%" colSpan=3 align=middle> ในวันนี้ (18 ต.ค.53) ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เริ่มจะมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางมีฝนหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคอื่นๆเริ่มมีฝนลดลง จึงขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัย
    ตามที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก
    ที่อาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ในระยะนี้ สำหรับพื้นที่ลุ่มใกล้ลำน้ำ
    ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกยังคงต้องระมัดระวังน้ำล้นตลิ่งต่อไปอีก
    ในวันพรุ่งนี้ (19 ต.ค.53) ปริมาณฝนบริเวณประเทศไทยจะเบาบางลงอีก และจะมีอากาศเย็นเข้ามา
    ปกคลุมประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
    อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “เมกี” บริเวณเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ กำลังจะเคลื่อนลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนกลาง และจะมีทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือเข้าสู่ประเทศจีนตอนใต้ต่อไป
    ประกาศ ณ วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553
    ออกประกาศ เวลา 21.00 น.

    สำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา
    กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. ~:*พนมวัน*:~

    ~:*พนมวัน*:~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,214
    เหตุการณ์นี้เป็นแบบฝึกหัดและบททดสอบก่อนของจริงมาถึงค่ะ
     
  16. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    ช่อง 3 เปิดบัญชี ช่องทางช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย ผมจดมาฝากเผื่อ อยากจะช่วยเหลือปัจจัย กันได้ครับ หรือจะเอาของกินของใช้ไปให้ที่ตึก ช่อง 3 ได้ครับ

    บัญชีธนาคารกรุงเทพ กระแสรายวัน
    เลขบัญชี014-3003-689
    ชื่อบัญชี ครอบครัวข่าวช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 53
     
  17. วรเดช

    วรเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,753
    ค่าพลัง:
    +6,146
    <TABLE border=5 borderColor=#728dac cellPadding=0 width=725 bgColor=#e2e2e2 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ecfae0>กทม.ระทึก! น้ำเหนือทะลัก เตรียมกระสอบทราย4ล้าน</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=5 borderColor=#728dac cellPadding=0 width=725 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE class=A14 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center><TBODY><TR bgColor=#cccccc><TD vAlign=center> </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) กล่าวว่า มีหลายจังหวัดที่น่าเป็นห่วง

    ใน 4-5 วันยังต้องเฝ้าระวังพายุเมรี อีกลูกที่เป็นพายุขนาดใหญ่ อาจจะพาดมายังประเทศไทย จะต้องประมาณการว่าจะมีผลกระทบต่อจังหวัดใดบ้าง วันที่ 23-27 ตุลาคมนี้จะต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำทะเลหนุน อาจจะส่งผลกระทบกับ จ.สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ กรุงเทพฯ
    นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวว่า กทม.เตรียมรับมือสถานการณ์น้ำเหนือไหลหลากเข้ากรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม

    ซึ่งมีรายงานว่ามีการระบายน้ำเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา 1,096 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ระบายน้ำที่ 2,217 ลบ.ม.ต่อวินาที รวมปริมาณเข้ากรุงเทพฯ 3,313 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 วัน จะถึงกรุงเทพฯบ่ายวันที่ 20 ตุลาคมนี้ จึงได้สั่งการให้ 13 สำนักงานเขต ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเตรียมกระสอบทราย 4 ล้านใบ รับมือแล้ว

    ด้านนายสมชาย ใบม่วง รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวถึงสถานการณ์ฝนตกหนักว่า

    สำหรับพายุไต้ฝุ่นเมกีที่พัดถล่มฟิลิปปินส์ จะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยมากนัก แต่อาจทำให้เกิดฝนตกโปรยปรายในบางพื้นที่ เนื่องจากพายุดังกล่าวจะเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกลงสู่ทะเลจีนใต้ และจะเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือเข้าสู่ประเทศจีนตอนใต้ คาดว่าฤดูหนาวของประเทศไทยจะเริ่มในเดือนพฤศจิกายน ปีนี้อุณหภูมิเฉลี่ยจะต่ำกว่าค่าปกติ โดยอุณหภูมิในกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส


    ด้าน ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หัวหน้าหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    กล่าวว่าการก่อตัวของพายุไต้ฝุ่นเมกี มีความเป็นไปได้สูงว่าพายุอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณฝน ทำให้พื้นที่ภาคใต้ตั้งแต่ จ.เพชรบุรี - จ.นครศรีธรรมราช เกิดฝนตกหนัก และน้ำท่วมฉับพลัน คล้ายกับเมื่อปี 2532 ที่เกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ และปี 2540 ที่พายุลินดา พัดถล่มภาคใต้ของไทย สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง

    ส่วนความช่วยของหน่วยราชการนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) สั่งให้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยทุกกองทัพภาค

    จัดชุดเคลื่อนที่เร็วรวมทั้งอุปกรณ์ต่างไปช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ขณะที่ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สั่งการตำรวจสอบสวนกลาง ตำรวจตระเวนชายแดน และตำรวจภูธรภาค 1,2 และ 3 เข้าผู้ช่วยผู้ประสบภัยและให้เข้มงวดในการป้องกันอาชญากรรมด้วย

    ขณะที่ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า เหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่จ.นครราชสีมา เบื้องต้นพบว่า มีโรงเรียนได้รับผลกระทบ 112 แห่ง สั่งการให้เข้าไปดูแลช่วยเหลือแล้ว

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><CENTER>ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์มติชน
    [​IMG]</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=5 borderColor=#728dac cellPadding=0 width=725 bgColor=#e2e2e2 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ecfae0>นักท่องราตรีลพบุรีหนีน้ำท่วมอลหม่าน</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=5 borderColor=#728dac cellPadding=0 width=725 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE class=A14 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center><TBODY><TR bgColor=#cccccc><TD vAlign=center> </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>ลพบุรี 19 ต.ค.-สถานการณ์น้ำท่วมตัวเมืองลพบุรีระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ไหลหลากเข้าท่วมย่านสถานบันเทิง นักท่องราตรีหนีน้ำอลหม่าน

    ย่านสถานบันเทิง ต.ป่าตาล อ.เมืองลพบุรี ระดับน้ำเพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว บางจุดสูงกว่า 1 เมตร

    นักเที่ยวราตรีหนีน้ำกันอลหม่าน ทั้งที่เข้าไปเที่ยวไม่ถึง 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ ชาวบ้านผู้ประสบภัยยังเร่งขนย้ายสิ่งของหนีน้ำมาอยู่บนถนน ทรัพย์สิน และรถบางคันจมหายไปกับกระแสน้ำ สร้างความวิตกกังวลให้ผู้ประสบภัยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเกรงว่าระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นอีก บางคนบอกว่าไม่เคยมีเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงลักษณะนี้มาก่อน ขณะที่ตำรวจ ทหาร และอาสาสมัครหลายมูลนิธิ นำรถขนาดใหญ่เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่

    ล่าสุด ยังมีน้ำเหนือไหลหลากลงสู่คลองส่งน้ำป่าสัก-ชัยนาท รวมกับน้ำในพื้นที่ และน้ำจากอ่างทรัพย์เหล็ก

    ซึ่งล้นสปิลเวย์ เข้าท่วมพื้นที่ อ.เมืองและบ้านหมี่ ปริมาณน้ำจึงขยายวงกว้างและเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชาวบ้านต้องจัดเวรยามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ผลกระทบจากน้ำท่วมยังทำให้สัตว์เลื้อยคลานหนีน้ำขึ้นไปอยู่บนที่สูง อาสาสมัครกู้ภัยต้องช่วยกันจับงูหลามขนาดใหญ่ ซึ่งหนีน้ำมากินเป็ด ไก่ สุนัข และแมวของชาวบ้าน.-สำนักข่าวไทย

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><CENTER>ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย:"ข่าวเข้ม ฉับไว เป็นกลาง"
    [​IMG]</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=5 borderColor=#728dac cellPadding=0 width=725 bgColor=#e2e2e2 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ecfae0>เขื่อนลำตะคอง-ลำพะเพิงน้ำล้นเริ่มปล่อยน้ำ </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=5 borderColor=#728dac cellPadding=0 width=725 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE class=A14 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center><TBODY><TR bgColor=#cccccc><TD vAlign=center> </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>เตือนระวังเขื่อนลำตะคอง-ลำพะเพิง น้ำล้น เริ่มปล่อยน้ำแล้ว ปภ.กำชับ จนท.พร้อมรับมือน้ำป่าทะลัก


    วันนี้ 18 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.นครราชสีมา เบื้องต้น ได้รับรายงานว่า สถานการณ์ปริมาณน้ำในเขื่อนลำตะคอง อ.สี้คิ้ว ล่าสุด พบว่า ปริมาณน้ำสูงขึ้น 2 ซม. จึงทำให้น้ำล้นสปิงเวย์ ทางเจ้าหน้าที่จึงได้ปล่อยน้ำออก 20 ลูกบาทเมตรต่อวินาที รวมถึงเขื่อนลำพะเพิง ก็เช่นกัน น้ำที่ล้นเขื่อนทำให้น้ำท่วมพื้นที่ อ.ปักธงชัย

    ด้าน นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ได้รับรายงานในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และปราจีนบุรี

    ที่ได้รับปัญหาเดือดร้อนอย่างหนักจากอุทกภัยช่วงนี้ รวมทั้งพื้นที่รอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เนื่องจากน้ำป่าไหลลงทุกพื้นที่โดยรอบ อย่างไรก็ตาม ได้กำชับเจ้าหน้าที่ให้เฝ้าระวังตลอดสัปดาห์นี้ เนื่องจากจะมีพายุลูกใหม่เข้ามา และกำชับทุกจังหวัดเฝ้าระวังเตรียมความพร้อมอย่างใกล้ชิด รวมถึงให้ติดตามประเมินสถานการณ์ปัญหาน้ำเหนือไหลบ่า น้ำทะเลหนุน ที่อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำด้วย


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><CENTER>ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
    [​IMG]</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. วรเดช

    วรเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,753
    ค่าพลัง:
    +6,146
    ข่าว: สถานการณ์น้ำท่วม ยังคงวิกฤติหลายพื้นที่



    [​IMG]
    นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวหลังการประชุมสถานการณ์น้ำกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า สภาพฝนตกหนักในพื้นที่เขาใหญ่และพื้นที่ต่อเนื่องทับลานและปางสีดา ทำให้ปริมาณน้ำล้นอ่างเก็บน้ำห้วยโสมงในพื้นที่ ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ไหลลงสู่แม่น้ำปราจีนบุรี โดยน้ำจะล้นตลิ่งที่ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี และ อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี จึงขอให้ประชาชนเตรียมเคลื่อนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงด้วย
    นอกจากนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานสถานการณ์น้ำในหลายพื้นที่
    จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งยังมีปริมาณฝนอยู่ คาดว่าจะส่งผลให้น้ำท่วมอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี อีกเป็นระลอก

    จังหวัดนครราชสีมา มีความเสียหายแล้ว 15 อำเภอ จุดที่วิกฤติมากที่สุดคือ อ. เมือง 4-5 จุด อ.ปักธงชัย อ.สูงเนิน อ.ปากช่อง อ.โชคชัย เส้นทางการจราจรถูกน้ำท่วม ประชาชนควรหลีกเลี่ยงเส้นทางมิตรภาพ บางจุดปิดการจราจรไปแล้ว ส่วนที่ อ. ปักธงชัย น้ำเอ่อล้นจากเขื่อนลำพระเพลิง ท่วมในเขตเทศบาลเมืองปักธงชัย ไร่นา 4,000 ไร่ ได้รับความเสียหาย เช่นเดียวกับ อ.พิมาย น้ำจากแม่น้ำมูลไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 3,000 ไร่ รวมทั้งแหล่งโบราณคดีสำคัญน้ำท่วมสูงกว่า 30 เซนติเมตร แต่คาดว่าจะดีขึ้นตามลำดับ และน้ำจะลดต่ำลงในอีก 5-7 วัน เนื่องจากการระบายน้ำออกจากพื้นที่

    จังหวัดชัยภูมิ ปริมาณฝนที่ตกลงหนักในหลายวันส่งผลให้ถนนเลี่ยงเมือง อ. จัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นจุดรับน้ำจากนครราชสีมา ถูกน้ำท่วมสูง รถไม่สามารถผ่านไปมาได้ นาข้าวใน ต.บ้านขาม ถูกน้ำท่วมเสียหายกว่า 2 พันไร่

    จังหวัดสระบุรี ปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักมีปริมาณสูงขึ้น จนต้องระบายน้ำออกจากท้ายเขื่อน บ้านเรือนนับร้อยหลังคาเรือน ในหมู่ที่ 1 ต. บ้านครัว อ.บ้านหมอ ได้รับผลกระทบ ขนสิ่งของหนีน้ำไม่ทัน เบื้องต้นบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 200 หลังคาเรือน

    จังหวัดสระแก้ว น้ำป่าจาก อ.วัฒนานคร อ.โคกสูง เข้าท่วมพื้นที่ ต.บ้านด่าน ต.บ้านใหม่หนองไทย ต.อรัญประเทศ ในเขตเทศบาลเมืองอรัญประเทศ และบริเวณตลาดโรงเกลือ ต.คลองลึก อ.อรัญประเทศ ถูกน้ำท่วมสูง 1 เมตร

    จังหวัดศรีสะเกษ น้ำป่าจากเทือกเขาพนมดงรัก เขตชายแดนไทย- กัมพูชา ทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ใน อ.ขุนหาญ บางส่วนแล้ว และในพื้นที่บ้านสำโรงเกียรติ ต.บักดอง และบ้านห้วย ต.สิ อ.ขุนหาญ

    จังหวัดอุทัยธานี น้ำป่าจากอุทยานแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ ตามลำแควน้อย แม่น้ำตากแดด เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน บ้านโคกหม้อ หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 ต.โคกหม้อ อ.ทัพทัน 50 หลังคาเรือน ระดับน้ำสูง 0.50-1 เมตร

    จังหวัดบุรีรัมย์ น้ำป่าจากเทือกเขาพนมดงรักไหลบ่ากัดเซาะถนนตัดขาดจนการสัญจรผ่านไปมาไม่ได้ ที่ อ.บ้านกรวด ขณะที่ถนนในจังหวัดถูกกัดเซาะเสียหายไปกว่า 60 สาย ล่าสุดน้ำท่วมในเขต อ.ประโคนชัย อ.ละหานทราย บ้านเรือนชาวบ้านจมน้ำ 2,800 หลัง นาล่มหลายพันไร่

    จังหวัดลพบุรี น้ำป่าจากเทือกเขาจีน เขาสามยอด และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณสูง ต้องเร่งระบายออกลงท้ายเขื่อน ทำให้หลายอำเภอในจังหวัดลพบุรี ประสบปัญหาน้ำป่าไหลหลาก มีน้ำท่วมขัง ประชาชนได้รับความเดือดร้อน

    จังหวัดนครสวรรค์ ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านประชาชนได้รับความเสียหาย.
    ขอบคุณข้อมูลจากสำนักข่าวไทย


    รวมเบอร์โทรศัพท์และบัญชีช่วยเหลือผู้ประสบเหตุอุทกภัย

    <LI class=news_src_item>[​IMG]

    [​IMG]
    <LI class=news_src_item>
    เว็บไซต์เดลี่เมล์รายงาน พบคลิปวิดีโอทารุณสัตว์บน Youtube วิดีโอนี้ถูกผู้ที่อยู่แถวนั้นถ่ายไว้ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม และถูกโพสต์เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
    <LI class=news_src_item>
    โดยในคลิปดังกล่าวเป็นภาพชายคนหนึ่ง กำลังทำร้ายสุนัขอย่างโหดร้าย หลังจากมันไม่ยอมวิ่งตาม ระหว่างที่เขากำลังข้ามไปอีกฝั่งของสวนสาธารณะนีฮิลล์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของลอนดอน เมื่อสุนัขไม่ยอมเดิมตาม เขาจึงหันมาดึงเชือกและเตะที่ลำตัวของมันเต็มแรง พร้อมทั้งกระชากเชือกเหวี่ยง จนตัวมันลอยไปบนอากาศ ทั้งนี้คาดกันว่าชายในคลิปน่าจะมีอายุประมาณ 18 ถึง 22 ปี
    <LI class=news_src_item>
    [​IMG]
    <LI class=news_src_item>
    เหตุการณ์ในคลิปวิดีโอนี้ ทำให้คนที่ชมและกลุ่มผู้รักสัตว์ ต่างโพสต์ประณามว่าเจ้าของสุนัขรายนี้ ว่าไม่ใช่มนุษย์ ขณะที่บางรายเรียกร้องสืบให้รู้ว่าชายคนดังกล่าวเป็นใครและนำตัวเขามาลงโทษ
    ซึ่งล่าสุด องค์กรคุ้มครองสัตว์ของอังกฤษ ประกาศตามล่าบุคคลในวิดีโอและช่วยเหลือสุนัขที่น่าสงสารตัวนี้แล้ว
    <LI class=news_src_item>
    [​IMG]
    เรียบเรียงข่าวโดย Mthai News

    <OBJECT class=inlineimg title=Open-mouthed border=0 codeBase="http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,40,0" alt="" classid="clsid:d</OBJECT>
    <LI class=news_src_item>[​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2010
  19. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    <table style="" cellpadding="0" cellspacing="0" width="98%"> <tbody><tr> <td class="c1" width="4" height="4">
    </td> <td style="border-top: 1px solid gray;" width="97%"> <table width="100%"><tbody><tr><td height="1">
    </td></tr></tbody></table> </td> <td class="c2" width="4">
    </td> </tr> <tr> <td colspan="3" style="border-left: 1px solid gray; border-right: 1px solid gray;" align="center" width="100%"> [SIZE=+1]ประกาศเตือนภัย
    "ฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลัน"
    [/SIZE]
    ฉบับที่ 30 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2553
    </td> </tr> <tr> <td colspan="3" style="padding: 10px; border-left: 1px solid gray; border-right: 1px solid gray;" align="center" width="100%"> ร่องมรสุมได้เลื่อนขึ้นมาพาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ในประเทศไทยมีฝนอยู่ในเกณฑ์กระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือและภาคกลาง จึงขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัย ตามที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่อาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ในระยะนี้ สำหรับพื้นที่ลุ่มใกล้ลำน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกยังคงต้องระมัดระวัง
    น้ำล้นตลิ่งต่อไปอีก
    สำหรับ มวลอากาศเย็นจะแผ่เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะในภาคเหนือ
    และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นลง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศา
    อนึ่ง เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ พายุไต้ฝุ่น “เมกี” (MEGI) มีศูนย์กลางอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง
    หรือที่ละติจูด 16.8 องศาเหนือ ลองจิจูด 118.7 องศาตะวันออก พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือ ด้วยความเร็วประมาณ 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ในช่วงวันที่ 23-24 ตุลาคมนี้


    ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553
    ออกประกาศ เวลา 05.00 น.

    สำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา
    กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    </td> </tr> <tr> <td class="c3" width="4" height="4">
    </td> <td style="border-bottom: 1px solid gray;" width="97%"> <table width="100%"><tbody><tr><td height="1">
    </td></tr></tbody></table> </td> <td class="c4" width="4">
    </td> </tr> </tbody></table>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    เตือนพรุ่งนี้น้ำเหนือทะลักกรุงเทพ - เกาะติดสถานการณ์น้ำท่วม


    [​IMG]


    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก สำนักโครงการขนาดใหญ่กรมชลประทาน

    สถานการณ์น้ำท่วมยังคงน่าเป็นห่วง โคราชน้ำท่วมหนักสุดรอบ 50 ปี อ่างทอง-อยุธยา ประชาชนเร่งนำกระสอบทรายกั้นน้ำขณะที่ เขื่อนลำตะคอง ไม่สามารถรับน้ำไหวแล้ว

    น้ำท่วมโคราช หนักสุดรอบ 50 ปี

    สถานการณ์น้ำท่วมยังคงน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งวิกฤติสุดในรอบ 50 ปี โดยช่วงค่ำวันที่ 18 ตุลาคม) ประชาชนจำนวนมากต้องประสบกับความยากลำบาก ทั้งนี้ สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายแล้วรวม 5 ราย และมีผู้ได้รับความเดือดร้อนแล้วร่วม 100,000 คน ขณะที่บรรยากาศเทศบาลนครนครราชสีมา ยังคงมีฝนตกโปรยปรายเป็นระยะ และอากาศบนท้องฟ้ายังมืดครึ้มตั้งแต่ช่วงเช้าวันนี้ (19 ตุลาคม)


    [​IMG]


    ขณะที่วันนี้โรงพยาบาลมหาราชเตรียมแผนอพยพผู้ป่วยหนักไปรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์จังหวัดขอนแก่น จากออกซิเจนสำรองที่มีอยู่ใกล้หมด และรถออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปภายในโรงพยาบาลได้ ขณะเดียวกันห้องไฟฟ้าสำรองของโรงพยาบาลก็มีน้ำซึมเข้าไปท่วมขัง

    ทางด้านนายแพทย์ชัชวาล ลีลาเจริญพร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิมาย กล่าวยืนยันว่า ทางโรงพยาบาลยังสามารถให้บริการผู้ป่วยได้ทุกประเภท เครื่องมือต่าง ๆ ยังสามารถใช้งานได้ โดยคนไข้ที่ไม่สามารถส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาได้และถูกส่งมารักษาตัวที่โรงพยาบาลพิมาย ทางทีมแพทย์ก็จะประเมินอาการ หากอาการไม่หนักมากนัก ก็จะรับตัวไปรักษา แต่หากอาการหนัก ก็อาจจะพิจารณานำส่งโรงพยาบาลใกล้เคียง

    พร้อมกันนี้ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิมาย กล่าวยอมรับว่า ออกซิเจนเหลวที่ใช้กับผู้ป่วยที่ต้องทำการผ่าตัด จึงอยู่ได้เพียงแค่ 2-3 วัน เนื่องจากเส้นทางคมนาคมขนส่งไม่สามารถใช้งานได้ ในขณะนี้ ซึ่งทางโรงพยาบาลพิมาย มีผู้ป่วยที่ต้องใช้ออกซิเจนเหลว อยู่ 4-5 ราย

    ขณะที่อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า หากไม่มีพายุลูกใหม่เข้ามาอีก น้ำจะท่วมขังโรงพยาบาลประมาณ 10-15 วัน แต่หากได้รับผลกระทบจากพายุลูกใหม่ซึ่งจะเข้ามาประมาณวันที่ 23-24 ตุลาคมนี้ โรงพยาบาลจะเผชิญปัญหาน้ำท่วมยาวนานถึง 1 เดือน

    ทางด้าน นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า ทางเจ้าหน้าที่ได้เฝ้าระวัง ปัญหาน้ำท่วมขังมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม โดยพบว่า จะเกิดน้ำท่วมสูงอย่างหนักจำนวน 5 ครั้ง โดยวิกฤติร้ายแรงที่สุดคือน้ำท่วมในจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะในช่วง 3-4 วันนี้ จะมีน้ำป่าจากเขาใหญ่ไหลลงมาอย่างหนัก ซึ่งขณะนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนลำตะคอง ไม่สามารถรองรับน้ำได้แล้ว ส่งผลให้มีน้ำท่วมในหลายอำเภอ

    ทางด้าน นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวภายหลังเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปสถานการณ์น้ำท่วม ว่า เตรียมนำข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วมเสนอ นายดิสธร วัชโรทัย ประธานมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งจะเดินทางมาตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลมหาราชบ่ายวันนี้ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา




    [​IMG]


    เตือนจังหวัดที่น้ำจากป่าสักชลสิทธิ์ แม่น้ำมูล แม่น้ำน้ำพระยาไหลผ่าน

    ทั้งนี้ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุว่า สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้ง 2 ฝั่ง ต้องเตรียมความพร้อม เรื่องน้ำทะเลหนุนและปริมาณน้ำจากเขื่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงนี้ เนื่องจากเขื่อนเจ้าพระยาและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จำเป็นต้องเร่งระบายน้ำ

    ประกอบกับช่วงวันที่ 23-26 ตุลาคม ถือเป็นช่วงที่เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงสุด กรมชลประทานจึงขอเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักให้เตรียมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม


    เตือนอีก 2 วัน น้ำเหนือทะลักกรุงเทพ

    ขณะที่กรุงเทพฯ เตรียมรับมือสถานการณ์น้ำท่วม หลังมีรายงานว่า น้ำเหนือไหลมาสมทบที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ทำให้ต้องระบายน้ำลงมาในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้คาดการณ์ว่าช่วงบ่ายของวันที่ 20 ต.ค. น้ำจึงจะไหลลงมาถึงกรุงเทพฯ โดยมีการเตรียมสถานีสูบน้ำ 157 แห่ง และประตูระบายน้ำอีก 214 แห่ง ระบายน้ำ ส่วนจุดที่คาดว่าอาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้ อาทิ รัชดาฯ ลาดพร้าว บางนา ศรีนครินทร์


    สถานการณ์น้ำท่วม จ.อ่างทอง

    ประชาชนใน อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ต้องช่วยกันเร่งบรรจุกระสอบทรายเพื่อทำเป็นคันกั้นน้ำ หลังพบว่าระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บางจุดสูงจนเกิดคันกั้นน้ำและเริ่มทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ทั้งนี้ จากการที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จะระบายน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากระดับน้ำบางจุดได้สูงกว่าระดับวิกฤติแล้ว

    สถานการณ์น้ำท่วม จ.พระนครศรีอยุธยา ส่วนที่ จ.พระนครศรีอยุธยา คนงานกรมศิลปากรกว่า 50 คน ต้องเร่งช่วยกันนำกระสอบทรายไปเสริมแนวบังเกอร์คอนกรีตบริเวณวัดธรรมาราม ซึ่งภายในวัดมีหอพระไตรปิฎกเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา หลังพบระดับน้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นเหลืออีกเพียง 10 เซนติเมตร ก็จะเลยแนวกั้น

    สถานการณ์น้ำท่วม จ.ปราจีนบุรี

    นอกจากนี้ จ.ปราจีนบุรี นางร่ม นุชนารถ อายุ 60 ปี และลูกชายอายุ 47 ปี ชาวชุมชนโรงสี เขตเทศบาลกบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ต้องนำที่นอนผืนเล็ก มาปูบนแคร่ใต้ร่มไม้ข้างถนน เพื่อใช้เป็นที่หลับนอน โดยมีสังกะสีเก่าเพียงแผ่นเดียวไว้กันฝน หลังบ้านถูกน้ำท่วม จนไม่สามารถพักอาศัยได้เป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน ทำให้ความเป็นอยู่เป็นไปอย่างยากลำบาก โดยนางร่ม เล่าว่า หลังเกิดน้ำท่วมยังไม่มีหน่วยงานราชการเข้ามาช่วยเหลือ แม้แต่หน่วยงานเดียว หากมีฝนตกลงมาความเป็นอยู่จะลำบากยิ่งขึ้น เนื่องจาก มีเพียงสังกะสีเก่าแผ่นเดียวใช้กันฝน จึงอยากให้น้ำลดเร็วที่สุด เพื่อจะได้กลับเข้าไปอยู่บ้าน

    ขณะที่อีกหลายครอบครัวต้องอพยพมาอยู่ริมถนน โดยน้ำเต็นท์มากางเป็นที่นอน แต่สภาพความเป็นอยู่แออัดยัดเยียด เนื่องจาก เป็นครอบครัวใหญ่และมีเต็นท์เพียงหลังเดียว ขณะสถานการณ์น้ำท่วมชุมชนตลาดเก่ากบินทร์บุรี และตลาดเจ้าสำอาง ย่านธุรกิจสำคัญ ยังคงมีน้ำไหลหลากเข้าท่วมอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และชุมชนตลาดเก่า ระดับน้ำสูงถึง 1 เมตร 90 เซนติเมตร


    [​IMG]

    แผนที่น้ำท่วมกรุงเทพ จาก Google map​



    เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสอบถาม ประสานงานเหตุอุทกภัย

    - ศูนย์กลางช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ติดต่อ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทร 1784

    - ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย จ.นครราชสีมา โทร 044-342-652 ถึง 4 และ 044-342-570 ถึง 7

    - ประสานงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุ โทรฟรี 1669 หรือ 02-591-9769 ตลอด 24 ชั่วโมง

    - สอบถามเส้นทางรถไฟ และเวลาเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร 1690

    - สอบถามสภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา โทร 02-398-9830

    - กฟภ.ตั้งศูนย์ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 นครราชสีมา โทร.044214334-5 หรือ
    </PLACE>
    </PLACENAME>Call
    </PLACETYPE>Center1129

    - สอบถามน้ำท่วม ถ.มิตรภาพ ที่แขวงการทางต่าง ๆ ได้ที่โทร 044-242047 ต่อ 21, 044-212200, 037-211098, 036-461422, 036-211105 ต่อ 24

    คำแนะนำจากสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย สำหรับผู้บริจาคขณะเกิดอุทกภัย

    1. หากผู้บริจาคประสงค์จะบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

    สามารถบริจาคทาง ชื่อบัญชี "สภากาชาดไทย" ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย ประเภทออมทรัยพ์ เลขที่ 045-2-88000-6 ระบุ ในสลิปโอนเงินว่า เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และระบุชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้บริจาคให้ชัดเจน แล้ว Fax ใบสลิปนั้นมาที่เบอร์ 0-2250-0120 เพื่อออกใบเสร็จ

    2. หากผู้บริจาคประสงค์ที่จะบริจาคเป็นเครื่องอุปโภค-บริโภค

    สามารถบริจาคได้ที่ อาคารสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพ 10330 หากมาจากถนนพระราม 4 ให้เลี้ยวตรงแยกอังรีดูนังต์ เมื่อเข้าสู่ถนนอังรีดูนังต์ให้ชิดซ้ายทันที เนื่องจากอยู่ต้นๆถนน (ทางด้านพระราม 4) เบอร์โทรศัพท์ 0-2251-7853 ต่อ 1603,1102 หากเป็นวันหยุดราชการ ต่อ 1302

    3. หากประสงค์จะมาช่วยแพ็คชุดธารน้ำใจ

    บางครั้งเราอาจต้องการผู้มีกำลังมาช่วยแพ็คชุดธารน้ำใจ หรือช่วยขนพวกข้าวสารอาหารแห้งขึ้นรถบรรทุก แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า ต้องการผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และสามารถยกของหนักได้ (เพราะงานค่อนข้างหนัก และต้องยกของหนัก) หากเป็นชายก็จะดีมาก

    ถ้าผู้มีจิตศรัทธาประสงค์จะมาช่วยแรง ให้โทรมาที่ เบอร์ 0-251-7853 ต่อ 1603 เพื่อลงทะเบียนชื่อ และเบอร์โทรศัพท์ไว้ หากเราต้องการกำลังพล จะโทรศัพท์ไปติดต่อว่าจะสะดวกมาในวันที่เราแพ็คของหรือไม่ เป็นราย ๆไป</P>
     

แชร์หน้านี้

Loading...