เหตุให้ได้ความเป็นจอมเทพ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ไจโกะ, 10 มีนาคม 2013.

  1. ไจโกะ

    ไจโกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +1,147
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
    ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน
    ได้สมาทานวัตรบท ๗ ประการบริบูรณ์
    เพราะเป็นผู้สมาทานวัตรบท ๗ ประการ
    จึงได้ถึงความเป็นท้าวสักกะวัตรบท ๗ ประการเป็นไฉน คือ :-
    (๑) เราพึงเลี้ยงมารดาบิดาจนตลอดชีวิต
    (๒) เราพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลจนตลอดชีวิต
    (๓) เราพึงพูดวาจาอ่อนหวานตลอดชีวิต
    (๔) เราไม่พึงพูดวาจาส่อเสียดตลอดชีวิต
    (๕) เราพึงมีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทินอยู่ครองเรือน มีการบริจาคอันปล่อยแล้ว
    มีฝ่ามืออันชุ่มยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกจ่ายทานตลอดชีวิต
    (๖) เราพึงพูดคำสัตย์ตลอดชีวิต
    (๗) เราไม่พึงโกรธตลอดชีวิต
    ถ้าแม้ความโกรธพึงเกิดขึ้นแก่เรา เราพึงกำจัดมันเสียโดยฉับพลันทีเดียว
    (พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค หัวข้อ ๙๐๕-๙๐๘)



    เหตุที่ทำให้สัตว์ทั่วโลกธาตุพึงทะเลาะกัน

    [​IMG]

    ท้าวสักกะจอมเทพ อันพระผู้มีพระภาคทรงให้โอกาสแล้ว
    ได้ทูลถามปัญหาข้อแรกกะพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
    ผู้นิรทุกข์พวกเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ มีอะไรเป็นเครื่อง
    ผูกพันใจไว้ อนึ่ง ชนเป็นอันมากเหล่าอื่นนั้น เป็นผู้ไม่มีเวร
    ไม่มีอาชญา ไม่มีศัตรู ไม่มีความพยาบาท ย่อมปรารถนาว่า ขอพวกเราจงเป็นผู้
    ไม่มีเวรอยู่เถิด ก็และพวกเขามี ความปรารถนาอยู่ดังนี้ ก็ไฉน
    เขายังเป็นผู้มีเวร มีอาชญา มีศัตรู มีความพยาบาทยังจองเวรกันอยู่
    ท้าวสักกะจอมเทพได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคด้วยประการ ฉะนี้ ฯ

    [สีแดงแทนปุจฉา,สีส้มแทนวิสัชนา]

    พระผู้มีพระภาคอันท้าวสักกะจอมเทพทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า :-
    ดูกรจอมเทพ ! พวกเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์
    มีความริษยาและความตระหนี่เป็นเครื่องผูกพันใจไว้ อนึ่ง ชนเป็นอันมากเหล่าอื่นนั้น เป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา
    ไม่มีศัตรู ไม่มีความพยาบาท ย่อมปรารถนาว่า ขอพวกเราจงเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่เถิด ก็และพวกเขามีความปรารถนาอยู่ดังนี้
    ถึงอย่างนั้น เขาก็ยังเป็นผู้มีเวร มีอาชญา มีศัตรู มีความพยาบาท
    ยังจองเวรกันอยู่ พระผู้มีพระภาค อันท้าวสักกะจอมเทพทูลถามปัญหาแล้ว
    ทรงพยากรณ์ด้วยประการฉะนี้ ฯ

    ท้าวสักกะจอมเทพทรงชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค
    ในปัญหาพยากรณ์ข้อแรกดังนี้แล้ว จึงได้ทูลถามปัญหากะ
    พระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ความริษยาและ
    ความตระหนี่ มีอะไรเป็นเหตุ
    มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด
    มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ความริษยาและความตระหนี่จึงมี
    เมื่ออะไรไม่มี ความริษยาและความตระหนี่จึงไม่มี ฯ

    ดูกรจอมเทพ ! ความริษยาและความตระหนี่มีอารมณ์เป็นที่รัก
    และอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นเหตุ
    เป็นสมุทัย เป็นกำเนิด อันเป็นแดนเกิด เมื่อ
    อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักมีอยู่
    ความริษยาและความตระหนี่จึงมี เมื่ออารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์
    อันไม่เป็นที่รักไม่มี ความริษยาและความตระหนี่จึงไม่มี ฯ

    สักกะจอมเทพ; ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์
    อันไม่เป็นที่รัก มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด

    มีอะไรเป็นแดนเกิดเมื่ออะไรมี อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รัก
    จึงมี เมื่ออะไรไม่มีอารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักจึงไม่มี ฯ

    ดูกรจอมเทพ ! อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รัก
    มีความพอใจเป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นกำเนิด เป็นแดนเกิด เมื่อความพอใจมี
    อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักจึงมี เมื่อความพอใจไม่มี
    อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักจึงไม่มี

    ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ความพอใจมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย
    มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ความพอใจจึงมี
    เมื่ออะไรไม่มี ความพอใจจึงไม่มี


    ดูกรจอมเทพ ! ความพอใจมีความตรึกเป็นเหตุ เป็นสมุทัย
    เป็นกำเนิดเป็นแดนเกิด เมื่อความตรึกมี ความพอใจจึงมี
    เมื่อความตรึกไม่มี ความพอใจ จึงไม่มี ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ความตรึกมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย
    มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ความตรึกจึงมี
    เมื่ออะไรไม่มีความตรึกจึงไม่มี ฯ
    ดูกรจอมเทพ ! ความตรึกมีส่วนแห่งสัญญาอันประกอบด้วยปปัญจธรรม
    เป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นกำเนิด เป็นแดนเกิด
    เมื่อส่วนแห่งสัญญา
    อันประกอบด้วยปปัญจธรรมมี ความตรึกจึงมี เมื่อส่วนแห่ง
    สัญญาอันประกอบด้วยปปัญจธรรมไม่มี ความตรึกจึงไม่มี ฯ
    (สักกปัญหสูตร)
    ( พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๐
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2013
  2. view2004

    view2004 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +1,107
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    โอม สักกะ เทวะวันทานัง สุขิตา มหาลาโภ
    ทุติยัมปิ สักกะ เทวะวันทานัง สุขิตา มหาลาโภ
    ตะติยัมปิ สักกะ เทวะวันทานัง สุขิตา มหาลาโภ

    ขอให้ข้าพเจ้ามีปัญญา เฉลียวฉลาด อัจฉริยะสูงสุดไร้ขอบเขต เนื่องด้วยข้าพเจ้าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ อยู่ในศีลฉะนี้แล
     
  3. num_mon

    num_mon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    579
    ค่าพลัง:
    +912
    ขอบคุณมากครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...