ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,680
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จาก faceboof ดร ก้องภพ ก้องภพ อยู่เย็น
    วันที่ 4-5 มิถุนายน ที่ผ่านมาพบปฏิกริยาดวงอาทิตย์ที่มากกว่าปกติอีกสองครั้ง ได้แก่ในวันที่ 4 มิย เวลา 21:28 UT แนวทิศตะวันออก ด้านตรงข้ามกับโลก และในวันที่ 5 มิย เวลา 9:12 UT แนวทิศตะวันตก ด้านเดียวกับโลก โดยส่งแสง X-ray ระดับ M1 ออกมา โดยเหตุการณ์ที่ดวงอาทิตย์ในวันที่ 4 มีความรุนแรงกว่าในวันที่ 5 จากโมเดลคำนวณพบว่าพลังงานจะเดินทางผ่านในแนววงโคจรของโลกสองครั้งคือ วันที่ 6 มิย เวลา 14 UT +/- 7 ชั่วโมง และ วันที่ 8 มิย เวลา 8 UT +/- 7 ชั่วโมง ดังนั้นผู้ทีสนใจสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติบนโลกที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ครั้งนี้ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 9 มิถุนายน ครับ

    ส่วนข้อมูลเพิ่มเติมในรายละเอียดมีดังนี้
    - วิดิโอภาพถ่ายดวงอาทิตย์มุมกว้าง มุมมองจากโลก http://spaceweather.com/images2013/… Continue Reading

    http://spaceweather.com/images2013/05jun13/cme_anim.gif?PHPSESSID=h07d5g7ibj3hh5i7cusv0m5q87

    cme_anim.gif
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2013
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,680
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ผมเสียดาย page : update สถานะการณ์ของคุณ forest 60 มากเลยมาดำเนินการเอง
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,680
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Piyacheep S.Vatcharoboจาก facebook อาจารย์ปิยะชีะ วันที่ 7 มิถุนายน 2556 9:04pm ·

    [​IMG]
    ดูภาพด้านขวาบนนะครับ มาตราวัดอะไรก็ไม่แปลกมากนัก
    โดยเฉพาะลมสุริยะ โปรตรอน แต่เราเกิดพายุสนามแม่เหล็ก G2

    พลังงานนอกเหนือจากดวงอาทิตย์ เริ่มเข้าโลกเรามากขึ้นเรื่อยๆ
    ศึกษา ติดตาม เตรียมความพร้อมกันนะครับ

    ARTIS @ SolarIMG
    Like·Comment
    73 7
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2013
  4. numphol aryupha

    numphol aryupha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    466
    ค่าพลัง:
    +1,156
    ดีครับ มีประโยชน์ต่อผู้สนใจเหตุการณ์ภัยพิบัต อนุโมทนาสาธุครับ
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,680
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข้อมูล solar flare
    image.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2013
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,680
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รอคุณ forest60 มาเป็นคนใส่ข้อมูลครับ คุณ forest60 จะได้ไม่ต้องมาลบกระทู้เวลามีคนมาต่อว่า
     
  7. น้ำกับพายุ

    น้ำกับพายุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +2,452
    ถูกครับ ท่านสุกิจ น่าเสียดาย กระทู้ดีๆมีสาระประโยชน์
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,680
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จากเว็บ solarham
    Added 06/07/2013 @ 22:55 UTC
    M-Flare Event
    A moderately strong solar flare reaching M5.9 was observed Friday evening around Sunspot 1762 off the southwest limb. Because of the location near the limb, any associated CME would be directed mostly away from Earth. Click HERE to watch a video presentation. Stay Tuned to SolarHam.com for the latest information.

    [​IMG]
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,680
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วันที่ 8 มิย 2556 ข้อมูลจากเว็บภัยพิบัติ
    12:00 ดาวเคราะห์น้อย (2013 LR6) กำลังเข้าใกล้โลกในระยะห่าง 0.3 เท่าของดวงจันทร์ ด้วยขนาดราว 12 เมตร ความเร็ว 9.88 กม/วินาที
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,680
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กระทรวงพลังงานคาดเลื่อนปรับราคาก๊าซหุ้งต้ม LPG ภาคครัวเรือน ออกไปอีก 1 เดือน เพื่อศึกษารายละเอียดและกำหนดมาตราการให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย

    นายพงศ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยืนยันนโยบายปรับขึ้นราคาแก๊ส LPG เพื่อความเป็นธรรมกับผู้มีรายได้น้อยที่ประกอบอาชีพรถสาธารณะ ประเภทมอเตอร์ไซด์รับจ้าง แท็กซี่ และตุ๊กตุ๊ก รวมถึงรถตู้ ซึ่งปัจจุบันมีการนำเงินกองทุนน้ำมันมาอุดหนุนแก๊ส LPG ซึ่งถือเป็นปล้นเงินของผู้มีรายได้น้อย ขณะที่จากการสำรวจพบว่า ต้นทุนการผลิตอาหารไม่สูงมากนักและไม่กระทบต่อภาคครัวเรือนที่ใช้แก๊ส LPG ดันนั้น หากปรับขึ้นจะกระทบเพียงร้อยละ10 สตางค์

    อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลและศึกษารายละเอียด ซึ่งคาดว่าจะไม่ทันในต้นเดือนมิถุนายนนี้ และอาจต้องเลื่อนการปรับขึ้นราคาออกไปอีก 1 เดือน ซึ่งแนวทางการช่วยเหลือจะใช้รูปแบบการชดเชยผ่านผู้จำหน่ายแก๊ส ด้วยการลงทะเบียนกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อส่งข้อมูลไปให้ผู้ขายแก๊ส ซึ่งผู้ซื้อจะได้ราคาเดิม ขณะที่คนรายได้สูงที่ไม่ได้ลงทะเบียนจะต้องซื้อแก๊สในราคาที่ปรับขึ้น

    ผมเห็นด้วยครับเพราะปัจจุบันมีการลักลอบนำก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่จำหน่ายให้ภาคครัวเรือนไปจำหน่ายในภาคขนส่งทำให้ผู้ประอบการสถานีบริการก๊าซรวยขึ้นมากๆ ถ้ายกเลิกตรึงราคาและมาช่วยภาคครัวเรือนผ่านร้านจำหน่ายก๊าซแทนจะเป็นการช่วยผู้ใช้ก๊าซจริง เพราะถ้าช่วยด้วยวิธีเดิมก็เป็นการเริ่มที่โรงบรรจุที่มีทุนสูงมีรถบรรทุกก๊าซคันใหญ่ขนส่งสถานีบริการก๊าซได้ แต่ถ้าช่วยผ่านร้านจำหน่ายก๊าซ โกงยากเพราะเงินที่พวกเขาได้ต้องผ่านถังก๊าซหุงต้มแต่ละใบน่ะครับ
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,680
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รอดูจะเกิดหรือไม่เกิด ต้องติดตามชมเองครับ
    image.jpg
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,680
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ต่อครับ
    image.jpg
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,680
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สุดท้ายครับ
    image.jpg
    จะจริงไม่จริงเราควรให้โอกาสเขาพิสูจน์ตัวน่ะครับ
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,680
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สนามแม่เหล็กโลก

    (Magnetosphere)
    [​IMG]

    สนามแม่เหล็กโลก (Magnetosphere)

    สนามแม่เหล็กโลกเกิดจากการกระบวนการไดนาโมของโลก กล่าวคือโลหะหนักที่มีสถานะเป็นของเหลวที่อยู่ในแกนโลกมีการหมุนวน ทำให้เกิดสนามแม่เล็กที่เอียงทำมุมประมาณ 10 องศาจากแกนหมุนของโลก ที่ผิวโลกมีความเข้มของสนามแม่เหล็กโลกประมาณ 30,000 - 60,000 นาโนเทสลา และความเข้มจะค่อยๆ ลดลงเมื่ออยู่ห่างจากผิวโลกมากขึ้น

    http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/f/f3/Magnetosphere_rendition.jpg
    รูปแสดงสนามแม่เหล็กโลกและแมกนีโตสเฟียร์

    ขั้วแม่เหล็กแบ่งออกได้เป็นสองแบบ คือ

    1. ขั้วแม่เหล็ก (magnetic poles)

    2. ขั้วแม่เหล็กโลก (geomagnetic poles)

    ขั้วแม่เหล็กคือตำแหน่งบนโลกที่สนามแม่เหล็กโลกมีทิศทางในแนวดิ่ง กล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ความเอียงของสนามแม่เหล็กโลกที่ขั้วแม่เหล็กเหนือมีค่าเป็น 90 องศา ในขณะที่ความเอียงของสนามแม่เหล็กโลกที่ขั้วใต้มีค่าเป็น -90 องศา ดังนั้นเมื่อเอาเข็มทิศปกติ (ซึ่งปกติจะหมุนได้เฉาะในแนวขวาง) ไปไว้ที่ขั้วแม่เหล็กเหนือหรือขั้วแม่เหล็กใต้ มันจะหมุนแบบสุ่มแทนที่จะชี้ไปทิศเหนือ

    สนามแม่เหล็กโลกอาจประมาณได้ว่าเป็นสนามแบบไดโพล ซึ่งไดโพลนั้นมีตำแหน่งอยู่ที่ใจกลางโลก และไดโพลนั้นก็เป็นแกนของสนามแม่เหล็กโลกด้วย เนื่องจากสนามแม่เหล็กโลกไม่ได้เป็นไดโพลแบบสมบูรณ์ จึงทำให้ขั้วแม่เหล็กกับขั้วแม่เหล็กโลกอยู่คนละตำแหน่งกัน
    mearthbar.gif

    รูปแสดงสนามแม่เหล็กโลก เปรียบเทียบกับแท่งแม่เหล็ก

    Image credit: http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/magnetic/imgmag/mearthbar.gif

    รูปแสดงสนามแม่เหล็กโลก เปรียบเทียบกับแท่งแม่เหล็ก

    ตำแหน่งของขั้วแม่เหล็กไม่ได้อยู่นิ่งกับที่ แต่จะเคลื่อนไปประมาณ 15 กิโลเมตรต่อปี เนื่องจากสนามแม่เหล็กโลกมีการเปลี่ยนแปลงขนาดและตำแหน่งอยู่ตลอด ขั้วแม่เหล็กทั้งสองมีการเคลื่อนตัวตลอดเวลา และไม่ขึ้นแก่กัน ปัจจุบันขั้วแม่เหล็กใต้อยู่ห่างจากขั้วโลกมากกว่าที่ขั้วแม่เหล็กเหนืออยู่ห่างจากขั้วโลก

    บริเวณที่ล้อมรอบวัตถุท้องฟ้า (astronomical objects) ที่เกิดจากสนามแม่เหล็กของตัวมันเองเรียกว่า แมกนีโตสเฟียร์ (magnetosphere) โลกของเราก็มีแมกนีโตสเฟียร์ และดาวเคราะห์ที่มีสนามแม่เหล็ก (magnetized planets) อื่นๆ เช่น ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นอกจากนี้เทหวัตถุท้องฟ้า (celestial objects) เช่นดาวแม่เหล็กก็มีแมกนีโตสเฟียร์เช่นกัน รูปร่างลักษณะของแมกนีโตสเฟียร์ของโลกนั้น จะเป็นผลมาจากสนามแม่เหล็กโลก ลมสุริยะ และ สนามแม่เหล็กระหว่างดาวเคราะห์ ภายในแมกนีโตสเฟียร์ จะมีไอออนและอิเล็กตรอนจากทั้งลมสุริยะ และชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ของโลก ซึ่งถูกกักโดยสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า

    5_magnetosphere.jpg
    รูปแสดง magnetosphere

    Image credit: http://space.rice.edu/IMAGE/livefrom/5_magnetosphere.jpg

    รูปแสดง magnetosphere

    ขอบของแมกนีโตสเฟียร์ของโลกด้านที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์นั้นจะอยู่ห่างจากโลกประมาณ 70,000 กิโลเมตร (ประมาณ 10 - 12 เท่าของรัศมีโลก) ส่วนด้านที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์จะมีลักษณะยืดออกไปคล้ายทรงกระบอกและมีขอบอยู่ห่างจากโลกประมาณ 20 - 25 เท่าของรัศมีโลก ส่วนที่เป็นหาง (magnetic tails) นั้นอยู่ห่างจากโลกไปถึง 200 เท่าของรัศมีโลก ที่บริเวณห่างจากโลกประมาณ 4 - 5 เท่าของรัศมีโลก ยังมีพลาสมาบางๆ ที่ประกอบด้วยอะตอมของไฮโดรเจน และฮีเลียมหุ้มอยู่ เรียกว่า geocorona บางครั้งมันจะเปล่งแสงเมื่อถูกชนโดยอิเล็กตรอนที่มาจากแมกนีโตสเฟียร์

    แนวการแผ่รังสีของแวน อัลเลน (Van Allen's Radiation belts) เป็นแนวที่มีอนุภาคถูกกักอยู่จำนวนมาก แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ แนวการแผ่รังสีชั้นใน (Inner radiation belts) และ แนวการแผ่รังสีชั้นนอก (Outer radiation belts) โดยที่ชั้นนอกนนั้นจะเป็นบริเวณที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 1.5 เท่าของรัศมีโลก และอนุภาคที่มีมากในบริเวณนี้คือโปรตอนที่มีพลังงานประมาณ 10 - 100 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ ส่วนที่ชั้นนอกนั้นเป็นบริเวณที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 2.5 - 8 เท่าของรัศมีโลก และอนุภาคที่พบมาเป็นอิเล็กตรอนและโปรตอนที่มีพลังงานต่ำกว่า โดยจะมีพลังงานตั้งแต่ 65 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ และไม่เกิน 1 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์

    http://www.physics.sjsu.edu/becker/physics51/images/28_16A_Van_Allen_belts.jpg

    รูปแสดงอนุภาคที่ถูกกักอยู่ในแนวการแผ่รังสีแวน อัลเลน (Van Allen radiation belts)

    Magnetic tails เป็นบริเวณที่เส้นสนามแม่เหล็กที่มีขั้วตรงข้ามกันขนานกัน magnetic tail ของโลกจะอยู่ไกลไปถึงวงโคจรของดวงจันทร์ และ magnetic tail ของดาวพฤหัสก็จะอยู่ไกลไปถึงดาวเสาร์

    อ้างอิง

    - Earth's magnetic field - Wikipedia, the free encyclopedia

    - Magnetosphere - Wikipedia, the free encyclopedia
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,680
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จากข้อมูลที่ผมให้ในตอนต้นเราจะเห็นว่า

    ตำแหน่งของขั้วแม่เหล็กไม่ได้อยู่นิ่งกับที่ แต่จะเคลื่อนไปประมาณ 15 กิโลเมตรต่อปี เนื่องจากสนามแม่เหล็กโลกมีการเปลี่ยนแปลงขนาดและตำแหน่งอยู่ตลอด ขั้วแม่เหล็กทั้งสองมีการเคลื่อนตัวตลอดเวลา และไม่ขึ้นแก่กัน ปัจจุบันขั้วแม่เหล็กใต้อยู่ห่างจากขั้วโลกมากกว่าที่ขั้วแม่เหล็กเหนืออยู่ห่างจากขั้วโลก

    ดังนั้นการจะเกิดภัยพิบัติจากสนามแม่เหล็กโลกเคลื่อนตัวจะต้องดูจากหลายองค์ประกอบ และจากเฟสอาจารย์ปิยะชีพบอกว่าถ้าขั้วแม่เหล็กเหนือเคลื่อนที่มาที่ 40 องศาจะกะโดดข้ามน่าสงสัยมาก ไม่มีการให้เหตุผลเลย
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,680
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข้อมูลจากเฟสบุ๊กอาจารย์ปิยะชีพ

    Piyacheep S.Vatcharobol
    ขออนุญาตปูพื้นฐานฤดูกาล การหมุนของโลก การรับแดดของโลกกันใหม่นะครับ
    ช่วงนี้ดวงอาทิตย์ขึ้นเร็ว ตกช้าเป็นเรื่องปกติของฤดูกาลนะครับ
    จะผิดปกติที่ขึ้นเร็วไปหน่อย ตีสี่เศษแสงมาแล้ว ปกติน่าจะตีสี่ครู่งถึงตีห้า
    ตกช้าไปหน่อย ปกติทุ่มนิดๆ แต่นี่เกือบสองทุ่ม บางวันสองทุ่มเศษๆ

    ที่อยากให้ช่วยสังเกตุคือ ทิศทางที่ดวงอาทิตย์ขึ้น
    มุมองศาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นมาจากขอบฟ้า
    มุมดวงอาทิตย์เวลาเที่ยง และ
    มุมดวงอาทิตย์เวลาตกดิน
    ว่าเป็นเส้นตรง องศาเท่าเดิม หรือมีสไลท์โค้งแบบโยนโบลิ่งนะครับ

    ฤดูกาล จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    การโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก
    ฤดูกาล (อังกฤษ: Season) เป็นช่วงเวลาในแต่ละปีที่แบ่งตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดขึ้นจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เนื่องจากแกนโลกเอียงเป็นมุม 23.5 องศา จึงทำให้ในแต่ละช่วงของปี แต่ละบริเวณจะได้รับแสงแดดไม่เท่ากัน ทำให้มีอุณหภูมิต่างกัน จึงเกิดเป็นฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้น
    ในเขตอบอุ่นและเขตหนาว จะแบ่งออกเป็น 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ซึ่งโดยทั่วไป ฤดูในเขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาดังนี้
    วสันตฤดู หรือฤดูใบไม้ผลิ: 21 มีนาคม - 20 มิถุนายน
    คิมหันตฤดู หรือฤดูร้อน: 21 มิถุนายน - 21 กันยายน
    สารทฤดู หรือฤดูใบไม้ร่วง: 22 กันยายน - 21 ธันวาคม
    เหมันตฤดู หรือฤดูหนาว : 22 ธันวาคม - 20 มีนาคม
    ในเขตร้อน จะแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูหนาว (รวมกันเรียกว่า "ฤดูแล้ง") และฤดูฝน
    สาเหตุในการเกิดฤดูกาล[แก้]

    ฤดูกาลเกิดขึ้นเนื่องจากการเอียงของแกนโลกที่เอียงทำมุมประมาณ 23.5 องศากับระนาบการหมุนของโลก ส่งผลให้ระยะเวลาในช่วงกลางวันและกลางคืน รวมถึงการดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของปี นั่นคือในช่วงที่ซีกโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ซึ่งถือว่าเป็นช่วงฤดูร้อนของซีกโลกเหนือเนื่องจากได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์มากที่สุดและมีกลางวันที่ยาวนานที่สุด ทางซีกโลกใต้จะห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด นั่นคือเป็นฤดูหนาวของซีกโลกใต้ซึ่งมีกลางวันที่สั้นที่สุด

    [​IMG]
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,680
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ผมว่าอาจารย์ปิยะชีพคงต้องการปูพื้นฐานเพื่ออธิบายเรื่องแกนโลกไม่นิ่ง เพราะจากเฟสบุ๊กของอาจรย์เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน บอกว่า


    จากเหตุผืดปกติที่ภาพถ่ายขอบแสงสว่างกลางวันกับกลางคืน
    ของกูเกิ้ล กับของนาซ่าต่างมุมกันมาก ที่บ่งบอกว่าแกนโลกแกว่ง
    ในเครือข่ายรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินภาคประชาชน
    ทำไมบางวันเห็นเมฆต่ำ พระจันทร์ในจุดเดิมที่เราอยู่

    เช้านี้อาจารย์โป้ง ได้ลงข่าวสารที่สำคัญต้องอ่านนะครับ

    Siripol Pong
    หลักฐานที่ แสดงว่าแกโลกเราส่ายไปมา โดนจับได้จากกล้องถ้ายภาพท้องฟ้าความเร็วต่ำมาก ซึ่งจะบันทึก การหมุนของโลกในรอบ 24 ชั่วโมง เทียบกับหลายปีที่ผ่านมา ปีนี้ แกนโลกไม่นิ่งแล้ว

    Wobble Proof! Long-Exposure Photo over India. Polaris in Two Places! (NEW ZetaTalk) - Earth Changes and the Pole Shift
    Wobble Proof! Long-Exposure Photo over India. Polaris in Two Places! (NEW ZetaTalk)
    poleshift.ning.com
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,680
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Solar flare ช่วงนี้เกิดจากจุดดับ 1762 เป็นส่วนใหญ่


    Event# EName Start Stop Peak GOES Class Derived Position
    1 gev_20130602_0034 2013/06/02 00:34:00 00:54:00 00:40:00 B4.8 S31W06 ( 1762 )
    2 gev_20130602_0214 2013/06/02 02:14:00 02:35:00 02:26:00 B5.5 S31W06 ( 1762 )
    3 gev_20130602_0506 2013/06/02 05:06:00 05:34:00 05:20:00 C1.8 S31W08 ( 1762 )
    4 gev_20130602_1447 2013/06/02 14:47:00 14:55:00 14:51:00 B3.7 N11E20 ( 1760 )
    5 gev_20130602_1544 2013/06/02 15:44:00 15:50:00 15:48:00 B4.8 S27W19 ( 1762 )
    6 gev_20130602_1616 2013/06/02 16:16:00 16:24:00 16:20:00 B4.4 N12E18 ( 1760 )
    7 gev_20130603_0100 2013/06/03 01:00:00 01:40:00 01:09:00 B5.4 S31W20 ( 1762 )
    8 gev_20130603_0242 2013/06/03 02:42:00 03:25:00 02:56:00 B6.7 S31W19 ( 1762 )
    9 gev_20130603_0621 2013/06/03 06:21:00 06:36:00 06:25:00 B5.1 S18W03 ( 1761 )
    10 gev_20130603_0703 2013/06/03 07:03:00 07:42:00 07:25:00 C9.5 S31W24 ( 1762 )
    11 gev_20130603_1145 2013/06/03 11:45:00 11:51:00 11:49:00 B4.4 S31W24 ( 1762 )
    12 gev_20130603_1646 2013/06/03 16:46:00 18:15:00 17:44:00 C1.8 S32W27 ( 1762 )
    13 gev_20130603_1647 2013/06/03 16:47:00 18:01:00 17:44:00 C1.8 S32W27 ( 1762 )
    14 gev_20130603_2344 2013/06/03 23:44:00 01:41:00 00:52:00 B8.8 S33W34 ( 1762 )
    15 gev_20130603_2345 2013/06/03 23:45:00 01:55:00 00:52:00 B8.9 S33W34 ( 1762 )
    16 gev_20130604_0409 2013/06/04 04:09:00 04:23:00 04:20:00 B5.7 S19W17 ( 1761 )
    17 gev_20130604_0753 2013/06/04 07:53:00 09:07:00 08:32:00 B7.0 S33W36 ( 1762 )
    18 gev_20130605_0814 2013/06/05 08:14:00 09:26:00 08:56:00 M1.3 S31W52 ( 1762 )
    19 gev_20130606_0415 2013/06/06 04:15:00 04:21:00 04:18:00 B4.3 S29W59 ( 1762 )
    20 gev_20130606_0520 2013/06/06 05:20:00 06:30:00 05:47:00 B5.3 S33W61 ( 1762 )
    21 gev_20130606_2039 2013/06/06 20:39:00 20:49:00 20:43:00 B5.7 S30W68 ( 1762 )
    22 gev_20130606_2308 2013/06/06 23:08:00 23:15:00 23:11:00 B5.6 N09E04 ( 1765 )
    23 gev_20130606_2318 2013/06/06 23:18:00 00:09:00 23:35:00 B7.7 S34W73 ( 1762 )
    24 gev_20130606_2319 2013/06/06 23:19:00 23:51:00 23:35:00 B7.6 S34W73 ( 1762 )
    25 gev_20130607_0102 2013/06/07 01:02:00 01:13:00 01:08:00 C1.0 S31W70 ( 1762 )
    26 gev_20130607_0115 2013/06/07 01:15:00 01:29:00 01:19:00 B6.8 S31W73 ( 1762 )
    27 gev_20130607_0927 2013/06/07 09:27:00 09:54:00 09:42:00 C1.1 S33W87 ( 1762 )
    28 gev_20130607_1142 2013/06/07 11:42:00 12:00:00 11:51:00 C3.0 S30W78 ( 1762 )
    29 gev_20130607_1918 2013/06/07 19:18:00 19:27:00 19:23:00 B6.6 S29W83 ( 1762 )
    30 gev_20130607_2107 2013/06/07 21:07:00 21:17:00 21:11:00 B4.2 S30W89 ( 1762 )
    31 gev_20130607_2211 2013/06/07 22:11:00 22:49:00 22:49:00 M5.9 S32W89 ( 1762 )
    32 gev_20130608_0514 2013/06/08 05:14:00 05:22:00 05:18:00 B7.2 S32W89 ( 1762 )
    33 gev_20130608_0739 2013/06/08 07:39:00 07:51:00 07:43:00 B4.4 S30W89 ( 1762 )
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,680
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข้อมูลจากสมาคมดาราศาสตร์ไทย
    จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อความเอียงแกนหมุนของโลกกำลังลดลง

    นิพนธ์ ทรายเพชร
    บทคัดย่อ
    แกนหมุนรอบตัวเองของโลกเอียงจากแนวตั้งฉากของระนาบทางโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นมุม ε สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นเพราะดาวขนาดใหญ่เท่าดาวอังคารชนโลกจนทำให้เกิดดวงจันทร์ ด้วย ε มีค่าไม่คงที เพราะแรงรบกวนจากภายนอก โดยเฉพาะจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ซึ่งทำให้แกนโลกส่ายรอบละ 25,800 ปี ทั้งนี้เพราะโลกโป่งออกบริเวณแถบศูนย์สูตร ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จึงช่วยกันดึงให้แกนโลกตั้งตรง นอกจากนี้ยุงมีแรงรบกวนจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ทำให้วงโคจรของโลกส่ายรอบละ 71,000 ปี การส่ายของแกนหมุนและการส่ายของวงโคจรของโลกคือสาเหตุที่ทำให้ ε มีคาบประมาณ 41,000 ปี โดยมีค่าเฉลี่ย 23.3 องศา ค่าต่ำสุด 22.6 องศา ค่าสูงสุด 24.2 องศา ปัจจุบัน ε มีค่า 23.4 องศา อยู่ในช่วงกำลังลดลงในอัตรา 0.475″ ต่อปี หากคิดเป็นระยะทางจะได้ 14.7 เมตรต่อปี หรือ 1.47 กิโลเมตรต่อศตวรรษ นั่นคือเส้นที่แบ่งเขตร้อนกำลังเคลื่อนที่เข้าหาเส้นศูนย์สูตรของโลกด้วยความเร็วสูงอย่างไม่น่าเชื่อ 14.7 เมตรต่อปี สูงกว่าอัตราการเลื่อนของเพลตเทคโทนิกซึ่งเลื่อนเพียงปีละ 13 เซนติเมตรเป็นอย่างมาก เมื่อเขตร้อนลดลงเขตหนาวก็ต้องเพิ่มขึ้น นั่นคือแกนโลกเอียงลดลงกำลังพาโลกไปสู่ยุคน้ำแข็ง และแกนโลกเอียงน้อยที่สุด 22.6 องศาในอีก 10,200 ปี

    บทนำ
    โลกไม่อยู่นิ่ง ๆ แต่มีการเคลื่อนที่สำคัญ 2 ประการ คือ หมุนรอบตัวเองรอบละ 1 วัน และเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์รอบละ 1 ปี โดยพาดวงจันทร์ซึ่งเคลื่อนรอบโลกรอบละ 1 เดือนไปด้วย แกนที่โลกหมุนรอบไม่ตั้งฉากกับระนาบทางโคจรขอบโลกรอบดวงอาทิตย์ แต่เอียงจากแนวตั้งฉากเป็นมุมประมาณ 23.5 องศา โลกจึงไม่อยู่โดดเดี่ยว เพราะมีดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่ใกล้ ๆ แม้ว่าระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์และระยะระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่เปลี่ยนแปลงไม่มาก นอกจากนี้ยังมีดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์กับโลกเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงมีแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อโลกในสัดส่วนที่ค่อนข้างมากตลอดเวลาจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ และแรงที่กระทำต่อโลกในสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อยจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ แรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อโลกจากดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์จึงไม่คงที่ แรงเหล่านี้เองที่ทำให้ความเอียงของแกนหมุนของโลกเปลี่ยนแปลง โดยมีคาบของการเปลี่ยนแปลงประมาณ 41,000 ปี ปัจจุบันความเอียงของแกนหมุนของโลกเท่ากับ 23 องศา 26 ลิปดา 11 พิลิปดา มุมนี้มีค่าน้อยลงเรื่อย ๆ การลดลงหรือเพิ่มขึ้นของความเอียงของแกนหมุนของโลก ส่งผลกระทบมาถึงตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในวันที่อยู่เหนือสุด (21 มิถุนายน) และในวันที่อยู่ใต้สุด (22 ธันวาคม)

    ทำไมแกนโลกจึงเอียง
    แกนโลกเอียงเพราะในยุคต้น ๆ ของกำเนิดดาวเคราะห์ มีดาวขนาดดาวอังคารวิ่งเข้าชนโลก ทำให้ชิ้นส่วนของโลกที่หลุดออกมาและส่วนที่เหลือของดาวที่มาชนหลอมรวมกันกลายเป็นดวงจันทร์โคจรรอบโลก ส่วนโลกถูกชนจนแกนเอียงและหมุนรอบแกนด้วยความเร็วสูงรอบละ 1 วัน

    image.jpg


    กำเนิดของดาวเคราะห์ชั้นในได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร เกิดจากเนบิวลาเดียวกันกับที่ให้กำเนิดเป็นดวงอาทิตย์และดาวเคราะดวงอื่น แต่ในยุคต้น ๆ บริเวณดาวเคราะห์ชั้นในจะมีดาวขนาดเล็กจำนวนมากที่ถูกดวงใหญ่ดึงให้ตกลงสู่ดาวเคราะห์เหล่านั้น จนดาวเคราะห์นั้นในมีขนาดใหญ่ขึ้น ในขณะที่จำนวนวัตถุขนาดเล็กลดลง และพลังงานของการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์จะพลักดันโมเลกุลหรือสารที่ระเหยได้ง่าย รวมทั้งก๊าซที่เบาให้หลุดลอยออกจากดาวเคราะห์ชั้นในไปอยู่ ณ ชั้นนอกของระบบสุริยะ ทำให้ดาวเคราะห์ชั้นในเป็นดาวเคราะห์ที่เป็นหินแข็ง มีความหนาแน่นสูง ส่วนดาวเคราะห์ชั้นนอกเป็นดาวเคราะห์ก๊าซมีความหนาแน่นต่ำ

    ดาวเคราะห์ทุกดวงมีแกนเอียงต่าง ๆ กัน ดาวเคราะห์ที่มีแกนเอียงคล้ายโลกที่สุดคือ ดาวอังคาร ซึ่งมีแกนหมุนเอียงจากแนวดิ่งของระนาบทางโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นมุมประมาณ 25 องศา


    แกนโลกเอียงเท่าใด
    ความเอียงของแกนหมุนของโลกคือ มุมระหว่างแกนหมุนรอบตัวเองของโลก และแกนที่ผ่านขั้วทั้งสองของทรงกลมฟ้าที่มีเส้นสุริยวิถีเป็นเส้นแบ่งครึ่ง ซึ่งเท่ากับมุมระหว่างระนาบสุริยวิถีกับระนาบเส้นศูนย์สูตรของโลก ตรงกับภาษาอังกฤษว่า obliquity มีสัญลักษณ์ว่า ε


    ปัจจุบัน ε มีค่าประมาณ 23° 26′ และกำลังอยู่ในช่วงลดลงด้วยอัตราประมาณ 0.475″ ต่อปี มุมนี้จะลงไปต่ำสุดที่ 22.6° ในอีก 10,200 ปี หลังจากนั้นจะเพิ่มขึ้นทีละน้อยอีกครั้งหนึ่งจนกระทั่งถึงค่าสูงสุด 24.2° ค่าสูงสุดนี้เกิดขึ้นมาแล้วก่อนหน้าปัจจุบันประมาณ 10,000 ปี

    การเปลี่ยนแปลงของ ε ในระยะเวลา 700,000 ปีที่ผ่านมา ปรากฏดังรูป


    ในเวลา 700,000 ปี ε เปลี่ยนแปลงไป 17 รอบ ดังนั้น 1 รอบของการเปลี่ยน ε จะยาวนานประมาณ 41,000 ปี ซึ่งเรียกว่า คาบของการเปลี่ยนแปลงของ ε

    ค่าเฉลี่ยของ ε คือ 23.3° ในปัจจุบันโลกจึงอยู่ในจังหวะที่ ε ลดลงเข้าใกล้ค่าเฉลี่ย

    สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของ ε
    ความเอียงของแกนหมุนของโลกคือ มุมระหว่างแกนหมุนรอบตัวเองของโลก และแกนที่ผ่านขั้วทั้งสองของทรงกลมฟ้าที่มีเส้นสุริยวิถีเป็นเส้นแบ่งครึ่ง ซึ่งเท่ากับมุมระหว่างระนาบสุริยวิถีกับระนาบเส้นศูนย์สูตรของโลก ตรงกับภาษาอังกฤษว่า obliquity มีสัญลักษณ์ว่า ε

    ε มีค่าไม่คงที่เพราะสาเหตุ 2 ประการ คือ

    (ก.) การส่ายของแกนหมุนของโลกอันเกิดจากแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ที่พยายามดึงแกนโลกให้ตั้งตรง ทำให้แกนโลกส่ายรอบละ 25,800 ปี ดาวเหนือในแต่ละยุคจึงไม่ใช่ดาวดวงเดียวกัน เช่น ในปัจจุบันดาวเหนือคือ ดาวแอลฟา-หมีเล็ก เมื่อ 4,000 ปีมาแล้ว ดาวเหนือคือ ดาวทูแบน ในอนาคตอีก 10,000 ปี ดาววีกา จะเป็นดาวเหนือที่สว่างโชติช่วง

    เนื่องจากโลกโป่งออกบริเวณเส้นศูนย์สูตร แรงลัพธ์ที่ดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์กระทำต่อโลกจึงไม่ผ่านจุดศูนย์กลางโลก แต่ผ่านใต้จุดนี้ ผลที่เกิดขึ้นคือ มีแรงที่พยายามดึงแกนโลกให้ตั้งตรงดังกล่าวแล้ว แกนโลกจึงส่ายในทิศทางตรงข้ามกับทิศทางของการหมุนแทนที่จะส่ายในทิศทางเดียวกันกับทิศทางการหมุนของลูกข่าง


    เปรียบเทียบการส่ายของแกนหมุนของโลกและของลูกข่าง
    (ข.) การส่ายของทางโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์อันเนื่องมาจากแรงรบกวนจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ในระบบสุริยะ คาบของการส่ายของทางโคจรของโลกยาวนานประมาณ 71,000 ปี การส่ายของแกนหมุนและการส่ายของทางโคจรของโลก ทำให้ ε มีคาบประมาณ 41,000 ปี

    แกนโลกเอียงคือสาเหตุของการเกิดฤดูกาลของโลก
    ในปัจจุบันขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ในเดือนมิถุนายน ทำให้ซีกโลกเหนือเป็นฤดูร้อน แต่ในเดือนธันวาคมขั้วโลกเหนือหันออกจากดวงอาทิตย์ซีกโลกเหนือได้รับความร้อนลดลงจึงเป็นฤดูหนาว

    ในระยะยาวอีกประมาณ 12,000 ปีจากปัจจุบัน ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ในเดือนธันวาคมและหันออกในเดือนมิถุนายน ดังนั้นฤดูกาลจึงกลับกันกับในปัจจุบัน คือซีกโลกเหนือเป็นฤดูร้อนในเดือนธันวาคมและเป็นฤดูหนาวในเดือนมิถุนายน ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเพราะการส่ายของแกนหมุนของโลกรอบละ 25,800 ปี

    ทิศทางที่แสงแดดตกกระทบผิวโลกจะช่วยบอกให้ทราบว่าโลกบริเวณนั้นมีอุณหภูมิสูงหรือต่ำ หากแสงอาทิตย์ส่องมาตรง ๆ หรือตั้งฉากกับผิวโลกจะทำให้ผิวโลกบริเวณนั้นร้อนกว่า เมื่อแสงอาทิตย์ส่องมาเฉียง ๆ ทั้งนี้เพราะเมื่อแสงส่องมาเฉียงความร้อนจะแผ่กระจายเป็นบริเวณกว้าง อุณหภูมิเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่จึงน้อยกว่าเมื่อแสงส่องมาตรง ๆ ซึ่งความร้อนแผ่กระจายเป็นบริเวณแคบ ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่มีค่าสูง

    ปัจจุบันโลกมีบริเวณต่าง ๆ ที่แบ่งตามภูมิอากาศคือ เขตร้อน เขตอบอุ่น และเขตหนาว
    เขตร้อน อยู่ระหว่างละติจูด 23.5° ใต้ ถึง 23.5° เหนือ
    เขตอบอุ่นเหนือ อยู่ระหว่างละติจูด 23.5° เหนือ ถึง 66.5° เหนือ
    เขตอบอุ่นใต้ อยู่ระหว่างละติจูด 23.5° ใต้ ถึง 66.5° ใต้
    เขตหนาวเหนือ อยู่ระหว่างละติจูด 66.5° เหนือ ถึงขั้วโลกเหนือ
    เขตหนาวใต้ อยู่ระหว่างละติจูด 66.5° ใต้ ถึงขั้วโลกใต้

    แกนโลกเอียงน้อยลงทำให้เขตร้อนเคลื่อนที่เข้าหาเส้นศูนย์สูตรโลก
    ละติจูด 23.5 องศา คือขอบของเขตร้อนที่อยู่ระหว่างละติจูด 23.5 องศาใต้กับละติจูด 23.5 องศาเหนือ มุม 23.5 องศาคือ ความเอียงของแกนหมุนของโลกจากแนวตั้งฉากกับระนาบทางโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งแทนด้วย ε ถ้า ε ลดลง เขตร้อนของโลกก็ต้องลดลงด้วย ปัจจุบัน ε ลดลงในอัตราประมาณ 0.475″ ต่อปี หรือ 47.5″ ต่อศตวรรษ หากคิดเป็นระยะทางจะได้ 14.7 เมตรต่อปี หรือ 1.47 กิโลเมตรต่อศตวรรษ นั่นคือ เส้นที่แบ่งเขตร้อนซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่าเส้นทรอปิก (tropics) กำลังเคลื่อนเข้าหาเส้นศูนย์สูตรของโลกด้วยความเร็วสูงอย่างไม่น่าเชื่อ 14.7 เมตรต่อปี สูงกว่าอัตราการเลื่อนของเพลตเทกโทนิก ซึ่งเลื่อนเพียงปีละ 13 เซนติเมตรเป็นอย่างมาก

    หากคิดเป็นพื้นที่เขตร้อนจะลดลงปีละประมาณ 1,080 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณที่เป็นทะเลเป็นมหาสมุทร บริเวณที่เป็นพื้นดินประมาณ 330 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น และทวีปแอฟริกาเป็นผืนแผ่นดินผืนใหญ่ที่เส้นแบ่งเขตร้อนทั้งสองผ่าน

    เมื่อเขตร้อนลดลง เขตหนาวก็ต้องเพิ่มขึ้น นั่นคือ แกนโลกเอียงลดลงกำลังพาโลกไปสู่ยุคน้ำแข็ง แกนโลกเอียงน้อยที่สุด 22.6 องศา ในอีก 10,200 ปีซึ่งเป็นช่วงที่เขตร้อนเหลือน้อยที่สุด หลังจากนั้นแกนโลกจะเริ่มเอียงมากขึ้นทีละน้อย เขตร้อนเพิ่มขึ้น ปรากฏการณ์โลกร้อนขึ้นเพราะแกนโลกเอียงมากขึ้นก็จะตามมา กลายเป็นโลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็งละลายเนื่องจากเขตหนาวลดลง

    การส่ายของแกนหมุนของโลกทำให้เส้นศูนย์สูตรฟ้าเลื่อนไปตัดกับสุริยวิถีทางทิศตะวันตกของจุดเดิมปีละ 50″
    เมื่อสังเกตตำแหน่งของดวงอาทิตย์บนฟ้าจะพบว่า ดวงอาทิตย์เลื่อนไปทางทิศตะวันออกวันละประมาณเกือบ 1 องศา พอครบปีก็กลับมาที่เก่า ทั้งนี้เป็นเพราะโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เส้นทางที่ดวงอาทิตย์ผ่านไปเรียกว่า สุริยวิถี ซึ่งเอียงกับระนาบเส้นศูนย์สูตรเป็นมุม ε จุดตัดกันของสุริยวิถีและเส้นศูนย์สูตรฟ้ามี 2 จุดคือ จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ในวันที่ 21 มีนาคม และ 23 กันยายน ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวันที่ 21 มีนาคม เรียกว่า วสันตวิษุวัต ซึ่งควรเรียกว่า วิษุวัตในเดือนมีนาคม สุริยวิถีผ่านกลุ่มดาวจักรราศี 12 กลุ่มและกลุ่มดาวเหล่านี้อยู่คงที่บนฟ้า เป็นกลุ่มดาวที่ใช้อ้างอิงซึ่งไทยเรานำมาตั้งเป็นชื่อเดือนสุริยคติ เช่น กลุ่มดาวแมงป่อง เป็นที่มาของเดือนพฤศจิกายน พฤศจิก แปลว่า แมงป่อง อายน แปลว่า มาถึง หรือ มาแล้ว สิ่งที่มาถึงกลุ่มดาวแมงป่องก็คือดวงอาทิตย์ ในอดีตเมื่อกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวแมงป่องตลอดเดือนพฤศจิกายน แต่ในปัจจุบันดวงอาทิตย์จะเข้าสู่กลุ่มดาวแมงป่องตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน โดยช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคันชั่งซึ่งอยู่ถัดกลุ่มดาวแมงป่องในทิศตะวันตก สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะการส่ายของแกนหมุนของโลกทำให้จุดวสันตวิษุวัตเลื่อนไปทางทิศตะวันตกของจุดเดิมปีละ 50" ในเวลา 2,000 ปี จุดวสันตวิษุวัตเลื่อนไปทางทิศตะวันตกเกือบ 28 องศา จุดวสันตวิษุวัตคือจุดตั้งต้นของราศีเมษ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเดือนเมษายนและกลุ่มดาวแกะ ปัจจุบันนี้จุดนี้อยู่ในกลุ่มดาวปลา ต้องรอถึงปลายเดือนเมษายน ดวงอาทิตย์จึงจะเข้าไปสู่กลุ่มดาวแกะ เช่นเดียวกันกับต้องรอถึงปลายเดือนพฤศจิกายน ดวงอาทิตย์จึงจะเข้าสู่กลุ่มดาวแมงป่อง

    เส้นแบ่งเขตร้อนเหนือกับเขตอบอุ่นเหนือที่เรียกว่า Tropic of Cancer นั้นปัจจุบันไม่ได้อยู่ในกลุ่มดาวปู (Cancer) แต่อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ (Gemini) ดังนั้นจึงควรเรียกว่า Tropic of Gemini ในทำนองเดียวกัน เส้นแบ่งเขตร้อนใต้กับเขตอบอุ่นใต้ต้องเปลี่ยนจาก Tropic of Capricorn เป็น Tropic of Sagittarius (คนยิงธนู)

    บทสรุป
    ความเอียงของแกนหมุนของโลกเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้นบนโลก ความเอียงนี้ไม่คงที่ แต่เปลี่ยนแปลงเป็นรอบ ๆ รอบละประมาณ 41,000 ปี สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงเกิดจากการส่ายของแกนหมุนและการส่ายของวงโคจรของโลก ปัจจุบันมุมเอียงของแกนโลกลดลงทำให้เขตร้อนลดลง เส้นแบ่งเขตร้อนเคลื่อนที่เข้าหาเส้นศูนย์สูตรด้วยความเร็วสูงอย่างไม่น่าเชื่อ 14.7 เมตรต่อปี เขตต้อนลดลงเขตหนาวต้องเพิ่มขึ้น ดังนั้นแกนโลกเอียงลดลงกำลังพาโลกไปสู่ยุคน้ำแข็ง

    * บรรยายในการประชุมราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2544
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2013
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,680
    ค่าพลัง:
    +97,150
    โลก

    สัณฐาน และการหมุนรอบตัวเองของโลก

    โลกมีสัณฐานกลม โดยโป่งออกที่เส้นศูนย์สูตรและแบนที่ขั้วโลกมีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 12,766 กิโลเมตร โลกไม่อยู่นิ่งแต่มีการเคลื่อนที่ใน 2 ลักษณะที่สำคัญคือ

    หมุนรอบตัวเองรอบละ 1 วันและโคจรรอบดวงอาทิตย์รอบละ 1 ปี วันและปี จึงเกิดจากการเคลื่อนที่ของโลก

    ลักษณะการหมุนรอบตัวเองของโลก

    โลกหมุนรอบแกนสมมติที่ผ่านขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ แกนสมมตินี้จะชี้ไปยังจุดค่อนข้างจะคงที่บนฟ้า โดยในปัจจุบันแกนที่ผ่านขั้วโลกเหนือชี้ไปยังจุดซึ่งดาวเหนืออยู่ใกล้ ๆทิศทางที่โลกหมุน คือ จากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก กล่าวคือหมุนจากทางประเทศพม่ามาทางประเทศไทย การหมุนรอบตัวเองของโลก จึงทำให้เกิดทิศ

    โลกหมุนจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก เพราะฉะนั้นทิศจึงไปกับโลกตลอดเวลา การหมุนรอบตัวเองของโลกนอกจากจะทำให้เกิดทิศแล้ว ยังทำให้เกิดการขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ตลอดทั้งดวงดาวทั้งหลายบนฟ้าด้วย

    การขึ้น-ตกของดวงดาวในประเทศไทย

    เส้นทางการขึ้น-ตกของดวงดาวในประเทศไทยจะขนานกันทุกเส้นและไม่ตั้งฉากกับขอบฟ้า แต่จะเอียงไปทางทิศใต้ โดยเอียงมากที่สุดสำหรับเหนือสุดของประเทศ และเอียงน้อยที่สุดสำหรับใต้สุด ทั้งนี้เพราะความเอียงของเส้นทางขึ้น-ตกขึ้นอยู่กับละติจูด ถ้าอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรโลก เส้นทางจะตั้งฉากกับขอบฟ้า และดาวทุกดวงจะอยู่บนฟ้านาน 12 ชั่วโมงเท่ากัน ไม่ว่าจะขึ้นเฉียงไปทางใต้หรือเฉียงไปทางเหนือของจุดทิศตะวันออกเป็นมุมต่างกันก็ตาม

    ในกรณีที่เราอยู่ทางเหนือของ เส้นศูนย์สูตรจะเห็นจุดที่ดาวขึ้นไปสูงสุดบนฟ้าอยู่ห่างไปทางใต้ของเส้นศูนย์สูตรเป็นมุมเท่ากับ
    ละติจูดที่เราอยู่ เช่น เมื่ออยู่ที่เส้นศูนย์สูตรดาวที่ขึ้นตรงจุดทิศตะวันออกพอดี จะขึ้นไปสูงสุดตรงจุดเหนือศีรษะ
    และตกตรงจุดทิศตะวันตกพอดี แต่เมื่ออยู่ที่ละติจูด 15 องศาเหนือ (กลาง ๆ ประเทศไทย) ดาวที่ขึ้นตรงจุดทิศตะวันออก
    พอดีจะขึ้นไปสูงสุด ณ จุดที่อยู่ห่างไปทางใต้ของจุดเหนือศีรษะเป็นมุม 15 องศา ก่อนที่จะไปตกตรงจุดทิศตะวันตกพอดี
    รวมเวลาตั้งแต่ขึ้นถึงตก 12 ชั่วโมงพอดี
    ณ ละติจูด 15 องศาเหนือ ดาวที่ขึ้นเฉียงไปทางใต้ของจุดทิศตะวันออกเป็นมุมเท่าใดจะตกเฉียงไปทางใต้ของจุดทิศตะวันตก
    เป็นมุมเท่านั้น โดยดาวจะอยู่บนฟ้าสั้นกว่า 12 ชั่วโมง ส่วนดาวที่ขึ้นเฉียงไปทางเหนือของจุดทิศตะวันออกเป็นมุมเท่าใด
    จะตกเฉียงไปทางเหนือของจุดทิศตะวันตกเป็นมุมเท่านั้น โดยจะอยู่บนฟ้ายาวกว่า 12 ชั่วโมง
    เวลา

    เมื่อโลกหมุนรอบตัวเองจะเห็นดวงดาวและดวงอาทิตย์ขึ้น-ตก เมื่อดวงอาทิตย์หรือดวงดาวกลับมาอยู่ตำแหน่งเดิม บอกให้ทราบว่าโลกได้หมุนรอบตัวเองแล้ว 1 รอบ หรือ 1 วัน แต่ประเทศต่าง ๆ ไม่เห็นดวงดาวหรือดวงอาทิตย์พร้อมกันเพราะโลกกลม ดังนั้นการกำหนดเวลาเทียบกับดวงอาทิตย์จึงไม่ตรงกัน โลกมีเส้นสมมติที่ใช้เปรียบเทียบเวลาระหว่างประเทศต่าง ๆ ได้ เส้นสมมติดังกล่าวเรียกว่าลองจิจูด ซึ่งเป็นเส้นตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรโลก และตัดกันที่ขั้วโลก เส้นลองจิจูดวัดเป็นมุมโดยให้ลองจิจูด 0 องศา ผ่านประเทศอังกฤษ หรือลองจิจูดของกรีนิช ประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันออกของอังกฤษอยู่บนเส้นลองจิจูดตะวันออก ตั้งแต่ 0 องศาถึง 180 องศาตะวันออก ประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกของอังกฤษ อยู่บนเส้นลองจิจูด 0 องศาถึง 180 องศาตะวันตก

    ลองจิจูด 360 องศา จึงเท่ากับ 24 ชั่วโมง15 องศา จึงเท่ากับ 1 ชั่วโมง หรือ 1 องศา จึงเท่ากับ 4 นาที

    เวลามาตรฐานของประเทศไทย

    เส้นลองจิจูดที่หารด้วย 15 ลงตัว และผ่านประเทศไทยคือ ลองจิจูด 105 องศาตะวันออก ซึ่งผ่านจังหวัดอุบลราชธานี ตามหลักสากล ประเทศไทยจึงกำหนดเวลามาตรฐานของประเทศตามเส้นลองจิจูด 105 องศาตะวันออก กล่าวคือ ทุกจังหวัดของประเทศไทยต้องตั้งนาฬิกาตามเวลามาตรฐานเดียวกัน คือ 105 องศาเหนือ 7 ชั่วโมงเร็วกว่าอังกฤษ ทั้งนี้เพราะเส้นลองจิจูด 105 องศาตะวันออกเร็วกว่าอังกฤษ 105/15 หรือ 7 ชั่วโมง

    ดังนั้น ถ้าเวลามาตรฐานอังกฤษ (GMT) เป็น 05.00 น. จะตรงกับเวลาประเทศไทย 12.00 น.

    ถ้าเราทราบลองจิจูดของตำบลต่าง ๆ เราสามารถเปรียบเทียบเวลาเห็นดวงอาทิตย์ของตำบลเหล่านั้นได้ เช่น กรุงเทพมหานครอยู่ที่ลองจิจูด 100.5 องศาตะวันออก จังหวัดอุบลราชธานีอยู่ที่ลองจิจูด 105 องศาตะวันออก เวลาเห็นดวงอาทิตย์ของคนจังหวัดอุบลราชธานี จึงเร็วกว่าคนในกรุงเทพ (105-100.5) X 4 นาที หรือ 18 นาที

    การเคลื่อนที่ของโลกรอบดวงอาทิตย์

    ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง โลกก็เคลื่อนหรือโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปด้วย การเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบใช้เวลา 1 ปี โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วที่สูงกว่าจรวด ซึ่งส่งดาวเทียมออกไปนอกโลก ดังนั้นจึงอาจจะเปรียบเทียบได้ว่าโลกเป็นยานอวกาศลำใหญ่ที่โคจรอยู่ในอวกาศรอบดวงอาทิตย์

    เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์จะเกิด "ระนาบทางโคจรของโลก”ซึ่งหมายถึงพื้นราบที่มีดวงอาทิตย์และโลกอยู่บนพื้นราบเดียวกัน พื้นราบอาจแผ่ออกไปไกลถึงฟ้า เส้นโค้งซึ่งเกิดจากระนาบทางโคจรของโลกไปตัดท้องฟ้าเรียกว่า สุริยวิถี หรือ เส้นอิคลิปติก

    แกนที่โลกหมุนรอบซึ่งผ่านขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ไม่ตั้งฉากกับระนาบทางโคจร แต่เอียงจากแนวตั้งฉากเป็นมุมประมาณ 23.5 องศา การเอียงของแกนโลกเช่นนี้จะทำให้ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ในเดือนมิถุนายน และหันออกจากดวงอาทิตย์ในเดือนธันวาคม

    ผลสะท้อนที่เกิดจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกในลักษณะแกนเอียง

    1. เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ในซีกโลกเหนือ เดือนมิถุนายน เป็นฤดูร้อน เดือนกันยายน เป็นฤดูใบไม้ร่วง เดือนธันวาคม เป็นฤดูหนาว เดือนมีนาคม เป็นฤดูใบไม้ผลิ

    2. กลางวัน กลางคืนยาวไม่เท่ากันตลอดทั้งปี ในซีกโลกเหนือ เดือนมิถุนายน กลางวันยาวกว่ากลางคืน เดือนกันยายน กลางวันเท่ากับกลางคืน เดือนธันวาคม กลางวันสั้นกว่ากลางคืน เดือนมีนาคม กลางวันเท่ากับกลางคืน

    3. ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่จากตะวันตกไปตะวันออกในหมู่ดาวจักรราศี

    4. ดาวประจำที่จะขึ้นเร็วกว่าวันก่อนวันละประมาณ 4 นาที

    การบอกตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้าโดยอาศัยขอบฟ้าเป็นหลัก

    ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ใดในโลก เราจะมีขอบฟ้าเสมอซึ่งหมายถึงระดับสายตาที่จรดฟ้ารอบตัวเรา โดยมีจุดสำคัญ 4 จุด
    ได้แก่ทิศทั้ง 4 อยู่ที่ระดับขอบฟ้า จุดสูงสุดของฟ้าอยู่ตรงศีรษะ จึงเรียกว่า จุดเหนือศีรษะ (Zenith)

    การบอกตำแหน่งของวัตถุบนฟ้าจะต้องบอกทั้งทิศและความสูงหรือมุมเงยจากขอบฟ้า ในทางดาราศาสตร์มีคำเรียกทิศว่าแอซิมัท (Azimuth) โดยวัดเป็นมุม 0 องศาตรงจุดทิศเหนือ วนขนานกับขอบฟ้าไปทางตะวันออกเป็น 90 องศา วนไปถึงจุดทิศใต้เป็น 180 องศา ถึงจุดทิศตะวันตกเป็น 270 องศา และกลับถึงทิศเหนือ เป็น 360 องศา หรือ 0 องศา ดังนั้นทิศตะวันออกเฉียงเหนือจึงตรงกับแอซิมัท 45 องศา

    ส่วนมุมเงยที่ขอบฟ้าเท่ากับ 0 องศา มุมเงยของจุดเหนือศีรษะเท่ากับ 90 องศา ดังนั้น ตำแหน่งทุกแห่งบนฟ้าจึงกำหนดได้ด้วยแอซิมัท และมุมเงย

    มุมแอซิมัท หรือ ทิศ คือ มุมราบวัดจากจุดทิศเหนือ (มุมแอซิมัท 0 องศา) เวียนไปทางทิศตะวันออกตามแนวขนานกับขอบฟ้า หรือแนวราบตั้งแต่ 0 -360 องศา เช่นมุมแอซิมัท 45 องศา คือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

    มุมเงย คือ มุมที่มองขึ้นสูงจากขอบฟ้า จุดสูงสุดของท้องฟ้า มีมุมเงย 90 องศา เรียกว่า จุดเหนือศีรษะ

    เนื่องจากท้องฟ้าจริงมีลักษณะเหมือนครึ่งวงกลม ครอบผู้ดูดาวซึ่งยืนอยู่ที่จุดศูนย์กลาง แต่ในแผนที่ดาวเป็นเพียงแผ่นแบนราบ ทำให้ขอบฟ้าด้านทิศใต้ขยายถ่างออกจากกันมากจนดูเพี้ยนไปจากท้องฟ้าจริง ตรงข้ามกับขอบฟ้าด้านทิศเหนือ ซึ่งหดเข้าหากันเล็กน้อย แต่ดูใกล้เคียงกับฟ้าจริงกว่าทางใต้

    แอซิมัท และมุมเงยของดวงดาวใดดวงหนึ่งจะไม่คงที่แต่จะเปลี่ยนแปลงตามเวลาและตำบลที่สังเกต ดังนั้นเมื่อบอกตำแหน่งของดาวเป็นแอซิมัทและมุมเงยต้องบอกสถานที่และเวลาที่เห็นด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...