จิตคืออะไร?จิตมีชื่อเรียกถึง ๑๐ ชื่อ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 1 กรกฎาคม 2013.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โมหจิต ๒ ดวงนี้ มีสิ่งที่ควรทำความเข้าใจบางประการดังต่อไปนี้ คือ

    คำว่า อุเปกฺขาสหคตํ ในที่นี้ เป็นคำเดียวกับ อุเปกฺขาสหคตํ ในโลภสหคตจิต
    ซึ่งแปลว่า เกิดพร้อมกับความเฉยๆ เหมือนกันแต่มีความหมายแตกต่างกัน
    เฉยในโลภมูลจิตนั้นเฉยเพราะมีความยินดีเล็กน้อย
    ไม่ถึงกับมีปีติเกิดความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจ ส่วนเฉยในโมหมูลจิตนี้เฉยเพราะไม่รู้

    คำว่า วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ แปลว่า ประกอบด้วยความสงสัยลังเลไม่แน่ใจ
    ตัดสินลงไปไม่ได้ และ หมายเฉพาะความสงสัยในธรรม ๘ ประการที่กล่าวต่อไปนี้เท่านั้น คือ

    ๑. สงสัยในพระพุทธเจ้า ได้แก่สงสัยในพระสรีระ ( ว่าเห็นจะไม่มีตัวจริง น่าจะสมมติขึ้น ) หรือสงสัยในพระคุณ ( พระพุทธคุณ๙ )
    ๒. สงสัยในพระธรรมว่า มัคค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ มีจริงหรือ และพระธรรมนี้ นำให้ออกจากทุกข์ได้จริงหรือ
    ๓. สงสัยในพระสงฆ์ ว่าสงฆ์ที่ตั้งอยู่ในมัคค ๔ ผล ๔ มีจริงหรือ สงฆ์ที่ปฏิบัติดีมีจริงหรือ ผลแห่งทานที่ถวายแก่สงฆ์มีจริงหรือ
    ๔. สงสัยในสิกขา ๓ ( ศีล สมาธิ ปัญญา ) ว่ามีจริงหรือ ผลานิสงส์ แห่งการศึกษาปฏิบัติในสิกขา ๓ มีจริงหรือ
    ๕. สงสัยในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นส่วนอดีตมีจริงหรือ คือสงสัยว่าชาติก่อนมีจริงหรือ (อเหตุกทิฏฐิ)
    ๖. สงสัยในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นส่วนอนาคตมีจริงหรือ คือสงสัยว่าชาติหน้ามีจริงหรือ ( อุจเฉททิฏฐิ )
    ๗. สงสัยในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เป็นส่วนอดีตและอนาคตนั้นมีจริงหรือ คือสงสัยทั้งชาตินี้และชาติหน้ามีจริงหรือ ( อกริยทิฏฐิ )
    ๘. สงสัยใน ปฏิจจสมุปบาทธรรม คือ ธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลอาศัยกันเกิดขึ้น ต่อเนื่องกันไปโดยไม่ขาดสายเลยนั้น มีจริงหรือ ( อัตตาทิฏฐิ )

    ส่วนความสงสัยอย่างอื่น ที่ไม่ใช่สงสัยในธรรม ๘ ประการที่กล่าวมาแล้วนี้
    เช่น สงสัยในเรื่องสมมติเรื่องบัญญัติ เป็นต้นนั้น เรียกว่า ปฏิรูปกวิจิกิจฉา ไม่เป็นกิเลส
    โมหมูลจิตที่ประกอบด้วยวิจิกิจฉานี้ เรียกว่า วิจิกิจฉาสหคตจิต
    หรือวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต หรือวิจิกิจฉาจิต ก็ได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ---_1_~2.JPG
      ---_1_~2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      5.6 KB
      เปิดดู:
      169
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กรกฎาคม 2013
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    คำว่า อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตํ แปลว่า ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน
    มีความหมายว่า จิตนั้นคิดฟุ้งซ่านไป เลื่อนลอยไปในอารมณ์ต่างๆ
    ไม่สงบหรือไม่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว คิดมากมายไปหลายอย่าง
    และที่คิดนั้นก็คิดเฉยๆ คิดไปเรื่อยๆ ไม่มุ่งมั่นอย่างจริงจังในสิ่งที่คิดนั้นเท่าใดนัก

    โมมูหจิตที่ประกอบด้วยอุทธัจจะนี้ เรียกว่า อุทธัจจสหคตจิต
    หรืออุทธัจจสัมปยุตตจิต หรือ อุทธัจจจิต ก็ได้
    สังขารเภท คือ ประเภทแห่งสังขาร อันได้แก่ อสังขาริก
    และสสังขาริกในโมหมูลจิตทั้ง ๒ ดวงนี้ ตามบาลีหาได้ระบุไว้ด้วยไม่

    ในวิสุทธิมัคค และในอภิธัมมัตถวิภาวนีฎีกา กล่าวว่าจิตที่สงสัยลังเลไม่แน่ใจก็ดี
    จิตที่ฟุ้งซ่านก็ดี เป็นจิตที่เว้นจากความกำหนัด เว้นจากความขัดเคือง
    ซึ่งปราศจากความเข้มแข็งและขาดความอุสาหะในกิจการงานใดๆ
    จึงไม่มีความแตกต่างแห่งสังขารเภท
    เท่าที่ได้ศึกษามา ได้สงเคราะห์โมหมูลจิตทั้ง ๒ ดวงนี้ว่าเป็น อสังขาริกสงสัยเองฟุ้งซ่านเอง

    อนึ่ง โมหมูลจิตทั้ง ๒ ดวงนี้ไม่มีทิฏฐิความเห็นผิด และปฏิฆะ ความโกรธแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ประกอบด้วยเลย ก็เพราะเหตุว่าโมหมูลจิตเป็นจิตที่ เว้นจากความกำหนัด
    และเว้นจากความขัดเคืองดังกล่าวแล้วข้างบนนี้ มีแต่ความไม่รู้ คือ โมหะ เป็นมูลแต่อย่างเดียวเท่านั้น
    จึงไม่มีทิฏฐิ หรือ ปฏิฆะสัมปยุตตด้วย สัมปยุตตในอกุศลจิต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ---_1_~2.JPG
      ---_1_~2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      5.6 KB
      เปิดดู:
      189
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กรกฎาคม 2013
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ในอกุศลจิตทั้ง ๑๒ ดวงนี้ มีสัมปยุตตรวม ๔ ประการ คือ
    ๑. ทิฏฐิคตสัมปยุตต ในโลภจิตที่สัมปยุตตด้วยทิฏฐิรวม ๔ ดวง
    ๒. ปฏิฆสัมปยุตต ในโทสจิตทั้ง ๒ ดวง
    ๓. วิจิกิจฉาสัมปยุตต ในโมหจิตดวงที่ ๑
    ๔. อุทธัจจสัมปยุตต เฉพาะอย่างยิ่งในโมหจิตดวงที่ ๒

    สงเคราะห์อกุศลกรรมบถกับอกุศลจิต
    อกุศลกรรมบถ คือ ทางแห่งการกระทำบาปมี ๑๐ เรียกอกุศลกรรมบถ ๑๐ หรือ ทุจริต ๑๐ ได้แก่
    ๑. ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์
    ๒. อทินนาทาน ลักทรัพย์
    ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ล่วงประเวณี

    ทุจริต ๓ ประการนี้ ย่อมเกิดทางกายทวาร เป็นกายกรรม ๓ หรือกายทุจริต ๓

    ๔. มุสาวาท พูดปด
    ๕. ปิสุณาวาท พูดส่อเสียด
    ๖. ผรุสวาท พูดคำหยาบ
    ๗. สัมผัปปลาป พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ

    ทุจริต ๔ ประการนี้ ย่อมเกิดทางวจีทวาร เป็นวจีกรรม ๔ หรือ วจีทุจริต ๔

    ๘. อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้
    ๙. พยาบาท คิดปองร้ายเขา
    ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิด

    ทุจริต ๓ ประการนี้ ย่อมเกิดทางมโนทวาร เป็นมโนกรรม ๓ หรือ มโนทุจริต ๓

    อกุศลกรรมบถ ๓ ได้แก่ ปาณาติบาต ผรุสวาท และพยาบาท เกิดขึ้นโดยโทสมูลจิต อันมีโทสะเป็นมูลเหตุตัวนำ
    กาเมสุมิจฉาจาร อภิชฌา และมิจฉาทิฏฐิ รวม ๓ ประการเกิดขึ้นโดยโลภมูลจิต อันมีโลภะเป็นมูลเหตุตัวนำ
    อทินนาทาน มุสาวาท ปิสุณาวาท และสัมผัปปลาป รวม ๔ ประการนี้ บางครั้งก็เกิดขึ้นโดยโลภมูลจิต
    อันมีโลภะเป็นมูลเหตุตัวนำ บางครั้งก็เกิดขึ้นโดยโทสมูลจิต อันมีโทสะเป็นมูลเหตุตัวนำ

    ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า อกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ นี้ ไม่ได้เกิดโดยโมหมูลจิตเลย
    แต่เกิดขึ้นโดยโลภมูลจิตหรือโทสมูลจิต แต่ถ้ากล่าวโดยมูลเหตุแล้ว
    โมหะเป็นเหตุให้เกิดอกุศลกรรมบถได้ทั้ง ๑๐ ประการ เพราะเมื่อโลภมูลจิต
    เกิดขึ้นก็มีโมหะเกิดขึ้นด้วยและเมื่อโทสจิตเกิดขึ้น ก็มีโมหะเกิดด้วยเหมือนกัน
    เพราะโมหะเป็นรากเหง้า แห่งบาปอกุศลทั้งมวลดังกล่าวแล้ว กล่าวคือ

    โลภจิต เกิด มีโลภเป็นเหตุนำ มีโมหะเป็นเหตุหนุน
    โทสจิต เกิด มีโทสะเป็นเหตุนำ มีโมหะเป็นเหตุหนุน
    โมหจิต เกิด มีโมหะเป็นตัวนำ ไม่มีอะไรเป็นเหตุหนุนเลย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 12_1_~1.JPG
      12_1_~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      89.8 KB
      เปิดดู:
      164
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กรกฎาคม 2013
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ผลแห่งโลภะโทสะโมหะ

    อกุศลจิต จิตที่เป็นบาปนี้ กล่าวโดย เยภุยยนัย คือ กล่าวโดยส่วนมากแล้วเป็นเหตุให้ได้รับผลดังนี้

    เยภุยฺเยน หิ สตฺตา ตณฺหาย เปตฺติวิสยํ อุปฺปชฺชนฺติ ฯ
    สัตว์ทั้งหลายโดยมากย่อมไปเกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกาย ด้วยอำนาจแห่งโลภะ อันมีความอยากได้เป็นมูลฐาน

    โทเสน หิ จณฺฆชาตตาย โทสสทิสํ นิรยํ อุปฺปชฺชนฺติ ฯ
    สัตว์ทั้งหลายย่อมไปเกิดในนรก ด้วยอำนาจแห่งโทสะ อันเป็นที่ทรมานสัตว์ให้เร่าร้อน
    เช่นเดียวกับสภาวะของโทสะที่ดุร้าย ทำลาย อันทรมานเผาไหม้หัวใจอยู่ทุกขณะ

    โมเหน หิ นิจฺจสมฺมุฬฺหํ ติรจฺฉานโยนิยํ อุปฺปชฺชนฺติ ฯ
    สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไปเกิดเป็นดิรัฉาน ด้วยอำนาจแห่งโมหมูลจิต
    เพราะเป็นสภาพที่ยังสัตว์ให้ลุ่มหลงงมงายอยู่เป็นนิจ

    อีกนัยหนึ่งแสดงว่า
    สมัยใด มนุษย์มีสันดานมากไปด้วยโลภะ
    สมัยนั้นก็เกิด ทุพฺภิกฺขนฺตราย อันตรายที่เกิดจากข้าวยากหมากแพง
    เป็นเหตุให้อดอยากล้มหายตายจากกันไปเป็นอันมาก

    สมัยใด มนุษย์มีสันดานมากไปด้วยโทสะ
    สมัยนั้นก็เกิด สตฺถนฺตราย อันตรายที่เกิดจากศัตราวุธต่างๆ
    เป็นเหตุให้ฆ่าฟันกันล้มหายตายจากกันไปเป็นอันมาก

    สมัยใด มนุษย์มีสันดานมากไปด้วยโมหะ
    สมัยนั้นก็เกิด โรคนฺตราย อันตรายที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ
    เป็นเหตุให้เป็นโรคระบาดล้มหายตายจากกันไปเป็นอันมาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กรกฎาคม 2013
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อกุศลจิตเป็นธรรมที่ควรละ
    ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า อกุศลจิต เป็นจิตที่ชั่ว ที่บาป
    ที่ มีโทษและให้ผลเป็นทุกข์ จึงเป็นธรรมที่ควรละโดยแท้

    โลภมูลจิต เป็นจิตที่เกิดจากความโลภ ความอยากได้
    ถ้าไม่ระมัดระวังไว้บ้างแล้วก็ จะอยากจนหาประมาณที่สุดมิได้เลย
    จะละด้วย สนฺตุฏฺฐี คือ สันโดษ ความพอใจเท่าที่มีอยู่
    ความพอใจเท่าที่กำลังของตนจะหาได้ ความพอใจเท่าที่จะพึงหาได้โดยชอบธรรม
    เพียง ๓ ประการเท่านี้ ก็นับว่าประเสริฐพอประมาณแล้ว

    โทสมูลจิต เป็นจิตที่เกิดจากความเกลียด โกรธ ประทุษร้าย ทำลาย
    อันมีแต่จะวู่วามก่อให้เกิดโทษนั้นเอง จงละด้วยเมตตา โดยการพิจารณาเป็นเนืองนิจว่า
    ตนเกลียดทุกข์ประสงค์สุขฉันใด ผู้อื่นสัตว์อื่นก็เกลียดทุกข์แสวงสุขเหมือนตนฉันนั้น
    เช่นนี้ก็จะผ่อนคลายความเบียดเบียนซึ่งกันและกันลงไปได้อย่างมาก
    ในสติปัฏฐานอรรถกถา แสดงเหตุที่ประหารโทสะไว้ ๖ ประการ คือ

    ๑. เมตฺตานิมิตฺตสฺส อุคฺคโห ศึกษาในเมตตานิมิต
    ๒. เมตฺตาภาวนานุโยโค ประกอบภาวนาในเมตตาเนืองๆ
    ๓. กมฺมสกตา ปจฺจเวกฺขณ พิจารณาว่าเป็นกรรมของตน
    ๔. ปฏิสงฺขาย พหุลีกตา ทำให้มากด้วยปัญญา
    ๕. กลฺยาณมิตฺตตา มีมิตรที่ดี ( ที่มีเมตตา )
    ๖. สปฺปายกถา ได้ฟังถ้อยคำที่สบาย ( เมตตากถา )
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 121.PNG
      121.PNG
      ขนาดไฟล์:
      32.7 KB
      เปิดดู:
      383
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 กรกฎาคม 2013
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โมหมูลจิต แม้จะไม่ประจักษ์โทษโดยเด่นชัด แต่ก็มีโทษหาน้อยไม่เปรียบเสมือนสนิม
    เหล็กที่กัดกินเนื้อเหล็กให้กร่อนลงทีละน้อย จนขาดผุไปอย่างไม่รู้ตัว ในสติปัฏฐาน
    อรรถกถาจึงแสดงเหตุที่ประหารโมหะไว้ดังนี้ คือ

    เหตุที่ประหารวิจิกิจฉา ๖ ประการ
    ๑. พหุสฺสุตตา เป็นพหูสูต ได้ยินได้ฟังมามาก
    ๒. ปริปุจฺฉกตา หมั่นสอบสวนทวนความ
    ๓.วินเยปกตญฺญุตา รอบรู้ชำนาญและเคร่งครัดในวินัย
    ๔. อธิโมกฺขพหุลตา มากด้วยการตัดสินใจเชื่อ
    ๕. กลฺยาณมิตฺตตา มีมิตรที่ดี
    ๖. สปฺปายกถา ได้ฟังถ้อยคำอันเป็นที่สบาย

    เหตุที่ประหารอุทธัจจะ ๖ ประการ
    เหตุที่ประหารอุทัธจจะ นี้ก็เหมือนกับเหตุที่ประหารวิจิกิจฉา นั้นเว้นแต่ข้อ ๔ เป็นดังนี้
    ๔. พุทฺธเสวิตา ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าบ่อยๆ
    ส่วนข้ออื่นๆ มีข้อความเหมือนกันหมด
     
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จำแนกอกุศลจิตโดยประเภทต่าง ๆ มีชาติเภทเป็นต้น

    ในบรรดาจิตทั้งหมดนั้น ยังจำแนกเป็นประเภทต่างๆมีชาติเภทเป็นต้นอีกตั้ง ๙ ประเภท คือ ๑. ชาติเภท
    ๒. ภูมิเภท ๓. เวทนาเภท ๔. เหตุเภท ๕. สังขารเภท ๖. สัมปยุตตเภท ๗. โสภณเภท ๘. โลกเภท ๙. ฌานเภท

    แต่ละประเภทมีความหมายอย่างใด จะได้กล่าวต่อไปนี้ พร้อมกับแสดงประเภทต่างๆ แห่งอกุศลจิตนั้นเลยทีเดียว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ---_1_~2.JPG
      ---_1_~2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      450.8 KB
      เปิดดู:
      1,232
  8. THE SEVEN

    THE SEVEN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +870
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๑. ชาติเภท จำแนกจิตโดยประเภทแห่งชาติ คือจิตทั้งหมดเมื่อกล่าวโดยชาติแล้ว ก็มี ๔ ชาติ
    ได้แก่ ก. อกุศลชาติ ข. กุศลชาติ ค. วิบากชาติ และ ง. กิริยาชาติ

    ก. อกุศลชาติ หรือ ชาติอกุศล หมายถึง อกุศลจิต ซึ่งเป็นจิตที่มีโทษให้ผลเป็นทุกข์
    ข. กุศลชาติ หรือ ชาติกุศล หมายถึง กุศลจิต ซึ่งเป็นจิตที่ปราศจากโทษ ให้ผลเป็นสุข
    ค. วิบากชาติ หรือ ชาติวิบาก หมายถึงวิบากจิต ซึ่งเป็นจิตที่เป็นผลของอกุศล
    เรียกว่า อกุศลวิบากจิต จิตที่เป็นผลของกุศล เรียกว่า กุศลวิบากจิต
    ง. กิริยาชาติ หรือ ชาติกิริยา หมายถึง กิริยาจิต ซึ่งเป็นจิตที่ไม่ใช่ผลของอกุศล ไม่ใช่ผลของกุศล
    ไม่ใช่จิตที่เป็นอกุศล ไม่ใช่จิตที่เป็นกุศลและเป็นจิตที่ไม่ก่อให้เกิดอกุศลวิบาก
    หรือกุศลวิบากแต่อย่างใดเลย เป็นจิตที่สักแต่ว่ากระทำเท่านั้นเอง

    อนึ่ง วิบากชาติ กับกิริยาชาติ รวมเรียกว่า ชาติอพยาตก
    ซึ่งมีความหมายแต่เพียงว่า อพยากตชาติเป็นชาติที่ไม่ใช่บุญและไม่ใช่บาปเท่านั้น
    สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นชาติอกุศลทั้ง ๑๒ ดวง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 12_1_~1.JPG
      12_1_~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      89.8 KB
      เปิดดู:
      319
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 กรกฎาคม 2013
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๒. ภูมิเภท จำแนกจิตโดยประเภทแห่งภูมิ คำว่า ภูมิในที่นี้หมายถึงชั้นของจิตพื้นเพของจิต
    ซึ่งจำแนกเป็น ๔ ภูมิ หรือ ๔ ชั้นด้วยกัน คือ ก. กามาวจรภูมิ ข. รูปาวจรภูมิ ค. อรูปาวจรภูมิ และ ง. โลกุตตรภูมิ

    ก. กามาวจรภูมิ หมายถึงชั้นกามาวจร จิตชั้นกาม พื้นเพของจิตติดอยู่ในกามคุณ
    ในบรรดาจิตทั้งหมดนั้น ถือว่าจิตนี้มีพื้นเพต่ำกว่าเพื่อนถึงจัดว่าเป็น หินะ คือ เป็นจิตชั้นต่ำ

    ข. รูปาวจรภูมิ หมายถึงจิตชั้นรูปาวจร จิตชั้นรูปฌาน พื้นเพของจิตสูงถึงชั้นรูปพรหม
    ดำรงอยู่ในพรหมวิหารธรรม จัดเป็นชั้น อุกกัฏฐะ ชั้นอุกฤษฏ์ ชั้นสูง

    ค. อรูปาวจรภูมิ หมายถึงจิตชั้นอรูปาวจร จิตชั้นอรูปพรหม พื้นเพของจิตละเอียดอ่อนถึงชั้นอรูปพรหม
    จัดเป็นชั้น อุกกัฏฐตระ ชั้นอุกฤษฏ์ยิ่ง ชั้นสูงยิ่ง
    บรรดาโลกียจิตคือจิตที่ยังต้องวนเวียนอยู่ในวัฏฏะแล้ว จิตชั้นนี้เป็นชั้นสูงยิ่ง ประเสริฐยิ่งกว่าในฝ่ายโลกีย

    ง. โลกุตตรภูมิ หมายถึงจิตชั้นโลกุตตร จิตชั้นที่ให้พ้นจากโลกให้พ้นจากทุกข์
    ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปเลย ในบรรดาจิตทั้งหมดไม่มีจิตชั้นในจะประเสริฐสุดเท่าจิตชั้นนี้ได้เลย
    จัดเป็นชั้น อุกกัฏฐตมะ อันเป็นชั้นประเสริฐสุดยอด ซึ่งไม่มีจิตใดจะประเสริฐเท่าเทียมถึงเลย

    สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นกามาวจรภูมิ คือเป็นจิตในชั้นกามทั้ง ๑๒ ดวง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 กรกฎาคม 2013
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๓. เวทนาเภท โดยประเภทแห่งเวทนา คือการเสวยอารมณ์ ในที่นี้จำแนกจิตโดยเวทนา ๕
    อันได้แก่ สุขเวทนา เป็นความสุขทางกาย ๑. ทุกขเวทนา เป็นความทุกข์ทางกาย ๑
    โสมนัสเวทนา เป็นความสุขทางใจ ๑ โทมนัสเวทนา เป็นความทุกข์ทางใจ ๑
    และอุเบกขาเวทนา ไม่ทุกข์ไม่สุบเป็นความเฉยๆ ๑

    สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เกิดพร้อมกับเวทนาถึง ๓ อย่าง คือ
    โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา และอุเบกขาเวทนา มีรายละเอียดดังนี้
    โสมนัสเวทนา เกิดแก่โลภมูลจิตที่เป็นโสมนัส ๔ ดวง
    โทมนัสเวทนา เกิดแก่โทสมูลจิต ๒ ดวง
    อุเบกขาเวทนา เกิดแก่โลภมูลจิตที่เป็นอุเบกขา ๔ ดวง และโมหมูลจิตอีกทั้ง ๒ ดวง

    อนึ่ง มีข้อที่ควรสังเกตว่า จิตทุก ๆ ดวง ( เว้นแต่โลกุตตรจิต ๘ ดวง เท่านั้น )
    ชื่อของจิตแต่ละดวงได้ระบุบอกเวทนาไว้ด้วยแล้ว ทำให้สะดวกแก่การค้นหาและจดจำ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ---_1_~2.JPG
      ---_1_~2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      450.8 KB
      เปิดดู:
      177
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๔. เหตุเภท โดยประเภทแห่งเหตุ จำแนกได้เป็น ๒ คือ อเหตุกและสเหตุก
    อเหตุก หมายว่า ไม่มีสัมปยุตตเหตุ คือไม่มีเหตุประกอบ และเหตุในที่นี้ก็หมายเฉพาะ เหตุ ๖
    อันได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ ดังนั้นอเหตุกจึง
    มีความหมายว่า เป็นจิตที่ไม่มีเหตุ ๖ นี้ประกอบเลยแม้แต่เหตุเดียว

    สเหตุก มีความหมายว่า เป็นจิตที่เป็นสัมปยุตตเหตุ เป็นจิตที่มีเหตุ ๖
    นั้นประกอบด้วย แม้ว่าจะมีเหตุ ๖ เพียงเหตุเดียวประกอบ ก็ได้ชื่อว่า สเหตุก
    สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นสเหตุกจิตทั้ง ๑๒ ดวง มีรายละเอียดดังนี้
    โลภมูลจิต ๘ ดวง มีสัมปยุตตเหตุ ๒ เหตุ คือ โลภเหตุกับโมหเหตุ
    โทสมูลจิต ๒ ดวง มีสัมปยุตตเหตุ ๒ เหตุ คือ โทสเหตุกับโมหเหตุ
    โมหมูลจิต ๒ ดวง มีสัมปยุตตเหตุเพียงเหตุเดียว คือ โมหเหตุเท่านั้น
    อนึ่ง มีข้อที่ควรทราบว่าสเหตุจิตนั้น
    จิตแต่ละดวงมีสัมปยุตตเหตุอย่างน้อยเพียงเหตุเดียว แต่อย่างมากไม่เกิน ๓ เหตุ
     
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๕. สังขารเภท โดยประเภทแห่งสังขาร จำแนกได้เป็น ๒ คือ อสังขาริก และสสังขาริก
    อสังขาริก เป็นจิตที่เกิดขึ้นเอง โดยไม่มีสิ่งชักชวน
    สสังขาริก เป็นจิตที่เกิดขึ้นเพราะมีสิ่งชักชวน
    สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็น อสังขาริก ๗ ดวง ได้แก่ โลภมูลจิตที่เป็นอสังขาริก ๔ ดวง
    โทสมูลจิตที่เป็นอสังขาริก ๑ ดวง และโมหมูลจิตอีก ๒ ดวง ซึ่งจัดเป็นอสังขาริกด้วย
    เป็นสสังขาริก ๕ ดวง โลภมูลจิตที่เป็นสสังขาริก ๔ ดวง และโทสมูลจิตที่เป็นสสังขาริก ๑ ดวง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 12_1_~1.JPG
      12_1_~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      89.8 KB
      เปิดดู:
      122
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๖. สัมปยุตตเภท โดยประเภทแห่งสัมปยุตต จำแนกได้เป็น ๒ คือ สัมปยุตต และ วิปปยุตต
    สัมปยุตตเภท ( ไม่ใช่สัมปยุตตเหตุ ) ในจิตทั้งหมดนั้น มีสัมปยุตต ๕ ประการ คือ
    ก. ทิฏฐิสัมปยุตต ประกอบด้วยความเห็นผิด
    ข. ปฏิฆสัมปยุตต ประกอบด้วยความโกรธ
    ค. วิจิกิจฉาสัมปยุตต ประกอบด้วยความลังเลสงสัย
    ง. อุทธัจจสัมปยุตต ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน
    จ. ญาณสัมปยุตต ประกอบด้วยปัญญา
    ส่วนวิปปยุตตนั้นถ้าไม่ประกอบด้วยสัมปยุตต ก็เรียกว่าวิปปยุตต
    สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นทิฏฐิสัมปยุตต ๔ ดวง ได้แก่โลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔ ดวง
    เป็นทิฏฐิวิปยุตต ๔ ดวง ได้แก่โลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิคตวิปยุตต ๔ ดวง
    เป็นปฏิฆสัมปยุตต ๒ ดวง ได้แก่โทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวง
    เป็นวิจิกิจฉาสัมปยุตต ๑ ดวง ได้แก่โมหมูลจิตดวงที่ ๑
    เป็นอุทธัจจสัมปยุตต ๑ ดวง ได้แก่โมหมูลจิตดวงที่ ๒
     
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๗. โสภณเภท โดยประเภทแห่งโสภณะ จำแนกได้เป็น ๒ คือ โสภณะ และอโสภณะ
    โสภณะ เป็นจิตที่ดีงาม มีโสภณเจตสิกประกอบ
    อโสภณะ ไม่ได้หมายว่าเป็นจิตที่ไม่ดีไม่งาม แต่หมายเพียงว่าเป็นจิตที่ไม่มีโสภณเจตสิกประกอบด้วยเท่านั้นเอง
    สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นอโสภณะ เพราะไม่มีโสภณเจตสิกประกอบด้วยเลยทั้ง ๑๒ ดวง
     
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๘. โลกเภท โดยประเภทแห่งโลก จำแนกได้เป็น ๒ คือ โลกียะและโลกุตตระ
    โลกียะ หมายถึงจิตที่ยังข้องอยู่ในกามโลก รูปโลก อรูปโลก
    ซึ่งยังต้องวนเวียนอยู่ใน กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ คือไม่พ้นไปจากโลกทั้ง ๓ หรือภูมิทั้ง ๓ ได้

    โลกุตตระ หมายถึงจิตที่พ้นจากความข้องความติดอยู่ในโลกทั้ง ๓ นั้นแล้ว
    ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดในโลกทั้ง ๓ ในภูมิทั้ง ๓ นั้นอีกต่อแไปแล้ว
    สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นโลกียจิตทั้ง ๑๒ ดวง เพราะยังไม่พ้นไปจากโลกทั้ง ๓
    หรือ ภูมิทั้ง ๓ เลย
     
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๙. ฌานเภท โดยประเภทแห่งฌาน จำแนกได้เป็น ๒ คือ ฌาน และ อฌาน
    ฌาน หมายถึงจิตที่มีฌาน จิตที่ได้ฌาน จิตที่ถึงฌาน
    อฌาน หมายถึงจิตที่ไม่ได้ฌาน
    สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นจิตที่ไม่ใช่ฌานจิตทั้ง ๑๒ ดวง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ---_1_~2.JPG
      ---_1_~2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      450.8 KB
      เปิดดู:
      123
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 กรกฎาคม 2013
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อเหตุกจิต
    อเหตุกจิต เป็นจิตที่ไม่มีเหตุ หมายความว่า จิตจำพวกนี้ไม่มีเหตุบาป คือ อกุศลเหตุ

    อันได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ และไม่มีเหตุบุญ คือ กุศลเหตุ
    อันได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ รวม ๖ เหตุนี้มาสัมปยุตต คือมาประกอบด้วยเลยแม้แต่เหตุเดียว

    หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า อเหตุจิตเป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุตต เป็นจิตที่ไม่มีเหตุ ๖ ประกอบเลย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • %2018_~1.JPG
      %2018_~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      6.5 KB
      เปิดดู:
      112
  19. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อเหตุกจิต ซึ่งมีจำนวน ๑๘ ดวงนี้ แบ่งออกได้เป็น ๓ จำพวก ดังมีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๔ แสดงว่า

    ๔. สตฺตากุสลปากานิ ปุญฺญปากานิ อฏฺฐธา
    กฺริยจิตฺตานิ ตีณีติ อฏฺฐารส อเหตุกา ฯ


    แปลความว่า อเหตุกจิต มี ๑๘ ดวง ได้แก่
    อกุศลวิบากจิต ๗ ดวง
    อเหตุกกุศลวิบากจิต ๘ ดวง
    อเหตุกกริยาจิต ๓ ดวง


    อกุศลวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของอกุศลกรรม เป็นผลของฝ่ายชั่วฝ่ายบาปอกุศล
    ที่ได้สั่งสมที่ได้กระทำมาแล้วแต่อดีต จึงต้องมาได้รับผลเป็นอกุศลวิบากจิต อันเป็นผลที่ไม่ดี ๗ ดวงนี้

    อเหตุกกุศลวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของกุศลกรรม เป็นผลของฝ่ายดีฝ่ายบุญกุศล
    ที่ได้สั่งสมที่ได้กระทำมาแล้วในอดีต จึงมาได้รับผลเป็นอเหตุกุกศลวิบากจิต อันเป็นผลที่ดี ๘ ดวง

    จิตที่เป็นผลของอกุศลกรรม เรียก อกุศลวิบากจิต เท่านั้น
    แต่จิตที่เป็นผลของกุศลกรรมเรียก อเหตุกกุศลวิบากจิต ที่แตกต่างกันเพราะอกุศลวิบากจิต
    มีแต่ในประเภทอเหตุกจิต ซึ่งเป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุตตแห่งเดียวเท่านั้น อกุศลวิบากจิตที่มีสัมปยุตตนั้นไม่มีเลย

    ซึ่งผิดกับกุศลวิบากเหตุ เพราะกุศลวิบากจิตที่เป็นอเหตุก คือเป็นจิตไม่มีสัมปยุตตเหตุ
    เช่นที่กำลังกล่าวถึงอยู่ในขณะนี้ก็มี และกุศลวิบากจิตที่มีสัมปยุตตเหตุ
    ซึ่งเรียกว่า สเหตุจิตดังจะกล่าวต่อไปข้างหน้านี้ก็มีอีก ดังนั้นจึงต้องเติมอเหตุกไว้ด้วย
    เพื่อจะได้ทราบโดยแจ้งชัดว่าเป็นกุศลวิบากที่ประกอบด้วยเหตุหรือหาไม่

    อเหตุกกริยาจิต เป็นจิตไม่ใช่ผลของบาปอกุศลหรือบุญกุศลแต่อย่างใด
    ทั้งไม่ใช่เป็นจิตที่เป็นตัวกุศลหรืออกุศลด้วย เป็นจิตที่สักแต่ว่ากระทำไปตามหน้าที่
    การงานของตนเท่านั้นเอง จึงไม่สามารถจะก่อให้เกิดผลบุญหรือบาปต่อไปด้วย

    อเหตุกกริยาจิต ก็มีทั้งไม่ประกอบด้วยเหตุ ดังที่กล่าวถึงอยู่ในขณะนี้
    และมีทั้งที่ประกอบด้วยเหตุ คือ สเหตุกซึ่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้าอีกด้วย
    ดังนั้นจึงต้องเรียกให้ชัดเจนเพื่อจะได้ไม่ปะปนกัน ทำนองเดียวกับ
    กุศลวิบากจิต อกุศลวิบากจิต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Y11834427-0.jpg
      Y11834427-0.jpg
      ขนาดไฟล์:
      77.7 KB
      เปิดดู:
      144
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 กรกฎาคม 2013
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อกุศลวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของบาปอกุศล ซึ่งมีจำนวน ๗ ดวงนั้น ได้แก่

    ๑. อุเปกฺขาสหคตํ อกุศลวิปากํ จกฺขุวิญฺญาณ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล เห็นรูปที่ไม่ดี
    ๒. อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ โสตวิญฺญาณํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล ได้ยินเสียงที่ไม่ดี
    ๓. อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ ฆานวิญฺญาณํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล ได้กลิ่นที่ไม่ดี
    ๔. อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล ได้รสที่ไม่ดี
    ๕. ทุกฺขสหคตํ อกุศลวิปากํ กายวิญฺญาณํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยทุกขเวทนา เป็นผลของอกุศล กายถูกต้องสิ่งที่ไม่ดี
    ๖. อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ สมฺปฏิจฺฉนจิตฺตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล รับอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ไม่ดี
    ๗. อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ สนฺตีรณจิตฺตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ไม่ดี

    อกุศลวิบากจิต ๗ ดวง นี้ มีสิ่งที่ควรทำความเข้าใจในชั้นต้นนี้บางประการ คือ
    จักขุวิญญาณ จิตรู้ทางนัยน์ตา คือเห็น
    โสตวิญญาณ จิตรู้ทางหู คือได้ยิน
    ฆานวิญญาณ จิตรู้ทางจมูก คือได้กลิ่น
    ชิวหาวิญญาณ จิตรู้ทางลิ้น คือรู้รส

    ทั้ง ๔ นี้เกิดพร้อมกับอุเบกขาเวทนา คือ ความเฉยๆ อย่างเดียว
    เฉยเพราะไม่รู้สึกเป็นทุกข์หรือเป็นสุข
    เพราะจิตเหล่านี้เกิดขึ้นโดยอาศัยการกระทบกันระหว่างอุปาทยรูปกับอุปายทายรูป
    เปรียบเหมือนสำลีกระทบสำลีมีกำลังน้อย จึงไม่ก่อเกิดเป็นทุกข์เป็นสุขหรือเสียใจ ดีใจแต่อย่างใดเลย

    ส่วนกายวิญญาณ จิตรู้การสัมผัสถูกต้องทางกายนั้นสำหรับฝ่ายอกุศลวิบากที่กำลังกล่าวถึงขณะนี้
    เกิดพร้อมกับทุกขเวทนา เพราะกายวิญญาณนี้เกิดขึ้นโดยอาศัยการกระทบกันระหว่างมหาภูตรูป ( คือความแข็งความร้อน )
    กับอุปาทายรูป ( คือกายปสาท ) เปรียบเหมือนเอาค้อนตีสำลีที่วางอยู่บนทั่ง ย่อมมีกำลังแรง จึงก่อให้เกิดทุกข์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กรกฎาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...