จิตคืออะไร?จิตมีชื่อเรียกถึง ๑๐ ชื่อ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 1 กรกฎาคม 2013.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อเหตุกกุศลวิบากจิต
    อเหตุกกุศลวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของบุญกุศล ซึ่งมีจำนวน ๘ ดวงนั้น ได้แก่

    ๑. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ จกฺขุวิญฺญาณํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล เห็นรูปที่ดี
    ๒. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ โสตวิญฺญาณํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล ได้ยินเสียงที่ดี
    ๓. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ ฆานวิญฺญาณํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล ได้กลิ่นที่ดี
    ๔. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล ได้รสที่ดี
    ๕. สุขสหคตํ กุสลวิปากํ กายวิญฺญาณํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยสุขเวทนา เป็นผลของกุศล กายได้สัมผัสถูกต้องสิ่งที่ดี
    ๖. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ สมฺปฏิจฺฉนจิตฺตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล รับอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดี
    ๗. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ สนฺตีรณจิตฺตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดี
    ๘. โสมนสฺสสหคตํ กุสลวิปากํ สนฺตีรณจิตฺตํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา เป็นผลของกุศล พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดียิ่ง

    อเหตุกกุศลวิบากจิต ๘ ดวงนี้ ก็มีนัยทำนองเดียวกับอกุศลวิบากจิต ๗ ดวงที่กล่าวแล้วนั้น
    แต่ว่าจิตจำพวกนี้เป็นผลของฝ่ายดีฝ่ายบุญกุศลเท่านั้นเอง
    อนึ่ง อเหตุกกุศลวิบากจิต มีมากกว่า อกุศลวิบากจิต ๑ ดวง คือ
    โสมนัสสันตีรณจิตซึ่งทางฝ่ายอกุศลวิบากจิตไม่มีโทมนัสสันตีรณจิตเป็นคู่กันเหมือน ๗ คู่ข้างต้นนั้น
    ทั้งนี้ก็เป็นดังที่กล่าวมาแล้วตอนอกุศลจิตว่า
    โทมนัสเวทนานี้เกิดได้กับโทสจิตโดยเฉพาะเท่านั้น จะเกิดกับจิตอื่นใดอีกไม่ได้เลย
    ถ้าเมื่อใดถึงกับโทมนัสแล้ว ก็เป็นโทสจิตเมื่อนั้น และเมื่อเป็นโทสจิตแล้วก็ไม่ใช่อเหตุกจิต
    เพราะโทสจิตเป็นสเหตุกจิต คือเป็นจิตที่มีเหตุ และมีถึง ๒ เหตุ
    คือ มีโทสเหตุเป็นเหตุนำ มีโมหเหตุเป็นเหตุหนุน ด้วยเหตุผลนี้จึงไม่มีโทมนัสสันตีรณจิตในอกุศลวิบากจิต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กรกฎาคม 2013
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อเหตุกกิริยาจิต
    อเหตุกกิริยาจิต เป็นจิตที่สักแต่ว่ากระทำ ไม่ประกอบด้วยเหตุ ๖
    เป็นจิตที่ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป และไม่ใช่ผลของบุญหรือผลของบาปด้วยมีจำนวน ๓ ดวง ได้แก่

    ๑. อุเปกฺขาสหคตํ ปญฺจทฺวาราวชฺชนจิตฺตํ
    จิตที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ พิจารณาอารมณ์ทางทวารทั้ง ๕
    มีความหมายว่า เป็นจิตที่พิจารณาอารมณ์ที่มากระทบนั้นว่าเป็นอารมณ์ทางทวารไหน
    จะได้เป็นปัจจัยให้สัญญาณแก่วิญญาณจิตทางทวารนั้นรับอารมณ์
    อุปมาเหมือนนายทวารที่รักษาประตูพระราชวัง คอยเปิดให้เข้าตามฐานะของบุคคลนั้นๆ

    ๒. อุเปกฺขาสหคตํ มโนทฺวาราวชฺชนจิตฺตํ
    จิตที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ พิจารณาอารมณ์ทางมโนทวาร
    มีความหมายว่า จิตนี้ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์ทั้ง ๕ ทางทวาร ๕
    และมีหน้าที่พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๖ ที่เกิดทางมโนทวารคือทางใจนึกคิดโดยตรงด้วย

    ๓. โสมนสฺสสหคตํ หสิตุปฺปาทจิตฺตํ
    จิตที่ยิ้มแย้มของพระอรหันต์ เกิดพร้อมด้วยความโสมนัส
    มีความหมายว่า จิตดวงนี้เป็นจิตยิ้มแย้มของพระอรหันต์ทั้งหลายโดยเฉพาะ
    บุคลลอื่นที่มิใช่พระอรหันต์ ไม่ได้ยิ้มแย้มด้วยจิตดวงนี้ แต่ยิ้มและหัวเราะด้วยจิตดวงอื่น
    ซึ่งจะขอกล่าวถึงต่อเมื่อได้แสดงกามจิตครบจำนวนหมดทั้ง ๕๔ ดวงแล้ว

    http://www.thepathofpurity.com
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กรกฎาคม 2013
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สังขารเภทแห่งอเหตุกจิต

    ในอเหตุกจิตทั้ง ๑๘ ดวงนี้ หาได้บ่งบอกหรือระบุไว้ว่าเป็นอสังขาริกหรือ สสังขาริกแต่อย่างใดไม่
    จึงมีวาทะที่เกี่ยวกับสังขารเภทแห่งอเหตุกจิตนี้รวมได้เป็น ๓ นัยคือ

    ก. ในมูลฎีกา และในวิภาวนีฎีกา กล่าวว่าเป็นสังขารวิมุตติทั้ง ๑๘ ดวง
    ทั้งนี้เพราะบาลีไม่ได้ระบุไว้เลยว่าเป็นอสังขาริก หรือสสังขาริก เมื่อไม่ได้แสดงไว้เลยเช่นนี้แล้ว
    ก็ต้องถือว่าเป็นสังขารวิมุตติ พ้นจากความเป็นอสังขาริก หรือ สสังขาริก

    ข. ในปรมัตถทีปนีฎีกา กล่าวว่าเป็นสังขารได้ทั้ง ๒ อย่าง ทั้ง ๑๘ ดวง
    เช่นในเวลาที่จะตาย อาจจะมีผู้หนึ่งผู้ใดชักจูงแนะนำให้ดูพระพุทธรูปเป็นต้นก็ได้

    ค. ส่วนโบราณจารย์กล่าวว่า เป็นอสังขาริกทั้ง ๑๘ ดวง เพราะเห็นเองได้ยินเอง
    เท่าที่ได้ศึกษามา ได้สงเคราะห์อเหตุกจิตทั้ง ๑๘ ดวงนี้ว่าเป็น อสังขาริกเห็นจะเป็นด้วยเหตุว่า
    เมื่อมีอุปัตติเหตุแล้ว อเหตุกจิตนี้ย่อมเกิดขึ้นเอง แม้จะมีผู้ใดชักจูงแนะนำชี้ชวนให้ดู
    แต่ถ้าอุปัตติเหตุมีไม่ครบองค์ก็หาเห็นไม่
     
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อุปัตติเหตุแห่งอเหตุกจิต มีดังต่อไปนี้
    อุปปัตติเหตุแห่งอเหตุกจิต

    อเหตุกจิต เป็นจิตที่ไม่มีเหตุ ๖ คือ
    โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ
    ประกอบด้วยเลย แต่ว่า อเหตุกจิตเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีเหตุ
    เหตุที่ให้เกิดขึ้นนี้มีชื่อว่า อุปัตติเหตุ ที่เราเรียกกันว่า อุบัติเหตุ ไม่ใช่เหตุ ๖
    แต่เป็นเหตุให้เกิด อุบัติเหตุนั้นมีดังนี้

    อุปปัตติเหตุให้เกิด จักขุวิญญาณจิต
    ๑. จักขุปสาท มีประสาทตาดี มีนัยน์ตาดี
    ๒. รูปารมณ์ มีรูป คือสีต่างๆ
    ๓. อาโลกะ มีแสงสว่าง
    ๔. มนสิการ มีความสนใจ ( ปัญจทวารวัชชนะ )

    อุปปัตติเหตุให้เกิด โสตวิญญาณจิต
    ๑ โสตปสาท มีประสาทหูดี
    ๒. สัททารมณ์ มีเสียง
    ๓. วิวรากาส มีช่องว่างของหู ( มีอากาศ )
    ๔. มนสิการ มีความสนใจ ( ปัญจทวาราวัชชนะ )

    อุปปัตติเหตุให้เกิด ฆานวิญญาณจิต
    ๑. ฆานปสาท มีประสาทจมูกดี
    ๒. คันธารมณ์ มีกลิ่น
    ๓. วาโยธาตุ มีธาตุลม
    ๔. มนสิการ มีความสนใจ ( ปัญจทวาราวัชชนะ )

    อุปปัตติเหตุให้เกิด ชิวหาวิญญาณจิต
    ๑. ชิวหาปสาท มีประสาทลิ้นดี
    ๒. รสารมณ์ มีรส
    ๓. อาโปธาตุ มีธาตุน้ำ
    ๔. มนสิการ มีความสนใจ ( ปัญจทวารวัชชนะ )

    อุปปัตติเหตุให้เกิด กายวิญญาณจิต
    ๑. กายปสาท มีประสาทกายดี
    ๒. โผฏฐัพพารมณ์ มีแข็ง อ่อน ร้อน เย็น หย่อน ตึง
    ๓. ถัทธปฐวี มีปฐวีธาตุที่มีลักษณะแข็ง
    ๔. มนสิการ มีความสนใจ ( ปัญจทวาราวัชชนะ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 กรกฎาคม 2013
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๑. อุเปกฺขาสหคตํ อกุศลวิปากํ จกฺขุวิญฺญาณํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล เห็นรูปที่ไม่ดี

    ๒. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ จกฺขุวิญฺญาณํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล เห็นรูปที่ดี

    ๓. อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ โสตวิญฺญาณํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล ได้ยินเสียงที่ไม่ดี

    ๔. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ โสตวิญฺญาณํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล ได้ยินเสียงที่ดี

    ๕. อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ ฆานวิญฺญาณํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล ได้กลิ่นที่ไม่ดี

    ๖. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ ฆานวิญฺญาณํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล ได้กลิ่นที่ดี

    ๗. อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล ได้รสที่ไม่ดี

    ๘. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล ได้รสที่ดี

    ๙. ทุกฺขสหคตํ อกุศลวิปากํ กายวิญฺญาณํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยทุกขเวทนา เป็นผลของอกุศล กายถูกต้องสิ่งที่ไม่ดี

    ๑๐. สุขสหคตํ กุสลวิปากํ กายวิญฺญาณํ
    จิตเกิดพร้อมด้วยสุขเวทนา เป็นผลของกุศล กายได้สัมผัสถูกต้องสิ่งที่ดี

    จักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง โสตวิญญาณจิต ๒ ดวง ฆานวิญญาณจิต ๒ ดวง
    ชิวหาวิญญาณจิต ๒ ดวง และกายวิญญาณจิต ๒ ดวง รวมจิต ๑๐ ดวงนี้เรียกว่า ทวิปัญจวิญญาณ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 กรกฎาคม 2013
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อุปัตติเหตุให้เกิด มโนธาตุ

    ๑. ปัญจทวาร ได้แก่ทวารทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย
    ๒. ปัญจารมณ์ ได้แก่อารมณ์ทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะ
    ๓. หทยวัตถุ ได้แก่ หทยวัตถุรูป อันเป็นที่อาศัยเกิดแห่งจิตและเจตสิก
    ๔. มนสิการ มีความสนใจ
    มโนธาตุ หมายถึงจิต ๓ ดวง อันได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง และ สัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวง

    อุปปัติเหตุให้เกิด มโนวิญญาณธาตุ

    ๑. มโนทวาร ได้แก่ ภวังคจิต ๑๙ ดวง
    ๒. อารมณ์ ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธัมมารมณ์
    ๓. หทยวัตถุ ได้แก่ หทยวัตถุ หรือไม่มีหทยวัตถุรูปก็ได้
    ๔. มนสิการ มีความสนใจ

    มโนวิญญาณธาตุ กล่าวเฉพาะในอเหตุกจิตนี้ ก็หมายถึงจิต ๕ ดวง
    อันได้แก่ สันตีรณจิต ๓ ดวง มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง และ หสิตุปปาทจิต ๑ ดวง
    อนึ่ง เพื่อกันความสงสัย จิตทั้งหมดมี ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวงนั้น
    เมื่อหักทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และ มโนธาตุ ๓ รวม ๑๓ ดวงออกแล้ว
    จะเหลือ ๗๖ ดวง หรือ ๑๐๘ ดวง จิตที่เหลือทั้งหมดนี้เรียกว่า มโนวิญญาณธาตุทั้งนั้น
     
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อุบัติเหตุ คือเหตุให้เกิดจิตต่างๆ ที่กล่าวมานี้
    แต่ละจิตก็ต้องมีอุบัติเหตุครบทั้ง ๔ อย่าง จิตนั้นๆ จึงจะเกิดขึ้นได้
    ถ้าขาดไปอย่างใดแม้แต่สักอย่างเดียว จิตนั้นๆ ก็จะเกิดไม่ได้เลย

    ในอัฏฐสาลินีอรรถกถา และในวิสุทธิมัคค ได้อุปมาวิญญาณทั้ง ๖ ไว้ว่า
    ตา เหมือนงู ชองซอกซอนไปในที่ลี้ลับ นัยน์ตาก็ชอบสอดส่ายอยากเห็นสิ่งที่ปกปิด
    หู เหมือนจระเข้ ชอบวังน้ำวนที่เย็นๆ หูก็ชองฟังถ้อยคำที่อ่อนหวาน
    จมูก เหมือนนก ชอบโบยบินไปในอากาศ จมูกชอบสูดชอบดมกลิ่นที่ลอยลมโชยมา
    ลิ้น เหมือนสุนัข ชอบน้ำลายไหลเสมอ ลิ้นก็อยากลิ้มรสอยู่ทุกเมื่อ
    กาย เหมือนสุนัขจิ้งจอก ชอบอบอุ่น
    ใจ เหมือนลิง ชอบอยู่มาสุข ซุกซนอยู่เรื่อย

    ทวารของอเหตุกจิต

    จักขุวิญญาณ ๒ ดวง อาศัยเกิดทาง จักขุทวาร
    โสตวิญญาณ ๒ ดวง อาศัยเกิดทาง โสตทวาร
    ฆานวิญญาณ ๒ ดวง อาศัยเกิดทาง ฆานทวาร
    ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง อาศัยเกิดทาง ชิวหาทวาร
    กายวิญญาณ ๒ ดวง อาศัยเกิดทาง กายทวาร
    ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง สัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวง รวมจิต ๓ ดวงนี้
    อาศัยเกิดทางปัญจทวาร คือ ทางทวาร ๕ ได้แก่
    จักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร และกายทวาร
    มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง สันตีรณจิต ๓ ดวง และ หสิตุปาทจิต ๑ ดวง รวม ๕ ดวงนี้
    อาศัยเกิดทางทวาร ๖ คือ จักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร และมโนทวาร
     
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    วัตถุของอเหตุกจิต

    จักขุวิญญาณ ๒ ดวง อาศัยเกิดที่ จักขุวัตถุ
    โสตวิญญาณ ๒ ดวง อาศัยเกิดที่ โสตวัตถุ
    ฆานวิญญาณ ๒ ดวง อาศัยเกิดที่ ฆานวัตถุ
    ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง อาศัยเกิดที่ ชิวหาวัตถุ
    กายวิญญาณ ๒ ดวง อาศัยเกิดที่ กายวัตถุ
    จิตที่เหลืออีก ๘ ดวง ได้แก่ สัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวง
    สันตีรณจิต ๓ ดวง อเหตุกกิริยาจิต ๓ ดวง นั้น อาศัย หทยวัตถุเกิด

    อารมณ์ของอเหตุกจิต

    จักขุวิญญาณ ๒ ดวง รู้อารมณ์คือ รูปารมณ์ รูปต่างๆ
    โสตวิญญาณ ๒ ดวง รู้อารมณ์คือ สัททารมณ์ เสียงต่างๆ
    ฆานวิญญาณ ๒ ดวง รู้อารมณ์คือ คันธารมณ์ กลิ่นต่างๆ
    ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง รู้อารมณ์คือ รสารมณ์ รสต่างๆ
    กายวิญญาณ ๒ ดวง รู้อารมณ์คือ โผฏฐัพพารมณ์ แข็ง อ่อน ร้อน เย็น
    ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง สัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวง รวม ๓ ดวงนี้ รู้ปัญจารมณ์ คือ รู้อารมณ์ ๕
    อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
    มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง สันตีรณจิต ๓ ดวง และหสิตุปาท ๑ ดวง รวมจิต ๕ ดวงนี้
    รู้อารมณ์ ๖ คือ รู้ปัญจารมณ์ และธัมมารมณ์ ธรรมต่างๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 กรกฎาคม 2013
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    กามาวจรโสภณจิต
    กามาวจรโสภณจิต เป็นจิตที่แม้ว่ายังต้องท่องเที่ยววนเวียนอยู่ในกามภูมิ แต่ก็เป็นไปในฝ่ายที่ดีงาม
    ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๖ แสดงว่า

    ๖. เวทนาญาณสงฺขาร เภเทน จตุวีสติ
    สเหตุกามาวจร ปุญฺญปากกฺริยา มตา ฯ


    แปลความว่า จิต ๒๔ ดวง กล่าวโดยประเภทแห่ง เวทนา ญาณ และ สังขาร
    นั้นเรียกว่า สเหตุกกามาวจรกุศลจิต สเหตุกกามาวจรวิบากจิตและสเหตุกกามาวจรกิริยาจิต

    มีความหมายว่า กล่าวโดยเวทนาเภท โดยประเภทเวทนานั้น ทางฝ่ายโสภณจิตทั้งปวง
    มีเวทนาได้เพียง ๒ คือ โสมนัสเวทนา และอุเบกขาเวทนา เท่านั้น

    กล่าวโดยญาณเภท โดยประเภทแห่งญาณ คือปัญญาแล้ว ก็มีเพียง ๒ ได้แก่ ญาณสัมปยุตต
    หมายว่าจิตนั้นประกอบด้วยปัญญา หรือมีปัญญา ส่วนญาณวิปปยุต
    หมายว่า จิตนั้นไม่ประกอบด้วยปัญญา หรือจิตนั้นไม่ได้ใช้ปัญญา

    กล่าวโดยสังขารเภท โดยประเภทแห่งสังขาร ก็หมายในที่นี้ว่าเป็นอสังขาริก
    ไม่มีสิ่งชักชวน และสสังขาริก มีสิ่งชักชวน
    สเหตุกมีความหมายว่ามีสัมปยุตตเหตุ คือ มีเหตุประกอบ สเหตุกจิตที่เป็นฝ่ายโสภณ
    ก็มี อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ประกอบตามควรแก่ที่จะประกอบได้ ดังจะได้กล่าวต่อไป
    สเหตุกกามาวจรกุศลจิต เรียกว่า กามกุศลจิต หรือ มหากุศลจิตก็ได้
    สเหตุกกามาวจรวิบากจิต เรียกว่า กามวิบากจิต หรือ มหาวิบากจิตก็ได้
    สเหตุกกามาวจรกิริยาจิต เรียกว่า กามกิริยาจิต หรือ มหากิริยาจิตก็ได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • %2024_~1.JPG
      %2024_~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      13.7 KB
      เปิดดู:
      90
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กรกฎาคม 2013
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    มหากุศลจิต
    มหากุศลจิต เรียกว่า มหากุศลเฉยๆ ก็ได้ ที่ว่าเป็นมหากุศล เพราะ
    ก. เป็นกุศลจิตที่กว้างขวางมากมายมีได้ทั่วไป กล่าวคือสัตว์ในอบาย ( สัตว์นรก สัตว์เปรต สัตว์อสุรกาย และสัตว์ดิรัจฉาน )
    มนุษย์ เทวดา ตลอดจนรูปพรหม อรูปพรหม สามารถที่จะมีมหากุศล หรือประกอบกรรมอันเป็นมหากุศลนี้ได้
    ข. เป็นที่ตั้งของกุศลทั้งปวง และยังเป็นปัจจัยก่อให้เกิดกุศลฌานจิต มัคคจิต ผลจิต ทั้งเป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งพระนิพพานได้ด้วย

    มหากุศลมี ๘ ดวง ได้แก่
    ๑. โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    มหากุศลดวงที่ ๑ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เป็นอสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
    ๒. โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    มหากุศลดวงที่ ๒ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เป็นสสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
    ๓. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    มหากุศลดวงที่ ๓ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นอสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
    ๔. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    มหากุศลดวงที่ ๔ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นสสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
    ๕. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    มหากุศลดวงที่ ๕ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยปัญญา เป็นอสังขาริก คือ เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
    ๖. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    มหากุศลดวงที่ ๖ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยปัญญา เป็นสสังขาริก คือ เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
    ๗. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    มหากุศลดวงที่ ๗ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นอสังขาริก คือ เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง
    ๘. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    มหากุศลดวงที่ ๘ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นสสังขาริก คือ เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อรรถแห่งกุศล

    กุศลจิต เป็นจิตที่ไม่เศร้าหมอง ไม่เร่าร้อน เป็นจิตที่ดีงาม ที่ฉลาด ที่สะอาด ที่ปราศจากโทษ และให้ผลเป็นสุข มีอรรถ ๕ ประการ คือ
    ๑. อาโรคยตฺถ ไม่มีโรค คือไม่มีราคะเป็นต้น ราคะ โทสะ โมหะ นี้เรียกว่า โรคเพราะเสียดแทงจิตตสันดานของสัตว์ทั้งหลาย
    ๒. สุนฺทรตฺถ ดีงาม คือ เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย
    ๓. เฉกตฺถ ฉลาด เรียบร้อย คือผู้ที่มีจิตใจเป็นกุศลย่อมมีกิริยาวาจาสุภาพเรียบร้อย
    ๔. อนวชฺชตฺถ ไม่มีโทษอันพึงติเตียนได้
    ๕. สุขวิปากตฺถ ให้ผลอันเป็นสุขพึงปรารถนา
     
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เหตุให้เกิดกุศล

    เหตุให้กุศลจิตเกิดขึ้นก็ได้แก่ โยนิโสมนสิการ คือการพิจารณาโดยแยบคาย
    พิจารณาให้ซึ้งถึงสภาพแห่งความเป็นจริงในอารมณ์นั้นๆ โยนิโสมนสิการนี้ย่อมเกิดโดยอาศัยเหตุ ๕ ประการ คือ

    ๑. ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา เคยทำบุญไว้แต่ปางก่อน
    ๒. ปฏิรูปเทสวาส อยู่ในประเทศที่สมควร คือประเทศที่มีสัปบุรุษ
    ๓. สปฺปุริสูปนิสฺสย คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ
    ๔. สทฺธมฺมสฺสวน ฟังธรรมของสัปบุรุษ
    ๕. อตฺตาสมฺนาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
    เหตุให้เกิดโยนิโสมนสิการ ๕ ประการนี้ ประการที่ ๑ เป็นอดีตกรรม ส่วนอีก ๔ ประการที่เหลือ เป็นปัจจุบันกรรม
     
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

    บุญกิริยาวัตถุ แปลว่า ความดีที่ควรกระทำ เพราะเป็นเหตุเป็นที่ตั้งแห่งผลดีให้เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ให้บุญเป็นกุศล บุญกิริยาวัตถุมี ๑๐ ได้แก่

    ๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน คือการให้สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขแก่ผู้ที่ได้รับ
    ๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล คือรักษากายวาจาใจให้เป็นปกติ ไม่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น
    ๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา คือการอบรมจิตใจให้กุศลอันประเสริฐเกิดขึ้นและให้เจริญยิ่งขึ้นด้วย
    ๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ คือการแสดงคารวะและอ่อนน้อมแก่ผู้ที่เจริญด้วย ชาติวุฒิ วัยวุฒิ และคุณวุฒิ
    ๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการขวนขวายในกิจที่ชอบคือสงเคราะห์ช่วยเหลือกิจการที่เกี่ยวแก่ปริยัติ และปฏิบัติ
    ๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการแบ่งส่วนบุญให้แก่ผู้อื่น คือ อุทิศส่วนกุศลให้ผู้มีคุณตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลาย
    ๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญของผู้อื่น คือ การเห็นดีเห็นชอบและคล้อยตามด้วยความอิ่มใจในส่วนบุญที่มีผู้อุทิศให้นั้น
    ๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม คือ ตั้งใจสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา แม้ฟังการสั่งสอนวิชาทางโลกที่ไม่มีโทษ ก็สงเคราะห์เข้าข้อนี้
    ๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรมให้ผู้อื่นฟัง คือ การแสดงธรรมแก่ผู้ที่ประสงค์ฟังธรรม แม้การสั่งสอนวิชาทางโลกที่ไม่มีโทษก็สงเคราะห์เข้าในข้อนี้
    ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม การทำความเห็นให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงอย่างน้อยก็ต้องถึง กัมมัสสกตาปัญญา คือรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กรกฎาคม 2013
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ นี้ เมื่อสงเคระห์ลงในประเภท ทาน ศีล ภาวนาแล้ว ก็ได้ดังนี้
    ปัตติทานมัย กับปัตตานุโมทนามัย สงเคราะห์ลงในทานมัย

    อปจายนมัย กับ เวยยาวัจจมัย สงเคราะห์ลงใน สีลมัย
    ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย และ ทิฏฐุชุกัมม สงเคราะห์ลงในภาวนามัย
    อีกนัยหนึ่ง ตามนัยแห่งพุทธภาษิตอรรถกถาแสดงว่าธัมมัสสวนมัย กับธัมมเทศนามัย สงเคราะห์ลงในทานก็ได้
    ดังที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาว่า สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมย่อมชำนะการให้ทั้งปวง

    ส่วน ทิฏฐุชุกัมม นั้น มีแสดงไว้ใน สังคีติสูตร แห่งปาฏิกวรรคอรรถกถาว่า ทิฏฺฐุชุกมฺมํ สพฺเพสํ
    นิยมลกฺขณํ ทิฏฐุชุกัมมนี้ เป็นเครื่องหมายแห่งความสมบูรณ์ของบุญกิริยาวัตถุทั้งปวง
    หมายความว่า สงเคราะห์ทิฏฐุชุกัมมลงในทานมัย สีลมัย และภาวนามัย ได้ทั้งหมด
    เพราะทิฏฐุชุกัมมก็คือปัญญาที่เห็นตรงตามความเป็นจริง

    ถ้าการบริจาคทานการรักษาศีลการเจริญภาวนาโดยไม่มีทิฏฐุชุกัมมประกอบด้วยแล้ว
    การให้ผลของ ทาน ศีล ภาวนา เหล่านั้นก็ไม่สมบูรณ์ มีการขาดตกบกพร่อง
    แม้จะให้ผลไปเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดาก็จะเป็นมนุษย์เป็นเทวดาชั้นต่ำ
    มีอวัยวะขาดตกบกพร่องหรือโง่เขลาเบาปัญญา ทรัพย์สมบัติไม่อุดมสมบูรณ์
    มีความเดือดร้อน ไม่ใคร่มีความสุขความสบาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กรกฎาคม 2013
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เหตุให้เกิดโสมนัสกุศล ๖ ประการ

    ๑. โสมนสฺสปฏิสนฺธิกตา มีปฏิสนธิจิตเป็นโสมนัส
    ๒. สทฺธาพหุลตา มีศรัทธามาก
    ๓. วิสุทฺธทิฏฺฐิตา มีความเห็นถูกต้องหมดมลทิน
    ๔. อานิสํสทสฺสาวิตา เห็นอานิสงส์แห่งกุศลกรรมนั้นๆ
    ๕. อิฏฺฐารมฺมณสมาโยโค ได้ประสบกับอิฏฐารมณ์ คือได้ไทยธรรมและปฏิคาหกที่พึงพอใจ
    ๖. กสฺสจิปิฬาภาโว ไม่มีอุปสรรคขัดข้องใดๆ

    เหตุให้เกิดอุเบกขากุศล ๖ ประการ

    ๑. อุเปกฺขาปฏิสนฺธิกตา มีปฏิสนธิจิตเป็นอุเบกขา
    ๒. อปฺปสทฺธตา มีศรัทธาน้อย
    ๓. อวิสุทฺธทิฏฺฐิตา มีความเห็นไม่บริสุทธิ์นัก มีมลทินเจือบ้าง
    ๔. อานิสํสอทสฺสาวิตา ไม่เห็นหรือไม่เข้าใจในอานิสงส์ แห่งกุศลกรรมนั้นๆ
    ๕. มชฺฌตฺตารมฺมณาสมาโยโค ประสบกับอารมณ์ปานกลาง คือ ได้ไทยธรรมและปฏิคาหกพอปานกลาง
    ๖. กสฺสจิปีฬิกตา มีอุปสรรคขัดข้องอย่างใดอย่างหนึ่ง
     
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    มีข้อสังเกตในเรื่องโสมนัสอกุศลกับโสมนัสกุศล และอุเบกขาอกุศลกับอุเบกขากุศล ดังต่อไปนี้
    โสมนัสกุศล ซึ่งมีแต่เฉพาะโสมนัสโลภมูลจิตเท่านั้น เป็นการมีปิติยินดีในสิ่งที่ชั่ว ย่อมชั่วมากเป็นบาปมาก
    โสมนัสกุศล เป็นการปิติยินดีในสิ่งที่ดี ก็ย่อมดีมากเป็นบุญมาก

    แต่ว่า อุเบกขาอกุศลนั้น ความเฉยในโลภมูลจิต หมายว่ายินดีเล็กน้อยจึงเฉยๆ ไม่ถึงกับปีติ ปลาบปลื้ม
    ความเฉยในโมหมูลจิตนั้น เฉยไปเพราะไม่รู้ ส่วนอุเบกขา ความเฉยในกามกุศลนี้
    เฉยเพราะศรัทธาน้อย เฉยเพราะประสบกับอารมณ์ปานกลาง เป็นความเฉยเพราะความปีติความยินดีไม่เกิด
    ขอกล่าวล่วงหน้าว่า อุเบกขาในฌานนั้น เฉยเพราะละความยินดีปีติยินดีปลาบปลื้มใจได้แล้ว โดยเห็นว่าเป็นของหยาบกว่าอุเบกขา

    ดังนั้น อุเบกขาในอกุศล เฉยต่อสิ่งชั่ว ย่อมมีบาปน้อย อุเบกขาในกามกุศล
    เฉยเพราะศรัทธามีน้อย ก็ย่อมได้บุญน้อย แต่ว่า อุเบกขาในฌานกุศล อานิสงส์มากกว่า
    โสมนัสในฌานกุศล เพราะละความโสมนัสอันเป็นสิง่ที่หยาบเสียได้
     
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ญาณสัมปยุตต

    ญาณสมฺปยุตฺตํ แปลว่า ประกอบด้วยปัญญา คือ มีความรู้เห็นถูกต้องตรงความเป็นจริง
    ในกามกุศลนี้หมายถึงเพียงว่ามีกัมมสสกตาปัญญา และวิปัสสนาปัญญา ก็เป็นญาณสัมปยุตตแล้ว
    กัมมัสสกตาปัญญา ปัญญามีรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นสมบัติของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
    วิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่รู้ขันธ์ ๕ คือ รูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ปัญญาที่รู้เห็นว่าสัตว์มีกรรมเป็นสมบัติของตน อันเรียกว่า กัมมัสสกตาปัญญานี้ มี ๑๐ ประการ คือ

    ๑. อตฺถิทินฺนํ
    ปัญญารู้เห็นว่า การให้ทานย่อมมีผล
    ๒. อตฺถิยิฏฺฐํ
    ปัญญารู้เห็นว่า การบูชาย่อมมีผล
    ๓. อตฺถิหุตํ
    ปัญญารู้เห็นว่า การบวงสรวงเทวดาย่อมมีผล
    ๔. อตฺถิกมฺมานํ ผลํวิปาโก
    ปัญญารู้เห็นว่า ผลวิบากกรรมดีกรรมและชั่วมีอยู่ ( ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทั้งทางตรงและทางอ้อม )
    ๕. อตฺถิอยํโลโก
    ปัญญารู้เห็นว่า โลกนี้มีอยู่ ( ผู้จะมาเกิดนั้น มี )
    ๖. อตฺถิปโรโลโก
    ปัญญารู้เห็นว่า โลกหน้ามีอยู่ ( ผู้จะไปเกิดนั้น มี )
    ๗. อตฺถิมาตา
    ปัญญารู้เห็นว่า มารดามีอยู่ ( การทำดี ทำชั่วต่อมารดา ย่อมจะได้รับผล )
    ๘. อตฺถิปิตา
    ปัญญารู้เห็นว่าบิดามีอยู่ ( การทำดี ทำชั่ว ต่อบิดาย่อมจะได้รับผล)
    ๙. อตฺถสตฺตโอปปาติกา
    ปัญญารู้เห็นว่า โอปปาติกสัตว์นั้นมีอยู่ ( สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เทวดา พรหม นั้นมี )
    ๑๐. อตฺถิโลเกสมณพฺราหฺณา สมฺมาปฏิปนฺนา
    ปัญญารู้เห็นว่า สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัตติดีปฏิบัติชอบ ประกอบด้วยความรู้ยิ่ง
    เห็นจริงประจักษ์แจ้งซึ่งโลกนี้ และโลกหน้าด้วยตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้นั้นมีอยู่ในโลกนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กรกฎาคม 2013
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เหตุให้เกิดญาณสัมปยุตตธรรม มี ๔ ประการ

    ๑. ปญฺญาสํวตฺตนิกกมฺมุปนิสฺสยตา ปฏิสนธิมาโดยอาศัยกุศลกรรมที่ประกอบด้วยปัญญา
    ๒. อพฺยาปชฺชโลกูปปตฺติยา เกิดในชาติที่หมดความกังวลห่วงใยปราศจากความพยาบาท มีโอกาสได้เขาวัดฟังธรรม
    ๓. กิเลสทูรตา ห่างไกลจากกิเลส ไม่สนใจในการแสวงหากิเลสธรรม
    ๔. อินฺทฺริยปริปากตา มีปัญญินทรีย์แก่กล้า คือ มีอายุระหว่าง ๔๐ ถึง ๕๐ ปี ที่เรียกว่าปัญญาทสกะ
    อันเป็นวัยที่มีปัญญาพินิจพิจารณาโดยรอบคอบถึงเหตุผล

    เหตุให้เกิดญาณสัมปยุตตธรรม อีกนัยหนึ่ง มี ๗ ประการ

    ๑. ปริปุจฺฉกตา ชอบไต่ถามปัญหาธรรมต่างๆ
    ๒. วตฺถุวิสุทฺธกิริยา ชอบสะอาดทั้งกายใจ ตลอดจนวัตถุเครื่องใช้สอย
    ๓. อินฺทฺริยสมตฺตปฏิปาทนา ชอบรักษาอินทรีย์ ๕ มี ศรัทธา เป็นต้น ให้ทรงไว้โดยสม่ำเสมอกัน
    ๔. ทุปฺปญฺญปุคฺคปริวชฺชนา ชอบหลีกเลี่ยงให้พ้นจากบุคคลผู้ไม่มีปัญญา
    ๕. ปญฺญวนฺตปุคฺคลเสวนา ชอบคบหาสมาคมกับบุคคลผู้เป็นบัณฑิต
    ๖. คมฺภีรญาณจริยปจฺจเวกฺขณา ชอบพิจารณาธรรมที่ลึกซึ้ง
    ๗. ตทธิมุตฺตตา ชอบในการน้อมจิตแสวงหารสแห่งธรรมที่ต้องตรึกตรองอันทำให้เกิดปัญญา

    เหตุให้เกิดญาณวิปปยุตตธรรม ๔ ประการ

    ๑. ปญฺญาอสํวตฺตนิกกมฺมุปนิสฺสยตา
    ๒. สพฺยาปชฺชโลกูปปตฺติยา
    ๓. กิเลสาทูรตา
    ๔. อินฺทฺริยอปริปากตา
    ส่วนความหมายทั้ง ๔ ข้อนี้ ก็มีนัยตรงกันข้ามกับเหตุให้เกิดญาณสัมปยุตตธรรม ๔ ข้อข้างบนนั้น

    เหตุให้เกิด ญาณวิปปยุตตธรรม อีกนัยหนึ่งมี ๗ ประการ

    ๑. อปริปุจฺฉกตา
    ๒. วตฺถุอวิสทตา
    ๓. อินฺทฺริยอสมตฺตปฏิปาทนา
    ๔. ทุปฺปญฺญปุคฺคลาเสวนา
    ๕. ปญฺญาวนฺตปุคฺคลาปริวชฺชนา
    ๖. คมฺภีรญาณจริยอปจฺจเวกฺขณา
    ๗. อตทธิมุตฺตตา
    ส่วนความหมายทั้ง ๗ ข้อนี้ ก็มีนัยตรงกันข้ามกับเหตุให้เกิดญาณ สัมปยุตตธรรม ๗ ข้อที่กล่าวมาแล้วนั้น

    ส่วน สังขารเภทในมหากุศลนี้ ซึ่งมี อสังขาริก ๔ ดวง และ สสังขาริก ๔ ดวงนั้น มีความหมายว่า
    จิตดวงนั้นเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง หรือเกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งชักจูง ตามนัยดังที่ได้ กล่าวแล้วในโลภมูลจิตข้างต้นนั้น
     
  19. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    มหาวิบากจิต

    มหาวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของมหากุศล ทำบุญทำกุศลด้วยมหากุศลจิตอย่างใด
    ก็ได้มหาวิบากจิตอย่างนั้น มหากุศลจิตเป็นเหตุ ย่อมให้ผลเป็นมหาวิบากจิตที่ตรงกันเสมอ กล่าวคือ

    มหากุศลจิตเป็น โสมนัส ให้ผลเป็นมหาวิบาก โสมนัส
    มหากุศลจิตเป็น อุเบกขา ให้ผลเป็นมหาวิบาก อุเบกขา

    มหากุศลจิตเป็น ญาณสัมปยุตต ให้ผลเป็นมหาวิบาก ญาณสัมปยุตต
    มหากุศลจิตเป็น ญาณวิปยุตต ให้ผลเป็นมหาวิบาก ญาณวิปยุตต

    มหากุศลจิตเป็น อสังขาริก ให้ผลเป็นมหาวิบาก อสังขาริก
    มหากุศลจิตเป็น สสังขาริก ให้ผลเป็นมหาวิบาก สสังขาริก

    ดังนั้น มหาวิบากจิต จึงมีจำนวนเท่ากันกับมหากุศลจิต คือ ๘ ดวง ได้แก่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กรกฎาคม 2013
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ดวงที่ ๑ โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    มหาวิบากดวงที่ ๑ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เป็น อสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง

    ดวงที่ ๒ โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    มหาวิบากดวงที่ ๒ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เป็น สสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง

    ดวงที่ ๓ โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    มหาวิบากดวงที่ ๓ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็น อสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง

    ดวงที่ ๔ โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    มหาวิบากดวงที่ ๔ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็น สสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง

    ดวงที่ ๕ อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    มหาวิบากดวงที่ ๕ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยปัญญา เป็น อสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง

    ดวงที่ ๖ อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    มหาวิบากดวงที่ ๖ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยปัญญา เป็น สสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง

    ดวงที่ ๗ อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    มหาวิบากดวงที่ ๗ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็น อสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง

    ดวงที่ ๘ อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    มหาวิบากดวงที่ ๘ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็น สสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง

    สมังคิตา ๕

    การบำเพ็ญกุศลก็ดี การกระทำอกุศลก็ดี ย่อมมีสมังคิตา ( ย่อมต้องประกอบพร้อมหรือพร้อมมูลด้วยธรรม ) ๕ ประการ คือ

    ๑. อายุหนสมงฺคิตา ได้แก่ความเพียรในการกระทำกุศลหรืออกุศลนั้น
    ๒. เจตนาสมงฺคิตา ได้แก่เจตนา ๓ ประการในการทำกุศลหรืออกุศล คือ เจตนาก่อนทำ เจตนาขณะที่กำลังทำและเจตนาเมื่อทำเสร็จแล้ว
    ๓. กมฺมสมงฺคิตา ได้แก่กุศลกรรม หรืออกุศลกรรม หมายว่า สิ่งที่ทำนั้นเป็นกุศล หรืออกุศลที่สำเร็จมาจากความเพียร
    ๔. อุปฏฺฐานสมงฺคิตา ได้แก่กรรมอารมณ์กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ ซึ่งจะปรากฎขึ้นเวลาใกล้จะตาย
    ๕. วิปากสมงฺคิตา ได้แก่ผลที่ต้องได้รับจากการกระทำกุศลหรืออกุศลนั้นๆ แล้วคือ ผลของสมังคิตาทั้ง ๔ ข้างต้นนั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • %2024_~1.JPG
      %2024_~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      13.7 KB
      เปิดดู:
      82
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กรกฎาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...