ปฏิจสมุปบาทโดยปริยัติ - โดยสภาวะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฐสิษฐ์929, 16 กรกฎาคม 2013.

  1. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ปฏิจสมุปบาทโดยปริยัติ
    ๑. เพราะ อวิชชา ดับ สังขาร จึงดับ
    ๒. เพราะ สังขาร ดับ วิญญาณ จึงดับ
    ๓. เพราะ วิญญาณ ดับ นาม-รูป จึงดับ
    ๔. เพราะ นาม-รูป ดับ สฬายตนะ จึงดับ
    ๕. เพราะ สฬายตนะ ดับ ผัสสะ จึงดับ
    ๖. เพราะ ผัสสะ ดับ เวทนา จึงดับ
    ๗. เพราะ เวทนา ดับ ตัณหา จึงดับ
    ๘. เพราะ ตัณหา ดับ อุปาทาน จึงดับ
    ๙. เพราะ อุปาทาน ดับ ภพ จึงดับ
    ๑๐. เพราะ ภพ ดับ ชาติดับ
    ๑๑. เพราะ ชาติ ดับ ชรามรณะ จึงดับ
    ๑๒. เพราะ ชรามรณะ ดับ ความโศกเศร้าคร่ำครวญทุกข์โทมนัส จึงดับลง

    ปฏิจสมุปบาทโดยสภาวะของหลวงปู่สาวกโลกอุดร ท่านแสดงว่าเป็นวิถีจิต หรือวิถีของความคิด เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เทียบกับอริยะสัจจ์ ก็เป็นตัวทุกข์และสมุทัยนั่นเอง
    หลวงปู่แสดงถึงว่าทุกวิถีจิตล้วนเป็นวงปฏิจสมุปบาท และท่านก็ยกตัวอย่างตามสภาวะของวงปฏิจสมุปบาทของชายหนุ่มไปรักคิดถึงหญิงคนรัก
    เพราะจิตของชายหนุ่มมันไม่รู้สัจจธรรมตามความเป็นจริงมันจึงโง่(อวิชชา)
    เมื่อมันโง่มันจึงคิดปรุงแต่งไปหาหญิงสาวคนรัก(สังขาร)
    เมื่อปรุงแต่งแล้วตัวรู้ก็ตั้งมั่น(วิญญาณ)
    จนชายหนุ่มนั้นคิดเห็นรูปของหญิงสาวในมโนของความคิด(นามรูป) ที่เห็นรูปหญิงสาวนั้นก็มีรูปของชายหนุ่มนี้ติดไปด้วย
    เมื่อคิดไปเห็นเช่นนั้นก็ทำให้ประสาทของชายหนุ่มตรึงเครียดไปทุกๆส่วน(สฬายตนะ)
    ทั้งวิญญาณ นามรูป และสฬายตนะ สามตัวหมุนเกลียวรวมกันจึงเกิดการกระทบอารมณ์(ผัสสะ)
    จากนั้นชายหนุ่มก็ยินดีปรีดา ใจลอย ตาลอย คิดไปด้วยความสุข(เวทนา)
    ในความสุขนั้นชายหนุ่มก็เกิดความรักๆใคร่ๆ ปราถนาจะเสพสมทางกามกับหญิงสาวคนนั้น(กามตัญหา)
    และความคิดก็ตกติดในภาวะเช่นนั้น(ภาวะตัญหา)
    ความคิดของชายหนุ่มนั้นยังคิดต่อเติมเสริมแต่งนั้นให้กามเลิอเลิศขึ้นไปอีก(วิภาวะตัญหา)
    ชายหนุ่มนั้นก็ยึดมั่นถือมั่นต่อกามนั้น ว่ากามก็คือเรา เราก็คือกาม ว่ากามก็เป็นเรา ว่าเราก็เป็นกาม(อุปทาน)
    ทั้งยังมีการพูดจา จู๋ๆ จี๋ๆ ว่าเธอรักฉัน ว่าฉันก็รักเธอ ทำนองนี้(อัตตวาทุปาทาน)
    ทั้งปราถนาในกามกับหญิงสาวนั้น(กามภพ)คิดจนเห็นหญิงสาวไม่มีผ้าปิกปิด
    ชายหนึ่มจึงตกติดในรูปสาวเปลือยนั้น(รูปภพ)
    ความคิดของชายหนุ่มนั้นยังคิดต่อเติมเสริมแต่งในรูปสาวเปลือยนั้นให้เลิอเลิศยิ่งๆ ขึ้นไปอีก เช่นว่าขาวอวบ ก็ว่ากันไป(อรูปภพ)
    เมื่อหมู่มวลกิเลสของชายหนุ่มที่มืดดำล้ำลึกในความคิดก็เกิดการเสพกามในอารมณ์(ชาติ) มาถึงขึ้นนี้การเกิดของกามสมบูรณ์แล้ว ให้เอาช้างมาฉุดก็ไม่อยู่
    อันว่าความคิดก็ตกในอนิจจัง ค่อยๆเปลี่ยนแปรและจบลงไปในที่สุด(ชรา - มรณะ)
    ทีนี้ละชายหนุ่มผู้หนุ่มก็ต้องทุกข์ใหญ่ ไฟมหันต์ ทุรน ทุราย ใจจะขาด จะต้องไปหาหญิงสาวในวันนั้น คืนนั้น เวลานั้นเลยก็ได้(ทุกข์โทมนัสอุปายาสะ)
    ตรงนี้ก็ฟังมาจำมา อาจไม่สมบูรณ์แบบตามท่านแสดงธรรม แต่เนื้อหาสาระสำคัญคงครบ และมั่นใจว่าผู้อ่านทุกท่านที่เป็นชาย ก็คงจะเคยเป็นเช่นนี้มา ท่านแสดงว่าไม่มีชั้นพระอินทร์ พระพรหม ที่ไหนทั้งนั้น มันอยู่ในความคิดของเรานี่เอง
    เจริญในธรรม
     
  2. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    แสดงองค์ประกอบได้เข้าใจได้ง่ายมากคะ
    ถามว่าดับแล้วเกิดอีกได้มั๊ย
    เพราะความจริง เมื่อดับแล้ว มันยังนอนเนือง อยู่ใน อนุสัยลึกๆ เบาบางหรือ น้อยที่สุด
    เมื่อ เกิด ก็เกิดยากมาก กว่่าจะมีโอกาสนั้น
    จนกว่า เราจะ เดินไปถึงทุกธรรม ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
    ขอบคุณคะ
     
  3. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    ปฏิจจสมุปบาทเป็นยอดพระธรรมกัมมัฏฐานของพระพุทธองค์โดยแท้ลึกซึ้งสุขุมคัมภีรภาพนักปฏิบัติทั้งหลายสมควรแล้วที่จะปฏิบัติให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์ หลวงปู่ก็ทำได้แต่เพียงใช้หลักเอหิปัสสิโกเท่านั้น ใครจะสนใจหรือไม่ไม่ใช่ประเด็น ธรรมนี้มีไว้เพื่อผู้มีบารมีธรรมก็เท่านั้นเอง...
     
  4. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ตามระดับของการดับครับ
    ระดับของพระโสดา สกิทาคา หรืออนาคามี ก็มีสภาพดับแต่ยังไม่ถึงระดับสมุทเฉทธประหารก็ยังต้องเกิดอีกครับ
    ระดับพระอรหันต์ เป็นการดับถึงระดับสมุทเฉทธประหาร คือไม่เหลือเชื้ออีก ตรงนี้จบกิจพรหมจรรย์
    ที่ว่าดับแล้วนอนเนื่องนั้น ตรงนี้เป็นการดับระดับโลกีย์วิสัย ซึ่งเขาก็เป็นไปตามชาติของเขา ตามธรรมชาติของเขานั้นก็ดับนะครับ แต่ไม่ขาดออกจากกัน เป็นลักษณะตัวหนึ่งดับและตัวดับก็เป็นปัจจัยให้อีกตัวหนึ่งเกิด มันก็ไม่จบกันสักที เรียกว่าเป็นสัตติที่สืบต่อเนื่องกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
    การดับของพระอรหันต์ ดับขาดสันตติต่อเนื่องไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง ว่ากันง่ายๆ ไม่มีการคิดมา คิดไป ตลอดระยะเวลา ๑ ชั่วโมง คิดไม่ได้เพราะขณะนั้นความคิดดับ
    น้อยคนนักในสมัยนี้จะรู้เรื่องฌานสมาบัติครับ ผมขอยืนยันว่าวิธีจะให้ถึงมรรค ถึงผล มีวิธีเดียวเท่านั้นคือฌานสมาบัติ ไม่ใช่วิปัสสนาตามที่เขาสอนกัน วิปัสสนาที่สอนคือการพิจารณา ซึ่งผลก็เป็นการไปเรียนรู้กิเลส รู้เกิด รู้ดับ ของกิเลส เท่านั้นแต่กิเลสไม่ได้ดับหายไปไหน ยังอยู่กันครบ
    การปฏิบัติทางฌานปฏิบัตินั้น วิธีปฏิบัติทำได้ง่ายมากแต่หากหวังถึงมรรค ถึงผล ก็ยากมากอย่างที่คุณว่าเช่นกัน
    หากสนใจแนวทางพุทธแท้ ก็ลองหาหนังสือหรือซีดีหลวงปู่สาวกโลกอุดรศึกษา และปฏิบัติดูครับ
    วิธีฌานสมาบัตินั้นง่ายครับ แต่ผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ มากมายมหาศาล แทบว่าจะเอาชีวิตไม่รอด คุณก็คิดเอาเองว่าหนักเพียงใด หลวงปู่ท่านได้รับทุกขเวทนาอย่างมหาศาล หากบอกไปรับรองทั้งคุณและหลายๆคนต้องกลัวและไม่กล้าปฏิบัติอย่างแน่นอน
    ผมเองปฏิบัติมาประมาณ ๓ ปี ก็แบบฆาราวาสครับ ไม่ได้เต็มที่อะไร ก็เจอกับเวทนาชนิดที่รุนแรงอยู่พอสมควรครับ
    ผมเข้ามาในเวปนี้ไม่หวังเอาดีเอาเด่นกับใคร เพียงมาเพื่อเป็นธรรมทานเท่านั้น ในหัวข้อธรรมที่ผู้อื่นโพสต์และมีระบุชื่ออาจารย์ของเขาด้วยผมจะไม่เข้าไปแสดงความคิดเห็นแต่อย่างใด
    เจริญในธรรม
     
  5. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
      การจะเข้าถึงมรรคผลในเบื้องต้นนั้นควรใช้ วิปัสสนา หรือ ฌาณ มีคำตอบและคำวินิจฉัยดังต่อไปนี้ครับ
    เนื่องจาก พระอริยบุคคลลำดับแรก คือ พระโสดาบันบุคคล นั้นจะต้องทำความเห็น หรือ ทิฎฐิ 3 ประการให้แจ่มแจ้งคือ สักกายทิฎฐิ วิจิกิจฉา และ สีลพรตรปรามาส ซึ่งเป็นกิเลสในระดับความเห็น ยังคงเป็นกิเลสที่ลอยอยู่บนสุด อยู่ในระดับความคิด
    ดังนั้น การชำระกิเลส ถอนอนุสัยระดับแรกนี้จะต้อง ทำความเห็นให้กระจ่าง ด้วย ปัญญา คือ วิปัสสนา เจริญมหาสติ ให้ดีก่อน เมื่อเจริญมหาสติดีแล้ว จิตย่อมจะเพิกถอนทิฎฐิที่ผิดออกไปได้ โดยใช้องค์สมาธิที่ได้จาก การเจริญมหาสตินั้นแล เป็นบาท จิตจะสามารถรวมได้ด้วย กายานุปัสสนา ในเบื้องต้น เมื่อทำทิฎฐิให้เห็นชัดได้ในความหลง แล้วจึงค่อยใช้ องค์สมาธิให้ละเอียดมากขึ้นไป ด้วยการ อบรมอริยมรรค มี สัมมาสมาธิ เป็นเบื้องปลาย ขัดเกลา ชำระให้เห็น ชัดในความสงบประณีตมากขึ้นไป แล้วย้่อนกลับมาพิจารณาตั้งแต่อดีต มาจนถึงปัจจุบัน ให้เห็นสายทางแห่งมรรค ที่พามาจนถึงปัจจุบันได้ จึงจะทราบ มรรควิถีได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อทราบมรรควิถี นั้นแล จึงเรียกว่า โสดาปัตติมรรค
    แล้วจึงจะเห็นหนทางทำให้ มรรควิถีชัดแจ้งขึ้น รู้ว่า อะไรคือ สักกายทิฎฐิ วิจิกิจฉา และ สีลพตรปรามาส ที่ปิดบังอริยสัจ โดยกิเลสสามตัวนี้ เกิดจากความหลง ไม่เข้าใจ ความเกิดดับของ จิต ของใจ จึงกลายเป็นหลงในสักกายทิฎฐิ และจะมีผลในความปรุงแต่ง ของสังขารความคิดสืบต่อไปเป็น วิจิกิจฉา และกลายเป็น การกระทำ คือ สีลพตรปรามาส
    วนเวียนไม่มีที่สิ้นสุด
    เมื่อทราบเหตุปัจจัยเหล่านี้แล้ว จึงจะทราบหนทางในการดับกิเลส อันเป็นต้นตอได้ คือ การตีขันธ์ 5 ให้แตก ทั้ง สามกาล คือ อดีตผูกพันธ์ ปัจจุบันหลง และ อนาคตฟุ้งไป
    ให้เห็น ปัจจุบันขณะ ของการเกิดดับ ในขณะจิต แล้วถอนตัวรู้ออกมา จึงแจ่้งว่า เพราะตัวรู้นี้ที่เข้าไปรู้ แล้วหลงติดอยู่ในกองภพ

    เจริญในธรรมครับ
     
  6. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    หลักของฌานสมาบัติคือดับจิต ดับความคิด ทั้งสติ ปัญญาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความคิด เมื่อเข้าที่หมายก็ถูกดับไปด้วยกัน
    ปัญญาที่เรามีกันอยู่คือปัญญาโลกีย์เท่านั้น ไม่ว่าชาติไหน ศาสนาก็มีกันทั้งนั้น
    โลกุตรปัญญาจะเกิดเมื่อดับปัญญาโลกีย์แล้ว
    ในการพิจารณาทางปัญญาโลกีย์ก็คือตัวสังขารเช่นกัน แต่เป็นสังขารส่วนดี ตรงนี้เมื่อปฏิบัติในขั้นสูงก็สามารถหยุดพลังอำนาจของกิเลสได้ เป็นลักษณะนิพพานชนิดข่มไว้ กดไว้ หมดแรงเมื่อไหร่กิเลสก็ยกหัวขึ้นมาอีก วิปัสสนาก็ต้องพิจารณากันชั่วนาตาปี ไม่มีจุดจบจุดหยุด หากว่าคุณปฏิบัติอยู่ก็ลองถามตัวเองหรือพระอาจารย์ของท่านดูว่าเป็นอย่างที่ผมกล่าวมาหรือไม่
    ส่วนหลักของฌานสมาบัติคือการเพ่งจี้ไม่ให้มันคิด ไม่ให้มันปรุงแต่ง ตัวสังขารปรุงแต่งก็อยู่ในความคิดนี้ละ ขันธ์๕เว้นแต่รูปเท่านั้นนอกนั้นก็อยู่ในความคิดทั้งหมด ความคิดนี้ละเป็นสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ กิเลสทั้งหลายทั้งมวลก็อยู่ในความคิด เราจะเอาความคิดไปคิดฆ่าความคิด หรือจะให้กิเลสฆ่ากิเลส ซึ่งเป็นไปตามหลักวิปัสสนานั้นคุณก็คิดดูเอาเองว่าเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด แต่หลวงปู่สอนว่ากิเลสมันไม่ฆ่าตัวเองอย่างแน่นอน
    หลักของฌานเป็นการสวนทวนกระแสกิเลส มันชอบคิดเราก็หยุดและดับมันเสีย
    หลวงปู่แสดงความหมายของนิพพานว่าเป็นสภาวะว่างเปล่าจากความคิด นิมิตพร้อมกับอารมณ์ใดๆทั้งสิ้น
    ผมรู้ว่าสิ่งที่ผมกล่าวนี้ผิดแผกไปจากที่เขาสอนกัน ไม่ว่าคุณจะปฏิบัติสายไหนผมก็ว่าดีทั้งหมดครับ แต่หากเปิดตำราคุยกับผม ก็คนละทาง เพราะผมมาทางปฏิบัติครับ ปริยัติก็รู้ครับแต่หากไม่มีหลักปฏิบัติประกอบมันก็ว่ากันไม่จบหรอกครับ พระไตรปิฎกมีกี่เล่ม ตำราที่คณาจารย์แต่งขึ้นมาอีกกี่พันกี่หมื่นเล่ม อ่านกันทั้งชาติก็ไม่หมด ตรงนี้เป็นปริยัติ แต่ปฏิบัติมีนิดเดียวแต่สามารถแตกธรรมออกไปเท่าก็ได้ ในพุทธกาลบางท่านฟังธรรมเพียงประโยคเดียวก็สามารถปฏิบัติจนสำเร็จพระอรหันต์ได้
    เป็นเอาว่าให้คุณปฏิบัติตามที่คุณแสดงไว้จนถึงที่สุดเถิด ผมเชื่อว่ามันไม่ได้เป็นอย่างที่คุณว่ามาหรอกครับ
    ลองเอาสภาวะที่คุณปฏิบัติมาแจงดูก็ได้ แล้วก็จะรู้ว่ามันไม่ได้เป็นอย่างนั้นครับ
    เจริญในธรรม
     
  7. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ขึ้นชื่อว่า วิปัสสนา คือ รู้ เมื่อรู้แล้วจนถึง ต้นตอ ของกิเลสตัวนั้น ไม่หยิบมา ก็จึงเรียกว่า ประหารได้
    หากใช้ฌาณ ข่ม ก็เท่ากับไม่รู้สิครับ อนุสัยยังอยู่ครบนะครับ
     
  8. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ใช้ฌานเพื่อดับครับ ฟังแล้วคุณไม่ได้รู้เรื่องฌานทางการปฏิบัตินะครับ
    คุณพูดอย่างนี้ สมมุติว่าคำพูดของผมถูกต้อง คำพูดของคุณก็จะกลายเป็นวิบากกรรมนะครับ ผมขอยืนยันอีกอย่างว่าพระพุทธเจ้าสำเร็จด้วยฌานสมาบัติ พระอริบุคคลทุกระดับรวมทั้งพระปัจเจกพระพุทธเจ้าก็สำเร็จด้วยฌานสมาบัติเหมือนกัน การบรรลุธรรมมีวิธีเดียว พระอรหันต์ก็มีอย่างเดียว(พระไตรปิฎกว่ามี ๔ ก็ไม่จริง)
    ที่ว่าฌานเป็นของฤษีชีไพรตามพระไตรปิฎกนั้นเป็นเรื่องไม่จริงครับ รายละเอียดมีแยะมาก ขออนุญาตยังไม่แจกแจงในตอนนี้
    ผมมาเพื่อบอกของจริงก็คือ ฌานสมาบัตินี้ได้หายสาบสูญไปราว พ.ศ. ๒๓๖ ผมกล้ายืนยันนอกจากหลวงปู่สาวกโลกอุดรและสานุศิษย์ท่าน ไม่มีใครรู้เข้าใจเรื่องฌานสมาบัติครบถ้วนอย่างแน่นอน คุณวิจัยวิจารณ์เรื่องอะไรก็ตามใจคุณ แต่เรื่องฌานคุณไม่ควรวิจารณ์ว่าเป็นอย่างที่คุณว่า เพราะคุณไม่รู้จักฌานแล้วคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าฌานเป็นอย่างไร
    มีอีกหลายสิ่งที่เราไม่สามารถมองเห็นแต่จะสัมผัสได้ สิ่งเหล่านี้ยังช่วยปกปักรักษาธรรมเนื้อแท้ให้อยู่ครบ ๕,๐๐๐ ปี ที่ผมเตือนก็มีคนได้รับสิ่งที่ผมว่ามาแล้ว คนนี้เป็นระดับมหาเปรียญแต่ลาสึกขามาแล้ว แต่เขาพูดแรงกว่าคุณแยะ
    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2013
  9. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ฌาณสมาบัติ มีอยู่  2 ประเภท คือ ฌาณเพราะความไม่รู้ ที่มาที่ไป นี้คือ ของฤาษีชีไพร
    แต่อีกประเภทหนึ่ง คือ ฌาณเพราะรู้ แล้ว ละ ดำรงจิตอยู่กับ รู้เป็นเอกคตา เพราะมีสติไม่เผลอ เรียกว่า เป็น ฌาณของพระพุทธองค์

    ฌาณของพระพุทธองค์ มีมหาสติปัฎฐาน เป็นเครื่องนำทาง

    ความรู้ที่คุณรู้มา ยังอยู่ใน ฌาณแบบฤาษีชีไพรครับ ยังไม่ถูกต้องตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา

    ลองถกกันได้ครับ ผมได้รับมอบหมายจากพระอาจารย์ให้่มาให้ความรู้กับคนอยู่แล้วครับ
     
  10. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    เรื่อง ปฏิจสมุปบาท พระอาจารย์ของผม เชี่ยวชาญเรื่องนี้ที่สุด รู้ละเอียดรู้ลึก ในปฏิเวธ
    รวมถึง หลักการ ถอนอนุสัย ทั้งปวง เพราะทราบในเหตุแห่ง ปฏิจสมุปบาท
    ถ้าจะสนทนา เรื่องปฏิจสมุปบาท ก็ได้นะครับ แต่หากผมตอบไม่ได้ผมจะไปถามพระอาจารย์ให้
     
  11. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ผมมาจากการปฏิบัติครับ ไม่ได้เปิดตำราเพียงอย่างเดียว คุณรู้หรือไม่ว่าตำราที่เขียนมานั้นถูกต้องหรือไม่เพียงใด คุณเคยปฏิบัติฌานสมาบัติหรือไม่ หากยังก็ปฏิบัติก่อนครับแล้วคุณจะเข้าใจได้ด้วยตัวของคุณเองครับ
    อัตตาหิ อัตตโนนาโถ ธรรมนี้ต้องใช้ตลอดเวลาขณะปฏิบัติครับ
    เจริญในธรรม
     
  12. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ผมเห็นแต่ว่ากันตามตำรากันทั้งนั้นครับ แต่บังเอิญว่าตำราก็เขียนไว้ผิด ในพระไตรปิฎกก็ผิด ผมยังไม่เคยเห็นใครอธิบายปฏิจจสมุปบาทออกนอกพระไตรปิฎกได้เลย
    วงปฏิจจสมุปบาทเร็วยิ่งกว่าสายฟ้าแล๊ป เกิดสลับซับซ้อนแต่ละครั้งไม่รู้กี่ร้อยล้านวง ในพระไตรปิฎกเปิดดูได้อธิบายซ้ำกันไปมาตั้งหลายตอน ซึ่งเป็นไปไม่ได้แน่นอนว่าจะถูกต้อง นามรูปก็อธิบายไม่ได้ รูป นาม และนามรูป เขียนก็ไม่เหมือนนะครับ
    อธิบายนามรูปเป็นรูปนามขันธ์๕ ซึ่งไปซ้ำกับเวทนาที่ยังไม่เกิด ซ้ำร้ายอธิบายขึ้นไปถึงพรหม อรูปพรหม กิเลสประเทศไหนมันจะขึ้นไปเกิดตรงนั้น มันเกิดที่ความคิด ในจิตในใจของเราไม่ใช่หรือ ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสอนพวกเรามันก็อยู่กับเรานี้ละครับ ถ้าอธิบายธรรมออกจากร่างกายและจิตใจเราแล้ว ผมตีค่าธรรมนั้นเป็นของปลอมแน่นอนไม่ว่าจะปรากฏ ณ ตำราเล่มใด หรือระดับพระคุณเจ้าที่มีชื่อเสียงเพียงใดก็ตามหากกล่าวธรรมเช่นนั้น
    ก็ลองกราบเรียนถามอาจารย์ท่านว่า ปฏิจจสมุปบาทในพระไตรปิฎกมีความถูกต้องหรือผิดเพี้ยนประการใด ผมเชื่อว่าท่านจะต้องงง เพราะท่านไม่เคยรู้ว่ามันถูกหรือผิดอย่างไร
    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2013
  13. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    รู้ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นพระอรหันต์แล้วนะครับ เรื่องฌานที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกของจริงๆมี 9 มีใครผู้ใดที่จะทำได้ถึง และผ่านไปได้ ส่วนมากจะติดอยู่ที่ฌานที่8 ไม่ไปไหน ลองให้ถึงจุดสุดยอดของเคล็ดวิชาที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนไว้สิครับ ท่านจะได้รู้ว่าใช้ฌานนี่แหละเป็นตัวตัดกระแสกิเลสที่มันหมุนวนเป็นเกลียวแข็งยิ่งกว่าโคตรเพชรโคตรเหล็กไหลเสียอีก ระดับปัญญาที่ได้จากวิปัสสนานัั้นเป็นเพียงแค่พื้นฐาน หาใช่ตัวตัดไม่ เพราะการเพ่งฌานนั้นเป็นมหาสติปัฏฐานสูตรโดยตรงเลยทีเดียว เป็นการเพ่งกำลังของสติให้คมกล้าควรแก่การใช้ตัดกระแสกิเลสความคิดที่มันหมุนวนอยู่ในสังขารปรุงแต่งของเรานี่เอง เพราะสติเป็นฝ่ายกุศล กิเลสเป็นฝ่ายอกุศล เมื่อถึงเวลาที่กำลังสติที่เราเพ่งนั้นจะให้ผล มันจะตัดกันพังทลายไปทั้งสองฝ่าย เมื่อปลายของห้วงสภาวะนี้ผ่านไป จึงจะเกิดญาณหยั่งรู้ที่เรียกว่าปัญญา ที่กล่าวๆกันว่าปัญญา ก็ปัญญาตัวนี้แหละ หลังที่ผ่านฌานที่ 9 ตัวปัญญาตัวนี้เองที่เรียกว่ารู้แจ้งแทงตลอดใน อริยสัจสี่ ปฏิจจสมุปบาท ปฏิสัมภิทาญาณ รู้อดีต รู้ปัจจุบัน รู้อนาคต เป็นต้น ตัวนี้ซิปัญญาที่แท้จริง เป็นโลกุตรปัญญา ปัญญาที่ได้จากกว่าวิปัสสนาซึ่งจริงๆแล้วมันจะเป็นพื้นฐานให้ต่อยอด การเพ่งฌานนั้น ยังเป็นโลกียปัญญาอยู่ อย่างมากหลวงปู่ก็อนุเคราะห์เข้าไม่เกิดฌานที่ 6 คือวิญญานัญจายตนฌาน รู้อย่างไม่มีภพอย่างที่จะสงบจบสิ้นลงได้เลย รู้อยู่อย่างนั้น แต่ไม่ได้ทำให้สิ้นกิเลสไปได้ เพราะถ้านักปฏิบัติทำได้ถึงขั้นนี้แล้ว จะหลงคิดเห็นผิดไปว่า ปัญญารู้แจงแทงตลอดไปเช่นนี้เอง ซึ่งที่จริงแล้วยังหรอก ยังไม่ถึง ส่วนมากจะมาหยุดลงที่ตรงนี้ไม่ไปต่อ จึงนำมาแสดงว่า ให้ลองพิจารณาดูให้จงดี....
     
  14. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ไม่เป็นไรครับ แล้วแต่จะศรัทธานะครับ ไม่สนใจใคร่รู้ก็ไม่ว่ากันครับ
    ปฏิจสมุปบาทเป็นของลึกซึ้งครับ ผมก็บอกกล่าวไปเพียงว่า พระอาจารย์ท่านแจ้งแทงตลอดแล้ว
    แต่ถ้าคุณ ฐสิษฐ์ ชำนาญอยู่แล้วก็ไม่เป็นไรครับ
     
  15. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    วิถีปฏิจจสมุปบาทมีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่เห็นได้ การรู้อย่างอื่นก็ล้วนเป็นจินตนาการทั้งนั้น พระอรหันต์ท่าน
    สามารถล๊อคความคิดดูได้ จึงได้เห็นตามที่ผมได้แสดงไปแล้วนั้น
    อีกอย่างพระอรหันต์ท่านมีญาณหยั่งรู้ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคตด้วย หลวงปู่สาวกโลกอุดรได้แสดงของญาณหยั่งรู้ถึงกำเหนิดโลกและสิ่งมีชีวิต ผมโพสต์ที่หน้าพุทธศาสนาของผู้เริ่มต้นครับ เชิญอ่านได้ครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2013
  16. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    ผู้ที่ผ่านสภาวะนิโรธสมาบัติมาแล้วจะเกิดโลกุตรปัญญาเป็นญาณหยั่งรู้ที่เห็นจริงตามธรรมชาติ ญาณหยั่งรู้ตัวนี้เป็นลักษณะการหยั่งเข้าไปรู้เลย มิได้มีการนึกคิดตริตรองหาเหตุผลแต่ประการใด ไม่มีการพิจารณาใคร่ครวญอะไรอีก อย่างนี้จึงเรียกว่ารู้แจ้งแทงตลอดอย่างแท้จริง ถ้ายังคิดพิจารณาอยู่ก็ยังไม่ใช่การรู้แจ้งแทงตลอดอย่างแท้จริง
     
  17. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    เท่าที่ผมได้ศึกษามาเห็นหลายอาจารย์ก็ยังเป็นการอธิบายปฏิจจสมุปบาทโดยการคิดวิเคราะห์มาแล้วจึงนำมากล่าวไว้ในเชิงความรู้ที่ตกผลึกแล้ว ซึ่งแตกต่างจากหลวงปู่สาวกโลกอุดร ธัมมปาโล ที่อธิบายโดยสภาวะ และสัมผัสได้ถึงอณูธาตุ
     
  18. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .................หลวงปู่ท่านกล่าวเอง ว่า เมื่อพร้อมด้วย ศรัทธา วิริย สติ สมาธิปัญญา พร้อมด้วย อิทธิบาทสี่....มันตัดเองเลย.......ซึ่งก็ตรงตามตำรา....ผมว่า อย่าไปตำหนิตำราเลย...คนเรา "โยนิโสมนสิการ" ไม่ได้ต่างหากครับ.................คุณพูดเองนี่ว่า สมัยพุทธกาลฟังธรรมครั้งเดียว บรรลุธรรมเลย............"การฟังธรรม" ที่ตรงที่ถูกจึงเป็นปัจจัยแรกให้เห้นและเข้าใจใน "ภัยวัฎสงสาร"ถ้่าคนไม่ค่อยเข้าใจ ว่าตนทุกข์คงไม่ได้อยากพ้นทุกข์..
     
  19. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    หลวงปู่สาวกโลกอุดรเทศน์ไว้ว่า เมื่อได้ฟังธรรมจากศาสดาแล้ว ก็นำไปปฏิบัติโดยการเพ่งฌานต่อ จึงสำเร็จบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ หรืออย่างชฎิลสามพี่น้องผู้มีเพียรเพ่งอยู่ มีอินทรีย์อันคมกล้าแต่ใช้กำลังสติอินทรีย์อันแก่กล้านั่นเพ่งไปสู่ภายนอก มิได้หันกำลังสติที่มีมากควรแก่การบรรลุธรรม หันมาเพ่งที่จุดมโนทวาร จึงมิได้บรรลุมรรคผลอะไร พอพระศาสดาบอกวิธีที่ถูกต้อง โดยการกล่าวให้เป็นบุคลาธิษฐาน เมื่อเหล่าชฎิลน้อมเป็นโอปนยิโกเข้ามา แล้วพุ่งกำลังสติเข้ามาในมโนทวาร จึงตัดกันพังทลายไปทั้งสองฝ่าย จึงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ครับ...
     
  20. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ที่กล่าวมาก็ถูกครับ
    แต่ที่คุณกล่าวมาทั้งหมด เป็นในขณะอารมณ์หรือสภาวะความถึงพร้อมขณะปฏิบัติ เป็นตอนไหน ที่ไหน และอย่างไรครับ ที่ว่ามาตรงนี้สามารถอธิบายโดยเทียบเคียงกับการปฏิบัติได้หรือไม่
    ผมไม่ได้ตำหนิตำราครับ แต่ให้ศึกษาด้วยปัญญาพร้อมทั้งการปฏิบัติด้วยว่าจะเป็นจริงหรือไม่ อย่างไร ใช่ว่าตำราว่ามาก็เชื่อกันไปเลย
    หลวงปู่สาวกโลกอุดรท่านก็เอาธรรมในตำรามาปฏิบัติครับ ไม่ได้คิดขึ้นมาเอง เมื่อท่านสำเร็จแล้วท่านจึงรู้ว่าในตำรามีทั้งธรรมจริงและธรรมเทียมผสมผสานกันอยู่ หลวงปู่อ่านพระไตรปิฎกถึง ๓ จบก่อนที่จะปฏิบัติทางฌานสมาบัติ หลักปฏิบัติที่หลวงปู่นำมาคือคำสอนที่พระพุทธเจ้าสอนพระภิกษุผู้กระสันต์อยากสึกเนื่องจากมีภาระกิจมาก พระองค์สอนว่า "ให้เธอไปรักษาใจเพียงอย่างเดียว" ภิกษุนั้นก็นำหลักนี้ไปปฏิบัติก็สำเร็จพระอรหันต์ หลักธรรมทั้งหมดข้างต้นที่คุณว่าอยู่ตรงไหน หากเป็นหลายสิ่งหลายอย่างจะไปอยู่ตรงไหนของการปฏิบัติของพระภิกษุรูปนี้ ในเมื่อท่านปฏิบัติเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
    ยิ่งหากไปเทียบกับการปฏิบัติของชฎิล ๓ พี่น้องกับลูกน้องอีก ๑,๐๐๐ รูป ที่สำเร็จพระอรหันต์แบบพร้อมเพียงกันทั้งหมด ว่าเป็นแบบไหนอย่างไรก็ยิ่งชัดเจนครับว่าการปฏิบัติจะต้องมีลักษณะเดียว เป็นอย่างเดียวกันอย่างแน่นอน
    การปฏิบัติหากมีหลายอย่างความถึงพร้อมก็จะเกิดขึ้นไม่ได้อย่างแน่นอน เมื่อถึงธรรมอย่างหนึ่งแล้วเปลี่ยนการปฏิบัติธรรมตัวเดิมก็ดับไปด้วย ธรรมจะเกิดก็จะเกิดได้เพียงบางสิ่งบางอย่างเท่านั้น ซึ่งจะเรียกว่าเป็นธรรมที่เป็นความถึงพร้อมไม่ได้เลย
    พระพุทธเจ้าพระองค์ก็ตรัสในกาลามาสูตรว่า "อย่าเชื่อตามตำรา อย่าเชื่อตามครูบาอาจารย์"
    ในสายของหลวงปู่มุ่งที่การปฏิบัติ ปริยัติก็เป็นคำอธิบายถึงผลของการปฏิบัติ แต่ปัจจุบันมุ่งเน้นการเรียนปริยัติก่อนหรือเพียงอย่างเดียว แล้วบางทีก็เอาเฉพาะปริยัติมาสนทนาพาทีกัน ส่วนใหญ่ก็หาข้อสรุปกันไม่ได้ เพราะข้อสรุปที่แท้จริงคือผลของการปฏิบัติ
    ปริยัติก็คือคำที่พระพุทธเจ้าสมมุติเรียกสภาวะของการปฏิบัติ หรือเรียกว่าสมมุติบัญญัติ
    สมมุติบัญญัตินั้นผมกล้ากล่าวว่า ไม่มีสมมุติบัญญัติคำใดที่สามารถบอกถึงรายละเอียดที่แท้จริงของสภาวธรรมที่แท้จริงได้เลย ลักษณะเพียงเทียบเคียงโดยใกล้เคียงเท่านั้น เป็นลักษณะสมมุติคำพูดมาอธิบายในสิ่งที่รู้ที่เห็น การเห็นบางทีเห็นเพียงนิดเดียวสัก ๑ นาที แต่คำอธิบายให้พอเข้าใจได้อาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง เช่นเห็นนกฝูงหนึ่งทั้งร้องทั้งบินไปผ่านไปใช้เวลาประมาณ ๑ นาที อาจต้องมาอธิบายกันเป็นชั่วโมงหรือมากกว่านั้นจึงจะเข้าใจอย่างใกล้เคียงกับความจริงได้ คำอธิบายนั้นละคือคำสมมุติบัญญัติที่คนติดและหลงไหลกันทั้งเมือง แต่นกจริงๆ หรือธรรมมะจริงมีคนเห็นน้อยมาก
    การรู้ที่แท้จริงก็เพราะการปฏิบัติเท่านั้น แต่การปฏิบัติแบบใดจะให้ผลสูงต่ำอย่างไร นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กรกฎาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...