จิตคืออะไร?จิตมีชื่อเรียกถึง ๑๐ ชื่อ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 1 กรกฎาคม 2013.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จำแนกโลกุตตรจิตโดยชาติเภทเป็นต้น

    ๑. ชาติเภท โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงก็ดี โลกุตตรจิตโดยพิสดาร ๔๐ ดวงก็ดี จำแนกโดยชาติได้ ๒ คือ
    โลกุตตรกุศลจิต หรือ มัคคจิต โดยย่อ ๔ ดวงก็ดี โดยพิสดาร ๒๐ ดวงก็ดี เป็นชาติกุศล
    โลกุตตรวิบากจิต หรือ ผลจิต โดยย่อ ๔ ดวงก็ดี โดยพิสดาร ๒๐ ดวงก็ดี เป็นชาติวิบาก
    ดังนั้นจึงเรียกกันสั้นๆ ว่า มัคคเป็นกุศล ผลเป็นวิบาก

    ๒. ภูมิเภท โลกุตตรจิตเป็นโลกุตตรภูมิ คือเป็นจิตชั้นที่เหนือยิ่งกว่าจิตชั้นใดๆ ทั้งสิ้น

    ๓. เวทนาเภท โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงนั้น ถ้ามหากุศลญาณสัมปยุตตจิตที่เจริญวิปัสสนาภาวนาเป็น
    โสมนัสเวทนา จนโลกุตตรจิตเกิด โลกุตตรจิตที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นโสมนัสเวทนาเช่นเดียวกัน
    ถ้ามหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ที่เจริญวิปัสสนาภาวนานั้นเป็นอุเบกขาเวทนาจนโลกุตตรจิตเกิด
    โลกุตตรจิตที่เกิดขึ้นนั้น ก็เป็นอุเบกขาเวทนาเช่นเดียวกัน

    ส่วนโลกุตตรจิตโดยพิสดาร ๔๐ ดวงนั้น เป็นโลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยฌาน ซึ่งฌานที่ประกอบกับโลกุตตรจิตนั้น
    มี เวทนาอย่างใด โลกุตตรจิตนั้นก็มีเวทนาอย่างนั้น กล่าวคือ

    โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยปฐมฌานก็ดี ทุติยฌานก็ดี ตติยฌานก็ดี แม้จตุตถฌานก็ดี
    เหล่านี้ย่อมเป็นโสมนัสเวทนา เพราะฌานเหล่านั้นที่ประกอบโลกุตตรจิตเหล่านี้
    เป็นฌานที่เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนาโลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยปัญจมฌาน
    ย่อมเป็นอุเบกขาเวทนา เพราะเป็นปัญจมฌานนั้น เป็นฌานที่เกิดพร้อมกับอุเบกขาเวทนา

    ๔. เหตุเภท โลกุตตรจิตเป็นสเหตุกจิต เป็นจิตที่มีสัมปยุตตเหตุและเหตุที่ประกอบก็ครบทั้ง ๓ เหตุ
    เต็มที่ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ

    ๕. สังขารเภท โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงก็ดี โดยพิสดาร ๔๐ ดวงก็ดี เป็นสสังขาริกจิต ทั้งสิ้น
    เพราะโลกุตตรจิตจะเกิด ได้ก็โดยอาศัยมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต เจริญวิปัสสนาภาวนามาก่อน
    จึงต้องถือว่ามหากุศลญาณสัมปยุตตจิตนั่นแหละ เป็นสิ่งที่ชักจูงให้โลกุตตรจิตเกิดขึ้น

    ๖. สัมปยุตตเหตุ โลกุตตรจิตเป็นญาณสัมปยุตต เป็นจิตที่ประกอบด้วยปัญญา เป็นจิตที่มีปัญญา
    ถ้าเป็นจิตที่ไม่มีปัญญา เป็นจิตญาณวิปปยุตต ไม่ใช้ปัญญาประกอบด้วยแล้ว โลกุตตรจิตจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยเป็นอันขาด

    ๗. โสภณเภท โลกุตตรจิตเป็นโสภณจิต เป็นจิตที่ประเสริฐยิ่งกว่าจิตใดๆ ทั้งปวง
    ไม่มีจิตใดจะประเสริฐเทียบเทียมได้เลย

    ๘. โลกเภท โลกุตตรจิตประเภทเดียวเท่านี้แหละเป็นโลกุตตระ หาใช่โลกียะไม่
    นอกจากโลกุตตรจิตนี้แล้ว จิตอื่นๆ นั้น เป็นโลกียจิตทั้งหมด

    ๙. ฌานเภท โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงเป็นจิตที่ไม่มีฌานจิตประกอบด้วย จึงเป็นอฌานจิต
    แต่อย่างไรก็ดี โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงที่ไม่ได้ฌานด้วยนี้ ก็ถือว่าเป็นปฐมฌาน ถึงซึ่งปฐมฌานด้วย
    ดังที่จะเห็นได้ ตามคาถาสังคหะที่ ๑๕ ที่จะกล่าวต่อไปข้างหน้านี้ ด้วยเหตุนี้จึงเห็นโดยอัตโนมัติว่า โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงนี้
    ควรจัดเป็น ฌานจิตได้ด้วย
    ส่วนโลกุตตรจิตโดยพิสดาร ๔๐ ดวงนั้น เป็นจิตที่ประกอบด้วยฌานโดยแท้ จึงเป็นฌานจิต อย่างไม่มีปัญหา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ---_1_~2.JPG
      ---_1_~2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      450.8 KB
      เปิดดู:
      1,311
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 กรกฎาคม 2013
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จำแนกจิตทั้ง ๘๙ โดยชาติเภท

    คาถาสังคหะ ๑๑ แสดงว่า

    ๑๑. ทฺวาทสากุสลาเนวํ กุสลาเนกวีสติ
    ฉตฺตีเสว วิปากานิ กฺริยาจิตฺตานิ วีสติ ฯ


    แปลความว่า อกุศล ๑๒ กุศล ๒๑ วิบาก ๓๖ กิริยา ๒๐ อย่างนี้

    หมายความว่า จิตทั้งหมดซึ่งมีจำนวนโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น เมื่อจำแนกโดยชาติเภทนัยแล้ว ก็มี ๔ ชาติ คือ
    ชาติอกุศล ชาติกุศล ชาติวิบาก และชาติกิริยา

    ชาติอกุศล ได้แก่จิต ๑๒ ดวง ล้วนแต่เป็นจิตที่เป็นโทษ และให้ผลเป็นทุกข์ คือ
    อกุศลจิต ๑๒ ดวง

    ชาติกุศล ได้แก่จิต ๒๑ ดวง ล้วนแต่เป็นจิตที่ปราศจากโทษและให้ผลเป็นสุข คือ
    มหากุศลจิต ๘ ดวง
    มหัคคตกุศลจิต ๙ ดวง
    โลกุตตรกุศลจิต ๔ ดวง

    ชาติวิบาก ได้แก่จิต ๓๖ ดวง ล้วนแต่เป็นจิตที่เป็นผลบาปและผลของบุญ คือ
    อกุศลวิบาก ๗ ดวง
    อเหตุกกุศลวิบาก ๘ ดวง
    มหาวิบาก ๘ ดวง
    มหัคคตวิบาก ๙ ดวง
    โลกุตตรวิบาก ๔ ดวง

    ชาติกิริยา ได้แก่จิต ๒๐ ดวง ล้วนแต่เป็นจิตที่ไม่เป็นบุญและไม่เป็นบาป
    ทั้งไม่ใช่ผลของบาปหรือผลของบุญด้วย เป็นจิตที่สักแต่ว่ากระทำเท่านั้นเอง คือ
    อเหตุกกิริยา ๓ ดวง
    มหากิริยา ๘ ดวง
    มหัคคตกิริยา ๙ ดวง

    ชาติวิบากและชาติกิริยานี้รวมเรียกว่า ชาติอพยากตะ หมายแต่เพียงว่า
    ชาติของจิตเหล่านั้นไม่ใช่กุศลและไม่ใช่อกุศล ด้วยทั้ง ๒ อย่าง
     
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จำแนกจิต ๘๙ โดยภูมิเภท
    คาถาสังคหะที่ ๑๒ แสดงว่า

    ๑๒. จตุปญฺญาสธา กาเม รูเป ปนฺนรสีริเย
    จิตฺตานิ ทฺวาทสารูเป อฏฺฐธานุตฺตเร ตถา ฯ


    แปลความว่า กามาวจร ๕๔ รูปาวจร ๑๕ อรูปาวจร ๑๒ โลกุตตร ๘ อย่างนั้น

    มีอธิบายว่า จิตทั้งหมด ซึ่งมีจำนวนโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น เมื่อจำแนกโดยภูมิเภทนัยแล้ว
    กามาวจรจิต ๕๔ ดวง เป็นกามาวจรภูมิ
    รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง เป็นรูปาวจรภูมิ
    อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง เป็นอรูปาวจรภูมิ
    โลกุตตรจิต ๘ ดวง เป็นโลกุตตรภูมิ
    อนึ่ง คำว่า ภูมิ นี้แปลว่า แผ่นดิน ที่ดิน ที่อยู่อาศัย ก็ได้ หรือ แปลว่า ชั้น พื้นเพ ก็ได้
    ในที่นี้แปลว่า ชั้นกามาวจรภูมิ หมายถึง จิตชั้นกามาวจร ชั้นกามโลก
    รูปาวจรภูมิ หมายถึง จิตชั้นรูปาวจร ชั้นรูปโลก
    อรูปาวจรภูมิ หมายถึง จิตชั้นอรูปาวจร ชั้นอรูปโลก
    โลกุตตรภูมิ หมายถึง จิตชั้นโลกุตตร คือจิตชั้นที่เหนือโลกที่พ้นจากโลก ทั้ง ๓ นั้น
     
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จำแนกจิตโดยย่อและจิตอย่างพิสดาร
    คาถาสังคหะที่ ๑๓ แสดงว่า

    ๑๓. อิตฺถเมกูนนวุติปฺ ปเภทํ ปน มานสํ
    เอกวีสสตํ วาถ วิภชนฺติ วิจกฺขณา ฯ


    แปลความว่า บัณฑิตพึงจำแนกจิตด้วยประการฉะนี้ว่า มีประเภท ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง

    หมายความว่า จิตทั้งหมด เมื่อจำแนกประเภทโดยย่อ ก็มี ๘๙ ดวง แต่ถ้าจำแนกโดยพิสดารแล้ว มีถึง ๑๒๑ ดวง
    ที่มากขึ้นหรือที่เพิ่มขึ้นนั้น ก็มากขึ้นหรือเพิ่มขึ้นที่โลกุตตรจิตแห่งเดียวเท่านั้น ส่วนกามาวจรจิตก็ดี รูปาวจรจิตก็ดี
    อรูปาวจรจิตก็ดี จำนวนคงที่ไม่มีการเพิ่มให้มากขึ้นแต่อย่างใด

    จำแนกจิต ๘๙ โดยเวทนาเภท
    จิตโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น จำแนกโดยย่อประเภทแห่งเวทนาแล้ว ได้ดังนี้

    สุขเวทนา มี ๑ คือ สุขกาย
    ทุกขเวทนา มี ๑ คือ ทุกข์กาย
    โสมนัสเวทนา มี ๓๐ คือ กามโสมนัส ๑๘ , ฌานโสมนัส ๑๒ ( กามโสมนัส ๑๘ ได้แก่ โสมนัสโลภมูลจิต ๔ ,
    โสมนัส สันตีรณะ ๑ , โสมนัสหสิตุปปาทะ ๑ , โสมนัสมหากุศล ๔ , โสมนัสมหาวิบาก ๔ ,
    โสมนัสมหากิริยา ๔ ส่วนฌานโสมนัส ๑๒ นั้น ได้แก่ รูปาวจรปฐมฌาน ๓ , รูปาวจรทุติยฌาน ๓ ,
    รูปาวจรตติยฌาน ๓ และ รูปาวจรจตุตถฌาน ๓ )

    โทมนัสเวทนา มี ๒ คือ โทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวง
    อุเบกขาเวทนา มี ๕๕ คือ อุเบกขาโลภมูลจิต ๔ , อุเบกขาโมหมูลจิต ๒ ,
    อุเบกขาอเหตุกจิต ๑๔ , อุเบกขามหากุศล ๔ , อุเบกขามหาวิบาก ๔ ,
    อุเบกขามหากิริยา ๔ , รูปาวจรปัญจมฌาน ๓ , อรูปาวจรจิต ๑๒ และ โลกุตตรจิต ๘
     
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เฉพาะโลกุตตรจิตนั้น ได้กล่าวมาแล้วว่า ถ้ามหากุศลฌานสัมปยุตตจิต
    ที่เจริญวิปัสสนาภาวนานั้นเกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนาจนเกิดโลกุตตรจิต โ
    ลกุตตรจิตที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นโสมนัสเวทนา หากว่ามหากุศลฌานสัมปยุตตจิต
    ที่เจริญวิปัสสนานั้นเกิดพร้อมกับอุเบกขาเวทนา จนเกิดโลกุตตรจิตแล้ว โลกุตตรจิต
    ที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นอุเบกขาเวทนา
    แต่ตามปกติที่จำแนกจิตโดยเวทนาแล้ว ส่วนมากมักจัดโลกุตตรจิต ๘ ดวง
    ไว้ในอุเบกขาเวทนา ดังนั้นในที่นี้จึงจัด โลกุตตรจิต ๘ ดวงอยู่ในอุเบกขาเวทนาเช่นเดียวกัน

    อนึ่ง ถ้าจำแนกจิตอย่างพิสดาร ๑๒๑ ดวงโดยประเภทแห่งเวทนาแล้วก็มีดังนี้
    สุขเวทนา มี ๑ คือ สุขกาย
    ทุกขเวทนา มี ๑ คือ ทุกข์กาย
    โสมนัสเวทนา มี ๖๒ คือ กามโสมนัส ๑๘ ,
    รูปฌานโสมนัส ๑๒ และโลกุตตรที่ประกอบด้วยปฐมฌาน ๘ ,
    โลกุตตรที่ ประกอบด้วยทุติยฌาน ๘ , โลกุตตรที่ประกอบด้วยตติยฌาน ๘ ,
    โลกุตตรที่ประกอบด้วยจตุตถฌาน ๘
    โทมนัสเวทนา มี ๒ คือ โทสมูลจิต ๒ ดวง
    อุเบกขาเวทนา มี ๕๕ คือ กามอุเบกขา ๓๒ , รูปาวจรปัญจมฌาน ๓ ,
    อรูปาวจรจิต ๑๒ และ โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยปัญจมฌาน ๘
    ( กามอุเบกขา ๓๒ ได้แก่ อุเบกขาในอกุศลจิต ๖ , อุเบกขาอเหตุกจิต ๑๔ และอุเบกขาในกามาวจรโสภณจิต ๑๒ )
     
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จำแนกจิต ๘๙ โดยเหตุเภท

    จิตโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น จำแนกโดยประเภทแห่งเหตุแล้วได้ดังนี้
    เป็น อเหตุก คือเป็นจิตที่ไม่มีเหตุนั้น มี ๑๘ ดวง ได้แก่ อเหตุกจิต ๑๘ ดวงเท่านั้นเอง
    เป็น สเหตุก คือเป็นจิตที่มีสัมปยุตตนั้น มี ๗๑ ดวง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
    เป็นสเหตุกจิตที่มีเหตุเดียว เรียกว่า เอกเหตุจิต นั้นมี ๒ ดวง คือโมหมูลจิต ๒ โมหมูลจิตนี้
    เป็นจิตที่มีโมหเหตุเพียงเหตุเดียวเท่านั้น
    เป็นสเหตุกจิตที่มีเหตุ ๒ เรียกว่า ทวิเหตุกจิต นั้น มีอยู่ ๒๒ ดวง คือ
    โลภมูลจิต ๘ มีโลภเหตุกับโมหเหตุ
    โทสมูลจิต ๒ มีโทสมูลจิตกับโมหเหตุ
    กามาวจรโสภณจิตที่เป็นญาณวิปปยุตต ๑๒ ดวง มี อโลภเหตุกับอโทสเหตุ
    เป็นสเหตุกจิตที่มีเหตุ ๓ เรียกว่า ติเหตุกจิต คือ มีทั้ง อโลภเหตุ อโทสเหตุ
    และ อโมหเหตุ นั้นมี ๔๗ ดวง คือ
    กามาวจรโสภณจิตที่เป็นญาณสัมปยุตต ๑๒ ดวง
    มหัคคตจิต ๒๗ ดวง
    โลกุตตรจิต ๘ ดวง
     
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จำแนกจิต ๘๙ โดยสังขารเภท

    จิตโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น จำแนกโดยประเภทแห่งสังขารแล้ว ได้ดังนี้
    เป็น อสังขาริก มี ๓๗ ดวง คือ อกุศลจิตที่เป็นอสังขาริก ๗, อเหตุกจิต
    ซึ่งจัดเป็นอสังขาริกทั้ง ๑๘ และ กามโสภณจิต ที่เป็น อสังขาริก ๑๒
    เป็น สสังขาริก มี ๕๒ ดวง คือ อกุศลจิตที่เป็นสสังขาริก ๕ กามโสภณจิต
    ที่เป็นสสังขาริก ๑๒ มหัคคจิต ๒๗ และ โลกุตตรจิต ๘

    จำแนกจิต ๘๙ โดยสัมปยุตตเภท

    จิตโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น จำแนกโดยประเภทสัมปยุตตแล้ว ได้ดังนี้
    เป็น ทิฏฐิสัมปยุตต มี ๔ คือ โลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔ ดวง

    เป็น ปฏิฆสัมปยุตต มี ๒ คือ โทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวง
    เป็น วิจิกิจฉาสัมปยุตต มี ๑ คือ โมหมูลจิตดวงที่ ๑
    เป็น อุทธัจจสัมปยุตต มี ๑ คือ โมหมูลจิตดวงที่ ๒
    เป็น ญาณสัมปยุตต มี ๔๗ คือ กามโสภณญาณสัมปยุตตจิต ๑๒ มหัคคจิต ๒๗ และ โลกุตตรจิต ๘
    เป็น ทิฏฐิวิปปยุตต มี ๔ คือ โลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิคตวิปปยุตต ๔ ดวง
    เป็น ญาณวิปปยุตต มี ๑๒ คือ กามโสภณญาณวิปยุตตจิต ๑๒ ดวง
    เป็น วิปปยุตตจิต มี ๑๘ คือ อเหตุกจิต ๑๘ ซึ่งไม่มีทิฏฐิ ปฏิฆะ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ หรือ ญาณ (ปัญญา) มาสัมปยุตต ด้วยเลยแม้แต่อย่างเดียว
     
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จำแนกจิต ๘๙ โดยโสภณเภท
    จิตโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น จำแนกโดยประเภทแห่งโสภณะแล้ว ได้ดังนี้
    เป็น โสภณะ ๕๙ ดวง คือ กามโสภณจิต ๒๔ , มหัคคตจิต ๒๗ และโลกุตตรจิต ๘
    เป็น อโสภณะ ๓๐ ดวง คือ อกุศลจิต ๑๒ และ อเหตุกจิต ๑๘

    จำแนกจิต ๘๙ โดยโลกเภท
    จิตโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น จำแนกโดยประเภทแห่งโลกแล้ว ได้ดังนี้
    เป็น โลกียะ ๘๑ ดวง คือ กามจิต ๕๔ และ มหัคคตจิต ๒๗
    เป็น โลกุตตระ ๘ ดวง คือ โลกุตตรจิต ๘

    จำแนกจิต ๘๙ โดยฌานเภท
    จิตโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น จำแนกโดยประเภทแห่งฌานแล้ว ได้ดังนี้
    เป็น ฌานจิต ๒๗ ดวง คือ มหัคคตจิต ๒๗
    เป็น อฌานจิต ๖๒ คือ อกุศลจิต ๑๒ , กามโสภณจิต ๒๔ และ โลกุตตรจิต ๘
     
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จำแนกโลกุตตรจิตโดยองค์ฌาน
    คาถาสังคหะที่ ๑๔ แสดงว่า

    ๑๔. ฌานงฺคโยคเภเทน กเตฺวเกกนฺตุ ปญฺจธา
    วุจฺจตานุตฺตรํ จิตฺตํ จตฺตาฬิสวธรฺติ จ ฯ

    แปลความว่า โลกุตตรจิตนั้นท่านกล่าวว่ามี ๔๐ เพราะจำแนกออกไป ๕ ประเภท
    ตามจำนวนองค์ฌานที่ประกอบ

    มีความหมายว่า โลกุตตรจิต ๘ ดวงนั้น เมื่อจำแนกออกไปตามจำนวนองค์ฌานที่ประกอบแล้ว
    ก็ได้ ๕ ประเภท คือ
    ประเภทที่ ๑ โลกุตตรจิต ๘ ดวง มีองค์ฌานประกอบ ๕ องค์ ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ( คือ โลกุตตรจิต ที่ประกอบด้วยปฐมฌาน )
    ประเภทที่ ๒ โลกุตตรจิต ๘ ดวง มีองค์ฌานประกอบ ๔ องค์ ได้แก่ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ( คือ โลกุตตรจิต ที่ประกอบด้วยทุติยฌาน )
    ประเภทที่ ๓ โลกุตตรจิต ๘ ดวง มีองค์ฌานประกอบ ๓ องค์ ได้แก่ ปีติ สุข เอกัคคตา ( คือ โลกุตตรจิต ที่ประกอบด้วยตติยฌาน )
    ประเภทที่ ๔ โลกุตตรจิต ๘ ดวง มีองค์ฌานประกอบ ๒ องค์ ได้แก่ สุข เอกัคคตา ( คือ โลกุตตรจิต ที่ประกอบด้วยจตุตถฌาน )
    ประเภทที่ ๕ โลกุตตรจิต ๘ ดวง มีองค์ฌานประกอบ ๒ องค์ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา ( คือ โลกุตตรจิต ที่ประกอบด้วยปัญจมฌาน )

    มีข้อควรสังเกตว่า ประเภทที่ ๔ กับประเภทที่ ๕ แม้ว่าจะมีองค์ฌาน ๒ องค์เท่ากันก็จริง
    แต่ว่าชนิดขององค์ฌาน นั้นไม่เหมือนกัน จึงต้องแยกเป็นคนละประเภท
    รวมเป็น ๕ ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีโลกุตตรจิต ๘ ดวง หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
    โลกุตตรจิต ๘ ดวงนั้น แต่ละดวงก็มี ๕ ประเภท ด้วยเหตุนี้โลกุตตรจิตอย่างพิสดารจึงมี ๔๐ ดวง
    อนึ่ง คาถาสังคหะนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า โลกุตตรจิตโดยพิสดารนั้นแบ่งเพียง ๕ ประเภท
    ตามอำนาจแห่งองค์ฌาน ไม่ได้แบ่งเป็น ๙ ประเภทตามจำนวนฌาน คือ รูปฌาน ๕ อรูปฌาน ๔ นั้นเลย
     
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จำแนกโลกุตตรจิตโดยองค์ฌาน
    คาถาสังคหะที่ ๑๔ แสดงว่า

    ๑๔. ฌานงฺคโยคเภเทน กเตฺวเกกนฺตุ ปญฺจธา
    วุจฺจตานุตฺตรํ จิตฺตํ จตฺตาฬิสวธรฺติ จ ฯ


    แปลความว่า โลกุตตรจิตนั้นท่านกล่าวว่ามี ๔๐ เพราะจำแนกออกไป ๕ ประเภท
    ตามจำนวนองค์ฌานที่ประกอบ

    มีความหมายว่า โลกุตตรจิต ๘ ดวงนั้น เมื่อจำแนกออกไปตามจำนวนองค์ฌานที่ประกอบแล้ว
    ก็ได้ ๕ ประเภท คือ
    ประเภทที่ ๑ โลกุตตรจิต ๘ ดวง มีองค์ฌานประกอบ ๕ องค์ ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ( คือ โลกุตตรจิต ที่ประกอบด้วยปฐมฌาน )
    ประเภทที่ ๒ โลกุตตรจิต ๘ ดวง มีองค์ฌานประกอบ ๔ องค์ ได้แก่ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ( คือ โลกุตตรจิต ที่ประกอบด้วยทุติยฌาน )
    ประเภทที่ ๓ โลกุตตรจิต ๘ ดวง มีองค์ฌานประกอบ ๓ องค์ ได้แก่ ปีติ สุข เอกัคคตา ( คือ โลกุตตรจิต ที่ประกอบด้วยตติยฌาน )
    ประเภทที่ ๔ โลกุตตรจิต ๘ ดวง มีองค์ฌานประกอบ ๒ องค์ ได้แก่ สุข เอกัคคตา ( คือ โลกุตตรจิต ที่ประกอบด้วยจตุตถฌาน )
    ประเภทที่ ๕ โลกุตตรจิต ๘ ดวง มีองค์ฌานประกอบ ๒ องค์ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา ( คือ โลกุตตรจิต ที่ประกอบด้วยปัญจมฌาน )

    มีข้อควรสังเกตว่า ประเภทที่ ๔ กับประเภทที่ ๕ แม้ว่าจะมีองค์ฌาน ๒ องค์เท่ากันก็จริง
    แต่ว่าชนิดขององค์ฌาน นั้นไม่เหมือนกัน จึงต้องแยกเป็นคนละประเภท
    รวมเป็น ๕ ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีโลกุตตรจิต ๘ ดวง หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
    โลกุตตรจิต ๘ ดวงนั้น แต่ละดวงก็มี ๕ ประเภท ด้วยเหตุนี้โลกุตตรจิตอย่างพิสดารจึงมี ๔๐ ดวง
    อนึ่ง คาถาสังคหะนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า โลกุตตรจิตโดยพิสดารนั้นแบ่งเพียง ๕ ประเภท
    ตามอำนาจแห่งองค์ฌาน ไม่ได้แบ่งเป็น ๙ ประเภทตามจำนวนฌาน คือ รูปฌาน ๕ อรูปฌาน ๔ นั้นเลย
     
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ฌาน กับ มัคคผล
    คาถาสังคหะที่ ๑๕ แสดงว่า

    ๑๕. ยถา จ รูปาวจรํ คยฺหตานุตฺตรํ ตถา
    ปฐมาทิชฺฌานเภเท อารุปฺปญฺจาปี ปญฺจเม ฯ


    แปลความว่า โลกุตตรจิตถือเหมือนว่าปฐมฌานเป็นต้นฉันใด
    แม้อรูปาวจรฌานก็ถือเหมือนว่าปัญจมฌานฉันนั้น

    มีอธิบายไว้ว่า โลกุตตรจิตของพระอริยบุคคลที่ไม่ได้ทำฌานมาก่อนเมื่อสำเร็จมัคคผล
    ย่อมมีปฐมฌานเข้าประกอบด้วย จึงจัดโลกุตตรจิตเข้าไว้ในปฐมฌานด้วย
    ส่วนบุคคลที่ได้ฌานมาก่อนแค่ฌานใด ตั้งแต่ปฐมฌานถึงปัญจมฌานเมื่อสำเร็จมัคคผล
    ก็เกิดพร้อมองค์ฌานนั้นๆ ด้วย คือ

    ผู้ได้ ปฐมฌาน สำเร็จมัคคผลประกอบด้วย ปฐมฌาน
    ผู้ได้ ทุติยฌาน สำเร็จมัคคผลประกอบด้วย ทุติยฌาน
    ผู้ได้ ตติยฌาน สำเร็จมัคคผลประกอบด้วย ตติยฌาน
    ผู้ได้ จตุตถฌาน สำเร็จมัคคผลประกอบด้วย จตุตถฌาน
    ผู้ได้ ปัญจมฌาน สำเร็จมัคคผลประกอบด้วย ปัญจมฌาน
    แม้ใน อรูปฌานทั้งหมด ก็จัดเข้าเป็นปัญจมฌาน
     
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ฌานจิต ๖๗
    คาถาสังคหะที่ ๑๖ แสดงว่า

    ๑๖. เอกาทสวิธํ ตสฺมา ปฐมาทิกมีริตํ
    ฌานเมเกกมนฺเต ตุ เตวีสติวิธํ ภเว ฯ


    แปลความว่า ปฐมฌานเป็นต้น ท่านกล่าวว่าแต่ละฌานมี ๑๑ ดวง ที่สุดคือปัญจมฌานนั้น มี ๒๓ ดวง

    ปฐมฌาน ๑๑ ได้แก่ โลกียจิต ๓ โลกุตตรจิต ๘
    ทุติยฌาน ๑๑ ได้แก่ โลกียจิต ๓ โลกุตตรจิต ๘
    ตติยฌาน ๑๑ ได้แก่ โลกียจิต ๓ โลกุตตรจิต ๘
    จตุตถฌาน ๑๑ ได้แก่ โลกียจิต ๓ โลกุตตรจิต ๘
    ปัญจมฌาน ๒๓ ได้แก่ โลกียจิต ๑๕ โลกุตตรจิต ๘
    รวมเป็นฌานจิต ๖๗ นั่นก็คือ มหัคคจิต ๒๗ ดวง และ โลกุตตรจิต พิสดาร ๔๐ ดวง
    ที่ว่า ปฐมฌาน ๑๑ ได้แก่ โลกียจิต ๓ คือ
    รูปาวจรปฐมฌานกุศลจิต ๑,
    รูปาวจรปฐมวิบากจิต ๑,
    รูปาวจรกิริยาจิต ๑
    และ โลกุตตรจิต ๘ คือ โ
    สดาปัตติมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑,
    สกาทาคามิมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑,
    อนาคามิมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑,
    อรหัตตมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
    ซึ่งได้ *ปัญจมฌาน* (*ต้นฉบับน่าจะพิมพ์ผิด? ที่ถูกควรเป็นปฐมฌาน ?)

    ทุติยฌาน ๑๑, ตติยฌาน ๑๑, จตุตถฌาน ๑๑ ก็มีนัยทำนองเดียวกันนี้
    ส่วน ปัญจมฌาน ๒๓ นั้นได้แก่ โลกียจิต ๑๕ คือ
    รูปาวจรปัญจมฌานกุศลจิต ๑,
    รูปาวจรปัญจมฌานวิบากจิต ๑,
    รูปาวจรปัญจมฌานกิริยาจิต ๑,
    อรูปาวจรกุศลจิต ๔,
    อรูปาวจรวิบากจิต ๔,
    อรูปาวจรกิริยาจิต ๔ และ
    โลกุตตรจิต ๘ ซึ่งได้ปัญจมฌาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กรกฎาคม 2013
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จำนวนกุศลจิตและวิบากจิตโดยพิสดาร
    คาถาสังตหะที่ ๑๗ แสดงว่า

    ๑๗. สตฺตตีสวิธํ ปุญฺญํ ทฺวิปญฺญาสวิธนฺตถา
    ปากมิจฺจาหุ จิตฺตานิ เอกวีสสตมฺพุธา ฯ


    แปลความว่า กุศลจิต ๓๗ และ วิบากจิต ๕๒ อย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านกล่าวอย่างพิสดาร

    อธิบายว่า ได้แสดงมาแล้วว่า กุศลจิตมี ๒๑ และ วิบากจิตมี ๓๖ นั้น
    เป็นการจำแนกของจิตโดยย่อ ๘๙ ดวงตาม ความในคาถาสังคหะที่ ๑๑
    แต่ในที่นี้ เป็นการจำแนกจิตโดยพิสดาร ๑๒๑ ดวง ดังนั้นกุศลจิตจึงมีถึง ๓๗ ดวง
    และวิบากจิตมี ๕๒ ดวง
    กุศลจิต ๓๗ ดวงนั้น ได้แก่
    มหากุศล ๘
    มหัคคตกุศล ๙
    โลกุตตรกุศล ๒๐ ( ซึ่งโดยย่อมีเพียง ๔ ดวง )
    วิบากจิต ๕๒ ดวงนั้น ได้แก่
    อกุศลวิบาก ๗
    อเหตุกกุศลวิบาก ๘
    มหาวิบาก ๘
    มหัคคตวิบาก ๙
    โลกุตตรวิบาก ๒๐ ( ซึ่งโดยย่อมีเพียง ๔ ดวง )

    อวสานคาถา

    อิจฺจานุรุทฺธรจิเต อภิธมฺมตฺถสงฺคเห
    ปฐโม ปริจฺเฉโทยํ สมาเสเนว นิฏฺฐิโต ฯ


    นี่ปริจเฉทที่ ๑ ( ชื่อ จิตตสังคหวิภาค ) ในปกรณ์อันรวบรวมซึ่งอรรถแห่งพระอภิธรรม
    ที่พระอนุรุทธาจารย์รจนาไว้ จบแล้วโดยย่อเพียงเท่านี้แล
     
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ต่อด้วยปริจเฉทที่ ๒

    เจตสิกคืออะไร

    เจตสิกคือธรรมชาติสิ่งหนึ่ง ซึ่งประกอบกับจิต และปรุงแต่งจิตให้ประพฤติเป็นไปตามนั้น
    อาการที่ประกอบกับจิตนั้น เรียกว่า เจโตยุตฺตลกฺขณํ คือมีสภาพที่ประกอบกับจิต
    บริบูรณ์ด้วยลักษณะ ๔ ประการคือ

    เอกุปฺปาท เกิดพร้อมกับจิต
    เอกนิโรธ ดับพร้อมกับจิต
    เอกาลมฺพณ มีอารมณ์เดียวกับจิต
    เอกวตฺถุก อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

    ดังมีคาถาสังคหะที่ ๑ แสดงว่า

    ๑. เอกุปฺปาทนิโรธา จ เอกาลมฺพณ วตฺถุกา
    เจโตยุตฺตา ทฺวิปญฺญาส ธมฺมา เจตสิกา มตา


    แปลความว่า สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์เดียวกับจิต
    และมีวัตถุที่อาศัยเกิดก็เป็นอัน เดียวกับจิต ธรรมชาตินั้นเรียกว่า เจตสิก มีจำนวน ๕๒ ดวง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • --_1_~1.JPG
      --_1_~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      148.4 KB
      เปิดดู:
      1,197
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กรกฎาคม 2013
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เจตสิกมี ลักษณะ ( คือคุณภาพหรือเครื่องแสดง ) ,
    รสะ ( กิจการงาน หรือหน้าที่ ) ,
    ปัจจุปัฏฐาน ( อาการปรากฏ หรือ ผล ) ,
    ปทัฏฐาน ( เหตุใกล้ให้เกิด )
    เป็น ๔ ประการ ซึ่งรวมเรียก ลักขณาทิจตุกะ นั้น ดังนี้

    จิตฺตนิสฺสิตลกฺขณํ อาศัยจิตเกิดขึ้น เป็นลักษณะ
    อวิโยคุปฺปาทนรสํ เกิดร่วมกับจิต เป็นกิจ
    เอกาลมฺพณปจฺจุปฏฺฐานํ รับอารมณ์อย่างเดียวกับจิต เป็นผล
    จิตฺตุปฺปาทปทฏฺฐานํ มีการเกิดขึ้นแห่งจิต เป็นเหตุใกล้

    อนึ่งเจตสิกนี้แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ปรุงแต่งจิต ให้จิตประพฤติเป็นไปตามลักษณะของเจตสิกก็ตาม
    แต่ก็ต้องถือว่าจิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน เพราะเจตสิกเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยจิตเกิด

    เจตสิกทั้ง ๕๒ แบ่งเป็น ๓ ประเภท

    เจตสิกทั้งหมด มีจำนวน ๕๒ ดวง ซึ่งแต่ละดวงก็มีลักษณะแตกต่างกัน ไม่เหมือนกันเลย ถึงกระนั้นก็ยัง
    แบ่งเจตสิก ๕๒ ดวงนี้ ได้เป็น ๓ ประเภท ดังมีคาถาสังคหะ แสดงว่า

    คาถาสังคหะที่ ๒ แสดงว่า

    ๒. เตรสญฺญสมานา จ จุทฺทสากุสลา ตถา
    โสภณา ปญฺจวีสาติ ทวิปญฺญาส ปวุจฺจเร ฯ


    แปลความว่า เจตสิก ๕๒ ดวง จัดเป็น ๔ ประเภท คือ
    อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ดวง
    อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง
    โสภณเจตสิก ๑๕ ดวง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กรกฎาคม 2013
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อัญญสมานาเจตสิก

    อัญญสมานาเจตสิก เป็นเจตสิกที่เสมอเหมือนกับสภาพอื่นได้ หมายความว่า
    เป็นเจตสิกที่ประกอบกับธรรมที่เป็นอกุศล หรือเป็นกุศล หรือเป็นอพยากตะได้ทุกชนิด
    เมื่อประกอบกับธรรมชนิดใด ก็มีสภาพเป็นชนิดนั้นไปด้วย กล่าวคือ
    ถ้าเกิดร่วมกับ อกุศลก็นับเป็นอกุศลไปด้วย
    ถ้าเกิดร่วมกับกุศล ก็จัดเป็นกุศลไปด้วย
    เมื่อเกิดร่วมกับอพยากตะ ก็เรียกว่าเป็นอพยากตะไปด้วย

    อัญญสมานาเจตสิก มีจำนวน ๑๓ ดวง ชื่ออะไรบ้าง มีแจ้งอยู่ที่หน้าต้นนั้นแล้ว
    ในจำนวน ๑๓ ดวงนี้ ยังจัดออกได้เป็น ๒ พวก คือ
    สัพพจิตตสาธารณเจตสิก มีจำนวน ๗ ดวง
    ปกิณณกเจตสิก มีจำนวน ๖ ดวง

    สัพพจิตตสาธารณเจตสิก
    สัพพจิตสาธารณเจตสิก เป็นเจตสิกที่สาธารณะแก่จิตทั้งหมดหมายความว่า จิตทั้งหมดซึ่งมีจำนวน
    นับอย่างย่อ ๘๙ ดวง หรือนับอย่างพิศดารก็มี ๑๒๑ ดวงนั้น เมื่อจิตดวงใดเกิดขึ้น เจตสิกทั้ง ๗ ดวงนี้
    ย่อมเกิดประกอบกับจิตนั้นพร้อมกันทั้ง ๗ ดวงเสมอไป ไม่มีเว้นเลย ดังนั้นจึงว่าเป็นเจตสิกที่สาธารณะแก่จิตทั้งหมด
    สมกับชื่อที่ว่า สัพพจิตตสาธารณเจตสิก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กรกฎาคม 2013
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สัพพจิตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง มีดังนี้

    ผัสสเจตสิก

    ๑. ผัสสเจตสิก คือ การกระทบอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    ผุสนลกฺขโณ มีการกระทบอารมณ์ เป็นลักษณะ
    สงฺฆฏฏฺนรโส มีการประสานอารมณ์ วัตถุ วิญญาณ เป็นกิจ
    สนฺนิปาตปจฺจุปฏฺฐาโน มีการประชุมพร้อมกัน เป็นผล
    อาปาถคตวิสยปทฏฺฐาโน มีอารมณ์ปรากฏ เป็นเหตุใกล้

    ความหมายของผัสสเจตสิกนี้ ไม่ได้หมายเพียงแต่ว่า ของสองสิ่งกระทบกันเท่านั้น แต่หมายถึงว่าต้องมี
    ธรรม ๓ ประการมาประชุมร่วมพร้อมกัน จึงจะเรียกว่าผัสสเจตสิก ธรรม ๓ ประการนั้น คือ อารมณ์ ๑
    วัตถุ ๑ ธรรม ๒ ประการนี้กระทบ กัน และทำให้เกิดวิญญาณอีก ๑ ด้วย ไม่ใช่แต่เพียงว่ากระทบกันเฉยๆ

    เวทนาเจตสิก

    ๒. เวทนาเจตสิก คือการเสวยอารมณ์ กล่าวอย่างธรรมดาสามัญก็คือ ความรู้สึก รู้สึกว่าสบาย
    หรือไม่สบาย แยกตาม ประเภทแห่งความเป็นใหญ่ในการรู้สึก เป็น ๕ อย่าง ได้แก่

    ก. สุขเวทนาเจตสิก คือความสุขสบายทางกาย มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
    อิฏฺฐโผฏฺฐพฺพานุภวนลกฺขขณา มีการสัมผัสถูกต้องกับอารมณ์ที่ดีเป็นลักษณะ
    สมฺปยุตตฺตานํ พยูหนรสา มีการทำให้สัมปยุตตธรรมเจริญ เป็นกิจ
    กายิกอสฺสาทปจฺจุปฏฺฐานา มีความชื่นชมยินดีทางกาย เป็นผล
    กายินฺทฺริยปทฏฺฐานา มีกายประสาท เป็นเหตุใกล้

    ข. ทุกขเวทนาเจตสิกคือความทุกข์ยากลำบากกาย มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
    อนิฏฺฐโผฏฺฐพฺพานุภวนลกฺขณา มีการสัมผัสถูกต้องกับอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นลักษณะ
    สมฺปยุตฺตานํ มิลาปนรสา มีการทำให้สัมปยุตตธรรมเศร้าหมอง เป็นกิจ
    กายิกาพาธปจฺจุปฏฺฐานา มีความอาพาธทางกาย เป็นผล
    กายินฺทริยปทฏฺฐานา มีกายประสาท เป็นเหตุใกล้

    ค. โสมนัสเวทนาเจตสิกคือความสุขความสบายใจ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
    อิฏฺฐารมฺมณานุภวนลกฺขณา มีการเสวยอารมณ์ที่ดี เป็นลักษณะ
    อิฏฺฐาการสมฺโภครสา มีการทำจิตให้อยู่ร่วมกับอารมณ์ที่ดี เป็นกิจ
    เจตสิกอสฺสาทปฏฺจุปจฺฐานา มีความชื่นชมยินดีทางใจ เป็นผล
    ปสฺสทฺธิปทฏฺฐานา มีความสงบกายสงบใจ เป็นเหตุใกล้

    ง. โทมนัสเวทนาเจตสิกคือความทุกข์ใจ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
    อนิฏฺฐารมฺมณานุภวนลกฺขณา มีการเสวยอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นลักษณะ
    อนิฏฺฐาการสมฺโภครสา มีการเสวยอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นกิจ
    เจตสิกาพาธปจฺจุปฏฐานา มีความอาพาธทางใจ เป็นผล
    หทยวตฺถุปทฏฺฐานา มีหทัยวัตถุ เป็นเหตุใกล้

    จ. อุเบกขาเจตสิก คือความรู้สึกเฉยๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
    มชฺฌตฺตเวทยิตลกฺขณา มีการเสวยอารมณ์ปานกลาง เป็นลักษณะ
    สมฺปยุตฺตานํ นาติอุปพยูหนมิลาปนรสา มีการักษาสัมปยุตตธรรม ไม่ให้เจริญ ไม่ให้เศร้าหมอง เป็นกิจ
    สนฺตภาวปจฺจุปฏฺฐานา มีความเฉยๆ เป็นผล
    นิปฺปิติกจิตฺตปทฏฺฐานา มีจิตที่ไม่ยินดีเป็นเหตุใกล้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สัญญาเจตสิก

    ๓. สัญญาเจตสิก คือ ความจำหมายอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    สญฺชานน ลกฺขณา มีความจำ เป็นลักษณะ
    ปุนสญฺชานน ปจฺจยนิมิตฺตกรณ รสา มีการหมายไว้และจำได้ เป็นกิจ
    ยถาคหิต นิมิตฺตวเสน อภินิเวสกรณ ปจฺจุปฏฺฐานา มีความจำได้ในสิ่งที่หมายไว้ เป็นผล
    ยถาอุปฏฺฐิตวิสยปทฏฺฐานา มีอารมณ์ที่ปรากฏ เป็นเหตุใกล้

    เจตนาเจตสิก

    ๔. เจตนาเจตสิก คือการแสวงหาหรือขวนขวายที่จะให้เป็นไปในอารมณ์ หรือความตั้งใจ หรือความสำเร็จ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    เจตนาภาวลกฺขณา มีการชักชวน เป็นลักษณะ
    อายูหนรสา มีการขวนขวาย เป็นกิจ
    สํวิธาน ปจฺจุปฏฺฐานา มีการจัดแจง เป็นผล
    เสสขนฺธตฺตยปทฺฐานา มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ ( คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญานขันธ์ ) เป็นเหตุใกล้

    เอกัคคตาเจตสิก

    ๕. เอกัคคตาเจตสิก คือการตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    อวิกฺเขปลกฺขณา มีการไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะ
    สหชาตานํ สมฺปิณฺฑนรสา มีการรวบรวมสหชาตธรรม เป็นกิจ
    อุปสมปจฺจุปฏฺฐานา มีความสงบ เป็นผล
    สุขปทฏฺฐานา มีสุขเวทนา เป็นเหตุใกล้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ชีวิตินทรียเจตสิก

    ๖. ชีวิตินทรียเจตสิก คือการรักษาธรรมที่เกิดร่วมด้วยตนให้ตั้งอยู่ตามอายุของตน มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
    สหชาตานํ อนุปาลนลกฺขณํ มีการเลี้ยงรักษาสหชาตธรรม เป็นลักษณะ
    เตสํ ปวตฺตนรสํ มีความตั้งอยู่และเป็นไปได้ เป็นกิจ
    เตสญฺเญวฐปนปจฺจุปฏฺฐานํ มีการทรงอยู่ได้ซึ่งสหชาตธรรม เป็นผล
    เสสขนฺธตฺตยปทฏฺฐานํ มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ ( เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญานขันธ์ ) เป็นเหตุใกล้

    มนสิการเจตสิก

    ๗. มนสิการเจตสิก คือการกระทำอารมณ์ให้แก่จิต หรือความใส่ใจในอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้

    สารณลกฺขโณ มีการทำให้สัมปยุตตธรรมใส่ใจในอารมณ์ เป็นลักษณะ
    สมฺปยุตฺตานํ อารมฺมเณ สํโยชนรโส มีการทำให้สัมปยุตตธรรมประกอบในอารมณ์ เป็นกิจ
    อารมฺมณาภิมุขีภาวปจฺจุปฏฺฐาโน มีการทำให้สัมปยุตตธรรมให้มีหน้าที่เฉพาะอารมณ์ เป็นผล
    อารมฺมณปทฏฺฐาโน มีอารมณ์ เป็นเหตุใกล้

    มนสิการเจตสิก คือ ความใส่ใจในอารมณ์นี้ ถ้ามีความใส่ใจเป็นอันดีต่ออารมณ์
    หรือใส่ใจในอารมณ์ด้วยอุบายอัน แยบคาย คือใส่ใจให้ถูกต้องตรงตามสภาวะ
    แห่งความเป็นจริงแล้ว ย่อมก่อให้เกิดจิตที่ดีงาม
    ความใส่ใจเป็นอันดีเรียกว่า โยนิโสมนสิการ
    ถ้าไม่มีความใส่ใจเป็นอันดีต่ออารมณ์ หรือใส่ใจในอารมณ์ด้วยอุบายอันไม่แยบคายแล้ว
    ย่อมก่อให้เกิดจิตที่ไม่ดี จิตที่ ชั่วที่บาป ความไม่ใส่ใจเป็นอันดีนี้ เรียกว่า อโยนิโสมนสิการ

    สาเหตุที่จะให้เกิด โยนิโสมนสิการ คือ

    ๑. ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา เคยทำบุญไว้แต่ปางก่อน
    ๒. ปฏิรูปเทสวาส อยู่ในประเทศที่สมควร คือประเทศที่มีสัปบุรุษ
    ๓. สปฺปุริสูปนิสฺสย คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ
    ๔. สทฺธมฺมสฺสวน ฟังธรรมของสัปบุรุษ
    ๕. อตฺตาสมฺนาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ

    ส่วนสาเหตุที่จะให้เกิด อโยนิโสมนสิการ ก็ตรงกันข้าม คือ

    ๑. ปุพฺเพ อกตปุญฺญตา ไม่ได้สร้างสม บุญไว้แต่ปางก่อน
    ๒. อปฺปฏิรูปเทสวาส อยู่ในประเทศที่ไม่สมควร (คือไม่มีสัปบุรุษ)
    ๓. อสปฺปุริสูปนิสฺสย ไม่ได้คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ
    ๔. อสทฺธมฺมสฺสวน ไม่ได้ฟังธรรมของสัปบุรุษ
    ๕. อตฺตมิจฉาปณิธิ ตั้งตนไว้ผิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กรกฎาคม 2013
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ปกิณณกเจตสิก

    ปกิณณกเจตสิก เป็นเจตสิกเบ็ดเตล็ด ไม่ประกอบกับจิตทั่วไปแต่ประกอบได้เป็นบางดวง
    ปกิณณกเจตสิกมี ๖ ดวง ดังต่อไปนี้

    วิตกเจตสิก

    ๑. วิตกเจตสิก คือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ กล่าวอย่างธรรมดาสามัญ ก็คือการคิด การนึกถึงอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    อารมฺมเณ จิตฺตสฺส อภินิโรปนกฺขโณ มีการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เป็นลักษณะ
    อาหนปริยาหนรโส มีการกระทำให้จิตกระทบอารมณ์บ่อยๆ เป็นกิจ
    อารมฺมเณ จิตฺตสฺส อานยนปจฺจุปฏฺฐาโน มีจิตที่ทรงอยู่ในอารมณ์ เป็นผล
    เสสสขนฺธตฺตยปทฏฺฐาโน มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์) เป็นเหตุใกล้

    วิตกเจตสิก คือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์นี้ มีความหมายใกล้เคียงกับเจตนาเจตสิก ความตั้งใจในอารมณ์
    และมนสิการ เจตสิก ความใส่ใจในอารมณ์ เพื่อให้เกิดความแตกต่างกัน จึงมีอุปมาด้วยเรือแข่งว่า
    เจตนาเจตสิก อุปมาดังคนพายหัว ต้องคว้าธงให้ได้ อันหมายถึงความสำเร็จ คือชัยชนะ
    มนสิการเจตสิก อุปมาดังคนถือท้าย ต้องคัดวาดเรือให้ตรงไปยังธงอันเป็นหลักชัย
    วิตกเจตสิก อุปมาดังคนพายกลางลำ มุ่งหน้าจ้ำพายไปแต่อย่างเดียว

    วิจารเจตสิก

    ๒. วิจารเจตสิก คือ การประคองจิตให้อยู่ในอารมณ์ กล่าวอย่างธรรมดาสามัญก็ว่า คิดบ่อยๆ นั่นเอง
    มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    อารมฺมณานุมชฺชนลกฺขโณ มีการพิจารณาอารมณ์บ่อยๆ เป็นลักษณะ
    ตตฺถ สหชาตานุโยชนรโส มีการทำให้สหชาตธรรมประกอบในอารมณ์ เป็นกิจ
    จิตฺตอนุปฺปพนฺธปจฺจุปฏฺฐาโน มีการตกแต่งจิตให้อยู่ในอารมณ์ เป็นผล
    เสสขนฺธตฺตยปทฏฺฐาโน มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ ( เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ) เป็นเหตุใกล้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กรกฎาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...