จิตคืออะไร?จิตมีชื่อเรียกถึง ๑๐ ชื่อ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 1 กรกฎาคม 2013.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    กายกัมมัญญตาเจตสิก และ จิตตกัมมัญญตาเจตสิก

    ๑๔. กายกัมมัญญตาเจตสิก คือ เจตสิกที่ควรแก่การงานอันเป็นกุสล ความควรแก่การงานของเจตสิก
    ๑๕. จิตตกัมมัญญตาเจตสิก คือเจตสิกที่ทำให้จิตควรแก่การงานอันเป็นกุสล การทำให้จิตควรแก่งาน
    เจตสิก ๒ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    กายจิตฺตากมฺมญฺญภาววูปสมลกฺขณา มีการทำให้เจตสิกทำให้จิตสงบจากความไม่ควรแก่การงาน เป็นลักษณะ

    กายจิตฺตา กมฺมญฺญภาว นิมฺมทฺทนรสา มีการทำลายความไม่ควรแก่การงานของเจตสิก ของจิต เป็นกิจ
    กายจิตฺตานํ อารมฺมณกรณสมฺปตฺติปจฺจุปฏฺฐานา ทำให้เจตสิก ทำให้จิตมีอารมณ์สมควรแก่การงาน เป็นผล
    กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีเจตสิก มีจิต เป็นเหตุใกล้

    จิตที่ไม่ควรแก่การงาน จะใช้จิตทำสมาธิก็มีผลน้อย เช่นจิตที่มีร่างกายอ่อนเพลีย หรือป่วย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง
    เมื่อร่างกายไม่สะบายการทำสมาธิก็ได้ผลน้อยเสียเวลาทำสมาธิ ๒ ชั่วโมง ก็ทำไม่ได้ เพราะจิตไม่มีกัมมัญญตาเจตสิกประกอบ
    จิตและเจตสิกที่ไม่ควรแก่การงาน คือจิตและเจตสิกที่ถูกนิวรณ์ครอบงำ นิวรณ์เปรียบเหมือน ตะปูตรึงจิต
    หรือสนิมกินเนื้อเหล็กทำให้เหล็กกร่อน นิวรณ์ทั้ง ๕ อันมี กามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์
    อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ เมื่อนิวรณ์ครอบงำจิตแล้วจิตก็ไม่ควรแก่การงาน ต้องละนิวรณ์ให้ได้ก่อน แล้วจึงใช้จิตทำงาน
    เมื่อจิตมีกัมมัญญตาเจตสิกประกอบแล้ว การทำสมาธิก็จะได้ผลในชั่วระยะเวลาเพียงเล็กน้อย
     
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    กายปาคุญญตาเจตสิก และ จิตตปาคุญญตาเจตสิก

    ๑๖. กายปาคุญญตาเจตสิก คือ เจตสิกที่ทำให้เจตสิกคล่องแคล่วต่อกุสล ความคล่องแคล่วของเจตสิกในกุสล
    ๑๗. จิตตปาคุญญตาเจตสิก คือเจตสิกที่ทำให้จิตคล่องแคล่วต่อกุสล การทำให้จิตคล่องแคล่วในกุสล
    เจตสิก ๒ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    กายจิตฺตานํ อเคลญฺญภาวลกฺขณา มีความไม่อาพาธของเจตสิก ของจิต เป็นลักษณะ
    กายจิตฺตเคลญฺญนิมฺมทฺทนรสา มีการทำลายความอาพาธ ของเจตสิก ของจิต เป็นกิจ
    นิราทีนวปจฺจุปฏฺฐานา มีความปราศจากโทษ เป็นผล
    กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีเจตสิก มีจิต เป็นเหตุใกล้

    กายุชุกตาเจตสิก และ จิตตุชุกตาเจตสิก

    ๑๘. กายุชุกตาเจตสิก คือเจตสิกที่ทำให้เจตสิกมุ่งตรงต่อกุสล ความมุ่งตรงของเจตสิกต่อกุสล
    ๑๙. จิตตุชุกตาเจตสิก คือ เจตสิกที่ทำให้จิตมุ่งตรงต่อกุสล การทำให้จิตมุ่งตรงต่อกุสล
    เจตสิก ๒ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    กายจิตฺตอชฺชวลกฺขณา มีความซื่อตรงของเจตสิก ของจิต เป็นลักษณะ
    กายจิตฺตกุฏิลภาวนิมฺมทฺทนรสา มีการทำลายความไม่ซื่อตรงของเจตสิก ของจิต เป็นกิจ
    อชิมฺหตาปปจฺจุปฏฺฐานา มีความซื่อตรงของเจตสิก ของจิต เป็นผล
    กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีเจตสิก มีจิต เป็นเหตุใกล้
     
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    วิรตีเจตสิก

    วิรตีเจตสิก มี ๓ ดวง คือ สัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตเจตสิก และสัมมาอาชีวะเจตสิก

    สัมมาวาจาเจตสิก

    ๑. สัมมาวาจาเจตสิก คือ การพูดชอบ พูดสิ่งที่เป็นกุสล เว้นจากวจีทุจริตทั้ง ๔ มี มุสาวาท พูดปด ปิสุณาวาท
    พูดส่อเสียด ผรุสวาท พูดหยาบคาย สัมผัปปลาป พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ ทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับอาชีพ

    สัมมาวาจามี ๓ ประการ

    ก. กถาสัมมาวาจา ได้แก่ การกล่าววาจาที่ดี มีศีลธรรม เพื่อหวังประโยชน์แก่ผู้ฟัง เช่น อาจารย์สอนศิษย์ เป็นต้น
    ข. เจตนาสัมมาวาจา ได้แก่ ผู้มีเจตนาสมาทานศีล ว่าจะละเว้นวจีทุจริต มีการไม่กล่าวมุสา เป็นต้น
    ค. วิรตีสัมมาวาจา ได้แก่ การเว้นจากวาจาทุจริตทั้ง ๔ มีเว้นจากมุสาวาท ปิสุณาวาท ผรุสวาท สัมผัปปลาป ในเมื่อมีอารมณ์
    ที่ควรจะล่วงปรากฏอยู่เฉพาะหน้า (วิรมิตัพพวัตถุ) (ไม่มีความตั้งใจไว้ก่อนเมื่อประสบกับอารมณ์เฉพาะหน้าจึงต้องงดเว้น)

    สัมมากัมมันตเจตสิก

    ๒. สัมมากัมมันตเจตสิก คือ ประกอบการงานชอบ การงานที่ไม่ทุจริต เว้นจากกายทุจริตทั้ง ๓ มี ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
    และล่วงประเวณี เป็นการกระทำปกติ คือ เป็นการทำงานปกติประจำวัน ไม่เกี่ยวกับอาชีพ

    สัมมากัมมันตะ มี ๓ ประการ

    ก. ยถาพลังสัมมากัมมันตะ ได้แก่ การกระทำการงานโดยชอบ การงานที่ไม่ทุจริต มีการประกอบกุสล เป็นต้น ตามกำลังของตน
    ข. เจตนาสัมมากัมมันตะ ได้แก่เจตนาที่ตั้งใจสมาทานว่าจะละเว้นกายทุจริต มีการไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงประเวณี
    ค. วิรตีสัมมากัมมันตะ ได้แก่ การเว้นจากกายทุจริตทั้ง ๓ มีเว้นการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การล่วงประเวณี ในเมื่อมีอารมณ์ที่ควร
    จะล่วงมาปรากฏอยู่เฉพาะหน้า (วิรมิตัพพวัตถุ) หมายความว่าไม่ได้ตั้งใจไว้ก่อนว่าจะงดเว้น แต่มาประสบกับอารมณ์จึงต้องงดเว้นเฉพาะหน้า

    สัมมาอาชีวเจตสิก

    ๓. สัมมาอาชีวเจตสิก คือ ความเป็นอยู่ชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ประกอบอาชีพที่สุจริต
    เว้นจากทุจริตทั้ง ๗ คือ เว้นกายทุจริต ๓ และเว้นวจีทุจริต ๔ ที่เกี่ยวกับอาชีพ

    สัมมาอาชีวะ มี ๒ ประการ

    ก. วิริยสัมมาอาชีวะ ได้แก่ความเพียรในการกระทำการงานหาเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม
    ข. วิรตีสัมมาอาชีวะ ได้แก่การงดเว้นจากกายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ ที่เกี่ยวแก่อาชีพ
    เจตสิก ๓ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    กายทุจฺจริตาทิวตฺถุนํ อวีติกฺกมลกฺขณามีการไม่ล่วงกายทุจริต เป็นต้น เป็นลักษณะ
    กายทุจฺจริตวตฺถุโตสงฺโกจนรสา มีการเว้นจากกายทุจริต เป็นต้น เป็นกิจ
    อกริยปจฺจุปฏฺฐานา มีการไม่ทุจริต เป็นผล
    สทฺธาหิโรตฺตปฺปาทิคุณปทฏฺฐานา มีคุณธรรมคือ สัทธา หิริโอตตัปป เป็นต้น เป็นเหตุใกล้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กรกฎาคม 2013
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อัปปมัญญาเจตสิก

    อัปปมัญญาเจตสิก มี ๒ ดวง ได้แก่ กรุณาเจตสิก และมุทิตาเจตสิก

    กรุณาเจตสิก

    ๑. กรุณาเจตสิก คือ มีความสงสาร อยากจะช่วยเหลือสัตว์ที่กำลังได้รับทุกข์อยู่ หรือที่จะได้รับทุกข์ในภายหน้า มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    ทุกฺขาปนยนาการปวตฺติลกฺขณา มีการได้เห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ ย่อมมีความสงสาร เป็นลักษณะ
    ปรทุกฺขาสหนรสา มีการไม่ชอบเห็นทุกข์ของผู้อื่น เป็นกิจ
    อวิหึสาปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่เบียดเบียน เป็นผล
    ทุกฺขาภิภูตานํ อนาถภาวทสฺสน ปทฏฺฐานา มีการได้เห็นสัตว์อนาถา อันถูกทุกข์ ครอบงำ เป็นเหตุใกล้

    อวิหึสา = ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
    กรุณา = ยังประสงค์ช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์อีกด้วย
    โสก = เราสูญเสียของที่เรารัก ก็โศกเศร้า
    กรุณา = เห็นผู้อื่นสูญเสียสิ่งที่เขารัก เราก็ช่วยให้เขาพ้นทุกข์จากการเศร้าโศก

    เมตตา กรุณา เป็น อพยาปาท
    มุทิตา อุเบกขา เป็น อนภิชฌา (ไม่คิดจ้องจะเอาของเขา)

    มุทิตาเจตสิก

    ๒. มุทิตาเจตสิก คือ พลอยยินดีด้วยในเมื่อรู้ว่าเขามีความสุข มีความยินดีต่อสัตว์ที่ได้สุข มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    ปโมทนลกฺขณา มีความยินดีด้วยในความสุขของผู้อื่น เป็นลักษณะ
    อนิสฺสายนรสา มีการไม่อิสสาริษยา เป็นกิจ
    อรติวิฆาตปจฺจุปฏฺฐานา มีความปรารถนาให้ผู้อื่นเจริญ เป็นผล
    สตฺตานํ สมฺปตฺติทสฺสนปทฏฺฐานา มีการได้เห็นสัตว์มีสมบัติ เป็นเหตุใกล้
     
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ปัญญาเจตสิก

    ปัญญาเจตสิก มีแต่ดวงเดียวไม่มีพวก มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปัญญินทรียเจตสิก
    ปัญญาเจตสิก คือความรู้ในเหตุผลแห่งความจริงของสภาวธรรมและทำลายความเห็นผิด
    หรือเป็นเจตสิกที่มีความรู้เป็นใหญ่ ปกครองซึ่งสหชาตธรรมทั้งปวง มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    ธมฺมสภาวปฏิเวธลกฺขณา มีความรู้แจ้งซึ่งสภาวธรรม เป็นลักษณะ
    โมหนฺธการวิทฺธํสนรสา มีการกำจัดมืด เป็นกิจ
    อสมฺโมหปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่หลงผิด หรือไม่เห็นผิด เป็นผล
    สมาธิปทฏฺฐานา มีสมาธิ เป็นเหตุใกล้

    ปัญญานี้ มีอรรถาธิบายอย่างกว้างขวาง และแจกแจงได้หลายนัย หลายกระบวน เป็นจำนวนมากมาย
    แต่ในที่นี้จะกล่าวย่อ ๆ พอให้รู้เค้า จึงขอแจกแจงว่า ปัญญามีเพียง ๓ นัย เท่านั้น คือ
    ก. กัมมสกตาปัญญา ปัญญาที่รู้ว่า กรรมเป็นสมบัติของตน
    ข. วิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่รู้ขันธ์ ๕ รูปนาม เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ค. โลกุตตรปัญญา ปัญญาที่รู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจจ ๔ ปัญญาที่รู้เห็นความที่สัตว์มีกรรมเป็นสมบัติของตน อันเรียกว่า

    กัมมสกตาปัญญา นี้ มี ๑๐ ประการ คือ

    (๑) อตฺถิทินนํ ปัญญารู้เห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้ว ย่อมมีผล
    (๒) อตฺยิฏฐํ ปัญญารู้เห็นว่า การบูชาย่อมมีผล
    (๓) อตฺถิหุตํ ปัญญารู้เห็นว่า การบวงสรวงเทวดา ย่อมมีผล
    (๔) อตฺถิกมฺมานํ ผลํวิปาโก ปัญญารู้เห็นว่า ผลวิบากของกรรมดีและชั่วมีอยู่ (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
    ทั้งทางตรงและทางอ้อม)
    (๕) อตฺถิอยํโลโก ปัญญารู้เห็นว่า โลกนี้มีอยู่ (ผู้จะมาเกิดนั้นมี)
    (๖) อตฺถิปโรโลโก ปัญญารู้เห็นว่า โลกหน้ามีอยู่ (ผู้จะไปเกิดนั้นมี)
    (๗) อตฺถิมาตา ปัญญารู้เห็นว่า มารดามีอยู่ (การทำดี ทำชั่วต่อมารดาย่อมจะได้รับผล)
    (๘) อตฺถิปิตา ปัญญารู้เห็นว่า บิดามีอยู่ (การทำดี ทำชั่วต่อบิดาย่อมจะได้รับผล)
    (๙) อตฺถิ สตฺตโอปปาติกา ปัญญารู้เห็นว่าโอปปาติกสัตว์นั้นมีอยู่ (สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เทวดา พรหมนั้นมี)
    (๑๐) อตฺถิ โลเกสมณพฺรหฺมณา สมฺมาปฏิปนฺนา ปัญญารู้เห็นว่าสมณพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
    ประกอบด้วยความรู้ยิ่ง เห็นจริง ประจักษ์ซึ่งโลกนี้ และโลกหน้าด้วยตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้นั้นมีอยู่ในโลกนี้
     
  6. เทวะทะตะ

    เทวะทะตะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    452
    ค่าพลัง:
    +172
    จิตคือ อวิชชา คือ วิญญาณ สัญญา สังขาร เวทนา รูป นั่นเอง
    ไม่รู้จะเถียงกันไปถึงไหน แน่จริงก็ปล่อยวาง จิต ไม่ยึดมั่นถือมั่นในจิตให้ได้ก่อนเถอะครับ
    ก่อนที่จะเอามาเถียงกัน แบบไม่รู้จบแบบนี้

    นี่แหล่ะ ผลของคนที่มีจิตอวิชชา ก็จะเถียงกันหาความจริง แต่ไม่ยอมลงมือ ค้นหาความจริง ได้แต่ อวดรู้ ว่าตนเองรู้ถูก กันอยู่แบบนี้ ทั้ง ทำมาพูด กับ ลุงกำก่า
     
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สัมปโยคนัย

    สัมปโยค แปลว่า ประกอบพร้อม ในที่นี้หมายความว่า เจตสิกแต่ละดวงนั้น ดวงหนึ่ง ๆ
    ประกอบกับจิตได้กี่ดวง คือจิตใดบ้าง ซึ่งจะได้แสดงต่อไปนี้ ดังมีคาถาสังคหะ ( เป็นคาถาที่ ๓) ว่า

    ๓. เตสํ จิตฺตาวิยุตฺตานํ ยถาโยคมิโต ปรํ
    จิตฺตุปฺปาเทสุ ปจฺเจกํ สมฺปโยโค ปวุจฺจติ ฯ


    แปลความว่า เบื้องหน้าแต่นี้จะแสดงสัมปโยคะ แห่งธรรม (คือเจตสิก) เหล่านี้ อันประกอบกับจิต
    เฉพาะในจิตตุปปาทะ (จิตที่เกิดขึ้น) ดวงหนึ่ง ๆ โดยสมควรแก่ที่จะประกอบได้

    สัมปโยคนัยแห่งอัญญสมานาเจตสิก

    ๔. สตฺต สพฺพตฺถ ยุชฺชนติ ยถาโยคํ ปกิณฺณกา
    จุทฺทสากุเลเสฺวว โสภเณเสฺวว โสภณา ฯ


    แปลความว่า

    ๑. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (๗ ดวง) ประกอบในจิตได้ทุกดวง(โดยย่อจิตมี ๘๙ ดวง)
    ๒. ปกิณณกเจตสิก (๖ ดวง) ประกอบกับจิตได้เฉพาะแต่ที่ควร (ประกอบ ได้ บางดวง)
    ๓. อกุสลเจตสิก (๑๔ ดวง) ประกอบได้เฉพาะในอกุสลจิต ๑๒ ดวงเท่านั้น
    ๔. โสภณเจตสิก (๒๕ ดวง) ประกอบได้เฉพาะโสภณจิตเท่านั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 52.PNG
      52.PNG
      ขนาดไฟล์:
      54.3 KB
      เปิดดู:
      1,205
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กรกฎาคม 2013
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๕. ฉสฏฺสี ปญฺจปญฺญฺาส เอกาทส จ โสฬส
    สตฺตติ วีสติ เจว ปกิณฺณกวิวชฺชิตา ฯ


    แปลความว่าจิตที่ปกิณณกเจตสิกไม่ประกอบ มีจำนวนตามลำดับดังนี้

    วิตก ไม่ประกอบกับจิต ๖๖ ดวง
    วิจาร ไม่ประกอบกับจิต ๕๕ ดวง
    อธิโมกข ไม่ประกอบกับจิต ๑๑ ดวง
    วิริยะ ไม่ประกอบกับจิต ๑๖ ดวง
    ปีติ ไม่ประกอบกับจิต ๗๐ ดวง
    ฉันทะ ไม่ประกอบกับจิต ๒๐ ดวง

    ๖. ปญฺจปญฺญาส ฉสฎฺฐิ ฏฐสตฺตติ ติสตฺตติ
    เอกปญฺญาส เจกูน สตฺตติ สปกิณฺณกา ฯ


    แปลความว่าจิตที่ปกิณณกเจตสิกย่อมเข้าประกอบ มีจำนวนตามลำดับดังนี้

    วิตก ย่อมเข้าประกอบกับจิต ๕๕ ดวง
    วิจาร ย่อมเข้าประกอบกับจิต ๖๖ ดวง
    อธิโมกข ย่อมเข้าประกอบกับจิต ๗๘ ดวง
    วิริยะ ย่อมเข้าประกอบกับจิต ๗๓ ดวง
    ปีติ ย่อมเข้าประกอบกับจิต ๕๑ ดวง
    ฉันทะ ย่อมเข้าประกอบกับจิต ๖๙ ดวง
     
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อธิบาย

    รวมความว่า อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ดวง กล่าวโดยสัมปโยคนัย
    คือการประกอบกับจิตต่าง ๆ ได้นั้น แบ่งออกเป็น ๗ นัย คือ

    นัยที่ ๑ สัพพจิตตสาธารณ ๗ ดวง คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา
    ชีวิตินทรีย และ มนสิการ นี้ประกอบกับจิตได้ทั้งหมดทุกดวง คือทั้ง ๘๙ ดวง
    หรือนับอย่างพิศดาร ก็ทั้ง ๑๒๑ ดวง ไม่มีเว้นเลย
    นัยที่ ๒ วิตกเจตสิก ประกอบกับจิต ๕๕ ดวง แต่ไม่ประกอบกับจิต ๖๖ ดวง
    นัยที่ ๓ วิจารเจตสิก ประกอบกับจิต ๖๖ ดวง ประกอบกับจิต ๕๕ ดวง
    นัยที่ ๔ อธิโมกขเจตสิก ประกอบกับจิต ๗๘ ดวง ประกอบกับจิต ๑๑ ดวง
    นัยที่ ๕ วิริยเจตสิก ประกอบกับจิต ๗๓ ดวง ประกอบกับจิต ๑๖ ดวง
    นัยที่ ๖ ปีติเจตสิก ประกอบกับจิต ๕๑ ดวง ประกอบกับจิต ๗๐ ดวง
    นัยที่ ๗ ฉันทเจตสิก ประกอบกับจิต ๖๙ ดวง ประกอบกับจิต ๒๐ ดวง

    วิตกเจตสิก

    ประกอบกับจิต ๕๕ ดวง คือ................ ไม่ประกอบกับจิต ๖๖ ดวง คือ

    อกุสลจิต ๑๒ .................................ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐
    อเหตุกจิต ๘ (เว้นทวิปัญจ ๑๐) ....................ทุติยฌาน ๑๑

    กามโสภณ ๒๔ .......................................ตติยฌาน ๑๑
    ปฐมฌานจิต ๑๑ .....................................จตุตถฌาน ๑๑
    .......................................................ปัญจมฌาน ๒๓
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กรกฎาคม 2013
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    วิจารเจตสิก

    ประกอบกับจิตได้ ๖๖ ดวง คือ ไม่ประกอบกับจิต ๕๕ ดวง คือ

    อกุสลจิต ๑๒ .........................ทวิปัญจวิญญาน ๑๐
    อเหตุกจิต ๘ (เว้นทวิปัญจ ๑๐) ..........ตติยฌาน ๑๑
    กามโสภณ ๒๔ ..........................จตุตถฌาน ๑๑
    ปฐมฌาน ๑๑ ...........................ปัญจมฌาน ๒๓
    ................................................ทุติยฌาน ๑๑
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กรกฎาคม 2013
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อธิโมกขเจตสิก

    ประกอบกับจิตได้ ๗๘ ดวง คือ ......ไม่ประกอบกับจิต ๑๑ ดวง คือ

    อกุสลจิต ๑๑ (เว้นวิจิกิจฉาจิต)......วิจิกิจฉาสหคตจิต ๑
    อเหตุกจิต ๘(เว้นทวิปัญจ ๑๐) ......ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐
    กามโสภณ ๒๔
    มหัคคตจิต ๒๗
    โลกุตตรจิต ๘
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กรกฎาคม 2013
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    วิริยเจตสิก

    ประกอบกับจิต ได้ ๗๓ ดวง คือ ........ไม่ประกอบกับจิต ๑๖ ดวง คือ

    อกุสลจิต ๑๒ ............................อเหตุกจิต ๑๖ (เว้นมโนทวาราวัชชนจิต ๑ กับหสิตุปปาทจิต ๑ )
    .........................................หมายเหตุ จิต ๑๖ ดวง ที่วิริยเจตสิก
    .........................................ไม่ประกอบนี้มีชื่อเรียกว่า อวีริยจิต ๑๖
    มโนทวาราวัชชนจิต ๑

    หสิตุปปาทจิต ๑

    กามโสภณ ๒๔

    มหัคคตจิต ๒๗

    โลกุตตรจิต ๘
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 กรกฎาคม 2013
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ปีติเจตสิก

    ประกอบกับจิตได้ ๕๑ ดวง คือ .................ไม่ประกอบกับจิต ๗๐ ดวง คือ

    โสมนัสโลภมูลจิต ๔ ....................................อุเบกขาโลภมูลจิต ๔

    โสมนัสสันตีรณจิต ๑ .............................................โทสมูลจิต ๒
    โสมนัสหสิตุปปาทจิต ๑ ..........................................โมหมูลจิต ๒
    โสมนัสกามโสภณจิต ๑๒ ..............................อุเบกขาอเหตุกจิต ๑๔
    ปฐมฌานจิต ๑๑ ............................................กายวิญญาณจิต ๒

    ทุติยฌานจิต ๑๑ ...................................อุเบกขากามโสภณจิต ๑๒
    ตติยฌานจิต ๑๑ .............................................จตุตถฌานจิต ๑๑
    ...............................................................ปัญจมฌานจิต ๒๓
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 กรกฎาคม 2013
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ฉันทเจตสิก

    ประกอบกับจิตได้ ๖๙ ดวง คือ............ ไม่ประกอบกับจิต ๒๐ ดวง คือ
    โลภมูลจิต ๘ ............................................โมหมูลจิต ๒
    โทสมูลจิต ๒ ............................................อเหตุกจิต ๑๘
    กามโสภณจิต ๒๔
    มหัคคตจิต ๒๗
    โลกุตตรจิต ๘
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 กรกฎาคม 2013
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สัมปโยคนัยแห่งอกุสลเจตสิก

    ๗. สพฺพาปุญฺเญสุ จตฺตาโร โลภมูเล ตโย คตา
    โทสมูเลสุ จตฺตาโร สสงฺขาเร ทวยํ ตถา ฯ


    แปลความว่า เจตสิก ๔ ดวง ย่อมประกอบกับ อกุศลจิตทั้งหลาย
    เจตสิก ๓ ดวง ย่อมประกอบกับ โลภมูลจิต
    เจตสิก ๔ ดวง ย่อมประกอบกับ โทสมูลจิต
    เจตสิก ๒ ดวง ย่อมประกอบกับ สสังขาริกจิต

    ๘. วิจิกิจฺฉา วิจิกิจฺฉา จิตฺเต จาติ จตุทฺทส
    ทฺวาทสากุสเลเสฺวว สมฺปยุชฺชนฺติ ปญฺจธา ฯ


    แปลความว่า วิจิกิจฉาเจตสิก ย่อมประกอบกับวิจิกิจฉาจิต (เท่านั้น)
    อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง ย่อมประกอบกับอกุศลจิต ๑๒ ดวง โดยสัมปโยคนัย ๕ อย่าง ดังนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อธิบาย
    รวมความว่า อกุสลเจตสิก ๑๔ ดวง
    กล่าวโดยสัมปโยคนัย คือการประกอบกับอกุสลจิตนั้นแบ่งออกเป็น ๕ นัย คือ

    นัยที่ ๑ เจตสิก ๔ ดวง คือ
    โมหเจตสิก อหิริกเจตสิก อโนตตัปปเจตสิก และอุทธัจจเจตสิก
    ซึ่งมีชื่อรวมเรียกว่า โมจตุกะ หรือสัพพากุสลสาธารณเจตสิกนั้น
    ประกอบกับอกุสลจิตได้ทั้งหมด คือทั้ง ๑๒ ดวง


    นัยที่ ๒ เจตสิก ๓ ดวงคือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก และ มานเจตสิก
    ซึ่งมีชื่อรวมเรียกว่า โลติกะ นั้น
    โลภเจตสิก ประกอบกับโลภมูลจิตได้ทั้งหมด คือ ทั้ง ๘ ดวง
    ทิฏฐิเจตสิก ประกอบกับโลภมูลจิตได้ เฉพาะแต่ที่เป็นทิฏฐิคตสัมป ยุตตจิต ๔ ดวง
    มานเจตสิก ก็ประกอบกับโลภมูลจิตได้เฉพาะที่เป็นทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ ดวง


    นัยที่ ๓ เจตสิก ๔ ดวง คือ โทสเจตสิก อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก และกุกกุจจเจตสิก
    ซึ่งมีชื่อรวมเรียกว่า โทจตุกะ นั้น ย่อมประกอบกับโทสมูลจิต ๒ ดวง


    นัยที่ ๔ เจตสิก ๒ ดวง คือ ถีนเจตสิกและมีทธเจตสิก ซึ่งมีชื่อรวมเรียกว่า ถีทุกะ นั้น
    ย่อมประกอบกับสสังขาริกในอกุสลจิต อันมีจำนวน ๕ ดวง ได้แก่ โลภมูลจิต
    ที่เป็นสสังขาริก ๔ ดวง และโทสมูลจิต ที่เป็นสสังขาริก ๑ ดวง


    นัยที่ ๕ เจตสิก ๑ ดวง คือวิจิกิจฉาเจตสิก ย่อมประกอบกับวิจิกิจฉาสหคตจิต
    ได้เฉพาะดวงเดียวเท่านั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 กรกฎาคม 2013
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สัมปโยคนัยแห่งโสภณเจตสิก

    ๙. เอกูนวีสติธมฺมา ชายนฺเตกูนสฏฺฐิสุ
    ตโย โสฬส จิตฺเตสุ อฏฺฐวีสติตํ ทฺวยํ ฯ


    แปลความว่า ธรรม ๑๙ ดวง ย่อมประกอบกับจิต ๕๙ ดวง
    ธรรม ๓ ดวง ย่อมประกอบกับจิต ๑๖ ดวง
    ธรรม ๒ ดวง ย่อมประกอบกับจิต ๒๘ ดวง

    ๑๐. ปญฺญา ปกาสิตา สตฺต จตฺตาฬีส วิเธสุปิ
    สมฺปยุตฺตา จตุเธวํ โสภเณเสสฺวว โสภณา ฯ


    แปลความว่า ปัญญาเจตสิก ย่อมประกอบกับจิต ๔๗ ดวง โสภณเจตสิก
    ย่อมประกอบกับโสภณจิตโดยสัมปโยคนัย ๔ อย่าง ดังนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 52.PNG
      52.PNG
      ขนาดไฟล์:
      54.3 KB
      เปิดดู:
      378
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อธิบาย

    โสภณเจตสิก ๒๕ ดวง ย่อมประกอบได้เฉพาะโสภณจิตเท่านั้น
    และก็มิได้ประกอบพร้อมกันทั้งหมด ดังนั้นจึงแสดงสัมปโยคนัยแห่งโสภณเจตสิก
    ไว้เป็น ๔ นัย คือ

    นัยที่ ๑ ธรรม ๑๙ ดวงนั้น หมายถึงโสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง
    ย่อมเข้าประกอบกับโสภณจิตทั้ง ๕๙ ดวง หรือนับอย่างพิศดารก็ทั้ง ๙๑ ดวง
    กล่าวคือ โสภณจิตทั้ง ๕๙ หรือ ๙๑ ดวง ไม่ว่าจะเป็นจิตดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น
    โสภณสาธารณเจตสิกก็จะเข้าประกอบพร้อมกันทันทีทั้ง ๑๙ ดวง ไม่มีเว้นเลยโสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง
    ได้แก่ สัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ ตัตรมัชฌัตตตา
    กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา
    กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา


    นัยที่ ๒ ธรรม ๓ ดวง ย่อมประกอบกับจิต ๑๖ ดวง นั้น หมายถึงวิรตีเจตสิก ๓ ดวง
    คือสัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตเจตสิก และสัมมาอาชีวเจตสิก ย่อมประกอบได้กับจิต ๑๖ ดวง ได้แก่
    มหากุสลจิต ๘ โลกุตตรจิต ๘


    นัยที่ ๓ ธรรม ๒ ดวง ย่อมประกอบกับจิต ๒๘ ดวง นั้น หมายถึงอัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวง คือ
    กรุณาเจตสิก และมุทิตาเจตสิก ย่อมประกอบกับจิต ๒๘ ดวง ซึ่งได้แก่ มหากุสลจิต ๘
    มหากิริยาจิต ๘ รูปาวจรจิต ๑๒ (เว้นรูปาวจรปัญจมฌานจิต ๓)



    นัยที่ ๔ ปัญญาเจตสิก ย่อมประกอบกับจิต ๔๗ ดวง ซึ่งได้แก่
    กามาวจรญาณสัมปยุตตจิต ๑๒ มหัคคตจิต ๒๗ โลกุตตรจิต ๘
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อนิยตโยคีเจตสิก

    อนิยตโยคีเจตสิก คือเจตสิกที่ประกอบไม่แน่นอน หมายความว่าเจตสิก
    นั้นบางทีก็ประกอบ บางทีก็ไม่ประกอบ

    ๑๑. อิสฺสมจฺฉเรกุกฺกุจฺจ วิรตี กรุณา ทโย
    นานา กทาจิ มาโนจ ถีนมิทฺธํ ตถา สห ฯ


    แปลความว่า อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ วิรตี(๓ ดวง) กรุณา มุทิตา มานะ ถีนะ มิทธะ
    ย่อมประกอบกับจิตเป็นครั้งคราวไม่พร้อมกัน (ทั้ง ๑๑ ดวงนี้ เป็น อนิยตโยคีเจตสิก)

    ๑๒. ยถาวุตฺตานุสาเรน เสสา นิยตโยคิโน
    สงฺคหญจ ปวกฺขามิ เตสนฺทานิ ยถารหํ ฯ


    แปลความว่า อาศัยนัยที่กล่าวมานี้ เจตสิกที่เหลือ พึงรู้ว่าเป็น นิยตโยคีเจตสิก
    เจตสิกที่เหลือ (๔๑ ดวง) เป็นนิยตโยคีเจตสิก (ประกอบได้แน่นอน) ต่อไปนี้จะได้กล่าว
    สังคหนัยของเจตสิก ตามสมควร
     
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อธิบาย

    เจตสิกทั้ง ๕๒ ดวง จำแนกได้ ๒ ประเภท คือ อนิยตโยคีเจตสิก และนิยตโยคีเจตสิก

    ก. อนิยตโยคีเจตสิก เป็นเจตสิกที่ประกอบกับจิตไม่เสมอไป ไม่เป็นที่แน่นอนกล่าวคือ
    ประกอบเป็นครั้งคราว มีจำนวน ๑๑ ดวง
    ได้แก่ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ กรุณา มุทิตา
    มานะ ถีนะ และมิทธะ


    ข. นิยตโยคีเจตสิก เป็นเจตสิกที่ประกอบกับจิตเสมอ เป็นที่แน่นอนมี ๔๑ ดวงคือ
    เจตสิกที่เหลือจาก ๑๑ ดวง นั่นเอง อนิยตโยคีเจตสิก ที่ว่าประกอบกับจิตไม่เสมอไป
    ไม่แน่นอน บางทีก็ประกอบ บางทีก็ไม่ประกอบ เป็นดังนี้


    ๑. อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ ๓ ดวงนี้ ถ้าจะเกิดก็ต้องเกิดร่วมกันพร้อมกับโทสจิต
    และจะต้องเกิดทีละดวง คือทีละอย่างเท่านั้น เพราะอารมณ์ต่างกัน การประกอบเป็นครั้งคราว
    และทีละดวง เช่นนี้เรียกว่า นานากทาจิ
    เวลาที่ริษยาสมบัติของผู้อื่น อิสสาเจตสิกก็เกิดร่วมกับโทสะ แต่มัจฉริยะและกุกกุจจะไม่เกิด
    เพราะอารมณ์คนละอย่างต่างกัน
    เวลาที่เหนียวแน่นในสมบัติของตน มัจฉริยเจตสิกก็เกิดร่วมกับโทสะ แต่อิสสาและกุกกุจจะไม่เกิด
    เวลาที่เศร้าใจ รำคาญใจ ในบาปที่ตนได้กระทำไปแล้ว หรือในการบุญที่ตนไม่ได้ทำ
    กุกกุจจะเจตสิกก็เกิดร่วมกับโทสะ แต่อิสสาและมัจฉริยะไม่เกิด


    ๒. วิรตี ๓ ดวง คือ สัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตะเจตสิก และ สัมมาอาชีวเจตสิก นั้น
    ถ้าเป็นโลกีย์ ประกอบกับจิตที่เป็นมหากุสล ก็เป็นนานากทาจิ คือประกอบเป็นบางคราว
    และประกอบทีละดวง
    เวลาที่เว้น วจีทุจริต ๔ คือ มุสาวาจา ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา และสัมผัปปลาปวาจา
    ที่ไม่เกี่ยวกับอาชีพ
    เวลานั้นสัมมาวาจาก็เกิด แต่สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ ไม่เกิด
    เวลาที่เว้นกายทุจริต ๓ คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน และกาเมสุมิจฉาจาร ที่ไม่เกี่ยวกับอาชีพ
    เวลานั้นสัมมากัมมันตะก็เกิด แต่สัมมาวาจาและสัมมาอาชีวะไม่เกิด
    เวลาที่เว้นวจีทุจริต ๔ และเว้นกายทุจริต ๓ ที่รวมเรียกว่าเว้นทุจริต ๗ ที่เกี่ยวกับอาชีพเวลานั้น
    สัมมาอาชีวะเกิด แต่ถือว่าสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะไม่เกิด
    แต่ถ้าเป็นโลกุตตรโดยประกอบกับโลกุตตรจิตแล้ว ก็เป็น นิยตเอกโต คือต้องประกอบแน่นอน
    และประกอบพร้อมกันทั้ง ๓ ดวง เพราะวิรตีนี้เป็นองค์มัคคมีหน้าที่ประหารกิเลส
    ถ้าวิรตีไม่เกิด มัคคจิตก็จะเกิดไม่ได้เลย


    ๓. กรุณาเจตสิก กับมุทิตาเจตสิก ก็เป็นนานากทาจิ คือประกอบเป็นบางครั้งและทีละดวง
    เวลาใดที่รับเอาทุกขิตสัตว์ คือสัตว์ที่กำลังได้รับทุกข์อยู่เป็นอารมณ์เกิดกรุณาสงสารต่อสัตว์นั้น
    ปรารถนาช่วยสัตว์นั้นให้พ้นทุกข์ กรุณาเจตสิกก็เกิดแต่มุทิตาเจตสิกไม่เกิด
    เวลาใดที่รับเอาสุขิตสัตว์ คือสัตว์ที่กำลังมีความสุขอยู่เป็นอารมณ์แล้วก็พลอยปิติยินดีกับเขาด้วยเช่นนี้
    มุทิตาเจตสิกก็เกิด แต่กรุณาเจตสิกไม่เกิด


    ๔. มานเจตสิก เพราะมีดวงเดียว ไม่มีพวก จึงเรียกว่าเป็น กทาจิ คือประกอบเป็นบางครั้ง
    (ไม่ใช่นานากทาจิ ซึ่งหมายความว่าประกอบเป็นบางครั้งและทีละดวง) มานเจตสิกนี้
    ถ้าจะเกิด ก็เกิดในโลภทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ ดวง


    ๕. ถีนเจตสิก และมิทธเจตสิก คู่นี้เป็น สหกทาจิ คือประกอบเป็นบางครั้งและพร้อมกัน
    หมายความว่าถ้าจะประกอบก็ต้องประกอบด้วยกันพร้อมกันทั้งคู่ (ไม่ใช่ทีละดวง)
    หรือถ้าไม่ประกอบก็ไม่ประกอบทั้งคู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 กรกฎาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...