จิตคืออะไร?จิตมีชื่อเรียกถึง ๑๐ ชื่อ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 1 กรกฎาคม 2013.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สังคหนัย

    สังคหะ แปลว่า รวบรวม หรือสงเคราะห์ ในที่นี้มีความหมายว่า จิตแต่ละดวงได้รวบรวมเจตสิกเข้ามาไว้
    เท่าใด คืออะไรบ้าง หรือจิตแต่ละดวงมีเจตสิกอะไรบ้าง รวมเป็นจำนวนเท่าใดมาสงเคราะห์จิตนั้น

    ๑๓. ฉตฺตึสานุตฺตเร ธมฺมา ปญฺจตึส มหคฺคเต
    อฏฺฐตึสาปิ ลพฺภนฺติ กามาวจรโสภณเณ ฯ


    ๑๔. สตฺตวีสติปญฺญมฺหิ ทฺวาทสาเหตุเกติ จ
    ยถาสมฺภวโยเคน ปญฺจธา ตตฺถ สงฺคโห


    แปลความว่า โลกุตตรจิต ประกอบด้วยเจตสิก ๓๖ ดวง(โลกุตตรจิตอย่างย่อ๘ ดวง)
    มหัคคตจิต ประกอบด้วยเจตสิก ๓๕ ดวง
    กามาวจรโสภณจิต ประกอบด้วยเจตสิก ๓๘ ดวง
    อกุสลจิต ประกอบด้วยเจตสิก ๒๗ ดวง
    อเหตุกจิต ประกอบด้วยเจตสิก ๑๒ ดวง

    จิตที่ถูกประกอบด้วยเจตสิก โดยสังคหนัย ๕ อย่าง

    อนุตตรสังคหนัย

    อนุตตร มีความหมายว่า เหนืออย่างไม่มีอะไรเหนือกว่า หรือแม้แต่จะเหนือเท่า
    พ้นอย่างไม่มีอะไรจะเทียบได้ ทั้งนี้ก็หมายถึงโลกุตตรนั่นเอง ดังนั้นอนุตตรสังคหนัย
    ก็คือ สังคหนัยแห่งโลกุตตรจิต นั่นแหละ

    ๑๕. ฉตฺตึส ปญฺจตึสา จ จตุตฺตึส ยถากฺกมํ
    เตตฺตึส ทฺวยมิจฺเจวํ ปญฺจธานุตฺตเร ฐิตา ฯ


    แปลความว่า โลกุตตรจิตนั้น (อย่างพิศดาร ๔๐ ดวง) มีสังคหะ ๕ นัย ตามลำดับ คือ ๓๖ นัยหนึ่ง ,
    ๓๕ นัยหนึ่ง , ๓๔ นัยหนึ่ง , ๓๓ คู่หนึ่ง
     
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อธิบาย

    นัยที่ ๑ ปฐมฌานมัคคจิต ๔ ดวง ปฐมฌานผลจิต ๔ ดวง
    มีเจตสิกประกอบ ๓๖ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒)


    นัยที่ ๒ ทุติยฌานมัคคจิต ๔ ดวง ทุติยฌานผลจิต ๔ ดวง
    มีเจตสิกประกอบ ๓๕ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นวิตกเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญา ๒)


    นัยที่ ๓ ตติยฌานมัคคจิต ๔ ดวง ตติยฌานผลจิต ๔ ดวง
    มีเจตสิกประกอบ ๓๔ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นวิตก วิจาร) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญา)


    นัยที่ ๔ จตุตถฌานมัคคจิต ๔ ดวง จตุตถฌานผลจิต ๔ ดวง
    มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก วิจาร ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญา)


    นัยที่ ๕ ปัญจมฌานมัคคจิต ๔ ดวง ปัญจมฌานผลจิต ๔ ดวง
    มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก วิจาร ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญา)
     
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    มหัคคตสังคหนัย

    ๑๖. ปญฺจตึส จตุตฺตึส เตตฺตึส จ ยถากฺกมํ
    พาตฺตึส เจว ตึเสติ ปญฺจธาว มหคฺคเต


    แปลความว่า มหัคคตจิต ๒๗ ดวง มีสังคหะ ๕ นัย ตามลำดับคือ ๓๕ นัยหนึ่ง ,
    ๓๔ นัยหนึ่ง , ๓๓ นัยหนึ่ง , ๓๒ นัยหนึ่ง และ ๓๐ นัยหนึ่ง

    อธิบาย

    มหัคคตจิต ๒๗ ดวงนั้น เมื่อนับตามอำนาจแห่งฌานแล้ว
    ก็มีเจตสิกประกอบไม่เท่ากัน จึงจัดได้เป็น ๕ นัย คือ


    นัยที่ ๑ ปฐมฌาน กุสล ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ รวม ๓ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๕ ดวง
    ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓)


    นัยที่ ๒ ทุติยฌาน กุสล ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ รวม ๓ ดวง มี
    เจตสิกประกอบ ๓๔ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒(เว้นวิตกเจตสิก)
    โสภณเจตสิก ๒๒(เว้นวิรตี ๓)


    นัยที่ ๓ ตติยฌาน กุสล ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ รวม ๓ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวง
    ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑(เว้นวิตก วิจาร)โสภณเจตสิก ๒๒(เว้นวิรตี ๓)


    นัยที่ ๔ จตุตถฌาน กุสล ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ รวม ๓ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๒ ดวง
    ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก วิจาร ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตี ๓)


    นัยที่ ๕ ปัญจมฌาน ๑๕ ดวง คือ รูปาวจรปัญจมฌาน กุสล วิบาก กิริยา ๓ ดวง
    อรูปาวจร กุสล วิบาก กิริยา ๑๒ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๐ ดวง
    ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐(เว้นวิตก วิจาร ปีติ) โสภณเจตสิก๒๐(เว้นวิรตี ๓ อัปปมัญญา ๒)
     
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    กามาวจรโสภณสังคหนัย

    ๑๗. อฏฐตึส สตฺตตึส ทฺวยํ ฉตฺตึสกํ สุเภ
    ปญฺจตึส จตุตฺตึส ทฺวยํ เตตฺตึสกํ กฺริเย ฯ

    ๑๘. เตตฺตึส ปาเก พาตฺตึสทฺ วเยกตึสกํ ภว
    สเหตุกกามาวจร ปญฺญปากกฺริยามเน ฯ


    แปลความว่า ในสเหตุกกามาวจร กุสล วิบาก กิริยา มีสังคหะ

    ตามลำดับคือ มหากุศล มี ๓๘ หนึ่งนัย ๓๗ สองนัย ๓๖ หนึ่งนัย
    มหาวิบาก มี ๓๕ หนึ่งนัย ๓๔ สองนัย ๓๓ หนึ่งนัย
    มหากิริยา มี ๓๓ หนึ่งนัย ๓๒ สองนัย ๓๑ หนึ่งนัย
     
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อธิบาย

    ในกามาวจรโสภณจิต ๒๔ ดวงนั้น มีสังคหะรวม ๑๒ นัย ดังนี้ คือ
    มหากุสล ๘ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๔ นัย คือ ๓๘, ๓๗, ๓๗, ๓๖
    มหากิริยา ๘ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๔ นัย คือ ๓๕, ๓๔, ๓๔, ๓๓
    มหาวิบาก ๘ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๔ นัย คือ ๓๓, ๓๒, ๓๒, ๓๑

    นัยที่ ๑ มหากุสล คู่ที่ ๑ คือดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๒ ที่เป็นญาณสัมปยุตต ทั้งคู่
    มีเจตสิกประกอบ ๓๘ ดวง เต็มที่ คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๕

    นัยที่ ๒ มหากุสล คู่ที่ ๒ คือดวงที่ ๓ กับดวงที่ ๔ ซึ่งเป็นญาณวิปปยุตตทั้งคู่
    มีเจตสิกประกอบ ๓๗ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้นปัญญาเจตสิก)

    นัยที่ ๓ มหากุสล คู่ที่ ๓ คือดวงที่ ๕ กับดวงที่ ๖ ซึ่งเป็นอุเบกขาทั้งคู่ มีเจตสิกประกอบ ๓๗ ดวง
    คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๒๕

    นัยที่ ๔ มหากุสล คู่ที่ ๔ คือดวงที่ ๗ กับดวงที่ ๘ ซึ่งทั้งคู่เป็นอุเบกขาด้วยเป็นญาณวิปปยุตตด้วย
    มีเจตสิกประกอบ ๓๖ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้นปัญญา)

    นัยที่ ๕ มหากิริยาคู่ที่ ๑ คือดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๒ มีเจตสิกประกอบ ๓๕ ดวง คือ
    อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓)

    นัยที่ ๖ มหากิริยาคู่ที่ ๒ คือดวงที่ ๓ กับดวงที่ ๔ มีเจตสิกประกอบ ๓๔ ดวง คือ
    อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๑ (เว้นวิรตี ๓ ปัญญา ๑)

    นัยที่ ๗ มหากิริยา คู่ที่ ๓ คือดวงที่ ๕ กับดวงที่ ๖ มีเจตสิกประกอบ ๓๔ ดวง คือ
    อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตี)

    นัยที่ ๘ มหากิริยา คู่ที่ ๔ คือดวงที่ ๗ กับดวงที่ ๘ มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวง คือ
    อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๒๑ (เว้นวิรตี ปัญญา)

    นัยที่ ๙ มหาวิบาก คู่ที่ ๑ คือดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๒ มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวง คือ
    อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวิรตี อัปปมัญญา)

    นัยที่ ๑๐ มหาวิบาก คู่ที่ ๒ คือดวงที่ ๓ กับดวงที่ ๔ มีเจตสิกประกอบ ๓๒ ดวง
    คืออัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๑๙ (เว้นวิรตี อัปปมัญญา และปัญญา)

    นัยที่ ๑๑ มหาวิบาก คู่ที่ ๓ คือดวงที่ ๕ กับดวงที่ ๖ มีเจตสิกประกอบ ๓๒ ดวง คือ
    อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวิรตี อัปปมัญญา)

    นัยที่ ๑๒ มหาวิบาก คู่ที่ ๔ คือดวงที่ ๗ กับดวงที่ ๘ มีเจตสิกประกอบ ๓๑ ดวง คือ
    อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๑๙ (เว้นวิรตี อัปปมัญญา และปัญญา)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 52.PNG
      52.PNG
      ขนาดไฟล์:
      54.3 KB
      เปิดดู:
      1,040
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โสภณเจตสิกที่ไม่ได้สังคหนัย
    ต่อไปนี้จะแสดงโสภณเจตสิกบางดวง ที่ไม่ได้ประกอบกับโสภณจิต บางประเภท

    ๑๙. น วิชฺชนเตตฺถ วิรตี กฺริเยสุ จ มหคฺคเต
    อนุตฺตเร อปฺปมญฺญา กามปาเก ทฺวยํ ตถา ฯ


    แปลความว่า โสภณเจตสิกที่กล่าวมานี้
    ในมหากิริยาจิต ย่อมไม่มีวิรตีเจตสิก
    ในโลกุตตรจิต ย่อมไม่มีอัปปมัญญาเจตสิก
    ในมหาวิบากจิต ย่อมไม่มีทั้ง ๒ (คือทั้งวิรตี และ อัปปมัญญา)

    อธิบาย

    ๑. ในมหากิริยาจิต ๘ ดวง ทั้งนี้เป็นเพราะมหากิริยาจิต เป็นจิตของพระอรหันต์
    ซึ่งจบการศึกษาแล้ว เป็นผู้ที่ปราศจากบาปธรรมทั้งปวง ตั้งแต่อรหัตตผลได้เกิดขึ้นแล้ว
    จึงไม่จำเป็นหรือไม่มีกิจที่จะต้องเว้นพูดชั่ว เว้นทำชั่วหรือเว้นเลี้ยงชีพชั่วอีกเลย
    ด้วยว่าไม่มีกิเลสเหลือที่จะให้ทำชั่วอย่างนั้น หรืออย่างไหน ๆ ทั้งสิ้น

    ๒. ในมหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง ก็ไม่มีวิรตีเจตสิกประกอบ เพราะมหัคคตจิตเกิดขึ้น
    โดยมีกัมมัฏฐานเป็นอารมณ์ ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยอาศัยการเว้นทุจริตซึ่งจะต้องมีวิรมิตัพพวัตถุ
    (วัตถุอันพึงเว้น) เป็นอารมณ์แต่อย่างใด

    ๓. ในโลกุตตรจิต ไม่มีอัปปมัญญาเจตสิกประกอบ เพราะอัปปมัญญาเจตสิก
    จะต้องมีสัตว์บัญญัติเป็นอารมณ์ แต่โลกุตตรจิตนั้นมีพระนิพพานเป็นอารมณ์แต่อย่างเดียว

    ๔. ในมหาวิบากจิต ๘ ดวง ก็ไม่มีวิรตีเจตสิกทั้ง ๓ และอัปปมัญญาเจตสิกทั้ง ๒ รวม ๕ ดวงนี้
    ประกอบด้วยเลย เพราะมหาวิบากเป็นจิตที่เป็นผลของมหากุสล ทำหน้าที่ปฏิสนธิ เป็นต้น
    เมื่อขณะปฏิสนธินั้น ไม่ต้องเว้นพูดชั่ว เว้นทำชั่ว และเว้นเลี้ยงชีพชั่ว
    ทั้งขณะนั้นก็ไม่ได้กรุณาสงสารผู้ใด ไม่ได้มีมุทิตา คือพลอยยินดีกับใคร อันเป็นการเว้น คือไม่เกิด
    หรือเกิดขึ้นไม่ได้อยู่แล้วตามธรรมชาติ จึงไม่ต้องมีวิรตีเจตสิก อัปปมัญญเจตสิก มาประกอบ
     
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ธรรมบางประการที่ทำให้จิตต่างกัน

    ๒๐. อนุตฺตเร ฌานธมฺมา อปฺปมญฺญา จ มชฺฌิเม
    วิรตี ญาณ ปีติ จ ปริตฺเตสุ วิเสสกา ฯ


    แปลความว่า ในโลกุตตรจิต ฌานธรรมย่อมทำให้ต่างกัน
    ในมหัคคตจิต ฌานธรรมและอัปปมัญญา ทำให้ต่างกัน
    ในกามาวจรโสภณจิต วิรตี ญาณ ปีติ ทำให้ต่างกัน

    อธิบาย

    ๑. ในโลกุตตรจิตนั้น ฌานธรรม คือฌานทั้ง ๕ ย่อมทำให้จิตวิเศษ
    คือต่างกันจาก ๘ ดวง เป็น ๔๐ ดวง และ
    วิตกเจตสิก ทำให้โลกุตตร ปฐมฌาน ต่างกับโลกุตตร ทุติยฌาน
    วิจารเจตสิก ทำให้โลกุตตร ทุติยฌาน ต่างกับโลกุตตร ตติยฌาน
    ปีติเจตสิก ทำให้โลกุตตร ตติยฌาน ต่างกับโลกุตตร จตุตถฌาน
    สุขเวทนาเจตสิก ทำให้โลกุตตร จตุตถฌาน ต่างกับโลกุตตร ปัญจมฌาน
    อุเบกขาเวทนาเจตสิก ทำให้โลกุตตร ปัญจมฌาน ต่างกับโลกุตตร ฌานต้น ๆ

    ๒. ในมหัคคตจิตนั้น ฌานธรรมและอัปปมัญญาเจตสิก ย่อมทำให้จิตวิเศษ คือ ต่างกัน ดังต่อไปนี้
    วิตกเจตสิก ทำให้โลกีย ปฐมฌาน ต่างกับโลกีย ทุติยฌาน
    วิจารเจตสิก ทำให้โลกีย ทุติยฌาน ต่างกับโลกีย ตติยฌาน
    ปีติเจตสิก ทำให้โลกีย ตติยฌาน ต่างกับโลกีย จตุตถฌาน
    สุขเวทนาเจตสิก ทำให้โลกีย จตุตถฌาน ต่างกับโลกีย ปัญจมฌาน
    อุเบกขาเวทนาเจตสิก ทำให้โลกีย ปัญจมฌาน ต่างกับโลกีย ฌานต้น ๆ
    อัปปมัญญาเจตสิก ทำให้โลกีย ปัญจมฌาน ต่างกับโลกีย ฌานต้น ๆ

    ๓. ในกามาวจรโสภณจิตนั้น วิรตีเจตสิก ญาณคือ ปัญญาเจตสิกและปีติเจตสิก
    ย่อมทำให้จิตวิเศษ คือ ต่างกันดังนี้ มหากุสลจิต มีวิรตีประกอบ ทำให้ต่างกับมหากิริยาจิต
    ซึ่งไม่มีวิรตีประกอบ จิตที่เป็นญาณสัมปยุตต มีปัญญาเจตสิกประกอบ ทำให้ต่างกับ
    จิตที่เป็นญาณวิปปยุตต ซึ่งไม่มีปัญญาเจตสิกประกอบ จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา
    มีปีติเจตสิกประกอบ ทำให้ต่างกับจิตที่ไม่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา ซึ่งไม่มีปีติเจตสิกประกอบ

    อนึ่ง มีข้อที่ควรสังเกตว่า ในกรณีใดที่ปัญญาเจตสิก หรือปีติเจตสิกจึงประกอบ
    หรือไม่ประกอบนั้น ดังนี้ จิตดวงใดที่เป็นญาณสัมปยุตตแล้ว จิตดวงนั้นจะต้องมีปัญญาเจตสิก
    ประกอบด้วยเสมอไปอย่างแน่นอน จิตดวงใดที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนาแล้ว
    จิตดวงนั้นจะต้องมีปีติเจตสิกประกอบด้วยเสมอไปอย่างแน่นอน (เฉพาะกามจิต)

    ดังนั้น ก็พึงเป็นที่เข้าใจได้ว่า จิตดวงใดที่เป็นญาณวิปปยุตต คือไม่ประกอบด้วยปัญญาแล้ว
    ปัญญาเจตสิกก็ย่อมไม่เข้าประกอบอยู่เอง และจิตดวงใดที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัสเวทนา
    ความเสียใจก็ดีเกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา เฉย ๆ ก็ดี ปีติ คือความอิ่มใจ
    ย่อมเข้าประกอบด้วยไม่ได้เลย เพราะความเสียใจ หรือความเฉย ๆ จะไม่มีความอิ่มใจ
     
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อกุสลสังคหนัย

    แสดงกระทู้ - แสดงสังคหนัย อกุศลจิต ๑๒ • ลานธรรมจักร

    ๒๑. เอกูนวีสฏฺฐารส วีเสกวีส วีสติ
    ทฺวาวีส ปนฺนรเสติ สตฺตธากุสเล ฐิตา ฯ


    แปลความว่า อกุศลจิตมีสังคหะ ๗ นัย ตามลำดับ คือ ๑๙ นัยหนึ่ง , ๑๘ นัยหนึ่ง ,
    ๒๑ นัยหนึ่ง , ๒๐ นัยหนึ่ง , ๒๒ นัยหนึ่ง และ ๑๕ นัยหนึ่ง

    อธิบาย

    อกุสลจิต ๑๒ ดวง มีเจตสิกเข้าประกอบได้ รวมทั้งหมด ๒๗ ดวง
    คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ อกุสลเจตสิก ๑๔
    แต่ว่า อกุสลจิตแต่ละดวงนั้นมีเจตสิกประกอบได้ไม่เท่ากัน ดังนั้นอกุสล จิต ๑๒ ดวง
    จึงจัดสังคหะได้เป็น ๗ นัย คือ

    นัยที่ ๑ โลภมูลจิตดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๓ อันเป็นอสังขาริกเหมือนกัน มีเจตสิกประกอบ ๑๙ ดวง
    ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ สัพพากุสลสาธารณเจตสิกหรือโมจตุกะ ๔ โลภเจตสิก ๑
    ทิฏฐิเจตสิก ๑(เข้าประกอบเฉพาะดวงที่ ๑) มานเจตสิก ๑ (เข้าประกอบเฉพาะดวงที่ ๓)

    นัยที่ ๒ โลภมูลจิตดวงที่ ๕ กับดวงที่ ๗ อันเป็นอสังขาริกเหมือนกัน
    มีเจตสิกประกอบ ๑๘ ดวงได้แก่อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โลภเจตสิก ๑
    ทิฏฐิเจตสิก ๑(ประกอบเฉพาะดวงที่ ๕)มานเจตสิก (ประกอบ เฉพาะดวงที่ ๗)

    นัยที่ ๓ โลภมูลจิตดวงที่ ๒ กับดวงที่ ๔ อันเป็นสสังขาริกเหมือนกัน มีเจตสิกประกอบ ๒๑ ดวง
    ได้แก่อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โมจตุกะ ๔ โลภเจตสิก ๑ ทิฏฐิเจตสิก ๑ (ประกอบเฉพาะดวงที่ ๒)
    มานเจตสิก ๑ (ประกอบเฉพาะดวงที่ ๔) ถีนเจตสิก ๑ มิทธเจตสิก ๑

    นัยที่ ๔ โลภมูลจิตดวงที่ ๖ กับดวงที่ ๘ อันเป็นสสังขาริก เหมือนกัน มีเจตสิกประกอบ ๒๐ ดวง
    ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โลภเจตสิก ๑ ทิฏฐิเจตสิก ๑
    (ประกอบเฉพาะดวงที่ ๖) มานเจตสิก ๑ (ประกอบเฉพาะดวงที่ ๘) ถีนเจตสิก ๑ มิทธเจตสิก ๑

    นัยที่ ๕ โทสมูลจิตดวงที่ ๑ อันเป็นอสังขาริก มีเจตสิกเข้าประกอบ ๒๐ ดวง
    ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โทจตุกะ ๔

    นัยที่ ๖ โทสมูลจิตดวงที่ ๒ อันเป็นสสังขาริก มีเจตสิกเข้าประกอบ ๒๒ ดวง
    ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โทจตุกะ ๔ ถีนเจตสิก ๑ มิทธเจตสิก ๑

    นัยที่ ๗ โมหมูลจิต ๒ ดวง มีเจตสิกเข้าประกอบเป็นจำนวนเท่ากัน คือ ๑๕ ดวง แต่มีที่ต่างกัน คือ

    ก. โมหมูลจิต ดวงที่ ๑ได้แก่ วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตหรือวิจิกิจฉาสหคตจิต
    เจตสิกที่ประกอบคืออัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นอธิโมกข์ ปีติ ฉันทะ)
    โมจตุกะ ๔ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ รวม ๑๕ ดวง

    ข. โมหมูลจิต ดวงที่ ๒ ได้แก่ อุทธัจจสัมปยุตตจิต มีเจตสิกที่ประกอบ คือ
    อัญญสมานาเจตสิก ๑๑(เว้นปีติ ฉันทะ) โมจตุกะ ๔ รวม ๑๕ ดวง เท่ากันกับ ก.
     
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สัพพากุสลโยคีเจตสิก

    ๒๒. สาธารณา จ จตฺตาโร สมานา จ ทสาปเร
    จุทฺทเสเต ปวุจฺจนฺติ สพฺพากุลสโยคิโน ฯ


    แปลความว่า สัพพากุสลสาธารณเจตสิก ๔ ดวง อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ ดวง
    รวมเจตสิก ๑๔ ดวงนี้ เรียกว่า สัพพากุสลโยคีเจตสิก

    อธิบาย

    สัพพากุสลโยคีเจตสิก คือเจตสิกที่ประกอบกับอกุสลจิตได้ทั้งหมด (ทั้ง ๑๒ ดวง)
    สัพพากุสลสาธารณเจตสิก หรือโมจตุกะ ๔ ดวงคือ โมห อหิริก อโนตตัปป อุทธัจจ
    กับอัญญสมานาเจตสิก ๑๐ ดวง คือ ผัสส เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา
    ชีวิตินทรีย มนสิการ วิตก วิจาร และ วิริยะ
    (เว้นอธิโมกธ ปีติ ฉันทะ)
    รวมเจตสิก ๑๔ ดวงนี้ เรียกว่า สัพพากุสลโยคีเจตสิก คือเป็นเจตสิกที่ประกอบกับอกุสลจิต
    ได้ทั้งหมดหมายความว่า อกุสลจิตทั้ง ๑๒ ดวงนั้น ไม่ว่าดวงหนึ่งดวงใดเกิดขึ้น
    เป็นต้องมีเจตสิกทั้ง ๑๔ ดวงนี้ ประกอบเสมอไปอย่างแน่นอน
     
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อเหตุกสังคหนัย

    ๒๓. ทฺวาทเสกาทส ทส สตฺต จาติ จตุพฺพิโธ
    อฏฐารสาเหตุเกสุ จิตฺตุปฺปาเทสุ สงฺคโห ฯ


    แปลความว่า อเหตุกจิต ๑๘ ดวง มีสังคหะ ๔ นัย ตามลำดับ คือ ๑๒ หนึ่งนัย ,
    ๑๑ หนึ่งนัย , ๑๐ หนึ่งนัย , ๗ หนึ่งนัย

    อธิบาย

    อเหตุกจิต ๑๘ ดวง มีเจตสิกประกอบได้ประเภทเดียวเท่านั้น คือ อัญญสมานาเจตสิก
    และอัญญสมานาเจตสิกก็เข้าประกอบกับอเหตุกจิตได้เป็นอย่างมากเพียง ๑๒ ดวงเท่านั้น
    ส่วนอีกดวง คือ ฉันทเจตสิกเข้าประกอบกับอเหตุกจิตด้วยไม่ได้เลยเป็นเด็ดขาดแน่นอน

    เหตุที่ฉันทเจตสิกไม่ประกอบกับอเหตุกจิตเลยนั้น เพราะว่าฉันทเจตสิกนี้มีลักษณะ คือ
    ความพอใจในอารมณ์ มีความปรารถนาจะกระทำ มีความปลงใจกระทำ
    ส่วนอเหตุกจิตนั้นเป็นจิตที่แม้ว่าจะปลงใจกระทำหรือไม่ ก็ต้องเกิด เช่น จักขุวิญญาณจิต
    มีหน้าที่เห็นรูป ไม่ว่ารูปนั้นจะสวยงามอยากเห็นหรือเป็นรูปที่น่าเกลียดน่ากลัวไม่อยากเห็น
    เมื่อรูปนั้นมาปรากฏเฉพาะหน้า ก็จะต้องเห็น จะเลือกเห็นเฉพาะรูปที่สวยงามไม่ได้

    ทางโสตวิญญาณจิต มีหน้าที่ได้ยินเสียงก็เช่นกัน จะเลือกได้ยินแต่เสียงที่เพราะ ๆ รื่นหู ก็ไม่ได้
    ซึ่งผิดกับจิตอื่นที่มีฉันทเจตสิกประกอบ เช่นโทสจิต เป็นต้น เมื่อได้เห็นสิ่งที่ไม่ดี
    เช่นเห็นสุนัขขี้เรื้อน ผู้เห็นพอใจปลงใจจะให้เกิดความเกลียดชังก็ได้
    หรือจะเลือกในทางไม่เกลียดก็ได้ ถ้าเลือกในทางเกลียด โทสจิตก็เกิด
    ถ้าเลือกในทางสงสารว่าเป็นกรรมของสัตว์นั้น โทสจิตก็ไม่เกิด แต่กลับเป็นโสภณจิต

    ดังนั้นฉันทเจตสิกจึงไม่เกิดร่วมกับอเหตุกจิตเลย เพราะเป็นจิตที่เลือกไม่ได้ตามใจชอบ
     
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อเหตุกจิต ๑๘ ดวง มีสังคหะ ๔ นัย คือ

    นัยที่ ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ ดวง อันเป็นจิตยิ้มแย้มของพระอรหันต์โดยเฉพาะ
    บุคคลอื่นใดไม่มีจิตดวงนี้หสิตุปปาทมีเจตสิกประกอบ ๑๒ ดวง
    ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันท)


    นัยที่ ๒ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง (เรียกอีกชื่อหนึ่งตามกิจ หรือหน้าที่การงานว่า
    โวฏฐัพพนจิตก็ได้)และโสมนัสสันตีรณจิต ๑ ดวง จิต ๒ ดวงนี้
    มีเจตสิกประกอบ ๑๑ ดวง เท่ากัน แต่มีที่ต่างกัน คือเจตสิกที่ประกอบกับมโนทวาราวัชชนจิต
    ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นปีติเจตสิก และฉันทเจตสิก)
    ส่วนเจตสิกที่ประกอบกับโสมนัสสันตีรณจิต ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑
    แต่เว้นวิริยเจตสิก กับฉันทเจตสิก


    นัยที่ ๓ มโนธาตุ ๓ ดวง (ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉันนจิต ๒ ดวง)
    กับอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒ ดวง (คืออุเบกขาสันตีรณจิต ๒) รวมจิต ๕ ดวงนี้
    มีเจตสิกประกอบได้ ๑๐ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิริย ปีติ ฉันท)


    นัยที่ ๔ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง มีเจตสิกประกอบได้จำพวกเดียว
    คือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิกทั้ง ๗ ดวงเท่านั้นเอง


    ๒๔. อเหตุเกสุ สพฺพตฺถ สตฺต เสสา ยถารหํ
    อิติ วิตฺถารโต วุตฺโต เตตฺตึสวิธ สงฺคโห ฯ


    แปลความว่า อเหตุกจิต ๑๘ ดวงนี้ ย่อมประกอบด้วย
    สัพพจิตตสาธารณเจตสิกทั้ง ๗ ดวงเสมอ ส่วน
    ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวงนั้น ย่อมประกอบกับจิตตามที่จะประกอบได้
    เมื่อนับโดยพิสดารย่อมได้สังคหนัย ๓๓ นัยดังได้กล่าวมาแล้ว
     
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๒๕. อิตถํ จิตฺตาวิยุตฺตานํ สมฺปโยคญฺจ สงฺคหํ
    ญตฺวา เภทํ ยถาโยคํ จิตฺเตน สมมุทฺทิเส ฯ


    แปลความว่า ตามที่ได้กล่าวมา พึงรู้สัมปโยคนัยและสังคหนัยของเจตสิกเสียก่อน
    แล้วจึงจำแนกประเภทของจิตและ เจตสิกที่ประกอบกัน ตามที่จะเข้ากันได้เถิด

    อธิบาย

    สัมปโยคนัย หมายถึงนัยที่แสดงว่า เจตสิกแต่ละดวงเข้าประกอบกับจิตใดบ้าง
    สังคหนัย หมายถึงนัยที่แสดงว่าจิตแต่ละดวงมีเจตสิกใดมาร่วมสงเคราะห์บ้าง

    สัมปโยคนัย มี ๑๖ นัย คือ

    สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง ได้สัมปโยค ๑ นัย
    ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง ได้สัมปโยค ๖ นัย
    อกุสลเจตสิก ๑๔ ดวง ได้สัมปโยค ๕ นัย
    โสภณเจตสิก ๒๕ ดวง ได้สัมปโยค ๔ นัย
    รวม ๕๒ ดวง ได้สัมปโยค ๑๖ นัย

    สังคหนัย มี ๓๓ นัย คือ

    โลกุตตรจิต ๔๐ ดวง มีสังคหะ ๕ นัย
    มหัคคตจิต ๒๗ ดวง มีสังคหะ ๕ นัย
    กามาวจรโสภณจิต ๒๔ ดวง มีสังคหะ ๑๒ นัย
    อกุสลจิต ๑๒ ดวง มีสังคหะ ๗ นัย
    อเหตุกจิต ๑๘ ดวง มีสังคหะ ๔ นัย
    รวมจิต ๑๒๑ ดวง มีสังคหะ ๓๓ นัย

    อวสานคาถา ปริจเฉทที่ ๒

    อิจฺจานุรุทฺธรจิเต อภิธมฺมตฺถสงฺคเห
    ทุติเย ปริจฺโฉโทยํ สมาเสเนว นิฏฺฐิโต ฯ


    ในปริจเฉทที่ ๒ ( ชื่อ เจตสิกสังคหวิภาค ) ในปกรณ์ อันรวมรวบ
    ซึ่งอรรถแห่งอภิธรรม ที่พระอนุรุทธาจารย์ รจนาไว้ จบแล้วโดยย่อแต่เพียงเท่านั้น

    ทั้งหมดได้เอามาจากลี้งนี้
    v
    Thepathofpurity - thepathofpurity
     
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    คู่มืออภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค
    คู่มือการศึกษา
    ปกิณณกสังคหะวิภาค
    พระอภิธัมมัตถสังคหะ

    ปริจเฉทที่ ๓

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธฺสฺส
    ความเบื้องต้น
    คู่มือการศึกษาเล่มนี้ ได้รวบรวมคำสอนพระอภิธัมมัตถสังคหะ
    ซึ่ง พระอนุรุทธาจารย์ เป็นผู้รจนา อันเป็นปริจเฉทที่ ๓ ที่มีชื่อว่า ปกิณณกสังคหะวิภาค​
    ปกิณณกะ แปลว่า กระจัดกระจาย คละกัน เบ็ดเตล็ด ต่าง ๆ
    สังคหะ แปลว่า รวบรวมโดยย่อ
    วิภาค แปลว่า ส่วน
    เมื่อประมวลรวมกันเข้าแล้ว ปกิณณกะสังคหวิภาค ก็แปลว่า ส่วนที่รวบรวม
    แสดงโดยย่อซึ่งธรรมต่าง ๆ ธรรมต่าง ๆ ในที่นี้ หมายถึงธรรม ๖ หมวด คือ

    ๑. หมวด เวทนา ธรรมชาติที่เสวยอารมณ์
    ๒. หมวด เหตุ ธรรมชาติที่ทำให้ผลเกิด
    ๓. หมวด กิจ คือ การงานของจิต ๑๔ อย่าง
    ๔. หมวด ทวาร คือ ทางรับรู้อารมณ์ของจิต
    ๕. หมวด อารมณ์ คือ สิ่งที่จิตรู้, สิ่งที่ถูกจิตรู้
    ๖. หมวด วัตถุ คือ ที่ตั้งที่อาศัยเกิดรับรู้อารมณ์ของจิต

    ทั้ง ๖ หมวดนี้ เป็นการเรียนรู้ถึงจิตและเจตสิกโดยละเอียด สรุปได้ว่าให้เรียนรู้ว่า
    จิตและเจตสิกแต่ละดวงนั้น มีเวทนาเป็นสุขเวทนา หรือทุกขเวทนา เป็น โทมนัสเวทนา
    หรือโสมนัสเวทนา หรืออุเบกขาเวทนา

    จิตและเจตสิกแต่ละดวงนั้น มีเหตุประกอบหรือไม่ ถ้ามี มีเหตุประกอบเท่าไร อะไรบ้าง
    เหตุมี ๖ คือ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ, อโลภเหตุ, อโทสเหตุ และ อโมหเหตุ
    ในแต่ละเหตุนั้น ประกอบกับจิตอะไรได้บ้าง

    จิตและเจตสิกแต่ละดวงนั้น ทำกิจ(งาน)อะไรใน ๑๔ อย่าง ในกิจทั้ง ๑๔ นั้น
    มีจิตอะไรทำหน้าที่ได้บ้าง

    จิตและเจตสิก อาศัยทวารไหนในการรู้อารมณ์ อาศัยจักขุทวาร
    หรือโสตทวาร อาศัยฆานทวารหรือชิวหาทวาร อาศัยกายทวารหรือมโนทวาร
    หรือไม่ได้อาศัยทวาร ใด ๆ เลย

    จิตและเจตสิก รับรู้อารมณ์อะไรได้บ้างในอารมณ์ ๖
    และอารมณ์ ๖ นั้น องค์ ธรรมได้แก่อะไร
    จิตและเจตสิก อาศัยวัตถุอะไรเกิด อาศัยจักขุวัตถุหรือโสตวัตถุ อาศัยฆานวัตถุ
    หรือชิวหาวัตถุ อาศัยกายวัตถุหรือหทยวัตถุ หรือไม่ได้อาศัยวัตถุใดๆ เกิดขึ้นเลย

    ปกิณณกสังคหะวิภาคนี้
    พระอนุรุทธาจารย์ได้ประพันธ์เป็นคาถาสังคหะรวม ๑๔ คาถา คาถาที่ ๑ ว่า

    ๑. สมฺปยุตฺตา ยถาโยคํ เตปญฺญาส สภาวโต
    จิตฺตเจตสิก ธมฺมา เตสนฺทานิ ยถารหํ ฯ


    แปลความว่า สภาวธรรม ๕๓ คือ จิตและเจตสิก ทั้งลักษณะและการประกอบซึ่งกันและกัน
    ตามควรแก่การที่จะ ประกอบได้นั้น ได้แสดงมาแล้ว

    มีความหมายว่า ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ คือ สรุป ธรรม ๖ หมวด
    อันมีจิตและเจตสิก ทำหน้าที่ต่าง ๆ จิตและเจตสิก รวมเรียกว่า สภาวธรรม ๕๓ คือ
    จิต ๑ และ เจตสิก ๕๒ ที่นับจิตเพียง ๑ นั้น เพราะจิตมีลักษณะ
    รับรู้อารมณ์เพียงลักษณะเดียวเท่านั้น ส่วนที่นับเจตสิกเต็มจำนวนทั้ง ๕๒
    ก็เพราะว่า เจตสิกนั้นมีลักษณะ แตกต่างกันทั้ง ๕๒ ดวง
     
  14. นางมะลิ

    นางมะลิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +117
    พูดตรงๆๆค่ะว่า ฉันเห็นพระอภิธรรมที่ไรปวดหัวทุกทีไม่เคยอ่านรู้เรื่องเลยค่ะ ปัญญาไม่ถึงค่ะ เจ้าของกระทู้เก่งจังค่ะ.......ฉันมีคัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะ
    ด้วยนะค่ะ

    แต่วางไว้บนหิ้งฝุ่นจับค่ะ เพราะไม่เข้าใจค่ะ อนุโมทนาค่ะ
     
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ทีแรก ๆ ก็เป็นอย่างนี้กันทุกคน
    แต่หากว่าพอได้ศึกษาในชั้นเรียนแล้วจะเข้าใจ
    และจะเข้าใจอย่างลึกซึ้งด้วย เข้าใจแบบมีเหตุมีผล
    ที่พระอภิธรรมยากนั้นเพราะเป็นการแสดงปรมัตถ์ล้วน ๆ
    โดยที่ไม่ยกบุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องเลย ว่ากันแต่เรื่อง จิต เจตสิก รูป นิพพาน
    ถ้ามีความตั้งใจที่จะรู้ก็คงไม่เกินความพยายามหรอกครับ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่นแล้วจะทราบเอง
    คิดเสียว่าคนอื่นเขาทำไมจึงรู้ได้ เราทำไมจะรู้บ้างไม่ได้เชียวหรือ เราก็ไม่ใช่กบหรือคางคกที่ไหนที่จะรู้ไม่ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 สิงหาคม 2013
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ปกิณณกแสดงธรรม ๖ หมวด
    ปกิณณกสังคหะวิภาคนี้ แสดงธรรม ๖ หมวด ดังมีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๒ แสดงว่า

    ๒. เวทนาเหตุโต กิจฺจ ทฺวาราลมฺพน วตฺถุโต
    จิตฺตุปฺปาทวเสเนว สงฺคโห นาม นียเต ฯ


    แปลความว่า บัดนี้จักแสดงการระคนกันต่างๆ ของนามธรรม คือ จิตและเจตสิกด้วยอำนาจแห่ง
    จิตตุปปาทะ โดย ประเภทของ เวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ และ วัตถุ ตามควรต่อไป

    หมายความว่า จิตตุปปาทะ คือ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิกที่ประกอบนั้น
    ย่อมเกี่ยวข้อง ต้องระคนกับธรรมทั้ง ๖ หมวดดังกล่าวแล้วอย่างแน่นอนเสมอไปทุกขณะ ไ
    ม่มีเว้น เลย ดังจะได้กล่าวต่อไปทีละหมวด

    หมวดที่ ๑ เวทนาสังคหะ

    เวทนาสังคหะ คือ การรวบรวมแสดงโดยย่อเรื่องเวทนา มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๓ ว่า

    ๓. สุขํ ทุกฺขมุเปกฺขาติ ติวิธา ตตฺถ เวทนา
    โสมนสฺสํ โทมนสฺส มิติ เภเทน ปญฺจธา


    แปลความว่า ธรรม ๓ อย่าง คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา นี้เป็นเวทนา ๓
    เมื่อเอา โสมนัส โทมนัส รวมเข้าอีก ก็เป็น เวทนา ๕
     
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อธิบาย
    เวทนา เป็นเจตสิกธรรม ที่ทำหน้าที่เสวยอารมณ์ หรือมีความรู้สึกในอารมณ์ ที่มาปรากฏนั้น
    จัดแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ

    ก. จัดตามลักษณะของการเสวยอารมณ์ คือ จัดตามความรู้สึก มีชื่อเรียกว่า อารัมมณานุภวนนัย
    หรือ อารัมมณานุภวนลักขณนัย ตามนัยดังกล่าวนี้ จำแนก เวทนาออกเป็น ๓ คือ

    ๑. สุขเวทนา การเสวยอารมณ์เป็นสุข (หมายถึงความสุขกายและสุขใจ)
    ๒. ทุกขเวทนา การเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ (หมายถึง ความทุกข์กาย และความทุกข์ใจ)
    ๓. อทุกขมสุขเวทนา การเสวยอารมณ์เป็นกลาง คือ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ได้แก่เฉย ๆ
    (หมายถึงไม่ทุกข์และไม่สุข ก็คือ อุเบกขานั่นเอง)

    ข. จัดตามประเภทแห่งความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์ มีชื่อเรียกว่าอินทริยเภทนัย
    ตามนัยนี้จำแนกเวทนาออกเป็น ๕ คือ
    ๑. สุขเวทนา รู้สึกสบายกาย หมายเฉพาะความสุขกาย
    ๒. ทุกขเวทนา รู้สึกไม่สบายกาย หมายเฉพาะความทุกข์กาย
    ๓. โสมนัสเวทนา รู้สึกสบายใจ หมายเฉพาะความสุขใจ ดีใจ
    ๔. โทมนัสเวทนา รู้สึกไม่สบายใจ หมายเฉพาะความทุกข์ใจ เสียใจ
    ๕. อุเบกขาเวทนา รู้สึกเฉย ๆ หมายถึงความไม่ทุกข์ไม่สุข เป็นกลาง ๆ
     
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เวทนา ๓
    กล่าวโดย อารัมมณานุภวนนัย นั้น จำแนกจิตโดยเวทนา ๓ ตามลักษณะของ การเสวย
    หรือความรู้สึกในอารมณ์ ได้ดังนี้

    ๑. จิตที่เกิดพร้อมกับสุขเวทนา คือ ทั้งสุขกายและสุขใจ ก็มีจำนวน ๖๓ ดวง ได้แก่

    สุขกาย ๑ ดวง คือ สุขสหคต กุสลวิบาก กายวิญญาณ ๑
    สุขใจ ๖๒ ดวง คือ กามโสมนัส ๑๘ ฌานโสมนัส ๔๔
    กามโสมนัส ๑๘ ได้แก่ โสมนัส โลภมูลจิต ๔
    โสมนัส สันตีรณจิต ๑
    โสมนัส หสิตุปปาทะ ๑
    โสมนัส มหากุสล ๔
    โสมนัส มหาวิบาก ๔
    โสมนัส มหากิริยา ๔
    ฌานโสมนัส ๔๔ ได้แก่ ปฐมฌาน ๑๑ ทุติยฌาน ๑๑
    ตติยฌาน ๑๑ จตุตถฌาน ๑๑
    ปฐมฌาน ๑๑ คือ โลกียปฐมฌาน ๓ โลกุตตรปฐมฌาน ๘
    โลกียปฐมฌาน ๓ ได้แก่ ปฐมฌานกุสลจิต ๑ ปฐมฌานวิบากจิต
    ๑ ปฐมฌานกิริยาจิต ๑
    โลกุตตรปฐมฌาน ๘ ได้แก่ ปฐมฌานโสดาปัตติมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
    ปฐมฌานสกทาคามิมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
    ปฐมฌานอนาคามิมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
    ปฐมฌานอรหัตตมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
    ทุติยฌาน ๑๑ ตติยฌาน ๑๑ จตุตถฌาน ๑๑ ก็แจกตามนัยที่แสดง แล้วนี้

    ๒. จิตที่เกิดพร้อมกับ ทุกขเวทนา คือ ทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ มีจำนวน ๓ ดวง ได้แก่
    ทุกข์กาย ๑ ดวง คือทุกขสหคต อกุสลวิบาก กายวิญญาณ ๑
    ทุกข์ใจ ๒ ดวง คือโทสมูลจิต ๒ ซึ่งต้องเกิดพร้อมกับโทมนัสเวทนาเสมอไป

    ๓. จิตที่เกิดพร้อมกับ อทุกขมสุขเวทนา คือไม่ทุกข์และไม่สุข
    หรืออุเบกขา เวทนานั่นเอง มี ๕๕ ดวง ได้แก่
    อุเบกขา โลภมูลจิต ๔
    โมหมูลจิต ๒
    อุเบกขา อเหตุกจิต ๑๔
    อุเบกขา กามาวจรโสภณจิต ๑๒
    ฌานอุเบกขา หรือ ปัญจมฌาน ๒๓
    ปัญจมฌาน ๒๓ ได้แก่ โลกียปัญจมฌาน ๑๕
    โลกุตตรปัญจมฌาน ๘
    โลกียปัญจมฌาน ๑๕ คือ โลกียรูปาวจรปัญจมฌาน ๓
    โลกียอรูปาวจร ๑๒
    โลกุตตรปัญจมฌาน ๘ คือ ปัญจมฌานโสดาปัตติมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
    ปัญจมฌานสกทาคามิมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
    ปัญจมฌานอนาคามิมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
    ปัญจมฌานอรหัตตมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
     
  19. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เวทนา ๕

    ๔. สุขเมกตฺถ ทุกฺขญฺจ โทมนสฺสํ ทฺวเย ฐิตํ
    ทฺวาสฏฺฐิสุ โสมนสฺสํ ปญฺจปญฺญาสเกตรา ฯ


    แปลความว่า สุขเวทนา ๑, ทุกขเวทนา ๑, โทมนัสเวทนา ๒,
    โสมนัสเวทนา ๖๒, อุเบกขาเวทนา ๕๕

    กล่าวโดย อินทริยเภทนัย นั้น จำแนกจิตโดยเวทนา ๕ ตามประเภทแห่ง
    ความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์นั้น ได้ดังนี้

    ๑. จิตที่เกิดพร้อมกับ สุขเวทนา คือ เฉพาะสุขกายก็มีดวงเดียว ได้แก่
    สุขสหคต กุสลวิบาก กายวิญญาณ ๑

    ๒. จิตที่เกิดพร้อมกับ ทุกขเวทนา คือเฉพาะทุกข์กายก็มีดวงเดียว ได้แก่
    ทุกขสหคต อกุสลวิบาก กายวิญญาณ ๑

    ๓. จิตที่เกิดพร้อมกับ โสมนัสเวทนา คือสุขใจ มี ๖๒ ดวง กามโสมนัส ๑๘ ฌานโสมนัส ๔๔

    ๔. จิตที่เกิดพร้อมกับ โทมนัสเวทนา คือทุกข์ใจ มี ๒ ดวง ได้แก่ โทสมูลจิต ๒

    ๕. จิตที่เกิดพร้อมกับ อุเบกขาเวทนา คือเฉยๆ ไม่ทุกข์และก็ไม่สุข มี ๕๕ ดวง ได้แก่
    อุเบกขา โลภมูลจิต ๔ โมหมูลจิต ๒ อุเบกขา อเหตุกจิต ๑๔ อุเบกขา กามาวจรโสภณจิต ๑๒
    ฌานอุเบกขา ๒๓

    อทุกขมสุขเวทนา (ในเวทนา ๓) กับ อุเบกขาเวทนา เป็นเวทนาเดียวกัน มี อัตถะ คือ
    เนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่ พยัญชนะ เท่านั้น

    สรุป

    เวทนา ๕ ....................................................เวทนา ๓
    สุขเวทนา = สุขกาย ๑
    โสมนัสเวทนา = สุขใจ ๖๒
    ...........................รวม ๖๓ เป็น สุขเวทนา
    ทุกขเวทนา = ทุกข์กาย ๑
    โทมนัสเวทนา = ทุกข์ใจ ๒
    ...........................รวม ๓ เป็น ทุกขเวทนา
    อุเบกขาเวทนา = เฉย ๆ ๕๕ ...........................คง ๕๕ เป็นอทุกขมสุขเวทนา


    ที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นการแสดงเวทนาของจิตโดยพิสดาร ๑๒๑ ดวง ต่อไปนี้
    จะแสดงเวทนาของจิตโดยย่อ ๘๙ ดวง โดยเปรียบเทียบกับ ๑๒๑ ดวง ดังนี้
     
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จำแนกโดยเวทนา ๓

    จิตโดยพิสดาร ๑๒๑.........................จิตโดยย่อ ๘๙
    สุขเวทนา ๖๓ .............................. สุขเวทนา ๓๑
    ทุกขเวทนา ๓ ...............................ทุกขเวทนา ๓
    อทุกขมสุขเวทนา ๕๕ ...............อทุกขมสุขเวทนา ๕๕

    ที่สุขเวทนาเหลือเพียง ๓๑ เพราะตัด
    โลกุตตรปฐมฌาน ๘, โลกุตตรทุติยฌาน ๘, โลกุตตรตติยฌาน ๘, โลกุตตรจตุตถฌาน ๘
    รวม ๓๒ ดวง ซึ่งเป็นจิตพิสดาร ออกเสียจาก ๖๓ จึงเหลือเพียง ๓๑
    ที่เหลือเพียง ๓๑ นั้นได้แก่ สุขกายวิญญาณ ๑, กามโสมนัส ๑๘ และโลกีย ฌานโสมนัส ๑๒ คือ
    โลกียปฐมฌาน ๓, โลกียทุติยฌาน ๓, โลกียตติยฌาน ๓, โลกียจตุตถฌาน ๓
    ที่อทุกขมสุขเวทนา ได้แก่ จิต ๕๕ เท่ากันทั้ง ๒ ข้างนั้น เป็นเพราะทางจิต พิสดารหมายถึง
    ปัญจมฌานโลกุตตรจิต๘ ดวง ส่วนทางจิตโดยย่อหมายถึงโลกุตตร จิตโดยย่อ ๘ ดวง
    ซึ่งมีจำนวนเท่ากัน
    อนึ่งโลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงนั้น ในที่นี้นับเป็นอทุกขมสุขเวทนา คือ อุเบกขาเวทนาทั้ง ๘ ดวง

    จำแนกโดยเวทนา ๕

    จิตโดยพิสดาร ๑๒๑ .................. จิตโดยย่อ ๘๙
    สุขเวทนา ๑ .................................สุขเวทนา ๑
    ทุกขเวทนา ๑
    ..............................ทุกขเวทนา ๑
    โสมนัสเวทนา ๖๒ .....................โสมนัสเวทนา ๓๐
    โทมนัสเวทนา ๒ ........................โทมนัสเวทนา ๒
    อุเบกขาเวทนา ๕๕ ...................อุเบกขาเวทนา ๕๕
     

แชร์หน้านี้

Loading...