อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    น้อมกราบพระใส หลวงปู่ทวด -/\-
     
  2. nitikoon kongkhaw

    nitikoon kongkhaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +53,508
    +++ขอแจมเหรียญยันต์ดวงครับ+++

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  3. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    พระพุทธรูปนาคปรก
    พระพุทธรูปนาคปรกเป็นพระพุทธรูปศิลาทรายแบบขอม ขนาดหน้าตักกว้าง๐.๕๕เมตร สูง๑.๓๓เมตร ดูจากลักษณะพระพุทธรูปเป็นศิลปะขอมโดยแท้สร้างด้วยหินมีนาคปรก๗เศียรครอบพระพุทธรูปปางขัดสมาธิ สร้างตามความเขื่อของขอมและที่สำคัญคือขุดพบในบริเวณปราสาทขอม โดยพระอุปัชฌายะ เครื่อง สุภัทโท เจ้าอาวาสวัดสระกำแพงใหญ่ ท่านได้นิมิตเห็นพระทองคำขนาดใหญ่อยู่ตรงหน้าปราสาทหลังที่ ๑ ส่งรัศมีไปทั่วบริเวณสว่างไสว ท่านจึงแน่ใจว่านิมิตนั้นเป็นจริง จึงได้ชวนสามเณรมาขุดแต่เพียง๒รูป ครั้นเมื่อขุดลงไปท่านให้รู้สึกแปลกใจเพราะในนิมิตเป็นพระพุทธรูปทองคำ เหตุใดจึงเป็นกลายเป็นหินทราย จึงค่อยๆพยายามขุดก็พบว่าเป็นพระพุทธรูปนาคปรกนั่งขัดสมาธิ ท่านเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปองค์นี้ จึงได้ร่วมกับชาวบ้านสร้างวิหารขึ้นใหม่ บริเวณที่ขุดพบเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกและสันนิษฐานว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขี้นในสมัยเดียวกับการสร้างปราสาทสร้างกำแพงใหญ่ เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในปราสาทหลังนี้
    หากท่านใดได้แวะไปเที่ยววัดสระกำแพงใหญ่ ก็ควรถือโอกาสชมปราสาทกำแพงใหญ่และเข้าไปกราบนมัสการพระพุทธรูปนาคปรก เพื่อความเป็นสิริมงคล
    คัดลอกจาก www//sisakat.go.th
    ภาพจาก www//thailanddoffroad.com
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,437

    ""พระสมเด็จเกศมงคลรุ่นแรก" ได้รับการยอมรับว่าเป็น "พระดีนอก-ดีใน" สาเหตุเพราะเป็นพระเครื่องที่จัดสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดี มวลสารเยี่ยม"

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    ที่มาของการเรียกพระสมเด็จรุ่นนี้ว่า "พระสมเด็จเกศมงคล" นั้น สืบเนื่องจากว่าหลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธินิมิตสถิตมหาสีมาราม ถนนเทอดไท แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ได้ทูลขอเส้นเกศาจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) ซึ่งเป็นสหธรรมิกที่รักใคร่ชอบพอกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลอง มะขามเฒ่า และยังเป็นพระอุปัช ฌาย์ของท่าน ซึ่งถือว่าเป็นของมงคลอย่างยิ่ง โดยนำมาตัดเป็นเส้นเล็กๆ และคลุกเคล้าปนกับมวลสารต่างๆ

    ดังนั้นในพระสมเด็จเกศมงคลทุกองค์ จึงมีเกศาของสมเด็จพุฒาจารย์ (นวม) อยู่ภายใน มีเฉพาะบางองค์เท่านั้น ที่มีเกศาปรากฏให้เห็นที่ด้านนอก ส่วนในเรื่องพุทธลักษณะนั้นพิมพ์ทรงจะเป็นแบบพระสมเด็จฐาน 3 ชั้น ขนาดจะย่อมกว่าพระสมเด็จทั่วไป แต่จะใหญ่กว่าพระสมเด็จพิมพ์คะแนน วัดโดยรอบแล้วจะมีความกว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 2.7 เซนติเมตร ด้านหลังประทับ "ยันต์เมตตา"

    ความหนาของพระแต่ละองค์นั้นจะหนาบางไม่เท่ากัน แต่จะหนากว่าพระสมเด็จเกศมงคลรุ่นสองค่อนข้างมาก สำหรับเอกลักษณ์สำคัญของพระสมเด็จเกศมงคลรุ่นแรกคือ พระทุกองค์จะลักษณะบิดงอไม่มากก็น้อย ซึ่งจากประวัติที่มีการบันทึกไว้พบว่าเป็นเพราะเมื่อตอนแกะพระออกจากพิมพ์ใหม่ๆ นั้นได้นำพระไปผึ่งให้แห้งบนสังกะสี ทำให้ความร้อนจากสังกะสีสัมผัสกับองค์พระโดยตรง

    "พระสมเด็จเกศมงคลรุ่นแรก" ได้รับการยอมรับว่าเป็น "พระดีนอก-ดีใน" สาเหตุเพราะเป็นพระเครื่องที่จัดสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำปัจจัยมาบูรณะเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดโพธินิมิตซึ่งเสื่อมโทรมลงมากในช่วงเวลานั้น โดยมอบพระให้แก่ผู้ที่มาบริจาคปัจจัยร่วมบุญเท่านั้น มิได้มีการตั้งราคาค่างวดในการเช่าบูชา

    ที่สำคัญ มวลสารที่นำมาจัดสร้างนั้นล้วนแต่เป็นผงศักดิ์สิทธิ์และของศักดิ์สิทธิ์รวมอยู่ภายในหลายชนิด โดยก่อนที่หลวงพ่อฑูรย์จะเริ่มสร้างพระชุดนี้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม ได้ทราบความตั้งใจของท่าน จึงมอบผงวิเศษหนึ่งขันใบใหญ่ แล้วพูดกับหลวงพ่อฑูรย์ว่า "เอาผงนี้ไปสร้างพระ"

    สำหรับมวลสารต่างๆ ที่นำมาสร้างพระนั้นตามประวัติกล่าวว่า "มากจนประมาณไม่ได้" เพราะมีทั้งที่หลวงพ่อฑูรย์ท่านรวบรวมเอง มีทั้งที่สานุศิษย์นำมาถวายให้ท่าน และมีทั้งที่สหธรรมิกของท่านนำมามอบให้ ซึ่งมิได้มีการจดบันทึกไว้ทุกรายการ

    แต่เท่าที่มีการบันทึกไว้ อาทิ 1.ดินศักดิ์สิทธิ์จากจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน อันประกอบด้วย ดินกลางวัด 323 วัด ดินวัดร้าง 211 แห่ง ดินใจกลางเมืองสุพรรณบุรี ดินศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ดินคูเมือง ดินสระแก้ว สระคา เป็นต้น
     
  5. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    แม้จะดูไม่ค่อยเป็นแต่ขอชมว่าสวยครับ
     
  6. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,437
    สวัสดีครับพี่ตี๋ใหญ่ ^_^
     
  7. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    พระนาคปรก วัดสระกำแพงใหญ่ ขนาดห้อยคอครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3550.JPG
      IMG_3550.JPG
      ขนาดไฟล์:
      4.7 MB
      เปิดดู:
      234
    • IMG_3554.JPG
      IMG_3554.JPG
      ขนาดไฟล์:
      4.5 MB
      เปิดดู:
      589
  8. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    อนุโมทนาสาธุ ... ขอให้มีความสุข ความเจริญ และก้าวหน้าในชีวิตนะครับ
     
  9. tanman

    tanman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +17,392
    สวัสดีครับท่านนายกปู ^^

    ยินดีกับวันเปิดตัวแกเลอรี่หลังใหม่ด้วยครับ

    จะแวะเข้ามาชมภาพถ่ายสวยๆฝีมือคุณปูบ่อยๆน๊ะครับ
     
  10. tanman

    tanman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +17,392

    เหรียญนี้สวยครับคุณปู

    เพิ่งเคยเห็นเหรียญพระพุทธด้านหลังหนุมานก็เหรียญนี้แหละครับ

    แถมมีลายกนกของชอบอีกด้วย

    ชอบครับ...ชอบ
     
  11. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    [​IMG]


    กลับจากต่างจังหวัดมาเจอก็ "งง งง" เล็กน้อย

    [​IMG]



    :cool::cool::cool:
     
  12. Tuumm

    Tuumm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +7,528
    เหรียญสวยมากครับพี่กูล

     
  13. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    พระพิมพ์สมเด็จ หลวงปู่ดู่ วัดสะแก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0876.JPG
      IMG_0876.JPG
      ขนาดไฟล์:
      4.4 MB
      เปิดดู:
      234
    • IMG_0878.JPG
      IMG_0878.JPG
      ขนาดไฟล์:
      4.5 MB
      เปิดดู:
      262
  14. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,437
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    พระสมเด็จนางพญา ปี: 2519 จัดสร้างโดยคณะรังษี วัดบวรนิเวศ หลวงปู่โต๊ะปลุกเสก 5 คืน
    รายนามพระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสกและเจริญพุทธมนต์พระสมเด็จพระอุณาโลมทรงจิตลดา - นางพญา สก. 2519

    1. วันจันทร์ 5 ก.ค. 2519 เวลา 17.00 น.
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    1. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
    2. พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    3. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
    4. หลวงพ่อเมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ฯ นครราชสีมา
    5. พระเทพวราลังการ(หลวงปู่ศรีจันทร์) วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย
    6. พระสุทธิสารโสภณ วัดศรีโพแท่น จ.เลย
    7. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี

    พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ เจริญพุทธมนต์ ๑๐รูป
    1. สมเด็จพระวันรัต วัดสังเวชวิศยาราม
    2. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา
    3. สมเด็จพระพุทธิวงศมุนี วัดเบญจมบพิธ
    4. พระพรหมคุณากรณ์ วัดสระเกศ
    5. พระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม
    6. พระธรรมวิสุทธาจารย์ วัดพิชัยญาติการาม
    7. พระธรรมธีรราชมหามุนี วัดปากน้ำ
    8. พระราชสารมุนี วัดเขมาภิรตาราม
    9. พระปริยัติเมธี วัดมกุฎกษัตริย์
    10. พระอุดมศีลคุณ วัดบุรณศิริมาตยาราม

    2. วันอังคาร 6 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    1. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    2. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
    3. พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร
    4. หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย
    5. หลวงพ่อมา วัดวิเวกอาศรม ร้อยเอ็ด
    6. พระโพธิสังวรเถร (หลวงพ่อฑูรย์) วัดโพธินิมิต ธนบุรี
    7. พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง

    วันพุธ 7 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    1. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    2. พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร
    3. พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
    4. หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย
    5. หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิยม กาฬสินธุ์
    6. หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด
    7. หลวงพ่อชา วัดศรีแก่งคร้อ ชัยภูมิ
    8. หลวงพ่อชม วัดป่าบ้านบัวค่อม อุดรธานี
    9. หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต
    10. หลวงพ่อมา วัดวิเวกฯ ร้อยเอ็ด

    4. วันพฤหัสบดี 8 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    1. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    2. พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
    3. หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด
    4. หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต
    5. พระอาจารย์สาม วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์
    6. หลวงพ่อจ้อย วัดสุวรรณประดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี
    7. หลวงพ่อบุญรักษ์ วัดคงคาวดี สิชล นครศรีธรรมราช
    8. หลวงพ่อเหรียญ วัดป่าอรัญญบรรพต หนองคาย
    9. พระอาจารย์บัวพา วัดป่าพระสถิต หนองคาย

    5. วันศุกร์ 9 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    1. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    2. พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
    3. หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา
    4. หลวงพ่อโชติ วัดภูเขาแก้ว อุบลฯ
    5. หลวงพ่อพั่ว วัดบ้านนาเจริญ อุบลฯ
    6. พระอาจารย์สมชาย วัดเขาสุกิม จันทบุรี
    7. หลวงพ่อจันทร์(อายุ ๑๐๒ปี) วัดนามะตูม ชลบุรี
     
  15. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,437
    เหรียญสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ​



    [​IMG]


    [​IMG]


    สร้างปีพ.ศ. 2529 วงการเล่นหาเป็นเหรียญรุ่นสองรูปเหมือนของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชท่าน ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จำลองแบบมาจากเหรียญรุ่นแรก(พ.ศ. 2528)ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธาออกแบบ,จัดสร้างถวายด้วยพระองค์เอง และได้พระราชทานพระปรมาภิไธยย่อภปร.มาประดิษฐานไว้ที่ด้านหลังอีกด้วย นับเป็นสิริมงคลคู่อันประเสริฐสุด ยากจะหาเหรียญรูปเหมือนพระคณาจารย์ใดเสมอเหมือนได้
    จะแตกต่างกัน ก็เพียงแต่เปลี่ยนประโยคหลังเหรียญ "3 ตุลาคม 2528" ในรุ่นแรกมาเป็น "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย"เท่านั้น แต่ส่วนอื่น ล้วนมีความเหมือนกันในทุกประการ

    อนึ่ง เหรียญสมเด็จพระญาณสังวร ฯรุ่นร.พ.จุฬาฯ นี้ ในสายตาของคนทั่วไปอาจจะเห็นว่า มีศักดิ์ศรีและความนิยมอาจจะไม่เท่ากับเหรียญรุ่นแรก ด้วยความยึดมั่นที่ว่า เป็น"รุ่น 2" แต่หากจะมองเจาะลึกให้ถึงก้นบึ้งกันจริงๆ จะพบว่า เหรียญรุ่น 2 นี้ มีความพิเศษสุดยิ่งกว่า ซึ่งแม้เหรียญรุ่นแรกก็ไม่อาจจะบดบังรัศมีความดีเลิศได้อย่างสนิทในหลายๆประการ กล่าวคือ
    1. เหรียญรุ่น 1 รุ่น 2 ล้วนได้มาจากต้นแบบที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกแบบด้วยพระองค์เองและได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างเหมือนๆกัน

    2.เหรียญรุ่นแรก ปลุกเสกที่วัดบวรนิเวศวิหารเพียงครั้งเดียว ส่วนเหรียญรุ่น 2 (ร.พ.จุฬาลงกรณ์) เข้าพิธีมากกว่าและใหญ่กว่า ด้วยได้เข้าร่วมพิธีกริ่งปวเรศ2 ปี 2530 อันโด่งดังทั้งที่วัดบวรนิเวศวิหาร (2 วาระ)และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)อีกด้วย

    3.เหรียญรุ่นแรก ปลุกเสกที่วัดบวรนิเวศวิหารเป็นการภายใน ส่วนเหรียญรุ่น 2 ปลุกเสกเป็นมหาพิธีใหญ่ มีเจ้านายชั้นสูงเสด็จประกอบพิธีถึง 2 วาระ (ในขณะที่เหรียญรุ่นแรกไม่มีเสด็จฯ) กล่าวคือ
    3.1 พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ ๑ ในคืนวันเสาร์ที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๙ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธี สมเด็จพระญาณสังวร ประธานพิธีอธิษฐานจิต โดยมีพระคณาจารย์สำคัญร่วมนั่งปรกด้วยดังนี้
    ๑.พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร
    ๒.หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน กรุงเทพมหานคร
    ๓.หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังค์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
    ๔.พระครูอาคมวิสุทธิ (คง) วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี
    ๕.พระครูญาณวรกิจ (กล้วย) วัดหมูคุด จ.จันทบุรี
    ๖.พระรัตนคุณากร (แช่ม) วัดบ่อพุ จ.จันทบุรี
    ๗.พระครูสันติวรณาญ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
    ๘.พระครูเมธีธรรมสาธก (หนู) วัดสุนทรพิชิตาราม จ.นครนายก
    ๙.หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม จ.นครปฐม
    ๑๐.พระภาวนาพิศาลเถร (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
    ๑๑. พระอาจารย์นก วัดเขาแก้ว จ.นครสวรรค์
    ๑๑.พระครูนนทสมณวัตร (เหรียญ) วัดบางระหงษ์ จ.นนทบุรี
    ๑๒.พระครูมงคลธรรมสุนทร วัดบางนา จ.ปทุมธานี
    ๑๓.พระครูวิเศษภัทรกิจ (ทองใบ) วัดสายไหม จ.ปทุมธานี
    ๑๔.พระอาจารย์ฟัก วัดนิคมประชาสรรค์ จ.ประจวบคีรีขันธ์
    ๑๕.พระวิสุทธาจารคุณ (เกตุ) วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์
    ๑๖.พระครูปลัดพรหม วัดขนอนเหนือ จ.พระนครศรีอยุธยา
    ๑๗.พระอาจารย์ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม จ.ร้อยเอ็ด
    ๑๘.พระครูอนุรักษ์วรคุณ (สง่า) วัดหนองม่วง จ.ราชบุรี
    ๑๙.พระครูสมุทรวิจารณ์ (คลี่) วัดประชาโฆศิตาราม จ.สมุทรสงคราม
    ๒๐.พระครูอาทรธรรนิเทศก์ (ทองอยู่) วัดท่าเสา จ.สมุทรสาคร
    ๒๒. พระครูสุนทรธรรมกิจ (หยอด) วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม
    ๒๓. พระครูสังวรธรรมานุวัตร (พล) วัดหนองคณฑี จ.สระบุรี
    ๒๔. พระครูสรกิจพิจารณ์ (ผัน) วัดราษฎร์เจริญ จ.สระบุรี
    ๒๕. พระครูสาธุกิจวิมล (เล็ก) วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม
    ๒๖. หลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร จ.นครปฐม
    ๒๗.หลวงพ่อพลู วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม
    ๒๘. พระครูเกษมธรรมานันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    ๒๙. พระครูนนทสิทธิการ เจ้าอาวาสวัดไทรน้อย จ.นนทบุรี
    ๓๐. พระครูวิจิตธรรมานุวัตร วัดหนองกระบอก จ.ระยอง
    ๓๑. พระวัชรธรรมาภรณ์ (สุรพงษ์) วัดตรีทศเทพ
    ๓๒. พระครูปริยัติคุณาธาร วัดชนะสงคราม
    ๓๓. พระญาณสมโพธิ (ขวัญ) วัดอรุณราชวราราม
    ๓๔. พระปริยัติมุนี (ชูศักดิ์) วัดหงส์รัตนาราม
    ๓๕. พระครูมงคลญาณสุนทร (ผ่อง) วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส
    ๓๖. พระโพธิสังวรเถร (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร

    3.2 พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ ๒ พิธีวันวิสาขบูชา วันพุธ-พฤหัสบดีที่ ๒๑-๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระญาณสังวร ประธานประกอบพิธี
    3.3 พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ ๓ วันอาทิตย์ที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๐ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี สมเด็จพระสังฆราช ทรงจุดเทียนชัย สมเด็จพระญาณสังวร ประธานพิธีอธิษฐานจิต และมีพระอัจฉริยคณาจารย์สำคัญจากทั่งประเทศร่วมนั่งปรกเจริญจิตภาวนาอันมี
    ๑ . สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
    ๒. พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดพิชยญาติการาม กรุงเทพมหานคร
    ๓. พระมงคลราชมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร
    ๔. พระราชพุทธิรังษี วัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรี
    ๕. พระสุนทรธรรมภาณี วัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี
    ๖. พระญาณสิทธาจารย์ วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จังหวัดนครราชสีมา
    ๗. พระโพธิสังวรเถร วัดโพธินิมิตร กรุงเทพมหานคร
    ๘. พระอุดมสังวรเถร วัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี
    ๙. พระภาวนาพิศาลเถร วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา
    ๑๐.พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร วัดประชาคมวนาราม จังหวัดร้อยเอ็ด
    ๑๑.พระภาวนาโกศลเถร วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร
    ๑๒.พระสุธรรมยานเถร วัดจันทาราม จังหวัดอุทัยธานี
    ๑๓.พระครูสุนทรธรรมวัตร วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร
    ๑๔.พระครูประสิทธิ์ภาวนาคุณ วัดนิคมประชาสรรค์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    ๑๕.พระสังวรสมาธิวัตร วัดเภตราสุขารมณ์ จังหวัดระยอง
    ๑๖. พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี
    ๑๗.พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จังหวัดเชียงใหม่
    ๑๘.พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว จังหวัดปัตตานี

    และก็เมื่อได้ทราบความนัยเบื้องลึกเห็นเพียงนี้ ยังจะมีผู้ใดกล้าปฏิเสธหรือมองข้ามเหรียญสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช รุ่นโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พ.ศ. 2529 อยู่อีกหรือไม่..?????


    "เหรียญนี้น่าจะเสกเดี่ยว แต่หากเป็นพิธีหมู่ ประธานในพิธีจะต้องเก่งมากๆ ที่สามารถคอนโทรลพลังที่หลากหลายให้เป็นหนึ่งเดียวได้ถึงขนาดนี้"
    "ผู้ปลุกเสกพระองค์นี้ พื้นจิตเดิมมีลักษณะใจดี มีเมตตาสูง และมีความอ่อนน้อมถ่อมตนมาก.."
    "แต่ในความใจดี มีเมตตาสูงนั้น ผู้ที่เสกนี้ยังมีความเก่งมากๆ มีบุญบารมีกว้างขวางและเข้มข้นมากๆ มีกำลังแห่งมหาสติเด่นมากๆ อีกทั้งยังเข้าถึงธาตุหรือความเป็นพุทธะอีกต่างหากด้วย..."
    หน่วยสืบราชการลับทางจิตสาย"โยคะ"

    และเมื่อหน่วยสืบราชการลับทางจิตสาย"โยคะ"ได้ทราบในภายหลังว่า พระที่ตรวจนั้น แท้จริงแล้วก็คือเหรียญสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช รุ่นโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พ.ศ. 2529 ก็แทบจะถึงแก่การตกตะลึงพรึงเพริดไปอย่างคาดไม่ถึง พลางร้องออกมาทีเดียวว่า
    "ตั้งแต่เคยตรวจเหรียญของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชมา เหรียญรุ่นนี้ พลังโดดเด่นสว่างไสวแรงกล้ามากที่สุดอย่างที่ไม่เคยพบในรุ่นใดๆมาก่อน แม้จะเป็นพิธีพุทธาภิเษกหมู่อย่างที่ว่าก็จริง แต่สมเด็จฯท่านก็สามารถคุมพลังให้เป็น UNITY ได้ทั้งหมด นึกไม่ถึงว่า สมเด็จพระญาณฯท่านจะเก่งกล้าสามารถอะไรถึงขนาดนี้เลยทีเดียว..!!!!!!"
     
  16. tanman

    tanman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +17,392

    แจ่มมม...เลยครับพี่ตี๋ใหญ่

    หลังเป็นกะทิอย่างนี้ ถั่วววววว...ต้มมมมมมม...เบยยยยยยยย...ก๊าบบบบบบ
     
  17. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    ก่อนไปนอนครับ
    พระพิมพ์นางพญา ไม้พยุง ลป.เสาร์ ติสสปัญญโญ วัดกุดเวียน รุ่นนี้มีองค์เดียวครับ ลูกน้องเขาได้ไม้พยุงมาให้ ผมเลยแกะเป็นพระพิมพ์นางพญาแล้วขอบารมีจากลป. ท่านก็เมตตาแบบขำๆ บอกว่าออกพรรษาแล้วค่อยมารับคืน ตอนไปรับคืนก่อน ลป.จะส่งให้ท่านยกขึ้นดูแล้วยิ้มพร้อมหัวเราะหึๆๆ แล้วส่งคืนให้ ผมเป็นปลื้มสุดๆๆครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3946.JPG
      IMG_3946.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      433
    • IMG_3947.JPG
      IMG_3947.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.3 MB
      เปิดดู:
      236
  18. rungaran

    rungaran เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    15,573
    ค่าพลัง:
    +57,322
    ***หายไปใหนมาครับ น้องกูล ***
     
  19. rungaran

    rungaran เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    15,573
    ค่าพลัง:
    +57,322
    ***หายไปใหนมาครับ หรือ งานจะยุ่งครับ เสี่ยเอ๊ะ เอิ๊กเอิ๊ก***
     
  20. rungaran

    rungaran เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    15,573
    ค่าพลัง:
    +57,322
    ***องค์ สมเด็จ ลป.ดู่ งามมากๆ
    นี่เพิ่งจะเคยได้ ยิน หลังเป็นกะทิ นี่ ของ จริงเลย เข้าใจแล้วครับ เอิ๊กเอิ๊ก***
     

แชร์หน้านี้

Loading...