สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    ถ้าฝึกธรรมกายมานาน 10 ปี แล้วไม่เห็นดวงปฐมมรรค ควรจะฝึกต่อไปหรือเปลี่ยนไปฝึกแบบอื่น ?

    ถาม----ถ้าฝึกธรรมกายมานาน 10 ปี แล้วไม่เห็นดวงปฐมมรรค ควรจะฝึกต่อไปหรือเปลี่ยนไปฝึกแบบอื่น ?






    ตอบ:


    หลายคนมีจิตใจหลายอย่าง มีหลายอารมณ์ กระผมจะกล่าวเฉพาะอารมณ์ของกระผมว่า อะไรที่มันถูกต้องดีแล้ว ทำไปเลยจนตาย ไม่ต้องเปลี่ยน หลวงพ่อรับรองว่าก่อนตายได้เห็นทุกคน มีแม่ชีคนหนึ่ง วัดปากน้ำ


    แกนั่งเท่าไรก็ไม่เห็น ตั้งแต่สาวเล็กๆ จนกระทั่งสาวใหญ่ ใหญ่ไปจนกระทั่งสาวแก่ ก็ไม่เห็น ก็หงุดหงิด เจ็บใจนัก เลยไปทำหน้าที่ประเภทล้างถ้วยล้างชาม ล้างกระโถน ตอนหลังแก่ป่วยจะตาย แกเห็นจริงๆ แกบอกแกเห็นแล้ว

    ปฏิบัติไป ประกอบด้วยเหตุปัจจัยหลายอย่าง กว่าที่จะเห็นได้ บางคนช้า บางคนเร็ว เมื่อเราเห็นว่าเป็นวิธีที่ถูกต้อง เหมาะสมแล้ว เราเดินหน้าอย่างเดียว เดี๋ยวเดียวก็ถึง อย่าไปนึกว่ามันช้า

    หลวงพ่อเองก็หลายปีกว่าจะเห็น อาศัยว่าว่ากันเต็มที่ จนถึงกับปล่อยชีวิต คำว่าปล่อยชีวิต มีคนค้านว่า เมื่อยอมตายแล้วจะอยู่ได้อย่างไร คำว่าปล่อยชีวิต หมายว่า เมื่อไม่ได้อย่างนี้แล้วปล่อย ยอมตาย ท่านทำได้อย่างนี้ก็ไม่ต้องตาย เหมือนพระพุทธเจ้าสมัยเป็นพระโพธิสัตว์ ถ้าไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณจะไม่ลุกจากที่ ถึงแม้เลือดเนื้อจะแห้งเหือดไปก็ตาม ก็คือตาย แต่พระองค์ท่านบรรลุธรรมที่ตั้งใจจะบรรลุ เรียบร้อยกันไป อันนี้ก็กราบเรียนเพื่อทราบ

    เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผม ผมจะไม่เปลี่ยน คือเราไปนึกว่าอย่างนี้จะต้องเห็นดวงเห็นกาย ถ้าไม่เห็นดวงเห็นกาย หงุดหงิดเสียแล้ว ที่แท้ใจสงบด้วยสติสัมปชัญญะครบด้วยการเจริญภาวนาสมาธิ ถึงยังไม่เห็นดวงเห็นกาย ทำบ่อยๆ เนืองๆ กิเลสก็เบา เบาไป ดีไปเรื่อยๆ ให้รู้ตัวอยู่เรื่อยไป เคยหงุดหงิดจะโกรธซัก 10 ที ก็ให้เหลือ 8 พอทีหลังให้เหลือ 6 สติคอยกำกับเอาไว้ ยังไม่เห็นช่างมัน

    ถึงเวลาเบากาย เบาใจ จิตใจเป็นอิสระได้ มันหยุดนิ่งมันถูกส่วนเข้า เห็นเองเป็นธรรมดาครับ
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    .....ได้คุยนอกกระทู้ กับผู้ปฏิบัติสติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกายท่านหนึ่ง



    ....มีกายละเอียด ของครูบาอาจารย์ หรือ พระพุทธรูปต่างๆ เกิดขึ้น
    มาในจิตจะทำอย่างไร

    1. ถ้านอกศูนย์กลางกาย

    ไม่จำเป็นไม่ต้องยุ่ง ทำใจเฉยๆ เราก็ทำหน้าที่ของเรา เข้ากลางของกลางของกายเราไปเรื่อยๆ


    2. ถ้าเกิดขึ้นมาที่ศูนย์กลางกาย

    ถ้าไม่ขาว ไม่ใส แม้แต่เห็นว่าขาวขุ่นๆ

    ให้วางใจ เข้ากลางของกลาง จุดเล็กใสกลางกายเรา

    ดับหยาบไปหาละเอียด ไปเรื่อยๆ

    ของไม่จริง จะหยาบขึ้นและหายไป

    หรือ สำหรับผู้เข้าถึงกายธรรมแล้ว

    ให้อธิษฐานที่ศูนย์กลางกายกายธรรมที่ละเอียดที่สุดที่จะเข้าได้ของเรา

    แล้วอธิษฐานให้กายธรรมหรือดวงธรรมเป็นอัศนีย์ธาตุ ละลาย
    ซ้ายขวาหน้าหลังล่างบน กายที่เห็นนั้น
    ถ้าเป็นธาตุธรรมอกุศลสร้างขึ้นมา หลอกให้เราออกจากทางสายกลาง
    ก็จะถูกละลาย แยกออกไปหมด

    หรืออีกวิธี

    -ปักใจเข้ากลางของกลาง ดับหยาบไปหาละเอียด เรื่อยๆ
    พิสดารกาย ซ้อน สับ ทับทวี นับไม่ถ้วน คือกระดิกจิตนิดเดียว
    แล้วนิ่งในนิ่งที่ศูนย์กลางกายไปเรื่อยๆ ของปลอมจะแยกออกไปเอง

    แล้วตรงจุดศูนย์กลางกาย อาราธนาพระพุทธเจ้าในนิพพาน(พระธรรมกาย)
    ทุกพระองค์ ทับทวี ซ้อนกายสับกายขึ้นมาเก็บเหตุปลอมๆ เหตุอกุศล
    ผ่านศูนย์กลางกายเราขึ้นมา


    หรือ อีกวิธี

    กระดิกจิตดับอธิษฐาน ถอนปาฏิหาริย์ ไปสุดหยาบสุดละเอียด
    แล้วปักใจเข้ากลางของกลางไปเรื่อยๆ




    หมายเหตุ ทำไม ต้องเข้ากลางไปเรื่อยๆ ไม่แช่ไว้ และอย่าไว้ใจในสิ่งที่เห็น

    เพราะ ถ้าเราแช่ไว้ที่กาย หรือ สภาวะปลอมๆ

    อกุศลเดิมในใจเราที่ยังเอาออกไม่หมดจะฟูขึ้นมา

    และอาจถูกหลอกให้คิดผิด เห็นผิด ทำอะไรผิดๆได้

    โดยนึกว่า เป็นพระ เป็นครูบาอาจารย์สัมมาทิฐิท่านมาบอก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กันยายน 2014
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    พระเกตุมาลาของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงมีหลายลักษณะ เช่น เกตุเปลว เกตุดอกบัวตูม เกตุตุ้ม ?


    --------------------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    พระเกตุมาลาของพระธรรมกายนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมที่เข้าไปรู้ไปเห็นตรงกันว่า เป็นธรรมชาติมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม

    ส่วนการที่ช่างปั้น ปั้นพระพุทธรูปมี เกตุเปลว นั้น ก็ด้วยสมมุติว่าเป็นพระรัศมี ซึ่งมีลักษณะเหมือนเปลวเพลิง

    บางครั้งก็จะพบพระเกตุมาลาเป็นรูปดอกบัวตูม ตามพระพุทธลักษณะที่เป็นจริงของพระธรรมกาย

    ส่วนช่างปั้นที่ปั้นพระพุทธรูปเป็นลักษณะ เกตุตุ้ม นั้น เข้าใจว่าจำลองแบบจากพระพุทธรูปที่ทำขึ้นในยุคแรกในรัฐคันธารราษฎร์ ซึ่งช่างปั้นในยุคนั้นได้รับอิทธิพลจากศิลปะชาวกรีก ที่ทำพระพุทธปฏิมาจำลองพระวรกายเนื้อของพระพุทธเจ้า


    [​IMG]


    พุทธลักษณะ พระธรรมกาย นิพพานถอดกาย(นิพพานธรรมกาย)



    พุทธลักษณะ พระธรรมกาย นิพพานเป็นคล้ายดังภาพข้างล่างนี้


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กันยายน 2014
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    [​IMG]



    ดวงแก้วมณีในรัตนะ 7 นั้น อาราธนาเข้าจรดศูนย์กลางกาย แล้วกลั่นให้ใสจนสุดละเอียด แล้ว ปรากฏกายเหมือนเทวดาขึ้นมาในศูนย์กลางของดวงแก้วมณีนั้น จะเรียกว่ากายอะไร ? และให้คุณประโยชน์อย่างไรบ้างแก่ผู้ปฏิบัติธรรม ?

    -------------------------------------------------------

    ตอบ:


    นั่นเรียกว่า จักรพรรดิ หรือ ภาคผู้เลี้ยง ผู้เป็นประธานรัตนะ 7 คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว นางแก้ว ขุนพลแก้ว ขุนคลังแก้ว แก้วมณี และแว่นแก้ว กล้องแก้ว และกายสิทธิ์ ผู้เป็นบริวารรัตนะ 7 อีกทีหนึ่ง

    สิ่งเหล่านี้ รู้เห็นได้ด้วยตาหรือญาณของพระธรรมกาย และมีคุณประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติธรรมตามที่พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) อธิบายไว้ มีปรากฏอยู่ในหนังสือมรรคผลพิสดาร ดังต่อไปนี้

    ภาคผู้เลี้ยง

    ที่เรียกว่า ผู้เลี้ยงมนุษย์นั้น คือพวกกายสิทธิ์ ซึ่งเป็นผู้เลี้ยงมีหน้าที่เลี้ยงดู และพิทักษ์รักษาพวกกายมนุษย์

    พวกกายสิทธิ์มี 3 ชั้น คือ จุลจักร 1 มหาจักร 1 บรมจักร 1 ทั้ง 3 ชั้นนี้มีกายสิทธิ์เป็นบริวารชั้นหนึ่งๆ นับหลายแสนหลายโกฏิอสงไขย มีหน้าที่ต่างกัน คือ

    1.จุลจักรพร้อมทั้งบริวาร มีหน้าที่เลี้ยงรักษามนุษย์ที่มีบารมีอย่างต่ำ
    2.มหาจักรพร้อมทั้งบริวาร มีหน้าที่เลี้ยงรักษากายมนุษย์ที่มีบารมีชั้นกลาง
    3.บรมจักรพร้อมทั้งบริวาร มีหน้าที่เลี้ยงรักษากายมนุษย์ที่มีบารมีชั้นสูง
    มนุษย์คนหนึ่งๆ มีจักรทั้ง 3 พร้อมทั้งบริวารชุดหนึ่งๆ เป็นผู้เลี้ยง และอาจผลัดเปลี่ยนกันรักษาไปตามคราวๆ เป็นต้นว่า

    คราวใด จุลจักรกับบริวารเลี้ยงรักษา ก็มีทรัพย์สมบัติและความสุขน้อย
    คราวใด มหาจักรกับบริวารเลี้ยงรักษา ก็มีสมบัติและความสุขมัชฌิมา
    คราวใด บรมจักรกับบริวารเลี้ยงรักษา ก็มีสมบัติและความสุขบริบูรณ์ทุกประการ
    ไม่เลี้ยงรักษาแต่เฉพาะกายมนุษย์เท่านั้น สิ่งไม่มีวิญญาณก็สมบูรณ์เหมือนกัน ถึงแม้สมัยยุคของโลก ก็เลี้ยงทั่วไป เป็นสาธารณะเหมือนกัน

    ถ้ายุคใดสมัยใด จุลจักรกับบริวารเลี้ยงรักษา โลกก็มีความสุขน้อย ทรัพย์สมบัติและอาชีพต่างๆ ก็อัตคัดกันดาร ไม่สมบูรณ์
    ถ้ายุคใดสมัยใด มหาจักรกับบริวารเลี้ยงรักษา โลกก็มีความสุขเป็นมัชฌิมา ทรัพย์สมบัติและเครื่องกินเครื่องใช้ก็พอปานกลาง ไม่ฟุ่มเฟือยนักและไม่กันดารนัก พอปานกลาง
    ถ้ายุคใดสมัยใด บรมจักรกับบริวารเลี้ยงรักษา โลกก็บริบูรณ์ไปด้วยความสุขทุกประการ ทรัพย์สมบัติ วิญญาณกทรัพย์ และอวิญญาณกทรัพย์ก็หาได้ง่าย มั่งคั่งสมบูรณ์ไปตามกัน ไม่เบียดเบียนกัน
    จักรทั้ง 3 กับบริวารที่กล่าวมานี้เฉพาะกายมนุษย์ ส่วนกายอื่นๆ ก็มีจักรทั้ง 3 กับบริวารเลี้ยงรักษา มีประจำสำหรับทุกกายไปตลอดจนกายสุดหยาบสุดละเอียดเท่านั้นเหมือนกัน ถ้าเลี้ยงรักษากายไหน รูปพรรณสัณฐานร่างกายก็เหมือนกายนั้น เช่น จักรเลี้ยงกายมนุษย์และกายทิพย์ เลี้ยงกายปฐมวิญญาณหยาบ เลี้ยงกายปฐมวิญญาณละเอียด เลี้ยงกายธรรมเป็นต้น ก็มีรูปพรรณสัณฐานร่างกายเหมือนกันกับกายนั้นๆ แต่ทว่าดีกว่า ใสสะอาดกว่า ละเอียดกว่ากายนั้นๆ ส่วนรูปร่างเหมือนกับกายที่เลี้ยงนั้น ตลอดจนกายสุดหยาบสุดละเอียด

    จักรทั้ง 3 นั้น เหตุไรจึงเรียกนามว่า จักร คือกายสิทธิ์เหล่านี้มีตัวอยู่ในดวงแก้ว ดวงแก้วนั้นเป็นบ้านเรือนสำหรับอยู่อาศัยของเขา เหมือนมนุษย์อาศัยบ้านเรือนอยู่

    ภายในดวงแก้ว นั้นมีรัตนะ 7 คือแก้ว 7 ประการ ดังต่อไปนี้

    1.จักรแก้ว
    2.ช้างแก้ว
    3.ม้าแก้ว
    4.ดวงแก้วมณี
    5.นางแก้ว
    6.คฤหบดีแก้ว (ขุนคลังแก้ว)
    7.ขุนพลแก้ว
    ในแก้ว 7 ประการนี้ จักรแก้วเป็นใหญ่เป็นประธานในแก้ว 7 ประการทั้งหลายเหล่านั้น
    ในแก้ว 7 ประการนี้ จักรแก้วเป็นตัวอำนาจสิทธิ ให้สำเร็จอำนาจและกิจการน้อยใหญ่ ดุจดังมหาอำมาตย์ผู้ใหญ่เป็นผู้สำเร็จราชการทั้งปวง เพราะเหตุนี้แหละ จักรทั้ง 3 นั้น จึงได้นามว่า จักร

    ความต่างกันของจักรทั้ง 3 นั้น คือ

    1.จุลจักร เป็นดวงแก้วกลมใสสะอาดบริสุทธิ์ ประณีต มีฤทธิ์อำนาจและบริวารน้อยกว่าแก้วมหาจักร
    2.มหาจักร เป็นดวงแก้วกลมใสขาวสะอาดบริสุทธิ์ ประณีตกว่าจุลจักร
    3.บรมจักร เป็นดวงแก้วกลมใสขาวสะอาดบริสุทธิ์ ประณีตกว่าแก้วมหาจักร มีฤทธิ์อำนาจและบริวารมากกว่าจุลจักร และมหาจักร
    กายหนึ่งๆ ก็มีจุลจักร มหาจักร บรมจักร พร้อมทั้งบริวารชุดหนึ่งๆ เป็นผู้เลี้ยง มีประจำไปเช่นนี้ทุกกาย กายละพวกๆ จนสุดหยาบสุดละเอียด ผู้เลี้ยงก็มีไปจนสุดหยาบสุดละเอียดของกายผู้เลี้ยงเหมือนกัน

    ขนาดแก้วของจักรทั้ง 3 กับแก้วบริวาร คือ

    1.แก้วจุลจักรและบริวาร ขนาดตั้งแต่เล็กเท่าแววตาดำขึ้นไปจนถึงโตเท่าผลมะตูม หรือผลมะขวิด
    2.แก้วมหาจักรและบริวาร ขนาดผลตาลขึ้นไปจนถึงผลมะพร้าวแห้ง
    3.แก้วบรมจักรและบริวาร ขนาดตั้งแต่เท่าบาตรขึ้นไปจนถึงโตเท่าตะแกรงหรือเท่ากระด้ง
    พวกผู้เลี้ยงหรือเรียกว่า พวกกายสิทธิ์ ก็มีธาตุตายธรรมตาย เป็นต้นว่า ภพเป็นที่อยู่ เหมือนกับพวกมนุษย์เช่นเดียวกัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    ถาม---การกำหนดจุดกึ่งกลางของลูกแก้ว หรือลูกกลมสีขาว ถ้ากำหนดแล้ว เห็นเป็นจุดสีดำ หรือ จุดสีขาวมีขอบดำ จะเป็นการขัดต่อหลักของอาโลกกสิณ หรือไม่ ?

    --------------------------------------------------------------------


    ตอบ


    ถ้าใครนึกให้เห็นลูกแก้วหรือดวงแก้ว หรือดวงขาวแต่ยังไม่ใส แล้วเห็นจุดกึ่งกลางเป็นสีดำ หรือเห็นจุดสีขาวมีขอบสีดำ นี้ท่านเห็นเจตสิกธรรมคือธรรมชาติที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตใจ ของจริงแล้ว ให้เข้าใจไว้ แต่เป็นธรรมชาติของจริงฝ่ายธรรมดำหรือภาคดำ ที่เรียกว่าอกุสลาธัมมา ธาตุธรรมดำนั้น กรณีที่เห็นนี้ เป็นได้ 2 ประการคือ


    ประการที่ 1 คือ เป็น “อวิชชา” เป็นอวิชชานิวรณ์ที่ห่อหุ้ม “ดวงรู้” ของผู้ที่เห็นนั้น ไม่ให้ขยายโตขึ้น

    ที่เรียกว่า “ใจ” นั้นประกอบด้วยดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่ตั้งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป ณ ภายใน ตรงกลางธาตุละเอียดของรูปขันธ์ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ

    ต้องใช้อุบายกำจัดเสีย คือถ้าเห็นจุดเป็นสีดำ ให้นึกอธิษฐานจิตละลายธาตุธรรมนั้นเสีย เสมือนหนึ่งว่าจุดเล็กใสนั้นถูกห่อหุ้มด้วยควันดำหรือว่าหมอกดำ หรืออะไรสีดำก็แล้วแต่ ที่เราต้องชำระล้างด้วยน้ำใส ล้างด้วยน้ำกรดใส สมมุติอย่างนั้น ให้ปรากฏเห็นใสบริสุทธิ์เหมือนเพชรลูกหรือแก้วเจียรนัยที่ใสบริสุทธิ์ แล้วจึงจรดใจนิ่งลงไปที่กลางของกลางจุดเล็กใสนั้น นิ่งเฉยๆ อธิษฐานให้จุดเล็กใสนั้นขยายออก จะมีจุดเล็กใสขึ้นมาอีก แล้วก็นิ่งไปกลางจุดเล็กใสนั้น ขยายออกแล้วจะเห็นดวงใสสว่างปรากฏขึ้น

    แต่ถ้ายังเห็นสีดำอยู่อีก ให้อธิษฐานละลายธาตุธรรมดำนั้น จนกว่าจะเห็นใสขึ้นมา บางทีบางท่านอาจจะเห็นเหมือนกับมีน้ำชำระล้างดวงนั้นให้ใสขึ้นๆ ก็มี หรืออาจจะนึกเห็นจุดเล็กใสที่เห็นอยู่ลึกลงไปกว่านั้น แล้วให้กำหนดใจไปหยุดที่จุดเล็กใสนั้นขยายศูนย์กลางที่ใสออก มลทินคือความดำนั้นก็จะหายไป

    เรื่องนี้สำคัญมาก คุณหมอและทุกท่าน จงจำไว้เชียว ที่เห็นเป็นสีดำนั้นน่ะคือธรรมชาติฝ่ายธาตุธรรมดำ เรียกว่า “อกุสลาธัมมา” อันได้แก่ อวิชชา กิเลส ตัณหา เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เห็นเป็นสีดำๆ ไม่ดำสนิทนัก หุ้ม “ดวงเห็น” เป็นปฏิฆานุสัย และที่หุ้ม “ดวงคิด” หรือจิตนั้นเป็นกามราคานุสัย และส่วน “อวิชชานิวรณ์” อันเกิด แต่อวิชชานุสัย ที่หุ้ม “ดวงรู้” อยู่ ไม่ให้ขยายโตเต็มธาตุเต็มธรรมได้ ก็เพราะเจตสิกธรรมคือ ธรรมชาติฝ่ายธรรมดำนี้แหละที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตใจ เป็นของจริงนะ ไม่ใช่ของปลอม เป็นตัว “สมุทัยสัจจะ” ทีเดียว

    ประการที่ 2 ทีนี้ คุณหมอเป็นนายแพทย์ต้องรู้ต่อไปอีก นี้นอกวิชาหมอละ ถ้าเห็นเป็นดวงดำสนิทเหมือนถ่าน ก็ให้พึงรู้เถอะว่านั่นเป็นโรคภัยไข้เจ็บ ให้รีบกำจัดเสียอีกเช่นกัน แต่ถ้าเห็นเป็นดวงดำมันเลื่อมต้องรีบแก้ไข กำจัดดวงดำนั้นโดยพลัน ถ้าว่ายังไม่ใสก็ต้องเพียรกำจัดให้ใสทีเดียว ถ้ายังไม่ใสก็ไม่หยุดละ ต้องทำให้ใสให้ได้ เพราะเป็นตัว “ทุกขสัจจะ” กล่าวคือ

    ที่เห็นเป็นสีดำๆ แต่ไม่ดำสนิทนัก หุ้มเห็น-จำ-คิด-รู้ อยู่ นั้นคือ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และอวิชชานุสัย เป็นตัว “สมุทัยสัจจะ”
    แต่ถ้าเห็นเป็นดวงดำสนิทเหมือนถ่าน นั้นเป็น “ดวงเจ็บ” คือมีหรือกำลังจะมีโรคภัยไข้เจ็บ ให้รีบแก้ไขให้ผ่องใสเสีย
    ถ้าเห็นเป็นดวงดำมันเลื่อมเหมือนสีนิลละก็ นั่นเป็น “ดวงตาย” ถ้าดวงตายมาจรดนานซักระยะหนึ่ง ให้ดวงธรรมของมนุษย์ขาดจากของกายทิพย์แล้ว คนนั้นจะตายทันที นี่คือ “ทุกขสัจจะ” ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ตามที่รู้เห็นกันในวิชชาธรรมกาย เกิด แก่ เจ็บ ตาย นั่นแหละตัวทุกขสัจจะเลยทีเดียว



    เรื่องนี้สำคัญนัก ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านเจริญภาวนาแก้โรคภัยไข้เจ็บ ก็แก้ที่ธาตุละเอียดของธาตุน้ำ-ดิน-ไฟ-ลม ของผู้ป่วยนั่นเอง

    วิธีแรก ท่านสอนให้ผู้ที่ปฏิบัติถึงธรรมกายและเจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูงได้ ให้น้อมนำเอาธาตุธรรมของผู้ป่วยมาเจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูง พิสดารกายผ่านศูนย์กลางธาตุธรรมของผู้นั้น เพื่อชำระธาตุธรรมให้บริสุทธิ์ผ่องใสจากธาตุธรรมของภาคดำที่เขาสอดละเอียด “ดวงเจ็บ” และ/หรือ “ดวงตาย” อันเป็นวิบากคือผลของอกุศลกรรม ได้แก่ การทำปาณาติปาตแต่อดีตนั้นแหละเข้ามาในธาตุธรรมของคนไข้ให้เจ็บไข้ เมื่อชำระธาตุธรรมของคนไข้นั้นให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ โรคก็หาย ถ้าทำได้บริสุทธิ์บางส่วน เพราะเป็นกรรมหนัก ก็ผ่อนหนักเป็นเบา คือได้ผลเพียงแต่บรรเทาหรือชั่วคราว

    แต่ผู้ทำวิชชาแก้โรคผู้อื่นนี่ก็มีอัตราเสี่ยงอยู่ระดับหนึ่งเหมือนกัน คือถ้าว่าชำระธาตุธรรมของเขาแล้ว ตัวเองไม่ชำระธาตุธรรมของตนเองให้บริสุทธิ์สุดละเอียดแล้ว มีโอกาสติดโรคนั้นด้วย เพราะฉะนั้นอาตมาจะไม่แนะนำให้ใครไปแก้โรคถ้ายังไม่ได้วิชชาชั้นสูง

    มีอีกวิธีหนึ่ง ที่เขาทำวิชชาแก้โรค แทนที่จะเอาธาตุธรรมของผู้ป่วยนั้นมาที่ศูนย์กลางตน กลับอธิษฐานตั้งเครื่องธาตุธรรมจากตนไปสู่คนป่วย แล้วให้เครื่องธาตุธรรมนั้นเดินวิชชาให้ใส ในธาตุธรรมของผู้นั้น ถ้าทำได้หมดจดก็เป็นอันโรคหาย ถ้าทำได้เท่าไหร่ก็ได้ผลเท่านั้น

    เรื่องธาตุละเอียดของสัตว์โลกนี้ จะเล่ารายละเอียดให้ฟังพอเข้าใจว่า ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือนั้นเป็นที่ตั้งธาตุละเอียดของขันธ์ 5 คือธาตุละเอียดของ “รูปขันธ์” ประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร กลางรูปขันธ์จะมีธาตุละเอียดของ “นามขันธ์ 4” คือธาตุละเอียดของ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ กลางของกลางของกันและกันเข้าไปข้างใน

    เฉพาะแต่ธาตุละเอียดของ “รูปขันธ์” ขยายส่วนหยาบออกมาเป็น “ดวงกาย“ ที่เรานั่งเจริญภาวนา เมื่อใจหยุดนิ่งแล้วเห็นเป็นดวงใสนั่นแหละ ดวงกายดวงนั้นขยายส่วนหยาบมาจากรูปขันธ์ และภายในดวงกายนั้นยังมีธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม เป็นศูนย์เล็กๆ 4 ศูนย์ ลอยอยู่ในดวงธรรมนั้น ธาตุละเอียดของธาตุน้ำอยู่ส่วนหน้า ขวาธาตุดิน หลังธาตุไฟ ซ้ายธาตุลม ตรงกลางอากาศธาตุ กลางอากาศธาตุมีวิญญาณธาตุ

    วิญญาณธาตุนั้นซ้อนอยู่กลางของกลางที่สุดของนามขันธ์ 4 ซึ่งขยายส่วนหยาบ ออกมาเป็น เห็น จำ คิด รู้ รวมเรียกว่า “ใจ”

    แต่เฉพาะที่ว่า ธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ น้ำ ดิน ไฟ ลม นั้น ทำหน้าที่ควบคุมของเหลว ส่วนที่หยาบแข็ง อุณหภูมิ และลมปราณที่ปรนเปรออยู่ในร่างกายให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะ แต่ละธาตุต่างทำหน้าที่คนละอย่าง ส่วนอากาศธาตุทำหน้าที่ควบคุมช่องว่างภายในร่างกายให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะ ธาตุทั้งหมดนั่นแหละที่เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นธาตุหยาบ คือ กายเนื้อนี่แหละ ที่โบราณท่านว่าธาตุแตกน่ะ หมายเอาธาตุละเอียด ณ ภายใน แตกคือคุมกันไม่ติด แล้วธาตุข้างนอกจึงแตกคือตาย เพราะ “ทุกขสัจจะ” อยู่ข้างใน เมื่อดวงตายมาจรดตรงกลางหัวต่อ คือระหว่างดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ให้ขาดจากดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์เมื่อไหร่แล้วเป็นอันได้เรื่องเลย

    การแก้โรค โดยวิธีวิชชาธรรมกาย มีหลักการอยู่ว่า ธาตุที่ขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของขันธ์ 5 นี้แหละ ถ้าเห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ของผู้ใดที่ส่งใจออกไปข้างนอก ไปยึดไปเกาะอารมณ์ คือรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัส ทางกายภายนอก เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง เป็นช่องทางให้กิเลส มีโลภะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือตัณหาเข้าครอบงำจิตใจ ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมันแล้ว กิเลสนี้แหละจะเอิบ อาบ ซึมซาบปนเป็นและสะสมตกตะกอนนอนเนื่องอยู่ในธาตุละเอียดของกายโลกิยะทั้งหมด ทำให้ธาตุละเอียดฝ่ายรูปขันธ์อันมีธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม อากาศไม่สะอาดคือ เศร้าหมอง ฝ่ายนามขันธ์ จิตใจก็จะถูกสะสมด้วยกิเลส เป็นอาสวะ เป็นอนุสัย ตกตะกอน นอนเนื่องอยู่ในจิตตสันดาน เรื่องที่พูดนี่เพียงส่วนเดียว ส่วนละเอียดมีกว่านี้

    ส่วนมหาภูตรูป 4 และอากาศธาตุ ซึ่งเป็นที่ตั้งของธรรม 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบาป อกุศล เรียกว่า อกุสลาธัมมา ฝ่ายบุญกุศล เรียกว่า กุสลาธัมมา หรือฝ่ายกลางๆ เรียกว่า อัพยากตาธัมมา เมื่อกี้ได้กล่าวฝ่ายบาปอกุศลว่าเป็นธาตุธรรมภาคดำหรือฝ่ายชั่ว เมื่อปล่อยให้กิเลสดลจิตดลใจให้ประพฤติปฏิบัติตามอำนาจของมันแล้ว ธาตุละเอียดเหล่านั้นจะเศร้าหมอง ไม่สะอาด เพราะถูกเอิบอาบ ซึมซาบ ปนเป็นด้วยธาตุธรรมภาคดำ เมื่อธาตุละเอียดไม่สะอาด ความปรุงแต่งแห่งธาตุละเอียดให้เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นกายเนื้อนี้ก็จะพลอยได้รับผล ชื่อว่า “วิบาก” ให้เป็นไปตามกรรมนั้นๆ 2 ประการคือ กิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นเหตุนำเหตุหนุนให้ทำความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ หนักยิ่งขึ้นไปอีก เช่นว่า คนที่มักฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จิตใจก็จะเหี้ยมโหด ทารุณ เพราะกิเลสก็จะสะสมตกตะกอนนอนเนื่องเป็นอาสวะและก็อนุสัย มีปฏิฆานุสัยเป็นต้น หนาแน่นยิ่งๆ ขึ้นไปอีก นี้ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง ทางฝ่ายธาตุที่ทำหน้าที่ควบคุมส่วนที่เป็นน้ำ เป็นของหยาบแข็ง เป็นอุณหภูมิ และเป็นลมปราณ ที่ปรนเปรออยู่ในร่างกายและช่องว่างในร่างกายวิปริต แปรปรวน จึงมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน และถ้าว่ากรรมนั้นหนักถึงเป็นอุปฆาตกรรม ก็อายุสั้น อาจจะด้วยอุบัติเหตุ หรือภัยพิบัติต่างๆ ตามเวรตามกรรม ของกรรมชั่วนั้น สัตว์หรือบุคคลที่ตนไปทำร้าย เบียดเบียนชีวิตของเขา ก็จะผูกเวรด้วยความเจ็บแค้น ให้เป็นเวรจากกรรมชั่วนั้นกลับมาสนองตอบตน

    เพราะฉะนั้น หลวงพ่อวัดปากน้ำ จึงสอนวิธีเจริญวิชชาธรรมกายแก้โรคด้วยการพิสดารกายตนเอง ชำระธาตุธรรมตนเองให้ใสเสียก่อน แล้วก็ซ้อนธาตุธรรมของคนไข้ให้ผ่องใสได้ แต่นี้เป็นวิธีการแก้โรคเพียงเบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องสูงต่อไปยังมีอีก เพราะมีเหตุในเหตุไป ถึงต้นๆ เหตุ ที่จะต้องเก็บหรือชำระสะสางธาตุธรรมให้บริสุทธิ์ยิ่งกว่านี้ ซึ่งอาตมาจะยังไม่กล่าว ณ ที่นี้

    นี่แหละคือความวิเศษสุดของวิชชาธรรมกาย ที่ให้เข้าไปรู้ไปเห็นทั้ง “ทุกขสัจจะ” และ “สมุทัยสัจจะ” ที่เห็นดำๆ นั้นแหละ จึงให้ชำระเสียโดยพลัน ด้วยว่าเมื่อใครก็ตาม แม้ถึงธรรมกายแล้ว อาจจะเห็นธาตุธรรมปรากฏเป็นสีดำ เป็นสีเศร้าหมองหรือขุ่นมัวก็ให้พึงนึกเข้าไป หยุดนิ่งกลางของกลางจุดเล็กใส ในธาตุธรรมที่ใสละเอียดที่สุด ณ ภายใน ขยายออกแล้วพิสดาร หรือถ้าเห็นเป็นดวงก็หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆๆ ดวงในดวงให้ปรากฏ ใสสว่างขึ้นมา คือหมายความว่าหยุดนิ่งไปกลางของกลางดวงที่ใส ถูกส่วนเข้าศูนย์กลางจะขยายออก ปรากฏดวงที่ใสใหม่ เราก็หยุดนิ่งไปกลางของกลางดวงที่ใสใหม่ กลางของกลางๆๆ เรื่อยไป จนใสแจ่มสุดละเอียด แล้วกายในกาย ณ ภายใน เริ่มตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียดที่ผ่องใส ก็จะปรากฏขึ้นต่อๆ ไปจนถึงธรรมกายที่ผ่องใสสว่างมีรัศมีปรากฏยิ่งๆ ขึ้นไป เราก็ทับทวี ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายในกายที่ละเอียดๆ ต่อๆ ไป หยุดในหยุด กลางของหยุดให้ใสละเอียดทั้งดวงทั้งกายและองค์ฌาน เป็นอันสบายใจได้ จิตใจก็จะผ่องใส เพราะทั้งมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ-ดำ-ไฟ-ลม และอากาศธาตุ ซึ่งขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของรูปขันธ์ และเห็น จำ คิด รู้ ที่ขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 ก็จะผ่องใส ได้สบายทั้งใจ และก็สบายทั้งกาย

    นี้คือความวิเศษของวิชชาธรรมกาย ซึ่งมีวิธีปฏิบัติภาวนาที่เป็นตัวสติปัฏฐาน 4 แท้ๆ เพราะจุดมุ่งหมายของสติปัฏฐาน 4 คือ ให้มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม

    ที่ให้เห็นธรรมในธรรมนั้นน่ะ ที่เห็นธาตุธรรมภาคดำ (อกุสลาธัมมา) จงทำให้มันขาว ให้มันผ่องใสจนกระทั่งใสละเอียด มีรัศมีปรากฏถึงกายธรรมเป็นฝ่ายบุญกุศล (กุสลาธัมมา) นี้เป็น ตัววัตถุประสงค์สำคัญของสติปัฏฐาน 4 ที่มุ่งให้ปฏิบัติภาวนาเพื่อให้ละหรือกำจัดธรรมดำ เพื่อยังธรรมขาวให้เจริญพิจารณาไปทั้งหมด กาย เวทนา จิต ธรรมนั้นแหละ เพื่อละกิเลสเหตุแห่งทุกข์ เมื่อกิเลสเกิดขึ้นในใจของเราก็ให้รู้ว่ามีกิเลสเกิดขึ้น นั่นคือให้มีสติพิจารณาเห็นจิตในจิต และก็เห็นธรรมในธรรม คือธรรมฝ่ายบาปอกุศล (อกุสลาธัมมา) เห็นแล้วไม่ใช่ให้เห็นเฉยๆ ต้องให้ชำระธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ดับหยาบไปหาละเอียดไปสู่สุดละเอียด ให้บริสุทธิ์ผ่องใสทั้งกายและใจ นี้เป็นตัววัตถุประสงค์เพื่อละธรรมดำและเพื่อยังธรรมขาวให้เจริญ ธรรมปฏิบัตินี้จึงเป็นความดีวิเศษอย่างนี้ เพราะฉะนั้นที่คุณหมอเห็นเป็นประสบการณ์จากธรรมชาติที่เป็นจริง พึงชำระธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ให้บริสุทธิ์ ผ่องใส ทุกเมื่อ มีคุณหมอหลายคนนะที่เป็นธรรมกายน่ะ ช่วยคนไข้ได้มากทีเดียว ที่รักษาตามวิชาแพทย์ก็ทำไป ที่ช่วยแก้ไขด้วยวิชชาธรรมกายก็ทำประกอบกันไป

    และต้องไม่ลืมว่า ต้องให้คนไข้นั้นแหละเจริญภาวนาตามแบบวิชชาธรรมกายนี้ช่วยตนเอง จะได้ผลมาก ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตจะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว มิฉะนั้นผู้คนก็จะคอยแต่ขอให้ช่วยฝ่ายเดียว ไม่รู้จักปฏิบัติภาวนาช่วยตัวเอง และเห็นมามากต่อมากว่า ถึงวิชชาธรรมกายจะช่วยเขาได้โสดหนึ่ง แต่เมื่อเขาหายแล้ว ก็จะไม่เห็นคุณค่าของธรรม จะสังเกตได้ว่า ถ้าไม่ใช่ผู้เห็นคุณค่าของธรรมและสนใจปฏิบัติภาวนาธรรมอยู่แล้ว มากต่อมากจะไม่สนใจมาเข้ารับการศึกษาอบรมและปฏิบัติธรรมเพื่อช่วยตนเองเลย เรียกว่า ไม่เดือดร้อนก็ไม่เข้าหาพระ ไม่เห็นโลงก็ยังไม่หลั่งน้ำตา เพราะเอาแต่ประมาท หลงมัวเมาในกามสุข กล่าวคือในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย หลงในลาภ ยศ สักการะ สรรเสริญ และโลกิยสุข หาแก่นสารสาระ มิได้ เอาเป็นที่พึ่งที่แท้ถาวรก็ไม่ได้ หลงรับใช้มารจนลืมความทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ และลืมความตายที่กำลังคืบคลานเข้ามาหาตนอยู่ทุกขณะ โดยที่แม้กระทั่งจะตายก็ยังไม่รู้จัก ไม่ใฝ่หาที่พึ่งอันประเสริฐแท้ๆ แก่ตนเอง น่าสงสารแท้ๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กันยายน 2014
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    นึกดวงแก้วเข้าศูนย์กลางไม่ได้ นึกศูนย์กลางกายไม่ออก แต่จะให้นั่งให้ใจสงบเฉยๆ พอได้ หรือกำหนดดวงไป พอกำหนดได้บ้าง ?

    -----------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    พยายามเหลือบตากลับนิดๆ
    เรื่องนี้ต้องค่อยๆ ทำไป ขอเรียนว่า อย่าลืมเหลือบตากลับนิดๆ เพราะใจยังไม่รวมหยุดเป็นจุดเดียวกันจริงๆ

    ฉะนั้นก็ต้องค่อยๆ ฝึกต่อไป เพราะใจของเราซ่านออกนอกตัวมานาน ตั้งแต่เกิด ใจออกไปไปยึดไปเกาะอะไรมิต่ออะไรมากมาย ความจริงเป็นอย่างนี้ กว่าจะอบรมให้กลับมารวมหยุด ณ ที่เดิมคือที่ศูนย์กลางกายนี้ ไม่ค่อยจะมารวมหยุด ณ ภายในได้ง่าย บางคนก็ไปติดอยู่ที่หน้าผาก เห็นดวงส่องสว่างอยู่ที่หน้าผาก ไม่ยอมรวมลงมาหยุด ณ ภายในได้สักที บางท่านก็ยากเย็นเหลือเกิน ของดีมันยากอย่างนี้แหละ แต่ถ้าให้เห็นข้างนอกแล้วก็ง่ายๆ

    อย่าพยายามนึกเห็นนิมิตข้างนอก
    ถ้าให้นึกเห็นนิมิตข้างนอกละก็ไม่ยาก แต่ว่า “จงอย่าทำ” เพราะถ้านึกเห็นข้างนอก ใจจะไม่เข้ากลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็จะไม่ถูกกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ไม่ได้ดับหยาบไปหาละเอียด ไม่ได้เข้ากลางมัชฌิมาปฏิปทา ในธาตุธรรมของเรา ธรรมะที่ดีอยู่ที่ธาตุละเอียดของเรา ไม่ใช่อยู่ข้างนอก อยู่ข้างในที่ละเอียดๆ ฝ่ายกุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา อัพยากตาธัมมา อยู่ในกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมสุดละเอียด ถ้าฝ่ายชั่วก็มาจากฝ่ายชั่วสุดละเอียด ฝ่ายดีก็มาจากฝ่ายดีสุดละเอียด มาจากต้นธาตุต้นธรรมโน้น ต้นธาตุต้นธรรมฝ่ายดี (กุสลาธัมมา) อยู่ตรงกลางของกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมที่สุด ฝ่ายชั่ว (อกุสลาธัมมา) ก็มีต้นธาตุต้นธรรมของเขา ไม่ใช่ไม่มี มีเหมือนกัน แต่อยู่ส่วนนอกหรือรอบนอกของกุสลาธัมมาออกมา

    เพราะเหตุนั้น หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆ กำเนิดธาตุธรรมเดิม ของกายในกายไปจนสุดละเอียดนั้นแหละ ถูกมัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง ถึงพระนิพพานทีเดียว

    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านบอกว่า หยุดในหยุด กลางของหยุด นั่นแหละถูกธรรมภาคขาว ฝ่ายบุญ ฝ่ายสัมมาทิฏฐิ ทะเลบุญอยู่นั้น แต่ว่าถ้าใจเดิน(ดำเนิน)นอกออกมาจากนั้น เป็นถิ่นทำเลของภาคมาร เพราะเหตุนี้ในธรรมเทศนาของท่านจะบอกว่า “ถ้าจะไม่เกิด ก็ให้เดินในเข้าไป ถ้าว่าอยากจะเกิด ก็เดินนอกออกไป” ความหมายก็คือว่า ถ้าอยากจะเกิดใหม่ ก็จงปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านออกไปข้างนอก ให้ไปยึดไปเกาะอะไรๆ วุ่นวายภายนอกเข้า อวิชชา ตัณหา อุปทาน นั้นแหละ เป็นปัจจัยให้เกิดภพ ชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ คำพูดของหลวงพ่อ แต่ละคำเป็นคำโบราณ ถ้าฟังให้ดีแล้วจะเข้าใจลึกซึ้ง

    เวลาพิจารณาอริยสัจ 4 ก็จะรู้จะเห็น เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ให้เข้าใจไว้เท่านี้ก่อน เคล็ดลับที่พึงทราบในการเจริญภาวนามีมาก




    ..............................[​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กันยายน 2014
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    ถาม----ในขณะที่ปฏิบัติภาวนาและกำหนดจิตอยู่นั้น ดวงแก้วอยู่ฐานที่ 7 ได้สักพักใหญ่จะมีอาการมึนศีรษะที่ท้ายทอย ?

    --------------------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    เพราะเหตุว่าท่านบังคับใจที่จะให้เห็นนิมิตด้วยสายตาเนื้อจนเกินไป ซึ่งผิดวิธี ที่ถูก จะต้องไม่บังคับใจที่จะให้เห็นนิมิตโดยการเพ่ง พยายามที่จะให้เห็นด้วยสายตาเนื้อ แต่ให้ใช้ใจนึกให้เห็นจุดเล็กใสกลางดวงแก้วกลมใส


    ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เพื่อให้ “ใจ” คือความเห็น ความจำ ความคิด และความรู้ รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เมื่อใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วน ก็จะเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใสสว่างปรากฏขึ้นมาเอง

    วิธีป้องกันและแก้ไขมิให้สายตาเนื้อแย่งหน้าที่ใจที่จะทำกิจภาวนาก็คือ ให้เหลือบตากลับนิดๆ เพื่อให้ใจคือความเห็น-จำ-คิด-รู้ กลับไปข้างหลัง แล้วก็ให้รวมลงหยุดนิ่ง ณ ภายใน ตรงศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ แล้วตาในจะทำหน้าที่รู้-เห็นได้อย่างสมบูรณ์เอง
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    ก่อนนั่งสมาธิต้องกล่าวคำขึ้นกัมมัฏฐานทุกครั้งหรือไม่ ? และหลังจากนั่งสมาธิแล้ว จะต้องแผ่เมตตาต่างๆ อีกหรือไม่ ?

    --------------------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    เรื่องการกล่าวคำขึ้นกัมมัฏฐานนั้น เป็นแบบวิธีสำหรับ ผู้ที่ยังใหม่ หรือกระทำอย่างเป็นทางการ แต่การปฏิบัติธรรมแล้ว กระทำได้ทุกอิริยาบถ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน ทุกโอกาสที่ว่างจากภาระกิจ อื่น แต่การกล่าวคำขึ้นกัมมัฏฐานก็ควรทำในโอกาสอันควร เพื่อระลึกถึง คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    การแผ่เมตตาพรหมวิหารนั้น “พรหมวิหาร” เป็นคุณธรรมที่ ควรปฏิบัติตลอดเวลา เพราะ “เป็นเครื่องอยู่ของผู้ใหญ่” แต่เมื่อปฏิบัติพระกัมมัฏฐานเสร็จสิ้นแล้วแต่ละครั้ง ควรจะได้ตั้งใจแผ่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา รวมตลอดทั้งการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้มีพระคุณและ สัตว์โลกทั้งปวง

    เหตุนี้เพราะอะไร? เพราะในขณะปฏิบัติพระกัมมัฏฐานอยู่นั้น ใจนั้นหยุดนิ่งผ่องใส และกำลังเจริญปัญญาในสภาวธรรม และสัจจธรรมตามที่เป็นจริง บริสุทธิ์มาก เมื่อบริสุทธิ์มาก เราแผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศลในขณะนั้นจึงมีผลมาก ยกตัวอย่างผู้ที่ถึงธรรมกาย สามารถแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลให้สัตว์โลกหมดทั้งจักรวาลนี้ก็ได้

    และในส่วนแผ่เมตตานั้น ยังมีสิทธิแผ่เมตตาในระดับฌานได้ และเมื่อน้อมภพ 3 คือทั้งจักรวาลขึ้นมาเป็นกสิณอยู่ ณ ศูนย์กลางของธรรมกาย ขยายข่ายของญาณธรรมกายให้เต็มภพเต็มจักรวาลแล้ว ผลก็คือว่า สามารถแผ่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และอุทิศส่วนกุศล ได้ผลอย่างกว้างขวางที่สุดไม่มีประมาณ และนั้นแหละ คือ อัปปมัญญา
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลาง เป็นอย่างไร ?

    --------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ถามมาว่าหยุดในหยุดเป็นอย่างไร และก็หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางน่ะ เป็นอย่างไร

    ผู้ถามนี้แสดงว่าไม่ได้ปฏิบัติตาม ฟังแล้วไม่ได้ปฏิบัติตามจะไม่เข้าใจซึ้ง โปรดทราบด้วยว่า เมื่อฟังแล้วต้องปฏิบัติตามด้วย

    เมื่อเริ่มแรก ที่ใจจะหยุดน่ะ ใจมันหยุดเองไม่ได้ ต้องอาศัยนึกเอาก่อน เพื่อให้ “ความเห็น(ด้วยใจ)” แล้วก็ “ความจำ” “ความคิด” “ความรู้” มารวมหยุดอยู่ในดวงแก้วที่เราใช้เป็นบริกรรมนิมิต ให้มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน

    ให้พึงเข้าใจว่า เห็นอยู่ที่ไหน ใจอยู่ที่นั่น เพราะฉะนั้นการที่ให้ใจนึกอยู่ที่ศูนย์กลางกาย เป็นดวงแก้วกลมใส ก็แปลว่าเป็นอุบายวิธีให้ใจมารวมอยู่ในดวงแก้วอันเป็นบริกรรมนิมิตนั้น

    แต่พอใจรวมเดี๋ยวเดียวมันจืดจางไปแล้ว ก็เลยมีงานให้ใจทำเพิ่มอีกโสดหนึ่ง คือบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆ” จี้เข้าไปที่กลางของกลางดวงแก้วกลมใสนั่นแหละ

    “กลางของกลาง” คืออย่างไร ? ศูนย์กลางดวง ศูนย์กลางกาย เป็นจุดเล็กใสประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร เรานึกให้เห็นไว้ นึกเห็นอยู่ตรงนั้น ใจมันก็จะหยุดอยู่ตรงนั้น เห็นกลางจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางนั้นเรียกว่า “กลางของกลาง” เมื่อหยุดนิ่งถูกส่วน ศูนย์กลางขยายออก ดวงใหม่เกิดขึ้น แล้วก็หยุดนิ่งไปกลางของกลางดวงใหม่ หยุดในหยุด กลางของหยุด ไม่ถอนออกมา (จากสมาธิ) หยุดนิ่งไปเรื่อยๆ เรียกว่า “หยุดในหยุด กลางของหยุด”

    ตอนแรก ใจนึกเอา เข้าไปเห็นศูนย์กลาง แต่พอใจหยุดจริงๆ แล้ว มันเข้าไปสู่ศูนย์กลางของกลาง เหมือนมีแรงดึงดูด ปรากฏเป็นเอง

    เพราะฉะนั้น คำว่า “หยุด” นั้น เริ่มแรก มีอุบายวิธีให้นึกเห็นจุดเล็กใส ที่ศูนย์กลางดวง ศูนย์กลางกาย เพื่อช่วยให้ใจมันหยุดจริงๆ ทีนี้ พอใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวจริงๆ เป็นธรรมชาติแล้ว ก็หยุดเองแหละ เข้ากลางของกลาง เห็นดวงใหม่ก็หยุดนิ่งไปกลางดวงใหม่ เห็นดวงใหม่ก็เข้ากลางของกลางดวงใหม่ เข้ากลางของกลางศูนย์กลางนะ มันจะเข้าไปเอง เข้าไปหยุดนิ่ง ไปจนถึงดวงที่ใสละเอียดที่สุด ศูนย์กลางขยายออก กายในกาย ก็ปรากฏ
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    สภาวะของธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผล

    ธรรมกายนั้นเป็น กายอันประเสริฐเพราะเป็นอมตธรรมที่เที่ยงและเป็นบรมสุข

    ธรรมกายเป็น กายที่บริสุทธิ์ คือเป็น ธาตุล้วนธรรมล้วน

    ธรรมกาย มีชีวิตจิตใจ แต่ก็มีใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ คือไม่ใช่เบญจขันธ์

    เป็นธรรมขันธ์ เป็นวิสุทธิขันธ์

    ธรรมกาย ปราศจากตัณหาราคะใดๆ (วิราคธาตุ-วิราคธรรม)

    ธรรมกาย เป็นวิสังขารธรรม ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง พ้นจากความปรุงแต่งใดๆ ไม่ว่าจะเป็นความปรุงแต่งด้วยผลของ บาปอกุศล หรือ บุญกุศล (คือเป็นอสังขตธาตุ-อสังขตธรรม หรือ วิสังขาร) จึงไม่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์หรือสามัญญลักษณะ คือลักษณะที่เสมอกันของสังขาร คือ ความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) ความเป็นทุกข์ (ทุกฺขํ) และความเป็นของไม่ใช่ตน (อนตฺตา)
    ธรรมกาย เป็น ธาตุล้วนธรรมล้วน ที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (วิสังขาร) จึงไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแปรผันไปตามเหตุปัจจัยดังสิ่งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งเขาเป็นกัน นี้เอง

    ธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว จึง มีสภาวะที่ตรงกันข้ามกับสังขาร



    ธรรมกาย เป็น ธาตุเป็นธรรมเป็น คือเป็น กายที่มีชีวิตจิตใจ แต่ก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ อย่างสัตว์โลกทั้งหลาย ซ้อนอยู่ในที่สุดละเอียด ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ณ ศูนย์กลางกาย ของสัตว์โลกทั้งหลาย


    ธรรมกาย เป็น อมตธรรม คือธรรมที่ไม่ตาย จึงไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ และตาย อีก

    ธรรมกาย มีความสุขที่เหนือความสุขทางโลกทั้งสิ้น ดังพระพุทธพจน์ว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ - นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    แต่สุขในนิพพานก็ไม่ใช่สุขเวทนาอย่างชาวโลก


    ธรรมกาย เป็นกายที่ประมวลความบริสุทธิ์ 3 ประการเข้าไว้ คือ
    กายและหัวใจ เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระวินัยปิฎก เป็น ปฐมมรรค [พระวินัยกลั่นออกมาเป็นกายและหัวใจ]
    ดวงจิต เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระสุตตันตปิฎก เป็น มรรคจิต [พระสูตรกลั่นออกมาเป็นดวงจิต]
    ดวงปัญญา เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระอภิธรรมหรือพระปรมัตถปิฎก เป็นมรรคปัญญา [พระอภิธรรมกลั่นออกมาเป็นดวงปัญญา]
    ฐานะ ความสำคัญ ของธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้ว
    ธรรมกายเป็น กายในกาย ที่สุดละเอียด ของมนุษย์หรือสัตว์โลกทั้งหลาย ธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วนั้นเอง คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นอมตธรรม ที่ทรงสภาวะนิพพาน (เที่ยงและเป็นบรมสุข) ไว้
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "ธรรมกาย" เป็นชื่อของพระองค์ - อหํ ธมฺมกาโย อิติปิ ก็คือ พระองค์เป็นธรรมกาย นั่นเอง
    ธรรมกายทำหน้าที่ตรัสรู้อริยสัจ 4 (กรณีพระอรหันตสาวก) และตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (กรณีพระพุทธเจ้า)
    ธรรมกายจึงเป็นพระพุทธรัตนะ
    ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายคือพระธรรมรัตนะ
    ธรรมกายที่ละเอียดๆ ทั้งหลาย คือ พระสังฆรัตนะ




    ความอุบัติขึ้นของ "ธรรมกาย" เป็นของยากความปรากฏขึ้นของ "ธรรมกาย" แก่สัตว์โลก เป็นเรื่องที่สัตว์โลกมีได้ด้วยยาก แต่ก็มิใช่จะเหลือวิสัยที่สัตว์โลกจะทำได้ เพราะสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี หรือพระอรหันต์ทั้งหลายก็ดี ก่อนแต่จะตรัสรู้ ได้บรรลุพระอรหัตตผลหรือพระสัมมาสัมโพธิญาณด้วย "พระธรรมกาย" นั้น ก็เริ่มตั้งแต่ความเป็นมนุษย์ปุถุชนมาก่อนเหมือนกัน
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    ทำไมบางทีลืมตาจึงเห็นดวงแก้วหรือองค์พระชัดกว่าหลับตา ?


    ตอบ:

    เป็นธรรมชาติของใจ (เห็น จำ คิด รู้) ที่เมื่อตกไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 แล้ว ใจดวงใหม่ก็จะปรากฏลอยขึ้นมาหยุดนิ่ง ณ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เพื่อทำหน้าที่ต่อไปนั้น ตาจะเหลือบกลับเองโดยอัตโนมัติ เช่นเมื่อเวลาสัตว์จะมาเกิด คือมาตั้งปฏิสนธิวิญญาณที่ขั้วมดลูกของมารดา ตาของทั้งบิดาและมารดาก็จะเหลือบกลับเอง เพราะใจตกศูนย์ และแม้เวลาที่สัตว์จะ ดับ (ตาย) จะหลับ จะตื่น และแม้เวลาที่ใจจะหยุดนิ่งสนิท เป็นสมาธิแนบแน่นตรงศูนย์กลางกาย แล้วก็ตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 และปรากฏลอยเด่นขึ้นมาใหม่ยังศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้น ตาของสัตว์หรือบุคคลนั้นก็เหลือบกลับเองโดยอัตโนมัติ โดยที่เจ้าตัวไม่รู้สึก คนส่วนมากจะไม่เคยได้สังเกตเห็น ให้สังเกตดูตัวอย่างเด็กทารกเวลาที่เธอนอนหลับ ใจกำลังตกศูนย์นั้น จะเห็นตาของเธอเหลือบกลับเหมือนคนที่กำลังชักจะตาย พ่อแม่บางคนเมื่อเห็นถึงกับตกใจนึกว่าลูกตนกำลังชัก แต่แท้ที่จริงเธอกำลังนอนหลับปุ๋ยสบาย

    โดยเหตุนี้แหละ เวลาที่ผู้ปฏิบัติภาวนาสมาธิ หลับตาโดยเม้มเปลือกตาให้ปิดแน่นสนิทมากๆ เพราะความที่ตั้งใจมาก และไม่ทราบกลอุบายนี้ จึงไม่เอื้ออำนวยให้ตาเหลือบกลับเองได้สะดวกตามธรรมชาติในเวลาที่ใจจะเป็นสมาธิ ใจจึงพร่าไม่สามารถรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน (เอกัคคตารมณ์) ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ได้สนิท จึงเห็นเป็นแต่ความมืดหรือเห็นไม่ชัดโดยธรรมชาติ นี้แหละ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านจึงแนะนำเวลาฝึกเจริญภาวนาสมาธิในเบื้องต้นว่า ให้เหลือบตากลับ เพื่อให้ใจอันประกอบด้วย ความเห็น (ด้วยใจ) จำ คิด รู้ ที่มักจะพล่านออกไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอกนั้นกลับไปข้างหลัง แล้วก็ให้กลับเข้าข้างในไป หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายได้โดยง่าย

    ส่วนว่า ผู้ปฏิบัติภาวนาสมาธิที่ปิดเปลือกตาเบาๆ แต่พอให้ใจเป็นอิสระ คือไม่เห็น และยึดเกาะอยู่กับรูปหรืออารมณ์ภายนอก และพอให้ตาเหลือบกลับเองได้โดยสะดวก ใจจึงสามารถรวมลงหยุดอยู่ในอารมณ์เดียว ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้นได้โดยง่าย และเมื่อหยุดในหยุดกลางของหยุดนิ่งลงไปที่กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมตรงศูนย์กลางฐานที่ 7 นั้น ก็จะสามารถเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายได้เร็วและชัดกว่าการปิดเปลือกตาอย่างแน่นสนิท

    เพราะฉะนั้น ผู้ลืมตานิดๆ แค่พอประมาณ หรือแม้ผู้เดินจงกรม เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ และลืมตามองลงชั่วแอก เจริญภาวนา จิตจึงเป็นสมาธิได้เร็ว และสามารถเห็นดวงธรรมในธรรม และกายในกายได้เร็วและชัดกว่าการปิดเปลือกตาที่แน่นสนิท เพราะกดเปลือกตาจนเกินไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กันยายน 2014
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    ทำอย่างไรจึงจะได้เห็นดวงปฐมมรรคเร็วๆ

    ทำอย่างไรจึงจะได้เห็นดวงปฐมมรรคเร็วๆ ? 1





    ตอบ:

    ความเป็นผู้มีบุญบารมีมาก่อน ที่เรียกว่า ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ซึ่งมีอยู่รวม 10 ข้อ ด้วยกัน ได้แก่ ทานบารมี ศีลบารมี เขกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และ อุเบกขาบารมี ที่ได้เคยสร้างสมมาตั้งแต่อดีตจนตราบเท่าถึงปัจจุบันนี้ว่า จะมีมากน้อยเพียงใด บุญบารมีแต่ละประการที่กล่าวมานี้ เมื่อได้สั่งสมขึ้นภายในจิตมากๆ เข้า แก่กล้าหนักเข้าก็จะกลั่นตัวเองเป็น อุปบารมี เมื่ออุปบารมีแต่ละอย่างเหล่านั้น สั่งสมกัน แก่กล้ายิ่งขึ้นไปอีก ก็จะกลั่นตัวเองเป็น ปรมัตถบารมี คือบุญบารมีที่แก่กล้าที่สุด รวมทั้งบุญบารมี ทั้ง 3 ระดับ เป็นบารมี 30 ทัศ

    เมื่อปรมัตถบารมีทั้ง 10 ประการนั้นเต็มส่วนหมดแล้ว จึงจะเป็นพลวปัจจัยที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถบรรลุมรรค ผล นิพพาน ได้ในที่สุด

    แต่ในระหว่างที่ปรมัตบารมีทั้ง 10 ประการนั้นยังไม่เต็มส่วน ก็ยังจะมีส่วนช่วยในการปฏิบัติธรรม ได้บรรลุผลตามสมควรแก่บุญบารมีของแต่ละบุคคลที่ได้สร้างสมอบรมไว้ เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจึงไม่ควรใจร้อนที่จะให้เห็นผลในทันใด ขอแต่ให้ตั้งใจฝึกปฏิบัติตามคำแนะนำที่คุณครู-อาจารย์ได้สั่งสอนอบรมต่อไปเรื่อยๆ แล้วก็หมั่นพิจารณาดูที่เหตุสังเกตุดูที่ผล ก็ย่อมจะประจักษ์ในผลของการปฏิบัติด้วยตัวของท่านเอง ตามระดับคุณธรรมที่ปฏิบัติได้ อย่าลืมว่า ต้องให้โอกาสแก่ตนเองตามสมควร ดังเช่นที่เราปลูกต้นไม้ จะต้องให้เวลาในการเจริญเติบโต และการปลูกต้นไม้ที่จะได้ผลดีก็จะต้องหมั่นดูแลทำนุบำรุงรักษา เมื่อถึงเวลาต้นไม้นั้นก็จะผลิตดอกออกผลให้เอง

    ดังพระพุทธองค์ได้ทรงประทานพระบรมพุทโธวาทไว้ในติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 หน้า 309 ข้อ 532 ความว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย กิจของคฤหบดีชาวนาที่เขาจะต้องรีบทำมี 3 อย่างเหล่านี้ 3 อย่างอะไรบ้างเล่า ? 3 อย่างคือ คฤหบดีชาวนารีบๆ ไถคราด พื้นที่นาให้ดีเสียก่อน, ครั้นแล้ว ก็รีบๆ ปลูกพืช, ครั้นแล้ว ก็รีบๆ ไขน้ำเข้าบ้าง ไขน้ำออกบ้าง ภิกษุทั้งหลาย กิจของคฤหบดีชาวนาที่เขาจะต้องรีบทำมีสามอย่างเหล่านี้แล แต่ว่าคหบดีชาวนานั้นไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า "ข้าวของเราจงงอกในวันนี้ ตั้งท้องพรุ่งนี้ สุกมะรืนนี้" ดังนี้ ได้เลย ที่ถูกย่อมมีเวลาที่ข้าวนั้น เปลี่ยนแปรสภาพไปตามฤดูกาล ย่อมจะงอกบ้าง ตั้งท้องบ้าง สุกบ้าง

    ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น กิจของภิกษุที่เธอจะต้องรีบทำมี 3 อย่างเหล่านี้ 3 อย่างอะไรบ้างเล่า? 3 อย่างคือ การสมาทานการปฏิบัติในศีลอันยิ่ง, การสมาทานการปฏิบัติในจิตอันยิ่ง, และการสมาทานการปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ! กิจของภิกษุที่เธอจะต้องรีบทำมีสามอย่างเหล่านี้แล, แต่ว่า ภิกษุนั้น ก็ไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า "จิตของเราจงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่มีอุปาทาน ในวันนี้ หรือพรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้" ดังนี้ได้เลย, ที่ถูกย่อมมีเวลาที่เหมาะสม ซึ่งมีภิกษุนั้นปฏิบัติไปแม้ในศีลอันยิ่งปฏิบัติไปแม้ในจิตอันยิ่ง และปฏิบัติไปแม้ในปัญญาอันยิ่ง จิตก็จะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีอุปาทานได้เอง

    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ว่า" ความพอใจของเราจักต้องเข้มงวดพอในการสมาทานการปฏิบัติในศีลอันยิ่ง ในการสมาทานการปฏิบัติในจิตอันยิ่ง และในการสมาทานการปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง" ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล"

    นี่ก็เป็นบรมพุทโธวาทของพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อิทธิบาทธรรม คือด้วยใจรักในธรรม (ฉันทะ) ด้วยความเพียรไม่ย่อท้อ (วิริยะ) ด้วยใจจดจ่ออยู่ในธรรม ไม่ทอดทิ้งหรือวางธุระ (จิตตะ) และด้วยพินิจพิจารณาในเหตุ สังเกตในผล หมั่นดูแลแนวทางการปฏิบัติให้ดำเนินไปในทางที่ชอบ ที่เป็นคุณ หลีกเลี่ยงทางปฏิบัติที่ไม่ดี ไม่ชอบ ที่เป็นโทษ (วิมังสา) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พึงให้มีสติสัมปชัญญะพิจารณาเห็น อุปกิเลสของสมาธินิมิต หรือ นิวรณธรรมทั้งหลายที่อาจเกิดขึ้นภายในจิต แล้ว พึงกำจัดเสียด้วย องค์แห่งฌาน (โปรดดูรายละเอียดในหนังสือทาง มรรค ผล นิพพาน) แล้วท่านจะได้รับผลดีไปเอง

    ขอเพียงอย่าได้ใจร้อน ทะยานอยากที่จะเห็นนิมิตจนจิตใจฟุ้งซ่านและท้อถอย จงหมั่นปฏิบัติไปก็แล้วกัน ได้เท่าไร เอาเท่านั้น

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านก็ได้ให้คำรับรองไว้ว่า ถ้าได้ฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอแล้ว ก็เป็นอันได้เห็นดวงปฐมมรรคในชาตินี้ทุกคน.
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    ทำอย่างไรจึงจะได้เห็นดวงปฐมมรรคเร็วๆ 2

    ทำอย่างไรจึงจะได้เห็นดวงปฐมมรรคเร็วๆ ? 2




    ตอบ:

    ปัญหาที่ว่าทำอย่างไรผู้ปฏิบัติจึงจะได้ดวงถึงปฐมมรรคเร็วๆ หรือดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายนับตั้งแต่เบื้องต้น ไปเบื้องกลาง เบื้องสูง

    เอาเบื้องต้นเสียก่อนนั้น ความจริงเป็นเรื่องที่เร่งไม่ได้ การที่ผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมจะถึงดวงปฐมมรรคได้นั้น ขึ้นอยู่ที่เหตุปัจจัยที่สำคัญหลายประการ

    ประการที่ 1 ก็คือว่า ขึ้นอยู่ที่บุญกุศล มีทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล ซึ่งจะ เจริญขึ้นเป็นบารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี มีทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี ... ไปจนถึงเมตตา อุเบกขาบารมี ว่าได้ประกอบบำเพ็ญมากี่มากน้อย

    ประการที่ 2 ในส่วนที่เป็นอธิษฐานบารมี ถ้าหากว่าผู้ปฏิบัติธรรมได้เคยอธิษฐานบารมีไว้ในระดับเบื้องต้นคือปกติสาวก ระยะเวลาของการบำเพ็ญบารมีก็สั้น คือสั้นกว่าผู้ที่ตั้งจิตอธิษฐานสร้างบารมีหรือบำเพ็ญบารมีเป็นพระสาวกที่สูงยิ่งไปกว่านี้ เช่น อัครสาวก อสีติมหาสาวก เป็นต้น หรือสูงขึ้นไปเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า เหล่านี้ล้วนแต่ต้องบำเพ็ญบารมีมากกว่ากันไปตามระดับ นี้เป็นเหตุปัจจัยหนึ่งว่าได้บำเพ็ญบารมีมากี่มากน้อย

    ประการที่ 3 ขึ้นอยู่ที่บาปอกุศลที่ตนได้กระทำขึ้นในอดีตมาถึงปัจจุบัน ใครทำบาปอกุศลมาก ก็เป็นอุปสรรคขัดข้องมากตามส่วน นี่เป็นเรื่องอดีต แต่ในเรื่องปัจจุบัน ผู้รู้ที่ประสงค์ที่จะประพฤติปฏิบัติภาวนาธรรมให้เห็น ให้ถึงดวงปฐมมรรคเร็ว ก็ต้องบำเพ็ญคุณความดีอันได้แก่ ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล ให้เพิ่มมากขึ้น

    ทานกุศลนั้น เป็นเครื่องชำระกิเลสประเภทความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ประเภทความโลภ ประเภทตัณหาราคะ ประเภทความยึดมั่นถือมั่นด้วยตัณหาและทิฏฐิ ให้หมดไปจากจิตใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ให้เบาบางลง แปลว่าให้รู้จักละ รู้จักวาง เมื่อละวางได้มากเท่าใด ใจก็ว่างได้มากเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงบำเพ็ญบารมีคือ ทานกุศลเป็นทานบารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี เป็นเบื้องต้นและเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง

    ส่วนศีลกุศลนั้น เป็นเครื่องป้องกันหรือเครื่องกลั่นกรองความประพฤติปฏิบัติ ที่เป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน เพราะฉะนั้น ผู้ใดรักษาศีลบริสุทธิ์อยู่เสมอ กาย วาจา ก็สะอาดบริสุทธิ์ จิตใจก็อ่อนโยนที่จะอบรมให้หยุด ให้นิ่ง ได้โดยง่าย เพราะไม่ต้องเดือดร้อนด้วยเวรภัยซึ่งจะเกิดขึ้นจากความประพฤติผิดศีล แปลว่าผู้รักษาศีล จิตใจก็สงบ กายวาจาก็สงบระงับ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ใจได้รับการอบรมให้สงบระงับได้โดยง่าย

    ส่วนภาวนากุศล ต้องทำบ่อยๆ เนืองๆ ไม่ละเว้นเสียกลางคัน ด้วยใจรัก ด้วยความเพียร ด้วยความต่อเนื่อง ด้วยมีสติพิจารณาในเหตุสังเกตในผล ปรับจิตใจของตนให้หยุดให้นิ่ง ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ให้สามารถทำทุกอิริยาบถ คือเดิน ยืน นั่ง และนอน ยามเมื่อว่างจากภารกิจการงาน ตรึกนึกให้เห็นดวงแก้วกลมใส ใจอยู่ในกลางของกลาง ตรงจุดเล็กใส บริกรรมภาวนาว่า "สัมมาอรหังๆๆ" ไว้มากๆ ต่อเนื่องไปมากๆ ศีลกุศลก็จะเจริญขึ้นด้วย ใจก็จะได้รับการฝึกอบรมให้หยุดให้นิ่งได้โดยง่าย หรือที่เรียกว่าจิตจะเป็นเร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แม้ก่อนนอน ถ้าก่อนนอนท่านก็ยังบริกรรมนิมิต บริกรรมภาวนาคู่กันไปจนหลับ ก่อนจะหลับ จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ จิตดวงใหม่จะลอยเด่นขึ้นมาใส ท่านสามารถจะเห็นได้โดยง่าย และอาศัยอารมณ์เช่นนั้น ก่อนจะหลับ ก่อนจะตื่นเหมือนกัน ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายและใจนั้น จะลอยเด่นขึ้นมาที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ท่านสามารถจะเห็นได้โดยง่าย เมื่อเห็นได้ง่ายแล้ว ท่านก็อาศัยอารมณ์นั้นมาใช้บริกรรมต่อไป ไม่ช้าท่านก็ถึงดวงปฐมมรรคได้

    อย่าลืม จงประกอบทานกุศล เพื่อละเพื่อวาง รักษาศีลเป็นศีลกุศล เพื่อระวังกายวาจาใจ มิให้เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น หมั่นเจริญภาวนากุศล ท่องในใจสัมมาอรหังๆ ตรึกนึกให้เห็นดวงแก้ว กลมใส ใจอยู่ในกลางของกลาง ตรงจุดเล็กใส ที่ศูนย์กลางกายไว้เรื่อยๆ ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ยามเมื่อว่างจากภารกิจการงาน จิตจะเป็นเร็วขึ้น และท่านจะถึงดวงปฐมมรรคได้เร็ว
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    ในขณะนั่งสมาธิ เมื่อจิตเข้าถึงจุดที่ทำให้ตัวเรารู้สึกเบาสบาย จะเกิดความรู้สึกว่าหายใจไม่ออก รู้สึกว่าลมหายใจเบามาก ไม่ทราบว่า ปฏิบัติถูกวิธีหรือไม่ ? และมีวิธีแก้ไขอย่างไร ?

    ----------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ขณะที่จิตกำลังจะสงบได้ที่นั้น ลมหายใจจะค่อยๆ ละเอียด ค่อยๆ แผ่วไป จนเหมือนกับว่าไม่ได้หายใจ แต่ความจริงยังมี "ปราณ" คือลมละเอียดหล่อเลี้ยงอยู่ภายในร่างกายอยู่เป็นอย่างดี (อย่างโยคี ฤๅษี ที่อินเดีย เข้าฌานสมาธิ โดยไม่หายใจเลย บางคนก็เอาศีรษะฝังอยู่ในดิน ก็อยู่ได้หลายๆ ชั่วโมง ไม่ตาย ก็ด้วยเหตุผลเดียวกัน)

    เมื่อถึงจุดนี้ บางท่านก็ "ถอนจิตออก" มาจากศูนย์กลางกาย มาเกาะที่ร่างกายภายนอก แล้วรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองไม่ได้หายใจ จึงถอนจากสมาธิเพราะกลัวตายก็มี พยายามหายใจให้แรงขึ้น ทำให้จิตเคลื่อนจากสมาธิก็มี

    เพราะฉะนั้น ในเบื้องต้นโยมปฏิบัติมาถูกทางแล้ว จิตเริ่มสงบแล้ว แต่พยายามให้ใจหยุดนิ่งที่จุดเล็กใสกลางดวงใสที่ศูนย์กลางกายตลอด และปล่อยวางสิ่งต่างๆ รวมทั้งสังขารร่างกาย (ที่ยึดกันว่าเป็น) ของเราเสียทั้งหมด เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของหยาบ การจะเข้าถึงธรรมชาติละเอียดภายในนั้น ต้องละวางของหยาบภายนอกได้ (อย่างน้อยที่สุดก็คือในขณะที่นั่งสมาธิอยู่นั้น)

    ดังเช่น เมื่อเห็นดวงใสแจ่มปรากฏขึ้นแล้ว ใจก็หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางดวงนั้น ไม่ช้าศูนย์กลางดวงนั้นจะขยายออก ดวงใหม่ต่อๆ ไปจะปรากฏขึ้นอีก

    แล้วจะเห็นกายมนุษย์ละเอียดปรากฏขึ้นมา ก็ต้องปล่อยวางหรือ "ละ" ความรู้สึกอันเนื่องด้วยกายมนุษย์หยาบ สวมความรู้สึกเข้าไปเป็นกายมนุษย์ละเอียดที่เห็นนั้น (เรียกว่า ดับหยาบไปหาละเอียด) ใจหยุดนิ่งศูนย์กลางกายนั้น จะเห็นดวงในดวงผุดขึ้นมา

    แล้วจะเห็นกายละเอียดๆ กว่าเดิม ปรากฏขึ้นมาอีก เราก็ดับหยาบไปหาละเอียดต่อไปอีก จนถึงธรรมกาย
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    .........................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กันยายน 2014
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กันยายน 2014
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • a1.jpg
      a1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.8 KB
      เปิดดู:
      1,196
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    เคยได้ยินเขาพูดว่า นั่งสมาธินานๆ จะหมดลมหายใจไปเฉยๆ จะจริงหรือเปล่า ?

    -------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ไม่จริงนะ แต่ว่ามีอาการเหมือนไม่ได้หายใจ เพราะนี้เป็นธรรมชาติ ใจยิ่งหยุดนิ่งเข้าไปแล้ว กายสังขารระงับ คือองค์บริกรรมภาวนาสัมมาอรหังๆๆ จะค่อยๆ เลือนไปๆ นิ่งๆ จนไม่สนใจ มันค่อยหายไป นี้กายสังขารระงับ ก็คือลมหายใจละเอียดๆ เข้าไปๆ สั้นเข้าๆ ละเอียดๆ แล้วหยุดนิ่ง ใจหยุดนี้ไม่ใช่ไม่หายใจเลยนะ มีอ่อนๆ แต่ละเอียด ลมละเอียดนั้นเขาเรียกว่า “ปราณ” ปราณนั่นแหละธาตุลม ที่เขาทำหน้าที่ปรนเปรออยู่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวว่าจะตาย ไม่ต้องกลัวนะ เด็กทารกอยู่ในท้องหายใจหรือเปล่า ? หายใจไหม ? ไม่ได้หายใจหรอก เด็กทารกในครรภ์ไม่ตาย คนดำน้ำหายใจหรือเปล่า ? โดยทั่วไปคนดำน้ำก็ไม่ได้หายใจ กลั้นใจไว้นานๆ ไม่ได้หายใจไม่ตาย คนอยู่ฌานสมาบัติลึกๆ ใจยิ่งละเอียด “ปราณ” คือ ธาตุลมที่ทำหน้าที่ปรนเปรออยู่ในร่างกาย ให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะนี้สบายไปเลยนะ เพราะฉะนั้นอาการที่ใจจะเป็นสมาธิ คือ

    1.กายสังขารระงับ คือ ลมหายใจจะสั้นเข้าๆ แล้วละเอียด เหมือนกับไม่ได้หายใจ แต่ที่แท้มีลมหายใจอยู่ และปราณก็ทำหน้าที่อยู่แล้ว
    2.วจีสังขารระงับ คือ องค์บริกรรมภาวนาสัมมาอรหังๆๆ หรือพุทโธก็ได้นะ จะค่อยเลือนหายไป ในขณะที่ใจสงบระงับนั้น
    3.มโนสังขารระงับ คือ ใจค่อยๆ หยุดนิ่ง เป็นธรรมดาแต่ไม่ตาย ไม่ต้องกลัว ไม่ตายหรอก สัมมาสมาธิน่ะ สติสัมปชัญญะต้องอยู่ตลอด ไม่ใช่สมาธิตัวแข็งทื่อ ไม่รู้เรื่องอะไร สมาธิอย่างตัวแข็งทื่อนั้นไม่เอานะ ไม่ใช่สัมมาสมาธิ




    attachment.php?attachmentid=3253191&stc=1&d=1409592849.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2017
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    บางครั้งเห็นดวงแกว่งลอยไปด้านซ้ายบ้างด้านขวาบ้าง หรือวิ่งเป็นวงบ้าง จะทำอย่างไร เพราะรู้สึกปวดหัว ?

    ---------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ขณะปฏิบัติภาวนาอยู่เช่นนั้น ให้เหลือบตากลับขึ้นนิดๆ พร้อมกับกำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางกาย นิ่งๆ เข้าไว้ ไม่ต้องใช้ใจบังคับดวงที่แกว่งนั้น ดวงจะเลื่อนไปไหนก็ช่าง อย่าตาม อย่าเสียดาย


    คงให้รวมใจหยุดนิ่งๆ คือนึกให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางกายไว้ให้มั่น กลางของกลางเข้าไว้ จะใช้บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆๆ” ณ จุดเล็กใสนั้นช่วยด้วยก็ได้

    ไม่ช้าใจจะหยุดนิ่ง และก็ปรากฏดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใสแจ่มขึ้นมาเอง

    ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ขณะปฏิบัติภาวนา อย่าบังคับใจที่จะให้เห็นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกร็งและปวดศีรษะ ให้ผ่อนใจพอดีๆ แล้วจะค่อยๆ เห็นชัดเอง.
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    เมื่อเริ่มปฏิบัติธรรมเห็นดวงแก้วอยู่ข้างหน้า ไม่สามารถน้อมเข้ามาได้ ควรทำอย่างไร จึงจะน้อมเข้ามาในตัวได้ ?

    -----------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    วิธีปฏิบัติ ก็ให้เหลือบตากลับนิดๆ ในขณะที่หลับตาภาวนาอยู่ พร้อมๆ กับรวมใจหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ มีที่หมายเป็นจุดเล็กใส พยายามจดจำอารมณ์ที่เห็นดวงแก้วใสนั่นไว้


    แล้วนึกให้เห็นดวงแก้วใสนั้นปรากฏขึ้นที่ศูนย์กลางกาย โดยกำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางดวงแก้วใส ณ ศูนย์กลางกายนั้นไว้ให้มั่น เพื่อให้ใจอันประกอบด้วย เห็น จำ คิด รู้ มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน หยุดในหยุดกลางของหยุด นิ่งลงตรงนั้น ถ้าใจจะซัดส่ายหรือฟุ้งซ่านออกนอกตัว ก็ให้มีสติรู้เท่าทันในนิวรณ์กิเลสเช่นนั้น และกำหนดบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆๆ” เพื่อประคองใจให้หยุดนิ่งลงตรงนั้น

    ไม่ช้า ใจจะรวมลงหยุดเป็นจุดเดียวกัน ก็จะเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสสว่าง ปรากฏขึ้นมาเอง

    เมื่อใจหยุดนิ่งดีแล้ว ก็ปล่อยตาซึ่งเหลือบกลับให้เป็นไปตามธรรมชาติต่อไป เห็นแล้วก็อย่าตื่นเต้น ให้รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดกลางของกลางดวงใสสว่างนั้น หยุดนิ่งถูกส่วน ศูนย์กลางก็จะขยายออก และจะเห็นดวงใสสว่างละเอียดยิ่งกว่าเดิมปรากฏขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ คือ ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ และดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ใสละเอียดที่สุด

    เมื่อหยุดในหยุดกลางของหยุด ศูนย์กลางจะขยายออกแล้วจะเห็นกายในกาย ณ ภายในของเราปรากฏขึ้นมาเอง ก็ให้ดับหยาบไปหาละเอียด คือละความรู้สึกอันเนื่องด้วยกายหยาบเข้าไปเป็นกายละเอียด พร้อมกับรวมใจหยุดนิ่งลงไปที่ศูนย์กลางกายละเอียดๆ ที่ปรากฏขึ้นมานั้น ให้ใสละเอียดหมดทั้งดวงธรรมและกาย เมื่อกายในกายปรากฏขึ้นใหม่ ก็ให้ปฏิบัติตามแบบเดิม คือดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายที่ละเอียดๆ นั้น รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดให้ใสละเอียดทั้งดวงและกายเรื่อยไป โตใหญ่ใสละเอียดไปตามกายจนถึงธรรมกายที่สุดละเอียด
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...