รูปนาม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 15 พฤษภาคม 2015.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยขันธ์ ๕ แต่ย่อลงคงได้แก่รูปกับนาม

    ขันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่,ส่วน ในทางพุทธศาสนาหมายถึงร่างกายของมนุษย์
    คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ ๕ ส่วน หรือ ๕ ขันธ์ คือ

    ๑. รูป ได้แก่ ส่วนที่ผสมกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น ผม หนัง กระดูก โลหิต
    ๒. เวทนา ได้แก่ ระบบประมวลความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ
    ๓. สัญญา ได้แก่ จำสิ่งที่ได้รับและรู้สึกนั้นๆ
    ๔. สังขาร ได้แก่ ระบบคิดปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่รับรู้สึกและจำได้นั้นๆ
    ๕. วิญญาณ ได้แก่ ระบบรู้สิ่งนั้นๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    ขันธ์นี้ รูปจัดเป็นรูปธรรม เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณจัดเป็นนามธรรม เมื่อจัดขันธ์เข้าในปรมัตถธรรม
    • วิญญาณขันธ์ จัดเข้าใน จิต ๘๙
    • เวทนาขันธ์ ,สัญญาขันธ์ ,สังขารขันธ์ จัดเข้าในเจตสิก ๕๒
    • รูปขันธ์ จัดเข้าในรูป ๒๘
    • การหมดเหตุปัจจัยของนามรูป จัดเข้าในนิพพาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 พฤษภาคม 2015
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพื่ออะไรต้องเข้าใจ ก็เป็นการปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์
    ทุกข์นั้น คือ อะไร ได้แก่ ขันธ์ ๕ (รูปนามที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย และวนเวียนอยู่ในขณะนี้อย่างไม่รู้จักจบสิ้น)

    จะพ้นทุกข็ได้ด้วยการเห็นอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้
    อริยสัจจธรรมทั้ง ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    จะเห็นอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ ได้ต้องทำกิจ คือ

    ทุกข์ ได้แก่ ขันธ์ หรือ รูปนาม เป็นกิจที่ควรกำหนดรู้อย่างเดียว
    สมุทัย ได้แก่ กิเลส ตัณหา ๓ เป็นกิจที่ควรทำให้หมดไป
    นิโรธ ได้แก่ นิพพาน เป็นกิจที่ควรทำให้แจ้งด้วยการเรียนคันถธุระ และทำให้ถึงด้วยการปฏิบัติ
    มรรค ได้แก่ มรรค ๘ เป็นกิจที่ควรเจริญให้เกิดขึ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 พฤษภาคม 2015
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อริยสัจจ์ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    ในความหมายของพระอภิธรรม

    ทุกข์ ได้แก่ รูป ๒๘ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๐ (เวทนา สัญญา)
    สมุทัย ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ
    นิโรธ ได้แก่ นิพพาน
    มรรค ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ปัญญา ได้แก่ (สัมมาทิฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑)
    ศีล ได้แก่ (สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑)
    สมาธิ ได้แก่ (สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 พฤษภาคม 2015
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    รูป ๒๘ โดยภาพสมมติ

    มหาภูตรูป ๔
    อุปาทายรูป ๒๔
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Rup28.gif
      Rup28.gif
      ขนาดไฟล์:
      25.6 KB
      เปิดดู:
      152
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 พฤษภาคม 2015
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จิต ๘๙ - ๑๒๑ โดยภาพสมมติ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ef0a8145.jpg
      ef0a8145.jpg
      ขนาดไฟล์:
      206 KB
      เปิดดู:
      167
  6. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    การจะเห็นทุกข์อริยสัจจ์ได้ต้อง
    มีปัญญามองเห็นเหตุหรือที่มา
    แห่งทุกข์มาอันดับแรก คือการเกิดนะครับ

    และการจะเห็นเหตุแห่งทุกข์
    ได้ต้องมีปัญญา(จากการฟัง อ่าน คิด พิจารณา
    พระธรรมคำสั่งสอน)
    มาก่อน
    จึงจะเห็นเหตุนั้นๆ

    ส่วนการจะเริ่มมีปัญญา
    เพื่อพิจารณาเหตุแห่งทุกข์หรือไม่นั้น

    เริ่มที่การมีศรัทธาความเชื่อที่เป็นสัมมาทิฐิ
    เป็นก้าวแรก

    การจะเริ่มมีศรัทธาในพระธรรมคำสั่งสอน
    จะต้องเริ่มที่การมีความเลื่อมใสต่อองค์สมเด็จ
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนเพราะท่านเป็นจอม
    ศาสดาของศาสนาพุทธ ด้วยการตรัสรู้ค้นพบ
    ด้วยพระองค์เองและเผยแผ่ด้วยพระองค์เอง
    และพุทธบริษัทสืบๆ ต่อกันมา
     
  7. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ใครเป็นผู้เห็นรูปนามก่อนใครอื่นครับ ลุงหมาน
    และเห็นตอนไหนฮะ?!?
     
  8. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ทุกขอริยสัจจ์เป็นทุกข์หลักเปรียบเหมือนสายส่ง
    ไฟฟ้าแรงสูงติดตั้งพาดไปบนเสาหอคอย

    ทุกข์จากร้อน หนาว โหยหิว โหยหา
    มากไป น้อยไป เร็วไป ช้าไป เปรียบก็เหมือน
    สายส่งไฟย่อยแยกเข้าไปตามสถานที่ต่างๆ
    ตึกราม บ้านช่อง อาคารร้านค้าน้อยใหญ่
     
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    พระองค์จะแสดง "ผล" ก่อนเสมอแล้วจึงสาวไปหา "เหตุ" เพื่อแสดงเหตุ
    ทุกข์ เป็น ผล
    สมุทัย เป็น เหตุ
    นิโรธ เป็น ผล
    มรรค เป็น เหตุ

    แม้แต่ในพระวินัยก็เช่นเดียวกัน จะต้องให้ผลเกิดขึ้นก่อนจึงจะแสดงบัญญัติพระวินัยทีหลัง
    เราน่าจะสังเกตุได้ว่าพระองค์เป็นผู้ที่หยั่งรู้กาลล่วงได้ ทำไม่บัญญัติพระวินัยก่อนเพื่อไม่ให้สงฆ์ผิดนัยเสียตั้งแต่แรก
    บัญญัติวินัยทุกครั้งจะต้องให้มีผลเกิดขึ้นก่อนเสมอ
     
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เจตสิก ๕๒ ภาพสมมติ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      143.2 KB
      เปิดดู:
      110
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    รอแป๊บรอผู้รู้มาตอบ
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ใครเป็นศาสดาพุทธศาสนา ก็คนนั้นแหละ ที่พวกเราเรียนกันอยู่ก็ดี นำมาถกเถียงตีความกันอยู่ตามบอร์ดที่เรียกตนว่าบอร์ดธรรมะก็ดี ล้วนนำ (แง่ไหนมุมใด) มาจากท่านผู้นั้นบัญญัติไว้ทั้งสิ้น
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    มันไม่พ้นไปจากขันธ์ ๕ หรอกขอรับ ตัวอย่าง ที่ใครหลายๆคนว่าเจ๋ง

    จกขท. ยังพอมีสติพอรู้พอสมควร ถ้าไม่รู้เท่ารู้ทันมัน ก็หึหึ
     
  14. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครับ เห็นตอนที่ท่านตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ สำเร็จเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ
     
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ตัวว่าวก็จะบินให้สูง สายป่านก็เย่อเข้าไว้
     
  16. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    รูป นาม

    รูป คือสิ่งที่ถูกรู้

    นาม คือสิ่งที่ใจรู้

    แยกจริงๆแล้วเหลือแค่นี้แหละ

    ถ้าเหลือแค่รู้ ก็คือเหลือแต่ใจ หรือ ธาตุรู้
     
  17. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    แล้วเราจะมีโอกาสรู้ตอนไหนว่าธาตุรู้ ได้ทำงานแล้ว
    เพราะตัวเราเองคือธาตุดิน น้ำ ไฟลม !?!
     
  18. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    เมื่อธาตุรู้ รู้ถึงระดับนั้นแล้ว
    เหตุใดธาตุรู้ จึงไม่ยอมหนี
    จากเราไปเพราะย่อมรู้ว่าว่าเราแค่
    ดิน น้ำ ไฟลม ครับ
     
  19. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    ลุงแมวหาธาติดินแล้ว. 5555. ลุงแมวจ๋าผมไม่เกี่ยวนะ ตัวใครตัวมันเด๋อ555555
     
  20. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971


    ถ้าเหลือแต่ ธาตุรู้ ก็คือนิพพานแล้วครับ อันนี้ผมพูดไปถึงปลายทางเลยน๊ะ
    แต่ถ้าเราเข้าใจเพียงเสี้ยวนึงได้ คือถ้าใจรู้ แล้วไม่ปรุงแต่ต่อไม่เข้าไปยึดได้
    มันก็ว่างเบา แต่เพียงความเข้าใจก็ยังไม่พอน๊ะครับ...

    จิตต้องมีกำลังก็ต้องอาศัยมรรคสมังคี หรือเกิดการรวมมรรคทั้งหมดจึง
    เกิดวิปัสสนาเข้าไปเห็นสภาวะความเป็นธาตุของสิ่งปรุงแต่งต่างๆ แล้ว
    ปล่อยวางสิ่งปรุงแต่างต่างๆลงได้หมด นั่นจึงจะเหลือธาตุรู้ แต่ที่เรายัง
    ไม่ถึงตรงนี้มันก็ต้องปรุงแต่งต่อไป...
     

แชร์หน้านี้

Loading...