สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    มุตโตทัย ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
    บันทึกโดยพระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร ( ปัจจุบันพระราชธรรมเจติยาจารย์ วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ ) ณ วัดป่าบ้านนามน กิ่ง อ. โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร พ.ศ. ๒๔๘๖


    ๑. การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้ว ย่อมกลายเป็นของปลอม (สัทธรรมปฏิรูป) แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยเจ้าแล้วไซร้ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริง และเป็นของไม่ลบเลือนด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อยังเพียรแต่เรียนพระปริยัติถ่ายเดียว จึงยังใช้การไม่ได้ดี ต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติจิตใจกำจัดเหล่า กะปอมก่า คือ อุปกิเลส แล้วนั่นแหละ จึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จเต็มที่ และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจากหลักเดิมด้วย


    ๒. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
    ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควา
    สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทรมานฝึกหัดพระองค์จนได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็น พุทฺโธ ผู้รู้ก่อนแล้วจึงเป็น ภควา ผู้ทรงจำแนกแจกธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ สตฺถา จึงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้ฝึกบุรุษผู้มีอุปนิสัยบารมีควรแก่การทรมานในภายหลัง จึงทรงพระคุณปรากฏว่า กลฺยาโณ กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคโต ชื่อเสียงเกียรติศัพท์อันดีงามของพระองค์ย่อมฟุ้งเฟื่องไปในจตุรทิศจนตราบเท่าทุกวันนี้ แม้พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วก็เช่นเดียวกัน ปรากฏว่าท่านฝึกฝนทรมานตนได้ดีแล้ว จึงช่วยพระบรมศาสดาจำแนกแจกธรรม สั่งสอนประชุมชนในภายหลัง ท่านจึงมีเกียรติคุณปรากฏเช่นเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าบุคคลใดไม่ทรมานตนให้ดีก่อนแล้ว และทำการจำแนกแจกธรรมสั่งสอนไซร้ ก็จักเป็นผู้มีโทษ ปรากฏว่า ปาปโกสทฺโท คือเป็นผู้มีชื่อเสียงชั่วฟุ้งไปในจตุรทิศ เพราะโทษที่ไม่ทำตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์สาวกเจ้าในก่อนทั้งหลาย




    น่าอิจฉาจริงๆ ถ้าเราออกบวชเป็นบรรพชิตแล้วก็คงไร้โอกาสมานั่งเคาะแป้นตรงนี้เหมือนกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2016
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สังขารทั้งกายและใจ ที่เราอาศัยยังไม่อยู่ในฐานะที่บริสุทธิ์คุณและสารคุณ อวิชชาและเหล่ามายาคติยังโคจรมาครอบงำเราอยู่ ผู้ทรงภูมิธรรมภูมิรู้ จึงยังไม่มีอยู่ในเรา และสิ่งที่แสดง นี่ก็ไม่ใช่เราสหาย
     
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระไตรปิฏกไม่ใช่ว่าจะมีตีพิมพ์หรือบันทึกไว้เพียงแต่ในโลกมนุษย์เพียงเท่านั้น สหายกัลยาณมิตรอันเป็นสหชาติทั้งหลายฯ พระสัทธรรมราชา ท่านมีอยู่เสมอในทิพยภูมิของพระอริยะ

    " พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม "

    ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้นสมบูรณ์ด้วยอรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา, ให้ สำเร็จผลวิเศษในการปฏิบัติ, ห้ามอกุศลอันเป็นปฏิปักษ์, เป็นรตนากร บ่อเกิดแห่งญาณอันประเสริฐของพระโยคาวจร, เป็นเหตุอันวิเศษในการเยื้องกรายธรรมกถาของพระธรรมกถึกทั้งหลาย, เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ของผู้กลัวภัยในสังสารวัฏ, มีประโยชน์ในการยังความชุ่มชื่นให้เกิดเพราะเห็นอุบายในการออกจากทุกข์นั้น, และมีประโยชน์ในการทำลายอกุศลธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อนิสสรณธรรม๔ นั้น


    และมีประโยชน์ให้เกิดความยินดีในหทัยแก่กัลยาณชน โดยการเปิดเผยอรรถแห่งบทพระสูตรมีเนื้อความอันลึกซึ้งมิใช่น้อย อันท่านพระสารีบุตรผู้ธรรมเสนาบดีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ธรรมราชาภาษิตแล้ว เมื่อประทีปดวงใหญ่กล่าวคือพระสัทธรรม รุ่งเรืองแล้วด้วยแสงประทีปดวงใหญ่คือพระสัพพัญญุตญาณที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วโดยไม่ขัดข้อง ส่องสว่างกระจ่างไปทั่วทุกสถาน มีพระทัยสนิทเสน่หา ประกอบไปด้วยพระมหากรุณาแผ่กว้างไปในปวงชน เพื่อกำจัดความมืดมนอนธการกล่าวคือกิเลส ด้วยพระมหากรุณาในเวไนยชน ด้วยการยกพระสัทธรรมนั้นขึ้นอธิบายให้กระจ่างแจ้งแก่ปวงชน ด้วยความเสน่หา ปรารถนาความรุ่งเรืองแห่งพระสัทธรรมไปตราบเท่า ๕,๐๐๐ พระพรรษา ผู้มีเจตจำนงค้ำจุนโลกตามเยี่ยงอย่างพระศาสดา อันท่านพระอานันทเถระสดับภาษิตนั้นแล้วยกขึ้นรวบรวมไว้ในคราวทำปฐมมหาสังคีติ ตามที่ได้สดับมาแล้วนั่นแล.


    เทสนาประเภทต่างๆ ย่อมให้เกิดประเภทแห่งปฏิสัมภิทาญาณ แก่พระอริยบุคคลทั้งหลายผู้สดับฟัง และเป็นปัจจัยแก่การแตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณแก่ปุถุชนต่อไปในอนาคต



    มีข้อหนึ่ง ในปฎิสัมภิทาญาน การที่จักสามารถค้นหาเหตุการณ์รวมรวมวิเคราะห์เหตุเกิดอันเป็นที่มาแห่งญานกถาในพระธรรมบทต่างๆได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2016
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    รู้กิจหน้าที่ของตนเองเมื่อไหร่ ไปวางแผนให้ดีๆสหาย
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จากการที่เราได้พบพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม ในห้วงพรรษาปี ๒๕๕๔ ในฐานะบรรพชิต เราก็สามารถวิสัชนาปกรณ์นี้ได้ด้วย ปัญญา๓ ก่อนที่จะได้มีโอกาสได้อ่านได้พบ กับ ปฎิสัมภิทามรรค นี่จึงถือเป็นปรมัตถสัจจะที่เป็นอุตริมนุษยธรรมที่มีอยู่จริงในเรา เมื่อหวังความเจริญในพระสัทธรรมโดยไม่ตระหนี่ธรรม ๕ ประการ เพื่อมรรคผล เราจึงจำเป็นต้องเปิดเผย แต่ก็ถูกลบไปในกาลก่อนนี้เพราะว่าความไม่รู้ แต่ก็ไม่ได้ถือโทษโกรธกัน เราเข้าใจว่าอวิชชาและมารครอบดลใจมันเป็นอย่างไร?

    {O}ผู้เห็นธรรมมีเพียง ๓ สถานะ{O}เท่านั้น (เป็นเรื่องอจินไตยหากจะกล่าวถึงการกำเนิดของพระธรรมคัมภีร์)

    " ผู้เห็นธรรม๑ คือเห็นธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์,พระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เห็นโดยตรง" ซึ่ง"พระธรรมแม่บท"โดยปฎิสัมภิทาญาน"
    " ผู้เห็นธรรม๒ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงด้วยพระประสงค์ให้เห็นตามด้วยพระทศพลญาน
    " ผู้เห็นธรรม๓ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สืบทอดจารึก ท่องจำมุขปาฐะตีพิมพ์กันมาด้วยความเพียรพยายาม ด้วยสภาวะบุญอันเข้าถึงในอดีตชาติที่สั่งสมการพิจารณาใคร่ครวญปฎิบัติมาดีแล้ว



    "จงพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงเถิดว่า"

    องค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดาทรงจำแนกพระธรรมคำภีร์คำสั่งสอนออกมาเป็นทางสายกลางสายเดียวไม่มีแปลกแยกเป็นอื่น ผู้ที่ถือพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทโดยปฎิสัมภิทาญานได้ "เปรียบเสมือนผู้ถือแท่งทองชมพูนุช"เป็นแม่แบบ เป็น"รัตนมหาธาตุ"ย่อมสามารถมองล่วงรู้เห็นว่า ทองคำแท่งใดปลอมปน วัสดุอื่นตามได้อย่างละเอียด ว่ามีเหล็กบ้าง ตะกั่วบ้าง เป็นต้น ถ้าถึงกาลเวลานั้น คือมีผู้สามารถรวมรวมการแตกแยกของนิกายทั้งหมดมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เมื่อไร ด้วย ปาฎิหาริย์ ๓ ตอนนั้นจักรวรรดิธรรม ก็จะพร้อมเรียกชื่อ นิกาย อันมีนามแท้"ดั้งเดิม" อันเป็นนามที่แท้จริงของพระศาสนา เหมือนกับสมัยพุทธันดรก่อนๆ นั้นแล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2016
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    " สามารถพิจารณาเช่นนี้ได้เช่นเดียวกัน "

    " หากว่าศิษย์คู่ควร ศิษย์คนที่เข้าสมาธิขั้นลึกได้ เขาก็จะโชคดีที่ได้เห็นอาจารย์ "



    เราได้ประโยชน์จากความเจริญของผู้เจริญตาม กระแสนั้นก็จักบังเกิด เมื่อเราช่วยชี้ทางช่วยบอกทางเลี่ยงภัยและอุปสรรคแก่เขาฉันใด ภัยและอุปสรรคของเราก็จักลดน้อยลงตามเช่นเดียวกัน


    สาธุธรรม ขอให้ท่านทั้งหลายฯ พินิจพิจารณาให้กว้างขวางลึกซึ้ง สักวันหนึ่งแม้แต่เราก็หวังคำชี้แนะและไตร่ตรองด้วยปัญญาจากท่านทั้งหลายฯ ไม่ได้ผูกสิทธิ์ตัดขาดว่า จะต้องเชื่อและฟังจากเรา เท่านั้น แบบนี้ก็ไม่ถูก ฉนั้นปัญหาที่มีมาในปุจฉาและวิสัชนาควรจะสามารถธรรมสากัจฉาเพื่อความเจริญต่อไป หากแม้นที่สุดแล้วก็ไม่อาจเข้าใจก็หวังผู้มีปัญญาธรรมที่บริสุทธิ์มาช่วยโปรดเราท่านอีกที ดังนี้จึงเป็นการเคารพกันด้วยธรรม สาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2016
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    มีด้วยกันเกือบทุกผู้คนล่ะครับ และแม้ไม่ได้เกิดวันเดือนปีเดียวกัน ก็เกิดร่วมชาติกัน เป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกันครับ ต่างก็มีกิจและภาระหน้าที่ของตนเอง ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไรก็ตาม

    มาร ๕
    สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, สิ่งที่ล้างผลาญคุณความดี,
    ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางบุคคลมิให้บรรลุ ผลสำเร็จอันดีงาม

    ๑. กิเลสมาร มารคือกิเลส, กิเลสเป็นมารเพราะเป็นตัวกำจัดและขัดขวางความดี ทำให้สัตว์ประสบ
    ความพินาศทั้งในปัจจุบันและอนาคต

    ๒. ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์, ขันธ์ ๕ เป็นมาร เพราะเป็นสภาพอันปัจจัยปรุงแต่ง มีความขัดแย้ง
    กันเองอยู่ภายใน ไม่มั่นคงทนนาน เป็นภาระในการบริหาร ทั้งแปรปรวนเสื่อมโทรมไปเพราะชราพยาธิ
    เป็นต้น ล้วนรอนโอกาสมิให้บุคคลทำกิจหน้าที่ หรือบำเพ็ญคุณความดีได้เต็มปรารถนา อย่างแรง อาจถึง
    กับพรากโอกาสนั้นโดยสิ้นเชิง

    ๓. อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขาร, อภิสังขารเป็นมาร เพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม นำให้เกิดชาติ
    ชราเป็นต้น ขัดขวางมิให้หลุดพ้นไปจากสังขารทุกข์

    ๔. เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร, เทพยิ่งใหญ่ระดับสูงสุดแห่งชั้นกามาวจรตนหนึ่งชื่อว่ามาร เพราะ
    เป็นนิมิตแห่งความขัดข้อง คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ มิให้ล่วงพ้นจากแดนอำนาจครอบงำของตน โดย
    ชักให้ห่วงพะวงในกามสุขไม่หาญ เสียสละออกไปบำเพ็ญคุณความดียิ่งใหญ่ได้

    ๕. มัจจุมาร มารคือความตาย, ความตายเป็นมาร เพราะเป็นตัวการตัดโอกาส ที่จะก้าวหน้าต่อไปใน
    คุณความดีทั้งหลาย

    แม้แต่เรารู้ตนเองว่าพ้นแล้ว ก็ยังไม่กล้าเสี่ยง หรือมีความปราถนาให้ผู้อื่นที่ตามมา ที่ได้ล่วงรู้เห็นตามต้องเผชิญเหตุคติอันไม่ควรปรารถนานั้นด้วย

    อภูวาที นิรยํ อุเปติ
    คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2016
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,493
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    เมื่อถึงเวลา ท่านก็จะทราบเองค่ะ เรียกว่า"ธรรมะจัดสรรค์"ค่ะ
     
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    กมฺมุนา วตฺตตีโลโก

    สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

    เรื่องที่น่าหวาดกลัวแทนมากที่สุด ของผู้ที่ไม่รู้

    สมเด็จพระบรมมหาศาสดาทรงสรรเสริญ ชื่นชม ในสิ่งใด ควรรู้ควรปฎิบัติตนเช่นนั้นด้วยจักเป็นการดี แก่ตนเองและแก่บุคคลที่ตนเองนั้นรัก


    เพราะสงฆ์ไม่บริสุทธิ์เป็นผู้มีธุลีในดวงตามาก ด้วยเหตุนี้ก็เป็นประการหนึ่งที่สำคัญ ไม่ทรงร่วมทำปาฎิโมกข์ร่วมอีก เจ็บปวดไหม?ครับ สมควรไหม?

    ทำไมเหล่าอามิสทายาทจึงไม่กลัว ไม่มีหิริโอตัปปะ ทั้งๆที่เป็นเรื่องที่น่าเกรงกลัวขนาดนี้ ทำไมจึงนิยมชมชอบเป็นอามิสทายาทกันนัก ไม่รู้คติสัมปรายภพที่ตนจะไปเพราะไม่มีวิสัยที่จะพยากรณ์ตนเองได้ก็เตรียมตัวกันถ้วนหน้า


    อัคคิขันธูปมสูตร
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลชนบทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จดำเนินไปสู่ทางไกล ได้ทอดพระเนตรเห็นไฟกองใหญ่ กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ในที่แห่งหนึ่ง จึงเสด็จแวะจากทางประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ใกล้โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นไฟกองใหญ่โน้นที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง
    อยู่หรือไม่

    ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ


    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    การเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่
    กับการเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาว
    คฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน ฯ


    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอด
    พระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอันอ่อนนุ่ม
    นี้ประเสริฐกว่า ส่วนการที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น
    ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ เป็นทุกข์ ฯ


    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอ
    ทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติสกปรกน่ารังเกียจ
    ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์
    แต่ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำหนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ
    เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี
    จะประเสริฐอย่างไร การเข้าไปนั่งกอดนอนกอดกองไฟใหญ่โน้นที่กำลังลุกรุ่งโรจน์
    โชติช่วงอยู่ นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์
    ปางตาย เพราะการเข้าไปกอดกองไฟใหญ่นั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป
    ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการเข้าไปกอดกองไฟใหญ่นั้น
    เป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก มีความประพฤติสกปรก
    น่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้
    ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำ
    หนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาว
    พราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่มนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อ
    ความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานแก่เขา และผู้นั้นเมื่อ
    ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะ
    สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง เอาเชือกหนังอันเหนียวแน่นพันแข้ง
    ทั้งสองข้างแล้วชักไปมา เชือกหนังพึงบาดผิว บาดผิวแล้ว พึงบาดหนัง
    บาดหนังแล้ว พึงบาดเนื้อ บาดเนื้อแล้ว พึงตัดเส้นเอ็น ตัดเส้นเอ็นแล้ว
    พึงตัดกระดูก ตัดกระดูกแล้ว หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก กับการยินดีการกราบ
    ไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดี
    กว่ากัน ฯ


    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีการกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล
    พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่าการที่บุรุษผู้มีกำลัง เอาเชือก
    หนังอันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้างแล้วชักไปชักมา เชือกหนังพึงบาดผิว ฯลฯ
    หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก นี้เป็นทุกข์ ฯ


    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้ง
    หลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีการกราบไหว้แห่ง
    กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่
    บุรุษมีกำลัง เอาเชือกหนังอันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้าง แล้วชักไปชักมา
    เชือกหนังพึงบาดผิว ฯลฯ หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก นั้นดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุ
    ไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อ
    ตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วน
    การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีการกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล
    พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่
    ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น
    เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
    จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง เอาหอกอันคมชโลมน้ำมัน
    พุงใส่กลางอก กับการยินดีอัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล
    หรือคฤหบดีมหาศาลไหนจะดีกว่ากัน ฯ


    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีอัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล
    พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า ส่วนการที่บุรุษมีกำลัง
    เอาหอกอันคมชโลมน้ำมัน พุ่งใส่กลางอกนี้เป็นทุกข์ ฯ


    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอ
    ทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีอัญชลีกรรมของกษัตริย์
    มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษมี
    กำลัง เอาหอกอันคมชโลมน้ำมัน พุ่งใส่กลางอก นั้นดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป
    ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคล
    ผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีอัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์
    มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์
    เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป
    ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญ
    ความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลังเอาแผ่นเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์
    โชติช่วงนาบกายตัว กับการบริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล
    พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน ฯ


    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของ
    กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมี
    กำลัง เอาแผ่นเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว นี้เป็นทุกข์ ฯ


    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอ
    ทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคจีวรที่เขาถวายด้วย
    ศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดี
    อย่างไร การที่บุรุษมีกำลัง เอาแผ่นเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกาย
    ตัว นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย
    มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่เขาเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
    เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภค
    จีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี
    มหาศาล นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
    แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ
    วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    การที่บุรุษมีกำลังเอาขอเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเกี่ยวปากอ้าไว้
    แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กแดง
    นั้นจะพึงไหม้ริมฝีปาก ไหม้ปาก ไหม้ลิ้น ไหม้คอ ไหม้อก ไหม้เรื่อยไปถึง
    ไส้ใหญ่ไส้น้อย แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ กับการบริโภคบิณฑบาตที่เขาถวาย
    ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล
    ไหนจะดีกว่ากัน ฯ

    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา
    ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่
    บุรุษมีกำลัง เอาขอเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง เกี่ยวปากอ้าไว้ แล้ว
    กรอกก้อนเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะ
    พึงไหม้ริมฝีปาก ... แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ นี้เป็นทุกข์ ฯ

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอ
    ทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวาย
    ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดี
    อย่างไร การที่บุรุษมีกำลัง เอาขอเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเกี่ยว
    ปากอ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปาก ... แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ นี้ดีกว่า ข้อนั้น
    เพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ
    แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็น
    ปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคบิณฑบาตที่เขา
    ถวายด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล
    นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่
    บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ
    วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    การที่บุรุษผู้มีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วให้นั่งทับนอนทับบนเตียงเหล็กหรือ
    ตั่งเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง กับการบริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วย
    ศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะ
    ดีกว่ากัน ฯ

    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธา
    ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า ส่วนการ
    ที่บุรุษผู้มีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอแล้ว ให้นั่งทับหรือนอนทับเตียงหรือตั่งเหล็ก
    แดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง นี้เป็นทุกข์ ฯ


    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอ
    ทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคเตียงตั่งที่เขาถวาย
    ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดี
    อย่างไร การที่บุรุษผู้มีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วให้นั่งทับหรือนอนทับเตียง
    หรือตั่งเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง นั้นดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะผู้นั้นจะพึงเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อ
    ตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วน
    การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธา
    ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นั้น ย่อมเป็นไป
    เพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และ
    บุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง จับมัดเอา
    เท้าขึ้นเอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง ผู้นั้นถูก
    ไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้งลอยขึ้นข้างบน บางครั้งจมลง
    ข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวางๆ กับการบริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของ
    กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน ฯ

    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของ
    กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมี
    กำลัง จับมัดเอาเท้าขึ้นเอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์
    โชติช่วง ผู้นั้นถูกไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้งลอยขึ้นข้างบน
    บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวางๆ นี้เป็นทุกข์ ฯ


    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอ
    ทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภควิหารที่เขาถวาย
    ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดี
    อย่างไร การที่บุรุษมีกำลัง จับเอาเท้าขึ้น เอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดง
    ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง ถูกไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำ ในหม้อเหล็กแดงนั้น
    บางครั้งลอยขึ้นข้างบน บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวางๆ นี้ดีกว่า
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นพึงเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็น
    เหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้น
    เป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภควิหารที่เขา
    ถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล
    นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน แก่
    บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ
    วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษา
    อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช
    บริขาร ของชนเหล่าใด ปัจจัยของชนเหล่านั้น จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
    และการบรรพชาของเราทั้งหลายจักไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล อนึ่ง เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อพิจารณา
    เห็นประโยชน์ตน ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จด้วยความไม่ประมาท
    เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ผู้อื่น ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จด้วย
    ความไม่ประมาท หรือเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ทั้งสอง ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้
    ประโยชน์ทั้งสองนั้นสำเร็จด้วยความไม่ประมาท ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว และเมื่อกำลังตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ โลหิตร้อนพุ่งออกจากปากของภิกษุ ๖๐ รูป (พวกต้น)

    ภิกษุ ๖๐ รูป (พวกกลาง) ลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ด้วยกราบทูลพระผู้มี
    พระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้ยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้แสนยาก


    อีก ๖๐ รูป จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ฯ

    จบสูตรที่ ๘



    ธาตุทัณฑ์ ธาตุ ๔ อันมีดินน้ำลมไฟมาประชุมกัน เมื่อแปรปรวนแล้ว เนื่องด้วยเป็นอามิสทายาทต่อพระธรรมราชา ไม่เป็นธรรมทายาทแล้วไซร้ ธาตุ ๔ นั้นก็ยอมตนศิโรราบ จึงเกิดอุปัทวะอันตรายอันมาซึ่งโรคาพยาธิแก่ตน สิ่งที่ระบบจัดสรรค์ตามที่ว่าตามกันมาพลาดไปหนึ่งอย่าง คือ เหตุที่ไม่ทราบว่า พระสัทธรรมนั้นอยู่นอกเหนือเหตุเหนือผลและธรรมชาติธาตุทั้งมวลฯ และธาตุทั้งมวลก็พร้อมใจเคารพแด่พระรัตนธาตุอันเป็นธาตุสูงสุดบริสุทธิ์ที่สุด และสามารถส่งผลให้คุณและให้โทษได้

    ไม่ว่าจะเป็น ธรรมจัดสรรค์ หรือ กรรมจัดสรรค์ จะเป็น พระสัทธรรม หรือ อสัทธรรม หรือ จะเป็นฝ่าย กุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม ก็ดีเรื่องเหล่านี้ไม่ได้อยู่นอกเหนือขอบข่ายพระทศพลญาน ๑๐ อยู่แล้ว ซึ่งสามารถวิสัชนาตรงตามตรองเห็นได้ดังนี้แลฯ


    ดังที่ล้วนแต่มีหน้าที่ตัวตายตัวแทน ตามภาระหน้าที่ต่างๆหมุนเวียนเปลี่ยนผันไปตามภาระที่แบกไว้ตามแต่ละภพภูมิดังที่เป็นมา

    จงทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ และดิ้นรนให้ถึงที่สุด สุดท้ายไม่ว่าจะออกมาอย่างไร? ก็ยังอยู่ในระบบมายาคติอยู่ เมื่อพ้นวิเศษแล้ว นั่นแหละจึงพ้น อุปมาดังนี้แลฯ


    ทัณฑ์ในพระพุทธศาสนา มี ๒ อย่าง ได้แก่ พรหมทัณฑ์ และ ธาตุทัณฑ์

    พรหมทัณฑ์นั้น คือ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงโอวาท ไม่พึงสั่งสอนเลย ไม่พึงเจรจาคำใดๆ ด้วยทั้งสิ้น เว้นแต่คำอันเป็นกิจธุระโดยเฉพาะ เมื่อถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แล้ว จักสำนึกในความผิด และสำเหนียกในธรรมวินัย เป็นผู้ว่าง่าย ยอมรับโอวาท ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล” เช่น พระ ฉันนะ เป็นต้น


    [ธาตุทัณฑ์] คือผลกรรมบันดาล เบิกกรรมชาตินี้ ทำลายกรรมชาติหน้าอันเป็นพลวปัจจัย นี่มหาเมตตากรุณาแล้วสำหรับคนขาดสูญฯสิ้นเสีย กรรมตัดรอน ด้วยผลแห่งบุพกรรม จะพ้นได้ก็ด้วยต้องบุพกรรมพยากรณ์

    สำหรับอามิสทายาทและผู้สร้างสัทธรรมปฎิรูปและผู้หมุนทวนกระแสพระธรรมจักรทั้งหลายฯจึงพึงระลึกและรู้ไว้ว่า ธาตุขันธ์ ที่ตนเองอาศัยอยู่นั้น ไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิใดก็ดี หากกระทำการอันเป็นปฎิปักษ์ต่อพระสัทธรรมผู้ทรงมีพระกรุณาคุณแก่เวไนยสัตว์โลกแล้ว นั่นก็เป็นผลกรรมอันจะเป็นพลวปัจจัยอันสร้างวัฎสงสารที่ทำให้ต้องทนทุกข์ต่อความเจ็บปวดให้กับตนเองนานแสนนาน ก็เพราะด้วยความไม่เอาใจใส่ทอดทิ้งภาระในการใช้สติปัญญา ในการครุ่นคิดวิเคราะห์พิจารณา ถึงความเป็นจริงของสัจธรรมความเป็นจริงด้วยตนเอง จะผิดก็ผิดเพราะตนเอง ต้องโทษตัวเองที่ดื้อรั้นไม่ใส่ใจก็ต้องยอมรับชะตากรรมที่ตนเองนั้นสร้างโดยดุษฏี



    อันธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ย่อมทำลายตนเองเพื่อบูชาธรรมนั้น นี่คือผลกรรมของพวกโกหกปลิ้นปล้อน กรณีแผ่นดินเคลื่อน ธรณีสูบ ก็เหมือนกัน ตั้งแต่เกิดมาผมจะบอกตรงนี้เป็นครั้งแรกนะว่า ธรณีสูบ คือ ปฐวีธาตุ หรือธาตุดินกำเริบ อย่าไปคิดว่าพระธรณี ฆ่าเอานะ เทพ นาค คนธรรพ์ เทวดา มารพรหม เขาไม่มีเอี่ยวด้วยในเรื่องนี้คนมันถึงที่ บาปมันลงตัว ขันธ์ ๘ ขันธ์ ๙ ขันธ์หยาบละเอียดละออแค่ไหน ก็ไม่อาจเหลือ สภาวะธรรมสามารถ เปลี่ยนแปลงธาตุได้ทุกอย่าง นิวเคลียร์ เลเซอร์ Solar storm Black Hole BIGBANKของแบบนั้น เทียบไม่ได้กับเม็ดฝุ่นใต้เบื้องพระบาท อันเป็นพละของตถาคต ๑๐ อันเป็นกำลังของพระตถาคตเลยแม้แต่น้อย หากพระองค์ จะย่นย่อหรือส่งเสริมสร้างสรรสิ่งใด ในตลอดจน อนันตริยจักรวาลนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายดายมาก ตามที่ปรากฎโดยนียัตถะและเนยยัตถะในพระสูตรต่างๆ สมดังที่พระองค์เสด็จไปแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ที่โลกธาตุอื่น เพื่อพลวปัจจัยแก่เวไนยเหล่านั้นในอนาคตนั่นเทียว พระธรรมคำสั่งสอนอันยังสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์คือกิจธุระในพระพุทธศาสนา

    ผู้ต้องธาตุทัณฑ์ในสมัยพุทธกาล พระเทวทัต สุปปะพุทธะ นันทมานพ จิญจมาณวิกา ธาตุดินกำเริบ ส่วน นันทยักษ์ ธาตุไฟ ธาตุลมและธาตุดินกำเริบ
    แม้ใน ขันติวาทิชาดก อันมี พระเจ้ากาสี ผู้ถูกไฟอเวจีมหานรกสูบลงธรณี และใน เจติยราชชาดก พระเจ้าเจติยราช (อดีตชาติของพระเทวทัต) ก็ถูกธาตุทัณฑ์ ธาตุดินกำเริบ และธาตุไฟกำเริบ ก็เช่นเดียวกัน ฯลฯ


    นี่ยังไม่รวมรวมโรคาพยาธิที่เบียดเบียน ร่างกายอันขัดต่อสภาพความเป็นอยู่กินอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น มีที่อยู่ที่ดื่มกินที่อาศัยสนุกสะอาดสุขสบาย แต่กลับ กลายเป็นโรคเรื้อน โรคผิวหนัง เนื้อตัวเน่าเหม็นดังซาก โรคขาดสารอาหาร และอุปัทวะอันตราย นานาอุบัติเหตุ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต มะเร็งเบาหวานเป็นต้น

    ในจูฬกัมมวิภังคสูตร (๑๔/๓๒๓) สุภมาณพ โตเทยยบุตรได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วกราบทูลถามว่า อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้คนที่เกิดมาแล้ว มีโรคมากหรือมีโรคน้อย ?

               พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบว่า
               "ดูก่อนมานพ ! คนบางคนในโลกนี้ จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เป็นคนมีปกติชอบเบียดเบียนสัตว์ ด้วยมืด ด้วยก้อนหิน ด้วยท่อนไม้ หรือด้วยศาตราก็ตามเมื่อเขาตายจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาติ และนรก… เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นผู้มีโรคมาก…"


    ในคิลานสูตร (๒๐/๑๓๗) พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า คนเจ็บไข้มีอยู่ ๓ จำพวก คือ
               - รักษาหรือไม่รักษาก็ไม่หาย
               - รักษาหรือไม่รักษาก็หาย
               - รักษาจึงหายไม่รักษาไม่หาย




    ยุคสมัยนี้ถ้ามีผู้มีปาฎิหาริย์ ๓ กำเนิดเกิดขึ้น เป็นผู้มีหน้าที่ชำระธรณีสงฆ์ เราอาจได้พบเห็นการบาดเจ็บล้มตายตกไข้ได้ป่วย และการหนีลาสิกขาเป็นอันมาก ของเหล่าภิกษุสามเณรผู้ทุศีลต่างๆที่โกหกหลอกลวง บวชเพื่อแสวงลาภซึ่งขาดสิ้นจากความเป็นภิกษุไปแล้วทั้งหลายเป็นแน่ฯ





    โย ทณฺเฑร อทณฺเฑสุ
    อปฺปทุฎฺเฐสุ ทุสฺสติ
    ทสนฺนมญฺญตรํ ฐานํ
    ขิปฺปเมว นิคจฺฉติ ฯ


    ผู้ทำร้ายลงทัณฑ์แก่บุคคล
    ผู้ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายใคร
    ย่อมได้รับผลสนองกลับอย่าง
    อย่างใดอย่างหนึ่งทันตาเห็น


    เวทนํ ผรุสํ ชานึ
    สรีรสฺส จ เภทนํ
    ครุกํ วาปิ อาพาธํ
    จิตฺตกฺเขปํว ปาปุเณ ฯ



    ได้รับเวทนาอย่างรุนแรง
    ได้รับความเสื่อมเสีย
    ถูกทำร้ายร่างกาย
    เจ็บป่วยอย่างหนัก
    กลายเป็นคนวิกลจริต

    ราชโต วา อุปสคฺคํ
    อพฺภกฺขานํ ว ทารุณํ
    ปริกฺขยํ ว ญาตีนํ
    โภคานํ ว ปภงฺคุณํ ฯ


    ต้องราชภัย
    ถูกกล่าวหาอย่างรุนแรง
    ไร้ญาติพี่น้อง
    ทรัพย์สมบัติก็พินาศฉิบหาย


    อถวาสฺส อคารานิ
    อคฺคิ ฑหติ ปาวโก
    กายสฺส เภทา ทุปฺปญฺโญ
    นิรยํ โส อุปปชฺชติ ฯ

    หรือไม่บ้านเรือนของเขาย่อมถูกไฟไหม้
    ตายไป เขาผู้ทรามก็ตกนรก




    การบวชมิใช่ของง่าย บวชเข้าไปแล้วไม่รักษาพระธรรมรักษาพระวินัย บวชไปแบบสุ่มสี่สุ่มห้า หรือ ไปเข้าเมืองตาหลิ่วจึงหลิ่วตาตามในเรื่องเสียศีลเสียธรรม เตรียมตัวรับผลกรรมกันให้ดีๆ แล้วบุคคลอันเป็นที่รักครอบครัวเครือญาติเหล่าเวไนยสัตว์จะพึ่งพาบุญอันใดเล่า ผู้ถือบวชเอย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 เมษายน 2016
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201

    กรณีนั้นไม่ใช่ความตระหนี่ลาภหรอกหรือ 00000 เพราะอวิชาและโลกธรรมอันเป็นมายาคติครอบงำจึงบังเกิดความเห็นแก่ตัว นั่นของเรานี่ของเรา ใครจะมาเอาไปฟรีๆไม่ได้ ซึงนำไปเปรียบเทียบกันไม่ได้ที่ศีลข้อวัตรอันจะรักษาและจะไม่ละเมิด ยกเว้นไว้ซึ่งคุณธรรมและจรรยาวัตรอันเป็นพรหมจรรย์บริสุทธิศีลอันสมควรแก่ฐานะธรรมตามบุคคลตามภพภูมิโลกธาตุต่างๆ เป็นต้น

    พระพุทธศาสนาไม่ได้ห้ามปรามเรื่องนี้ คือให้อิสระภาพทางด้านความคิดอันเป็นพลวปัจจัยในทัสสนะวิสัยอันบริสุทธิ์ มีแต่การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เมื่อการให้ธรรมเป็นทานเป็นการให้อย่างสูงสุด ผู้ที่ใช้อย่างเป็นประโยชน์เพื่อเกื้อกูลแก่เหล่าเวไนยสัตว์ ธรรมสมบัติที่ถูกถ่ายทอดไว้ให้เป็นอันยิ่งดี

    กว่าจะถึงยุคสมัยนั้นที่เหล่าเวไนยสัตว์มีจิตวิญญานอันสมบูรณ์ไม่ยึดติดเรื่องทรัพย์ภายนอก มุ่งหาทรัพย์ภายใน มีสติปัญญารับรู้ พิจารณาไตร่ตรองในหลักธรรมในพระพุทธศาสนาอันสมเด็จพระบรมมหาศาสดาตรัสสอนไว้เพื่อประโยชน์แล้วไซร้เหตุการณ์ ความตระหนี่ทั้งมวลก็ย่อมหมดไป

    อันข้าวน้ำโภชนา เขายังลักจดลิขสิทธิ์ได้ แก่งแย่งซึ่งปัจจัย ๔ นี่มันโลกใบไหนกัน ศิโรราบให้กับ กิเลส ตัณหามารจนต้องเฆ่นฆ่าชิงดีชิงเด่นกันไม่สิ้นสุด


    ภรรยาและบุตรสุดหวงแหนแสนรักยิ่งชีวิต ยังสละให้ผู้อื่นได้ ประสาอะไร?กับสินแร่แหล่งทรัพย์อื่น

    หากตนยังปฎิบัติตนยังไม่เข้าถึงหลักการปฎิบัติธรรม อย่ากล่าวถึงศีลอันผู้อื่นละเมิดแล้ว อ้างกันมิได้เลย

    ผู้ที่พ้นวิสัยโลกนี้ จึงเป็นผู้ควรให้ผู้อื่นเกิดความละอาย ซึ่ง กาย วาจา ใจ นักแลฯ


    อุปกิเลส ๑๖ ขจัดได้ที่ละเล็กทีละน้อยจักเป็นการดี เลือก บุคคล สถานที่ และวาระโอกาสให้ดีๆ

    การพิจารณาจิต คือ ตามรู้จิตตลอดกาลตลอดเวลา ทั้งเมื่ออยู่ในอิริยาบถตามปกติและเมื่อตั้งใจปฏิบัติ เมื่อเราตั้งใจพิจารณา ตามดูจิตแล้ว เราจะมองเห็นอาการของจิตต่าง ๆ ทำให้เข้าใจจริตนิสัยของตัวเองมากขึ้น เมื่อเราเข้าใจตัวเอง ยอมรับตัวเองตามความเป็นจริง ก็จะเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงพัฒนาตนเอง คือเมื่อรู้สึกตัวแล้ว ก็จะไม่หลงไปตามอามรณ์จิตเดิมแท้ของเราทุกคนเป็นประภัสสร บริสุทธิ์ผ่องใสโดยธรรมชาติแต่กิเลสเป็นอาคันตุกะที่จรเข้ามาครอบงำจิต ทำให้จิตเศร้าหมอง กิเลสหรืออกุศลมูล อันได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ เมื่อมีเหตุปัจจัยประสมประสานกันแล้วก่อตัวขึ้นมาเป็นอุปนิสัยต่าง ๆ มี 16 ลักษณะเรียกว่า อุปกิเลส 16 ได้แก่

    ๑. อภิชฌมวิสมโลภะ คือความละโมภ อยากได้ อยากมี อยากเป็นอย่างไม่รู้จักพอ เห็นแก่ได้จนลืมตัว

    ๒. พยาบาท คือความคิดร้าย มุ่งจะทำร้ายเขา ใครพูดไม่ถูกใจก็คิดตำหนิเขา คิดจะทำร้ายฆ่าเขาก็มี บางครั้งทำร้ายผู้อื่นไม่ได้ ก็หันมาตำหนิตัวเอง ทำร้ายตัวเอง จนฆ่าตัวตายก็มีซึ่งเป็นเพราะอำนาจพยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

    ๓. โกธะ คือความโกรธ มีอะไรมากระทบก็โกรธ เป็นลักษณะโกรธง่าย แต่เมื่อหายแล้วก็เหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น คือไม่ผูกใจเจ็บ ไม่พยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

    ๔. อุปนาหะ คือการผูกโกรธ ใครพูดอะไร ทำอะไรให้เกิดความโกรธแล้วจะผูกใจเจ็บ เก็บไว้ ไม่ปล่อย ไม่ลืม เป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น กระทบอารมณ์เมื่อไร ก็เอาเรื่องเก่ามาคิดรวมกันคิดทวนเรื่องในอดีตว่าเขาเคยทำไม่ดีกับเราขนาดไหน เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

    ๕. มักขะ คือการลบหลู่คุณท่าน ปิดบังความดีของผู้อื่น ลบหลู่ความดีของผู้อื่น เช่น เขาให้ของแก่เรา แทนที่จะขอบคุณกลับนึกตำหนิเขาว่า เอาของไม่ดีมาให้ หรือเมื่อมีใครพูดถึงความดีของเขา เราทนไม่ได้ เราไม่ชอบ จึงยกเรื่องที่ไม่ดีของเขามาพูด เพื่อปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่คนดีถึงขนาดนั้น เป็นต้น

    ๖. ปลาสะ คือการตีเสมอ ยกตัวเทียมท่าน ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน แต่ชอบยกตัวเองดีกว่าเขา มักแสดงให้เขาเห็นว่าเราคิดเก่งกว่า รู้ดีกว่า ถ้าให้เราทำ เราจะทำให้ดีกว่าเขาได้

    ๗. อิสสา คือความริษยา เห็นเขาได้ดี ทนไม่ได้ เมื่อเห็นเขาได้ดีมากกว่าเรา เขาได้รับความรักความเอาใจใส่มากกว่าเรา เรารู้สึกน้อยใจ อยากจะได้เหมือนอย่างเขา ความจริงเราอาจจะมีมากกว่าเขาอยู่แล้ว หรือเรากับเขาต่างก็ได้รับเท่ากัน แต่เราก็ยังเกิดความรู้สึกน้อยใจ ทนไม่ได้ก็มี

    ๘. มัจฉริยะ คือความตระหนี่ ขี้เหนียว เสียดายของ ยึดในสิ่งของที่เราครอบครองอยู่อย่างเหนียวแน่น อยากแต่จะเก็บเอาไว้ ไม่อยากให้ใคร

    ๙. มายา คือเจ้าเล่ห์หลอกลวง ไม่จริงใจ พยายามแสดงบทบาทตัวเองเกินความจริง หรือจริงๆ แล้วเรามีน้อยแต่พยายามแสดงออกให้คนอื่นเข้าใจว่ามั่งมี เช่น ด้วยการแต่งตัว กินอยู่อย่างหรูหรา หรือบางกรณี ใจเราคิดตำหนิติเตียนเขา แต่กลับแสดงออกด้วยการพูดชื่นชมอย่างมาก หรือบางทีเราไม่ได้มีความรู้มาก แต่ของคุยแสดงว่ารู้มาก เป็นต้น

    ๑๐. สาเถยยะ คือการโอ้อวด หลอกลวงเขา ชอบอวดว่าดีกว่าเขา เก่งกว่าเขา พยายามแสดงให้เขาเห็น เพื่อให้เขาเกิดอิจฉาเรา เมื่อได้โอ้อวดแล้วมีความสุข

    ๑๑. ถัมภะ คือความดื้อ ความกระด้าง ยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง ใครแนะนำอะไรให้ก็ไม่ยอมรับฟัง

    ๑๒. สารัมภะ คือการแข่งดี มุ่งแต่จะเองชนะเขาอยู่ตลอด จะพูดจะทำอะไรต้องเหนือกว่าเขาตลอด เช่นเมื่อพูดเถียงกันก็อ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา เพื่อเอาชนะให้ได้ ถึงแม้ความจริงแล้วตัวเองผิด ก็ไม่ยอมแพ้

    ๑๓. มานะ คือความถือตัว ทะนงตน

    ๑๔. อติมานะ คือการดูหมิ่นท่าน ความถือตัวว่าเราดียิ่งกว่าเขา ทำให้ดูถูกดูหมิ่นคนอื่น

    ๑๕. มทะ คือความัวเมา หลงว่ายังเป็นหนุ่มเป็นสาว ยังไม่แก่ ยังไม่ตาย หลงในอำนาจ หลงในตำแหน่ง คิดว่าเราจะเป็นอย่างนี้ตลอดไปแล้วทำอะไรเกินเหตุ

    ๑๖. ปมาทะ คือความประมาท เลินเล่อ ไม่คิดให้รอบคอบ อาการที่ขาดสติ ขาดปัญญา


    เหมาจ่าย และก็ แจก มีแต่ผู้คนชื่นชม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 เมษายน 2016
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ทรัพยากรที่ทางเว็บให้อาศัยอยู่นี่ ก็บุญมากแล้ว อุปมาเสมือน นกน้อยอาศัยทำรังบนต้นไม้ใหญ่ ก็เพราะสำคัญว่าเป็นบ้านที่พักพิงเป็นที่อยู่อาศัยของตน แม้มิได้ปลูกไม้นี้ขึ้นมาเองก็ตาม ร่มเงาไม้ก็เป็นเช่นนั้นยังประโยชน์ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายแล เวียนบินมาจับมาพักผ่อนก็ไป สิ้นภัทรกัปป์ถึงพุทธันดรเมื่อไหร่

    เริ่มต้นใหม่กับชีวิตอันแสนสั้นและยาวนานในสังสารวัฎร


    ตำราดูพระ
    http://www.aia.or.th/lookmonktextbook.htm
     
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เพราะอวิชชาคือความไม่รู้ สัจจะธรรมองค์กำเนิดธรรมจึงซ่อนอยู่ในความเป็นจริงที่ลวงตาเหมือนพยับแดด

    นอกจาก

    ปฎิสัมภิทามรรคปกรณ์ พระสัทธรรมราชา พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม

    แล้ว ยังมี

    มหานิทเทสอรรถกถา อันเปรียบเสมือนเสนาบดีอำมาตย์ดูแลปกปักรักษาเมืองอันมีบริวารเหล่าไพร่พลอาณาประชาราษฎร์

    มหานิทเทส เป็นคัมภีร์แนวอรรถกถาเล่มแรกของพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่พระสารีบุตรนำเอาพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ในรูปคาถา มาอธิบายในเชิงปริยัติเชื่อมโยงกับปฏิบัติอย่างละเอียด สมบูรณ์ทั้งอรรถและพยัญชนะ พระพุทธพจน์ที่นำมาขยายความนี้ปรากฏอยู่ในอัฏฐกวรรค มีพระสูตร ๑๖ สูตร จัดเป็นเนื้อหาของมหานิทเทส ซึ่งเนื้อหาแห่งคัมภีร์ได้นำมาจากสุตตนิบาตแห่งขุททกนิกาย พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕

    เดิมทีคัมภีร์มหานิทเทสมีชื่อว่านิทเทส และมีเล่มเดียว ตามที่ปรากฏในสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย ดังข้อความว่า “ขุททกนิกาย ๑๕ ประเภท คือ ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา ชาดก นิทเทส ปฏิสัมภิทามรรค อปทาน พุทธวงศ์ จริยาปิฎก” ตามลำดับนี้ นิทเทสจึงจัดเป็นคัมภีร์ลำดับที่ ๑๑ และในคัมภีร์สัทธัมมัปปัชโชติกา อรรถกถามหานิทเทส พระอุปเสนเถระเรียกคัมภีร์นี้ว่า มหานิทเทส ในตอนเริ่มต้นรจนาคัมภีร์มีคันถารัมภกถา แต่ในตอนจบมหานิทเทสไม่มีนิคมคาถา ส่วนในจูฬนิทเทส ตอนเริ่มต้นรจนาคัมภีร์ไม่มีคันถารัมภกถา แต่ตอนจบมีนิคมคาถา โดยปกติคันถารัมภกถา และนิคมคาถานี้ จะปรากฏอยู่ในคัมภีร์เล่มเดียวกัน แต่อรรถกถามหานิทเทสและจูฬนิทเทสกลับปรากฏว่ามีคำทั้งสองนี้อยู่คัมภีร์ละอย่าง จึงทำให้แน่ใจว่าเบื้องต้นคัมภีร์ทั้งสองรวมอยู่ในเล่มเดียวกัน

    อะไรได้ความรู้บ้างก็พิจารณา

    ทรรศนะของพระอรรถกถาจารย์ต่อคัมภีร์มหานิทเทส

    พระอุปเสนมหาเถระ ชาวลังกาได้พรรณนาถึงความมีเสน่ห์และความสำคัญแห่งมหานิทเทส ไว้ใน คันถารัมภกถา แห่งสัทธัมมัปปัชโชติกาอัฏฐกถาว่า

    มหานิทเทสมีความหมายที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ราวกะมหาสมุทรและมหาปฐพี …สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะที่ลึกซึ้ง มีความหมายลุ่มลึก ประกาศโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตา ให้สำเร็จการปฏิบัติและคุณวิเสสคือมรรคผล กำจัดธรรมที่เป็นข้าศึกต่อการปฏิบัติ เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะคือญาณอันประเสริฐของพระโยคาวจรทั้งหลาย เป็นเหตุพิเศษที่ให้เกิดความงามแห่งธรรมกถาของพระธรรมกถึกทั้งหลาย เป็นเครื่องออกไปจากทุกข์ของเหล่าชนผู้ขลาดกลัวสังสารวัฏ มีข้อความให้เกิดความโปร่งใจ ด้วยการแสดงอุบายแห่งการออกไปจากทุกข์นั้น มีข้อความกำจัดธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการออกไปจากทุกข์นั้น และมีข้อความให้เกิดความยินดีแห่งหทัยของสาธุชน ด้วยการเปิดเผยอรรถแห่งสุตตบททั้งหลายมิใช่น้อยที่มีอรรถลึกซึ้ง อันท่านพระสารีบุตรเถระผู้เป็นธรรมเสนาบดีของพระธรรมราชา ผู้มีสิเนหะคือมหากรุณาแผ่ไปในชนทั้งสิ้น ด้วยแสงสว่างแห่งมหาประทีปคือพระสัพพัญญุตญาณของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอันไม่มีสิ่งใดกำจัดขัดขวางได้ในที่ทั้งปวง ผู้ปรารถนาให้มหาประทีปคือพระสัทธรรมที่รุ่งเรื่องอยู่แล้วสามารถกำจัดความมืดคือกิเลสที่ฝังอยู่ในหทัยของเวไนยชน ได้รุ่งเรืองอยู่นานยิ่งตลอด ๕,๐๐๐ ปี ด้วยการหลั่งสิเนหะขยายคำอธิบายพระสัทธรรมนั้น ผู้อนุเคราะห์ชาวโลกเกือบเท่าพระศาสดาได้ภาษิตไว้แล้ว…

    จากข้อความดังกล่าวอาจสรุปความสำคัญ ได้ดังนี้

    ๑) มหานิทเทสเป็นคัมภีร์ขยายความพระพุทธพจน์

    ๒) เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงโลกุตตรธรรมและสุญญตา

    ๒) เป็นเสมือนคู่มือการปฏิบัติเพื่อบรรลุคุณวิเศษคือมรรค ผล นิพพาน

    ๓) เป็นคัมภีร์ที่ช่วยขจัดอุปสรรคแห่งการปฏิบัติธรรมให้หมดไป

    ๔) เป็นบ่อเกิดแห่งความรู้อันประเสริฐแก่พระโยคาวจร

    ๕) เป็นเหตุให้พระธรรมกถึกแสดงธรรมได้ไพเราะเป็นพิเศษ

    ๖) แสดงอุบายเพื่อหลุดพ้นจากทุกข์แก่ผู้กลัวทุกข์ในสังสารวัฏ

    ๗) ช่วยให้ผู้ต้องการรู้อรรถแห่งคัมภีร์ได้เข้าใจความหมายนัยต่าง ๆ แห่งสุตตบททั้งหลายอย่างถูกต้องตามพระพุทธประสงค์

    คำพรรณนาของพระอุปเสนเถระทำให้เห็นว่ามหานิทเทสมีความสำคัญทั้งในแง่ปริยัติและปฏิบัติ เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่เปิดเผยสารัตถธรรมอันแฝงอยู่เบื้องหลังภาษามคธให้มองเห็นโลกทัศน์ชีวทัศน์ของพุทธศาสนาที่กว้างไกล แสดงถึงภูมิปัญญาของผู้รจนาอย่างอลังการจนกระทั่งพระสังคีติกาจารย์ได้จัดเข้าไว้ในพระไตรปิฎก หากนำประเด็นดังกล่าวนี้มาศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาของคัมภีร์ก็น่าจะทำให้พุทธศาสนิกชนมองเห็นคุณค่าของมหานิทเทสในแง่มุมต่าง ๆ และเห็นภูมิปัญญาของพระอัครสาวกของพระพุทธเจ้า และจะเป็นเครื่องพิสูจน์ด้วยว่าพระอุปเสนเถระท่านได้กล่าวยกย่องสาระที่มีอยู่ในคัมภีร์ตามความเป็นจริงมิใช่เป็นการกล่าวสรรเสริญเพื่อสร้างศรัทธา


    Mahachulalongkornrajavidyalaya University

    จะพิจารณาธรรมตามธรรม ตามกำลังปัญญา แม้แต่เราเองก็ต้องศึกษาและพิจารณาเช่นเดียวกัน ท่านสหายกัลยาณมิตรทั้งหลายฯ
     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชอบจริงๆตรงนี้แหละ

    การเรียงลำดับธุดงค์ที่แตกต่างกันของคัมภีร์ทั้งสอง อาจวิเคราะห์ได้ว่า มหานิทเทสเรียงลำดับอารัญญิกธุดงค์ไว้แรกสุด สมัยพุทธกาลเน้นการสอนแบบอนาคาริก ป่าจึงมีความสำคัญเป็นอันดับแรกในฐานะเป็นที่อยู่หลัก ถ้าอาศัยป่าที่มีสภาพแวดล้อมดีก็จะอำนวยแก่การประพฤติพรหมจรรย์ จากนั้นวิถีชีวิตจึงดำเนินไปตามลำดับ และที่มหานิทเทสไม่มีธุดงค์ข้อ ๙,๑๐,๑๑ อาจเป็นเพราะว่าทั้งสามข้อนี้นับเนื่องในอารัญญิกธุดงค์

    อนึ่ง การอยู่ป่าเป็นสิ่งที่นิยมกันมากของนักบวชสมัยนั้น คำสอนของพระองค์ก็ทรงยกย่องการอยู่ป่า พระมหากัสสปะก็ถือธุดงค์อยู่ป่าเป็นวัตร เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร นุ่งห่มผ้าบังสุกูลเป็นวัตรใช้ไตรจีวรเป็นวัตร แม้พระเทวทัตก็นำเรื่องการอยู่ป่ามาเป็นข้อแรกในการทูลขอให้พระพุทธเจ้าบัญญัติให้ภิกษุปฏิบัติ จากนั้นจึงเสนอเรื่องปิณฑบาต บังสุกุล และรุกขมูล การนำเสนอของพระเทวทัตสะท้อนให้เห็นความนิยมของคนในสังคมด้วย และดูเหมือนว่าพระเทวทัตจับกระแสศรัทธาของคนได้ถึงขนาดทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูเลื่อมใส พระเทวทัตจึงใช้ธุดงค์มาเปิดประเด็นทางศาสนาและทางการเมืองอย่างน่าศึกษา

    ส่วนวิสุทธิมรรคได้เรียงข้อ ๒, ๓ ก่อน อาจเป็นเพราะว่าแนวการสอนแบบอนาคาริกลดความเข้มข้นลง พระสงฆ์ส่วนมากมีเสนาสนะอาศัยเป็นกิจลักษณะแล้ว ทั้งการดำเนินชีวิตก็อยู่กับครูอาจารย์เพื่อศึกษาเล่าเรียนตำราคัมภีร์ เปลี่ยนจากอนาคาริกมาเป็นอาคาริก
     
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201


    เคยเล่นก่อกองทรายที่ชายทะเลไหม? ยิ่งมีการใช้เวลาความเพียรก่อให้สูงสวยเด่นมากและนานเท่าไหร่ ?

    คลื่นที่สั่งสมรอเวลา ก็พร้อมที่จะพัดพาน้ำมาถล่มทลายเมื่อนั้น

    ถ้าจะขัดขวางก็เป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยเพราะตายกับกิเลสมารไปเสียก่อนแล้ว อุปมานกกระจอกไม่ทันกินน้ำ ไม่ใช่คู่ต่อสู้ที่สมศักดิ์ศรีของพญามาร


    เห็นนิ่งๆ อย่าคิดว่าเงียบ จับจ้องอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่ต้องบุพกรรมได้ครองธรรมสมบัติ คงยากจะหลีกหนีความพ่ายแพ้นี้พ้น
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,493
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    .................
    ความรู้สึกแบบนี้ ไม่ช้าก็จะผ่านไปค่ะ ยังรอฟังธรรมจากท่านอยู่นะคะ
     
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    “ดูก่อนโมฆบุรุษ ทำไมเธอจึงเป็นคนมักมากอย่างนี้ ตัวเธอเองก็ยังต้องอาศัยผู้อื่นสั่ง
    สอนอยู่ แต่นี่ทำไมเธอจึงทำตัวสั่งสอนผู้อื่นเสียเอง”


    และพระพุทธองค์ก็ทรงติเตียนเธออีกเป็นอันมาก


    ตราบใดก็ตามที่ไม่ปฎิบัติตนให้ถึงฐานะธรรมอันควร จะเอาอะไรหรือคำบอกคำสอนอาการใดๆไปช่วยชี้แนะ แนะนำทางแก่เขา ไม่ใช่ฐานะเลย ฉนั้นจึงควรพัฒนาตนให้เข้าสู่ทิพยภูมิของพระอริยะ หากว่าทำเช่นนั้นได้แล้ว ก็พัฒนาตนสู่ฐานะธรรมอันสูงขึ้นที่ยังไม่ได้ไปถึง กระทำเช่นนี้แลจึงจะเจริญประเสริฐในธรรม

    ที่เหลือก็เป็นไปตามภาระหน้าที่ ที่ได้ปฎิญานตนรับภาระหน้าที่มา


    กระแสนิรุตติญานทัสสนะที่ท่านส่งต่อถึงกาลอันเป็นเหตุ เป็นธรรมสมบัติที่มอบไว้ให้คิดและพิจารณาทั้งนั้น มากมายซึ่งอัญมณีรัตนชาติสมดังที่ทรงกล่าวสอนจริงๆ

    http://www.84000.org/one/1/25.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2016
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201

    00000 เธอจักได้ประโยชน์อะไร จักเสียประโยชน์อันใด จักมีจักให้ประโยชน์อันใด ทุกๆอย่างล้วนมีเหตุมีผลมีพลวปัจจัย การกระทำเหล่าธรรมกุศลและไม่เป็นกุศลที่เธํอแสดงอยู่นั้น ผู้ใดมีดวงตาและจิตใจ ที่ไม่มืดบอด ย่อมเล็งเห็นประโยชน์ เห็นดีเห็น ไม่ดีและสามารถ รู้จักแยกแยะ พิจารณาดีหรือชั่วได้อย่างละเอียด ตามความเพียรปัญญาของตน เสมือนคนร่อนกรวดหา แร่ทองและเพชรพลอย ที่อยู่ในโคลนตม ย่อมได้ซึ่งแร่ธาตุและอัญมนีนั้นฯ

    ถ้าคนบอกไม่รู้ตัวว่าได้กล่าวคำสอน สภาวะจิต ที่คำนวนครุ่นคิดตรึกอยู่ จะปรากฎได้อย่างไร?

    ฉนั้น คำกล่าวด้วย กาย วาจา ใจ ก็ล้วนเป็นประโยชน์และเป็นโทษได้ตามสติปัญญาของผู้ที่ได้พิจารณารับฟัง เสมือนดาบสองคม ผู้หนึ่งไม่ฉลาดในธรรมได้ยินได้ฟังธรรมใดก็นำไปฟาดฟันตนเองและผู้อื่น ผู้ฉลาดนั้นธรรมเก็บคมดาบนั้นเสียแล้ว ทำให้ทื่อด้วยปัญญาโดยหวังว่า ศาสตรานั้นจะเป็นเพียงอุปกรณ์ที่ยังประโยชน์สุขเพียงฝ่ายเดียว ไม่ให้รู้ให้เห็นว่าเป็นอาวุธร้ายได้เป็นต้น

    จิตก็คลายจากวิตก วิจารณ์ ฯลฯ

    เพื่ออัญมณีมหารัตนชาติ

    จงมาเป็นภิกษุ มาเถิด ธรรมอันเรากล่าวนั้น ดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ และกระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์เถิด"


    ทุกข์มีเพราะยึด ทุกข์ยึดเพราะอยาก. ทุกข์มากเพราะพลอย ทุกข์น้อยเพราะหยุด. ทุกข์หลุดเพราะปล่อย.



    จงทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2016
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    และก็ตกเป็นข่าวหนังสือพิมพ์แนวหน้า ไม่ใช่เรื่องแนวนอก แต่เป็นเรื่องนอกแนว เวรกรรม เคราะห์หามยามรุ่งปั้นปึงยามเย็น

    สีกา"ทำแบบนี้ไม่ผิดหรือ"

    อลัชชี"ไม่ผิดแค่ไม่เหมาะ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2019
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    catt19
     
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อภูตวาที นิรยํ อุเปติ               
    โย วาปิ กตฺวา น กโรมีติ จาห
    อุโภปิ เต เปจฺจ สมา ภวนฺติ
    นิหีนกมฺมา มนุชา ปรตฺถ.


    ผู้มักพูดคำไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก, หรือแม้ผู้ใดทำแล้ว
    กล่าวว่า "ข้าพเจ้ามิได้ทำ" ชนแม้ทั้งสองนั้น เป็นมนุษย์
    มีกรรมเลวทราม ละไปในโลกอื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกัน.




    กุโส ยถา ทุคฺคหิโต     หตฺถเมวานุกนฺตติ
    สามญฺญํ ทุปฺปรามฏฺฐํ     นิรยายูปกฑฺฒติ.

    ยํ กิญฺจิ สิถิลํ กมฺมํ     สงฺกิลิฏฺฐญฺจ ยํ วตํ
    สงฺกสฺสรํ พฺรหฺมจริยํ     น ตํ โหติ มหปฺผลํ.

    กยิรญฺเจ กยิรเถนํ     ทฬฺหเมนํ ปรกฺกเม
    สิถิโล หิ ปริพฺพาโช     ภิยฺโย อากิรเต รชํ.


    หญ้าคาที่บุคคลจับไม่ดี ย่อมตามบาดมือนั่นเองฉันใด,
    คุณเครื่องเป็นสมณะที่บุคคลลูบคลำไม่ดี ย่อมคร่าเขาไปในนรก ฉันนั้น.

    การงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่ย่อหย่อน วัตรใดที่เศร้าหมอง
    พรหมจรรย์ที่ระลึกด้วยความรังเกียจ
    กรรมทั้งสามอย่างนั้น ย่อมไม่มีผลมาก.

    หากว่าบุคคลพึงทำกรรมใด. ควรทำกรรมนั้นให้จริง
    ควรบากบั่นทำกรรมนั้นให้มั่น เพราะว่าสมณธรรมเครื่องละ
    เว้นที่ย่อหย่อน ยิ่งเกลี่ยธุลีลง.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2016

แชร์หน้านี้

Loading...