กรรมในพระพุทธศาสนาโดย พุทธทาสภิกขุ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย MonYP, 13 มีนาคม 2020.

  1. MonYP

    MonYP เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,368
    กระทู้เรื่องเด่น:
    32
    ค่าพลัง:
    +765
    กรรมในพระพุทธศาสนา
    โดย พุทธทาสภิกขุ
    พุทธศาสนาเรามีเรื่องกรรม สอนเป็นพิเศษ ให้เชื่อเรื่องกรรม
    ซึ่งมันค่อนข้างจะเป็นวิทยาศาสตร์; คือให้มองที่นี่และเดี๋ยวนี้
    มองเห็นการกระทำและเหตุของการกระทำ และ ผลของการ
    กระทำ แล้วก็ปฏิบัติให้ถูก; นี้มันเป็นลักษณะของวิทยาศาสตร์
    แต่ถ้าเราจะพูดไปในรูปอื่น หรือมนุษย์พวกอื่นเขาต้องการจะ
    พูดไปในรูปอื่น เขาก็พูดให้เป็นเรื่องเชื่อพระเจ้า พอเชื่อพระเจ้า
    มันก็ไม่ทำอย่างนั้นคือไม่ทำกรรมชั่วอย่างนั้นๆ; มันก็ได้เหมือน
    กัน หรือแม้จะพูดไว้ในรูปไสยศาสตร์ มันก็ได้เหมือนกัน: เช่น
    กล่าวในรูปความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ทำอย่างนั้นไม่ได้ เป็นตาบู
    อย่างนี้มันก็เป็นเรื่องกรรมด้วยเหมือนกัน; แต่มันโดย อาศัย
    motive อย่างอื่น เช่นพระเจ้าต้องการไม่ให้ทำหรือว่าตาบู อะไร
    ก็ไม่รู้ ผีสางเทวดาอะไรก็ไม่รู้ ไม่ให้ทำ; อย่างนี้มันไม่ใช่หลัก
    ของพระพุทธศาสนา.

    ถ้าเมื่อถือตามหลักของพุทธศาสนา ก็ให้มีความรู้ลงไปตรงๆ
    ตรงการกระทำ ว่ามันเป็นอย่างไร เหตุให้กระทำมันเป็นอย่างไร
    แล้วผลของการกระทำนั้นมันจะเป็นอย่างไร นี่เรื่องกรรม อาศัย
    ปัญญาเป็นรากฐาน ก็เลยแบ่งเป็น กรรมดี กรรมชั่ว กรรมที่
    เหนือดีเหนือชั่ว มีอยู่ ๓ อย่าง.

    กรรมชั่วมาก่อน มันมีเหตุชั่ว คือกิเลส, แล้วผลก็คือ ความทุกข์
    หรืออบาย. กรรมดีก็มาจากเหตุที่ดี ความรู้จักดี, แล้วก็ได้ผลเป็น
    ความสุขสบายตามที่ตนพอใจ: แต่ก็ยังต้องเสวยผลกรรมอยู่. เช่น
    ไปสวรรค์ เป็นต้น นี้ก็บัญญัติไว้ว่าเป็นกรรมดี แต่เรื่องชั่ว เรื่องดีนี้
    ก็ยังเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น. คนชั่วก็มีความทุกข์อย่าง
    แบบคนชั่ว, คนดีก็มีความทุกข์อย่างแบบคนดี. เป็นคนดีในโลกนี้
    ก็ยังมีความทุกข์อีกแบบหนึ่ง ตามแบบของคนดี; เช่นปัญหาที่เกิด
    เนื่องมาจากความดี เกี่ยวกับความดีนี้มันก็ยังมีอยู่อีกมากเหมือนกัน.
    มีคนเยอะแยะฆ่าตัวตาย ทั้งๆที่มีชื่อเสียง มีความดี มีความร่ำรวย
    มีอะไร; แต่มันมีความทุกข์อย่างอื่น เป็นเทวดาในสวรรค์ ก็มีความ
    ทุกข์ตามแบบเทวดาในสวรรค์.

    เพราะฉะนั้น เพียงแต่กรรมดีเฉยๆ นี้ยังไม่ใช่สูงสุด มันต้อง
    เหนือชั่ว เหนือดี คือไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดโดยความเป็นตัวเรา
    หรือของเรา. กรรมที่เหนือชั่ว เหนือดี นี้แหละทำให้บรรลุ มรรค
    ผล นิพพาน. กรรมชั่วทำให้เวียนว่ายอยู่ในอบาย ในความทุกข์
    กรรมดีทำให้เวียนว่ายอยู่ในทรัพย์สมบัติ เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือ
    สวรรค์; ก็ยังเวียนว่ายอยู่นั่นเอง. ส่วนกรรมที่เหนือชั่วเหนือดีขึ้น
    ไปอีก คือมีจิตใจเหนือสิ่งต่างๆ นี้ คือไม่เป็นทาสของสิ่งใด ไม่มี
    ตัวเราสำหรับไปเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป; อย่างนี้เรียกว่า
    บรรลุนิพพาน.

    ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นั้นมันก็ส่วนหนึ่ง; แล้วก็เป็นหลักของ
    ศาสนาทั่วไป ไม่เฉพาะของพุทธศาสนา. แต่กรรมที่ ๓ ที่ว่า
    สูงขึ้นไปด้วย การกระทำตามหลักพระพุทธศาสนาคือ ไม่ยึดมั่น
    ถือมั่น, ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ประการ แล้วไม่ยึดมั่นถือมั่น
    นี้ มันจะไปสู่นิพพาน: มีผลเป็นความหมดความรู้สึกที่จะยึดมั่น
    เป็นตัวกู-ของกู นี้มันก็เย็นสบาย มีจิตใจที่สบาย ไม่มีทุกข์เลย.
    นี่เรียกว่าเหนือชั่ว เหนือดี, เรื่องกรรมมีอยู่ ๓ กรรม อย่างนี้ขอ
    ให้เข้าใจ.

    เมื่อเราทำชั่ว ก็ร้อนเหมือนกับตกนรกทั้งเป็น; เมื่อเราทำดี นี้
    มันก็รู้สึกตื่นเต้นลิงโลด เหมือนกับถูกเชิด. แต่ถ้าเมื่อไรเราสงบ
    บางเวลา บางนาทีเรามีความสงบ ไม่รู้สึกเรื่องดี เรื่องชั่ว; นั้นคือ
    ความพักผ่อนที่ถูกต้อง. ดังนั้นเราจึงไปในที่บางแห่ง เพื่อช่วยให้
    จิตใจมันหยุด สงบ ว่างไปจากความรบกวนของชั่วๆ ดีๆ นี้เราก็
    สบาย จะไปตากอากาศชายทะเล หรือว่ามาในที่อย่างนี้ อย่างที่
    สวนโมกข์นี้ เพื่อให้ธรรมชาติเหล่านี้ มันแวดล้อมจิตใจ ให้มัน
    ว่างจากความรบกวนของความชั่ว-ความดี; อย่างนี้ เป็นเรื่องของ
    ความว่าง เป็นเรื่องที่เป็นไปทางนิพพาน.

    ขอให้เข้าใจว่า ของขมมันก็ไม่ไหว ของหวานแรกๆ มันก็ดีอยู่
    ถ้าให้กินเรื่อยไป ไม่ยอมให้หยุดมันก็ไม่ไหว มันจะต้องตาย;
    ผลสุดท้าย ก็ต้องมากินน้ำจืดๆ. ฉะนั้นให้เรารู้จักความที่มันจืด
    หรือมันไม่ดี ไม่ชั่ว ไม่หวาน ไม่ขมนี้เสียบ้าง. มันเป็นความสงบ
    ความพักผ่อน. ในเรื่องกรรมจะต้องรู้อย่างนี้: เมื่อถือหลักกรรม
    ตามแบบนี้ ก็เป็นพุทธบริษัทที่สมบูรณ์ คือไปถึงนิพพานได้.

    ข้อมูลอ้างอิง
    http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/kama05.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...