การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องไสยศาสตร์กับพุทธศาสตร์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย คนไชยา, 15 พฤษภาคม 2008.

  1. คนไชยา

    คนไชยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    303
    ค่าพลัง:
    +171
    <TABLE cellPadding=3 width=700 align=center bgColor=#f1f1f1><TBODY><TR vAlign=top><TD class=m10 width=156>ชื่อวิทยานิพนธ์ :</TD><TD class=m10 width=574>การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องไสยศาสตร์กับพุทธศาสตร์ตามทรรศนะของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=m10 width=156>ชื่อผู้วิจัย : </TD><TD class=m10 width=574>พระประเสริฐ ชุตินฺธโร (สุนทรวัฒน์) </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=m10 width=156>ปริญญา : </TD><TD class=m10 width=574>พุทธศาสตรมหาบัณฑิต( ปรัชญา )</TD></TR><TR><TD class=m10 colSpan=2>คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=156> </TD><TD class=m10 width=574>: พระเมธีรัตนดิลก ป.ธ. ๙, พ.ม., M.A., M.Phil., Ph.D.
    : อาจารย์ประสิทธิ์ จันรัตนา ป.ธ.๙,พ.ม.,พธ.บ.,M.A.(Phil.)
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=m10 width=156>วันสำเร็จการศึกษา :</TD><TD class=m10 width=574>๕ เมษายน ๒๕๔๓ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700 align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#f1f1f1>[​IMG]</TD><TD align=right bgColor=#f1f1f1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 align=center border=0><TBODY><TR><TD class=m12 align=middle bgColor=#f1f1f1>บทคัดย่อ</TD></TR><TR><TD bgColor=#f1f1f1><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width="99%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=m10> วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์เรื่องไสยศาสตร์กับพุทธศาสตร์ ตามทรรศนะของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องไสยศาสตร์, ความสัมพันธ์ระหว่างไสยศาสตร์กับพุทธศาสตร์ และผลกระทบจากความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ที่มีต่อพระพุทธศาสนา การวิจัยนี้เป็นการศึกวิจัยเชิงเอกสารโดยศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถ-กถา เอกสารงานวิจัย หรือตำราอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผลงานทางวิชาการของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)

    จากการศึกษาวิจัย พบว่า "ไสยศาสตร์" เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยคติความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ เวทมนตร์ คาถา สิ่งเร้นลับ หรืออำนาจเหนือธรรมชาติ ที่มีลักษณะเป็นการหวังพึ่งอำนาจภายนอกหรือการดลบันดาลจากอำนาจภายนอก มีต้นกำเนิดมาจากบทสวดในคัมภีร์พระเวท และยังพบอีกว่า ไสยศาสตร์ยังเป็นเรื่องที่ไม่อาจพิสูจน์ได้แน่นอนว่ามีผลจริงหรือไม่ การหวังพึ่งไสยศาสตร์นั้นก็มีข้อจำกัดอยู่มาก และที่สำคัญคือไม่อาจนำไปสู่การพ้นทุกข์ได้ เพราะที่สุดของไสยศาสตร์อาจแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ก็เป็นเพียงขั้นโลกิยอภิญญา ยังเกี่ยวข้องอยู่กับโลก อยู่ในวิสัยของปุถุชน

    ส่วน "พุทธศาสตร์" เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาทั้งหมด แต่ในงานวิจัยนี้หมายเอาเฉพาะหลักคำสอนสำคัญ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนาได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งการกระทำ ซึ่งจัดเป็นกิริยวาท หรือกรรมวาท คือสอนให้หวังผลจากการกระทำ เป็นการหวังพึ่งตนเองสู่อิสรภาพคือ พ้นทุกข์ได้ และมีเป้าหมายสูงสุดคือปัญญา การอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนาเป็นการประกาศ อิสรภาพให้แก่มนุษย์ด้วยปรัชญาที่ว่า "มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้" และจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนพัฒนาด้วยการศึกษา ที่เรียกว่าไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ และปัญญา และในขั้นสูงสุด การฝึกฝนพัฒนามนุษย์จะนำไปสู่การรู้แจ้งสัจธรรม คือทำให้เกิดปัญญา เข้าใจถึงความสัมพันธ์และอิงอาศัยกันของสิ่งทั้งหลาย ทั้งที่เกี่ยวกับชีวิตของเรา สังคม และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ยังผลให้หลุดพ้นเป็นอิสระหรือพ้นทุกข์ได้

    ตามทรรศนะของ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) จะเห็นได้ว่า ไสยศาสตร์คือความเชื่อในอำนาจนอกตัว หรืออำนาจเหนือธรรมชาติ ที่มีลักษณะเป็นการหวังพึ่งการดลบันดาลจากภายนอก แม้ว่าพระธรรมปิฎกจะมิได้ปฏิเสธความมีอยู่จริงของไสยศาสตร์ แต่ก็มิได้สนับสนุนให้เสียเวลาอยู่กับการพิสูจน์ว่า ไสยศาสตร์มีอยู่จริงหรือไม่ และในทางตรงกันข้ามท่านได้ชี้ให้เห็นว่าไสยศาสตร์มีโทษอย่างไร แม้ที่สุดการแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ก็เป็นเพียงโลกิยอภิญญา ยังอยู่ในวิสัยแห่งปุถุชน ไม่อาจนำไปสู่การพ้นทุกข์ได้ และท่านยังได้แสดงจุดยืนในหลักแห่งพุทธธรรม เพื่อให้มนุษย์ได้รับโอกาสในการฝึกฝนพัฒนาตนที่สูงขึ้น โดยอาศัยความสัมพันธ์กันระหว่างศาสตร์ทั้งสองเป็นจุดนัดพบ เพื่อชักนำมวลมนุษย์เข้าสู่พุทธศาสตร์ โดยท่านได้แนะวิธีการไว้ว่า

    (๑) ดึงศรัทธาของมวลมนุษย์ที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอก(ไสยศาสตร์) เข้าสู่พระพุทธศาสตร์ โดยมองไปที่พระรัตนตรัย ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นให้เขาฝึกฝนพัฒนาตนสูงขึ้นต่อไป

    (๒) แม้เขาจะมองพระรัตนตรัยเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่บ้าง ก็ให้เขาเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของพระรัตนตรัยนั้นในทำนองที่สนับสนุนเรื่องกรรม คือ ให้เกิดกำลังใจที่จะเพียรพยายามทำการให้เข้มแข็งมั่นคงยิ่งขึ้น

    อย่างไรก็ตาม ถ้าศักยภาพของการศึกษาขาดความสมดุล มนุษย์ก็ขาดโอกาสในการฝึกฝนพัฒนาตน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็ต้องอาศัยเวลา อีกทั้งยังต้องกระทำอย่างต่อเนื่องต่อไป แต่ในความเป็นจริงแล้ว คงไม่อาจที่จะทำให้มนุษย์ทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันได้ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ การหวังพึ่งไสยศาสตร์ก็ยังต้องมีอยู่ต่อไป.

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...