การศึกษา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 29 สิงหาคม 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    การศึกษา "พระอภิธรรม" โดยละเอียด.

    เป็นปัจจัยให้ "เกิดความเข้าใจ"

    ในสภาพของ เวทนาเจตสิก ซึ่งเกิดกับจิต

    ได้อย่างถูกต้อง.


    .


    มิฉะนั้น

    ก็จะพอใจ หลงติดใน โสมนัสเวทนา

    หรือ พอใจ หลงติดใน สุขเวทนา

    หรือ พอใจ หลงติดใน อุเบกขาเวทนา.


    โดย "ไม่รู้" ว่า


    เวทนขณะใด
    .......เป็น กุศล.!

    เวทนาขณะใด
    ...
    เป็น อกุศล.!

    เวทนาขณะใด
    ....
    เป็น วิบาก.!

    เวทนาขณะใด
    .
    ...เป็น กิริยา.!


    .


    ใน อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

    สนิมิตต วรรคที่ ๓ ข้อ ๓๒๘

    มีข้อความว่า



    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย

    ธรรม ที่เป็นบาป อกุศล

    มีเวทนา จึงเกิดขึ้น

    ไม่มีเวทนา
    (ก็) ไม่เกิดขึ้น

    เพราะ ละ เวทนา นั้นเสีย

    ธรรม ที่เป็นบาป อกุศล เหล่านี้ จึงไม่มี

    ด้วยประการดังนี้ ฯ


    .


    (ข้ออื่น ๆ กล่าวถึงสัญญาเจตสิก ซึ่งเป็นสัญญาขันธ์

    เจตสิกอื่น ๆ ซึ่งเป็นสังขารขันธ์ และ จิต ซึ่งเป็น วิญญาณขันธ์)


    .


    แสดงว่า

    เวทนาเจตสิก ซึ่งเป็น ความรู้สึก นั้น

    เป็นที่ตั้งแห่ง "ความยึดมั่น" อย่างเหนียวแน่น.!


    .


    ฉะนั้น

    เมื่อ ไม่รู้ "ลักษณะของเวทนา" ตามความเป็นจริง

    ก็ไม่สามารถ "ละ" ความรู้สึก
    ว่า "เป็นเรา" ได้.


    .


    การรู้ ลักษณะของเวทนาเจตสิก นั้น

    เกื้อกูลให้สติ เริ่ม ระลึก รู้ ลักษณะของเวทนา ได้.


    .


    มิฉะนั้น

    ก็ไม่สามารถที่จะ ระลึกได้เลย ว่า

    ในวันหนึ่ง ๆ นั้น มี เวทนาเจตสิก.


    เช่นเดียวกับที่ ในวันหนึ่ง ๆ นั้น

    ก็มีสภาพธรรมที่ปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก

    ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ

    เพราะ จิตเกิดขึ้น รู้ สภาพธรรมนั้น ๆ


    .


    แต่ ลองคิดดู ว่า

    ถ้า เห็น แล้ว ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย

    ก็ ไม่เดือดร้อน.!


    ถ้า ได้ยิน แล้วไม่รู้สึกอะไรเลย

    ก็ ไม่เดือดร้อน.!


    เช่นเดียวกับ เมื่อได้กลิ่น ลิ้มรส รู้โผฏฐัพพะ

    แล้วไม่รู้สึกอะไรเลย

    ก็ไม่เดือดร้อน.!


    เมื่อไม่เดือดร้อน

    ก็ย่อมไม่มีบาป อกุศลกรรม ใด ๆ ทั้งสิ้น.!


    .


    แต่

    เมื่อมี "ความรู้สึก" เกิดขึ้น.


    จึงติด และ ยึดมั่นในความรู้สึก

    และ อยากได้ สิ่งที่ทำให้รู้สึกดีใจ เป็นสุข.


    ซึ่ง ความติด ยึดมั่น

    และ ความอยากได้สิ่งที่ทำให้รู้สึกเป็นสุข นี้เอง

    เป็นปัจจัยให้ อกุศลธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้นบ่อย ๆ เนือง ๆ

    โดยไม่รู้ตัว.!


    .


    ธรรมทั้งหลาย เป็น อนัตตา

    ไม่มีใครสามารถยับยั้ง ไม่ให้เวทนาเจตสิกเกิดขึ้น ได้.


    ไม่ว่าจิตเกิดขึ้น รู้อารมณ์ ขณะใด

    ขณะนั้น

    ก็ต้องมีเวทนาเจตสิก เกิดขึ้น

    และ

    "รู้สึกในอารมณ์ขณะนั้น"

    ด้วยทุกครั้ง.!


    .


    ขณะนี้.!

    เวทนาเจตสิก ย่อมเป็นเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

    อุเบกขาเวทนา สุขเวทนา ทุกขเวทนา

    โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา.


    .


    การศึกษาธรรม

    ไม่ใช่เพียงเพื่อให้รู้จำนวน หรือ รู้ชื่อ.

    แต่

    เพื่อให้ รู้ลักษณะของความรู้สึก ที่กำลังมี ในขณะนี้.!

    แม้ความรู้สึกนั้น มีจริง
    ...เกิดขึ้น.

    แต่ ก็ดับไปแล้ว.


    ฉะนั้น

    เมื่อไม่รู้ ลักษณะที่แท้จริงของความรู้สึก

    ก็ย่อม "ยึดถือความรู้สึก" ว่า

    เป็นเราซึ่งเป็นสุข เป็นเราซึ่งเป็นทุกข์

    เป็นเราที่ดีใจ หรือเสียใจ หรือเฉย ๆ


    .


    ฉะนั้น

    ตราบใด ที่ "สติ" ยังไม่เกิดขึ้น

    ระลึก รู้ ลักษณะของความรู้สึก

    ย่อมไม่มีทางที่จะ "ละคลาย" การยึดถือ สภาพธรรม

    ว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน.


    เพราะว่า

    ทุกคน ยึดมั่นในความรู้สึก ว่า เป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิต.


    ทุกคน ต้องการความรู้สึก ที่เป็นสุข

    ไม่มีใครต้องการ ความรู้สึกที่เป็นทุกข์.


    ฉะนั้น

    ไม่ว่าจะมีทางใดที่ทำให้เกิดสุขเวทนา หรือ โสมนัสเวทนา

    ก็ย่อมจะพยายามขวนขวายให้เกิดความรู้สึกนั้น

    โดยที่ไม่รู้ ว่า

    ขณะนั้น
    ....เป็นการติด.!

    เป็นความพอใจ ยึดมั่นในความรู้สึก

    ซึ่งเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

    แล้วก็ดับไป.


    .


    เมื่อ ความรู้สึก

    เป็นสิ่งที่สำคัญ
    ...ที่ทุกคนยึดถือ.!


    พระผู้มีพระภาคฯ

    จึงทรงแสดง เวทนาเจตสิก เป็น เวทนาขันธ์.

    (เป็นขันธ์หนึ่ง ใน ขันธ์ทั้ง ๕)

    เพราะว่า

    เวทนาเจตสิก หรือ ความรู้สึก นั้น

    เป็นสภาพธรรมที่สำคัญมาก ชนิดหนึ่ง

    ซึ่ง ยึดมั่นในสภาพธรรมทั้งหลาย

    ว่า เป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน.


    .


    ฉะนั้น

    การที่ "สติ" จะเกิดขึ้น

    ระลึก รู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง

    ที่เกิดขึ้น และ ปรากฏ นั้น

    ต้องอาศัยการศึกษา.


    เช่น

    การฟังเรื่องของสภาพธรรม

    ให้ละเอียดยิ่งขึ้น.


    และ ควรพิจารณา

    ควรพิสูจน์สภาพธรรม ที่มีจริงนั้น ๆ

    ตามปกติ ตามความเป็นจริง

    ในชีวิตประจำวัน ด้วย.



    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD>พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 273

    ๑๐. อรกานุสาสนีสูตร(นำมาเพียงบางส่วน)

    [๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาชื่อ

    อรกะ เป็นเจ้าลัทธิ ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็อรกศาสดานั้น

    มีสาวกหลายร้อยคน เธอแสดงธรรมแก่สาวกอย่างนี้ว่า ดูก่อน

    พราพมณ์ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อยนิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์

    มาก มีครามคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำ

    กุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย

    ไม่มี ......

    ...... ดูก่อนพราหมณ์ แม่โคที่จะถูกเชือด ที่เขานำไปสู่ที่ฆ่า

    ย่อมก้าวเท้าเดินไปใกล้ที่ฆ่า ใกล้ความตาย แม้ฉันใด ชีวิตของ

    มนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่โคที่จะถูกเชือด ฉันนั้นเหมือนกัน

    นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้อง

    ได้ด้วยปัญญา ความกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะ

    สัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี....
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <CENTER></CENTER><CENTER>วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์</CENTER><CENTER>สันธานวรรคที่ ๑</CENTER><CENTER>โคตมีสูตร</CENTER> [๑๔๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมแล้ว ประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประ-*ทานพระวโรกาส ขอให้มาตุคามพึงได้การออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้วเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพระนางโคตมีอย่าเลย พระนางอย่าชอบใจการออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วของมาตุคามเลย ฯ แม้ครั้งที่ ๒ พระนางมหาปชาบดีโคตมีก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคอีกว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอให้มาตุคามพึงได้การออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้วเถิด พระผู้มีพระภาค-*เจ้าตรัสว่า ดูกรพระนางโคตมี อย่าเลย พระนางอย่าชอบใจการออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วของมาตุคามเลย ฯ แม้ครั้งที่ ๓ พระนางมหาปชาบดีโคตมีก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคอีกว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอให้มาตุคามพึงได้การออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรงประกาศแล้วเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพระนางโคตมี อย่าเลย พระนางอย่าชอบใจการออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วของมาตุคามเลย ฯ ลำดับนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงพระดำริว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้มาตุคามออกบวช เป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประ-*กาศแล้ว เป็นผู้มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสงอยู่ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จหลีกไป ฯ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ ตามพระประสงค์แล้วเสด็จจาริกไปทางพระนครเวสาลี เมื่อเสด็จจาริกไปโดยลำดับ เสด็จไปถึงพระนครเวสาลี ได้ยินว่า ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงปลงพระ-*เกศาแล้ว ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จไปทางพระนครเวสาลี พร้อมกับเจ้าหญิงสากิยะหลายพระองค์ เสด็จเข้าไปยังกูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลีโดยลำดับ พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงมีพระบาทระบม มีพระกายเต็มด้วยละออง มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสงอยู่ประทับยืนอยู่ ณ ซุ้มประตูด้านนอก ท่านพระอานนท์ได้แลเห็นพระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงมีพระบาทระบม มีพระกายเต็มด้วยละออง มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระ-*พักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสง ประทับยืนอยู่ ณ ซุ้มประตูด้านนอก ครั้นเห็นแล้ว จึงกล่าวความข้อนี้กะพระนางว่า ดูกรพระนางโคตมี เพราะเหตุอะไรหนอ พระนางจึงมีพระบาทระบม มีพระกายเต็มด้วยละออง มีทุกข์ เสียพระทัยมีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสง ประทับยืนอยู่ ณ ซุ้มประตูด้านนอก พระนางมหาปชาบดีโคตมีตรัสตอบว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ความจริงก็เป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นขอเชิญพระนางรออยู่ที่นี้แหละ ตราบเท่าที่อาตมภาพทูลขอพระผู้มีพระภาคให้มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยนี้ ฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางมหาปชาบดีโคตมีนี้ ทรงมีพระบาทระบมมีพระกายเต็มด้วยละออง มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตรทรงกันแสง ประทับยืนอยู่ ณ ซุ้มประตูด้านนอก เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอให้มาตุคามพึงได้ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้วเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ อย่าเลย เธออย่าชอบใจให้มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย ฯ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอให้มาตุคามพึงออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้วเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์อย่าเลย เธออย่าชอบใจให้มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย ฯ ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ผิฉะนั้น เราพึงทูลขอพระผู้มีพระภาคให้มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้วโดยปริยายแม้อื่น ลำดับนั้น ท่านพระ-*อานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ควรจะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผลได้หรือไม่ พระเจ้าข้าพระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ควรทำให้แจ้งแม้โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลอรหัตผลได้ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ามาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรม-*วินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ทำให้แจ้งแม้โสดาปัตติผล สกทาคามิผลอนาคามิผล อรหัตผลได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงมีอุปการะมาก เป็นพระมาตุจฉาของพระผู้มีพระภาค ทรงทะนุถนอมเลี้ยงดูให้พระผู้มีพระภาคทรงดื่มน้ำนม ในเมื่อพระชนนีทิวงคตแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอประทานพระวโรกาส ขอให้มาตุคามพึงได้ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้วเถิด ฯ พ. ดูกรอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงรับครุธรรม๘ ประการ นั่นแหละ เป็นอุปสมบทของพระนาง คือ ภิกษุณี แม้อุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี พึงทำการกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุแม้อุปสมบทในวันนั้น แม้ธรรมข้อนี้ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชาไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต ฯ ภิกษุณีไม่พึงเข้าจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ แม้ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต ฯ ภิกษุณีต้องแสวงหาภิกษุผู้ถามถึงการทำอุโบสถ และการเข้าไปรับโอวาทจากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน แม้ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือบูชา ไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต ฯ ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในอุภโตสงฆ์ด้วยฐานะ ๓ ประการคือ ด้วยได้เห็น ได้ฟัง และรังเกียจ แม้ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพนับถือ บูชา ไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต ฯ ภิกษุณีต้องครุธรรมแล้ว พึงประพฤติมานัตปักษ์หนึ่ง ในอุภโตสงฆ์แม้ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต ฯ ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในอุภโตสงฆ์ เพื่อนางสิกขมานาผู้มีสิกขาอันศึกษาแล้วในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปี แม้ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต ฯ ภิกษุณีต้องไม่ด่า ไม่บริภาษภิกษุโดยปริยายใดๆ แม้ธรรมข้อนี้ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต ฯ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีว่ากล่าวตักเตือนภิกษุ ไม่ห้ามภิกษุว่ากล่าวตักเตือนภิกษุณี แม้ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชาไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต ฯ ดูกรอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมีรับครุธรรม ๘ ประการนี้ได้นั้นแลเป็นอุปสัมปทาของพระนาง ฯ ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เรียนครุธรรม ๘ ประการนี้ ในสำนักพระผู้-*มีพระภาคแล้ว เข้าไปหาพระนางมหาปชาบดีโคตมี แล้วกล่าวข้อความนี้กะพระนางว่า ดูกรพระนางโคตมี ถ้าแลพระนางพึงยอมรับครุธรรม ๘ ประการได้นั้นแลเป็นอุปสัมปทาของพระนาง คือ ภิกษุณีแม้อุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องกระทำการกราบไหว้ ลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุแม้อุปสมบทในวันนั้น แม้ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต ฯลฯ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีว่ากล่าวตักเตือนภิกษุไม่ห้ามภิกษุว่ากล่าวตักเตือนภิกษุณี แม้ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพนับถือ บูชา ไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต ดูกรพระนางโคตมี ถ้าแลพระนางพึงยอมรับครุธรรม ๘ ประการนี้ได้ นั้นแลจักเป็นอุปสัมปทาของพระนาง ฯ พระนางมหาปชาบดีโคตมีกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ หญิงหรือชายแรกรุ่นหนุ่มสาว ชอบประดับ ตกแต่ง อาบน้ำชำระร่างกายแล้ว ได้พวงดอกอุบลพวงมะลิ หรือพวงลำดวนแล้ว เอามือทั้งสองประคองวางไว้บนศีรษะ ฉันใดดิฉันก็ยอมรับครุธรรม ๘ ประการนี้ ไม่ก้าวล่วงตลอดชีวิต ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงยอมรับครุธรรม ๘ ประการไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ หากมาตุคามจักไม่ได้ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์ก็ยังจะตั้งอยู่ได้นาน<SUP>๑-</SUP>สัทธรรมพึงดำรงอยู่ได้ ๑,๐๐๐ ปี แต่เพราะมาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์จะไม่ตั้งอยู่นาน ทั้งสัทธรรมก็จักดำรงอยู่เพียง ๕๐๐ ปี ดูกรอานนท์ ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ที่มีหญิงมาก ชาย-*น้อย ตระกูลนั้นถูกพวกโจรกำจัดได้ง่าย แม้ฉันใด มาตุคามได้ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยใด พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนั้นจักไม่ตั้งอยู่นาน ฉันนั้น-*เหมือนกัน อนึ่ง ขยอกลงในนาข้าวที่สมบูรณ์ นาข้าวนั้นก็ย่อมไม่ตั้งอยู่นานแม้ฉันใด ... เพลี้ยลงในไร่อ้อยที่สมบูรณ์ ไร่อ้อยนั้นก็ย่อมไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉัน-*ใด มาตุคามได้ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยใด พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนั้น ย่อมไม่ตั้งอยู่นาน ฉันนั้นเหมือนกัน อนึ่ง บุรุษกั้นคันสระใหญ่ไว้ก่อนเพื่อไม่ให้น้ำไหลออก แม้ฉันใด เราบัญญัติ ครุธรรม ๘ ประการ ไม่ให้ภิกษุณีก้าวล่วงตลอดชีวิตเสียก่อน ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ<CENTER>จบสูตรที่ ๑</CENTER><CENTER><CENTER><BIG>อรรถกถา อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต สันธานวรรคที่ ๑</BIG> <CENTER class=D>๑. โคตมีสูตร</CENTER></CENTER>
    <CENTER> วรรคที่ไม่จัดเข้าในปัณณาสก์
    สันธานวรรคที่ ๑
    อรรถกถาโคตมีสูตรที่ ๑ </CENTER> วรรคที่ ๖ โคตมีสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
    บทว่า สกฺเกสุ วิหรติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปประทับอยู่โดยการเสด็จครั้งแรก.
    บทว่า มหาปชาปตี ได้แก่ ผู้ได้พระนามอย่างนี้ เพราะเป็นใหญ่ ประชาคือพระโอรสและในประชาคือพระธิดา.
    บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ให้นันทกุมารบวชก่อนทีเดียว ในวันที่ ๗ จึงให้ราหุลกุมารบวช. เมื่อชาวพระนครทั้ง ๒ ฝ่ายออกไปเพื่อเตรียมรบในเพราะเหตุทะเลาะกันเรื่องมงกุฎ พระศาสดาเสด็จไปทำพระเจ้าเหล่านั้นให้เข้าใจกันแล้วตรัสอัตตทัณทสูตร. เจ้าทั้งหลายทรงเลื่อมใสแล้วได้มอบถวายพระกุมารฝ่ายละ ๒๕๐ องค์. พระกุมาร ๕๐๐ องค์เหล่านั้นบวชในสำนักพระศาสดา.
    ลำดับนั้น พระชายาของท่านเหล่านั้นส่งข่าวไป ทำให้เกิดความไม่ยินดี (ในการบวช).
    พระศาสดาทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้นเกิดความไม่ยินดี จึงนำภิกษุหนุ่ม ๕๐๐ รูปเหล่านั้นไปสู่สระชื่อว่ากุณาละ ประทับนั่งบนแผ่นหินที่ทรงเคยประทับนั่งในครั้งที่พระองค์เสวยพระชาติเป็นนกดุเหว่า. บรรเทาความไม่ยินดีของภิกษุเหล่านั้นด้วยเรื่องกุณาลชาดก แล้วให้ท่านทั้งหมดนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วนำกลับมาสู่ป่ามหาวันอีกครั้งหนึ่ง ให้ดำรงอยู่ในพระอรหัตตผลแล.
    เพื่อจะทราบจิตของภิกษุเหล่านั้น พระชายาทั้งหลายจึงส่งข่าวไปอีกครั้ง.
    ภิกษุเหล่านั้นส่งสาส์นตอบไปว่า พวกเราไม่ควรอยู่ครองเรือน.
    พระนางเหล่านั้นทรงดำริว่า บัดนี้ ไม่ควรที่พวกเราจะกลับไปยังเรือน เราจะไปสำนักของพระนางมหาปชาบดีขออนุญาตบรรพชาแล้วจักบวช. ทั้ง ๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระนางมหาปชาบดีทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ขอพระแม่เจ้าโปรดอนุญาตให้หม่อมฉันทั้งหลายบวชเถิด. พระนางมหาปชาบดีพาสตรีเหล่านั้นไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เข้าไปเฝ้าในเวลาที่พระราชาปรินิพพานภายใต้เศวตฉัตร ดังนี้ก็มี.
    ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงห้ามว่า อย่าเลย โคตมี ท่านอย่าชอบใจไปเลย. พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ย่อมมีบริษัท ๔ มิใช่หรือ.
    มีก็จริง แต่พระองค์มีพระประสงค์จะทำให้หนักแน่น แล้วค่อยอนุาตจึงทรงห้ามเสีย ด้วยทรงพระดำริว่า สตรีเหล่านี้จักรักษาไว้โดยชอบซึ่งบรรพชาที่เราถูกอ้อนวอนหลายครั้งอนุญาตให้ยากๆ ด้วยคิดว่า เราได้บรรพชามาด้วยความลำบาก.
    บทว่า ปกฺกามิ ความว่า เสด็จเข้าไปยังกรุงกบิลพัสดุ์นั้นแหละอีกครั้งหนึ่ง
    บทว่า ยถาภิรนฺตํ วิหริตฺวา ความว่า ทรงตรวจดูอุปนิสัยแห่งสัตว์ผู้จะตรัสรู้ จึงประทับอยู่ตามพระอัธยาศัย.
    บทว่า จาริกํ ปกฺกามิ ความว่า เมื่อจะทรงกระทำการสงเคราะห์มหาชน จึงเสด็จจาริกแบบไม่รีบด่วนด้วยพุทธศิริอันสูงสุด ด้วยพุทธวิลาสอันหาที่เปรียบมิได้.
    บทว่า สมฺพหุลาหิ สากิยานีหิ สทฺธึ ความว่า พระนางมหาปชาบดีทรงถือเพศบรรพชาอุทิศพระทศพลภายในพระนิเวศน์นั่นเอง แล้วให้นางศากิยานีทั้ง ๕๐๐ นั้น ถือเพศบรรพชาเหมือนกัน แล้วเสด็จหลีกไปพร้อมกับนางศากิยานีเป้นอันมากแม้ทั้งหมดนั้น.
    บทว่า ปกฺกามิ ได้แก่ทรงพระดำเนินไป.
    ในเวลาที่นางมหาปชาบดีนั้นทรงดำเนินไป เจ้าหญิงทั้งหลายผู้สุขุมาลชาติจักไม่สามารถเดินไปด้วยพระบาทได้ เพราะเหตุนั้น เจ้าศากยะและเจ้าโกลิยะจึงได้จัดวอทองส่งไป.
    ก็นางศากิยานีเหล่านั้นคิดว่า เราเมื่อขึ้นยานไป เป็นอันชื่อว่าไม่กระทำความเคารพในพระศาสดา ดังนี้แล้วจึงได้ใช้พระบาทดำเนินไปตลอดทาง ๕๑ โยชน์.
    ฝ่ายเจ้าทั้งหลายให้จัดอารักขาทั้งข้างหน้าข้างหลัง บรรทุกข้าวสาร เนยใสและน้ำมันเป็นต้นเต็มเกวียน แล้วส่งบุรุษทั้งหลายไปด้วยสั่งว่า พวกท่านจงตระเตรียมอาหารในที่ที่นางศากิยานีเหล่านั้นไปๆ กัน.
    บทว่า สูเนหิ ปาเทหิ ความว่า เพราะนางศากิยานีเหล่านั้นเป็นสุขุมาลชาติ ตุ่มพองเม็ดหนึ่งผุดขึ้นที่พระบาททั้งสอง เม็ดหนึ่งแตกไป พระบาททั้งสองพองขึ้นเป็นประหนึ่งเมล็ดผลตุ่มกา. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงกราบทูลว่า สูเนหิ ปาเทหิ ดังนี้.
    บทว่า พหิทฺวารโกฏฺฐเก ได้แก่ ภายนอกซุ้มประตู.
    ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระนางมหาปชาบดีจึงยืนอยู่อย่างนั้น?
    ตอบว่า ได้ยินว่า พระนางมหาปชาบดีได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราพระตถาคตไม่ทรงอนุญาตแล้ว ก็ถือเพศบรรพชาด้วยตนเองทีเดียว ก็แลความที่เราถือเพศบรรพชาอย่างนี้ เกิดปรากฏไปทั่วชมพูทวีป ถ้าพระศาสดาทรงอนุญาตบรรพชาไซร้ ข้อนั้นเป็นการดี แต่ถ้าพระองค์จักไม่ทรงอนุญาตไซร้ จักมีความครหาอย่างใหญ่หลวง จึงไม่อาจจะเข้าไปยังวิหาร ได้ยืนทรงกรรแสงอยู่.
    บทว่า กึ นุ ตฺวํ โคตมิ ความว่า ความวิบัติแห่งราชตระกูลเกิดขึ้นแล้วหรือหนอ เพราะเหตุไรหนอ พระองค์จึงทรงภาวะแปลกไปอย่างนี้ คือมีเท้าบวม ฯลฯ ประทับยืนอยู่แล้ว ฯลฯ.
    บทว่า อญฺเญนปิ ปริยาเยน ได้แก่ แม้โดยเหตุอื่น.
    พระอานนท์กล่าวพระคุณของพระนางมหาปชาบดีนั้นด้วยคำมีอาทิว่า พระนางมหาปชาบดีนั้นด้วยคำมีอาทิว่า พระนางมหาปชาบดีมีอุปการะมาก พระเจ้าข้า ดังนี้ เมื่อจะทูลขอบรรพชาอีกครั้ง จึงได้ทูลอย่างนั้น.
    แม้พระศาสดาก็ทรงพระดำริว่า ธรรมดาว่าสตรีทั้งหลายมีปัญญาน้อย เมื่อเราอนุญาตการบรรพชาด้วยเหตุเพียงถูกขอครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะไม่ถือเอาคำสั่งสอนของเราให้หนักแน่น ดังนี้แล้วจึงทรงห้าม ๓ ครั้ง บัดนี้ เพราะเหตุที่เธอประสงค์จะถือเอาคำสอนของเราให้หนักแน่น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้ามหาปชาบดีโคตมีจะยอมรับครุธรรม ๘ ประการไซร้ การรับครุธรรมนั้นแหละ จงเป็นอุปสมบทของเธอ.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาวสฺสา ความว่า การรับครุธรรมนั้นแหละเป็นทั้งบรรพชา เป็นทั้งอุปสมบทของเธอ.
    บทว่า ตทหุปสมฺปนฺนสฺส แปลว่า ผู้อุปสมบทในวันนั้น.
    บทว่า อภิวาทนํ ปจฺจุฏฺฐานํ อญฺชลิกมฺมํ สามีจิกมฺมํ กาตพฺพํ ความว่า ภิกษุณีไม่กระทำการดูถูกตนเองและดูหมิ่นผู้อื่น กระทำการกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กระทำการลุกขึ้นด้วยอำนาจลุกขึ้นจากอาสนะออกไปต้อนรับ รวมนิ้วทั้ง ๑๐ แล้วไหว้. การกระทำสามีจิกรรม ๑.
    บทว่า อภิกฺขุเก อาวาเส ความว่า ไม่มีอาจารย์ผู้ให้โอวาท โดยไม่มีอันตราย สำหรับนางภิกษุณีผู้อยู่ในอาวาสใด อาวาสนี้ชื่อว่าอาวาสไม่มีภิกษุ. ภิกษุณีไม่ควรเข้าจำพรรษาในอาวาสเห็นปานนี้.
    บทว่า อนฺวฑฺฒมาสํ แปลว่า ทุกอุโบสถ.
    บทว่า โอวาทูปสงฺกมนํ แปลว่า เข้าไปเพื่อต้องการโอวาท.
    บทว่า ทิฏฺเฐน แปลว่า โดยเห็นด้วยตา.
    บทว่า สุเตน แปลว่า โดยได้ฟังด้วยหู.
    บทว่า ปริสงฺกาย แปลว่า โดยรังเกียจด้วยการเห็นและการฟัง.
    บทว่า ครุธมฺมํ ได้แก่ อาบัติหนัก คืออาบัติสังฆาทิเสส.
    บทว่า ปกฺขมานตฺตํ ได้แก่ ภิกษุณีพึงประพฤติมานัด ๑๕ วันเต็ม.
    บทว่า ฉสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ ในสิกขาบททั้งหลาย มีวิกาลโภชนสิกขาบทเป็นที่ ๖.
    บทว่า สิกฺขิตสิกฺขาย ได้แก่ บำเพ็ญสิกขาโดยไม่ให้ขาดแม้สิกขาบทเดียว.
    บทว่า อกฺโกสิตพฺโพ ปริภาสิตพฺโพ ความว่า ภิกษุณีไม่พึงด่าภิกษุด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่พึงบริภาษด้วยการบริภาษอย่างใดอย่างหนึ่งอันอ้างถึงสิ่งที่น่ากลัว.
    บทว่า โอวโฏ ภิกฺขุนีนํ ภิกฺขูสุ วจนปโถ ความว่า คลองแห่งถ้อยคำ กล่าวคือโอวาท อนุศาสนีและธรรมกถาอันภิกษุณี ห้ามปิดในภิกษุทั้งหลาย คือภิกษุณีไม่ควรโอวาท ไม่ควรอนุศาสน์ภิกษุไรๆ. แต่ภิกษุณีควรจะกล่าวตามประเพณีอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า พระเถระในปางก่อนได้บำเพ็ญวัตรเช่นนี้ๆ มา.
    บทว่า อโนวโฏ ภิกฺขูนํ ภิกฺขุนีสุ วจนปโถ ความว่า ภิกษุทั้งหลายไม่ห้ามคำอันเป็นคลองในภิกษุณีทั้งหลาย คือภิกษุทั้งหลายจงโอวาท จงอนุศาสน์ จงกล่าวธรรมกถาตามชอบใจ.
    ความสังเขปในข้อนี้มีดังว่ามานี้. แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร กถาว่าด้วยครุธรรมนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในอรรถกถาพระวินัย ชื่อว่าสมันตปาสาทิกานั้นแล.
    โทมนัสอย่างใหญ่หลวงของพระปชาบดี สงบลงทันที เพราะได้ฟังครุธรรม ๘ ประการนี้ที่พระเถระเรียนในสำนักพระศาสดาแล้วมาทูลแก่พระนาง พระนางปราศจากความกระวนกระวาย มีใจชื่นชมยินดี ประหนึ่งว่าโสรจสรงลงบนกระหม่อมด้วยน้ำเย็น ๑๐๐ หม้อที่นำมาจากสระอโนดาด เมื่อจะทำให้แจ้งซึ่งปีติและปราโมทย์ที่เกิดขึ้นเพราะรับครุธรรม จึงได้เปล่งอุทานมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ ภนฺเต ดังนี้.
    บทว่า กุมฺภตฺเถนเกหิ ความว่า อันโจรผู้จุดไฟในหม้อแล้วเลือกเอาสิ่งของในเรือนของผู้ชื่นด้วยแสงสว่างนั้นขโมยไป.
    บทว่า เสตฏฐิกา นาม โรคชาติ ความว่า รวงข้าวแม้ออกจากต้นข้าวที่ถูกหนอนตัวเล็กๆ เจาะถึงกลางก้านก็ไม่อาจถือเอาน้ำนม (คือให้น้ำนม) ได้.
    บทว่า มญฺเชฏฺฐิกา นามโรคชาติ ได้แก่ ภายในลำต้นอ้อยมีสีแดง.
    ก็ด้วยบทว่า มหโต ตฬากสฺส ปฏิกจฺเจว ปาลี นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความนี้ไว้ว่า เหมือนอย่างว่า เมื่อเขาไม่พูนคันกั้นสระใหญ่ น้ำสักหน่อยหนึ่งก็ไม่ขังอยู่เลย แต่เมื่อเขาปิดไว้ครั้งแรกนั่นแหละ น้ำใดที่ไม่ขังอยู่ เพราะไม่ปิดกั้นเป็นปัจจัย น้ำแม้นั้นก็พึงขังอยู่ได้ฉันใด. ครุธรรมเหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราบัญญัติเสียก่อนเพื่อประโยชน์จะไม่ให้นางภิกษุณีจงใจล่วงละเมิดในเมื่อเรื่องยังไม่เกิดขึ้น เพราะเมื่อเราไม่บัญญัติครุธรรมเหล่านั้น เพราะมาตุคามบวช พระสัทธรรมพึงดำรงอยู่ได้ ๕๐๐ ปี แต่ครุธรรมที่เราบัญญัติไว้เสียก่อน พระสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้อีก ๕๐๐ ปี รวมความว่าพระสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้เพียง ๑,๐๐๐ ปี ซึ่งได้ตรัสไว้ก่อนดังกล่าวมาฉะนี้.
    ก็คำว่า วสฺสสหสฺสํ นี้ ตรัสโดยมุ่งถึงพระขีณาสพผู้บรรลุปฏิสัมภิทาเท่านั้น แต่เมื่อกล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้น ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระขีณาสพผู้สุกขวิปัสสก ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระอนาคามี ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระสกทาคามี ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระโสดาบัน ปฏิเวธสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปีโดยอาการดังกล่าวมานี้ แม้พระปริยัติธรรมก็ดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปีนั้นเหมือนกัน. เพราะเมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมก็มีไม่ได้ แม้เมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมก็ไม่มี ก็เมื่อปริยัติธรรมแม้อันตรธานไปแล้ว เพศ (แห่งบรรพชิต) ก็จักแปรเป็นอย่างอื่นไปแล. <CENTER>
    จบอรรถกถาโคตมีสูตรที่ ๑ </CENTER><CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top width=600 align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=8 width=580 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD>การให้ทานเป็นกุศล ผลของทานทำให้มีโภคสมบัติ ถ้าให้ทานด้วยความหวังว่าชาติต่อ

    ไปจะได้มีกินมีใช้ไม่ขัดสน ก็ไม่ใช่จุดประสงค์ของคำสอนของพระพุทธเจ้า ควรให้ทาน

    เพื่อการละ เพื่อการขัดเกลาความตระหนี่ ขัดเกลาอกุศล
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD bgColor=#eeeeee> </TD><TD bgColor=#999999 width=1></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER></CENTER></PRE>
    เรื่องทุกข์เกิดเพราะทรัพย์

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 33

    ข้อความบางตอนจาก รัฐปาลสูตร
    บิดาขอท่านพระรัฐปาละสั่งให้เปิดกองเงินและทองนั้น แล้วได้กล่าวกะ

    ท่านพระรัฐปาละว่า พ่อรัฐปาละ ทรัพย์กองนี้เป็นส่วนของมารดา กองอื่น

    เป็นส่วนของบิดา ส่วนของปู่อีกกองหนึ่ง เป็นของพ่อผู้เดียว พ่ออาจจะใช้สอย

    สมบัติและทำบุญได้ พ่อจงลาสิกขาสึกเป็นคฤหัสถ์มาใช้สอยสมบัติและทำบุญ

    ไปเถิด.

    ท่านพระรัฐปาละตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี ถ้าท่านพึงทำตามคำของ

    อาตมภาพได้ ท่านพึงให้เขาขนกองเงินกองทองนี้บรรทุกเกวียนให้เข็นไปจม

    เสียที่กลางกระแสแม่น้ำคงคา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความโศก ความร่ำไร

    ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส มีทรัพย์นั้นเป็นเหตุ จักเกิดขึ้นแก่ท่าน.

    ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่มที่ ๒หน้า ๑๙๘-๒๐๒​


    ปัตตกัมมสูตรที่ ๑​


    ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกนั้นย่อมเป็นผู้ทำกรรมที่สมควร ๔ ประการ


    ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน

    ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน ที่ต้องทำงานจนเหงื่อไหล


    ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม กรรมที่สมควร ๔ ประการคือ


    ๑ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เลี้ยงตน เลี้ยงมารดา บิดา บุตร ภริยา

    บ่าวไพร่ คนอาศัย เพื่อนฝูง ให้เป็นสุขเอิบอิ่มสำราญดี

    ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน


    ที่ต้องทำงานจนเหงื่อไหล ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม

    เป็นการชอบแก่เหตุแล้วเป็นการสมควรแล้ว

    เป็นการใช้โภคทรัพย์โดยทางที่ควรแล้ว


    ๒ อริยสาวกย่อมบำบัดอันตรายทั้งหลายที่เกิดแต่ไฟก็ดี เกิดแต่น้ำก็ดี


    เกิดแต่พระราชาก็ดี เกิดแต่โจรก็ดี เกิดแต่ทายาทผู้เกลียดชังกันก็ดี


    ย่อมทำตนให้สวัสดีจากอันตรายเหล่านั้น

    ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน

    ที่ต้องทำงานจนเหงื่อไหล ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม


    ๓ อริยสาวกย่อมเป็นผู้ทำพลี ๕ คือ

    ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ

    อติถิพลี ต้อนรับแขก


    ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย

    ราชพลี ช่วยราชการ

    เทวตาพลี ทำบูญอุทิศให้เทวดา


    ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม


    ๔ อริยสาวกย่อมตั้ง (บริจาค) ทักษิณาทานอย่างสูง

    ที่จะอำนวยผลดีเลิศ มีสุขเป็นวิบากเป็นทางสวรรค์


    ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้เว้นไกลจากความมัวเมาประมาท

    มั่นคงอยู่ในขันติโสรัจจะ ฝึกฝนตนอยู่ผู้เดียว

    ระงับตนอยู่ผู้ดียว ดับกิเลสตนอยู่ผู้เดียว


    ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม


    ดูก่อนคฤหบดี โภคทรัพย์ทั้งหลายของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

    ถึงความหมดเปลืองไป เว้นเสียจากกรรมที่สมควร ๔ ประการนี้

    โภคทรัพย์เหล่านี้เรียกว่าหมดไปโดยไม่ชอบแก่เหตุ


    หมดไปโดยไม่สมควร ใช้ไปโดยทางที่ไม่ควรใช้


    โภคทรัพย์ทั้งหลายของบุคคลใด

    ถึงความหมดเปลืองไปด้วยกรรมที่สมควร ๔ ประการนี้


    โภคทรัพย์เหล่านี้เรียกว่าเปลืองไปโดยชอบแก่เหตุ

    เปลืองไปโดยสมควร ใช้ไปโดยทางที่ควร
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ หน้าที่ 568

    ดูก่อนพราหมณ์ ก็สมชีวิตาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้

    รู้ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพ

    พอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก... ดูก่อนพราหมณ์

    นี้เรียกว่าสมชีวิตา.

    ดูก่อนพราหมณ์ โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว

    ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ เป็นนักเลงหญิง ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑

    เป็นนักเลงการพนัน ๑ มีมิตรชั่ว สหายชั่ว เพื่อนชั่ว ๑...

    ดูก่อนพราหมณ์ โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้ ย่อมมีทาง

    เจริญอยู่ ๔ ประการ คือ ไม่เป็นนักเลงหญิง ๑ ไม่เป็นนักเลงสุรา ๑

    ไม่เป็นนักเลงการพนัน ๑ มีมิตรดี สหายดี เพื่อนดี ๑... ดูก่อน

    พราหมณ์ ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อ

    ความสุขในปัจจุบันแก่กุลบุตร​
     

แชร์หน้านี้

Loading...