การเจริญอสุภกัมมัฏฐาน และการเจริญอนุสสติกัมมัฏฐาน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 14 สิงหาคม 2009.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    <table width="94%" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="postbody" valign="top"> การเจริญอสุภกัมมัฏฐาน

    การเจริญอสุภกัมมัฏฐาน มีรายละเอียดในวิธีการอยู่ไม่น้อย เช่น เบื้องต้นจะต้องรู้ว่า ศพอยู่ที่ไหน ทิศใด ตายเมื่อไร เพราะถ้าตายใหม่ๆ ก็ไม่ให้พิจารณา ด้วยว่าอาจเกิดราคะขึ้นมาได้ ก่อนไปก็ให้บอกเล่าเก้าสิบกับสหธัมมิกด้วยกันเพื่อเป็นหลักฐาน ให้ไปคนเดียว จดจำทางและเครื่องหมายระหว่างทางให้แม่นยำ ไปถึงก็ให้สังเกตว่า ศพอยู่ตรงไหน ใกล้อะไรที่พอเป็นที่สังเกตได้ ให้ไปยืนที่เหนือลม ประมาณกึ่งกลางศพ อย่าใกล้นัก แล้วพิจารณากำหนดโดยสี (เป็นศพคนขาว คนดำ), โดยวัย (แก่ หนุ่ม), โดยสัณฐาน (ให้รู้ว่านี่ศีรษะ นี่ท้อง นี่เท้า), โดยทิศ (แต่สะดือขึ้นมาเป็นทิศเบื้องบน แต่สะดือลงไป เป็นทิศเบื้องล่าง), โดยที่ตั้ง (เราอยู่ตรงไหน ศพอยู่ตรงไหน),

    โดยส่วนต่างๆ (ศีรษะ แขน ขา ลำตัว), โดยที่ต่อ (ต่อที่แขน ขา เอว), โดยช่อง (ช่องปาก จมูก หู), โดยที่ลุ่ม (บ่อตา บ่อคอ บ่อท้อง), โดยที่ดอน(หน้าผาก หน้าอก ตะโพก), โดยรอบๆ ด้าน (ทั่วตัว), จนนิมิตเกิดขึ้น, นิมิตกลับเสื่อมหายไป และจำแนกอสุภะที่ควรแก่จริตเหล่านี้เป็นต้น

    เนื่องจากสภาพของบ้านเมืองและสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย แตกต่างจากความเป็นอยู่ในสมัยก่อนโน้นมากมาย แม้แต่ในชนบทก็เห็นจะหาอสุภะสำหรับเพ่งได้ยากเต็มที ดังนั้นจึงของดไม่อธิบายรายละเอียดและวิธีการตามที่กล่าวไว้ข้างบนนั้น ถ้าต้อง การทราบรายละเอียด ขอให้ดูในหนังสือวิสุทธิมัคค ตอนสมาธินิเทส

    ในที่นี้จึงขอรวบรัดกล่าวว่า การเจริญอสุภกัมมัฏฐานก็เป็นไปในทำนองเดียวกันกับกสิณกัมมัฏฐานนั่นแหละ อสุภกัมมัฏฐานนี้เจริญภาวนาได้เพียง ปฐมฌาน เท่านั้นเอง เพราะเหตุว่า อสุภะเป็นอารมณ์ที่ไม่สวย ไม่งาม น่าเกลียด น่ากลัว และเป็นอารมณ์ที่หยาบอีกด้วย ภาวนาจิตของผู้เจริญกัมมัฏฐานเช่นนี้จะตั้งมั่นอยู่ได้ ก็ต้องอาศัยวิตกเป็นหลัก ซึ่งเป็นของธรรมดาเหลือเกินที่สิ่งที่น่าเกลียดน่ากลัว เช่น ศพคนเช่นนี้ ใครๆ ก็ไม่อยากคิดอยากนึกอยากเห็น ถ้าไม่มีวิตกเป็นหลักคอยค้ำจุนยกจิตขึ้นสู่อารมณ์อสุภะแล้ว ภาวนาจิตนั้นก็ไม่สามารถตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์นั้นได้ เหตุนี้อสุภะจึงเป็นกัมมัฏฐานให้ได้เพียงปฐมฌานที่มีวิตกประกอบอยู่ด้วย แต่ไม่สามารถที่จะให้ได้ถึงทุติยฌานขึ้นไป เพราะฌานเหล่านั้นเป็นฌานที่ปราศจากวิตก


    คัดย่อจาก พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙ หน้า ๓๕</td> </tr> <tr> <td> </td> </tr> <tr> <td class="postdetails" valign="bottom" height="40">
    </td></tr></tbody></table><table width="94%" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="postbody" valign="top">การเจริญอนุสสติกัมมัฏฐาน

    อนุสสติ ๑๐ เจริญให้ถึงฌานได้เพียง ๒ คือ กายคตาสติ ๑ และอานาปาณสติ ๑ ดังได้กล่าวแต่ตอนต้นมาครั้งหนึ่งแล้ว

    ๑. การเจริญกายคตาสติ เป็นการกำหนดพิจารณากาย ซึ่งหมายถึงสิ่งที่ประชุมกันด้วยโกฏฐาส ๓๒ หรือ อาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น

    โกฏฐาสะ ๓๒ คือ อาการ ๓๒ นั้น แบ่งเป็น ๖ หมวด แต่ละหมวดได้แก่อะไรบ้าง มีรายละเอียดแจ้งในคู่มือปริจเฉทที่ ๖ ตอนมหาภูตรูป ตรงปฐวีธาตุ มี ๔ หมวดเป็นอาการ ๒๐, ตรงอาโปธาตุ มี ๒ หมวด เป็นอาการ ๑๒ นั้นแล้ว ขอให้ดูที่นั่นด้วย (อาการ ๒๐ มี ผม, ขน, เล็บ, ฟัน, หนัง, เนื้อ, เอ็น, กระดูก, เยื่อในกระดูก, ม้าม, หัวใจ, ตับ, พังผืด, ไต, ปอด, ใส้ใหญ่, ใส้น้อย, อาหารใหม่, อาหารเก่า, มันสมอง อาการ ๑๒ มี ดี, เสมหะ, หนอง, เลือด, เหงื่อ, มันข้น, น้ำตา, มันเหลว, น้ำลาย, น้ำมูก, ไขข้อ, น้ำมูตร)

    ๒. โกฏฐาสะ ๓๒ นี้ ถ้าพิจารณาโดยความเป็นธาตุ ก็เป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน วิปัสสนาภาวนา แต่ถ้าพิจารณาโดยความเป็นบัญญัติ โดยความเป็นสิ่งปฏิกูล ก็เป็นสมถกัมมัฏฐาน สมถภาวนา ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะสมถภาวนาเท่านั้น

    ๓. ในชั้นต้นให้พึงท่องจำโกฏฐาสะ ๓๒ นี้เป็นหมวดๆ ไป และแต่ละหมวดก็ให้คล่องทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม กลับไปกลับมาจนขึ้นใจ แล้วจึงพิจารณาในอาการ ๓๒ นั้นเป็น ๕ นัย คือ

    ก. พิจารณาโดย สี ว่าเป็นของปฏิกูล
    ข. พิจารณาโดย สัณฐาน ว่าเป็นของปฏิกูล
    ค. พิจารณาโดย ทิศ ว่าตั้งอยู่เบื้องสูงหรือเบื้องต่ำ
    ง. พิจารณาโดย โอกาส ว่าตั้งอยู่ตรงไหน
    จ. พิจารณาโดย ปริจเฉท ว่าไม่ปะปนกับส่วนอื่น

    ๔. พิจารณาอาการ ๓๒ แต่ละอาการโดยนัยทั้ง ๕ นั้น ตามลำดับไปทุกอาการ บางอาการก็จะเห็นได้ชัด บางอาการก็จะเห็นไม่ชัด ที่ไม่ชัดก็ให้ละไป จนเหลืออาการที่ชัดที่สุดแต่อาการเดียว ให้กำหนดอาการที่ชัดนี้เป็นบริกรรมนิมิต บริกรรมภาวนาไปจนกว่า อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิตจะปรากฏขึ้น ซึ่งเป็น อุปจารภาวนา และอัปปนาภาวนา คือถึงปฐมฌาน

    ๕. กายคตาสตินี้ เป็นกัมมัฏฐานในการเจริญสมถภาวนาได้เพียงปฐมฌานเท่านั้นเพราะโกฏฐาสต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ ล้วนแต่เป็นสิ่งปฏิกูล น่าเกลียด จึงต้องอาศัยวิตกเป็นหลักคอยค้ำจุนหนุนจิตให้ยกขึ้นสู่อารมณ์นั้นๆ ทำนองเดียวกับ อสุภกัมมัฏฐานที่กล่าวแล้วข้างต้น ขอให้ทบทวนดูที่นั่นด้วย

    ๖. การเจริญอานาปาณสติ คือการกำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ซึ่งดูๆ ก็ไม่น่าจะยากเย็นอะไรเลย แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้สะดวกสบายนัก เพราะอาจเผลอตัว ไม่มีความรู้สึกตัว คือขาดสติสัมปชัญญะได้ง่าย จริงอยู่การเจริญภาวนาไม่ว่าจะอาศัยกัมมัฏฐานใดๆ จะต้องมีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ขาดสติสัมปชัญญะ คือ เผลอตัวเมื่อใดเมื่อนั้นก็ขาดจากการเจริญภาวนา จะเรียกว่าเป็นการเจริญภาวนาหาได้ไม่ โดยเฉพาะการกำหนดลมหายใจนี้ ลมหายใจยิ่งละเอียดสุขุมมากเท่าใด ก็ยิ่งเผลอตัวได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น เผลอตัวได้ง่ายกว่ากัมมัฏฐานอย่างอื่น เหตุนี้ในวิสุทธิมัคคจึงกล่าวว่า การเจริญอานาปาณสตินี้ เหมาะสมแก่ผู้ที่มีปัญญากล้า และเฉียบแหลม หาควรแก่ผู้ที่มีปัญญาน้อยไม่

    ๗. สถานที่ที่จะเจริญอานาปาณสติกัมมัฏฐานนั้น ถ้าเลือกได้สถานที่ดังจะกล่าวต่อไปนี้ก็จะเป็นที่สะดวกดีมาก คือ

    ก. เสนาสนะในป่าที่สงัด เหมาะแก่ฤดูร้อน เหมาะแก่ผู้ที่มีโมหจริต เหมาะแก่ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวแก่ เสมหะ

    ข. เสนาสนะที่อยู่โคนต้นไม้ หมายถึงใต้ร่มไม้ใหญ่ที่เงียบเชียบ เหมาะแก่ฤดูหนาว เหมาะแก่ผู้ที่มีโทสจริต เหมาะแก่ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวแก่น้ำดี

    ค. เสนาสนะที่เป็นเรือนว่าง ที่ไม่มีคนอยู่อาศัย อยู่ในที่วิเวก เหมาะแก่ฤดูฝน เหมาะแก่ผู้ที่มีราคจริต เหมาะแก่ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวแก่ธาตุ

    ๘. การกำหนดลมหายใจนี้ จำแนกไว้เป็น ๔ หมวด แต่ละหมวดก็มี ๔ นัย จึงรวมเป็น ๑๖ นัยด้วยกัน

    หมวดที่ ๑
    ก. กำหนดให้รู้ว่าขณะนั้น หายใจออกยาวและเข้ายาว

    ข. กำหนดให้รู้ว่าขณะนั้น หายใจออกสั้นและเข้าสั้น

    ค. กำหนดให้รู้ในกองลมทั้งปวงในเวลาหายใจออกและเข้า คือให้รู้ว่าเบื้องต้น ของลมหายใจออกนั้นอยู่เหนือสะดือ เบื้องกลางอยู่ที่หน้าอก เบื้องปลายอยู่ที่ช่องจมูก และเบื้องต้นของลมหายใจเข้านั้นอยู่ที่ช่องจมูก เบื้องกลางอยู่ที่หน้าอก เบื้องปลายอยู่ที่เหนือสะดือ จะรู้ได้ต่อเมื่อตั้งใจกำหนดอย่างแน่แน่ว (การระลึกรู้ต้นลมหายใจ กลางลมหายใจ ปลายลมหายใจ ใน พระไตรปิฎก ปฏิสัมภิทามรรค ท่านให้ใช้สติระลึกรู้ที่ปลายจมูกตรงจุดที่ลมกระทบเพียง แห่งเดียวเท่านั้น ก็จะสามารถระลึกรู้ทั้ง ต้นลมหายใจ กลางลมหายใจ และปลายลมหายใจ ได้ทั้งหมดอยู่แล้ว ใน พระไตรปิฎก ปฏิสัมภิทามรรค ท่านห้ามการระลึกรู้ตามลมหายใจ จากจมูกไปยังหน้าอก และไปถึงสะดือหรือท้อง เพราะจะทำให้จิตแกว่งไม่ตั้งมั่น ในอารมณ์เดียว จิตจะฟุ้งซ่าน ไม่เป็นสมาธิ)

    ง. ให้รู้ในกายสังขาร คือ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้าที่สงบ คือการหายใจนั้นแผ่ว เบา ละเอียด ยิ่งขึ้นทุกที ถ้าไม่ตั้งใจกำหนดอย่างจริงจังก็จะเผลอไม่รู้สึกตัว

    หมวดที่ ๒
    ก. กำหนดให้รู้แจ้ง ปีติในเวลาหายใจออกและเข้า หมายความว่า กำหนดตามหมวดที่ ๑ จนได้ฌานแล้ว มีวสีภาวะทั้ง ๕ แล้ว ก็ให้ยกองค์ฌาน คือ ปีตินั้นเพ่งโดยวิปัสสนาภาวนาจนเห็นปีติในลักษณะ ๓ คือ ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ให้เพ่ง ปีติ เพราะผู้ที่ได้ฌานต้นๆ นั้น ปีติ มักจะปรากฏเด่นชัดกว่าองค์ฌานอื่น

    ข. กำหนดให้รู้แจ้ง สุขเวทนา ในเวลาหายใจออกและเข้า มีความหมายว่า ผู้ที่ได้ทุติยฌาน ตติยฌาน หรือ จตุตถฌานนั้น ความสุขในองค์ฌานย่อมปรากฏชัด จึงกำหนดให้รู้แจ้ง สุขเวทนา ในเวลาหายใจออกและเข้าได้สะดวก

    ค. กำหนดให้แจ้งใน จิตตสังขาร คือ เวทนา สัญญา ในเวลาหายใจออกและเข้า

    ง. กำหนดให้แจ้งในการยังจิตตสังขารให้สงบ ในเวลาหายใจออกและเข้า ซึ่งผู้ที่ได้ฌานใดๆ ก็สามารถกำหนดรู้ได้

    หมวดที่ ๓
    ก. กำหนดให้แจ้งในจิต ในเวลาหายใจออกและเข้า คือให้รู้จิตที่เป็นไปด้วยรูปฌานทั้ง ๕

    ข. กำหนดให้แจ้งในความบันเทิงของจิต ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึง ปีติ ที่ประกอบด้วยฌานนั้นๆ

    ค. กำหนดให้แจ้งในจิตที่เป็นสมาธิ ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายทั้ง ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ

    ง. กำหนดให้แจ้งในความพ้นของจิต ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึงความพ้นทั้ง ๒ อย่าง คือพ้นด้วยสมาธิ ก็พ้นจากนิวรณ์ ๕ หรือพ้นจาก วิตก วิจาร ปีติตามลำดับขององค์ฌาน ถ้าพ้นด้วยวิปัสสนาก็พ้นจากวิปัลลาสธรรม มีนิจจสัญญา เป็นต้น

    หมวดที่ ๔
    ก. กำหนดตามเห็นอนิจจัง ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึงตามเห็นความไม่เที่ยงในรูปขันธ์ ในเวทนาขันธ์ ในสัญญาขันธ์ ในสังขารขันธ์ และในวิญญาณขันธ์

    ข. กำหนดตามเห็นวิราคะ ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึงพ้นจากราคะด้วยอำนาจของวิปัสสนา หรือด้วยมัคคจิต ๔ ความพ้นทั้ง ๒ นี้เรียกว่า วิราคานุปัสสนา

    ค. กำหนดตามเห็นความดับ ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึงความดับของทุกข์ สมุทัย หรือความดับของ วยะ ขยะ คือ ความดับสิ้นไปของสังขารนั้น

    ง. กำหนดตามเห็น ความสละในการยึดมั่น ในเวลาหายใจออกและเข้า หมายถึง ละการยึดถือด้วยอุปาทาน มีอัตตวาทุปาทาน เป็นต้น ด้วยอำนาจของวิปัสสนา

    ในอานาปาณสติ ๑๖ นัยนี้ตั้งแต่หมวดที่ ๑ ถึง ๓ รวม ๑๒ นัยนั้นกล่าวรวมทั้งสมถะและวิปัสสนาด้วย ส่วนในหมวดที่ ๔ นั้น กล่าวเฉพาะวิปัสสนาอย่างเดียว

    หมวดที่ ๑ สงเคราะห์ด้วยปฐมฌาน และสงเคราะห์ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    หมวดที่ ๒ สงเคราะห์ด้วยปฐมฌานถึงจตุตถฌาน และสงเคราะห์ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    หมวดที่ ๓ สงเคราะห์ด้วยฌานทั้ง ๕ และสงเคราะห์ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    หมวดที่ ๔ กล่าวเฉพาะ วิปัสสนา

    ๙. อานาปาณสตินี้ เป็นกัมมัฏฐานที่สามารถเจริญสมถภาวนา ให้ถึงได้ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปตามลำดับจนถึงปัญจมฌาน

    ๑๐. อนุสสติ ๑๐ นั้นได้กล่าวมาแล้ว ๒ เพราะที่สามารถเข้าถึงฌานได้ คือ กายคตาสติ ๑ และอานาปาณสติ ๑ ส่วนที่เหลืออีก ๘ ไม่สามารถเข้าถึงฌานได้

    ก. พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ และอุปสมานุสสติ รวมอนุสสติ ๗ นี้ไม่สามารถเข้าถึงฌานได้ เพราะเหตุว่า เป็นอารมณ์ที่ละเอียดลึกซึ้งมาก และเป็นอารมณ์ที่กว้างขวางมาก

    ข. มรณานุสสติอีก ๑ นั้น นอกจากเป็นอารมณ์ที่ลึกซึ้งมากแล้ว ยังเป็นอารมณ์ปรมัตถอีกด้วย สมถภาวนาไม่สามารถจับอารมณ์ปรมัตถได้ เว้นแต่อากาสานัญจายตนกุสล ๑ กิริยา ๑ และอากิญจัญญายตนกุสล ๑ กิริยา ๑ รวมจิต ๔ ดวงนี้เท่านั้น จึงจะเป็นอารมณ์ที่สามารถให้ถึงฌานได้ นอกจากนี้ต้องเป็นอารมณ์บัญญัติจึงจะถึงฌาน อนึ่ง มรณานุสสติ การระลึกถึงความตายที่จะพึงมาถึงตนนั้น ก็เพื่อให้เกิดความสลดใจ แต่ว่าถ้าไม่มีความแยบคายในการระลึกแล้วอาจเป็นโทษ เช่นนึกถึงความตายของผู้ที่เรารักใคร่ ย่อมเกิดความโศกเศร้า นึกถึงความตายของผู้ที่เราเกลียด ย่อมเกิดความชอบใจ ครั้นมานึกถึงความตายของตนเอง ก็จะเกิดความกลัว ทำให้จิตใจหวาดหวั่นไป เหตุนี้จึงมีข้อแสดงว่า การระลึกถึงความตาย ต้องนึกด้วยความแยบคาย โดยอาการ ๘ นัย คือ

    (๑) ความตายนี้เปรียบดังเพชฌฆาตที่จ้องจะประหารอยู่เป็นนิจ แม้ตัวเราก็ถูกจ้อง อยู่ตลอดเวลา

    (๒) ความตายนี้ย่อมเข้าถึง ความฉิบหาย วิบัติ พลัดพราก จากทรัพย์สมบัติ ลาภยศ ญาติพี่น้อง ซึ่งเราก็จะเป็นเช่นนี้เข้าสักวันหนึ่ง

    (๓) ความตายนี้ไม่เห็นแก่หน้าไม่เลือกบุคคล ไม่ว่าจะเป็นผู้มีบุญ มีอำนาจ มีทรัพย์ มียศ มีปัญญา ก็ตายไปแล้วมากกว่ามาก เราเองก็จะต้องตายแน่

    (๔) ความตายมีอยู่ทั่วกายในอวัยวะทุกส่วน แม้หมู่สัตว์ที่อยู่ภายนอก และที่อาศัยเบียดเบียนอยู่ภายในร่างกาย ก็สามารถทำให้ตายได้ทุกเมื่อ เราก็ไม่พ้นอย่างนี้ไปได้

    (๕) อายุนี้เป็นสิ่งที่ไม่ถาวรแข็งแรง เป็นของทุพพลภาพ ที่ยังคงดำรงอยู่ได้ ก็อาศัยอยู่ได้ด้วยธรรมทั้ง ๔ คือ ลมหายใจ, อิริยาบถทั้ง ๔, ความร้อนความเย็น และอาหาร หากธรรมทั้ง ๔ นี้แม้แต่เพียงอย่างเดียวไม่เป็นไปตามปกติ เราก็จะตายเป็นแน่นอน

    (๖) ระลึกว่า ความตายนี้ไม่มีนิมิต ไม่มีเครื่องหมายแต่อย่างใดเลย นิมิตนั้นมี ๕ อย่าง คือ

    ก. ชีวิตํ ไม่มีนิมิตให้รู้ว่า ชีวิตนี้จะอยู่นานสักปานใดจึงจะตาย
    ข. พยาธิ ไม่มีนิมิตให้รู้ว่า จะตายด้วยโรคอะไร
    ค. กาโล ไม่มีนิมิตให้รู้ว่า จะตายเวลาไหน
    ง. เทหนิกฺเขปนํ ไม่มีนิมิตให้รู้ว่า จะตายที่ตรงไหน
    จ. คติ ไม่มีนิมิตให้รู้ว่า เมื่อตายแล้วจะไปเกิดเป็นอะไรที่ไหน

    (๗) ระลึกว่าอายุของมนุษย์นี้น้อยนัก อย่างมากไม่ใคร่ถึง ๑๐๐ ปี ก็จะต้องตายไปแล้ว จึงควรทำความดี ประกอบการกุสล ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะความตายจักมาถึงเราในบัดนี้ก็ได้

    (๘) ระลึกว่า ชีวิตนี้ เป็นอยู่ มีอยู่ คงอยู่ ชั่วขณะนิดเดียว กล่าวโดยทางปรมัตถ ก็ปรากฏอยู่ชั่วขณะจิตเดียวเท่านั้นเอง เมื่อจิตเกิดขึ้นก็ได้ชื่อว่า สัตว์เกิดแล้ว จิตตั้งอยู่ ก็ได้ชื่อว่าสัตว์นั้นเป็นอยู่ และเมื่อจิตดับไป จิตไม่เกิดสืบต่อไปอีกในภพนี้ ก็ได้ชื่อว่า สัตว์นั้นตายเสียแล้ว พึงระลึกถึงความตาย โดยความแยบคายตามนัยแห่งอาการ ๘ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ก็จะเป็นที่ตั้งแห่งความสลด เป็นเหตุให้เบื่อหน่าย ไม่ยินดีในภพ ปราศจากความตระหนี่ เบิกบานในการบริจาคทาน มีการขวนขวายน้อย มีความเป็นอยู่โดยความไม่ประมาทตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรในกุสลกรรม ไม่หวาดหวั่นต่อความตาย และไม่งมงายในเวลาตายด้วย


    คัดย่อจาก พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙ หน้า ๓๖</td> </tr> <tr> <td> </td> </tr> <tr> <td class="postdetails" valign="bottom" height="40">
    </td></tr></tbody></table>
    ที่มา ::
     
  2. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    คุณเจ้าของกระทู้ขอรับ รู้มาผิด ก็เผยแพร่ไปผิดๆ ไม่มีใครทักท้วง คนไม่รู้ ก็ได้รับความรุ้ที่ผิดๆนะขอรับ

    ญาณ (ยาน) กับ วิปัสสนา พอเข้ากันได้ เพราะเป็นเรื่องเดียวกัน แตกต่างกันเล็กน้อย ส่วน คำว่า

    ฌาน (ชาน) นั้น แม้จะเกี่ยวข้องกับ ญาณ(ยาน) และเกี่ยวข้องกับ วิปัสสนา ก็เป็นคนละอย่างกัน
    อสุภกัมมัฎฐาน เกียวกับ ญาณ(ยาน) ไม่เกี่ยวกับ ฌาน(ชาน) ขอรับ
    ฌาน (ชาน) เป็นผลแห่งที่เกิดจากสมาธิ ไม่เกี่ยวกับ การเพ่งอสุภกัมมัฎฐาน อสุภกรรมฐานนั้น เป็นเรื่องของปัญญา คือ เกี่ยวกับ ญาณ(ยาน) และเกี่ยวกับ วิปัสสนา
    คนละเรื่องกัน ไม่รู้ก็อย่าเผยแพร่จะดีกว่าขอรับ
     
  3. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    คุณ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->telwada<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_2345842", true); </SCRIPT>

    คุณน่าจะพิจารณา...ดูเฉพาะในเนื้อหาที่เป็นสาระประโยชน์...

    และเจตนาของจขกท.ที่ได้นำธรรมมานำเสนอ...

    ทั้งยังมีที่มาชัดเจนจาก...พระอภิธัมมัตถสังคหะ

    ไม่ใช่คอยจับผิดเล็กๆน้อยๆ ไม่เข้าท่าเลยนะครับ

    ส่วนใน เรื่องอสุภกรรมฐานนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องของปัญญาอย่างเดียว เท่านั้น..

    ประกอบด้วยสติ สมาธิ และปัญญา...

    ไม่มีกำลังสติ..ก็ไม่มีกำลังสมาธิ และก็ย่อมจะไม่มีกำลังปัญญาเช่นกัน..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 สิงหาคม 2009
  4. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    คุณขอรับ ข้าพเจ้าเขียนไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า รู้มาผิดๆ ก็เผยแพร่ไปผิดๆ สิ่งที่เขาเขียนมาทั้งหมด ไม่ถูกต้องทั้งหมด
    และตัวคุณอย่าได้มีความคิดไปในทางชั่วร้าย คือคิดไปว่าข้่าพเจ้าจับผิดผู้เขียนกระทู้ เพราะถ้าคุณคิดว่า เจ้าของกระทู้หวังดี แล้วทำไมคุณไม่คิดว่า ข้าพเจ้าหวังดีบ้างขอรับ
    ขอให้คุณพิจารณาตัวเองขอรับ
    ประการที่่สำคัญ ข้าพเจ้าเคยสอนไว้ว่า การนำเอาข้อความในพระไตรปิฎกมาเชียนมาเผยแพร่ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในหลักภาษาอย่างแทัจริง ไม่ใช่เข้าใจในพระไตรปิฎก ตามหลักภาษาไทย
    ถ้าเข้าใจอย่างนั้น ความในพระไตรปิฎกก็ถูกบิดเบือนไปหมด บิดเบือนเพราะอ่านแล้วไม่ได้ใช้สมองสติปัญญาคิดพิจารณาตามหลักความเป็นจริง ตามหลักธรรมชาติ ไปดูมันทำไมพวกซากศพ ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลยขอรับ ในที่นี้หมายถึงในยุคสมัยปัจจุบันนะขอรับ
    ถ้าคุณอยากรู้ว่า สิ่งที่ข้าพเจ้ากล่าวไป จริงหรือไม่ ก็ให้เข้าไปอ่าน ไปศึกษาบทความธรรมะ เรื่อง "ภวังคจิต" ในหมวด อภิญญา ฯ และ บทความธรรมะเรื่อง "การปฏิบัติสมาธิ ตามหลักพุทธศาสนา ๑๑ ตอน " ในหมวด อภิญญา ฯ น่าจะทำให้คุณมีจิตใจที่สุงขึ้น มีความคิดอ่านที่ดีขึัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 สิงหาคม 2009
  5. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    แล้วอะไรเป็นตัวชี้วัด...

    เรามีความรู้ความเข้าใจมากกว่าผู้ตั้งกระทู้หรือผู้อื่น...

    ถ้าเรามาให้คะแนนตัวเองมันดูพิลึกกึกกือ...

    ควรจะให้พระผู้ถึงศีลถึงธรรม เช่น ผู้ทรงธรรมทรงศีล เช่น

    พระหลวงตามหาบัว ฯลฯ

    เป็นผู้พิจารณากล่าวเตือนจะเหมาะกว่า..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 สิงหาคม 2009
  6. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ข้าพเจ้ามีนิสัยที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดอย่างหนึ่ง จะเรียกว่า สันดาน ก็ได้ คือ
    ข้าพเจ้าเป็นบุคคลประเภท เชื่อฟัง เคารพ คำสั่งสอน ของบิดามารดา และ ครูอาจารย์ ค่อนข้าง เคร่งครัด
    สิ่งที่ข้าพเจ้าบอกไปว่า ผิดทั้งหมด ก็คือ ผิดทั้งหมด จริงๆนะขอรับ
    ที่ข้าพเจ้าไม่สอนในเรื่องเกี่ยวกับ "อสุภกัมมัฎฐาน" ก็เพราะ อาจารย์ ได้สั่งไว้ก่อนที่ท่านจะให้คำแนนำ ข้อคิด หรือสอนว่า ห้ามมิให้ข้าพเจ้านำไปบอกหรือสอนต่อกับใครเป็นอันชาด
    ข้าพเจ้าเองก็ไม่ทราบเหตุผลในตอนนั้น ในปัจจุบันนี้ ก็พอจะทราบเหตุผลที่อาจารย์ห้ามมิให้สอนใครเป็นอันขาดเกี่ยวกับเรื่อง "อสุภกัมมัฎฐาน" บ้างแล้ว
    ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงแนะนำให้ท่านทั้งหลายไปอ่านบทความธรรมะ เรื่อง "การปฏิบัติสมาธิ ตามหลักพุทธศาสนา" ๑๑ ตอน ในหมวด "อภิญญาฯ" และ บทความ เรื่อง "ภวังคจิต" ในหมวดเดียวกัน
    แล้วคิดพิจารณาเอาเอง ก็ย่อมจะเกิคความรู้ ความเข้าใจว่า ทำไมข้าพเจ้าจึงกล่าวว่าที่เขาเขียนมาทั้งหมด ผิดทั้งหมด
    ตัวชี้วัดความรู้ความเข้าใจในหลักธรรม หรือวิธีปฏิบัติธรรม มีหลายตัวขอรับ
    เช่น ความรู้น้น เป็นไปตามหลักความจริง เป็นไปตามหลักธรรม สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีจริงเป็นจริง
    หรือ การปฏิบัติทั้งหลายเหล่านั้น สามารถทำให้ผุ้ปฏิบัติบรรลุผล ตามแนวทางพุทธศาสนา โดยสามารถพิสูจน์ได้ ด้วยตา ด้วยความคิดที่เป็นไปตามหลักความจริง
    ถ้าข้าพเจ้าสามารถขจัดอาสวะแห่งกิเลสได้ ขณะขจัดอาสวะแห่งกิเลส ก็จะเปล่งฉัพพรรณรังสี เป็นสีต่างกัน สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทุกที่ ทุกแห่ง ตามแต่สภาพแห่งอาสวะนั้นๆ คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ฯ ก็เป็นเครื่องชี้วัดได้เช่นกัน
    ข้าพเจ้าไม่อยากกล่าวอ้างถึงพระสงฆ์ เพราะพระสงฆ์ ในปัจจุบัน ก็เป็นเพียง สมมุติสงฆ์ เรียนรู้ธรรมะอย่างปลาย ของปลาย ของปลายแห่งธรรมะ ไม่ใช่แก่นแห่งธรรมะ ไม่สามารถขจัดอาสวะแห่งกิเลสได้ อย่างมากก็แค่ ข่มไว้ สะกดไว้ ขอรับ
     
  7. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    ไม่ใช่ธรรมดา..กินข้าวแบบคนธรรมดาไม่ได้

    ระดับนี้ต้องกินยอดข้าวหรือปลายข้าวเท่านั้น..

    สมควรอย่างยิ่งตั้งตนเป็นศาสดาใหม่

    เปล่งฉัพพรรณรังสี เป็นสีต่างกัน ได้...7 สี ทีวีเพื่อคุณ
     
  8. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817

    คุณขอรับ หัดยอมรับความจริงจะดีกว่าขอรับ อย่าใช้ความรู้อันต่ำต้อยของคุณ สร้างจิตใจที่ต่ำต้อยตามไปด้วยเลยขอรับ คนเราถึงจะมีความรู้น้อย แต่หัดเปิดใจกว้าง รู้จักคิดถึงหลักความจริง คิดพิจารณาตามหลักธรรมชาติ ก็ย่อมทำให้เกิดสภาพจิตใจที่สูงได้
    ถ้าข้าพเจ้าจะตั้งตนเป็นศาสดาใหม่ ก็ไม่ยากขอรับ วางฟอร์ม นุ่่งขาว ห่มขาวตลอด ขจัดอาสวะทั้งหลายออกไป ไม่สนสิ่งใด ไม่นานก็ต้องมีผู้ศรัทธา มาตั้งสำนักให้ ตั้งตู้รับบริจาค สร้างโน่น สร้างนี่ ได้สารพัด
    อีกประการหนึ่ง ฉัพพรรณรังสีนั้น มันก็มีเหตุที่เกิดจาก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ไม่ได้มี 7 สี อย่างที่คุณกล่าวมาดอกขอรับ ฉัพพรรณรังสี ย่อมมีเพียง ๖ สี แต่ลักษณะของแสงอาจไม่เหมือนกัน บ้างก็เปล่งเฉพาะศีรษะ รอบศีรษะ บ้างก็เปล่งรอบศรีษะ เป็นแฉกๆ บ้างก็เปล่งเป็นแสงรวมคล้ายดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์ บ้างก็เปล่งแล้วเคลื่อนไหว ฯลฯ
    รู้ไว้บ้างก็จะได้ฉลาดเหมือนคนขึ้นนะคุณ
     
  9. brilliant

    brilliant Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +39
    ทำไม

    ข้าพเจ้าไม่ได้มากล่าวขัดแย้งใคร

    เพียงแต่สงสัยว่า ทั้งสองท่านสนทนาธรรมกันหรือเถียงกัน

    (ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับการกล่าวดูหมิ่นผู้อื่น ไม่ว่าสิ่งที่ดูหมิ่นนั้นจะจริงหรือเท็จก็ไม่สมควรกระทำ นี่เป็นเพียงความเห็นของข้าพเจ้า)
     

แชร์หน้านี้

Loading...