กำลังแห่งธรรม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 5 ธันวาคม 2009.

แท็ก: แก้ไข
  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    กำลังแห่งธรรม

    คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด

    พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. ๙) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร watdevaraj@hotmail.com



    การดำเนินชีวิตในสภาพปัจจุบันนี้ ในการประกอบอาชีพการงานนั้น จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกัน ต้องมีทั้งกำลังทางกาย เช่น มีร่างกายแข็งแรง ไม่ป่วยไข้ รวมทั้งมีกำลังสนับสนุนจากผู้ใหญ่ให้ความเมตตา และที่สำคัญที่สุดจะต้องมีกำลังทางใจ คือ มีความคิดริเริ่มที่ดีประกอบด้วย จึงจะทำให้หน้าที่การงานนั้นๆ มีความเจริญก้าวหน้า

    ธรรมะหมวดหนึ่งที่เป็นพลังที่จะทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่หวั่นไหวย่อท้อต่ออุปสรรคทุกอย่าง นั่นก็คือ พละ หมายถึง ธรรมอันเป็นกำลัง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ 4 ประการ คือ

    1.กำลังปัญญา

    2.กำลังความเพียร

    3.กำลังการงานอันไม่มีโทษ

    4.กำลังการสงเคราะห์


    1. กำลัง คือ ปัญญา ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ อันเกิดจากการศึกษาการฟัง การอ่าน การคิดค้นคว้า จนสามารถที่จะแยกแยะความดีความชั่วออกจากกันได้ โดยเฉพาะด้านอาชีพการงาน จะต้องแยกแยะได้ว่า การงานใดบ้างที่ดี มีประโยชน์ ควรทำ การงานใดบ้างที่มีโทษ ไร้ประโยชน์ ไม่ควรทำ แล้วรู้จักที่จะใช้ปัญญา จัดการทำงานนั้นๆ ให้สำเร็จตามเหตุตามผล

    2. กำลัง คือ ความเพียร ได้แก่ ความบากบั่น มีความเพียร มีความขยัน เอาใจใส่ในหน้าที่การงาน หมั่นประกอบการงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน ไม่ท้อถอย

    3. กำลัง คือ การงานอันไม่มีโทษ เป็นกำลังสุจริต หรือกำลังความบริสุทธิ์ ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมบริสุทธิ์ เช่น มีความประพฤติ และหน้าที่การงานสุจริต ไม่มีข้อบกพร่องเสียหาย พูดจริง มีเหตุผล มุ่งดี ไม่รุกรานให้ร้ายใคร ทำการด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ประกอบอาชีพ หน้าที่การงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ด้วยทำ พูด และคิดอันไม่มีโทษ สามารถที่จะดำเนินงานให้โดยไม่มีข้อบกพร่องเสียหาย มีเหตุมีผล ทำการงานด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ ไม่เบียดเบียนรุกรานคนอื่น

    4. กำลัง คือ การสงเคราะห์ ได้แก่ การเกื้อกูลกันด้วยสังคหวัตถุ 4 ประการ คือ ทาน การให้ การช่วยเหลือกันในด้านปัจจัยเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต และแนะนำความรู้ให้จนสามารถที่จะพึ่งพาตนเองได้ ปิยวาจา การพูดด้วยความหวังดี พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ทำ ให้คนอื่นเกิดความเชื่อถือและนับถือ อัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์ มุ่งช่วยเหลือรับใช้สังคม ทำงานด้วยความสร้างสรรค์ สมานัตตตา การวางตนให้มีความเสมอภาคกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น

    พลธรรม คือ ธรรมอันเป็นกำลัง 4 ประการนี้ นับว่า เป็นหลักในการดำเนินชีวิตอีกประการหนึ่ง ผู้ที่ประพฤติตามธรรมะทั้ง 4 ประการนี้ สามารถที่จะดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ เพราะเป็นผู้ที่เรียกได้ว่า มีพลัง หรือ กำลังในตนเอง และสามารถที่จะนำชีวิตให้ผ่านพ้นภัย 5 อย่าง คือ ภัยเกี่ยวกับการครองชีพ ภัยคือความเสียชื่อเสียง ภัยคือความเก้อเขินในที่ชุมชน ภัยคือความตาย และ ภัยคือทุคติได้

    ดังนั้น ผู้ที่มีกำลังในตนเอง ย่อมสามารถที่จะดำเนินชีวิตให้มีแต่ความเจริญก้าวหน้า มีความรุ่งเรืองต่อไปได้โดยสวัสดี


    ˹ѧ
     

แชร์หน้านี้

Loading...